10 ตำนานสะท้านโลก

Page 1

ดร. บัญชา  ธนบุญสมบัติ

10 ต�ำนาน

จิ น ต น า ก า ร ไ ม่ รู ้ จ บ ข อ ง ม ว ล ม นุ ษ ย ช า ติ

สะท้านโลก



จากส�ำนั ก พิ ม พ์ ในโลกนีม้ ตี ำ� นานเกีย่ วกับสถานที ่ บุคคล หรือเหตุการณ์ตา่ ง ๆ นับไม่ถว้ น  ซึ่งเป็นวิธีการที่คนโบราณใช้อธิบายที่มาที่ไปโดยผูกเป็นเรื่องราวขึ้นมา  ตามจินตนาการซึง่ มีหลากหลายรสชาติ เป็นเรือ่ งราวสุดบรรเจิด ผจญภัย  สนุกสนาน ตืน่ เต้น เร้าใจ เหนือเหตุผล โดยมีแก่นเรือ่ งธรรมะกับอธรรม  และผลลัพธ์ของการกระท�ำที่แทรกซ่อนอยู่ แต่จะด้วยความบังเอิญหรือเพราะเป็นความเชือ่ พืน้ ฐานของมนุษย์  ก็ตามที บางเรื่องบางต�ำนานจึงมีเนื้อเรื่องคล้ายคลึงกัน แม้จะอยู่กัน  คนละวัฒนธรรม เสน่ห์ของต�ำนานอยู่ตรงนี้ จึงไม่แปลกที่ต�ำนานหลายเรื่องจะได้รับความนิยมและถ่ายทอด  มาหลายยุคหลายสมัย แถมผู้คนยังจดจ�ำได้แม่นย�ำยิ่งกว่าต�ำราความรู้  เสียอีก ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ได้คัดสรรต�ำนานอมตะระดับโลกมา  น�ำเสนอ ซึง่ แม้บางเรือ่ งจะรูอ้ ยูแ่ ล้วหรือเคยได้ยนิ มาก่อนก็ตาม แต่ดว้ ย  ลีลาการเล่าที่สนุกสนาน บวกข้อมูลที่สรรหามาเพิ่มเติมต่อ ก็ท�ำให้  เพลิดเพลินไปกับเรือ่ งต่าง ๆ นัน้ แม้จนบรรทัดสุดท้าย และพร้อมด�ำดิง่ สู่  โลกแห่งจินตนาการอันไร้ขอบเขตของต�ำนานเรือ่ งใหม่เมือ่ พลิกหน้าต่อไป ขอเชิญท่านผู้อ่านค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ใน 10 ต�ำนาน สะท้านโลก ได้ ณ บัดนี้ ส�ำนักพิมพ์สารคดี

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

5


หนังสือ 10 ต�ำนานสะท้านโลก ผู้เขียน ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

© สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ 1, 2 พ.ศ. 2553 พิมพ์ครั้งที่ 3 มีนาคม 2562 จ�ำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม ราคา 289 บาท ข้อมูลบรรณานุกรม บัญชา ธนบุญสมบัติ. 10 ต�ำนานสะท้านโลก.--พิมพ์ครั้งที่ 3.--นนทบุรี : สารคดี, 2562. 208 หน้า. 1. ต�ำนาน--รวมเรื่อง.  I. ชื่อเรื่อง. 398.2 ISBN  978-616-465-014-5

คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : ปณต ไกรโรจนานันท์  ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปก/รูปเล่ม : วันทนี เจริญวานิช  พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ แยกสี/เพลต  เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. 0-2215-7559 พิมพ์  บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด โทร. 0-2720-5014 จัดพิมพ์  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี) จัดจ�ำหน่าย  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด 3 ซอยนนทบุรี 22 ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้ำ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร. 0-2547-2700 (อัตโนมัติ)  โทรสาร 0-2547-2721 ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง  ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�้ำมันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม


จากผู ้ เ ขี ย น ในแต่ละวัฒนธรรมมักจะมีเรือ่ งราวยอดนิยมทีผ่ คู้ นน�ำมาเล่าซ�ำ้ แล้วซ�ำ้ เล่า  บางเรื่องอาจได้รับการเผยแพร่ออกไปยังวัฒนธรรมอื่นในรูปแบบต่าง ๆ  ตัง้ แต่วรรณกรรมแปล ไปจนถึงภาพยนตร์หรือเกมคอมพิวเตอร์รว่ มสมัย เรื่องราวหรือต�ำนานเหล่านี้อาจจะท�ำให้หลายคนรู้สึกว่าเป็นเรื่อง  ที่แต่งขึ้นตามจินตนาการ โดยหากมีข้อเท็จจริงก็น่าจะไม่มากนัก แต่ บางเรื่องก็มีผู้ที่เชื่อว่าแก่นของเรื่องน่าจะเป็นบันทึกเหตุการณ์จริงที่  เกิดขึน้ เนิน่ นานมาแล้ว โดยมีบางช่วงได้รบั การแต่งเติมให้มสี สี นั มากขึน้ ไม่วา่ เราจะมีทศั นคติอย่างไร สิง่ ทีเ่ ห็นได้ชดั ประการหนึง่ ก็คอื ต�ำนาน  ทุกเรื่องล้วนเกี่ยวพันกับคนเราแทบทั้งสิ้น เช่น ความต้องการลึก ๆ ของ  มนุษย์ที่ต้องการมีชัยเหนือความตาย ดังที่บรรยายไว้ในมหากาพย์  กิลกาเมช  หรือความรู้สึกทั้งชื่นชมและเกรงกลัวต่อธรรมชาติ จนยก  ปรากฏการณ์ธรรมชาติให้มีตัวมีตนเกิดเป็นภาพการต่อสู้ระหว่างเทพ  กับพญางูในต�ำนานของชาวอินโด-ยูโรเปียน เป็นต้น เป็นไปได้ไหมว่าต�ำนานเหล่านี้ก็จะยังคงมีเสน่ห์และทรงพลัง  อยู่เสมอ เพราะแก่นความคิด ความต้องการพื้นฐาน และความใฝ่ฝัน  ของมนุษย์เรานัน้  จะว่าไปแล้วก็แทบไม่เปลีย่ นแปลงไปเท่าใดเลย นับแต่  รุ่งอรุณแห่งอารยธรรมที่คนเราสรรค์สร้างเรื่องเล่าเรื่องแรกขึ้นมา ข้อสังเกตทีว่ า่ นีจ้ ะจริงหรือไม่ อย่างไร ขอเชิญคุณผูอ้ า่ นพิสจู น์ได้ จากต�ำนานอมตะที่คัดสรรมาแล้วในหนังสือเล่มนี้ บัญชา ธนบุญสมบัติ จันทร์ 25 มกราคม 2553 ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

