ถอดรหัสสัญลักษณ์ปริศนา

Page 1

ดร. บัญชา  ธนบุญสมบัติ

เ ปิ ด เ ผ ย ค ว า ม ห ม า ย แ ท น ค ว า ม คิ ด อั น ลึ ก ลํ ้ า

สัญลักษณ์

ปริศนา



จากส� ำ นั ก พิ ม พ์ มนุษย์เราใช้สัญลักษณ์แทนความหมายของสิ่งต่าง ๆ มาตั้งแต่โบราณ กาลแล้ว โดยสิง่ ทีเ่ ราใช้เป็นสัญลักษณ์กนั นัน้ อาจเป็นได้ทงั้ รูปธรรมและ นามธรรม ได้แก่ ตัวอักษร รูปทรง วัตถุ สีสัน คติความเชื่อ ฯลฯ สัญลักษณ์ที่ใช้อาจสื่อความหมายที่ตรงไปตรงมา ไม่ว่าใครเห็น ก็เข้าใจตรงกัน เช่น สัญญาณไฟสีแดงหมายถึงหยุด สีเขียวหมายถึง ให้ไป กวักมือหมายถึงให้เข้ามาหา เป็นต้น แต่ยังมีการใช้สัญลักษณ์อีกมากมายที่มักซ่อนแนวคิดหรือคติ ให้ตีความหมายได้มากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น เขาเมรุหรือเขาพระสุเมรุ มีการตีความความหมายที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังเขาอันเป็นแกนของโลกนี้ อย่างน้อยสี่แนว หรืออรรธนารีศวร ซึ่งเป็นปางหนึ่งของพระศิวะที่มี ทั้งเพศชายและเพศหญิงในร่างเดียว ก็ซ่อนความหมายให้ขบคิดกันว่า หญิง-ชายเท่าเทียมกันหรือหญิงเป็นช้างเท้าหลังวันยังค�่ำกันแน่ การ ค้นหาความหมายที่ซุกซ่อนอยู่นี้จึงน่าสนใจไม่น้อย และนีค่ อื สิง่ ทีห่ นังสือถอดรหัสสัญลักษณ์ปริศนา โดย ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ เล่มนี้น�ำเสนอ และยังให้มุมมองน่าสนใจของสิ่งที่ผู้อ่าน อาจเคยได้พบเห็นกันมาบ้างแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ทางส�ำนักพิมพ์ขอ เชิญชวนคุณผู้อ่านให้คิดต่อว่าแต่ละเรื่องนั้นยังมีมุมมองอื่น ๆ ซุกซ่อน อยู่อีกบ้างหรือไม่ หรือได้ประเด็นอะไรเพิ่มเติมบ้างหรือเปล่า

ส�ำนักพิมพ์สารคดี

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

5


หนังสือ ถอดรหัสสัญลักษณ์ปริศนา ผู้เขียน ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

© สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552 พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2562 จ�ำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม ราคา 289 บาท ข้อมูลบรรณานุกรม บัญชา ธนบุญสมบัติ. ถอดรหัสสัญลักษณ์ปริศนา.--พิมพ์ครั้งที่ 2.--นนทบุรี : สารคดี, 2562. 208 หน้า. 1. สัญลักษณ์นิยม. I. ชื่อผู้เขียน. 2. เครื่องหมายและสัญลักษณ์. 246.5 ISBN 978-616-465-015-2

คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : ปณต ไกรโรจนานันท์  ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปก/รูปเล่ม : วันทนี เจริญวานิช  พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ แยกสี/เพลต  เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. 0-2215-7559 พิมพ์  บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด โทร. 0-2720-5014 จัดพิมพ์  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี) จัดจ�ำหน่าย  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด 3 ซอยนนทบุรี 22 ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้ำ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร. 0-2547-2700 (อัตโนมัติ)  โทรสาร 0-2547-2721 ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ ผู้อำ� นวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง  ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�ำ้ มันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม


