จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้

Page 1

จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้

นำ � เสนออี ก แง่ มุ ม หนึ่ ง ของประวั ติ ศ าสตร์ ก ารทหารในยุ ค ที่ ส มเด็ จ พระเจ้าตากสินครองแผ่นดิน โดยให้ความสำ�คัญเฉพาะยุทธศาสตร์การ ทหารที่พระองค์ใช้รบกับพม่าในศึกสามศึก ได้แก่ ศึกบางกุ้ง ศึกบางแก้ว และศึกอะแซหวุ่นกี้ ทางกรุงอังวะก็มีเป้าประสงค์ชัดเจนในการเปิดศึกกับกรุงธนบุรีที่ สัมพันธ์กับปัญหาความมั่นคงในลุ่มอิรวดี โดยมีปัจจัยที่ท้าทายเสถียรภาพ ของราชสำ � นั ก อั ง วะ คื อ  การฟื้ น คื น อำ � นาจของมอญในพื้ น ที่ พ ม่ า ล่ า ง เป้ า ประสงค์ สำ � คั ญ ของการเปิ ด ศึ ก กั บ กรุ ง ธนบุ รี ก็ เ พื่ อ จะทำ � ลายฐาน สนับสนุนกบฏมอญลงให้ได้อย่างเด็ดขาด จิตเจตนาดังกล่าวปรากฏชัดเจน ที่สุดในคราวศึกอะแซหวุ่นกี้ ซึ่งเป็นศึกที่ใหญ่ที่สุดในยุคธนบุรี ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

จากศึกบางกุ้ง ถึงศึกอะแซหวุ่นกี้

ประวัติผู้เขียน

เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ การศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ M.A. History (Cornell University, USA) Ph.D. Southeast Asian History (Cornell University, USA) การทำ�งาน • อาจารย์ประจำ�ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๐ • คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ผู้อำ�นวยการศูนย์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ผู้อำ�นวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๗) • ได้รับคัดเลือกให้ดำ�รงตำ�แหน่ง Chairman of Governing Board of the Consortium for Southeast Asian Studies in Asia (SEASIA) (2013-2017)

ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

ราคา ๑๙๐ บาท

หมวดประวัติศาสตร์ ISBN 978-616-465-012-1

ผลงานหนังสือ • สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐  ศึกษาจากพงศาวดารพม่า ฉบับราชวงศ์คองบอง (พ.ศ. ๒๕๓๑) • สู่ลุ่มอิระวดี (พ.ศ. ๒๕๓๗) • บุเรงนองกะยอดินนรธา : กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย (พ.ศ. ๒๕๓๘) • พม่ารบไทย : ว่าด้วยสงครามระหว่างไทยกับพม่า (พ.ศ. ๒๕๓๗) • พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๒) • On Both Sides of the Tenasserim Range : History of Siamese-Burmese Relations


ISBN 978-616-465-012-1 หนังสือ จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี ผู้เขียน ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๖๒ จำ�นวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๑๙๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) บรรณาธิการ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ออกแบบปก/รูปเล่ม จำ�นงค์ ศรีนวล ภาพวาดปก สุธี นุตาลัย จัดรูปเล่ม วัลลภา สะบู่ม่วง ควบคุมการผลิต ธนา วาสิกศิริ เพลท เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) จัดพิมพ์โดย ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๗ พิมพ์ที่ จัดจำ�หน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน้ำ�) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ สุเนตร ชุตินธรานนท์. จากศึกบางกุง้ ถึงศึกอะแซหวุน่ กี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุร.ี - -นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. ๑๒๘ หน้า. ๑. ไทย- -ประวัติศาสตร์- -กรุงธนบุรี, ๒๓๑๐-๒๓๒๕. I. ชื่อเรื่อง. ๙๕๙.๓๐๔ ISBN 978-616-465-012-1

สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุร กิจ จำ�กัด) ๓ ซอยนนทบุรี  ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน้ำ�) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี  นนทบุรี  ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑  ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์   ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์  จำ�นงค์ ศรีนวล  ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายการตลาด/ประชาสัมพันธ์ กฤตนัดตา หนูไชยะ  บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์  ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

2 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


สารบัญ คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ จากผู้เขียน

๔ ๕

บทนำ� ศึกบางกุ้ง ยุทธศาสตร์คีมหนีบ : หลักคิดและปฏิบัติการ การรวมหัวเมืองเหนือกับความล้มเหลวของยุทธศาสตร์คีมหนีบ ศึกตีนครเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๑๗ แนวรบบนเส้นทางด่านพระเจดีย์สามองค์ พ.ศ. ๒๓๑๖ แนวรบทางเหนือกับความล้มเหลวของเนเมียวสีหบดี มอญ : ต้นเหตุแห่งสงครามไทย-พม่ายุคราชวงศ์คองบอง ศึกบางแก้ว ศึกอะแซหวุ่นกี้

๑๑ ๑๘ ๓๖ ๔๔ ๖๒ ๖๖ ๗๒ ๘๔ ๑๐๖ ๑๑๓

บรรณานุกรม

๑๒๕

จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี 3


จากสำ�นักพิมพ์

จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์

พม่ารบไทยยุคธนบุรี โดย ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ เล่มนี้  เป็นงานที่เผยมุมมองใหม่ของประวัติศาสตร์ไทย ที่ทำ�ให้เราได้ประจักษ์ว่า  การสงครามระหว่างไทยพม่าที่เกิดขึ้นในช่วง ๑๕ ปีของยุคธนบุรี แท้จริง แล้วแต่ละศึกมีความสืบเนื่องเกี่ยวข้องกัน อาจารย์สุเนตรได้วิเคราะห์เหตุ และปัจจัยต่างๆ ที่ทำ�ให้เข้าใจได้ว่าเหตุใดราชสำ�นักอังวะจึงมุ่นมั่นที่จะ ปราบปรามพระเจ้าตากสิน อันนำ�มาสู่การอธิบายความเชื่อมโยงของศึก สำ�คัญในยุคธนบุรี  ที่น่าสนใจคือ ท่านได้วิเคราะห์ยุทธศาสตร์การรบของ พม่า นับจากยุทธศาสตร์คีมหนีบที่ทำ�ให้พม่าประสบผลสำ�เร็จในการศึก คราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งหลัง พ.ศ. ๒๓๑๐  มาสู่ศึกอะแซหวุ่นกี้  พ.ศ.  ๒๓๑๘ สงครามครั้งสุดท้ายในยุคธนบุรีที่พม่าใช้กลยุทธ์ใหม่ในการชิงชัย กับทัพไทยเพื่อตีเมืองพิษณุโลก สำ � นั ก พิ ม พ์ เ มื อ งโบราณมี ค วามภู มิ ใ จที่ ไ ด้ เ สนอหนั ง สื อ เล่ ม นี้ สู่ ผู้อ่าน ซึ่งผู้ที่ติดตามผลงานของศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร จะทราบว่างาน ของท่านอ่านสนุกและให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์อย่างเข้าใจง่าย ที่สำ�คัญ คือ หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยยุคธนบุรี  ซึ่งปัจจุบัน มีหนังสือประวัติศาสตร์ไทยในยุคนี้อยู่ไม่มากนัก จึงนับว่าเป็นหนังสืออีก เล่มที่ช่วยเติมเต็มประวัติศาสตร์ยุคธนบุรีในอีกแง่มุมหนึ่ง สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ มีนาคม ๒๕๖๒

