“พระพุทธรูป พระพิมพ์ จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา” ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

Page 1

การศึ ก ษาพระพุ ท ธรู ป และพระพิ ม พ์ ใ หม่ อี ก ครั้ ง หนึ่ ง ศิ ล ปกรรมของพระพุ ท ธรู ป และพระพิ ม พ์   ด้ ว ยการ มากขึ้ น   รวมทั้ ง วิ เ คราะห์ ค ติ แ ละศรั ท ธาความเชื่ อ การบรรจุ สิ่ ง ของมี ค่ า ในกรุ เ จดี ย์   สำ � หรั บ อธิ บ ายโบราณวั ต ถุ ที่ ไ ด้ จ ากกรุ พ ระปรางค์ ได้รับรู้ และเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เล่มนี้จะยังให้เกิดประโยชน์ ในการศึกษา สมัยอยุธยาได้กว้างขวางขึ้น พร้อมทั้ง ดี ยิ่ ง ขึ้ น  ทั้ ง รู ป แบบ แนวความคิ ด สร้ า ง ประเพณี ก ารบรรจุ ร ว ม ทั้ ง เ รื่ อ ง ข อ ง ก า ร การอุทิศถวาย

พระพุ ท ธรู ป พระพุทธรูป

ผู้ เ ขี ย นจึ ง เห็ น ว่ า ควรมี ก ารทบทวน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงรูปแบบ วิเคราะห์รูปแบบการกำ�หนดอายุให้ชัดเจน ใ น ก า ร บ ร ร จุ พ ร ะ บ ร ม ส า รี ริ ก ธ า ตุ   การศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ แ ละการ วัดราชบูรณะ และสื่อสารให้คนทั่วไป จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ งานศิลปกรรมและประวัติศาสตร์ การชมงานศิ ล ปกรรมได้ เ ข้ า ใจ และพลั ง ศรั ทธาในการ สิ่ ง ของเพื่ อ เป็ น พุ ท ธบู ช า  สืบพระพุทธศาสนาและ

พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา

สั่งซื้อออนไลน์ที่ @sarakadeemag

ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

หมวดประวัติศาสตร์/ศิลปะ ราคา ๔๘๐ บาท ISBN 978-616-465-040-4

จากกรุ พ ระปรางค์ วั ด ราชบู ร ณะ


4


พระพุ ท ธรู ป จากกรุ พ ระปรางค์ วั ด ราชบู ร ณะ

พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

1


พื้นที่ ส่วนที่เป็นกรุ ทั้งสามชั้น ๒ เมตร

กรุชั้นที่ ๑

กรุชั้นที่ ๒

กรุชั้นที่ ๓ พื้นดิน ๑ เมตร

2

ภาพลายเส้นแสดงลักษณะกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ  วัดราชบูรณะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๗ รัชกาลสมเด็จเจ้าสามพระยา  เป็นวัดที่มีความสำ�คัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์และศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น   องค์พระปรางค์แม้จะได้รับการบูรณะสืบเนื่องเรื่อยมา แต่ถือว่ายังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมไว้ ได้มากที่สุด  ที่สำ�คัญคือ การค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูป พระพิมพ์ เครื่องพุทธบูชา  เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภค เป็นต้น บรรจุอยู่ในกรุพระปรางค์ตั้งแต่ครั้งแรกสร้าง  นับเป็นวัดเดียวที่เหลือหลักฐานให้ศึกษามากที่สุด


๒๐

พุทธศตวรรษที่

๑๙-๒๐

พุทธศตวรรษที่

๑๘

พุทธศตวรรษที่

๑๔-๑๗

พุทธศตวรรษที่

แบบอยุธยา

๒๐

พุทธศตวรรษที่

แบบอู่ทอง รุ่นที่ ๓

๒๐

พุทธศตวรรษที่

แบบอู่ทอง รุ่นที่ ๒

๒๐

พุทธศตวรรษที่

๒๐

พุทธศตวรรษที่

๑๙

พุทธศตวรรษที่

๑๘

พุทธศตวรรษที่

๑๗

พุทธศตวรรษที่

๑๓-๑๕

พุทธศตวรรษที่

พระพิมพ์ พุทธคยา

ศิลปะ อินเดีย

พระพุทธรูป แปดปาง

ศิลปะ อินเดีย

พระพิมพ์ ปางสมาธิ

ศิลปะ ทวารวดี

พระพุทธรูป ปางสมาธิ

ศิลปะ ลังกา

พระพุทธรูป ปางปฐมเทศนา

ศิลปะ ชวาภาคกลาง

พระพุทธรูป ปางมารวิชัย

ศิลปะ พม่า ?

พระพุทธรูปยืน ปางประทานอภัย

ศิลปะ ทวารวดี

พระพุทธรูป ปางประทานอภัย

พระพุทธรูปยืน ปางประทานอภัย

ศิลปะ เขมรใน ประเทศไทย

พระพิมพ์ พระพิมพ์พระพุทธรูปสามพระองค์ รัตนตรัยมหายาน

ศิลปะ เขมรในประเทศไทย-ลพบุรี

พระพิมพ์  พระพิมพ์ พระพุทธรูปลีลา ปางยมกปาฏิหาริย์

ศิลปะ สุโขทัย

พระแผง

พระพิมพ์สมัยต่าง ๆ  ที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

พระพุทธรูป ปางมารวิชัย

ศิลปะ จีน ศิลปะ ลพบุรี

ศิลปะ อยุธยา

พระพุทธรูป ปางมารวิชัย

ศิลปะ สุโขทัย

พระพิมพ์ พระพิมพ์  พระพุทธรูปยืน พระพุทธรูปยืน  ปางประทานอภัย ปางประทานอภัย

พระพุทธรูป ปางมารวิชัย

พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ  ที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

พระพิมพ์ พระพุทธรูป ปางมารวิชัย

พระพุทธรูป ปางมารวิชัย

พระพุทธรูป ปางมารวิชัย

พระพุทธรูป ปางมารวิชัย

ศิลปะ อยุธยา


พระพุทธรูปยืนปางทรงแสดงธรรม เป็นพระพุทธรูปส�ำริดรูปแบบพิเศษที่ผสมผสานรูปแบบงานช่างหลายสมัย  โดยส่วนพระพุทธรูปลอยตัวสามารถถอดออกได้ ศิลปะเขมรในประเทศไทย

10

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป แ ล ะ พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ   พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


พระพุทธรูปปางมารวิชัย แบบอู่ทองรุ่นที่ ๑ ศิลปะสมัยลพบุรี ศ า ส ต ร า จ า ร ย์   ด ร .  ศั ก ดิ์ ชั ย   ส า ย สิ ง ห์

11


พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสุโขทัย 12

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป แ ล ะ พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ   พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


พระพุทธรูปลีลา ศิลปะสมัยสุโขทัย ศ า ส ต ร า จ า ร ย์   ด ร .  ศั ก ดิ์ ชั ย   ส า ย สิ ง ห์

13


14

พระพุทธรูปปางมารวิชัย แบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ ศิลปะสมัยอยุธยา (ภาพ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา)

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป แ ล ะ พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ   พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


พระพุทธรูปปางสมาธิ แบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ ศิลปะสมัยอยุธยา ศ า ส ต ร า จ า ร ย์   ด ร .  ศั ก ดิ์ ชั ย   ส า ย สิ ง ห์

15


พระพุทธรูปปางสมาธิ แบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ ศิลปะสมัยอยุธยา 16

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป แ ล ะ พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ   พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


พระพุทธรูปปางมารวิชัย แบบอยุธยา (แท้) ศิลปะสมัยอยุธยา ศ า ส ต ร า จ า ร ย์   ด ร .  ศั ก ดิ์ ชั ย   ส า ย สิ ง ห์

17


พระพิมพ์รัตนตรัยมหายาน (พระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตา)  ศิลปะเขมรในประเทศไทย ในวงการพระเครื่องมักเรียกว่า “พระพิมพ์นารายณ์ทรงปืน”

พระพิมพ์รัตนตรัยมหายาน พระพุทธรูปนาคปรกเป็นประธาน  พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและนางปรัชญาปารมิตาอยู่ด้านข้าง ทั้งหมดประทับในปราสาท  ล ะ พ รนะนางปรั พิ ม พ์ จชาญาปารมิ ก ก รุ พ รตะ ป ร า ง ค์ วั ดยรหลายกร ศิ ร า ช บู ร ณ ะ  ลพปะเขมรในประเทศไทย ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า 20 พ ร ะ พุ ท ธ รูด้ปาแนบนเป็ าหลายเศี


พระพิมพ์พระพุทธรูปปางสมาธิ แบบอู่ทองรุ่นที่ ๑ (ศิลปะสมัยลพบุรี)  ซุ้มประดับลายใบไม้แบบศิลปะบายนของเขมร

พระพิมพ์พระพุทธรูปลีลาในซุ้มกรอบหน้านาง ศิลปะสุโขทัย ศ า ส ต ร า จ า ร ย์   ด ร .  ศั ก ดิ์ ชั ย   ส า ย สิ ง ห์

21


พระพิมพ์พระพุทธรูปปางยมกปาฏิหาริย์ เป็นหลักฐานส�ำคัญของพระพิมพ์ที่เป็นแบบศิลปะสุโขทัย

22

พระพิมพ์ มีพระพุทธรูปลีลาในซุ้มกรอบหน้านางเป็นประธาน  รายล้อมด้วยพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็กประทับนั่งเรียงกันเป็นแถวจนเต็มพื้นที่ ศิลปะสุโขทัย

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป แ ล ะ พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ   พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


(รูปบนและล่าง) พระพิมพ์พระพุทธรูปปางมารวิชัยในกรอบซุ้มบรรพแถลง ศิลปะสมัยอยุธยา ศ า ส ต ร า จ า ร ย์   ด ร .  ศั ก ดิ์ ชั ย   ส า ย สิ ง ห์

23


พระพิมพ์พระพุทธรูปลีลาในกรอบซุ้มหน้านาง ศิลปะสุโขทัย

24

พระพิมพ์พระพุทธรูปปางมารวิชัยในกรอบซุ้มวงโค้งที่มียอดแหลม พระพิมพ์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะฉลุโปร่ง  ไม่มีแผงด้านหลัง พระพุทธรูปเป็นแบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ ศิลปะสมัยอยุธยาที่ยังมีอิทธิพลศิลปะสุโขทัย พ ร ะ พุ ท ธ รู ป แ ล ะ พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ   พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


(รูปบนและล่าง) พระพิมพ์พระพุทธรูปปางประทานอภัยในกรอบซุ้มหน้านาง แบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ ศิลปะสมัยอยุธยา ศ า ส ต ร า จ า ร ย์   ด ร .  ศั ก ดิ์ ชั ย   ส า ย สิ ง ห์

25


พระพิมพ์พระพุทธรูปลีลาในกรอบซุ้มเรือนแก้ว มีพระสาวกพนมมืออยู่ด้านข้าง ศิลปะสมัยอยุธยา  ทั้งสามองค์ประทับเหนือฐานบัวที่ท�ำเป็นกลีบบัวเหมือนธรรมชาติ   พระพิมพ์รูปแบบนี้น่าจะได้อิทธิพลมาจากศิลปะสุโขทัย แต่เปลี่ยนจากซุ้มกรอบหน้านางแบบสุโขทัยมาเป็นซุ้มเรือนแก้วแบบอยุธยา

พระพิมพ์พระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิ ด้านข้างเป็นพระสาวกสององค์ ศิลปะสมัยอยุธยา 26

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป แ ล ะ พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ   พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


(รูปบนและล่าง) พระพิมพ์พระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้ว มีส่วนยอดเป็นซุ้มโพธิ์พฤกษ์  อาจหมายถึงพระพุทธเจ้าตอนตรัสรู้หรือทรงแสดงธรรม ศิลปะสมัยอยุธยา ศ า ส ต ร า จ า ร ย์   ด ร .  ศั ก ดิ์ ชั ย   ส า ย สิ ง ห์

27


ISBN 978-616-465-040-4 หนังสือ พระพุทธรูป พระพิมพ์ จากกรุพระปรางค์วดั ราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา ผูเ้ ขียน ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิช์ ยั  สายสิงห์ พิมพ์ครัง้ ที ่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๔ จ�ำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม ราคา ๔๙๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด

บรรณาธิการเล่ม ภาพประกอบ ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท จัดพิมพ์โดย พิมพ์ท ี่ จัดจ�ำหน่าย

อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิช์ ยั  สายสิงห์  พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สกล เกษมพันธุ  ์ บันสิทธิ ์ บุณยะรัตเวช  ประเวช ตันตราภิรมย์ ณิลณา หุตะเศรณี ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์. ฟิลม์  โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด) ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ บริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุร ี ๒๒ ถนนนนทบุร ี (สนามบินน�ำ้ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุร ี นนทบุร ี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐  โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูป พระพิมพ์ จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา. --นนทบุรี : เมืองโบราณ,  ๒๕๖๔. ๒๘๘ หน้า. ๑. พระพุทธรูป. ๒. พระพิมพ์ I. ชื่อเรื่อง ๒๙๔.๓๑๒๑๘ ISBN 978-616-465-040-4

ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด) ๓ ซอยนนทบุร ี ๒๒ ถนนนนทบุร ี (สนามบินน�ำ้ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุร ี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐  โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑ ทีป่ รึกษา ศรีศกั ร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา  เสนอ นิลเดช ผูอ้ ำ� นวยการ สุวพร ทองธิว  ผูจ้ ดั การทัว่ ไป/ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายศิลป์ จ�ำนงค์ ศรีนวล ผูจ้ ดั การฝ่ายการตลาด/โฆษณา กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ทีป่ รึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

34

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


คํ า นํ า สํ า นั ก พิ ม พ์

วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา หนึ่งในวัดส�ำคัญในเกาะเมือง อยุธยา มีพระเจดีย์ประธานทรงปรางค์ที่โดดเด่นอันเป็นงานศิลปะสมัย อยุธยาตอนต้น ที่นับว่าเหลือสภาพค่อนข้างสมบูรณ์  วัดนี้เป็นที่รู้จักแพร่ หลายในการเป็นแหล่งกรุเครื่องทองสมัยอยุธยา กล่าวคือ ในเดือนตุลาคม ๒๕๐๐ มีคนร้ายกลุม่ หนึง่ ลักลอบขุดกรุพระปรางค์ขโมยเครือ่ งทองค�ำมูลค่า มหาศาลจ�ำนวนหนึ่งแต่คนร้ายกลุ่มนี้ถูกจับกุมได้ในภายหลัง  เหตุการณ์ นี้น�ำมาสู่การส�ำรวจกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะโดยกรมศิลปากร  และพบ ว่านอกจากเครื่องทองแล้ว กรุแห่งนี้เก็บรักษาโบราณวัตถุอันทรงคุณค่า และมีความส�ำคัญมาก คือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ โดยเฉพาะพระพิมพ์ ดี บุ ก พบจ� ำ นวนมากนั บ แสนองค์   ซึ่ ง หลั ง จากท� ำ การส� ำ รวจและจั ด เก็ บ โบราณวัตถุแล้ว ทางกรมศิลปากรพบว่ามีพระพิมพ์จ�ำนวนหนึ่งที่มีรูปแบบ ซ�้ ำ ๆ กั น  จึ ง ได้ คั ด แยกและสมนาคุ ณ ตอบแทนประชาชนที่ บ ริ จ าคเงิ น ในการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ซึ่งปัจจุบันเป็น พิพิธภัณฑ์ส� ำคัญของพระนครศรีอยุธยาที่เก็บรักษาโบราณวัตถุที่พบใน กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะไว้มากที่สุด หนังสือ “พระพุทธรูป พระพิมพ์ จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา” ของศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ เล่มนี้ เป็น ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

35


งานทีอ่ าจารย์ตงั้ ใจน�ำเสนอ “...เพือ่ ให้ทราบถึงรูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธ รูปและพระพิมพ์ อธิบายที่มาของรูปแบบ อันเป็นส่วนหนึ่งของการก�ำหนด อายุงานศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้น รวมทั้งคติและศรัทธาความเชื่อ ในการสร้าง การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ การบรรจุสิ่งของมีค่าในกรุเจดีย์ สามารถน�ำไปใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ให้ชัดเจนขึ้น” พระพุทธรูป พระ พิมพ์ รวมถึงเครื่องทองที่เป็นเครื่องราชูปโภค เครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นหลักฐาน ทีม่ คี วามหมายสัมพันธ์กบั คติและประเพณีการสร้างกรุเพือ่ บรรจุสงิ่ ของ โดย เฉพาะอย่างยิง่ ความสัมพันธ์กบั ภาพจิตรกรรมทีเ่ ขียนในกรุชนั้ ที ่ ๒ ทีส่ ะท้อน คติความเชื่อของคนสมัยอยุธยาตอนต้นอย่างน่าทึ่ง นอกจากนี้ในบทที่ ๑ อาจารย์ได้ให้ความรู้ด้านประวัติ ศิลปะ และ สถาปัตยกรรมภายในวัดราชบูรณะ ที่มีหลักฐานงานศิลปกรรมตั้งแต่สมัย อยุธยาตอนต้นมาถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย  แสดงให้เห็นว่าวัดนี้เป็นวัด ส�ำคัญแห่งหนึง่ ของกรุงศรีอยุธยาทีไ่ ด้รบั การบูรณปฏิสงั ขรณ์สบื เนือ่ งมาตลอด หนังสือ “พระพุทธรูป พระพิมพ์ จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรี อ ยุ ธ ยา” จึ ง เป็ น หนั ง สื อ ที่ ใ ห้ ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ วั ด ราชบู ร ณะ พระนครศรีอยุธยา อย่างครบถ้วนสมบูรณ์  ซึ่งส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณหวัง เป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะถูกใจส�ำหรับผู้สนใจเรื่องศิลปะของพระพุทธ รูป พระพิมพ์ และศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น

36

ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ มีนาคม ๒๕๖๔

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


คํ า นํ า ผู้ เ ขี ย น

วัดราชบูรณะมีประวัติการสร้างและมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ส�ำคัญในประวัตศิ าสตร์ของกรุงศรีอยุธยา ทีส่ ถาปนาขึน้ ในรัชกาลของสมเด็จ พระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) เมื่อคราวเสด็จขึ้นเสวยสิริราช สมบัตแิ ละการพระราชกุศลอุทศิ ถวายในบวรพุทธศาสนา  วัดราชบูรณะกลับ มาเป็นทีร่ จู้ กั อย่างมากอีกครัง้ หนึง่ ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ ทีม่ กี ารโจรกรรมโดยการ ลักลอบเปิดกรุพระปรางค์ และน�ำสิง่ ของมีคา่ ทีม่ กี ารบรรจุไว้ภายในตัง้ แต่เมือ่ แรกสร้างไปจากกรุ กรมศิลปากรได้ทำ� การเปิดกรุและติดตามสิง่ ของมีคา่ เหล่า นั้นกลับคืนมาได้จ�ำนวนหนึ่ง ส่วนอีกจ�ำนวนหนึ่งได้สูญหายไป การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นหลักฐานส�ำคัญของประวัติศาสตร์ชาติ โดย เฉพาะหลักฐานงานศิลปกรรมอันได้แก่พระพุทธรูปและพระพิมพ์ ร่วมด้วย สิ่งของมีค่าที่สร้างขึ้นเพื่อการพระราชกุศลถวายเป็นเครื่องพุทธบูชาและการ อุทศิ ถวายแด่พระบรมวงศานุวงศ์ เช่น เครือ่ งราชกกุธภัณฑ์ เครือ่ งราชูปโภค ที่ท�ำจากทองค�ำ เงิน และอัญมณี ซึ่งข้าวของอันมีคุณค่าเหล่านี้แสดงให้เห็น ถึงพิธีกรรมความเชื่อทางศาสนาที่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อของสถาบัน พระมหากษัตริย์ เนื่องจากกรมศิลปากรมีโครงการปรับปรุงการจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ใหม่ และให้ความส�ำคัญคติการบรรจุพระบรม ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

37


สารีริกธาตุและเครื่องทองจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ  ผู้เขียนจึงเห็นว่า ควรมีการทบทวนการศึกษาพระพุทธรูปและพระพิมพ์ใหม่อีกครั้งหนึง่  โดยมี วัตถุประสงค์เพือ่ ให้ทราบถึงรูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปและพระพิมพ์ ด้วยการวิเคราะห์รปู แบบการก�ำหนดอายุให้ชดั เจนมากขึน้   รวมทัง้ วิเคราะห์ คติและศรัทธาความเชือ่ ในการบรรจุพระบรมสารีรกิ ธาตุ การบรรจุสงิ่ ของมีคา่ ในกรุเจดีย์ เพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์และการอธิบายโบราณวัตถุที่ได้จาก กรุพระปรางค์วดั ราชบูรณะและสือ่ สารให้คนทัว่ ไปได้รบั รูแ้ ละเข้าใจได้ดยี งิ่ ขึน้ หนังสือเล่มนีป้ รับปรุงจากงานวิจยั  เรือ่ ง “พระพุทธรูปและพระพิมพ์ จากกรุพระปรางค์ประธาน วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา : วิเคราะห์รูป แบบ แนวคิด และคติความเชือ่ ในการบรรจุในกรุเจดีย”์  โดยได้รบั ทุนสนับสนุน การวิจัยจาก กองทุนวิจัยและสร้างสรรค์คณะโบราณคดี  ผู้เขียนจึงขอ ขอบคุณคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ให้ทุนสนับสนุน การวิจัย  ขอขอบคุณอธิบดีกรมศิลปากร (นายประทีป เพ็งตะโก) และ รองอธิบดีกรมศิลปากร (นายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี) ที่อนุญาตให้ใช้ภาพถ่าย ส่วนหนึง่ จากพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ประกอบหนังสือเล่มนี้ ขอขอบคุณ ผู้อ�ำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และ เจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่อ�ำนวยความสะดวกในการถ่ายภาพและการให้ความ อนุเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ ขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณทีส่ นับสนุนการจัดพิมพ์  ขอบคุณ คุณอภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ บรรณาธิการเล่มในการจัดพิมพ์ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะยังให้เกิดประโยชน์ในการ ศึกษางานศิลปกรรมและประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาได้กว้างขวางขึ้น พร้อม ทัง้ การชมงานศิลปกรรมได้เข้าใจดียงิ่ ขึน้  ทัง้ รูปแบบ แนวความคิด และพลัง ศรัทธาในการสร้าง ประเพณีการบรรจุสิ่งของเพื่อเป็นพุทธบูชา รวมทั้งเรื่อง ของการการสืบพระพุทธศาสนาและการอุทิศถวาย ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 38

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


ส า ร บั ญ

คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�ผู้เขียน

๓๕ ๓๗

ประวัติและศิลปกรรมวัดราชบูรณะ ประวัติความเป็นมาและความสำ�คัญของวัดราชบูรณะ กับหลักฐานการค้นพบกรุพระปรางค์ ศิลปกรรมของวัดราชบูรณะ สมบัติจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

๔๒

พระพุทธรูปจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระพุทธรูปในศิลปะต่างประเทศ พระพุทธรูปศิลปะอินเดีย พระพุทธรูปศิลปะศรีลังกา พระพุทธรูปศิลปะจีนและอิทธิพลจีน พระพุทธรูปศิลปะชวาภาคกลาง พระพุทธรูปศิลปะพม่า พระพุทธรูปในศิลปะไทย ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

๔๓ ๔๘ ๗๗ ๘๘ ๙๓ ๙๔ ๙๘ ๙๙ ๑๐๑ ๑๐๒ ๑๐๓ 39


สมัยก่อนอยุธยา พระพุทธรูปศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) พระพุทธรูปศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘) พระพุทธรูปศิลปะเขมรในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘) พระพุทธรูปศิลปะสมัยลพบุรี (กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙) สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๒๐) พระพุทธรูปลีลา สมัยอยุธยา (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐) พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐) พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ (กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐) พระพุทธรูปแบบอู่ทองอยุธยา (แท้) (พุทธศตวรรษที่ ๒๐) สรุป พระพิมพ์จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ วิเคราะห์รูปแบบพระพิมพ์ พระพิมพ์แบบปาละของอินเดีย (สมัยทวารวดี) พระพิมพ์สมัยทวารวดี พระพิมพ์ศิลปะเขมรในประเทศไทย พระพิมพ์แบบลพบุรี พระพิมพ์แบบสุโขทัย พระพิมพ์แบบอยุธยา (สมัยอยุธยา) วิเคราะห์รูปแบบและคติการสร้างพระพิมพ์ ซุ้มประเภทต่างๆ บนพระพิมพ์ : ความหมายและ 40

๑๐๓ ๑๐๓ ๑๐๗ ๑๐๘ ๑๒๔ ๑๓๓ ๑๓๕ ๑๓๗ ๑๓๗ ๑๔๕ ๑๕๒ ๑๕๘ ๑๗๒ ๑๗๗ ๑๗๗ ๑๗๙ ๑๘๐ ๑๙๖ ๑๙๙ ๒๐๕ ๒๒๐

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


ความสัมพันธ์กับรูปแบบทางศิลปะ พระพิมพ์ที่มีรูปแบบพิเศษ ลักษณะของซุ้มประเภทต่างๆ บนพระพิมพ์

วิเคราะห์และบทสรุป วัดราชบูรณะกับหลักฐานการค้นพบกรุพระปรางค์ ผลการศึกษาพระพุทธรูปและพระพิมพ์ จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ประเด็นทางวิชาการ ข้อสังเกตและข้อคิดเห็นใหม่ ประเด็นการค้นพบใหม่เพิ่มเติมจากการศึกษาพระพุทธรูป กลุ่มพระพุทธรูปจากต่างประเทศ พระพุทธรูปสมัยลพบุรี พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประเด็นเรื่องพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ และอู่ทองรุ่นที่ ๓ การเกิดพระพุทธรูปแบบอยุธยา (แท้) ประเด็นการค้นพบใหม่เพิ่มเติมจากการศึกษาพระพิมพ์ วิเคราะห์แนวคิดและคติการสร้าง คติการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและการถวายสิ่งของ เพื่อเป็นพุทธบูชาในการสถาปนาเจดีย์ ข้อสันนิษฐานที่ ๑ เรื่องการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุ ข้อสันนิษฐานที่ ๒ การสร้างเครื่องป้องกันหลายชั้น เพื่อการรักษาพระบรมสารีริกธาตุ ข้อสันนิษฐานที่ ๓ เรื่องประเพณีการบรรจุสิ่งของร่วมกับ พระบรมสารีริกธาตุเพื่อเป็นพุทธบูชา บรรณานุกรม ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

