ตลิ่งชันคือชุมชนชาวสวนโบราณที่อยู่อาศัยสืบเนื่องกันมาหลาย ร้อยปีก่อนหน้าการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นย่านเก่าในกรุงเทพฯ ทีเ่ ก่าแก่กว่าตัวเมืองกรุงเทพฯ เองเสียด้วยซ�้ำ ตลิง่ ชันยังนับเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรม เต็มไปด้วยวัดวา อารามงดงาม มีพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์น่าเคารพเลื่อมใส เป็นแหล่งรวมพระเกจิอาจารย์จากส�ำนักที่ขึ้นชื่อว่าเข้มขลังในทาง พุทธคุณ ผู้คนในถิ่นนี้มีคติความเชื่อ ประเพณี และวิถีปฏิบัติของ ตัวเอง รวมทัง้ ยังมีสถานทีน่ า่ เทีย่ ว อาทิ ตลาดน�ำ้ ตลิง่ ชัน ตลาดน�ำ้ คลองลัดมะยม และอื่นๆ อีกมากมาย มากกว่าที่รู้กันแพร่หลาย ทัง้ หมดทีก่ ล่าวมานี ้ อยูห่ า่ งจากใจกลางเมืองกรุงเทพฯ สมัยใหม่เพียงนิดเดียว!
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
ราคา ๒๗๐ บาท
ISBN 978-974-7727-93-7
หมวดประวัติศาสตร์
๒๗๐.-
วิชญดา ทองแดง • ศรัณย์ ทองปาน
6
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
ชุย่านเก่ มทางตลิ ่งชัน า [ก่อน] กรุงเทพฯ ISBN 978-974-7727-93-7 หนังสือ ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ ผู้เขียน วิชญดา ทองแดง และศรัณย์ ทองปาน ผู้ถ่ายภาพ วิชญดา ทองแดง และศรัณย์ ทองปาน กันยายน ๒๕๕๕ พิมพ์ครั้งแรก จำ�นวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๗๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยวารสารเมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด
ข้อมูลทางบรรณานุกรม วิชญดา ทองแดง. ชุมทางตลิง่ ชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ.- -กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕. ๒๗๒ หน้า. ๑. กรุงเทพฯ- -ประวัติศาสตร์. ๒. กรุงเทพฯ- -ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. ๓. ตลิง่ ชัน. I. ศรัณย์ ทองปาน, ผู้แต่งร่วม. I. ชื่อเรื่อง. ๙๕๙.๓ ISBN 978-974-7727-93-7
บรรณาธิการเล่ม วิชญดา ทองแดง ออกแบบปก/รูปเล่ม นฤมล ต่วนภูษา ควบคุมการผลิต ธนา วาสิกศิริ แยกสี/เพลท เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐ - ๒๒๑๕ - ๗๕๕๙ พิมพ์ท ี่ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐ - ๒๙๖๖ - ๑๖๐๐-๖ จัดจำ�หน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐ - ๒๒๘๑ - ๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐ - ๒๒๘๑ - ๗๐๐๓
วารสารเมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด)
ผู้อ�ำ นวยการ สุวพร ทองธิว สรณบุคคล เล็ก – ประไพ วิริยะพันธุ์ มานิต วัลลิโภดม ประยูร อุลุชาฎะ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ที่ปรึกษา เสนอ นิลเดช พล.ต.ท. เผ่าไทย ทองธิว พิริยะ ไกรฤกษ์ อนุวิทย์ เจริญศุภกุล สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ธิดา สาระยา พรชัย สุจิตต์ ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ศิริรักษ์ รังสิกลัส แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย ที่ปรีกษาฝ่ายศิลปกรรมและการผลิต จำ�นงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายโฆษณาและการตลาด ปฏิมา หนูไชยะ ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง พิเศษ จียาศักดิ์ www.muangboranjournal.com อีเมล mboranjournal@gmail.com www.facebook/mbrjournal
7
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ เพียงแค่ค�ำว่า “ชุมทาง” ก็ชวนให้นึกถึงเส้นทางที่มาชุมนุมกัน
และพาหนะทีม่ าตามเส้นทางเหล่านัน้ ก็คอื รถไฟ ดังค�ำเคยคุน้ ทีไ่ ด้ยนิ การขานชือ่ สถานีชุมทางต่างๆ เมื่อรถไฟหยุดรับส่งผู้โดยสาร แม้ “ชุมทางตลิง่ ชัน” จะเป็นชือ่ สถานีรถไฟแห่งหนึง่ ในพืน้ ทีเ่ ขตตลิง่ ชัน ของกรุงเทพมหานคร หากแต่โดยรวมแล้ว หนังสือ ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ มิได้มุ่งจะน�ำเสนอเรื่องราวของรถไฟ หรือบริเวณสถานีรถไฟ ชุมทางตลิง่ ชันเป็นหลัก การตัง้ ชือ่ โดยมีค�ำว่า “ชุมทาง” รวมอยู ่ หมายให้ได้ความ ถึงเรื่องราวต่างๆ จากหลายทิศหลายทาง หลายยุคสมัย ที่มาชุมนุมกันในพื้นที่ ตลิ่งชัน เสมือนเป็น “บันทึกตลิ่งชัน” ชุมทางตลิง่ ชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ เริม่ ปูพนื้ ให้ผอู้ า่ นรูจ้ กั ตลิง่ ชัน ตั้งแต่ต�ำนานที่เล่าขานกันมาจากรุ่นสู่รุ่น หลักฐานเอกสารที่เคยปรากฏชื่อย่าน ในตลิ่งชันครั้งอดีต วิถีชีวิตชาวนา-ชาวสวน ชุมชนคนจีน แม่น�้ำล�ำคลองที่เป็น เส้นทางสัญจรหลักของคนไทยมาเนิ่นนาน ครั้นพื้นที่ตลิ่งชันได้รับการก�ำหนดให้เป็น “อ�ำเภอ” นับแต่สมัยรัชกาล ที ่ ๕ ความเจริญของบ้านเมืองและเหตุการณ์ส�ำคัญหลายๆ ด้านก็ถกู จารึกร่องรอย ไว้ ณ พื้นที่นี้ ทั้งการเกิดขึ้นของโรงเรียน การมาถึงของทางรถไฟ ชีวิตในสมัย สงครามโลก เหตุการณ์น�้ำท่วมใหญ่ การปรับแปลงที่นาให้กลายเป็นสวนผลไม้ ฯลฯ เมื่อตลิ่งชันเปลี่ยนจากอ�ำเภอของจังหวัดธนบุรี มาเป็นเขตหนึ่งในการ ปกครองของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ภาพชีวิตชาวสวนแบบ ดั้งเดิมที่แทบปลาสนาการไปจากชุมชนไทยทั้งในและนอกกรุงก็ยังมีให้เห็นได้ ในเขตตลิ่งชัน แม้สวนผลไม้จะเปลี่ยนไปเป็นสวนผักและ “สวนต้มย�ำ” แต่เรือ พายขายสินค้าตามล�ำคลองสายต่างๆ ยังคงอยู่ พืชผลการเกษตรจากสวนของ ตลิ่งชันก็ยังคงถูกขนส่งมาหล่อเลี้ยงชีวิตชาวเมืองหลวง ประหนึ่งว่าตลิ่งชัน คือสวนครัวของชาวกรุง และแม้ถนนใหม่จะน�ำพาหมู่บ้านจัดสรรมาประชิดติด ขอบสวน ติดก�ำแพงวัด แต่ตลิง่ ชันก็ยงั คงมีเสน่หใ์ นฐานะ “ทีด่ นิ ประเภทอนุรกั ษ์ ชนบทและเกษตรกรรม”
