กว่าจะเป็นคนไทย

Page 1

ดร. ธิดา สาระยา

กว่าจะเป็ นคนไทย ดร. ธิดา สาระยา

ISBN 978-974-7385-49-6

ราคา ๒๒๐ บาท

อักษรศาสตรบัณฑิต (จุฬาฯ) อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (จุฬาฯ) M.A. Chinese History (Minnesota) Ph.D Early Southeast Asian & Thai History (Sydney) หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๒๕-๒๕๒๙) ประธานคณะกรรมการบริหาร หลักสูตร Thai Studies คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๓๐-๒๕๓๗) ประธานคณะกรรมการบริหาร หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๔๒-๒๕๔๔)

Becoming Tai : The Historical Basis of the Thai Nation

ดร. ธิดา สาระยา


ISBN 978-974-7385-49-6 หนังสือ กว่าจะเป็นคนไทย ดร. ธิดา สาระยา ผู้เขียน พิมพ์ครั้งที่ ๑ (โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ) มิถุนายน ๒๕๕๓ จำ�นวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๒๐ บาท ©สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด บรรณาธิการเล่ม อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ จำ�นงค์ ศรีนวล ออกแบบปก จัดรูปเล่ม นัทธินี สังข์สุข ควบคุมการผลิต ธนา วาสิกศิริ แยกสี/เพลท เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ที่ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด จัดจำ�หน่าย ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ธิดา สาระยา. กว่าจะเป็นคนไทย.--กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๓. ๒๑๒ หน้า. ๑. ไทย--ประวัติศาสตร์. ๒. กลุ่มชาติพันธุ์--ไทย. I. ชื่อเรื่อง ๙๕๙.๓ ISBN 978-974-7385-49-6

สำ � นั ก พิ ม พ์ เ มื อ งโบราณ (ในนาม บริ ษัท วิ ริ ยะธุ ร กิ จ จำ � กั ด )  ๒๘, ๓๐ ถนนปริ น ายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓  ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา  เสนอ นิลเดช พิชัย วาศนาส่ง  สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล  ผู้อำ�นวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ  บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์  อดุลยพิเชฏฐ์  ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

2 2

ดร. ธิดา สาระยา


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ ความเป็นคนไทยคืออะไร ?  คนไทยมีที่มาจากไหน ?  เหล่านี้ดูเป็นคำ�ถาม ที่ก่อให้เกิดทฤษฎีหรือแนวคิดหลายแนวทางที่มุ่งให้คำ�ตอบต่อคำ�ถามที่ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ “คนไทย” ดร. ธิดา สาระยา เสนอความคิดอีกแนวทางหนึ่งต่อความเป็น มาของคนไทยไว้ ในหนังสือ กว่าจะเป็นคนไทยเล่มนี้ด้วยประเด็น “ความ เคลื่อนไหว” ของชนเผ่าต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ ทางจีนตอนใต้และภาคเหนือของไทย  เป็นความเคลื่อนไหวที่ก่อเกิดการ ปะทะสังสรรค์ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของผู้คน อัน นำ�ไปสู่การรวมตัวและตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนและบ้านเมือง  ผู้เขียนได้ ศึกษาพัฒนาการการเติบโตของรัฐในที่ราบลุ่มเชียงใหม่-เชียงรายภายใต้ การนำ�ของพญามังราย “เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการ เคลื่อนไหวของชนเผ่าในอาณาบริเวณระหว่างภาคใต้และตะวันตกเฉียงใต้  ของจีน กับบ้านเมืองแว่นแคว้นที่เกิดขึ้นใกล้ทะเลหรือมีทางออกติดต่อ  ทะเล...”  การศึกษาของดร. ธิดาทำ�ให้เราได้เข้าใจถึง “ความเคลื่อนไหว ของผู้คนหลากหลายกลุ่ม”  เป็นแนวความคิดในการทำ�ความเข้าใจถึง ความเป็นมาและพัฒนาการของประวัติศาสตร์ชนชาติไทยที่ให้มิติของ “ผู้คน” ผู้เป็นส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์ไทย พร้อมกันนี้สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณขอขอบคุณ รศ. ดร. ดารารั ต น์   เมตตาริ ก านนท์   ที่ ไ ด้ ก รุ ณ าเอื้ อ เฟื้ อ ภาพประกอบบางส่ ว นของ หนังสือเล่มนี้ ซึ่งทำ�ให้หนังสือมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

กว่าจะเป็นคนไทย

สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ มิถุนายน ๒๕๕๓

3

3


สารบัญ คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ ๓

บทความนำ�เสนอ

ระนาบความคิดว่าด้วยทฤษฎีอพยพ ว่าด้วยปัญหาเชื้อชาติกับวัฒนธรรม “ชนชาติ” ในบริบททางประวัติศาสตร์

๖ ๘ ๑๓ ๑๗

กว่าจะเป็นคนไทย : ว่าด้วยพัฒนาการของชนชาติไต

๒๓

สภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ ในอินโดจีน คริสต์ศตวรรษที่ ๘-๑๒

๓๕ คริสต์ศตวรรษที่ ๘-๑๐ ๓๗ ๑. การขยายตัวของเมืองใกล้ฝั่งทะเลเข้าสู่ภูมิภาคภายใน ๓๗ ๒. บทบาทของหนานเจาที่มีต่อพัฒนาการทางสังคมของชนเผ่า ๔๐ คริสต์ศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ๔๖

สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดี ๖๗ ในที่ราบลุ่มเชียงใหม่และเชียงราย

เมืองพะเยา เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน

การเกิดรัฐเริ่มแรกสมัยพญามังราย

๗๕ ๗๗ ๗๙

การเคลื่อนไหวของชนเผ่าระหว่างบริเวณพม่าเหนือและเวียดนามเหนือ ชุมชนบ้านเมืองในพายัพประเทศ คริสต์ศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ การสร้างอำ�นาจทางการเมืองของพญามังราย