7


สารบั ญ

1

2

ต�ำนานการเกิดคราส ในวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลก • 10

การกวนเกษียรสมุทร • 22

5

6

มหากาพย์กิลกาเมช • 68

ปริศนาแห่งแอตแลนติส • 88

9

10

เทพสายฟ้า vs พญางูยักษ์ ศึกสไตล์อินโด-ยูโรเปียน • 150

ต�ำนานอมตะแห่งโรม • 168


3

4

ต�ำนานการเกิด แผ่นดินไหว • 40

ต�ำนานน�้ำท่วมโลก • 52

7

8

เจสันกับขนแกะทองค�ำ • 108

เทพปกรณัมของนอร์ส มหาสงครามแร็กนาร็อก • 126

ประวัติผู้เขียน • 206 วรรณกรรมสะเทือนใจ เมฆทูต • 186


1

10

ต�ำนานการเกิ ด คราส ในวั ฒ นธรรมต่ างๆ ทั่ ว โลก

ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก


ผูค้ นทัว่ โลกมักมีตำ� นานเกีย่ วกับการเกิดคราสกันทัง้ นัน้  บ้างก็คล้ายคลึง  กัน แต่ส่วนใหญ่แตกต่างกัน ลองมาดูตัวอย่างกันสักหน่อย ชาวไวกิง (Viking) มีต�ำนานเกี่ยวกับหมาป่าสองตัว ตัวหนึ่ง  ไล่ลา่ ดวงอาทิตย์ อีกตัวหนึง่ ไล่ล่าดวงจันทร์  หากหมาป่าตัวแรกไล่ทนั   ดวงอาทิตย์ก็เกิดสุริยคราส และหากหมาป่าอีกตัวหนึ่งไล่ทันดวงจันทร์  ก็เกิดจันทรคราส  เมื่อเกิดคราสขึ้นผู้คนสามารถช่วยเหลือดวงอาทิตย์  และดวงจันทร์โดยการท�ำเสียงดังเพื่อให้หมาป่าตกใจหนีไป ชาวจีนโบราณ มีหลายต�ำนาน บางต�ำนานอธิบายว่าสุริยคราส  เกิดจากมังกรกินดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้ขณะเกิดคราสคนจีนจะตีกลอง  ให้เกิดเสียงดังและยิงธนูขึ้นท้องฟ้าเพื่อขับไล่มังกร ส่วนในสมัยราชวงศ์ฮนั่  พบหลักฐานภาพแกะสลักบนหินเป็นรูป  นกทอง (สัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์) ถูกบดบังด้วยคางคก (สัญลักษณ์  แทนดวงจันทร์) ชาวอินเดียนเผ่าโพโม (Pomo) เป็นชนพืน้ เมืองอเมริกนั ทีอ่ าศัย  อยูใ่ นแถบรัฐแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ มีตำ� นานเกีย่ วกับหมีซงึ่ เดินทางไป  ในทางช้างเผือก  เมือ่ หมีพบกับดวงอาทิตย์ ต่างฝ่ายต่างโต้เถียงกันว่า  ใครควรจะหลีกทางให้  เมือ่ เถียงไม่ได้ผลจึงต่อสูก้ นั จนเกิดเป็นสุรยิ คราส  แต่ในที่สุดทั้งสองฝ่ายต่างแยกไปทางใครทางมัน (จนกว่าจะพบกันอีก)

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

11


http://hua.umf.maine.edu/China/astronomy/tianpage/0010H_sunspots6563w.html https://www.ebay.com/itm/Vtg-CHINESE-DRAGON-EATS-THE-SUN-T-SHIRT-Rare-Tee-EAST-ASIAN-GRAPHICS-China-/ 283357023826

12

ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก


https://calisphere.org/item/9e1b30a15fc422992abfebb2ff743dee/

มังกรกิน ดวงอาทิตย์

ชาวอินเดียน เผ่าโพโม ก�ำลังเต้นร�ำ

ภาพแกะสลัก สมัยราชวงศ์ฮั่น แสดงการเกิด สุริยุปราคา

ส่วนจันทรคราสก็เกิดขึน้ ในท�ำนองเดียวกัน คือหมีไปพบกับดวง  จันทร์บนทางช้างเผือก โต้เถียงและต่อสู้กัน ชาวอินเดียนเผ่าเซอร์ราโน (Serrano) ซึ่งเป็นชนพื้นเมือง  อเมริกนั อีกกลุม่ หนึง่ ทีอ่ าศัยอยูใ่ นแถบรัฐแคลิฟอร์เนียมีความเชือ่ แตกต่าง  ออกไป  พวกเขาเชื่อว่าคราสเกิดจากวิญญาณของคนตายพยายามจะ  กลืนกินดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์  ดังนั้นในช่วงระหว่างการเกิดคราส  พ่อมดหมอผี (shaman) และบริวารจะร้องร�ำท�ำเพลงและเต้นร�ำเพื่อ  ขอให้วิญญาณปลดปล่อยดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ ในขณะที่คนอื่น ๆ  จะตะโกนร้องเสียงดังเพื่อให้วิญญาณตกใจหนีไป ชาวอินเดียนเผ่าฮูปา (Hupa) ที่อาศัยในแถบรัฐแคลิฟอร์เนีย  ตอนเหนือก็มตี ำ� นานเกีย่ วกับจันทรคราสอีกแบบหนึง่   ต�ำนานของชาว  อินเดียนเผ่าฮูปาเล่าว่า ดวงจันทร์เป็นผูช้ ายทีม่ ภี รรยาถึง 20 คน  ส่วน  บ้านของเขาก็เต็มไปด้วยสัตว์เลี้ยงมากมาย เช่น งู หมี สิงโตภูเขา

