พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ

Page 1

พจนานุกรม

ผ้าและเครื่องถักทอ

ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  อดีตศาสตราจารย์ประจำ�หมวดวิชาทัศนศิลป์  คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์  สาขาวิชาจิตรกรรม

พจนานุกรม

ผ้าและเครื่องถักทอ ศาสตราจารย์ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ

นั ก วิ ช าการด้ า นศิ ล ปวั ฒ นธรรมและศิ ล ปิ น ที่ สร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปกรรมจัดแสดงใน ประเทศและต่างประเทศ  ผู้เขียนสนใจและ เชี่ยวชาญในศิลปะไทย งานหัตถกรรมพื้นบ้าน มีผลงานเขียนทางวิชาการและหนังสือมากกว่า ๔๐ เล่ม หลายเล่มได้รับรางวัล เช่น  ศิ ล ปะชาวบ้ า น ได้ รั บ รางวั ล ดี เ ด่ น ประเภทหนังสือสารคดี ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จากสมาคมผู้ ผ ลิ ต และจำ � หน่ า ยหนั ง สื อ แห่ ง ประเทศไทย และคณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ หนังสือ  ศิ ล ปะน่ า รู้ ใ นสองศตวรรษ ได้ รั บ รางวัลดีเด่น ประเภทหนังสือสารคดี ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ แห่งชาติ   หนั ง สื อ ชุ ด พจนานุ ก รมของผู้ เ ขี ย นที่ จัดพิมพ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ได้แก่ • พจนานุกรมหัตถกรรม    เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน  • พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ  • พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย

หมวดพจนานุกรม

ISBN 978-616-7767-70-3

ราคา ๓๙๐ บาท

๓๙๐.-

ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ


2  พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ

ISBN 978-616-7767-70-3 หนังสือ พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ ผู้เขียน ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ภาพประกอบ ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์  ๒๕๕๐ พิมพ์ครั้งที่ ๒ พฤษภาคม  ๒๕๕๙ (ปรับปรุงใหม่) จำ�นวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ราคา ๓๙๐ บาท สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด บรรณาธิการเล่ม ออกแบบปก/รูปเล่ม คอมพิวเตอร์ ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท พิมพ์ท ี่ จัดพิมพ์ จัดจำ�หน่าย

อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ นัทธินี สังข์สุข  ธนา วาสิกศิร ิ วัลลภา สะบู่ม่วง ธนา วาสิกศิร ิ เอ็นอาร์ฟิล์ม  โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์  โทร. ๐-๒๖๙๙-๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด (สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ) บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด  ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินนํ้า)  ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี  นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐  โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ. - - กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๙. ๓๓๒ หน้า. ๑. เสื้อผ้า- -พจนานุกรม. I. ชื่อเรื่อง. ๖๔๖.๐๓ ISBN 978-616-7767-70-3

สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินนํ้า) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐   โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐  โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑  ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช  สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล  บรรณาธิการ สำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์  ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  3

สารบัญ

คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�ผู้เขียน (พิมพ์ครั้งที่ ๒) บทนำ�

๔ ๕ ๗

อักษร ก ..................................................................... ๖๘ อักษร ข ..................................................................... ๙๗ อักษร ค .................................................................. ๑๐๕ อักษร ฆ ................................................................... ๑๑๒ อักษร ง ................................................................... ๑๑๓ อักษร จ .................................................................. ๑๑๔ อักษร ฉ .................................................................. ๑๒๐ อักษร ช ................................................................... ๑๒๒ อักษร ซ ................................................................... ๑๒๕ อักษร ญ .................................................................. ๑๔๐ อักษร ด ................................................................... ๑๔๑ อักษร ต ................................................................... ๑๔๔ อักษร ถ .................................................................. ๑๕๓ อักษร ท ................................................................. ๑๕๖ อักษร ธ ................................................................... ๑๖๓ อักษร น .................................................................. ๑๖๕ อักษร บ ................................................................... ๑๖๘ อักษร ป ................................................................. ๑๗๐ อักษร ผ .................................................................. ๑๘๐ อักษร ฝ .................................................................. ๒๓๖ อักษร พ .................................................................. ๒๓๘ อักษร ฟ .................................................................. ๒๔๘ อักษร ภ ................................................................... ๒๕๐ อักษร ม ................................................................... ๒๕๑ อักษร ย .................................................................. ๒๕๗

อักษร ร ................................................................... ๒๖๘ อักษร ล .................................................................. ๒๗๒ อักษร ว ................................................................... ๒๙๑ อักษร ศ ................................................................... ๒๙๓ อักษร ส .................................................................. ๒๙๔ อักษร ห .................................................................. ๓๐๗ อักษร อ ................................................................... ๓๒๐ อักษร ฮ ................................................................... ๓๒๕ บรรณานุกรม......................................................... ๓๒๘


6  พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ

ขอขอบคุณ สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณที่จัดพิมพ์หนังสือของผู้เขียน  ด้วยดีเสมอมา

ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  7

บทนำ�

ผ้าในประเทศไทย๑

ผ้า พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔  นิยามว่า  สิ่งที่ท�ำด้วยเยื่อใย เช่น ฝ้าย ไหม ขนสัตว์ โดยวิธีทอหรืออัดให้เป็นผืน  เรียกตามลักษณะของสิ่งที่ท�ำ เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ หรือตาม  ลักษณะที่ใช้ เช่น ผ้ากราบ ผ้าอาบ ผ้าอ้อม ผ้า สิ่งที่ทอ ถัก ด้วยเส้นใยฝ้าย ป่าน ปอ ไหม ขนสัตว์ ให้เป็น  ผืนเพื่อใช้ประโยชน์ลักษณะต่างๆ เช่น ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ใช้ในพิธีกรรม  มีกลวิธีการทอ ลวดลาย และสีหลากหลาย ตามขนบนิยมของแต่ละกลุ่ม ชน ผ้าเป็นหนึ่งในสี่ปัจจัยหลักของคนไทย โดยใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม  ทั้งผ้าที่ทอใช้เองและสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ เฉพาะที่ทอใช้กันในกลุ่ม  ชาติพันธุ์ต่างๆ มีรูปแบบแตกต่างกันไปตามความนิยม วัฒนธรรมของ  กลุ่มชน  ส่วนผ้าที่สั่งซื้อจากต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นผ้าที่มีลักษณะพิเศษ  ที่ไม่มีในประเทศ  ผ้าต่างประเทศมักสั่งซื้อมาใช้เป็นฉลองพระองค์ของ  พระมหากษัตริย์ พระมเหสี พระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งเป็นทั้งเครื่องนุ่งห่ม  และเป็นเครื่องแสดงฐานันดรศักดิ์ของผู้ใช้ด้วย  ดังนั้นผ้าไทยในอดีตจึง  เป็นส่วนหนึง่ ของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของคนไทย

