พระสุพรรณกัลยา จากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์

Page 1

ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

ราคา ๒๑๐ บาท

หมวดประวัติศาสตร์ ISBN 978-616-465-016-9

ส่วนหนึ่งจาก คำ�นำ�เสนอ โดย ดร. ธิดา สาระยา

พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์

ดร. สุเนตรเปิดมุมมองพระสุพรรณกัลยาใหม่ โดยเทียบเคียงกับบทบาทของสตรี คนอื่นๆ ในประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งไม่เคยได้รับการหยิบยกมาศึกษาอย่างเป็น ระบบ ยกเว้นกรณีสมเด็จพระสุริโยทัย... ดร. สุ เ นตรใช้ ห ลั ก ฐานข้ า งฝ่ า ยพม่ า และฝ่ า ยไทยในการศึ ก ษา ทำ � ให้ เป็นการศึกษาที่ลุ่มลึก เปิดเผยเครือข่ายข้อมูลออกไปกว้างขวาง อดีตได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า เงื่อนไขของประวัติศาสตร์ได้กำ�หนดให้ชีวิตของ ผู้หญิงคนหนึ่งมี “หน้าที่” ต้องโลดแล่นในวังวนของการเมืองระหว่างประเทศ และอาจไม่เหลือเลยแม้ความทรงจำ�ของคนรุ่นหลัง ถ้าหากไม่มีเงื่อนไขใหม่เกิด ขึ้นที่ท�ำ ให้มีการหยิบยกชีวิตนี้ขึ้นมาศึกษากัน

พระสุพรรณกัลยา

ประวัติผู้เขียน

จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ การศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ M.A. History (Cornell University, USA) Ph.D. Southeast Asian History (Cornell University, USA) การทำ�งาน • อาจารย์ประจำ�ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๐ • คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ผู้อ�ำ นวยการศูนย์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ผู้อ�ำ นวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๗) • ได้รับคัดเลือกให้ด�ำ รงตำ�แหน่ง Chairman of Governing Board of the Consortium for Southeast Asian Studies in Asia (SEASIA) (2013-2017) ผลงานหนังสือ • สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐  ศึกษาจากพงศาวดารพม่า ฉบับราชวงศ์คองบอง (พ.ศ. ๒๕๓๑) • สู่ลุ่มอิระวดี (พ.ศ. ๒๕๓๗) • บุเรงนองกะยอดินนรธา : กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย (พ.ศ. ๒๕๓๘) • พม่ารบไทย : ว่าด้วยสงครามระหว่างไทยกับพม่า (พ.ศ. ๒๕๓๗) • พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๒) • จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี (พ.ศ. ๒๕๖๒) • On Both Sides of the Tenasserim Range : History of Siamese-Burmese Relations


ISBN 978-616-465-016-9 หนังสือ พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ ผู้เขียน ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑-๒ พ.ศ. ๒๕๔๒, ๒๕๔๓ (บริษัท สกายไลน์ ยูนิตี้ จำ�กัด) พิมพ์ครั้งที่ ๓-๕ พ.ศ. ๒๕๔๖, พ.ศ. ๒๕๕๐ (สำ�นักพิมพ์มติชน) พิมพ์ครั้งที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๖๑ (บริษัท พริกหวาน กราฟฟิค จำ�กัด) พิมพ์ครั้งที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๒ (โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ) จำ�นวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๑๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) บรรณาธิการ ออกแบบปก/รูปเล่ม ภาพวาดปก จัดรูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท จัดพิมพ์โดย พิมพ์ที่ จัดจำ�หน่าย

อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ จำ�นงค์ ศรีนวล สุธี นุตาลัย วัลลภา สะบู่ม่วง ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) สำ�นักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ โทร. ๐-๒๔๓๓-๗๗๐๔-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน้ำ�) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ สุเนตร ชุตินธรานนท์. พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์. --นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. ๑๖๘ หน้า. ๑. พระสุพรรณกัลยา—ชีวประวัติ. ๒. ไทย—ประวัติศาสตร์—กรุงศรีอยุธยา. I. ชื่อเรื่อง ๙๕๙.๓๐๒๓ ISBN 978-616-465-016-9

สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุร กิจ จำ�กัด) ๓ ซอยนนทบุรี  ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน้ำ�) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี  นนทบุรี  ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑  ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์   ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์  จำ�นงค์ ศรีนวล  ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายการตลาด/ประชาสัมพันธ์ กฤตนัดตา หนูไชยะ  บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์  ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

2 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


สารบัญ คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�เสนอ โดย ดร. ธิดา สาระยา จากผู้เขียน บทนำ� (ในการพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๑) บทนำ� (ในการพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒) เจตนารมณ์ (เมื่อพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๒) โดย แพทย์หญิงนลินี ไพบูลย์

๔ ๕ ๑๐ ๑๒ ๒๐

ตอนที่ ๑ ต้นรากแห่งตำ�นานพระสุพรรณกัลยา คำ�ให้การฯ ทั้งสองเล่มว่าด้วยพระสุพรรณกัลยา “แก่นเรื่อง” สมเด็จพระนเรศวรได้มาจากคำ�บอกเล่าที่แต่งเติมแล้ว พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาไม่มีเรื่องพระสุพรรณกัลยา รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างตำ�นานเรื่องสมเด็จพระนเรศวร สมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ ตัดเสริมเติมตำ�นาน พระนเรศวร-พระสุพรรณกัลยา ย้อนรอยกรรม “พระสุพรรณกัลยานิยม”

๒๖ ๓๒ ๓๘ ๔๒ ๔๘

ตอนที่ ๒ พระสุพรรณกัลยาในประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์อยุธยา-หงสาวดี ขัตติยนารีแห่งราชอาณาจักรสยาม พุกามประเทศก็มากด้วยขัตติยนารี พระสุพรรณกัลยาในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์อยุธยา-หงสาวดี อำ�นาจที่เปราะบางพร้อมล่มสลายของราชวงศ์ตองอู เจ้านายและขุนนางจากอยุธยาที่ตกเป็นเชลย หรือตัวประกันไปหงสาวดี พระสุพรรณกัลยา ขัตติยนารีแห่งราชอาณาจักรอยุธยา บรรณานุกรม

๒๒

๕๑ ๕๘ ๘๘ ๙๑ ๑๐๗ ๑๑๐ ๑๒๔ ๑๓๒ ๑๔๓ ๑๕๘

พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ 3


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสูห่ น้าประวัตศิ าสตร์ ของ

ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ การทีห่ นังสือเล่มนีไ้ ด้รบั ความสนใจจากผูอ้ า่ นจำ�นวนไม่นอ้ ย พิจารณา ได้จากยอดพิมพ์ถึง ๖ ครั้งในช่วง ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา  แน่นอนว่าส่วน หนึ่งเป็นเพราะกระแสพระสุพรรณกัลยานิยมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในช่วง เวลาหนึ่ง รวมถึงภาพยนตร์ “ตำ�นานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ที่ทำ�ให้ ผู้คนสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับพระราชประวัติของพระสุพรรณกัลยา พระพี่นาง ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อย่ า งไรก็ ดี   ด้ ว ยจุ ด เด่ น ของการนำ � เสนอเรื่ อ งราวเกี่ ยวกั บ พระ สุพรรณกัลยา ที่อาจารย์สุเนตรเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ถึงที่มาของตำ�นาน เกี่ยวกับพระสุพรรณกัลยา จากอดีตมาสู่ปัจจุบัน การผลิตซํ้าตำ�นานของ พระองค์ในหลายบริบท อันสะท้อนถึงค่านิยมและการเปลี่ยนแปลงทาง สั ง คมในทางหนึ่ ง ในประเด็ น ต่ อ มา อาจารย์ อ ธิ บ ายเรื่ อ งราวของพระ สุพรรณกัลยา ในมิติประวัติศาสตร์จากหลักฐานทั้งของไทยและพม่า รวม ทั้งได้กล่าวถึงเรื่องราวของขัตติยนารีพระองค์อื่นๆ ในประวัติศาสตร์ไทย และพม่าด้วย  ทำ�ให้ พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์  เล่มนี้น่าอ่าน และเปิดมุมมองประวัติศาสตร์ไทยผ่านตัวบุคคลอย่างน่า สนใจ  และสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณภูมิใจที่ได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้สู่ผู้อ่าน อีกครั้งหนึ่ง สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ มีนาคม ๒๕๖๒ 4 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


