2 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
ISBN 978-616-7767-72-7 หนังสือ พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย ผู้เขียน ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ภาพประกอบ ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม ๒๕๕๙ จำ�นวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ราคา ๕๘๐ บาท สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด บรรณาธิการเล่ม ออกแบบปก/รูปเล่ม คอมพิวเตอร์ ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท พิมพ์ที่ จัดพิมพ์ จัดจำ�หน่าย
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ นัทธินี สังข์สุข วัลลภา สะบู่ม่วง ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๖๙๙-๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด (สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ) บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินนํ้า) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย. -- นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๕๙. ๕๖๐ หน้า. ๑. ศิลปะ--พจนานุกรม. I. ชื่อเรื่อง. ๗๐๙.๕๙๓๐๓ ISBN 978-616-7767-72-7
สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินนํ้า) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล บรรณาธิการ สำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 3
สารบัญ
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�ผู้เขียน บทนำ�
๔ ๕ ๖
อักษร ก ..................................................................... ๓๙ อักษร ข ..................................................................... ๙๘ อักษร ค .................................................................. ๑๑๓ อักษร ง ................................................................... ๑๕๐ อักษร จ .................................................................. ๑๕๑ อักษร ฉ .................................................................. ๑๘๖ อักษร ช ................................................................... ๑๙๑ อักษร ซ .................................................................. ๒๑๗ อักษร ฐ .................................................................. ๒๒๙ อักษร ด .................................................................. ๒๓๗ อักษร ต ................................................................... ๒๔๓ อักษร ถ .................................................................. ๒๕๒ อักษร ท ................................................................. ๒๕๘ อักษร ธ .................................................................. ๒๗๑ อักษร น .................................................................. ๒๗๘ อักษร บ ................................................................... ๒๙๘ อักษร ป ................................................................. ๓๑๙ อักษร ผ .................................................................. ๓๕๓ อักษร ฝ .................................................................. ๓๖๐ อักษร พ .................................................................. ๓๖๖ อักษร ฟ .................................................................. ๓๘๔ อักษร ภ ................................................................... ๓๘๕ อักษร ม ................................................................... ๓๙๑ อักษร ย .................................................................. ๔๑๒ อักษร ร ................................................................... ๔๑๗
อักษร ฤ ................................................................... ๔๓๖ อักษร ล .................................................................. ๔๓๗ อักษร ว ................................................................... ๔๕๘ อักษร ศ ................................................................... ๔๖๘ อักษร ส .................................................................. ๔๗๖ อักษร ห .................................................................. ๕๐๙ อักษร อ ................................................................... ๕๔๓ อักษร ฮ ................................................................... ๕๕๓ บรรณานุกรม......................................................... ๕๕๔
