ฟิลิปินส์ ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้-หนังสือชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์

Page 1

ประวัติศาสตรแหงการตอสู

ผูชวยศาสตราจารย ดร. วรางคณา นิพัทธสุขกิจ

ราคา ๑๖๐ บาท

ISBN 978-974-7727-90-6

หมวดประวัติศาสตร

ผูชวยศาสตราจารย ดร. วรางคณา นิพัทธสุขกิจ

หนังสือเลมนี้คงจะจุดประกายใครรูแกผูอาน ใหศึกษาคนควาเรื่องราวของสาธารณรัฐฟลิปปนส และตระหนักถึงพลังแหงประชาชน ซึ่งเปนกลไกสําคัญ ของประวัติศาสตรแหงการตอสูของประเทศสาธารณรัฐฟลิปปนส ทั้งการตอสูกับประเทศเจาอาณานิคมคือ สเปนและสหรัฐอเมริกา ที่เขาปกครองประเทศอยางเอารัดเอาเปรียบเปนเวลายาวนานสี่รอยกวาป และการตอสูกับผูมีอํานาจทางการเมืองที่เห็นแกประโยชนสวนตน ทําใหประชาชนผูไรอาวุธรวมพลังกัน จนสามารถขับไลผูนําประเทศที่คดโกงออกจากตําแหนง โดยมีศาสนจักรเปนพลังขับเคลื่อนที่สําคัญ

ฟลิปปนส : ประวัติศาสตรแหงการตอสู

ฟลิปปนส

ฟลิปปนส

ประวัติศาสตรแหงการตอสู


ISBN  หนังสือ

978-974-7727-90-6 ชุด “อาเซียน” ในมิติประวัติศาสตร์ ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ ผู้เขียน  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ พิมพ์ครั้งที่ ๑  ตุลาคม ๒๕๕๕ จำานวนพิมพ์  ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา  ๑๖๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำานักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด บรรณาธิการเล่ม  ผู้ช่วยบรรณาธิการ/ พิสูจน์อักษร ออกแบบปก/รูปเล่ม  ควบคุมการผลิต  แยกสี/เพลท พิมพ์ที่ จัดจำาหน่าย

อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ วรินวิตตา ดารามาตร์ นฤมล ต่วนภูษา ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์. ฟิล์ม  โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์  โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ.     ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้.-- กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕.     ๑๓๒ หน้า. -- (“อาเซียน” ในมิติประวัติศาสตร์).     ๑. ฟิลิปปินส์--ประวัติศาสตร์.  I. ชื่อเรื่อง. ๙๕๙.๙ ISBN 978-974-7727-90-6

สำานักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด)  ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐  โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ)  โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓  ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา  เสนอ นิลเดช  สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  ผู้อำานวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำานวยการฝ่ายศิลป์ จำานงค์ ศรีนวล  ผู้อำานวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ  บรรณาธิการสำานักพิมพ์ อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์  ทีป่ รึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

2

ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้


สารบัญ

คำานำาสำานักพิมพ์  คำานำาผู้เขียน

๕   ๗

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

๑๑

บทที่ ๑ รู้จักฟิลิปปินส์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์  กำาเนิดของหมู่เกาะฟิลิปปินส์  ลักษณะภูมิอากาศและพืชพันธุ์ธรรมชาติ  ประชากรของฟิลิปปปินส์  ศาสนาในฟิลิปปินส์    ความเชื่อดั้งเดิมของชาวพื้นเมือง   ศาสนาอิสลาม   ศาสนาคริสต์ บทที่ ๒ ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ของฟิลิปปินส์ ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์  การเข้ามาของสเปนและคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก    การใช้ศาสนาในการปกครองและขยายอำานาจ    สเปนและยุโรปชาติอื่นในฟิลิปปินส์  ขบวนการชาตินิยมช่วงแรกในฟิลิปปินส์  การเข้าปกครองฟิลิปปินส์ของสหรัฐอเมริกา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