คำ�นำ�เสนอ

เรื่องราวพระสุพรรณกัลยามีปรากฏอยู่เฉพาะในเอกสาร

พม่าเท่านั้น เริ่มตั้งแต่พงศาวดารฉบับอูกาลา หรืออูกาลา มหายาสะเวงจี ตกทอดมาถึงมหายาสะเวงเต๊ะ และมานนาน มหายาสะเวงดอจีเป็นฉบับ สุดท้าย ฉบับนี้เองเป็นที่มาของความรู้เกี่ยวกับพระสุพรรณกัลยาในหมู่ ปราชญ์ฝ่ายไทยรุ่นบุกเบิกประวัติศาสตร์ พงศาวดารฉบับนี้รู้จักกันในชื่อว่า พงศาวดารฉบับหอแก้ว แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษซึ่งถูกแปลมาจาก ภาษาพม่า เพราะฉะนั้นความรู้อันเป็นต้นเค้าเกี่ยวกับพระสุพรรณกัลยา ในหมู่คนไทย จึงผ่านการถ่ายทอดหลายขั้นตอน แต่อยู่ในแวดวงจำ�กัด ทัง้ โดยเนือ้ หาเรือ่ งราวทีถ่ กู กล่าวถึง และโดยเนือ้ ทีค่ วามคิดอันจำ�กัดเกีย่ วกับ บทบาทของสตรีในประวัตศิ าสตร์ในหมูน่ กั พงศาวดารและนักประวัตศิ าสตร์ ไทย เส้นทางของพระสุพรรณกัลยาในประวัติศาสตร์ไทยจึงคับแคบนักหนา จนกระทั่ง ดร. สุเนตร เอง ได้สำ�แดงความแปลกใจนี้ว่า “ที่สำ�คัญคือ มิได้ ปรากฏเรื่องราวของพระสุพรรณกัลยาในพงศาวดารไทยฉบับใดเลย จะมี ก็แต่ในพงศาวดารพม่าที่มีเรื่องคัดลอกตกทอดได้” นั้น เป็นจุดเริ่มต้นหรือ ต้นรากแห่งตำ�นานพระสุพรรณกัลยา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการนำ�เสนออัน เฉียบคมของ ดร. สุเนตรเกี่ยวกับพระสุพรรณกัลยา เป็นที่น่าสังเกตว่า เส้นทางของพระสุพรรณกัลยาในการรับรู้ของ ประวัติศาสตร์ไทยนั้น กลับแพร่หลายในขนบบอกเล่าที่ถูกบันทึกไว้เป็น ตำ�นาน เรื่องห่างจากวันเวลาของ “เรื่องจริง” ในประวัติศาสตร์ร่วม ๒ ศตวรรษ เมื่อมีการเขียนบันทึกคำ�บอกเล่าให้การลงใน คำ�ให้การชาวกรุงเก่า, คำ�ให้การขุนหลวงหาวัดฉบับหลวง และคำ�ให้การขุนหลวงหาวัด (ฉบับ โรงพิมพ์หมอสมิธ) นับเป็นเส้นทางอันยาวนานของผู้หญิงคนหนึ่ง กว่า จะปรากฏบทบาทของตนในอดีตของสยามประเทศ จนกลายเป็นกระแส พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ 5


ประวัติศาสตร์ปัจจุบันร่วมสมัย และที่สำ�คัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ต้นเรื่องที่ จะถูกกล่าวขานเป็นตำ�นานในคำ�ให้การชาวกรุงเก่า นั้น มีท่ีมาจากเอกสาร พม่าคือ โยธยา ยาสะเวง อีกทั้งคำ�ให้การขุนหลวงหาวัดที่ยังถูกแปลจาก ต้นฉบับภาษามอญ ซึ่งล่ามมอญได้รับถ่ายทอดจากเชลยศึกไทยโดยตรงแต่ ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า นับเป็นความแร้นแค้นอย่างยิ่งของเอกสาร ประวัติศาสตร์ไทย อีกทั้งยังปรากฏด้วยว่าเอกสารบางฉบับมีการตัดต่อ หรือตัดข้อความ เพิ่มข้อความ จนกลายเป็นพงศาวดารมาตรฐานในการ ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมาเป็นเวลานาน ท่ามกลางความยอกย้อนของ เอกสารประวัติศาสตร์ที่ปรากฏเป็นเรื่องราวในการตัดต่อพงศาวดารและ ตำ�นาน ดังที่ ดร. สุเนตรได้ตีแผ่ไว้ในงานค้นคว้าของตน เรื่องพระสุพรรณ กัลยาเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยของเรื่องสมเด็จพระนเรศวรที่เรารู้จัก กันเท่านั้น ในการศึกษาเรื่องพระสุพรรณกัลยา ดร. สุเนตรมีความสามารถ พิ เ ศษที่ ส ามารถลั ด เลาะไปตามรอยต่ อ ของเอกสารประวั ติ ศ าสตร์   จน ทำ�ให้ผู้อ่านได้มีโอกาสรู้จักตัวตนของผู้หญิงคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ มี ชีวิตอยู่ท่ามกลางเงื่อนไขของสงคราม การเป็นเชลยหรือตัวประกัน ? ซึ่ง พงศาวดารของมหาสี ตู ร ะบุ ว่ า  “อะเหมี้ ย วโยงพระพี่ น างในพระนริ ศ กษัตริย์โยธยา (อยุธยา) ประสูติพระราชธิดานามเมงอทเวหนึ่ง” ตรงกับ พงศาวดารฉบับหอแก้ว ดร. สุเนตรให้ความเห็นว่าชือ่ นีเ้ ป็น “ฉายา” ทีพ่ ม่า ตั้งให้สอดคล้องกับ “อุปนิสัย” ของผู้ที่ถูกระบุว่าเป็น “พระพี่นางในสมเด็จ พระนริศกษัตริย์อยุธยา” และถอดความจากมหายาสะเวงเต๊ะ ตอนนี้ออก เป็นภาษาไทยว่า “นางผู้เชื่อมั่นในเผ่าพันธุ์แห่งตนผู้เป็นพระพี่นางในพระ นริศกษัตริย์โยธยา ประสูติพระราชธิดานามพระน้องน้อยสุดท้องหนึ่ง”  ท้ายที่สุดได้สรุปการวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “สรุปรวมความหลักฐาน ข้างฝ่ายพม่าและมอญได้ว่า พระราชธิดากษัตริย์อยุธยา ซึ่งหลักฐานพม่า ออกพระนามว่าพระสุพรรณนั้น ได้ถูกถวายให้แก่พระเจ้าหงสาวดีช้างเผือก หรือพระเจ้าชนะสิบทิศ (ซึ่งน่าจะเป็นคนเดียวกับพระเจ้าบุเรงนองในความ รับรู้ของคนไทย) แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าสมเด็จพระนเรศวรเคยถูกส่งตัว ไปเป็นตัวประกันยังราชสำ�นักหงสาวดีแต่อย่างใด” ถ้าเช่นนัน้  เรือ่ งพระสุพรรณกัลยากลายเป็นปรากฏการณ์ทางความ 6 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