4 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ หนั ง สื อ พจนานุ ก รมศั พ ท์ ศิ ล ปกรรมไทย ผลงานของ ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ เล่มนี้ เป็นหนังสือเล่มที่ ๓ ของหนังสือ ชุ ด พจนานุ ก รมของอาจารย์ วิ บู ล ย์ ที่ สำ � นั ก พิ ม พ์ เมื อ งโบราณจั ด พิ ม พ์ เผยแพร่ สู่ ผู้ อ่ า น ต่ อ จากหนั ง สื อ พจนานุ ก รมหั ต ถกรรม เครื่ อ งมื อ เครื่องใช้พื้นบ้าน (ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๘) และ พจนานุกรมผ้าและ เครื่ อ งถั ก ทอ (ปรั บ ปรุ ง ใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๙) สำ � หรั บ พจนานุ ก รมศั พ ท์ ศิลปกรรมไทย เกิดจากความมุ่งมั่นของอาจารย์วิบูลย์ที่รวบรวมความรู้ จากประสบการณ์มากกว่า ๓๐ ปีในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับงานศิลปะและ หัตถกรรมทั่วประเทศ การสอนนักศึกษา และจากการที่ท่านร่วมจัดทำ� พจนานุกรมของราชบัณฑิตยสภา เพื่อให้ผู้อ่านรู้จักงานศิลปะไทยผ่าน คำ�ศัพท์ที่อาจารย์ประมวลและให้คำ�อธิบาย พร้อมภาพประกอบทั้งภาพ วาดลายเส้นและภาพถ่ายเพื่อเสริมความเข้าใจแก่ผู้ใช้หนังสือเล่มนี้ ส่วน ที่นับว่าพิเศษแตกต่างจากพจนานุกรมที่อธิบายคำ�ศัพท์คือ บทนำ�ว่าด้วย ศิลปะไทย ทีใ่ ห้ความรูเ้ กีย่ วกับงานศิลปะไทยนับแต่อดีตถึงปัจจุบนั ลักษณะ เด่นของงานศิลปะไทยสมัยต่างๆ และเอกลักษณ์ของศิลปะไทยในแต่ละ ภูมิภาค นอกจากนี้คำ�ศัพท์บางคำ�มีทั้งความหมายของคำ�และอธิบายวิธี การสร้างงานประเภทนั้นๆ จึงทำ�ให้คำ�อธิบายศัพท์บางคำ�มีความยาวมาก นั่นเป็นเพราะความประสงค์ที่อาจารย์อยากถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อ่าน ผ่านคำ�ศัพท์เหล่านี้ พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย จึงเป็นหนังสืออ้างอิงเกี่ยวกับ ศั พ ท์ ด้ า นศิ ล ปะไทย รวมทั้ ง เป็ นการบั นทึ ก ความรู้ ภู มิ ปั ญ ญาทางด้ า น ศิ ล ปะของคนไทย ซึ่ ง สำ � นั ก พิ ม พ์ ฯ มุ่ ง หวั ง ว่ า จะเป็ น พื้ นฐานขององค์ ความรู้ที่จะช่วยสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ให้ดำ�รงอยู่ในสังคม ไทยสืบไป
สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ตุลาคม ๒๕๕๙
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 5
คำ�นำ�ผู้เขียน หนังสือ พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย เรียบเรียง รวบรวมองค์ความรู้ ที่บรรดาผู้รู้ได้เขียนไว้ในหนังสือต่างๆ มากกว่า ๕๐ เล่ม เหตุที่ต้องเขียน หนังสือเล่มนีเ้ พราะเห็นว่า ศิลปะไทย เป็นศิลปะทีท่ รงคุณค่า ทัง้ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และประณีตศิลป์ ซึ่งมีความหลากหลาย มากมาย แม้จะเป็นสิง่ ทีอ่ ยูใ่ กล้ตวั แต่คนไทยจำ�นวนไม่นอ้ ยไม่รจู้ กั ไม่เข้าใจ และมองไม่เห็นคุณค่า จึงเห็นว่าควรจะแนะนำ�ศิลปะไทยให้ผสู้ นใจ นักเรียน นิสติ นักศึกษาได้รบั รู ้ เพือ่ ให้เกิดความรู ้ ความรัก และรูค้ ณ ุ ค่า โดยพยายาม เขียนอย่างเรียบง่าย ไม่เป็นวิชาการจนเกินไป โดยปรับจากประสบการณ์ท ี่ ได้รับจากการทำ�งานร่วมกับราชบัณฑิตยสภาเขียนพจนานุกรมศิลปกรรม ไทยมานานนับสิบปี และศึกษาเรียนรู้ศิลปะไทยทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง มาช้านาน จนซึมซับสุนทรียรสของศิลปกรรมไทยอย่างรู้คุณค่า และเข้าใจ ความยิ่งใหญ่ที่ไม่ด้อยกว่าศิลปกรรมใดในโลก จึงปรารถนาถ่ายทอดความรู้ และความรู้สึกนั้นไปสู่ผู้ที่ไม่มีโอกาสสัมผัสได้ด้วยตนเอง การสร้างความเข้าใจและความรู้คุณค่าในศิลปะไทยต้องมีสมาธิ ค่อยๆ ซึมซับภูมิปัญญาและสุนทรียรสที่ปรากฏ ไม่ใช่ดูอย่างฉาบฉวย มอง ผ่านๆ เช่น ในการชมภาพจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถ วิหาร พระที่นั่ง ต้อง พิจารณาตั้งแต่การสร้างองค์ประกอบศิลป์ การใช้เส้น สี รูปทรง จะเห็น ภูมิปัญญาและทักษะอันยอดเยี่ยมของช่างที่บ่มเพาะความรู้สึกนึกคิดจาก วิถชี วี ติ ศาสนา สภาพแวดล้อมให้หลอมรวมเป็นหนึง่ แล้วแปรออกมาเป็น ภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธประติมา สถูปเจดีย์ ลวดลาย ที่สมบูรณ์มี ชีวติ จิตใจ สิง่ เหล่านีห้ ากมีการเสนอแนะ แนะนำ�ให้เกิดความรู ้ ความเข้าใจ ความรัก ก็จะเห็นคุณค่าในที่สุด นอกเหนือจากเนื้อหาแล้ว ภาพประกอบเป็นสิ่งสำ�คัญที่พยายาม จะนำ�เสนอให้หลากหลาย โดยเฉพาะศิลปะโบราณวัตถุสถานที่พยายาม เสนอให้เห็นความหลากหลายในทุกภาคของประเทศ อย่างไรก็ตามหนังสือ เล่มนีพ้ ยายามสร้างความรูค้ วามเข้าใจศิลปะไทยให้ประชาชนทัว่ ไป นักศึกษา โดยไม่ต้องไปศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเอง จึงหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็น ประโยชน์ตอ่ การเรียนรูแ้ ละสร้างความเข้าใจในศิลปะไทย เพือ่ ผดุงศิลปะไทย ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ รู้คุณค่า และรักษาศิลปะไทยไว้สืบไป
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ
6 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
บทนำ�
