พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้

Page 1

นำ�เสนอข้อมูลของ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ทั้งจากการศึกษาตำ�นาน เอกสารประวัติศาสตร์ และการวิเคราะห์ ในทางศิลปะสถาปัตยกรรม ที่เปิดมุมมองการศึกษาความเป็นมา และพัฒนาการ ของพระบรมธาตุเจดีย์องค์สำ�คัญ ในคาบสมุทรภาคใต้ของไทย

หมวดศิลปะ ราคา ๑๖๐ บาท ISBN 978-974-7385-52-6

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้ ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร

อย่างละเอียด

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้ ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร

วิเคราะห์รายละเอียดพระบรมธาตุเจดีย์องค์สําคัญของไทย


ISBN 978-974-7385-52-6 หนังสือ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้ ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร ผู้เขียน พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม ๒๕๕๓ ๓,๐๐๐ เล่ม จำ�นวนพิมพ์ ๑๖๐ บาท ราคา © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด บรรณาธิการเล่ม ออกแบบปก/รูปเล่ม จัดรูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท พิมพ์ท ี่ จัดจำ�หน่าย

วรินวิตตา ดารามาตร์ จำ�นงค์ ศรีนวล วัลลภา สะบู่ม่วง ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๔๙๙-๗๗๐๔-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถมเขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐, ๐-๒๒๘๑-๖๒๔๐-๒ โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ประภัสสร์ ชูวิเชียร. พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้.-กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๓. ๑๕๒ หน้า ๑. พระบรมธาตุ (นครศรีธรรมราช). ๒. เจดีย์. I. ชื่อเรื่อง. ๒๙๔.๓๑๓๕ ISBN 978-974-7385-52-6

สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช พิชัย วาศนาส่ง สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์ จำ�นวค์ ศรีนวล ผู้อ�ำ นวยการ ฝ่ายการตลาดและฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

2 ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร


สารบัญ คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ ๖ คำ�นำ�ผู้เขียน ๘ พระบรมธาตุเจดีย์ ศูนย์กลางชุมชนโบราณนครศรีธรรมราช ๑๐ ๑๐ “หาดทรายแก้ว” ภูมิศาสตร์ที่ตั้งของเมืองนครศรีธรรมราช ชุมชนโบราณท่าเรือ ๑๔ ชุมชนโบราณเมืองพระเวียง ๑๕ ชุมชนโบราณเมืองนครศรีธรรมราช ๑๖ ตำ�นาน จารึก ประวัติความเป็นมา และปัญหาเกี่ยวกับอายุสมัยของ ๒๖ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช จากหลักฐานด้านเอกสาร หลักฐานเอกสารด้านตำ�นาน ๒๖ ตำ�นานพระบรมธาตุมีที่มาจากวรรณกรรมลังกา ๓๐ จิตร ภูมิศักดิ์ วิเคราะห์ต�ำ นานพระบรมธาตุเจดีย์ ๓๒ นครศรีธรรมราช ระยะเวลาการสร้างองค์พระบรมธาตุเจดีย์ที่ปรากฏ ๓๓ ในตำ�นาน : ศักราชที่ยังคลุมเครือ หลักฐานเอกสารด้านจารึก ๓๔ แนวคิดที่ผ่านมาเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ๓๗ แนวคิดที่ ๑ ๓๘ แนวคิดที่ ๒ ๔๔ รูปแบบขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ ๔๙

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้ 3


การวิเคราะห์ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและกำ�หนดอายุ ๕๘ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ร่วมกับหลักฐาน ด้านโบราณคดีและเอกสารประวัติศาสตร์ ส่วนฐานประทักษิณ : ผสมผสานสถาปัตยกรรมศรีวิชัยและลังกา ๖๑ ชุดฐานรองรับองค์ระฆัง องค์ระฆัง และบัลลังก์ : ๖๙ ระเบียบงานก่อสร้างตามแบบลังกา ส่วนยอด : งานบูรณะในสมัยอยุธยา ๗๗ เจดีย์รายทรงปราสาทที่เชื่อว่าเป็นแบบจำ�ลองของ ๙๑ พระบรมธาตุเจดีย์องค์เดิม : มุมมองเกี่ยวกับรูปแบบ และการกำ�หนดอายุ ข้อเท็จจริงของระยะเวลาในตำ�นานพระบรมธาตุ ๙๘ มหาศักราชหรือพุทธศักราช ? โบราณสถานและสิ่งก่อสร้างภายในอาณาบริเวณของพระบรมธาตุเจดีย ์ ๑๐๗ แผนผังของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ๑๐๗ สิ่งก่อสร้างสำ�คัญอันเป็นอาคารบริวารของ ๑๐๙ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ วิหารทับเกษตร ๑๐๙ วิหารพระทรงม้าและวิหารเขียน ๑๑๒ วิหารโพธิ์ลังกา ๑๑๗ วิหารพระธรรมศาลาและระเบียงคด ๑๑๗ พระวิหารหลวง ๑๒๓ เจดีย์ราย ๑๒๓ วิหารสามจอม ๑๓๑

