ลมพัดมิรู้ล่วงหน้า จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล พิมพ์ครั้งที่ 2

Page 1

ชมเชย หนงั ส รางวลั อื สา รค

า และชวี ประวตั ิ าสน ร ศ สต

ั นธรรม ประ ลิ ปวฒ วตั ศิ า นศ า ดี ด

ISBN 978-616-465-039-8 9

786164

.๒

จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล

สุกัญญา หาญตระกูล

พิมพ์ ครั้งที่ ๒

สั่งซื้อออนไลน์ที่ @sarakadeemag

650398

ราคา ๔๙๙ บาท ������������8.indd 4

๕๖

ลมพัด มิรู้ ล่วงหน้า

ป ร ะ จ ำ ป พ . ศ

สุกัญญา หาญตระกูล

หมวดสารคดี / ประวั ติ ศ าสตร์

ด ีเ ด  น

จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล

ลายลักษณ์อักขระจีนแต่ละเส้น แต่ละขีด แต่ละจุด แต่ละแต้ม คล้าย ๆ ก�ำลังจะไหวตัวและเคลื่อนอย่างมีลมหายใจของตัวเอง ไม่ยอมถูกตรึงไว้ติดก�ำแพงอีกต่อไป เริ่มขยับตัวออกโบยบิน เริงร่าใต้หลังคาโรงเรือนที่เคยเป็นโรงสี ความเคลื่อนไหวตรงหน้าคือคนกับเครื่องจักรซึ่งก�ำลัง เปลี่ยนแปรสีเหลืองทองของข้าวเปลือกในครกออกมาเป็น สีขาวนวลของเมล็ดข้าวสาร โลดแล่นอยู่เต็มจักษุ ก้องอยู่ใน โสตประสาท คือโรงสีที่ฟื้นคืนชีพเดินเครื่องขึ้นมาใหม่

ลมพัด มิรู้ล่วงหน้า

๑ ปี ๑๒ เดือน ต้นปีวางแผนทํา ๑ วันแต่เช้า ก็คิดออกมาแล้ว ครอบครัวอยู่ที่รักกัน ไม่ทะเลาะกัน ขยัน น้ําไหลแรง เหลือแต่ทรายหยาบ ลมพัด มิรู้ล่วงหน้า

ส ือ

น ัง

๔๙๙.11/03/2021 20:21


ISBN 978-616-465-039-8

หนังสือ ลมพัดมิรู้ล่วงหน้า : จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล ผู้เขียน สุกัญญา หาญตระกูล © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต

พิมพ์ครั้งที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ราคา ๔๙๙ บาท คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : วิชญดา ทองแดง นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปก/รูปเล่ม : ชาญศักดิ์ สุขประชา พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี) จัดจ�ำหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้ำ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑ เพลต เอ็น. อาร์. ฟิล์ม  โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด โทร. ๐-๒๗๒๐-๕๐๑๔-๘ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อำ� นวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�ำ้ มันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

AW3-RS10.indd 2

08/12/2020 18:33


สารบัญ

ด้วยคารวะขอบคุณ  ๕ บุพภาค : จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล  ๔๗

ภาค ๑ เมล็ดข้าวในกระแสชาวจีนโพ้นทะเล  ๑๐๐ ๑. ในถิ่นโรงสีลุ่มน�ำ้ อิง  ๑๐๓ ๒. หนองระบูขี้หมูเหม็น  ๑๒๓ ๓. ได้โปรดเรียกเราว่า “ก�ำมุ”  ๑๓๓ ๔. กระสอบข้าวตีตรา “พะเยาทวีผล”  ๑๔๑ ๕. ในโชคร้ายมีโชคดี  ๑๔๗ ๖. ...เมื่อเคราะห์ร้ายกายเราก็เท่านี้ ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย...  ๑๕๘

ภาค ๒ “ปลาบ่อไหนก็เอาไปปล่อยบ่อนั้น”  ๑๗๖ ๗. จากคลองกะชีถึงทะเลจีนใต้  ๑๗๘ ๘. สองภาษา สองวัฒนธรรม สองอัตลักษณ์  ๒๐๐ ๙. ห้องเก็บกระสอบของโรงสี  ๒๑๓

AW3-RS10.indd 3

08/12/2020 18:33


ภาค ๓ ข้าวสารสื่อรัก  ๒๓๐ ๑๐. ณ “สะพานโยง” แห่งเดียวของสยาม  ๒๓๒ ๑๑. ดูนางให้ดูแม่  ๒๕๐ ๑๒. หนุ่มข้าวเปลือก สาวข้าวสาร  ๒๖๑ ๑๓. จากน�ำ้ งาว สู่นำ�้ ปิง น�ำ้ อิง และน�้ำกว๊าน  ๒๖๙ ๑๔. ดูช้างให้ดูหาง  ๒๘๓

ภาค ๔ บ้านอยู่ เมืองนอน  ๓๑๒ ๑๕. พบโดยมิได้หา (ย) : เรื่องราวของบ้าน  ๓๑๔ ๑๖. บ้านตาฮัปหย้วน (三合院)  ๓๓๕ ๑๗. บ้านอยู่ เมืองนอน  ๓๔๙ ๑๘. เปิดประตู “บ้านใหม่”  ๓๖๐ ปัจฉิมภาค : การรอคอยอย่างเงียบๆ แสนนานก�ำลังจะสิ้นสุดลง  ๓๗๒ หมายเหตุท้ายบท  ๔๐๓ บรรณานุกรม  ๔๑๗ บันทึกท้ายเล่ม : ข้าวแห่งอนาคต  ๔๒๐

AW3-RS10.indd 4

08/12/2020 18:33


ด้วยคารวะ ขอบคุณ นานเกื อ บครึ่ ง ศตวรรษที่ พ ่ อ กั บ แม่ ค ้ า ข้ า วเปลื อ กข้ า วสารตั้ ง แต่ ยั ง เป็นหนุ่มเป็นสาวและต่อมาเคียงบ่าเคียงไหล่กันเป็นผู้ประกอบการ โรงสี ข นาดกลางในภาคเหนื อ ตอนบนระหว่ า งช่ ว งทศวรรษ  ๒๔๘๐๒๕๓๐ การพลัดพรากจากท่านทั้งสองชั่วชีวิตท�ำให้ผู้เขียนต้องหาทาง บรรเทาเยียวยาความทุกข์โศกที่ยิ่งกดข่มไว้ยิ่งปะทุ  ยิ่งคิดยิ่งวิเคราะห์ ยิ่งยุ่งเหยิง ยิ่งหนียิ่งตาม  เหลือทางเดียวคือยอมจ�ำนนรับรู้  แล้วลงมือ บันทึกตามกระแสความทรงจ�ำ  ความรู้สึกนึกคิด  ความอาวรณ์อาลัย ที่หลั่งไหลมา โดยเฉพาะเมื่อได้เห็น หยิบจับวัตถุสิ่งของในบ้านที่พ่อแม่ เคยใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นเพียงซองแว่นตา  เข็มขัด  ล่วมยา  ผ้าเช็ดหน้า  หวี กรรไกรตั ด เล็ บ  นาฬิ ก าข้ อ มื อ   กระดุ ม เสื้ อ เชิ้ ต ที่ เ หลื อ ข้ า งเดี ย ว  ผ้ า พันคอ สมุดบัญชี  นามบัตร ตราร้านพะเยาทวีผลที่บังเอิญพบในลิ้นชัก โต๊ะ พวงกุญแจที่มีลายมือแม่เขียนก�ำกับ ลูกคิดรางใหญ่รางเล็ก ตาชั่ง เครื่องชั่งน�้ำหนักหลายแบบ  หลาวแทงข้าวที่ค่อยๆ  พบทีละอันสอง อันจนครบทั้งชุดหกอัน กระทั่งข้าวของหลายอย่างที่ตลอดมาถูกเก็บไว้ในสภาพช�ำรุด 5