4 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


จากผู้เขียน

หนังสือเรื่อง จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉม

ยุ ท ธศาสตร์ พ ม่ า รบไทยยุ ค ธนบุ รี   เป็ น การนำ � เสนออี ก แง่ มุ ม หนึ่ ง ของ ประวัติศาสตร์การทหารในยุคที่สมเด็จพระเจ้าตากสินครองแผ่นดิน โดยให้ ความสำ�คัญเฉพาะยุทธศาสตร์การทหารที่พระองค์ใช้รบกับพม่าในศึกสาม ศึก ได้แก่ ศึกบางกุ้ง ศึกบางแก้ว และศึกอะแซหวุ่นกี้  พร้อมกันไปผู้เขียน ได้ศึกษาเทียบเคียงยุทธศาสตร์ข้างพม่าในยุคราชวงศ์คองบองที่นำ�มาใช้รบ กับธนบุรีในลักษณะคู่ขนานกันไป เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจในยุทธศาสตร์การทหารที่ทั้งสองฝ่ายนำ�มา ใช้แก่กัน  ผู้เขียนได้ให้อรรถาธิบายถึงเป้าประสงค์ในการทำ�สงคราม ทั้งนี้ เพราะงานยุทธศาสตร์นั้นย่อมถูกรังสรรค์ขึ้นเพื่อสนองเป้าประสงค์ดังกล่าว กล่าวโดยย่อได้ว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระราชประสงค์ที่จะฟื้น ศูนย์อำ�นาจและราชอาณาจักรอยุธยาที่ล่มสลายไปในสงคราม พ.ศ. ๒๓๑๐ ขึ้นมาอีกครั้ง  คำ�ว่า “ฟื้น” ในที่นี้กินความถึงการสถาปนาเมืองราชธานี ขึ้นมาใหม่ จัดการปราบปรามชุมนุมเพื่อสถาปนาความเป็นเอกภาพขึ้นใน ราชอาณาจักร ขับไล่อริราชศัตรูมิให้ได้อาศัยเมืองประเทศราชใดเป็นฐาน บัญชาการเข้าตีราชธานี  ตลอดรวมถึงการตั้งรับทำ�ศึกรักษาราชอาณาจักร จากการรุกรานทางทหารของฝ่ายปัจจามิตร  คำ�ว่า “ฟื้น” อาจกินความได้ กว้างกว่าที่กล่าวมา  แต่ในที่นี้ขอจำ�กัดนิยามให้สอดประสานกับประเด็น สำ�คัญที่ผู้เขียนประสงค์จะศึกษา คือ ยุทธศาสตร์ทางการทหาร ทางกรุงอังวะเองก็มีเป้าประสงค์ชัดเจนในการเปิดศึกกับกรุงธนบุรี เหตุสำ�คัญเบื้องหลังสงครามสัมพันธ์โดยตรงกับปัญหาความมั่นคงในลุ่ม อิรวดี ซึ่งหากเป็นด้านทิศตะวันออกจะกระทำ�ได้ด้วยการรักษาเสถียรภาพ ทางอำ�นาจเหนือเส้นสาละวิน (trans-salween) เป็นปฐม  ความจำ�เป็นนี้

จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี 5


ส่งผลต่อการขยายอิทธิพลทางการเมืองเหนือเขตพม่าตอนบน ข้ามแม่น้ำ� สาละวินเข้าสู่ล้านนาประเทศ กระนั้นปัจจัยที่ท้าทายเสถียรภาพของราช สำ�นักอังวะ คือ การฟื้นคืนอำ�นาจของมอญในพื้นที่พม่าล่าง ถึงแม้ภายหลัง พระเจ้าอลองพญาจะปราบมอญลงได้อย่างราบคาบ แต่ยังคงเกิดกบฏใหญ่ สืบเนื่องมาถึงรัชกาลของพระเจ้ามังระหรือเซงพยูเชง และเป็นที่ปรากฏชัด ว่าเหล่ากบฏมีอำ�นาจรัฐอยุธยา-ธนบุรีเป็นที่พึ่งพิง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรง ต่อความมั่นคงของราชสำ�นักอังวะ  เป้าประสงค์สำ�คัญของการเปิดศึกกับ กรุงธนบุรีก็เพื่อจะทำ�ลายฐานสนับสนุนกบฏมอญลงให้ได้อย่างเด็ดขาด จิตเจตนาดังกล่าวมีปรากฏชัดเจนที่สุดในคราวศึกอะแซหวุ่นกี้ ซึ่งเป็นศึกที่ ใหญ่ที่สุดในยุคธนบุรี เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์หลัก คือ การฟื้นศูนย์อำ�นาจและราช อาณาจักรอยุธยา พระเจ้าตากสินทรงจำ�เป็นต้องประกอบพระราชภารกิจ สำ�คัญหลายประการ ในหนังสือจาก จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี ้ : เผย โฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี  ผู้เขียนได้พยายามนำ�เสนอจุดหักเห (turning point) ที่สำ�คัญ ไม่ว่าจะเป็นการปรับยุทธศาสตร์การรบกับพม่า และผลสัมฤทธิ์ที่ตามมา โดยเริ่มที่ศึกบางแก้ว  กล่าวได้ว่ากระบวนการ ต่ อ สู้ เ พื่ อ ให้ บ รรลุ ซึ่ ง เป้ า ประสงค์ ห ลั ก จะเป็ น  “ปฏิ สั ม พั น ธ์ ลู ก โซ่ ”  ใน การเขี ย นงานผู้เขียนพยายามทำ �ความเข้ า ใจปรากฏการณ์นี้   พร้ อมให้ อรรถาธิบายเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพที่เป็นรูปธรรม กล่าวคือ ปฏิบัติการทาง ทหารแต่ละครั้งไม่เพียงเป็นประหนึ่งขั้นบันไดนำ�พาไปสู่เป้าประสงค์หลัก เช่น ชัยชนะจากศึกบางแก้วส่งผลให้เกิดเสถียรภาพทางอำ�นาจของพระเจ้า ตากสินในลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง อันเป็นบันไดสร้างความพร้อมในการเปิด ศึกกับเจ้าชุมนุมต่างๆ ในพื้นที่ที่ห่างออกไป ปฏิบัติการทางทหารแต่ละ ครั้ง ยังส่งผลให้เกิดปฏิบัติการตอบโต้ตามมา อาทิ  การตีเมืองเชียงใหม่ ได้สำ�เร็จส่งผลให้พระเจ้ามังระตัดสินพระทัยเปิดศึกกับธนบุรีอย่างเป็น กิจจะลักษณะ เมื่อสภาวะการณ์จริงทางประวัติศาสตร์เป็น “ปฏิสัมพันธ์ ลูกโซ่” ศึกบางกุ้ง ศึกบางแก้ว และศึกอะแซหวุ่นกี้ จึงมิใช่ปฏิบัติการทาง ทหารที่สำ�เร็จในตัวและแยกขาดกับเหตุการณ์สงครามสำ�คัญอื่นๆ ในทาง ตรงกันข้ามศึกทั้งสามมีปฏิสัมพันธ์กับศึกอื่นๆ และยังมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกัน และกัน โดยเฉพาะศึกบางแก้วกับศึกอะแซหวุ่นกี้ ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ 6 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