เชื่อของสังคมในประวัติศาสตร์ปัจจุบันได้อย่างไร...กระแสสังคมที่เรียกร้อง หาอดีตอันมีความหมายสำ�คัญยิง่ ให้กบั ขัตติยนารีองค์น ้ี ดร. สุเนตรได้พยายาม หาคำ�ตอบให้แก่ปรากฏการณ์ทก่ี ลายเป็นกระแสสังคมปัจจุบนั  โดยเริม่ กล่าว ถึงการสร้างตำ�นานบุคคลในประวัติศาสตร์ (mythmaking) ที่เกิดขึ้นในช่วง สมัยรัตนโกสินทร์ อันมีต้นเค้าอยู่ในงานเขียนประวัติศาสตร์ชิ้นสำ�คัญ อาทิ พงษาวดารเรื่องเรารบพม่าครั้งกรุงศรีอยุธยา, พระประวัติสมเด็จพระ  นเรศวรมหาราช และตำ�รับตำ�ราทางประวัตศิ าสตร์ส�ำ หรับศึกษาของนักเรียน นายร้อยทหารบก เป็นต้น ที่เรื่องพระสุพรรณกัลยาเป็นเพียงปลีกย่อยของ แก่นเรื่องหลักว่าด้วยวีรกรรมกู้ชาติของสมเด็จพระนเรศวรในประวัติศาสตร์ ชาติ จนกระทั่งกลายเป็น “วีรสตรี” อันเป็นภาพลักษณ์ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น และท้ายที่สุดกลายเป็น “ประวัติศาสตร์จากนิมิต” ของหลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก ในหนังสือย้อนรอยกรรม ซึ่งพระสุพรรณกัลยา กลายเป็นบุคคลสำ�คัญที่มีบทบาทในประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง มิใช่เพียง แค่เรื่องฝากหรือเกร็ดเรื่องในวีรกรรมสมเด็จพระนเรศวร อัน ดร. สุเนตรได้ ตั้งข้อสังเกตไว้ตอนหนึ่งว่า “หลวงปู่โง่น” ได้อาศัยตำ�นานใหม่สร้างให้ภาวะ ที่เป็นสามัญของพระสุพรรณกัลยากลายเป็นภาวะที่ศักดิ์สิทธิ์ และข้ามภพ ข้ามชาติ การมีอยู่และคงอยู่มิได้ถูกตีกรอบด้วยข้อเท็จจริงตามตำ�ราและ กรอบเวลาทางประวัติศาสตร์เป็นสำ�คัญ ซึ่งปฏิบัติการเช่นนี้ไม่เคยมีปรากฏ มาก่อนในประวัติศาสตร์การสร้างตำ�นานเกี่ยวกับพระนางให้แพร่หลายใน ระดับชาติ ดร. สุเนตรได้ขยายผลการศึกษาจากปรากฏการณ์สร้างตำ�นานพระ สุพรรณกัลยาดังกล่าว ลงสู่ประเด็นที่ว่า ในกรอบความสัมพันธ์ระหว่าง ไทยกับพม่าในสมัยอยุธยานั้น สตรีสูงศักดิ์ผู้หนึ่งดำ�รงฐานะและบทบาท อย่างไร ขัตติยนารีผู้หนึ่งที่เป็น “คน” ในหน้าประวัติศาสตร์ที่อาจมิได้มี คุณลักษณะเชิงประโยชน์นิยม ที่นักประวัติศาสตร์มักวางกรอบความคิด เช่นนี้ไว้คัดสรรบุคคลในประวัติศาสตร์ว่าควรแก่การสดุดีเป็น วีรบุรุษ หรือ  วีรสตรี  ที่ทำ�คุณประโยชน์แก่ชาติหรือไม่  นอกเหนือจากคุณสมบัติอันมี ประโยชน์อื่นๆ ตามแต่นักประวัติศาสตร์จะหยิบยก หรือสร้างหุ่นจำ�ลอง ความคิ ด  มี ส ตรี อี ก มากในประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ห มุ น กงล้ อ ประวั ติ ศ าสตร์ ใ ห้ เคลื่อนไป แต่มีพื้นที่เพียงน้อยนิดอยู่ในหน้าบันทึกประวัติศาสตร์ ความ พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ 7


ชำ�นาญถนัดเฉพาะของนักประวัติศาสตร์เท่านั้นที่ทำ�ให้สามารถมองเห็น รอยต่อของประวัติศาสตร์และเอกสารประวัติศาสตร์ตามที่กล่าวมาแต่ต้น แล้ว และนั่นคือสิ่งที่ ดร. สุเนตรมอบให้แก่ผู้สนใจเป็นเบื้องต้น ก่อนที่จะ นำ�ไปสู่ประเด็นที่ว่าด้วยพระสุพรรณกัลยาในบริบทความสัมพันธ์ไทย-พม่า ในช่วงเวลาเมื่ออยุธยาตกเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรพม่าใน พ.ศ. ๒๑๑๒ ดร. สุเนตรเปิดมุมมองพระสุพรรณกัลยาใหม่ โดยเทียบเคียงกับ บทบาทของสตรี ค นอื่ น ๆ ในประวั ติ ศ าสตร์ อ ยุ ธ ยา ซึ่ ง ไม่ เ คยได้ รั บ การ หยิบยกมาศึกษาอย่างเป็นระบบ ยกเว้นกรณีสมเด็จพระสุริโยทัย (ที่ได้รับ การยกย่องเป็นวีรสตรีของชาติ) บรรดาขัตติยนารีทป่ี รากฏพระนามร่วมสมัย หรือคาบสมัยกับพระสุพรรณกัลยา เช่น ท้าวศรีสดุ าจันทร์ พระวิสทุ ธิกษัตรีย์ พระสุวัฒน์ มณีรัตนาหรือเจ้าขรัวมณีจันทร์ (หนึ่งในพระมเหสีของสมเด็จ พระนเรศวร) เจ้าแม่วัดดุสิต สตรีสูงศักดิ์แห่งราชสำ�นักเด็จพระนารายณ์ เจ้าฟ้าสุดาวดีหรือกรมหลวงโยธาเทพสมัยสมเด็จพระนารายณ์  เป็นต้น เรื่องของสตรีเหล่านี้มักปรากฏในหลักฐานประเภทคำ�บอกเล่ามากกว่าใน เอกสารพงศาวดาร แสดงให้เห็นว่า “พระสุพรรณกัลยาไม่เพียงมีตัวตนจริง แต่ยังมีบทบาทและชะตากรรมเป็นที่น่าเห็นใจ เรื่องราวของพระนางจึงเป็น ที่จดจำ�เล่าขาน ถึงแม้ว่าเจตนาของผู้ส่งผ่านเรื่องราวหรือตำ�นานนั้นมุ่งเน้น ไปที่พระราชประวัติและบุญญาบารมี ตลอดรวมถึงเดชานุภาพของสมเด็จ พระนเรศวรเป็นสำ�คัญก็ตามที” ดร. สุเนตรใช้ท้งั หลักฐานข้างฝ่ายพม่าและฝ่ายไทยในการศึกษา ไม่ เว้นแม้แต่วรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหงสาวดีช้างเผือก ทำ�ให้ เป็นการศึกษาที่ลุ่มลึก เปิดเผยเครือข่ายข้อมูลออกไปกว้างขวาง และได้รู้ ว่าตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๖ แล้วที่ฝ่ายไทยได้ส่งพระธิดาของพระมหาธรรมราชา ไปถวายพระเจ้าบุเรงนอง (ซึ่งไม่ใช่พระสุพรรณกัลยา) สมเด็จพระมหินทร์ เองก็ต้องถวายพระราชธิดาเช่นเดียวกัน และราชนิกุลเชื้อสายพระมหาจักรพรรดิอีกจำ�นวนมาก นี้เป็นธรรมเนียมนิยมที่ถือปฏิบัติกันในช่วงสมัยนั้น ภายใต้เงื่อนไขของสถานการณ์อันเกิดเป็นสิ่งที่ ดร. สุเนตรเรียกว่า “ระบบ ตัวประกัน” ทีร่ าชสำ�นักหงสาวดีใช้ในการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการเมือง กับประเทศราชในยุคราชวงศ์ตองอูเรืองอำ�นาจ ทำ�ให้อนุมานได้ถึงชีวิตของ 8 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


