ลายคำล้านนา พิมพ์ครั้งที่ ๒ (ปรับปรุงใหม่)

Page 1

พิมพ์ครั้งที่

(ปรับปรุงใหม่)

ลายค�ำล้านนา

หมวดศิลปะไทย ราคา ๖๐๐ บาท ISBN 978-616-465-045-9

สั่งซื้อออนไลน์ที่

@sarakadeemag

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดําริห์กุล

ลักษณะของวิหารล้านนามีความโดดเด่นประการหนึ่ง คือ การไม่นิยม  ทำ�ฝ้ า เพดาน แต่ ช อบที่ จ ะเปิ ด ให้ เ ห็ น โครงสร้ า งไม้ ที่ ป ระกอบขึ้ น อย่ า ง  มีระเบียบ ประณีต และนิยมการประดับตกแต่งในส่วนของโครงสร้าง  ตลอดจนผนังภายในพระวิหารด้วยลวดลายลงรักปิดทองอย่างมีระเบียบ  สอดคล้ อ งกั บ โครงสร้ า งทั้ ง หมด ซึ่ ง ลวดลายสี ท องเหล่ า นั้ น จะเปล่ ง  ประกายอยู่ ใ นความมื ด สลั ว  เป็ น ความงดงามที่ ใ ห้ ค วามรู้ สึ ก ถึ ง ความ  ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์   ความศรั ท ธา และความสุ ข สงบได้ อ ย่ า งดี . .. ลวดลาย ลงรั ก ปิ ด ทองประดั บ อาคารทางศาสนาดั ง กล่ า วนี้ ช าวล้ า นนา เรี ย กว่ า  ลายคำ�

ลายค�ำ ล้านนา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดําริห์กุล


ลายคำ�รูปเทวดาถือช่อดอกไม้ ผนังหลังพระประธาน วิหารวัดปงยางคก ลำ�ปาง พุทธศตวรรษที่ ๒๓

14

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ลายคำ�รูปต้นศรีมหาโพธิ ๓ ต้น ผนังหลังพระประธาน วิหารนํ้าแต้ม  วัดพระธาตุลำ�ปางหลวง ลำ�ปาง พุทธศตวรรษที่ ๒๒

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

15


(บนซ้าย-ขวา) ลายคำ�ประดับเชิงเสาของเสาหลวง  วิหารนํ้าแต้ม เป็นงานบูรณะเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (ล่าง) ลายคำ�รูปสตรียืนเรียงราย  ลายเชิงเสาของเสาหลวง วิหารนํ้าแต้ม  วัดพระธาตุลำ�ปางหลวง ลำ�ปาง  พุทธศตวรรษที่ ๒๒ สันนิษฐานว่า อาจเป็นภาพบันทึกเหตุการณ์  ตนนางเมืองหาญสีทัตถะที่หล่อพระเจ้า สามหมื่นทองมาประดิษฐานไว้ที่วิหารนี้

20

ล า ย คํ า ล้ า น น า


เพดานของวิหารวัดคะตึกเชียงมั่น ลำ�ปาง ตกแต่งอย่างละเอียดด้วยลายคำ�  มีลายกระหนกแบบศิลปะรัตนโกสินทร์ประกอบ พุทธศตวรรษที่ ๒๔

ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล 21 ภายในวิหารวัดปงยางคก ลำ�ปาง ทีศ ่ตา กแต่ งโครงสร้างทุกส่วนด้วยงานลายคำ� พุทธศตวรรษที่ ๒๓


ลายคำ�ลวดลายดอกลอย ตกแต่งที่โครงสร้างอุดปีกนก  วิหารวัดปงยางคก ลำ�ปาง พุทธศตวรรษที่ ๒๓

24

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ลายค�ำ ล้านนา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดําริห์กุล

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

25


ISBN 978-616-465-045-9 หนังสือ ลายค�ำล้านนา ผู้เขียน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ด�ำริห์กุล พิมพ์ครั้งที่ ๒ (ปรับปรุงใหม่) พฤศจิกายน ๒๕๖๔ พิมพ์ครั้งที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๔ จ�ำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม ราคา ๖๐๐ บาท ©© สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด บรรณาธิการเล่ม ภาพประกอบ ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลต พิมพ์ที่ จัดพิมพ์โดย จัดจ�ำหน่าย

อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ด�ำริห์กุล  ณิลณา หุตะเศรณี ธนา วาสิกศิริ เอ็น. อาร์. ฟิล์ม  โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์  โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด) บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุร ี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้ำ)  ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ สุรพล ด�ำริห์กุล. ลายค�ำล้านนา. - - นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๔. ๔๐๐ หน้า. ๑. ศิลปกรรมไทย.  I. ชื่อเรื่อง. ๗๐๙.๕๓๙ ISBN 978-616-465-045-9

ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด)  ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนน นนทบุรี  (สนามบินน�้ำ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี  นนทบุรี  ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑  ทีป่ รึกษา ศรีศกั ร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช  ผู้อ�ำนวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์ จ�ำนงค์   ศรี น วล  ผู ้ จั ด การฝ่ า ยการตลาด/ประชาสั ม พั น ธ์   กฤตนั ด ตา หนู ไ ชยะ บรรณาธิ ก ารส�ำนัก พิ ม พ์   อภิ วั นทน์   อดุ ล ยพิ เชฏฐ์    ที่ ป รึ ก ษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

26

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

“ความศรัทธาก่อเกิดพลังสร้างสรรค์”

เราจะพบว่างานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ทั้งโบราณสถาน โบราณ วัตถุ ทีส่ มั พันธ์กบั ศาสนาส่วนใหญ่ จะมีความงดงาม มีรปู แบบทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ แสดงถึงการสร้างงานของช่างที่ส�ำแดงฝีมือจากประสบการณ์และภูมิปัญญา ที่สั่งสม งาน “ลายค�ำ” ก็เช่นเดียวกัน เป็นงานประดับตกแต่งส่วนต่าง ๆ ของ อาคารเครื่องไม้ที่ช่างล้านนาได้สั่งสม สร้างสรรค์ และสืบทอดฝีมือไว้กับวิหาร รุ ่ น แล้ ว รุ่ น เล่ ามายาวนานเกิน ๕ ทศวรรษ ภาพลายทองบนพื้นแดงที่ผ นัง เบื้องหลังพระประธาน หรือความระยิบระยับของลวดลายทองบนเสาแต่ละต้น เป็ นความงามที่ ส ร้ า งบรรยากาศให้ รู ้ สึ ก ถึ ง ความสงบ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องวิ ห าร หากไล่ ส ายตาพิ จ ารณาลวดลายอย่ า งละเอี ย ด จะพบความน่ า ทึ่ ง ในการ ผูกลาย และเลือกลวดลายมาตกแต่งพื้นที่ของเสา แป ขื่อ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งแสดงความอุตสาหะของช่างในการพยายามตกแต่งลายค�ำเพื่อปิดผิวไม้ โครงสร้างอาคารด้วยลวดลายทองเหล่านีท้ ุก ๆ ส่วน “ลายค�ำล้านนา” ผลงานของศาสตราจารย์เกียรติคุณสุรพล ด�ำริห์กุล เล่มนี้ เป็นหนังสือที่กล่าวได้ว่ารวบรวมความรู้เกี่ยวกับลายค�ำโบราณที่มีอายุ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๔ ไว้อย่างละเอียด เป็นผลจากการออกส�ำรวจ เก็บ ข้อมูลลวดลายของลายค�ำตามส่วนต่างๆ ของวิหารเก่าแก่แต่ละแห่ง ว่ามีลวด ลายแบบใดบ้าง และวิเคราะห์ให้เข้าใจพัฒนาการของงานลายค�ำในแต่ละ สมัย ซึ่งท�ำให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบลวดลายมีความสัมพันธ์กับ บริบททางประวัติศาสตร์ของล้านนาในแต่ละยุคด้วย ในการจัดพิมพ์หนังสือ “ลายค�ำล้านนา” ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งห่าง จากการจัดพิมพ์ครั้งแรกเกือบ ๒๐ ปี ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณได้ออกแบบใหม่ เพิ่มชุดภาพสี่สีและตารางแสดงลวดลายของลายค�ำในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๔ เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของลวดลายอย่างเข้าใจง่าย อนึง่ ด้ ว ยเหตุ ที่ วิ ห ารหลายแห่ ง ที่ อ าจารย์ สุ ร พลได้ บั นทึ ก ไว้ ในหนัง สื อ เล่ ม นี้ ใน ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงของลวดลายไปบ้าง หนังสือเล่มนี้จึงถือได้ว่าเป็น การสืบทอดองค์ความรู้ของ “ลายค�ำล้านนา” ให้คนรุ่นต่อไปได้ศึกษาและสืบ ทอดงานศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์นี้สืบไป ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

27


ค�ำน�ำผู้เขียน

(ในการพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๔)

หนังสือ ลายค�ำล้านนา เป็นหนังสือที่พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔

หรือยี่สิบปีมาแล้ว  แต่ก็ยังได้รับความสนใจ มีผู้ถามหาอยู่เสมอ  คงเป็นเพราะ เรื่องราวของงานศิลปกรรมลายค�ำประดับอาคารทางศาสนาของล้านนาเป็น อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมทีน่ า่ สนใจและภาคภูมใิ จของคนล้านนา  รวมทัง้ เนือ้ หา ที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้เกี่ยวข้องกับโบราณสถานส�ำคัญและลวดลายล้านนา ที่ถือ เป็นต�ำราทางศิลปะและประวัติศาสตร์ศิลปะแก่ช่างศิลปะพื้นถิ่น ศิลปิน ตลอด จนนักศึกษาและประชาชนที่สนใจในงานศิลปวัฒนธรรม แม้ว่าหนังสือ ลายค�ำล้านนา เล่มนี้จะเป็นผลผลิตที่เกี่ยวกับงานวิจัยที่ ได้ศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว แต่ความรู้เกี่ยวกับลวดลายและลายค�ำล้านนา ในหนังสือเล่มนีก้ ็ยังคงไม่ล้าหลัง  เนื่องจากมีผู้ศึกษาและเขียนหนังสือเกี่ยวกับ ลวดลายล้านนาน้อยมาก  ด้วยเหตุนสี้ �ำนักพิมพ์เมืองโบราณจึงได้กรุณาจัดพิมพ์ ขึน้ ใหม่อกี ครัง้  เพือ่ เป็นการเผยแพร่เรือ่ งราวของลวดลายและลายค�ำล้านนาตาม ค�ำเรียกร้องของผู้อ่าน  การจัดพิมพ์ครั้งใหม่นี้อาจมีภาพประกอบและลายเส้น ลวดลายทีแ่ ตกต่างไปจากการพิมพ์ครัง้ แรกบ้าง  เนือ่ งจากเวลาผ่านไปนานแล้ว จึงหาภาพเดิมได้ยาก มีบางส่วนใช้ภาพประกอบถ่ายใหม่ จึงท�ำให้การจัดพิมพ์ ใหม่ครั้งนี้มีภาพสีสี่ประกอบด้วย  จึงขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณในครั้ง นี้  และหวังว่าหนังสือเล่มนีค้ งได้รับการต้อนรับ  เป็นประโยชน์ต่อผู้มีใจรักใน งานศิลปะและสนใจในเรื่องราวทางมรดกวัฒนธรรมสืบไป ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ด�ำริห์กุล เมษายน ๒๕๖๔ 28

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ค�ำน�ำผู้เขียน

(ในการพิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๔) หนังสือเล่มนี้เป็นการปรับปรุงเนื้อหาและวิธีการน�ำเสนอใหม่ จาก