4 ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร


พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช จาก “มหาสถูป” ในวัฒนธรรมพุทธศาสนาของลังกามาเป็น “พระมหาธาตุเจดีย์” ในวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยา

๑๓๔

บทสรุป บรรณานุกรม

๑๔๓ ๑๔๘

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้ 5


คํานําผู้เขียน

ปูชนียสถานทางพุทธศาสนาหลายแห่งมักมีประวัติความเป็นมาที่ค่อนข้างคลุมเครือ มีไม่น้อยเรื่องราวเกี่ยวกับการก่อสร้างได้สาบสูญจนมีการผูกเรื่องราวขึ้น ใหม่ในรูปของตำ�นานที่มักเริ่มต้นในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ได้เสด็จมาถึง ในสถานที่แห่งนั้นพร้อมพุทธทำ�นายว่าจะมีความสำ�คัญต่อไปในภายภาคหน้า ตำ�นานเกิดขึ้นเพื่อรองรับความเชื่อและดึงดูดชักชวนผู้คนให้นับถือ สักการะสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์นั้น นัยยะแฝงทางการเมืองก็คงมีอยู่ในด้านการ รวบรวมผู้คนเพื่อเป็นกำ�ลังให้กับชุมชนด้วย พลวัตรเช่นนี้พบอยู่ทุกหนแห่งของ ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างกันก็เพียงลักษณะเฉพาะในท้องถิ่น องค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช “พระธาตุยอดทอง” เป็น เจดียสถานอันสำ�คัญยิ่งของคาบสมุทรภาคใต้ เพราะนอกเหนือจากความใหญ่ โตสมกับ “มหาสถูป” แล้ว หลักฐานแวดล้อมยังบ่งบอกถึงการเข้ามาของพระ พุทธศาสนาเถรวาทที่หยั่งรากลึกลงในภูมิภาคนี้ตั้งแต่ระยะแรกๆ มีการทำ�นุ บำ�รุงซ่อมแซม มีผู้คนเข้ามาทำ�กราบไหว้บูชาอยู่โดยไม่ขาดสาย ไม่นานมานี้ กระแสเกี่ยวกับเทวปกรณ์ “จตุคามรามเทพ” ที่แพร่หลายกันอย่างใหญ่โตไป ทั่วประเทศก็มีต้นกำ�เนิดมาจากที่องค์พระบรมธาตุเจดีย์แห่งเมืองนครนี้เอง อย่างไรก็ตามเรื่องราวขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ ในด้านวิชาการประวัติศาสตร์-โบราณคดียังคงคลุมเครือไม่ชัดเจน เพราะไม่มีเอกสารที่ร่วมสมัย การสร้างตกทอดมาถึงปัจจุบัน มีเพียงเอกสารประเภท “ตำ�นาน” ที่ถูกบันทึก