AW3-RS10.indd 5

08/12/2020 18:33


ใช้การไม่ได้ตั้งแต่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู ่ เช่น  หีบเสียงหมุนมือ วิทยุหลอด จักรเย็บผ้าโบราณมรดกตกทอดมาจากยาย  ตู้กับข้าวไม้สักที่บานเปิด ปิ ด ห้ อ ยร่ อ งแร่ ง   เก้ า อี้ ข าหั ก ไปขาหนึ่ ง   โต๊ ะ เครื่ อ งแป้ ง ที่ ก ระจกเงา เริ่ ม เสื่ อ มคุ ณ ภาพ ฯลฯ  ต่ า งพากั น ส่ ง ผ่ า นแรงบั น ดาลใจที่ ผู ้ เ ขี ย น ไม่เคยรู้สึกมาก่อน  เรียกร้องให้เข้าไปจับต้องพินิจพิเคราะห์ดูราวกับ ถูกสะกดจิต แล้วในบัดดลเกิดความปรารถนาจะกอบกู้ฟื้นฟู ความปรารถนาความพยายามหาทางกอบกู ้ ใ ห้ อ ยู ่ ใ นสภาพดี ที่สุดส่งผลท�ำให้สุขใจเหลือล้น  ข้าวของบางอย่างฟื้นคืนชีพกลับมา มีชีวิตใหม่ใช้การได้ ความปีติที่แผ่ซ่านในกายช่างล�้ำลึก  ได้ส�ำนึกรู้ว่ามีพลังปลอบ ประโลมใจอยู่ใ นวัตถุข้าวของแห่งความทรงจ� ำ  รวมทั้งในเรือนบ้าน ที่พ่อแม่ตั้งใจปลูกสร้างไว้ทั้งเพื่ออยู่อาศัยและค้าขายเมื่อปลายทศวรรษ ๒๔๙๐  และเราลู ก หลานอยู ่ อ าศั ย มาถึ ง วั น นี้   กระทั่ ง ในเรื อ นโรงสี ซึ่งเหลือแต่ซากปรักหักพัง ชี วิ ต ท� ำ งานเป็ น ผู ้ ป ระกอบการโรงสี ข องพ่ อ กั บ แม่ อ ยู ่ ใ นช่ ว ง เวลารอยต่ อ ซึ่ ง เทคโนโลยี ใ นการซื้ อ ขายข้ า วเปลื อ กและการแปรรู ป ข้าวเปลือกด้วยเครื่องสีข้าวแบบเดิมที่ด� ำเนินต่อเนื่องกันมาเกือบ  ๒ ศตวรรษก� ำ ลั ง ถู ก เทคโนโลยี ร ะบบดิ จิ ทั ล พึ่ ง พาแรงงานคนน้ อ ยลง ตลอดจนการสื่อสารที่รวดเร็วเข้ามาแทนที่ นั่ น หมายความว่ า พ่ อ กั บ แม่ อ ยู ่ ใ นกระแสคลื่ น ลู ก สุ ด ท้ า ยของ ผู้ประกอบการโรงสีที่เป็นระบบเทคโนโลยีดั้งเดิมสมบูรณ์แบบ  ต้อง พึ่ ง พาแรงงานคนเป็ น หลั ก ทุ ก ขั้ น ตอน  ตั้ ง แต่ ก ารชั่ ง   การล� ำ เลี ย ง ขนย้ายข้าวเปลือกข้าวสาร  การตรวจวัดความชื้นข้าวเปลือก  การตาก ข้าวเปลือกควบคุมความชื้น  การควบคุมเครื่องสีข้าว  การดูแลรักษา 6

AW3-RS10.indd 6

08/12/2020 18:33


ข้าวเปลือกในโกดังยุ้งฉาง  การคิดค�ำนวณตัวเลข  การท�ำบัญชี  ตลอด จนการขายส่งในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ความประจวบกันของเหตุการณ์ที่งานเขียนเริ่มขึ้นในปีเดียวกับ ทีร่ ฐั บาลเริม่ ด�ำเนินนโยบายจ�ำน�ำข้าวปี  ๒๕๕๔ ท�ำให้ได้บนั ทึกสถานการณ์ ข้ า วร่ ว มสมั ย โดยเฉพาะผลกระทบในพื้ น ที่ เ มื อ งพะเยาอย่ า งใกล้ ชิ ด ผู้เขียนได้ค้นคว้านโยบายข้าวในอดีตมาตริตรองประกอบด้วยอย่าง เป็นการมองไปในอนาคต เรื่ อ งราวชี วิ ต ของพ่ อ กั บ แม่ ผู ้ ค ้ า ขายข้ า วสารข้ า วเปลื อ กตั้ ง แต่ อายุ  ๑๘  ปี  ที่อ�ำเภองาว  จังหวัดล�ำปาง  และที่อ�ำเภอพะเยา  จังหวัด เชียงราย  ได้น�ำพาผู้เขียนให้เดินลึกเข้าไปในสถานที่และกาลเวลาของ พ่อกับแม่ในวัยเด็กและปูย่ า่ ตายายทีผ่ เู้ ขียนรูจ้ กั น้อยมากจนความทรงจ�ำ ที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะปะติดปะต่อเรื่องราว อีกทั้งธรรมชาติความทรงจ�ำคือเลื่อนไหล  ไม่อยู่กับที่  ขาดช่วง ไม่สมบูรณ์  เรียกกลับมาไม่ได้ตามการตั้งเจตนา บ่อยครั้งคลาดเคลื่อน ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในหลักฐานอื่นที่ยังพอเสาะหามาเทียบเคียง ผู ้ เ ขี ย นจึ ง ต้ อ งลงมื อ สื บ เสาะแสวงหาข้ อ เท็ จ จริ ง อย่ า งจริ ง จั ง ราวกับว่าก�ำลังเขียนงานทางวิชาการ  ทั้งเพื่อตามหาส่วนที่ขาดหาย การหามาเพิ่มเติม และโดยเฉพาะเพื่อเปรียบเทียบตรวจสอบกับข้อมูล ความทรงจ�ำทั้งของตนเองและผู้อื่น หมายถึงการสืบค้น   สอบถาม  สัมภาษณ์ตัวบุคคลหลายท่าน หลายครั้ง  อ่านเอกสารทั้งชั้นต้นชั้นรอง  ศึกษาภาพถ่ายทั้งของส่วน บุคคลและที่เป็นสาธารณะ ศึกษาค้นคว้าทั้งทางวัตถุสิ่งของมาประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่อาจหาข้อมูลหลักฐานเอกสารและจากตัว บุ ค คล  ตลอดจนออกเดิ น ทางไปหลายสถานที่ ทั้ ง ในเมื อ งไทยและ 7

AW3-RS10.indd 7

08/12/2020 18:33


เมืองจีน ทั้งหมดนี้ในที่สุดได้พาผู้เขียนเดินทางเข้าไปในประวัติศาสตร์ ยุคสมัยของพ่อกับแม่และปู่ย่าตายายที่กว้างไกลออกไปกว่าเรื่องราว ชีวติ ครอบครัว ทัง้ ในพืน้ ทีแ่ ละกาลเวลา  ทางฝ่ายพ่อนัน้ จะอยูใ่ นบริบท ของประวัติศาสตร์ชาวจีนโพ้นทะเล  โดยเฉพาะกลุ่มภาษาไหหล� ำที่ อพยพมาอยู ่ ใ นเอเชี ย อาคเนย์   เช่ น ที่ ส ยามและบนแผ่ น ดิ น อื่ น ใน โลกกว้าง   ส่วนทางฝ่ายแม่นอกจากบริบทของการมีบิดาเป็นชาวจีน โพ้นทะเล  ยังมีอีกบริบทหนึ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจที่แม่มาจากครอบครัว พ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงช้างกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่หรือเงี้ยวและไทยวนแห่ง เมืองแพร่  ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงกบฏส�ำคัญครั้งเดียวในภาคเหนือตอนบน สมัยต้นรัตนโกสินทร์  คือกบฏเงี้ยว ชีวิตการท�ำงานของพ่อกับแม่และบรรพบุรุษที่ผู้เขียนได้สืบค้น ถึงชั้นทวดท�ำให้ใคร่เขียนถึงสามเหตุการณ์ส�ำคัญในประวัติศาสตร์เป็น พิ เ ศษ  เนื่ อ งจากมี มุ ม มองและข้ อ มู ล ใหม่ ข องผู ้ มี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย โดยตรง กล่าวคือ หนึ่ง  นโยบายกีดกัน  “คนต่างชาติ”  สมัยจอมพล  แปลก  พิบูลสงคราม ในช่วงปลายทศวรรษ ๒๔๘๐ ที่ส่งผลกระทบกระเทือนอย่าง หนักต่อชาวจีนโพ้นทะเลและหญิงไทยคู่สมรสผู้ประกอบการโรงสีใน หกจังหวัดภาคเหนือแม้จะเกิดในช่วงสั้นๆ สอง กบฏเงี้ยว ๒๔๔๕ สาม  นโยบายให้ รั ฐ เข้ า ไปท� ำ ป่ า ไม้ ภ าคเหนื อ นั บ ตั้ ง แต่ ป ลาย ทศวรรษ  ๒๔๙๐  สร้างความเดือดร้อนระส�่ำระสายแก่ผู้คนในอาชีพนี้ ตลอดจนโขลงช้ า งท� ำ งานชั ก ลากไม้ ที่ ต ้ อ งรั บ ผลกรรมในทั น ที แ ละ ต่อมาอีกยาวนาน นับรวมถึงแม่และยาย พี่ป้าน้าอา ลูกพี่ลูกน้องของ ผู้เขียนร่วมสกุล  “สารสมบูรณ์”  ของทวดชาวไทใหญ่และชาวไทยวน 8