พระสุพรรณกัลยาในต่างแผ่นดิน ท่ามกลางกระแสการเมืองอันเชี่ยวกราก ระหว่างรัฐ ขณะที่พระองค์ตกอยู่ในฐานะมเหสีเล็กหรือโกโละดอ บทวิจัย ของ ดร. สุเนตรสรุปลงท้ายว่า แม้พระองค์มิได้อยู่ในฐานะอัครมเหสี  แต่ สถานภาพของการเป็นพระราชธิดาเจ้าประเทศราชกลับสำ�คัญกว่า และ โดยนั ย นี้ พ ระสุ พ รรณกั ล ยาจึ ง มี ชี วิ ต โลดเต้ น อยู่ ใ นโยงใยของการเมื อ ง ระหว่างรัฐ จนกระทั่งผู้บันทึกพงศาวดารพม่าไม่อาจลืมที่จะกล่าวย้ำ�ถึง ความสำ�คัญนี ้ “อะเหมี้ยวโยงพระพี​ี่นางพระนริศกษัตริย์โยธยา” งานวิจัยชิ้นนี้จึงไม่จำ�เป็นเลยที่ผู้วิจัยต้องสรุป อดีตได้ชี้ให้เห็นแล้ว ว่าเงื่อนไขของประวัติศาสตร์ได้กำ�หนดให้ชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งมี “หน้าที่” ต้องโลดแล่นในวังวนของการเมืองระหว่างประเทศ และอาจไม่เหลือเลย แม้ความทรงจำ�ของคนรุ่นหลัง ถ้าหากไม่มีเงื่อนไขใหม่เกิดขึ้นที่ท�ำ ให้มีการ หยิบยกชีวิตนี้ขึ้นมาศึกษากัน ดร. ธิดา  สาระยา

ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑ กันยายน ๒๕๔๒

พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ 9


จากผู้เขียน ความรับรู้ของสังคมต่อตำ�นานประวัติศาสตร์บ่อยครั้งฝัง

ลึกในความเชื่อยิ่งไปเสียกว่าข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างหนึ่งที่ เห็นได้ชัดคือกรณีพันท้ายนรสิงห์  ตำ�นานวีรกรรมของพันท้ายนรสิงห์ได้รับ ความเชื่อถือในฐานะบุคคลทางประวัติศาสตร์ ยิ่งไปเสียกว่าพระเจ้าเสือซึ่ง เป็นรัฐบุรุษที่มีความโดดเด่นในพระราชพงศาวดารสืบต่อถึงสามแผ่นดิน กรณีของพระสุพรรณกัลยาก็ไม่ต่างกันนัก บทบาทและความสำ�คัญของ พระนางได้รับการยกย่องเคียงคู่หรือเหนือกว่าสมเด็จพระนเรศวร โดย เฉพาะภายหลั ง วิ ก ฤตต้ ม ยำ � กุ้ ง   เรื่ อ งราวของพระสุ พ รรณกั ล ยาตามมี ปรากฏในหน้าประวัตศิ าสตร์ โดยเฉพาะในยาสะวินหรือพงศาวดารพม่านัน้ มีเพียงไม่กี่บรรทัด  แต่ตำ�นานของพระนางในเอกสารประเภทคำ�ให้การได้ ถูก “ผลิตซ้ำ�” ต่างกรรม ต่างวาระ ทั้งในรูปละครเวที ละครโทรทัศน์ และ ภาพยนตร์ ซึ่งการผลิตในแต่ละบริบทผู้ผลิตได้สร้างตำ�นานใหม่ ให้ความ หมายและอรรถาธิบ ายใหม่  ทั้งนี้ยังไม่รวมบทบาทของหลวงปู่ โ ง่ น และ แพทย์หญิงนลินี ไพบูลย์ ที่ต่างมีบทบาทสำ�คัญในการสร้างตำ�นานและรูป เคารพ ซึง่ ส่งผลให้พระสุพรรณกัลยากลายเป็น “วีรสตรีนอกทำ�เนียบ” ในทีน่ ้ี หมายถึงทำ�เนียบวีรบุรุษและวีรสตรีที่รัฐสถาปนา หนังสือ พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ ได้ พยายามสืบค้นและตีแผ่การสร้างตำ�นานพระสุพรรณกัลยาจากอดีตจนถึง ปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นว่า กว่าที่พระสุพรรณกัลยาจะก้าวขึ้นสู่สถานะวีรสตรีที่ อยู่เบื้องหลังการกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรดังความเข้าใจของ คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยในปัจจุบัน  ขัตติยนารีพระองค์นี้ได้ผ่านการจดจำ� เล่าขาน และ “ผลิตซ้ำ�” ในหลายบริบท  การตีแผ่ให้เห็นเงื่อนไขปัจจัยเบื้อง หลังการสร้างตำ�นานพระสุพรรณกัลยา มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าการ ศึกษาตัวตนของพระสุพรรณกัลยาที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ ผู้เขียนให้ความสำ�คัญกับการสร้างตำ�นานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งส่ง ผลในวงกว้างให้กับสังคมไม่น้อยไปกว่าข้อเท็จจริงและความน่าจะเป็นใน 10 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


ประวัติศาสตร์  ในการเขียนหนังสือ พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้า  ประวัติศาสตร์ จึงเริ่มที่ประวัติศาสตร์ของการสร้างตำ�นานพระสุพรรณกัลยาก่อน และเติมเต็มงานเขียนในตอนที่ ๒ ว่าด้วยพระสุพรรณกัลยาใน ความน่าจะเป็นในประวัติศาสตร์  งานอาจสะท้อนโลกแห่งการรับรู้พระ สุพรรณกัลยาในสองขั้ว  ขั้วหนึ่งเป็นพระนางในโลกแห่งตำ�นาน ซึ่งมีชีวิต ชีวา ร้อยรัดต่อติดได้กับสังคมยุคปัจจุบัน  เป็นกำ�ลังใจ ความหวัง และ ตัวอย่างของสตรีที่ยืนหยัดต่อสู้ชะตากรรมชีวิต เท่าๆ กับความเป็นวีรสตรี ที่เหมาะกับยุคสมัยที่สตรีเป็นฝ่ายเสียเปรียบและผู้ถูกกระทำ� อันเป็น ผล จากการถดถอยทางเศรษฐกิจ  กับขั้วของการเป็นอีกหนึ่งขัตติยนารีในหน้า ประวัติศาสตร์ที่จบไปแล้วกว่า ๔ ศตวรรษ ผู้เขียนขอขอบคุณสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณที่เห็นถึงความสำ�คัญของ หนังสือเล่มนี้ และยินดีจัดพิมพ์เผยแพร่ถึงแม้ว่าหนังสืออาจผ่านการตีพิมพ์ มาแล้วหลายครั้ง สุเนตร  ชุตินธรานนท์ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ 11