ผ้าสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน พบว่ามีการทอผ้ามาตั้งแต่  สมัยก่อนประวัติศาสตร์เมื่อหลายหมื่นปีมาแล้ว นักโบราณคดีสันนิษฐาน  ว่า มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินเก่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านเก่า  ต�ำบลจระเข้เผือก อ�ำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อประมาณ ๕๐,๐๐๐-  ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ด�ำรงชีวิตอยู่ด้วยการกินผลไม้และการล่าสัตว์ อยู่ใน  สังคมนายพราน  อย่างไรก็ตามมนุษย์ยุคนัน้ เริ่มมีแนวคิดในการประดิษฐ์  สิ่งของด้วยมือหรือ “หัตถกรรม” เพื่อใช้สอยในการด�ำรงชีวิตบ้างแล้ว  เพราะพบหลักฐานหลายอย่าง เช่น หินชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เครื่องมือหิน  กะเทาะ เป็นก้อนหินหรือก้อนกรวดขนาดเหมาะมือกะเทาะปลายด้าน  หนึ่งให้แหลม คม ใช้ทุบหรือใช้ตัดสับ  ต่อมามนุษย์ขัดหรือฝนปลายหิน  กะเทาะให้มีความคมหรือแหลมมากยิ่งขึ้น นักโบราณคดีเรียกหินชนิดนี้ว่า  เครื่องมือหินขัด หรือขวานฟ้า เพราะมนุษย์น�ำกระดูกสัตว์ ท่อนไม้ ที่เคย  ผ้าในประเทศไทย หมายถึง ผ้าทอมือและผ้าต่างประเทศที่น�ำเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรสยาม  ในอดีต และผ้าทอมือในปัจจุบัน ๑


8  พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ

เครื่องมือหินกะเทาะ

หินทุบเปลือกไม้

ใช้เป็นกระบองล่าสัตว์มาท�ำเป็นด้าม โดยผูกด้วยเถาวัลย์ หวาย ลักษณะ  เช่นเดียวกับขวานที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ นอกจากนี้มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในสังคมนายพรานยัง  รู้จักน�ำหินมาฝนเป็นใบหอก น�ำเขาสัตว์หรือกระดูกสัตว์มาฝนจนแหลม  เพื่อใช้เป็นหัวลูกศร และน�ำเปลือกหอย หิน มาท�ำเป็นก�ำไล ลูกปัดประดับ  กาย แสดงว่ามนุษย์เริ่มใช้งานหัตถกรรมให้เป็นประโยชน์ด้านจิตใจนอก  เหนือไปจากประโยชน์เพื่อการด�ำรงชีวิต ในขณะทีม่ นุษย์สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ในบริเวณจังหวัดกาญจน-  บุรี สามารถประดิษฐ์ขวานฟ้า หัวลูกศร ก�ำไลได้นนั้  ปรากฏว่ามนุษย์ก่อน  ประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐-๘,๐๐๐ ปีที่อาศัยอยู่ในบริเวณภาค  เหนือสามารถท�ำ เครื่องปั้นดินเผา ได้แล้ว เพราะพบเศษภาชนะลายเชือก  ทาบ (cord-marked) และลายเสื่อหรือลายตาข่าย (net-marked) ที่  ถ�้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์สามารถฟั่น  เส้นใยพืชเป็นเส้นเชือก ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงการถักเส้นใยเป็นตาโปร่งๆ แล้ว  พัฒนาต่อมาเป็นการทอผ้าด้วยการใช้เส้นใยสอดขัดเป็นแผ่นหรือเป็นผืน หลั ก ฐานส�ำคั ญ ที่ แ สดงว่ า มนุ ษ ย์ ส มั ย ก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ น�ำ  เปลือกไม้ ใบไม้ มาท�ำเป็นเส้นใยส�ำหรับถักหรือทอคือ หินทุบเปลือกไม้  (bark cloth beater) พบในที่ต่างๆ หลายแห่ง เช่น ที่ถำ�้ เบื้องแบบ ต�ำบล  ท�ำเนียบ อ�ำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อายุประมาณ ๓,๕๐๐-  ๓,๔๐๐ ปี), แหลมป้อม ต�ำบลบ้านม่วง อ�ำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา, บ้าน  เชียง ต�ำบลบ้านเชียง อ�ำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และที่บริเวณ  จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น (จิราภรณ์, ๒๕๓๓ : ๒)  หินทุบเปลือกไม้เหล่า  นี้ขนาดเท่าก�ำปั้น  ด้านหน้าเรียบ แต่บากเป็นรอยกากบาทตัดกันทั้งผิว  หน้าเพื่อใช้ทุบเปลือกหรือใบไม้ได้ดี  นอกจากนี้ยังพบเข็มท�ำจากเขาสัตว์  พบในเขตบ้านเก่า ต�ำบลจระเข้เผือก อ�ำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็น  สิ่งยืนยันว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยสามารถผลิตหัตถ-  กรรมที่ถักทอด้วยเส้นใยได้แล้ว แม้สิ่งที่ผลิตได้อาจเป็นเพียงตาข่ายหรือ


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  9

ผ้าเนื้อหยาบๆ ก็ตาม แต่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ยุคนัน้ พยายามผลิตสิ่งที่มี  ลักษณะเป็นผืนด้วยการถักหรือสาน เพื่อใช้ปกปิดหรือห่อหุ้มร่างกายให้พ้น  จากอันตรายที่เกิดจากแสงแดด ความร้อน ความหนาวเย็น และภัยธรรม-  ชาติอื่นๆ แทนใบไม้หรือหนังสัตว์ ปุยฝ้าย

ไม้ไผ่ ด้าย แวดินเผา

รอยเชือกบนก�ำไลส�ำริดยุคโลหะ ไม้ปั่นด้ายที่ใช้แวดินเผา

ไม้ปั่นด้าย

ต่ อ มาในยุ ค โลหะประมาณ ๒,๗๐๐-๑,๕๐๐ ปี ม าแล้ ว  (ชิ น ,  ๒๕๒๙ : ๑๒๔) เชื่อว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่ในหลายพื้นที่  ในประเทศไทยทอผ้าใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มกันทั่วไป ดังได้พบเศษผ้าติดอยู่  ที่ก�ำไลส�ำริดของโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ ขุด  พบที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘)  สันนิษฐานว่า มนุษย์ยคุ โลหะสวมเสือ้ ผ้าทีท่ อด้วยป่านกัญชา (ชิน, ๒๕๑๒ :  ๙๔)  และพบเศษผ้าติดอยู่บนก�ำไลส�ำริดของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุค  โลหะในแหล่งอารยธรรมบ้านเชียง อ�ำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี  นอกจากนี้ยังพบ แวดินเผา (spindled whorl) ส�ำหรับใช้ปั่นปุยฝ้ายเป็น  เส้นด้าย  และพบ ลูกกลิ้งดินเผา สันนิษฐานว่าใช้กลิ้งสีให้เกิดลวดลายบน  ผ้า  แวเป็นส่วนประกอบของไม้ปั่นด้าย รูปร่างของแวอาจเป็นแผ่นกลมๆ  ทรงกลม รูปกรวย หรือรูปทรงอื่นๆ  ขนาดของแวขึ้นอยู่กับชนิดของเส้น  ใยที่จะปั่น เช่น แวขนาดเล็กน�้ำหนักเบาใช้ส�ำหรับปั่นขนสัตว์ แวขนาด  ใหญ่น�้ำหนักมากใช้ส�ำหรับปั่นเส้นใยจากพืช เช่น ใยป่านลินนิ  (flax) ป่าน  กัญชา (hemp) ตรงกลางแวมีรูส�ำหรับสอดไม้ปั่นเส้นใย ปลายข้างหนึ่ง  ท�ำเป็นขอส�ำหรับเกี่ยวเส้นใยให้เป็นเกลียวแล้วพับรอบๆ ไม้ปั่น  ขณะที่  หมุนไม้แวจะช่วยท�ำให้เกิดแรงถ่วงให้ไม้หมุนรอบตัวเองได้สม�่ำเสมออยู่  นานท�ำให้เส้นใยบิดพันกันเป็นเส้นด้าย มีขนาดเท่ากันตลอดทั้งเส้นและ  เหนียวพอที่จะน�ำไปทอเป็นผ้าต่อไป