8
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
ชุมทางตลิง่ ชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ ยังได้บนั ทึกเรือ่ งราวของวัดวา อารามในเขตตลิ่งชันไว้อย่างครบถ้วน ภาพถ่ายจ�ำนวนไม่น้อยที่น�ำมาลงตีพิมพ์ ไว้ในหนังสือเล่มนีม้ อี ายุกว่า ๔๐ ปี และสิง่ ปลูกสร้างในภาพบางภาพก็หาไม่พบ อีกแล้ว แน่นอนทีส่ ดุ ว่าตลาดน�ำ้ ในตลิง่ ชันทีม่ อี ยูถ่ งึ ๔ แห่ง และกลายเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวยอดนิยมในวันหยุดของชาวเมืองกรุงก็ได้รับการน�ำเสนอไว้ในหนังสือ เล่มนี้ด้วยเช่นกัน ในฐานะปรากฏการณ์ล่าสุดแห่งยุคสมัย ตลิ่งชันอาจไม่ใช่ตัวแทนทั้งหมดของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกรุงเทพ- มหานคร และย่อมมิอาจนับเป็น “ชุมชนตัวอย่าง” อันสมบูรณ์แบบในทุกทาง แต่ ก็มิอาจปฏิเสธได้ว่าตลิ่งชันคือส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯ ของประเทศไทย และของ วิถีชีวิต “แบบไทยๆ” ที่มีเรื่องราวมากมายมาชุมนุมกัน หากเปรียบกับรถไฟแล้ว ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ คงเป็นเสมือนสถานีต้นทางของเรื่องราวมหาศาลในพื้นที่อันมีประวัติศาสตร์ เก่าแก่ยาวนานกว่า ๕๐๐ ปีแห่งนี้
บรรณาธิการเล่ม
9
จากผู้เขียน ในปี ๒๕๔๗ ผู้เขียนทั้งสอง คือวิชญดา ทองแดง และศรัณย์
ทองปาน ได้รับทุนจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) เมื่อครั้ง ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ด�ำรงต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการ เพื่อให้ จัดท�ำ “โครงการส�ำรวจเพื่อสร้างฐานข้อมูลวัดในเขตตลิ่งชัน” อันเป็นเขตพื้นที่ ที่ ศมส. ตั้งอยู่ การเก็บข้อมูลเป็นเวลาเกือบสองปีส�ำหรับโครงการดังกล่าวมีผลส�ำเร็จ ออกมาเป็นตัวเล่มรายงานที่ผู้เขียนน�ำเสนอต่อทาง ศมส. ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ปลายปีเดียวกันนั้น ผู้เขียนได้สรุปความจากบทน�ำของรายงานฉบับ ดังกล่าว และเพิ่มเติมให้เป็นบทความขนาดสั้นชื่อ “ชุมทางตลิ่งชัน” ตีพิมพ์ใน วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๙) และนั่นดูเหมือนจะเป็นครั้งแรกและเพียงครั้งเดียวที่ข้อมูลชุดนั้นได้ รับการ “เผยแพร่” ออกสู่สาธารณชน แต่แล้วอีก ๒-๓ ปีต่อมา ผู้เขียนพบ (ด้วยความประหลาดใจ!) ว่ามีผู้ ถ่ายเอกสารรายงานฉบับดังกล่าวทั้งเล่ม จากห้องสมุดของ ศมส. มาวางไว้เป็น ท�ำนอง “หนังสืออ้างอิง” ให้ผสู้ นใจเปิดอ่าน ณ “พิพธิ ภัณฑ์” แห่งหนึง่ ของตลาด น�้ำคลองลัดมะยม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ผู้เขียนจึงคิด (อย่างเข้าข้างตัวเอง) ว่านีเ่ ป็นการส่อแสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยทีส่ ดุ การรวบรวมข้อมูลและเรือ่ งราวของ “ตลิง่ ชัน” ในครัง้ นัน้ ก็ยงั เป็นทีส่ นใจของคนในท้องถิน่ พร้อมกันนัน้ ก็ยงั ถูกเลือก ให้เป็นตัวแทนในการเผยแพร่เรื่องราวของตลิ่งชัน - “บ้าน” ของพวกเขา - ให้แก่ สังคมภายนอกได้รับรู้กันด้วย นับแต่บัดนั้นมาจนถึงบัดนี้ เมื่อมีโอกาส ผู้เขียนยังคงแวะเวียนไปตาม วัดวาอารามต่างๆ ในตลิง่ ชัน ทัง้ ยังได้ไปกราบนมัสการเจ้าอาวาสและพระสงฆ์ บางรูปที่เคยได้รู้จักอีกหลายครั้ง สถานที่บางแห่งเหมือนเดิมมิผิดเพี้ยนจาก เมื่อได้พบเห็นครั้งแรกราวกับเวลาถูกแช่แข็งให้หยุดนิ่งอยู่กับที่ หากอีกส่วนหนึ่ง เราก็ได้พบเห็นความเปลีย่ นแปลงต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ กับพืน้ ทีย่ า่ นตลิง่ ชันทัง้ ในระดับ ค่อยเป็นค่อยไป และระดับรุนแรง เรือ่ งราวเหล่านีส้ ว่ นหนึง่ ได้ทยอยบอกเล่าผ่าน เว็บไซต์ของวารสารเมืองโบราณ (www.muangboranjournal.com) ไปบ้างแล้ว เราจึงคิดกันว่าควรหาทางจัดพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลและภาพถ่ายที่เคยบันทึกไว้
10
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
ตลอดช่วงเกือบ ๑๐ ปีทผี่ า่ นมา เพือ่ เป็นหลักฐานของยุคสมัย และเป็น “จุดตัง้ ต้น” ให้แก่ผู้สนใจเรื่องราวท�ำนองเดียวกันนี้ และด้วยความสนับสนุนจาก “ผูใ้ หญ่” ของบริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด (ซึง่ เป็นผูบ้ งั คับบัญชาโดยตรงของผูเ้ ขียนด้วย) หนังสือ ชุมทางตลิง่ ชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ จึงได้รับการตีพิมพ์ออกมาดังที่เห็นอยู่นี้ แน่นอนว่าย่อมมีบางส่วน คล้ายคลึงกับรายงานที่เคยน�ำเสนอศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) หากแต่เนื้อหาสาระเหล่านั้นได้รับการเรียบเรียง หรือ “คลี่คลาย” ใหม่ส�ำหรับ ผูอ้ า่ นทีเ่ ป็นสาธารณชนทัว่ ไป รวมทัง้ ยังมีขอ้ มูลเพิม่ เติมเปลีย่ นแปลงไปหลังจาก พ.ศ. ๒๕๔๙ อีกมาก บางประเด็นก็เป็นข้อค้นพบใหม่ หรือความเปลี่ยนแปลง ที่ เ กิ ด ขึ้ น เมื่ อ ไม่ กี่ ป ี ม านี้ เช่ น การค้ น พบศิ ล าจารึ ก ที่ ฐ านชุ ก ชี วั ด เกาะ โดย ดร.