บทนำ�

(ในการพิมพ์เมือ่ พ.ศ. ๒๕๖๑)

วีรสตรีที่ “ขึ้นทำ�เนียบ” เป็นวีรสตรีระดับชาติซึ่งมีอยู่จำ�-

นวนไม่มากนั้นได้ก้าวขึ้นมาเป็นที่ยอมรับด้วยเหตุปัจจัยพื้นฐาน ๒ ประการ ประการแรกต้องเป็นผู้ประกอบวีรกรรมในสมรภูมิรบหรือเป็นผู้จับอาวุธเข้า สัประยุทธ์กับศัตรูชนิด “มือก็ไกวดาบก็แกว่ง”  ประการที่สองต้องเป็น ผู้ที่ อำ�นาจรัฐ หรือตัวแทนอำ�นาจรัฐคัดสรรและสถาปนาขึ้น อาทิ พระสุริโยทัย อัครมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งโคลงเฉลิมพระเกียรติไว้ในงานชุด โคลงภาพพระ ราชพงศาวดาร มีความตอนหนึ่งว่า นงคราญองค์เอกแก้ว กระษัตรีย์ มานมนัศกัตเวที ยิ่งล้ำ� เกรงพระราชสวามี มลายพระ ชนม์เฮย ขับคเชทรเข่นค้ำ� สอึกสู้ดัษกร ขุนมอญร่อนง้าวฟาด ฉาดฉะ ขาดแล่งตราบอุระ หรุบสิ้น โอรสรีบกันพระ ศพสู่ นครแฮ สูญชีพไป่สูญสิ้น พจน์ผู้สรรเสริญ นอกจากนัน้ ในยุคจอมพล ป. พิบลู สงคราม พระนางยังได้รบั ยกย่อง และเฉลิมพระเกียรติโดดเด่นไม่เป็นรองวีรบุรุษคนใด ที่สำ�คัญคือ ประวัติศาสตร์และตำ�นานพระสุรโิ ยทัยได้ถกู จดจำ�และ “ผลิตซ้�ำ ” สืบมาไม่ขาดสาย ก่อเกิดเป็นงานวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติ อนุสาวรีย์ ละครเวที โอเปรา (Opera) และที่สำ�คัญคือ ภาพยนตร์ระดับมหากาพย์ ภายใต้การกำ�กับของ 12 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือท่านมุย้  พระสุรโิ ยทัยเป็นตัวอย่างของวีรสตรี ของชาติที่เข้าคุณสมบัติหรือปัจจัยพื้นฐานที่กล่าวไว้ข้างต้นโดยสมบูรณ์ ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร หรือคุณหญิงจันและนางมุกน้อง สาว เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของวีรสตรีที่ขึ้นทำ�เนียบ โดยมีวีรกรรมปกป้อง เมืองจากพม่าข้าศึกเป็นพื้น วีรกรรมนั้นจะมีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามที แต่ได้ผ่านการสถาปนากันอย่างเป็นขั้นตอนนับจากงาน นิพนธ์โคลงภาพพระราชพงศาวดารเป็นอย่างช้า  ธิดา สาระยา ในบทความ เรื่อง “มองประวัติศาสตร์ท้องถิ่นถลาง-ภูเก็ต การสร้าง ‘ตำ�นาน’ เกี่ยวกับ บุคคลสำ�คัญและการสืบเนื่องของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ได้วิเคราะห์ว่า วีรกรรมของท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทรที่เป็นที่รู้จักและยอมรับกัน อย่างแพร่หลายในปัจจุบันนั้นล้วนเป็น “ดอกผล” ของการสร้างตำ�นานโดย ผู้มีอำ�นาจรัฐหรือตัวแทนอำ�นาจรัฐจากส่วนกลางที่ยกเอา “วีรกรรมในสมรภูมิ” ของสตรีทั้งสองท่านขึ้นมาเป็นวีรกรรมสำ�คัญในประวัติศาสตร์ชาติ ไม่ว่าจะเป็นการพระราชทานนามถนนที่เชื่อมเมืองภูเก็ตกับเมืองถลางว่า “ถนนเทพกษัตรี” ในวโรกาสที่สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ครั้งดำ�รง พระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ หรือ งานนิพนธ์ของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทก่ี ล่าวสดุดวี รี สตรีทง้ั สองไว้วา่ แรงเหมือนมดอดเหมือนกากล้าเหมือนหญิง นี่จะจริงเหมือนว่าหรือหาไม่ เพราะหญิงไทยไล่ฆ่าพม่าแพ้ หรืองานประพันธ์ของพระยาอุปกิตศิลปสารที่ว่า ยังมีสองหญิ​ิงเยาวมาลย์ พี่น้องนงพาล นามพี่ท้าวเทพกษัตรี สมญาผู้น้องท้าวศรี สุนทรนารี นักรบผู้หาญชาญชัย ป้องกันเกาะถลางห่างไกล ข้าศึกอ่อนใจ อดจนจำ�ทนแหนงหนีฯ เกาะถลางรอดพ้นไพรี ด้วยหญิงสองศรี สู้ศึกสามารถอาจอง พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ 13


๑.

ต้นรากแห่งตำ�นาน พระสุพรรณกัลยา

26 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


ต้นรากแห่งตำ�นานพระสุพรรณกัลยา

เรื่องราวว่าด้วยพระสุพรรณกัลยา มีต้นเค้าที่มาจากหลัก

ฐานสองประเภท หนึ่งนั้นเป็นหลักฐานที่ถูกส่งผ่านทางจารีตของการบอกเล่า ก่อน  จะมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และถ่ายแปลออกเป็นภาษาไทยจน  เป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบันใต้ชื่อ คำ�ให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง และคำ�ให้การชาวกรุงเก่า ส่วนอีกหนึ่งนั้นเป็นหลักฐานประเภทพงศาวดาร ซึ่งเป็นหลักฐาน  ฝ่ายราชสำ�นัก จัดเป็นสมบัติหลวง พระมหากษัตริย์จะโปรดให้เหล่าปราชญ์  ราชบัญฑิตประชุมชำ�ระขึ้น  กระนั้นพงศาวดารดังกล่าวหาใช่พงศาวดาร กรุงศรีอยุธยาไม่  ที่สำ�คัญคือมิได้ปรากฏเรื่องราวของพระสุพรรณกัลยาใน  พงศาวดารไทยใดเลย จะมีกแ็ ต่ในพงศาวดารพม่าทีม่ เี รือ่ งคัดลอกตกทอดไว้ เร่ิ ม จากพงศาวดารฉบั บ อู ก าลา ซึ่ ง ปราชญ์ พ ม่ า นิ ย มเรี ย กว่ า  อูกาลา มหายาสะเวงจี (U Kala Mahayazawingyi)๑ ตกทอดลงมาถึง  พงศาวดารใหม่ (New Chronicle) ซึง่ ปราชญ์พม่านิยมเรียกสัน้ ๆ ว่า ตเวงเตง ตามชื่อผู้แต่งคือ ตเวงเตง ไต๊โหว่ง มหาสีตู (Thwinthin Tikewun  Mahasithu) และเรียกชื่อที่เป็นทางการว่า มหายาสะเวงเต๊ะ (Maha-  yazawinthet-พงศาวดารใหม่- เขียนขึ้นช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่  ๑๘) ๒  พงศาวดารฉบับนี้มีเรื่องราวว่าด้วยพระพี่นางในสมเด็จพระนเรศวรเพิ่มเติม  ไปจากที่มีปรากฏในพงศาวดารฉบับอูกาลาอีกเพียงเล็กน้อย แต่ก็เป็นสาระ  ที่สำ�คัญ  ภายหลังเป็นไปได้ว่าเรื่องราวของพระสุพรรณกัลยาถูกคัดลอก  รวมไว้ในพงศาวดารที่ปราชญ์พม่านับเนื่องเป็นพงศาวดารฉบับหลวงฉบับ  แรกและฉบับเดียว ซึ่งรู้จักภายใต้ช่อื  มานนาน มหายาสะเวงดอจี (Hman-  nan Mahayazawindawgyi) หรือที่ปราชญ์ไทยนิยมเรียกว่า พงศาวดาร

พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ 27


ฉบับหอแก้ว (The Glass Palace Chronicle)๓ พงศาวดารฉบับนี้เป็นที่  แพร่หลายในแวดวงปราชญ์ราชบัณฑิตและนักประวัติศาสตร์ไทยมากว่า  ๘๐ ปี   ต้ น เค้ า เกิ ด จากการที่ พ งศาวดารถู ก แปลจากต้ น ฉบั บ ภาษาพม่ า  ออกเป็นภาษาอังกฤษโดยหลวงไพรสณฑ์ สาลารักษ์ หรือ เทียน สุพินทุ  (U Aung Thein) และได้ถูกตีพิมพ์แพร่หลายใน Journal of the Siam  Society (JSS) นับแต่ พ.ศ. ๒๔๕๑ (ค.ศ. ๑๙๐๘) เป็นอย่างช้า๔  เป็นไป  ได้ว่าเรื่องที่ปรากฏในงานแปลของหลวงไพสณฑ์ฯ ได้กลายเป็นเค้าเงื่อนให้  นักประวัติศาสตร์รุ่นบุกเบิก อาทิ สมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ  และกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงใช้ศึกษา ในแวดวงวิชาการไทย เรื่องราวว่าด้วยพระสุพรรณกัลยาตามมี  ปรากฏในหลักฐานพม่า โดยเฉพาะเรื่องที่ว่าด้วยพระมหาธรรมราชาถวาย  พระองค์ให้พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองจึงมิใช่เรื่องลี้ลับ แต่มีปรากฏหาอ่าน  ได้ ใ นพระนิ พ นธ์ พ ระราชพงศาวดารพม่ า  (พ.ศ. ๒๔๕๖) ซึ่ ง กรมหมื่ น  นราธิปฯ (พระยศขณะนั้น) ทรงรจนา๕ และในคำ�อธิบายของสมเด็จฯ กรม  พระยาดำ�รงราชานุภาพ ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา  (เล่ ม  ๑ พ.ศ. ๒๔๕๗) และในหนั ง สื อ พระประวั ติ ส มเด็ จ พระนเรศวร  มหาราช ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ ๖   กระนั้น งานค้นคว้าที่วิเคราะห์เจาะลึกควรแก่การศึกษาเป็นตัวอย่างคือ  งานเรื่ อ ง “สอบเอกสารในรั ช สมั ย พระนเรศวรมหาราช” ของสรั ส วดี   ประยูรเสถียร๗ แม้ว่าจะมีร่อยรอยหลักฐานเป็นประจักษ์พยานว่า เรื่องราวว่าด้วย  พระสุพรรณกัลยาได้มีการบันทึกตกทอดมาในวัฒนธรรมการเขียนและ  ชำ�ระพงศาวดารของราชสำ�นักพม่า และได้เกิดการถ่ายทอดเรื่องทั้งนั้น  ออกเป็นภาษาไทย จนปรากฏเป็นความรับรู้ให้นักประวัติศาสตร์ไทยนำ�ไป  ใช้เขียนประกอบงานประวัติศาสตร์ของตน เรื่องพระสุพรรณกัลยาก็มิได้  มีความโดดเด่นสำ�คัญใดๆ โดยสิ้นเชิงในความรับรู้ของผู้เขียนและชำ�ระ  พงศาวดารพม่าในอดีต  ทั้งนี้ขยายรวมถึงนักประวัติศาสตร์พม่าและไทย  ในรอบกว่ากึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งมิได้รับรู้ หรือรับรู้แต่มิได้ให้ความสนใจ  อันใดเป็นพิเศษ ซึ่งตรงกันข้ามกับเรื่องของสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จ  พระเจ้ากรุงธนบุรี  ซึ่งผู้รู้ข้างพม่าให้ความสนใจถึงกับเขียนรวมไว้ในชุด  28 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


สารานุกรม๘ ขณะที่ผู้รู้ข้างไทยก็ยกย่องเทิดทูนขึ้นเป็นมหาราชผู้กู้เอกราช  ของชาติและประเทศ ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า เรื่องราวว่าด้วยพระสุพรรณกัลยา  มีต้นเค้าที่มาจากหลักฐานสองประเภท ได้แก่ หลักฐานประเภทพงศาวดาร  ดังที่ได้กล่าวมาพอสังเขปแล้ว  ส่วนหลักฐานอีกประเภทหนึ่งที่จะกล่าวถึง  ต่อไป คือ หลักฐานที่ถูกส่งผ่านทางจารีตการบอกเล่า ซึ่งปัจจุบันเป็นที่  รู้จักแพร่หลายภายใต้ชื่อ คำ�ให้การชาวกรุงเก่า และ คำ�ให้การขุนหลวงหา  วัด ฉบับหลวง แม้ว่าหลักฐานทั้งสองชิ้นนี้จะเป็นที่ยอมรับเชื่อถือสืบเนื่องกันมา  ว่ามีที่มาจากคำ�ให้การของเชลยศึกไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปภายหลัง  สงครามคราวเสี ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ซึ่ ง หมายความว่ า การ  ให้ปากคำ�และการจดบันทึกเรื่องราวว่าด้วยพระสุพรรณกัลยา ทิ้งระยะ  ห่างจากวันเวลาหรือยุคสมัยนับจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ยุคกรุง  แตกครั้งแรก (พ.ศ. ๒๑๑๒) หรือยุคที่ร่วมสมัยกับพระสุพรรณกัลยาและ  สมเด็จพระนเรศวรถึง ๒ ศตวรรษโดยประมาณ  กระนั้นข้อมูลที่มีปรากฏ  ในคำ�ให้การทั้งสองเรื่องดูจะเป็นที่รู้จักแพร่หลายกว้างขวางกว่าข้อมูลที่  มีปรากฏในพงศาวดารพม่าเป็นอย่างมาก  กล่าวได้ว่า ตำ�นานอันมีสีสัน  ว่าด้วยชะตากรรมของพระพี่นางในสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระ  นเรศวรเมื่อครั้งตกเป็นตัวประกันอยู่ ณ แดนหงสาวดีนั้น ล้วนมีที่มาจาก  ตำ�นานทั้งสองเรื่องนี้ทั้งสิ้น  และเป็นไปได้ว่าสังคมไทยได้รับรู้ตำ�นานของ  เชื้อพระวงศ์ทั้งสองพระองค์ผ่านเค้าเงื่อนที่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์  อักษร นับแต่ชว่ งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เป็นอย่างช้า๙  และปรากฏแพร่หลายกว้างขวางขึ้นเมื่อมีการนำ�ต้นฉบับออกพิมพ์เผยแพร่ หนังสือชุดคำ�ให้การเชลยไทย อันเป็นต้นเค้าตำ�นานพระสุพรรณ-  กัลยา ในปัจจุบันมีด้วยกันทั้งสิ้นสามฉบับ ฉบับแรก ถูกนำ�ออกตีพิมพ์เผยแพร่โดยโรงพิมพ์หมอสมิธ ใน พ.ศ.  ๒๔๒๖ ภายใต้ชื่อหนังสือ ราชพงษาวดารกรุงเก่า ๑๐ ฉบับที่  ๒ นายพลตรีพระยาเทพาธิบดี  (เจิ่น บุนนาค) ได้พิมพ์  แจกในงานปลงศพ นายพันตรี  หลวงพิทักษ์นฤเบศร์  ผู้บิดา และต่อมา  นายเล็ก มหาดเล็ก ได้พิมพ์ซ้ำ�อีกครั้งหนึ่งเป็นการพิมพ์ครั้งที่ ๒ (ปีมะโรง  พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ 29