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

13


พระลักษมี มอบพวงดอกไม้ แด่พระวิษณุ

34

แม่น�้ำศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ หลั่งมาเป็นน�้ำสรง  ช้างแห่งเทพน�ำน�้ำจากแม่น�้ำ  เหล่านีบ้ รรจุไว้ในถ้วยทองรินรดทัว่ ตัวนาง  พระเกษียรสมุทรถวายมาลัย  ที่สดงามชั่วนิรันดร์  และพระวิศวกรรมก็ประดับนางด้วยเครื่องทรง  จากสวรรค์ เมื่ อ สรงน�้ ำ และประดั บ พระองค์ แ ล้ ว  พระลั ก ษมี ก็ หั น ไปซบ  พระอุระของพระวิษณุ  ปวงเทพต่างก็ยนิ ดี แต่ฝา่ ยอสูรนัน้ แม้จะอ้อนวอน  ให้พระนางผันพระพักตร์ม ามองบ้างก็ไม่ส�ำเร็จ จนเหล่ าอสูรต้อง  เลิกหวังไป

ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก


https://travellingthali.wordpress.com/2012/05/07/learning-at-vaidyagrama/

เทวแพทย์ธันวันตริ มาพร้อม หม้อน�้ำอมฤต

ต่อมาไม่นานสิ่งส�ำคัญที่สุดในการกวนเกษียรสมุทรก็ปรากฏขึ้น  เทวแพทย์ธนั วันตริได้โผล่มาจากท้องทะเลพร้อมผอบน�ำ้ อมฤต (อินเดีย  ว่าถือมา ส่วนไทยว่าทูนไว้บนหัวมา) จึงเกิดการยือ้ แย่งน�ำ้ อมฤตระหว่าง  เทวดาและอสูร  ฝ่ายเทวดาพยายามน�ำผอบไปซ่อนไว้ในที่ต่าง ๆ ถึง  สี่แห่ง  แต่ในที่สุดฝ่ายอสูรก็สามารถยึดผอบน�้ำอมฤตได้ และเริ่มการ  เฉลิมฉลอง ร้อนถึงพระวิษณุซึ่งเข้าข้างฝ่ายเทวดามาตั้งแต่ต้น พระองค์จึง  แปลงโฉมเป็นนางโมหิณีผู้มีเสน่ห์ยวนใจไปล่อหลอกพวกอสูรจนยอม  ยกน�ำ้ อมฤตให้ กล่าวกันว่านางโมหิณนี งี้ ดงามยิง่ กว่าพระลักษมีเสียอีก !

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

35


3 40

ต�ำนานการเกิ ด แผ่ น ดิ น ไหว

ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก


41

บัญชา ธนบุญสมบัติ

รูปปั้นปลาอานนท์ ที่พิพิธภัณฑ์ ช้างเอราวัณ  จังหวัดสมุทรปราการ

คนไทยโบราณอธิบายการเกิดแผ่นดินไหวตามทีห่ นังสือไตรภูมพิ ระร่วง บอกเอาไว้ว่า เขาพระสุเมรุมีปลาอานนท์ (หรือ อานนทมหามัจฉา)  หนุนอยู่  หากปลาอานนท์ขยับตัวเมื่อใด แผ่นดินก็จะไหวเมื่อนั้น  คติ  ความเชื่อนี้ส่งผลต่อศิลปะและสถาปัตยกรรมของไทยจวบจนกระทั่งถึง  ปัจจุบัน

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ


ปลาดุกยักษ์ กับเทพเจ้า ไดเมียวจิน

42

ส่วนญีป่ นุ่ ก็มปี ลาเหมือนกัน แต่ของเขาเป็นปลาดุกยักษ์ (namazu)  ซึ่งหนุนเกาะญี่ปุ่นอยู่  ทั้งนี้เทพเจ้าไดเมียวจิน (Daimyojin) จะคอย  ควบคุมปลาดุกยักษ์ตัวนี้โดยใช้ก้อนหินขนาดใหญ่กดทับเอาไว้ เพื่อให้  ปลาดุกแบกแผ่นดินญี่ปุ่นไว้นิ่ง ๆ แต่เมื่อใดก็ตามที่เทพเจ้าไดเมียวจิน  เผลอ เจ้าปลาดุกยักษ์ก็จะขยับตัวเกิดเป็นแผ่นดินไหว ชนพื้นเมืองทางแอฟริกาตะวันออกก็มีปลายักษ์อีกเช่นกัน แต่  ปลายักษ์ตวั นีแ้ บกก้อนหินขนาดใหญ่ไว้บนหลัง  บนก้อนหินนีม้ วี วั ยืนอยู่  วัวตัวนี้หนุนโลกด้วยเขาของมันทีละข้าง  เมื่อวัวรู้สึกปวดเมื่อยคอก็จะ  เปลี่ยนเขาที่หนุนโลกจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง ช่วงที่โลกถูกเปลี่ยน  ต�ำแหน่งนี้เองที่เกิดแผ่นดินไหว

ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก


ส�ำหรับทางแอฟริกาตะวันตกมีอย่างน้อยสองต�ำนาน ต�ำนานหนึง่   เล่าว่า มียักษ์แบกโลกไว้เหนือศีรษะ ต้นไม้ทั้งมวลบนโลกคือเส้นผม  ของยักษ์ ผู้คนและสัตว์ตา่ ง ๆ เป็นแมลงที่คืบคลานผ่านเส้นผม  ยักษ์  ตนนี้มักนั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก แต่บางครั้งมันจะหันไปทาง  ทิศตะวันตกและหันกลับมาทางทิศตะวันออก  การหันไปหันมาของยักษ์  นี้เองที่ท�ำให้เรารู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหว ส่วนอีกต�ำนานหนึ่งของแอฟริกาตะวันตกน่ารักกว่า ต�ำนานนี้  เล่าว่า โลกเป็นแผ่นกลมแบน ด้านหนึ่งวางอยู่บนภูเขาขนาดมหึมา  อีกด้านหนึง่ มียกั ษ์แบกอยู ่  ส่วนนางยักษ์ผเู้ ป็นภรรยาแบกท้องฟ้าเอาไว้  เมื่อใดก็ตามที่ยักษ์หยุดแบกโลกเพื่อกอดภรรยาก็จะท�ำให้เกิดแผ่นดิน  ไหว ! ส�ำหรับอินเดียนั้นมีต�ำนานอย่างน้อยสองเวอร์ชัน เวอร์ชันแรก  บอกว่ามีงูเจ็ดตัวผลัดกันแบกโลกเอาไว้  ตอนเปลี่ยนผลัดแบกโลก  นี่แหละที่ท�ำให้เกิดการไหวสะเทือนจนผู้คนบนโลกรู้สึกได้ ส่วนอีกเวอร์ชนั หนึง่ นัน้ น่าจะคุน้ หูคนุ้ ตาเราคนไทยมากกว่าเพราะ  มักวาดเป็นภาพชัด ๆ ว่าโลกเรามีช้างสี่เชือกหนุนอยู่ ช้างทั้งหมดยืน  อยู่บนกระดองของเต่ายักษ์  ส่วนคุณเต่านี่ก็อยู่บนงูยักษ์อีกที  หาก  สัตว์ยักษ์เหล่านี้ตัวใดตัวหนึ่งขยับก็จะท�ำให้เกิดแผ่นดินไหวตามมา น่าสังเกตด้วยว่า งูตัวนี้ขดเป็นวงแล้วงับหางตัวเองคล้ายกับ  โอโรโบรอส (Ouroboros) หรืองูกินหางของพวกกรีกโบราณยังไงยังงั้น อย่างไรก็ดพี วกกรีกเองกลับพูดถึงแผ่นดินไหวไว้หลายแบบ เช่น  ราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช อริสโตเติลบอกว่าลมแรงถูกดักจับ  ไว้ในถ�้ำขนาดใหญ่ใต้พื้นพิภพ เมื่อลมพยายามจะหนีออกมาจะท�ำให้  เกิดแผ่นดินไหว  หากลมผลักผนังถ�้ำด้านบนจะท�ำให้เกิดแผ่นดินไหว  ไม่รนุ แรงนัก  ส่วนลมทีผ่ ลักพืน้ ดินจนแยกออกมาท�ำให้เกิดแผ่นดินไหว

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

43


4 ต�ำนานน�้ ำ ท่ ว มโลก


คนจ�ำนวนมากมักจะได้ยนิ ต�ำนานน�ำ้ ท่วมโลกจากพระคัมภีรไ์ บเบิลภาค  พันธสัญญาเดิม (The Old Testament) โดย ปฐมกาล หรือ เจเนซิส (Genesis ) ระบุว่าตัวเอกของเรื่องคือโนอาห์ (Noah) ได้ช่วยเหลือ  ครอบครัวและชีวิตสัตว์ต่าง ๆ ด้วยเรือขนาดยักษ์ที่เขาสร้างขึ้นตาม  พระบัญชาของพระเจ้า อย่างไรก็ดีอารยธรรมโบราณอย่างสุเมอร์ บาบิโลเนีย และกรีก  ต่างมีต�ำนานน�้ำท่วมโลกด้วยเช่นกัน  ที่น่าทึ่งคือต�ำนานเหล่านีล้ ว้ นมี  พล็อตเรือ่ งทีค่ ล้ายคลึงกับเรือ่ งของโนอาห์มากเอาการ ถึงขนาดที่ท�ำให้  นักประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งรู้สึกว่าเป็นไปได้ไหมที่จะมีใครเลียนแบบใคร  หรือต่างฝ่ายต่างไปลอกมาจากแหล่งเดียวกัน หรือไม่ทกุ ฝ่ายต่างก็บนั ทึก  เหตุการณ์เดียวกัน หากใช้เกณฑ์อายุจะพบว่า เรื่องราวในต�ำนานของอารยธรรม  สุเมอร์ทเี่ รียกว่า เอริด ู เจเนซิส (Eridu Genesis ) มีอายุเก่าแก่ทสี่ ดุ คือ  ราว 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช  ส่ ว นต� ำ นานของบาบิ โ ลเนี ย นั้ น มี อ ย่ า งน้ อ ยสามเรื่ อ งได้ แ ก่  มหากาพย์อะทราฮาซิส (Epic of Atrahasis) ราว 1640 ปีก่อนคริสต์-  ศักราช มหากาพย์กลิ กาเมช (Epic of Gilgamesh) ราว 1100 ปีกอ่ น  คริสต์ศกั ราช และบันทึกประวัตศิ าสตร์บาบิโลเนียของเบรอสซัส (Berossus’ Babylonian History) ราว 278 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

53


ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก


น�ำ้ ท่วมโลก  ภาพโดย  มิเคลันเจโล บูโอนารอตติ  (Michelangelo Buonarroti) หรือที่ คนไทยคุ้นในชื่อ ไมเคิลแอนเจโล