๒๒๑ ๒๒๔ ๒๓๔ ๒๔๐ ๒๔๑ ๒๔๓ ๒๔๕ ๒๕๐ ๒๕๐ ๒๕๒ ๒๕๕ ๒๕๖ ๒๕๘ ๒๖๐ ๒๖๕ ๒๖๕ ๒๖๘ ๒๗๑ ๒๗๒ ๒๘๑ 41


ประวัติและศิลปกรรม วัดราชบูรณะ

42

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


ประวัติความเป็นมาและความส�ำคัญของ วัดราชบูรณะ  กับหลักฐานการค้นพบกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ทุกฉบับ เช่น พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ๑ พระราช พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิต ิ์ ๒ พระราชพงศาวดารกรุง ศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)๓  เป็นต้น  บันทึกเหตุการณ์ไว้ตรงกัน ว่าวัดแห่งนี้สถาปนาขึ้นโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที ่ ๒ (เจ้าสามพระยา) เมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๗ เพื่ออุทศิ พระราชกุศลถวายพระเชษฐา คือ เจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา ณ บริเวณที่ทั้งสองพระองค์ทรงกระท�ำยุทธหัตถีชิงราช สมบัติกันและสิ้นพระชนม์ลงทั้งคู  ่ วัดที่ทรงสถาปนานี้มีชื่อว่า วัดราชบูรณะ (รูปที่ ๑) ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) บันทึกไว้อย่างละเอียดความว่า ในรัชกาลสมเด็จพระอินทราชา เสด็จไปปราบ จลาจลหัวเมืองเหนือแล้วจึงโปรดให้พระราชโอรส ๓ พระองค์ไปปกครอง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

43


รูปที่ ๑  วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา

เจดีย์บริวาร

เจดีย์บริวาร

ฐานไพที

วิหารหลวง

อุโบสถ

ระเบียงคด แผนผังวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา

44

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


หัวเมือง ได้แก่ เจ้าอ้ายพระยากินเมืองสุพรรณบุร ี เจ้ายีพ่ ระยากินเมืองแพรก ศรีราชา (เมืองสรรคบุรี) เจ้าสามพระยากินเมืองไชนาฎ (เมืองพิษณุโลก) ใน พ.ศ. ๑๙๖๑ สมเด็จพระอินทราชาเสด็จสวรรคต เจ้าอ้ายพระยาและ เจ้ายีพ่ ระยาทรงยกทัพมาชิงราชสมบัต ิ เจ้าอ้ายพระยาตัง้ ทัพทีว่ ดั พลับพลาชัย บริเวณต�ำบลป่ามะพร้าว  เจ้ายี่พระยาตั้งทัพ ณ วัดไชยภูมิ และมารบกัน บริเวณสะพานป่าถ่าน ทั้งสองพระองค์ทรงต้องพระแสงของ้าวพระศอขาด พร้อมกันทั้งสององค์  เหล่ามุขมนตรีจึงอัญเชิญเจ้าสามพระยาขึ้นเสวยราช สมบัต ิ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราช พระองค์จงึ โปรดให้ขดุ เอา พระศพเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายีพ่ ระยาไปถวายพระเพลิง และบริเวณทีถ่ วาย พระเพลิ ง นั้ น ให้ ส ถาปนาพระมหาธาตุ เ จดี ย ์   พระวิ ห ารเป็ น พระอาราม พระราชทานนามว่า วัดราชบุณ (ราชบูรณะ) และโปรดให้ก่อพระเจดีย์ สององค์ไว้ที่เชิงสะพานป่าถ่าน๔ วัดราชบูรณะจึงเป็นวัดที่มีความส�ำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ และงานศิลปกรรมในสมัยอยุธยา  ด้วยเหตุที่มีประวัติการก่อสร้างที่แน่นอน มีพระปรางค์ที่ยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมไว้ได้มากที่สุดโดยไม่มีการบูรณะ เปลี่ยนแปลงรูปแบบในสมัยหลัง ทั้งระบบของแผนผังวัดและรูปแบบของ พระปรางค์ จั ด เป็ น งานศิ ล ปกรรมในสมั ย อยุ ธ ยาตอนต้ น สอดคล้ อ งกั บ ประวัติการก่อสร้าง๕  และที่ส�ำคัญอย่างมาก คือ การค้นพบโบราณวัตถุ ที่เป็นศาสนวัตถุ เครื่องพุทธบูชา และสิ่งของเครื่องใช้บรรจุอยู่ในกรุพระ ปรางค์ตั้งแต่เมื่อครั้งแรกสร้าง  ซึ่งเหลือหลักฐานอยู่ที่นี่เพียงวัดเดียวใน พระนครศรีอยุธยา ในขณะที่วัดอื่น ๆ ถูกลักลอบขุดไปหมดแล้ว  อย่างไร ก็ตามแม้วดั ราชบูรณะถูกคนร้ายเจาะกรุลงไปและขโมยสมบัตไิ ปบางส่วน แต่ ก็ยังถือว่าเหลือหลักฐานให้ศึกษารูปแบบศิลปกรรม ข้อสันนิษฐานเรื่อง ประเพณีการบรรจุสิ่งของมีค่า รวมทั้งแนวคิดและคติการสร้างเจดีย์ในสมัย อยุธยาได้เป็นอย่างดี ในรายงานของกรมศิลปากรได้กล่าวถึงเหตุการณ์การลักลอบขุดกรุ พระปรางค์วัดราชบูรณะว่าเกิดขึ้นในระหว่างวันที ่ ๒๖-๒๗ ตุลาคม ๒๕๐๐ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

45


และในวันที ่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๐๐ มีรายงานอย่างเป็นทางการว่ามีการลักลอบ ขุดหาสมบัตใิ นกรุพระปรางค์ คนร้ายได้ขโมยสมบัตติ า่ ง ๆ ส่วนหนึง่ ไป ส่วน ใหญ่เป็นสิง่ ของมีคา่ และอัญมณีตา่ ง ๆ  กรมศิลปากรจึงแจ้งเจ้าหน้าทีต่ ำ� รวจ และได้ตดิ ตามจับกุมคนร้ายจนสามารถน�ำสมบัตกิ ลับคืนมาได้สว่ นหนึง่   ภาย หลังจากที่กรมศิลปากรท�ำการส�ำรวจและเก็บสิ่งของจากที่คนร้ายขุดไว้ จึง ได้ท�ำการเปิดกรุและน�ำสมบัติขึ้นมาเก็บรักษาเพื่อเป็นสมบัติของชาติต่อไป ในการท�ำงานของกรมศิลปากรได้พบกรุที่อยู่ด้านข้างภายในพระปรางค์องค์ นีท้ ยี่ งั ไม่ถกู เปิด จึงท�ำการเปิดกรุทงั้ หมดและได้พบพระพุทธรูปและพระพิมพ์ บรรจุไว้เป็นจ�ำนวนมาก ความส�ำคัญของบรรดาสิง่ ของทีพ่ บนัน้ สูงด้วยมูลค่าและคุณค่าอย่าง ประเมินค่ามิได้ สิ่งของที่พบหลัก ๆ ประกอบด้วย พระบรมสารีริกธาตุและ สถูปจ�ำลองประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เครื่องพุทธบูชาที่ประกอบด้วย เครือ่ งสูง ข้าวของเครือ่ งใช้ ซึง่ เป็นเครือ่ งทอง เครือ่ งแก้ว ส�ำริด และทีส่ ำ� คัญ คือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ชุดเครื่องราชูปโภคที่เป็นเครื่องประดับ จ�ำพวก เครื่องทอง อัญมณี ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นเพื่อการอุทิศถวาย  ของที่พบอีกส่วน หนึ่งที่มีความส�ำคัญและพบจ�ำนวนมาก คือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ ซึ่ง สร้างและบรรจุไว้ในกรุ อาจสร้างขึ้นตามคติโบราณเรื่องการสืบพระศาสนา ด้วยเหตุสำ� คัญ คือ ศิลปวัตถุเหล่านีย้ อ่ มสร้างขึน้ ก่อนหรือสร้างขึน้ พร้อมกับ การสร้างพระปรางค์ มีลักษณะรูปแบบ อายุสมัยใด และประการส�ำคัญคือ สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของคติใด ส�ำหรับพระพุทธรูปและพระพิมพ์ได้มีการศึกษาไว้เป็นเบื้องต้นแล้ว ในคราวทีม่ กี ารค้นพบครัง้ แรก โดยศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภทั รดิศ ดิศกุล ศึกษาเรื่องพระพุทธรูป และนายมานิต วัลลิโภดม ศึกษาเรื่องพระพิมพ์ เผยแพร่ในหนังสือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตีพมิ พ์เผยแพร่โดยกรมศิลปากร๖  ทัง้ สองท่านถือ เป็นผู้เชี่ยวชาญ ถึงแม้ว่าการศึกษาของท่านจะตีความไว้อย่างน่าเชื่อถือและ เป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน  ทั้งเรื่องอายุสมัยและรูปแบบศิลปกรรม  แต่ 46

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


ในการตีความนั้นเป็นความเห็นในลักษณะของการใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ บุคคล ยังขาดการอธิบายความ ศึกษาเปรียบเทียบ และการวิเคราะห์ร่วม กับหลักฐานอื่น ๆ  ประกอบกับการน�ำเสนอเป็นรูปแบบของการอธิบายและ การตีความเฉพาะชิ้นและเฉพาะกลุ่ม จึงเป็นประเด็นทางวิชาการที่อาจมีผู้มี ข้อคิดเห็นคัดค้านหรือเห็นต่างไปก็เป็นได้  ดังนัน้ ในการศึกษาใหม่ครัง้ นี้ ผูเ้ ขียนจะท�ำการวิเคราะห์รปู แบบ การ จัดหมวดหมู่ของพระพุทธรูปและพระพิมพ์ เพื่ออธิบายลักษณะ ที่มาของรูป แบบ แนวทางการก�ำหนดอายุสมัยให้ชดั เจนยิง่ ขึน้   การทีส่ ามารถอธิบายถึง ที่มาของรูปแบบจะเป็นหลักฐานส�ำคัญของการก�ำหนดอายุสมัยการสร้าง พระปรางค์วัดราชบูรณะ ที่มีการก�ำหนดว่าเป็นงานในสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งตรงกับประวัติการสร้าง  แต่เนื่องจากมีผู้เสนอแนวความคิดใหม่ว่าพระ ปรางค์องค์นี้สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถและมาสร้างขึ้นใหม่ใน สมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ๗  ดังนั้นโบราณวัตถุที่พบอยู่ภายใน พระปรางค์จะเป็นหลักฐานในการไขปริศนาข้อนีไ้ ด้ดที สี่ ดุ  เนือ่ งจากนับตัง้ แต่ แรกสร้างเพิ่งจะมีการเปิดกรุเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๐๐ อีกประการหนึง่  สิง่ ทีส่ ามารถท�ำการศึกษาวิเคราะห์เพิม่ เติม คือ เรือ่ ง ของคติการสร้าง เช่น รูปแบบและคติการสร้างพระพิมพ์ เรื่องของพิธีกรรม การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีความสัมพันธ์กับการบรรจุสิ่งของเพื่อพุทธ บูชา สิง่ ของทีอ่ ทุ ศิ ถวาย จ�ำพวกเครือ่ งทองทีเ่ ป็นเครือ่ งราชกกุธภัณฑ์ มีความ สัมพันธ์กับงานจิตรกรรมซึ่งเขียนเรื่องชาดก พระอดีตพุทธเจ้า พุทธประวัติ โดยอาจมีความเกีย่ วข้องกับความเชือ่ เรือ่ ง “หน่อพุทธางกูร” คือ ความเชือ่ ว่า พระมหากษัตริยแ์ ละพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเป็นหน่อพุทธางกูร เมือ่ สวรรคต แล้วจะบังเกิดเป็นพระโพธิสัตว์และอนาคตพระพุทธเจ้าองค์ต่อ ๆ ไป หนังสือเล่มนี้จึงมีวัตถุประสงค์ส�ำคัญ คือ เพื่อให้ทราบถึงรูปแบบ ศิลปกรรมของพระพุทธรูปและพระพิมพ์ การก�ำหนดรูปแบบศิลปกรรม อธิบายที่มาของรูปแบบ อันเป็นส่วนหนึ่งของการก�ำหนดอายุงานศิลปกรรม ในสมัยอยุธยาตอนต้น รวมทั้งคติ และศรัทธาความเชื่อในการสร้าง การ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

47


บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ การบรรจุสิ่งของมีค่าในกรุเจดีย์ และน�ำไปใช้ใน การศึกษาประวัติศาสตร์และการจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะให้ชัดเจนขึ้น