รายงานการวิจัยเรื่อง “งานศิลปกรรมลายค�ำประดับอาคารทางศาสนาล้านนาใน ระหว่างพุทธศตวรรษที ่ ๒๐-๒๔” เพือ่ ให้สามารถเข้าใจได้งา่ ยขึน้   ซึง่ ผูเ้ ขียนได้ท�ำการ วิจัยในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๙-๒๕๔๐ โดยได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจากส�ำนักงานคณะ กรรมการวิจยั แห่งชาติ และได้รบั รางวัลสภาวิจยั แห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจยั  ชมเชย ประจ�ำปี ๒๕๔๓ จากส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  ดังนัน้ อาจมีเนื้อหาบาง ส่วนที่แตกต่างไปจากรายงานการวิจัย แต่รายละเอียดทางวิชาการที่เป็นผลของการ วิจัยนั้นจะไม่แตกต่างไปจากเดิม  รวมทั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ก็แตกต่างไปจากชื่อของ รายงานการวิจัยเพียงเล็กน้อย เพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ คือ “งานศิลปกรรมลายค�ำประดับอาคารทางศาสนาล้านนาในระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ ๒๑-๒๔”  จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจใน ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของล้านนา หนังสือและงานวิจยั ฉบับนีส้ �ำเร็จได้ดว้ ยความกรุณาและความร่วมมือช่วยเหลือ สนับสนุนของหลาย ๆ ฝ่าย  นับตัง้ แต่เจ้าอาวาสวัดพระธาตุล�ำปางหลวง  เจ้าอาวาส วัดไหล่หิน เจ้าอาวาสวัดปงยางคก  เจ้าอาวาสวัดคะตึกเชียงมั่น  เจ้าอาวาสวัด พระธาตุเสด็จ  เจ้าอาวาสวัดเวียง จังหวัดล�ำปาง และเจ้าอาวาสวัดปราสาท จังหวัด เชียงใหม่ ที่ให้ความอนุเคราะห์และความสะดวกในส�ำรวจ และการบันทึกข้อมูลเพื่อ การศึกษาในครั้งนี้   คุณศักดิ์ รัตนชัย นายกสมาคมเพื่อการรักษาสมบัติวัฒนธรรม จังหวัดล�ำปาง ที่ได้กรุณาเอื้อเฟื้อด้านข้อมูลเอกสารต�ำนานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ วิจัยครั้งนี้  อาจารย์ฉตั รแก้ว สิมารักษ์  อาจารย์จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา ที่ได้กรุณาช่วย เหลือด้านเอกสารหนังสือ ตลอดจนให้ค�ำปรึกษาในด้านต่าง ๆ  อาจารย์วิถี พานิชพันธุ์ และคุณนวลศิริ ลิขิตอนุรักษ์  คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ช่วย สนับสนุนในการแปลเอกสารและรายงานการวิจยั   รวมทัง้ คุณวิชยั  ตันกิตติกร หัวหน้า อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ที่ได้ช่วยเหลือในการจัดท�ำรูปเล่มภาพประกอบรายงาน การวิจัย  ตลอดจนส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติที่ได้ให้ทุนอุดหนุนการวิจัย และส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณที่ได้ให้ความกรุณาสนับสนุนการจัดพิมพ์ในครั้งนี้  จึง ขอกราบขอบพระคุณพระคุณเจ้าและบุคคล ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ตามรายนาม ที่กล่าวมาแล้วไว้ ณ ที่นี้

สุรพล ด�ำริห์กุล คณะวิจิตรศิลป์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

29


สารบัญ ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน (ในการพิมพ์ครั้งที ่ ๒) ค�ำน�ำผู้เขียน (ในการพิมพ์ครั้งที ่ ๑)

๒๗ ๒๘ ๒๙

บทน�ำ

๓๒

บทที่ ๑ ประวัติงานศิลปกรรมลายค�ำและสถานภาพการศึกษา ลวดลายประดับของล้านนา ความหมายของ “ลายค�ำ” ประวัติความเป็นมาของงานศิลปกรรมลายค�ำ เทคนิคของงานลายค�ำประดับอาคารทางศาสนาของล้านนา สถานภาพการศึกษาและความรู้เกี่ยวกับลวดลายประดับของล้านนา ลวดลายประดับล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ลวดลายประดับล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลวดลายประดับล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลวดลายประดับล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ลวดลายประดับล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ลวดลายประดับล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ลวดลายประดับล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕

๓๗ ๓๗ ๓๘ ๓๙ ๔๐ ๔๑ ๔๗ ๔๘ ๕๔ ๕๕ ๕๖ ๕๙

บทที่ ๒ ประวัติและลักษณะสถาปัตยกรรมของอาคารทางศาสนาล้านนา ๖๕ อาคารทางศาสนาที่เป็นตัวอย่างของการศึกษางานศิลปกรรมลายค�ำ ๖๕ วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุล�ำปางหลวง (จังหวัดล�ำปาง) ๖๘ วิหารน�้ำแต้ม วัดพระธาตุล�ำปางหลวง (จังหวัดล�ำปาง) ๗๔ วิหารวัดเวียง (จังหวัดล�ำปาง) ๗๘ วิหารวัดไหล่หิน (วัดเสลารัตนปัพพตาราม) (จังหวัดล�ำปาง) ๘๒ วิหารวัดปงยางคก (จังหวัดล�ำปาง) ๘๕ วิหารโคมค�ำ วัดพระธาตุเสด็จ (จังหวัดล�ำปาง) ๘๘ วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น (จังหวัดล�ำปาง) ๙๑ วิหารวัดปราสาท (จังหวัดเชียงใหม่) ๙๔ สรุป ๙๖ 30

ล า ย คํ า ล้ า น น า


บทที่ ๓ งานศิลปกรรมลายค�ำประดับอาคารทางศาสนา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๔ วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุล�ำปางหลวง (จังหวัดล�ำปาง) วิหารน�้ำแต้ม วัดพระธาตุล�ำปางหลวง (จังหวัดล�ำปาง) วิหารวัดเวียง (จังหวัดล�ำปาง) วิหารวัดไหล่หิน (วัดเสลารัตนปัพพตาราม) (จังหวัดล�ำปาง) วิหารวัดปงยางคก (จังหวัดล�ำปาง) วิหารโคมค�ำ วัดพระธาตุเสด็จ (จังหวัดล�ำปาง) วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น (จังหวัดล�ำปาง) วิหารวัดปราสาท (จังหวัดเชียงใหม่) สรุป

๑๐๑ ๑๐๒ ๑๔๓ ๑๖๒ ๑๘๓ ๑๙๗ ๒๑๙ ๒๒๗ ๒๔๒ ๒๕๔

บทที่ ๔ รูปแบบและพัฒนาการของลวดลายประดับ ในงานศิลปกรรมลายค�ำ ลายกระหนก ลวดลายพรรณพฤกษา ลวดลายประดับเสาวิหาร ภาพพระอดีตพุทธเจ้า ลายหม้อดอกหรือปูรณฆฏ (ปูรณฆฏะ) ลวดลายภาพเทวดา ลวดลายต้นศรีมหาโพธิ ลวดลายภาพสัตว์ ลายหน้ากระดาน ลายดอกลอย ลายกลีบบัว ลวดลายในศิลปะรัตนโกสินทร์ สรุป

๒๕๘ ๒๖๔ ๒๗๙ ๓๐๔ ๓๑๐ ๓๑๗ ๓๒๕ ๓๒๘ ๓๔๔ ๓๕๘ ๓๖๐ ๓๖๖ ๓๗๒

บทที่ ๕ บทสรุป แบบแผนของงานศิลปกรรมลายค�ำล้านนา รูปแบบและพัฒนาการของลวดลายประดับล้านนา

๓๗๙ ๓๘๐ ๓๘๑

บรรณานุกรม นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

๓๘๖ ๓๙๕ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

๒๕๘

31


บทน�ำ

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าดินแดนซึ่งมีขอบเขตของพื้นที่อยู่ในบริเวณ

ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยนัน้ อุดมไปด้วยมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรม เนื่องด้วยครั้งหนึง่ เคยเป็นกลุ่มบ้านเมืองที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เป็น ของตนเอง มีความเจริญมั่นคงทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เป็น ที่รู้จักกันในนาม “อาณาจักรล้านนา”  ทุกวันนี้ร่องรอยโบราณวัตถุและโบราณ สถานซึ่งเป็นมรดกวัฒนธรรมของล้านนายังคงปรากฏอยู่เป็นอันมาก จึงเป็น หลักฐานที่ยืนยันให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีตที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้มีผู้ท�ำการศึกษาเรื่องราวของล้านนาทั้งทางด้านประวัติ ศาสตร์ ศิลปะ และโบราณคดีอยู่พอสมควร โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับลวด ลายประดับในศิลปะล้านนานัน้ นับได้ว่ามีความก้าวหน้าไปเป็นอันมาก แม้ว่าการศึกษาในเรื่องของลวดลายประดับล้านนาอย่างเป็นระบบจะ เริ่มต้นเมื่อไม่นานมานี้เอง โดยผลงานในระยะเริ่มแรกได้ปรากฏขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ในวิทยานิพนธ์ของมารุต อัมรานนท์ เรื่อง “ลวดลายปูนปั้นประดับ สถาปัตยกรรมในเมืองเชียงใหม่สมัยราชวงศ์มังราย”๑ ซึ่งการศึกษาดังกล่าว ท�ำให้ได้ทราบถึงรูปแบบและลักษณะของลวดลายปูนปั้นประดับศาสนสถาน ในยุคทองของล้านนาทีม่ อี ายุอยูใ่ นระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ยิง่ ขึน้ หลังจากนัน้ เป็นต้นมาจึงได้มีการศึกษาเรื่องของลวดลายประดับศาสนสถาน ล้านนามากขึ้น  ปรากฏผลงานออกมาทั้งที่เป็นบทความทางวิชาการ หนังสือ 32

ล า ย คํ า ล้ า น น า


บทที่

ประวัติงานศิลปกรรมลายค�ำและ สถานภาพการศึกษาลวดลายประดับ ของล้านนา

ความหมายของ “ลายค�ำ”

ลักษณะของวิหารล้านนาโดยทั่วไปจะมีลักษณะเด่นประการหนึ่ง คือ การไม่นยิ มท�ำฝ้าเพดาน แต่ชอบทีจ่ ะเปิดให้เห็นโครงสร้างไม้ทปี่ ระกอบขึน้ อย่าง มีระเบียบ ประณีต และนิยมการประดับตกแต่งในส่วนของโครงสร้าง ตลอด จนผนังภายในพระวิหารด้วยลวดลายลงรักปิดทองอย่างมีระเบียบสอดคล้อง กับโครงสร้างทั้งหมด ซึ่งลวดลายสีทองเหล่านัน้ จะเปล่งประกายอยู่ในความมืด สลัว เป็นความงดงามทีใ่ ห้ความรู้สกึ ถึงความศักดิส์ ทิ ธิ ์ ความศรัทธา และความ สุขสงบได้อย่างดี  นับเป็นแบบแผนของงานศิลปกรรมล้านนาอย่างหนึง่ ทีพ่ บอยู่ เสมอ  ลวดลายลงรักปิดทองประดับอาคารทางศาสนาดังกล่าวนีช้ าวล้านนา มักจะเรียกว่า “ลายค�ำ” ดังปรากฏการเรียกชือ่ พระวิหารทีป่ ระดิษฐานพระพุทธ สิหิงค์ของวัดพระสิงห์วรวิหาร เชียงใหม่ ซึ่งภายในมีงานประดับลวดลายลงรัก ปิดทองอย่างงดงามว่า “วิหารลายค�ำ”  อย่างไรก็ตามค�ำว่า “ลายค�ำ” พบว่า มีการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังปรากฏหลักฐานในงานวรรณกรรมล้านนาเรื่อง โคลงมังทรารบเชียงใหม่ ที่แต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ มีข้อความว่า “ระเบียงโขงขีดแข้ม ลายค�ำ เป็นนิทานจงจ�ำ ถี่ถ้อย อักขระแต่งจ�ำน�ำ ขอมเลข  ลายเอย เครือคร่ายสนสอดสร้อย สว่านเสี้ยว บวนบินฯ.” ๑

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

37


ดังนัน้ ค�ำว่า “ลายค�ำ” ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนีจ้ ึงหมายถึง ลวดลายปิด ทอง  ซึง่ ในหนังสือเล่มนีก้ ำ� หนดเรียกลวดลายปิดทองประดับอาคารทางศาสนา ว่า “ลายค�ำ”