ส�ำหรับกรีกก็มีต�ำนานน�้ำท่วมโลกอย่างน้อยสามเวอร์ชันเช่นกัน  ซึ่ ง ได้ รั บ การบั น ทึ ก โดย โอวิ ด  (Ovid) ไฮจิ นุ ส  (Hyginus) และ  อะพอลโลโดรัส (Apollodorus) ทั้งหมดนี้ประมาณว่าน่าจะมีอายุราว  700 ปีก่อนคริสต์ศักราช เรื่องของโนอาห์ประมาณกันว่าบันทึกในช่วง 1000-500 ปี  ก่อนคริสต์ศักราช  ส่วนอิสลามก็กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้เช่นกัน โดยเรียก  โนอาห์วา่  นูห ์ (Nuh) ในภาษาอาหรับ และถือว่าท่านเป็นนบีคนหนึง่  (ชือ่   นบีนูห์นี้ บางทีสะกดว่า นูฮฺ) ค�ำว่า นบี แปลว่า “ผูบ้ อกข่าว” ซึง่ ในทางศาสนาอิสลามหมายถึง  ผู้ที่ได้รับการเลือกสรรจากอัลลอฮ์ให้เป็นผู้ท�ำหน้าที่บอกข่าวดีและ  ตักเตือนมนุษย์ในยุคต่าง ๆ เพือ่ ให้มนุษย์มหี นทางทีด่ งี ามในการด�ำเนิน  ชีวิตในโลกนี้และได้รับความรอดพ้นในโลกหน้า  นบีคนแรก คือ อาดัม  ส่วนคนอืน่ ๆ ทีเ่ ด่น ๆ เช่น โมเสส คือ นบีมซู า และพระเยซู คือ นบีอซี า  เป็นต้น ย้อนกลับมาที่ต�ำนานน�้ำท่วมโลกกันต่อ ในที่นี้จะชวนไปเปรียบ  เทียบเรือ่ งราวในมหากาพย์กลิ กาเมช กับเรือ่ งในปฐมกาล โดยอาจจะแถม  มุมมองของอิสลามเข้าไปด้วยหากมีแง่มุมน่าสนใจ  1. มหากาพย์กลิ กาเมช และปฐมกาล ต่างก็กล่าวถึงผูท้ ที่ ำ� ให้เกิด  น�ำ้ ท่วมใหญ่วา่ เป็นเทพเจ้าหรือพระเจ้าซึง่ ไม่ทรงพอใจในพฤติกรรมของ  มนุษย์ ในมหากาพย์กิลกาเมช ปวงเทพเจ้ามาชุมนุมกันแล้วลงมติให้  ท�ำลายล้างมนุษย์ด้วยน�้ำท่วม โดยมีเทพเอนลิล (Enlil) เป็นแกนน�ำ  องค์สำ� คัญ  สาเหตุของความไม่พอใจไม่ระบุชดั ในมหากาพย์กิลกาเมช แต่ในมหากาพย์อะทราฮาซิส ซึ่งเป็นต�ำนานของบาบิโลเนียอีกเวอร์ชัน  หนึง่ ระบุวา่  เป็นเพราะมนุษย์สง่ เสียงเอะอะอึกทึกเป็นทีน่ า่ ร�ำคาญยิง่ นัก

(ซ้ายสุด) จารึกดินเหนียว ของบาบิโลเนีย ซึ่งมีเรื่องราว เกี่ยวกับน�ำ้ ท่วมโลก (ซ้าย) เทพเอนลิล

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

55


88

6

ปริ ศ นาแห่ งแอตแลนติ ส

ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก


ในบรรดาเรือ่ งลึกลับทีต่ ราตรึงในจิตใจของผูค้ นทัว่ โลกมาทุกยุคทุกสมัย  คงต้ อ งนั บ แอตแลนติ ส  (Atlantis) ไว้ ใ นอั น ดั บ ต้ น ๆ กล่ า วกั น ว่ า  แอตแลนติสเป็นทวีปที่พรั่งพร้อมด้วยความมั่งคั่ง เทคโนโลยี และ  แสนยานุภาพทางการทหาร แต่อารยธรรมแห่งนี้ได้จมหายไปในมหา  สมุทรด้วยมหาพิบัติภัยทางธรรมชาติเมื่อราว 12,000 ปีก่อน จุดก�ำเนิดของต�ำนานแอตแลนติสมาจากงานเขียนของนักปรัชญา  กรีกชือ่  เพลโต (Plato) ในบทสนทนาสองชิน้  ได้แก่ ตีเมอุส และครีเตียส บทสนทนา (dialogue) เป็นวรรณกรรมทีม่ รี ปู แบบการประพันธ์  ซึง่ ใช้การสนทนาของบุคคลตัง้ แต่สองคนขึน้ ไปเดินเรือ่ ง (ตัวอย่างวรรณ-

เพลโต

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

89


https://www.deviantart.com/techgnotic/journal/The-Hunt-For-Paul-Tobin-s-AtlantisHas-Concluded-506908745

90

กรรมประเภทนีท้ ไี่ ทยเราแปลจากต้นฉบับภาษาบาลี ได้แก่ มิลนิ ทปัญหา)  ในตีเมอุสและครีเตียสของเพลโตปรากฏผู้สนทนาทั้งสิ้นสี่คน ได้แก่  ตีเมอุส (Timaeus) โสเครติส (Socrates) ครีเตียส (Critias) และ  เฮอร์โมเครติส (Hermocrates) สองคนแรกคือ ตีเมอุสกับโสเครติส  เป็นนักปรัชญา  ส่วนสองคนหลังคือ ครีเตียสกับเฮอร์โมเครติสเป็น  นักการเมือง บทสนทนาชื่อ ตีเมอุส เปิดเรื่องโดยให้โสเครติสกล่าวถึงสังคม  สมบูรณ์แบบ (ซึ่งจริง ๆ แล้วหมายถึง อุตมรัฐ หรือ The Republic  อันเป็นแนวคิดส�ำคัญอันหนึง่ ของเพลโตนัน่ เอง)  โสเครติสถามว่ามีใคร  สามารถยกตัวอย่างเรื่องราวที่จะช่วยขยายความสังคมสมบูรณ์แบบ  ดังกล่าวได้ไหม

ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก

แอตแลนติส ในจินตนาการ


ตีเมอุส

91

ครีเตียสจึงตอบว่า “โสเครติส ท่านจงฟังเรื่องราวเรื่องหนึ่งที่แม้  จะแปลก แต่ก็เป็นเรื่องจริงแท้แน่นอน”  เรื่องราวที่ว่านี้กล่าวถึงกรุง  เอเธนส์ในอดีตกาลอันไกลโพ้น (ราว 9300 ปีก่อนยุคเพลโต) ซึ่งเป็น  รัฐที่มีการปกครองดีเยี่ยมที่สุดในบรรดารัฐทั้งปวง  กรุงเอเธนส์ใน  อดีตกาลสามารถท�ำศึกชนะมหาอาณาจักรที่ทรงพลานุภาพนามว่า  แอตแลนติส (Atlantis) ได้เป็นผลส�ำเร็จ ต่อมาอาณาจักรแอตแลนติสถูกเทพเจ้าลงโทษเนือ่ งจากชาวแอต-  แลนติสมีคุณธรรมเสื่อมทรามลงไปมาก  เทพเจ้าจึงได้บันดาลให้เกิด  แผ่นดินไหวและอุทกภัยครั้งใหญ่ จนท�ำให้อ าณาจักรจมหายไปใน  มหาสมุทรภายในวันและคืนเดียว