ศิลปกรรมของวัดราชบูรณะ แผนผังวัดราชบูรณะ  วัดราชบูรณะตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเกาะเมืองอยุธยา อยู่ติดกับวัด มหาธาตุ ด ้ า นทิ ศ เหนื อ   วั ด นี้ หั น หน้ า ไปทางทิ ศ ตะวั น ออก  แผนผั ง วั ด ประกอบด้วย เจดีย์ทรงปรางค์เป็นประธานของวัด  มีระเบียงคดล้อมรอบ เจดียป์ ระธาน  ด้านหน้าของเจดียป์ ระธานเป็นวิหารหลวง และด้านหลังเป็น พระอุโบสถ  มีข้อสังเกต คือ ส่วนท้ายวิหารยื่นเข้าไปในระเบียงคด อันเป็น ลักษณะเฉพาะของแผนผังวัดในสมัยอยุธยาตอนต้น๘ เรือ่ งระบบแผนผังของปรางค์ประธาน จากหลักฐานเดิมเชือ่ ว่าปรางค์ ประธานเคยเป็นปรางค์สามหลังที่มีปีกปรางค์ทั้งสองข้าง แต่ปัจจุบันเหลือ หลักฐานเฉพาะด้านทิศใต้ทเี่ ป็นฐานอาคารซึง่ สันนิษฐานว่าเป็นมณฑป  ส่วน ด้านทิศเหนือในแผนผังเก่าเคยปรากฏฐานอาคาร แต่ปัจจุบันถูกรื้อไปแล้ว นอกจากปีกปรางค์แล้ว ระบบแผนผังของปรางค์ประธานยังมีเจดีย์บริวาร ประจ�ำมุมทั้งสี่มุมที่ตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกัน  เป็นเจดีย์ทรงระฆังที่มีชุด รองรับองค์ระฆังอยู่ในผังแปดเหลี่ยม  นอกจากนี้ยังมีเจดีย์บริวารขนาดเล็ก สร้างล้อมรอบเจดียป์ ระธานบนฐานไพทีซงึ่ ปัจจุบนั เหลือเพียงส่วนฐาน เจดีย์ ชุดนี้มีขนาดเท่ากันทุกองค์และสร้างขึ้นในผังสมมาตร น่าจะสร้างขึ้นพร้อม กับเจดีย์ประธาน  ที่ลานประทักษิณภายในระเบียงคดมีเจดีย์ประจ�ำมุม ซึ่ง เหลือหลักฐานเฉพาะส่วนฐาน คือ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือและด้านตะวันตก เฉียงเหนือ  ส่วนอีกสองมุมไม่ปรากฏหลักฐาน แต่เชื่อว่าน่าจะมี  เพราะพบ ระบบเจดียป์ ระจ�ำมุมทัง้ สีม่ มุ ทีล่ านประทักษิณลักษณะเดียวกันนีท้ วี่ ดั มหาธาตุ ส่วนรอบนอกระเบียงคดมีระบบของเจดียบ์ ริวารล้อมรอบระเบียงคด อีกชั้นหนึ่ง เช่นเดียวกับแผนผังของวัดในสมัยอยุธยาตอนต้นทั่วไป  เช่น 48

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


วัดมหาธาตุ วัดพระราม เป็นต้น โดยมีเจดีย์ประจ�ำมุมที่มีขนาดใหญ่กว่า เจดีย์บริวารองค์อื่น ๆ  อย่างไรก็ตามที่วัดราชบูรณะเหลือเจดีย์บริวารที่ครบ สมบูรณ์อยู่เฉพาะด้านทิศใต้เท่านั้น  ด้านอื่น ๆ เหลือเพียงบางองค์ แต่เท่า ทีเ่ หลืออยูก่ ย็ งั อยูใ่ นต�ำแหน่งทีส่ ามารถกล่าวได้วา่ เคยมีเจดียบ์ ริวารล้อมรอบ โดยเฉพาะองค์ประจ�ำมุมทั้งสี่และองค์ประจ�ำด้านในซึ่งอยู่ในผังที่สมมาตร กัน  เจดีย์มีขนาดเท่า ๆ กัน  มีข้อสังเกตที่ส�ำคัญ คือ เจดีย์ประจ�ำมุมที่เป็น ของเดิมเหลืออยูเ่ ฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเจดียท์ รงปราสาทยอดทีม่ ี เรือนธาตุเป็นแบบปรางค์ ส่วนยอดเป็นเจดียท์ รงระฆังทีม่ ชี ดุ รองรับองค์ระฆัง ในผังแปดเหลี่ยม  ส่วนมุมด้านทิศเหนือทั้งสององค์ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ และเปลี่ยนรูปแบบเป็นเจดีย์ทรงระฆังในสมัยอยุธยาตอนกลางแล้ว  กล่าวโดยสรุปของระบบแผนผัง คือ มีการใช้เจดีย์ทรงปรางค์เป็น ประธาน มีระบบของปีกปรางค์ เจดีย์ประจ�ำมุมทั้งสี่มุมบนฐานไพที  เจดีย์ บริวารล้อมรอบปรางค์ประธานบนฐานไพที  เจดีย์ประจ�ำมุมทั้งสี่อยู่บนลาน ประทักษิณในระเบียงคด และมีเจดีย์บริวารรอบนอกระเบียงคดอีกชั้นหนึ่ง (ดูแผนผังหน้า ๔๔ ประกอบ) นอกจากนีม้ เี จดียร์ ายและวิหารรายซึง่ สร้างเพิม่ เติมขึน้ อีกหลายหลัง ดูได้จากแผนผังที่ไม่สมมาตรกับเจดีย์หรืออาคารหลังอื่น ๆ เช่น เจดีย์และ วิหารรายที่สร้างขึ้นด้านหน้าวัด ด้านข้างวิหารหลวงทั้งด้านเหนือและด้าน ใต้  ส่วนด้านหลังมีวิหารรายอยู่ด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ  นอกจากนี้ยังมี เจดียท์ รงปราสาทยอดขนาดเล็กซึง่ สร้างแทรกทางด้านทิศใต้ของวิหารหลวง ส่วนเขตสังฆาวาสอยู่ด้านทิศตะวันตกของวัด ด้านหลังพระอุโบสถ มีกำ� แพงแก้วแบ่งออกจากเขตพุทธาวาส แต่ปจั จุบนั ไม่เหลือหลักฐานสิง่ ปลูก สร้างแล้ว เพราะส่วนใหญ่เป็นอาคารเครื่องไม้ เจดีย์ประธาน รูปแบบศิลปกรรมของเจดีย์ประธานทรงปรางค์  (รูปที่ ๒ และลายเส้น) ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

49


พระพุทธรูปจากกรุ พระปรางค์วัดราชบูรณะ

88

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


นคราวที่มีการค้นพบสมบัติจากกรุวัดราชบูรณะเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ กรม ศิลปากรได้มอบให้ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ท�ำการ ศึกษาเรื่องพระพุทธรูปและพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และ ตีพมิ พ์เป็นหนังสือเผยแพร่๑  ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภทั รดิศ ดิศกุล ทรง เป็นผู้เชี่ยวชาญ ท่านได้ตีความทั้งเรื่องอายุสมัยและรูปแบบศิลปกรรม  แต่ ในการตีความครัง้ นัน้ เป็นความเห็นทีใ่ ช้ความเชีย่ วชาญเฉพาะบุคคล ยังขาด การอธิบายความ การศึกษาเปรียบเทียบ และการวิเคราะห์หลักฐานอื่น ๆ ประกอบ  อีกทั้งการน�ำเสนอเป็นรูปแบบของการอธิบายและการตีความ เฉพาะชิ้นและเฉพาะกลุ่ม ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงศึกษาเรื่อง “โบราณ วัตถุที่ค้นพบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะรุ่นที่ ๒” โดยการวิเคราะห์รูป แบบพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ และโบราณวัตถุอื่น ๆ ร่วมด้วย  โดยล�ำดับ ตามระยะเวลาและหมวดหมู ่ ตัง้ แต่ศลิ ปะอินเดีย ลังกา ชวา พม่า เขมร และ เขมรในประเทศไทย (ลพบุรี) รวมทั้งศิลปะในประเทศไทยสมัยสุโขทัยและ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

89


อยุธยาตอนต้น (พุทธศตวรรษที ่ ๒๐)  โดยศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภทั รดิศ ดิศกุล ทรงแยกพระพุทธรูปตามสมัยคือ๒ ๑. พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ต่างประเทศ ประมาณ ๗ องค์ ๑.๑ พระพุทธรูปศิลปะอินเดีย แบบปาละ ๑ องค์ (พุทธศตวรรษ ที่ ๑๓-๑๕) และศิลปะอินเดียใต้รุ่นหลัง ๑ องค์ ๑.๒ ศิลปะลังการุ่นหลัง ๒ องค์ ๑.๓ ศิลปะแบบชวา ๑ องค์ ๑.๔ ศิลปะพม่า ๑ องค์ ๑.๕ ศิลปะเนปาลหรือทิเบต ๒ องค์ ๒. พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ที่พบในประเทศไทย ๒.๑ ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖) ๖ องค์ ๒.๒ ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘) ๖ องค์ ๒.๓ ศิลปะลพบุรี (เขมรที่พบในประเทศไทย) (พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๙) จ�ำนวน ๑๙๑ องค์ ๒.๔ ศิลปะสุโขทัย ๖ องค์ ๒.๕ พระพุทธรูปแบบอู่ทอง ๓๘๙ องค์ แบ่งเป็น - ยุคที่ ๑ (พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘) ๗ องค์ - ยุคที่ ๒ (พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙) ๒๖ องค์ - ยุคที่ ๓ (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐) ๓๕๖ องค์ ๒.๖ พระพุทธรูปแบบอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐) ๒๖ องค์ แนวความคิดส�ำคัญทีท่ รงเสนอไว้ ได้แก่ (๑) ไม่ปรากฏว่ามีพระพุทธ รูปที่มีอายุหลังกว่า พ.ศ. ๑๙๖๗ เลย  (๒) ทรงเชื่อว่า พระพุทธรูปแบบ ลพบุรีและแบบอู่ทองพบมากในกรุ แสดงให้เห็นว่าศิลปะทั้งสองแบบนี้ได้ รับความนิยมในสมัยอยุธยาตอนต้นมาก  (๓) การที่ไม่พบพระพุทธรูปแบบ เชียงแสน (ศิลปะล้านนา) จึงท�ำให้มีผู้เสนอว่าพระพุทธรูปเชียงแสนเกิดขึ้น หลัง พ.ศ. ๑๙๖๗ แต่หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงไม่เห็นด้วย และทรง เห็นว่าในช่วงเวลานั้นอยุธยาอาจจะยังไม่มีความสัมพันธ์กับล้านนาหรือช่าง 90

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


อยุธยาไม่นิยมพระพุทธรูปแบบล้านนา แม้แต่พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยก็พบ น้อยมาก  (๔) ทรงเสนอว่า จากการศึกษาพระพุทธรูปในกรุพระปรางค์ แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลศิลปะสุโขทัยเข้ามาปรากฏในศิลปะอยุธยาเร็วกว่าที่ เคยเสนอกันไว้ประมาณ ๕๐ ปี เพราะแต่เดิมเชื่อว่าเริ่มขึ้นในสมัยสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นไปเสวยราชย์และประทับที่เมืองพิษณุโลก ใน พ.ศ. ๒๐๐๖ และ (๕) จากการค้นพบพระพุทธรูปหินทรายในกรุพระปรางค์ จึงทรงเชื่อว่ามีการสร้างพระพุทธรูปหินทรายแล้วในสมัยอยุธยาตอนต้น๓ ไม่ใช่เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททองตามที่มีผู้เสนอไว้  นอกจากนีย้ งั กล่าวถึงจ�ำนวนของพระพุทธรูปทีค่ น้ พบ อันเป็นประเด็น ที่น่าสนใจทางวิชาการ กับข้อเสนอเรื่องพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาตอนต้น ได้แก่ การค้นพบพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๑ ประมาณร้อยละ ๑ ของ พระพุทธรูปทั้งหมด (พบ ๗ องค์ จากจ�ำนวนทั้งหมดประมาณ ๖๐๐ องค์) พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ พบประมาณร้อยละ ๔ ของทั้งหมด และ พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ ที่เป็นอิทธิพลศิลปะสุโขทัย พบประมาณร้อย ละ ๖๐ ของพระพุทธรูปทั้งหมด๔  แสดงให้เห็นถึงความนิยมในการสร้าง พระพุทธรูปในสมัยที่สร้างปรางค์ จากการศึกษาและก�ำหนดอายุของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภทั รดิศ ดิศกุล ส่วนใหญ่ยังเป็นข้อมูลที่ยอมรับได้ เพราะด้านรูปแบบศิลปะและอายุ สมัยยังน่าเชือ่ ถือและใช้เป็นแหล่งอ้างอิงมาโดยตลอด  ส่วนทีผ่ เู้ ขียนขอขยาย ความและวิเคราะห์เพิ่มเติมในบางประเด็น ได้แก่ ๑. การก�ำหนดศิลปะลพบุร ี ตามทีศ่ าสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภทั รดิศ ดิศกุล ทรงใช้เรียกนั้นหมายถึงศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย และส่วน หนึง่ เป็นศิลปะในสมัยหลังวัฒนธรรมเขมรทีพ่ บในภาคกลางของประเทศไทย ก�ำหนดอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๙ ในปัจจุบันเห็นว่าควรแบ่งศิลปะในวัฒนธรรมเขมรออกจากศิลปะที่ พบในภาคกลางของประเทศไทย เสนอให้เรียกศิลปะในวัฒนธรรมเขมรใหม่ ว่า “ศิลปะเขมรในประเทศไทย” อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-กลางพุทธ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