ค�ำถามแรกส�ำหรับผู้อ่านหนังสือเล่มนีค้ ือ ศิลปกรรมไทยคืออะไร ศิลปกรรมไทย คือ ผลงานสร้างสรรค์ของศิลปินและช่างไทย ตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั มีรปู แบบ กลวิธ ี และลักษณะเฉพาะทีม่ เี อกลักษณ์ ชัดเจน ศิ ล ปกรรมไทยมี ห ลายประเภท โดยเฉพาะผลงานวิ จิ ต รศิ ล ป์ (Fine art) ที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ และราชส�ำนัก ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ซึ่งเรียกว่า ทัศนศิลป์ (Visual art) หรือศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา ศิลปกรรมไทยเป็นศิลปะ แบบตะวั น ออก สร้ า งตามอุดมคติ ไม่เหมือนจริงอย่างศิลปะตะวันตก ศิลปกรรมไทยให้ความส�ำคัญกับเส้น รูปทรง สี และเนื้อหา โดยประมวล ขึ้นจากสุนทรียภาพ อารมณ์ ความรู้สึกที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยและ คติความเชื่อในพุทธศาสนา ศิลปกรรมไทยในที่นี้หมายถึงงานทัศนศิลป์ ได้แก่ จิตรกรรม แบบประเพณี จิตรกรรมบนผ้า จิตรกรรมบนกระดาษ จิตรกรรมฝาผนัง โบสถ์ วิหาร และจิตรกรรมติดที่ต่างๆ ประติมากรรม ได้แก่ พระพุทธรูป ลวดลายแกะสลัก ลวดลายปูนปั้น และสถาปัตยกรรม ได้แก่ สถูป เจดีย ์ ปรางค์ โบสถ์ วิหาร และสิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมทั้งงานศิลปะประยุกต์หรือ ประยุกต์ศิลป์ (Applied art) ได้แก่ งานประณีตศิลป์และศิลปหัตถกรรม เช่น งานประดับมุก ลายรดน�้ำ เครื่องไม้จ�ำหลัก ลวดลายปูนปั้น เป็นต้น การชื่นชมและการเข้าถึงศิลปกรรมไทยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับ บุคคลทั่วไป ซึ่งมักคิดว่าเป็นเรื่องยาก เมื่อยากก็เลยไม่สนใจ ไม่เห็นคุณค่า ท�ำอย่างไรให้ผู้คนสนใจ ซึ่งเป็นปัญหาโลกแตกที่มีมานาน แม้ ปัจจุบันก็ไม่พัฒนามากนัก อุปสรรคส�ำคัญประการหนึง่ คือ ทัศนคติที่ปฏิเสธเป็นเบื้องต้น ไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง ซึ่งเป็นการไม่ยอมรับแต่แรก การชื่นชมงานศิลปกรรม ไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่องก็ได้ ประการแรกคือ การชืน่ ชมความงามหรือสุนทรียภาพของผลงาน ศิลปกรรมไม่จ�ำเป็นต้องรู้หรือเข้าใจ เมื่อชมงานจิตรกรรมฝาผนัง ความ รู้สึกแรกคืองามหรือไม่งาม ที่ว่างามนัน้ เกิดจากการประสานกลมกลืนกัน ของสี เส้นที่อ่อนช้อย เมื่อรู้สึกว่างามแล้วจะท�ำให้เกิดความสนใจ เกิด ค�ำถาม และแสวงหาค�ำตอบว่ารูปนัน้ เป็นรูปอะไร แสดงอะไร จนในที่สุด สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจตามมา ดังนั้นการ ชื่นชมศิลปกรรมไทยจึงต้องท�ำใจให้ยอมรับเป็นเบื้องต้นเสียก่อน เสมือน การอ่านหนังสือหากไม่อยากอ่านเสียแต่หน้าแรก ก็ไม่เข้าใจ ไม่สามารถ
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 7
เข้าถึงอรรถรสได้ วัตถุประสงค์แรกของการเขียนหนังสือเล่มนี้คือ ต้องการน�ำ เสนอผลงานศิลปกรรมที่อยู่รอบๆ ตัวเราอย่างง่ายๆ เช่น ภาพมารผจญ คืออะไร ภาพชาดกเป็นอย่างไร ช่อฟ้า คันทวย หน้าบัน หางหงส์ อยู่ส่วน ไหนของอาคารสถาปัตยกรรมไทยและมีลักษณะอย่างไร ประการต่อมา ต้องการเชิญชวนให้คนไทยสนใจศิลปะไทย ซึ่ง เป็นศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ชาติอื่น การชื่นชมและการเข้าถึงศิลปกรรมไทย ไม่ใช่เรื่องยาก โดยเฉพาะการน�ำเสนอในลักษณะพจนานุกรมน่าจะเป็น ช่องทางหนึง่ ที่ช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และสามารถชื่นชมได้อย่าง ลึกซึ้งต่อไป การท�ำความเข้าใจศิลปกรรมไทยเบื้องต้นคือ การศึกษาประวัติ ความเป็นมาของผู้คน ขนบประเพณี วัฒนธรรม และศาสนา สิ่งเหล่านี้ เกี่ยวโยงกับการสร้างงานศิลปกรรมของคนไทย งานศิลปกรรมไทยมีหลาย ประเภท มีรูปแบบ กลวิธีที่แตกต่างกันไปตามยุคสมัยและสกุลช่าง ซึ่งแบ่ง เป็นสกุลช่างต่างๆ อย่างกว้างๆ ได้ดังนี้
เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร พบที่ต�ำบลคูบัว อ�ำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓
ศิลปะทวารวดี
ศิลปะของอาณาจักรทวารวดีซึ่งเคยรุ่งเรืองอยู่ในบริเวณภาค กลางก่อนที่คนไทยจะตั้งอาณาจักรของตนเอง มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณ จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ ส่วน มากเป็นศิลปะในพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก อินเดีย เขมรโบราณ ศิลปะทวารวดีมีทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรม จิตรกรรมไม่ปรากฏรูปแบบเฉพาะชัดเจนเป็นเพียงการเริ่มต้น สร้างภาพเกี่ยวกับศาสนาเท่านั้น จึงมีเพียงภาพสลักบนแผ่นหินเป็นรูป
8 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
ผู้ชายนัง่ ที่สลักเหมือนจริงอย่างหยาบๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับภาพสลักลาย เส้นหรือจิตรกรรมฝาผนังสมัยต่อมา
พระพุทธรูปศิลาขาว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
ประติมากรรมทวารวดียุคแรกเป็นพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ ประทั บ นั่ง ห้ อ ยพระบาท เช่ น พระพุ ท ธรู ป ศิ ล าขาวที่ พ ระอุ โ บสถวั ด พระปฐมเจดีย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม, พระพุทธรูปศิลาขาว พิพิธ- ภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น พระพุทธรูปขนาดใหญ่ประทับนัง่ ห้อยพระบาท พบทั้งหมด ๖ องค์เท่านัน้ พระพุทธรูปทวารวดีส่วนมากได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูป แบบคุ ป ตะและหลั ง คุ ป ตะของอิ น เดี ย มั ก เป็ น พระพุ ท ธรู ป ศิ ล าจ�ำหลั ก ขนาดใหญ่ แบ่งเป็น ๓ แบบ แบบที่ ๑ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มีอิทธิพลของศิลปะ แบบคุปตะและหลังคุปตะอยู่มาก รวมทั้งอิทธิพลของศิลปะอมราวดีของ อินเดีย เช่น ไม่มีรัศมีบนพระเกตุมาลา พระพักตร์ยังคล้ายศิลปะอินเดีย ถ้าครองจีวรห่มเฉียงจะไม่มีชายจีวรอยู่เหนืออังสาซ้าย ประทับนัง่ ขัดสมาธิ ราบอย่างหลวมๆ หรือประทับยืนแบบตริภังค์ (เอียงวรกาย) และแสดง ปางด้วยพระหัตถ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายยึดชายจีวรไว้ในพระหัตถ์ พระพุทธรูป แบบนี้พบไม่มากนัก