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ


150

9

เทพสายฟ้ า vs  พญางู ยั ก ษ์ ศึ ก สไตล์ อิ น โด-ยู โ รเปี ยน

ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก


ในต�ำนานว่าด้วยสงครามล้างโลกแร็กนาร็อก มีอยูฉ่ ากหนึง่ ซึง่ มหาเทพ  ทอร์ตอ่ สูก้ บั พญางูยกั ษ์โยร์มนุ กันด์  เรือ่ งนีด้ เู ผิน ๆ ก็อาจคิดไปว่านีเ่ ป็น  จินตนาการเพ้อฝันของชาวนอร์ส แต่หากมองให้กว้างออกไปจะพบ  ความคล้ายคลึงกับต�ำนานในวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ได้รับอิทธิพลของ  อินโด-ยูโรเปียนอย่างน่าทึ่ง นักวิชาการชาวรัสเซียสองคน ได้แก่ อีวานอฟ (Vyacheslav Vsevolodovich Ivanov) และ โทโปรอฟ (Vladimir Nikolayevich Toporov) ศึกษาพบว่าวัฒนธรรมอินโด-ยูโรเปียนมี “เทพปกรณัม  พื้นฐาน (basic myth)” เป็นแก่นของเรื่องตรงกันอยู่ฉากหนึ่ง นั่นคือ  การต่อสูร้ ะหว่างเทพเจ้าซึง่ มีสายฟ้าเป็นอาวุธกับคูอ่ ริซงึ่ มักจะเป็นพญางู  (หรือมังกร) ตัวอย่างเช่น มหาเทพทอร์ต่อสู้กับพญางูโยร์มุนกันด์ของ  ชาวนอร์ส  เทพเปรุนต่อกรกับมังกรเวเลสของชาวสลาฟ  เทพซูส  ปะทะอสูรไทฟอนของชาวกรีก พระอินทร์ต่อสู้กับอสูรวฤตระของชาว  อินโด-อารยัน รวมทัง้ เทพเตชุบต่อกรกับมังกรอิลลูยงั กาของชาวฮิตไทต์  เป็นต้น

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

151


(ซ้ายสุด) อีวานอฟ (ซ้าย) โทโปรอฟ

อีวานอฟและโทโปรอฟตีพิมพ์บทความใน ค.ศ. 1970 เสนอว่า  ฉากการต่อสู้ระหว่างเทพแห่งสายฟ้าและพญางูมักจะประกอบด้วย  ลักษณะร่วมหลัก ๆ ดังนี้ 1. เทพแห่งสายฟ้าทรงพ�ำนักอยู่ในที่สูงสุด เช่น บนยอดเขา  บนภูผาในสวรรค์ (โดยอยู่ร่วมกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์) หรือบน  จุดสูงสุดของพฤกษาโลก (เช่น ต้นอิกก์ดราซิลของนอร์ส) 2. พญางูอาศัยอยู่ในบริเวณที่ต�่ำลงไป เช่น ใต้ภูเขาบริเวณราก  ของพฤกษาโลก หรืออยู่ใกล้แหล่งน�้ำ 3. พญางูขโมยวัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่มีค่ามากที่สุด 4. เทพแห่งสายฟ้าสังหารพญางู และฉีกร่างกายของพญางูออก  เป็นชิน้ เล็กชิน้ น้อยขว้างไปทุกทิศทุกทาง จากนัน้ เทพแห่งสายฟ้าท�ำลาย  ก้อนหินที่กักขังวัวเอาไว้ และปลดปล่อยวัวให้เป็นอิสระ  5. หลังจากที่เทพแห่งสายฟ้าได้รับชัยชนะ ฝนก็เริ่มตกลงมา การทีฝ่ นตกลงมาจากฟ้าจนแผ่นดินชุม่ ฉ�ำ่  ท�ำให้เทพแห่งสายฟ้า  มีภาพลักษณ์เป็นวีรบุรษุ ผูก้ ล้า  ส�ำหรับชิน้ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายพญางู  ตีความกันว่าได้แก่องค์ประกอบต่าง ๆ ของจักรวาล พูดอีกแบบหนึง่ ก็คอื   ต�ำนานส่วนนีค้ อื ความพยายามในการอธิบายการถือก�ำเนิดของเอกภพ  จากความวุ่นวายโกลาหลนั่นเอง