จากผู ้ เ ขี ย น รอบตัวเราเต็มไปด้วยสัญลักษณ์หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ตัวหนังสือที่ คุณอ่านอยู่นี้ ตราสัญลักษณ์ของสินค้า โลโก้ขององค์กรต่าง ๆ รูปแบบ และสี สั น ของธงชาติ   ตลอดจนภาพและประติ ม ากรรมที่ ส ะท้ อ นคติ ความเชื่อทางศาสนาและปรัชญา แม้แต่สิ่งต่าง ๆ ที่คุณฝันเห็นก็อาจเป็นสัญลักษณ์ได้ด้วยเช่นกัน แล้วแต่วา่ คุณยึดต�ำราเล่มไหนหรือฟังการตีความของใคร ไม่เชือ่ ก็ลองไป บอกผูใ้ หญ่ใกล้ ๆ ตัวก็ได้วา่  เมือ่ คืนคุณฝันว่าโดนงูรดั  ดูซวิ า่ ท่านจะบอก คุณว่ายังไง ;-) เหตุใดหนอมนุษย์จงึ สรรค์สร้างสัญลักษณ์ขนึ้ มามากมายเพียงนี้ ? ค�ำตอบอย่างง่ายที่สุดก็คือ สัญลักษณ์เป็นสิ่งที่ใช้แทนความคิด ในแทบทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ตั้งแต่ความคิดง่าย ๆ ไปจนถึง ความคิดอันสุดลึกล�ำ้ หนังสือเล่มนี้คัดสรรสัญลักษณ์ที่มีเรื่องราวน่าสนใจมาน�ำเสนอ บางเรือ่ งคุณอาจพอทราบมาบ้างแล้ว แต่อกี หลายๆ เรือ่ งน่าจะให้มมุ มอง แปลกใหม่ที่คุณอาจน�ำไปคิดต่อหรือน�ำไปโม้กับเพื่อน ๆ โม้ไป-เถียงไป เผลอ ๆ อาจจะได้เรือ่ งสนุก ๆ ตามมาอีกเป็นพรวน ก็เป็นได้นะเออ ^_^