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 9
แบบที่ ๒ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ มีลักษณะพื้นเมือง มากขึ้น เช่น พระพักตร์มีขมวดพระเกศาใหญ่ พระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม หรือลูกแก้วอยู่เหนือพระเกตุมาลา พระพักตร์แบน พระขนงเป็นเส้นโค้ง ต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกแบน พระโอษฐ์หนา ประทับ นัง่ ขัดสมาธิหลวมๆ แบบอมราวดี ถ้าครองจีวรห่มเฉียงมักมีชายจีวรสั้นอยู่ เหนือพระอังสาซ้าย แบบที่ ๓ พระพุ ท ธรู ป รุ ่ น สุ ด ท้ า ยของอาณาจั ก รทวารวดี มี อิทธิพลของศิลปะเขมรสมัยปาปวนหรือลพบุรีตอนต้น เช่น พระพักตร์เป็น สี่เหลี่ยม มีร่อง (ลักยิ้ม) แบ่งกลางระหว่างพระหนุ (คาง) ชายจีวรยาวลง มาถึงพระนาภี ปลายตัดเป็นเส้นตรง ประทับนัง่ ขัดสมาธิราบอย่างเต็มที ่ ฐานบัวคว�่ำและบัวหงายสลักอย่างคร่าวๆ
ธรรมจักร ศิลาจ�ำหลัก เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๘๐ เซนติเมตร พบที่วัดเสน่หา อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒
พระพุทธรูปทวารวดีส่วนใหญ่สลักจากหิน พระพักตร์กว้าง ริม ฝีพระโอษฐ์หนา พระเกศาเป็นขมวดใหญ่ ผ้าทรงสนิทแนบพระวรกาย เห็นแต่รอยสลักเป็นเส้นๆ เท่านัน้ นอกจากนี้ยังพบธรรมจักรศิลาจ�ำหลัก และรูปกวาง สถูปจ�ำลอง จารึกคาถา“เย ธมมา เหตุปัปปภา” ซึ่งเป็น หัวใจของพระพุทธศาสนา ใช้ตัวอักษรปัลลวะของอินเดียฝ่ายใต้ ส่วน ประติมากรรมส�ำหรับตกแต่งฐานอาคารและสถูปเจดีย์ ได้แก่ ศิลาจ�ำหลัก เป็ น ลวดลายพรรณพฤกษา และภาพศิ ล าจ�ำหลั ก รู ป พระพุ ท ธเจ้ า ทรง แสดงธรรม พบที่วัดไทร อ�ำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม) ประติมากรรมทวารวดีที่พบมากอีกประเภทหนึง่ ได้แก่ ประติมา- กรรมดินเผาและปูนปั้นเป็นเศียรพระ หน้าคน และคนในอิริยาบถต่างๆ รวมทั้งคนโทน�้ำดินเผา สร้อยลูกปัด ต่างหูโลหะ และก�ำไลส�ำริด
38 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
แหล่งศึกษาค้นคว้าศิลปะรัตนโกสินทร์ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่างๆ พระ บรมมหาราชวั ง วั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม กรุ ง เทพฯ วั ด ต่ า งๆ ใน กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดังกล่าวแล้วจะเห็นว่าศิลปกรรมไทยส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องกับ พุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ ทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถา- ปัตยกรรม และประยุกต์ศิลป์ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับงานวิจิตรศิลป์ แต่ท�ำเพื่อ ตกแต่งหรือเป็นส่วนหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมและงานประยุกต์ศิลป์ หลายประเภท แต่ละประเภทมีกลวิธีการผลิตและรูปแบบที่โดดเด่น เช่น งานไม้จ�ำหลัก ปูนปั้นที่ลงรักปิดทองประดับกระจกเพื่อใช้ตกแต่งหน้าบัน โบสถ์ วิหาร ลายรดน�้ำใช้ตกแต่งฝาต�ำหนัก หอไตร จนถึงตู้พระธรรม งานประยุกต์ศิลป์ที่ส�ำคัญอีกอย่างหนึง่ คือ ลายประดับมุก และเครื่องมุก กลวิธีการสร้างงานประเภทนีต้ ้องใช้ความละเอียดประณีตสูง ตั้งแต่การ ฉลุเปลือกหอยมุกเป็นลวดลายแล้วฝังบนพื้นถมรัก แล้วขัดให้ขึ้นเงา งาน ประดับมุกมักใช้ตกแต่งบานประตูพระอุโบสถ วิหาร หอไตร ตลอดจน เครื่องใช้ต่างๆ เช่น ตะลุ่ม พานแว่นฟ้า ตู้พระธรรม ส่วนลายรดน�้ำ เป็น งานประณีตศิลป์ที่พบมากเพราะใช้ตกแต่งบานประตูและบานหน้าต่าง โบสถ์ วิหาร หอไตร งานประยุกต์ศิลป์มีมากมายหลายประเภทซึ่งได้ รวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ สามารถเปิดไปอ่านรายละเอียดได้จากค� ำนัน้ ๆ เช่น เครื่องมุก เครื่องไม้จ�ำหลัก เครื่องทอง เครื่องถม เครื่องรัก ลายรดน�้ำ เป็นต้น หนังสือ พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ ช่วยให้เข้าถึงงานศิลปกรรมไทยได้ หากต้องการความรู้ที่ลึกซึ้งต้องสร้าง ประสบการณ์ด้วยตนเอง โดยการไปชมและศึกษาศิลปกรรมจากแหล่ง ศิลปกรรมโดยตรงตามที่แนะน�ำไว้
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 39
ก
กกหรือซอกบานหน้าต่าง พระอุโบสถวัดสุวรรณาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ศิลปะรัตนโกสินทร์
กก ซอกหรือที่ว่างระหว่างบานประตูหรือบานหน้าต่างขณะเปิด ซึ่งเป็นส่วน ผนังอาคารเครื่องก่อ เช่น อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ เป็นต้น ซอกนี้ เรียก กกประตู กกหน้าต่าง
กกุธภัณฑ์ในวิหาร บริเวณจังหวัดน่าน
กกุธภัณฑ์ เครื่องแสดงความเป็นกษัตริย์ ประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสง
60 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
กระแบะ ฝาเรือนเครื่องสับ
กระแบะ แผงฝาเรือนเครื่องสับภาคกลางระหว่างช่วงเสาเรือนด้านรี เป็นแผง สี่ เหลี่ ย ม ประกอบด้ ว ย กรอบฝา ลู ก ตั้ ง ลู ก นอน ลู ก นอน ลู ก ฟั ก หรื อ ลูกปะกน กระแบะจึงหมายถึงฝาเรือนระหว่างช่วงเสาช่วงหนึง่ ๆ
โครงสร้างกระหนกสามตัว
กระจัง
กระหนกตัวเดียว หัวนาคหางหงส์
กระหนกหางหงส์
กระหนกนาค
กระหนก, ลาย แม่ลายในกรอบสามเหลี่ยม ประกอบด้วยตัวกระหนกสามตัวเรียงกัน ตัวที่ ๑ ลักษณะเป็นตัวเหงาอยู่หน้าสุด หัวขมวดคว�่ำลง ตัวที่ ๒ เป็น
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 61
ตั ว ประกบตั ว ที่ ๑ ตั ว ที่ ๓ ต่ อ จากตั ว ที่ ๒ หั ว ขมวดสลั บ กั บ ตั ว ที่ ๒ ปลายบากเป็ นช่ ว งๆ และสะบั ด ไหว กระหนกทั้ ง สามตั ว มี ข นาดและ ช่องไฟที่เหมาะสม ปลายขมวด ยอดแหลม เป็นแม่ลายส�ำคัญที่คลี่คลาย เป็นลายอื่นๆ
กระหนกท้ายเกริน หรือกระหนกท้ายราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ
กระหนกท้ายเกริน กระหนกสามตัวที่น�ำประกอบกันเป็นส่วนท้ายของ
ราชรถ ท�ำด้วยไม้แกะสลักปิดทอง จัดอยู่ในประเภทลายกระจังเรียก ลาย กระหนกท้ายรถหรือท้ายเกริน
กระหนกเปลวลายรดน�้ำวัดเซิงหวาย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ ศิลปะอยุธยา
ภาพลายเส้นกระหนกเปลว
กระหนกเปลว กระหนกที่มีลักษณะคล้ายเปลวไฟ ตัดกระหนกตัวหน้า ออกไป เพื่อให้ได้ลายที่เพรียวและสะบัดไหว กระหนกเปลวใช้สอดใน
98 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
ข
พระพุทธรูปปางสมาธิประทับบนขนดนาค ซุ้มเจดีย์วัดเจดีย์เจ็ดแถว อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ศิลปะสุโขทัย
ขนดนาค การขดตัวของพญานาคที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ๓, ๕, ๗ ชั้น พบในงานจิตร-
กรรมและงานประติมากรรมสมัยลพบุรที นี่ ยิ มสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก ซึ่งประทับนัง่ บนขนดนาคและแผ่พังพานเหนือพระเศียร ในพุทธประวัติ กล่าวว่า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วในสัปดาห์ที่ ๖ ขณะที่ประทับใต้ ต้นจิก “มุจลินท์” มีฝนตกหนักพายุแรง พญามุจลินท์นาคราชได้เข้าขดตัว ๗ รอบ และแผ่แม่เบี้ยเหนือเศียรพระองค์เพื่อปกป้องภัยอันตราย จึงเป็น ที่มาของการสร้างพระพุทธรูปประทับนัง่ บนขนดนาค ในสมัยสุโขทัยก็ยัง นิยมสร้างพระพุทธรูปประทับนั่งบนขนดนาค ซึ่งขดเป็นวงไล่ขนาดจาก วงเล็กขึน้ มาเป็นวงใหญ่ แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์นยิ มสร้างขนดนาคข้างล่าง เป็นวงใหญ่ไล่ขนาดสู่ข้างบนเป็นวงเล็ก
รูปช้างในจิตรกรรมฝาผนัง พุทธสถานวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือวัดพระแก้ววังหน้า กรุงเทพฯ ศิลปะรัตนโกสินทร์
ขนบนิยม รูปแบบของงานศิลปกรรมไทยที่ได้รับการยอมรับกันในสกุลช่างหรือยุคนัน้
สมัยนั้น เช่น งานจิตรกรรมแบบประเพณีไทยมีขนบนิยมว่า เขียนหงส์
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 99
ให้ดูฟ้า หมายความว่า เขียนหงส์หัวจะต้องเชิดขึ้น, เขียนม้าให้ดูดิน คือ เขียนม้าหัวต้องก้มดูดิน, เขียนช้างให้พี คือช้างต้องอ้วน, เขียนฤๅษีต้อง ผอม เป็นต้น
ไม้ฉลุเรือนขนมปังขิง
ขนมปังขิง ลวดลายฉลุไม้ส�ำหรับตกแต่งอาคาร มีลักษณะคล้ายขนมปังขิง (ginger
bread) ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะตะวันตก นิยมมากในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยใช้ตกแต่งจั่ว ตัวอาคาร พระที่นั่ง ต�ำหนัก และบ้านเรือน เช่น ลาย ขนมปังขิงที่พระที่นงั่ อภิเศกดุสิต พระราชวังดุสิต กรุงเทพฯ ต�ำหนักเพช็ร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เป็นต้น
จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส กรุงเทพฯ ศิลปะรัตนโกสินทร์
ขมิ้นกับปูน ในทางศิลปะไทยคือ การใช้หัวขมิ้นอ้อยทดสอบความเค็มของผนังก่อน
เขี ย นภาพฝาผนัง หลั ง จากโบกปู น และเตรี ย มผนัง อุ โบสถหรื อ วิ ห ารที่ ต้องการเขียนภาพ เมื่อผนังแห้งสนิทแล้วเอาหัวขมิ้นอ้อยขีดบนผนัง ถ้า รอยขี ด เป็ น สี แดงก็ แ สดงว่ า ผนัง ยั ง ไม่ จื ด เพราะความเค็ ม ของผนัง ท� ำ
112 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
โขนเรือโบราณที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๓๙
โขนเรือ ไม้ ที่ ต ่ อ หั ว เรื อ โบราณให้ ง อนเชิ ด ขึ้ น ไป มั ก ท�ำ เป็ น หั ว ตั ว ละครในเรื่ อ ง
ไขรา องค์ประกอบหลังคาอาคารสถาปัตยกรรมไทยที่ยื่นจากผนังออกไป หากยื่น
รามเกียรติ์หรือสัตว์หิมพานต์ เช่น หงส์ ครุฑ นาค อสูร เป็นต้น ท�ำด้วย ไม้จ�ำหลัก ปิดทองประดับกระจก เช่น โขนเรือพระราชพิธี ตัวอย่างเช่น โขนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โขนเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช โขนเรือ พระที่นงั่ นารายณ์ทรงสุบรรณ เป็นต้น
จากหน้าจั่วเรียก ไขราหน้าจั่ว ถ้าอยู่ตรงหน้าบันเรียก ไขราหน้าบัน หาก รับปีกนกเรียก ไขราปีกนก
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 113
ค
ภาพลายเส้นคชปักษา