วรศักดิ์ พ่วงเจริญ / ใบเสมาหินทรายแดงของวัดตลิ่งชัน ที่ถูกเคลื่อนย้าย มาจากวัดร้างในจังหวัดนนทบุรี / ต�ำนาน “ผียายหวาน” ที่กล่าวขวัญกันว่าเป็น “แม่นาคตลิ่งชัน” / ประกาศพระราชทานวิสุงคามสีมาวัดเรไร จากราชกิจจานุเบกษา รัชกาลที่ ๕ / ความเฟื่องฟูของตลาดน�้ำย่านตลิ่งชันในปัจจุบัน ฯลฯ ขอกราบขอบพระคุณท่านเจ้าอาวาสและคณะสงฆ์ตามวัดต่างๆ ของ ตลิ่งชัน ขอบพระคุณคุณลุงคุณป้าคุณตาคุณยาย ตลอดจนพี่ๆ น้องๆ ชาว ตลิง่ ชันมากหน้าหลายตาทีม่ โี อกาสพูดคุยสอบถาม และให้ความช่วยเหลือเอือ้ เฟือ้ นานาประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องขอขอบพระคุณ ดร. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล อดีตผู้อ�ำนวยการ ศมส. ที่ให้ความสนับสนุนแก่โครงการส�ำรวจ เพื่อสร้างฐานข้อมูลวัดในเขตตลิ่งชันมาตั้งแต่ต้น รวมทั้งขอขอบคุณทางศูนย์ มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ที่สนับสนุนทุนในการเก็บข้อมูลระหว่าง ปี ๒๕๔๗-๒๕๔๙ แน่นอนว่า ชุมทางตลิง่ ชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ คงยังมิใช่บทสรุป แห่งเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของกรุงเทพฯ เพราะชีวิตผู้คน สังคม และ วัฒนธรรม ยังคงเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ผู้เขียนยังคงหวังว่าจะ ได้เห็น “เรือ่ งเล่า” ทีม่ าจากท้องถิน่ มาจากผูค้ น หรือแม้แต่พระภิกษุสามเณรใน ท้องถิน่ ตลิง่ ชัน (หรือหมายรวมไปถึงท้องถิน่ อืน่ ๆ ทัว่ ไปด้วยก็ได้) ทีจ่ ะมาช่วยกัน สร้างเสริมเติมต่อภูมิรู้เรื่องบ้านเมืองของเราให้ลุ่มลึกยิ่งๆ ขึ้นไป วิชญดา ทองแดง และ ศรัณย์ ทองปาน thyada@hotmail.com, tongpanui@hotmail.com ริมคลองผดุงกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ๑๑ กันยายน ๒๕๕๕
11
สารบัญ
๑๕ ๑๘ ๒๐ ๒๒ ๒๔ ๒๖ ๒๗ ๒๘ ๓๐ ๓๒ ๓๔
๓๕ ๓๖ ๓๘ ๔๐ ๔๒ ๔๓
ชุมทางตลิ่งชัน ที่นี่ตลิ่งชัน ริมฝั่งน้ำ� ตำ�นานพระเจ้าอู่ทอง คลอง ๕๐๐ ปี ! ยุคกรุงศรีฯ ฟื้นฟูบ้านเมือง พระบรมราชูปถัมภ์ แรกมี “ตลิ่งชัน” ทำ�สวนทำ�นา คลองมหาสวัสดิ์
๔๖ ๔๘ ๕๐ ๕๑ ๕๒ ๕๓ ๕๔ ๕๖ ๖๔
และการขยายพื้นที่นา
๖๖ ๖๘ ๗๐ ๗๒
พระอารามหลวง พระบาท – พระฉาย ชุมชนคนจีน ศาลเจ้าพ่อจุ้ย อำ�เภอตลิ่งชัน ชุมทางตลิ่งชัน
ที่ลุ่มทำ�สวน ที่ดอนทำ�นา โรงเรียนของหนู สงครามโลก น้ำ�ท่วมใหญ่ สลากภัตทุเรียน นายกสวน เขตปลดปล่อย ศิลปะในบางกอก จาก “อำ�เภอ” กลายเป็น “เขต”
ถนนมาแล้ว สวนอวสาน ความเฟื่องฟูของตลาดน้�ำ โฮมสเตย์ บ้านเก่า และงานแทงหยวก
๗๓ ตำ�นานพระเจ้าตาก ๗๔ ก่อนถึงวันพรุ่งนี้
12
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
๗๗
วัดในตลิ่งชัน
๗๘ ๘๑ ๘๖ ๙๐ ๙๗ ๑๐๑ ๑๐๗ ๑๑๒
แขวงคลองชักพระ วัดกาญจนสิงหาสน์ วรวิหาร วัดช่างเหล็ก วัดตลิ่งชัน วัดปากน้ำ�ฝั่งเหนือ วัดรัชฎาธิฐาน ราชวรวิหาร วัดเรไร เรื่องเล่ารอบวัด : แขวงคลองชักพระ
ผียายหวานที่วัดตลิ่งชัน
๑๑๔ ๑๑๗ ๑๒๒ ๑๒๕ ๑๒๘ ๑๓๒ ๑๓๗ ๑๓๘
แขวงฉิมพลี วัดกระจัง วัดทอง (บางระมาด) วัดพุทธจักรมงคลชยาราม วัดมณฑป วัดสมรโกฏิ วัดอังกุลา (ร้าง) เรื่องเล่ารอบวัด : แขวงฉิมพลี
ณ ชุมทางตลิ่งชัน
๑๔๐ แขวงตลิ่งชัน ๑๔๒ เรื่องเล่ารอบวัด : แขวงตลิ่งชัน
๑๔๗ ๑๕๓ ๑๖๑ ๑๖๓
ประเพณีชักพระกับวัดไก่เตี้ย วัดไก่เตี้ย วัดชัยพฤกษมาลา ราชวรวิหาร วัดนครป่าหมาก วัดน้อยใน
๑๖๘ แขวงบางเชือกหนัง ๑๗๑ เรื่องเล่ารอบวัด : แขวงบางเชือกหนัง
๑๗๒ ๑๗๙ ๑๘๓
ที่มาของชื่อ “บางเชือกหนัง” วัดเกาะ วัดทอง (บางเชือกหนัง) วัดพิกุล
๑๘๘ แขวงบางพรม ๑๙๑ เรื่องเล่ารอบวัด : แขวงบางพรม
๑๙๕ ๑๙๙ ๒๐๒ ๒๐๖ ๒๑๐ ๒๑๓ ๒๑๖
ศาลแม่โพสพริมคลองบางพรม : หลักฐานทุ่งนาฝั่งธนฯ วัดกระโจมทอง วัดแก้ว วัดเทพพล วัดประสาท วัดเพลง (กลางสวน) วัดศิริวัฒนาราม วัดสะพาน
๒๒๐ แขวงบางระมาด ๒๒๓ เรื่องเล่ารอบวัด : แขวงบางระมาด
๒๒๕ ๒๓๒ ๒๓๕ ๒๓๙ ๒๔๓ ๒๔๖
ยุคเรือรุ่งเรือง วัดจำ�ปา วัดโพธิ์ วัดมะกอก วัดอินทราวาส สำ�นักสงฆ์วัดโคกโพธิ์ราม สำ�นักสงฆ์วัดปู่เถร
13
อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
คลองมหาสวสั ดิ์
วัดชัยพฤกษมาลา ราชวรวิหาร
นผัก ถนนสว
ายใ ต
งบัว คลอ
แขวงตลิ่งชัน สถานีรถไฟตลิ่งชัน (ชุมทางตลิ่งชัน) ลี ฉมิ พ ถนน
ถนนบ
พง)
นนี
วัดนครปาหมาก
วัดตลิ่งชัน
นั งบางช ค ลอ
-ต นอย กอก บาง
คลองลัด
ถนน
นไทร
วัดเทพพล
แขวงบางเชือกหนัง
กว เงนิ ทอง ถนนแ
ยา
วัดประสาท
๓ ทิ วงศ ั สน รญ ซ อ ยจ
วัดแกว
แขวงบางพรม
ตลาดน้ำวัดสะพาน
วัดกระโจมทอง ถ
นน ป
า ก น้ำ-กระโจมทอง
วัดทอง (บางเชือกหนัง) ค ลองบางเชอื ก หนงั
วัดปากน้ำฝงเหนือ คลอง มอญ
วัดเกาะ
ุรี การธนบ ซอยพณชิ ย
ค ลองบางกอ กใ หญ
วัดพิกุล
เขตบางกอกนอย
ระ
วัดกาญจนสิงหาสน วรวิหาร วัดรัชฎาธิฐาน ราชวรวิ หาร ๕
ถนนวดั แกว
วัดเพลง (กลางสวน) วัดสะพาน
คลอ ง บางน อ ย
พฤกษ ถนนราช
คลอง ลดั ถ ม
ถนนบางพรม
คลอ งบางพรม
คลองลัดวดั ใหม
ถนนพทุ ธมณฑลสาย ๑
คล องลดั ม ะยม คลองลดั ตาเหนยี ว
วัดศิริวัฒนาราม
วัดอินทราวาส
เขตบางกอกใหญ
เขตภาษีเจริญ
๒๔๙
ตะลุย ๔ ตลาดน้ำ� ในตลิ่งชัน
๒๕๐ ๒๕๔ ๒๕๘ ๒๖๐
ลิ่งชัน
ถนนบางระมาด
บี าง กอ กน อ ย)
พ
ตลาดน้ำ คลองลัดมะยม
สำนักสงฆวัดโคกโพธิ์ราม
คลอง ชัก
แขวงบางระมาด
สำนักสงฆวัดปูเถร
แขวงคลองชักพระ
ศ นทิ วง จรัญส
กลั ยา
ตลาดน้ำตลิ่งชัน วัดกระจัง วัดทอง วัด วัด วัดอังกุลา (บางระมาด) สมรโกฏิ วัดมะกอก ทาง มณฑป (ราง) วัดจำปา วัดชางเหล็ก รถไฟสา คล อ งบางระมาด ยใต ตลาดน้ำวัดจำปา (จ ากส ถาน วั ด เรไร ะมาด คลอง บ า
วัดโพธิ์
ถนนบ างแว ก
ล อง บา
คลองชกั พร ะ สำนักงานเขตตลิ่งชัน
กนอย งกอ
ระ กั พ นช ถน
ค
สน. ตลิ่งชัน ถนนฉิมพลี
คลองบางร
เขตบางแค
วัดไกเตี้ย
ศมส.