91


ศตวรรษที ่ ๑๘  และศิลปะทีพ่ บในภาคกลางช่วงระหว่างหลังวัฒนธรรมเขมร จนถึงก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาควรเรียกว่า “ศิลปะสมัยลพบุรี” อายุ ระหว่างกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘-ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙  และควรแยก พระพุทธรูปออกจากกัน ซึ่งจะมีผลต่อการวิเคราะห์หลักฐานทางศิลปกรรม เขมรและศิลปะก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา อันจะแสดงให้เห็นว่ากลุม่ ชน ที่สถาปนากรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับเมืองลพบุรี ๒. การก�ำหนดรูปแบบพระพุทธรูปว่า “แบบอู่ทอง” ทั้งสามรุ่น แม้ การศึกษาวิเคราะห์ของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ส่วนใหญ่ เป็นทีน่ า่ เชือ่ ถือ แต่ยงั มีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการก�ำหนดรูปแบบทีย่ งั ไม่ชัดเจนระหว่างรุ่นที ่ ๑ และรุ่นที ่ ๒ โดยก�ำหนดอายุว่า แบบอู่ทองรุ่นที ่ ๑ มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘  แบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ อายุอยู่ระหว่าง พุทธศตวรรษที ่ ๑๘-๑๙๕  ผูเ้ ขียนขอเสนอแนวทางการจัดรูปแบบ วิเคราะห์ ที่มาเพิ่มเติม อธิบายเรื่องอายุสมัยให้ชัดเจนขึ้น และวิเคราะห์ร่วมกับความ สัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ เพราะพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๑ น่าจะจัด อยูใ่ นสมัยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา คือสมัยลพบุร ี ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙  พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ และรุ่นที่ ๓ จัดอยู่ในศิลปะอยุธยา ตอนต้น ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แล้ว๖ ๓. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบระหว่างพระพุทธรูปและ พระพิมพ์ เช่น พระพุทธรูปส�ำริดกับพระพุทธรูปทองค�ำและพระพิมพ์ทองค�ำ พระพุทธรูปส�ำริดและพระพิมพ์ในศิลปะเขมรมีรูปแบบและคติการสร้างที่ สัมพันธ์กัน เป็นต้น  ผู้เขียนอาจพิจารณาจัดกลุ่มและก�ำหนดอายุสมัยใหม่ ให้แคบลงอีกเล็กน้อย โดยจะอธิบายลักษณะรูปแบบและเหตุผลไว้ในงาน วิเคราะห์แต่ละกลุ่มรูปแบบ คือ - ในส่วนทีเ่ ห็นด้วยและแบ่งตามทีศ่ าสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภทั รดิศ ดิศกุล ทรงก�ำหนดไว้ ได้แก่ ศิลปะจากต่างประเทศ พระพุทธรูปจากต่าง ประเทศ (อินเดีย ลังกา เนปาลหรือทิเบต พม่า และชวา) ประมาณ ๗ องค์ โดยตรวจสอบตัวอย่างพระพุทธรูปเพิ่มเติมจากที่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ รวมทั้ง 92

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


เพิ่มศิลปะจีนและอิทธิพลศิลปะจีนไว้ด้วย - ในส่วนของศิลปะในประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที ่ ๑๙ ได้จำ� แนก และก�ำหนดอายุรปู แบบใหม่เล็กน้อย เช่น ศิลปะทวารวดี ก�ำหนดอายุให้แคบ กว่าเดิมทีท่ รงก�ำหนดรวม ๆ ว่าอยูร่ ะหว่างพุทธศตวรรษที ่ ๑๑-๑๖ และศิลปะ ศรีวิชัย ที่มีพระพุทธรูปขนาดเล็ก ๒-๓ องค์ที่น่าจะก�ำหนดใหม่ว่าเป็นศิลปะ เขมรในประเทศไทยแบบบายน - ส่วนที่มีการก�ำหนดใหม่ค่อนข้างมาก คือ ศิลปะสมัยลพบุรี แบ่ง เป็นศิลปะเขมรทีพ่ บในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที ่ ๑๗-กลางพุทธศตวรรษ ที ่ ๑๘) และศิลปะสมัยลพบุร ี (กลางพุทธศตวรรษที ่ ๑๘-ปลายพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙) - ส่วนศิลปะสุโขทัย ได้กำ� หนดปรับเปลีย่ นบางองค์ใหม่ โดยย้ายมา จากศิลปะแบบอู่ทองหรืออยุธยา - ส�ำหรับพระพุทธรูปแบบอู่ทองและอยุธยาได้ศึกษาใหม่เพิ่มเติม ทั้งการจัดกลุ่มรูปแบบและก�ำหนดอายุใหม่ คือ ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น แบ่งเป็น แบบอูท่ องรุน่ ที ่ ๒ (ปลายพุทธศตวรรษที ่ ๑๙ ถึงกลางพุทธศตวรรษ ที่ ๒๐) และแบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ (ต้นถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐) และแบบ อยุธยา (รวมพระพุทธรูปหินทราย) คือ กลุ่มพระพุทธรูปที่เกิดจากการผสม ผสานทางงานช่างระหว่างแบบอูท่ องรุน่ ที ่ ๒ กับรุน่ ที ่ ๓ (กลางถึงปลายพุทธ ศตวรรษที่ ๒๐)

พระพุทธรูปในศิลปะต่างประเทศ ในรายงานเรือ่ ง “โบราณวัตถุทคี่ น้ พบจากกรุพระปรางค์วดั ราชบูรณะ รุ่นที่ ๒” ของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ได้จ�ำแนกพระพุทธรูปสมัย ต่าง ๆ โดยแบ่งพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์กลุ่มหนึ่งว่าเป็นศิลปะต่าง ประเทศ พบประมาณ ๘ องค์ ประกอบด้วย ศิลปะอินเดียสมัยปาละ ๑ องค์ สมัยอินเดียภาคใต้รุ่นหลัง ๑ องค์  ศิลปะลังการุ่นหลัง ๒ องค์ แบบชวา ๑ องค์ แบบพม่า ๑ องค์ ศิลปะเนปาลหรือทิเบต ๒ องค์ (พระพุทธรูป ๑ องค์ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

93


พระโพธิสัตว์ ๑ องค์)๗ นอกจากนีม้ พี ระพุทธรูปจากต่างประเทศอีกจ�ำนวนหนึง่ ทีไ่ ม่ได้กล่าวไว้ ในรายงานดังกล่าว แต่มีเพียงไม่กี่องค์ เช่น ในรายงานเรื่อง “พระพุทธรูป และพระพิมพ์จากกรุพระปรางค์วดั ราชบูรณะ” พบพระพุทธรูปแบบปาละอีก ๑ องค์ พระพุทธรูปศิลปะลังกา ๑ องค์ เป็นต้น พระพุทธรูปศิลปะอินเดีย - พระพุทธรูปแปดปาง  พระพุทธรูปองค์น ี้ (รูปที ่ ๓๕) เป็นศิลปวัตถุชนิ้ ส�ำคัญชิน้ หนึง่ ทีพ่ บใน ประเทศไทย เป็นประติมากรรมนูนสูง สลักจากหิน จัดอยูใ่ นสมัยปาละ อายุ ราวพุทธศตวรรษที ่ ๑๓-๑๕  ด้านหลังมีจารึกด้วยอักษรเทวนาครี ภาษามคธ มีค�ำภาษาสันสกฤตปน เป็นจารึกคาถา “เย ธมฺมา”๘ พระพุทธรูปแปดปางประกอบด้วย ปางมารวิชัยหมายถึงปางตรัสรู้ เป็นประธานอยู่กลาง มีขนาดใหญ่และสลักนูนมากกว่าปางอื่น ๆ ประทับ นั่งบนบัลลังก์ มีฐานบัวคว�่ำ-บัวหงายเหนือฐานสิงห์  ที่ฐานเบื้องล่างมีแถว พระพุทธรูป ๓ พระองค์ แสดงปางต่าง ๆ เรียงจากขวาไปซ้าย ประกอบด้วย พระพุทธรูปปางประทานอภัยด้วยพระหัตถ์ซ้าย องค์กลางปางสมาธิ และ องค์หลังสุดปางประทานอภัยด้วยพระหัตถ์ขวา ซึ่งน่าจะหมายถึงพระอดีต พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ทตี่ รัสรูแ้ ล้ว คือ พระพุทธเจ้ากกุสนั โธ โกนาคม และ กัสสปะ  ส่วนพระศรีศากยมุนี พระพุทธเจ้าองค์ปจั จุบนั คือองค์ประธานตรง กลางที่แสดงปางมารวิชัย การแสดงปางอื่น ๆ สลักเป็นภาพเล็ก ๆ ประกอบอยู่ด้านข้าง ไม่ ได้เรียงล�ำดับตามเหตุการณ์ในพุทธประวัติ แต่จัดองค์ประกอบตามความ เหมาะสมของพื้นที่และลักษณะของการแสดงปางที่สอดคล้องกัน เช่น ปาง ปรินพิ พานอยูด่ า้ นบนสุดเพราะมีพนื้ ทีเ่ หมาะส�ำหรับท�ำพระพุทธรูปในอิรยิ าบถ ไสยาสน์  พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์คู่กับปางทรมานช้างนาฬาคีรี  ปางปฐมเทศนาคู่กับปางแสดงยมกปาฏิหาริย์  โดยเริ่มจากเบื้องขวา 94

พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


รูปที่ ๓๕  พระพุทธรูปแปดปาง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  (ที่มา : กรมศิลปากร, พระพุทธรูปและพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.)

ของพระพุทธรูปประทาน ล่างสุดคือปางประสูต ิ ถัดขึน้ มาคือปางปฐมเทศนา ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์  ด้านบนปางปรินพิ พาน  ถัดลงมาเป็นปางทรมาน ช้างนาฬาคีรี  ปางยมกปาฏิหาริย์ และสุดท้ายปางรับบาตรจากพญาวานร การแสดงพระพุทธรูปหลาย ๆ ปางในประติมากรรมชิ้นเดียวกันเช่น นี ้ เป็นรูปแบบหนึง่ ทีน่ ยิ มอยูใ่ นศิลปะปาละของอินเดีย ในความหมายของการ แสดงพุทธประวัตแิ ละสถานทีส่ �ำคัญทีเ่ กีย่ วข้องกับพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย สถานทีส่ ำ� คัญ คือ สังเวชนียสถาน ๔ ได้แก่ ตอนประสูต ิ ตรัสรู ้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน  ส่วนพระพุทธรูปแปดปางประกอบด้วย ๒ ชุด คือ ชุดของ สังเวชนียสถาน ๔ กับชุดการแสดงปาฏิหาริย์ ๔ (ได้แก่ ปางเสด็จลงจาก ดาวดึงส์ ทรมานช้างนาฬาคีรี ยมกปาฏิหาริย์ และรับบาตรจากพญาวานร) ส�ำหรับรูปแบบศิลปกรรมจัดเป็นศิลปะปาละอย่างแท้จริง  มีรปู แบบ ศิลปะ ได้แก่ พระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร พระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์กลม พระรัศมีเป็นดอกบัวตูม ครองจีวรห่มเฉียง จีวรเป็นริ้ว ชายสังฆาฏิสั้นเหนือ พระถัน  ส่วนฐานบัวคว�่ำ-บัวหงายที่มีลายกลีบบัวขนาดใหญ่ ซึ่งมักเรียก ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

95


พระพิมพ์จากกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ

172 พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


ายในพระปรางค์วัดราชบูรณะมีการบรรจุพระพิมพ์ไว้เป็นจ�ำนวนมาก ทั้งพระพิมพ์ที่ท�ำจากดินเผา ส�ำริด และชิน โดยพบพระพิมพ์ชิน จ�ำนวนมากที่สุดและส่วนใหญ่เป็นพิมพ์ที่ซ�้ำ ๆ กัน  เมื่อคราวที่กรมศิลปากร เปิดกรุครัง้ แรกนัน้  มีผทู้ ำ� การศึกษาเรือ่ งพระพิมพ์ไว้ ๒ ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงตั้งเป็นข้อสังเกตและเสนอข้อคิดเห็น เรื่องพระพิมพ์ไว้ในตอนท้ายของเรื่องพระพุทธรูป  ส่วนผู้ที่ศึกษาพระพิมพ์ คือ นายมานิต วัลลิโภดม  ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเสนอข้อคิดเห็นโดย สรุปการแบ่งยุคสมัยไว้ดังนี้๑  ๑. แบบต่างประเทศ มีพระพิมพ์แบบปาละของอินเดีย ท�ำด้วยชิน ๑ องค์ ๒. แบบทวารวดี ๕ องค์ เช่น พระพิมพ์แบบพุทธคยา แบบปาละ ของอินเดีย ทรงมีความเห็นว่าเป็นพระพิมพ์แบบปาละของอินเดียที่ในสมัย ทวารวดีน�ำมาใช้ การที่มาพบในกรุพระปรางค์ครั้งนี้อาจท�ำพิมพ์ขึ้นใหม่ใน ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