บัญชา ธนบุญสมบัติ มกราคม 2552

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

7


สารบั ญ

1

2

ย้อนรอยเขาเมรุ • 12

เบื้องลึกเบื้องหลัง อรรธนารีศวร • 26

5

6

ทฤษฎีแห่ง เทวก�ำเนิด • 52

“เทพ” คือสัญลักษณ์ แห่ง “ชนชั้น” ? • 60

9

10

“ดวงอาทิตย์ย่างเข้าสู่ราศีเมษ”  หมายความว่าอย่างไร ? • 84

“จริต 6” vs “นพลักษณ์ 9”  แนวไหนเข้าเค้ากว่ากัน ? • 88


3

4

บทเรียนล�้ำค่า จากนรสิงห์อวตาร • 32

ศิวนาฏราช การด�ำเนินไปของจักรวาล  vs พัฒนาการของสังคม • 38

7

8

ยามเฝ้าประตู ผู้ไม่เคยอู้งาน • 70

ทิศไหนมงคล  ใครเป็นคนก�ำหนด ? • 76

11

12

คดีแย่งเด็ก  ใครหนอเป็นต้นคิด ? • 96

ท�ำนายฝัน ฝรั่ง vs ไทย ต�ำราไหนว่าอย่างไรกัน ? • 104


13

14

ภาพพิมพ์แกะไม้ สุดฮิต • 110

ปริศนา “นิ้วชี้ ชี้นิ้ว”  ของดาวินชี • 116

17

18

อะเล็กซานเดอร์มหาราช แก้ “ปมกอร์เดียน” อันซับซ้อน ได้อย่างไร ? • 134

ภาพหัววัวกลายเป็นตัวอักษร  A ได้อย่างไร ? • 138

21

22

วิทยาศาสตร์ & ปรัชญา ในวาทะฮ่องเต้ • 170

ยิน-หยาง  ปรัชญาน่าพิศวง • 178


15

16

ถอดรหัสธนบัตร  1 ดอลลาร์ • 124

พูดจา “ภาษากุหลาบ”  สมัยพระนางวิกตอเรีย • 130

19

20

ธงชาตินานาประเทศ  หลากหลายมิติ • 150

เทียนถาน จุดนัดพบ ระหว่างโลกและสวรรค์ • 160

23 ประวัติผู้เขียน • 206 “งูกินหาง”  สัญลักษณ์ชวนคิด • 188


1

12

ย้อ นรอยเขาเมรุ

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า


มีคนจ�ำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่า เขาพระสุเมรุ (อ่านว่า สุ-เมน) นั้นมี ความหมายอะไรซ่อนอยู่บ้าง  เรื่องนี้ถ้าเปิดใจให้กว้างกว่ากรอบของ พุทธศาสนาในสังคมไทย ก็จะได้มุมมองที่น่าสนใจหลายอย่างทีเดียว เนื่องจากพุทธศาสนาถือก�ำเนิดขึ้นท่ามกลางวัฒนธรรมของ ศาสนาพราหมณ์ จึงเป็นไปได้อย่างมากว่า แนวคิดเกีย่ วกับเขาพระสุเมรุ อาจได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ก็เป็นได้  เรื่องนี้มีหลักฐาน สนับสนุน เพราะในคัมภีร์มารกัณเฑยปุราณะระบุว่า โลกมีลักษณะเป็น ผืนดิน ทวีปกับมหาสมุทรสลับกันเป็นวงแหวนทีม่ จี ดุ ศูนย์กลางร่วมกัน ผืนดินตรงกลางคือชมพูทวีป ล้อมรอบด้วยมหาสมุทร โดยมหาสมุทรนี้ ล้อมด้วยทวีปถัดไปสลับกับมหาสมุทร นับจ�ำนวนผืนดินรวมทั้งหมด ได้เจ็ดทวีป (รวมชมพูทวีปแล้ว) เขาเมรุเป็นทองค�ำ ท�ำหน้าทีแ่ กนของโลก ตัง้ อยูต่ รงกลางชมพูทวีป โดยจุดสูงสุดเป็นที่อยู่ของพระพรหมมีชื่อว่า พรหมบุรี (Brahmapuri) รอบพรหมบุรีเป็นที่อยู่ของพระอินทร์และเทพอีกเจ็ดองค์  สังเกตว่า

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

13


พรหมบุรี

เขาเมรุ http://www.iskcon-truth.com/bhu-mandala/jambudvipa-varshas.html

14

แบบจ�ำลองเขาเมรุ ของศาสนาพราหมณ์  สังเกตพรหมบุรี ด้านบนสุด

ชมพูทวีป

แบบจ�ำลองเขาเมรุ ของศาสนาพราหมณ์  มองจากด้านล่าง

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า


แบบจ�ำลองเขาเมรุ ของศาสนาเชน  บริเวณวงกลม ตรงกลางล้อมรอบ คือชมพูทวีป

ศาสนาพราหมณ์มกั เรียกว่า เขาเมรุ (Mount Meru) ต่างจากพุทธศาสนา ทีเ่ รียกว่า สุเมรุ (หรือสิเนรุในภาษาบาลี) คตินยี้ งั บ่งว่าพระพรหมน่าจะ มีฐานะเป็นเทพสูงสุดอีกด้วย ส่วนศาสนาเชนซึ่งเป็นศาสนาร่วมสมัยกับศาสนาพุทธก็ได้รับ อิทธิพลเรือ่ งเขาเมรุนดี้ ว้ ยเช่นกัน  ศาสนาเชนระบุโครงสร้างของจักรวาล ว่ามีสามส่วน  บนสุดคือสวรรค์ เป็นอาณาบริเวณของเหล่าเทพ  ล่างสุด เป็นนรก  ส่วนตรงกลางเรียกว่า มัธยโลก (Madhya Loka) เป็นอาณา บริเวณของคน สัตว์ และพืช ในมัธยโลกนี้มีหลายทวีป โดยทวีปที่อยู่ตรงกลางคือชมพูทวีป มีลักษณะเป็นวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 100,000 โยชน์  ตรงกลาง ของชมพูทวีปตามคติเชนเป็นที่ตั้งของเขาเมรุ  นอกจากนี้ยังมีทวีปที่ เป็นวงแหวนสลับกับมหาสมุทรคล้ายคลึงกับโลกตามทัศนะของศาสนา พราหมณ์ด้วยเช่นกัน

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

15


26

2 เบื้ อ งลึ ก เบื้ อ งหลั ง อรรธนารี ศ วร

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า


ในศิลปะของศาสนาฮินดู มีพระศิวะอยูป่ างหนึง่ ซึง่ มีเอกลักษณ์โดดเด่น ชวนฉงนอย่างยิ่ง เพราะพระกายด้านขวาเป็นชาย ด้านซ้ายเป็นหญิง พระศิวะปางนี้มีความเป็นมาอย่างไรและน่าจะสื่อถึงอะไรกันแน่ ตามต�ำนานกล่าวว่า เมื่อแรกสร้างจักรวาลนั้น พระพรหมสร้าง มนุษย์เพศชายเพียงเพศเดียว  แต่เพศชายเพียงอย่างเดียวย่อมไม่ สามารถขยายเผ่าพันธุใ์ นโลกได้ พระพรหมจึงบวงสรวง ท�ำให้ศวิ ะมหา เทพเสด็จลงมาแนะแนวทางแก้ไขปัญหา โดยมาในปางอรรธนารีศวร (Ardhanarishvara) ซึง่ มีทงั้ เพศชายและเพศหญิงรวมอยูใ่ นร่างเดียวกัน