ผู้เขียนพยายามร้อยรัด “ข้อต่อของสายโซ่” ให้ผู้อ่านได้เห็นปฏิสัมพันธ์ หนังสือจึงมิได้มุ่งศึกษาศึกทั้งสามที่จ่าเป็นหัวเรื่องของหนังสือ แต่ศึกษา ปฏิสัมพันธ์ของการศึกทั้งหมดทั้งสิ้นที่สัมพันธ์กับศึกทั้งสามนั้น หากศึกบางกุ้งเป็นจุดหักเหสำ�คัญ จุดหักเหสำ�คัญอีกครั้งในหน้า ประวัติศาสตร์สงครามยุคธนบุรี คือ ศึกเจ้าพระฝาง เพราะศึกนี้ได้เปิดทาง ให้พระเจ้าตากสินสถาปนาอำ�นาจในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนเหนืออันเป็น พื้นที่ของรัฐสุโขทัยเดิมได้อย่างมั่นคง ซึ่งสำ�คัญเพียงพอให้โป่สุพลาและ โป่มะยุง่วนต้องเปิดศึกตีพิชัยและสวรรคโลก และพระเจ้าตากสินเปิดศึกตี เชียงใหม่ ปรากฏการณ์ทั้งหมดทั้งสิ้นผู้เขียนได้วิเคราะห์ไว้อย่างละเอียด การฟืน้ ตัวอย่างรวดเร็วของธนบุรสี ง่ ผลให้ราชสำ�นักอังวะต้องเตรียม เปิดศึกรบพระเจ้าตากสินอย่างจริงจัง ซึ่งกระทำ�ได้ภายหลังจากเสร็จศึก กับจีนแล้ว ประเด็นสำ�คัญที่จำ�เป็นต้องทำ�ความเข้าใจอย่างชัดเจน คือ ยุทธศาสตร์ที่ราชสำ�นักอังวะมุ่งใช้ในการบดขยี้ธนบุรี  ไม่เป็นที่สงสัยว่า ยุทธศาสตร์ที่นักการทหารแต่ละยุคนำ�มาใช้จะสัมพันธ์โดยตรงกับปฏิบัติ การทางทหารที่เคยใช้ได้ผลมาก่อน ในกรณีศึกยุคธนบุรี  ปฏิบัติการทาง ทหารที่พม่าเห็นว่าเป็นความสำ�เร็จอันยิ่งใหญ่หลังยุคพระเจ้าบุเรงนอง คือ ยุทธศาสตร์ที่ใช้ตีกรุงศรีอยุธยาสำ�เร็จใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ ในยุคหลังเรียกว่า ยุทธศาสตร์คีมหนีบ (pincerstrategy) ผู้เขียนได้ให้ อรรถาธิบายพร้อมนำ�เสนอหลักฐานถึงความพยายามที่ราชสำ�นักอังวะจะ นำ�ยุทธศาสตร์เดียวกันนี้กลับมาใช้อีกคำ�รบ แต่การณ์ปรากฏว่าพม่าต้อง ประสบความล้มเหลวจนต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ ไม่เป็นที่สงสัยว่า มีเหตุปัจจัยหลายประการเบื้องหลังความล้มเหลวนั้น ทั้งนี้รวมถึงการปรับ ยุทธศาสตร์รับศึกพม่าของพระเจ้าตากสิน ซึ่งปรากฏให้เห็นแต่ศึกบางกุ้ง ยุทธศาสตร์คีมหนีบจะสำ�เร็จได้ก็ด้วยปัจจัยที่ถึงพร้อมหลายประการ ทั้งนี้ รวมทั้งปัจจัยภายในของพม่าเอง การจะเข้าใจในมิติตามกล่าวนี้จำ�ต้อง ศึกษาผ่านหลักฐานพม่าและล้านนา เพราะราชสำ�นักอังวะและเจ้าหัวเมือง เหนือล้วนเป็นตัวแปรสำ�คัญ เมื่อยุทธศาสตร์คีมหนีบใช้ไม่ได้ผล กองทัพอังวะภายใต้การนำ� ของมหาสี ห สุ ร ะหรื อ อะแซหวุ่ น กี้   นายทั พ ผู้ ช าญศึ ก แห่ ง ยุ ค  ก็ ไ ด้ ป รั บ เปลี่ยนยุทธศาสตร์การเข้าตีกรุงธนบุรีเสียใหม่ ข้างฝ่ายพระเจ้าตากสินซึ่ง จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี 7


ทรงหันมาปรับการรับศึกพม่า คือ ใช้ยุทธวิธีรับศึกที่หัวเมืองหรือยุทธภูมิ ที่ห่างออกมาจากพระนคร ต้องนำ�ทัพออกมายันทัพพม่าและหนุนกอง กำ�ลังเจ้าพระยาจักรีที่ตั้งมั่นอยู่ยังเมืองพิษณุโลก สมรภูมิรบแผ่ขยายจาก ลุ่ ม น้ำ � เจ้ า พระยาตอนบนลงมาถึ ง นครสวรรค์  พิ จิ ต ร และอุ ทั ย ธานี   ซึ่ ง รายละเอียดทั้งหมดหาอ่านได้ในหนังสือเล่มนี้ เดิมทีผู้เขียนมิได้คิดจะเขียนหนังสือ จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี แต่ด้วยกำ�ลังใจที่ได้จาก สหายรุ่นพี่ รองศาสตราจารย์ ดร. ธิดา สาระยา จึงพยายามเขียนจนสำ�เร็จ ลุล่วง  ผู้เขียนจึงขอขอบคุณในกำ�ลังใจที่ท่านมีให้กับผู้เขียน  ผู้เขียนขอ ขอบคุณสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณที่เห็นถึงความสำ�คัญของหนังสือนี้และยินดี พิมพ์เผยแพร่ ผู้ เ ขี ย นขอขอบคุ ณ  ทุ น รั ช ดาภิ เ ษกสมโภช จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิทยาลัย ที่ให้การสนับสนุนด้านการทำ�วิจัยของผู้เขียน และที่จะขาดเสีย ไม่ได้ ผู้เขียนขอขอบคุณ “ทุนศาสตราจารย์ที่อายุเกิน ๖๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งมี ศักยภาพในการวิจัยปฏิบัติงานเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย” ซึ่งมีส่วนเกื้อ หนุนสำ�คัญให้ผู้เขียนสามารถสำ�เร็จภารกิจทางวิชาการนี้ สุเนตร  ชุตินธรานนท์ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑

8 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


คุณความดีของหนังสือเล่มนี้ ขออุทิศแด่ ดร. ธิดา สาระยา


10 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


บทนำ�

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุว่าใน

เดือน ๑๑ ซึง่ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๑๐ เจ้าตากเสด็จยาตราทัพเรือรวมได้ ๑๐๐ ลำ� ได้พลทหารประมาณ ๕,๐๐๐ เสด็จขึ้นมากอบกู้กรุงศรีอยุธยา เป็นที่น่า สังเกตว่ากองทัพดังกล่าวได้ปะทะกับกองกำ�ลังที่พม่าจัดตั้งไว้ และสามารถ เอาชนะได้เพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น กำ�ลังเจ้าทองอิน (จดหมายเหตุความ  ทรงจำ�ของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี ระบุว่าชื่อนายบุญส่ง) ออกต่อรบประมาณครู่หนึ่งก็แตกพ่าย  พระราชพงศาวดารกรุงธนบุร ี ฉบับ  พันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า “พอเวลารุ่งเช้าจึงให้เร่งรีบยกเข้าไปจะตีเมือง  ธนบุรี ครั้นเพลายามเศษ กรมการซึ่งอยู่รักษาเมืองธนบุรีนั้นแตกหนีขึ้นไป  โพสามต้น” ๑  ขณะทีศ่ กึ โพธิส์ ามต้นก็ไม่ได้เป็นศึกยืดเยือ้ ยาวนาน ปะทะกัน เพียงครั้งเดียว กำ�ลังของนายทองสุกที่พม่าตั้งให้เป็นตูจี (Thuji-สุกี้) ผู้ใหญ่ ซึ่งตรงกับตำ�แหน่งพระนายกองเป็นเจ้ารั้งค่ายโพธิ์สามต้นอยู่นั้นก็แตกสิ้น๒ เป็นไปได้อย่างยิ่งว่ากองกำ�ลังของพระเจ้าตากที่ยาตราขึ้นไปกู้กรุงนั้นมี จำ�นวนมากกว่ากองกำ�ลังของเจ้าทองอิน และสุกี้พระนายกอง แต่ที่สำ�คัญ กว่าเห็นจะอยู่ที่ประสิทธิภาพของกำ�ลังรบ เป็นไปได้อย่างยิ่งว่ากองกำ�ลัง ที่สังกัดกองทัพพระเจ้าตากสินนับแต่ก่อนนำ�ทัพตีฝ่ากองกำ�ลังพม่าจาก กรุงศรีอยุธยาออกมาล้วนเป็นทหารชำ�นาญศึก มิฉะนั้นคงมิอาจรับผิดชอบ ลาดตระเวนปลูกค่ายกันกรุง ตามแนวคลองคูขื่อหน้า ซึ่งนับเป็นชัยภูมิที่ เปราะบางที่สุดในจำ�นวนคูค่ายที่ตั้งล้อมรอบกรุง๓  ประสิทธิภาพของกอง กำ�ลังในสังกัดพระเจ้าตากสินได้แสดงศักยภาพเหนือกองกำ�ลังสามัญทั่วไป ให้เห็นในศึกเหนือลำ�น้ำ�โจ้โล้แดนเมืองปราจีนบุรี ครั้งนั้นพระเจ้าตากให้ กองทัพซุ่มกระหนาบวางปืนตับยิงใส่พม่าติดต่อกันได้ถึงสามคำ�รบ  การจะ ทำ�การรบเช่นนี้ได้ในยามคับขันย่อมแสดงว่ากองกำ�ลังในสังกัดต้องผ่านการ จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี 11


