ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา

Page 1

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดําริห์กุล

หมวดประวัติศาสตร์/ศิลปะ ราคา ๓๘๐ บาท ISBN 978-616-7767-98-7

ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา

ล้านนาในอดีตเป็นกลุ่มบ้านเมืองหรือแคว้นสำ�คัญที่มีดินแดนตั้ง อยู่ ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีเรื่องราวในทาง ประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจนอยู่ ในเอกสาร ตำ�นานต่าง ๆ ของ ท้องถิ่น และมีร่องรอยหลักฐานโบราณวัตถุและโบราณสถานที่มี อัตลักษณ์ของตนเองเหลืออยู่จำ�นวนมาก  หนังสือ ประวัติศาสตร์ และศิ ล ปะล้ า นนา เสนอเรื่ อ งราวทั้ ง ในทางประวั ติ ศ าสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี และมรดกศิลปวัฒนธรรมของ ล้านนา ซึ่งมีลักษณะเป็นสหวิทยาการที่บูรณาการความรู้ร่วมกัน  อันเป็นมุมมองทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในอีกมิติหนึ่ง ทีจ่ ะช่วยเสริมเติมเต็มภาพอดีตของล้านนาให้มคี วามสมบูรณ์ยง่ิ ขึน้

ประวัติศาสตร์

และศิลปะ

ลานนา ้

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดําริห์กุล


ISBN 978-616-7767-98-7 หนังสือ ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา ผู้เขียน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ด�ำริห์กุล พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๖๑ จ�ำนวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ๓๘๐ บาท ราคา ©© สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด บรรณาธิการเล่ม ภาพประกอบ ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลต พิมพ์ที่ จัดพิมพ์โดย จัดจ�ำหน่าย

อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ด�ำริห์กุล ณิลณา หุตะเศรณี ธนา วาสิกศิริ เอ็น. อาร์. ฟิล์ม  โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์  โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุร ี (สนามบินน�้ำ)  ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุร ี นนทบุร ี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ สุรพล ด�ำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา. - - นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๑. ๓๑๒ หน้า. ๑. ไทย - - ประวัติศาสตร์ - - ล้านนา.  ๒. ศิลปกรรมไทย - - ล้านนา.  I. ชื่อเรื่อง. ๙๕๙.๓๐๑ ISBN 978-616-7767-98-7

ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด)  ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนน นนทบุรี  (สนามบินน�้ ำ ) ต�ำ บลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี  นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑  ทีป่ รึกษา ศรีศกั ร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช  สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  ผู้อ�ำนวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ ผู ้ อ�ำนวยการฝ่ า ยศิลป์  จ�ำ นงค์  ศรีนวล  ผู้จัดการฝ่ายการตลาด/ประชาสัมพันธ์ กฤตนัดตา หนูไชยะ  บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์  ที่ปรึกษา กฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

2

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ แ ล ะ ศิ ล ป ะ ล้ า น น า


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ดินแดนภาคเหนือของประเทศไทยเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์และ

วัฒนธรรมส�ำคัญที่พบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เมื่อหลายแสนปีมาแล้ว ตัง้ แต่สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์  มาสูก่ ารตัง้ บ้านเมืองทีม่ แี คว้นหริภญ ุ ชัยเป็นเมือง ศูนย์กลางอ�ำนาจและวัฒนธรรมบนลุ่มน�้ำปิง-วังในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ แคว้นโยนกในเขตที่ราบลุ่มเชียงราย และการตั้งอาณาจักรล้านนาโดยพระญา มังราย เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ ที่ต่อมาขยายอิทธิพลเหนือบ้านเมืองทั้งในเขตลุ่มน�้ำ ปิง วัง ยม น่าน และเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองสืบมาจนถึงต้นพุทธศตวรรษที ่ ๒๔ ที่บ้านเมืองในล้านนาถูกทิ้งร้างเนื่องจากการสงครามระหว่างอยุธยากับพม่า “ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา” ผลงานของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ด�ำริห์กุล อดีตศาสตราจารย์แห่งคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ น�ำเสนอประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนาโดยให้สาระความรู้พื้นฐานมาตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มาสู่การสร้างบ้านเมืองและอาณาจักร จวบจนถึงสมัย ปัจจุบันที่อาณาจักรล้านนาในอดีตได้กลายเป็นจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือตอน บนของประเทศไทย  ที่ส�ำคัญคือ ให้ผู้อ่านเข้าใจถึงบริบททางประวัติศาสตร์ ที่สัมพันธ์กับรูปแบบและพัฒนาการของงานศิลปะและสถาปัตยกรรมล้านนา อันเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปะไทย ที่สามารถ น�ำไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาและท�ำความเข้าใจประวัติศาสตร์และศิลปะ ไทยในสมัยอื่น ๆ ต่อไปได้เช่นกัน ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ มีนาคม ๒๕๖๑

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

3


ค�ำน�ำผู้เขียน ล้านนาในอดีตเป็นกลุม ่ บ้านเมืองหรือแคว้นส�ำคัญทีม่ ดี นิ แดน ตัง้ อยูใ่ นเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย  มีเรือ่ งราวในทางประวัตศิ าสตร์ ปรากฏชัดเจนอยู่ในเอกสาร ต�ำนานต่าง ๆ ของท้องถิ่น และมีร่องรอยหลักฐาน โบราณวัตถุและโบราณสถานที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเองเหลืออยู่จ�ำนวนมาก ที่ผ่านมามีผู้สนใจและนักวิชาการท�ำการศึกษาและเขียนหนังสือเผยแพร่เรื่อง ราวของล้านนาในแง่มุมต่าง ๆ เป็นอันมาก โดยเฉพาะทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะ  แต่หนังสือที่เกี่ยวกับล้านนาเหล่านัน้ มักมี เนื้อหาเน้นเฉพาะไปในศาสตร์ด้านใดด้านหนึง่  เช่น ประวัติศาสตร์ล้านนา หรือ ศิลปะล้านนา  รวมทั้งระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการศึกษาและวิจัยเรื่องราวของ ล้านนาโดยเฉพาะทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะมากขึ้น จึงท�ำให้ มีความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นมากด้วย ดังนั้นเรื่องราวในหนังสือ “ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา” เล่มนี้จึง เป็นการเสนอเรื่องราวทั้งทางประวัติศาสตร์ และมรดกศิลปวัฒนธรรมของ ล้านนา ซึ่งจะเป็นเนื้อหาทั้งในทางประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และ โบราณคดี ซึ่งมีลักษณะเป็นสหวิทยากรที่บูรณาการความรู้ร่วมกัน  อันเป็นมุม มองทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในอีกมิติหนึง่  ที่จะช่วยเสริมเติมเต็มภาพ รวมเรื่องราวในอดีตของล้านนาให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  จึงเป็นที่คาดหวัง ว่าหนังสือเล่มนีจ้ ะเป็นประโยชน์ส�ำหรับการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ตลอดจนนักวิชาการและผู้ที่สนใจเรื่องราวในอดีตของล้านนา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล  ด�ำริห์กุล

4

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ แ ล ะ ศิ ล ป ะ ล้ า น น า


สารบัญ ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน

๓ ๔

บทน�ำ

บทที ่ ๑ พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในเขตภาคเหนือตอนบน สังคมล่าสัตว์และเก็บเกี่ยวพืชผล  สังคมกสิกรรม