10  พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ

ลูกกลิ้งดินเผา ลายต่างๆ

ส่วนลูกกลิ้งดินเผาซึ่งพบที่บ้านเชียงจ�ำนวนมาก สันนิษฐานว่า  ใช้ส�ำหรับพิมพ์ลวดลายบนผ้า  สีที่ใช้ส�ำหรับพิมพ์ผ้าด้วยลูกกลิ้งอาจเป็น  สีจากยางไม้ ดิน หรือหิน อาจใช้สีทาบนลายของลูกกลิ้งแล้วกลิ้งลงบนผืน  ผ้าให้ลายต่อเนื่องกันไป  การกลิ้งสีลงบนผ้าอาจจะเป็นต้นแบบของการ  พิมพ์ลวดลายและเขียนลงบนผ้าในสมัยต่อๆ มา จากหลักฐานส�ำคัญดังกล่าว แสดงว่ามนุษย์สมัยก่อนประวัติ-  ศาสตร์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน  สามารถปั่นเส้นใย  ส�ำหรับใช้ทอผ้าแล้วน�ำมาทอเป็นผืนผ้าที่มีลักษณะต่างๆ กัน ตลอดจนมี  การตกแต่งผ้าให้มีลวดลายสวยงาม  การสร้างลวดลายบนผืนผ้าแสดง  ให้เห็นว่ามนุษย์มีความรู้สึกทางสุนทรียภาพพร้อมๆ กับประโยชน์ใช้สอย   กระบวนการทอผ้าพัฒนาสืบต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์และพัฒนาต่อมา  จนถึงปัจจุบัน

ผ้าสมัยประวัติศาสตร์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือเอเชียอาคเนย์เป็นดินแดนที่มีมนุษย์  อยู่อาศัยสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปรากฏหลักฐานที่เป็น  ศิลปะโบราณวัตถุอยู่ทั่วไปทั้งในบริเวณที่เป็นดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน  และบริเวณประเทศใกล้เคียง เช่น ประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา ตลอด  จนถึงหมู่เกาะต่างๆ ของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย  อารยธรรม  ของมนุ ษ ย์ ก ่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ ในภู มิ ภ าคนี้ สื บ เนื่ อ งมาถึ ง สมั ย ประวั ติ -  ศาสตร์  ซึ่ ง มี ก ารรวมตั ว กั น เป็ นชุ ม ชนระดั บ นครรั ฐ และอาณาจั ก รขึ้ น  ทั่วไป โดยเฉพาะในดินแดนประเทศไทยและกัมพูชามีอาณาจักรต่างๆ  เกิ ด ขึ้ น หลายยุ ค หลายสมั ย  เมื่ อ อาณาจั ก รหนึ่ง เสื่ อ มอ�ำนาจลงก็ จ ะถู ก  ครอบครองโดยอาณาจักรที่เข้มแข็งกว่า เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงพุทธ-  ศตวรรษที่ ๖ เรื่องราวของอาณาจักรต่างๆ จึงปรากฏชัดเจนขึ้นด้วยการ  บันทึกของนักเดินทางจากจีน เช่น ราชทูตจีนนาม คังไถ่ (K’ang T’ai)


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  11

และจูยิง (Chu Ying) ซึ่งเดินทางเข้ามาในดินแดนนี้ได้บันทึกไว้ว่า ใน  บริเวณเอเชียอาคเนย์เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖-๗ มีอาณาจักรต่างๆ  หลายอาณาจักร แต่ละอาณาจักรมีความเจริญทางวัฒนธรรมแตกต่างกัน  ไปแต่ส่วนใหญ่ได้รับอารยธรรมอินเดีย โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์และ  พุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของผู้คนในบริเวณนี้อย่างมาก อาณาจั ก รฟู นัน  อาณาจั ก รส�ำคั ญ ที่ สุ ด แห่ ง หนึ่ง ในเอเชี ย อา-  คเนย์เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๖-๗ เป็นอาณาจักรใหญ่ สันนิษฐานกันว่า  มีอาณาเขตครอบคลุมไปถึงประเทศเวียดนามภาคใต้ ลุ่มแม่น�้ำโขงตอน  กลาง ลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา และแหลมมลายู  ฌอง บวซเซลิเย่ (Jean  Boisselier) นักปราชญ์ด้านโบราณคดีเอเชียอาคเนย์ชาวฝรั่งเศส สันนิษ-  ฐานว่ า ศู น ย์ ก ลางของอาณาจักรฟูนันอาจอยู่แถบลุ่มแม่น�้ ำเจ้าพระยา  บริเวณเมืองอู่ทอง ก่อนที่จะย้ายราชธานีไปแถบลุ่มแม่น�้ำโขง (สุภัทรดิศ,  ๒๕๒๒ : ๑๑) การสันนิษฐานดังกล่าว แสดงว่าเมื่อประมาณเกือบสองพันปี  มาแล้ ว  ในบริ เวณภาคกลางและภาคตะวั น ออกเฉีย งเหนื อ ของไทยมี  การตั้งถิ่นฐานเป็นอาณาจักร และฟูนนั เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญทาง  วัฒนธรรมมากอาณาจักรหนึง่ ในสมัยประวัติศาสตร์ ดังปรากฏในจดหมาย  เหตุจีนว่า “พวกชนชั้นสูงของฟูนันมีเครื่องนุ่งห่มที่ทอด้วยไหมเงิน ไหม  ทอง พวกผู้หญิงมีผ้าคลุมชนิดหนึง่ คล้ายหมวกแขก ผู้คนส่วนใหญ่มีเครื่อง  นุ่งห่ม ลูกผู้ดีมีตระกูลจะสวมโสร่งและนิยมเครื่องประดับที่เป็นสร้อยคอ  ทองค�ำแหวนหรือเครื่องใช้ที่ท�ำด้วยเงิน” จากบันทึกดังกล่าว “ผ้า” ที่ชาว  ฟูนนั น�ำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มอาจทอขึ้นใช้ในอาณาจักรของตน หรืออาจ  จะเป็นผ้าที่ซื้อมาจากประเทศจีนหรืออินเดีย โดยเฉพาะจีนที่มีพัฒนาการ  ในด้านการทอผ้าสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน จึงอาจจะส่งผ้าไหมเป็นสินค้า ออกมาทางทะเลมาขายให้กับอาณาจักรต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ รวมถึงส่ง  ไปอินเดียและตะวันออกกลางด้วย ในขณะที่อาณาจักรฟูนันเจริญรุ่งเรือง มีอาณาจักรที่เจริญรุ่ง  เรืองขึน้ ในส่วนอืน่ ของเอเชียอาคเนย์ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน เช่น อาณา-  จักรลังกาสุกะหรือลังยาสู บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย (พุทธศตวรรษ  ที่ ๙-๑๑) จดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์เหลียง (พุทธศตวรรษที่ ๑๑) ได้  บันทึกถึง “ผ้า” และการแต่งกายของผู้คนในอาณาจักรนี้ไว้ว่า “ประชาชน  ทั้งชายและหญิงสยายผมและสวมเสื้อไม่มีแขนท�ำด้วยผ้ากันมัน (kan-  man) อันทอด้วยฝ้ายกิเป (ki-pei) พระราชาและขุนนางในราชอาณาจักร  มีผ้าสีแดงรุ่งอรุณคลุมข้างบนหลังอีกชิ้นหนึ่ง ผ้านี้คลุมอยู่บนบ่าทั้งสอง