ประวัติความเป็นมาของงานศิลปกรรมลายค�ำ

งานศิ ล ปกรรมลายค� ำ จะปรากฏมี อ ยู ่ ใ นล้ า นนามาตั้ ง แต่ ค รั้ ง ใดยั ง ไม่มีหลักฐานเป็นที่แน่ชัด  แต่จากความเห็นของศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี ที่ได้กล่าวถึงประวัติของงานช่างรักไทยไว้ว่า งานช่างรัก (lacquer work) ของ ไทยนั้ น  เดิ ม มี แ หล่ ง ก� ำ เนิ ด อยู ่ ใ นประเทศจี น ๒  ซึ่ ง ความเห็ น ดั ง กล่ า วจะ สอดคล้ อ งกั บ ข้ อ ความในหนั ง สื อ  Oxford  I llustrated Encyclopedia of the Arts ที่กล่าวไว้ว่า งานช่างรัก (lacquer work) มีจุดก�ำเนิดอยู่ในประเทศจีน ซึ่งมีหลักฐานเก่าสุดเป็นชิ้นส่วนของงานหัตถกรรมโบราณที่มีอายุอยู่ในราว ๗๐๐ ปี ก ่ อ นคริ ส ตกาล และพบว่ า มี ก ารใช้ แ พร่ ห ลายในสมั ย ราชวงศ์ ฮั่ น  (อายุ ในราว ๒๐๖ ปี ก ่ อ นคริ ส ตกาลถึ ง  ค.ศ. ๒๒๐) ๓  และในหนัง สื อ เรื่ อ ง Burmese Lacquer Ware ได้ ก ล่ า วถึง เรื่อ งนี้ไว้ เช่ น เดีย วกัน ว่ า  คนจีน รู ้ จั ก ท� ำ เครื่ อ งรั ก  (lacquer ware) อย่ า งแพร่ ห ลายก่ อ นชาติ อื่ น  ๆ มากกว่ า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้พบหลักฐานชิ้นส่วนของเครื่องรักในหลุมฝังศพที่ฝังไว้ เมื่อหลายพันปีมาแล้ว และได้มีการท�ำติดต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย ต่อมาเทคนิคการท�ำเครื่องรักจึงได้แพร่หลายไปสู่เกาหลี เวียดนาม ญี่ปุ่น และแถบเอเชียอาคเนย์ เช่น ไทย และพม่า โดยเฉพาะพม่าได้รับกรรมวิธีการ ท�ำเครื่องรักจากจีนมาตั้งแต่สมัยปยู (Pyu) เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๕ โดย ผ่านทางชนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในมณฑลเสฉวนใกล้พรมแดนของพม่า  ซึ่งได้รับ เทคโนโลยีนี้มาจากจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ทั้งนี้มณฑลเสฉวนเป็นแหล่ง วั ต ถุ ดิ บ ที่ ส�ำ คั ญ ที่ มี ทั้ ง ชาดและยางรัก  นอกจากนี้ในมณฑลยู นนานก็รู ้ จัก การผลิตงานเครื่องรักเหล่านี้เป็นอย่างดีด้วย  ต่อมากลุ่มชนทางตอนเหนือ ของน่านเจ้าเหล่านี้ได้อพยพลงมาสู่ดินแดนปยู ได้น�ำความรู้ในการผลิตเครื่อง รั ก มาด้ ว ย ดั ง ได้ พ บหลั ก ฐานเครื่ อ งรั ก หรื อ เครื่ อ งเขิ นของพม่ า ที่ เ ก่ า ที่ สุ ด เมื่อราว พ.ศ. ๑๘๑๗ ในเจดีย์มินกาลาเชดิหรือมันตระเจดีย์ (Min-gala-Zei-de)๔ ที่เมืองพุกาม ส�ำหรับงานเครื่องรักหรือเครื่องเขินในล้านนาสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับ ความรู้ดังกล่าวมาจากจีนในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับพม่า  การท�ำเครื่องรักของ ชาวล้านนาคงมีมาช้านานแล้ว ดังหลักฐานในพงศาวดารพม่ากล่าวไว้ว่า เมื่อ ครัง้ พระเจ้าบุเรงนองยกทัพมายึดครองเมืองเชียงใหม่ได้ใน พ.ศ. ๒๑๐๑ นัน้  ได้ 38

ล า ย คํ า ล้ า น น า


กวาดต้อนครัวเรือนและช่างฝีมือจ�ำนวนมากไปไว้ที่พม่าหลายครั้งซึ่งในจ�ำนวน นัน้ มีช่างเครื่องรักรวมอยู่ด้วย ปัจจุบันส่วนหนึง่ ของชาวล้านนาเหล่านัน้ ยังคง ท�ำเครื่องรักอยู่ที่เมืองพุกาม และพม่าเรียกงานเครื่องรักชนิดนี้ว่า “โยนเถ่” แปลว่า เครื่องของคนโยนหรือยวน ซึ่งหมายถึงชาวเชียงใหม่นั่นเอง๕ และใน ระหว่ า งที่ พ ม่ า ปกครองล้ า นนา เมื อ งเชี ย งใหม่ ต ้ อ งส่ ง เครื่ อ งบรรณาการที่ ประกอบด้วยช้าง ม้า ผ้าไหม และเครื่องรักหรือเครื่องเขินไปให้พม่าด้วย๖ หลักฐานดังกล่าวนี้สอดคล้องกับเรื่องราวที่สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ เที่ยวเมืองพม่า ว่า “ได้ความรู้แปลกใหม่ในทางโบราณคดี เนื่องด้วยการท�ำของลงรักใน เมืองพม่าอย่างหนึง่ จะได้กล่าวไว้ตรงนีด้ ้วย ฉันเห็นในหนังสือพงศาวดารพม่า ฉบับหนึง่ ว่า วิชาท�ำของลงรักนัน้  พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้ไปจากเมืองไทย (คือว่าได้ช่างรักไทยไปเมื่อตีกรุงศรีอยุธยาได้ใน พ.ศ. ๒๑๑๒) ถ้าจริงดังว่าก็ พอสันนิษฐานได้ว่าครั้งนัน้ ได้ไปแต่วิธีทำ� รักน�้ำเกลี้ยงกับท�ำลายรดน�้ำ จึงมีของ พม่าท�ำเช่นนั้นมาแต่โบราณ แต่วิธีที่ขุดพื้นรักลงไปเป็นรูปภาพและลวดลาย ต่าง ๆ นัน้  พวกช่างชาวเมืองพุกามเขาบอกฉันว่าเพิ่งได้วิธีไปจากเมืองเชียงใหม่ เมื่อชั้นหลัง” ๗ จากหลักฐานที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดท� ำให้สันนิษฐานได้ว่า  ทั้งงาน เครื่องรัก (lacquer ware) และงานลายค�ำ (gold leaf lacquer decorations) ของล้านนา ซึ่งเป็นงานในกลุ่มช่างรัก (lacquer work) เหมือนกัน คงได้รับความ รู้เหล่านี้มาจากจีน และคงปรากฏมีอยู่ในภูมิภาคแถบนี้มาเป็นเวลาช้านานแล้ว

เทคนิคของงานลายค�ำประดับอาคาร ทางศาสนาของล้านนา

ลักษณะลวดลายลงรักปิดทองหรือลายค�ำที่พบโดยทั่วไปในล้านนานั้น มักจะนิยมท�ำลวดลายปิดทองลงบนพื้นสีแดงชาด ซึ่งในภาคกลางจะเรียกว่า “ปิดทองร่องชาด”  และพบว่าเทคนิคในการท�ำลวดลายลงรักปิดทองหรืองาน ลายค�ำมีอยู่ ๓ วิธีการ คือ  วิธีแรก เป็นลวดลายที่ท�ำด้วยเทคนิคปิดทองลงบนพื้นรักตามร่องฉลุ ของลวดลายบนกระดาษหรือแม่พิมพ์ลายฉลุ (stencil) ซึ่งจะคล้ายคลึงกับเทคนิคปิดทองของงานช่างไทยในภาคกลางที่เรียกว่า “ปิดทองลายฉลุ”๘  ดังนัน้ ใน ที่นจี้ ะเรียกงานลายค�ำในเทคนิคนี้ว่า “งานปิดทองลายฉลุ” ด้วย  วิธีการนี้เป็น เทคนิคที่ง่ายและท�ำได้รวดเร็ว มักนิยมใช้ทำ� ลวดลายที่ซ�้ำ ๆ กัน วิธที  ี่ ๒ เป็นเทคนิคลายขูด เป็นวิธกี ารท�ำลวดลายโดยใช้การขูดขีดเส้นลง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

39


บนพื้นที่ที่ปิดทองไว้แล้ว เทคนิคแบบนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับการท�ำลวดลาย บนผิวภาชนะเครื่องรักหรือเครื่องเขินของเชียงใหม่ด้วยวิธีขูดลายหรือที่เรียก ว่า “ฮายดอก” หรือ “ฮายลาย” ๙  ซึ่งเส้นที่เกิดจากการขูดเอาผิวทองด้านบน ออก จะเกิดเป็นเส้นลวดลายสีเข้มหรือสีแดงของชาดบนพื้นทอง ลวดลายที่ ปรากฏจึงมีลักษณะเหมือนกับการเขียนภาพลายเส้นบนพื้นสีทอง ซึ่งจะมีเส้นที่ เป็นอิสระและมีรายละเอียดของลวดลายมากกว่างานปิดทองลายฉลุ  งานลาย ค�ำที่ใช้เทคนิคลายขูดพบว่าเป็นเทคนิครุ่นเก่าที่นิยมประดับอยู่บริเวณเสาหลวง โดยเฉพาะในส่วนทีเ่ ป็นลายเชิงเสาของวิหารทีม่ อี ายุอยูใ่ นระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ เช่นที่วิหารพระพุทธ  วิหารน�้ำแต้ม วัดพระธาตุล�ำปางหลวง อ�ำเภอ เกาะคา และวิหารวัดเวียง อ�ำเภอเถิน จังหวัดล�ำปาง วิธีที่ ๓ เป็นเทคนิคผสมระหว่างเทคนิคลายขูดกับปิดทองลายฉลุ ซึ่งจะ เป็นลวดลายปิดทองทีม่ กี ารขูดเส้นหรือแต่งเติมเส้นให้มรี ายละเอียดมากขึน้  มัก พบในภาพบุคคล เทวดา และสัตว์ ตลอดจนในลายกระหนกและดอกไม้ใบไม้ ด้วย  เทคนิคดังกล่าวนี้เป็นลักษณะเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของงาน ลายค�ำล้านนา พบว่าเป็นที่นิยมมากที่สุดและปรากฏมีอยู่ในแทบทุกช่วงเวลา วิธีการดังกล่าวจะท�ำให้ลวดลายเกิดมิติและมีรายละเอียดของลวดลายงดงาม มากขึ้น  จะแตกต่างไปจากการท�ำลวดลายปิดทองให้มีรายละเอียดของภาค กลางทีม่ กั นิยมใช้เทคนิคปิดทองลายรดน�ำ  ้ และเป็นเทคนิคทีเ่ พิง่ เข้ามาสู่ล้านนา ในระยะหลัง ๆ

สถานภาพการศึกษาและความรู้เกี่ยวกับ ลวดลายประดับของล้านนา

แม้วา่ การศึกษางานศิลปกรรมลายค�ำประดับอาคารทางศาสนาของล้านนา จะยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน แต่การศึกษาลวดลายประดับในงานศิลปกรรม แบบอื่น ๆ เช่นงานปูนปั้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา น่าจะเป็นความรู้พื้นฐานและ สามารถน�ำลวดลายเหล่านัน้ มาเปรียบเทียบกันได้  แม้ว่าลักษณะของลวดลาย ในงานลายค�ำจะไม่มีความนูนลึกและมีรายละเอียดเหมือนกับลวดลายในงาน ปูนปั้น  แต่รูปแบบของลวดลายในงานลายค�ำจะไม่แตกต่างไปจากลวดลาย ในเทคนิคแบบอื่น ๆ มากนัก  ดังนัน้ ลักษณะของลวดลายในงานปูนปั้นกับงาน ลายค�ำจึงเป็นแบบแผนเดียวกัน ซึ่งสามารถน�ำมาศึกษาเปรียบเทียบร่วมกันได้ อย่างไรก็ตามการศึกษาในเรือ่ งของลวดลายประดับของล้านนาในช่วงเวลาทีผ่ า่ น มา ความรู้ส่วนใหญ่ที่ได้รับมักจะเป็นการศึกษาลวดลายปูนปั้นประดับโบราณ สถานเสียเป็นส่วนใหญ่  ดังปรากฏสถานภาพของการศึกษาและความรู้ที่เกี่ยว 40

ล า ย คํ า ล้ า น น า


บทที่

ประวัติและลักษณะสถาปัตยกรรม ของอาคารทางศาสนาล้านนา

อาคารทางศาสนาที่เป็นตัวอย่าง ของการศึกษางานศิลปกรรมลายค�ำ

การที่จะศึกษาถึงรายละเอียดของงานศิลปกรรมลายค�ำประดับตกแต่ง อาคารทางศาสนาล้านนาที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔ ในเบื้องต้น มีความจ�ำเป็นที่จะต้องคัดเลือกตัวอย่าง หรือแหล่งที่จะท�ำการศึกษา หรือ อาคารทางศาสนาล้านนาที่ยังคงเหลือร่องรอยของศิลปกรรมลายค�ำที่มีอายุ อยู่ในช่วงเวลานี้  เนื่องจากอาคารทางศาสนาหรือศาสนสถานที่มีอายุอยู่ใน ขอบเขตของช่วงเวลาที่จะท�ำการศึกษาครั้งนี้ค่อนข้างมีเหลืออยู่อย่างจ�ำกัด ทั้งนี้อาคารทางศาสนาส่วนใหญ่มักจะได้รับการบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอมา ซึ่งบางครั้งได้มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม รวมถึงงาน ศิลปกรรมประดับตกแต่งอาคารเหล่านัน้ ด้วย จึงท�ำให้ไม่อาจยืนยันได้แน่ชัดว่า อาคารทางศาสนาและงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะงานลายค�ำประดับ ตกแต่งอาคารเหล่านัน้  จะมีอายุอยู่ในช่วงเวลาทีส่ อดคล้องกับเรือ่ งราวทีป่ รากฏ อยูใ่ นเอกสารหรือไม่  ดังนัน้ ในการศึกษาครัง้ นีจ้ ำ� เป็นต้องมีกระบวนการคัดเลือก อาคารทางศาสนาที่จะใช้เป็นแหล่งท� ำการศึกษางานศิลปกรรมลายค�ำ ซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้ ขัน้ ตอนแรก  การเลือกอาคารทางศาสนา โดยพิจารณารายชือ่ ของอาคาร ทางศาสนาที่สันนิษฐานว่ามีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๕ จากเอกสารต�ำนาน ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