ฝึกปรือมาเป็นอย่างดี๔  เมือ่ พระเจ้าตากนำ�กำ�ลังกลับมากูก้ รุง กองทัพย่อม มีความพร้อมทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพเพิ่มขึ้นกว่าก่อน จึงสามารถ เผด็จศึกโพธิ์สามต้นได้ในระยะเวลาอันสั้น  หากแต่ชัยชนะนั้นถึงแม้จะช่วย “ปิดฉาก” ศึกกู้กรุง แต่ก็ได้ “เปิดฉาก” ศึกพม่าอันเป็นศึกสำ�คัญอีกหลาย ศึกนับแต่แรกสถาปนากรุงธนบุรีรวมถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ใน พ.ศ. ๒๓๑๘ การจะเข้าใจถึงความสำ�คัญของศึกบางกุ้ง และศึกอื่นที่พม่ามุ่ง กรี ฑ าทั พ หมายเข้ า ตี ก รุ ง ธนบุ รี นั้ น  จำ � เป็ น ต้ อ งเข้ า ใจถึ ง ธรรมชาติ แ ละ เป้าประสงค์ของการทำ�สงครามในยุคราชวงศ์คองบอง (Konbaung ค.ศ. ๑๗๕๒-๑๘๘๕/พ.ศ. ๒๒๙๕-๒๔๒๘) เสียก่อน  หากจะจำ�กัดเฉพาะกรณี สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว ความเห็นกระแสหลัก ยังเห็นตามการวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จฯ พระกรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ ที่ว่าครั้งนั้นพม่า “ไม่ได้คิดจะ  รั ก ษาเมื อ งไทยไว้ เ ป็ น เมื อ งขึ้ น  ด้ ว ยเหตุ นี้ พ ม่ า ตี เ มื อ งไหนได้ จึ ง เผาเสี ย  ทั้งเมืองน้อยเมืองใหญ่  ตลอดจนราชธานีเป็นที่สุด” ๕  เรื่องพม่าเผากรุง ศรีอยุธยานี้มีหลักฐานยืนยันสอดคล้องทั้งในพระราชพงศาวดาร จดหมาย  ความทรงจำ�ของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี, สังคีติยวงศ์ กระทั่งวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติพระเจ้ามังระ (Hsinbyushin, ค.ศ. ๑๗๖๓-๑๗๗๖/พ.ศ. ๒๓๐๖-๒๓๑๙)  เรือ่ ง โยธยาพ่าย หรือ โยธยานัยโมโกง (Yodaya Naing Mawgun) ของเล๊ะเวนรธา (Letwe Nawrahta) ซึ่งเชื่อ ว่าบันทึกขึ้นจากจดหมายเหตุรายวันทัพของผู้เห็นเหตุการณ์การเสียกรุง นับเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่เก่าไปกว่ายาสะวิน (Yazawin)  ในที่นี้จะขอนำ� เรื่องการเผากรุงของพม่าซึ่งตัดความบางตอนจาก โยธยานัยโมโกง มา นำ�แสดง เพราะยังไม่เคยมีปรากฏแปลไว้เป็นภาษาไทย เล๊ะเวนรธา รจนา เป็นร้อยกรอง ความว่า ขณะเมื่อกำ�แพงกรุงทรุดลงด้วยเพลิงที่สุมเผาราก “ทหารดาบพม่าจำ�นวน ๕,๐๐๐ ก็แหกเข้าในพระนครได้ ขุนนางสยามอันมี  พระยา (Banya) และพระยากุรติ (Banya Kuratit) ได้พยายามป้องกัน  ราชธานีทั้งๆ ที่ก็รู้แก่ใจดีว่าจะต้องปราชัย  สองพระยาได้รวบรวมไพร่พล  นับได้ ๑๐,๐๐๐ และบัญชาให้ตีตอบโต้พม่ากลับไป แต่พระยาทั้งสองก็ต้อง  เผชิญกับหายนะ เพราะไม่อาจจะพึ่งพากองกำ�ลังเรือนหมื่นที่รวบรวมขึ้น  อุปมาดั่งจ่าเรือหรือหัวหน้ากะลาสีเรือของเรือที่ถูกบดขยี้  ทั้งส่วนหัวและ  12 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


ส่ วนท้า ย และก็ไม่ต่า งจากหญ้ า , ฟาง และดอกฝ้ า ยผลิ บ านต้ องมาถู ก  กระแสลมพัดกระจายในพายุ...วัง พระที่นั่ง หรือแม้กระทั่งอาคารที่ก่ออิฐ  ถือปูนตกอยู่ในกองเพลิงและปกคลุมไปด้วยกลุ่มควัน” ๖ จดหมายเหตุบาทหลวงฝรั่งเศสก็เล่าถึงเหตุการณ์คราวกรุงแตก ไม่ต่างจากหลักฐานอื่น “...เมื่อพม่าเข้ากรุงได้แล้วนั้น พม่าได้เอาไฟเผา  บ้านเรือน ทำ�ลายเข้าของต่างๆ อยู่ ๑๕ วัน...เมื่อพม่าได้เผาบ้านเรือนใน  พระนครตลอดจนพระราชวัง และวัดวาอารามหมดสิ้นแล้ว พวกพม่าจึง  เตรียมการที่จะยกทัพกลับไป พวกพม่าได้ยกทัพออกจากกรุงเมื่อวันที่ ๑๕  เดือนเมษายน ค.ศ. ๑๗๖๗ (พ.ศ. ๒๓๑๐)” ๗  ขณะที่เล๊ะเวนรธาในหนังสือ โยธยาพ่ายหรือโยธยานัยโมโกงระบุวา่  กองทัพพม่าเข้ากรุงได้ในวันขึน้  ๑๐ ค่�ำ เดือน Tagu ศักราช ๑๑๒๙ (๘ เมษายน ๒๓๑๐) และถอนทัพกลับจาก สยามทัง้ ทางน้�ำ และทางบกในวันขึน้  ๓ ค่�ำ ของเดือน Nayan ศักราช ๑๑๒๙ (๓๐ พฤษภาคม ๒๓๑๐) และทัพเดินทางถึงนครอังวะในเดือน Waguang (กรกฎาคม/สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๑๐)๘ หากยึดพงศาวดารพม่าเป็นบรรทัดฐาน ก็จะตระหนักได้ว่าพระเจ้า เซงพยูเชงหรือมังระทรงแสดงเจตนาว่าจะทำ�ลายอยุธยาให้พนิ าศแต่เบือ้ งต้น แล้ว โดยทรงดำ�ริว่า อาณาจักรอยุธยานั้นยังไม่เคยถึงกาลต้องถูกทำ�ลายลง โดยเด็ดขาดมาก่อน ฉะนั้นจะอาศัยเพียงทัพเนเมียวสีหบดีที่ยกไปทาง เชียงใหม่เพียงทัพเดียวย่อมยากจะตีอยุธยาได้สำ�เร็จโดยง่าย จึงจำ�เป็นต้อง จัดให้มหานรธายกไปช่วยทำ�การอีกด้านหนึ่ง๙  นอกจากนี้ยังมีหลักฐาน ปรากฏว่าในขณะที่ทัพพม่ายังล้อมกรุงอยู่  ทางฝ่ายอยุธยาได้เคยส่งทูต ออกไปเจรจาขอสงบศึกและยอมขึ้นต่อพม่าในฐานะเมืองประเทศราช แต่ ปรากฏว่าแม่ทัพพม่าทั้งสองต่างยืนกรานขอทำ�สงครามต่อ เพราะมีพระ บัญชากำ�ชับมาจากพระเจ้ามังระว่าให้ทำ�ลายกรุงศรีอยุธยาลงให้สิ้น และ ให้กวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สมบัติทั้งหมดกลับไปยังเมืองพม่า๑๐ การที่พม่าไม่มีนโยบายจะรักษากรุงศรีอยุธยาไว้เป็นประเทศราช เช่นคราวศึกบุเรงนองใน พ.ศ. ๒๑๐๖ และ พ.ศ. ๒๑๑๒ นั้น นักวิชาการ ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะพม่าติดศึกกับจีน (พ.ศ. ๒๓๐๘, ๒๓๑๐, ๒๓๑๑ และ ๒๓๑๒)๑๑  จึงมิอาจคงกำ�ลังให้อยู่รักษากรุงศรีอยุธยาได้ แต่ เมื่อศึกษาในเชิงเปรียบเทียบโดยไม่ยึดเอากรณีกรุงศรีอยุธยาเป็นแต่เพียง จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี 13


