สาระความรู้ เกี่ยวกับศิลปะไทย
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปริญญาโทด้านโบราณคดี สมัยประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน และ ปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ-โบราณคดี จากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส ผู้มีผลงานวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่มากมาย
หมวดศิลปะไทย ราคา ๕๕๐ บาท ISBN 978-974-7385-65-6
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
ดร. สันติ เล็กสุขุม
คุยกับงานช่างไทยโบราณ ดร. สันติ เล็กสุขุม
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
คุยกับ
งานช่าง ไทยโบราณ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
ดร. สันติ เล็กสุขุม
2 ISBN 978-974-7385-65-6 หนังสือ คุยกับงานช่างไทยโบราณ ผู้เขียน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ จำ�นวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ราคา ๕๕๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด บรรณาธิการเล่ม ภาพประกอบ ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต
วรินวิตตา ดารามาตร์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม นัทธินี สังข์สุข ธนา วาสิกศิริ
แยกสี/เพลท พิมพ์ท ี่ จัดจำ�หน่าย
เอ็น. อาร์. ฟิลม์ โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ สันติ เล็กสุขุม. คุยกับงานช่างไทยโบราณ. -- กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕ ๕๑๒ หน้า ๑. ศิลปกรรมไทย ๒. ช่างศิลปะ -- ไทย I. ชื่อเรื่อง ๗๐๙.๕๙๓ ISBN 978-974-7385-65-6 สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษั ทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการ ฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล ผู้อำ�นวยการฝ่ายการตลาดและฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนู ไ ชยะ บรรณาธิ การสำ � นั ก พิ ม พ์ อภิ วั น ทน์ อดุ ล ยพิ เ ชฏฐ์ ที่ ป รึ ก ษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คุ ย กั บ งานช่ า งไทยโบราณ นั บ เป็ น หนั ง สื อ เนื่ อ งใน โอกาสอายุครบรอบ ๖๕ ปี พร้อมกับการเกษียณอายุราชการ ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม เป็นหนังสือ ที่รวบรวมบทความ ข้อคิด และมุมมองจากประสบการณ์ที่ ได้ สั่งสมมาเกือบ ๔๐ ปี ของการทำ�งานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดีของผู้เขียน แสดงถึงแนวคิดผู้เขียนด้านประวัติศาสตร์ศิลปะที่เปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลหลักฐานใหม่ที่เกิดขึ้น ในแต่ ล ะช่ ว งเวลา ทั้ ง ยั ง บอกเล่ า ถึ ง ความเปลี่ ย นแปลงของ ข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีในประเทศไทยอีกด้วย ที่มาของหนังสือ คุยกับงานช่างไทยโบราณ นี ้ อาจารย์ สันติได้ให้ข้อคิดว่า เวลาที่เราไปชมโบราณสถาน เรามักไปแค่ เที่ยวชมแล้วก็ผ่านเลยไป แต่ ในฐานะที่เป็นอาจารย์จึงมักจะ บอกกับนักศึกษาเสมอ ๆ ว่า การมาโบราณสถานในแต่ละครั้ง เราต้องเข้าไปคุยกับโบราณสถาน เข้าไปตั้งคำ�ถาม ตั้งข้อสงสัย และหาข้อเท็จจริงจากโบราณสถานนั้น คุยกับงานช่างไทย โบราณก็เช่นเดียวกัน เราต้องเข้าไปสัมผัสพูดคุยกับงานช่าง เหล่านั้น เพื่อค้น หาคำ�ตอบต่อข้อสงสัยที่เราตั้งขึ้นเพื่อความ เข้าใจที่แท้จริง หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนหนังสือเล่มสุดท้ายของการ อำ�ลาชีวิตราชการที่มุ่งมั่นมาตลอดกว่า ๔๐ ปีของศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม แต่การอำ�ลาชีวิตราชการก็มิได้ หมายถึงการอำ�ลาชีวิตการเป็น นักวิจัย เพื่อค้นคว้าหาข้อมูล ในการสร้างสรรค์ผลงานคุณ ภาพใหม่ ๆ ออกมา อันจะเป็น ประโยชน์แก่ผู้สนใจงานช่างไทยโบราณต่อไป สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ พฤษภาคม ๒๕๕๔
3
4
กล่าวนำ�
หนั ง สื อ รวมบทความเล่ ม แรกของข้ า พเจ้ า เขี ย นขึ้ น ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๐ เกิดจากความคิดของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เพื่อนผู้เป็นแรงบันดาลใจในสำ�หรับงานค้นคว้า ทั้งให้ คำ�แนะนำ�และสนับสนุนงานของข้าพเจ้าตลอดมา รวมบทความ เล่มแรกนั้นสำ�นักพิมพ์มติชน จัดพิมพ์ในชื่อ ลีลาไทย : เพื่อ ความเข้าใจความคิดเห็นของช่างโบราณ หลังจากนั้นหนังสือ รวมบทความเล่มที ่ ๒ สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ ใช้ชื่อว่า มุมมอง ความคิด และความหมาย : งานช่าง ไทยโบราณ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้ รวมบทความเล่มที่ ๓ ในมือท่าน ผู้อ่าน สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณจัดพิมพ์ ข้าพเจ้าให้ชื่อว่า คุยกับ งานช่างไทยโบราณ ด้วยนัยแห่งงานช่างซึ่งแทนตัวช่างที่ล้วน ล่วงลับ บทความรวมเล่มของข้าพเจ้าให้ความสนใจแก่ประเด็น ศึกษาค้นคว้าให้ได้ความรู้ เข้าใจความคิด ภูมิปัญญา และฝีมือ ช่าง หากโชคดีงานช่างอาจช่วยเพิ่มเติมความชัดเจนของบาง ประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่ยังเป็นปัญหา ยังคลุมเครือ หรือ ยังไม่พบหลักฐานบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร กระนั้นหากไม่ เป็นไปดังที่เพิ่งกล่าว เพราะข้าพเจ้าคิดผิด ใช้วิธีการหรือใช้ ข้อมูลพลาดไป ก็ยังเชื่อว่าอย่างน้อย วิธีคิด วิธีการที่ผิดพลั้ง ของข้าพเจ้าคงยังประโยชน์ให้ผู้ค้นคว้าท่านอื่นได้เห็นแนวทาง ที่ดีกว่า ดังนี้อยู่ในความคิดคำ�นึงของข้าพเจ้าเช่นกัน ข้ า พเจ้ า ขอขอบคุ ณ อาจารย์ พั ส วี สิ ริ เปรมกุ ล นั น ท์ ประจำ�ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่อุตสาหะค้น หาบทความของข้าพเจ้าจาก แหล่งต่าง ๆ พร้อมทั้งอ่านทบทวน หาข้อบกพร่อง และขอ ขอบคุณ บรรณาธิการเล่มของสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ คุณ