เตยี้ วดั ไก คลอง
ถนนบรมราชชนนี
วัดนอยใน
านีหัวลำโ
ช รมราช
เขตบางพลัด
น
ถน
แดน
(จากสถ
สายใต ทางรถไฟ
แขวงฉิมพลี
ถนนกาญจนาภิเษก
ค ลอ งสว น
ช ั ยพ ฤกษ
ฟส
กษ
ทาง รถไ
วัดพุทธจักรมงคลชยาราม
ถน นรา ชพฤ
างตาล คลองบ
คลองศาลเจา
เขตทวีวัฒนา
ถนนกาญจนาภเิ ษก
ถนนสวนผัก
ตลาดน้ำ�ตลิ่งชัน ตลาดน้�ำ คลองลัดมะยม ตลาดน้�ำ วัดสะพาน ตลาดน้ำ�วัดจำ�ปา (อุทยาน ร.๓)
16
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
“คู่ขนานลอยฟ้า พาสู่ตลิ่งชัน” ทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี หนึ่งในเส้นทางหลักส�ำหรับการเดินทางสู่เขตตลิ่งชัน
17
“คู่ขนานลอยฟ้า พาสู่ตลิ่งชัน เขตขัณฑ์ไม้งาม ตลาดน�้ำขึ้นชื่อ เลื่องลือประเพณีชักพระ”
โรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เขียน ค�ำขวัญของเขตบนระเบียงชั้นสามของตึกด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ มองเห็นเด่นชัดแต่ไกล นี่อาจเป็นความรับรู้เรื่องตลิ่งชันของสังคมปัจจุบัน ทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี ที่เปิดใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ท�ำให้การสัญจรออกไปทางตะวันตกของกรุงเทพฯ สะดวก รวดเร็วขึน้ หรือตลาดน�ำ้ ๔ แห่ง คือตลาดน�ำ้ ตลิง่ ชัน ตลาดน�ำ้ คลอง ลัดมะยม ตลาดน�ำ้ วัดสะพาน และตลาดน�ำ้ วัดจ�ำปา (อุทยาน ร. ๓) สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วยอดนิยมในวันหยุดทีช่ าวกรุงสามารถจับจ่ายซือ้ หา ของกิน หรือต้นหมากรากไม้แปลกๆ ได้ บางคนอาจรูด้ ว้ ยว่าสถานีขนส่งสายใต้ ส�ำนักงานขนส่งของ กรุงเทพฯ ฝัง่ ตะวันตก ทีจ่ ะต้องไปต่อทะเบียนรถ รวมถึงร้านอาหาร ชื่อดังอีกหลายแห่งก็ตั้งอยู่ในเขตตลิ่งชัน ที่จริงแล้ว ตลิ่งชันยังมีอีกหลากหลายเรื่องราวที่น่ารู้ น่า สนใจ น่าค้นหา
18
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
ที่นี่ตลิ่งชัน ตลิง่ ชันคือชุมชนชาวสวนโบราณทีอ่ ยูอ่ าศัยสืบเนือ่ งกันมาหลายร้อยปี ก่อนหน้าการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็น ย่านเก่าในกรุงเทพฯ ที่เก่าแก่กว่าตัวเมืองกรุงเทพฯ เองเสียด้วยซ�้ำ ตามความเชือ่ ท้องถิน่ ทีน่ เี่ คยเป็นทัง้ ทางผ่านในการอพยพ ผูค้ นของพระเจ้าอูท่ อง กษัตริยใ์ นต�ำนาน และเส้นทางเดินทัพกูบ้ า้ น กู้เมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ตลิ่งชันยังนับเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรม เต็มไปด้วยวัดวา อารามงดงาม มีพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์น่าเคารพเลื่อมใส เป็นแหล่งรวมพระเกจิอาจารย์จากส�ำนักที่ขึ้นชื่อว่าเข้มขลังในทาง พุทธคุณ ผู้คนในถิ่นนี้มีคติความเชื่อ ประเพณี และวิถีปฏิบัติของ ตัวเอง รวมทั้งยังมีสถานที่น่าเที่ยวอื่นๆ มากกว่าที่รู้กันแพร่หลาย ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ อยู่ห่างจากใจกลางเมืองกรุงเทพฯ สมัยใหม่เพียงนิดเดียว!