๑๒

บทที ่ ๒ เมืองและรัฐในเขตภาคเหนือตอนบนก่อนล้านนา พัฒนาการของสังคมเมืองและรัฐในประเทศไทย สังคมเมืองและรัฐในเขตภาคเหนือตอนบน  สังคมเมืองและรัฐแห่งแรกๆ ในเขตภาคเหนือตอนบน แคว้นหริภุญไชย : รัฐแห่งแรกในเขตภาคเหนือตอนบน แคว้นโยนก แคว้นภูกามยาวหรือพะเยา แคว้นน่าน

๒๑ ๒๑ ๒๒ ๒๔ ๒๗ ๓๑ ๓๕ ๓๗

บทที่ ๓ ประวัติศาสตร์และเมืองส�ำคัญของล้านนา ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติและพัฒนาการของเมืองส�ำคัญในล้านนา พัฒนาการทางกายภาพของเมืองโบราณ ประวัติศาสตร์และลักษณะกายภาพของเมืองส�ำคัญในล้านนา

๔๓ ๔๓ ๖๖ ๖๖ ๖๙

บทที ่ ๔ ศิลปะก่อนล้านนา ศิลปะหริภุญไชย สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม ศิลปะเชียงแสน ประติมากรรม สถาปัตยกรรม

๑๒ ๑๖

๑๒๘ ๑๒๘ ๑๒๙ ๑๓๓ ๑๓๗ ๑๓๗ ๑๓๘ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

5


บทที่ ๕ ประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนา ประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนายุคต้น ประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนายุครุ่งเรืองหรือล้านนายุคทอง ความเจริญรุ่งเรืองของล้านนาระยะแรก ความเจริญรุ่งเรืองของล้านนายุคทอง ประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนายุคเสื่อม ประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนายุคฟื้นฟูหรือยุคหลัง

๑๔๒ ๑๔๓ ๑๔๖ ๑๔๗ ๑๕๓ ๑๕๖ ๑๕๘

บทที่ ๖ ศิลปะยุคล้านนา สถาปัตยกรรมยุคล้านนา เจดีย์ล้านนา วิหารล้านนา ศิลปกรรมยุคล้านนา พระพุทธรูปล้านนา จิตรกรรมล้านนา ลวดลายล้านนา เครื่องเคลือบดินเผาล้านนา

๑๖๔ ๑๖๔ ๑๖๔ ๑๙๔ ๒๐๑ ๒๐๒ ๒๑๗ ๒๒๔ ๒๔๒

บทที่ ๗ ศิลปะล้านนายุคหลังหรือยุคฟื้นฟู สถาปัตยกรรมล้านนายุคหลังหรือยุคฟื้นฟู วิหารล้านนายุคหลัง วัดในศิลปะแบบพม่า ศิลปกรรมล้านนายุคหลังหรือยุคฟื้นฟู จิตรกรรมฝาผนังล้านนายุคหลัง ลวดลายประดับศาสนสถานล้านนายุคหลัง ศิลปหัตถกรรมพื้นถิ่นล้านนายุคหลัง เครื่องเขิน : ศิลปหัตถกรรมของชาวไทเขิน เมืองเชียงตุง นํ้าต้นและหม้อนํ้าเงี้ยว บ้านเหมืองกุง ผ้าทอไทลื้อ

๒๖๐ ๒๖๐ ๒๖๐ ๒๖๕ ๒๖๗ ๒๖๗ ๒๗๑ ๒๘๔ ๒๘๔ ๒๘๙ ๒๙๐

บทส่งท้าย บรรณานุกรม

๒๙๖ ๒๙๙

6

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ แ ล ะ ศิ ล ป ะ ล้ า น น า


บทน�ำ บริเวณพืน้ ทีภ่ าคเหนือตอนบนของประเทศไทย รวมทัง้ ดินแดนบาง

ส่วนของประเทศพม่า จีน และลาวเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา เคยเป็นที่ตั้งของกลุ่มบ้านเมืองที่มีการปกครองเป็นแคว้นอิสระที่มีความสัมพันธ์ กันทั้งในทางการเมือง เชื้อชาติ ประเพณี และศิลปวัฒนธรรม  เป็นที่รู้จักกัน ในนาม ล้านนา มีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง  ปรากฏหลักฐานในเอกสาร ทางประวัตศิ าสตร์บางฉบับได้กล่าวว่า  ดินแดนล้านนาประกอบด้วย ๕๗ เมือง๑ แต่ไม่ได้ระบุว่ามีเมืองใดบ้างและอยู่ช่วงเวลาใด  ในเอกสารโบราณของจีนเรียก ดินแดนส่วนนีว้ า่  อาณาจักรปาไปสีฟ ู (Pa-Pai-hsi-Fu Kingdom)๒  และมีการกล่าว ถึงอาณาเขตของอาณาจักรปาไปสีฟูว่า ทางทิศตะวันออกจรดแม่น�้ำโขง  ทิศ ตะวันตกจรดแม่น�้ำสาละวิน  ทิศใต้จรดสวรรคโลก  และทิศเหนือถึงเขตทาง เหนือของเชียงแสนถึงเชอหลี่ (แคว้นสิบสองพันนา)๓ อย่างไรก็ตามในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ เป็นต้นมา  แคว้น ล้านนามีความเจริญรุ่งเรืองมาก  นับเป็นกลุ่มบ้านเมืองที่มีความส�ำคัญที่อยู่ ร่วมสมัยกับแคว้นสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา  ต่อมาได้เสื่อมสลายตกอยู่ภาย ใต้อิทธิพลของพม่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒  และได้พยายามกอบกู้เอกราช จนสามารถปกครองตนอย่างเป็นอิสระได้เป็นครั้งคราว  กระทั่งในตอนต้นพุทธศตวรรษที ่ ๒๔ เป็นประเทศราชขึน้ ต่อกรุงรัตนโกสินทร์และถูกผนวกเข้าเป็นส่วน หนึง่ ของสยามประเทศนับตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ เป็นต้นมา  จากพื้น ฐานทางประวัติศาสตร์อันยาวนานที่ผ่านมาได้เป็นเบ้าหล่อหลอมให้ผู้คนในดิน แดนแห่งนี้มีแบบแผนทางศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตที่มีลักษณะ เฉพาะของตนเอง ซึ่งแตกต่างไปจากผู้คนในดินแดนอื่น  ชาวล้านนามักจะเรียก ตนเองและกลุ่มของพวกตนว่า คนเมือง  แต่คนต่างถิ่นมักจะเรียกชนกลุ่มนี้ว่า โยนหรือยวน  ค�ำเรียกนีค้ งมีที่มาจากชื่อของแคว้นโยนกและชาวโยนกหรือยวน ทีม่ ถี นิ่ ฐานเดิมอาศัยอยูใ่ นแถบพืน้ ทีร่ าบจังหวัดเชียงราย ซึง่ คนกลุม่ นีใ้ นเวลาต่อ มาได้มีอ�ำนาจและเป็นผู้น�ำในการก่อตั้งอาณาจักรล้านนา

“ลานนา” หรือ “ล้านนา”

เดิมทีนักการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีจะเรียกชื่อกลุ่ม บ้านเมืองหรือแคว้นที่ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนดังกล่าวนี้ว่า “ลานนา” หรือ “ลานนาไทย” และ “ล้านนา” หรือ “ล้านนาไทย” บ้าง  โดยไม่มคี วามรูส้ กึ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