วรินวิตตา ดารามาตร์ ได้ชว่ ยจัดหมวดหมูข่ องเรือ่ งเพือ่ ให้เหมาะ 5 แก่การรวมเล่ม รวมทั้งให้คำ�แนะนำ�เรื่องปรับปรุงชื่อบทความ บางเรื่องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ขอขอบคุณทางสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณที่จัดพิมพ์งานค้นคว้าของข้าพเจ้าเรื่อยมา และขอบคุณ ทุ ก ท่ า นที่ เ กี่ ย วข้ อ งที่ มิ ไ ด้ เ อ่ ย นามในที่ นี้ รวมถึ ง ท่ า นผู้ อ่ า น ทุกท่านด้วย อนึ่ง ลำ�พังบทความที่รวมอยู่ ในเล่มนี้ ไม่พอสำ�หรับ บูชาพระคุณครู ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล เพราะ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “ปฏิบัติบูชา” ที่ข้าพเจ้ากระทำ�อยู่ในช่วง ๓๘ ปี จึงพ้นช่วงชีวิตรับราชการเมื่ออายุ ๖๕ ปี ในปี ๒๕๕๓ นี้ ศาสตราจารย์ ดร. สันติ เล็กสุขุม เมษายน ๒๕๕๓
6
สารบัญ คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ กล่าวนำ�
จิตรกรรมฝาผนัง
• ฉากทำ�คลอดในจิตรกรรมฝาผนังวัดโพธิ์ • ความสมจริงแนวจีนที่วัดราชโอรส • “จะเรียกภาพพุทธประวัติ ‘ตอนมารผจญ’ ‘ตอนชนะมาร’ หรือจะเรียก ‘ตอนมารผจญ-ชนะมาร’ ก็ได้” • วัดราชบูรณะ : จิตรกรรมเก่าแก่ กับร่องรอยที่ถูกทำ�ลาย • ผู้หญิงในจิตรกรรมไทยโบราณ • สินเทากับมิติลวงตา : ใกล้-ไกล • สวรรค์วิมาน-ปราสาทราชวัง • ความคิดกับการถ่ายทอด : จิตรกรรมฝาผนัง อุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ • ท่านั่ง “แบบฝรั่ง” ในจิตรกรรมไทยโบราณ • ความคิดเปลี่ยน การแสดงออกก็เปลี่ยน : จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ ๓ • เมื่อท้องฟ้ามีเมฆ มีชาวฟ้า • พุ่มไม้โพธิตรัสรู้ของเหล่าพระอดีตพุทธเจ้า • ข้อสังเกตบางประการ : สีในจิตรกรรม “ไทยโบราณ” และ “แนวไทยโบราณ” • “ภาพนํ้า” : จิตรกรรมอุดมคติ สมัยโบราณ-สมัยรัชกาลปัจจุบัน • ช่างเขียนชาวกรุงศรีอยุธยา : หลังกรุงแตก อยู่ในเมืองสะกาย (สะแคง)
๓ ๔ ๑๐ ๑๑ ๑๓ ๑๙ ๒๕ ๓๑ ๓๗ ๔๔ ๕๐ ๕๗ ๖๕ ๗๑ ๗๘ ๘๓ ๙๗ ๑๒๔
ประติมากรรม
๑๔๓ ๑๔๔ ๑๕๑
สถาปัตยกรรม
๒๓๐ ๒๓๑ ๒๔๔
• เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์ • ประติมากรรมสมัยอยุธยาโดยย่อ • เสมือนศูนย์กลางจักรวาล : สถาปัตยกรรมกับประติมากรรมและจิตรกรรม ๑๗๐ • ความสัมพันธ์ในภูมิภาค : งานช่างในวัฒนธรรมศาสนา “ลายกระหนก” ๑๙๒
• งานช่างสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ี • ศิลปะขอมแแบบพระโค : ปราสาทพระโค • ซุ้มประตู-หน้าต่าง : งามด้วยความหมาย เชิงสัญลักษณ์กับงามเชิงประดับ • หลังคาปราสาท พม่า-ไทย : แรงบันดาลใจย้อนกลับ • สถาปัตยศิลป์ไทยโบราณ : ปรางค์พระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี (เพื่อเพิ่มเติมความเข้าใจ) • รูปแบบสันนิษฐานหลังคาชั้นซ้อนของ ปราสาทพระวิหาร • ปราสาทเมืองตํ่า พิมาย พนมรุ้ง : ตัวอย่างงานช่างขอมโบราณ • รูปแบบสันนิษฐาน : เจดีย์เขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เพชรบูรณ์
๒๖๒ ๒๘๘ ๓๐๓ ๓๓๒ ๓๔๖ ๓๘๒
7
8
ข้อสังเกตเรื่องการอนุรักษ์
• ราวกับว่าพระพุทธเจ้าสถิตอยู่ทุกแห่งหน ในพุกาม • ข้อมูล ข้อคิดจากวัดกุฎีดาว • ข้อมูลจากวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา • ข้อสันนิษฐานรูปแบบศิลปะวัดใหญ่ชัยมงคล : ข้อมูลจากอดีต-ปัจจุบัน • ประเด็นทางวัฒนธรรม ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี • สันนิษฐานรูปแบบโบราณสถาน : อีกมิติของงานอนุรักษ์โบราณสถาน • ประเด็นเฉพาะประโยชน์ของโบราณสถาน ปรักหักพัง • รูปแบบสันนิษฐานในวัดพระพายหลวง สุโขทัยเมืองเก่า
๔๐๒ ๔๐๓ ๔๑๓ ๔๒๐ ๔๓๖ ๔๖๐ ๔๖๖ ๔๗๓ ๔๙๑
ท่านั่ง “แบบฝรั่ง” ในจิตรกรรมไทยโบราณ
๑
ภาพบุคคลชั้นสูง คือ ตัวพระ (พระราชา) ตัวนาง (นางมเหสี นางในราชวงศ์) หรือเหล่าเทวดา นางฟ้า ในเรื่องอุดมคติปรัม- ปรา วาดเป็นภาพฝาผนังอุโบสถ วิหาร ภาพเหล่านี้มีแบบแผน มีเกณฑ์กำ�หนดลักษณะ เช่นอิริยาบถ การแต่งองค์ทรงเครื่อง ซึ่งเคร่งครัด คลี่คลายช้ากว่าบรรดาภาพอื่น ๆ ที่ร่วมประกอบ อยู่ในท้องเรื่อง อย่างไรก็ตามกรณีที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือตัวอย่างการ ปรับเปลี่ยนหรือจะเรียกว่าเพิ่มเติมก็ได้ของภาพตัวนาง จากท่า นั่งพับเพียบอันเป็นแบบฉบับในวัฒนธรรมไทยมาตั้งแต่โบราณ กาลโดยเพิ่มท่านั่งห้อยเท้า อาจารย์ น. ณ ปากนํ้า เป็นท่าน แรกที่สังเกตพบและเรียกท่านั่งนี้ว่า “แบบฝรั่ง” เป็นอิริยาบถ ของภาพนางฟ้าแห่งภพของท้าวจตุโลกบาล ฝีมือช่างรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ภาพที่ ๑-๑ ก.) ๒ เคยตีพิมพ์ใน วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๓ (กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๔๙), หน้า ๑๑๖-๑๑๙.
57
58
ภาพที่ ๑ จิตรกรรมฝาผนัง ภาพจตุโลกบาล อยู่ส่วนล่างของภาพ ไตรภูมิโลกสัณฐาน เขียนไว้บนผนังด้านหลังพระประธาน อุโบสถวัดคงคาราม อำ�เภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ฝีมือช่างครั้งต้นรัชกาลที่ ๔
59
ภาพที่ ๑ ก. (จากภาพที่ ๑) บนแท่นเดียวกัน นางฟ้า ๒ นางในจตุโลกบาลภพ นางหนึ่งนั่งพับเพียบประนมมือ อีกนางหนึ่งนั่งพับเพียบท้าวแขน (กลางภาพ) อีกนางหนึ่งนั่งห้อยเท้า มือทั้งสองวางประสานบนหน้าตัก ในสั ง คมไทยโบราณท่ า นั่ ง ของตั ว นางที่ เ รี ย กว่ า “แบบฝรั่ ง ” คงมี เป็นปกติในสังคมไทยโบราณอยู่ก่อนแล้ว เชื่อว่าก่อนจะมีฝรั่งเข้ามา แต่การที่ อาจารย์ น. ณ ปากนํ้า ใช้คำ �ว่า “แบบฝรั่ง” ท่านคงหมายถึงแปลกจากท่านั่ง พับเพียบที่ทั้งงดงามและสง่างาม และเป็นแบบฉบับอันเคร่งครัดของภาพเขียน แบบแผนประเพณีอันเป็นเรื่องปรัมปราคติด้วย สำ�หรับภาพตัวนางในท่านั่งห้อยเท้าก็มีความงดงาม นุ่มนวล แต่ดูผ่อน คลายกว่าเมื่อเทียบกับท่านั่งพับเพียบ สังคมไทยย่อมเลือกใช้กันตามที่เหมาะกับ กาลเทศะ ข้ อ อธิ บ ายในที่ นี้ จึ ง มี ว่ า ช่ า งเขี ย นเลื อ กวาดภาพตั ว นางนั่ ง ห้ อ ยเท้ า ให้สอดคล้องเหมาะสมกับฉากหรือเนื้อเรื่อง เชื่อว่าเป็นความคิดของช่างเขียน ที่ ให้ความสำ�คัญแก่ความสมจริงมากยิ่งกว่าก่อน คงเป็นผลจากความคิดแนว ตรรกะที่ได้ส่วนเสริมจากวัฒนธรรมฝรั่งซึ่งเป็นกระแสสำ�คัญในรัชกาลที่ ๔ อี ก ตั ว อย่ า งหนึ่ ง ของท่ า นั่ ง ห้ อ ยเท้ า ของภาพตั ว นาง ฝี มื อ ช่ า งเขี ย น รัชกาลที่ ๔ เช่นกัน อยู่ ในภาพตอนหนึ่งของจิตรกรรมฝาผนังเรื่องตำ�นานพระ พุทธสิหิงค์ ที่อุโบสถเก่าของวัดในวังหน้า ๓ (ภาพที่ ๒-๒ ก.)