173


สมัยอยุธยาก็ได้ ๓. แบบลพบุรี (หมายถึงแบบเขมรในประเทศไทย) พบจ�ำนวนมาก พอสมควร เป็นพระพิมพ์แบบมหายาน เช่นมีพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ หรือพระพุทธเจ้าประทับตรงกลางและด้านข้างมีพระโพธิสตั ว์อวโลกิเตศวรอยู่ ด้านขวาและนางปรัชญาปารมิตาอยูด่ า้ นซ้าย หรือมีรปู วัชระประกอบ เป็นต้น ซึ่งมีทั้งพระพิมพ์และแผ่นดุนทอง ๔. แบบอยุธยา ส่วนใหญ่ท�ำจากชิน อาจแบ่งเป็น ๒ แบบ คือ ๔.๑ เลียนแบบสุโขทัย ส่วนใหญ่ท�ำเป็นพระพุทธรูปลีลา มีทั้ง แบบพระพุทธรูปลีลาองค์เดียว พระพุทธรูปลีลาอยู่ตรงกลางและมีพระพุทธ รูปปางมารวิชัยจ�ำนวนมาก พระพุทธรูปปางมารวิชัยและพระสาวก และ พระพุทธรูปปางยมกปาฏิหาริย์ เป็นต้น ๔.๒ แบบอยุธยาแท้ ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชยั  ปาง ประทานอภัย ปางสมาธิหรือปางปฐมเทศนา มีทงั้ ทีเ่ ป็นองค์เดียวในเรือนแก้ว หรือมีสาวกประกอบ พระพุทธรูปลีลาทีเ่ ลียนแบบสุโขทัย พระพุทธเจ้าประทับ ในร่มโพธิ์พฤกษ์ เป็นต้น  ที่ส�ำคัญคือ พบว่าชุดหนึ่งมีจารึกอักษรจีนอยู่ด้าน หลัง กล่าวถึงชาวจีนที่ร่วมสร้างขึ้นโดยเสด็จพระราชกุศล จากการพบพระพิมพ์ครั้งนี้ทรงมีความเห็นว่า จากหลักฐานพระ พิมพ์ทงั้ หมดท�ำให้ทราบถึงรูปแบบศิลปะในสมัยอยุธยาตอนต้นได้เป็นอย่างดี นอกจากพระพิมพ์จะเป็นเครื่องสืบพระศาสนาแล้ว  ยังมีประโยชน์ในการชี้ ให้เห็นว่าในสมัยอยุธยาตอนต้นนิยมผูกลวดลายแบบใด จากข้อสังเกตดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พระพิมพ์ทพี่ บในกรุพระปรางค์ นี้ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นของที่สืบทอดกันมา อย่างเช่นพระพิมพ์แบบลพบุรี เนื่องจากท�ำจากดินเผา ส�ำริด  ส่วนที่พบมากจะท�ำจากชิน โดยเฉพาะแบบ สุโขทัยและแบบอยุธยาแท้น่าจะสร้างขึ้นใหม่เพื่อการบรรจุในครั้งนี ้ จึงทรง ก�ำหนดเรียกว่า “แบบสุโขทัย” คือมีรปู แบบศิลปะสุโขทัย แต่สร้างขึน้ ใหม่เพือ่ บรรจุในกรุนี้ และทรงเห็นว่าอายุพระพิมพ์ที่ใหม่สุดคือพระพิมพ์แบบอยุธยา ท�ำให้การก�ำหนดอายุอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ 174 พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


ในคราวที่มีการสร้างพระปรางค์องค์นี้  ส่วนในการศึกษาของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงการสร้างพระ พิมพ์โดยรวม ทัง้ เรือ่ งคตินยิ ม มูลเหตุในการสร้าง ในส่วนของการศึกษาด้าน รูปแบบศิลปกรรมของพระพิมพ์ได้แบ่งพระพิมพ์ตามยุคสมัย โดยเรียกเป็น ศิลปะแบบทวารวดี แบบลพบุร ี แบบสุโขทัย แบบอูท่ อง และแบบอยุธยา โดย ในแต่ละสมัยจะแบ่งย่อยตามลักษณะของพระพิมพ์ เช่น แบ่งตามลักษณะ ของปางต่าง ๆ ตามจ�ำนวนพระพุทธรูป พระพิมพ์ลอยตัว พระแผง  แบ่ง ตามลักษณะของซุ้ม เช่น ซุ้มเรือนแก้ว ซุ้มโพธิ์พฤกษ์ ซุ้มสีมาทิศ เป็นต้น แต่เป็นการก�ำหนดเรียกโดยผู้ศึกษาและแสดงตัวอย่าง อธิบายลักษณะรูป แบบเพียงเล็กน้อยว่าเป็นพิมพ์แบบใด๒  ในแต่ละรูปแบบไม่ได้แสดงลักษณะ หรืออธิบายทางด้านรูปแบบศิลปกรรมว่าจัดเป็นสมัยต่าง ๆ ด้วยเหตุผลใด และทั้งหมดในเนื้อหาเป็นภาพตัวอย่างพระพิมพ์แบบต่าง ๆ จากการทบทวนและตรวจสอบพระพิมพ์พบว่าสิ่งที่นักวิชาการทั้ง สองท่านได้นำ� เสนอเป็นการจัดรูปแบบพระพิมพ์โดยใช้ความเชีย่ วชาญในการ ก�ำหนด ซึง่ โดยลักษณะรูปแบบแล้วเห็นว่ามีความเป็นไปได้ตามทีม่ กี ารก�ำหนด ไว้ เพียงแต่ในการก�ำหนดของทั้งสองท่านยังขาดการอธิบายลักษณะรูปแบบ ศิลปกรรมเพื่อจะบอกว่าเป็นศิลปะแต่ละสมัยอย่างไร  ส่วนหนึ่งเป็นการ แบ่งตามลักษณะของพระพุทธรูปกับองค์ประกอบ เช่น ลักษณะซุ้ม จ�ำนวน พระพุทธเจ้า เป็นต้น  ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของกลุ่มรูปแบบ ดัง เช่นกลุ่มพระพิมพ์ในศิลปะเขมรจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น พิมพ์พระพุทธเจ้า สามพระองค์สร้างขึ้นในคติตรีกาย หรือพระพุทธเจ้ากับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและนางปรัชญาปารมิตาเป็นคติเรือ่ งรัตนตรัยมหายาน พระพิมพ์แผง อาจเกี่ยวข้องกับคติเรื่องพระอดีตพุทธเจ้า หรือพระพิมพ์ที่แสดงปางต่าง ๆ เช่น ปางยมกปาฏิหาริย์ เป็นต้น ในส่วนนีเ้ องทีผ่ เู้ ขียนจะได้ทำ� การศึกษาวิเคราะห์และอธิบายลักษณะ รูปแบบศิลปกรรมเพิ่มเติมจากที่นักวิชาการทั้งสองท่านได้เสนอไว้ เพื่อ ความเข้าใจในลักษณะรูปแบบและอายุสมัย  รวมทั้งจะเพิ่มเติมในส่วนที่มา ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

175


ของรูปแบบส�ำหรับพระพิมพ์ที่อาจมีการก�ำหนดอายุสมัยใหม่ ได้แก่ พระ พิมพ์ซึ่งท่านทั้งสองเรียกว่า “สมัยลพบุรี” โดยแบ่งเป็นศิลปะเขมรที่พบใน ประเทศไทยและสมัยลพบุรี กับแบบอู่ทองอาจแบ่งเป็นสมัยลพบุรี เป็นต้น ในส่วนของการศึกษาจะเป็นการวิเคราะห์แนวคิดและคติการสร้างจากรูปแบบ ศิลปกรรมบางแบบ รวมทั้งวิเคราะห์คติการสร้างและการบรรจุพระพิมพ์ใน กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ผู้เขียนเห็นด้วยกับที่ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรง กล่าวว่า พระพิมพ์สว่ นใหญ่แม้จะเป็นสมัยต่าง ๆ ก่อนหรือร่วมสมัยกับอยุธยา ตอนต้น โดยเฉพาะกลุม่ ทีท่ �ำจากชินทีม่ รี ปู แบบซ�้ำ ๆ และพบเป็นจ�ำนวนมาก แต่น่าจะเป็นการสร้างขึ้นใหม่ตามพิมพ์เดิมเพื่อการบรรจุในกรุครั้งนี้ เช่น พระพิมพ์แบบปาละของอินเดีย พระพิมพ์แบบสุโขทัย ดังนั้นจึงทรงเรียก ว่า “แบบอินเดีย” “แบบสุโขทัย” แทนค�ำว่า “สมัยอินเดีย” หรือ “สมัย สุโขทัย” ในการศึกษาครั้งนี้ขอแบ่งพระพิมพ์ออกตามสมัย โดยอิงกับความ เห็นของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล และปรับเปลี่ยนบางสมัย โดยเฉพาะศิลปะลพบุรีปรับเป็น “ศิลปะเขมรในประเทศไทย” และ “สมัย ลพบุรี” ดังนี้ ๑. พระพิมพ์แบบปาละของอินเดีย (สมัยทวารวดี) ซึง่ อาจรวมอยูใ่ น แบบปาละทีพ่ บอยูใ่ นสมัยทวารวดี  รวม ๖ องค์ เช่น พระพิมพ์แบบพุทธคยา แบบศิลปะปาละของอินเดีย ท�ำด้วยชินและส�ำริด  พระพิมพ์ดนิ เผา ๒ ชิน้ ซึง่ เป็นพิมพ์เดียวกัน  น่าจะเป็นพระพิมพ์แบบปาละของอินเดียซึง่ สมัยทวารวดี น�ำมาใช้  การทีพ่ บในกรุพระปรางค์องค์น ี้ อาจท�ำพิมพ์ขนึ้ ใหม่ในสมัยอยุธยา พร้อมกับการสร้างกรุในครั้งนี้ ๒. พระพิมพ์แบบสมัยทวารวดี  ได้แก่ พระพิมพ์ดนิ เผาและส�ำริด ๒ องค์ที่แสดงพุทธศิลป์แบบทวารวดี  ๓. พระพิมพ์แบบเขมรในประเทศไทย พบจ�ำนวนมากพอสมควร เป็น พระพิมพ์แบบมหายาน  176 พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


๔. พระพิมพ์แบบลพบุร ี ในกลุม่ นีแ้ ยกมาจากแบบศิลปะลพบุร ี (เขมร ในประเทศไทย) สามารถแยกกลุ่มรูปแบบได้อีกกลุ่มหนึ่ง ตามลักษณะของ พระพุทธรูป โดยรวมกลุ่มที่นายมานิต วัลลิโภดม จัดว่าเป็นสมัยอู่ทองไว้ใน สมัยลพบุรีนี้ด้วย ๕. พระพิมพ์ศิลปะอยุธยา (เลียนแบบสุโขทัย) ส่วนใหญ่ท�ำเป็น พระพุทธรูปลีลา ๖. พระพิมพ์ศลิ ปะอยุธยา แบบอูท่ องรุน่ ที ่ ๒ และแบบอูท่ องรุน่ ที ่ ๓  ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปางประทานอภัย ปางสมาธิหรือปาง ปฐมเทศนา

วิเคราะห์รูปแบบพระพิมพ์ ๑.  พระพิมพ์แบบปาละของอินเดีย  (สมัยทวารวดี) อาจรวมอยู่ในแบบปาละที่พบอยู่ในสมัยทวารวดี พบรวมทั้งหมด ๖ องค์ เป็นพิมพ์พุทธคยาแบบศิลปะปาละของอินเดีย  มีพระพิมพ์ ๔ องค์ ท�ำด้วยชิน (รูปที่ ๑๔๘-๑๔๙) และส�ำริด (รูปที่ ๑๕๐-๑๕๑)  แต่ละองค์มี รูปแบบองค์ประกอบและขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย โดยมีรูปแบบพิมพ์ทรง สามเหลี่ยมโค้งมนคล้ายใบโพธิ์ ท�ำเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่ง ขัดสมาธิเพชรเหนือฐานบัวคว�่ำ-บัวหงาย  นอกกรอบซุ้มประดับด้วยสถูป ขนาดเล็กหลายองค์เต็มพื้นที่  แต่ละพิมพ์มีขนาดไม่เท่ากัน แตกต่างกันที่ กรอบพระพิมพ์ รวมทั้งจ�ำนวนและรูปแบบสถูปที่ประดับด้านข้าง แต่พบว่า องค์หนึ่งมีขนาดเล็กและไม่ประดับสถูป การที่พบกลุ่มที่น่าจะเป็นพระพิมพ์แบบปาละของอินเดียที่สมัย ทวารวดีน� ำมาใช้  (รูปที่ ๑๔๘) ในกรุพระปรางค์ครั้งนี้  อาจเป็นการท� ำ พิมพ์ขึ้นใหม่ในสมัยอยุธยาพร้อมกับการสร้างกรุในครั้งนี้ ส่วนพระพิมพ์อีกสององค์ที่เป็นพิมพ์เดียวกัน  เป็นดินเผา (รูปที่  ๑๕๒-๑๕๓) ลักษณะกลมคล้ายเหรียญพระพิมพ์ เป็นพระพุทธรูปปางมาร วิชยั  ประทับนัง่ ขัดสมาธิเพชรเหนือฐานบัวคว�ำ่ -บัวหงาย  ทัง้ สองข้างมีบคุ คล ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

177


รูปที่ ๑๔๘  พระพิมพ์พุทธคยา  (ภาพ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เจ้าสามพระยา)

รูปที่ ๑๔๙ พระพิมพ์พุทธคยา  (ที่มา : กรมศิลปากร, พระพุทธรูปและ พิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.)

