ลายรดน้ำ

Page 1

ลายรดนํ้า

หมวดศิลปะ

ราคา ๔๕๐ บาท cover lai Gold.indd 2-3

ลายรดนํ้า THAI LACQUER WORKS

ISBN 978-974-7385-61-8

ลายรดนํ้า THAI LACQUER WORKS

3/6/12 8:32 AM


10 10

สารบัญ

๘ ๑๒ ๑๕ ๒๔

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ศิลปะลายรดนํ้า ลวดลายของลายรดนํ้า สุนทรียศิลป์ของรูปแบบศิลปะลายรดนํ้า


11 11

CONTENTS

9

FOREWORD

18 LAI ROTNAM OR THAI LACQUER WORKS 21 THE DESIGNS OF THAI LACQUER WORKS


24 24


25 25

สุนทรียศิลป์ของรูปแบบศิลปะลายรดน�้ำ

๑. รูปแบบลายกระหนกเปลว ส่ ว นปลายของลายกระหนกสะบั ด พลิ้ ว  เหมือนเปลวไฟ มีหัวนกคาบเป็นจุดแยกช่อลายที่  ท�ำให้เกิดลายอันต่อเนื่องกันไปจากโคนสู่ปลาย  ลักษณะของช่องไฟมักเป็นช่องไฟอิสระ จึงท�ำให้  ช่างสามารถก�ำหนดทิศทางของเส้นเถาลายให้อ่อน  พลิว้ มากน้อยได้ตามจินตนาการ ตัวอย่างได้แก่ งาน  ช่างชัน้ เยีย่ มของตูพ้ ระไตรปิฎก วัดเซิงหวาย ศิลปะ  สมัยอยุธยา ๒. รูปแบบลายกระหนกผสมผสานกับลายอื่น ๆ การใช้ลายกระหนกหลายรูปแบบต่าง ๆ กัน  เช่น กระหนกเปลว กระหนกหางไหล กระหนกใบ  เทศ ช่อหางโต  มาผสมกับลวดลายพรรณพฤกษา  เช่น ต้นไม้ ใบไม้ และดอกไม้ แซมด้วยภาพสัตว์  เช่น ลิง นก กระรอก ผีเสื้อ เป็นต้น ลักษณะของ  ช่องไฟเป็นระเบียบเรียบร้อย โครงสร้างของเถาลาย  อาจแสดงความแข็งแรงไม่อ่อนพลิ้ว เช่น สามารถ  ก�ำหนดให้เป็นแนวเส้นตั้งหรือแนวเส้นทแยง เพื่อ  เป็นขอบเขตพื้นที่ส�ำหรับบรรจุลายกระหนกชนิด  ต่าง ๆ ลงในช่องไฟได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างได้แก่  ตู้พระไตรปิฎกที่วัดศาลาปูน จังหวัดพระนครศรี-  อยุธยา ๓. รูปแบบลายสมดุลสองข้าง รูปแบบนี้เกิดจากโครงสร้างที่ก�ำหนดแกน  กลางแนวตั้งเป็นหลัก จุดเริ่มต้นของลายจะออก