ตลิ่งชันเป็น ๑ ใน ๕๐ เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ทาง “ฝั่งธนบุรี” หรือฝั่งตะวันตก ของแม่นำ�้ เจ้าพระยา มีเนือ้ ทีเ่ กือบ ๓๐ ตารางกิโลเมตร (ตร.กม.) มากเป็นอันดับที ่ ๑๕ ของ กรุงเทพฯ (อันดับหนึง่ คือเขตหนองจอก ๒๓๖ ตร.กม. และอันดับ ๕๐ คือเนือ้ ที ่ ๑.๔ ตร.กม. ของเขตสัมพันธวงศ์) แบ่งออกเป็น ๖ แขวง ได้แก่ แขวงคลองชักพระ ฉิมพลี ตลิ่งชัน บางเชือกหนัง บางพรม และบางระมาด จ�ำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ ณ เดือนมิถนุ ายน ๒๕๕๒ มีกว่าหนึง่ แสนคน บ้านเรือนกว่า ๓๓,๐๐๐ หลังคาเรือน เขตตลิ่งชันมีอาณาเขตทิศเหนือติดกับอ�ำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ทิศใต้ติด เขตภาษีเจริญ ทิศตะวันออกติดเขตบางกอกน้อยและเขตบางพลัด ทิศตะวันตกติดกับ เขตทวีวัฒนา
19
ชาวตลิ่งชันที่อยู่ตามคลองในสวนยังคงสัญจรด้วยเรือพาย
30
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
แรกมี “ตลิ่งชัน” ชุมชนชาวสวนย่านบางระมาดดังที่กล่าวถึงใน ก�ำศรวลศรีปราชญ์ ยังคงสืบเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ หมื่นพรหมสมพัตสร (มี) เมือ่ ครัง้ เดินทางไปเก็บอากรทีเ่ มืองสุพรรณในสมัยรัชกาลที ่ ๓ เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๓๘๗ ร�ำพันไว้ใน นิราศสุพรรณ เมื่อถึงบางระมาดว่า ชีวิตประจ�ำวันของชาวสวนบางระมาด (ภาพ : นิตยสารสารคดี ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓)
31
บรรลุถึงบางระมาดอนาถจิต นิ่งพินิจนึกในน�้ำใจประสงค์ เคยจดจ�ำส�ำคัญไว้มั่นคง ด้วยพันธุ์พงศ์พวกพ้องในคลองมี มาเป็นเพื่อนเจ้าบ่าวคราวขันหมาก เพื่อนก็มากมาประมวลอยู่สวนศรี เพราะผู้หญิงตลิ่งชันขยันดี เขาจึงมีเมียสวนแต่ล้วนงาม นิราศสุพรรณ ยังอาจถือเป็นหมุดหมายส�ำคัญที่ปรากฏ ค�ำเรียกชื่อย่านนี้รวมๆ กันว่า “ตลิ่งชัน” ด้วย แม้จะยังไม่แน่ชัดว่า นามนีม้ ที มี่ าอย่างไร หรือเริม่ เรียกกันมาตัง้ แต่ครัง้ ไหน พระมหาธวัช โพธิเสวี เจ้าอาวาสวัดตลิ่งชัน ให้ทัศนะว่า
“คลองชักพระเป็นแม่น�้ำเจ้าพระยาเก่า สังเกตดูว่าฝั่งนี้ (ฝั่งวัดตลิ่งชัน) มีวัดอยู่ วัดต่างๆ จะอยู่ทางฝั่งนี ้ คงเป็นฝั่งแม่น�้ำเก่า ตะกอนแม่น�้ำไปตกข้างโน้น (ฝั่งตรงข้ามวัด) ฝั่งโน้นเป็นดินงอกใหม่ ไม่มีวัดเลย... ถึงเดี๋ยวนี้ทางโน้นก็ยังเป็นที่ต�่ำ น�้ำท่วมทุกปี ทางฝั่งนี้เป็นที่สูงกว่า อาจจะเป็นที่มาของชื่อตลิ่งชัน”
56
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
ศิลปะในบางกอก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ น. ณ ปากน�ำ้ (ประยูร อุลชุ าฎะ พ.ศ. ๒๔๗๑ - ๒๕๔๓) ศิลปินและนักประวัติ- ศาสตร์ศิลปะคนส�ำคัญ ออกเดินทางส�ำรวจวัด ต่างๆ ทางฝัง่ ธนบุร ี (ซึง่ หมายรวมถึงวัดส่วนใหญ่ ของตลิ่งชันด้วย) ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึง เดือนกรกฎาคม โดยมิได้หยุดพักเลยแม้แต่วัน เดียว เขาบันทึกไว้ในรายงานผลการส�ำรวจ คือหนังสือ ศิลปในบางกอก ซึง่ ตีพมิ พ์ในปีถดั มาว่า “เนือ่ งจากเป็นฤดูฝนจึงค่อนข้างล�ำบาก บาง ครั้งก็ต้องลุยโคลนเข้าไปในสวนลึกเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร บางทีก็หลงทาง และหลายครั้งต้องเดินตากฝนตามทางเดินในสวน ซึ่งไม่เคยไปมาก่อน เป็นการเดินทางอันทุลักทุเลที่สุด...” ในมุมมองของ น. ณ ปากน�้ำ พบว่าพื้นที่แถบตลิ่งชันน่า จะมีอายุเก่าแก่ขนึ้ ไปถึงสมัยอยุธยาตอนต้น ดังมีหลักฐานพระพุทธ- รูปสมัยอยุธยาตอนต้นที่วัดแก้ว และวัดสะพาน ซึ่งในทัศนะของเขา ล้วนเป็นวัดที่มีมาก่อนขุดคลองลัดบางกอกสมัยพระชัยราชาทั้งสิ้น อันหมายความว่าในละแวกคลองบางพรม บางระมาด บางเชือกหนัง เป็นชุมชนทีม่ ผี คู้ นอยูอ่ าศัยมาแล้ว แต่ “สมัยนัน้ จะเรียกว่าเมืองอะไร ไม่มีใครรู้” ถัดมาในสมัยอยุธยาตอนกลางและปลาย น. ณ ปากน�้ำ พบร่องรอยศิลปะโบราณตกค้างอยูต่ ามวัดหลายแห่ง เช่นวัดตลิง่ ชัน วัดมณฑป วัดทองฉิมพลี วัดกระจัง วัดจ�ำปา วัดเงิน (วัดรัชฎา- ธิฐาน) วัดทอง (วัดกาญจนสิงหาสน์) วัดแก้ว วัดเทพพล วัดประดู่ (อินทราวาส) วัดเพลงกลางสวน (วัดเพรง) วัดสะพาน วัดพิกุล วัดนครป่าหมาก และวัดน้อยใน ทว่าวัดเหล่านี้ล้วนถูกปฏิสังขรณ์ มาอย่างหนักตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมา “จะหาศิลปะอยุธยาแท้ๆ ชม
57
อุโบสถวัดตลิ่งชัน ก่อนหน้าการบูรณะจนมีสภาพดังที่เห็นในปัจจุบัน
68
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
สวนเตย ใกล้วัดสะพาน
69
สวนอวสาน ถนนสายใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วง ๒๐ ปีมานี้ เปลี่ยนพื้นที่ย่านตลิ่งชัน ให้กลายเป็นพื้นที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการหลายแห่งขยับขยาย ออกมาเปิดส�ำนักงานตามริมถนนสายใหม่ เช่น ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร และมหาวิทยาลัยศิลปากร สถานีต�ำรวจนครบาลตลิ่งชัน หน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม ส�ำนักงานขนส่งฯ หรือ “ขนส่ง ๒” ของกรุงเทพฯ รวมทัง้ สถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่ทยี่ า้ ยจาก “สายใต้ ใหม่” ริมคลองชักพระตรงข้ามวัดไก่เตี้ย มาอยู่ริมถนนบรมราชชนนี ในเขตตลิ่งชัน เรือกสวนและชุมชนชาวสวนค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยหมู่บ้าน จัดสรร และแม้จะมีนโยบายในอันที่จะรักษาพื้นที่ตลิ่งชันไว้ให้เป็น “ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม” หรือที่เรียกในภาษา ผังเมืองรวมว่าเป็น “เขตสีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว” ของ กรุงเทพมหานคร ทว่าถนนสายใหม่เหล่านี้ล้วนมีบทบาทส�ำคัญใน การเปลี่ยนสภาพพื้นที่สวนเดิม เมือ่ ผนวกกับน�ำ้ ท่วมซ�ำ้ ซากตัง้ แต่ชว่ ง พ.ศ. ๒๕๑๘, ๒๕๒๑, ๒๕๒๖ จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๗ - ๒๕๓๘ ท�ำให้การเกษตรกรรมในเขต ตลิง่ ชันเริม่ ลดน้อยลงเป็นล�ำดับ นาข้าวค่อยๆ หายไป แม้วา่ อาจยัง เหลืออยูบ่ า้ งในพืน้ ทีข่ องเขตทวีวฒ ั นา ซึง่ แยกตัวออกไปจากเขตตลิง่ ชัน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ แต่ในพื้นที่เขตตลิ่งชันปัจจุบัน ไม่มีนาข้าว เหลืออยู่อีกต่อไปเช่นเดียวกับสวนผลไม้ที่ค่อยๆ เลิกรา คงเหลือ สวนไม้ล้มลุก เช่น ข่า ใบเตย ผักนานาชนิด หรือไม่ก็สวนกล้วยไม้ ชาวสวนตลิ่งชันจ�ำนวนไม่น้อยที่ยังมีใจอยากท�ำสวน ต่างก็ต้อง หาทางขยับขยายไปยังเขตรอบนอกถัดออกไปอีก เช่นนครปฐมและ ราชบุรี