รูปที่ ๑๕๐  พระพิมพ์พุทธคยา  (ที่มา : กรมศิลปากร, พระพุทธรูปและ พิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.)

รูปที่ ๑๕๑  พระพิมพ์พุทธคยา  (ที่มา : กรมศิลปากร, พระพุทธรูปและ พิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.)

รูปที่ ๑๕๒  พระพิมพ์ปางมารวิชัย  พร้อมพระอินทร์และพระพรหม

รูปที่ ๑๕๓  พระพิมพ์ปางมารวิชัย  พร้อมพระอินทร์และพระพรหม  (ภาพ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เจ้าสามพระยา)

178 พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


ประกอบ บุคคลเบื้องซ้ายเป่าสังข์น่าจะหมายถึงพระอินทร์ ส่วนบุคคลเบื้อง ขวากั้นฉัตรน่าจะหมายถึงพระพรหม  ในรายงานของนายมานิต วัลลิโภดม เรื่องพระพิมพ์ จัดให้อยู่ในศิลปะทวารวดี๓  สันนิษฐานไว้ว่าหมายถึงปาง เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์๔  แต่อาจหมายถึงพุทธประวัติตอนตรัสรู้ หรืออาจหมายถึงปางเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะ ถ้ า เป็ น เสด็ จ ลงจากสวรรค์ ชั้ น ดาวดึ ง ส์ จ ะแสดงด้ ว ยอิ ริ ย าบถเดิ น ไม่ ใ ช่ ประทับนั่ง  ลักษณะพระพุทธรูปเป็นศิลปะแบบปาละ  คือ ประทับนั่งขัด สมาธิเพชร พระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์กลม พระรัศมีน่าจะเป็นดอกบัว ตูม สังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน และที่ส�ำคัญคือประทับนั่งเหนือฐานบัวที่มีลาย กลีบบัวขนาดใหญ่แบบปาละ ๒.  พระพิมพ์สมัยทวารวดี พบพระพิมพ์ดินเผาและส�ำริด  ๒ องค์ที่แสดงพุทธศิลป์แบบทวารวดี  พระพิมพ์ดนิ เผาเป็นปางสมาธิ ประทับนัง่ ขัดสมาธิอย่างหลวม ๆ จัดเป็น ศิลปะสมัยทวารวดีทไี่ ด้รบั อิทธิพลศิลปะอมราวดี  ลักษณะพระพักตร์เป็นแบบ ศิลปะทวารวดี ซึ่งได้พบพิมพ์นี้เช่นกันที่เมืองอู่ทองและลพบุรี (รูปที่ ๑๕๔) พระพิมพ์ปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรเหนือฐานบัวคว�่ำบัวหงายทีม่ ลี ายกลีบบัวขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลศิลปะปาละ แล้ว เพราะประทับนัง่ ขัดสมาธิเพชร และมีฐานบัวเหนือฐานบัวคว�ำ่ -บัวหงาย แบบปาละ (รูปที่ ๑๕๕)

รูปที่ ๑๕๔  พระพิมพ์ปางสมาธิ

รูปที่ ๑๕๕  พระพิมพ์ปางมารวิชัย  (ภาพ : พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ เจ้าสามพระยา)

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

179


วิเคราะห์และบทสรุป

240 พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


วัดราชบูรณะกับหลักฐานการค้นพบกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่มีประวัติการสร้างและมี ความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ส�ำคัญในประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยา ดัง ที่กล่าวถึงประวัติวัดนี้ไว้ในบทที่ ๑ แล้วว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) โปรดเกล้าฯ ให้ก่อพระเจดีย์ขึ้นบริเวณป่าถ่านที่เจ้าอ้าย พระยาและเจ้ายี่พระยาทรงชนช้างกันจนสิ้นพระชนม์ และทรงสถาปนาพระ อารามขึ้นใน พ.ศ. ๑๙๖๗ ถวายพระนามว่าวัดราชบุณ๑ (คือวัดราชบูรณะ) วัดราชบูรณะจึงมีความส�ำคัญต่อการศึกษาประวัตศิ าสตร์และงานศิลปกรรม ในสมัยอยุธยาเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุที่มีประวัติการก่อสร้างที่แน่นอน ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารสมัยอยุธยาหลายฉบับ   มีรูปแบบของ พระปรางค์ที่ยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมไว้ได้มากที่สุดโดยไม่มีการบูรณะ ในสมัยหลัง ทั้งระบบของแผนผังวัดและรูปแบบของพระปรางค์จัดเป็นงาน ศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้น สอดคล้องกับประวัติการก่อสร้าง๒  และที่ ส�ำคัญ คือ การค้นพบสิง่ ของเครือ่ งใช้ทบี่ รรจุไว้ในกรุพระปรางค์เมือ่ ครัง้ แรก ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

241


สร้าง ซึ่งเหลือหลักฐานอยู่เพียงวัดเดียว เพราะวัดอื่น ๆ ได้ถูกลักลอบขุดกรุ เจดีย์ไปหมดแล้ว อย่างไรก็ตามวัดราชบูรณะได้ถูกคนร้ายเจาะกรุและขโมยสมบัติไป บางส่วน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖-๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ มีคนร้ายลักลอบขุดหาสมบัติในกรุพระปรางค์และได้ขโมยสมบัติต่าง ๆ ส่วนหนึ่งออกไป ส่วนใหญ่เป็นสิ่งของมีค่าและอัญมณีต่าง ๆ  ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ ต�ำรวจสามารถติดตามจับกุมคนร้ายและน�ำสมบัติกลับคืนมาได้ส่วนหนึ่ง กรมศิลปากรจึงได้เปิดกรุส�ำรวจและน�ำสมบัติที่พบในกรุมาเก็บรักษา นอก จากนี้ยังพบว่ามีกรุที่อยู่ด้านข้างอีกหลายกรุที่ยังไม่ได้เปิด กรมศิลปากรจึง ได้เปิดกรุทั้งหมด  บรรดาสิ่งของที่พบสูงด้วยมูลค่าและคุณค่าอย่างมิอาจ ประเมินค่าได้  สิง่ ของทีพ่ บหลัก ๆ ได้แก่ พระบรมสารีรกิ ธาตุและสถูปจ�ำลอง ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เครื่องพุทธบูชา เช่น เครื่องสูง ข้าวของ เครื่องใช้ซึ่งเป็นเครื่องทอง เครื่องแก้ว ส�ำริด  ที่ส�ำคัญ คือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ชุดเครือ่ งราชูปโภคทีเ่ ป็นเครือ่ งประดับ จ�ำพวกเครือ่ งทอง อัญมณี น่าจะสร้างขึน้ เพือ่ การอุทศิ ถวาย  อีกส่วนหนึง่ ทีม่ คี วามส�ำคัญและพบจ�ำนวน มาก คือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ อาจสร้างขึ้นตามคติโบราณเรื่องการสืบ พระศาสนา อันเป็นที่มาของความส�ำคัญในการศึกษาของผู้เขียน ถึงแม้ว่าศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้ศึกษาเรื่อง พระพุทธรูป และนายมานิต วัลลิโภดม ศึกษาเรื่องพระพิมพ์ที่พบในกรุวัด ราชบูรณะไว้แล้ว๓  ซึ่งการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญทั้งสองท่านถือว่าตีความได้ น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งเรื่องอายุสมัยและรูปแบบ ศิลปกรรม  แต่ผเู้ ขียนเห็นว่ายังขาดการอธิบายความ การศึกษาเปรียบเทียบ และการวิเคราะห์ทางด้านหลักฐานอื่น ๆ ประกอบกับการน�ำเสนอเป็นการ อธิบายและตีความเฉพาะชิ้นและเฉพาะกลุ่ม  ดังนัน้ ในการศึกษาครัง้ นี ้ ผูเ้ ขียนจะวิเคราะห์รปู แบบ การจัดหมวดหมู่ ของพระพุทธรูปและพระพิมพ์ เพือ่ อธิบายลักษณะ ทีม่ าของรูปแบบ แนวทาง การก�ำหนดอายุสมัยให้ชัดเจนขึ้น โดยสามารถอธิบายถึงที่มาของรูปแบบ 242 พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


อันจะเป็นหลักฐานส�ำคัญในการก�ำหนดอายุสมัยการสร้างพระปรางค์วดั ราชบูรณะ ที่ก�ำหนดไว้ว่าเป็นงานในสมัยอยุธยาตอนต้นซึ่งตรงกับประวัติการ สร้าง  แต่มผี เู้ สนอแนวความคิดใหม่วา่ สร้างขึน้ ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ และมาสร้างขึน้ ใหม่ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ๔  ดังนัน้ โบราณ วัตถุที่พบอยู่ภายในกรุพระปรางค์จะเป็นหลักฐานในการไขปริศนาข้อนี้ได้ดี ที่สุด  เนื่องจากนับตั้งแต่แรกสร้างเพิ่งจะมีการเปิดกรุเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งจากการศึกษาและการวิเคราะห์ของผู้เขียน ยังไม่พบว่ามีงาน ศิลปกรรมใดที่มีอายุในสมัยอยุธยาตอนกลาง  ส่วนใหญ่เป็นงานศิลปกรรม ก่อนสมัยอยุธยาและอยุธยาตอนต้นเท่านั้น นอกจากนีย้ งั มีประเด็นทีน่ า่ สนใจ เช่น รูปแบบและคติการสร้างพระ พิมพ์ พิธีกรรมการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่สัมพันธ์กับการบรรจุสิ่งของ เพือ่ พุทธบูชา สิง่ ของทีอ่ ทุ ศิ ถวายจ�ำพวกเครือ่ งทองทีเ่ ป็นเครือ่ งราชกกุธภัณฑ์ มีความสัมพันธ์กบั งานจิตรกรรม ซึง่ เขียนเรือ่ งชาดก พระอดีตพุทธเจ้า พุทธ ประวัติ อาจมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่อง “หน่อพุทธางกูร” ที่ว่าพระ มหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเป็นหน่อพุทธางกูร เมื่อสวรรคตไป แล้วจะบังเกิดเป็นพระโพธิสัตว์และอนาคตพระพุทธเจ้าองค์ต่อ ๆ ไป งานศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ส�ำคัญ คือ เพื่อให้ทราบถึงรูปแบบ ศิลปกรรมของพระพุทธรูปและพระพิมพ์ อธิบายทีม่ าของรูปแบบ อันเป็นส่วน หนึง่ ของการก�ำหนดอายุงานศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้น รวมทัง้ คติและ ศรัทธาความเชือ่ ในการสร้าง การบรรจุพระบรมสารีรกิ ธาตุ การบรรจุสงิ่ ของ มีค่าในกรุเจดีย์  สามารถน�ำไปใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ให้ชัดเจนขึ้น

ผลการศึกษาพระพุทธรูปและพระพิมพ์จากกรุ พระปรางค์วัดราชบูรณะ รูปแบบพระพุทธรูปและอายุสมัย ในการศึกษารูปแบบศิลปกรรมและอายุสมัย ได้พจิ ารณาก�ำหนดอายุ สมัยใหม่ให้แคบลงกว่าเดิมที่เคยมีการศึกษาไว้ รวมทั้งอธิบายลักษณะรูป ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

243


แบบและเหตุผลไว้ในงานวิเคราะห์แต่ละกลุ่ม โดยมีส่วนที่เห็นด้วยและแบ่ง ตามที่ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงก�ำหนดไว้๕ คือ ศิลปะ จากต่างประเทศ พระพุทธรูปจากต่างประเทศ (อินเดีย ลังกา พม่า และ ชวา) ประมาณ ๗ องค์ โดยตรวจสอบตัวอย่างพระพุทธรูปเพิ่มเติมจากที่ไม่ ได้พิมพ์เผยแพร่ประกอบ ในส่วนของศิลปะในประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที ่ ๑๙ ได้จ�ำแนก และก�ำหนดอายุรูปแบบใหม่เพิ่มเติม เช่น ศิลปะทวารวดีก�ำหนดอายุให้แคบ กว่าเดิมที่ทรงก�ำหนดไว้รวม ๆ ว่าอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ และ ศิลปะศรีวิชัย  มีพระพุทธรูปขนาดเล็กบางองค์ที่น่าจะก�ำหนดใหม่ว่าเป็น ศิลปะเขมรในประเทศไทยแบบบายน เป็นต้น ในส่วนทีม่ กี ารก�ำหนดใหม่คอ่ น ข้างมาก คือ ศิลปะสมัยลพบุรีได้แบ่งเป็น ศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย พุทธ ศตวรรษที่ ๑๗ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘  และ ศิลปะสมัยลพบุรี กลาง พุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ศิลปะสุโขทัย ได้ก�ำหนดปรับเปลี่ยนบางองค์ โดยย้ายมาจากที่ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงก�ำหนดว่าศิลปะแบบอู่ทอง หรืออยุธยา  ส�ำหรับพระพุทธรูปแบบอูท่ องและอยุธยามีการศึกษาใหม่เพิม่ เติม ทัง้ การจัดกลุ่มรูปแบบและก�ำหนดอายุใหม่ว่าเป็น ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น แบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงกลางพุทธศตวรรษ ที่ ๒๐ แบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ ช่วงต้นถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แบบอยุธยา (รวมพระพุทธรูปหินทราย) คือ กลุ่มพระพุทธรูปที่เกิด จากการผสมผสานทางงานช่างระหว่างแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ กับรุ่นที่ ๓ ช่วง กลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แนวความคิดส�ำคัญที่ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ศึกษาไว้และทรงเสนอเป็นบทวิเคราะห์สรุป ดังนี๖้   244 พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