ลายมาจากด้านล่างเสมอ แล้วแตกกิ่งก้านและเถา  ลายออกไปในลั ก ษณะลวดลายที่ เ หมื อ นกั น ทั้ ง  สองข้าง จัดเป็นลายประดิษฐ์ที่คิดเลียนแบบจาก  ธรรมชาติรอบตัว เช่น กอไผ่ รวงข้าว การแตกของ  ดอกไม้ไฟ เป็นต้น แล้วจึงจินตนาการแทนทีร่ ปู ทรง  ของธรรมชาติ นั้ น ด้ ว ยกระหนกแบบต่ า ง  ๆ เช่ น  กระหนกเปลว กระหนกหางไหล ช่อหางโต เป็นต้น  จนเกิดเป็นรูปแบบของลวดลายใหม่ คือ ลายรวง  ข้าว ลายไฟพะเนียง เป็นต้น ตัวอย่างได้แก่ ลายที่ ใช้กระหนกช่อหางโตผูกเป็นลายรวงข้าว บนตู้พระ ไตรปิฎก ศิลปะสมัยอยุธยา ๔. รูปแบบภาพแสดงเรื่องราวผสมลายกระหนก ภาพเรื่องราวหลักที่หยิกยกขึ้นมาเขียน เช่น  ภาพจับ ภาพชาดก ภาพรามเกียรติ์ ตอนใดตอน  หนึ่ง ไม่นิยมปล่อยให้มีพื้นที่ว่างในฉากหลังของ  ภาพ แต่จะสร้างนํ้าหนักที่แตกต่างกันในภาพด้วย  การบรรจุลายกระหนกไว้จนเต็มพื้นที่ ลวดลายนี้  เกิดจากเส้นของเถาลายที่ก�ำหนดทิศทางให้โค้ง  สลับซ้ายและขวา หรือเกี่ยวไขว้พันกันไปมาจาก  ล่างสู่บน ท�ำให้เกิดเป็นรูปทรงของช่องไฟพื้นแบบ  ต่าง ๆ เช่น สี่เหลี่ยมทรงขนมเปียกปูน ลายตาราง  เป็นต้น โดยมีระยะช่องไฟเป็นระเบียบสมํ่าเสมอ  เท่า ๆ กัน  การเกิดรูปทรงของกระหนกภายในช่อง  ไฟพื้นนี้จึงอาจยืดหยุ่นไปตามสภาพพื้นที่ว่างนั้น ๆ  ทว่ า เมื่ อ มองภาพโดยรวมยั ง เห็ น ความงามของ  โครงสร้างเส้นเถาลายที่ไหลเลื้อยได้อย่างชัดเจน


26 26


27 27

ตู้พระไตรปิฎก ลายกระหนกเปลว งานลายรดน�ำ้ ทีไ่ ด้รบั การยกย่องว่าเป็นฝีมอื   ช่างชั้นครู อันเป็นต้นแบบให้กับงานลายรด  น�้ำในยุคต่อมา ลักษณะลายเป็นการผสานลายธรรม-  ชาติ คือ รูปต้นไม้ทแี่ ผ่กงิ่ ก้าน ใบ ดอก และ  สัตว์ตา่ ง ๆ อย่างกระรอก ผีเสือ้  นก ผสาน  กับลายประดิษฐ์ ได้แก่ ลายกระหนกเปลวที่  ปลายพลิว้ ไหวประดุจเปลวเพลิง ไล่สว่ นปลาย  ของลายจากด้านนอกเป็นแนวทแยงเข้าไป  ด้านในเพื่อสอดรับกับเส้นสายของกิ่งก้าน  ต้นไม้ ด้านล่างเป็นภาพราชสีหบ์ านละ ๒ ตัว  แม้ว่าภาพนี้จะเขียนลวดลายทองเต็มพื้นที่  จนดูพราวระยับ แต่มีการจัดวางจังหวะช่อง  ไฟแบบอิสระได้อย่างลงตัวกับลักษณะของ  ลายเส้นที่อ่อนช้อยและเฉียบคม แม่นย�ำ  แสดงถึงความช�ำนาญและฝีมอื อันเอกอุของ  ช่างผู้สร้างงาน สมกับที่ได้รับการยกย่องว่า  เป็นงานลายรดน�ำ้ ทีบ่ รรลุความงามสูงสุดแห่ง  ศิลปะอยุธยา

• ตู้พระไตรปิฎก • ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ


30 30


31 31


32 32


33 33


64 64


65 65

ตู้พระไตรปิฎกรูปกษัตริย์ ชาวตะวันตกและเปอร์เซีย ตูพ้ ระไตรปิฎกสมัยอยุธยาทีโ่ ดดเด่นชิน้ หนึง่   เพราะนอกจากจะแสดงลักษณะทางศิลปะ  แล้ ว  ยั ง นั บ เป็ น ภาพบั น ทึ ก สั ง คมในสมั ย  อยุธยาตอนปลายที่มีชุมชนต่างชาติตั้งถิ่น  ฐานในสังคมอยุธยา  บานตู้ด้านซ้ายเขียน  เป็นภาพกษัตริย์ชาวตะวันตก และด้านขวา  เป็นภาพกษัตริยเ์ ปอร์เซีย ความน่าสนใจ คือ  การเขียนตัวบุคคลที่มีขนาดสัดส่วนเท่า ๆ  กันแต่มีรายละเอียดของภาพแตกต่างกัน  ภาพด้านซ้ายเขียนด้วยลวดลายแบบตะวัน  ตก เช่น รายละเอียดของเครื่องแต่งกายที่  เขียนลายก้ า นขดรูปใบไม้โค้งแบบศิลปะ  รอคโกโกหรือรูปเทวดาฝรั่งในกลุ่มเมฆที่  มุมด้านบนซ้ายของภาพ เป็นต้น  ทั้งนี้ใน  สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นช่วงที่  ฝรั่งโดยเฉพาะชาวฝรั่งเศสมีบทบาททาง  การเมืองในราชส�ำนักอยุธยามาก  ส่วนภาพ