70
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
ความเฟื่องฟูของตลาดน�้ำ ความเปลี่ยนแปลงสำ�คัญในราว ๑๐ กว่าปีมานี้ก็คือการเป็นแหล่ง ท่องเที่ยว ที่จริง เริ่มมีหนังสือนำ�เที่ยวทางน้ำ�ที่กล่าวถึงย่านคลอง ชักพระ คลองบางระมาด คลองบางพรม คลองบางเชือกหนังมา ตั้งแต่เมื่อกว่า ๓๐ ปีมาแล้ว แต่ขณะนั้นการท่องเที่ยวตามลำ�คลอง ทำ�นองนีย้ งั เป็นกิจกรรมเฉพาะนักท่องเทีย่ วฝรัง่ ต่างชาติเป็นหลัก ในทศวรรษ ๒๕๔๐ การท่องเที่ยวช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ในบรรยากาศย่านตลาดเก่าผนวกรวมด้วยการทำ�บุญทำ�ทานเป็น กิจกรรมที่ได้รับความนิยมในหมู่คนเมือง ความเติบโตของบรรดา ตลาด (ริม) น้ำ� อย่างเกาะเกร็ด (จังหวัดนนทบุรี) ตลาดดอนหวาย ตลาดน�ำ้ คลองลัดมะยม ในระยะแรกเริ่มด�ำเนินการ (ภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘)
71
(จังหวัดนครปฐม) ตลาดสามชุก (สุพรรณบุรี) และตลาดอัมพวา (สมุทรสงคราม) โดยเฉพาะอย่างยิง่ ตลาดน้�ำ ตลิง่ ชัน (จัดโดยสำ�นัก งานเขตตลิง่ ชัน ร่วมกับประชาคมตลิง่ ชันทีข่ า้ งสำ�นักงานเขต ริมคลอง ชักพระ เริม่ ต้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ และมาฟืน้ ฟูใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑) กลายเป็นแรงจูงใจให้มีการจัดกิจกรรมตลาดน้ำ�และการท่องเที่ยว ทางน้ำ�ในลักษณะทำ�นองเดียวกันกับตลาดน้ำ�ตลิ่งชันขึ้นในที่อื่นๆ เช่น ตลาดน้ำ�คลองลัดมะยม ริมคลองลัดมะยม (เริ่มเปิดดำ �เนิน การในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗) ตลาดน้�ำ วัดสะพาน (สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘) จนถึงตลาดน้�ำ วัดจำ�ปา “อุทยาน ร. ๓” เริม่ ต้นติดตลาด เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วัดริมน้ำ�หลายแห่ง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในเส้นทาง “ทัวร์เรือ” ของตลาดน้ำ�ต่างๆ อาทิ เรือหางยาวท่องเที่ยวจากตลาดน้�ำ ตลิ่งชัน จะจัดรายการทัวร์ไหว้พระเก้าวัด รายการทัวร์เรือเที่ยวคลองแวะวัดทำ�นองนี้ก็มีให้บริการที่ ตลาดน้�ำ คลองลัดมะยม และตลาดน้�ำ วัดสะพานเช่นกัน และในยุคทีค่ นรุน่ ใหม่หนั มาขีจ่ กั รยานเพือ่ การออกกำ�ลังกาย และการพักผ่อนมากขึ้น ก็ยังมีการประชาสัมพันธ์วัดวาอารามเรือก สวนของตลิ่งชันและพื้นที่ใกล้เคียงในฐานะเส้นทางท่องเที่ยวด้วย จักรยาน
นั งบางช ค ลอ
คล อ งบางระมาด
คลอ งบางพรม
วัดกาญจนสิงหาสน วรวิหาร วัดรัชฎาธิฐาน ราชวรวิ หาร ๕ วัดแกว ญั สนทิ วงศ ๓ ร ซ อ ยจ
กว เงินทอง ถนนแ
ยา
คลอง ลดั ถ ม
ถนนวดั แกว
วัดเพลง (กลางสวน) ตลาดน้ำวัดสะพาน
แขวงบางเชือกหนัง
วัดประสาท
ระ
วัดสะพาน
วัดในแขวง
วัดพิกุล
แขวงบางพรม วัดกระโจมทอง ถ
นน ป า ก น้ำ-กระโจมทอง คลองบ า งนอ ย
วัดทอง (บางเชือกหนัง) ค ลองบางเชอื ก หนงั
คลองชักพระ เขตภาษีเจริญ
วัดกาญจนสิงหาสน์ วรวิหาร วัดช่างเหล็ก วัดตลิ่งชัน วัดปากน�้ำฝั่งเหนือ วัดรัชฎาธิฐาน ราชวรวิหาร วัดเรไร
ระ งชกั พ คลอ
ัง
คลองบ า ง เช อื กห น
ถนนบางพรม
วัดเทพพล
คลอ ง บางน อ ย
พฤกษ ถนนราช
วัดอินทราวาส
คลองลัดวดั ใหม
วัดศิริวัฒนาราม
ถนนพทุ ธมณฑลสาย ๑
คล องลดั ม ะยม
ถนนบางระมาด
สำนักสงฆวัดโคกโพธิ์ราม
เขตบางกอกนอย
พ
ตลาดน้ำ คลองลัดมะยม
แขวงคลองชักพระ คลอง ชัก
แขวงบางระมาด
ทาง รถไ ฟส ายใ ต ( จาก สถ านบี างก อก นอ ย)
วัดชางเหล็ก
วัดเรไร
คลองบางระมาด
วัดโพธิ์
ตลาดน้ำตลิ่งชัน
ลิ่งชัน
วัดจำปา วัดทอง ตลาดน้ำวัดจำปา (บางระมาด)
วัด วัด วัดอังกุลา สมรโกฏิ มณฑป (ราง)
ศ นทิ วง จรัญส
กลั ยา คลองลัด
วัดกระจัง
ล อง บา
ชกั
-ต นอย กอก บาง
นไทร
น ถน
ถนน
คลอง บ า
ถนนฉิมพลี
กนอย งกอ
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ วัดมะกอก
เ ตยี้ งวัดไก วัดตลิ่งชัน คลอ คลองชกั พร ะ พระ
คลองบางชนั
ค
78
ถนนบรมราชชนนี
วัดเกาะ
ุรี การธนบ ซอยพณชิ ย
วัดปากน้ำฝงเหนือ คลอง มอญ เขตบางกอกใหญ
79
80
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
81
วัดกาญจนสิงหาสน์ วรวิหาร (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร)
ริมคลองบางพรมฝั่งเหนือ ๖๘๖ ถนนแก้วเงินทอง (ถนนฉิมพลี - วัดรัชฎาธิษฐาน เดิม) แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน www.watkarn.org
สิง่ ล�ำ้ ค่า พระอุโบสถหลังเดิมได้รบั การขึน้ ทะเบียนเป็นโบราณสถานส�ำคัญ ของชาติใน ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ และบูรณะโดยกรมศิลปากรในปี พ.ศ. ๒๕๕๑
ประวัติย่อ เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อ “วัดทอง” บ้างเรียกว่า “วัดทองบางพรม” เพราะอยู่ริม คลองบางพรม สร้างขึน้ ตัง้ แต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายโดยเจ้าขรัวทอง น้อง ของเจ้าขรัวเงิน พระภัสดา (สามี) ในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระ พี่นางเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้นเป็นพระอารามหลวง โดย สมเด็จพระรูปศิรโิ สภาคย์มหานาคนารีได้ทรงสถาปนาขึน้ ใหม่ทงั้ หมดจนถึงรัชกาล ที่ ๓ ได้ทรงปฏิสังขรณ์ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระราชทาน นามใหม่ว่า “วัดกาญจนสิงหาสน์” เจ้ า อาวาสรู ป ปั จ จุ บั น คื อ พระราชสุ ท ธิ ญ าณ (เฉลี ยว อุ ป ลวณฺ โ ณ) เจ้าคณะแขวงบางเชือกหนังเขต ๑ มีโรงเรียนในที่ดินวัดได้แก่โรงเรียนกาญจน- สิงหาสน์วิทยา (โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดส�ำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ) และโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (กาญจน- สิงหาสน์อุปถัมภ์) (กทม.)