ท้ายบท เชิงอรรถ 4 4

๘๙ ๘๙ ๙๕ ๑๐๐ ๑๐๗ ๑๑๕

ดร. ธิดา สาระยา


Becoming Tai: The Historical Basis of the Thai Nation Introduction: On the Development of the Thai Nation Historical Environment in Indochina during the 8th-12th Centuries th

th

The 8 - the 10 Centuries 1. The inward expansion of coastal towns 2. The role of Nanchao in the social development of ethnic groups The 11th-12th Centuries

Geographical Environment and Archaeological Evidence in the Chiang Mai and Chiang Rai Flood Plains

Muang Phayao Muang Chiang Rai Muang Chiang Saen

127 131 141 142 143 146 151 156 163 164 166

Emergences of States During the Time of Phya Mangrai

Communities in Phayap Prades during the 12 -13 Centuries Phya Mangrai’s Establishment of Political Power

175 179 185

Epilogue Reference

192 199

กว่าจะเป็นคนไทย

5

th

th

5


บทความนำ�เสนอ ปัญหาเรื่องถิ่นกำ�เนิดของชนชาติไทยในสังคมการศึกษาไทยเป็นปัญหาที่ มีความสลับซับซ้อนใน ๒ นัย นัยแรก เป็นปัญหาว่าด้วยประเด็นการศึกษาเรื่องถิ่นกำ�เนิดของ ชนชาติไทโดยตรง ซึ่งปัจจุบันนี้ยังไม่อาจหาข้อยุติหรือคำ�ตอบที่จะเอื้อให้ เกิดการยอมรับร่วมกันได้ว่าแท้จริงแล้วถิ่นกำ�เนิดดั้งเดิมของชนชาติไทนั้น อยู่ที่ใด นัยหลัง เป็นประเด็นที่สัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปัญหา ประวัติศาสตร์ไทยโดยรวม เพราะเป็นเรื่องที่ยอมรับสืบทอดกันมาใน ระบบการศึกษาไทยว่า สาระและการศึกษาว่าด้วยถิ่นกำ�เนิดของชนชาติ ไทนี้ เ ป็ น องค์ ป ระกอบสำ � คั ญ ที่ ต้ อ งนำ � มาต่ อ ติ ด กั บ ประวั ติ ศ าสตร์ ข อง ยุคสมัยที่มีหลักฐานการปรากฏตัวของบ้านเมืองและการรวมตัวเป็นแว่น แคว้นหรืออาณาจักรที่ชัดเจน ดังกรณีรัฐน่านเจ้าหรือหนานเจา สุโขทัย และอยุธยาตามลำ�ดับ ทั้งนี้เพื่อสร้างภาพประวัติศาสตรที่สืบเนื่องและ เชื่อมต่ออดีตให้เข้าได้กับปัจจุบัน ถึงแม้ว่าต่อมาทฤษฎีที่ว่าหนานเจาเป็นอาณาจักรของชนชาติไท ได้ถูกหลักฐานประวัติศาสตร์จีนหักล้างไป แต่ความพยายามที่จะเชื่อม ต่อเรื่องถิ่นกำ�เนิดของชนชาติไทยเข้ากับประวัติศาสตร์ไทยไม่ได้สิ้นสุดไป ด้วย  ในทางตรงข้ามกลับเป็นต้นเค้าให้เกิดทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นแทนที่อีก หลายทฤษฎี  ฐานะทางวิชาการต่อปัญหาเรื่องถิ่นกำ�เนิดของชนชาติไทจึง มีความสำ�คัญที่ต่างไปจากประเด็นข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ที่ ยังคงหาข้อยุติไม่ได้ คุณค่าและความหมายที่สังคมมีให้กับประเด็นปัญหาเรื่องถิ่น กำ�เนิดของชนชาติไทในบริบททางประวัติศาสตร์ตามอรรถาธิบายข้างต้น ไม่ได้ถือกำ�เนิดขึ้นจากอากาศธาตุ แต่เป็นผลผลิตของการปรับเปลี่ยนและ สั่งสมทางภูมิปัญญาเป็นเวลาช้านานหลายศตวรรษ  กล่าวได้ว่ากระบวน การสืบค้นเพื่อให้ได้มาซึ่งคำ�ตอบถึงถิ่นกำ�เนิดของชนชาติไทเป็นตัวอย่าง

6 6

ดร. ธิดา สาระยา


หนึ่งของความพยายามที่เป็นสากลของมนุษยชาติ ที่มุ่งแสวงหาคำ�ตอบ ของภู มิ ห ลั ง และความเป็ น มาเพื่ อ สร้ า งความชอบธรรมต่ อ ฐานะที่ เ ป็ น ปัจจุบันแห่งตน  ความพยายามดั ง กล่ า วมั ก มี ป รากฏให้ เ ห็ น ในกลุ่ ม ผู้ ปกครอง ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่อ้างความชอบธรรมทางอำ �นาจ บทบาท และหน้าที่ ดูจะมีความสำ�คัญกว่าสมาชิกกลุ่มอื่นของสังคม พงศาวดารล้านช้างมีความตอนหนึ่งกล่าวว่า “แต่นั้นคนทั้งหลาย ฝูงเกิดมาในนํ้าเต้า ฝูงออกมาทางฮูสิ่วนั้นเป็นคนไทย ฝูงออกมาทางฮูชี  นั้นเป็นข้าคนฝูงนั้น ลวดเป็นข้อยเป็นไพร่เขาเจ้าขุนทั้งสามนั้นแล”  ขณะ ที่พงศาวดารพม่าก็ระบุไว้ชัดเจนว่า พระมหากษัตริย์ที่สืบสันตติวงศ์ (?) กันมาล้วนสืบสายวงศ์มาจากวงศ์ศากยะ ซึ่งเป็นวงศ์สกุลของเจ้าชาย สิทธัตถะหรือพระพุทธเจ้า  และหากจะสืบย้อนให้ลึกไปกว่านั้น ต้นกำ�เนิด ของวงศ์จะสืบต่อมาจากพระสมมติราชในคติพุทธศาสนา ส่วนหลักฐานของชนชาติไทในเขตลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาจะเป็น ทำ�นองเดียวกับของพม่า แต่จะมีการสอดแทรกคติอวตารของศาสนา พราหมณ์ปะปนไปด้วย  ในขณะที่ ห ลั ก ฐานในช่ ว งหลั ง นั บ จากยุ ค การ ปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยตามแบบอย่างตะวันตก สะท้อนสำ�นึกของผู้ ปกครองต่อประเด็นภูมิหลังและความเป็นมาของตนที่สัมพันธ์กับสังคม ต่างออกไป คือหันไปให้ความสำ�คัญต่อทฤษฎีแนวคิดตามแบบอย่างตะวัน ตก ที่วางอยู่บนพื้นฐานความเป็นเหตุเป็นผลที่ไม่ขัดกับหลักวิทยาศาสตร์ ควบคู่ไปกับการสร้างสำ�นึกร่วมทางการเมืองเพียงสร้างเอกภาพ (unity) ขึ้นในสังคม อันเป็นจุดเริ่มต้นของที่มาของการศึกษาเรื่องกำ�เนิดของ ชนชาติไท ที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้มีเป้าหมายจะลำ�ดับขั้นตอนพัฒนาการ ความคิดทางการเมืองว่าด้ ว ยภู มิ ห ลั ง ความเป็ น มาของผู้ ป กครองทาง ประวัติศาสตร์ แต่ต้องการมุ่งประเด็นไปที่ “ความต่าง” ของ “ระนาบ ความคิด” (paradigm) หรือโลกทัศน์ของคนในภาวะแวดล้อมและกาล เวลาที่ต่างกันต่อประเด็นปัญหาเดียวกัน คือว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับภูมิหลัง และความเป็นมาของเผ่าพันธุ์