ประเด็นที่ ๑ ไม่ปรากฏว่ามีพระพุทธรูปทีม่ อี ายุหลังกว่าอายุของการ สร้างปรางค์วัดราชบูรณะที่ระบุศักราช พ.ศ. ๑๙๖๗ ประเด็นที่ ๒ พระพุทธรูปแบบลพบุรีและแบบอู่ทองพบมากในกรุ แสดงให้เห็นว่าศิลปะทัง้ สองแบบนีไ้ ด้รบั ความนิยมมากในสมัยอยุธยาตอนต้น ประเด็นที่ ๓ การทีไ่ ม่พบพระพุทธรูปแบบเชียงแสน (ศิลปะล้านนา) จึงมีผู้เสนอว่าพระพุทธรูปเชียงแสนเกิดขึ้นหลัง พ.ศ. ๑๙๖๗ แต่ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงไม่เห็นด้วย และทรงเห็นว่าในช่วงนั้น อยุธยาอาจจะยังไม่มีความสัมพันธ์กับล้านนา หรือช่างอยุธยาอาจไม่นิยม พระพุทธรูปแบบล้านนาก็ได้ เพราะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยก็พบน้อยมาก ประเด็นที ่ ๔  การศึกษาพระพุทธรูปในกรุพระปรางค์แสดงให้เห็นว่า อิทธิพลศิลปะสุโขทัยได้เข้ามาปรากฏในศิลปะอยุธยาเร็วกว่าทีเ่ คยเสนอกันไว้ ประมาณ ๕๐ ปี เพราะแต่เดิมเชือ่ ว่าเริม่ ขึน้ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นไปเสวยราชย์และประทับที่เมืองพิษณุโลก ใน พ.ศ. ๒๐๐๖ ประเด็นที่ ๕ ข้อสันนิษฐานเรื่องพระพุทธรูปหินทรายที่มีผู้เสนอว่า เกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง จากการค้นพบพระพุทธรูปหินทราย ในกรุพระปรางค์จงึ ทรงเชือ่ ว่าพระพุทธรูปหินทรายสร้างขึน้ แล้วในสมัยอยุธยา ตอนต้น

ประเด็นทางวิชาการ  ข้อสังเกตและข้อคิดเห็นใหม่ จากผลการศึกษาครั้งนี้ได้มีการตรวจสอบประเด็นดังกล่าวใหม่อีก ครั้งหนึ่ง  มีข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์เพิ่มเติม ผู้เขียนได้เสนอประเด็นใหม่ ทางวิชาการเพิ่มเติม รวมทั้งข้อสังเกตและข้อคิดเห็นดังนี้  ประเด็นที่ ๑ ที่สรุปว่าไม่พบพระพุทธรูปที่มีอายุหลังกว่าอายุของ การสร้างปรางค์วัดราชบูรณะที่ระบุศักราช พ.ศ. ๑๙๖๗  ผลการศึกษาพบ ว่าเป็นไปตามข้อสันนิษฐานเดิม  โดยได้ตรวจสอบและวิเคราะห์รูปแบบ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทงั้ หมด มีการวิเคราะห์รว่ มกับงานศิลปกรรมอืน่  ๆ ที่พบร่วมกัน ได้แก่ ลวดลาย จิตรกรรมฝาผนัง รูปแบบปรางค์ประธาน ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

245


ลวดลายประดับ และเจดีย์บริวาร  พบว่ามีงานศิลปกรรม ๓ กลุ่ม คือ (๑) กลุ่มที่มีมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา (ก่อนพุทธศตวรรษ ที่ ๒๐)  (๒) เป็นงานที่สร้างขึ้นใหม่โดยเลียนแบบศิลปะที่มีมาก่อนสมัย อยุธยา เช่นศิลปะสุโขทัย ที่พบมากคือพระพิมพ์ ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นใหม่ตาม พิมพ์เดิมเพื่อการบรรจุในคราวสร้างปรางค์ (๓) เป็นงานศิลปกรรมที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยอยุธยาตอนต้น ได้แก่ กลุ่มพระพุทธรูปที่พบจ�ำนวนมากที่สุด คือ พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ และรองลงมาคือแบบอูท่ องรุน่ ที ่ ๒ แสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปทัง้ สองแบบนี้ จัดเป็นงานศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้น โดยไม่พบพระพุทธรูปทีจ่ ดั อยูใ่ น สมัยอยุธยาตอนกลางเลย เช่น พระพุทธรูปทรงเครือ่ งน้อย หรือพระพุทธรูป ที่มีฐานสิงห์๗ เป็นต้น ในการศึกษาครั้งนี้มีประเด็นที่น่าสนใจเพิ่มเติมคือ พบพระพุทธรูป ในกลุ่มที่เรียกว่า “แบบอยุธยา (แท้)” แต่พบจ�ำนวนไม่มากนัก เป็นกลุ่มที่ พัฒนารูปแบบซึ่งในสมัยต่อมาจะกลายเป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปะอยุธยา ตอนกลางอย่างแท้จริง เดิมเชื่อว่าพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาตอนกลางเริ่ม ต้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ แต่จากการวิเคราะห์รูปแบบพระพุทธรูปใน กลุ่มนี้ใหม่ พบว่ามีการผสมผสานรูปแบบระหว่างพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่น ที่ ๓ กับอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ซึ่งพบทั้งส�ำริดและหินทราย เช่น ยังคงท�ำ ฐานหน้ากระดานเว้าเป็นร่องแบบอูท่ อง แต่พระพักตร์รปู ไข่แบบศิลปะสุโขทัย หรือท�ำเป็นพระพุทธรูปลีลาแบบสุโขทัย เป็นต้น  สิง่ ส�ำคัญทีเ่ ป็นแบบอยุธยา แท้ เช่น พระพักตร์กลมแป้น พระเนตรเปิด และพระโอษฐ์กว้าง เป็นต้น จึงแสดงให้เห็นว่า พระพุทธรูปแบบอยุธยาแท้เริ่มเกิดขึ้นแล้วในสมัยสมเด็จ เจ้ า สามพระยา ก่ อ นที่ จ ะพั ฒ นาอย่ า งแท้ จ ริ ง ในสมั ย สมเด็ จ พระบรม ไตรโลกนาถ สัมพันธ์กับรูปแบบศิลปกรรมหลายอย่างที่นิยมในสมัยอยุธยา ตอนกลาง ซึง่ เริม่ เกิดขึน้ แล้วในช่วงปลายของอยุธยาตอนต้น เช่นพัฒนาการ ของลวดลายพรรณพฤกษาที่เกิดขึ้นที่วัดราชบูรณะนี้ 246 พ ร ะ พุ ท ธ รู ป พ ร ะ พิ ม พ์ จ า ก ก รุ พ ร ะ ป ร า ง ค์ วั ด ร า ช บู ร ณ ะ พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า


ประเด็นที่ ๒ พระพุทธรูปแบบลพบุรีและแบบอู่ทองพบมากในกรุ แสดงให้เห็นว่าศิลปะทัง้ สองแบบนีไ้ ด้รบั ความนิยมมากในสมัยอยุธยาตอนต้น ประเด็นนี้ส่วนหนึ่งเป็นไปตามข้อสันนิษฐานเดิม เรื่องพระพุทธรูป แบบอู่ทองเป็นรูปแบบที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น ทั้งแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ และรุ่นที่ ๓  ส่วนพระพุทธรูปแบบลพบุรี ในความหมายที่รวมทั้งศิลปะ เขมรในประเทศไทยและสมัยลพบุร  ี จากหลักฐานทีพ่ บเป็นจ�ำนวนมาก ส่วน หนึ่งน่าจะเป็นศาสนวัตถุซึ่งรวบรวมมาบรรจุมากกว่าที่จะเป็นความนิยม สร้างขึ้นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ส�ำริดทรงเครื่องใน ศิลปะเขมรแบบนครวัดและบายน ไม่ควรเป็นงานที่สร้างขึ้นใหม่ เพราะทั้ง รูปแบบและคติการสร้างไม่ใช่ยุคสมัยของศิลปะดังกล่าวแล้ว มีหลายองค์ที่ สร้างขึ้นตามคติของพุทธศาสนามหายาน ประเด็นที่ ๓ การไม่พบพระพุทธรูปแบบเชียงแสน (ศิลปะล้านนา) ท� ำ ให้ มี ผู ้ เ สนอว่ า พระพุ ท ธรู ป เชี ย งแสนเกิ ด ขึ้ น หลั ง พ.ศ. ๑๙๖๗  แต่ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงไม่เห็นด้วย ทรงมีความเห็น ว่าในช่วงนั้นอยุธยาอาจจะยังไม่มีความสัมพันธ์กับล้านนา หรือช่างอยุธยา ไม่นยิ มพระพุทธรูปแบบล้านนา เพราะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยก็พบน้อยมาก๘ ผลการศึกษาเป็นไปตามข้อสันนิษฐานของศาสตราจารย์หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล เนื่องจากไม่พบพระพุทธรูปและศิลปกรรมในศิลปะล้านนา ในกรุพระปรางค์เลย และผู้เขียนเห็นด้วยกับเหตุผลที่ทรงเสนอไว้ นอกจากนีม้ เี หตุผลเพิม่ เติมเกีย่ วกับพระพุทธรูปล้านนาจากทีผ่ เู้ ขียน ได้เคยศึกษาเรือ่ งพระพุทธรูปในดินแดนไทย  แต่เดิมมีความเข้าใจว่าพระพุทธ รูปแบบล้านนาหรือเชียงแสน โดยเฉพาะแบบเชียงแสนสิงห์หนึง่  (พระพุทธรูป ขัดสมาธิเพชร) มีอายุเก่าไปถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘  จากการศึกษา ใหม่พบว่า พระพุทธรูปแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่งจัดอยู่ในศิลปะล้านนา มีอายุ เก่าสุดราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ แต่พบจ�ำนวนน้อยมาก  พบว่ามีความนิยม สร้างจริง ๆ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ นิยมสร้างอย่างมากและแพร่หลายใน ช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที ่ ๒๑  ดังนัน้ ในช่วงระยะเวลาทีส่ ร้างพระปรางค์ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

247


การศึ ก ษาพระพุ ท ธรู ป และพระพิ ม พ์ ใ หม่ อี ก ครั้ ง หนึ่ ง ศิ ล ปกรรมของพระพุ ท ธรู ป และพระพิ ม พ์   ด้ ว ยการ มากขึ้ น   รวมทั้ ง วิ เ คราะห์ ค ติ แ ละศรั ท ธาความเชื่ อ การบรรจุ สิ่ ง ของมี ค่ า ในกรุ เ จดี ย์   สำ � หรั บ อธิ บ ายโบราณวั ต ถุ ที่ ไ ด้ จ ากกรุ พ ระปรางค์ ได้รับรู้ และเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เล่มนี้จะยังให้เกิดประโยชน์ ในการศึกษา สมัยอยุธยาได้กว้างขวางขึ้น พร้อมทั้ง ดี ยิ่ ง ขึ้ น  ทั้ ง รู ป แบบ แนวความคิ ด สร้ า ง ประเพณี ก ารบรรจุ ร ว ม ทั้ ง เ รื่ อ ง ข อ ง ก า ร การอุทิศถวาย

พระพุ ท ธรู ป พระพุทธรูป

ผู้ เ ขี ย นจึ ง เห็ น ว่ า ควรมี ก ารทบทวน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงรูปแบบ วิเคราะห์รูปแบบการกำ�หนดอายุให้ชัดเจน ใ น ก า ร บ ร ร จุ พ ร ะ บ ร ม ส า รี ริ ก ธ า ตุ   การศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ แ ละการ วัดราชบูรณะ และสื่อสารให้คนทั่วไป จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ งานศิลปกรรมและประวัติศาสตร์ การชมงานศิ ล ปกรรมได้ เ ข้ า ใจ และพลั ง ศรั ทธาในการ สิ่ ง ของเพื่ อ เป็ น พุ ท ธบู ช า  สืบพระพุทธศาสนาและ

พ ร ะ น ค ร ศ รี อ ยุ ธ ย า ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา

สั่งซื้อออนไลน์ที่ @sarakadeemag

ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

หมวดประวัติศาสตร์/ศิลปะ ราคา ๔๙๐ บาท ISBN 978-616-465-040-4

จากกรุ พ ระปรางค์ วั ด ราชบู ร ณะ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.