68  พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ

กงดีดฝ้ายภาคเหนือ

กงดีด ไม้ดีดฝ้ายให้เป็นปุยแตกออกจากกัน ท�ำด้วยไม้ไผ่คล้ายคันกระสุน แต่ด้าน

กงปั่นฝ้าย ที่ม้วนเส้นฝ้ายให้เป็นระเบียบ ท�ำด้วยไม้ รูปร่างคล้ายหลอดด้ายขนาด

กงหลา (ถิ่น-อีสาน) เครื่องส�ำหรับกรอด้ายกรอไหม ท�ำด้วยไม้ไผ่ไขว้กัน มีเชือก

กฐิน, ผ้า ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล (ตามศัพท์

หนึ่งโค้งยาวกว่าอีกด้านหนึ่ง มีเชือกขึงเป็นสายส�ำหรับดีดฝ้าย  การดีด  ต้องใช้ด้านยาวลงไปดีดฝ้ายที่อยู่ในกะเพียดหรือภาชนะใส่ฝ้าย โดยดึงสาย  กงแล้วปล่อยสลับกันไปเรื่อยๆ จนปุยฝ้ายฟู จึงขยุ้มปุยฝ้ายไปพันรอบไม้  กลมๆ ลักษณะคล้ายตะเกียบอย่างหลวมๆ เพื่อไปปั่นเป็นเส้นด้ายต่อไป กงดีด บางทีเรียก กงดีดฝ้าย ใหญ่แต่กลางโปร่ง มีขาและฐานท�ำให้หมุนได้ ใช้ม้วนเส้นด้ายที่สาวไว้ใน  ระวิงให้เป็นระเบียบ โยงจากปลายกงท�ำให้น�ำฝ้ายหรือไหมจากระวิงมาสอดเข้าไปได้ เพื่อจัด  เป็นปอยและเป็นไจก่อนน�ำไปค้นหูก

แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบส�ำหรับขึงผ้าที่จะใช้เย็บเป็นจีวร ผ้าที่เย็บจาก  กฐินหรือไม้สะดึงเรียก ผ้ากฐิน) คือระยะตั้งแต่แรม ๑ ค�่ำ เดือน ๑๑ ถึง  ขึ้ น  ๑๕ ค�่ ำ  เดื อ น ๑๒ (วั น เพ็ ญ เดื อ น ๑๒) ระยะนี้ เรี ย กว่ า  กฐิ นกาล   พุทธศาสนิกชนจะน�ำผ้ากฐินไปถวายพระหลังจากออกพรรษาแล้วภายใน  หนึง่ เดือน  ผ้าที่ถวายประกอบด้วยผ้าสบง จีวร สังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึง่ ก็ได้  ผ้าทั้งสามผืนต้องท�ำเป็นผ้าส�ำเร็จรูปที่ท�ำเพื่อถวายในวันทอดกฐิน  การ  ทอดกฐินผู้ถวายจะต้องกล่าวค�ำถวาย แล้วเอาผ้ากฐินวางไว้ตรงหน้า


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  69

อาสน์สงฆ์ ไม่ต้องประเคน จ�ำนวนพระสงฆ์ต้องไม่น้อยกว่า ๕ รูปและต้อง  จ�ำพรรษาอยู่ที่วัดนัน้

กฐินแล่น  ผ้าทอดกฐินที่ทอดในวันสุดท้ายของกฐินกาล คือวันเพ็ญเดือน

กฐินสามัคคี  การทอดกฐินที่มีเจ้าภาพร่วมกันเป็นจ�ำนวนมาก มีการตั้ง

กรมช่างไหม กรมช่างทีม่ หี น้าทีด่ แู ลการเลีย้ งไหมและการทอผ้าไหม ตัง้ ขึน้ ในสมัยรัชกาล

๑๒ และเป็นผ้าที่ท�ำขึ้นในวันนัน้ ตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ ย้อม และตัดเย็บเป็น  ผืนแล้วทอดในวันเดียว การทอดกฐินลักษณะนี้เชื่อว่าได้บุญมาก บางที  เรียก จุลกฐิน องค์กฐินไว้ตามที่ต่างๆ ภาคอีสานเรียก กฐินฮังโฮม

ที่ ๕ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓)  โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึน้ เมือ่  ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) ณ ต�ำบลศาลาแดง  พระนคร มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (พระองค์เจ้า  เพ็ ญ พั ฒ นพงศ์ )  เป็ น อธิ บ ดี ค นแรก  เดิ ม กรมช่ า งไหมอยู ่ ในกระทรวง  เกษตราธิการ ซึ่งขณะนัน้ มีอยู่ ๕ กรมคือ กรมบัญชาการ กรมเกษตรกร  กรมทะเบียนที่ดิน กรมแผนที่ กรมราชโลหกิจภูมิวิทยา กรมช่างไหมที่ตั้ง  ขึ้นใหม่จึงมีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเลี้ยงไหม ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง  โรงเรียนช่างไหมขึ้นที่วังใหม่สระปทุม ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียน  เกษตร  กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมทรงขยายโรงเรียนช่างไหมออกไปยัง  จังหวัดนครราชสีมา ร้อยเอ็ด และบุรีรัมย์  นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้  จ้างชาวญี่ปุ่นมาเป็นครูช่างไหมด้วย เพราะชาวญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไหมเป็น  อุตสาหกรรมในครัวเรือน พันธุ์หม่อนและพันธุ์ไหมของญี่ปุ่นมีคุณภาพ  ดีกว่าของไทย กล่าวคือ พันธุ์ไหมไทยมีสีเหลืองและเส้นไหมสั้นกว่าไหม  ญี่ปุ่นที่เส้นไหมสีขาว พันธุ์หม่อนญี่ปุ่นใบใหญ่และดกกว่าใบหม่อนไทย  และมีหลายชนิด จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับภูมิอากาศ  ของไทยมาปลูก และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องสาวไหมแบบญี่ปุ่นที่สาว  ได้เร็วและได้เส้นไหมสม�่ำเสมอกว่าเครื่องสาวไหมไทยในปี พ.ศ. ๒๔๕๒  แล้วแจกเครื่องสาวไหมให้ราษฎรไป ๔๐๘ เครื่อง  ดังนัน้ การเลี้ยงไหมและ  การทอผ้าไหมแบบพื้นเมืองในภาคอีสานส่วนหนึ่งจึงเปลี่ยนมาเป็นแบบ  ญี่ปุ่น ทว่ า เมื่ อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต  และกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมสิ้นพระชนม์แล้วก็ไม่มีผู้ใดสนใจส่งเสริม


70  พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ

โรงเรียนช่างไหมจึงล้มเลิกไปในปี พ.ศ. ๒๔๕๖

กรมท่า ผ้าสีน�้ำเงินเข้ม ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้เป็นผ้านุ่งของข้าราชการผู้มีหน้าที่

กรรชิง ผ้าสีส�ำหรับหุ้มกรรชิงของฉัตร ลักษณะเป็นชั้นๆ มีคันถือคล้ายร่มแต่มี

เกี่ยวกับการต่างประเทศและปกครองเมืองท่า สังกัดกรมพระคลัง เรียก  กรมท่า  ภายหลังมักเรียกผ้าสีนำ�้ เงินเข้มว่า สีกรมท่า

ขนาดใหญ่  ใช้เข้ากระบวนแห่ในการพระราชพิธีบางอย่าง เช่น รับช้าง  เผื อ กหรื อ แรกนาขวั ญ  หากหุ ้ ม ผ้ า สี แดงหรื อ ผ้ า ขาวโรยทองเรี ย ก พื้ น  ก�ำมะลอ  ถ้ามีริ้วขาวและสีน�้ำเงินสลับกันที่ระบายเรียก กรรชิงเกล็ด  โบราณใช้เป็นร่มเครื่องยศคู่กับคานหามตามบรรดาศักดิ์ ดังปรากฏในกฎ  มนเทียรบาลว่า “กรรชิงหุ้มผ้าแดงได้ แต่หลานหลวงอยู่ในวัง อยู่นอกวัง  กรรชิงหุ้มผ้าขาวเลว”