8 ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร


ในระยะหลัง  ครั้นจะตรวจสอบหลักฐานทางด้านโบราณคดีและศิลปกรรม ก็ถูกซ่อมแปลงจนเกือบไร้ร่องรอย เพราะการเข้ามาใช้งานอยู่อย่างต่อเนื่อง นั่นเอง  การที่จะสืบหาความเป็นมาขององค์พระบรมธาตุเจดีย์จึงจำ�เป็นจะต้อง ใช้หลักฐานเท่าที่มีอยู่เพื่อพิจารณาและวิเคราะห์อย่างระมัดระวังมากที่สุด งานเขียนชิ้นนี้ใช้ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากการศึกษาองค์พระบรมธาตุ เจดีย์ นครศรีธรรมราช อันเป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร  ผลการศึกษาในครั้งนี้สอดคล้อง กับแนวคิดที่ผ่านมาของนักวิชาการหลายท่าน รวมทั้งยังได้มุมมองใหม่บาง อย่างที่เกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้ด้วย ที่สำ�คัญต้องขอขอบคุณความเอื้อเฟื้อของอาจารย์ ดร. นันทนา ชุติวงศ์ ผู้ ให้คำ�แนะนำ�ทางด้านวิชาการ รวมทั้งเมตตาเอื้อเฟื้อความสะดวกในการเก็บ ข้อมูล ณ ประเทศศรีลังกา เช่นเดียวกันกับ Dr. Roland Silva แห่งกรมโบราณคดีศรีลงั กา  คุณเจตน์กมล วงษ์ทา้ ว  คุณชลวิทย์ ทองเจริญชัยกิจ ซึง่ ช่วยเหลือ การเก็บข้อมูลในจังหวัดนครศรีธรรมราช  คุณภาคภูม ิ อยูพ่ ลู  ทีไ่ ด้ ให้ค�ำ ปรึกษา เกี่ยวกับประวัติศาสตร์-โบราณคดีมาโดยตลอด  ส่วนคุณศิวฤกษ์ ประเสริฐสมบัติ ยังได้ช่วยในการจัดข้อมูลรูปภาพในขั้นตอนท้ายสุด   ทั้งนี้รวมทั้งผู้มี พระคุณท่านอื่นๆ อันมิได้เอ่ยนามมา ที่สนับสนุนให้การค้นคว้าสำ�เร็จลงได้จน ออกมาเป็นหนังสือเล่มนี้ ซึ่งทางสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณเองได้กรุณารับรอง การจัดพิมพ์ขึ้นก็ต้องขอขอบคุณอย่างที่สุดไว้ ณ ที่นี้ด้วยเช่นกัน และสุ ด ท้ า ยต้ อ งขอขอบคุ ณ ผู้ อ่ า นทุ ก ท่ า นที่ เ มื่ อ อ่ า นหนั ง สื อ เล่ ม นี้ จบแล้ว จะได้ตั้งคำ�ถามและค้นคว้าเพื่อต่อยอดการศึกษาด้านโบราณคดีและ ประวัติศาสตร์ศิลปะนี้ให้งอกเงยมากขึ้นไปอีกในอนาคต ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร มีนาคม ๒๕๕๓

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้ 9


พระบรมธาตุเจดีย์ ศูนย์กลางชุมชนโบราณ นครศรีธรรมราช

“หาดทรายแก้ว” ภูมิศาสตร์ที่ตั้งของเมืองนครศรีธรรมราช

องค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช (ภาพที่ ๑) ถือเป็นหลักของ ชุมชนโบราณเมืองนครศรีธรรมราชโดยตลอดมา  ดังนั้นเพื่อความเข้าใจในการ ศึกษาองค์พระบรมธาตุเจดีย ์ จึงควรที่จะกล่าวถึงพื้นฐานโดยสังเขปเกี่ยวกับการ ตั้งถิ่นฐานและชุมชนโบราณนครศรีธรรมราชเสียก่อน แต่เดิมพื้นที่ตั้งของเมืองนครศรีธรรมราชเป็นสันทราย (sand dune) ซึ่งเกิดจากการกระทำ�ของนํ้าทะเล ทอดตัวยาวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ (ภาพที่ ๒) มีความกว้างประมาณ ๕๐๐ เมตร ยาวประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร สูงจากระดับ พื้นดินโดยรอบราว ๔ เมตร โดยมีลำ�นํ้าที่เกิดจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ทางด้านทิศตะวันตกไหลผ่านสันทรายนี้ไปออกยังทะเลซึ่งห่างออกไปทางทิศ ตะวันออกราว ๑๒ กิโลเมตร เช่น คลองป่าเหล้า คลองสวนหลวง คลองคูพาย คลองท่าเรือ เป็นต้น๑ สันทรายนครศรีธรรมราชนีม้ สี ภาพภูมปิ ระเทศทีเ่ หมาะแก่การตัง้ ถิน่ ฐาน ของมนุษย์ เนื่องจากเป็นที่ดอนนํ้าท่วมไม่ถึงและสามารถทำ�การกสิกรรมเพาะ