65


พงศาวดาร และเอกสารหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารการประกาศขึ้น ทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากร ซึง่  “อาคารทางศาสนา” ทีเ่ ป็นตัวอย่าง ของการศึกษาครั้งนี้หมายถึง สิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นเรือนโรง ใช้ทั้งไม้และ ก่ออิฐถือปูนเป็นวัสดุในการก่อสร้าง ได้แก่ โบสถ์ วิหาร หอไตร กุฎ ี และศาลา ขั้นตอนที่ ๒ ศึกษาประวัติการก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซมอาคารทาง ศาสนาเหล่านัน้ จากเอกสารต�ำนาน พงศาวดาร และหนังสือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ ๓ ส�ำรวจ ตรวจสอบอาคารทางศาสนาและงานศิลปกรรมลาย ค�ำประดับตกแต่งอาคารทางศาสนาเหล่านัน้  ว่ามีอายุอยู่ในขอบเขตของช่วง เวลาที่ท�ำการศึกษาครั้งนี้หรือไม่  เพราะถึงแม้ว่าอาคารทางศาสนาเหล่านั้น จะมีประวัติปรากฏในเอกสารต�ำนานต่าง ๆ แต่มักจะมีการบูรณะซ่อมแซมอยู่ ตลอดมาตามอายุขยั   จึงท�ำให้รายละเอียดทางศิลปกรรมและองค์ประกอบทาง สถาปัตยกรรมมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ  แม้ว่าบางครั้งอาจมีเอกสารบันทึก เรื่องราวของการบูรณะซ่อมแซม แต่ส่วนมากจะไม่มีการบันทึกไว้  ดังนั้นจึง จ�ำเป็นต้องตรวจสอบทั้งเอกสารและจากค�ำบอกเล่าของผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจน ท�ำการส�ำรวจ ตรวจสอบอาคารเหล่านัน้ จากสภาพทีเ่ หลืออยู่ ว่ามีงานศิลปกรรม ลายค�ำประดับตกแต่งอยู่หรือไม่ และมีการซ่อมแซมมากน้อยเพียงใด  หลังจาก นัน้ จึงพิจารณาเลือกอาคารทางศาสนาที่อยู่ในขอบเขตเวลาที่ก�ำหนด จากการตรวจสอบภาคเอกสารพบว่ามีรายชื่อของวัดและอาคารทาง ศาสนาเป็นจ�ำนวนมากที่ปรากฏเรื่องราวอยู่ในเอกสารต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าอาคาร จะมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔  จึงได้ท�ำการส�ำรวจตรวจสอบใน เบื้องต้น  พบว่าอาคารทางศาสนาส่วนใหญ่ถูกรื้อถอนและปฏิสังขรณ์ที่ท� ำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง  ดังตัวอย่างของอาคารทางศาสนาในเขต เมืองเชียงใหม่ ปรากฏเรือ่ งราวอยูใ่ นเอกสารว่าสร้างขึน้ หรือบูรณะในช่วงเวลาของ การฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๔  แต่ปัจจุบันอาคาร ต่าง ๆ เหล่านัน้ ถูกรื้อถอนลงและสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นแทนที่  มีบางแห่งได้ รับการบูรณะซ่อมแซมจนเปลี่ยนแปลงสภาพไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เช่น วิหาร วัดเมธัง วิหารวัดพวกแต้ม วิหารวัดผาบ่อง วิหารวัดแสนเมืองมา (หัวข่วง) ๑ วัดอุโมงค์ วัดดวงดี  วัดส�ำเภา๒ วัดพันอ้น วัดบ้านปิง วัดดอกค�ำ วัดเชียงยืน๓ พระวิหารหลวงด้านทิศตะวันตกของวัดพระธาตุดอยสุเทพ๔ เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้ จึงเหลืออาคารทางศาสนาล้านนาที่อยู่ในขอบข่ายที่จะต้องท�ำการส�ำรวจภาค สนามเพื่อตรวจสอบในรายละเอียดด้านต่าง ๆ อีกครั้งเพียง ๑๖ แห่ง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จ�ำนวน ๗ แห่ง ได้แก่ วิหารลายค�ำ อุโบสถสองสงฆ์ และหอไตร ในวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร, วิหารวัดปราสาท, พระอุโบสถวัด 66

ล า ย คํ า ล้ า น น า


เชียงมั่น  ในเขตอ�ำเภอเมือง, วิหารหลังเล็ก  วัดบุพพาราม และวิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทอง อ�ำเภอจอมทอง จังหวัดล�ำปาง จ�ำนวน ๘ แห่ง ได้แก่ วิหารวัดคะตึกเชียงมัน่  วิหารโคมค�ำ ทีว่ ดั พระธาตุเสด็จ ในเขตอ�ำเภอเมือง, วิหารวัดปงยางคก อ�ำเภอห้างฉัตร, วิหาร วัดไหล่หิน, วิหารหลวง วิหารพระพุทธ และวิหารน�้ำแต้ม ในวัดพระธาตุลำ� ปาง หลวง อ�ำเภอเกาะคา และวิหารวัดเวียง อ�ำเภอเถิน จังหวัดน่าน จ�ำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ วิหารหลวง วัดพระธาตุแช่แห้ง อ�ำเภอ เมือง หลังจากท�ำการส�ำรวจภาคสนามเพือ่ ตรวจสอบอาคารทางศาสนาและงาน ศิลปกรรมลายค�ำทีป่ ระดับอาคารทางศาสนาพบว่ามี ๔ แห่ง ได้แก่ วิหารลายค�ำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร, อุโบสถวัดเชียงมัน่ , วิหารหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทอง ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และวิหารหลวง วัดพระธาตุล�ำปางหลวง ในเขตจังหวัด ล�ำปาง ได้รับการบูรณะซ่อมแซมในช่วงหลังพุทธศตวรรษที ่ ๒๔ ลงมาแล้วเป็น อันมาก  แม้ว่าแบบแผนทางสถาปัตยกรรมของอาคารเหล่านีจ้ ะยังคงมีรูปแบบ เป็นเช่นเดิม  แต่งานศิลปกรรมลายค�ำประดับตกแต่งอาคารได้ถูกซ่อมแซม เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง  นอกจากนี้ยังพบว่าอาคารทางศาสนาจ�ำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ อุโบสถสองสงฆ์และหอไตร วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร, วิหารเล็ก วัดบุพพาราม ในเขตจังหวัดเชียงใหม่, วิหารหลวง วัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัด น่าน ไม่พบร่องรอยของงานศิลปกรรมลายค�ำประดับอยู่ หรือมีสภาพเหลืออยู่ เพียงพอที่จะสามารถท�ำการศึกษาได้  ดังนัน้ อาคารดังกล่าวจึงไม่อาจจะเป็น ตัวอย่างของการศึกษางานศิลปกรรมลายค�ำในครั้งนี้ได้ ด้วยเหตุนจี้ ึงเหลืออาคารทางศาสนาที่เป็นตัวอย่างหรือแหล่งศึกษางาน ศิลปกรรมลายค� ำ ในครั้งนี้จ� ำนวน ๘ แห่ง  คือ  วิหารพระพุทธและวิหารน�้ ำ แต้ม วัดพระธาตุล�ำปางหลวง, วิหารวัดไหล่หิน, วิหารวัดปงยางคก, วิหารวัด เวียง, วิหารโคมค�ำ วัดพระธาตุเสด็จ, วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น ในเขตจังหวัด ล�ำปาง  และวิหารวัดปราสาท จังหวัดเชียงใหม่  ซึง่ แต่ละแห่งมีรายละเอียดของ ประวัติการก่อสร้างและบูรณะ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ดังนี้

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

67


ภาพที่ ๑  วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุล�ำปางหลวง จ. ล�ำปาง

วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุล�ำปางหลวง  ต�ำบลล�ำปางหลวง อ�ำเภอเกาะคา จังหวัดล�ำปาง

ประวัติการก่อสร้างและบูรณะ

แม้จะไม่พบบันทึกประวัติการก่อสร้างวิหารพระพุทธอยู่ในเอกสารและ ต�ำนานใด ๆ แต่เมื่อพิจารณาจากข้อความที่ปรากฏใน ต�ำนานพระธาตุล�ำปาง  หลวง และศิลาจารึกในวัดพระธาตุล�ำปางหลวง สันนิษฐานว่าวิหารแห่งนีน้ ่าจะ สร้างขึน้ ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที ่ ๒๑ เพราะหลักฐานทัง้ สองกล่าวไว้สอดคล้อง กันว่า เจ้าหมื่นค�ำเพชร ผู้เป็นเชื้อขุนอยู่เมืองใต้ซึ่งได้มาสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้า ติโลกราช กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ และพระเจ้าติโลกราชโปรดให้เป็นเจ้าเมือง นครล�ำปาง  ได้มีจิตศรัทธาก่อก�ำแพง สร้างพระพุทธรูปและวิหารขึ้นในวัดแห่ง นี้เมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๙๕  แต่ข้อความในศิลาจารึกดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าเป็นวิหาร หลังใด  ขณะเดียวกันมีข้อความใน ต�ำนานพระธาตุล�ำปางหลวง และศิลา จารึกอีกหลักหนึง่  กล่าวถึงการสร้างวิหารอีกหลังหนึง่ ใน พ.ศ. ๒๑๐๔ และหล่อ พระเจ้าล้านทองประดิษฐานไว้ใน พ.ศ. ๒๑๐๖๖ ซึ่งควรจะเป็นวิหารหลวงซึ่ง เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทองมาจนทุกวันนี้  นอกจากนี้ใน ต�ำนานพระ  68

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ภาพที่ ๒  วิหารพระพุทธ  (ด้านทิศตะวันตก)

ภาพที่ ๓  พระพุทธรูปประธาน ในวิหารพระพุทธ

วิหารต้นแก้ว

วิหารนํ้าแต้ม เจดีย์ประธาน

วิหารหลวง หอไตร

วิหารพระพุทธ

แผนผังที่ ๑  แผนผังที่ตั้งของสิ่งก่อสร้างภายในเขตพุทธาวาส วัดพระธาตุล�ำปางหลวง จ. ล�ำปาง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

69


ธาตุล�ำปางหลวง กล่าวถึงการหล่อพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งน�้ำหนักสามหมื่น ทองในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ น�ำมาจากเวียงล�ำปางแล้วมาไว้ใน “วิหาร ด้านเหนือ”  มีขอ้ ความถัดมากล่าวถึง “พระพุทธรูปเจ้าองค์หลวงอันอยูใ่ นวิหาร  ด้านใต้ ก็หากมีแต่ก่อนมาแล” ๗  ค�ำว่า “วิหารด้านเหนือ” ที่ปรากฏในต�ำนาน ดังกล่าวควรหมายถึง “วิหารน�้ำแต้ม” ที่ตั้งอยู่ทางด้านเหนือขององค์พระบรม ธาตุล�ำปางหลวง ซึ่งปัจจุบันยังปรากฏพระพุทธรูปส�ำริดนาม “พระเจ้าสาม หมืน่ ทอง” ประดิษฐานเป็นประธาน  ส่วน “วิหารด้านใต้” ทีใ่ นต�ำนานระบุว่ามี พระพุทธรูปเจ้าองค์หลวงควรจะหมายถึง “วิหารพระพุทธ” ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศใต้ ขององค์พระธาตุล�ำปางหลวง ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปัน้ ขนาด ใหญ่เป็นประธานอยู่ (ดูแผนผังที่ ๑)  จากข้อความในต�ำนานที่กล่าวว่า “วิหาร  ด้านใต้กห็ ากมีแต่กอ่ นมาแล” ซึง่ หมายถึงมีมาก่อนวิหารหลวงและวิหารน�้ำแต้ม ท�ำให้เชื่อว่าวิหารที่เจ้าหมื่นค�ำเพชรสร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๐๑๙ ก่อนวิหารหลวง และวิหารน�้ำแต้มก็คือ “วิหารพระพุทธ” นัน่ เอง อย่างไรก็ตามวิหารพระพุทธคงได้รับการบูรณะซ่อมแซมอยู่หลายครั้ง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานในเอกสาร นอกจากจารึกอักษรธรรมล้านนาเขียนอยู่ที่ เสาหลวงภายในวิหาร มีขอ้ ความสรุปได้วา่  มีการซ่อมแซมงานศิลปกรรมลายค�ำ ประดับเสาคู่หนึง่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕๘  และในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ได้ มีการบูรณปฏิสงั ขรณ์สงิ่ ก่อสร้างภายในวัดพระธาตุล�ำปางหลวง โดยเฉพาะพระ วิหารหลวงได้รบั การบูรณปฏิสงั ขรณ์ครัง้ ใหญ่ ดังปรากฏหลักฐานทีห่ น้าบันวิหาร มีอักษรระบุปีของการบูรณะไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖  จึงเชื่อว่าวิหารพระพุทธและ สิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ในวัดนีค้ งได้รับการบูรณะซ่อมแซมในช่วงเวลานีด้ ้วย