ด้านขวาทีเ่ ป็นกษัตริยเ์ ปอร์เซียนัน้ ทรงเครือ่ ง  แต่งกายแบบเปอร์เซีย เขียนลวดลายผ้า  อย่างละเอียด โพกศีรษะและเหน็บกริชไว้ที่  เอว เห็นใบหน้าด้านข้างที่หันเข้าหาส่วน  กลางของตู้ รับกับมุมมองของกษัตริย์ฝรั่ง  ทางด้านซ้ายที่หันหน้ากลับมา นอกจากนีก้ ารเขียนเส้นคดโค้งเหนือ  ศีรษะบุคคลทั้งสองภาพเขียนด้วยลายเส้น  ที่ต่างกัน แต่มีแนวคิดเหมือนกัน คือ การ  เว้นพื้นที่สีด�ำรอบส่วนบนเพื่อช่วยขับเน้น  ภาพให้เด่นชัดยิ่งขึ้น

• ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย • ตู้พระไตรปิฎก • จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ


74 74


75 75

ตู้พระไตรปิฎกเรื่องชาดก ภาพลายรดน�้ำเรื่องมโหสถชาดก ซึ่งเป็น  หนึ่งในทศชาติชาดก อันเป็นเรื่องราว ๑๐  พระชาติสดุ ท้ายของพระพุทธเจ้าสมณโคตม  ก่อนที่จะเสวยพระชาติเป็นพระพุทธเจ้า ภาพบานด้านหน้าของตูพ้ ระไตรปิฎก  เขียนเป็นภาพที่มีเรื่องราวต่อเนื่องกัน โดย  ใช้เส้นสินเทารูปทรงหยักฟันปลาแบ่งพื้นที่  ภาพเป็นส่วนบนและล่างอย่างละครึ่งเท่า ๆ  กัน ส่วนล่างเป็นภาพพระราชวัง เห็น  พระมโหสถบัณฑิตแห่งเมืองมิถลิ า ก�ำลังยืน  ยกมือเพือ่ ห้ามทัพของพระเจ้าจุลนีพรหมทัต  ที่ยกทัพมาล้อมเมืองมิถิลา ส่วนบนเขียนลายกระหนกเปลวที่  ออกลายจากกลุ่มภาพขนาดใหญ่ทางด้าน  ล่ า งขึ้ น สู ่ ด ้ า นบนจนเต็ ม พื้ น ที่   มี ก ระรอก  นก หัวนาค แทรกอยู่ในเถาลายกระหนกที่  ไขว้โค้งสลับไปมาทั้งซ้ายและขวา ช่องไฟ  ของเถากระหนกมีลักษณะละเอียดและเป็น  ระเบียบ ให้ความรูส้ กึ ทีต่ รงข้ามกับกลุม่ ภาพ  ที่เป็นเรื่องราวทางด้านล่าง

• ตู้พระไตรปิฎก • ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย • วัดอนงคาราม กรุงเทพฯ


76 76


77 77


84 84


85 85

ตู้พระไตรปิฎก เรื่องรามเกียรติ์ ภาพลายรดน�้ำของตู้พระไตรปิฎกใบนี้ทั้ง สามด้านเขียนเป็นเรื่องรามเกียรติ์ ภาพบานเต็มด้านหน้าของตู ้ จัดองค์  ประกอบภาพให้ด้านล่างเป็นภาพกลุ่มใหญ่  คื อ  ภาพจั บ หรื อ ภาพการต่ อ สู ้ ร ะหว่ า ง  พระรามกับทศกัณฐ์ทงั้ บานซ้ายและบานขวา  แต่อยู่ในท่าทางที่แตกต่างกัน ด้านบนของ  แต่ละบานเป็นภาพตัวละครในท่าจับลิงกับ  ยักษ์ ๓ คู ่ วางอยูใ่ นโครงสร้างรูปสามเหลีย่ ม  โดยคูบ่ นสุดมีขนาดใหญ่กว่าคูอ่ นื่  ๆ พืน้ หลัง  เป็นลายกระหนกเปลวเครือเถาเขียนเต็ม พื้นที่