AW3-RS10.indd 8

08/12/2020 18:33


ผู้มีอาชีพรับเหมาชักลากขอนไม้ซุงตั้งแต่อยู่เมืองแพร่  ก่อนอพยพมา ที่ ป ่ า เมื อ งงาวหลั ง เกิ ด กบฏเงี้ ย วไม่ กี่ ป ี   ซึ่ ง การได้ เ ริ่ ม สื บ สาวประวั ติ ความเป็นมาในการท�ำป่าไม้เนื่องจากการประกอบอาชีพของครอบครัว ได้เปิดหูเปิดตาผู้เขียนอย่างมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สินค้าไม้สัก นอกเหนือจากสินค้าข้าวที่จักรวรรดินิยมตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษ มีนโยบาย  “ไล่ล่า” มาตั้งแต่ในอินเดีย  เข้าพม่า  จนแผ่ขยายถึงภาค เหนือของสยาม ขอน้ อ มคารวะการดิ้ น รนต่ อ สู ้ แ ละการช่ ว ยเหลื อ กั น ของทุ ก ผู ้ ทุกนามและทุกชุมชนในยามวิกฤต ขาดคนหนึ่งคนใดในบรรพบุรุษ ก็ไม่มีผู้เขียนในวันนี้ อาจไม่มีเช่นกัน  งานเขียนสารคดีอัตชีวประวัติสี่ชั่วคน  ด้วยวิธี เล่ า และภาษาของวรรณกรรมเรื่ อ งแต่ ง ที่ ผู ้ เ ขี ย นใช้ เ วลาสื บ ค้ น และ เรียบเรียงอยู่  ๖  ปีเล่มนี้  หากไร้เครือข่ายความทรงจ�ำและความรู้ของ หลายปัจเจกจากหลายทิศทาง ขอบคุ ณ คารวะคณะผู ้ อ ่ า นต้ น ฉบั บ ในเมื อ งพะเยาผู ้ เ ป็ น เสมือนญาติ  วิบูลย์  หาญธัญพงศ์  ทายาทรุ่น ๓ ของเถ้าแก่หยุ้ยพงหล่ง ผู้ก่อตั้งโรงสีแสงพะเยา ได้ให้รายละเอียดหลายอย่างด้วยวาจาและอ่าน ต้ น ฉบั บ ตั้ ง แต่ ฉ บั บ แรกสุ ด ในฐานะเป็ น แหล่ ง ข้ อ มู ล ชั้ น ต้ น   ช่ ว ย ตรวจสอบความถูกต้องในส่วนที่เกี่ยวกับโรงสีของบรรพบุรุษ  เช่นเดียว กั บ อาจารย์ วั น เพ็ ญ   สุ ท ธภั ก ติ   ธิ ด าหลวงศรี น ครานุ กู ล   (เจี ย ม สุทธภักติ) ผู้นอกจากเล่าเรื่องราว ตอบค�ำถาม แบ่งปันข้อมูลเอกสาร และอ่านต้นฉบับ  ได้อนุญาตให้ใช้ภาพถ่ายช่วยให้ความกระจ่างการ สร้างบ้านพะเยาทวีผลเป็นอย่างยิ่ง   คุณครูสมบูรณ์  เจริญกุล  และ 9

AW3-RS10.indd 9

08/12/2020 18:33


นิตยา  วณิชอนุกูล  คนบ้านใกล้มีสัมพันธ์ดุจญาติมายาวนานสองถึง สามชัว่ คน  พัชรี  หาญสุขจริยา วิรหู ญาณ เพือ่ นชัน้ มัธยมฯ ต้นโรงเรียน สตรี พ ะเยา  ผู ้ อ ่ า นต้ น ฉบั บ เสร็ จ เป็ น คนแรก  ในวั ย เด็ ก เราได้ ยื ม ได้ แลกหนังสือกันอ่านเสมอ เพราะแม่ของเราเรียนหนังสือที่เชียงใหม่ เหมือนกันและชอบอ่านหนังสือ  นิตยสารมาก  พ่อแม่เราค้าขายพืชผล เกษตรเหมือนกัน มิตรภาพของครอบครัวเรายืนนาน ขอบคุณคณะผู้อ่านต้นฉบับร่างแรกที่กรุงเทพฯ  ได้ให้ทั้งความ เป็นนักวิชาการ นักวิชาชีพ และความเป็นมิตร มีอุปการะยิ่ง เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์   ดร. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล  ดร. อมรสิร ิ สัณห์สุรตั กิ ลุ  เกียระสาร  ผศ. จุไรรัตน์  จันทร์ธำ� รง  ประณีต วงศ์ตระหง่าน สุมล ว่องวงศ์ศรี   และที่เชียงใหม่  ดร. อภิญญา เฟื่องฟูสกุล  ตรัสวิน จิตติเดชารักษ์  โดยมี  พัณณิดา  ภูมิวัฒน์  ช่วยอ่านปรับปรุงต้นฉบับ ในเบื้องต้น โดยเฉพาะ ดร. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล นั้นได้ยินดี อ่ า นต้ น ฉบั บ พร้ อ มตี พิ ม พ์ ซึ่ ง เป็ น เวลา ๖ ปี ห ลั ง การอ่ า นครั้ ง แรก เพื่อจะรังสรรค์ภาพวาดสีน�้ำที่สร้างความเชื่อมโยงพัวพันผูกภาพเข้ากับ ตัวอักษรได้อย่างดีเยี่ยม ขอบคุณ  ยรรยง  กัยวิกัย  สมาคมใหหน�ำแห่งประเทศไทย  และ แสงชัย  ม่า  ผู้สื่อข่าวประจ�ำประเทศไทยหนังสือพิมพ์กวางหมิงเดลี่ แห่ ง สาธารณรั ฐ ประชาชนจี น   ที่ ไ ด้ ช ่ ว ยเที ย บเคี ย งอั ก ษรจี น รวมทั้ ง ให้ เ สี ย งอ่ า นภาษาจี น ไหหล� ำ และจี น กลาง  ผู ้ เ ขี ย นซาบซึ้ ง ใจเหล่ า ญาติ มิ ต รสหายรุ ่ น อาวุ โ สและรุ ่ น เดี ย วกั น ที่ ไ ด้ แ บ่ ง ปั น ความรู ้ ค วาม ทรงจ�ำ  ภาพถ่าย  และวัตถุสิ่งของอันเป็นข้อมูลส�ำคัญหาจากหลักฐาน ทางเอกสารไม่ได้  ตลอดจนความช่วยเหลือหลายลักษณะต่างกรรม ต่างวาระ   มาแซล  บารัง   กฤษณา  (ข�ำสุวรรณ)  สารสมบูรณ์   จรัล เยาวรัตน์   มานิต  เหมวรางค์กูล   สมพงษ์  หาญพัฒนพงศ์   อัจฉรา 10