ศึกบางกุ้ง

การที่พระเจ้ามังระทรงมีนโยบายชัดเจนที่จะทำ�ลายล้าง

กรุงศรีอยุธยาลงให้ได้อย่างเด็ดขาด เมื่อได้ทราบข่าวว่าพระเจ้าตากสิน รวบรวมกำ�ลังตั้งธนบุรีขึ้นมาเป็นศูนย์กลางใหม่ ก็รีบจัดทัพเข้ามาหยั่งเชิง ดูสถานการณ์ทั้งๆ ที่ศึกใหญ่ยังผ่านไปไม่ทันขวบปี  นั่นเป็นที่มาของศึก บางกุ้ง (พ.ศ. ๒๓๑๑) ซึ่งชวนให้คิดว่าพระเจ้ามังระและกษัตริย์คองบอง ยุคต้นนับแต่พระเจ้าอลองพญาเป็นต้นมามีนโยบายทางทหารต่อบ้านเมือง ปีกตะวันออกโดยรวมอย่างไร  ทั้งนี้เพราะหลักฐานข้างพม่า มียาสะวิน เป็นอาทิ ยืนยันชัดเจนว่ากองทัพพม่าที่ยกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาและธนบุรี ในยุคนี้มักจะมีพันธกิจทางทหารนอกเหนือจากการเข้าตีศูนย์อำ�นาจของ รัฐสยาม อาทิทัพของเนเมียวที่ยกมาในคราวสงครามเสียกรุง ยังมีพันธกิจ จัดการความสงบเรียบร้อยในล้านนาและตีเมืองหลวงพระบางก่อน ขณะที่ ทัพของแม่ทัพคนเดียวกันที่ยกเข้ามาในครั้งหลัง (พ.ศ. ๒๓๑๖) ก็มุ่งเข้า รักษาความสงบเรียบร้อยในเวียงจันทน์กอ่ น๑  William J. Koenig ในหนังสือ The Burmese Polity, 1752-1819 Politics, Administration, and Social Organization in Early Konbaung Period ได้ให้ข้อสังเกตว่า สงครามที่พม่าทำ�กับอยุธยาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ควรทำ�ความเข้าใจในบริบท ว่าด้วยนโยบายของรัฐคองบองต่อพืน้ ทีช่ ายขอบตะวันออกหรือเส้นสาละวิน (trans-Salween region) ซึ่งผู้ปกครองพม่ามุ่งหมายจะควบคุมเพื่อรักษา ไว้ซง่ึ เสถียรภาพและความมัน่ คงให้กบั พืน้ ทีล่ มุ่ อิรวดี นโยบายนีถ้ อื ปฏิบตั มิ า แต่ยุคพุกาม๒  หากแต่จะกระทำ�ได้หรือไม่น้นั ขึ้นอยู่กับสภาวะทางการเมือง ภายในของอาณาจักรพม่าเป็นสำ�คัญ  เสถียรภาพเหนือเส้นสาละวินจะมี มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับทีท่าและความพร้อมของรัฐเบื้องทิศตะวันออก ของเทือกตะนาวศรีอันได้แก่ล้านนาและอยุธยา  สถานการณ์ในช่วงต้น 18 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


ราชวงศ์คองบอง พม่าต้องเผชิญกับความคับขันขมึงเกลียวต่างจากสภาวะ ที่เคยเป็นมาในอดีต ทั้งนี้เพราะราชอาณาจักรพม่าพึ่งจะผ่านการล่มสลาย และต้องปราชัยอย่างยับย่อยให้กับอาณาจักรมอญ ที่ครองอิทธิพลตลอด ชายฝั่งพม่าล่าง มอญได้กลายมาเป็นคู่สงครามสำ�คัญ เมื่อมีโอกาสพม่าจึง มุ่งบดขยี้ไม่ให้มอญฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้อีก  แต่ในทางปฏิบัติก็เป็นไปได้ยาก ถึงแม้ว่าพระเจ้าอลองพญาจะได้ทำ�ลายศูนย์อำ�นาจของรัฐมอญที่หงสาวดี ลงอย่างราบคาบ แต่ก็ไม่อาจปราบกบฏผู้นำ�มอญลงได้สำ�เร็จ ทั้งนี้เพราะ มอญได้รบั การสนับสนุนจากอยุธยาทีพ่ ร้อมจะให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะ ทีพ่ กั พิง ส่งผลให้มมี อญจำ�นวนไม่นอ้ ยทีเ่ ข้ามาสวามิภกั ดิเ์ ป็นกำ�ลังรบสำ�คัญ ให้พระมหากษัตริยอ์ ยุธยา ธนบุร ี และกรุงเทพมหานคร๓  William J. Koenig เห็นว่าสภาวะดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อเสถียรภาพของชายขอบเส้นสาละวิน อันเป็นจุดยุทธศาสตร์ส�ำ คัญของราชวงศ์คองบอง จึงจำ�เป็นทีจ่ ะต้องทำ�ลาย ศูนย์อ�ำ นาจของรัฐสยามลง เป็นการขจัด “ต้นตอ” ของความไม่สงบทีม่ มี อญ เป็นกลไกขับเคลื่อนสำ�คัญ๔  หากพิจารณาในมิตินี้ก็จะเห็นความสัมพันธ์ สามเส้าที่แยกกันไม่ออก คือ อังวะ หงสาวดี และอยุธยา/ธนบุรี  สงคราม ปราบหงสาวดีกับสงครามปราบอยุธยาเป็นปฏิบัติการทางทหารที่ต่อเนื่อง เพื่ อ ควบคุ ม เสถี ย รภาพเหนื อ เส้ น สาละวิ น ตอนล่ า งลงไปถึ ง ตะนาวศรี สำ�หรับพม่าแล้วการฟื้นตัวของรัฐสยามภายใต้การนำ�ของพระเจ้าตากเกือบ จะเป็นเรื่องเหนือความคาดหมาย เพราะภายหลังกรุงแตกไม่เกิน ๗ เดือน พระเจ้าตากก็สามารถกู้กรุงคืนได้และรวมกำ�ลังสถาปนาศูนย์อำ�นาจขึ้นมา ใหม่ที่ธนบุรี ทั้งหมดนี้เพียงพอที่จะดึงความสนใจให้ผู้ครองอังวะส่งทัพมา สืบดูความเป็นไปในแดนไทย นั่นจึงน่าจะเป็นที่มาของศึกบางกุ้งที่เกิดหลัง กรุงแตกไม่ครบขวบปี คือเป็นช่วงปลายฤดูแล้งของปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐๕ สงครามกับพม่าที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕) นี้ ศึกแต่ละศึกมิได้เกิดขึ้นเป็น “เอกเทศ” ที่สำ�คัญคือศึกหลายศึกอาจเกิดได้ ในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ขึ้นอยู่กับว่าศึกแต่ละครั้งนั้นให้ผลต่อเนื่อง กันอย่างไร อาทิ ศึกโพธิ์สามต้น ซึ่ง พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับ พันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า เมื่อพระเจ้าตากสินรบชนะสุกี้พระนายกอง แล้วก็มิได้ประหารเสียกลับ “พระราชทานฐานาศักดิ์แก่เสนาบดีให้คงที่อยู่ กับพระนายกองดังเก่า” ๖  แต่ผลปรากฏว่าพระนายกองและนายทัพนาม จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี 19