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

27


https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Ardhanarishvara_half_Shiva_ half_Parvati,_Elephanta_Caves.jpg

28

เมือ่ พระพรหมได้ยลโฉมของอรรธนารีศวรแล้วก็ถงึ บางอ้อ เข้าใจ ในก�ำลังเสริมของเพศคู ่ อันจะน�ำมาซึง่ ความสมบูรณ์และการถือก�ำเนิด ของชีวิตใหม่ ค�ำว่า อรรธนารีศวร มาจากค�ำสามค�ำ ได้แก่ อรรธ (ครึง่ ) + นารี (ผู้หญิง) + อิศวร (พระผู้เป็นเจ้า) หมายถึงเทพเจ้าผู้เป็นสตรีครึ่งหนึ่ง นั่นเอง  บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า อรรธนารี (Ardhanari) เฉย ๆ ผู้ชายทางซีกขวาคือพระศิวะ ส่วนผู้หญิงทางซีกซ้ายคือพระ ปารวตี ชายาของพระองค์  ในทีน่ พี้ ระปารวตีเป็นศักติ (Shakti) แปลว่า อ�ำนาจหรือผู้ทรงไว้ซึ่งอ�ำนาจของพระสวามี (ซึ่งในที่นี้คือ พระศิวะ) ลัทธิศักติ (Shaktism) ถือว่าชายาแห่งเทพองค์หนึ่ง ๆ นี่แหละ คือผูก้ มุ อ�ำนาจทีแ่ ท้จริงของเทพองค์นนั้  เช่น พระปารวตีกมุ อ�ำนาจของ พระศิวะ พระสรัสวดีกมุ อ�ำนาจของพระพรหม และพระลักษมีกมุ อ�ำนาจ ของพระวิษณุ

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า

ภาพสลักนูนสูงศิวะ ปางอรรธนารีศวร ที่ถ�้ำเอเลฟันตา


พระอรรธนารีศวร ในสมัยโจฬะ  ท�ำจากสัมฤทธิ์

ส�ำหรับคุณผู้อ่านที่เป็นชายและออกเรือนแล้ว หากในครอบครัว ของคุณดูประหนึ่งว่าผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า แต่เอาเข้าจริงแล้วอ�ำนาจ การตัดสินใจเรื่องใหญ่ ๆ เป็นของคุณแม่บ้านก็แสดงว่า คุณเข้าข่าย นับถือลัทธิศักติด้วยเช่นกัน ... อิอิ ;-) กลับมาที่ต้นเรื่องกันต่อ เดี๋ยวจะเตลิดไปไกล ... พระศิวะในปางนีม้ กี ารตีความกันอย่างหลากหลาย  บ้างก็วา่ นีค่ อื สัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า พระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นทั้งชายและหญิง ไม่ได้เป็นชายอย่างเดียว หรือหญิงอย่างเดียว บ้างก็ว่า ศิวะอรรธนารีศวรแสดงให้เห็นว่า พลังแห่งเพศชาย และพลังแห่งเพศหญิงนั้นเติมเต็มซึ่งกันและกัน ไม่อาจแยกจากกันได้ การตีความแบบนี้ฟังแล้วไปกันได้กับปรัชญายิน-หยาง (ที่คนไทยมัก เรียกว่า หยิน-หยาง) ของจีนมากทีเดียว