7


ขัดแย้งหรือเห็นถึงความหมายทีแ่ ตกต่างกันแต่ประการใด  เมือ่ กาลเวลาผ่านไป มีการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการมากขึ้น จึงมีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้หยิบยก ประเด็นดังกล่าวขึ้นมาค้นคว้าหาหลักฐานและได้เสนอความเห็นว่า “ล้านนา” น่าจะเป็นค�ำทีถ่ กู ต้องทัง้ ในทางอักขรวิธแี ละความหมาย จึงท�ำให้เป็นข้อถกเถียง และข้อขัดแย้งทางความคิดเห็นที่แตกต่างกัน สืบเนือ่ งจากปัญหาดังกล่าว คณะกรรมการช�ำระประวัตศิ าสตร์ไทย ส�ำนัก เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาข้อปัญหาที่เกี่ยวข้องกับค�ำว่า “ลานนาล้านนา” แล้วมีมติว่า “ล้านนา” ควรจะเป็นค�ำที่ถูกต้อง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ ๑. หลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ ชม/๗ หรือจารึกวัดเชียงสา อ�ำเภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งจารึกใน พ.ศ. ๒๐๙๖ นับเป็นหลักฐานเก่าสุดที่ ปรากฏค�ำเรียก ล้านนา ๒. หลักฐานทางชื่อภาษาบาลี   ดังปรากฏในต�ำนานพระญาเจื๋อง มี ข้อความว่า“ในเมืองเงินยางเขตฺตทสลขราชธานี อันกลาวคืวาเมิงลานนา”  เอกสารนี้ไม่ใช้วรรณยุกต์ แต่ค�ำว่า “เขตฺตทสลข” (เขตฺตทสลกฺข) แปลว่า สิบ แสนนาหรือล้านนานัน่ เอง  นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแต่งตั้งเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ด�ำรงนพีสีนครสุนทรทศลักษณ์เกษตร เป็น เจ้านครเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ ซึ่งค�ำว่า “ทศลักษณ์เกษตร” ก็คือสิบแสน นาหรือล้านนานัน่ เอง ๓. หลักฐานจากต�ำนานและใบลาน (๑) พงศาวดารโยนก โดยพระยาประชากิจกรจักร  ผู้ค้นคว้าต�ำนานภาค เหนือและรู้เรื่องของภาคเหนืออย่างเชี่ยวชาญ  ใช้ค�ำว่า ล้านนา มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๐ เมื่อพิมพ์พงศาวดารโยนกครั้งแรกใช้ค�ำว่า “ล้านนา” เกือบจะทุกแห่ง ที่มีใช้ลานนาเพียงไม่กี่แห่ง  (๒) โคลงมังทราตีเชียงใหม่  ในใบลานซึ่งคัดไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๑ ใช้ค�ำ ว่า “ล้านนา” เช่นกัน (๓) โคลงนิราศหริภุญไชยบทที่ ๑๐๘ ฉบับกรุงเทพฯ มีข้อความว่า“เป็น  ปิ่นทศลักษณ์  เลิศหล้า” และฉบับภาคเหนือมีข้อความว่า “จอมจันโลกทศรัก  เลิศหล้า”  ค�ำว่า “ทศลักษณ์” ย่อมหมายถึง ล้านนา เช่นกัน ๔. ค�ำว่า “ล้านนา” เกิดขึ้นเมื่อใดนั้น มีหลักฐานว่าไทยทางภาคเหนือ ใช้ “พันนา” เป็นเขตการปกครองมาตั้งแต่สมัยโบราณ  และไทยภาคเหนือคง ใช้ค�ำว่า “ล้านนา” อย่างเร็วที่สุดในสมัยพระญากือนา (พ.ศ. ๑๘๙๘-๑๙๒๘) เพราะจารึกหลักที่ ๖๒ (วัดพระยืน) พ.ศ. ๑๙๑๓  เรียกพระญากือนาว่า “เจ้า ท้าวสองแสนนา”  ต่อมาในปีระกา สัปตศก จ.ศ. ๗๖๗ (พ.ศ. ๑๙๔๘) พระญา 8

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ แ ล ะ ศิ ล ป ะ ล้ า น น า


สามฝัง่ แกนสถาปนาเจ้าผูค้ รองนครเชียงแสนให้เป็นเจ้าศรีสวุ รรณค�ำล้านนาไชย สงคราม เป็นใหญ่กว่าล้านนาเชียงแสนทั้งมวล๔ อย่ า งไรก็ ต ามในปั จ จุ บั นนัก วิ ช าการส่ ว นใหญ่ ต ่ า งยอมรั บ และใช้ ค� ำ ว่า “ล้านนา” ตามมติของคณะกรรมการช�ำระประวัติศาสตร์  แต่กระนัน้ ยังมี นักวิชาการบางส่วนยังคงใช้ค�ำว่า ลานนา ตามแบบเดิมอยู่  ส�ำหรับผู้เขียนเห็น ว่าค�ำว่า “ลานนา” หรือ “ล้านนา” น่าจะใช้ได้ทั้งสองค�ำ ที่หมายถึงดินแดนที่ อยู่ในภาคเหนือตอนบน โดยไม่ควรมีข้อคลางแคลงใจว่าค�ำไหนผิด ค�ำไหนถูก เพราะแท้จริงแล้วทั้งสองค�ำถูกใช้มาเป็นเวลานานจนเกิดเป็นส�ำนึกและเข้าใจ ว่ามีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน  และทั้งสองค�ำก็มีหลักฐานทางวิชาการเป็น เหตุเป็นผลรองรับ  ทั้งนี้มติของคณะกรรมการช�ำระประวัติศาสตร์เป็นเพียง ความเห็นและข้อเสนอแนะของทางราชการที่จะมีผลบังคับใช้ส�ำหรับการเขียน ต�ำราและหนังสือทางประวัติศาสตร์ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการ สอนของสถานศึกษาโดยเฉพาะ เพื่อให้เป็นมาตรฐานอย่างเดียวกัน มิให้เกิด ความสับสน  แต่มติดังกล่าวคงไม่ใช่ค�ำสั่งที่สามารถจะบังคับในทางวิชาการให้ ทุกฝ่ายต้องเชื่อและปฏิบัติตามได้  เพราะความเห็นวิชาการทางประวัติศาสตร์ และเรื่องราวในอดีตไม่มีใครรู้แน่ชัดและสามารถยืนยันได้แน่นอน ขึ้นอยู่กับน�้ำ หนักของข้อมูลและหลักฐาน  ดังนัน้ จึงเป็นสิทธิที่นกั วิชาการจะสามารถใช้ค�ำ ว่า “ลานนา” หรือ “ล้านนา” ก็ได้   อย่างไรก็ตามเพื่อมิให้เกิดความสับสน และเป็นแนวทางเดียวกัน  หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนจะใช้ค�ำว่า ล้านนา ตามความ เห็นของคณะกรรมการช�ำระประวัติศาสตร์ดังรายละเอียดที่กล่าวไปแล้ว ล้านนาเป็นดินแดนที่ปรากฏเรื่องราวและร่องรอยของมรดกทางศิลปะ และวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเองอย่างชัดเจน  สิ่งเหล่านี้ล้วนมี ความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์  สังคม และวัฒนธรรมของบ้านเมือง  รวมถึง เรื่องราวการเข้ามาของพระพุทธศาสนา  เนื่องจากล้านนาเป็นศูนย์กลางของ พระพุทธศาสนา  จึงส่งผลให้ปรากฏร่องรอยมรดกทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะ ศิลปะและสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาอยู่จ�ำนวนมาก  ด้วยเหตุนี้ เนื้อหาในหนังสือ ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา เล่มนี้จึงเป็นเรื่องราวทาง ประวัตศิ าสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของล้านนาทีเ่ กีย่ วข้องกับการศึกษาทัง้ ทาง ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ซึ่งมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ ทีบ่ รู ณาการความรู้ร่วมกัน อันจะช่วยเติมเต็มเรือ่ งราวในอดีตของมนุษย์มคี วาม สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นเรื่องราวที่จะน�ำเสนอในหนังสือเล่มนี้จึงเกี่ยวข้องกับพัฒนาการ ทางประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง ประวัติความเป็นมาของการเผยแผ่พระพุทธ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