ศึกบางแก้ว

อะแซหวุ่นกี้เป็นทหารชำ�นาญศึกจึงเข้าใจดีถึงข้อจำ�กัดของ

กองทัพข้างพม่า และข้อได้เปรียบของกำ�ลังข้างกรุงธนบุร ี  ในปฏิบตั กิ ารทาง ทหารครัง้ นีอ้ ะแซหวุน่ กีจ้ งึ ไม่เดินทัพใหญ่ลงมาแต่ในคราวเดียว  พงศาวดาร พม่าระบุวา่  อะแซหวุน่ กีไ้ ด้เคลือ่ นทัพจากเมาะตะมะลงมายัง้ ท่าใหญ่ (Tayaik) อันเป็นตำ�แหน่งที่ประสงค์จะยึดเป็นฐานที่มั่น แต่ก็ทราบว่ามีกองทัพทาง ฝ่ายธนบุรีมาตั้งรอรับอยู่  เมื่อทัพอะแซหวุ่นกี้ลงมาถึงจ๊อกตะกา (Kyauk-taya/ประตูศิลา) ซึ่งเป็นตำ�บลที่ไม่ห่างจากท่าใหญ่นักก็ยั้งทัพอยู่  ซึ่งเป็น เวลาเดียวกันกับที่ทัพของกองกำ�ลังราชองครักษ์ภายใต้การนำ�ของเมงเยเซยาจอ (Minye Zeyakyaw) ทีพ่ ระเจ้ามังระให้ลงมาสมทบกับทัพอะแซหวุน่ กี้ เดินทางมาถึง  เมื่อทัพมาประชุมพร้อมกันแล้วอะแซหวุ่นกี้ก็ให้จัดทัพหน้า เป็นพล ๓,๐๐๐ ให้ฉบั พยาโกง (the Bo of Satpyagon ไทยเรียกฉับกุงโบ) ซึ่งเคยเป็นแม่ทัพกรำ�ศึกกับไทยมาแต่สมัยอยุธยายกลงไปตีท่าใหญ่  ส่วน เหตุที่จัดกำ�ลังยกไปแต่เพียงน้อยก็ด้วยทางอันจะเข้าตีท่าใหญ่เป็นทางแคบ และเสบียงอาหารไม่สมบูรณ์  ทัพที่ยกเป็นกองหน้าไปนี้ยังจะทำ�หน้าที่สืบ ราชการความเป็นไปข้างฝ่ายธนบุรีด้วย  การปรากฏว่าทางฝ่ายธนบุรีได้ วางกลทำ�ศึกกระหนาบ โดยใช้วิธีรบล่อให้กำ�ลังฉับพยาโกงถลำ�เข้ามาใน ตำ�แหน่งที่ซุ่มกำ�ลังไว้ ข้างฉับพยาโกงก็เป็นเช่นแม่ทัพพม่าอีกหลายคน คือ ย่ามใจกับชัยชนะที่เคยได้แต่ครั้งสงครามคราวเสียกรุง ก็ไล่ตามทัพธนบุรีที่ แสร้งแตกถอยหนีลงมาจนถึงท่ากระดาน (Sakadan) ทัพพม่าจึงถูกล้อมไว้ อย่างแน่นหนาในตำ�บลที่ขาดน้ำ�อุปโภคบริโภค  เมื่ออะแซหวุ่นกี้ได้ทราบ ถึงภาวะคับขันของฉับพยาโกง  จึงส่งเมงเยยานนอง (Minye Yannaung) พร้อมกำ�ลัง ๔,๐๐๐ ไปช่วยแก้ทัพที่ถูกปิดล้อม แต่ก�ำ ลังที่ส่งไปช่วยนั้นยาก ที่จะมีชัยเหนือกำ�ลังข้างธนบุรีที่มีจำ�นวนถึง ๒๐,๐๐๐  ส่วนทัพที่ถูกล้อมไว้ 106 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


นั้นก็พยายามขุดหาน้ำ� แต่ตำ�แหน่งที่ติดอยู่นั้นแล้งนักด้วยเป็นส่วนปลาย ของที่ดอน ไม่ช้าทัพก็สิ้นกำ�ลังและน้ำ�ก็หาไม่ได้  ท้ายที่สุดก็ต้องตกเป็น เชลยของฝ่ายไทย  อะแซหวุ่นกี้จึงตัดสินใจถอยทัพ ด้วยเห็นว่าเส้นทางเดิน ทัพที่ใช้อยู่จำ�กัดด้วยเสบียงอาหาร  นอกจากนี้ทหารในกองทัพก็เจ็บป่วย ลงไม่เว้นแต่ละวัน จึงถอยทัพกลับไปบำ�รุงไพร่พลที่เมาะตะมะ กำ�หนดว่า เมื่อสิ้นวสันตฤดูเมื่อไรก็จะนำ�ทัพยกกลับเข้ามาทางเส้นระแหง ซึ่งจะมี เสบียงอาหารสมบูรณ์กว่า๑  ทัพฉับพยาโกงที่มาเสียทีในครั้งนี้ตรงกับความ ในพระราชพงศาวดารคราวศึกบางแก้ว เห็นได้วา่ ถึงแม้อะแซหวุน่ กีจ้ ะทำ�การ ไม่ได้ชัย แต่ก็มีปฏิบัติการที่ระมัดระวัง ยอมเสียกำ�ลังส่วนน้อยเพื่อรักษา กำ�ลังส่วนใหญ่ไว้  ทัง้ ยังทราบถึงข้อจำ�กัดด้านกำ�ลังคน ยุทธสัมภาระ เสบียง อาหาร และเส้นทางทัพ  การตัดสินใจถอยทัพเพื่อเตรียมการเปิดศึกใหม่ โดยเฉพาะการวางแผนเปลี่ยนเส้นทางเดินทัพใหม่โดยหันมาใช้เส้นระแหง นับเป็นการตัดสินใจจากพืน้ ความรูค้ วามเข้าใจในยุทธศาสตร์การรบกับลุม่ น้�ำ เจ้าพระยาตอนล่างซึ่งมีใช้มาก่อน  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ในหนังสือ พระราชพงศาวดารพม่า ทรงให้อรรถาธิบายว่า “ลุเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๑๘ มหาสีหะสุระ (อะแซหวุ่นกี้) กรีธาทัพใหญ่  มาตามทางที่เลือกเหมาะยุทธโนบาย ขึ้นไปทางตะวันออก เพื่อจะตีกวาด  เมืองไทยแถบเวิ้งแม่น้ำ�เจ้าพระยาตอนเหนือให้อยู่ในมือเรียบเสียก่อนแล้ว  จึงจะเดินทัพลงมาฝ่ายใต้ตีกรุงธนบุรีให้พินาศ เหมือนยุทธโนบายพระเจ้า  บุเรงนองมหาราช...” ๒ หลักฐานในพระราชพงศาวดารข้างฝ่ายไทยให้ข้อมูลเรื่องศึกบางแก้วไว้ใกล้เคียงกับหลักฐานข้างพม่าเป็นส่วนใหญ่ จะต่างกันบ้างก็เพียง ในรายละเอียด ซึง่ พอสรุปรวมความได้วา่  เมือ่ พระเจ้าตากสินทรงคาดการณ์ ว่าพม่าจะยกกองทัพตามครัวมอญที่ก่อการกบฏเข้ามา จึงตรัสสั่งให้พระยา กำ�แหงวิชิตคุมพล ๒,๐๐๐ ไปตั้งคอยรับครัวมอญที่บ้านระแหง และให้ พระยายมราชแขกคุมกำ�ลังไปขัดตาทัพที่ท่าดินแดง  น่าจะเป็นกำ�ลังใน ส่วนนี้ที่พงศาวดารระบุว่ามีทัพไทยมาตั้งมั่นที่ท่าใหญ่  ต่อมากองหน้าของ พม่านำ�โดยงุยอคงหวุ่น ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพระบุว่าเป็น คนเดียวกันกับฉับกุงโบหรือฉับพยาโกงในพงศาวดารพม่า ถือพล ๕,๐๐๐ ลงมาตีกองทัพของพระยายมราชแขกแตกพ่าย และยกตามลงมาถึงปากแพรก จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี 107


เชิงอรรถ “Intercourse between Burma and Siam as record in Hmannan Yazawindawgyi,” in JSS, (vol. xii), p. (18). ๒  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์, พระราชพงศาวดารพม่า,หน้า ๓๒๔. ๓  สมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ, พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า, หน้า ๔๗๒-๔๗๓. ๔  “Intercourse between Burma and Siam as record in Hmannan Yazawindawgyi,” in JSS, (vol. xii), pp. 17-18. ๕  Ibid., p. 18. ๑

112 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


ศึกอะแซหวุ่นกี้

คราวพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.