78
พุ่มไม้โพธิตรัสรู้ ของเหล่าพระอดีตพุทธเจ้า
๑
ความเป็นอุดมคติของเนื้อหาย่อมกำ�หนดลักษณะของงานช่าง ด้วย ไม่ว่างานช่างประเภทสถาปัตยกรรม ประติมากรรมหรือ จิตรกรรมก็ตาม ทั้งนี้ไม่เว้นว่าเป็นงานช่างโบราณหรือปัจจุบัน ในทีน่ จ้ี ะยกตัวอย่างงานช่างเขียนโบราณทีก่ รุของปรางค์ ประธานวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดนี้สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. ๑๙๖๗ อยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ซึ่งเจาะจง กล่าวถึงจิตรกรรมฝาผนังของกรุล่าง ส่วนที่เขียนเรื่องพระอดีต พุทธเจ้า คือภาพพระอดีตพุทธเจ้าประทับนั่งเรียงรายในแถวบน สุดของผนังทัง้ สี ่ แต่ละผนังกว้างเพียง ๑.๔๐ เมตร เมือ่ ราวหลัง ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เล็กน้อย กรมศิลปากรได้ปรับปรุงให้สามารถ ลงบันไดจากคูหาปรางค์เพื่อเข้าสู่ห้องกรุนี้โดยสะดวก อุดมคติปรัมปราเรื่องพระอดีตพุทธเจ้าในพระคัมภีร์ พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท (ขุททกนิกาย พุทธวงศ์) สรุปได้ดังนี้ ก่อนสมัยพระพุทธเจ้าของเรา (พระศากยโคดม) มีพระ พุทธเจ้าพระองค์อื่นเสด็จมาตรัสรู้บนโลกนี้มาก่อน จำ�นวนพระ อดีตพุทธเจ้าเหล่านั้นมากมายนับไม่ได้และรวมอายุยาวนานนับ ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงต้องมีเพียงพระอดีตพุทธเจ้าจำ�นวน ๒๗ หรือ ๒๔ พระองค์สุดท้ายเท่านั้น ที่มีพระนามและรายละเอียด ของแต่ละพระองค์โดยลำ�ดับ ๒ ก่อนจะถึงสมัยของพระพุทธเจ้า ศากยมุนีซึ่งเรียกกันว่า “ปัจจุบันพุทธเจ้า”
พระคัมภีร์ฯ ระบุว่า พระอดีตพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงมี 79 พุทธกิจหลัก เช่น ประสูติ ออกผนวช ตรัสรู้ และปรินิพพานเป็น แนวเดียวกัน และเป็นแนวเดียวกับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ศากยมุนขี องเราด้วย แต่รายละเอียดของแต่ละพระองค์แตกต่าง กัน ดังตัวอย่างข้อมูลของพระพุทธเจ้าทีปังกร พระอดีตพุทธเจ้า พระองค์แรกในชุดพระอดีตพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ “พระกายสูง ๘๐ ศอก บำ�เพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขยแสนกัป...ครองฆราวาสอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี ทรงช้างออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงกระทำ�ความเพียร อยู่ ๑๐ เดือน ตรัสรู้เป็น พระพุทธที่ควงไม้ปิปผลิ (ต้นเลียบ) ดำ�รงพระชนม์อยู ่ ๑,๐๐๐,๐๐๐ ปี ปรินิพพานที่นันทาราม” ๓ จิตรกรรมที่แถวบนสุดของผนังทั้งสี่ของกรุล่าง ซึ่งได้ กล่าวแล้วว่าคือเรื่องพระอดีตพุทธเจ้า ทราบได้จากภาพพระ- พุทธรูปจำ�นวน ๒๔ พระองค์ในพระอิริยาบถประทับนั่งเรียง ลำ�ดับ ใต้ภาพของแต่ละพระองค์มีพระนาม เขียนด้วยอักษร ขอม ๔ สำ�หรับภาพพุ่มไม้โพธิท่พี ระอดีตพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ตรัสรู้ ช่วยให้เราเข้าใจได้ว่าช่างเขียนที่รับผิดชอบงานเขียนที่ ผนังกรุปรางค์ประธานองค์นี้ เขียนลักษณะของพุ่มโพธิต่าง ๆ กัน ด้วยต้องการสื่อว่าไม้ตรัสรู้ประจำ�พระอดีตพุทธเจ้าแต่ละ พระองค์แตกต่างกันตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์ เช่น พระอดีตพุทธเจ้าโกณฑัญญะ ลำ�ดับถัดจากพระ- พุทธเจ้าทีปังกร ตรัสรู้เป็นพระพุทธที่ควงไม้สาลกัลยาณี (ต้น ขานาง) พระอดีตพุทธเจ้าพระองค์ถัดมาอีกคือ พระพุทธเจ้า มังคละตรัสรู้เป็นพระพุทธที่ควงไม้นาคะ (ต้นกากะทิง)... ๕ เคยตีพิมพ์ใน วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๓๓ ฉบับที่ ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๐), หน้า ๑๐๖-๑๐๘.