AW3-RS10.indd 10

08/12/2020 18:33


ฮั่นตระกูล  ดร. จรัส ฮั่นตระกูล  พรพิมล ใจงาม  วาสนา (ภู่สวัสดิ์) ธี ร ะเพ็ ญ แสง  และ  พงศ์   หาญวิ ริ ย ะพั น ธุ ์   “นายช่ า ง”  หรื อ วิ ศ วกร เครื่องยนต์ผู้ซึ่งขณะพบปะสนทนาตรวจสอบข้อมูล ความจ�ำยังแจ่มชัด จากนั้นไม่นานค่อยเสื่อมลงจนขณะนี้  “นายช่าง”  ไม่สามารถจะตอบ ข้อซักถามของผู้เขียนได้แล้ว   ต่างกับมิตรรุ่นเยาว์   ริชาร์ด  ชาง ชาว อเมริกันเชื้อสายจีน เพื่อนของลูกจากรัฐฮาวายที่แต่แรกไม่รู้อะไรเลย เกี่ยวกับครอบครัวของเรา  แต่ด้วยความแตกฉานภาษาจีนที่เรียนมา คู่ขนานกับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัย เยล เมื่อมาพักเยี่ยมลูกที่บ้านพะเยาทวีผล ๓-๔ คืนในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๘  ได้ ช ่ ว ยอ่ า นเก็ บ รายละเอี ย ดจากอั ก ษรจี น ลายมื อ พ่ อ กั บ แม่ ที่มีอยู่ในบ้านด้วยความตื่นตาตื่นใจ  โดยเฉพาะเมื่อได้เห็นภาพถ่าย เพราะเท่ากับว่าได้อ่าน  เห็น  ท�ำความเข้าใจเสี้ยวหนึ่งในความเป็นไป ของชาวจีนโพ้นทะเลซึ่งรวมบิดามารดาของเขา ผู้อพยพจากจีนแผ่นดิน ใหญ่ไปอยู่ที่เกาะฮาวายในช่วงต้นทศวรรษ ๒๕๓๐ ขอคารวาลัย ตวย เทพจันทร์  หมู่  ๒ บ้านหวด อ�ำเภองาว ผู้ได้ เห็ น บรรพบุ รุ ษ ชั้ น ทวดของผู ้ เ ขี ย น  ตลอดจนได้ เ ห็ น โขลงช้ า งท� ำ งาน ของท่านจนกระทั่งเกิดการขายช้างครั้งใหญ่เมื่อเขาอายุ  ๒๐  ปี  ในปี ๒๔๘๙  ที่รัฐบาลกลางสยามเปลี่ยนแปลงการให้สัมปทานป่าไม้จนน�ำ ไปสู่การให้รัฐได้สัมปทานท�ำไม้แต่ผู้เดียวภายใต้รัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรั ช ต์   เมื่ อ ปี   ๒๕๐๓  ผู ้ เ ขี ย นได้ พ บลุ ง ตวยอย่ า งบั ง เอิ ญ ระหว่ า ง เทศกาลลอยกระทงล่ อ งสะเปาที่ บ ้ า นหวดเมื่ อ พฤศจิ ก ายน  ๒๕๕๔ เป็นการพบกันครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ให้ความรู้สึกเหมือนได้รู้จัก เคยพบเคยเห็นกันมาแสนนาน ลุงตวยเสียชีวิตปลายปี  ๒๕๕๖ อี ก ท่ า นหนึ่ ง   สมพงษ์   ศรี ส กุ ล   อายุ อ ่ อ นกว่ า พ่ อ ไม่ กี่ ป ี   รู ้ จั ก พ่อตั้งแต่เกาะไหหล�ำ  มาพบกันอีกทีที่เมืองงาว  และต่างก็แต่งงานมา 11

AW3-RS10.indd 11

08/12/2020 18:33


ตั้งครอบครัวท�ำงานอยู่ที่เมืองพะเยา  ได้เล่าถึงชีวิตร่วมสมัยกับพ่อให้ ผู้เขียนฟังมากทีเดียวก่อนสิ้นอายุขัยปลายปี  ๒๕๕๙ ขอคารวะทุกพื้นที่ซึ่งยังมีสิ่งปลูกสร้างและร่องรอยในอดีตของ พ่อกับแม่และบรรพบุรุษ ทั้งที่เคยไปมาแล้วกับท่านและไปอีกคนเดียว ตลอดจนที่ซึ่งไม่เคยไปเลย แต่ได้ดั้นด้นจนถึงอย่างไร้ความทรงจ�ำร่วม โดยเฉพาะชุมชนเชตวัน วัดเชตวัน บนคุง้ น�ำ้ ยม อ�ำเภอเมืองแพร่  จังหวัด แพร่  และเกาะไหหล�ำ  ทั้งสองแห่งให้ความรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาว่า เคยไปเคยเห็นมาแล้วเมื่อนานแสนนานราวกับเป็นความทรงจ�ำที่ติดมา ในพันธุกรรม  บางขณะรู้สึกถึงขนาดเหมือนได้เข้าไปอยู่ร่วมในมณฑล พื้ น ที่ เ ดี ย วกั บ พ่ อ แม่ ปู ่ ย ่ า ตายายและทวด  เสมื อ นหนึ่ ง ได้ ข ้ า มภพ ข้ามชาติหากัน  กระทั่ง  “น�ำพา”  ผู้เขียนให้ไป  ณ  สถานที่ควรไป  ณ เวลานั้นเพื่อพบบุคคลที่ควรจะได้พบ  รวมทั้งบางครั้งกระซิบ  “บอก” ข้อมูลบางอย่าง  ไขปริศนาบางประการที่ผู้เขียนเคยถอดใจว่าสืบค้น ไม่ได้แล้วจากแหล่งข้อมูลตัวบุคคลหรือเอกสารใด ขอบคุณผู้ยังมีชีวิตอยู่บนพื้นที่สถานที่ดังกล่าว  แม้เวลาพบกัน แสนสั้น  การสื่อสารด้วยภาษามีข้อจ� ำกัด  อีกทั้งไร้ภูมิหลัง   ไร้ความ ทรงจ�ำระดับปัจเจกร่วมกัน แต่ด้วยการที่ทั้งญาติและคนในชุมชนอยู่กัน มาหลายชั่วคนสืบทอดความทรงจ�ำจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งจึงแบ่งปัน สร้างความทรงจ�ำของอดีตร่วมกันกับผู้เขียนขึ้นมาใหม่ได้ ประจักษ์ว่าตัวตนของเราที่มาจากการผสานพหุอัตลักษณ์ของ บรรพบุรุษท�ำให้สามารถเชื่อมโยงเข้าถึงผู้คน  กลุ่มคน  ชุมชนหลาก หลาย มีโลกที่เปิดกว้างไกลขึ้น หาใช่จะมาขีดวงล้อมให้เดี่ยวโดดอยู่กับ “เอกลักษณ์” ใด ผู้เขียนซาบซึ้งใจอย่างยิ่ง  ความเข้าใจและความอดทนอย่างไร้ 12