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

วิหารพระพุทธเป็นวิหารแบบปิดหรือผนังทึบ ขนาด ๕ ห้อง ตั้งอยู่ทาง ด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุลำ� ปางหลวง  แผนผังเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า มียกเก็จ ออกทางด้านหน้า ๑ ช่วง ซึง่ ส่วนนีเ้ ป็นบริเวณมุขโถงด้านหน้า  และยกเก็จออก ทางด้านหลังอีก ๑ ช่วง ซึ่งส่วนนี้เป็นห้องท้ายวิหารที่อยู่ด้านหลังฐานชุกชีและ พระพุทธรูปประธาน (แผนผังที่ ๒)  หลังคาวิหารท�ำลดชั้นลงด้านหน้า ๑ ชั้น ด้านหลัง ๑ ชั้น ซึ่งสอดคล้องกับการยกเก็จของส่วนฐาน  ส่วนหลังคาปีกนก จะลดชั้นลงด้านข้าง ๆ ละ ๑ ตับ  ฐานของวิหารสูงจากพื้นไม่มากนักประมาณ ๒๐ เซนติเมตร  วิหารที่มีผังในลักษณะดังกล่าวนี้ไม่เคยปรากฏในที่อื่น ๆ ใน ล้านนามาก่อน  แต่จะไปคล้ายคลึงกับวิหารบางแบบของสุโขทัย  เช่น วิหาร วัดชัยชนะสงคราม วัดซ่อนข้าว วัดเจดีย์สี่ห้อง เป็นต้น และวิหารบางแบบ 70

ล า ย คํ า ล้ า น น า


บทที่

งานศิลปกรรมลายค�ำประดับอาคาร ทางศาสนาระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๔

อาคารทางศาสนาของล้ า นนาโดยเฉพาะวิ ห ารที่ เ ลื อ กมาเป็ น

ตัวอย่างของการศึกษางานศิลปกรรมลายค�ำในหนังสือเล่มนี้ ล้วนแต่เป็นวิหาร เครื่องไม้ที่ย่อมจะเกิดความช�ำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และคงได้รับการ บูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอมา ซึ่งในการซ่อมแซมแต่ละครั้งอาจมีผลกระทบต่อ งานศิลปกรรมประดับตกแต่งที่มีอยู่โดยเฉพาะงานศิลปกรรมลายค�ำ  ดังนัน้ จึง มีร่องรอยของการซ่อมแซม และการซ่อมแซมแต่ละครั้งส่วนใหญ่จะไม่มีบันทึก เป็นหลักฐาน จึงเป็นปัญหาต่อการศึกษาในครั้งนี้  เพราะไม่อาจทราบได้แน่ชัด ว่างานศิลปกรรมลายค�ำที่ปรากฏอยู่เหล่านัน้ เป็นผลงานที่ทำ� ขึ้นในช่วงเวลาใด ดังนัน้ จึงจ�ำเป็นที่จะต้องศึกษา ตรวจสอบ และจ�ำแนกกลุ่มของงานศิลปกรรม ลายค�ำที่มีความแตกต่างกันออกมา เพื่อให้ทราบถึงช่วงเวลาและแบบแผนของ งานศิลปกรรมลายค�ำว่าสอดคล้องกับประวัติการก่อสร้างและบูรณะ ตลอดจน แบบแผนทางสถาปัตยกรรมของวิหารทีป่ รากฏอยูห่ รือไม่  ซึง่ การน�ำเสนอรูปแบบ ของลวดลายในงานศิลปกรรมลายค�ำในหนังสือเล่มนี ้ จะจัดกลุม่ ไปตามประเภท ของลวดลายที่ปรากฏไปตามล�ำดับ เนื่องจากลวดลายที่ประดับอยู่ในพื้นที่ส่วน ต่าง ๆ จะเป็นลายซ�้ำ ๆ กัน  มีรายละเอียดดังนี้ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

101


ภาพที่ ๒๘  ภายในวิหารพระพุทธ ประดับตกแต่งด้วยงานลายค�ำ

วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุล�ำปางหลวง  อ�ำเภอเกาะคา จังหวัดล�ำปาง

ที่วิหารพระพุทธมีงานศิลปกรรมลายค�ำประดับตกแต่งอยู่ในพื้นที่สอง ส่วน คือ ภายในพระวิหาร และภายนอกวิหารหรือบริเวณหน้ามุข  พืน้ ทีภ่ ายใน พระวิหารพบว่ามีงานลายค�ำเน้นประดับตกแต่งอยู่เฉพาะบริเวณพื้นที่ระหว่าง เสาของห้องประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน โดยจะประดับอยูท่ ตี่ วั ไม้โครงสร้าง เครือ่ งบน เพดาน คอสอง อุดจัว่  อุดปีกนก ฝาไม้ฉากหลังด้านหลังพระประธาน และหน้าแหนบด้านหน้าพระประธาน (ภาพที่ ๒๘-๓๕)  ไม่ปรากฏงานลายค�ำ

ภาพที่ ๒๙  งานลายค�ำประดับบน หน้าบันที่อยู่ด้านหน้า ฐานชุกชี ภายในวิหาร พระพุทธ

102

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ภาพที่ ๓๐  งานลายค�ำประดับบนหน้าบันปีกนก ที่อยู่ด้านหน้าฐานชุกชีด้านทิศใต้ ภายในวิหารพระพุทธ

ภาพที่ ๓๑  งานลายค�ำประดับบนหน้าบันปีกนก ที่อยู่ด้านหน้าฐานชุกชีด้านทิศเหนือ ภายในวิหารพระพุทธ

ภาพที่ ๓๒  งานลายค�ำประดับด้านหลังของหน้าบัน ปีกนก ที่หน้าฐานชุกชีด้านทิศใต้ ภายในวิหารพระพุทธ

ภาพที่ ๓๓  งานลายค�ำประดับด้านหลังของหน้าบัน ปีกนก ที่หน้าฐานชุกชีด้านทิศเหนือ ภายในวิหารพระพุทธ

ภาพที่ ๓๔  ภาพที่ ๓๕  งานลายค�ำประดับอุดปีกนกทิศเหนือ  งานลายค�ำประดับอุดปีกนกทิศใต้  ด้านหลังพระประธาน ภายในวิหารพระพุทธ ด้านหลังพระประธาน ภายในวิหารพระพุทธ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

103


ในห้องด้านหน้าพระประธานกับห้องท้ายวิหาร  ยกเว้นเสาหลวงที่อยู่ในห้อง ด้านหน้าจะมีลายค�ำประดับทุกต้น   สภาพของงานลายค�ำส่วนใหญ่ในวิหารพระพุทธมีความเสียหายเกิดขึ้น น้อย เนื่องจากวิหารแห่งนี้เป็นวิหารแบบทึบที่มีผนังปิดทั้งสี่ด้าน จึงได้รับผล กระทบจากแสงแดด ลม และน�้ำฝนไม่มากนัก  แต่มีงานลายค� ำบางส่วนที่ ค่อนข้างจะลบเลือนเสียหาย เนื่องจากอยู่ในบริเวณที่น�้ำฝนไหลซึมเข้ามาท�ำให้ เกิดความเสียหายได้ง่าย ได้แก่ บริเวณคอสอง อุดจั่ว และอุดปีกนก รวมทั้ง ลวดลายบริเวณเชิงเสาหลวงที่เกิดจากการสัมผัสของผู้คน   ส่ ว นงานลายค�ำ ที่ป ระดับ ภายนอกในบริเวณหน้ า มุข จะปรากฏอยู ่ ที่ ฝาผนังไม้ซึ่งเป็นฝาไม้เข้าลิ้นกั้นห้องวิหาร มีงานลายค�ำประดับอยู่เต็มทั้งผนัง (ภาพที่ ๓๖-๓๘)  รวมทั้งที่เสาและบานประตูวิหารด้วย ลวดลายที่ประดับ ฝาไม้หน้ามุขนีค้ ่อนข้างซีดและลบเลือนบางแห่ง  เนื่องจากเป็นส่วนที่เปิดโล่ง ท�ำให้งานลายค�ำได้รับผลกระทบจากแสงแดด ลม และน�้ำฝนที่สาดเข้ามา อยู่เสมอ ส�ำหรับเทคนิคในการท�ำลวดลายของงานลายค�ำที่นี่ ส่วนใหญ่เป็นเทคนิค ผสมระหว่างปิดทองลายฉลุกับขูดลาย ท�ำให้ลวดลายมีรายละเอียดมากขึ้น แต่ที่เสาหลวงพบว่ามีงานลายค�ำที่ท�ำด้วยเทคนิคลายขูดตรงบริเวณลายเชิงเสา จึงท�ำให้เกิดเส้นของลวดลายที่เป็นอิสระ และรูปแบบของลวดลายไม่ซ�้ำกัน ซึ่งจะพบงานลายค�ำที่ใช้เทคนิคนี้เฉพาะที่เชิงเสาหลวงเท่านั้น  ในที่นี้จะแบ่ง

ภาพที่ ๓๖  บริเวณหน้ามุขและซุ้มประตูโขงทางเข้าวิหารพระพุทธ

104

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ภาพที่ ๓๗  งานลายค�ำประดับฝาไม้บริเวณหน้ามุข ด้านทิศเหนือ วิหารพระพุทธ

ภาพที่ ๓๘  งานลายค�ำประดับฝาไม้บริเวณหน้ามุข ด้านทิศใต้ วิหารพระพุทธ

งานศิลปกรรมลายค�ำออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนพืน้ ทีภ่ ายในวิหารและพืน้ ทีบ่ ริเวณ หน้ามุขออกจากกัน เนือ่ งจากลักษณะของลวดลายเป็นคนละกลุม่  เห็นถึงความ แตกต่างได้อย่างชัดเจน มีรายละเอียดดังนี้

งานศิลปกรรมลายค�ำประดับภายในวิหารพระพุทธ (๑) ลวดลายประดับเสา

เสาในวิหารพระพุทธทีม่ งี านลายค�ำประดับอยูค่ อื เสาหลวง มีจำ� นวน ๔ คู่ หรือ ๘ ต้น  ลวดลายประดับเสาจะท�ำซ�้ำหรือเหมือนกันเป็นคู่ ๆ  ซึ่งลักษณะ เช่นนีจ้ ะเป็นแบบแผนของลวดลายประดับเสาในวิหารล้านนาโดยทัว่ ไป  มีเสาคู่ หนึง่ ที่อยู่ติดผนังด้านหน้ามีลวดลายประดับเฉพาะที่เชิงเสา (ภาพที่ ๓๙) และ เสาคู่ถัดมาที่อยู่กลางห้องวิหารด้านหน้ามีร่องรอยการซ่อมแซม (ภาพที่ ๔๐)  ส่วนเสาคู่อื่น ๆ จะมีลวดลายประดับตลอดทั้งต้น  ลวดลายที่ปรากฏแบ่งได้ เป็น ๓ ส่วนตามองค์ประกอบของลวดลายบนพืน้ ทีข่ องเสา คือ เชิงเสา ท้องเสา และหัวเสา  ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดเป็นส่วน ๆ ไปตามล�ำดับดังนี้

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

105


ภาพที่ ๓๙  ลวดลายประดับเสาหลวง  ภายในวิหารพระพุทธ

ลายเชิงเสา

ภาพที่ ๔๐  ลวดลายประดับเสาหลวงที่มีร่องรอยท�ำใหม่ หรือได้รับการบูรณะ ภายในวิหารพระพุทธ

โดยทั่วไปมักพบว่าต�ำแหน่งการประดับลวดลายเชิงเสาของวิหารล้านนา จะประดั บ อยู ่ เหนื อ จากพื้ น วิ ห ารขึ้ น มาประมาณ ๑ เมตร  ทั้ ง นี้ค งมาจาก ประสบการณ์ของคนในสมัยโบราณที่พบว่า ลวดลายประดับเสาวิหารในระดับ ต�่ำมักจะเกิดความเสียหายได้ง่าย เนื่องจากความชื้นที่อาจขึ้นมาจากพื้นวิหาร และการสัมผัสของผู้คน  ส�ำหรับวิหารพระพุทธ งานลายค�ำประดับเชิงเสาอยู่ เหนือจากพื้นวิหารขึ้นมาประมาณ ๑ เมตรเช่นกัน  โดยพบว่าเสาหลวงจ�ำนวน ๓ คู่หรือ ๖ ต้นที่อยู่บริเวณด้านหน้าพระประธานจะมีลายเชิงเสาประดับอยู่ ซึ่งในจ�ำนวนนี้มีเพียงสี่ต้นเท่านัน้ ที่ลวดลายยังมีสภาพชัดเจน  ส่วนอีกสองต้นที่ อยูต่ ดิ กับฐานชุกชีหน้าพระประธานลวดลายลบเลือนไปมากจนไม่สามารถศึกษา ได้  ส่วนเสาหลวงคู่ที่อยู่ด้านหลังพระประธานจะไม่มีลายเชิงเสา ลั ก ษณะของลายเชิ ง เสาทั้ ง หมดมี อ งค์ ป ระกอบของลวดลายที่ ค ล้ า ย คลึงกันและทั้งหมดท�ำด้วยเทคนิคลายขูด ซึ่งเป็นการขูดขีดเส้นหรือลวดลาย ลงบนพื้ นที่ ที่ ล งรั ก ปิ ด ทองที่ ป ิ ด เต็ ม พื้ นที่ ไว้ แ ล้ ว   การท� ำ ลวดลายแบบนี้ มี ลักษณะคล้ายคลึงกับการท�ำลวดลายบนผิวภาชนะเครื่องเขินด้วยวิธีขูดลาย หรือที่เรียกว่า ฮายดอกหรือ ฮายลาย๑  เทคนิคนี้จะท�ำให้เกิดเส้นของลวด 106