138
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
เรื่องเล่ารอบวัด : แขวงฉิมพลี
ณ ชุมทางตลิ่งชัน
ในคราวทีค่ ณะราษฎร์ อันประกอบด้วยกลุม่ “นักเรียนนอก” ทีเ่ ป็นนายทหาร รุ่นหนุ่มและข้าราชการ ก�ำลังวางแผนยึดอ�ำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย แผนหนึ่ง ที่เตรียมการกันไว้ เรียกว่า “แผนตลิ่งชัน” เนื่องจากมีสถานีชุมทางตลิ่งชัน เป็นกุญแจส�ำคัญ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส (พ.ศ. ๒๔๔๓ - ๒๕๒๖) และ แกนน�ำของ “การอภิวัฒน์ ๒๔๗๕” เล่าถึงแผนนี้ไว้ว่า
ท่านปรีดีที่บ้านพักชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงท้ายของชีวิต (เอื้อเฟื้อภาพ : ฉลบชลัยย์ พลางกูร)
“วิธีอภิวัฒน์ของเรานั้นน่าจะท�ำได้โดยมิให้เลือดตกยางออกคือใช้ วิธียึดตัวผู้มีอ�ำนาจทางการเมืองและการทหารสมัยนั้นเป็นตัวประกัน เพื่อ แลกกับค�ำขอของคณะราษฎร์ ให้พระมหากษัตริยพ์ ระราชทานรัฐธรรมนูญ... ข้าพเจ้าจึงปรึกษาเพื่อนพลเรือนบางคน...และหัวหน้าฝ่ายทหารเรือให้
139
พิจารณาแผนการจับเสนาบดีทงั้ คณะทีโ่ ดยสารรถไฟไปประชุมทีว่ งั ไกลกังวล หัวหิน ทุกๆ ปลายสัปดาห์ระหว่างพระปกเกล้าประทับที่นั่น สมัยนั้นการ คมนาคมจากกรุงเทพฯ ไปหัวหินมีแต่ทางรถไฟที่สะดวกส�ำหรับเสนาบดี รถไฟทุกขบวนต้องหยุดที่ชุมทางตลิ่งชัน ซึ่งติดกับคลองที่แยกจากแม่น�้ำ เจ้าพระยาทีบ่ างกอกน้อย ดัง่ นัน้ ถ้าได้ทหารเรือเพียงหมวดเดียวคอยดักรถ ให้รถไฟหยุดแล้วเชิญเสนาบดีทงั้ คณะไปกักไว้บนเรือรบก็จะส�ำเร็จได้งา่ ย...” ต่อมามีการเปลี่ยนแผน “แผนตลิ่งชัน” จึงมิได้ถูกน�ำไปปฏิบัติ ชุมทางตลิง่ ชันจึงพลาดโอกาสทีจ่ ะได้มชี อื่ ปรากฏในประวัตศิ าสตร์การเมือง ไทยสมัยใหม่ไป แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ “ชุมทางตลิง่ ชัน” ได้กลายเป็นข่าวหนังสือพิมพ์ หน้าหนึง่ อยูห่ ลายวัน ในฐานะสถานทีเ่ กิดเหตุสะเทือนขวัญทัง้ ของชาวตลิง่ ชัน และส�ำหรับคนไทยทั่วประเทศ ๐๖.๒๔ น. วันที ่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ขบวนรถโดยสารที ่ ๑๗๖ (บ้านโป่ง – ธนบุร)ี บรรทุกนักเรียน ข้าราชการ พ่อค้าแม่คา้ มาอย่างแน่นขนัด ก�ำลังจะแล่นเข้าสู่สถานีชุมทางตลิ่งชัน ปรากฏว่าขบวนรถสินค้าที่ ๗๒๙ (ชุมทางบางซื่อ – ชุมทางทุ่งสง) ที่มีรถพ่วงในขบวน ๕๗ คัน ความยาว ๔๓๘ เมตร ได้แล่นตรงพุ่งเข้าชนขบวน ๑๗๖ เป็นเหตุให้รถพ่วงโดยสาร ตกรางทันที ๕ โบกี้ จากเหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตกว่า ๕๐ คน บาดเจ็บอีกนับร้อย นับเป็นอุบัติเหตุทางรถไฟครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของเมืองไทย อ้างอิง ปรีด ี พนมยงค์. “ระลึกถึงคุณหลวงสังวรยุทธกิจ (สังวร สุวรรณชีพ)” พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือตรี หลวงสังวรยุทธกิจ (สังวร สุวรรณชีพ). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, ๒๕๑๖. “อุบัติเหตุรถไฟชนกัน” สยามจดหมายเหตุ ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๔ (๑๗ – ๒๓ สิงหาคม ๒๕๒๒): ๙๓๒.
