ISBN 978-616-465-017-6 หนังสือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อริยสงฆ์แห่งยุคสมัย ผู้เขียน วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ ๑, ๒ พ.ศ. ๒๕๕๓ พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๔ พิมพ์ครั้งที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๒ จำ�นวนพิมพ์ ๔,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๕๙ บาท
คณะผู้จัดทำ� บรรณาธิการเล่ม : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปก/รูปเล่ม : บุญส่ง สามารถ พิสูจน์อักษร : นฤมล สุวรรณอ่อน ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด (สำ�นักพิมพ์สารคดี) จัดจำ�หน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน้�ำ ) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑ เพลต เอ็น.อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จำ�กัด โทร. ๐-๒๗๒๐-๕๐๑๔ สำ�นักพิมพ์สารคดี ผู้อำ�นวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จำ�นงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์ / ฝ่ายผลิต : จำ�นงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ
หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำ�มันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน้ำ�มันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
1.indd 2
3/14/19 2:59 PM
สารบัญ
ภ า ค ป ร ะ วั ติ ๙ ๑๐ ๒๒ ๒๙ ๓๒ ๔๐ ๔๒ ๔๕ ๔๗ ๕๕ ๕๙ ๖๘ ๗๔ ๘๗ ๑๐๘ ๑๔๕
“ท่านพระอาจารย์ใหญ่” ของพระป่าสยาม จากสามัญชน-จนวันที่รู้แจ้ง พระอรหันต์ ธุดงควัตรของพระธุดงค์ อภินิหาร ฌานสมาธิ ธรรมโอสถ ฟื้นฟูธรรมยุตในอีสาน ลิขิตธรรม และคำ�สอน ที่สิ้นสุดรอยเท้าแห่งการธุดงค์ “หนองผือ” ศูนย์กลางการศึกษาปฏิบัติธรรมของพระป่าวิปัสสนากัมมัฏฐาน กิจวัตรประจำ�วัน “ท่านพระอาจารย์ใหญ่” นิพพานของพระอรหันต์ กุสินาราราชธานีเมืองไทย รอยธรรมบนเส้นทางหลวงปู่มั่น ท่านพระอาจารย์ใหญ่ในความทรงจำ� อาจริยธรรม ภาพถ่ายหลวงปู่มั่น
ภ า ค โ อ ว า ท ธ ร ร ม แ ล ะ ลิ ขิ ต ธ ร ร ม ๑๕๔ ๑๖๐ ๑๖๒ ๑๖๘
1.indd 3
โอวาทธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ธรรมคติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ภูริทตฺตธมฺโมวาท
ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ
3/12/19 5:05 PM
นมัสการ คงไม่ผดิ ไปจากความจริง หากจะกล่าวว่าพระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โต เป็นพระทีค่ นอีสานรูจ้ กั มาก ที่สุด แม้ว่าท่านจะละสังขารไปร่วม ๗๐ ปีแล้ว ผู้คนกล่าวถึงท่านว่าเป็นพระอรหันต์ที่คนยุคคาบ เกี่ยวกึ่งพุทธกาลทันได้เห็นตัวจริง ขณะที่บางคนเปรียบว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้าของชาวอีสาน แต่ข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับตัวท่านนับว่ามีอยู่น้อยนัก