กรรปาสิก ผ้าฝ้ายโบราณชนิดหนึง่ กรรปาสิกพัสตร์  ผ้าที่ทอด้วยฝ้ายหรือผ้าฝ้าย

กรรภิรมย์ ฉัตรห้าชั้น ท�ำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง มีถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์

กรวม (ถิ่น-ใต้) การนุ่งผ้ายาวกรอมเท้า ยาวระพื้น หรือการนุ่งผ้ากระโจมอก

คือ พระเนาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่อง  สูง ใช้กางน�ำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชด�ำเนินโดยกระบวนพยุห-  ยาตรา

ลายกรวยเชิงลงรักปิดทองเสาอุโบสถ  (ภาพ พ.ศ. ๒๕๔๗)

กรวยเชิง ลายไทยแบบหนึง่  ผูกขึ้นโดยใช้แม่ลายกระหนกและแม่ลายกระจัง มักเป็น


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  71

รูปสามเหลี่ยมเรียงต่อเนื่องกันในท้องลาย การวางลายมักประกอบด้วย  หน้ากระดานใหญ่ หน้ากระดานเล็ก ขนาบอยู่ข้างล่างและข้างบน  ลาย  กรวยเชิงนิยมใช้ตกแต่งส่วนล่าง ขอบ ริม  ถ้าอยู่ที่เชิงผ้าเกี้ยวเรียก เชิง  เกี้ยว  ลักษณะลายเป็นรูปกรวยแหลมเรียงกันตามความกว้างของหน้าผ้า  อาจมีลายหน้ากระดานประกอบเป็นชั้นๆ

กรอ การม้วนด้ายเข้าหลอดด้วยไนหรือเครื่องจักร เพื่อน�ำไปทอหรือใส่กระสวย

ส�ำหรับทอผ้า

กรอง (๑) ร้อย ถัก ทอ

(๒) ผ้าเนื้อบาง ทอด้วยด้ายเส้นเล็ก ใช้กรองน�้ำหรือของเหลวเพื่อแยกสิ่ง  สกปรกที่เจือปนออก (๓) สมัยโบราณมักหมายถึง สิ่งที่ใช้สวมประดับกาย เช่น กรองคอ กรอง  ศอ กรองต้นแขน กรองปลายแขน เป็นต้น พบเครื่องประดับประเภทนี้  ปรากฏตามภาพบุคคลในจิตรกรรมฝาผนังสมัยปลายอยุธยาและต้นรัตน-  โกสินทร์หลายแห่ง

กรองคอ จิตรกรรมฝาผนัง อุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม  อ�ำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี  ศิลปะอยุธยาตอนกลาง  ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓  (ภาพ พ.ศ. ๒๕๔๘)

กรองคอ  เครื่องสวมคอสมัยโบราณ มีหลายรูปแบบ ดังปรากฏในพระ

ราชบัญญัติว่าด้วยการแต่งกายสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา-  โลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒) เรื่องการบังคับใช้ผ้าและ  ห้ามใช้ผา้ ตอนหนึง่ ว่า “...ธรรมเนียมแต่กอ่ นสืบมาจะนุง่ ผ้า สมปักท้องนอก  และใส่เสื้อครุย กรองคอ กรองต้นแขน กรองปลายแขน จะคาดรัดประคด  หนามขนุนได้แต่มหาดไทย กลาโหม จตุสดมภ์ และแต่งบุตรแลหลาน


96  พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ

แก้ว, ผ้า ผ้าบางใส แข็งเหมือนลงแป้ง คล้ายผ้าสาลู โกษม ผ้าใยไม้หรือผ้าลินนิ  ผ้าขาว ผ้าป่าน โกเอี๊ยะ ผ้าปิดแผลของจีน เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมหรือกลม มียาอยู่ข้างใน  บางทีเรียก

ผ้ากอเอี๊ยะ


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  97

ขนสัตว์ ผ้าที่ท�ำจากขนสัตว์ เช่น ขนแกะ ขนอูฐ ขนกระต่าย เป็นต้น ส่วนมากเป็น

ข่ม การกดลง เช่น การข่มเส้นตอกในการสาน หรือการข่มด้ายเส้นยืนลงหลัง

ขมิ้น, ผ้า ผ้าขาวผืนเล็กๆ ขนาดเท่าผ้าเช็ดหน้า ใช้วางบนหน้าหรือฝ่าเท้าผู้ตายที่โรย

ผ้าเนือ้ หนาจึงเหมาะส�ำหรับตัดเย็บเป็นเสือ้ ผ้าทีใ่ ห้ความอบอุน่  สมัยโบราณ  ผ้าชนิดนีต้ ้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ เช่น ผ้าส่านจากเปอร์เซีย ผ้าก�ำพล  ผ้ารัตกัมพล เป็นต้น จากสอดเส้นพุ่งผ่านเส้นเข้าไปแล้ว เป็นต้น

หรือทาขมิ้นไว้หลังอาบนํ้าศพแล้ว ขมิ้นจะติดที่ผ้าเพื่อลูกหลานจะได้เก็บ  ผ้าไว้เป็นที่ระลึกและบูชา เดิมเป็นประเพณีทำ� ศพของคนไทยเชื้อสายมอญ  แต่คนไทยบางกลุ่มก็มีพิธีนดี้ ้วยเช่นกัน

ขยิบ (ถิ่น-ใต้) ผ้าที่ใช้เย็บหุ้มริมผ้าเพื่อความสวยงามและทน ไม่ลุ่ย

ขยิบตํ่า (ถิ่น-ใต้) ผ้าเย็บริมแคบๆ กันไม่ให้ริมผ้าลุ่ยหรือขาด

ขลิบ การตัดหรือเล็มริมผ้าเพื่อให้ได้รูปและขนาดตามต้องการ

ขวิด (ถิ่น-อีสาน) ผ้าทอลายขิดเรียก ผ้าขวิด หรือผ้าขิด มีลวดลายหลายชนิด

ขัณฑ์ ผ้ากระทงจีวรตามพุทธบัญญัติ ให้พระตัดจีวรเป็นกระทงๆ คือ ตัดผ้าเป็น

ขัด การใช้วัตถุขัดผิวผ้าให้เป็นเงางาม มักใช้หินขัด เช่น การขัดผ้าเหลือง ผ้า

เช่น ลายขิดกาบ ขิดขอ ขิดช้าง ขิดดอกแก้ว ขิดดอกบัว ขิดดอกผักแว่น  ขิดตาไก่ ขิดตามน ขิดม้า ขิดส้อยพร้าว ขิดหมากมอน ขิดอุ้มหน่วย ขิด  ดอกฮัง เป็นต้น ชิ้นๆ แล้วเย็บต่อกัน แต่ละชิ้นเรียก กระทง ชามัวส์ (chamois) เป็นต้น


98  พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ

ขัดเตียว (ถิ่น-ใต้) การนุ่งผ้าแบบหนึง่ คล้ายถกเขมร บางทีเรียก คาดเตียว หรือปั้น

ขันธ์ขอน ผ้ากระทงที่ตัดเป็นจ�ำนวนคี่ คือ ต้องตัดกระทงเป็นขันธ์ขอนหรือจ�ำนวนคี ่

ขาก๊วย กางเกงแบบจีนตัดด้วยผ้าบางๆ ขนาดค่อนข้างใหญ่ ทรงหลวมๆ ใช้นุ่งอยู่

เตียว

เช่น ๕, ๗, ๙, ๑๑ จะตัดเป็นจ�ำนวนคู่ไม่ได้ บ้าน

ขาบ ผ้าสีนํ้าเงินอมม่วง ใช้รองมือขณะกราบ

ข่าย เครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ใช้ด้ายถักเป็นร่างแห หากถักด้วยด้ายเส้นเล็กๆ