80
ภาพที ่ ๑ ภาพพุ่มไม้โพธิประจำ�พระอดีตพุทธเจ้า (บางส่วนของ ผนังด้านตะวันออกเริ่มต้นจากขวาสุดของผนัง พระอดีตพุทธเจ้าทีปังกร โดยลำ�ดับถึงองค์สุดท้ายของแถวคือพระอดีตพุทธเจ้าโสภิตะ อ้างจาก แสง มนวิทูร. “เรื่อง พระอดีตพุทธ,” หน้า ๔๗)
ภาพที่ ๒ ภาพพุ่มไม้โพธิประจำ�พระอดีตพุทธเจ้า ผนังด้านใต้ต่อเนื่องจากผนังด้านตะวันออกคือพระพุทธเจ้าอโนมทัสสี องค์สุดท้ายของแถวคือพระอดีตพุทธเจ้าสุชาตะ (อ้างจาก แสง มนวิทูร. “เรื่อง พระอดีตพุทธ,” หน้า ๔๗)
งานช่างสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ช่วงเวลาสั้นเพียง ๑๕ ปี ของกรุงธนบุรีในฐานะราชธานีช่วั คราว มีเงื่อนไขหลายประการที่ทำ �ให้เราไม่สามารถทำ�ความเข้าใจ ข้อมูลหลักฐานด้านงานช่างได้แน่ชดั เพราะบ้านเมืองระสํา่ ระสาย พระเจ้าตากต้องบัญชาการรบต่อต้านกองกำ�ลังพม่า ต้องปราบ- ปรามขุมกำ�ลังต่าง ๆ ที่ตั้งตัวเป็นก๊กเป็นเหล่า ทั้งเกลี้ยกล่อม รวบรวมกำ�ลังผู้คนมาปักหลักตั้งมั่นอยู่ ณ กรุงธนบุรี จนในที่สุด ทรงปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ๑ แม้ทรงเอา พระทัยใส่ ในการพระศาสนา แต่ด้วยระยะเวลาอันสั้นงานช่าง ด้านการสร้างหรือปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจึงมีไม่มาก พระองค์ประทับ ณ ที่ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า “พระราชวัง เดิม” เหนือปากคลองบางหลวง สิง่ ก่อสร้างสำ�คัญทีเ่ หลืออยูค่ อื ท้องพระโรงที่เสด็จออกว่าราชการ (ภาพที่ ๑) และพระตำ�หนัก เก๋งจีนคูอ่ ยูเ่ คียงกัน (ภาพที ่ ๒) กล่าวกันว่า พระตำ�หนักเก๋งจีนคู่ เคยเป็นที่บรรทมของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่หลังจากเข้าสู่ สมัยกรุงเทพฯ เจ้านายหลายพระองค์เสด็จมาประทับ จนเมื่อ รัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระราชวังเดิมให้เป็นที่ท�ำ การของกอง บัญชาการกองทัพเรือในปัจจุบัน ซึ่งบูรณะปรับปรุงท้องพระโรง ที่เสด็จออกว่าราชการใช้เป็นห้องรับรองพิเศษ ห้องประชุมและ ประกอบพิธี ในบางโอกาส ส่วนพระตำ�หนักเก๋งจีนคู่ได้รับการ บูรณะปรับปรุงให้อยู่ในสภาพดีมากเช่นกัน ปัจจุบันเป็นที่ท�ำ การ ของแผนกผลิตภาพและคลังพัสดุ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ๒ บรรดางานทะนุบำ�รุงพระศาสนาในส่วนของการสร้าง ปฏิสังขรณ์วัดที่มี ไม่กี่แห่งล้วนเป็นงานขนาดเล็ก เช่น โปรดให้
231
232
ปฏิสังขรณ์วัดบางยี่เรือนอก ปัจจุบันคือวัดอินทาราม แต่เป็น เรือ่ งสำ�คัญเพราะพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรรี ะบุวา่ มีพระราช- ศรัทธาวัดนีเ้ ป็นอันมาก เสด็จไปทรงศีลบำ�เพ็ญพระธรรม (เจริญ สมาธิ) โดยประทับแรมอยู่พระตำ�หนักในวัดนั้น “๕ วัน แล้วให้ ทำ�กุฏิถึง ๑๒๐ กุฏิ แล้วให้บูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปและพระ เจดีย์ วิหาร คูริมพระอุโบสถนั้นให้ขุดลงแล้วปลูกบัวหลวง...” ๓ วัดเล็กแต่ส�ำ คัญวัดนี้ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระยาศรี- สหเทพ (เพ็ง) ก่อสร้างเพิ่มเติมแล้วสถาปนาใหม่ ส่วนชื่อวัด อินทารามได้รับพระราชทานภายหลัง ๔ งานก่อสร้างใหม่ที่เพิ่ม เติมขึ้น มีอุโบสถ วิหาร เป็นต้น ล้วนขนาดใหญ่โต สร้างแยก เป็นสัดส่วนอยู่ซีกตะวันออก อุโบสถหลังเดิมซึ่งมีขนาดเล็กอยู่ซีกตะวันตก กล่าวกัน ว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสร้างในคราวบูรณะวัดนี้ปัจจุบัน เป็นวิหาร (ภาพที่ ๓) ๕ คงผ่านการบูรณะคราวพระยาศรีสหเทพด้วย อนึ่ง ข้อมูลของการบูรณะคราวถัดมาบ่งว่ามีการเจาะ ช่องหน้าต่างอุโบสถหลังเดิมซึ่งแต่แรกไม่มี ๖ ปัจจุบัน ทางวัด ปฏิสังขรณ์ไว้อย่างดี บุเสาและผนังด้วยหินอ่อนงดงามเจริญ ศรั ทธาแก่ ผู้ ม ากราบพระพุทธรูปและพระรูปสมเด็ จ พระเจ้ า กรุงธนบุรีซึ่งจำ�ลองไว้ขนาดเล็ก ประดิษฐานอยู่ภายในนั้นด้วย วัดอินทารามเป็นตัวอย่างงานช่างด้านการก่อสร้างสมัย กรุงธนบุรีที่ยังขาดความชัดเจนเพราะข้อมูลหลักฐานถูกปรับ- ปรุงเปลี่ยนแปลงไปมาก กล่าวได้ว่ายิ่งเป็นวัดหรือสถานที่อันมี ชื่อเสียง ผู้คนศรัทธามากเท่าใด การทะนุบ�ำ รุงรักษารวมทั้งงาน ปรับปรุงยิ่งมากเป็นเงาตามตัว จึงยากยิ่งนักที่จะเหลือข้อมูล หลักฐานเดิมให้ศึกษาได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านแบบอย่าง งานช่างหรือเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่มักคละเคล้าปะปนด้วย ตำ�นานเรื่องลือเล่าเสริมศรัทธา ดังนั้น หากศึกษาได้ก็ย่อมต้องมีเงื่อนไขข้อแม้ไ ม่มาก ก็น้อย เช่น เจดีย์เพิ่มมุมสององค์ (เจดีย์เพิ่มมุมมักเรียกกันว่า เจดีย์ย่อมุม) อยู่คู่กันที่ด้านหน้าของวิหารเดิมซึ่งอยู่ข้างตะวันตก