๒๑๐๖ และ พ.ศ. ๒๑๑๑-๒๑๑๒ นั้น พระองค์เดินทัพเส้นเดี่ยวคือยกมา  ทางเดียว  พระเจ้าบุเรงนองเลือกเส้นทางเดินทัพคนละเส้นกับพระเจ้า  ตะเบงชเวตี้ (พ.ศ. ๒๐๙๑) ด้วยเห็นว่าเส้นด่านพระเจดีย์สามองค์ที่พระเจ้า  ตะเบงชเวตี้เลือกยกมาจำ�กัดด้วยเสบียงอาหาร และเมื่อกองทัพเข้าล้อม  เมืองแล้วยังเปิดแนวหลังให้ข้าศึกจากหัวเมืองเหนือ มีพิษณุโลกเป็นอาทิ  ลงมาทำ�ศึกกระหนาบ  ในสงครามตีกรุงศรีอยุธยาทั้งสองครั้ง พระเจ้า  บุเรงนองจึงเลือกด่านแม่ละเมาเป็นเส้นทางเดินทัพ โดยมุง่ ยึดหัวเมืองสำ�คัญ  ในลุ่มน้ำ�ปิงเป็นฐานที่ตั้ง นั่นคือเมืองกำ�แพงเพชร  ในศึก พ.ศ. ๒๑๐๖ เมื่อ  พระเจ้าบุเรงนองยังยึดเมืองพิษณุโลกไม่ได้ พระองค์ได้ใช้กำ�แพงเพชรเป็น  ฐานที่มั่น และแยกทัพเป็นสามทัพเข้ายึดหัวเมืองยุทธศาสตร์สำ�คัญในลุ่ม  น้ำ�ยมและลุ่มน้ำ�น่าน  พงศาวดารพม่าระบุว่า “หลังจากตีกำ�แพงเพชรได้ พญาดะละ (บุคคลผูน้ เ้ี ป็นขุนนางมอญทีเ่ ป็นเสนาธิการคนสำ�คัญของพระเจ้า  บุเรงนองในการทำ�ศึกกับอยุธยาทัง้ สองครัง้ -ผูเ้ ขียน) เสนอว่าพระเจ้าบุเรงนอง ควรส่งกองทัพไปตีเอาสุโขทัย พิษณุโลก สวรรคโลก พิชยั  หากทำ�การสำ�เร็จ กษัตริย์โยธยาก็จะมิต่างปักษาถูกเด็ดปีก  กษัตริย์พม่าพอใจในข้อเสนอนั้น จึงมีบญ ั ชาให้แต่งทัพเป็นสองทัพ ให้พระเจ้าตองอูและมหาอุปราชาราชโอรส แยกคุมกันลงไปตีสุโขทัย และให้พระเจ้าอังวะและพระเจ้าแปรจัดทัพไปตี พิษณุโลก ส่วนพระเจ้าบุเรงนองนำ�กำ�ลังเข้ายึดสวรรคโลก” ๑  ขณะทีห่ ลักฐาน  ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่า หลังจากยึดเมืองกำ�แพงเพชร  ได้แล้ว พระเจ้าบุเรงนองก็ยกทัพหลวงมาตีสุโขทัยและตรงเข้ายึดพิษณุโลก   ส่วนสวรรคโลกเจ้าเมืองได้เข้ามาเฝ้าและยอมอ่อนน้อมโดยดี  ในสงคราม  พ.ศ. ๒๑๑๑-๒๑๑๒ นั้นพระเจ้าบุเรงนองก็ดำ�เนินยุทธศาสตร์ไม่ต่างจาก

จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี 113


ครั้งแรก  ครั้งนี้เสนาธิการนามอูตะมะ สิริเซยะ สุระ (Oktama Thirizeya  Thura) ถวายคำ�แนะนำ�ว่าทัพที่จะยกไปตีโยธยาไม่ควรเร่งร้อนเคลื่อนพล  ควรรอให้สิ้นวสันตฤดูค่อยยกไป  กระนั้นภารกิจแรกที่จำ�ต้องเร่งกระทำ�  คือการเข้ายึดเมืองพิษณุโลก ซึ่งต้องกระทำ�ก่อนวสันตฤดู เป็นเหตุให้พระ  มหาธรรมราชาซึง่ รัง้ ตำ�แหน่งทีพ่ ระเจ้าบุเรงนองสถาปนาให้คอื  เจ้าฟ้าสองแคว  (Sawbwa Thaunkyi) ต้องนำ�กำ�ลังไปยึดพิษณุโลกไว้กอ่ นล่วงหน้าในสงคราม  พ.ศ. ๒๑๑๑-๒๑๑๒  ทัพหลวงพม่าจึงไม่ได้ยกเข้ามาที่พิษณุโลก แต่ให้พระ  มหาธรรมราชารวบรวมกำ�ลังหัวเมืองเหนือยกมาสมทบที่อยุธยา  ยุทธ-  ศาสตร์การตีกรุงครั้งนั้นจึงไม่ได้แตกต่างจากสงคราม พ.ศ. ๒๑๐๖ เพราะ  กลุ่มหัวเมืองเหนือโดยเฉพาะพิษณุโลกยังคงถูกให้ความสำ�คัญในระดับ  ต้นๆ๒ อะแซหวุ่นกี้วางยุทธศาสตร์การรบไปในแนวทางเดียวกับพระเจ้า  บุเรงนอง คือ บำ�รุงไพร่พลจนสิ้นวสันตฤดูจึงเคลื่อนทัพเข้ามาทางเส้น  ระแหง เป็นการเดินทัพเส้นเดี่ยวทางเดียว  ทัพที่ยกมาครั้งนี้มีพันธกิจ  ทางทหารจำ�แนกได้เป็นสามขั้นตอน  ขั้นตอนแรก คือ เข้ายึดครองเมือง  ยุทธศาสตร์ลุ่มน้ำ�เจ้าพระยาตอนบน อันเป็นฐานกำ�ลังสำ�คัญของพระเจ้า  ตากสิ นที่ จั ดตั้งขึ้นภายหลังสิ้นศึกเจ้า พระฝาง  พั น ธกิ จ ถั ด มา คื อ การ  เข้ายึดเมืองพิษณุโลกเป็นฐานบัญชาการเพื่อระดมพลและจัดกระบวนทัพ   พันธกิจสุดท้าย คือ การทุม่ กำ�ลังเข้าตีกรุงธนบุรจี ากฐานทีต่ ง้ั เมืองพิษณุโลก ทัพอะแซหวุ่นกี้ที่ยกเข้ามาครั้งนี้มีกำ�ลังพลรวมกันทั้งสิ้น ๓๕,๐๐๐   ยกทัพออกจากเมาะตะมะในเดือนตุลาคมของ พ.ศ. ๒๓๑๘  และเข้าตี  ระแหง สุโขทัย ธานี สวรรคโลก พิษณุโลก ตามลำ�ดับ๓  หลักฐานข้างฝ่าย  ไทยระบุว่า ทัพอะแซหวุ่นกี้ยกเข้ามาทางเมืองตาก แต่มิได้มีการปะทะ  เพราะกรมการเมืองตาก เมืองกำ�แพงเพชร เห็นทัพพม่ายกมามากเหลือ  กำ�ลังจะต่อรบก็พาครัวหนีเข้าป่า  ทัพอะแซหวุ่นกี้ยกมาติดเมืองพิษณุโลก  ก่อน จากนั้นจึงให้กองหน้ากำ�ลังพล ๒๐,๐๐๐ มาตั้งที่บ้านกงธานีตรงที่ตั้ง  เมืองสุโขทัยใหม่ในปัจจุบัน  เมื่อทัพอะแซหวุ่นกี้ตีสวรรคโลก สุโขทัย และ  ทัพไทยที่มาตั้งรับที่บ้านกงธานีแตกแล้ว ก็จัดทัพแยกไปตีพิชัย  ทัพใหญ่  ยกมาล้อมเมืองพิษณุโลกในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน๔  เป็นอันสำ�เร็จ  พันธกิจขั้นต้น  หลักฐานข้างฝ่ายไทยยังระบุว่า อะแซหวุ่นกี้แบ่งกำ�ลังออก  114 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