ขาว ผ้าที่ทอด้วยฝ้ายหรือไหมธรรมชาติที่ฟอกให้เป็นสีขาว สมัยโบราณท�ำได้

เป็นตาถี่หรือตาห่างๆ ใช้ดักปลาตามแม่นํ้าล�ำคลองและหนองนํ้าต่างๆ

ยากเพราะไม่มีสารเคมีส�ำหรับฟอกขาว แต่ใช้สารธรรมชาติฟอก เมื่อทอ  เป็นผืนผ้าแล้ว ผ้ามักเปลี่ยนเป็นสีเดิมของฝ้ายหรือไหม

ผ้าลายขิดสีขาวและสีด�ำ   ใช้เป็นผ้าห่ม

ขิด ผ้าที่สร้างลวดลายด้วยการเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเพื่อสร้างลวดลายข้าม

ช่วงด้ายเส้นยืนคล้ายกับทอจก ไม่ใช้วัตถุปลายแหลมหรือขนเม่นจก แต่ใช้  ไม้คํ้าหรือเขา (string heddles) ท�ำด้วยไม้ไผ่เหลาให้เล็กยาวประมาณ  ๕๐ เซนติเมตร โยงเข้ากับด้ายเส้นยืน เมื่อต้องการทอลายใดก็ดึงเขาชุด


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  99

นัน้ มาใช้ ลายที่ไม่ต้องการก็จะดึงเขาเก็บขึ้นไป เขาลายใดที่ไม่ใช้ก็แขวนไว้  เหนือกี่ ดังนัน้ เขาหนึง่ อันจึงก�ำหนดลายได้หนึง่ แถวเส้นพุ่ง เมื่อทอมาถึง  เขาจะต้องใช้ไม้ดาบ (blade) ซึ่งเป็นไม้แบนๆ ยาวสอดผ่านเส้นยืนไปตาม  ที่เขาก�ำหนดไว้ แล้วพลิกดาบให้สันตั้งขึ้นพอที่จะสอดกระสวยเข้าไปได้  เมื่อกระสวยผ่านหน้าผ้าไปแล้วดึงไม้ดาบออก การทอขิดของกลุ่มชนไทลาวมี ๒ วิธีคือ ใช้เขาหลายอันผูกกับ  แกนไม้โยงฟืม เมือ่ ต้องการลายจากเขาก็เอาเชือกทีเ่ ขาลายนัน้ ไปคล้องตะกอ  การทอวิธนี นี้ ยิ มทอในกลุม่ ชาวไทลือ้ บริเวณอำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย การทอขิดอีกวิธหี นึง่ เรียก เขาเก็บขิด ใช้ไม้ดาบสอดทีเ่ ส้นยืนคล้าย กับวิธีแรก แต่เก็บเขาที่ไม่ใช้ไว้ใต้เส้นยืนเรียงกันทีละอัน เมื่อหมดชุดแล้ว  หากต้องการย้อนลายใหม่ก็ดึงเขาขึ้นมาใช้อีก ทำ�ให้เกิดลวดลายซํ้าเป็นเงา  สลับกัน การทอวิธีนี้ต้องมีผู้ช่วยคอยดึงไม้ สอดด้าย และเก็บเขา กลุ่มชาว  ไทลาวในบริเวณภาคอีสานนิยมทอขิดวิธีนี้ ลวดลายที่เกิดจากวิธีทอขิดจะมีลายซํ้าๆ กันตลอดความกว้าง  ของหน้าผ้า มักเป็นลายเรขาคณิตซึ่งเกิดจากการเว้นช่วงเส้นด้ายยืนและ  สอดด้ายเส้นพุ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าธรรมดา ชาวไทลาวในภาคอีสานนิยมใช้  ผ้าขิดเป็นหน้าหมอน เช่น หมอนขิดสามเหลี่ยม หมอนขิดสี่เหลี่ยม และใช้  เป็นหัวซิ่น บางท้องถิ่นใช้เป็นตีนซิ่นด้วย การทอขิดอาจเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเป็นไหมหรือโลหะ เช่น ดิ้น  เงินหรือดิ้นทอง เรียก ผ้ายกดิ้น (brocade)

ขิดตีนซิ่น  บ้านหนองเขื่อนช้าง  ต�ำบลท่าสองคอน  อ�ำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม  ทอด้วยฝ้ายเป็นริ้วสามริ้วคือ  สีเหลือง ขาว และส้ม  กว้างประมาณ ๓ นิ้ว  (ภาพ พ.ศ. ๒๕๓๐)

ขิดตีนซิ่น  ผ้าขิดที่ต่อเชิงหรือส่วนล่างของซิ่น ขนาดของเชิงขึ้นอยู่กับ

สัดส่วนของผู้นุ่งซิ่น ส่วนมากทอด้วยด้ายฝ้ายย้อมสีเพื่อให้เกิดลวดลาย  ชัดเจน  ขิดตีนซิน่ นอกจากใช้เป็นส่วนต่อและตกแต่งเชิงซิน่ แล้วยังช่วยถ่วง  ตัวซิ่นให้แนบล�ำตัวผู้นุ่ง มักทอเป็นแถบเล็กๆ กว้างเพียง ๒-๓ นิ้วเท่านัน้


114  พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ

ช่างทอผ้าจกบ้านหาดเสี้ยว  ต�ำบลหาดเสี้ยว อ�ำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย  (ภาพ พ.ศ. ๒๕๓๒)

ผ้าซิ่นเชิงเป็นผ้าทอจก

จก การทอผ้าให้เกิดลวดลายด้วยการจกหรืองัดด้ายเส้นยืนขึ้นด้วยขนเม่น

แล้วเพิ่มด้ายเส้นพุ่งที่มีสีสันและลักษณะพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆ ท�ำให้เกิด  สลับสีเป็นช่วงๆ ตลอดหน้าผ้า การทอแบบนี้บางทีเรียกว่า การปักบนหูก  เพราะการสอดด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปแล้วงัดขึ้นคล้ายกับการปัก การทอ  จกในบางท้องถิ่นใช้วิธีกลับด้านหลังผ้าขึ้นข้างบนขณะทอเพื่อให้ท�ำลวด  ลายละเอียดได้ดี เช่น กลุ่มทอผ้าชาวไทยวน บ้านคูบัวและบ้านดอนแร่  อ�ำเภอเมือง, บ้านบางกะโด อ�ำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี บางแห่งทอ  จากด้านหน้าของผ้า เส้นพุ่งพิเศษที่ใช้ทอจกนิยมใช้เส้นไหมบนพื้นผ้าฝ้าย  หรือไหม หรือใช้ดิ้นเงินดิ้นทอง อาจได้รับแบบอย่างมาจากอินเดียและ  เปอร์เซีย ส่วนมากนิยมใช้เป็นผ้าของชนชั้นสูง สามัญชนใช้ไหมสีเหลือง  แทนดิ้นทอง การทอจกต้องใช้ความประณีตสูงและทอได้ช้า จึงมักทอเป็นผ้า  ผืนเล็กเพื่อใช้ตกแต่งมากกว่าที่จะทอใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มโดยตรง เช่น การ  ทอผ้าจกเป็นเชิงผ้าซิ่นเรียกว่า ซิ่นตีนจก หรือบางถิ่นทอสลับกับการทอขิด  และมัดหมี่  การทอจกนิยมทอกันในกลุ่มชนเชื้อสายไทพวนและไทยวน  เช่น กลุ่มทอผ้าชาวไทยวนบริเวณอ�ำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่ม