ของอุโบสถเดิม โดยผ่านการบูรณะใหม่หมดเช่นเดียวกับอุโบสถ 233 เดิม (ภาพที่ ๔) เจดีย์เพิ่มมุมขนาดย่อมทั้งสององค์อยู่บนฐานสูงแบบ เดียวกัน แต่รายละเอียดเชิงช่างของเจดีย์สององค์นี้แตกต่างกัน ทัง้ ทีค่ วรเหมือนกัน องค์ทางตะวันออก (กล่าวกันว่าประดิษฐาน พระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) เป็นเจดีย์เพิ่มมุม “แบบทรงเครื่อง” เรียกสั้น ๆ ว่า “เจดีย์ทรงเครื่อง” ลักษณะ สำ�คัญคือเหนือฐานสิงห์ซึ่งซ้อนลดหลั่นกันสองฐานเป็นบัวทรง คลุ่ม ส่วนสำ�คัญนี้รองรับทรงระฆัง (เหลี่ยม) เหนือขึ้นไปเป็น บัลลังก์ ต่อยอดด้วยลักษณะเฉพาะเช่นกันคือ “บัวทรงคลุ่มเถา” (ภาพที่ ๕) เจดีย์ทรงเครื่องได้รับความนิยมต่อเนื่องมาจากสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ผ่านไปถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ยิ่ง นิยมมากขึน้ เช่นบรรดาเจดียร์ าย “เจดียห์ ย่อม” ทัง้ หมดประมาณ ๙๔ องค์ ในวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) กรุงเทพฯ ๗ แต่แปลกที่ เจดีย์ซึ่งเข้าคู่กันองค์ทางตะวันตกของวัดอินทาราม (กล่าวกัน ว่าประดิษ ฐานพระอัฐิของพระอัครมเหสี) เป็นเจดีย์เพิ่มมุม แบบที่ ไม่มีบัวทรงคลุ่ม ส่วนยอดไม่เป็นบัวทรงคลุ่มเถาแต่เป็น ปล้องไฉน (ภาพที่ ๖) แบบอย่างเจดีย์เพิ่มมุมเช่นนี้เกือบพ้น ความนิยมมาแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หากเชื่อว่าเจดี ย์ ทั้ ง สององค์ มี พ ระอั ฐิ ป ระดิ ษ ฐานอยู่ ภายใน เจดีย์ทั้งสององค์นี้ก็ต้องสร้างหลังจากสมัยกรุงธนบุรี และผ่านเข้ามาในสมัยต้นกรุงเทพฯ แล้ว คือในรัชกาลสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อถวายเพลิงพระบรมศพของสมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๗ ๘ อย่างไรก็ตามปัจจุบัน มี ที่ เ รี ย กเจดี ย์ ทั้ ง สองอี ก ชื่ อ หนึ่ ง ว่ า “เจดี ย์ กู้ ช าติ ” จึ ง ทำ �ให้ สับสนอีกว่าชื่อนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับการเป็นเจดีย์ที่สร้างเพื่อ ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระองค์และพระอัฐิพระอัครมเหสี ๙ หากคิดอีกอย่างว่าเจดีย์สององค์น้ ี (ซึ่งควรเคยมีรูปแบบ เดียวกันคือเจดีย์ทรงเครื่อง) มีอยู่ก่อนงานบูรณปฏิสังขรณ์ของ สมเด็ จ พระเจ้ า กรุ ง ธนบุ รี เรื่ อ งที่ มี พ ระอั ฐิ ข องสองพระองค์
238
บัวทรงคลุ่มเถา
บัลลังก์ ลวดลายปูนปั้นประดับ การเพิ่มมุมมีลักษณะแปลก
บัวทรงคลุ่ม
ฐานสิงห์ฐานบน ตั้งบนฐานสิงห์ฐานล่าง
ภาพที่ ๕ เจดีย์ทรงเครื่อง กล่าวกันว่าเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
239
ปล้องไฉน
ภาพที่ ๖ เจดีย์เพิ่มมุม กล่าวกันว่าเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระอัฐิ ของพระอัครมเหสี
262
ซุ้มประตู-หน้าต่าง : งามด้วยความหมาย เชิงสัญลักษณ์กบั งามเชิงประดับ
นั บ ตั้ ง แต่ ส มั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาตอนปลาย แบบแผนของการ ประดับประตู-หน้าต่างอุโบสถ วิหาร เป็นงานประดับอย่างงาม ด้วยความหมายเชิงสัญลักษณ์ คือรูปจำ�ลองปราสาท ครั้นผ่าน เข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ระยะหนึ่ง สัญลักษณ์ของฐานันดร สูงนั้นได้เปลี่ยนมาเป็นความงามอย่างใหม่ ในกระแสรสนิยม ต่างชาติทั้งจีนและฝรั่ง งานประดับประตู-หน้าต่างที่หมายถึงอาคารฐานันดร สูง เรียกว่า ประตู-หน้าต่างซุ้มยอด และอีกแบบหนึ่งเรียกว่า ประตู-หน้าต่างซุ้มบรรพแถลง ทั้งสองแบบดังกล่าวนิยมมา ก่อนในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีตัวอย่างเช่น ประตูซุ้ม ยอดและหน้าต่างซุ้มบรรพแถลงของอุโบสถวัดบรมพุทธาราม และอุโบสถวัดกุฎีดาว เป็นต้น ในที่นี้จะยกตัวอย่างจากทั้งสองวัดร้างนี้ ซึ่งอยู่ ในเขต อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็น ประเด็น ศึกษาการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยกรุงศรีอยุธยา วัดบรมพุทธาราม
วัดนี้สร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๕ ๑ ผนั ง สกั ด หน้ า ของอุ โ บสถวั ด บรมพุ ท ธาราม มี ป ระตู กลางเป็นประตูซุ้มยอด อยู่ในสภาพชำ�รุด (ภาพที่ ๑-๓) แบบอย่างของประตูซุ้มยอดนึกเทียบได้กับแบบอย่าง งานก่อสร้างในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. ๒๑๗๓ ๒ คือ เมรุทิศ เมรุมุม ทั้งแปดของวัดไชยวัฒนาราม (วัดร้างใน เขตอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา เช่นกัน) เมรุ ทั้ ง แปดดั ง กล่ า วก่ อในรู ป แบบเดี ย วกั น คื อ ทรงปราสาทเพื่ อ ประดิษฐานพระพุทธรูป โดยมีส่วนหลังคาเป็นชั้นซ้อนลดหลั่น อธิบายได้ว่าชั้นซ้อนคือแบบจำ�ลองจากส่วนที่ประดิษฐานพระ พุทธรูป และเหนือชั้นซ้อนที่ลดหลั่นขึ้นไป ต่อด้วยยอดเป็นทรง ปรางค์ (ซึ่งชำ�รุดลงบางส่วน) (ภาพที่ ๔-๕) อนึ่ง อาคารที่เป็นชั้นซ้อนลดหลั่น เรียกว่า เรือนชั้น นับถือในคติโบราณของไทยว่าคืออาคารฐานันดรสูง เจดีย์ทรง ปรางค์ของสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสืบทอดจากศาสนสถานทรง ปราสาทแบบขอม ก็นับอยู่ในประเภทเรือนชั้นด้วย ประตูที่ขนาบประตูกลางของผนังสกัดหน้าของอุโบสถ วั ด บรมพุ ท ธาราม เป็ น ประตู ซุ้ ม บรรพแถลง (ภาพที่ ๖-๗) ประตูซมุ้ บรรพแถลงก็เป็นสัญลักษณ์ของเรือนชัน้ อีกรูปแบบหนึง่ คือกรอบซุ้มรูปสามเหลี่ยมทรงจั่ว มักซ้อนกันมากกว่าหนึ่งชั้น จำ�ลองจากอาคารหลังคาชั้นซ้อนในทรงจั่วของอุโบสถ วิหาร (ดู ภาพที่ ๑๓-๑๔) หน้าต่างอุโบสถของวัดบรมพุทธารามล้วนเป็นรูปแบบ ของหน้าต่างซุ้มบรรพแถลง (ภาพที่ ๘)
263
264
วัดกุฎีดาว
วัดนี้คงสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นและผ่าน การบูรณะมาหลายครัง้ ครัง้ สำ�คัญคือคราวทีส่ มเด็จพระอนุชา- ธิราช (ก่อนเสวยราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ) ในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เมื่อราว พ.ศ. ๒๒๕๔ ๓ สภาพชำ�รุดของอุโบสถ วัดกุฎีดาว ยังเหลือแบบอย่าง ของประตูที่ผนังสกัดหน้า มีสามประตูซุ้มยอดเรียงกัน ประตู กลางขนาดใหญ่กว่าประตูที่ขนาบ แบบของซุ้มยอด แม้ชำ�รุดร่วงลงมากแล้วแต่เข้าใจได้ ว่าเป็นชั้นซ้อนลดหลั่น ต่อด้วยทรงระฆังก่อนจะต่อขึ้นไปคงเป็น ยอดแหลม (ภาพที่ ๙-๑๐) แบบอย่างเช่นนี้เทียบได้กับหลังคา ยอดของมณฑป (ภาพที่ ๑๑) หน้าต่างของวัดกุฎีดาว (ภาพที่ ๑๒) ทำ�นองเดียวกับ หน้าต่างของอุโบสถวัดบรมพุทธาราม คือหน้าต่างซุม้ บรรพแถลง