9


บทที ่

พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในเขตภาคเหนือตอนบน พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมในเขตภาคเหนือตอนบนของ

มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตรมีหลักฐานที่น่าสนใจหลายประการ  เนื่องจาก บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง ที่เป็นแนวลง มาจากทางตอนกลางของทวีปเอเชียและต่อเนื่องลงไปจนถึงหมู่เกาะทางตอน ใต้  อีกทั้งยังอยู่ระหว่างภูมิภาคที่พบหลักฐานของซากดึกด�ำบรรพ์ของมนุษย์ รุ่นแรก ๆ ในตระกูลมนุษย์วานร เช่นในอินเดีย จีน และเกาะชวา  ท�ำให้เชื่อ ว่าบริเวณภาคเหนือและพื้นที่สูงทางตะวันตกของประเทศไทยน่าจะเป็นที่อยู่ อาศัยและแหล่งหลักฐานส�ำคัญของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคแรก ๆ ของโลก  ดังนั้นในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการศึกษาทางโบราณคดีใน เขตภาคเหนือตอนบนและพบหลักฐานเกี่ยวข้องกับมนุษย์โบราณสมัยก่อน ประวัติศาสตร์มากขึ้น  ที่เก่าแก่ที่สุด ได้แก่ การพบเครื่องมือหินของมนุษย์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านด่านชุมพล อ�ำเภอแม่ทะ จังหวัดล�ำปาง ซึ่งพบ อยู่ใต้ชั้นหินบะซอลต์ ที่ก�ำหนดอายุให้อยู่ในยุคไพสโตซีนตอนต้น (Pleistocene) เมื่อประมาณ ๖ แสนปีมาแล้ว๑  และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ พบชิ้นส่วนฟอสซิล กระดูกของมนุษย์โฮโมอีเรกตัส (Homo Erectus) ที่มีอายุประมาณ ๑ ล้านถึง ๔ แสนปีมาแล้วที่แหล่งดอยท่าก้า ต�ำบลนาแส่ง อ�ำเภอเกาะคา จังหวัดล�ำปาง๒ อย่างไรก็ตามลักษณะสังคมและวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของ มนุษย์รุ่นแรก ๆ ที่ปรากฏหลักฐานอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน  แบ่งไป ตามขัน้ ตอนของวิวฒ ั นาการทางสังคมวัฒนธรรมตามแนวความคิดของกอร์ดอน ไชล์ด (Gordon Childe)๓  มีลักษณะและหลักฐานดังนี้

สังคมล่าสัตว์และเก็บเกี่ยวพืชผล

ในสมัยโฮโลซีน (Holocene) ที่มีอายุราว ๑๒,๐๐๐-๗,๕๐๐ ปีมาแล้ว เป็นระยะเริ่มแรกของสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในเขตภาคเหนือตอนบน เป็นสังคมล่าสัตว์และเก็บเกี่ยวพืชผล (hunting and food gathering society) 12

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ แ ล ะ ศิ ล ป ะ ล้ า น น า


แนวทิวเขา ที่ราบลุม

.ก

๑๑๑๒

แผนที่แสดงแหล่งโบราณคดี ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในภาคเหนือ ๑  หุบแม่ฮ่องสอน ๒  ถ�้ำผี แม่ฮ่องสอน ๓  เพิงผาช้าง ออบหลวง เชียงใหม่ ๔  หุบแม่แจ่ม เชียงใหม่ ๕  หุบแม่ออน เชียงใหม่

น. ป

าด

น. ว

ัง

๑๐

ทิวเขาหลวงพระบาง น. วา

น. นาน

น. ย

น. อิง

ีปนนํ้า ทิวเขาผ

น. ย

น. ตื๋น

ทิวเขาถนนธงชัย

น. แ ๓ ๔ จม

น. ลี้

น. ยวม

๗ ๖ ๘

วง น. ก

น ทิวเขาข. ทุนาต าน

น. แ ตง

น. จา

น. งดั

น. ปง

ปา ย

๑ น .

นลาว ทิวเขาแด

น. ลาว

น. ฝ า

น. โขง

๖  บ้านสันป่าค่า เชียงใหม่ ๗  บ้านยางทองใต้ เชียงใหม่ ๘  บ้านวังไฮ ล�ำพูน ๙  แหล่งโบราณคดีแม่เมาะ ล�ำปาง ๑๐ แหล่งโบราณคดีเขาแก้ว น่าน ๑๑ เขาชมพู น่าน ๑๒ ดอยภูทอก น่าน

หรือสังคมก่อนการเกษตรกรรม  ยังไม่รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์  หากแต่ ด�ำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ป่าและหาพืชพันธุ์ผลหมากรากไม้เป็นอาหาร (hunting and gathering) และมีเครื่องมือหินกรวดและเครื่องมือหินกะเทาะ เป็นอุปกรณ์ประกอบในการยังชีพ  วิถีชีวิตของกลุ่มชนในสังคมดังกล่าวด�ำรง ชีวิตแบบพึ่งพาสิ่งแวดล้อมเป็นส�ำคัญ  ใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ กายมาเป็นประโยชน์  และน่าจะมีการเคลื่อนย้ายที่พักอาศัยอยู่เสมอ โดยอาจ จะเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ หรือเคลื่อนย้ายหมุนเวียนไปมา  ซึ่งอาจจะเป็นไปตาม ฤดูกาลและสภาพภูมอิ ากาศ  ทัง้ นีเ้ พือ่ หาแหล่งอาหารทีผ่ นั แปรตามช่วงฤดูกาล ลักษณะเช่นนี้อาจเป็นสาเหตุหนึง่ ที่ท�ำให้กลุ่มชนในสังคมล่าสัตว์ไม่สร้างที่อยู่ อาศัยถาวร  แต่จะอาศัยอยู่ชั่วคราวตามแหล่งที่มีลักษณะภูมิประเทศต่าง ๆ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

13


เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๕๔. พระราชวิสทุ ธิโสภณ, “ชุมชนเมืองพะเยา,” ใน เอกสารการประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารเรือ่ ง ชุมชนโบราณในเขตภาคเหนือ, วิทยาลัยครูเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๙. ๓๘ แต่ในพงศาวดารโยนกและพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน กล่าวว่า ให้ลาวก่อหรือ ลาวคอบ โอรสองค์โตครองเมืองเชียงของ  ลาวเกื้อหรือลาวช้างครองเมืองยอง และลาวเก๊า อยู่เมืองหิรัญนครเงินยาง ๓๙ ที่ตั้งของเมืองภูคานั้นมีความเห็นเกี่ยวกับที่ตั้งไปสองแนวทางว่า  น่าจะอยู่แถบต�ำบล ศิลาเพชร อ�ำเภอปัว จังหวัดน่าน ซึ่งอยู่เชิงดอยภูคาประการหนึง่  แต่มีความเห็นอีกประการ หนึง่ กล่าวว่าควรจะอยู่ที่เมืองหลวงภูคาในเขตประเทศลาว ๔๐ บางท่านให้ความเห็นว่าหมายถึงเมืองเวียงจันทน์  แต่บางท่านว่าควรเป็นเมืองหลวง พระบาง ๔๑ กรมศิลปากร, “ค�ำจารึกหลักที่ ๑,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๑ จารึกกรุงสุโขทัย, พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระราชประสิทธิคุณ  จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. ๒๕๑๕, หน้า ๖. ๓๖