คชปักษา สัตว์หิมพานต์พวกหนึ่ง ตัวเป็นครุฑ หัวมีงวงมีงาอย่างช้าง บนหัวมีช่อ
กระหนก คอประดั บ ด้ ว ยกรองศอ รั ด อก เกราะอ่ อ น ทั บ ทรวง อย่ า ง เครื่องทรง มีขนปีกและหางคล้ายนก มีช่อกระหนกต่อเป็นส่วนหาง
คชสิงห์ ลายรดน�้ำตู้พระธรรม ศิลปะรัตนโกสินทร์
คชสิงห์ สัตว์หิมพานต์พวกหนึ่ง หัวเป็นสิงห์แต่มีงวงมีงาอย่างช้าง ตัวเป็นสิงห์
ปรากฏในลายรดน�้ำตู้พระธรรม และจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์หรือวิหาร
150 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
ง
งวงไอยรา หน้าบันพระอุโบสถ วัดกษัตราธิราช อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศิลปะอยุธยา
งวงไอยรา ส่วนประกอบของเครื่องล�ำยองหลังคาโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ
ลั ก ษณะเป็ นงวงออกมาจากตั ว ล� ำ ยองหรื อ ตั ว นาค โค้ ง เกี่ ย วกั บ หั ว แป ปลายเลื้อยลงมาข้างล่าง รูปร่างโค้งปลายงอนสะบัดเล็กน้อย
งอนรถ ราชรถน้อยในโรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ
งอนรถ ส่วนประกอบของราชรถ ท�ำเป็นคันไม้ทอดยาวจากระดับพืน้ ออกไปข้างหน้า
เงือก รูปอมนุษย์ ครึ่งคนครึ่งปลา ตั้งแต่ศีรษะจนถึงเอวเป็นคน จากเอวลงไป
ปลายโค้งงอนขึ้นแกะสลักเป็นรูปหัวนาค ติดธงที่ปลาย ราชรถขนาดใหญ่ จะมีงอนรถ ๓ คัน คันกลางยาวกว่าสองคันด้านข้าง งอนรถเป็นเครื่อง เสริมราชรถให้ดูสง่างาม
เป็นปลา จิตรกรและประติมากรได้รับความบันดาลใจมาจากวรรณกรรม แล้วสร้างเป็นรูปจิตรกรรมและประติมากรรม
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 151
จ
จงกล สิ่งที่ท�ำรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องใช้
เครื่องประดับ งานศิลปกรรม เช่น จงกลเชิงเทียน จงกลดาวเพดาน บัว หัวเสา เป็นต้น
(ซ้าย) ภาพลายเส้นจตุรพักตร์พรหม (ขวา) จตุรพักตร์เหนือซุ้มประตูก�ำแพงแก้ว วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง อ�ำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
จตุรพักตร์ ผู้มีสี่หน้า หมายถึง พระพรหม ซึ่งเป็นเทพเจ้า ๑ ใน ๓ องค์ของศาสนา
พราหมณ์ ได้แก่ พระพรหม พระวิษณุหรือพระนารายณ์ และพระศิวะ หรือพระอิศวร ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน พระพรหม หมายถึง พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร จึงปรากฏจตุรพักตร์ในงานจิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา จตุรพักตร์ บางทีเรียก พรหมพักตร์
186 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
ฉ
ฉนวนวัดมเหยงคณ์ ต�ำบลหันตรา อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศิลปะอยุธยา
ฉนวน ทางเดินที่มีเครื่องก�ำบังสองข้างส�ำหรับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายฝ่ายใน
ฉลัก กลวิธีแกะสลักโดยใช้เครื่องมือประเภทสิ่ว เช่น ฉลักหนังตะลุงหรือหนัง
เสด็จขึ้นลงหรือเข้าออกไปพระที่นงั่ ต่างๆ หรือวัดส�ำคัญ เช่น ฉนวนทาง เดินเข้าพระอุโบสถวัดมเหยงคณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งท�ำเป็นทาง เดินเชื่อมระหว่างซุ้มประตูทางเข้าและพระอุโบสถ ลักษณะเป็นก�ำแพงมี บัวหลังเจียดคล้ายก�ำแพงแก้ว สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระบรม- ราชาธิราชที่ ๒ ราว พ.ศ. ๑๙๘๑ และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ใน รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. ๒๒๕๒-๒๒๕๖
ใหญ่ ปัจจุบันใช้ว่า แกะสลัก เช่น แกะสลักหนังตะลุง แกะสลักหนังใหญ่ เป็นต้น
ฉลุหรือตอกกระดาษ ส�ำหรับตกแต่ง
ฉลุ กลวิธีการท�ำลวดลายโปร่งบนวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ แผ่นไม้ แผ่นหนัง
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 187
แผ่ น โลหะ เป็ นต้ น โดยใช้ เครื่ อ งมื อ แตกต่ า งกั น ไปตามวั ส ดุ เช่ น ฉลุ กระดาษใช้สิ่วและตุ๊ดตู่ ฉลุแผ่นไม้ใช้เลื่อย ฉลุแผ่นหนังใช้สิ่วและตุ๊ดตู่ เป็นต้น
ลายฉลุโปร่ง ปูนปั้นซุ้มเจดีย์วัดเกาะกลาง อ�ำเภอป่างซาง จังหวัดล�ำพูน ศิลปะล้านนา
ฉลุโปร่ง รูปแบบของลวดลายปูนปั้นล้านนา มักเป็นลายโปร่ง คือ ลายนูน
ฉลุลาย ฉลุให้เป็นลาย เช่น ฉลุกระดาษให้เป็นลายเพื่อใช้เป็นแม่แบบ
ที่ปั้นบนพื้นหลังเป็นลวดลายดอกไม้ มีก้านและใบอยู่ในกรอบสามเหลี่ยม เป็นลายกาบ ลายประจ�ำยามรัดอก ลายฉลุโปร่งอาจได้รับอิทธิพลมาจาก ศิลปะจีน ปรากฏเป็นประติมากรรมและลายตกแต่งซุ้มประตูโขงและ พระเจดีย์
ส�ำหรับท�ำลวดลายลงรักปิดทอง เช่น ลายค�ำในศิลปะล้านนา หรือฉลุไม้ ให้เป็นลวดลายเพื่อใช้ตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรม เช่น ท�ำเป็นลายฉลุไม้ เชิงชายหลังคา ป้านลม เป็นต้น
ฉัตรศิลาจ�ำหลัก สมัยทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ
ฉัตร ๑ (๑) เครื่องสูงอย่างหนึง่ ทรงสามเหลี่ยมคล้ายร่มซ้อนกันเป็นชั้นๆ จ�ำนวน
216 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