กว่าจะเป็นคนไทย

7

7


หากพิจารณาแต่เพียงผิวเผินก็จะเข้าใจว่าปัญหาเรื่องถิ่นกำ�เนิด ของชนชาติไทมีความหลากหลายในเชิงทฤษฎี แท้ จ ริ ง แล้ ว ทฤษฎี ที่ ดู ค ล้ า ยจะมี อ ยู่ ด้ ว ยกั น มากมาย ไม่ ไ ด้ มี “ความต่าง” ในด้าน “ระบบความคิด”  เพราะทฤษฎีส่วนใหญ่ยังยึดติด กับแง่มุมมองและแนวคิดว่าด้วย “การอพยพย้ายถิ่น” (migration) ของ ชนชาติไทเป็นสำ�คัญ บทความนี้ไม่ได้มีเป้าหมายจะแจกแจงข้อต่างของทฤษฎีแต่ละ ทฤษฎี  แต่มุ่งจะศึกษา “ระบบความคิด” อันเป็นภาพรวมของทฤษฎี ต่าง ๆ  ทั้งนี้ด้วยเล็งเห็นว่าตลอดเวลาที่ผ่านมามากกว่าครึ่งศตวรรษ การศึกษาเรื่องการอพยพหรือไม่อพยพ หรืออพยพกันมาจากไหนเพียง เท่านั้น  แท้จริงได้เกิดการเปิดมิติหรือมุมมองใหม่ขึ้นบนเส้นทางการ ศึกษาเรื่องนี้ ดังปรากฏภาพลักษณ์ให้เห็นในเชิงการตั้งคำ�ถามพร้อมคำ� ตอบใหม่ ๆ บนระนาบความคิดหรือ paradigm ที่ต่างไปจากเดิม

ระนาบความคิดว่าด้วยทฤษฎีอพยพ

กาญจนี ละอองศรี ได้ตั้งข้อสังเกตว่าประเด็นปัญหาเรื่องถิ่น กำ�เนิดของคนไทมีทฤษฎีหรือกลุ่มความเชื่อที่ให้อรรถาธิบายแตกต่างกัน ไป ๕ กลุ่ม ทฤษฎีที่ ๑ เชื่อว่าถิ่นกำ�เนิดของคนไทอยู่บริเวณมณฑลเสฉวน ในบริเวณลุ่มนํ้าแยงซีเกียงทางตอนกลางของประเทศจีนปัจจุบัน  ก่อนจะ อพยพลงสู่แหลมอินโดจีน ทฤษฎีที่ ๒ เชื่อว่าถิ่นกำ�เนิดของคนไทอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต ก่ อ นจะถอยร่ น ลงมาเรื่ อ ย ๆ จนท้ า ยที่ สุ ด เข้ า สู่ ดิ น แดนประเทศไทยที่ สุโขทัย ทฤษฎีที่ ๓ อธิบายว่าถิ่นดั้งเดิมของคนไทกระจายอยู่ทางตอน ใต้ของจีน และบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา และรัฐอัสสัมของอินเดีย ทฤษฎีที่ ๔ เชื่อว่าถิ่นเดิมของคนไทยอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู

8 8

ดร. ธิดา สาระยา


และหมู่ เ กาะต่ า ง ๆ ในอิ น โดนี เ ซี ย  และค่ อ ย ๆ อพยพขึ้ น มาสู่ ดิ น แดน ประเทศไทยปัจจุบัน ทฤษฎีที่ ๕ เชื่อว่าถิ่นเดิมของคนไทอยู่บริเวณเนื้อที่ประเทศไทย ปัจจุบัน เห็นได้ว่าทฤษฎีทั้งหมดที่กล่าวมามีอยู่ถึง  ๓ ทฤษฎีที่อธิบาย ที่มาของชนชาติไทในแหลมอินโดจีนโดยผ่านแนวคิดเรื่อง “การอพยพ” หากถามว่าอะไรคือ “การอพยพ”? จากข้อมูลที่ประมวลขึ้นจากรายละเอียดตามทฤษฎีที่กล่าวมา ข้างต้นอธิบายความ “การอพยพ” คือการย้ายถิ่นฐานหรือภูมิลำ�เนาของ ผู้คนจากพื้นที่ทำ�กินหนึ่งสู่อีกพื้นที่หนึ่งอย่างเป็นการถาวร คือเมื่อมีการ ย้ายถิ่นฐานแล้วจะไม่ปรากฏการเคลื่อนย้ายเพื่อกลับคืนสู่ภูมิลำ�เนาเดิม อีก  ลักษณะของการอพยพจึงเป็นการเคลื่อนย้ายที่มีกระแสเดียว คือ หากไม่เป็นจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ ก็จะเป็นจากทางใต้ขึ้นสู่ทางเหนือ แต่จะไม่มีการ “ย้อนกระแส” เกิดขึ้น แต่ความสำ�คัญของทฤษฎีการอพยพไม่ใช่จะอาศัยดูกันแต่เรื่อง ที่ตั้งของถิ่นฐานดั้งเดิม  และเส้นทางที่ใช้อพยพเหล่านั้นเป็นเพียงองค์ ประกอบบางส่วนที่แฝงเร้นอยู่กับตัวทฤษฎี เรื่อง “การอพยพ” นี้แท้จริงเป็นเรื่องของ “การโยกย้าย” และ “การตั้งถิ่นฐาน”  เงื่อนไขทั้งสองประการนี้ได้ถูกพิจารณาควบคู่กันและ ถูกให้ภาพที่ดูราวกับจะมีความเป็นเหตุเป็นผลสืบเนื่องกันมาโดยตลอด หากแยกส่วนหนึ่งออกจากอีกส่วนหนึ่ง ทฤษฎีอพยพก็ดูจะไร้ความหมาย ลงในทันที หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าความแตกต่างในเรื่องตำ�แหน่งที่ตั้งถิ่น กำ�เนิดของคนไทที่แต่ละทฤษฎีหยิบยกขึ้นมากล่าวนั้น เป็นเพียงความ แตกต่างด้านรายละเอียดที่ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรต่อพื้นฐานทางความคิด และการรับรู้ร่วมว่าด้วยบูรณาการทางประวัติศาสตร์ของรัฐไทยโดยตรง เพราะประเด็นปัญหาที่ส่งผลกระทบนั้นไม่ได้เป็นประเด็นปัญหาในเชิง “พื้นที่”  แต่เป็นประเด็นปัญหาในเชิง “กรอบหรือมิติของเวลา” ที่กลุ่ม

กว่าจะเป็นคนไทย

9

9


ระนาบที่ ๒ เป็นการมองปัญหาที่ตัดประเด็นเรื่อง “เชื้อชาติ” ออกไป ขณะที่หันไปให้ความสนใจทางวัฒนธรรมและบูรณาการของบ้าน เมืองในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันของชนหลายกลุ่มเหล่าเป็นหลัก ระนาบที่ ๓ ไม่ได้ละเลยความสำ�คัญของ “การปะทะสังสรรค์” ทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชน แต่เห็นว่าแนวพินิจในระนาบทาง ความคิดที่ ๒ ยังขาดมิติทางประวัติศาสตร์ และเสนอว่ า  กุ ญ แจสำ � คั ญ อั น นำ � สู่ ค วามเข้ า ใจภู มิ ห ลั ง ความ เป็นมาของชนชาติไทคือ “ความเคลื่อนไหว” ซึ่ง  “การปะทะสังสรรค์” ทางวัฒนธรรมเป็นเพียง “ปรากฏการณ์หนึ่ง” ของสิ่งซึ่งเรียกว่า “ความ เคลื่อนไหว” นี้

22 22

ดร. ธิดา สาระยา


กว่าจะเป็นคนไทย :  ว่าด้วยพัฒนาการของชนชาติไต

งานค้นคว้าเรือ่ งนีแ้ สดงให้เห็นกระบวนการรวมตัวของ

กลุ่มชนกว่าที่จะเป็น “คนไทย” สร้างสำ�นึกร่วมทางชาติพันธุ์  มีวัฒนธรรมร่วมกันทางภาษาทีเ่ รียกว่า “ภาษาไทย” ในปัจจุบนั  และลักษณะร่วม ทางสังคมวัฒนธรรมอื่น ๆ  กระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกินเวลา นาน ก่อนที่จะสามารถจัดตั้งองค์กรทางการเมืองเป็นรัฐ นำ�ไปสู่บูรณาการ ทางการเมืองและสังคมชนชาติอันประกอบด้วยหลายชาติเผ่าพันธุ์ แต่ สามารถสื่อผ่าน “ภาษา” เพื่อทำ�ให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน  ไม่มีกลุ่ม ชาติพันธุ์บริสุทธิ์กลุ่มใดดำ�รงอยู่ในสังคมได้ โดยไม่เปลี่ยนแปลง  อีกทั้ง ลักษณะเฉพาะและสำ�นึกความเป็นชาติพันธุ์ของเผ่าพันธุ์ ใด ๆ ก็เป็นสิ่งที่ สร้างร่วมกันได้ ในสังคม  บนพื้นฐานความเข้าใจดังกล่าวทำ�ให้มองเห็น พัฒนาการรวมกลุ่มของเผ่าพันธุ์และกลุ่มชน เกิดเป็น “ชนชาติ” ซึ่งมี ความหมายกว้างขวางกว่ากลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ซึ่งเรานิยมใช้ เพียงภาษาเท่านั้นเป็นตัวกำ�หนด งานทางประวัติศาสตร์ชิ้นนี้หวังที่จะคลี่คลายความเป็นมาของ “ชนชาติไทย” ด้วยมุมมองที่ต่างออกไป การศึกษาเรื่องการเกิดบ้านเมืองในสยามประเทศแต่เดิมวางอยู่ บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า ชนชาติไต (The Tai Race) เคยมีอำ�นาจใน เมืองจีน  สามารถตั้งอาณาจักรยิ่งใหญ่คือน่านเจ้าหรือหนานเจา  ต่อมา