ที่เป็นวัตถุสิ่งของก็มีเพียงอัฐบริขาร ช่วงปลายชีวิตที่พระอุปัฏฐากรุ่นสุดท้ายบอกว่าถือหมดด้วยสองคน ภาพถ่ายแปดภาพที่มีผู้บันทึกไว้ ในต่างกาลเทศะ กับข้อธรรมค�ำสอนไม่กี่ชิ้นที่ท่านจดจารไว้ ส่วนที่เป็นเสียงเทศน์ไม่ปรากฏว่ามี การบันทึกไว้เลย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษสุดท้ายก่อนกึ่งพุทธกาล เป็นพระธุดงคกัมมัฏฐานในยุคที่เทคโนโลยีเกี่ยวกับการบันทึกยังไม่แพร่หลายเช่นทุกวันนี้ การเผยแผ่ธรรมในยุคนั้น ใช้การสอนกันต่อหน้าโดยตรง และการศึกษาสืบค้นกันต่อมาก็อาศัยค�ำเล่าของศิษย์ที่เคยได้ฝึก ปฏิบัติเรียนรู้อยู่กับท่านเป็นหลัก เรื่องเล่าขานถึงท่านบางส่วนเต็มไปด้วยเรื่องอภินิหารเหนือจริง ส�ำหรับโลกปัจจุบันที่ถือการ พิสจู น์ทางวิทยาศาสตร์เป็นข้อการันตีความจริง ทัง้ เรือ่ งการมีหทู พิ ย์ตาทิพย์ การหยัง่ รูจ้ ติ ผูอ้ นื่ การส่ง กระแสจิตออกไปสื่อสารกับคนอื่น ฯลฯ ซึ่งท่านเองก็เน้นว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ และทั้งหมดนั้นอาจไม่สลักส�ำคัญและไม่ได้น่าสนใจเท่ากับทางด�ำเนินในเพศบรรพชิตของท่าน ซึ่งเคร่งครัดด้วยข้อวัตรตามปฏิปทาของพระธุดงคกัมมัฏฐาน ความเพียรในการบ�ำเพ็ญสมณธรรม อย่างอุกฤษณ์จนบรรลุธรรมขั้นสูงสุด กับความปราดเปรื่องแตกฉานทางธรรมและอุบายวิธีอันหลัก แหลมแยบคายในการสั่งสอนธรรม รวมทั้งแบบอย่างแห่งการฝึกปฏิบัติอันเฉียบขาดจริงจังของท่าน เป็นผลให้เกิดพระภิกษุสายวิปัสสนากัมมัฏฐานผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบสืบต่อมาในแผ่นดินจนทุกวันนี้ ศาสนสถานที่อยู่ตามเส้นทางธุดงค์ตลอด ๕๗ พรรษาในเพศสมณะของท่าน รวมถึงวัดป่าอีก นับร้อยๆ แห่งที่เกิดจากพระเถราจารย์ที่รับปฏิปทาจากพระอาจารย์มั่น มีการสร้างอนุสรณ์สถาน ให้พุทธบริษัทได้สักการะ ระลึกถึงเกียรติคุณธรรมคุณของท่าน และน้อมเข้ามาปฏิบัติ กระจายอยู่ รายรอบแดนอีสานจนถึงฝัง่ ลาว ในกรุงเทพฯ และบางจังหวัดภาคกลาง แถบชายแดนภาคเหนือจนถึง ในประเทศพม่า พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
4 1.indd 4
3/14/19 2:59 PM
เรือ่ งราวในพระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โต อริยสงฆ์แห่งยุคสมัย เกิดจากการจาริกตามรอยธรรมไปยัง สถานทีเ่ หล่านัน้ เพือ่ สัมผัส พบเห็น สักการะ รับรสธรรม สดับเรือ่ งเล่าจากสานุศษิ ย์และสาธุชน และ บันทึกภาพถ่ายให้เห็นสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผสานเข้ากับข้อมูลและค�ำเล่าขานที่บันทึกอยู่ใน เอกสารหลากหลายแหล่งตามที่ระบุไว้ท้ายเล่ม ผนวกด้วยข้ออาจริยธรรมตามสายพระป่าที่ยอมรับ ยกย่องพระอาจารย์มั่นเป็น “ท่านพระอาจารย์ใหญ่” พร้อมทั้งน�ำข้อธรรมค�ำสอนของพระอาจารย์มั่น บางส่วนมาลงไว้พอสังเขป ด้วยกุศลเจตนาให้เป็นแหล่งหนึง่ ในการร่วมบันทึกเรือ่ งราวของพระอริยสงฆ์ รูปส�ำคัญของประเทศไทยในช่วงก่อนกึง่ พุทธกาลกระทัง่ ปัจจุบนั ให้เป็นแหล่งเรียนรูแ้ ละแรงบันดาลใจ แก่สาธุชนผู้ใฝ่ธรรม งานเขียนเรื่องนี้เคยตีพิมพ์ในนิตยสาร สารคดี ฉบับที่ ๓๐๐ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ และ เคยพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรกในปีเดียวกัน การน�ำมาพิมพ์ซ�้ำอีกครั้งก่อนวาระ ๑๕๐ ปีชาตกาล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ในปี ๒๕๖๓ ได้ขยาย แก้เกลา เพิ่มเติมเนื้อหาให้ถูกต้องตามข้อมูลและเหตุการณ์ที่ผันผ่านไป ด้วยเป้าหมายให้ ผู้อ่านได้สาระธรรม ถูกตรง กระชับ หนักแน่นที่สุดเท่าที่หนังสือขนาดพกพาเล่มหนึ่งจะอ�ำนวยให้ได้ แต่ความรู้ที่อยู่ในหนังสือจะมาก-น้อย สมบูรณ์หรือขาดพร่องแค่ไหนก็ตาม ยังถือเป็นความรู้ นอกตัวอยูด่ ี จนกว่าจะได้น�ำสิง่ ทีอ่ า่ นเขียนเรียนรูน้ นั้ มาฝึกปฏิบตั เิ อง จึงจะเกิดปฏิเวธ หรือสิง่ ทีเ่ รียก ว่ามรรคผล ในตนผู้นั้น พระอาจารย์มั่นเคยพูดถึงรูปถ่ายของท่านที่มีผู้บันทึกไว้ว่า “ลูบๆ คล�ำๆ จับๆ วางๆ มันจะได้ ประโยชน์อะไร” หนังสือก็คงเช่นกัน หากยังไม่ได้น้อมเข้ามาใส่ตัว
ขอให้เราทั้งหลายได้เจริญในธรรมไปด้วยกัน วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
ต้นฤดูร้อน ๒๕๖๒
อริยสงฆ์แห่งยุคสมัย
5 1.indd 5
3/12/19 5:05 PM
1.indd 8
3/12/19 5:05 PM
“ท่านพระอาจารย์ใหญ่” ของพระป่าสยาม วันสุดท้ายของเดือนมกราคมปี ๒๔๙๓ เป็นวันถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร ถึงวันที่ ๓๑ มกราคมปีหน้า (๒๕๖๓) ก็ล่วง ๗๐ ปีเต็ม ที่ท่านละสังขารจากโลก แต่ชื่อของท่านยังคงจ�ำหลักมั่นอยู่ในความศรัทธาของมหาชน ชาวพุทธ ก่อนหน้านั้นท่านจ�ำพรรษา ๕ ปีสุดท้ายอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ อ�ำเภอพรรณานิคม สกลนคร ยังผลให้หมู่บ้านเล็กๆ กลางเทือกเขาภูพานแห่งนั้น กลายเป็นศูนย์กลางการ ศึกษาเผยแผ่ธรรมของพระวิปัสสนากัมมัฏฐานในช่วงใกล้กึ่งพุทธกาล ซึ่งก่อนนั้นขึ้นไป ท่านไม่เคยจ�ำพรรษาซ�้ำปีในที่ใดเลย แต่จะออกธุดงค์ไปยังที่ต่างๆ ทั่วภาคอีสานจนถึง ฝั่งลาว และหลายจังหวัดในภาคเหนือจนถึงพม่า บนรอยทางเหล่านั้น แทบไม่มีอนุสรณ์สถานในรูปของถาวรวัตถุ เพราะท่านไม่นิยม การปลูกสร้างที่ใหญ่โตโอ่อ่า ทว่าค�ำสอนและวัตรปฏิบัติที่ท่านได้วางแนวทางไว้ยังคง ได้รบั การสืบต่อ อาจจะทุกจังหวัดในภาคอีสาน หลายจังหวัดในภาคเหนือ บางจังหวัดใน ภาคกลางและภาคใต้ จะมีวัดป่าฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐานที่ถือหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็น “ท่านพระอาจารย์ใหญ่” ท่านเป็นอริยสงฆ์ที่ด�ำเนินตามหลักธรรมวินัยในปฏิปทาของพระธุดงคกัมมัฏฐาน อย่างเคร่งครัด บ�ำเพ็ญภาวนาอย่างอุกฤษฏ์จนบรรลุธรรมขั้นสูงสุด จนมีการกล่าวถึงว่า นอกเหนือจากพระอรหันต์ทชี่ าวพุทธได้รไู้ ด้ยนิ จากในพุทธประวัตแิ ล้ว ก็มพี ระอาจารย์มนั่ ภูริทัตโต นี่แหละ คือองค์พระอรหันต์ที่พุทธศาสนิกชนคนไทยในยุคก่อนกึ่งพุทธกาล ได้พบเห็นตัวจริง เป็น “หลวงปู่” ที่ใกล้ชิดอยู่กับสังคมชาวบ้าน โดยเฉพาะสาธุชน ชาวอีสาน