152

ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก


ได้เห็นภาพใหญ่ทมี่ แี ก่นเรือ่ งร่วมกันไปแล้ว ลองมาดูรายละเอียด  ในแต่ละกรณีกนั บ้างเพราะจะช่วยให้เห็นความคล้ายคลึงและความแตกต่าง  ปลีกย่อยเพิม่ เติม  ในบางกรณีอาจมีความเชือ่ มโยงกับเรือ่ งอืน่ ๆ อย่าง  คาดไม่ถึงอีกด้วย เริม่ จากเทพปกรณัมของนอร์สกันก่อน  มหาเทพทอร์ซงึ่ คนไทย  เราไม่ค่อยรู้จักนั้น จะว่าไปแล้วก็มีแง่มุมใกล้ตัวเราไม่น้อยทีเดียว เช่น  ค�ำว่า thunder (เสียงฟ้าร้อง) และค�ำว่า Thursday (วันพฤหัสบดี)  ต่างก็มีรากศัพท์เดียวกับชื่อของมหาเทพทอร์ (Thor) เป็นต้น เทพของนอร์สองค์อนื่ ทีก่ ลายเป็นชือ่ วันในสัปดาห์ เช่น เทพเทียร์  (Tyr) เป็นทีม่ าของชือ่ วัน Tuesday  จอมเทพโอดิน (Odin) หรือโวเดน  (Woden) เป็นที่มาของชื่อวัน Wednesday และเทวีฟริกกา (Frigga)  เป็นที่มาของชื่อวัน Friday  ส่วนอาวุธคู่ใจของทอร์ ได้แก่ ค้อนเมียลเนียร์ (Mjolnir) นั้น  เวลาใช้งานจะถูกเหวี่ยงออกไปที่เป้าหมาย  จากนั้นค้อนจะกลับมาหา  โดยทอร์รับไว้โดยต้องใส่ถุงมือเหล็ก  เรื่องนี้ ฮิลดา เอลลิส เดวิดสัน  (Hilda Ellis Davidson) นักวิชาการชาวอังกฤษ เสนอว่า ลักษณะของ  ค้อนเมียลเนียร์อาจจะเป็นที่มาของเครื่องหมายสวัสติกะที่ปรากฏอย่าง  แพร่หลายในวัฒนธรรมอินโด-ยูโรเปียนก็เป็นได้ [อย่างไรก็ดีที่มาของ  เครื่องหมายสวัสติกะยังมีข้อสันนิษฐานอื่น ๆ อีก เช่น เครื่องหมาย  วงล้อสุรยิ ะ (“sun wheel”) ของศาสนาในยุคสัมฤทธิ ์ หรือสัญลักษณ์ของ  ดาวหาง เป็นต้น] ส�ำหรับพญางูโยร์มนุ กันด์คปู่ รับของมหาเทพทอร์นนั้  ตามต�ำนาน  ระบุวา่ ทั้งคู่ได้พบกันถึงสามครั้ง ครั้งแรกคือ ตอนที่ทอร์ไปเยี่ยมพญายักษ์ฮาโลคี (Haloki) ที่  ปราสาทซึง่ ตัง้ อยูใ่ จกลางของโยทูนเฮม  ทอร์ถกู ท้าทายให้ยกแมวยักษ์

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

153


154

(ซ้ายสุด) ทอร์ กับค้อนเมียลเนียร์ (ซ้าย) สวัสติกะ

ซึ่งแท้จริงก็คือ พญางูโยร์มุนกันด์จ�ำแลงกายมานั่นเอง ในฉากนี้ทอร์  สามารถยกขาแมวจากพื้นได้เพียงข้างเดียวเท่านั้น แต่การท�ำได้เช่นนี้  ตีความกันว่าเป็นเรื่องน่าชื่นชมในพละก�ำลังของทอร์อย่างยิ่ง เพราะ  โยร์มุนกันด์ตัวจริงใหญ่โตถึงขนาดพันรอบโลกได้  น�้ำหนักตัวของมัน  จึงมากมายมหาศาล ครัง้ ที ่ 2 คือ ตอนทีท่ อร์ไปตกปลากับยักษ์ฮเี มียร์ (Hymir) ยักษ์  ฮีเมียร์ล่าวาฬมาได้สองตัว แต่ทอร์กลับได้พญางูแห่งมิดการ์ดหรือ

ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก


(บน) ทอร์พยายาม ยกแมวยักษ์ (บนขวา) ทอร์และ ฮีเมียร์ ไปตกปลา

โยร์มุนกันด์มาแทน !  ฮีเมียร์รสู้ ึกกลัวจึงตัดสายเบ็ด ท�ำให้พญางูด�ำน�้ำ  หายไปสู่ห้วงลึกของมหาสมุทร  ฉากนี้เป็นที่รู้จักกันมากทีเดียวเพราะ  ปรากฏในภาพศิลปะหลายแห่ง ส่วนครัง้ สุดท้ายคือ ตอนทีท่ อร์ตอ่ สูก้ บั โยร์มนุ กันด์ในมหาสงคราม  แร็กนาร็อก  แม้ทอร์จะสังหารโยร์มุนกันด์ได้ แต่องค์เทพก็ต้องสิ้น  พระชนม์เพราะโดนพิษของโยร์มุนกันด์เล่นงาน ในเทพปกรณัมของชาวสลาฟ (Slavic mythology) จักรวาล  มีลกั ษณะคล้ายคลึงกับพฤกษาโลกของชาวนอร์สอย่างมาก แต่พฤกษา  โลกของสลาฟเป็นโอ๊กขนาดอภิมหามหึมา (ต่างจากพฤกษาโลกของ  นอร์สซึง่ เป็นต้นแอช)  กิง่ ก้านสาขาต่าง ๆ ของพฤกษาโลกประกอบด้วย  โลกมนุษย์ เทวโลก โดยมีดินแดนของคนตายอยู่ที่ราก ตามคติของชาวสลาฟ เทพเปรุน (Perun) เป็นเทพสูงสุดใน  บรรดาเทพทั้งมวล และเป็นเทพแห่งฟ้าร้องและฟ้าผ่า  เทพเปรุน

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

155


168

10

ต�ำนานอมตะแห่ งโรม

ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก


อาณาจักรโรมันมีต�ำนานการก่อตั้งกรุงโรมซึ่งโดดเด่นมีสีสัน ต�ำนาน  ดังกล่าวปรากฏอยูใ่ นงานของนักประวัตศิ าสตร์สองคน ได้แก่ ลิว ี (Livy)  และพลูตาร์ช (Plutarch)

https://peterjfast.com/2012/02/28/the-capitoline-wolf-and-the-twinsa-look-at-the-mythological-roots-of-roma/

169

รูปหล่อสุนัขป่าสัมฤทธิ์ ของศิลปินอีทรัสคัน ราวศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช รูปหล่อของทารก ได้เพิ่มเข้าไป ภายหลังราว คริสต์ศตวรรษที่ 15

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ


(ซ้ายสุด) ลิวี (ติตุส ลิวิอุส) (ซ้าย) พลูตาร์ช

170

แผนที่แสดง ที่ตั้งของเมือง อัลบาลองกา  (ด้านล่างขวา ของภาพ)

ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก


171

เทพมารส์ และ รีอา ซิลเวีย  ภาพฝีมือ เปเตอร์  เปาล์ รือเบินส์

ลิวี หรือเลวี หรือในชื่อเต็มว่า ติตุส ลิวิอุส หรือออกเสียงได้  อีกแบบว่า ติตัส ลิวิอัส (Titus Livius) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน  มีชีวิตอยู่ในช่วงปีที่ 59 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง ค.ศ. 17 ส่วนพลูตาร์ชมีก�ำเนิดเป็นชาวกรีกและมีชื่อว่า พลูตาร์คอส  (Plutarchos) ต่อมาได้เปลีย่ นสัญชาติไปเป็นพลเมืองโรมันโดยใช้ชอื่ ว่า  ลูซอิ สุ  เมสตริอสุ  พลูตาร์คสั  (Lucius Mestrius Plutarchus) เขามีชวี ติ   อยู่ในช่วง ค.ศ. 46-120 ต�ำนานกล่าวถึงกษัตริย์นิวมิทอร์ (Numitor) แห่งเมืองอัลบา-  ลองกา (Alba Longa) ซึ่งถูกพระอนุชาของพระองค์เอง คือ อามูลิอุส (Amulius) แย่งชิงราชบัลลังก์และเนรเทศพระองค์ออกไป

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ


186

วรรณกรรมสะเทื อ นใจ เมฆทู ต

ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก


ผมเคยอ่านวรรณกรรมอมตะเรื่องเมฆทูต แล้วรู้สึกประทับใจ จึงคัด  บางส่วนมาน�ำเสนอ และหาภาพประกอบมาให้ชม เผือ่ บางท่านอาจจะ  สนใจไปหาฉบับเต็มมาอ่านกัน เมฆทูต เป็นวรรณกรรมสันสกฤต แต่งโดย กาลิทาส (Kalidasa) ซึง่ เป็นกวีชาวอินเดียทีม่ ชี วี ติ อยูใ่ นช่วงคริสต์ศตวรรษที ่ 4 หรือ 5 (ประวัติ  ไม่แน่ชัด เพราะว่าคนอินเดียโบราณไม่ค่อยสนใจบันทึกประวัติศาสตร์)  กาลิทาสเป็นรัตนกวี โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในการพรรณนาเชิงอุปมาอุปไมย  นั้นท่านเป็นหนึ่งไม่มีสอง

(ขวา) กาลิทาส (ขวาสุด) ท้าวกุเวร

https://swarajyamag.com/featured/retail-lessonsfrom-kalidasa

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

187


ยักษ์ผู้พลัดพราก จากภรรยา

188

เนือ้ เรือ่ งของเมฆทูต กล่าวถึงยักษ์ตนหนึง่ ซึง่ เป็นบริวารของท้าว  กุเวร ท�ำหน้าทีน่ ายทวารประจ�ำอุทยาน  วันหนึ่งได้ละเลยหน้าทีเ่ พราะ  มัวเพลิดเพลินกับภรรยาตามประสาข้าวใหม่ปลามัน ปล่อยให้ชา้ งเอราวัณ  ของพระอินทร์เข้าไปท�ำลายสระบัว  ท้าวกุเวรผู้เป็นนายจึงสั่งลงโทษ  โดยเนรเทศจากนครอลกาบนเขาไกรลาสให้ไปอยู่ที่เขารามคีรี ณ ป่า  วินธัย เป็นเวลา 1 ปี  ยักษ์จ�ำต้องพลัดพรากจากภรรยา แยกกันอยู่  อย่างโดดเดีย่ วเปล่าเปลีย่ วใจ  เขารามคีรนี อี้ ยูท่ างทิศใต้ของเขาไกรลาส เวลาผ่านไปหลายเดือนจนล่วงเข้าสู่ฤดูฝน อันเป็นช่วงเวลาที่  ทุกหนทุกแห่งเขียวชอุ่ม ท้องฟ้าดารดาษด้วยกลุ่มเมฆน้อยใหญ่  เมื่อ  ยักษ์เห็นเมฆใหญ่กอ้ นหนึง่ ก�ำลังเคลือ่ นไปทางทิศเหนืออันเป็นทีต่ งั้ ของ  นครอลกา จึงเอ่ยปากขอร้องเมฆให้เป็นทูตน�ำข่าวไปบอกแก่นางว่า

ตํ า น า น

ส ะ ท้ า น โ ล ก


นางยักษ์เฝ้าคอย การกลับมา ของสามี

189

ตนนั้นยังมีชีวิตอยู่ พร้อมทั้งน�ำความรู้สึกโศกเศร้าอาลัยอาวรณ์ไปแจ้ง  ให้ทราบด้วย  นี่คือที่มาของชื่อเรื่องเมฆทูต (Meghaduta ) ปราชญ์ทางภารตวิทยาชาวฝรัง่ เศสชือ่  ฟูเชร์ (A. Foucher) ได้  เขียนชมเมฆทูต ไว้วา่  “เป็นยอดของวรรณกรรมนิราศทีห่ าทีเ่ ปรียบมิได้  ในวรรณกรรมประเภทเดียวกันในยุโรป” เหตุใดเมฆทูต จึงได้รับการยกย่องอย่างสูงยิ่งเช่นนี้ ? ค�ำตอบก็คือ วรรณกรรมเรื่องนี้โดดเด่นในด้านการพรรณนา  อีกทัง้ ยังแสดงถึงความรอบรูข้ องกาลิทาสในทางภูมศิ าสตร์และวัฒนธรรม  เมฆทูต แบ่งเป็นสองภาค ภาคต้นมีชื่อว่า ปูรวเมฆะ ซึ่งพรรณนาถึง  ทัศนียภาพอันงดงามที่ก้อนเมฆพบเห็นระหว่างทางที่ล่องลอยจาก  ภูเขารามคีร ี (ทีย่ กั ษ์อาศัยอยู)่  ไปยังยอดเขาไกรลาส (ทางตอนเหนือที่

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ


เป็นไปได้ไหมว่าตํานานเหล่านี้ก็จะยังคงมีเสน่ห์ และทรงพลังอยู่เสมอ เพราะแก่นความคิดความต้องการพื้นฐาน และความใฝ่ฝันของมนุษย์เรานั้น จะว่าไปแล้วก็แทบไม่เปลี่ยนแปลงไปเท่าใดเลย นับแต่รุ่งอรุณแห่งอารยธรรม ที่คนเราสรรค์สร้างเรื่องเล่าเรื่องแรกขึ้นมา

ราคา 289 บาท ห ม ว ด ศ า ส น า / ป รั ช ญ า

ISBN 978-616-465-014-5


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.