AW3-RS10.indd 12

08/12/2020 18:33


เงื่อนไขของสามี  กวี  จงกิจถาวร ที่มีให้ตลอดมา  ล�ำธาร หาญตระกูล ที่ ค อยให้ ก� ำ ลั ง ใจและอ� ำ นวยความสะดวกด้ า นเครื่ อ งมื อ ดิ จิ ทั ล ใน การเขี ย นและถ่ า ยภาพ  จั ด รวมภาพของครอบครั ว ที่ คั ด เลื อ กไว้ ใ ห้ เป็นหมวดหมู่ในระหว่างที่ยังศึกษาปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ประยุกต์ คู ่ ข นานกั บ การประพั น ธ์ ด นตรี ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย เยล  เคยได้ ใ ช้ ข ้ อ มู ล และภาพบ้านพะเยาทวีผลฝีมือถ่ายภาพของ “กง” เขียนงานแบบฝึกหัด ส่งอาจารย์ในรายวิชาการเขียนสารคดีด้วยวิธีการเล่าเรื่องและภาษา ของวรรณกรรมเรื่องแต่ง  (creative  non-fiction  writing)  และต่อมา นิตยสารวรรณกรรมระดับรางวัลในสหรัฐอเมริกา  The  Common.  A Modern  Sense  of  Place  ได้ตีพิมพ์ข้อเขียนดังกล่าวในชื่อ   “The Teak  House”  ฉบั บ เดื อ นธั น วาคม  ค.ศ.  ๒๐๑๔  และเผยแพร่ ใ น เว็ บ ไซต์ ข องนิ ต ยสาร  (http://www.thecommononline.org/theteak-house/)  จึ ง เป็ น การเผยแพร่ เ รื่ อ งราวความเป็ น มาของบ้ า น ครอบครัวต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษ  ซึ่งได้เกิดขึ้น อย่างที่เราแม่ลูกมิได้ตั้งใจหรือวางแผนล่วงหน้า ขอขอบคุ ณ ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ส ารคดี อ ย่ า งยิ่ ง   โดยเฉพาะ  สุ วั ฒ น์ อัศวไชยชาญ บรรณาธิการผูอ้ า่ นต้นฉบับอย่างละเอียดลออ ให้คำ� ชีแ้ นะ ตลอดจนท�ำงานตรวจทานแก้ไขร่วมกับ วิชญดา ทองแดง อย่างพิถพี ถิ นั ในถ้อยค�ำส�ำนวนและโดยเฉพาะการล�ำดับเรื่อง  ความผิดพลาดใดผู้เขียนขอน้อมรับ สุกัญญา หาญตระกูล หนองระบู, ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๑

13

AW3-RS10.indd 13

08/12/2020 18:33


ทิศเหนือ

ประตูกลอง

เวยี งนำ้ เตา

ประตูชัย ถนน พห

ประตูเหล็ก

ธิน

ลโย

สามแยกหนองระบู บ าน, โรงสีพะเยาทวีผล ถนนงำเมือง

โค งประตูปู ยี่ โรงสีหยุ ยพงหล ง ถนนพหลโยธินเก า

องิ

กว านพะเยา

น้ำ

แผนที่ย่านหนองระบู กว๊านพะเยา

14

AW3-RS10.indd 14

08/12/2020 18:33


บิดาผู้เขียนในเครื่องแต่งกายของเสมียนหรือ “หลงจู๊” โรงสี ยืนอยู่หน้าโรงสีหยุ้ยพงหล่ง ช่วงทศวรรษ ๒๔๘๐ สังเกตไถ้ใส่เงิน คาดที่เอว อาจจะก�ำลังออกไปท�ำงานนอกสถานที่หรือเพิ่งกลับเข้ามา ภาพถ่ายโดยบิดาของผู้เขียน ซึ่งชื่นชอบการเล่นกล้องและก�ำกับมุม ถ่ายภาพเอง สงวนลิขสิทธิ์ทุกภาพยกเว้นสองภาพที่ระบุชื่อผู้ถ่ายภาพ ไว้แล้ว

AW3-RS10.indd 15

15

08/12/2020 18:33


บ้านพะเยาทวีผลเมื่อปี ๒๔๙๘ ขณะเรือนหลังใหญ่รูปตัวแอล (L) สร้างเสร็จแล้ว โดยเรือนหลังเล็กรูปตัวไอ (I) ก�ำลังมุงหลังคาอยู่ สังเกตประตูใหญ่ที่แนวรั้วแรกสร้างมีหลังคาสองชั้น ต่อมาถอดหลังคา หนึ่งชั้นเพื่อให้รถบรรทุกสิบล้อลอดผ่านได้ 26

AW3-RS10.indd 26

08/12/2020 18:33


ชาวหนองระบูและบริเวณใกล้เคียงพากันมาอออยู่หน้าร้านพะเยาทวีผล รอรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชด�ำเนินด้วยรถยนต์พระที่นั่งผ่านมาทางถนนพหลโยธิน ไปทรงเยี่ยมสถานีประมงพะเยา เมื่อครั้งเสด็จฯ เยือนอ�ำเภอพะเยา วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๐๑ ผู้ยืนมือประสานกันอยู่ด้านหลังโต๊ะ ที่จัดเตรียมรับเสด็จคือบิดาผู้เขียน เตรียมทูลเกล้าฯ ถวายพระพิมพ์หนึ่งองค์ 27

AW3-RS10.indd 27

08/12/2020 18:33


ภาพถ่ายด้านหน้าโรงสีขนาดกลางพะเยาทวีผลช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ บิดากับมารดาผู้เขียนยืนขนาบลูกสาวคนโต (พี่สาวของผู้เขียน) ซึ่งนั่ง อยู่บนเครื่องคัดขนาดด้วยลูกกลิ้งหมุน ใต้ลงมาเห็นล�ำรางทางล�ำเลียง ข้าวสารลงกระสอบตามประเภทข้าวสาร ที่เห็นเหมือนเป็นเสา สี่เหลี่ยมตั้งตรงจากพื้นขึ้นสู่ด้านบนสุดในมุมซ้ายของภาพคือ ต้นกระพ้อ ภายในมีกระพ้อล�ำเลียง 28

AW3-RS10.indd 28

08/12/2020 18:33


เปรียบเทียบภาพขาวด�ำและภาพสีที่บิดาผู้เขียนใช้พู่กันแต้มสีตกแต่ง ภาพขึ้นเอง แม้จะตัดสินใจท�ำการค้าพืชผลเกษตรและมีลูกคนแรกแล้ว บิดาก็ยังมีใจภักดิ์อยู่กับการถ่ายภาพและตกแต่งภาพถ่าย 29

AW3-RS10.indd 29

08/12/2020 18:33


“บ้านคือกายาที่ใหญ่ขึ้นของกายเธอ เติบโตในแสงแดดและนอนหลับในความนิ่งสงัดของราตรี  ; และหาได้ไร้ความฝันไม่” คาลิล ยิบราน

“Your house is your larger body, It grows in the sun and sleeps in the stillness of the night; and it is not dreamless.”

Kahlil Gibran

AW3-RS10.indd 100

08/12/2020 18:34


ภาค

เมล็ดข้าว ในกระแสชาวจีน โพ้นทะเล

AW3-RS10.indd 101

08/12/2020 18:34


พ่อกับแม่เฝ้าแต่รับฟังท�ำนุบ�ำรุงความใฝ่ฝันของลูก ไม่เคยร�ำพึงร�ำพัน ความใฝ่ฝันของตัวเองให้ลูกได้ฟังบ้างเลย จนกระทัง่ เมือ่ ทัง้ สองจากไป บ้านของครอบครัวทีพ่ อ่ กับแม่ปลูกขึน้ ในถิน่ โรงสีแห่งเมืองพะเยาจึงค่อยๆ เผยตัวตนออกมาในความเงียบเหงา กระซิบบอกเรื่องราวเก่าๆ ที่ไม่เล่าก็ลืม ชี้ชวนให้ลูกหยิบจับพินิจพิจารณาข้าวของในบ้าน กุลกี จุ อช่วยปะติดปะต่อร้อยเรียงภาพถ่ายขาวด�ำใบเล็กๆ มากมาย เข้าด้วยกัน แล้วแย้มพรายให้รู้ถึงความใฝ่ฝันในวัยหนุ่มวัยสาวของพ่อกับแม่ ...นับจากตัวอักษรนี้ไป... ลูกขออนุญาตเล่าเรื่องราว ของพ่อผู้ใฝ่ฝันจะเปิดร้านถ่ายรูปเป็นงานอาชีพ ของแม่ผู้ซึ่งความใฝ่ฝันจะเป็นครูอยู่แค่เอื้อม สองความใฝ่ฝันที่โบยบินข้ามหลายล�ำน�้ำหลายขุนเขาด้วยหัวใจ ลุกโชน แต่แล้วกลับมอดลง  มอดลงจนดับสนิทบนถนนสายยาวที่สุดใน สยาม ศิโรราบให้แก่เมล็ดข้าวเปลือกข้าวสารบนลุม่ น�้ำอิงแห่งเมืองพะเยา 102