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

29


38

4 ศิ ว นาฏราช  การด� ำ เนิ น ไปของจั กรวาล  vs พั ฒ นาการของสั งคม

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า


ในบรรดามรดกทางวัฒนธรรมของอินเดียซึ่งมีความหลากหลายลุ่มลึก และลี้ลับอย่างน่าอัศจรรย์นั้น มีเทวรูปปางหนึ่งที่โดดเด่นโดนใจผู้คน จ�ำนวนมาก  นั่นคือ พระศิวะในปางนาฏราช (Nataraja) ซึ่งถือกันว่า เป็นบรมครูแห่งนาฏยศาสตร์ หรือศิลปะการร่ายร�ำ ก่อนจะท�ำความเข้าใจความหมายที่ซ่อนอยู่ในลีลาท่าทางของ ศิวนาฏราช ก็น่าจะรู้จักต�ำนานที่เกี่ยวข้องไว้สักหน่อย  ต�ำนานว่าด้วย เรือ่ งนีแ้ ม้มมี ากมายหลายเวอร์ชนั  แต่กม็ แี กนเรือ่ งคล้ายคลึงกัน ผมจึง ขอโม้เวอร์ชันหนึ่งไว้อย่างย่อ ๆ ก็แล้วกัน มีฤษีจ�ำนวนหนึ่งบ�ำเพ็ญเพียรและประกอบพิธีกรรมจนมีฤทธิ์เดชสูงส่ง ท�ำให้รสู้ กึ ก�ำเริบเสิบสานประพฤติตนฝ่าฝืนเทวบัญญัต ิ ร้อนถึง พระวิษณุซงึ่ เสด็จไปกราบทูลให้พระศิวะได้ทรงทราบเพือ่ หาหนทางแก้ไข พระศิวะจึงทรงออกอุบายแปลงเป็นพราหมณ์หนุ่มรูปหล่อ และให้ พระวิษณุแปลงเป็นสตรีรูปงาม เป็นที่หลงใหลแก่ผู้ที่ได้พบเห็น

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

39


ศิวนาฏราช ในรูปแบบภาพวาด

40

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า


ศิวนาฏราช ในรูปแบบ ประติมากรรม

41

พระวิษณุในร่างสตรีได้ยวั่ ยวนฤษีให้เกิดความหลงใหล จนละจาก การประกอบพิธีกรรม  ส่วนพราหมณ์รูปหล่อก็เข้าไปตีสนิทกับภรรยา ของเหล่าฤษี โดยยุยงให้งดช่วยเหลือในการประกอบพิธีกรรม บรรดาฤษีเมื่อโดนไม้นี้เข้า ก็รู้สึกโกรธแค้นเป็นก�ำลัง (ชิชะ ! บังอาจเข้ามาตีท้ายครัวเราเชียวรึ) จึงร่วมกันร่ายมนตร์เสกเสือขึ้นมา หมายให้ขย�้ำพราหมณ์หนุ่ม ! แต่เสือกระจอกหรือจะสามารถต่อกรกับพระผู้เป็นเจ้า  พระศิวะ ในร่างพราหมณ์จงึ ทรงจับเสือทุม่ กับพืน้ จนตาย แถมยังถลกหนังเสือมาห่ม พวกฤษีไม่ยอมแพ้ คราวนีเ้ สกงูขนึ้ อีก  พราหมณ์หนุม่ ก็คว้าหมับ จับงูมาท�ำเป็นสร้อยพระศอ

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ


52

5 ทฤษฎี แ ห่ งเทวกํ าเนิ ด

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า


ดูเหมือนสังคมไทยจะถูกจริตกับเรื่องราวของเทพอยู่มาก (มากกว่า ธรรม ?) จึงน่าสนใจทีเดียว หากจะลองส�ำรวจแนวคิดหรือทฤษฎีต่าง ๆ ว่าองค์เทวะทั่วโลกมีก�ำเนิดมาได้อย่างไร  ในที่นี้จะเล่าทฤษฎีตัวอย่าง เอาไว้เผื่อมีใครอยากคิดหรือค้นคว้าต่อ  ใครเจอแง่มุมสนุก ๆ มุมอื่น ก็อย่าได้รีรอ เขียนมาเล่าสู่กันฟังบ้างเด้อ