อริยสงฆ์แห่งยุคสมัย
9 1.indd 9
3/12/19 5:05 PM
จากสามัญชน-จนวันที่รู้แจ้ง
พระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โต เกิดในสมัยต้นรัชกาลที ่ ๕ และมีชวี ติ อยูใ่ นยุคทีเ่ ทคโนโลยี เกี่ยวกับการบันทึกยังไม่แพร่หลายเช่นทุกวันนี้ ภาพถ่ายท่านมีไม่มากและเกือบทั้งหมด เป็นภาพในช่วงปัจฉิมวัย ไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกเสียงธรรมเทศนาของท่านเอาไว้ ทีท่ า่ น เขียนไว้เองก็มีอยู่น้อยชิ้นนับได้ การสอนธรรมในสมัยนั้นเน้นการเทศนาสั่งสอนกัน โดยตรง และการศึกษาสืบค้นกันต่อมาจึงต้องอาศัยการอ้างอิงจากค�ำเล่าหรือข้อเขียนของ ศิษย์ใกล้ชิด หรือที่ได้ศึกษาปฏิบัติกับท่านมาโดยตรง ชีวประวัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้ง แรกสุด น่าจะเป็นฉบับที่พิมพ์แจกเป็นธรรมบรรณาการในงานถวายเพลิงศพของท่านที่ วัดป่าสุทธาวาสเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ที่ผู้เขียนระบุว่า เรียบเรียงขึ้นโดยอาศัยค�ำ บอกเล่าของท่านพระอาจารย์มนั่ ตามทีพ่ ระภิกษุทองค�ำ ญาโณภาโส บันทึกไว้ กับอาศัย ไต่ถามหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ศิษย์ผู้ใหญ่ที่อยู่ในส�ำนักท่านนานกว่าศิษย์อื่นๆ และจาก ความทรงจ�ำของผู้เขียนเองประกอบกัน ประวัติท่านพระอาจารย์ใหญ่ของพระป่าสายวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เขียนโดยพระ อริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) เล่าถึงชาติสกุลของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ว่า ท่านเกิด ในสกุลขุนนาง ปู่เป็นพระยาชื่อ แก่นท้าว เป็นบุตรนายค�ำด้วง-นางจันทร์ แก่นแก้ว
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
10 1.indd 10
3/12/19 5:05 PM
หนังสือสุทธิ แสดงสถานะเดิมของหลวงปู่มั่น ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริขารพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร (ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์)
อริยสงฆ์แห่งยุคสมัย
11 1.indd 11
3/12/19 5:05 PM
พระอรหันต์
๕๗ พรรษาในเพศบรรพชิตของหลวงปูม่ นั่ ภูรทิ ตั โต สามารถสรุปลงได้อย่างย่นย่อว่า ในพรรษาที่ ๒๓ พระภิกษุหนุ่มใหญ่จากอุบลราชธานีก็กลับสู่อีสาน จ�ำพรรษาที่วัดบูรพา และเริ่มให้การศึกษาแนะน�ำการปฏิบัติธรรมแก่พระเณรที่มารับการสั่งสอนอบรมธรรม อยู่ด้วยจ�ำนวนมาก นอกพรรษาท่านออกธุดงค์จาริกไปในหลายจังหวัดแถบริมน�้ำโขง จ�ำพรรษาไม่ซ�้ำสถานที่เดิมในแต่ละปี จนพรรษาที่ ๓๘ ก็จากหมู่คณะสหธรรมิกไป จ�ำพรรษาที่วัดปทุมวนารามอีกครั้ง แล้วเลยไปภาคเหนือกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (มหาจันทร์ สิริจันโท) พ�ำนักจ�ำพรรษาในฐานะเจ้าอาวาสที่วัดเจดีย์หลวง กลางเมือง เชียงใหม่พรรษาหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ นอกนั้นออกธุดงค์ไปยังถิ่นต่างๆ ในแถบ ภาคเหนือตอนบนจนถึงพม่ารวม ๑๑ ปี จึงกลับภาคอีสานตามค�ำอาราธนาของพระ ธรรมเจดีย์ (มหาจูม พันธุโล) พ�ำนักที่วัดป่าโนนนิเวศน์ เมืองอุดรธานี ๒ พรรษา จาก นั้นข้ามไปอ�ำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร แล้วมาจ�ำพรรษา ๕ ปีสุดท้ายที่ วัดป่าบ้านหนองผือ
> ถ�้ำเชียงดาว สถานที่ท่องเที่ยวเลื่องชื่อในวันนี้ ย้อนกลับไป ๘๐ กว่าปีก่อน ถ�้ำบนเขาเทือกนี้ยังเป็นป่าพงดงเถื่อน ที่พระอาจารย์มั่นมาจ�ำพรรษาในปีแรกที่มาเชียงใหม่ (ภาพ : สกล เกษมพันธุ์)
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
22 1.indd 22
3/12/19 5:05 PM
1.indd 23
3/12/19 5:05 PM
อภินิหาร ฌานสมาธิ ธรรมโอสถ
เมือ่ ล่วงสูว่ ยั ชราพระอาจารย์มนั่ มาจ�ำพรรษาถาวรอยูท่ เี่ สนาสนะบ้านหนองผือ ซึง่ อยู่ ห่างจากหมู่บ้านพอควร แต่ก็พอเหมาะกับการภิกขาจารได้ โดยก่อนหน้านั้นนับแต่ครอง สมณเพศ ท่านจะออกธุดงค์จาริกไปในป่าดงพงลึก และจ�ำพรรษาอยูต่ ามภูเขา ในเถือ่ นถ�ำ้ เป็นส่วนใหญ่ จนยากที่ศิษยานุศิษย์อุบาสกอุบาสิกาจะติดตามไปถึง คราวหนึ่งพระอาจารย์มั่นในวัยหนุ่มได้พบเพื่อนสหธรรมิกรูปหนึ่งชื่อ มั่น เหมือน กับท่าน ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม องค์ที่ ๖ คือพระธรรมปาโมกข์ (บุญมั่น มันตาสโย) ทั้งสองออกธุดงค์ไปด้วยกันจนถึงประเทศพม่า ไปจ�ำพรรษาอยู่ที่เมือง มะละแหม่ง ท่านได้เล่าเรือ่ งนีต้ อ่ พระอาจารย์วริ ยิ งั ค์ สิรนิ ธโร ซึง่ ต่อมาพระลูกศิษย์รปู นี้ ได้น�ำมาเขียนเล่าไว้ใน “ประวัตพิ ระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตฺตเถระ ฉบับสมบูรณ์” ว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ พระธุดงค์ทั้งสองปรึกษากันว่าจะยอมถวายชีวิตแด่พระพุทธศาสนา เดินธุดงค์ แสวงหาทีว่ เิ วก “เมือ่ ตกลงสละชีวติ ร่วมกันแล้ว ก็ออกเดินทางต่อไปโดยไม่มจี ดุ หมาย ไม่ ว่าสถานที่นั้นจะเป็นประเทศอะไร จะต้องมีหนังสือเดินทางข้ามแดนหรือไม่ก็ตาม เพราะ ถือเอาการอยู่ป่าเป็นส�ำคัญ เห็นที่ไหนเหมาะดีก็อยู่ท�ำความเพียรไป แต่พอจะเกิดความ เคยชินก็เดินทางต่อไปอีก”
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
32 1.indd 32
3/12/19 5:05 PM
วัดเจดีย์หลวงเคยเป็นวัดร้างอยู่ก่อน พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) มาบูรณะให้เป็นวัดธรรมยุตแห่งแรกในเชียงใหม่ และพระอาจารย์มั่นได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่วิหารหลวงปู่มั่นที่เห็นในภาพเพิ่งสร้างขึ้นภายหลังเมื่อไม่กี่ปีมานี้ (ภาพ : สกล เกษมพันธุ์)
อริยสงฆ์แห่งยุคสมัย
33 1.indd 33
3/12/19 5:05 PM