สถาปัตยกรรมเชียงแสนโดยเฉพาะเจดีย์แบ่งออกเป็น ๓ แบบ คือ เจดีย์ทรงยอดปราสาท เจดีย์ทรงระฆัง และเจดีย์ทรงเบ็ดเตล็ด - เจดีย์ทรงยอดปราสาท ได้แก่ เจดีย์วัดป่าสัก อ�ำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย, เป็นเจดีย์ก่ออิฐ ฐานรูปสี่เหลี่ยมยกสูง ซ้อนลดหลั่นกัน ขึน้ ไปรองรับเรือนธาตุสเี่ หลีย่ มยกเก็จ จระน�ำประจ�ำเรือนธาตุทงั้ สีป่ ระดิษ- ฐานพระพุทธรูปยืน เหนือเรือนธาตุมีห้ายอด ยอดกลางเป็นประธาน ทรง กลมยอดแหลม มียอดบริวารสี่ยอด ซุ้มจระน�ำประดับด้วยลวดลายปูนปั้น เจดีย์ทรงยอดปราสาทพัฒนาต่อมาในเจดีย์หลวงวัดเจดีย์หลวงโชติการาม อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พระธาตุหริภุญชัย อ�ำเภอเมือง จังหวัดล�ำพูน
- เจดีย์ทรงระฆัง ได้แก่ เจดีย์วัดผ้าขาวป้าน อ�ำเภอเชียงแสน จั ง หวั ด เชี ย งราย, เจดี ย ์ ท รงระฆั ง วั ด พระธาตุ ห ริ ภุ ญ ไชย อ� ำ เภอเมื อ ง จังหวัดล�ำพูน และเจดีย์ทรงระฆังที่วัดพระธาตุล�ำปางหลวง อ�ำเภอเกาะ จังหวัดล�ำปาง
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 217
ซ
ซับหนุนทอง วิธีรองพื้นด้วยสีก่อนปิดทองค�ำเปลวในงานจิตรกรรม เพื่อให้ทองเกิด
ประกายสีและมีความสุกใส เช่น ซับหนุนด้วยสีเหลืองเพื่อให้ทองเกิด ประกายสีเหลืองสดใส ซับหนุนด้วยสีชาดเพื่อให้เกิดทองประกายแดงส้ม เป็นต้น การซับหนุนทองจะช่วยให้เครื่องทรงของกษัตริย์ นางกษัตริย ์ นางสนมในภาพมีประกายสีทองที่แตกต่างกัน
ซุ้มหน้าต่างพระอุโบสถวัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ ศิลปะรัตนโกสินทร์
ซุ้ม ๑, ประเภท สิ่งที่สร้างขึ้นเป็นกรอบส�ำหรับตกแต่งประตู หน้าต่างของพระที่นงั่ โบสถ์
ซุม้ คูหา ซุม้ เหนือทางเข้าสูห่ อ้ งในพระปรางค์หรือพระเจดียซ์ งึ่ ประดิษฐาน
วิหาร หรือเป็นเครือ่ งประดับตกแต่งทางเข้าออก เช่น ประตูวงั ประตูเมือง หรือท�ำเป็นซุ้มเจดีย์ ซุ้มปรางค์ ซุ้มเสมา ซุ้มมีรูปแบบต่างๆ เช่น ท�ำเป็น ซุ้มโค้งแหลมมีช่อฟ้าใบระกาอย่างหน้าบันโบสถ์ วิหาร ท�ำเป็นซุ้มยอด มงกุฎตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น เป็นต้น
พระพุทธรูปหรือพระบรมสารีริกธาตุ นิยมตกแต่งซุ้มด้วยลวดลายปูนปั้น
258 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
ท
ทรงโรง พระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ ศิลปะรัตนโกสินทร์
ทรง ในงานช่างและหัตถกรรมใช้เรียกรูปร่างของสิ่งก่อสร้างหรืองานหัตถกรรม
แสดงให้เห็นคตินิยมหรือขนบนิยมในแต่ละสมัย เช่น เจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เจดีย์ทรงลังกา หัวเสาทรงมัณฑ์ เรือนทรงปั้นหยา โถทรงโกศ เป็นต้น
ภาพลายเส้นทรงข้าวบิณฑ์
ทรงข้าวบิณฑ์ รูปทรงในงานศิลปะไทยที่เป็นพุ่มคล้ายใบโพหรือข้าว-
บิณฑ์ เช่น ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ เจดีย์ทรงพุ่มข้าว- บิณฑ์ เป็นต้น บางทีเรียก ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 259
พระอุโบสถทรงโรง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ ศิลปะรัตนโกสินทร์
วิหารทรงโรง วัดราชบูรณะ อ�ำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ศิลปะอยุธยา
ทรงโรง รูปทรงโบสถ์ วิหาร ที่หลังคาคลุมผนัง ไม่มีมุข ระเบียง เฉลียง
มีประตูทางเข้าหนึง่ หรือสองประตู อาคารลักษณะนีม้ าจากโรงนา โรงควาย เช่น พระอุโบสถและวิหารวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และพระอุโบสถวัด ชนะสงคราม กรุงเทพฯ เป็นต้น
ทรงมัณฑ์ หรือหัวเม็ดทรงมัณฑ์เสา
ทรงมัณฑ์ ยอดเสากลมที่ท�ำเป็นชั้นๆ สามหรือสี่ชั้น ยอดบนสุดท�ำเป็นปลีเรียวแหลม
เรียก ทรงมัณฑ์ เช่น เสาหลักเมือง กรุงเทพฯ เสาบราลีตามยอดปราสาท บราลีบนสันหลังคาโบสถ์ เป็นต้น
278 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
น
นกการวิกจากสมุดภาพสัตว์หิมพานต์
นกการวิก สัตว์หิมพานต์พวกหนึ่ง หัวเป็นนก มีปีกและหางอย่างนก ตัวสีหงเสนอ่อน
มักปรากฏในลายรดน�้ำตู้พระธรรม บานประตูโบสถ์ วิหาร
นกคาบ, ลาย ลายไทยที่ใช้เป็นลายออกเถาแทนกาบคู่หรือกาบไขว้
ภาพลายเส้นช่อฟ้าแบบนกเจ่า
นกเจ่า รูปแบบของช่อฟ้าในสมัยพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที ่ ๓
นกเทศ สัตว์หิมพานต์จ�ำพวกหนึ่ง รูปร่างคล้ายนกอินทรี สีหงชาด ปรากฏในงาน
ใช้แทนช่อฟ้าทีม่ มี าแต่อดีต โดยท�ำเป็นรูปนกคอสัน้ แทนช่อฟ้า ใช้กบั โบสถ์ และวิหารแบบพระราชนิยม เช่น นกเจ่าที่พระอุโบสถวัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ, พระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร จังหวัดนนทบุร ี เป็นต้น
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 279
จิตรกรรมและประติมากรรม เช่น จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดสุทัศน- เทพวราราม กรุงเทพฯ หุ่นที่เป็นเครื่องสังเค็ดในพระราชพิธีบ�ำเพ็ญพระ- ราชกุศลพระบรมศพ เป็นต้น
นกหัสดิน จากสมุดภาพสัตว์หิมพานต์
นกหัสดิน สัตว์หิมพานต์จ�ำพวกหนึ่ง รูปร่างคล้ายนกหรือหงส์ หัวเป็นนาค มีงวง
นกหัสดีลิงค์ สัตว์หมิ พานต์จำ� พวกหนึง่ ตัวเป็นนก หัวเป็นช้างหรือหัวเป็นนกมีจะงอยปาก
มีปีกและหางอย่างนก พื้นสีขาว ปีกสีหงดินอ่อน ปรากฏในงานจิตรกรรม และประติมากรรม
เป็นงวงช้าง ตัวเป็นนก มีปีก ขา และหางอย่างนก นกหัสดีลิงค์อยู่ในป่า หิมพานต์ เป็นนกส�ำคัญที่ปรากฏในงานศิลปกรรมไทยทั้งจิตรกรรมและ ประติมากรรม
นกอินทรี จากสมุดภาพสัตว์หิมพานต์