๓๗

42

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ แ ล ะ ศิ ล ป ะ ล้ า น น า


บทที่

ประวัตศิ าสตร์และเมืองส�ำคัญของล้านนา ประวัติศาสตร์ล้านนา การก่อตั้งอาณาจักรล้านนา

โดยทัว่ ไปยอมรับกันว่าอาณาจักรล้านนาควรเริม่ ต้นเมือ่ พระญามังรายทรง สร้างเมืองเชียงใหม่เมือ่  พ.ศ. ๑๘๓๙  หลังจากทีร่ วบรวมบ้านเมืองต่าง ๆ ทัง้ ใน แคว้นโยนกและหริภุญไชยไว้ได้เป็นปึกแผ่น  ทรงประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ อันแสดงความหมายว่าเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีหรือศูนย์กลางของอาณาจักร นับตั้งแต่นนั้ เป็นต้นมา พระญามังรายทรงสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์ในวงศ์ลวจักราชแห่งเมือง หิรัญนครเงินยาง พระองค์เป็นโอรสของเจ้าลาวเมงกับนางเทพค�ำขยาย ราช ธิดาของเจ้าเมืองเชียงรุง้   หลังจากขึน้ เสวยราชย์ทเี่ มืองหิรญ ั นครเงินยางใน พ.ศ. ๑๘๐๔ แล้ว  ทรงพิจารณาเห็นว่าพระองค์เป็นเชือ้ สายโดยตรงทีส่ บื มาจากปฐม กษัตริย์แห่งวงศ์ลวจักราช  แต่เจ้าเมืองที่อยู่โดยรอบไม่ถวายพระเกียรติและไม่ สมัครสมานสามัคคี คอยแต่ววิ าทแย่งชิงไพร่ชงิ แดนกันอยูเ่ สมอ ท�ำให้เกิดความ ทุกข์แก่อาณาประชาราษฎร์ยิ่งนัก  จึงมีด�ำริที่จะปราบปรามและรวบรวมหัว เมืองต่าง ๆ เข้าไว้เป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งเดียวกัน  ดังนั้นจึงทรงยกทัพไป ตีเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตแคว้นโยนก ได้เมืองมอบ เมืองไล่ เมืองเชียงค�ำ  ต่อ มาโปรดให้สร้างเมืองเชียงรายขึน้ ใน พ.ศ. ๑๘๐๕ และเสด็จมาประทับอยูท่ เี่ มือง เชียงรายนับแต่นนั้ มา  สาเหตุที่พระญามังรายทรงย้ายเมืองลงมาทางใต้เพราะ ทรงหวัน่ เกรงกองทัพมองโกลซึง่ ก�ำลังจะยึดยูนนาน พม่า และตังเกีย๋   ประกอบ กับพลเมืองของเมืองหิรัญนครเงินยางเพิ่มมากขึ้น ท�ำให้ที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอ จึงต้องย้ายมาสร้างเมืองใหม่ในที่ราบอันอุดมสมบูรณ์๑  หลังจากนัน้ อีก ๕ ปี เสด็จไปประทับที่เมืองฝาง  ต่อมายึดเมืองเชียงของได้ใน พ.ศ. ๑๘๑๒  และใน พ.ศ. ๑๘๑๙ พระญามังรายยกกองทัพเพื่อจะไปตีเมืองพะเยาซึ่งขณะนัน้ พญา ง�ำเมืองครอบครองอยู   ่ แต่ไม่มกี ารสงครามเกิดขึน้ และทัง้ สองฝ่ายกลับเป็นไมตรี ต่อกัน ท�ำให้แคว้นพะเยายังคงเป็นอิสระ พระญามังรายทรงทราบข่าวถึงความอุดมสมบรูณข์ องแคว้นหริภญ ุ ไชย ซึง่ ขณะนัน้ มีอำ� นาจปกครองอยูใ่ นเขตทีร่ าบลุม่ แม่นำ�้ ปิงและแม่นำ�้ วัง  จึงมีพระราช ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

43


อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ กษัตริย์สามพระองค์ ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่

ประสงค์จะยึดครองเมืองหริภญ ุ ไชยไว้ในพระราชอ�ำนาจ  ทรงใช้ความพยายาม อยูห่ ลายปีโดยส่งไส้ศกึ เข้าไปอยูใ่ นเมือง  ต่อมาพระองค์ทรงยกกองทัพจากเมือง เชียงรายเพือ่ ไปตีเอาเมืองหริภญ ุ ไชย โดยสร้างเมืองพร้าวขึน้ เป็นทีช่ มุ นุมพลก่อน จะยกพลไปตีเมืองหริภุญไชย  ในที่สุดก็ยกกองทัพจากเมืองพร้าวไปตีเมืองหริภุญไชย และสามารถยึดเมืองนี้ได้ใน พ.ศ. ๑๘๒๔๒ พระญามังรายทรงประทับ อยูเ่ มืองหริภญ ุ ไชยเพียง ๒ ปีจงึ มอบให้ขนุ นางชือ่ อ้ายฟ้าปกครองเมืองหริภญ ุ ไชย ทรงเสด็จมาสร้างเวียงกุมกามขึ้นเป็นที่ประทับใน พ.ศ. ๑๘๒๙  ต่อมาใน พ.ศ. ๑๘๓๙ ทรงสร้างเมืองแห่งใหม่อีกครั้งในบริเวณที่ราบเชิงดอยสุเทพ  เมื่อสร้าง เสร็จแล้วจึงให้ชื่อเมืองนี้ว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ซึ่งต่อมามีความส�ำคัญ ในฐานะศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง การเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของ อาณาจักรล้านนาตลอดมา

ล้านนาในระยะเริ่มแรก

44

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ แ ล ะ ศิ ล ป ะ ล้ า น น า

หลังจากสร้างเมืองเชียงใหม่เสร็จไม่นาน  พระญาเบิกผู้ครองนครเขลางค์ ซึ่งเป็นราชบุตรของพระญายีบา อดีตกษัตริย์ผู้ครองแคว้นหริภุญไชย ได้ยกทัพ จากเมืองเขลางค์นครเพือ่ จะชิงเอาเมืองหริภญ ุ ไชยคืน  แต่กองทัพเมืองเชียงใหม่ สามารถรบชนะกองทัพเมืองเขลางค์นคร  พระญาเบิกสิ้นชีวิตในการรบและต่อ มากองทัพเชียงใหม่ก็สามารถยึดเมืองเขลางค์นครได้  หลังจากนั้นพระญา