กว่าจะเป็นคนไทย

23

23


ถูกขับไล่ลงมาตั้งบ้านเมืองในเขตสยามประเทศ เกิดบ้านเมืองแว่นแคว้น เรียงลำ�ดับจากเหนือลงใต้ การศึกษาแนวทางดังกล่าวนอกจากใช้การค้นคว้าและงานเขียน ของชาวต่างประเทศเป็นหลักแล้ว ยังอ้างอิงเรื่องราวในตำ�นานประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเกี่ยวกับวีรบุรุษในตำ �นาน ซึ่งถูกสร้างขึ้นและมี ส่วนสร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่ชนชาติไต อาทิ พระเจ้าพรหมมหาราชผู้ สถาปนาแคว้นโยนก  พระร่วงผู้สถาปนากรุงสุโขทัย  ขุนเจื๋องผู้ขยาย อาณาเขตเชียงรุ้งสิบสองปันนา  และท้าวอู่ทองผู้สร้างกรุงศรีอยุธยา การศึกษาตามแนวทางดังกล่าวมิได้แตะต้องเรื่องพัฒนาการของ รัฐในภาคเหนืออย่างแท้จริง  หากเพียงแต่มุ่งเสนอกระบวนการคลี่คลาย ของประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์  และโดยเหตุที่ไม่สามารถปฏิเสธเรื่องราว ในตำ�นานอันเป็นหลักฐานเฉพาะของภูมิภาค  นักวิชาการด้านต่าง ๆ จึง พยายามศึกษาข้อมูลเหล่านี้ตามความเจนจัดของตน และสร้างเรื่องราว ปะติดปะต่อกัน  ทำ�ให้หลายฝ่ายมีความเห็นว่าเราจำ�เป็นต้องชำ�ระและ สอบค้นตำ�นานพงศาวดารเพื่อให้หลักฐานมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในการ ศึกษา  และให้ไปไกลถึงขั้นต้องมีการชำ�ระประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามการชำ�ระหลักฐานเอกสารเป็นเงื่อนไขสำ�คัญยิ่ง ในการศึกษาประวัติศาสตร์  ความพยายามในส่วนนี้ทำ�ให้เราได้รู้ว่าแม้ บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยมีตำ �แหน่งทางภูมิศาสตร์และรูปร่าง ลั ก ษณะอย่ า งใดก็ ต าม  แต่ ก ารมองของคนในอดี ต ซึ่ ง สะท้ อ นอยู่ ใ น เอกสารประเภทตำ�นาน ทำ�ให้เห็นว่า บริเวณล้านนาที่ประกอบด้วยที่ราบ เชี ย งใหม่  มี แ ม่ นํ้ า ปิ ง หล่ อ เลี้ ย งหุ บ ที่ ร าบลุ่ ม เชี ย งรายอั น เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของลุ่ ม นํ้ า โขง  รั ฐ ล้ า นนาระยะแรกเกิ ด จากการรวมชุ ม ชนบ้ า นเมื อ ง ในที่ ร าบลุ่ ม ทั้ ง สองนี้ เ ข้ า ด้ ว ยกั น  โดยการนำ � ของพญามั ง รายในปลาย คริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ การเสนอเรื่องราวรายละเอียดโดยพิจารณาอพยพโยกย้ายของ ชนเชื้อชาติไตจากเหนือลงใต้เป็นบรรทัดฐานนั้น มิได้ลงรอยกับเรื่องราว ในตำ�นานเอกสารนัก  จะเห็นได้ว่าตำ�นานเอกสารให้ภาพการเคลื่อนย้าย

24 24

ดร. ธิดา สาระยา


ของกลุ่มชนที่มีความเจริญกว่าไปยังดินแดนด้อยความเจริญที่เป็นป่าเขา ทางตอนในของฝั่งทะเลหรือลุ่มแม่นํ้าใหญ่ เช่น แม่นํ้าโขง ซึ่งหมายถึงว่า จะมีทั้งการเคลื่อนย้ายในแนวตั้งและแนวนอน  บางกรณีอาจเป็นจากใต้ ขึ้นเหนือ บางกรณีจากตะวันออกไปตะวันตก และในบางช่วงสมัยจาก เหนือลงใต้ เรื่ อ งราวเหตุ ก ารณ์ ทั้ ง หมดเหล่ า นี้ ย ากที่ จ ะกำ� หนดระยะเวลา แน่นอนลงไปได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ต่อเนื่องสัมพันธ์กันอย่างใด ยกเว้น ตำ�นานบางฉบับที่กล่าวถึงเหตุการณ์มีศักราชกำ�หนดแน่นอน  อันที่จริง แล้วเรื่องราวในตำ�นานขัดแย้งกับความเชื่อเรื่องการอพยพของชนเชื้อชาติ ไตอยู่มาก อาทิเช่น ตำ�นานชินกาลมาลีปกรณ์ และ ตำ�นานมูลศาสนา ที่ กล่าวถึงบ้านเมืองแว่นแคว้นก่อนตั้งเชียงใหม่ คือหริภุญชัยในที่ราบลุ่ม เชียงใหม่ ซึ่งภายหลังพญามังรายจากเชียงรายแผ่อำ�นาจเข้ามาครอบ ครองแล้วสร้างเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ก็เป็นเรื่องที่รับกับตำ�นานบางฉบับ ที่กล่าวว่า โคตรวงศ์ “ลาว” ของพญามังรายนั้นเคยตั้งหลักแหล่งอยู่บน ดอยตุงแล้วเคลื่อนย้ายลงสู่ที่ราบลุ่มเชียงราย ในบริเวณนี้เกิดบ้านเมือง ขึ้นในที่ราบหลายเมือง เช่น หิรัญนครเงินยาง พะเยา เชียงราย  ต่อมา พญามังรายผู้ครองเชียงรายได้รวบรวมเมืองต่าง ๆ ไว้ได้ก่อนขยายอำ�นาจ ยึดครองหริภุญชัย  ขณะเดียวกัน ตำ�นานสุวรรณโคมคำ� และ ตำ�นาน สิงหนวัติ กลับกล่าวถึงการเคลื่อนย้ายของพวกกร๋อมดำ�และกร๋อมจากฝั่ง ทะเลและฟากแม่นํ้าโขงขึ้นสู่ตอนใน ซึ่งมีชนเผ่าด้อยความเจริญตั้งชุมชน อยู่  ต่อมาบรรดาผู้คนเหล่านี้ได้ตั้งบ้านเมือง ที่สำ�คัญคือเมืองสุวรรณ โคมคำ� เมืองอุมงคเสลา เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัติ ซึ่งภายหลังจะเป็นที่มั่น ของชนชาติไตในลุ่มนํ้ากกซึ่งอพยพมาจากยูนนาน แสดงว่ามีการอพยพ โยกย้ายจากลุ่มนํ้าโขงตัดสู่ลุ่มนํ้ากกที่เชียงราย  บริเวณนี้ได้เกิดเมืองอีก เมืองหนึ่งชื่อ โยนกนาคพันธุ์ ในสมัยหลังมีวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่คือพระเจ้า พรหมมหาราช ผู้สร้างเวียงเชียงราย  เชื้อสายของพระเจ้าพรหมได้อพยพ ลงมาสร้างเมืองใหม่ทางใต้ เกิดเมืองไตรตรึงษ์ขึ้น ซึ่งมีประวัติความเป็น มาสืบเนื่องโยงใยกับเรื่องท้าวแสนปม และท้าวอู่ทองผู้สถาปนาเมือง