นกอินทรี สัตว์หมิ พานต์พวกหนึง่ รูปร่างเหมือนนก หางเป็นลายกระหนก พืน้ สีเขียว
อ่อน ปีกสีหงดิน
298 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
บ
บรรณาลัย หอสมุดที่เก็บรักษาคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพราหมณ์ในศิลปะขอม เช่นที่
บรรทัดรองมือ อุ ป กรณ์ ช ่ ว ยการเขี ย นภาพ เป็ น แผ่ น ไม้ แบนๆ ยาว ๑-๒ ฟุ ต กว้ า ง
บรรทัดราง เครื่องมือช่างไม้ ใช้ส�ำหรับตีเส้น ท�ำเป็นรางไม้มีรอกที่ม้วนเชือกไว้ เมื่อ
ปราสาทพนมรุ้ง อ�ำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๘ (พ.ศ. ๑๗๒๐-๑๗๗๓) ประมาณ ๑ นิ้ว หนุนปลายข้างหนึ่งให้สูง ใช้รองมือขณะเขียนภาพเพื่อ ไม่ให้สีเลอะติดมือ ดึงเชือกผ่านกระปุกสีด�ำหรือสีแดงเชือกจะติดสี เมื่อดึงเชือกตามแนวที่ ต้องการแล้วดีดเชือก สีจะติดบนแผ่นกระดานหรือวัตถุเป็นแนวตรง บรรทัดราง บางทีเรียก รางบรรทัด หรือเต้า
บราลีสังเค็ดวัดเชิงท่า อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศิลปะอยุธยา
บราลี เครือ่ งประดับสันหลังคาโบสถ์ วิหาร ปราสาท ปราสาทแบบขอม ธรรมาสน์
ท�ำด้วยไม้ หิน ปูน เครื่องเคลือบ รูปร่างคล้ายเสายอดแหลม ขนาดเล็กๆ ดุจฐานยอดพระเจดีย์ทราย ใช้เสียบเรียงรายไปตามสันหลังคา หรือเสียบ บนสันหลังคาบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด เช่น บราลีประดับสันหลังคา ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์, บราลีประดับสันหลังคาธรรมาสน์หรือ สังเค็ด เช่น หลังคาธรรมาสน์วัดใหญ่สุวรรณาราม อ�ำเภอเมือง จังหวัด เพชรบุรี บราลี บางทีเรียก ปะราลี
บังแทรก เครื่องสูงอย่างหนึง่ ส�ำหรับใช้ในริ้วขบวนแห่ของพระมหากษัตริย์
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 299
บังนก ส่วนที่ปิดช่องหลังคาโบสถ์ วิหาร อยู่ระหว่างหลังคาที่ซ้อนกันด้านหน้า
และด้านหลัง เป็นแผ่นสามเหลี่ยม ท�ำด้วยไม้หรือปูน ใช้ป้องกันนกและ สัตว์ไม่ให้เข้าไปภายในและป้องกันฝนสาดด้วย
บัญชักธรรมวัดต้นเกว๋น อ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
บัญชักธรรม ไม้หรืองาช้างแผ่นเล็กๆ ท�ำเป็นป้ายเขียนชื่อคัมภีร์ธรรมของชาวล้านนา
เสียบติดกับผ้าห่อคัมภีร์เช่นเดียวกับสลากธรรมหรือสลากคัมภีร์ในภาค กลาง
บัณเฑาะว์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ
บัณเฑาะว์ กลองสองหน้าขนาดเล็ก ผูกตุ้มห้อยไว้หน้ากลองเพื่อแกว่งให้กระทบหน้า
บันได สิง่ ทีท่ ำ� เป็นขัน้ ๆ ส�ำหรับขึน้ หรือลง เช่น บันไดบ้าน บันไดโบสถ์ บันไดท่าน�้ำ
บันไดแก้ว (๑) ที่ส�ำหรับพาดหรือวางพระแสงดาบราชศัสตราวุธ คัมภีร์
กลองเกิดเสียงดัง ใช้ในพระราชพิธีพราหมณ์
เป็นต้น ท�ำด้วยไม้ ไม้ไผ่ คอนกรีต โลหะ มีหลายรูปแบบ
ใบลาน จัดอยู่ในเครื่องสูงหรือมีความศักดิ์สิทธิ์ บันไดแก้วมักท� ำด้วยไม้ ตกแต่งด้วยลายรดน�้ำและประดับกระจก (๒) บันไดรองรับพระคัมภีร์หรือใบลานส�ำหรับจาร ท�ำด้วยไม้ ตกแต่งด้วยลายรดน�้ำ หรือประดับกระจก ท�ำซ้อนกันเป็นขั้นๆ
412 พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย
ย
ยกกระเปาะ ยกขอบขึ้นตามรูปทรงอัญมณีที่ต้องการฝังเพชรพลอยลงในงานโลหะรูป-
พรรณ เช่น ยกกระเปาะหัวแหวนเพื่อฝังเพชรหรือพลอยลงในหัวแหวน
ยกเก็จ ในสถาปัตยกรรมไทย หมายถึง ส่วนที่ยื่นออกมาจากผนัง ก�ำแพง ฐาน ยกพื้นที่ให้นูนพ้นระนาบ จึงมีลักษณะเป็นกระเปาะที่นูนขึ้น จึงเรียกอีก อย่างว่า ยกกระเปาะ ภาพลายเส้นมงกุฎยอดศิราภรณ์
มงกุฎยอดกระหนก
มงกุฎยอดกาบไผ่
มงกุฎยอดนาค
มงกุฎยอดหางไก่
ยอดศิราภรณ์ ยอดเครื่องประดับศีรษะหรือเครื่องสวมหัว วิวัฒนาการมาจากการน� ำ
ดอกไม้สดและผ้าพันศีรษะเพื่อความสวยงาม ภายหลังกลายเป็นเครื่อง แสดงยศต�ำแหน่ง เช่น มงกุฎ เกี่ยว ชฎา หรือใช้เป็นเครื่องสวมหัวในการ แสดงโขน ละคร - มงกุฎ เครื่องสวมศีรษะประเภทหนึ่ง มียอดหลายแบบ เช่น มงกุฎยอดชัย (ยอดแหลม) หรือพระมหาพิชัยมงกุฎ มีเกี้ยว ๓ ชั้น, มงกุฎ ยอดน�้ำเต้ากลม รูปคล้ายผลน�้ำเต้าตัดครึ่ง, มงกุฎยอดน�้ำเต้ากาบ ลักษณะ เหมือนผลน�้ำเต้ากลม โคนมีกาบหุ้ม, มงกุฎยอดน�้ำเต้าปลี รูปทรงน�้ำเต้า แต่ยอดแหลมเหมือนหัวปลี, มงกุฎยอดน�้ำเต้าเฟือง รูปน�้ำเต้าแต่กลีบเป็น ริ้วอย่างผลมะเฟือง, มงกุฎยอดสามกลีบ ลักษณะเป็นมงกุฎยอดแหลม เป็นต้น - ชฎา เครื่องสวมศีรษะประเภทหนึง่ มีลักษณะต่างๆ กัน ได้แก่ ชฎายอดแหลม มีเกี้ยวสองชั้น, ชฎายอดเดินหน ยอดมีลักษณะเป็นปล้อง,
ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 413
(ซ้าย) ชฎายอดฤษี (ขวา) มงกุฎหรือชฎายอดน�้ำเต้ากลม
ชฎายอดกาบไผ่ ยอดเป็นกระหนก, ชฎายอดบัด ยอดปัดไปด้านหลัง, ชฎา ยอดกะตาปา เรียกทั่วไปว่า ชฎายอดฤษี หรือชฏายอดบวช
เทริดยอดแหลม
- เทริ ด เครื่ อ งสวมศี ร ษะประเภทหนึ่ง มี ลั ก ษณะต่ า งๆ กั น ได้ แ ก่ เทริ ด ยอดน�้ ำ เต้ า มั ก พบท� ำ เป็ น เทริ ด พระพุ ท ธรู ป ลั ท ธิ ม หายาน เทวรู ป , เทริ ด ยอดแหลม มั ก เป็ น เทริ ด ส� ำ หรั บ แสดงโนรา, เทริ ด ยอด กระบอกตัด ใช้เป็นเทริดของพวกยักษ์หรืออสูร
ย่อมุม การแตกมุมหรือการท�ำมุมให้มากขึ้นของแท่น ฐาน อาคารสถาปัตยกรรม
ไทย เช่น ปรางค์ เจดีย์ และธรรมาสน์ บุษบก เสา โดยท�ำให้เกิดมุมย่อยๆ