53

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ


https://www.religioustalks.com/wp-content/uploads/2017/09/surya-dev-photo.jpg

54

ทฤษฎีหนึง่ บอกว่า เทพบางองค์เป็นสัญลักษณ์ของปรากฏการณ์ ธรรมชาติที่ส�ำคัญต่อชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะมนุษย์ในสมัยโบราณ  จึง ไม่น่าแปลกใจที่เรามี สุริยเทพ (เพราะดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงาน ให้แก่สรรพสิ่งบนโลก) พระพิรุณ (สายฝนที่ให้ความชุ่มชื้นแก่แผ่นดิน) พระแม่ธรณี (สถานที่ลงหลักปักฐาน เพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์) และ พระแม่คงคา (ต้นก�ำเนิดของอารยธรรม) เป็นต้น ยกตัวอย่างแบบนี้แล้วฟังเหมือนเทพอินเดียเท่านั้น  แต่ก็น่ารู้ ไว้ว่า แม้แต่ผู้คนในดินแดนอื่นก็มีเทพในท�ำนองนี้ด้วยเช่นกัน  อย่าง ชาวเมารีในนิวซีแลนด์นับถือเทพเจ้าส�ำคัญสามองค์ ได้แก่ เทพแห่ง ท้องทะเล เทพแห่งป่า และเทพแห่งการเกษตร โดยเทพแต่ละองค์จะได้ รับการบวงสรวงเพือ่ ขอความช่วยเหลือในกิจกรรมต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับ ปากท้อง เช่น การหาปลา การล่าสัตว์ และการเพาะปลูก ตามล�ำดับ

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า

สุริยเทพของ ศาสนาพราหมณ์


https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/ba/Feuerbach_Gaea.jpg

ไกอา  พระแม่ธรณี ของกรีก

55

อีกทฤษฎีหนึ่งบอกว่า เทพบางองค์อาจมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ โดยเทพองค์นมี้ กั เคยเป็นคนส�ำคัญ เช่น กษัตริยห์ รือผูป้ กครอง อย่างกรณีจตุคามรามเทพนี่เห็นได้ชัด เพราะแม้ข้อสันนิษฐานต่าง ๆ จะฟังสับสน เช่น บ้างว่าท้าวจตุคามรามเทพน่าจะเป็นหนึ่งในกษัตริย์ แห่งดินแดนศรีวิชัย ซึ่งเกี่ยวพันกับการสร้างเมืองนครศรีธรรมราช บ้างก็ว่าพระนามของพระองค์น่าจะเป็น “ท้าวจันทรภาณุ” บ้างก็ว่า ใครบอก ท้าวจตุคามรามเทพเป็นกษัตริยส์ องพระองค์ องค์หนึง่ ทรงพระนามว่า “ขุนอินทรไศเรนทร” (ท้าวจตุคาม) ส่วนอีกพระองค์ ทรงพระนามว่า “ขุนอินทรเขาเขียว” (ท้าวรามเทพ) ต่างหาก แต่ทแี่ น่ ๆ คือ ไม่มใี ครบอกว่า ท้าวจตุคามรามเทพเป็นวิญญาณ ของคนธรรมดาสามัญในศรีวิชัยสักคนเดียว :-P

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ


84

9 “ ดวงอาทิ ต ย์ ย่ างเข้ า สู่ ราษี เ มษ ”

หมายความว่ าอย่ างไร  ?

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า


ในช่วงสงกรานต์แต่ละปี เราคงจะคุ้นเคยกับค�ำกล่าวที่ว่า “ดวงอาทิตย์ ย่าง (หรือยก) เข้าสูร่ าศีเมษ ...” ซึง่ ฟังเผิน ๆ เหมือนเป็นแค่โหราศาสตร์ (อย่างเดียว) แต่จริง ๆ แล้วมีเบื้องหลังน่าสนใจไม่น้อยเลย ใคร ๆ ก็รู้ว่า การที่โลกหมุนรอบตัวเองครบหนึ่งรอบท�ำให้ดู เหมือนว่าดวงอาทิตย์ขนึ้ และตกใน 1 วัน  แต่โลกยังโคจรรอบดวงอาทิตย์ อีกด้วย ซึ่งถ้ามองจากโลกก็จะดูเหมือนว่า ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ผ่าน กลุ่มดาวต่าง ๆ จนครบหนึ่งรอบในเวลา 1 ปี  เส้นทางที่ดวงอาทิตย์ เคลื่อนที่ไปบนท้องฟ้านี้มีชื่อเรียกอันแสนไพเราะว่า เส้นสุริยวิถี หรือ อีคลิปติก (ecliptic)

85

จักรราศี (มุมมอง จากดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์กลาง)