กว่าจะเป็นคนไทย

25

25


ภาพเก่าชาวข่าในชุดพื้นเมืองแบบลาว (ภาพจากหนังสือ In Laos and Siam)

58 58

ดร. ธิดา สาระยา


ภาพเก่าชนพื้นเมืองลาวที่เมืองปากเล (Paklay) เมื่อร้อยปีที่แล้ว (ภาพจากหนังสือ In Laos and Siam)

กว่าจะเป็นคนไทย

59

59


ภาพลายเส้นชาวญวนจากเวียดนาม (ภาพจากหนังสือ Travels on the Mekong)

60 60

ดร. ธิดา สาระยา


ภาพลายเส้นชาวม่านเส (Man Tse) (ภาพจากหนังสือ Travels on the Mekong)

กว่าจะเป็นคนไทย

61

61


ภาพเก่าเรือบรรทุกเกลือในแม่นํ้าดำ� ในอดีตเกลือเป็นสินค้าสำ�คัญ เป็นที่ต้องการของหลายชนเผ่าในจีนตอนใต้ ลาวตอนเหนือ และทางภาคเหนือของ ไทย (ภาพจากหนังสือ Travels in Upper Laos and on the Borders of Yunnan and Burma)

66 66

ดร. ธิดา สาระยา


สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ และหลักฐานทางโบราณคดี ในที่ราบลุ่ม เชียงใหม่และเชียงราย

การเกิดรัฐในลุ่มนํ้าปิงภายใต้การนำ�ของพญามังราย

ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ นั้น เป็นผลมาจากการรวมบ้านเมือง ในที่ราบลุ่มเชียงใหม่ทางตะวันตก กับที่ราบลุ่มเชียงรายที่อยู่ทางตะวัน ออก ที่ราบลุ่มเชียงใหม่มีแม่นํ้าปิงไหลหล่อเลี้ยงจากที่สูงทางเหนือ มายังที่ราบลุ่ม  ผ่านเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำ�พูน  ลงไปทางใต้ ในเขต จังหวัดตาก กำ�แพงเพชร และนครสวรรค์ตามลำ�ดับ  ในขณะที่บริเวณ ที่ราบลุ่มเชียงรายเป็นที่ราบลุ่มในเขตแม่นํ้าโขงที่มีลำ�นํ้าสายสำ�คัญหลาย สายไหลลงจากที่สูงทางตะวันตก ผ่านหุบเขาและที่ราบไปออกแม่นํ้าโขง ทางตะวันออก  ลำ�นํ้าเหล่านี้ได้แก่ ลำ�นํ้าแม่กก แม่ลาว แม่สาย แม่วัง และแม่อิง๔๒ ซึ่งล้วนแบ่งแยกให้บริเวณที่ราบลุ่มเชียงรายเกิดเป็นที่ราบ ลุ่มในหุบเขาเล็ก ๆ สลับซับซ้อน ไม่มีเอกภาพ อันเนื่องมาจากบริเวณนี้ มีลำ�นํ้าสายใหญ่ ๆ ไม่กี่สายไหลหล่อเลี้ยง อย่างเช่นในที่ราบลุ่มเชียงใหม่ เพราะฉะนั้นเมื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมในการตั้งหลักแหล่ง และการขยายตัวของชุมชนมนุษย์ ในระหว่างที่ราบทั้งสองแห่งนี ้ จึงมีความ แตกต่างกันมาก  พื้นที่ในที่ราบลุ่มเชียงรายแบ่งเป็นหย่อมตามลำ�นํ้าใหญ่