250
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
ตลาดน�ำ้ ตลิ่งชัน ริมคลองชักพระ หน้าส�ำนักเขตตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ เปิดวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. รถประจ�ำทาง สาย ๗๙ และ ๘๓ ตลาดน�ำ้ ตลิง่ ชันเริม่ เปิดด�ำเนินการเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ตามนโยบายของส�ำนักงาน เขตตลิ่งชัน ในสมัยที่นายประชุม เจริญลาภ เป็น ผู้อ�ำนวยการเขตตลิ่งชัน เดิม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์รวมผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของ ชาวสวนตลิง่ ชัน ต่อมาได้ปรับเปลีย่ นให้เป็นตลาดน�้ำ และสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ มีรายได้เพิ่มเติมในวันหยุด พ่อค้าแม่ค้ารุ่นแรกๆ ส่วนหนึ่งจึงเป็นเจ้าหน้าที่ พนักงาน หรือลูกจ้างของส�ำนักงานเขตตลิง่ ชัน และหลายคนก็ยงั ยืนหยัดค้าขาย มาตั้งแต่เปิดตลาด แต่ของขายอาจปรับเปลี่ยนไปบ้าง จุดเด่นของตลาดน�้ำตลิ่งชันคือแพขายอาหารที่ปรับจากแพไม้ไผ่ใน ยุคแรกมาเป็นแพเหล็กเรียงต่อกันนับสิบแพ มีเรือขายสินค้าเทียบขนาบ บนแพ มีที่นั่งรับประทานอาหารอย่างสะดวกสบาย ปัจจุบันอาหารทีไ่ ด้รบั ความนิยมคือ
251
อาหารทะเลต่างๆ อาทิ ปูนงึ่ ปลาเผา กุง้ เผา รองลงมาก็เช่น ส้มต�ำ ก๋วยเตีย๋ วเรือ หมีก่ รอบ ฯลฯ เหมาะแก่ครอบครัวเพือ่ นฝูงจะมารับประทานพบปะสังสรรค์และ พักผ่อนสบายๆ ในมือ้ กลางวันของวันหยุด รวมถึงพาเพือ่ นชาวต่างชาติมาสัมผัส บรรยากาศตลาดน�ำ้ แบบไทยๆ ในเมืองกรุง สองฝัง่ ถนนหน้าส�ำนักงานเขต ซึง่ ใช้เป็นทางเดินลงสูแ่ พ คือแผงจ�ำหน่าย พืชผักผลไม้ อาหาร และของกินเล่นต่างๆ ทั้งที่นิยมในปัจจุบัน และ “ขนม ย้อนยุค” บางอย่างมาจากสวนในตลิง่ ชันโดยตรง เราจึงได้เห็นผักบุง้ ผักกะเฉด ส้มซ่า มะกรูด หรือพืชผลตามฤดูกาลเช่น มะอึก ตะลิงปลิง มะปราง ฯลฯ ได้ ซื้อหาปลาทูต้มเค็ม มะพร้าวเผา นอกจากนี้ยังมีสินค้าจากชุมชนที่มีชื่อเสียง เช่น น�ำ้ ตาลปึกจากแม่กลอง ลอดช่องวัดเจษฯ จากสมุทรสาคร หรือใครจะเลือก ซื้อต้นไม้ พันธุ์ไม้ ก็ได้เช่นกัน พ่อค้าแม่ค้าในตลาดน�้ำตลิ่งชันแต่งตัวสะอาดเรียบร้อย สวมหมวก คลุม ผมและผ้ากันเปื้อนรูปแบบเดียวกัน บางเจ้าใส่เสื้อม่อฮ่อม สวมงอบแบบ ชุดชาวสวน เป็นฉากถ่ายรูปแสดงวิถีชีวิตไทยๆ อวดฝรั่งได้อย่างดี และหลาย คนเป็น “ชาวสวนตัวจริง” จึงสนทนาปราศรัยเรื่องสวนผักผลไม้และเรื่องตลิ่งชัน ได้อย่างออกรส
254
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
ตลาดน�ำ้ คลองลัดมะยม ถนนบางระมาด แขวงบางระมาด เปิดวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. www.facebook.com/KlongLadMayom
ตลาดน�้ำคลองลัดมะยมเริ่มเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยความร่วมมือของชาวชุมชนริมคลองลัดมะยม แกนน�ำคนส�ำคัญคนหนึง่ คือลุงชวน ชูจันท์ เจ้าของสวนเจียมตนที่เป็นลูกหลานชาวสวนตลิ่งชัน คลองลัดมะยมเป็นคลองลัดระหว่างคลองบางระมาดกับคลองบางพรม กว้างราว ๖ เมตร ยาวประมาณ ๒ กิโลเมตร วางตัวในแนวทิศเหนือ - ใต้ ช่วง แรกของการจัดตลาดน�้ำมีเพิงไม้ไผ่มุงจากปลูกเรียงกันริมฝั่งคลองไม่กี่หลัง มี เรือมุงหลังคาจากเตรียมไว้รองรับนักท่องเที่ยว พ่อค้าแม่ค้าได้รับค�ำชักชวน
255
ให้นำ� เรือพายมาจอดขายสินค้าแบบปากต่อปาก บางวันจึงมีคนขายของมากกว่า นักท่องเที่ยว แต่บางวันก็กลับกัน ทว่าด้วยบรรยากาศสบายๆ ไม่แออัด และยัง คงรักษาสภาพแวดล้อมเดิมๆ ไว้โดยไม่ปรุงแต่งมาก จึงค่อยๆ ได้รับความนิยม เพิ่มขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ หลังจากกระแสเทีย่ วตลาดเก่าในบ้านเมืองเรา ได้รบั การตอบรับอย่างดี ตลาดน�ำ้ คลองลัดมะยมเริม่ ปรากฏชือ่ เสียงด้วยการได้รบั รางวัลชุมชนท่องเที่ยวดีเด่น จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ความเฟื่องฟู ของตลาดน�ำ้ ก็ขยายขึน้ หลายเท่าตัว พืน้ ทีต่ ลาดแผ่ขยายไปทุกทิศทุกทาง ร้านรวง เพิ่มมากขึ้นจนแน่นขนัด สินค้าสารพัดสารพันมีให้เลือกสรรในทุกระดับ หาก วัตถุประสงค์เดิมข้อหนึ่งที่ตั้งไว้ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งตลาดน�้ำแห่งนี้ก็คือหวังให้ชาว ชุมชนร่วมใจกันอนุรกั ษ์แม่นำ�้ ล�ำคลองให้สะอาดอยูเ่ สมอ ก็นา่ จะได้ผลจริง เพราะ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ตลาดน�้ำแห่งนี้ได้รับรางวัลชมเชยการบริหารจัดการน�้ำโดย ชุมชนตามแนวพระราชด�ำริ จากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน�ำ้ และการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุกวันนี้ตลาดน�้ำคลองลัดมะยมนับเป็นตลาดน�้ำขนาดใหญ่และได้รับ ความนิยมสูงสุดในเมืองกรุง แบ่งเป็นหลายโซน นอกจากพ่อค้าแม่คา้ ชาวตลิง่ ชัน แท้ๆ ที่น�ำพืชผลและปรุงอาหารเลิศรสแบบพื้นบ้านมาจ�ำหน่ายแล้ว ยังมีคน ต่างถิ่นน�ำสินค้าชุมนุมกัน บางคนท�ำงานประจ�ำแต่ใช้เวลาว่างวันหยุดมาหา
ตลิ่งชันคือชุมชนชาวสวนโบราณที่อยู่อาศัยสืบเนื่องกันมาหลาย ร้อยปีก่อนหน้าการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นย่านเก่าในกรุงเทพฯ ทีเ่ ก่าแก่กว่าตัวเมืองกรุงเทพฯ เองเสียด้วยซ�้ำ ตลิง่ ชันยังนับเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรม เต็มไปด้วยวัดวา อารามงดงาม มีพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์น่าเคารพเลื่อมใส เป็นแหล่งรวมพระเกจิอาจารย์จากส�ำนักที่ขึ้นชื่อว่าเข้มขลังในทาง พุทธคุณ ผู้คนในถิ่นนี้มีคติความเชื่อ ประเพณี และวิถีปฏิบัติของ ตัวเอง รวมทัง้ ยังมีสถานทีน่ า่ เทีย่ ว อาทิ ตลาดน�ำ้ ตลิง่ ชัน ตลาดน�ำ้ คลองลัดมะยม และอื่นๆ อีกมากมาย มากกว่าที่รู้กันแพร่หลาย ทัง้ หมดทีก่ ล่าวมานี ้ อยูห่ า่ งจากใจกลางเมืองกรุงเทพฯ สมัยใหม่เพียงนิดเดียว!
ชุมทางตลิ่งชัน ย่านเก่า [ก่อน] กรุงเทพฯ
ราคา ๒๗๐ บาท
ISBN 978-974-7727-93-7
หมวดประวัติศาสตร์
๒๗๐.-
วิชญดา ทองแดง • ศรัณย์ ทองปาน