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ลายที่เป็นอิสระ มีลวดลายที่แตกต่างจากเทคนิคปิดทองลายฉลุ ที่ลวดลาย เกิดจากการปิดทองโดยใช้แม่พิมพ์ลายฉลุ ซึ่งจะท�ำให้ได้ลวดลายที่ซ�้ำ ๆ กัน องค์ ป ระกอบของลายเชิ ง เสาที่ วิ ห ารพระพุ ท ธจะประกอบด้ ว ย ลวด ลายหน้ากระดานหลัก ๆ จ�ำนวน ๕ แถวที่เรียงซ้อนกันขึ้นไปตามล�ำดับ โดย แต่ละแถวมีลายหน้ากระดานประจ�ำยามลูกฟักขนาดเล็กท�ำหน้าที่เป็นเส้นคั่น ลวดลายแถวล่างสุด เป็นแถวของลายเชิงทีม่ ลี กั ษณะคล้ายกับลายเฟือ่ ง อุบะ มีลักษณะเป็นกรอบคล้ายกลีบบัวที่ห้อยหัวลง ลักษณะของกรอบดังกล่าว มี ๒ แบบ คือ  แบบที่ ๑ มีลักษณะเป็นเส้นคดโค้งทรงสามเหลี่ยมปลายแหลมชี้ลง (ภาพที่ ๔๑ และลายเส้นที่ ๑) ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับกาบบนในงานปูน ปั้นประดับสถาปัตยกรรมล้านนา เช่นที่เจดีย์วัดป่าสัก เมืองเชียงแสน๒  รูป สามเหลี่ยมของกาบที่ประกอบด้วยวงโค้งเล็ก ๆ ต่อเนื่องกัน วงโค้งแต่ละวง ท�ำโค้งมากเกือบเป็นรูปครึ่งวงกลมอันแสดงถึงอิทธิพลของลวดลายประดับใน ศิลปะจีน ซึ่งลายชนิดนี้เป็นรูปลักษณ์ของประตูสวรรค์ที่ปรากฏแล้วในสมัย ราชวงศ์ซุ่งเมื่อราวต้นพุทธศตวรรษที่  ๑๖-๑๙ ๓ ลวดลายแบบนี้จะพบอยู่ที่ เชิงเสาหลวงคู่ที่อยู่ติดฝาผนังด้านหน้า

ภาพที่ ๔๑  ลายเชิงเสาของเสาหลวงภายในวิหาร พระพุทธ มีลักษณะเป็นเส้นคดโค้งทรง สามเหลี่ยมปลายแหลมชี้ลง

ลายเส้นที่ ๑  รายละเอียดลายเชิงเสาของเสาหลวง  ภาพที่ ๔๑

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

107


บทที่

รูปแบบและพัฒนาการของลวดลาย ประดับในงานศิลปกรรมลายค�ำ

เพื่อเป็นการตรวจสอบอีกชั้นหนึง่ กับผลของการศึกษาในบทที่ผ่าน

มา ขณะเดียวกันจะวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของลวดลาย และอิทธิพลจากแหล่งงานศิลปะที่ได้รับมา   ดังนั้นในบทนี้จะเป็นการศึกษา วิเคราะห์ถึงรูปแบบและพัฒนาการของลวดลายในงานศิลปกรรมลายค�ำแต่ละ ประเภทตามช่วงเวลาที่ปรากฏ  ดังรายละเอียดที่จะกล่าวไปตามล�ำดับถึง ลวดลายแต่ละประเภทดังนี้

ลายกระหนก

กระหนก หมายถึง ลายไทยแบบหนึ่ง บางทีเรียก ลายกนก ซึ่งแปลว่า ลายทอง  ลวดลายกระหนกเป็นลวดลายที่หมายเอาส่วนที่เป็นใบไม้ประดิษฐ์ อย่างมีปลายสะบัดหรือไม่สะบัด  หรือช่อใบซึ่งผูกเขียนประกอบเข้ากับเถา อันผูกเขียนให้เลื้อยพันกัน หรือขดเป็นขนดต่อเนื่องกันในลักษณะต่าง ๆ  ใน งานลายไทยแม่ ล ายกระหนกจะเป็ น แบบของลวดลายที่ ผู ก เขี ย นอยู ่ ในรู ป สามเหลี่ยมมุมฉาก๑  และเมื่อมีการดัดแปลงประกอบเป็นลายลักษณะต่าง ๆ กัน จึงท�ำให้แตกลายเป็นหลายแบบและมีชื่อเรียกลายต่าง ๆ กัน๒  ในล้านนา พบว่ามีลวดลายประดับที่มีเค้าโครงในลักษณะดังกล่าวนี้เช่นกัน จึงเรียกชื่อ ว่า “กระหนกล้านนา” ๓  อย่างไรก็ตามลายกระหนกที่ปรากฏอยู่ในงานลายค�ำ ประดับอาคารทางศาสนาล้านนาระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๔ พบว่ามีทั้ง 258

ล า ย คํ า ล้ า น น า


กระหนกล้านนาและกระหนกในลายไทย  ซึ่งในที่นจี้ ะได้แยกกล่าวเป็นส่วน ๆ ไป มีรายละเอียดตามล�ำดับดังนี้

กระหนกล้านนา

กระหนกของล้านนาโดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นกระหนกรูปวงโค้งหรือ หัวขมวดม้วนโค้งปลายแหลม  พบครั้งแรกในงานปูนปั้นประดับเจดีย์วัดป่าสัก เมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ทีม่ อี ายุอยูใ่ นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ มีลกั ษณะ เป็นลายขมวดหัวม้วนโค้งเกือบเป็นวงกลมคล้ายเลขหนึง่ ไทยและต่อด้วยยอด แหลม โดยมีรอยบากที่หัวกระหนกและวงโค้ง (ลายเส้นที่ ๑๓๕)๔  และพบลาย นีท้ ี่เจดีย์แปดเหลี่ยมวัดสะดือเมือง เมืองเชียงใหม่  ในส่วนของลวดลายที่ท�ำขึ้น ในคราวแรกสร้างเจดีย์  กระหนกในลักษณะดังกล่าวนี้ได้มีผู้ให้ความเห็นว่า คงมี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ กระหนกที่ พ บในศิ ล ปะสุ โขทั ย และในศิ ล ปะต้ นกรุ ง ศรีอยุธยา ต้นแบบนัน้ คงมีอยู่ก่อนแล้วในศิลปะพุกาม๕  แต่มีผู้ให้ความเห็นที่ แตกต่างออกไปว่า กระหนกล้านนาน่าจะได้รับรูปแบบมาจากลวดลายประเภท กลุ่มลายดอกไม้น้�ำที่เขียนบนเครื่องถ้วยในศิลปะจีน๖  อย่างไรก็ดีปรากฏหลัก ฐานว่าลายกระหนกมีอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่  ๑๗ แล้ว  ดังปรากฏที่งานปูนปั้นประดับกรอบซุ้มจระน�ำเจดีย์มหาพล (กู่กุด) เมือง ล�ำพูน  ลักษณะของกระหนกเป็นกระหนกที่มีหัวม้วนโค้ง รอบหัวมีรอยบาก มี ก้านต่อจากหัวกระหนก ปลายก้านม้วนเข้าและมีรอยบากเช่นกัน (ลายเส้นที่

ลายเส้นที่ ๑๓๕  ลายกระหนกที่เจดีย์วัดป่าสัก  เมืองเชียงแสน เชียงราย  พุทธศตวรรษที่ ๑๙  (ภาพจาก จีราวรรณ แสงเพ็ชร์ : ๒๕๔๐)

ลายเส้นที่ ๑๓๖  กระหนกหริภุญชัยที่ซุ้มจระน�ำเจดีย์มหาพล  (กู่กุด) ล�ำพูน ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗  (ภาพจาก จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา : 1996)

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

259


ลายเส้นที่ ๑๓๗  ลายกระหนกที่วัดอุ้มโอ (ร้าง)  เชียงใหม่ พุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ภาพจาก จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา : 1996)

ลายเส้นที่ ๑๓๘  ลายกระหนกที่เจดีย์แปดเหลี่ยม  วัดสะดือเมือง (ร้าง) เชียงใหม่  พุทธศตวรรษที่ ๒๐  (ภาพจาก จิรศักดิ์  เดชวงศ์ญา : 1996)

๑๓๖)  ลักษณะดังกล่าวนีค้ ล้ายคลึงกับกระหนกศิลปะเขมรในประเทศไทยสมัย นครวัดตอนต้น แต่มีความแตกต่างกันในการผูกลาย  กระหนกที่คล้ายคลึงกัน แต่มีความเพรียวและมีรายละเอียดมากขึ้น พบที่ปรางค์ประธานวัดมหาธาตุ ลพบุรี ก�ำหนดอายุไว้ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งคงเป็นอิทธิพลของศิลปะ เขมรในประเทศไทยที่มีต่อศิลปะหริภุญชัย  แต่ไม่พบหลักฐานแสดงถึงความ ต่อเนื่องของลายกระหนกหริภุญชัยดังกล่าวในช่วงเวลาต่อมา๗ กระหนกรูปวงโค้งที่เจดีย์วัดป่าสัก เมืองเชียงแสน มีพัฒนาการต่อมาใน พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ดังปรากฏที่งานปูนปั้นประดับเจดีย์วัดอุ้มโอ (ร้าง) เมือง เชียงใหม่ และเจดีย์แปดเหลี่ยม วัดสะดือเมือง (ร้าง) ส่วนที่ถูกบูรณะภายหลัง ซึ่งจะกลายเป็นกระหนกวงโค้งที่มีเส้นแบบบาง (ลายเส้นที่ ๑๓๗-๑๓๘)

ลายเส้นที่ ๑๓๙  ลายกระหนกที่วิหารเจ็ดยอด  วัดมหาโพธาราม เชียงใหม่  ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ภาพจาก จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา : 1996)

260

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ลายเส้นที่ ๑๔๐  ลายกระหนกที่เจดีย์วัดหนองจริน หรือหนองเจ็ดลิน (ร้าง) เชียงใหม่  กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ภาพจาก จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา : 1996)

ลายเส้นที่ ๑๔๑  ลายกระหนกที่เจดีย์วัดปันสาด (ร้าง)  เชียงใหม่ กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (ภาพจาก จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา : 1996)

และในตอนปลายพุ ท ธศตวรรษที่   ๒๐ ลายกระหนกที่ วิ ห ารเจ็ ด ยอด วัดมหาโพธาราม จะมีความโปร่งบางและส่วนปลายของหัวกระหนกจะพลิ้ว มากขึ้น (ลายเส้นที่ ๑๓๙)  ซึ่งลักษณะของกระหนกที่วิหารเจ็ดยอดดังกล่าวนี้ ได้รบั ความนิยมสืบเนือ่ งมาจนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ จึงเริม่ พบว่ามีการน�ำ หัวกระหนกทีส่ ะบัดปลายแหลมพลิว้ มาผสมผสานกับลายเครือเถา จนมีลกั ษณะ คล้ายใบไม้  รอยบากที่แต่เดิมเกิดจากการขมวดได้กลายมาเป็นการบากร่อง วงโค้ง จึงท�ำให้มีลักษณะใกล้เคียงกับลายที่เขียนบนเครื่องถ้วยจีนมากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างลายกระหนกทีก่ าบประดับเจดีย์วดั หนองจรินหรือหนองเจ็ดลิน (ร้าง) (ลายเส้นที ่ ๑๔๐) และทีเ่ จดียว์ ดั ปันสาด (ร้าง) เมืองเชียงใหม่ (ลายเส้นที ่ ๑๔๑)๘ ส�ำหรับลายกระหนกที่ปรากฏในงานศิลปกรรมลายค�ำ อาจมีรายละเอียด ที่แตกต่างกับงานศิลปรรมแบบอื่น ๆ อยู่บ้าง  เนื่องจากใช้เทคนิคในการท�ำ ลวดลายประดับไม่เหมือนกัน  แม้ลวดลายในงานศิลปกรรมลายค�ำจะมีลกั ษณะ แบน ไม่เห็นมิติของรูปทรงเหมือนงานปูนปั้นและงานสลักไม้  แต่โครงร่างของ ลวดลายที่ปรากฏก็มีความชัดเจนไม่แตกต่างไปจากลวดลายในเทคนิคอื่น  ๆ มากนัก  ลายกระหนกในงานศิลปกรรมลายค�ำในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ที่ ปรากฏอยู่ในวิหารพระพุทธ จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับลวดลายในงานปูนปั้น กล่าวคือ เป็นกระหนกหัวม้วนโค้งที่ค่อนข้างมน ปลายแหลม มีรอยบากรอบ หัวค่อนข้างถี่ (ลายเส้นที่ ๑๔๒) ซึ่งพบในลายเชิงเสาของเสาหลวงที่ท�ำด้วย เทคนิคลายขูด จึงท�ำให้เส้นของลวดลายค่อนข้างอิสระมากกว่าลวดลายปูนปั้น ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