เป็นสองส่วน ทัพใหญ่ ๓๐,๐๐๐ ลงมาล้อมเมืองพิษณุโลก  ส่วนทัพหลัง  ๕,๐๐๐ ให้ตั้งอยู่ที่บ้านกงธานี  เป็นที่ปรากฏชัดว่าทัพพม่าที่ยกมาครั้งนี้มี  กำ�ลังพลมากจนฝ่ายธนบุรีรับไว้ไม่อยู่  หลักฐานในพงศาวการข้างไทยระบุ  ว่า ทัพที่ยกออกไปรับทัพพม่าที่บ้านกงธานีและบ้านไกรป่าแผกล้วนถูก  พม่าตีแตกต้องถอยกลับมารับทัพพม่าที่เมืองพิษณุโลก๕ กองทัพอะแซหวุ่นกี้ที่ยกเข้าตีเมืองพิษณุโลกระดมพลมาจากหลาย  ทิศทาง  หลักฐานในพงศาวดารพม่าเพียงระบุว่าทัพอะแซหวุ่นกี้ที่ยกเข้า  มาทางระแหงแขวงเมืองตากนั้นมีไพร่พลรวม ๓๕,๐๐๐ แต่หลักฐานพื้นถิ่น  ระบุว่ายังมีกองทัพที่ระดมมาจากแหล่งอื่น อาทิ จากเมืองยองและเมือง  ในกลุ่มสิบสองปันนา  หลักฐานดังกล่าวเป็นกวีนิพนธ์ประเภท “คร่าวซอ”  ของล้านนา ผู้แต่งเป็นทหารที่มาในกองทัพของเมืองยองนามว่า ศรีวิไชยยา   กวีนิพนธ์นี้เริ่มเรื่องโดยการกล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อกษัตริย์พม่าส่งราชสาส์น  มาถึงเจ้าเมืองยองและหัวเมืองในปกครองให้ยกกองทัพเต็มอัตราศึกไปตี   “อโยธยา” (ซึ่งก็คือกรุงธนบุรี)  กองทหารจากเมืองยองระดมไพร่พลได้  ๑,๕๐๐ กองทัพดังกล่าวยังมีกองทัพอื่นเข้ามาสมทบตามเส้นทางเดินทัพ  ที่มุ่งเข้าตีสุโขทัยและพิษณุโลกตามลำ�ดับ  ทัพที่ยกมาสมทบมีกองทัพจาก  เมืองเชียงแข็ง เมืองสาด เมืองนาย และทัพเจ้าเมืองแสนหวีที่นำ�กำ�ลังมา  ถึง ๓,๐๐๐ และมีทัพจากเชียงตุงเข้ามาสมทบเป็นทัพสุดท้าย๖ ยุทธวิธีที่อะแซหวุ่นกี้มุ่งใช้ในการตีเมืองพิษณุโลก คือ การใช้สรรพ  กำ�ลังที่ได้เปรียบกว่าปิดล้อมเมือง ให้กองทัพและไพร่บ้านพลเมืองขัดสน  เสบียงอาหารจนต้องยอมจำ�นน หรือมิฉะนั้นก็ทิ้งเมืองให้ทัพพม่าเข้ามา  ตั้งกองบัญชาการ ยุทธวิธีตามกล่าวนี้นอกจากจะช่วยถนอมกำ�ลังฝ่ายพม่า  ซึ่งเป็นฝ่ายรุก ยังเป็นการยังประโยชน์จากด้านที่เป็นจุดอ่อนของฝ่ายตั้งรับ   ทั้งนี้เพราะทัพพม่าที่ยกมาครั้งนี้เป็นการกะทันหัน  ทัพเจ้าพระยาจักรีและ  เจ้าพระยาสุรสีห์กวาดเสบียงเข้าเมืองไม่ทัน๗  ประมาณว่ากำ�ลังพลที่ตั้งรับ  ทัพพม่าในเมืองพิษณุโลกน่าจะมีประมาณ ๒๐,๐๐๐ ไม่ห่างจากจำ�นวน  ไพร่ พ ลของฝ่ า ยหั ว เมื อ งเหนื อ ที่ เ ข้ า มาสมทบกั บ ทั พ ที่ ย กขึ้ น มาจากกรุ ง  ธนบุรีในสงครามตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๑๓)  ไพร่พลจำ�นวนดัง  กล่าวเมื่อรวมกับไพร่บ้านพลเมืองของเมืองพิษณุโลกที่มีอยู่เดิมย่อมต้องมี  จำ�นวนมาก เสบียงอาหารที่กักตุนไว้ย่อมไม่พอต่อการบริโภคในระยะยาว จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี 115


จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้

นำ � เสนออี ก แง่ มุ ม หนึ่ ง ของประวั ติ ศ าสตร์ ก ารทหารในยุ ค ที่ ส มเด็ จ พระเจ้าตากสินครองแผ่นดิน โดยให้ความสำ�คัญเฉพาะยุทธศาสตร์การ ทหารที่พระองค์ใช้รบกับพม่าในศึกสามศึก ได้แก่ ศึกบางกุ้ง ศึกบางแก้ว และศึกอะแซหวุ่นกี้ ทางกรุงอังวะก็มีเป้าประสงค์ชัดเจนในการเปิดศึกกับกรุงธนบุรีที่ สัมพันธ์กับปัญหาความมั่นคงในลุ่มอิรวดี โดยมีปัจจัยที่ท้าทายเสถียรภาพ ของราชสำ � นั ก อั ง วะ คื อ  การฟื้ น คื น อำ � นาจของมอญในพื้ น ที่ พ ม่ า ล่ า ง เป้ า ประสงค์ สำ � คั ญ ของการเปิ ด ศึ ก กั บ กรุ ง ธนบุ รี ก็ เ พื่ อ จะทำ � ลายฐาน สนับสนุนกบฏมอญลงให้ได้อย่างเด็ดขาด จิตเจตนาดังกล่าวปรากฏชัดเจน ที่สุดในคราวศึกอะแซหวุ่นกี้ ซึ่งเป็นศึกที่ใหญ่ที่สุดในยุคธนบุรี ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

จากศึกบางกุ้ง ถึงศึกอะแซหวุ่นกี้

ประวัติผู้เขียน

เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ การศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ M.A. History (Cornell University, USA) Ph.D. Southeast Asian History (Cornell University, USA) การทำ�งาน • อาจารย์ประจำ�ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๐ • คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ผู้อำ�นวยการศูนย์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ผู้อำ�นวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๗) • ได้รับคัดเลือกให้ดำ�รงตำ�แหน่ง Chairman of Governing Board of the Consortium for Southeast Asian Studies in Asia (SEASIA) (2013-2017)

ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

ราคา ๑๙๐ บาท

หมวดประวัติศาสตร์ ISBN 978-616-465-012-1

ผลงานหนังสือ • สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐  ศึกษาจากพงศาวดารพม่า ฉบับราชวงศ์คองบอง (พ.ศ. ๒๕๓๑) • สู่ลุ่มอิระวดี (พ.ศ. ๒๕๓๗) • บุเรงนองกะยอดินนรธา : กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย (พ.ศ. ๒๕๓๘) • พม่ารบไทย : ว่าด้วยสงครามระหว่างไทยกับพม่า (พ.ศ. ๒๕๓๗) • พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๒) • On Both Sides of the Tenasserim Range : History of Siamese-Burmese Relations


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.