10 ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร


ภาพที่ ๑ ภาพถ่ายมุมสูงขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช และบริเวณภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช (ที่มา : สำ�นักพิมพ์สารคดี)

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้ 11


การวิเคราะห์ ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และกำ�หนดอายุ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ร่วมกับหลักฐานด้านโบราณคดี และเอกสารประวัติศาสตร์

การศึกษาเกี่ยวกับองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ที่ผ่านมา ทั้งแนว คิดแรกและแนวคิดที่สองนั้น ล้วนมีวัตถุดิบอยู่ที่ข้อมูลเอกสารที่เป็นตำ�นานเสีย ส่วนใหญ่ ซึ่งผลการวิเคราะห์นั้นได้อายุการสร้างองค์พระบรมธาตุเจดีย์ตามที่ ระบุไว้ ในตำ�นานว่าตกอยู่ในสมัยอินเดียโบราณราวพุทธศตวรรษที่ ๓-๔ หรือ สร้างครั้งแรกเป็นเจดีย์ทรงปราสาทในสมัยศรีวิชัยราวพุทธศตวรรษที ่ ๑๔-๑๕ หลังจากนั้นจึงถูกสร้างครอบเป็นเจดีย์ทรงลังกาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อครั้งพุทธศาสนาลังกาวงศ์เผยแพร่เข้ามายังแถบนี้ อีกทั้งยังถูกโยงไปเกี่ยว ข้องกับเจดีย์ทรงปราสาทขนาดเล็กองค์หนึ่งนอกระเบียงคดด้านทิศตะวันออก

58 ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร


ว่าเป็นองค์จำ�ลองของพระบรมธาตุเจดีย์ทรงปราสาทองค์เก่าที่ถูกครอบอยู่ ภายใน แม้ประเด็นปัญหาขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช จะได้ รับการค้นคว้าชำ�ระกันมาแล้วมากมาย แต่ก็ยังไม่มีการวิเคราะห์เกี่ยวกับรูปแบบ ทางศิลปกรรมอย่างชัดเจน ซึ่งกระบวนการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะมี ส่วนที่อาจจะทำ�ให้ทราบถึงที่มาของรูปแบบ การรับอิทธิพลหรือการผสมผสาน รูปแบบงานช่าง ส่งผลให้สามารถกำ�หนดอายุการสร้างองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ได้แน่นอนมากขึ้นนอกเหนือไปจากการใช้หลักฐานทางเอกสารประวัติศาสตร์ ผลจากการพิจารณารูปแบบศิลปกรรมขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ในเบื้องต้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้น ก่อนอย่างน้อยสองแบบ ได้แก่ เจดีย์ทรงระฆังในศิลปะลังกาและเจดีย์ศิลปะ ศรีวิชัยที่พบในภาคใต้ของไทย จึงเป็นจุดที่น่าสนใจว่าเหตุใดรูปแบบของพระ บรมธาตุเจดีย์จึงได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมเหล่านั้น เค้าโครงส่วนใหญ่เห็นได้ว่ารูปทรงของพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มีความคล้ายคลึงกับสถูปในศิลปะลังกา คือส่วนฐานที่เตี้ย เน้นองค์ ระฆังทรงโอควํ่าขนาดใหญ่ บัลลังก์ ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส และยอดทรงกรวย แหลม ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเปรียบเทียบรูปแบบของ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช กับเจดีย์กิริวิหาร  เมืองโปลนนารุวะ ซึ่ง สร้างขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ว่ามีความคล้ายคลึงกัน๑ (ภาพที่ ๑๖, ๑๗) อย่างไรก็ตามยังมีรายละเอียดอีกหลายประการที่ควรกล่าวถึงในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบเพื่อจะได้ทราบถึงที่มาของรูปแบบดังกล่าวด้วย เนื่องจากองค์พระบรมธาตุเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ มีรายละเอียดต่างๆ ค่อนข้างมาก จึงแบ่งส่วนการวิเคราะห์รูปแบบออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนฐาน ประทักษิณ ส่วนองค์ระฆังกับชุดฐานรองรับ และส่วนยอด ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีประเด็นในการวิเคราะห์ถึงรูปแบบ อายุสมัย และการปฏิสังขรณ์ ได้ดังนี้