มังรายทรงแต่งตัง้ ขุนนางชาวเขลางค์นครเป็นเจ้าเมืองและให้ขนึ้ ตรงต่อเชียงใหม่ นับเป็นการขยายดินแดนและรวมเอาบ้านเมืองในเขตลุ่มแม่น�้ำวังเข้าไว้เป็นส่วน หนึง่ ของอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นนั้ เป็นต้นมา พระญามังรายใช้เวลาตลอดพระชนม์ชีพประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่เพื่อ สร้างความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันให้เกิดขึ้นภายในดินแดนแห่งใหม่ที่พระองค์ เข้ามายึดครองนี้  พระองค์พยายามที่จะสร้างความกลมกลืนให้เกิดขึ้นระหว่าง ผู้คนที่มาจากแคว้นโยนกกับชาวแคว้นหริภุญไชย ตลอดจนชนพื้นเมืองที่อยู่ใน เขตที่ราบลุ่มแม่น�้ำปิง โดยการรับและสืบทอดอารยธรรมทางพุทธศาสนาจาก เมืองหริภุญไชยไว้และให้เผยแผ่ในราชอาณาจักรของพระองค์ ในระยะเริม่ แรกของการก่อตัง้ อาณาจักรล้านนา เมืองเชียงใหม่ยงั มิได้เป็น ศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาอย่างแท้จริง   เพราะหลังจากที่พระญามังราย สิน้ พระชนม์ทเี่ มืองเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๑๘๕๔  พระญาชัยสงครามผูเ้ ป็นราชบุตร ได้ครองราชย์สืบต่อมา  พระญาชัยสงครามประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่เพียงสี่ เดือนเท่านัน้ ก็เสด็จกลับไปประทับที่เมืองเชียงราย  ส่วนเมืองเชียงใหม่ทรงมอบ ให้พระญาแสนภู ราชบุตร ปกครองแทน  สาเหตุที่ต้องไปเสด็จประทับที่เมือง เชียงรายอาจเพราะดินแดนเดิมที่เป็นแคว้นโยนกยังไม่ปลอดภัย  เนื่องจาก

เจดีย์วัดป่าสัก  เมืองเชียงแสน ที่พระญาแสนภู ทรงสร้างขึ้น ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

45


บทที่

ศิลปะก่อนล้านนา ศิลปะก่อนล้านนา หมายถึง งานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม

ของกลุ่มบ้านเมืองหรือรัฐในเขตภาคเหนือตอนบนก่อนการก่อตั้งอาณาจักร ล้านนา มีอายุในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๘  ทั้งนีก้ ่อนการตั้งอาณาจักร ล้านนาได้ปรากฏกลุม่ บ้านเมืองหรือรัฐซึง่ ตัง้ อยูใ่ นเขตทีร่ าบลุม่ แม่น�้ำสายส�ำคัญ ๆ ในเขตภาคเหนือตอนบนหลายแห่ง เช่น แคว้นหริภุญไชย แคว้นโยนก แคว้น ภูกามยาวหรือพะเยา แคว้นน่าน เป็นต้น  โดยพบร่องรอยหลักฐานของกลุม่ บ้าน เมืองเหล่านีเ้ หลืออยูจ่ �ำนวนหนึง่   ส่วนใหญ่เป็นผลงานศิลปะและสถาปัตยกรรม เนื่องในพระพุทธศาสนา ซึ่งงานศิลปะและสถาปัตยกรรมเหล่านี้เป็นรากฐาน ส�ำคัญของศิลปะล้านนาในเวลาต่อมา

ศิลปะหริภุญไชย

แคว้นหริภุญไชยเป็นกลุ่มบ้านเมืองหรือรัฐแห่งแรก ๆ ที่ปรากฏในดินแดน ภาคเหนือตอนบน  ตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น�้ำส�ำคัญสองสาย คือ แม่น�้ำปิง และแม่นำ�้ วัง  มีเมืองหริภญ ุ ไชยเป็นเมืองส�ำคัญและเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนี้  ด้วยเหตุนจี้ ึงปรากฏมรดกทางศิลปวัฒนธรรมเนื่อง ในพระพุทธศาสนาเหลืออยู่เป็นจ�ำนวนมาก และมีพัฒนาการตามล�ำดับจนมี ลักษณะแบบแผนเป็นของตนเองเรียกว่า ศิลปะหริภุญไชย แคว้นหริภุญไชยในระยะเริ่มแรกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่  ๑๔-๑๕ จะมี ความสัมพันธ์กับกลุ่มบ้านเมืองในแถบที่ราบลุ่มแม่นำ�้ เจ้าพระยาอย่างใกล้ชิด ดังนัน้ ศิลปะหริภุญไชยยุคต้นจึงมีอิทธิพลของศิลปะทวารวดีจากภาคกลางอยู่ มาก  ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที ่ ๑๖-๑๗  แคว้นหริภญ ุ ไชยในระยะนีจ้ ะมีความ สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดทั้งในทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับกลุ่มบ้านเมืองมอญ และพระพุทธศาสนาจะเป็นพระพุทธศาสนาแบบหินยานที่มาจากเมืองลพบุรี ผสมผสานกับพระพุทธศาสนาคติหินยานแบบลังกา ซึ่งผ่านมาทางเมืองสุธรรม นครของมอญและเมืองพุกามของพม่า  ด้วยเหตุนี้ศิลปะและสถาปัตยกรรม ของแคว้นหริภุญไชยจึงได้รับอิทธิพลทั้งจากดินแดนลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา ซึ่ง ขณะนั้นก�ำลังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมของเขมร และได้รบั อิทธิพลจากศิลปะพม่าเมืองพุกามซึง่ ก�ำลังเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลานัน้ 128

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ แ ล ะ ศิ ล ป ะ ล้ า น น า


มาผสมผสานกัน  ท�ำให้มีพัฒนาการทางศิลปะเป็นรูปแบบของตน  ต่อมาใน ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นระยะเวลาที่แคว้นหริภุญไชยมีความเจริญรุ่งเรือง มาก  ศิลปะหริภุญไชยมีพัฒนาการสูงสุด  มีลักษณะเป็นแบบเฉพาะของตน หรือแสดงลักษณะพื้นเมืองอย่างเด่นชัด  ลักษณะและแบบแผนของศิลปะหริภุญไชยดังกล่าวเป็นรากฐานส�ำคัญให้แก่ศิลปะล้านนาในเวลาต่อมา๑ ศิลปะหริภญ ุ ไชยทีย่ งั ปรากฏร่องรอยเหลืออยูใ่ นทุกวันนีม้ หี ลักฐานส�ำคัญ ๆ ดังนี้

สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาในศิลปะหริภุญไชยที่เหลืออยู่ใน ทุกวันนี้มีจ�ำนวน ๕ แห่ง  ซึ่งแบ่งตามลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมได้เป็น ๔ รูปแบบ คือ รูปแบบที่ ๑ เจดีย์สี่เหลี่ยมหรือเจดีย์ทรงปราสาท๒ เจดีย์ในกลุ่มนี้มีจ�ำนวน ๒ องค์ ได้แก่ สุวรรณจังโกฏิเจดีย์หรือเจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี และสุวรรณเจดีย์หรือปทุมวดีเจดีย์ วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัด ล�ำพูน  อายุอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ หรือต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗

เจดีย์กู่กุด  วัดจามเทวี ล�ำพูน

สุวรรณเจดีย์  วัดพระธาตุหริภุญชัย ล�ำพูน ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

129


รูปแบบที่ ๒ เจดีย์แปดเหลี่ยม เจดียป์ ระเภทนีพ้ บเพียงองค์เดียวคือ รัตนเจดีย์ วัดจามเทวี  เป็นเจดียท์ รง ปราสาทแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐ  มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เจดีย์แปดเหลี่ยม  วัดจามเทวี ล�ำพูน