AW3-RS10.indd 102

08/12/2020 18:34


๑. ในถิ่นโรงสีลุ่มน�ำ้ อิง ด้วยระยะทางเกือบ  ๑,๐๐๐  กิโลเมตร  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ที่ เ รารู ้ จั ก กั น มากกว่ า ในชื่ อ ถนนพหลโยธิ น เป็ น ถนนสายยาวที่ สุ ด รองจากถนนเพชรเกษม แรกเริม่ ตัง้ ชือ่ ว่าถนนประชาธิปตั ย์  หมายความ ว่าประชาชนเป็นใหญ่  นับหลักกิโลเมตรที่  ๐  เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตยในกรุงเทพฯ  ไปทางทิศเหนือ  ตัดถึงดอนเมืองปี  ๒๔๗๙ ถึงลพบุรีปี  ๒๔๘๓  และขยายเส้นทางขึ้นไปเรื่อยๆ  จนสิ้นสุดที่อ�ำเภอ แม่สาย จังหวัดเชียงราย ติดกับท่าขี้เหล็กของพม่า การตั ด ถนนสายนี้ ไ ด้ ค วบรวมทางหลวงหลายสายที่ มี ม าก่ อ น รวมทั้งทางหลวงสายล�ำปาง-เชียงรายซึ่งจ�ำเป็นต้องท�ำนุบ�ำรุงไว้ให้ดี พอใช้การได้เสมอ  โดยเฉพาะตั้งแต่แน่ชัดว่ามีงบประมาณไม่พอสร้าง ทางรถไฟต่อจากเมืองแพร่แยกมาทางเมืองเชียงรายเมื่อครั้งก่อสร้าง ทางรถไฟสายเหนือมาถึงเมืองแพร่ปี  ๒๔๕๒  มาถึงเมืองล�ำปางเมื่อ ปี  ๒๔๕๘ การเดินทางแต่ไหนแต่ไรโดยเฉพาะการขนส่งสินค้าจากหัวเมือง ชายแดนอย่างเมืองเชียงแสนและเมืองเชียงรายอันอุดมด้วยของป่ารวม ทั้งไม้ลงใต้ไปถึงกรุงเทพฯ  ต้องอาศัยทางหลวงสายล�ำปาง-เชียงราย เส้นนี้เส้นเดียวเชื่อมต่อกับการขนส่งทางน�้ำวัง  น�้ำยมไหลไปสู่แม่น�้ำ เจ้าพระยา และสถานีรถไฟนครล�ำปางเมื่อเปิดใช้  ๑ เมษายน ๒๔๕๘ ภาค ๑

AW3-RS10.indd 103

103

08/12/2020 18:34


๑๐. ณ “สะพานโยง” แห่งเดียวของสยาม นานๆ  ที จึ ง จะมี ร ถยนต์ วิ่ ง ผ่ า นมาสั ก คั น บนถนนลู ก รั ง สายล�ำ ปางงาว ที่กรมทางหลวงได้ขยายการสร้างทางหลวงช่วงจังหวัดล�ำปางไปยัง จังหวัดเชียงรายเมื่อปี  ๒๔๕๘  ครั้นสร้างผ่านมาถึงชุมชนอ�ำเภองาวมีแม่น�้ำงาวไหลผ่านขวางกั้น อยูจ่ งึ ต้องสร้างสะพานจากบ้านน�ำ้ ล้อม ต�ำบลหลวงใต้  ข้ามมายังฝัง่ ตลาด บ้านหลวงเหนือ ต�ำบลหลวงเหนือ ผูอ้ อกแบบสะพานเป็นวิศวกรเยอรมัน ผู้ควบคุมการก่อสร้างคือขุนเจนจบทิศ (ชื้น ยงใจยุทธ) และหม่อมเจ้า เจริญใจ จิตรพงศ์  เริ่มสร้างปี  ๒๔๖๙ ใช้เวลาสร้าง ๑๘ เดือน สะพานกว้าง ๔ เมตร ยาว ๘๐ เมตรนี้ถูกใจชาวเมืองงาวยิ่งนัก ตัง้ แต่เริม่ เปิดใช้ป ี ๒๔๗๑ คนเดิน คนถีบจักรยานตลอดจนงัวล้อ (เกวียน เทียมวัว) ใช้สัญจรข้ามล�ำน�้ำงาวไปมาสะดวกสบาย รถยนต์ก็วิ่งผ่านได้ พากันเรียกชื่อสะพานนี้จนติดปากว่า “สะพานโยง” ตามรูปลักษณ์ของ สะพานเหล็กแขวน๑ที่สร้างโดยไม่มีเสารับน�ำ้ หนักด้านล่าง มีเสากระโดง สูง ๑๔ เมตรบนหัวสะพานสองฝัง่ ทีใ่ ช้รอกดึงสายโยงไว้โดยไม่มเี สากลาง พืน้ สะพานเป็นหมอนไม้วางบนรางเหล็กเหมือนทางรถไฟ ไม้หมอนเรียง เป็นลูกระนาด  ปูไม้กระดานทับเฉพาะช่วงล้อรถยนต์  เหลือพื้นที่เป็น ทางเท้า นับเป็นสะพานแขวน “สะพานโยง” แห่งเดียวในสยาม 232

AW3-RS10.indd 232

08/12/2020 18:34


เล่ากันว่าช่วงสงครามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดอย่างหนัก  ปี ๒๔๘๕-๒๔๘๘ ชาวบ้านชาวเมืองเป็นห่วงสะพานโยงมาก พร้อมใจลงมือ ช่วยกันกับทหารญีป่ นุ่ อ�ำพรางสะพานด้วยกิง่ ไม้ใบไม้รอดพ้นมาได้  กลาย เป็นสัญลักษณ์ของเมืองงาวจนถึงทุกวันนี้ หัวสะพานโยงตรงฝั่งบ้านหลวงเหนือนั้น เป็นบริเวณสามแยกจุด พบกันของถนนสายเล็กสามสายในชุมชนเมืองงาว เมื่อมีทางหลวงสาย ล�ำปาง-งาวผ่านเข้ามาบรรจบชิดใกล้แล้วจะหักซ้ายตรงขึน้ ไปทางทิศเหนือ สูเ่ มืองพะเยา  ณ จุดบรรจบหัวสะพานโยงตรงนีเ้ กิดเป็นท�ำเลค้าขาย มี กาด  (ตลาดสด)  ขนาดย่อม  ค�ำเมืองเรียกกาดก้อม  ซึ่งเป็นค�ำที่เลือน หายไปมากแล้วในปัจจุบัน  มีพืชผักผลไม้  อาหาร ขนม ของกิน ของ ใช้เล็กๆ  น้อยๆ  ที่พ่อค้าแม่ขายหาบหรือต่างล้อ  (บรรทุกเกวียน)  มา วางขาย  บ้านเรือนร้านค้ารายรอบก็ขายของใช้ของกินด้วย ตกสายก็วาย   บ้างเรียกกาดนีว้ า่  กาดเจ้า (ตลาดเช้า) ในความหมายเทียบกับ กาด หมัว้ ใหญ่  หรือกาดใหญ่  หรือเรียกค�ำเดียวว่า กาด ก็เป็นทีเ่ ข้าใจกัน ซึง่ ต้องขึ้นเหนือมาอีกตามทางหลวงสายล�ำปาง-งาวประมาณ ๒๐๐ เมตร มีของกินของใช้ขายมากชนิด ตามปรกติขายช่วงเช้า แต่กเ็ ข้าออกกันตลอด วันได้   ในช่วงบ่ายจ�ำนวนพ่อค้าแม่คา้ โดยเฉพาะของสดอาจลดลงบ้าง   ด้วยท�ำเลที่ตั้ง กาดหมั้วใหญ่  อยู่หน้าโฮงพัก  (สถานีต�ำรวจ)  มี สถานที่ราชการอื่นตั้งอยู่ในละแวกนี้ด้วย เช่น ที่ว่าการอ�ำเภอ โรงเรียน งาวภาณุนิยม ก่อตั้งเมื่อปี  ๒๔๕๗ จึงเป็นจุดคึกคักที่สุดของ “ในเวียง” ซึ่งหมายถึงบริเวณในเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่ค่อนข้างมาก จากจุดบรรจบหัวสะพานโยงถึงกาด และบริเวณสถานที่ราชการ บนทางหลวงสายล�ำปาง-งาว  ช่วงประมาณ  ๒๐๐  เมตร  ได้ใช้ชื่อถนน ประชาธิปตั ย์อยูร่ ะยะหนึง่  เมือ่ กรมทางหลวงขยายการสร้างทางหลวงจาก ภาค ๓