กว่าจะเป็นคนไทย

67

67


น้อย  ขณะที่ราบลุ่มเชียงใหม่มีบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าปิงยาวติดต่อกัน เหมาะแก่การขยายตัวของชุมชนบ้านเมืองและสั่งสมจำ�นวนประชากร  มี ศักยภาพที่จะเกิดเป็นศูนย์กลางหรือเมืองสำ�คัญได้ดีกว่าทางที่ราบลุ่ม เชียงราย ในขณะเดียวกันการไม่มีเอกภาพของที่ราบลุ่มเชียงรายอันเนื่อง มาจากการแบ่งย่อยซอยเป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว นั้น  ทำ�ให้ชุมชนบ้านเมืองแต่ละแห่งอยู่แยกจากกันโดยมีที่สูงและเทือก เขาขวางกั้น ไม่สะดวกต่อการคมนาคมและการรวมตัวให้เกิดมีศูนย์กลาง ที่เป็นเมืองสำ�คัญได้เท่ากับเมืองเชียงใหม่ในที่ราบลุ่มเชียงใหม่ นอกจากสภาพความเหมาะสมภายในแล้ว  ตำ�แหน่งที่ตั้ง ของ ที่ราบลุ่มทั้งสองในทางภูมิศาสตร์ก็มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบ้านเมือง ที่อยู่ภายนอกแตกต่างกันด้วย บริเวณที่ราบลุ่มเชียงใหม่อยู่ใกล้กับบ้านเมืองในเขตลุ่มแม่นํ้า เจ้าพระยาซึ่งอยู่ทางใต้ กับบรรดาบ้านเมืองในลุ่มแม่นํ้าสาละวินทางด้าน ตะวันตก  มีเส้นทางคมนาคมตามลำ�แม่นํ้าปิงไปติดต่อยังบ้านเมืองเหล่า นี้ได้ไม่ยาก  ในขณะเดียวกันที่ราบลุ่มเชียงรายถึงแม้ว่าจะอยู่ใกล้กับแม่น้าํ โขงซึ่งเป็นแม่นํ้าสายใหญ่ยาวที่ไหลผ่านบ้านเมืองต่าง ๆ จากเหนือลงใต้ ก็ตาม  แต่ตำ�แหน่งของที่ราบลุ่มเชียงรายกลับอยู่ในที่อับ และสัมพันธ์กับ ชุมชนบ้านเมืองทางด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นเพียง ชุมชนบ้านเมืองขนาดเล็กที่อยู่กระจัดกระจาย เพราะฉะนั้นเมื่อเปรียบเทียบถึงลักษณะและระดับความเจริญ รุ่งเรืองทางวัฒนธรรมระหว่างบรรดาบ้านเมืองทางด้านใต้และด้านตะวัน ตกของที่ราบลุ่มเชียงใหม่  กับชุมชนบ้านเมืองทางด้านตะวันออกและ ตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบลุ่มเชียงรายแล้ว  ก็จะพบว่าในช่วงเวลา คริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ นั้นบ้านเมืองทางด้านใต้และตะวันตกของที่ราบลุ่ม เชียงใหม่มีการรวมตัวและได้รับอิทธิพลทางศาสนาและอารยธรรมจาก อินเดียมาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ หรือก่อนหน้านั้น  ส่วนบรรดา บ้านเมืองที่อยู่ทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบลุ่มเชียง-

68 68

ดร. ธิดา สาระยา


ราย ส่วนใหญ่ผู้คนยังเป็นชนเผ่าที่เพิ่งรวมตัวกัน กระจายกันอยู่ตามที่ราบ และทีส่ งู   แม้วา่ บรรดาชุมชนเหล่านีจ้ ะมีการติดต่อกับบ้านเมืองทีเ่ จริญแล้ว ที่ห่างไกลออกไป เช่นกับทางเวียดนามและทางจีนตอนใต้ก็ตาม ก็หาได้ รับอารยธรรมจากศูนย์กลางความเจริญเหล่านั้น ในทำ�นองเดียวกันกับ บรรดาบ้านเมืองทางด้านใต้และตะวันตกของที่ราบลุ่มเชียงใหม่ไม่ หลักฐานทางโบราณคดีในที่ราบลุ่มเชียงรายและเชียงใหม่ที่ใช้ ใน การกำ�หนดอายุของศิลปวัฒนธรรมแตกต่างกัน  โดยทั่วไปนักโบราณคดี กำ�หนดอายุพระสถูปเจดีย์ พระพุทธรูป เทวรูป ลวดลายเครื่องประดับ เป็นสำ�คัญ บริเวณที่ราบลุ่มเชียงใหม่มีศาสนสถานและวัตถุ ตลอดจนศิลา จารึก ยืนยันให้เห็นว่ารัฐหริภุญชัยหรือลำ�พูนมีตัวตนอย่างแน่นอน และ มีอายุไม่น้อยกว่าคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑-๑๒  บรรดานักประวัติศาสตร์และ โบราณคดีจึงกำ�หนดอายุของรัฐนี้อยู่ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ (แม้ว่า หลักฐานทางเอกสารจำ�พวกตำ�นาน พงศาวดาร กล่าวถึงพัฒนาการของ บ้านเมืองเก่าไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๗ ก็ตาม)  ทำ�ให้เรือ่ งราวของพัฒนาการของรัฐตั้งแต่สมัยหริภุญชัยจนถึงช่วงเวลาที่พญามังรายสร้างนคร เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของบ้านเมืองในลุ่มแม่นํ้าปิงนั้นสอดคล้องและ ต่อเนื่องกันดี ทั้งเรื่องราวจากตำ�นานเอกสารและการตีความหลักฐาน โบราณคดี แต่ทางที่ราบลุ่มเชียงราย หลักฐานทางโบราณคดีที่ใช้กำ�หนด อายุเวลาของบ้านเมืองไม่มีอะไรที่อายุก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔  การอ้าง ถึงพัฒนาการของบ้านเมืองจึงเป็นเรื่องที่อ้างมาจากตำ�นานพงศาวดาร เท่านั้น  หลักฐานทางโบราณคดีที่นอกเหนือไปจากบรรดาศาสนสถานและ ศาสนวัตถุที่มีอายุตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ ลงมา ก็มีแต่บรรดาเครื่อง มือหินขัดและหินกะเทาะ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่บรรดานักโบราณคดีพากันให้อายุ เก่าแก่กว่าสองหรือสามพันปีขึ้นไปทีเดียว  ดูแล้วไม่เชื่อมต่อกับหลักฐาน ที่เป็นโบราณวัตถุที่มีอายุตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที ่ ๑๔ ลงมาเลย เมื่อขาดหลักฐานทางโบราณคดีของมนุษย์และชุมชนบ้านเมือง

กว่าจะเป็นคนไทย

69

69


“ล้านนา” หรือ “ลานนา” (เชียงใหม่, ๒๕๓๐) ๑๐๗ Yoshikasu Takaya, “An Ecological Interpretation of Thai History,” Journal of Southeast Asian History, 6, 2 (1975), pp. 190-195. ๑๐๘ นั ก มานุ ษ ยวิ ท ยาและนั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ห ลายท่ า นในปั จ จุ บั น มี ค วามเห็ น ว่ า  ระบบ เศรษฐกิจของสังคมที่มีความเสมอภาคจะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับของสังคม เกิดระบบ เศรษฐกิ จ แบบปั น ผลแจกจ่ า ยโดยผู้ นำ �   เมื่ อ สั ง คมนั้ น พั ฒ นาขึ้ น เป็ น สั ง คมที่ มี ค วาม แตกต่างทางฐานะของบุคคล ลักษณะการแลกเปลี่ยนแบบการค้าจะค่อย ๆ เกิดขึ้น  Jean Kennedy, “From Stage to Development in Prehistoric Thailand: An Exploration of the Origins of Growth, Exchange and Variability in Southeast Asia,” in Economic Exchange and Social Interaction in Southeast Asia, (Michigan, 1977), pp. 23-38. ๑๐๙ “พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน,” ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓, หน้า ๑๔๕-๑๔๗. ๑๑๐ “เรื่องราชวงศ์ปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน,” หน้า ๒๕๕-๒๕๖. ๑๑๑ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๒๕-๑๓๓; “พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน,” หน้า ๑๒๔๑๓๓, ๑๓๗-๑๓๘. ๑๑๒ สุชาติ ภูมิบริรักษ์, “อาณาจักรอ้ายลาว,” ใน สืบประวัติชาติไทย, หน้า ๑๗๑-๑๗๒, ๑๘๐, ๑๘๙-๑๙๐, ๑๙๑-๑๙๓.