261


ลายเส้นที่ ๑๔๒  ลายกระหนกที่ประดับ ภายในวิหารพระพุทธ  ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑

ลายเส้นที่ ๑๔๓  ลายกระหนกที่ประดับ ภายในวิหารพระพุทธ  ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑

แต่ที่คันทวยของวิหารพระพุทธซึ่งเป็นงานสลักไม้  ลายกระหนกมีลักษณะดัง กล่าวนี้เช่นกัน  ลายกระหนกที่มีเค้าโครงคล้ายคลึงกันแต่ไม่มีรอยบากรอบ หัวยังได้ปรากฏอยู่ในลายหน้ากระดานบางแบบในวิหารแห่งเดียวกันนี้อีกด้วย (ลายเส้นที่ ๑๔๓) แต่เนื่องจากเป็นงานในเทคนิคปิดทองลายฉลุ ดังนั้นจึงไม่ รายละเอียดของลวดลายเหมือนกับที่ลายเชิงเสา ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ลายกระหนกหัวม้วนโค้งที่มีปลายแหลม ดังกล่าวนีย้ งั ปรากฏต่อเนือ่ งอยูท่ งั้ ในงานจิตรกรรมและงานลายค�ำทีว่ หิ ารน�ำ้ แต้ม โดยเฉพาะในงานลายค�ำนัน้ ลายกระหนกเหล่านีจ้ ะประดับอยู่ที่ลายเชิงเสาของ เสาหลวง  ในลายหน้ากระดานบางแบบ (ลายเส้นที ่ ๔๑)  กับประกอบอยูใ่ นลาย หม้อดอกหรือปูรณฆฏ (ปูรณฆฏะ) (ลายเส้นที ่ ๑๙๔)  ในระยะนีล้ ายกระหนกจะ มีรูปทรงเพรียวบางมากขึ้น (ลายเส้นที่ ๑๔๔)  ต่อมาในราวปลายพุทธศตวรรษ ที่ ๒๒ ที่วิหารวัดเวียง จะพบลายกระหนกในลักษณะดังกล่าวนี้อีกเพียงเล็ก ลายเส้นที่ ๑๔๔  ลายกระหนก วิหารน�ำ้ แต้ม ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ลายเส้นที่ ๑๔๕  ลายกระหนก วิหารวัดเวียง  ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒

262

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ลายเส้นที่ ๑๔๖  ลายกระหนก วิหารวัดปงยางคก  ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓

น้ อ ยที่ ล ายเชิ ง เสาของเสาหลวง ซึ่ ง กระหนกมี ลั ก ษณะเพรี ย วบาง รอบหั ว กระหนกท�ำเป็นรอยหยักและมีปลายยอดสะบัดพลิ้วมากขึ้น (ลายเส้นที่ ๑๔๕)  และในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ที่วิหารวัดปงยางคกพบว่าลายกระหนก แบบนี้ยังคงถูกใช้สืบต่อมาที่งานลายค�ำบริเวณเชิงเสาของเสาหลวง  ขณะ เดียวกันกระหนกหัวม้วนโค้งที่ประกอบอยู่ในลายหม้อปูรณฆฏในวิหารแห่ง เดียวกันนีจ้ ะมีพัฒนาการที่แตกต่างออกไปอีกเล็กน้อยด้วยการเน้นหัวกระหนก ให้ใหญ่ขึ้น มีรอยหยักมากที่ส่วนหัวด้านหน้า และปลายค่อนข้างยาวสะบัด พลิ้วมากขึ้น (ลายเส้นที่ ๑๔๖) อย่ า งไรก็ต ามในพุท ธศตวรรษที่ ๒๔ ไม่ ป รากฏกระหนกล้ า นนาหรือ กระหนกหัวม้วนโค้งปลายแหลมอยู่ในงานศิลปกรรมลายค�ำเลย แต่จะพบ อยู่บ้างในงานสลักไม้ที่คันทวยของวิหารโคมค�ำ วัดพระธาตุเสด็จ (ลายเส้นที ่ ๑๐๖)  วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น (ลายเส้นที่ ๓๔) และคันทวยบางอันของวิหาร วัดปราสาท  เนื่องจากในช่วงเวลานี้กระหนกในลายไทยสมัยรัตนโกสินทร์ได้ เข้ามาเป็นที่นิยมในงานประดับล้านนามากขึ้น

กระหนกไทยสมัยรัตนโกสินทร์

ในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ได้ปรากฏลายกระหนกในศิลปะ แบบรัตนโกสินทร์เข้ามาปะปนอยู่ในงานศิลปกรรมลายค�ำ มีลักษณะเป็นลาย กระหนก ๒ รูปแบบ คือ  แบบที่ ๑  กระหนกเปลวเพลิง พบประดับอยู่บริเวณท้องเสาหลวงของ วิหารโคมค�ำ วัดพระธาตุเสด็จ (ลายเส้นที่ ๑๔๗) และวิหารวัดปราสาท (ลาย  เส้นที่ ๑๔๘)  ลายกระหนกเปลวนัน้ เป็นลวดลายที่เคยปรากฏอยู่ในงานประดับ มุกครั้งรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยาตอนปลาย๙ แบบที่ ๒  กระหนกคล้ายกระหนกสามตัว เป็นลายประกอบอยู่ที่ท้อง เสาหลวงในวิหารวัดคะตึกเชียงมั่น (ลายเส้นที่ ๑๔๙) กระหนกทีม่ เี ค้าโครงแบบนีจ้ ะมีโครงสร้างคล้ายกระหนกสามตัวทีป่ ระกอบ ด้วย กระหนกตัวเหงา กระหนกตัวประกบหรือกาบ และกระหนกตัวยอด รวม ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

263


ลายเส้นที่ ๑๔๗   ลายเส้นที่ ๑๔๘  ลายกระหนกเปลว วิหารโคมค�ำ  ลายกระหนก วิหารวัดปราสาท  วัดพระธาตุเสด็จ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔

ลายเส้นที่ ๑๔๙  ลายกระหนก วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น  ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔

กันอยู่ในเค้าของรูปสามเหลี่ยม๑๐  กระหนกดังกล่าวปรากฏมาแล้วในศิลปะ สมัยอยุธยา โดยเฉพาะกระหนกเปลวนัน้ เป็นลวดลายที่เคยปรากฏอยู่ในงาน ประดับมุกครั้งรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยาตอนปลาย๑๑ แต่ไม่เคยปรากฏเป็นลวดลายประดับในศิลปะล้านนาในช่วงก่อนหน้านี้  อย่างไร ก็ตามนับตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นไป ลายกระหนกไทยในศิลปะ แบบรัตนโกสินทร์ที่มีเค้าโครงแบบนีจ้ ะกลายเป็นลวดลายส�ำคัญประกอบอยู่ใน งานประดับของล้านนาตลอดมา

ลวดลายพรรณพฤกษา

ลวดลายพรรณพฤกษาที่ปรากฏอยู่ในวิหารล้านนามักจะเป็นลวดลาย ประเภทลายเครือเถา ลายช่อดอกไม้ ที่ใช้ประกอบร่วมกับลวดลายอื่น ๆ  ลาย 264

ล า ย คํ า ล้ า น น า


พรรณพฤกษานีจ้ ะมีลายดอกไม้และใบไม้เป็นองค์ประกอบส�ำคัญ ซึ่งในแต่ละ ช่วงเวลาดอกไม้และใบไม้ในลายพรรณพฤกษาอาจจะมีความแตกต่างกัน  การ ศึกษารูปแบบของลายดอกไม้ ใบไม้ ในแต่ละช่วงเวลา อาจช่วยให้เข้าใจถึงที่ มาและพัฒนาการของลายพรรณพฤกษามากยิ่งขึ้น   ดังมีรายละเอียดของ ลวดลายในแต่ละช่วงเวลาไปตามล�ำดับดังนี้

ลวดลายพรรณพฤกษาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑

ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งเป็นช่วงเวลายุคทองของล้านนา ได้ ปรากฏลวดลายอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า  ลายเครือเถา ถูกใช้เป็นลวดลายใน งานปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรมล้านนาเป็นอย่างมาก  เนื่องจากลายเครือเถา มีพื้นฐานมาจากรูปแบบของเครือเถาในธรรมชาติ ที่ประกอบด้วยส่วนของก้าน ใบ และดอก  จึงมีอิสระที่สามารถน�ำไปประดิษฐ์ดัดแปลงใช้ในการตกแต่งได้ ในทุกสภาพและทุกส่วนของพื้นที่ว่างในงานสถาปัตยกรรม  ลวดลายดังกล่าว คงได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน เพราะมีความคล้ายคลึงกับลวดลายที่เขียน ประดับบนเครื่องถ้วยจีนโดยเฉพาะเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์เหม็งที่มีอายุ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๒  และลายเครือเถาดังกล่าวถูกใช้เป็นลวดลาย ประดับอยู่ในงานสถาปัตยกรรมสืบต่อมาตลอดเวลา จึงถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ ของท้องถิ่นล้านนา  ดังนั้นจึงมีผู้ก�ำหนดชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลายเครือ  ล้านนา๑๒ ลายเครือล้านนาดังกล่าวนีป้ รากฏเป็นลวดลายประดับอยูใ่ นงานศิลปกรรม ลายค�ำในช่วงพุทธศตวรรษที ่ ๒๑ ทีว่ หิ ารพระพุทธเช่นกัน  ลายเครือเถาในกลุ่ม

ลายเส้นที่ ๑๕๐  ลายเครือเถาประดับ บริเวณฝาไม้ด้านหลัง พระประธาน วิหารพระพุทธ พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

265


ประดับที่เสาหลวงเท่านัน้  เพราะเป็นลวดลายกลุ่มใหญ่  ส่วนลวดลายประดับ เสาด้านข้างพบอยู่ในวิหารบางแห่งเพียงเล็กน้อย และมีลวดลายไม่แตกต่างไป จากเสาหลวงมากนัก ดังนัน้ จะขอไม่กล่าวถึง  อย่างไรก็ตามองค์ประกอบของ ลวดลายประดับเสาโดยเฉพาะทีเ่ สาหลวงประกอบด้วยลายเชิงเสา ลายท้องเสา และลายหัวเสา  ซึ่งจะแยกกล่าวในรายละเอียดเป็นส่วน ๆ ไปดังนี้

ลายเชิงเสา

แบบแผนของลวดลายเชิงเสาของเสาหลวงในวิหารล้านนาพบว่ามีความ แตกต่างกันอย่างชัดเจนอยู่ ๒ กลุ่มคือ

ลายเชิงเสาระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๓ ลายเชิงเสาที่มีอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๓ จะปรากฏอยู่ ในวิหารพระพุทธ วิหารน�้ำแต้ม วิหารวัดเวียง และวิหารวัดปงยางคก จังหวัด ล�ำปาง  ลายเชิ ง เสาในกลุ ่ ม นี้ โดยทั่ ว ไปจะมี ลั ก ษณะคล้ า ยคลึ ง กั น และมี พัฒนาการของลวดลายที่ต่อเนื่องกัน โดยแบบแผนที่คล้ายคลึงกันของลายเชิง เสาในกลุ่มนี้ม ี ๒ ลักษณะคือ ลักษณะแรก พบว่าลวดลายที่ประดับเชิงเสาทั้งที่วิหารพระพุทธ วิหาร น�้ำแต้ม และวิหารวัดเวียง เป็นงานลายค�ำที่ใช้เทคนิคลายขูด ซึ่งเป็นการขูดขีด ให้เกิดเส้นลวดลายลงบนพื้นที่ที่ลงรักปิดทองไว้เต็มพื้นที่แล้ว  การท�ำลวดลาย แบบนีจ้ ะท�ำให้ลักษณะเส้นของลวดลายเป็นอิสระ และมีรายละเอียดค่อนข้าง มากกว่างานลายค�ำที่ท�ำด้วยเทคนิคปิดทองลายฉลุ  แต่ที่วิหารวัดปงยางคก เทคนิคของงานลายค�ำประดับเชิงเสาจะมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป เป็น งานลายค�ำที่ผสมผสานระหว่างเทคนิคลายขูดกับปิดทองลายฉลุ  โดยจะลงรัก ปิดทองทึบไปตามโครงร่างของลวดลายที่ใช้แม่พิมพ์ลายฉลุ แล้วขูดเส้นเพื่อให้ มีรายละเอียดของลวดลายเพิ่มเติมมากขึ้น   ลักษณะที่ ๒ จะเป็นลักษณะของลวดลายเชิงเสาที่มีโครงสร้างของแถว ลายและลวดลายที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลายเชิงเสาที่วิหารพระพุทธประกอบด้วยแถวลาย หน้ากระดานหลัก ๆ จ�ำนวน ๕ แถวที่เรียงซ้อนกันขึ้นไปตามล�ำดับ  แถวล่าง สุดเป็นแถวของลายเชิงที่เป็นกรอบรูปกลีบบัวคว�่ำกับเส้นคดโค้งทรงสามเหลี่ยม ปลายแหลมชี้ลง ภายในจะมีลวดลายภาพสัตว์ บุคคล และเทวดาประกอบอยู่ กับลายกระหนก  ระหว่างกรอบเป็นลายกระหนกทีม่ ภี าพสัตว์และบุคคลประกอบ อยูจ่ นเต็มพืน้ ที   ่ มีลกั ษณะคล้ายกับลายเฟือ่ งอุบะ  แถวของลวดลายทีอ่ ยูเ่ หนือ 280