เป็นอย่างที่พระผู้ใหญ่บอกเล่าต่อกันมา และว่านั่นเป็นเพราะท่านเป็นผู้มีบุญ พระทองค�ำ ญาโณภาโส บันทึกตามค�ำบอกเล่าของหลวงปูห่ ล้า เขมปัตโต ว่าเวลาล้าง เท้าหลวงปู่มั่น เห็นฝ่าเท้าท่านเป็นลายก้นหอยสองอัน และมีรอยอยู่กลางฝ่าเท้าเหมือน กากบาท เวลาเดินไปไหนท่านเดินก่อน สานุศษิ ย์จะไม่เหยียบรอยท่าน พอท่านเดินผ่าน ไปแล้ว ชาวบ้านจะลงมาดู จะเห็นเป็นลายตารางปรากฏอยู่ทั้งสองฝ่าเท้า หลวงตาทองค�ำเล่าไว้ในข้อเขียนของท่านด้วยว่า พระอาจารย์มั่นมีไฝตรงระหว่างคิ้ว ลักษณะคล้ายกับพระอุณาโลมของพระพุทธเจ้า ไฝนีเ้ ป็นจุดด�ำเล็กๆ ไม่ได้นนู ขึน้ มา มีขน อ่อนสามเส้น ไม่ยาวมากและโค้งหักเป็นอักษร ก เป็นเส้นละเอียดอ่อนมาก ถ้าไม่สังเกต จะไม่เห็น ขณะท่านปลงผมจะปลงขนนี้ออกด้วย แต่จะขึ้นใหม่ในลักษณะเดิมอีก ใบหู ของท่านมีลกั ษณะหูยาน จมูกโด่ง แววตาเหมือนไก่ปา่ คือเป็นวงแหวนในตาด�ำ มือของ ท่านนิ้วชี้จะยาวกว่านิ้วอื่น ไล่ลงมาจนถึงนิ้วก้อย นิ้วเท้าก็เหมือนกัน “นี่คือลักษณะ ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต สาวกของพระพุทธเจ้ายุค ๒,๐๐๐ ปี เป็นพระผู้น่า อัศจรรย์ มีบุคลิกที่สมบูรณ์แบบ” ตกกลางคืนภิกษุสามเณรทีใ่ ส่ใจศึกษาธรรมะจะมากราบขอโอกาสเรียนถามท่าน ผูถ้ าม ได้เข้าใจ ได้พิจารณา อาคันตุกะภิกษุที่อยู่ในนั้นก็ได้ยินได้ฟังด้วยกัน ท่านสอนเดิน จงกรม ภาวนา นั่งสมาธิ ด้วยความเพียร ตลอด ๕ พรรษาที่ท่านพระอาจารย์มั่นพ�ำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ พระอาจารย์ วิรยิ งั ค์บนั ทึกว่า ท่านมีก�ำลังวังชาดี เดินไปไหนมาไหนได้คล่องแคล่ว ท่านพยายามชีแ้ จง ข้อธรรมต่างๆ แก่บรรดาศิษย์ตลอดเวลาอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ไม่ว่าจะเป็นพระเล็กเณร น้อยหรือพระเถระผู้ใหญ่ โดยท่านจะเน้นธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติมากที่สุด “การแสดงธรรมก็เป็นไปวิจติ รพิสดาร มีอรรถรสแห่งข้อปฏิบตั ิ ส�ำนวนไพเราะมาก... เป็นที่เข้าอกเข้าใจแก่บรรดาสานุศิษย์ บางองค์ถึงกับบ่นว่าเราไปภาวนาตั้งเดือน สู้ฟัง เทศน์ท่านอาจารย์ครั้งเดียวก็ไม่ได้ เช่นนี้ก็มีมาก”
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
58 1.indd 58
3/12/19 5:05 PM
นิพพานของพระอรหันต์
คืนเพ็ญเดือน ๓ วันมาฆบูชา ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ พระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โต เทศน์นาน ที่สุด ท้ายการแสดงธรรมเทศนา ท่านบอกว่า กัณฑ์นี้เทศน์ซำ�้ เฒ่า ต่อไปจะไม่ได้เทศน์ นานท�ำนองนี้แล้ว เดือนถัดจากนั้นท่านก็เริ่มป่วย และอาการหนักขึ้นนับแต่เข้าพรรษา ครูบาอาจารย์ที่อุปัฏฐากก็พยายามเยียวยารักษาท่านเต็มที่ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน พระทองค�ำ ญาโณภาโส พระวัน อุตตโม พร้อมศิษยานุศิษย์ที่เป็นฆราวาส ตามหมอ เสนารักษ์ประจ�ำต�ำบลมาฉีดยาหลายครัง้ อาการของท่านก็เพียงแต่ทเุ ลาแล้วกลับทรุดลง ไปอีก และแม้ลูกศิษย์จะถวายยาเท่าไร ท่านก็ไม่ฉัน ท่านบอกกับทุกคนว่า “ต้นไม้ที่มันตายยืนต้นอยู่แล้ว จะเอาน�้ำไปรดเท่าไรจะให้มันเกิดใบอีกไม่ได้หรอก อายุของเรามันก็ถึงแล้ว” จนใกล้ออกพรรษา ท่านก็บอกพระที่ใกล้ชิดให้ส่งข่าวแก่ศิษย์ทั้งที่อยู่ใกล้ไกลให้มา ประชุมกันที่วัดป่าบ้านหนองผือ เพื่อฟังธรรมเป็นครั้งสุดท้าย พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินธโร ผู้เขียนหนังสือ ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ฉบับ สมบูรณ์ และใต้สามัญส�ำนึก ก็ได้เดินทางจากจันทบุรีมาในคราวนั้นด้วย
อริยสงฆ์แห่งยุคสมัย
59 1.indd 59
3/12/19 5:05 PM
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
62 1.indd 62
3/12/19 5:05 PM
ภาพการหามหลวงปู่มั่นจากวัดป่าบ้านหนองผือออกไปยังวัดป่ากลางโนนภู่ ในช่วงปลายฝนต้นหนาวปี พ.ศ. ๒๔๙๒ สมัยนั้นคนยังมีไม่มาก แต่จากภาพจะเห็นขบวนคนที่ร่วม เดินไปส่งท่านอย่างมากมาย ข่าวการอาพาธของหลวงปู่มั่นคงเป็นเหตุการณ์ส�ำคัญที่แพร่ไปถึง ผู้คนทุกหมู่เหล่า รวมทั้งช่างภาพ ซึ่งการถ่ายรูปในสมัยนั้นก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เช่นกัน ภาพชุดนี้ไม่ปรากฏนามผู้ถ่ายภาพ
อริยสงฆ์แห่งยุคสมัย
63 1.indd 63
3/12/19 5:05 PM
รอยธรรม บนเส้นทาง หลวงปู่มั่น
เชียง
ภาพ : สกล เกษมพันธุ์
๒๑ ๒๔๒๑ ๒๒๒๒ เชียงใหม่ ๙ ๙ ย่างกุ้ง ย่างกุ้ง มะละแหม่ มะละแหม่ ง ๑๐ ง ๑๐
2.indd 74
3/12/19 5:04 PM
เชียงราย เชียงราย ๒๓
๑๘ หนองคาย ๑๙ หนองคาย ๑๘ ๑๙ เลย อุ ด รธานี นครพนม เลย ๑๔ ๑๕ ๑๕อุด๒๕ ๓๐ รธานี นครพนม ๒๘ ๒๙ สกลนคร ๑๔ ๒๕ หนองบั ว ล� ำ ภู ๒๙ ๑๗ ๑๗ ๒๖ ๕ ๒๘ สกลนคร ๒๖ ๕ ๒๗ ๒๗ ๑๖ มุกดาหาร ๑๖ ๗ ๗ ๑ ๑ ๒ ๓ อุบลราชธานี ๖ ๑๓ ๔ ปากเซ อุบลราชธานี ๒ ๓ ๖ ๑๓ ๔ ปากเซ ๑๒ ๑๒ ลพบุรี ลพบุรี ๑๑ นครนายก ๑๑ ๘ กรุ ง เทพฯ นครนายก ๒๐ ๒๐ กรุงเทพฯ ๘
2.indd 75
3/12/19 5:04 PM
๑ ๑.
บรรพชาที่วัดศรีบุญเรืองบ้านค�ำบง อ�ำเภอศรีเมืองใหม่ อุบลราชธานี ขณะมีอายุได้ ๑๕ ปี
๒.
อนุสรณ์สถานหลวงปูม่ นั่ ภูรทิ ตั โต วัดศรีบญ ุ เรืองบ้านค�ำบง อ�ำเภอศรีเมืองใหม่ อุบลราชธานี
๒ ๒๔๓๖ ๓ ๓. ๔ ๔. ๕ ๕.
๑๒ มิถุนายน อุปสมบทที่วัดศรีทอง อุบลราชธานี จ�ำพรรษาแรกที่วัดเลียบ ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล เดินธุดงค์แสวงหาความวิเวกทางฝั่งซ้ายแม่นำ�้ โขง แถวปากเซ เมื่อกลับสู่ฝั่งไทย ชักชวนชาวบ้านละแวกนั้นบูรณะองค์พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งเวลานั้นรกร้างมีเถาวัลย์คลุมเหลือแต่ยอด
พระธาตุพนม ศูนย์รวมความศรัทธา ของผูค้ นทัง้ สองฝัง่ โขง มีงานนมัสการพระธาตุทกุ ปี ในช่วงขึน้ ๑๐ ค�ำ่ ถึงแรม ๑ ค�ำ่ เดือน ๓ (ภาพ : วีระศักดิ์ จันทร์สง่ แสง)
2.indd 76
3/14/19 3:01 PM
๖ ๖.
พรรษาที่ ๓ ส�ำเร็จเป็นอริยบุคคล โสดาบัน ที่วัดเลียบ อุบลราชธานี
๗.