พระพุทธรูป ในซุ้มเจดีย์แปดเหลี่ยม  วัดจามเทวี ล�ำพูน

130

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ แ ล ะ ศิ ล ป ะ ล้ า น น า


รูปแบบที่ ๓ เจดีย์ทรงปราสาทระฆังกลมห้ายอด เจดีย์ประเภทนี้พบเพียงแห่งเดียวคือ เจดีย์เชียงยันหรือเชียงยืน วัดพระ ธาตุหริภุญชัย จังหวัดล�ำพูน  เป็นเจดีย์ทรงระฆังกลมมีห้ายอด เรือนธาตุเป็น รูปสี่เหลี่ยมย่อมุม  แต่ละด้านมีซุ้มจระน�ำประดิษฐานพระพุทธรูปยืน  อย่างไร ก็ดเี จดียอ์ งค์นมี้ กี ารซ่อมแซมในสมัยล้านนาซึง่ เห็นได้ชดั ในช่วงฐานตอนล่างและ ลวดลายประดับต่าง ๆ แต่รูปทรงส่วนใหญ่ยังคงเป็นของดั้งเดิม เชื่อกันว่าเป็น เจดีย์แบบหนึง่ ที่นิยมสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖

เจดีย์เชียงยัน วัดพระธาตุหริภุญชัย ล�ำพูน ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

131


บทที่

ประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนา ศิลปะล้านนา ในที่นี้หมายถึง ประวัติศาสตร์ศิลปะหรือร่องรอย

และเรื่องราวของงานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมในอดีตที่ปรากฏในเขตภาค เหนือตอนบนหรือดินแดนล้านนา  ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กบั ประวัตศิ าสตร์ บ้านเมืองและประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนา  โดยเฉพาะพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่เผยแผ่เข้ามาตั้งมั่นและเจริญรุ่งเรืองอยู่ในเมืองส�ำคัญใน ดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่ก่อนสมัยล้านนา เช่นที่เมืองหริภุญไชย  รวมทั้งเมือง เชียงใหม่ในสมัยล้านนายังเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาอยู่ในอนุภูมิภาค แถบนีด้ ้วย   เนื่องจากผลงานทางศิลปะและสถาปัตยกรรมเนื่องในพุทธศาสนามัก เป็นถาวรวัตถุและสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงแข็งแรง  ดังนั้นจึงปรากฏร่องรอยของ งานศิลปะและสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาเหลืออยู่เป็นอันมาก ขณะที่สิ่งก่อสร้างประเภทบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ มักสร้างด้วยไม้และ วัสดุที่ไม่คงทนถาวร จึงปรากฏหลักฐานเหลือค่อนข้างน้อย  ดังนัน้ ศิลปะของ ภาคเหนือตอนบนและล้านนาจึงเป็นงานที่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนาเป็น ส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีทั้งงานสถาปัตยกรรม เช่น วิหาร เจดีย์ หอธรรม ซุ้มประตูโขง เป็นต้น  และงานศิลปกรรม เช่น พระพุทธรูป ลวดลายประดับศาสนสถาน ทั้งงานปูนปั้นและงานลงรักปิดหรือลายค�ำ ด้วยเหตุนี้เรื่องราวของพุทธศิลปะ และสถาปัตยกรรมจึงเป็นเรื่องส�ำคัญและน่าสนใจ  เพราะร่องรอยหลักฐาน เหล่านี้จะบ่งบอกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและประวัติศาสตร์ ของบ้ า นเมือ ง  ช่วยท�ำให้เข้าใจถึงอัตลักษณ์และแบบแผนของศิลปะและ สถาปัตยกรรม  รวมทัง้ สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม ความคิด ความเชื่อของผู้คนในสังคมในแต่ละช่วงเวลาด้วย การศึกษาทางประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย แต่เดิมมักจะใช้แนว คิดของนักประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกที่ใช้ระบบวิธีการจ�ำแนกรูปแบบและ ยุคสมัยของศิลปะตามสกุลช่าง ซึ่งมีลักษณะร่วมกันไปตามสมัยนิยม และ ก�ำหนดอายุไปตามยุคสมัย  สกุลช่างนัน้  ๆ   แต่ในการศึกษาทีผ่ า่ นมาโดยเฉพาะ ในส่วนที่เกี่ยวกับศิลปะล้านนาพบว่า  การสร้างศาสนสถานและวัตถุเคารพ ไม่ ได้ ส ร้ า งไปตามรู ป แบบสมั ย นิ ย มแต่ เพี ย งอย่ า งเดี ย ว  แต่ ยั ง สั ม พั นธ์ กั บ 142

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ แ ล ะ ศิ ล ป ะ ล้ า น น า


ความคิด ความเชื่อ ความศรัทธาของผู้คนที่มีต่อพระพุทธศาสนา และนิกาย ทางพระพุทธศาสนาด้วย  เช่นความเชื่อและศรัทธาที่เกี่ยวข้องกับนิกายทาง พระพุทธศาสนาท�ำให้เกิดรูปแบบนิยมที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของกลุ่ม  รวม ทั้งศรัทธาที่มีต่อพระพุทธรูปและปูชนียสถานส�ำคัญท�ำให้เกิดรูปแบบนิยมและ น�ำไปเป็นต้นแบบในการสร้างเพื่ออุทิศถวายตามความเชื่อ  ดังนัน้ ในการเสนอ เรือ่ งราวของศิลปะล้านนาครัง้ นีผ้ เู้ ขียนจึงเน้นใช้แนวคิดอธิบายรูปแบบของศิลปะ และสถาปัตยกรรมที่ปรากฏขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งสอดคล้องกับรากฐานทาง วัฒนธรรมไทยทีช่ ว่ ยท�ำให้สามารถอธิบายเรือ่ งราวทางประวัตศิ าสตร์ สังคม และ วัฒนธรรมของล้านนาได้ชัดเจนมากขึ้น การเสนอเรื่องราวของศิลปะล้านนาและประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนาใน หนังสือเล่มนี้ แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ช่วงเวลาตามมิติทางประวัติศาสตร์และ รูปแบบทางศิลปะที่ปรากฏในแต่ละช่วงเวลาดังนี้ ๑. ศิลปะยุคล้านนา หมายถึง งานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของ แคว้นล้านนาทีม่ อี ตั ลักษณ์เป็นของตนเองอย่างแท้จริง  ซึง่ อยูใ่ นช่วงเวลาระหว่าง ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ล้านนา ด�ำรงความเป็นเอกราชและอาจตกเป็นประเทศราชเป็นครั้งคราว ๒. ศิลปะล้านนายุคหลังหรือยุคฟื้นฟู หมายถึง งานศิลปกรรมและ สถาปัตยกรรมของล้านนาในช่วงเวลาภายหลังที่ล้านนาล่มสลายในช่วงต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๔  แม้ยังด�ำรงความเป็นรัฐหรือแคว้นล้านนา แต่มีฐานะเป็น ประเทศราชของสยาม จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ เมื่อถูกผนวกเข้าเป็น ส่วนหนึง่ ของราชอาณาจักรสยาม  งานศิลปะและสถาปัตยกรรมล้านนาระยะ นีจ้ ะมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากดั้งเดิม เพื่อปูพื้นฐานให้ผู้อ่านเข้าใจในศิลปะล้านนา ในเบื้องต้นจะให้ความรู้ พื้นฐานภาพรวมของประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนา ซึ่งเป็นพัฒนาการของศิลปะ และสถาปัตยกรรมล้านนาที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์บ้านเมือง และประวัตขิ องพระพุทธศาสนาในดินแดนล้านนาในแต่ละช่วงเวลาไปตามล�ำดับ ดังต่อไปนี้