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  115

ชาวไทยวนจังหวัดราชบุรี กลุ่มชาวไทยเชื้อสายไทพวน อ�ำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย และกลุม่ ชาวไทยเชือ้ สายไทพวนบริเวณอ�ำเภอบ้านไร่ จังหวัด  อุทัยธานี เป็นต้น

การทอจกแบบจกหน้าเอาหลังของชาวไทยวนบ้านหัวนา ต�ำบลคูบัว อ�ำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี  (ภาพ พ.ศ. ๒๕๓๐)

จกหน้าเอาหลัง  วิธที อผ้าจกโดยการจกด้านหน้า ลวดลายจะอยูด่ า้ นหลัง

ของผ้าที่อยู่ในกี่

การทอจกแบบจกหลังเอาหน้า ของชาวไทพวนบ้านหาดเสี้ยว  ต�ำบลหาดเสี้ยว อ�ำเภอศรีสัชนาลัย  จังหวัดสุโขทัย (ภาพ พ.ศ. ๒๕๓๒)

จกหลังเอาหน้า  วิธีทอผ้าจกโดยการจกด้านล่าง ลายจะปรากฏด้านบน

ของผ้าเมื่ออยู่บนกี่

จอ ผ้าขาวสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ขึงเพื่อเชิดหนังใหญ่ หนังตะลุง เดิมเป็นผ้าดิบ  ธรรมดา ต่างจากจอส�ำหรับฉายภาพยนตร์และภาพนิง่ ในปัจจุบัน ซึ่งส่วน  มากเป็นใยสังเคราะห์เคลือบด้วยสารเคมีเพื่อให้ภาพที่ปรากฏชัดเจน


116  พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ

จ้อส�ำหรับเลี้ยงไหมบ้านเขว้า  ต�ำบลบ้านเขว้า  อ�ำเภอบ้านเขว้า  จังหวัดชัยภูมิ  (ภาพ พ.ศ. ๒๕๓๐)

จ้อ (ถิ่น-อีสาน) ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ส�ำหรับเลี้ยงไหม รูปร่างคล้ายกระด้ง

จ่อง (ถิ่น-อีสาน) ผ้าห่มที่ทอจากด้ายเส้นยืนเป็นไหม เส้นพุ่งเป็นฝ้ายทอด้วย

จ้อง (ถิ่น-เหนือ) ร่มที่ท�ำด้วยผ้าหรือกระดาษ ใช้กางกันแดดกันฝน ชาวล้านนา

มอญหรือกระด้งขนาดใหญ่ สานเป็นตาห่างๆ ข้างในใช้ไม้ไผ่สานขัดเป็นวง  ซ้อนกันจนเต็มเพื่อให้ตัวไหมใช้เป็นที่ชักใย ลายมุก นิยมต่อกันสองผืนเพื่อให้มีความหนาและความกว้างพอเหมาะ  ส�ำหรับใช้เป็นผ้าห่ม บางถิ่นทอด้วยวิธียกดอก ผ้าห่มชนิดนีช้ าวอีสานเรียก  ผ้าจ่อง เรียก กั้นจ้อง

จิตรกัมพล ผ้าหรือพรมโบราณ มีสีและลวดลายต่างๆ กัน จิตรลดา ผ้าฝ้ายทอมือในมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พระบรมราชินนี าถ

จินเจ ผ้าแพรจีนมีดอกโตๆ จีบ ผ้าที่พับอัดให้เป็นกลีบเล็กใหญ่ตามลักษณะการใช้ผ้าแต่ละชนิด

จีบหางหงส์  ผ้าโจงกระเบนที่หางกระเบนจีบให้เป็นกลีบใหญ่ๆ ปล่อยให้  เลื้อยลงข้างหลังอย่างการนุ่งโจงกระเบนของลิเก หรือเด็กที่เข้าพิธีโกนจุกก็  นุง่ ผ้าโจงกระเบนจีบหางหงส์


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  117

ผ้าจีวรที่น�ำมาต่อกันให้ยาวเพื่อห่มพระบรมธาตุเจดีย์วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร  อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  ในวันขึ้น ๑๕ ค�ำ่  เดือน ๓ (วันมาฆบูชา) และวันขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา)  ผ้าห่มพระบรมธาตุเดิมใช้ผ้าพระบฏ (ภาพ พ.ศ. ๒๕๔๙)

จีวร ผ้าห่มของภิกษุ เป็นผ้าผืนใหญ่ขนาดกว้างไม่เกิน ๔ ศอกหรือ ๑.๕๐ เมตร  ยาวไม่เกิน ๔ ศอกหรือ ๒.๒๕ เมตร แต่เดิมน�ำเศษผ้าชิ้นเล็กๆ มาต่อกัน  เรียกว่า ขัณฑ์ จีวรผืนหนึ่งอาจจะมีตั้งแต่ ๕-๑๐ ขัณฑ์ ในประเทศไทย  นิยมใช้จีวรที่มี ๑๐ ขัณฑ์หรือปัญจขัณฑ์ (๕ ขัณฑ์) เป็นส่วนใหญ่ การ  ต่อผ้าหรือการต่อขัณฑ์เข้าด้วยกันมีแบบแผนก�ำหนดไว้โดยเฉพาะ เพราะ  จีวรเป็นผ้าผืนหนึ่งในเครื่องนุ่งห่มของภิกษุที่เรียก ผ้าไตร หรือไตรจีวร  ได้แก่ จีวร สบง และสังฆาฏิ ซึ่งมีทั้งผ้าที่ใช้นุ่งและห่ม ผ้าที่ใช้ห่มอย่าง  เดียวเรียก อุตราสงค์  เครื่องนุ่งห่มของภิกษุในปัจจุบันยังมีผ้าอื่นๆ ประ-  กอบด้วย ได้แก่ รัดประคดเอว คือ ผ้าส�ำหรับรัดขอบสบงให้แน่น (ดู รัด ประคด ประกอบ) ผ้าที่ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มของภิกษุดังกล่าวเป็นองค์ประกอบหลัก  ของไตรจีวร ซึ่งเป็นเครื่องนุ่งห่มที่จ�ำเป็นในการยังชีพของภิกษุอย่างแท้  จริง ต่อมาภิกษุไทยได้น�ำผ้าชนิดอื่นเพิ่มเข้ามาประกอบเป็นเครื่องนุ่งห่ม  แต่ผ้าเหล่านี้ไม่ได้ก�ำหนดรูปแบบและสีแน่นอน ได้แก่ ผ้ากราบ เป็นผ้าปู  กราบของภิกษุ มักเป็นผ้าพับทบเรียบร้อย บางทีภิกษุก็ใช้ผ้ากราบรับประ-  เคนสิ่งของจากมือผู้หญิงด้วย,  ผ้าอังสะ ผ้าห่มชั้นในของภิกษุ คล้ายเสื้อ  ชั้นในของฆราวาส อังสะมี ๒ ชนิดคือ อังสะที่เรียกว่า สไบ มีลักษณะ  คล้ายสไบของผู้หญิง ภิกษุจะต้องห่มเฉียงไหล่ซ้าย อ้อมหลัง มีหูส�ำหรับผูก  หรือกระดุมกลัดติดกันที่เอว อังสะอีกชนิดหนึง่ คือ อังสะลังกา กล่าวกันว่า