อุโบสถวัดเลียบ หลังอุปสมบท พระมัน่ มาเริม่ เรียนธรรม กับพระอาจารย์เสาร์ทวี่ ดั นี้
๗ ๒๔๔๐ บ�ำเพ็ญสมณธรรมที่ภูหล่น อ�ำเภอศรีเมืองใหม่ อุบลราชธานี และท่านได้ปฏิญาณตนต่อหน้าพระอาจารย์ว่า “ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมขอถวายชีวิตนี้ ต่อพรหมจรรย์ ขอให้ครูบาอาจารย์เสาร์เป็นพยานด้วย” ๘ ๘. พรรษาที่ ๘ จ�ำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ ส�ำเร็จเป็นอริยบุคคล สกทาคามี บนทางเดินหน้าวัง กรมพระสวัสดิ ์ หรือโรงเรียนช่างกลปทุมวันในปัจจุบัน
วัดปทุมวนาราม วัดป่ากลางกรุง ภาพเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
2.indd 77
3/12/19 5:04 PM
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
86 3.indd 86
3/12/19 5:04 PM
ท่านพระอาจารย์ใหญ่ ในความทรงจ�ำ
3.indd 87
3/12/19 5:04 PM
ครู
เล่าโดย หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
ท่านพระอาจารย์มนั่ จะให้โอวาทเสมอว่า การเป็นอาจารย์คนนัน้ ส�ำคัญมาก จึงควร ต้องระมัดระวังตน อาจารย์ผดิ เพียงคนเดียวอาจท�ำให้คนอืน่ ๆ ผิดตามไปด้วยเป็นจ�ำนวน มาก และในท�ำนองเดียวกัน ถ้าอาจารย์ท�ำถูกต้องเพียงคนเดียว ก็จะสามารถพาด�ำเนิน ให้คนอื่นปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบตามไปได้โดยไม่มีประมาณเช่นกัน
กัมมัฏฐาน
เล่าโดย หลวงปู่หลอด ปโมทิโต
ท่านพระอาจารย์มนั่ เทศนาว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์ของพระพุทธเจ้า แต่ละองค์ที่เสด็จปรินิพพานผ่านไปแล้ว จนประมาณกาลไม่ได้ก็ดี หรือประมาณกาลได้ ก็ดี พระองค์กับสาวกท่านที่เสด็จผ่านไปไม่กี่พันปีก็ดี ล้วนอุบัติขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าและ เป็นพระอรหันต์จากกัมมัฏฐานทัง้ หลาย มีกมั มัฏฐาน ๕ เป็นต้น ไม่มแี ม้พระองค์เดียวที่ ผ่านการตรัสรู้ธรรมโดยมิได้ผ่านกัมมัฏฐานเลย ต้องมีกัมมัฏฐานเป็นเครื่องซักฟอก เป็น เครื่องถ่ายถอนความคิด ความเห็น ความเป็นต่างๆ อันเป็นพื้นเพของจิต ที่มีเชื้อวัฏฏะ จมอยู่ภายในให้กระจายหายสูญไปโดยสิ้นเชิง ฉะนั้นกัมมัฏฐานจึงเป็นธรรมพิเศษในวง พระศาสนาตลอดมาและตลอดไป ท่านที่สมัครใจเป็นพระธุดงคกัมมัฏฐาน จ�ำต้องเป็น ผู้มีความอดทนต่อสิ่งขัดขวางต้านทานต่างๆ ที่เคยฝังกายฝังใจจนเป็นนิสัยมานาน ท่านพระอาจารย์มั่นท่านอบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรอยู่เสมอถึงเรื่องกัมมัฏฐาน ๕ และธุดงควัตร ๑๓ เพราะท่านถือว่ามีความส�ำคัญมาก จะเรียกว่าเป็นเส้นชีวิตของ พระธุดงคกัมมัฏฐานก็ได้ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
88 3.indd 88
3/12/19 5:04 PM
ของปฏิกูล
เล่าโดย หลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร
แนวทางปฏิบัติของท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ท่านยึดเอากัมมัฏฐาน ๕ คือ การ พิจารณาสิ่งส�ำคัญที่อยู่ภายในร่างกายคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้เห็นเป็นของไม่ สวยงาม และไม่เที่ยง
ค�ำสอนการภาวนา เล่าโดย หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
“การภาวนา อย่านอน ๓ ทุ่ม ๔ ทุ่มจึงนอน นอนตื่นเดียว ไม่ให้นอนซ�้ำ เมื่อ ตื่นขึ้นให้ภาวนาต่อ ก่อนภาวนาให้ล้างหน้าก่อนจึงภาวนา ถ้ายังง่วงให้เดินจงกรมก่อน เมื่อยจึงไปนั่งสมาธิต่อ นั่งภาวนาต้องมีสติ เอาใจใส่ต่องานที่เราท�ำ อย่าท�ำแบบลวกๆ กลางวันอย่านอน ให้เดินจงกรม นัง่ สมาธิ” เป็นครัง้ แรกและครัง้ เดียวทีห่ ลวงปูจ่ นั ทร์แรม มีโอกาสได้รับธรรมะโดยตรงจากท่านพระอาจารย์มั่น เป็นที่ปลื้มปีติและซาบซึ้งใจเป็น อย่างยิ่งจนถึงทุกวันนี้ ในเมตตาธรรมของพ่อแม่ครูอาจารย์
อริยสงฆ์แห่งยุคสมัย
89 3.indd 89
3/12/19 5:04 PM