ประวัติศาสตร์ศิลปะล้านนายุคต้น

หลั ง จากที่ พ ระญามั ง รายสถาปนาอาณาจั ก รล้ า นนาและสร้ า งเมื อ ง เชียงใหม่ขึ้นเป็นราชธานีในเขตที่ราบลุ่มแม่น�้ำปิงเมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙  พระองค์ทรงยอมรับและสืบทอดอารยธรรมทางพระพุทธศาสนาจาก เมืองหริภุญไชยไว้และเผยแพร่ในราชอาณาจักรของพระองค์ ดังจะเห็นได้ว่า ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

143


บทที ่

ศิลปะยุคล้านนา ล้านนาเป็นแคว้นอิสระด�ำรงเอกราชมาอย่างยาวนานมาตั้งแต่ต้น

พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒  และตกเป็นประเทศราชเป็น ครั้งคราวมาจนถึงต้นพุทธศตวรรษที่  ๒๔  ก่อนที่จะล่มสลายและได้รับการ ฟื้นฟูใหม่อีกครั้ง  ดังนั้นในช่วงเวลานี้จึงถือเป็นยุคล้านนาที่แท้จริง เพราะ ตลอดระยะเวลาอันยาวนานดังกล่าว แคว้นล้านนาจะมีความสัมพันธ์กับแคว้น ต่าง ๆ โดยรอบและใกล้เคียง  ทั้งทางการเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม โดย เฉพาะพระพุ ท ธศาสนาลั ง กาวงศ์ ที่ เจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งอยู ่ ที่ เมื อ งเชี ย งใหม่  ท� ำ ให้ เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนี   ้ สิ่งเหล่านี้ เป็ น เบ้ า หล่ อ หลอมให้ ล ้ า นนามี แ บบแผนทางวั ฒ นธรรมเป็ น ของตนเอง โดยเฉพาะศิลปะล้านนาที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง จึงก�ำหนดเรียกศิลปะและ สถาปัตยกรรมที่ปรากฏในช่วงเวลานี้ว่า ศิลปะยุคล้านนา ศิลปะยุคล้านนา หมายถึง งานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของแคว้น ล้านนาที่มีอัตลักษณ์ของตนเองอย่างแท้จริง อยู่ในช่วงเวลาระหว่างต้นพุทธศตวรรษที ่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที ่ ๒๔ ดังมีรายละเอียดของศิลปะยุคล้านนา ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมตามล�ำดับ

สถาปัตยกรรมยุคล้านนา

สถาปัตยกรรมยุคล้านนา หมายถึง อาคารหรือสิ่งก่อสร้างประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในดินแดนล้านนา เช่น พระเจดีย์ วิหาร ซุ้ม ประตูโขง หอธรรม เป็นต้น ทีม่ อี ายุอยูใ่ นช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔  ในที่นจี้ ะได้กล่าวถึงเรื่องราวและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมยุค ล้านนาเฉพาะที่สำ� คัญ มีรายละเอียดดังนี้

เจดีย์ล้านนา

เจดีย์ หมายถึง สิ่งก่อสร้างหรือศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่สร้าง ขึ้นเพื่อเป็นที่เคารพบูชาและระลึกถึง  ในล้านนา เจดีย์เป็นองค์ประกอบส�ำคัญ ของวัด มีรูปแบบหลากหลาย ในที่นจี้ ะกล่าวถึงเจดีย์ล้านนาที่มีพัฒนาการเกิด ขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ คือ 164

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ แ ล ะ ศิ ล ป ะ ล้ า น น า


อัตลักษณ์เจดียล์ า้ นนากับส�ำนักพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์

การปรากฏขึ้นของเจดีย์ล้านนาแต่ละรูปแบบจะมีความสัมพันธ์กับนิกาย ทางพระพุ ท ธศาสนา โดยเฉพาะพระพุ ท ธศาสนาลั ท ธิ ลั ง กาวงศ์ ส องนิก าย คือ “นิกายรามัญ” แห่งวัดสวนดอกหรือลังกาวงศ์สายวัดสวนดอก และ “นิกาย สีหล” แห่งวัดป่าแดงหรือลังกาวงศ์สายวัดป่าแดง  ความขัดแย้งของคณะสงฆ์ ทั้งสองนิกายท�ำให้มีแบบแผนปฏิบัติของพระสงฆ์ที่แตกต่างกัน และไม่สามารถ ท�ำสังฆกรรมร่วมกันได้  รวมทั้งท�ำให้แบบแผนทางศิลปะและสถาปัตยกรรม ของศาสนสถาน โดยเฉพาะรูปแบบเจดียข์ องทัง้ สองส�ำนักนิกายมีความแตกต่าง กัน เพือ่ แสดงอัตลักษณ์และความถูกต้องชอบธรรมของกลุม่ ตน  แม้วา่ หลังจาก ท�ำการสังคายนาพระไตรปิฏกทีว่ ดั เจ็ดยอด เมืองเชียงใหม่แล้ว ความขัดแย้งของ คณะสงฆ์ทงั้ สองนิกายจะลดลงโดยเฉพาะทีเ่ มืองเชียงใหม่  แต่รอ่ งรอยของความ ความขัดแย้งดังกล่าวยังปรากฏชัดเจนอยู่ตามเมืองต่าง ๆ และดินแดนใกล้เคียง ที่เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า ซึ่งในอดีตเป็นเมืองที่มีความสัมพันธ์ ใกล้ชดิ และเกีย่ วข้องกับราชวงศ์มงั ราย ได้รบั อิทธิพลพระพุทธศาสนาจากล้านนา จึงปรากฏศิลปะและสถาปัตยกรรมล้านนาและวัดในพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์

ซุ้มประตูวัดยางควง เมืองเชียงตุง พม่า ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ สุ ร พ ล ดํ า ริ ห์ กุ ล

165


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดําริห์กุล

หมวดประวัติศาสตร์/ศิลปะ ราคา ๓๘๐ บาท ISBN 978-616-7767-98-7

ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา

ล้านนาในอดีตเป็นกลุ่มบ้านเมืองหรือแคว้นสำ�คัญที่มีดินแดนตั้ง อยู่ ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีเรื่องราวในทาง ประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจนอยู่ ในเอกสาร ตำ�นานต่าง ๆ ของ ท้องถิ่น และมีร่องรอยหลักฐานโบราณวัตถุและโบราณสถานที่มี อัตลักษณ์ของตนเองเหลืออยู่จำ�นวนมาก  หนังสือ ประวัติศาสตร์ และศิ ล ปะล้ า นนา เสนอเรื่ อ งราวทั้ ง ในทางประวั ติ ศ าสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี และมรดกศิลปวัฒนธรรมของ ล้านนา ซึ่งมีลักษณะเป็นสหวิทยาการที่บูรณาการความรู้ร่วมกัน  อันเป็นมุมมองทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในอีกมิติหนึ่ง ทีจ่ ะช่วยเสริมเติมเต็มภาพอดีตของล้านนาให้มคี วามสมบูรณ์ยง่ิ ขึน้

ประวัติศาสตร์

และศิลปะ

ลานนา ้

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดําริห์กุล


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.