126 126

ดร. ธิดา สาระยา


Becoming Tai: The Historical Basis of the Thai Nation Author’s Note for the Second Edition

This began as a study five years ago; it was originally presented at a seminar on The History of Lanna during the Mangrai Dynasty, organized by the University of Chiang Mai in January 1987. Originally called The Development of the Tai State in the North in the Reign of Phaya Mangrai, 1239-1311 A.D., the book was published as Becoming Thai: The Historical Basis of the Thai Nation by Suchit Wongsathes of the Art and Culture Publishing House. In that edition (May 1988), footnotes and some further explanations were added. For this second edition, I wish to retain the original emphasis of the study. Therefore, no revision has been made. The title by Khun Suchit is retained, with my appreciation, due to the way it conveys the general meaning of this study. This book was written 15 years ago, when he context of historical studies at that time still focused mostly around the traditional concept-to create self esteem and promote nationalism. These studies were framed to be the principal concept of the greatness of the Thai nation. That is, from their long history of stubborn struggle for freedom and perseverance against hardship from the oppressive hand of the stronger Chinese during their early days in the Nanchao Kingdom, Thai people eventually migrated south. In addition to these conventional studies, there have some new thoughts about the history of the Thai and the Thai language. There has been research in areas outside present day Thailand which are thought

กว่าจะเป็นคนไทย

127

127


to be old settlements of the Tai, such as, Muang Chiang Rung, Chiang Tung, Shan, Assam and the area along the Black-Red river basin in Vietnam where Thai speaking people still reside. However, although there has been much interest in historical studies, both before and after the October 14, 1973 Movement, there is still no clear approach to the historical study of the Thai “people” and the Thai “nation”. This book, Becoming Thai: The Historical Basis of the Thai Nation may be one of the pioneers in its attempts to clarify the historical context of the Thai. It strives to contribute to an understanding of ourselves and our neighboring countries, by looking at the historical and cultural movements and various ethnic groups that unified to form a nation. Especially important in this context is the influence of the Nanchao Kingdom in China and the importance of Chiang Mai in Thai history. It is noted in this book that the development of the Chiang Mai State “…serves as an example of the way the development of the Tai nation is examined within the framework of movements and social development of different ethnic groups. The histories of China, Nan Chao and Vietnam are proofs that interactions and unification of ethnic groups to become nations with sophisticated social establishment had always existed. Likewise, the emergence of the Tai race was the consequence of movements and adaptation to social, cultural or political changes of several ethnic groups within the melting pot of peoples in this region where the Tai language was commonly used as a medium for coexistence”. This study is not a search for new findings, but offers a different perspective and a new dimension to the study of Thai history. This approach is followed by my subsequent work- (Sri) Dvaravati, The Initial Phase of Siam’s History (1989), which covers the original formation of the Tai nation in the Chao Phraya River Basin. The two studies are closely related and I wrote in the latter that it “… explores new

128 128

ดร. ธิดา สาระยา


picture, a new dimension of Thai history, is emerging. It offers more clarity than the obscure hypotheses about migrations south by the Tai from China. The history of Thailand can be seen in a more distinctive development and unique light. These new approaches also illuminate the historical development of early Southeast Asia in a new way. New angles of investigation help overcome the lack of both written records and of systematic approaches which has been an obstacle in precious interpretations…” This book, therefore, focuses on an interpretation of history that is contrary to the most popular ideas on the origin of the Thai: the theory of migration south by the Thai as a ethnic group. The approach in this book emphasizes the “movements” of the Thai nation not as a race, in order to gain insight into the social changes in and existence of different ethnic some of groups, which were able to unite to become a nation, as in the cases of Nanchao and China. Both Nanchao and China played a significant role in the amalgamation and social establishment of the ethnic groups in Indochina. Nanchao gathered and relocated ethnic groups, held them captives, or involved them in forced labor in new locations. These activities actually took place and are covered in detail in this book. Thus, the picture of ethnic groups and nations presented here is the picture of their movements highlighted by constant interactions within and among the groups. Under this underlying concept, what I am proposing in this work in that: ‘Thai history cannot deny the existence of ethnic groups in the region of ancient Siam’, and that the ethnic groups did not exist ‘in isolation’ from one another. In fact, they had frequent interactions which led ultimately to the formation of the Thai nation. Finally, I would like to take this opportunity to thank Dr. Sunetr Chutintaranon, Asssociate Professor Srisakara Vallibhodama and Ms.

กว่าจะเป็นคนไทย

129

129


ดร. ธิดา สาระยา

กว่าจะเป็ นคนไทย ดร. ธิดา สาระยา

ISBN 978-974-7385-49-6

ราคา ๒๒๐ บาท

อักษรศาสตรบัณฑิต (จุฬาฯ) อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (จุฬาฯ) M.A. Chinese History (Minnesota) Ph.D Early Southeast Asian & Thai History (Sydney) หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๒๕-๒๕๒๙) ประธานคณะกรรมการบริหาร หลักสูตร Thai Studies คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๓๐-๒๕๓๗) ประธานคณะกรรมการบริหาร หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๔๒-๒๕๔๔)

Becoming Tai : The Historical Basis of the Thai Nation

ดร. ธิดา สาระยา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.