320  พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ

อกาลจีวร จีวรที่ทายกถวายแก่ภิกษุนอกฤดูกาล

อบร�่ำ การท�ำผ้าให้มีกลิ่นหอมของคนไทย มีหลายวิธี เช่น อบร�่ำ นึ่ง ส่วนมาก

อวน เครื่องมือจับปลาชนิดหนึง่  ถักด้วยเส้นด้ายเป็นตาข่ายผืนยาว ใช้ล้อมจับ

เป็นกลิ่นดอกไม้ไทย เช่น กลิ่นสารภี หรือกลิ่นเครื่องหอมจากอินเดีย เช่น  ก�ำยาน จันทน์หอม กฤษณา เป็นต้น  การอบต้องน�ำผ้าสะอาดทับหรือรีด  ให้เรียบร้อย ใส่โถหรือหีบ แล้วใส่ดอกไม้ชนิดใดชนิดหนึง่ ที่มีกลิ่นตามชอบ  ลงไป ปิดฝาทิ้งไว้ หรือน�ำกระแจะดีดไว้บนฝาหีบหรือฝาโถด้านใน แล้วปิด  ฝาให้กลิ่นดอกไม้หรือกระแจะแทรกซึมเข้าไปในเนื้อผ้า ท�ำให้ผ้ามีกลิ่นหอม อบร�่ำเป็นกรรมวิธีท�ำให้ผ้ามีกลิ่นหอม โดยน�ำเครื่องหอม เช่น  ชะลูด ลูกซัด ใบเตย ต้มน�ำ้ แล้วกรองให้สะอาดตั้งทิ้งไว้ น�ำผ้าที่ซักสะอาด  แล้วมานวดกับน�ำ้ หอม โดยแยกผ้าสีและผ้าขาวไม่ให้ปนกัน เมื่อนวดให้นำ�้   ซึมเข้าเนื้อผ้าดีแล้วน�ำไปตากให้แห้ง รีดให้เรียบ ใส่โถหรือหีบ น�ำตะคัน  วางลงไปพร้อมกับถ่านก้อนเล็กๆ และเครื่องหอม เช่น ก�ำยาน กฤษณา  จันทน์หอม เทียนซึ่งอบจนเป็นผงเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท ใช้ช้อน  ตักผงเครื่องหอมโรยบนก้อนถ่านจนท่วมเพื่อเผาให้เกิดควันหลายๆ ครั้ง  เผาครั้งหนึง่ เรียก ตั้งหนึง่  แล้วปิดฝาอบควันให้กลิ่นเครื่องหอมซึมเข้าไป  ในเนื้อผ้าการวางผ้าต้องวางผ้าขาวไว้ข้างล่าง วางผ้าสีไว้ข้างบน เพื่อ  ป้องกันไม่ให้ควันเปื้อนผ้าสีขาว  นอกจากนี้ยังมีการท�ำให้ผ้ามีกลิ่นหอมอีก  วิ ธี ห นึ่ง คื อ  การนึ่ง โดยน� ำ ชะลู ด  ลู ก ซั ด  ใบเตย มาต้ ม น�้ ำ แล้ ว กรองให้  สะอาด ตั้งทิ้งไว้ ขณะที่ผ้ายังเปียกอยู่น�ำใส่เครื่องนึง่  นึง่ ด้วยไฟอ่อนๆ ให้  กลิ่นน�ำ้ เครื่องหอมซึมเข้าไปในเนื้อผ้า ตากให้แห้ง กลิ่นหอมจะติดเนื้อผ้า ปลา มีหลายชนิด

อวนลอย  อวนชนิดหนึง่ ไม่มีเครื่องถ่วง แต่ผูกขอบบนของอวนกับเรือ อีก  ด้านหนึง่ ผูกกับทุ่น ปล่อยให้ลอยไปเพื่อให้ปลาเข้ามาติด

อวนลาก  อวนชนิดหนึง่ ใช้ลากเข้าหาตลิ่ง เป็นรูปครึ่งวงกลมแล้วลากให้

แคบเข้าจนถึงตลิ่งจนจับปลาได้


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  321

อักส�ำหรับม้วนด้ายและไหม  บ้านหว้า ต�ำบลหว้า  อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  (ภาพ พ.ศ. ๒๕๔๙)

อัก เครื่องคัดเส้นด้ายหรือเส้นไหม ท�ำด้วยไม้คล้ายหลอดด้าย ตรงกลางใช้ไม้

กากบาทเจาะรูตรงกลาง ปลายทัง้ สีด่ า้ นมีไม้ประกบส�ำหรับพันด้ายหรือไหม  ยาวประมาณ ๑ ฟุต มีฐานและแกนไม้ส�ำหรับสวมรูตรงจุดศูนย์กลางเพื่อ  ให้อักหมุน อักใช้กรอด้ายหรือไหมจากระวิงให้เป็นระเบียบ ก่อนจะสาวเข้า  กงเพื่อแยกเป็นปอยๆ และแยกเป็นไจๆ อักส�ำหรับกรอด้ายเรียก อักด้าย อักส�ำหรับกรอไหมเรียก อักไหม

อังสะพระพุทธรูป ที่ระเบียงพระบรมธาตุเจดีย์  วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร  อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  (ภาพ พ.ศ. ๒๕๔๙)

อังสะ ผ้าห่มชั้นในของภิกษุ คล้ายเสื้อชั้นในของฆราวาส อังสะมี ๒ ชนิด คือ

อัดก๊อปปี้ การอัดผ้าให้เรียบเป็นรอยพับโดยใช้เครือ่ งอัดก๊อปปี ้ (copy) ซึง่ ท�ำด้วยแผ่น

อังสะที่เรียกว่า สไบ มีลักษณะคล้ายสไบของผู้หญิง ภิกษุจะต้องห่มเฉียง  ไหล่ซ้ายอ้อมหลัง มีหูส�ำหรับผูกหรือกระดุมกลัดติดกันที่เอว อังสะอีกชนิด  หนึง่ คือ อังสะลังกา กล่าวกันว่าเป็นจีวรผืนเล็กๆ เป็นแบบทีน่ �ำมาจากลังกา   อังสะของภิกษุมีประโยชน์ใช้สอยอย่างเสื้อกล้ามผู้ชาย ใช้สวมขณะอยู่กับ  วัดและอยู่ตามล�ำพัง เวลามีแขกหรือออกไปนอกวัดจะต้องห่มจีวรคลุม  อีกชั้นหนึง่

เหล็กสองแผ่นซ้อนกัน แผ่นบนเลื่อนขึ้นและลงได้ด้วยสกรูขนาดใหญ่ที่อยู่


พจนานุกรม

ผ้าและเครื่องถักทอ

ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  อดีตศาสตราจารย์ประจำ�หมวดวิชาทัศนศิลป์  คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์  สาขาวิชาจิตรกรรม

พจนานุกรม

ผ้าและเครื่องถักทอ ศาสตราจารย์ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ

นั ก วิ ช าการด้ า นศิ ล ปวั ฒ นธรรมและศิ ล ปิ น ที่ สร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปกรรมจัดแสดงใน ประเทศและต่างประเทศ  ผู้เขียนสนใจและ เชี่ยวชาญในศิลปะไทย งานหัตถกรรมพื้นบ้าน มีผลงานเขียนทางวิชาการและหนังสือมากกว่า ๔๐ เล่ม หลายเล่มได้รับรางวัล เช่น  ศิ ล ปะชาวบ้ า น ได้ รั บ รางวั ล ดี เ ด่ น ประเภทหนังสือสารคดี ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จากสมาคมผู้ ผ ลิ ต และจำ � หน่ า ยหนั ง สื อ แห่ ง ประเทศไทย และคณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ หนังสือ  ศิ ล ปะน่ า รู้ ใ นสองศตวรรษ ได้ รั บ รางวัลดีเด่น ประเภทหนังสือสารคดี ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ แห่งชาติ   หนั ง สื อ ชุ ด พจนานุ ก รมของผู้ เ ขี ย นที่ จัดพิมพ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ได้แก่ • พจนานุกรมหัตถกรรม    เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน  • พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ  • พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย

หมวดพจนานุกรม

ISBN 978-616-7767-70-3

ราคา ๓๙๐ บาท

๓๙๐.-

ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.