๒.

พระสุพรรณกัลยา ในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ อยุธยา-หงสาวดี

88 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


พระสุพรรณกัลยาในประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์อยุธยา-หงสาวดี

ที่ผ่านมา การเขียนประวัติบุคคลในสังคม วัฒนธรรมไทย

โดยเฉพาะบุคคลที่ได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำ�คัญ ได้ถูกกระทำ�ภายใต้  กรอบหรือความรู้สึกนึกคิดเชิงประโยชน์นิยมเป็นที่ตั้ง กล่าวคือ บุคคลทีถ่ กู หยิบยก คัดเลือกขึน้ มาจาระไนประวัตใิ ห้สงั คม  ได้รับรู้ จำ�ต้องเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ต่อสังคมด้านใดด้านหนึ่งเป็นอย่าง  น้อย และพฤติกรรมของบุคคลผู้นั้นก็ต้องเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาจดจำ�  ของอนุชนรุ่นหลังด้วยเช่นกัน๑  ส่วน “ประโยชน์” ที่ว่านั้นจะมีโภคผลต่อ  ใครอย่างไรนัน้  ขึน้ อยูก่ บั การให้ “นิยาม” ต่อ “ประโยชน์” ว่าจะกินขอบเขต  กว้างขวางเช่นไร ในงานพระนิพนธ์  พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ของ  สมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ พระองค์ทรงกล่าวยกย่องสมเด็จ  พระนเรศวรในฐานะวี ร บุ รุ ษ และมหาราช ผู้ ท รงบำ � เพ็ ญ ประโยชน์ อั น  สำ�คัญยิง่  คือ “สามารถบำ�เพ็ญอภินหิ ารกูบ้ า้ นเมืองและแผ่ราชอาณาเขตต์  จนเป็นพระราชาธิราชได้”๒  ขณะที่อำ�มาตย์ตรีหลวงวิจิตรวาทการ ใน  หนังสือ มหาบุรุษ ได้ให้นิยามบุคคลที่ควรได้รับการยกย่องให้เป็นมหาบุรุษ  ไว้ว่า “คือบุคคลที่ทำ�ประโยชน์ให้แก่โลก หรืออย่างน้อยก็แก่ประเทศ  และเพื่อนร่วมชาติของตน...”๓ แนวพินิจทางประวัติศาสตร์ว่าด้วยเรื่องพระสุพรรณกัลยา สัมพันธ์  อย่างแยกกันไม่ออกกับแนวคิดเชิงประโยชน์นยิ มตามแสดงมาข้างต้น  วิวาทะ  สำ�คัญอันเกีย่ วเนือ่ งกับการดำ�รงอยู ่ หรือความมีตวั ตนของพระสุพรรณกัลยา  ยังวนเวียนอยู่กับประเด็นว่า ขัตติยนารีพระองค์น้มี ีประโยชน์ หรือได้ทำ�คุณ  ประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองจนควรแก่การยกฐานะเป็นวีรสตรีหรือไม่

พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ 89


อย่างไร  ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงประเด็นข้อถกเถียงดังกล่าวจะได้รับ  ความสนใจ จนก่อให้เกิดการปะทะทางคารมและความคิดระหว่างตัวแทน  อำ�นาจรัฐ ทีถ่ งึ แม้จะยืนยันว่าพระสุพรรณกัลยามีตวั ตนจริงในประวัตศิ าสตร์  แต่ก็ไม่ก้าวล่วงไปสู่การวินิจฉัยว่าพระนางนับเนื่องเป็นหนึ่งในวีรสตรีไทย  หรือไม่๔  กับตัวแทนฝ่ายตรงข้ามอำ�นาจรัฐที่ยกให้พระนางเป็นวีรสตรีที่ถูก  ลืมโดยปราศจากข้อกังขา๕ ประเด็นข้อถกเถียงที่แปลกแยกออกเป็นสองแนวทางนี้ นอกจาก  จะไร้ซึ่งทิศทางที่จะหาข้อยุติให้เป็นที่พอใจแก่ทุกฝ่ายได้แล้ว ยังเป็นการ  ดิ้นรนในช่องทางที่รังแต่จะชักนำ�เรื่องพระสุพรรณกัลยาให้ห่างความเป็น  จริงทางประวัติศาสตร์ออกไปทุกขณะ แท้จริงมาตรฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์จัด “คุณสมบัติ” ของผู้มีประโยชน์  ต่อชาติหรือประเทศเทียบขั้นวีรบุรุษวีรสตรี ที่ผ่านมาล้วนเป็นเกณฑ์สมมติ  ที่ถูกสร้างและประมวลขึ้นโดยผู้รู้ทางประวัติศาสตร์ไทยในรอบร้อยขวบปี  เท่านั้น แนวคิดหลักมุ่งเน้นที่การสร้างความเป็นเอกภาพขึ้นภายในชาติ  หรือประเทศเป็นสำ�คัญ  กล่าวโดยสังเขปได้ว่า บุคคลผู้มีประโยชน์สมควร  ได้รับการยกย่องขึ้นเป็นวีรบุษหรือวีรสตรีนั้น ควรมี “คุณสมบัติ” ที่พิเศษ  ไปกว่าปุถุชนทั้งหลาย ทั้งในด้านอัจฉริยภาพทางสติปัญญา ความกล้าหาญ  เด็ดเดี่ยว ความเสียสละ และขาดมิได้คือต้องเป็นผู้ท่ไี ด้ใช้คุณลักษณะพิเศษ  นั้น ทำ�ประโยชน์ให้แก่สังคม เพื่อนร่วมชาติ และประเทศเป็นสำ�คัญ๖ คงเป็นเรื่อง “ผิดฝาผิดตัว” หากจะใช้เกณฑ์กำ�หนด “คุณสมบัติ”  ที่ถูกค้นคิดและประมวลขึ้นภายใต้เงื่อนไขและมิติเวลาทางประวัติศาสตร์  ของยุคสมัยหนึ่ง เป็นมาตรฐานประเมินความคิดและพฤติกรรม ตลอดจน  การให้คุณค่าทางศีลธรรมและความถูกต้องของผู้คนในอีกยุคสมัยหนึ่ง ซึ่ง ทิ้งช่วงเวลาห่างกันหลายศตวรรษ๗  งานวิจัยนี้ประสงค์จะหลีกให้พ้นวังวน  แห่งการเขียนประวัติบุคคลที่ยึดติดกับแนวคิดเชิงประโยชน์นิยม โดยมีผล  ประโยชน์ของชาติหรือประเทศเป็นบรรทัดฐาน  ในการนำ�เสนอข้อเท็จจริง  ว่าด้วยเรื่องพระสุพรรณกัลยาตามมีปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์  ในชั้นนี้ มิได้มีเป้าหมายที่จะพิสูจน์สอบหรือให้ข้อวินิจฉัยว่าขัตติยนารีพระ  องค์นี้มี “คุณสมบัติ” ควรยกขึ้นเป็นวีรสตรีของชาติหรือไม่  แท้จริงการ  จะคัดสรรว่าบุคคลใดในประวัติศาสตร์สมควรได้รับยกย่องขึ้นที่วีรบุรุษ  90 ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์