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ลายเส้นที่ ๑  ลายเชิงเสาของเสาหลวงในวิหารพระพุทธ เป็นเส้นคดโค้งทรงสามเหลี่ยมปลายแหลมชี้ลง  พุทธศตวรรษที่ ๒๑

ลายเส้นที่ ๒   ลายเชิงเสาของเสาหลวงในวิหารพระพุทธ เป็นกรอบวงโค้งคล้ายรูปกลีบบัวคว�ำ่   ที่ปลายกลีบมีตาบรูปกรอบสี่เหลี่ยมวงโค้ง พุทธศตวรรษที่ ๒๒ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

281


ลายเส้นที่ ๓๕  ลายเชิงเสาของเสาหลวงติดฐานชุกชี ต้นด้านทิศเหนือ วิหารน�้ำแต้ม ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒

ลายเส้นที่ ๓๖  ลายเชิงเสาของเสาหลวงติดฐานชุกชี ต้นด้านทิศใต้ วิหารน�ำ้ แต้ม ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒

282

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ขึ้นไปจะเป็นลายกรอบช่องกระจกหรือช่องลูกฟัก ที่มีลายกระหนกประกอบ กับภาพบุคคลและสัตว์อยู่ภายใน  ระหว่างกรอบช่องกระจกมีทั้งลายกระหนก ประกอบรูปสัตว์  บางแห่งมีลายประจ�ำยามแทรกอยู่  แถวของลวดลายที่อยู่ ถัดขึ้นไปจะเป็นลายกรอบช่องกระจกหรือช่องลูกฟัก ที่มีลายกระหนกประกอบ กับภาพบุคคลและสัตว์อยูภ่ ายใน  แถวถัดขึน้ ไปอีกจะเป็นแถวลายหน้ากระดาน ก้านขด ซึ่งเป็นลายกระหนกหัวม้วนโค้งปลายแหลมทีม่ ีก้านม้วนโค้งขึ้นลงอยู่ใน กรอบ  แถวบนสุดของลายเชิงเสาจะเป็นลวดลายรูปหงส์ที่อยู่ในกรอบรูปกลีบ บัว ระหว่างกลีบบัวจะมีลายกระหนกหัวม้วนโค้งปลายแหลม (ลายเส้นที่ ๑-๒) ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ลายเชิงเสาที่วิหารน�้ำแต้มจะมีแบบแผนที่ คล้ายคลึงกันมากกับลายเชิงเสาของวิหารพระพุทธ  มีความแตกต่างกันเพียงเล็ก น้อยคือ ลายเชิงเสาของวิหารน�ำ้ แต้มมีจ�ำนวนของแถวลายหน้ากระดานน้อยกว่า หนึง่ แถว และลายเชิงด้านล่างสุดจะเป็นภาพกลุ่มบุคคล (ลายเส้นที่ ๓๕-๓๖) ต่อมาในตอนปลายของพุทธศตวรรษที ่ ๒๒ ทีว่ หิ ารวัดเวียง  แบบแผนของ ลายเชิงเสายังคงมีโครงสร้างของลวดลายและเทคนิคของงานลายค�ำที่ไม่แตก ต่างไปจากลายเชิงเสาที่เคยปรากฏในวิหารพระพุทธมากนัก (ลายเส้นที่ ๕๐  และ ๕๔)

ลายเส้นที่ ๕๐  ลายเชิงเสาของเสาหลวง วิหารวัดเวียง ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

283


ลายเส้นที่ ๕๔  ลายเชิงเสาของเสาหลวง วิหารวัดเวียง ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒

ลายเส้นที่ ๘๖   ลายเชิงเสา วิหารวัดปงยางคก ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓

284

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ พบว่าลายเชิงเสาที่วิหารวัดปงยางคก ยังมีโครงสร้างของลวดลายทีค่ ล้ายคลึงกับของเดิม แต่รายละเอียดของลวดลาย บางส่วนจะมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป (ลายเส้นที่ ๘๖)  ร่องรอยของลาย เชิง เสาที่ป รากฏดัง กล่ า วนี้ส ะท้ อ นให้ เห็นถึง ความต่ อ เนื่อ งของลวดลายใน งานประดับของล้านนาได้เป็นอย่างดี

ลายเชิงเสาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ส�ำหรับลายเชิงเสาในกลุ่มที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งเป็น เวลาที่อิทธิพลของศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ได้เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ในศิลปะ ล้านนามากขึ้น  พบว่าลายเชิงเสาของเสาหลวงที่วิหารโคมค�ำ วัดพระธาตุเสด็จ ยังคงรักษาเค้าโครงของลายเชิงเสาแบบเดิม ทั้งในด้านเทคนิคของงานลายค�ำ ที่เป็นแบบผสมระหว่างเทคนิคลายขูดกับปิดทองลายฉลุ และองค์ประกอบของ แถวลายหน้ากระดานที่คล้ายคลึงกับที่ปรากฏมาช่วงก่อนหน้านี   ้ แต่ลวดลาย ประกอบที่ปรากฏอยู่ในลายเชิงเสาบางส่วนจะมีลักษณะเป็นลวดลายในศิลปะ แบบจีน เช่น ลายประแจจีน ภาพสัตว์แบบจีน บุคคลแต่งกายแบบจีน เป็นต้น เชื่อว่าลวดลายในศิลปะจีนที่เข้ามาสู่ล้านนาในช่วงเวลานีน้ ่าจะเข้ามาพร้อมกับ ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ เนือ่ งจากในระยะเวลาดังกล่าวศิลปะจีนก�ำลังได้รบั ความ ●

ลายเส้นที่ ๑๐๓  ลายเชิงเสาแบบที่ ๑ วิหารโคมค�ำ  วัดพระธาตุเสด็จ พุทธศตวรรษที่ ๒๔

ลายเส้นที่ ๑๐๔  ลายเชิงเสาแบบที่ ๒ วิหารโคมค�ำ  วัดพระธาตุเสด็จ พุทธศตวรรษที่ ๒๔

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

285


ลายเส้นที่ ๑๑๑  ลายเชิงเสาของเสาหลวง วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น พุทธศตวรรษที่ ๒๔ มีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ในศิลปะรัตนโกสินทร์

ลายเส้นที่ ๑๒๒  ลายเชิงเสาของเสาหลวง วิหารวัดปราสาท พุทธศตวรรษที่ ๒๔ มีอิทธิพลศิลปะรัตนโกสินทร์ชัดเจน

286

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ลายเส้นที่ ๔๘ ลายเชิงเสาที่วิหารน�ำ้ แต้ม พุทธศตวรรษที่ ๒๔ มีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ในศิลปะรัตนโกสินทร์ประกอบ

ลายเส้นที่ ๔๙  ลายเชิงเสาที่วิหารน�ำ้ แต้ม พุทธศตวรรษที่ ๒๔ มีลวดลายในศิลปะรัตนโกสินทร์ประกอบ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

287


นิยมอย่างมากที่กรุงเทพฯ (ลายเส้นที่ ๑๐๓-๑๐๔) ต่อมาที่วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น แบบแผนของลายเชิงเสาของเสาหลวงจะ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก   ลายเชิงเสาทั้งหมดเป็นงานลายค�ำปิด ทองลายฉลุ และพบลวดลายในศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ประกอบอยู่ด้วย เช่น ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ (ลายเส้นที่ ๑๑๑) ที่วิหารวัดปราสาท จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าลายเชิงเสาของเสาหลวงจะ เปลี่ยนแปลงไปจากลายช่วงก่อนหน้านี้อย่างสิ้นเชิง  ลายเชิงเสาทั้งหมดเป็น งานลายค�ำปิดทองลายฉลุ  และเป็นแบบแผนในศิลปะแบบรัตนโกสินทร์อย่าง ชัดเจนแล้ว (ลายเส้นที่ ๑๒๒)  นอกจากนี้ลายเชิงเสาซึ่งซ่อมแซมท�ำขึ้นใหม่ใน เสาหลวงสามคู่ที่วิหารน�้ำแต้ม พบว่ามีลวดลายในศิลปะรัตนโกสินทร์ด้วย เช่น ลายพุม่ ข้าวบิณฑ์ และกระหนกทีค่ ล้ายกับกระหนกสามตัว (ลายเส้นที ่ ๔๘-๔๙)

ลายท้องเสา

ลวดลายประดับท้องเสาของเสาหลวงในวิหารล้านนาระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ ๒๑-๒๔ อาจจ�ำแนกลักษณะของลวดลายเป็น ๔ กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมี ลักษณะและพัฒนาการของลวดลายที่สืบเนื่องกันตลอดมา ดังมีรายละเอียด ของลวดลายที่ปรากฏในแต่ละช่วงเวลา คือ

ลวดลายเส้นวงโค้งที่มีลายเม็ดประค�ำ มีลกั ษณะเป็นลวดลายเส้นคูว่ งโค้งหรือคดโค้งทีม่ ลี ายเม็ดประค�ำอยูภ่ ายใน ไขว้ตัดกันไปมา และมีลายใบไม้ดอกไม้ประกอบ  ลวดลายเส้นวงโค้งลายเม็ด ประค�ำนีด้ ูเหมือนว่าจะเป็นลักษณะเด่นของลวดลายในงานลายค�ำของล้านนา ทีม่ กั ใช้ประกอบกับลวดลายประเภทต่าง ๆ ในแทบทุกช่วงเวลา โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งนิยมใช้เป็นลวดลายประดับที่ท้องเสาของเสาหลวง ในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ทีว่ หิ ารพระพุทธ ปรากฏลายเส้นวงโค้งหรือคดโค้ง มีเม็ดประค�ำ ไขว้กันไปมา ระหว่างเส้นคดโค้งลายเม็ดประค�ำจะเป็นที่ออกของ ลายใบไม้ยอดเครือเถาและลวดลายคล้ายดอกบัวบานประกอบอยู่ในจุดที่เส้น ตัดกัน (ลายเส้นที่ ๖) ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ลวดลายเส้นวงโค้งลายเม็ดประค�ำนี้ ยังปรากฏสืบต่อมาที่ลายท้องเสาในวิหารวัดเวียง แต่รูปแบบของลวดลายได้ คลีค่ ลายเป็นเส้นทีค่ ดโค้งมาบรรจบกันเป็นรูปคล้ายวงกลมรี เรียงแถวต่อเนือ่ งกัน ไปทัง้ ด้านบนและด้านข้าง  ตรงจุดทีเ่ ส้นวงโค้งมาสัมผัสและบรรจบกันจะมีลาย ดอกบัวบานประดับ สอดแทรกด้วยลายใบไม้ (ลายเส้นที่ ๕๕) 288

ล า ย คํ า ล้ า น น า


ลายเส้นที่ ๖  ลายท้องเสาแบบที่ ๒  ลายเส้นคู่วงโค้ง ที่มีลายเม็ดประค�ำ วิหารพระพุทธ  พุทธศตวรรษที่ ๒๑

ลายเส้นที่ ๕๕  ลายท้องเสาแบบที่ ๑ เสาหลวง วิหารวัดเวียง พุทธศตวรรษที่ ๒๒ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

289


พิมพ์ครั้งที่

(ปรับปรุงใหม่)

ลายค�ำล้านนา

หมวดศิลปะไทย ราคา ๖๐๐ บาท ISBN 978-616-465-045-9

สั่งซื้อออนไลน์ที่

@sarakadeemag

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดําริห์กุล

ลักษณะของวิหารล้านนามีความโดดเด่นประการหนึ่ง คือ การไม่นิยม  ทำ�ฝ้ า เพดาน แต่ ช อบที่ จ ะเปิ ด ให้ เ ห็ น โครงสร้ า งไม้ ที่ ป ระกอบขึ้ น อย่ า ง  มีระเบียบ ประณีต และนิยมการประดับตกแต่งในส่วนของโครงสร้าง  ตลอดจนผนังภายในพระวิหารด้วยลวดลายลงรักปิดทองอย่างมีระเบียบ  สอดคล้ อ งกั บ โครงสร้ า งทั้ ง หมด ซึ่ ง ลวดลายสี ท องเหล่ า นั้ น จะเปล่ ง  ประกายอยู่ ใ นความมื ด สลั ว  เป็ น ความงดงามที่ ใ ห้ ค วามรู้ สึ ก ถึ ง ความ  ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์   ความศรั ท ธา และความสุ ข สงบได้ อ ย่ า งดี . .. ลวดลาย ลงรั ก ปิ ด ทองประดั บ อาคารทางศาสนาดั ง กล่ า วนี้ ช าวล้ า นนา เรี ย กว่ า  ลายคำ�

ลายค�ำ ล้านนา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดําริห์กุล


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.