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สำ�หรับการสืบทอดและการปรับเปลี่ยนประตู-หน้าต่าง ซุ้มในสมัยรัตนโกสินทร์ ในที่นี้จะยกตัวอย่างจากวัดสำ�คัญ คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง วัดราชโอรส วัดพระเชตุพนฯ และวัดบวรนิเวศวิหาร
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระอุโบสถทรงจั่ว ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หลังคาซ้อนเป็นชั้นลดหลั่น ตามความหมายของเรือนฐานันดรสูงที่สืบทอดภูมิปัญญาเชิง ช่ า งโบราณมา คื อ สั ญ ลั ก ษณ์ ข องเรื อ นชั้ น อี ก แบบหนึ่ ง ด้ ว ย (ภาพที่ ๑๓-๑๔) ๔ การปรับปรุงครั้งใหญ่ ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขยายขนาดของอุโบสถ และตกแต่ง ส่วนต่าง ๆ รวมทัง้ ประตู-หน้าต่างซึง่ ล้วนมีซมุ้ ยอดแสดงฐานันดร
สูงสุดย่อมเป็นงานปรับปรุงหรือทำ�ใหม่โดยรักษาเค้าเดิมเมื่อ 265 ครั้งแรกสร้างในรัชกาลที่ ๑ (ภาพที่ ๑๕-๑๖) จึงเข้าทำ�นอง ปราสาทซ้อนอยู่ในปราสาทเช่นกัน
วัดราชโอรสาราม
ดังที่ทราบกันว่า รัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชปรีชาญาณ ด้านการช่าง โปรดให้ดัดแปลงแบบพระอุโบสถ วิหารที่สร้างขึ้น ใหม่ โดยที่พระองค์ทรงใกล้ชิดกับวัฒนธรรมจีน จึงมีผลต่อพระ ราชนิยมแนวใหม่ ในศิลปะจีน เมื่อรูปทรง สัดส่วนของอาคาร มีการปรับเปลี่ยนโดยปรับปรุงลักษณะบางประการจากเก๋งจีน ๕ งานประดับตกแต่งก็ต้องปรับแต่งให้งามสอดคล้องกัน โดย เฉพาะประตู-หน้าต่างอันเป็นประเด็นในงานศึกษานี้ คือประตู- หน้าต่างประดับอย่างกรอบรูป เข้าใจว่าได้แบบอย่างจากกรอบ รูปภาพอย่างตะวันตกซึ่งคงเป็นที่รู้จักกันมาอย่างช้าก็ในรัชกาล ที่ ๒ ส่วนลวดลายทองของกรอบผสมผสานลักษณะฝรั่ง จีน และไทย อันเป็น ที่มาของคำ�เรียกว่า “ลายเทศ” คงเป็น พระ ราชนิยมเฉพาะในรัชกาลที่ ๓ ตั้งแต่ยังทรงเป็นพระเจ้าลูกยา- เธอ ซึ่งโปรดให้ปฏิสังขรณ์สร้างวัดนี้ขึ้นใหม่ ๖ ดังกรอบประตู หน้าต่างของอุโบสถ (ภาพที่ ๑๗-๑๙)
วัดพระเชตุพนฯ
บรรดาอุโบสถ วิหารของวัดที่รัชกาลที่ ๓ โปรดให้สร้าง ขึ้นใหม่ มีทั้งที่เป็นแบบอย่างประเพณีเดิม คือหลังคาทรงจั่ว มี ช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ แต่โปรดให้ตกแต่งประตู-หน้าต่างด้วย กรอบลายทองก็มี เช่น งานสร้างและงานสร้างปฏิสังขรณ์ใน รัชกาลของพระองค์ท่วี ัดพระเชตุพน กรุงเทพฯ ซึ่งเริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๔ ดังแบบอย่างของวิหารพระนอน ๗ (ภาพที่ ๒๐-๒๒)
382
รูปแบบสันนิษ ฐาน : เจดีย์เขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เพชรบูรณ์ ๑
ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นระยะสำ�คัญของวัฒนธรรม ศาสนาจากประเทศอินเดียที่ ได้เข้ามาแพร่หลายในดินแดนของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีดินแดนไทยในอดีตชื่อว่า “ทวารวดี” รวมอยู่ด้วย วัฒนธรรมทวารวดีรับนับถือพุทธศาสนา อันเป็นแรง บันดาลใจสำ�คัญในการสร้างศิลปกรรม โดยมีพฒ ั นาการต่อเนือ่ ง มาไม่น้อยกว่า ๔๐๐ ปี งานช่างในวัฒนธรรมทวารวดีนอกจาก พระพุทธรูป ส่วนใหญ่สลักจากหินหรือที่ปั้นแล้วหล่อเป็นดินเผา ก็มีไม่นอ้ ย รวมทัง้ งานปัน้ ปูน แต่ยอ่ มไม่ตอ้ งกล่าวถึงจิตรกรรม ฝาผนัง เพราะเสื่อมสูญไปพร้อมกับการความเสียหายทลายลง ของอาคารหลังคาคลุม เช่นวิหาร หรืออุโบสถก็ตาม อาคาร เหล่านี้หากหลงเหลืออยู่ก็เพียงซากฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กล่าว สำ�หรับเจดีย์ที่ ไม่หลงเหลือรูปแบบที่ครบถ้วนให้ศึกษา แต่ก็น่า เชื่อว่าเคยมีอยู่หลายรูปแบบ ดังรูปแบบหนึ่ง สัน นิษ ฐานจาก ซากที่เหลือ คือเจดีย์เขาคลังนอก ที่นำ�มาเสนอในบทความนี้
เจดีย์เขาคลังนอก
เท่าที่รู้จักกันในปัจจุบัน เจดีย์องค์นี้มีขนาดใหญ่ที่สุดใน วัฒนธรรมทวารวดี อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัด เพชรบูรณ์ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ประกอบจากพื้นที่แบ่ง ได้สองส่วนด้วยคันคูนํ้า พื้นที่สี่เหลี่ยมมุมมน ชาวบ้านเรียกกัน ว่า “เมืองใน” อยู่ทางตะวันตก เป็นที่ตั้งของสำ�นักงานอุทยาน ประวัติศาสตร์แห่งนี้ โดยมีซากฐานขนาดใหญ่เช่นกัน เรียกกัน ว่า “เจดีย์เขาคลังใน” ซึ่งมีชื่อเสียงเป็น ที่รู้จักกัน มาก่อน แต่ ปัจจุบันก็ยังไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่าเป็นเจดีย์หรือวิหาร ทางตะวันออกของเมืองโบราณแห่งนี้มีขนาดกว้างใหญ่ ในพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน ชาวบ้านเรียกว่า “เมืองนอก” ๒ อันเป็นที่ตั้งของ “เจดีย์เขาคลังนอก” กรมศิลปากรได้เริ่มงาน ขุ ด แต่ ง เมื่ อ ต้ น ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ สภาพก่ อ นการขุ ด แต่ ง ทาง โบราณคดี เป็นซากเจดีย์ทลายลงกลายเป็นเนินสูงปกคลุมด้วย ต้นไม้น้อยใหญ่ เมื่องานโบราณคดีปิดลงในปลายเดือนเมษา- ยน ๒๕๕๒ ก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการศึกษาสำ�หรับงานออกแบบ ด้านการอนุรักษ์อันเป็นช่วงจัดทำ�บทความนี้
ชุดฐานและงานประดับ
ผังรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าของเจดีย์เขาคลังนอก ตลอด ความยาวของทุกด้านยกกระเปาะเป็นระยะเรียงราย (ยกกระเปาะ หรือเรียกอีกอย่างว่า ยกเก็จ) ๓ ความกว้างยาวของฐานวัดได้ ๗๐ x ๗๐ เมตร ความสูงซึง่ เหลือประมาณ ๑๗ เมตร เป็นความ สูงของสองฐานซ้อนลดหลั่น ก่อด้วยศิลาแลง งานก่อประณีต เป็นระเบียบ บางส่วนยังเหลืออยู่ในสภาพดี เหนือจากนั้นจึงถึง กองอิฐก่อซึ่งทลายลงจากที่เคยเป็นส่วนบนของเจดีย์ (แผนผัง และภาพที ่ ๑) กลางกองอิฐเป็นหลุมกว้าง ลึก จากการลักลอบ ขุดซึ่งคงเป็นครั้งหนึ่งในหลายครั้ง
383
384
สองฐานซ้อนลดหลั่น ประดับด้วยชุดลวดบัวเรียบง่าย บันไดทางขึ้นอยู่ที่กลางด้านทั้งสี่ (ภาพที่ ๒) การที่บันไดทาง ขึ้นมีพนักสูง คงเป็นพนักรองรับหลังคาของบันไดทางขึ้น สัน หลังคาคงมีงานประดับทรงเจดีย์ขนาดเล็กเรียกว่า “เจดีย์ยอด” (เรียกอีกอย่างได้ว่า “เจดีย์บริวาร”) เช่นเดียวกับการประดับ เจดีย์บริวารที่มุมทั้งสี่ของฐานทั้งสองชั้น งานประดับดังกล่าว ทั้งที่ประจำ�สันหลังคาของมุขและมุมของหลังคาอาคาร อันเป็น ระเบียบของอาคารศาสนาต้นแบบในศิลปะอินเดีย ได้แพร่หลาย อยู่ในงานช่างร่วมสมัยของดินแดนภูมภิ าคนีเ้ มือ่ ช่วงพุทธศตวรรษ ที่ ๑๒-๑๖ อนึ่ง ด้านตะวันออกของฐานย่อมเคยเป็นด้านหน้าของ เจดีย์มาก่อน แต่คงมีการเปลี่ยนแปลงในคราวก่อสร้างนั้นเอง หรือภายหลังอันหมายถึงการบูรณะ โดยก่ออิฐปิดบันไดทางขึ้น ฐานชั้นสองของทุกด้าน ยกเว้นด้านตะวันตกซึ่งไม่พบร่องรอย ก่ออิฐปิดขั้นบันได-หมายความว่าใช้เป็นทางขึ้น งานก่อปิดด้าน อื่นทั้งสามด้านอาจเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งเข้าใจว่าคงมี ผลให้หน้าที่ใช้งานของเจดีย์องค์นี้เปลี่ยนไปไม่มากก็น้อย ยกกระเปาะที่นูนเรียงรายอยู่ทุกด้านของฐานทั้งสอง ล้วนตกแต่งด้วยรูปอาคารจำ�ลองน้อยใหญ่อย่างเป็นระบบ นับ เป็นลักษณะพิเศษและเด่นชัดอันควรใช้เป็นหลักฐานกำ�หนดอายุ เจดียข์ นาดใหญ่ทส่ี ดุ องค์น ้ี (ภาพที ่ ๓) โดยเทียบรูปอาคารจำ�ลอง ที่สัดส่วนเล็กกว่า ประดับฐานศาสนสถานร่วมสมัยในดินแดน ต่าง ๆ ของภูมิภาค ดังที่มีอยู่ในศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระ- นคร พุทธศตวรรษที่ ๑๒ เช่น ที่ปราสาทหันชัย ๔ ที่ปราสาท ตระพังพง ๕ สำ�หรับศิลปะจาม ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ แม้ ในฐานปราสาท (ปราสาทในศิลปะจาม มีชื่อเรียกว่า “กาลัน”) ในศิลปะแบบมิเซิน E1 ไม่เหลือหลักฐานอยู่แล้ว ต้องรอในสมัย ต่อมาคือราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เช่นฐานปราสาท ของศิลปะฮัวลาย ยังเหลือปรากฏรูปอาคารจำ�ลองประดับอยู ๖่
เหนือชุดฐาน-ระเบียงคด ล้อม “ครรภธาตุ”
เมือ่ พ.ศ. ๒๕๐๒ (ค.ศ. ๑๙๕๙) Dupont ได้เปิดประเด็น สัน นิษ ฐานรูปแบบของเจดีย์จุลประโทน อำ�เภอเมือง จังหวัด นครปฐม โดยเทียบเคียงลักษณะบางประการกับเจดีย์กู่กุด วัด จามเทวี อำ�เภอเมือง จังหวัดลำ�พูน ๗ ภายหลังมีผเู้ พิม่ เติมความ เห็นของ Dupont ว่าชั้นซ้อนที่ Dupont คิดว่ามีแถวพระพุทธรูป ประดิษฐาน อาจเคยรองรับทรงระฆังขนาดไม่ใหญ่นกั ๘ อย่างไร ก็ตามแม้ฐานยกกระเปาะของเจดีย์เขาคลังนอกอยู่ ในเค้าเดียว กับฐานยกกระเปาะของเจดีย์จุลประโทน และคงมีเจดีย์จำ�ลอง ประจำ�สี่มุมของฐาน ทำ�นองเดียวกับเจดีย์จำ�ลองประจำ�มุมของ ชั้นซ้อนลดหลั่นที่เจดีย์กู่กุด แต่ซากกองอิฐเหนือจากฐานของ เจดีย์เขาคลังนอกก็ ไม่น่าจะเคยเป็นทรงแท่ง แนวฐานที่หลง เหลือบางส่วนช่วยให้พิจารณาว่าเป็นชุดฐานเตี้ย ๆ รองรับส่วน สำ�คัญซึ่งในที่นี้หมายถึง “ครรภธาตุ” คือส่วนสมมติหมายว่า เป็นส่วนประดิษฐานพระบรมธาตุ จึงควรเป็นรูปภาชนะเช่นทรง หม้อนํ้าหรือทรงระฆัง หากซากอิฐก่อดังกล่าวเคยเป็นทรงกลม ไม่วา่ รูปภาชนะ ทรงหม้อนํา้ หรือทรงระฆังก็ตาม ก็ยอ่ มสัมพันธ์กบั แบบอย่างของ เจดีย์จำ�ลองซึ่งส่วนใหญ่ที่เป็นดินเผา มีอยู่หลายรูปแบบ โดย ทั่วไปครรภธาตุทรงคล้ายภาชนะ โดยนัยว่าสร้างขึ้นเพื่อบรรจุ พระธาตุหรือเพื่อการอุทิศบุญ มิฉะนั้นก็ใช้เป็นสัญลักษณ์แทน พระพุทธองค์ ส่วนนี้ต่อเนื่องขึ้นไปเป็นทรงกรวยของชุดฉัตร ซ้อนลดหลั่น (ภาพที่ ๔ และ ๕) ๙ นอกจากรูปทรงภาชนะ แล้ว บางแบบทำ�รูปทรงอาคาร เหนือขึ้นไปจึงเป็นทรงภาชนะ โดยล้วนต่อยอดเป็นทรงกรวย รูปทรงทำ�นองเดียวกันนี้ ได้พบ ทั่วไปในแหล่งวัฒนธรรมทวารวดีทางภาคกลางและภาคใต้ของ ประเทศไทย ที่สำ�คัญและเป็นครั้งแรกที่เราได้รู้จักคือ “ครรภธาตุ” นี้เคยล้อมด้วยระเบียงคด (คือระเบียงหักฉาก) มีหลังคาคลุม กล่ า วเช่ น นี้ เ พราะหลั ก ฐานของหลุ ม เส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง ๕๐
385
398
ภาพที่ ๑๓ ภาพวาดเจดีย์จากที่จารึกบนแผ่นโลหะ พบในแหล่งโบราณคดีอ�ำ เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม (ปรับปรุงจากภาพวาด แสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น)
399
ภาพที่ ๑๔ รูปแบบสันนิษฐาน เจดีย์เขาคลังนอก ครรภธาตุเป็นรูปภาชนะทรงหม้อนํ้า
ครรภธาตุรูปภาชนะทรงหม้อนํ้า พระพุทธรูป
ภาพที่ ๑๕ รูปแบบสันนิษฐาน เจดีย์เขาคลังนอก ครรภธาตุเป็นรูปภาชนะ ทรงหม้อนํ้า (เพิ่มข้อสันนิษฐานประเด็นงานบูรณะและประดิษฐานพระพุทธรูป ไว้ตรงกลางฐานเจดีย์ทั้งสามด้าน ยกเว้นด้านตะวันตก)
402
ข้อสังเกตเรื่องการอนุรักษ์
ราวกับว่าพระพุทธเจ้าสถิตอยู่ ทุกแห่งหนในพุกาม
สัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า เช่น เจดีย์ พระพุทธรูป และภาพ วาดพระพุทธเจ้า ซึ่งมีอยู่มากมายจนนับไม่ถ้วนในพุกาม ชวนให้ นึกคิดว่า “พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ทุกแห่งหนในพุกาม”
ประเทศสหภาพพม่า กับราชธานีรุ่นแรก-พุกาม