วีรสตรี ก็มิใช่การหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์แต่อย่างใด เป้าหมายสำ�คัญ  ของงานวิจัยในภาคที่ ๒ นี้ อยู่ ที่ การศึ กษาเรื่ อ งพระสุ พรรณกั ล ยาใน  บริบททางประวัติศาสตร์ ว่าด้วยความสัมพันธ์อยุธยา-หงสาวดี เพื่อเปิด  ทางไปสู่ความรับรู้และเข้าใจในฐานะ บทบาท และความสำ�คัญของสตรีสูง  ศักดิ์ โดยเฉพาะขัตติยนารีในประวัติศาสตร์อยุธยา ในยุคสมัยที่เกิดความ  ผันแปรทางการเมือง ทั้งในปริมณฑลลุ่มเจ้าพระยา และบ้านเมืองรอบด้าน  โดยเฉพาะราชอาณาจักรหงสาวดีภายใต้การปกครองของราชวงศ์ตองอูยุค  ต้น (พ.ศ. ๒๐๗๔-๒๑๔๒) อันเป็นผลจากสงครามข้ามภูมภิ าคทีข่ ยายขอบเขต  กว้างไกลจากลุ่มอิรวดีสู่ลุ่มน้�ำ โขง

ขัตติยนารีแห่งราชอาณาจักรสยาม

จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตามที การเขียนประวัติบุคคล “สำ�คัญ” โดย  ยึดติดกับแนวคิดเชิงประโยชน์นิยมเป็นที่ตั้ง ได้ส่งผลให้เกิดการมองข้าม  “กุญแจ” ดอกสำ�คัญ อันอาจไขสู่ข้อเท็จจริงอีกหลากหลายที่อยู่เบื้องหลัง  ความเป็นไปในประวัติศาสตร์ “กุญแจ” ดอกดังกล่าวคือ “คน”  “คน” ที่บังเอิญขาดซึ่ง “คุ ณ  สมบัติ” ตามเกณฑ์ที่ผู้เขียนประวัติศาสตร์ใช้เป็นบรรทัดฐานในการคัดสรร  เพื่อหยิบยกขึ้นสดุดี หากพิจารณาโดยละเอียดถี่ถ้วนแล้วจะเห็นว่า ถึงแม้ธรรมเนียม  การเขียนประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะการเขียนพระราชพงศาวดารที่ยึด  เอากรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของการดำ�เนินเรื่อง๘ ที่ผู้บันทึกเหตุการณ์  จะมุ่งให้ความสำ�คัญแต่เฉพาะพระราชกรณียกิจและชะตากรรมของพระ  มหากษัตริย์ซึ่งเป็นบุรุษเพศ ก็มิอาจหลีกพ้นที่จะกล่าวถึงบทบาทของสตรี  สูงศักดิ์ โดยเฉพาะขัตติยนารี ซึ่งมีวิถีชีวิตเข้ามาพัวพันกับราชการแผ่นดิน  จนบางครั้งถึงกับสามารถกระทำ�การผลัดเปลี่ยนแผ่นดินได้๙ เมื่อหันกลับมาพิจารณาหลักฐานประเภทคำ�บอกเล่าและบันทึก  ชาวต่างประเทศ ซึ่งมิได้ผูกยึดการเล่าหรือเขียนประวัติศาสตร์ที่ยึดเอาพระ  มหากษัตริย์เป็นแกนหลักของการดำ�เนินเรื่องอย่างเคร่งครัดเยี่ยงผู้บันทึก  พงศาวดาร ก็จะยิ่งได้สัม ผัสรู้เห็นบทบาทและความสำ�คัญของขัตติยนารี  ในหน้าประวัตศิ าสตร์เพิม่ ขึน้   เรือ่ งลับทีผ่ บู้ นั ทึกพงศาวดารเห็นเป็นการควร  พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ 91


ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

ราคา ๒๑๐ บาท

หมวดประวัติศาสตร์ ISBN 978-616-465-016-9

ส่วนหนึ่งจาก คำ�นำ�เสนอ โดย ดร. ธิดา สาระยา

พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์

ดร. สุเนตรเปิดมุมมองพระสุพรรณกัลยาใหม่ โดยเทียบเคียงกับบทบาทของสตรี คนอื่นๆ ในประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งไม่เคยได้รับการหยิบยกมาศึกษาอย่างเป็น ระบบ ยกเว้นกรณีสมเด็จพระสุริโยทัย... ดร. สุ เ นตรใช้ ห ลั ก ฐานข้ า งฝ่ า ยพม่ า และฝ่ า ยไทยในการศึ ก ษา ทำ � ให้ เป็นการศึกษาที่ลุ่มลึก เปิดเผยเครือข่ายข้อมูลออกไปกว้างขวาง อดีตได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า เงื่อนไขของประวัติศาสตร์ได้กำ�หนดให้ชีวิตของ ผู้หญิงคนหนึ่งมี “หน้าที่” ต้องโลดแล่นในวังวนของการเมืองระหว่างประเทศ และอาจไม่เหลือเลยแม้ความทรงจำ�ของคนรุ่นหลัง ถ้าหากไม่มีเงื่อนไขใหม่เกิด ขึ้นที่ท�ำ ให้มีการหยิบยกชีวิตนี้ขึ้นมาศึกษากัน

พระสุพรรณกัลยา

ประวัติผู้เขียน

จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ การศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ M.A. History (Cornell University, USA) Ph.D. Southeast Asian History (Cornell University, USA) การทำ�งาน • อาจารย์ประจำ�ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๐ • คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ผู้อ�ำ นวยการศูนย์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ผู้อ�ำ นวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๗) • ได้รับคัดเลือกให้ด�ำ รงตำ�แหน่ง Chairman of Governing Board of the Consortium for Southeast Asian Studies in Asia (SEASIA) (2013-2017) ผลงานหนังสือ • สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐  ศึกษาจากพงศาวดารพม่า ฉบับราชวงศ์คองบอง (พ.ศ. ๒๕๓๑) • สู่ลุ่มอิระวดี (พ.ศ. ๒๕๓๗) • บุเรงนองกะยอดินนรธา : กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย (พ.ศ. ๒๕๓๘) • พม่ารบไทย : ว่าด้วยสงครามระหว่างไทยกับพม่า (พ.ศ. ๒๕๓๗) • พระสุพรรณกัลยา จากตำ�นานสู่หน้าประวัติศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๒) • จากศึกบางกุ้งถึงศึกอะแซหวุ่นกี้ : เผยโฉมยุทธศาสตร์พม่ารบไทยยุคธนบุรี (พ.ศ. ๒๕๖๒) • On Both Sides of the Tenasserim Range : History of Siamese-Burmese Relations


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.