AW3-RS10.indd 233

233

08/12/2020 18:34


๑๕. พบโดยมิได้หา (ย) : เรื่องราวของบ้าน ตลอดวัยเด็กจนกระทั่งเรียนจบชั้นมัธยมฯ  ๓  ที่โรงเรียนสตรีพะเยา ปี  ๒๕๑๐ เวลามีคนพะเยาในต�ำบลเวียงถามผู้เขียนว่าบ้านอยู่ไหน ค�ำ ตอบสั้นๆ ว่า “หนองระบู  ร้านพะเยาทวีผล” ก็ชัดเจนพอแล้ว มีบ้างที่ ถามกลับมาว่า “บ้านเสีย่ สุมติ รแม่นก่อ” (แม่นก่อ คือ ใช่ไหม) บ้างเรียก “เด” ของเราด้วยค�ำน�ำหน้าชื่อว่า โก ซึ่งภาษาจีนไหหล�ำหมายถึงพี่ชาย แล้วอาจตามมาติดๆ ด้วยชื่อ “เจ๊บัวหยี” บางทีมีต่อท้ายว่า “ตี้มีโฮงสี ไจ้ก่อ” (ที่มีโรงสีใช่ไหม) ทุกวันนีท้ โี่ รงสีหยุดไปนานเกือบ ๓๐ ปีกย็ งั มีคนพะเยาอายุ  ๕๐-๖๐ เรียกผู้เขียนว่า “เจ๊โรงสี...” ทั้งๆ ที่ไม่ได้เคยเป็นผู้ประกอบการโรงสีเลย มีอาชีพอยู่กับแต่ตัวหนังสือ หลังปี  ๒๕๒๐ เมืองพะเยายกฐานะคืนเป็นจังหวัดอีกครัง้  ภูมทิ ศั น์ ของเมืองเปลี่ยนไป  สถานที่ราชการต่างๆ  ที่เคยตั้งในต�ำบลเวียง  เช่น ศาลากลาง ส�ำนักงานที่ดิน ส�ำนักงานป่าไม้  รวมทั้งส�ำนักงานไปรษณีย์ ย้ายออกไปอยู่ที่ศูนย์ราชการต�ำบลบ้านต๋อมซึ่งเป็นเขตนอกต�ำบลเวียง แต่ดว้ ยเส้นทางถนน “ซุปเปอร์” แปดเลนเลีย่ งเมืองทีเ่ ริม่ จากตรงสะพาน ข้ามน�ำ้ อิงนัน้ ผ่านตรงไปทางบ้านต๋อมชัว่ ลัดนิว้ มือเดียว เส้นทางซุปเปอร์ จึงมีรถราใช้สอยมากกว่าการจราจรบนถนนพหลโยธินช่วงตรงจากสะพาน 314

AW3-RS10.indd 314

08/12/2020 18:35


ข้ามน�้ำอิงผ่านเข้ามาทางหนองระบูที่เคยเป็นเส้นทางหลักสายเดียวเข้า เมือง  ซึ่งค่อยๆ  ลดความขวักไขว่ลง  ประกอบกับบรรดาโรงสีละแวก หนองระบูกไ็ ด้ทยอยปิดไปทีละโรงสองโรง รวมทัง้ โรงสีพะเยาทวีผลด้วย จนในที่สุดเหลือหนึ่งเดียวสุดท้ายคือโรงสีแสงพะเยาที่พ่อกับแม่รวมทั้ง ผูเ้ ขียนยังเรียกโรงสีระดับต�ำนานแห่งนีต้ ดิ ปากเสมอมาว่าโรงสีหยุย้ พงหล่ง หากไร้การวางผังเมืองให้เติบโตอย่างชาญฉลาด (smart growth) ก็อาจเป็นการเปิดพื้นที่ลุ่มต�่ำริมน�้ำอิงน�้ำกว๊านละแวกหนองระบู  ให้ กับการตั้งถิ่นฐานสร้างตึกรามบ้านช่องอย่างมือใครยาวสาวได้สาวเอา ที่ไม่เพียงไร้การอนุรักษ์ถิ่นเดิม แต่จะท�ำลายโครงข่ายทางธรรมชาติของ แหล่งน�้ำและนิเวศของลุ่มน�้ำโดยตรง ทุกแนวคิดและทฤษฎีการผังเมือง ของโลกไม่ยอมให้ใช้ที่ดินลุ่มต�่ำ  พื้นที่ลุ่มน�้ำ  และพื้นที่การเกษตรแปลง ใหญ่เป็นพื้นที่พัฒนาเมือง กอปรกับพะเยาเริ่มมีประชากรรุ่นใหม่ชุดใหม่  สถานศึกษาหลาย แห่งโดยเฉพาะวิทยาเขตมหาวิทยาลัยนเรศวรซึ่งต่อมาเป็นมหาวิทยาลัย พะเยาดึงดูดคนต่างถิ่นเข้ามามากมายโดยเฉพาะหนุ่มสาวที่เกิดหลัง ปี  ๒๕๒๐ ร้านค้า ร้านอาหารที่เป็นสาขาจากส่วนกลางมีพนักงานย้าย มาจากจังหวัดอื่นไม่น้อย ความคุ้นเคยความทรงจ�ำเกี่ยวกับภูมิทัศน์ของ ผูค้ นเมืองพะเยาก็คอ่ ยๆ เปลีย่ นไปตามนัน้   ร้านพะเยาทวีผลของเราหยุด กิจการไปกว่า ๓ ทศวรรษแล้ว  หมดยุคคนร่วมสมัยที่ชื่อเจ้าของบ้าน เจ้าของร้านจะใช้เป็นอัตลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ได้ เวลาตอบค�ำถามว่าบ้านอยูไ่ หน ทุกวันนีผ้ เู้ ขียนต้องระบุชดั เจนว่า “อยู่หนองระบู  ถนนพหลโยธิน  แถวๆ  ไปรษณีย์เก่า  หน้าโบสถ์ฝรั่ง เยือ้ งสหกรณ์” ถ้าผูถ้ ามยังถามต่อว่า “อยูไ่ กลตลาดอาเขตเกิน ๑๐ กิโล ไหม” ก็แสดงว่าเพิง่ ย้ายมาจากถิน่ อืน่  เช่น พนักงานร้านอาหารประเภท แฟรนไชส์  ร้านค้าขายปลีกขายส่งขนาดใหญ่  เป็นต้น   หากเป็นคนใน ภาค ๔