ประเทศสหภาพพม่า (Burma) ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “สหภาพเมียนมาร์ (Myanmar)” แต่ที่ยังเรียกพม่าเพราะคุ้นอยู่ กั บ ชื่ อ เดิ ม เช่ น เดี ย วกั บ “พุ ก าม (Pagan)” อั น เป็ น ชื่ อ ของ ราชธานีรุ่นแรกซึ่งรุ่งเรืองอย่างยิ่ง ปัจจุบันทางการพม่าเรียก “บากัน (Bagan)” พม่าตั้งอยู่ทางตะวันตกของคาบสมุทรอินโดจีน ปัจจุบัน เรียกว่าแผ่นดินใหญ่เอเชียอาคเนย์ มีภูเขาล้อมรอบอยู่สาม ด้าน พืน้ ทีข่ องพม่าใหญ่กว่าไทยเล็กน้อย แม่นา้ํ สำ�คัญคืออิรวดี ไหลจากเหนือสุดลงสู่ ใต้คู่ขนานกับแม่นํ้าชินวิน ซึ่งวกมาเชื่อม ที่ตอนเหนือของพุกามและแม่นํ้าสาละวินอยู่ทางตะวันออก มี ตอนสำ�คัญเป็นพรมแดนระหว่างพม่ากับไทย
403
404
พระมหากษัตริย์สมัยราชธานีพุกาม
พุกามอยู่ทางภาคกลาง มีพื้น ที่ราว ๔๑ ตารางกิโล- เมตรทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าอิรวดี บรรยากาศอันสงบของ อดีตราชธานีแห่งนี้มีแมกไม้ ถนนเล็ก ๆ กับโบราณสถานร้าง ทิวเขาอยู่ไกลทางตะวันตก หมู่บ้านสี่ห้าหมู่บ้านกระจายกัน อยู่เป็นสัดส่วน ที่พักนักท่องเที่ยวอยู่ขอบนอกของพื้น ที่และ กำ�หนดเป็นเขตควบคุมความสูงของสิ่งก่อสร้าง ตำ�นานเล่ า ขานถึ ง ความเก่ า แก่ ยื น นานของราชธานี พุกามตั้งแต่ พ.ศ. ๖๕๐ มีกษัตริย์ลำ�ดับลงมาจนถึงรัชกาลที่ ๔๒ จึงมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชัดเจนเช่นเดียวกับหลักฐานการ สร้างศาสนสถานคือรัชกาลพระเจ้าอนิรุทธ์ จารึกระบุปีที่พระเจ้าอนิรุทธ์ทรงครองราชย์คือ พ.ศ. ๑๕๘๗ เรี ย งลำ�ดั บ รั ช กาลต่ อ จากนั้ น มาจนถึ ง พ.ศ. ๑๘๓๐ ราชธานีก็ล่มสลาย ตกอยู่ ใต้อำ�นาจของกองทัพมองโกล แต่ ด้วยระยะเวลาอันสั้นมองโกลก็ถอนกลับไปโดยที่ศรัทธาในพุทธ ศาสนาของพุกามยังไม่ทันจางหาย อนึ่ง ก่อนหน้านั้นแต่คงไม่เก่าก่อน พ.ศ. ๑๒๐๐ มีสอง วัฒนธรรมต้นแบบของพุกาม คือ มอญทางภาคใต้ มีศูนย์กลาง อยู่ที่เมืองสะเทิมหรือสุธรรมวดี เหนือขึ้น มาเล็กน้อยคือปยู มีเมืองสำ�คัญเช่นศรีเกษตร รวมทั้งต้นแบบวัฒนธรรมพุทธ- ศาสนาโดยตรงจากอินเดียภาคเหนือและลังกา
งานช่างกับแรงบันดาลใจ
คติความเชื่อในพุทธศาสนาอันเปี่ยมด้วยศรั ทธาของ พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูงคือแรงบันดาลใจสำ�คัญ ด้านการช่าง บรรดาศาสนสถานร้างจำ�นวนมากมายในพุกาม โดยเฉพาะเจดีย์และเจดียวิหารสร้างขึ้นตามคติของฝ่ายเถรวาท เป็นหลัก โดยมีคติฝ่ายมหายานแทรกอยู่ด้วย ศาสนสถานในพุกามสำ�เร็จลงด้วยงานก่ออิฐอันชำ�นาญ ยอดเยี่ยม ด้วยคุณภาพของอิฐที่ดีที่สุด โครงสร้างขนาดใหญ่
โตตามแบบฉบับของช่ า งพุ ก ามมี ส่ ว นประกอบหลั ก ด้ ว ยผนั ง 405 ภายนอก ผนังระเบียงทางเดินภายในซึ่งเทียบเท่ากำ�แพงที่หนา เป็นพิเศษ กับเสากลางขนาดมหึมา ร่วมกันรับนํ้าหนักกดจาก ส่วนบนที่เป็นชั้นซ้อน แต่ละชั้นประดับด้วยยอดแหลมลดหลั่น เป็นลำ�ดับขึ้นไปสู่ยอดประธาน ความเจริญรุ่งเรืองด้านงานช่างคือภาพสะท้อนความ มั่นคงอย่างยิ่งของพุทธศาสนา จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า แม้พุกาม เสื่อมถอยและตกอยู่ ใต้อำ�นาจกองทัพมองโกล ก็ยังมีส่วนเป็น แรงบันดาลใจให้แก่ราชธานีรุ่นหลังที่อยู่ห่างไกล เช่น สุโขทัย เชียงใหม่ เป็นต้น
เจดีย์และเจดียวิหาร
เจดีย์ของพม่าสมัยเมืองพุกามมี ๒ ประเภทหลัก ได้แก่ เจดี ย์ คือประเภทที่ก่ อ ตั น และ เจดี ย วิ หาร คื อ ประเภทที่ มี คูหาสำ�หรับประดิษ ฐานพระพุทธรูปและเพื่อประกอบกิจทาง ศาสนา ผนังและเพดานคูหาประดับจิตรกรรมที่มักวาดราวกับ ไม่ต้องการให้ว่างเปล่าแม้แต่น้อย ทั้งนี้ยังไม่กล่าวถึงศาสน- สถานประเภทอื่นที่ก่อด้วยอิฐเช่นกัน ที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง เช่น มณฑป วิหารหรืออุโบสถ ประมาณกันว่าโบราณสถานร้างของอดีตราชธานีแห่งนี้ เคยมีจำ�นวนราว ๕,๐๐๐ แห่ง แม้ปัจจุบันชำ�รุดเสียหายไปมาก แล้วก็ยังนับเจดีย์และเจดียวิหารได้ไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ องค์ จึง ยังมีที่กล่าวเปรียบเทียบพุกามว่าเป็นดินแดนแห่งทะเลเจดีย์ ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือเจดีย์และเจดียวิหารบางองค์ที่ มีขนาดมหึมา แม้เกือบพันปีมาแล้วก็ยังอยู่ในสภาพมั่นคงให้ได้ ชื่นชมความสมบูรณ์โดยมักไม่นึกเห็นส่วนขาด-ส่วนเกิน จึงไม่ ต้องกล่าวถึงโบราณสถานที่มีขนาดย่อม ขนาดเล็กอีกจำ�นวน มากมายที่เป็นความสำ�เร็จสมบูรณ์ทางด้านงานช่างด้วยเช่นกัน ภายในเจดียวิหารขนาดใหญ่หลายแห่งมีระเบียงทาง เดินภายในมากกว่าหนึ่งชั้น พื้นที่ของทุกผนังเจาะช่องเว้าเรียง เป็นแถว หนึง่ แถวหรือมากกว่าก็ม ี สำ�หรับประดิษฐานพระพุทธ-
สาระความรู้ เกี่ยวกับศิลปะไทย
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปริญญาโทด้านโบราณคดี สมัยประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน และ ปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ-โบราณคดี จากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส ผู้มีผลงานวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่มากมาย
หมวดศิลปะไทย ราคา ๕๕๐ บาท ISBN 978-974-7385-65-6
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
ดร. สันติ เล็กสุขุม
คุยกับงานช่างไทยโบราณ ดร. สันติ เล็กสุขุม
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
คุยกับ
งานช่าง ไทยโบราณ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
ดร. สันติ เล็กสุขุม