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ


110

13 ภาพพิมพ์แกะไม้สุดฮิต

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า


ฝรั่งมีภาพยอดนิยมอยู่ภาพหนึ่ง ซึ่งมักจะถูกดัดแปลงไปหลายรูปแบบ น้อง ๆ ภาพโมนาลิซา ทีถ่ กู แต่งหน้า ทาปาก เปลีย่ นทรงผม แต้มหนวด เสริมอึ๋ม ฯลฯ อย่างที่หลายท่านคงจะเคยเห็นกันมาแล้ว ภาพที่ว่านี้เป็นภาพผู้แสวงบุญนั่งคุกเข่า มือซ้ายถือไม้เท้า มือขวาและศีรษะยื่นออกไปนอกทรงกลม  ภายในทรงกลมนี้น่าจะเป็น ตัวแทนของโลก เพราะเต็มไปด้วยสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา เช่น ผืนแผ่นดิน

111

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ


112

ภาพพิมพ์แกะไม้ เฟลอะแมเรียน  (ดัดแปลงโดย ใส่สีเข้าไป) อันนี้เวอร์ชัน นักชีวเคมี

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า


ส่วนอันนี้เวอร์ชัน โปรแกรมเมอร์

ต้นไม้ บ้านเรือน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว  ส่วนภายนอก นั้นน่าพิศวง เพราะมีทั้งสิ่งที่คุ้นเคย เช่น เมฆ กงล้อ  และสิ่งที่ไม่ คุ้นเคย ซึ่งน่าจะเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายซุกซ่อนอยู่เป็นแน่ ไม่มีบันทึกใดที่ระบุแบบชัด ๆ ว่า ศิลปินคนไหนกันหนอที่เป็น ผู้สร้างสรรค์ผลงานอมตะชิ้นนี้  แต่ในปัจจุบันฝรั่งต่างก็เรียกภาพนี้ว่า Flammarion woodcut หรือภาพพิมพ์แกะไม้เฟลอะแมเรียน (ออก เสียงแบบอเมริกนั ) เพราะภาพนีป้ รากฏเป็นครัง้ แรกเป็นภาพขาวด�ำอยู่ ในหนังสือเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยาของ กามีเลอ ฟลัมมารีออง (Camile Flammarion) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ทั้งนี้ค�ำบรรยายใต้ภาพดั้งเดิมถอดความได้ว่า “พระในยุคกลาง บอกว่า เขาได้ค้นพบจุดบรรจบระหว่างสวรรค์และโลกแล้ว ...” ภาพนี้มีความหมายยังไง ฝรั่งเองก็เถียงกันมาตั้งนานแล้ว เช่น คนหนึ่งบอกว่า ดูผืนแผ่นดินสิ แบนแต๊ดแต๋อย่างนี้ แสดงว่าผู้คนใน ยุคกลางต้องคิดว่าโลกแบนแน่แท้ทีเดียว

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

113


116

14 ปริ ศ นา  “ นิ้ ว ชี้   ชี้ นิ้ ว ” ของดาวิ น ชี

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า


ผู้รู้ในวงการศิลปะและคนที่ชื่นชอบผลงานของ เลโอนาร์โด ดาวินชี ต่างก็รดู้ วี า่  มีลกั ษณะท่าทางเฉพาะอยูอ่ ย่างหนึง่ ทีเ่ ห็นทีไ่ หนก็จะรูท้ นั ที ว่าภาพนั้นเป็นผลงานของดาวินชี หรือได้รับอิทธิพลมาจากดาวินชี โดยตรง ท่าทางที่ว่านี้เด่นชัดมากในภาพ John the Baptist ซึ่งเป็น ภาพนักบุญจอห์น (Saint John) หน้าตาคล้ายสุภาพสตรี งอข้อศอก ขวาชี้นิ้วชี้และนิ้วโป้งขึ้นทางด้านบน ส่วนนิ้วที่เหลืองอพับอยู่ในอุ้งมือ ซึง่ หันเข้าหาล�ำตัว  ฝรัง่ เรียกท่าชีน้ วิ้ แบบนีว้ า่  ท่าทางของจอห์น (The John Gesture) หนังสือ  Leonardo da Vinci :  The Complete  Paintings and  Drawings เขียนโดย  Frank Zollner