AW3-RS10.indd 315

315

08/12/2020 18:35


๑๘. เปิดประตู “บ้านใหม่” ธรรมเนียมจีนไหหล�ำหลังพิธีฝังบรรจุศพบิดามารดาเข้าฮวงซุ้ยแล้ว จะไม่อนุญาตให้เราลูกหลานกลับไปที่ฮวงซุ้ยจนกว่าจะครบ  ๓  วันจึง กลับไปเซ่นไหว้ที่ฮวงซุ้ยท�ำพิธีคุยโมว (開墓 ภาษาจีนไหหล�ำ  คุย คือ เปิด  และ  โมว  คือมณฑลฮวงซุ้ย  จีนกลางออกเสียงว่า  คัยมู่)  เป็น สัญลักษณ์การเปิดทางที่ยังปิดอยู่ระหว่างโลกของคนตายและโลกของ คนเป็น หมายความว่าผูจ้ ากไปและผูย้ งั อยูใ่ นครอบครัวสามารถเข้าออก ไปมาหาสูก่ นั ได้  ถือเป็นการได้พบกันครัง้ ใหม่ระหว่างผูจ้ ากไปและผูย้ งั อยู่ นับแต่นไี้ ปเราจะไปมาหาสูแ่ ละพบกันได้ระหว่างคนตายกับคนเป็น ท่านผู้จากไปจะอยู ่ ณ บ้านแห่งใหม่ของท่านอย่างสงบสุข เราลูกหลาน ก็จะอยู ่ ณ บ้านของเราอย่างสงบสุขเช่นกัน คู่เคียงกันไป   ฮวงซุย้ ถือเป็นบ้านของคนตายในปรโลกทีอ่ ยูค่ เู่ คียงกับโลกของคน เป็น  บรรพบุรษุ ผูจ้ ากไปจะปกปักรักษาคุม้ ครองลูกหลานผูส้ บื สายสกุล ต่อมา รวมทั้งจะช่วยดลบันดาลให้ลูกหลานมีความส�ำเร็จได้ดังประสงค์ โดยลูกหลานมีหน้าที่ท�ำนุบำ� รุงดูแลรักษาฮวงซุ้ยของบรรพบุรุษ  ความสืบเนือ่ งของสายตระกูล หมายถึงการมีทงั้ คนตายและคนเป็น การสร้างและดูแลรักษาฮวงซุ้ยสุสานที่พ�ำนักของคนตายส�ำหรับ คนจีนเป็นการแสดงถึงกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรษุ ผูซ้ งึ่ ขาดไปแม้เพียง 360

AW3-RS10.indd 360

08/12/2020 18:35


คนใดคนหนึ่ง ลูกหลานก็ไม่มีวันนี้ อันที่จริงสถาปัตยกรรมฮวงซุ้ยของจีนที่ด้านหน้ามีรูปทรงเป็น สามช่องเสา  สร้างตามหลักสถาปัตยกรรมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยตาม ภูมิปัญญาจีนโบราณ  ซึ่งเป็นหลักโครงสร้างพื้นฐานลงเสาสร้างบ้าน นั่นเอง๗  ดังที่พบฮวงซุ้ยเก่าแก่ของจีนมีลักษณะสามช่องเสาหรือสาม คูหาอายุถึง ๒,๐๐๐ ปี ส�ำหรับเราลูกหลานเมือ่ สิน้  “เดกับมา” ฮวงซุย้ เป็นรูปธรรมทีค่ งรูป ถาวรที่สุดในบรรดาชุดพิธีกรรมทั้งจีนและไทย  ช่วยให้เราลูกหลานได้ สติยอมรับว่าพ่อแม่ได้ข้ามประตูผ่านด่านสู่อีกโลกหนึ่งอีกภพหนึ่งแล้ว โลกของท่านและโลกของเราสองขั้วแห่งความตายและความเป็น  คือ เงื่อนไขตามธรรมชาติของชีวิตที่จะอยู่คู่กัน เมือ่  “เด” จากไป ๘ มีนาคม ๒๕๕๒ ซินแสจีนแต้จวิ๋ ผูท้ ำ� พิธบี รรจุ ศพย�ำ้ แล้วย�ำ้ อีกกับเราลูกสามคนว่าพิธศี พของบิดาเป็นหน้าทีแ่ สดงความ กตัญญูของลูก แม่นนั้ เหน็ดเหนือ่ ยเคียงข้างพ่อมานาน ควรจะได้พกั ผ่อน ผู้เขียนซาบซึ้งใจมากที่ธรรมเนียมจีนมีไว้อย่างนี้  ได้จ�ำไปบอกแม่ผู้ซึ่ง ในเวลานัน้ มะเร็งตับเริม่ คุกคามชีวติ  เข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาล แม่รบั ฟัง อย่างดี  ปล่อยวางให้ลูกๆ จัดการทุกอย่างลุล่วงไป สองปีให้หลัง เมือ่  “มา” จากพวกเราไป ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ คราวนี้สายธารแห่งความสูญเสียโศกเศร้าไหลแรงหนุนเนื่องทวีคูณ ซินแสจีนท่านเดียวกันมาท�ำพิธีบรรจุศพแม่ เพิ่งได้รู้และเข้าใจพิธีกรรมทั้งหลายที่ว่าท�ำเพื่อผู้วายชนม์  แต่ทุก ขณะรูส้ กึ เหมือนว่าท�ำเพือ่ ลูกหลานทีย่ งั มีชวี ติ อยูพ่ ร้อมๆ กันไปด้วย ยิง่ เมือ่ ซินแสได้ให้ลกู อยูใ่ กล้ๆ ร่างสงบนิง่ ของพ่อแม่  ได้จดั หาเสือ้ ผ้าเครือ่ ง นุง่ ห่ม เย็บเสือ้ ผ้าให้ตดิ กันเป็นสัญลักษณ์วา่ จะไม่ถอดออกมาเปลีย่ นอีก แล้ว ให้ปอ้ นอาหารเป็นครัง้ สุดท้าย กราบลาร่างของท่านเป็นครัง้ สุดท้าย ภาค ๔

AW3-RS10.indd 361

361

08/12/2020 18:35


เกี่ยวกับผู้เขียน

สุกัญญา หาญตระกูล จบปริญญาตรีอักษรศาสตร์ (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๑๖) ปริญญาโทวรรณคดีเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยเอ๊กซ์-ออง-โพรวองซ์ ด้วยทุนการ ศึกษารัฐบาลฝรั่งเศส  และปริญญาโทสังคมวิทยา  มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ด้วยทุนการศึกษาสมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งเมืองบริสเบน ออสเตรเลีย เขียนและแปลหนังสือหลายเล่มด้านการศึกษาและวรรณคดีร่วมสมัย ล่ า สุ ด ปั ญ ญาแห่ ง ยุ ค สมั ย  คุ ณ นิ ล วรรณ  ปิ ่ น ทอง  (ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ซิ ล ค์ เ วอร์ ม , ๒๕๕๘)  เป็นหนังสือสารคดีเล่มแรกที่พิมพ์เผยแพร่และได้รับคัดเลือกเข้ารอบ สุดท้ายในการประกวดหนังสือดีเด่นประจ�ำปี  ๒๕๕๙  เป็นคอลัมนิสต์ประจ�ำ กรุงเทพธุรกิจ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ ถึงปัจจุบัน ก่อนหน้านั้นเคยเป็นบรรณาธิการ ร่วมนิตยสารสตรีสาร (๒๕๒๘-๒๕๓๔)

432

AW3-RS10.indd 432

08/12/2020 18:35


ISBN 978-616-465-039-8 9

786164

สุกัญญา หาญตระกูล

หมวดสารคดี / ประวั ติ ศ าสตร์

จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล

ลายลักษณ์อักขระจีนแต่ละเส้น แต่ละขีด แต่ละจุด แต่ละแต้ม คล้าย ๆ ก�ำลังจะไหวตัวและเคลื่อนอย่างมีลมหายใจของตัวเอง ไม่ยอมถูกตรึงไว้ติดก�ำแพงอีกต่อไป เริ่มขยับตัวออกโบยบิน เริงร่าใต้หลังคาโรงเรือนที่เคยเป็นโรงสี ความเคลื่อนไหวตรงหน้าคือคนกับเครื่องจักรซึ่งก�ำลัง เปลี่ยนแปรสีเหลืองทองของข้าวเปลือกในครกออกมาเป็น สีขาวนวลของเมล็ดข้าวสาร โลดแล่นอยู่เต็มจักษุ ก้องอยู่ใน โสตประสาท คือโรงสีที่ฟื้นคืนชีพเดินเครื่องขึ้นมาใหม่

ลมพัด มิรู้ล่วงหน้า

๑ ปี ๑๒ เดือน ต้นปีวางแผนทํา ๑ วันแต่เช้า ก็คิดออกมาแล้ว ครอบครัวอยู่ที่รักกัน ไม่ทะเลาะกัน ขยัน น้ําไหลแรง เหลือแต่ทรายหยาบ ลมพัด มิรู้ล่วงหน้า

สั่งซื้อออนไลน์ที่ @sarakadeemag

650398

ราคา ๔๙๙ บาท

๔๙๙.-

ลมพัด มิรู้ ล่วงหน้า

จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล

สุกัญญา หาญตระกูล


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.