• ตู้พระไตรปิฎก • ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ (?) • ศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ


86 86


87 87


130 130


131 131

ตู้พระไตรปิฎกรูปเสี้ยวกาง ตู้พระไตรปิฎกที่แสดงการผสมผสานลวด  ลายที่ ไ ด้ รั บ อิ ท ธิ พ ลของศิ ล ปะจี น กั บ งาน  ศิลปะไทยเข้าด้วยกัน เป็นภาพเสี้ยวกาง  (คือทวารบาลแบบจีน) ถือกริชอยู่ข้างละ  บาน ยืนหันหน้าเข้าหากันแต่ล�ำตัวหันไป  คนละด้าน เสีย้ วกางทัง้ คูม่ หี น้าตาแบบยักษ์  อยู ่ ใ นชุ ด นั ก รบ ยื น บนหลั ง สิ ง ห์ แ บบไทย  สวมชฎายอดกาบหางไหล มีครอบศีรษะที่  เว้นพื้นที่สีด�ำไว้ภ ายในเพื่อเน้นให้เห็นใบ  หน้าชัดเจน ที่น่าสนใจ คือ รายละเอียด  ของเครื่องแต่งกายที่บรรจงใส่ลวดลายไว้  เช่น ลายทางเกล็ดปลา ลายก้านขดใบเทศ  เป็นต้น พื้นหลังเขียนลายกระหนกเปลว  อย่างอิสระเต็มพื้นที่

• ตู้พระไตรปิฎก • ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย • จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


136 136


137 137

ลับแลเรื่องรามเกียรติ์ ลับแลหรือบังตาไม้นี้เขียนเรื่องรามเกียรติ์  ไว้ทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งเป็นศึกพระรามกับ  ทศกัณฐ์ และอีกด้านหนึ่งเป็นศึกอินทรชิต ภาพในหน้า ๑๓๖ นีเ้ ป็นศึกพระราม  กับทศกัณฐ์ แบ่งพืน้ ทีภ่ าพเป็น ๒ ส่วน โดย  มีแนวเส้นแผ่นดินเป็นเส้นแบ่งฉาก ส่วนบน  เป็ น ภาพการเผชิ ญ หน้ า กั น ของพระราม  (ทางซ้ า ย) กั บ ทศกั ณ ฐ์ ซึ่ ง แปลงร่ า งเป็ น  พระอินทร์  ต่อเนื่องมาสู่ภาพส่วนล่างที่  เป็ น ภาพการต่ อ สู ้ ข องตั ว เอกทั้ ง คู ่ ที่ อ ยู ่  ในท่าแบบนาฏลักษณ์ที่เรียกว่า “ท่าจับ”  สั ง เกตที่ ตั ว ทศกั ณ ฐ์ แ ปลง ช่ า งได้ เ ขี ย น  สัญลักษณ์ของทศกัณฐ์คือ เศียรทั้งสิบ แต่  ใบหน้ายังคงเป็นหน้าเทพ  การศึกครั้งนี้  เป็นตอนส�ำคัญของเรื่อง เพราะทศกัณฐ์ถูก พระรามสังหารในท้ายที่สุด

จุดเด่นของภาพนี้คือ การเขียนราย  ละเอียดในส่วนเครื่องทรง ราชรถ ด้วยเส้น  ละเอียด รวมถึงท่าทางของตัวละครและ สัตว์ในภาพ เช่น ท่วงท่าของม้าและราชสีห์  เที ย มราชรถ พลวานรที่ ต ่ อ สู ้ กั บ พลยั ก ษ์  อย่างชุลมุน เป็นต้น พื้นหลังภาพเขียนลาย  ดอกไม้ร่วง ต้นไม้ ผีเสื้อ และนกประปราย  ช่วยขับเน้นตัวภาพให้โดดเด่นยิ่งขึ้น

• ลับแล (บังตา) • ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ • พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ


ลายรดนํ้า

หมวดศิลปะ

ราคา ๔๕๐ บาท cover lai Gold.indd 2-3

ลายรดนํ้า THAI LACQUER WORKS

ISBN 978-974-7385-61-8

ลายรดนํ้า THAI LACQUER WORKS

3/6/12 8:32 AM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.