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้ 59


ภาพที่ ๑๖ และ ๑๗ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช เมื่อเปรียบเทียบกับเจดีย์กิริวิหาร เมืองโปลนนารุวะ ตามความเห็นของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล เห็นได้ว่ามีรูปแบบที่ คล้ายคลึงกันมากคือส่วนฐานเตี้ย องค์ระฆังขนาดใหญ่และบัลลังก์ ในผังสี่เหลี่ยม (ไม่นับส่วนยอดขององ์พระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งคงได้รับการซ่อมขึ้นใหม่ ในสมัยหลังจากการสร้าง)

60 ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร


ส่วนฐานประทักษิณ : ผสมผสานสถาปัตยกรรมศรีวิชัยและลังกา

เป็นฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสรองรับฐานประทักษิณที่มีความสูง จากพื้นดินประมาณ ๓-๔ เมตร ผนังของฐานประทักษิณมีการสร้างเสาติดผนัง อยู่โดยรอบซึ่งเสาเหล่านี้ได้รับการสร้างพระพุทธรูปประทับยืนในซุ้มเรือนแก้ว ทับลงไป (ภาพที่ ๑๘) นอกจากนี้ฐานยังได้รับการสร้างหลังคาคลุมเป็นเพิงที่ ต่อออกมาซึ่งเรียกกันว่า “วิหารทับเกษตร” ความเห็นของศาสตราจารย์ ชอง บวสเซอลิเยร์ (Jean Boisselier) กล่าวว่าส่วนฐานของพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มีความคล้ายคลึง กับฐานของโบราณสถานในศิลปะทวารวดี๒  แต่ในขณะเดียวกันแผนผังเช่นนี้ ก็ปรากฏอยู่ทั่วไป เป็นลักษณะร่วมที่พบในอาคารซึ่งได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ด้วยกัน และลักษณะของเสาติดผนังที่ประดับรอบส่วนฐานแบบนี้มีมาก่อนใน สถาปัตยกรรมแบบศรีวชิ ยั ในภาคใต้ เช่น ส่วนฐานของพระบรมธาตุไชยา อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี ซึ่งเชื่อกันว่ามีอายุอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ๓ (ภาพที่ ๑๙-๒๐) หรือเสาติดผนังที่ปรากฏอยู่ที่เจดีย์วัดแก้ว อ. ไชยา ซึ่งก็มีอายุใกล้เคียงกัน๔ (ภาพที่ ๒๑)  แต่ขนาดของส่วนฐานพระ บรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มีความสูงใหญ่กว่าฐานของพระบรมธาตุไชยา เนื่องจากมีสัดส่วนขององค์เจดีย์ที่ใหญ่กว่านั่นเอง จารึกวัดหัวเวียงเมืองไชยา ซึ่งเอ่ยพระนามของพระเจ้าจันทรภานุแห่ง ตามพรลิงค์ ระบุเลขศักราชตรงกับ พ.ศ. ๑๗๗๓ ที่บริเวณวัดเวียง อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี๕ แสดงว่าชุมชนโบราณไชยาในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีความ สัมพันธ์กับเมืองนครศรีธรรมราช เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่ารูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในเมืองไชยาคงจะส่งไปยังเมืองนครศรีธรรมราชในช่วงเวลา ดังกล่าวได้ ระหว่างเสาติดผนังมีประติมากรรมรูปช้างภายในซุ้มวงโค้ง (ภาพ

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้ 61


ภาพที่ ๑๘ ส่วนฐานขององค์พระบรมธาตุเจดีย์มีการสร้างหลังคาเป็นเพิงคลุมโดยรอบ เรียกกันว่า “วิหารทับเกษตร

62 ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร


ภาพที่ ๑๙ และ ๒๐ พระบรมธาตุไชยา อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี ศิลปะศรีวิชัย อายุราว พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ ซึ่งส่วนฐานรองรับองค์ พระบรมธาตุประดับด้วย เสาติดผนังคล้ายคลึงกัน กับส่วนฐานประทักษิณ ของพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช แต่มีสัดส่วนที่เล็กกว่า