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

117


ภาพ John the  Baptist ที่ชี้นิ้ว  อย่างเด่นชัด

118

ภาพ Adoration  of the Magi   ก็มีนิ้วชี้ซ่อนอยู่  หลังต้นแคร็อบ

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า


นิ้วชี้-ชี้นิ้ว  ที่อยู่ในภาพ  The Last Supper

http://e-arthistory5.blogspot.com/2018/03/leonardos-last-supper.html

119

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ


150

19 ธงชาติ น านาประเทศ หลากหลายมิ ติ

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า


แต่ละประเทศในโลกล้วนมีธงชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดย รูปภาพหรือสีสนั ต่าง ๆ บนธงย่อมมีความหมายแฝงอยูด่ ว้ ยเสมอ  อย่าง ธงไตรรงค์ของเรานั้น สีแดง หมายถึง ชาติและความสามัคคีของคนในชาติ สีขาว หมายถึง ศาสนา ซึ่งเป็นเครื่องอบรมสั่งสอนจิตใจให้ บริสุทธิ์ และ สีนำ�้ เงิน หมายถึง พระมหากษัตริยผ์ ทู้ รงเป็นประมุขของประเทศ ส�ำหรับธงที่ดูละม้ายคล้ายธงไตรรงค์ของไทยเราที่สุดคือธงของ สาธารณรัฐคอสตาริกา (Republic of Costarica) ซึ่งมีลักษณะริว้ แถบ ตามแนวนอนเหมือนกัน แต่สแี ดงกับสีนำ�้ เงินสลับกัน  คอสตาริกาอยู่ใน ทวีปอเมริกาเหนือ ทิศเหนือติดกับนิการากัว ส่วนทิศใต้ตดิ กับปานามา อย่างไรก็ดีสีแต่ละสีในธงคอสตาริกามีความหมายแตกต่างจาก สีบนธงไตรรงค์ของเรา สีแดงหมายถึง ความรักในการด�ำรงชีพ การเสียสละเลือดเนื้อ เพื่ออิสรภาพ ความอบอุ่น และความมีมิตรจิตมิตรใจของประชาชน ชาวคอสตาริกา

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

151


ธงชาติไทย

ธงชาติสาธารณรัฐ คอสตาริกาซึ่งมี แถบสีแดงและน�้ำเงิน สลับกับธงชาติไทย 152

สีขาว หมายถึง ความคิดทีช่ ดั เจน ความสุข สติปญั ญา พลัง และ ความงามของท้องฟ้า แรงขับดันในการริเริ่มค้นหาและความพยายาม ในกิจกรรมใหม่ ๆ และความสงบสุขของประเทศชาติ สีน�้ำเงิน หมายถึง ท้องฟ้า โอกาสที่เป็นไปได้ ความคิดอัน ชาญฉลาด ความมุมานะบากบั่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ความเป็น นิจนิรันดร์ และอุดมคติในทางศาสนาและจิตวิญญาณ ลองดูธงของประเทศอื่นกันบ้าง สัญลักษณ์พิเศษบางอย่างอาจ บอกข้อมูลเบื้องต้นให้เราได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น หากเห็นธงของสหราชอาณาจักรขนาดเล็ก ๆ อยู่มุมซ้ายบน ก็ แสดงว่า ประเทศนัน้ อยูใ่ นเครือจักรภพ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ

ถ อ ด ร หั ส

สั ญ ลั ก ษ ณ์ ป ริ ศ น า


(ขวาสุด) ธงชาตินิวซีแลนด์ (ขวา) ธงชาติออสเตรเลีย

ธงชาติฟิจิ

หากเห็นเดือนเสีย้ วและดาว ก็แสดงว่าคนส่วนใหญ่ในประเทศนัน้ นับถือศาสนาอิสลาม เช่น มาเลเซีย ตุรกี ปากีสถาน ตูนเิ ซีย แอลจีเรีย 153

ธงชาติมาเลเซีย

(ขวาสุด) ธงชาติปากีสถาน (ขวา) ธงชาติตุรกี

(ขวาสุด) ธงชาติแอลจีเรีย (ขวา) ธงชาติตูนิเซีย

ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ


รอบตัวเราเต็มไปด้วยสัญลักษณ์หลากหลายรูปแบบ เหตุใดมนุษย์จึงสร้างสรรค์สัญลักษณ์เหล่านี้ขึ้นมา ค�ำตอบอย่างง่ายที่สุดคือ สัญลักษณ์เป็นสิ่งที่ใช้แทนความคิด ในแทบทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ตั้งแต่ความคิดง่าย ๆ ไปจนถึงความคิดอันสุดลึกล�้ำ

ราคา 289 บาท ห ม ว ด ศ า ส น า / ป รั ช ญ า

ISBN 978-616-465-015-2


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.