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้ 63


ภาพที่ ๒๑ เจดีย์วัดแก้ว อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี ศิลปะศรีวิชัย อายุราว พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ มีเสาประดับผนังของเรือนธาตุที่คล้ายคลึงกับเสาประดับผนัง ฐานประทักษิณของพระบรมธาตุไชยาและพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช

64 ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร


ที่ ๒๒) การสร้างประติมากรรมรูปช้างล้อมที่ส่วนฐานของเจดีย์เป็นรูปแบบ ที่ได้รับความนิยมอย่างชัดเจนในศิลปะลังกา มีชื่อเรียกกันว่า “หัตถีปราการ” (Hatthiprakara)๖ หัตถีปราการนี ้ เชื่อว่ามีเค้ามาจากการที่พระเจ้าทุฏฐคามนีได้ทรงสร้าง เจดีย์รุวันเวลิเสยะ (Ruvanveli Seya) เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่พระองค์ ได้กระทำ� ยุทธหัตถีมีชัยชนะเหนือพระยาเอฬารทมิฬในราวพุทธศตวรรษที่ ๔  ซึ่งเจดีย์ องค์ดังกล่าวปรากฏประติมากรรมรูปช้างประดับอยู่โดยรอบฐานเจดีย์ (ภาพ ที่ ๒๓) นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าคติการใช้ช้างรองรับฐานเจดีย์เปรียบเสมือน การใช้ช้างรองรับจักรวาล เนื่องจากช้างเป็นสัตว์มงคล  นอกจากนั้นยังพบว่า เจดีย์อีกหลายองค์ของลังกาก็ยังนิยมประดับประติมากรรมรูปช้างไว้ที่ฐานของ เจดีย์ด้วย เช่น เจดีย์อภัยคีร ี หรือเจดีย์มหิยังคณะ เป็นต้น๗ “หัตถีปราการ” หรือการสร้างช้างล้อมที่ส่วนฐานของเจดีย์นี้  เป็น ลักษณะพิเศษของเจดีย์ ในศิลปะลังกาที่ส่งอิทธิพลทางด้านรูปแบบแก่เจดีย์ ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างกว้างขวางในช่วงตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ ๑๗-๑๘ เป็นต้นมาไม่ว่าจะเป็นในพม่า ล้านนา สุโขทัยรวมทั้งชุมชนในภาค ใต้ของไทยด้วย๘ ซุ้มวงโค้งที่ครอบตัวช้างมีรูปแบบที่เปรียบเทียบกับซุ้มในศิลปะลังกา ได้ชัดเจน ซุ้มแบบนี้น่าจะได้รับอิทธิพลจากซุ้มวงโค้งเกือกม้าที่เรียกว่า “กูฑุ” ในศิลปะอินเดีย๙ และมีการใช้ประดับสถาปัตยกรรมในศิลปะลังกาเป็นจำ�นวน มาก  ซุ้มที่ครอบตัวช้างของฐานพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช เป็นซุ้ม ที่ฉาบเรียบไม่มีลวดลายใดๆ ประดับ ซึ่งคล้ายคลึงกับซุ้มที่พบในศิลปะลังกา สมัยโปลนนารุวะช่วงพุทธศตวรรษที ่ ๑๘ ในศิลปะลังกาไม่พบหัตถีปราการที่มีช้างโผล่จากซุ้ม  แต่จะทำ�เป็น ประติมากรรมรูปช้างโผล่ออกมาจากส่วนฐานของเจดีย์เสมอ๑๐ ดังนั้นประติมากรรมช้างล้อมส่วนฐานของพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช อาจเป็นรูป

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้ 65


นำ�เสนอข้อมูลของ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ทั้งจากการศึกษาตำ�นาน เอกสารประวัติศาสตร์ และการวิเคราะห์ ในทางศิลปะสถาปัตยกรรม ที่เปิดมุมมองการศึกษาความเป็นมา และพัฒนาการ ของพระบรมธาตุเจดีย์องค์สำ�คัญ ในคาบสมุทรภาคใต้ของไทย

หมวดศิลปะ ราคา ๑๖๐ บาท ISBN 978-974-7385-52-6

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้ ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร

อย่างละเอียด

พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้ ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร

วิเคราะห์รายละเอียดพระบรมธาตุเจดีย์องค์สําคัญของไทย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.