๑๖ ๑๗ ๑๙ ๒๔ ๒๕ ๒๙ ๒๙ ๓๐ ๓๑ ๓๓ ๓๓ ๓๙ ๔๕ ๕๑ ๕๕ ๕๘

3


ฮุคบาลาฮับ : ขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์    ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒  สหรัฐอเมริกาให้เอกราชแก่ฟิลิปปินส์

บทที่ ๓ พลังคริสต์ศาสนาและพลังประชาชนในฟิลิปปินส์  การใช้คริสต์ศาสนาเพื่อประโยชน์ของสเปน    ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์  อิทธิพลของคริสตจักรในประเทศฟิลิปปินส์    ในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐  ประธานาธิบดีมาร์กอส ทรราชแห่งฟิลิปปินส์    การขึ้นสู่ตำาแหน่งประธานาธิบดีหญิง      แห่งประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์  ชาวโมโร ผู้สร้างประวัติศาสตร์แห่งการต่อต้าน    ผู้เข้าครอบครองและการแบ่งแยกดินแดน  บทที่ ๔ ฟิลิปปินส์กับอาเซียน บทที่ ๕ บทสรุป เชิงอรรถ  บรรณานุกรม

4

ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้

๖๒   ๖๕   ๖๗   ๖๘   ๖๙   ๗๑   ๘๖   ๙๒ ๑๒๕ ๑๒๙   ๑๓๒  ๑๓๔


คำานำาสำานักพิมพ์

สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ เป็นอีกหนึง่ ประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่ง  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (The Association of Southeast  Asian Nations-ASEAN) ที่มีประวัติศาสตร์น่าสนใจ  หากดูในแผนที่  จะเห็นว่าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในทะเลจีนใต้ ทางตะวันออกของ  ประเทศเวียดนาม ประกอบด้วยกลุ่มเกาะทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก  จำานวนมากถึง ๗,๑๐๗ เกาะ  ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์มี  มานานแล้วดังปราฏหลักฐานว่าในสมัยอยุธยามีการส่งสังคโลกไปขายที ่ ฟิลิปปินส์ด้วย ฟิลปิ ปินส์ : ประวัตศิ าสตร์แห่งการต่อสู ้ ผลงานของ ผูช้ ว่ ยศาสตรา-  จารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ แห่งคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัย  ศิลปากร เล่มนี้ ให้ภาพหน้าประวัติศาสตร์ของฟิลิปปินส์ตั้งแต่สมัยการ  เข้ามาของสเปนเมือ่ คริสต์ศตวรรษที ่ ๑๖ จนถึงปัจจุบนั   ช่วงเวลาดังกล่าว  นี้ชาวฟิลิปปินส์ต้องต่อสู้เพื่อปลดปล่อยตนเองจากการถูกครอบครอง  โดยสเปนและสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา  แม้หลังจากได้รับเอกราชเมื่อ  ๔ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ ชาวฟิลปิ ปินส์กย็ งั คงต้องลุกขึน้ สูก้ บั ผูน้ าำ ทีไ่ ม่ม ี ความชอบธรรมและคอร์รปั ชัน ซึง่ สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนไม่นอ้ ย  ไปกว่าสมัยเป็นอาณานิคม  ที่น่าสนใจคือ พลังของมวลชนที่มีศรัทธาใน  คริสต์ศาสนาเป็นตัวขับเคลือ่ นให้พวกเขาลุกขึน้ สู ้ สะท้อนถึงบทบาทของ  ศาสนจักรที่มีต่ออำานาจรัฐและความเชื่อของชาวฟิลิปปินส์ เรือ่ งราวของสาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ในหนังสือเล่มนีไ้ ม่เพียงทำาให้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

5


บทที่ ๑

รู้จักฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์เป็นดินแดนที่มีความเป็นมายาวนานและมีประวัติศาสตร์ ที่น่าสนใจอีกประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ประวัติศาสตร์ อันยาวนานของประเทศนี้ย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ยังไม่ได้ชื่อว่าฟิลิปปินส์ เสียด้วยซ�้า  ทั้งนี้เพราะค�าว่า “ฟิลิปปินส์” เป็นค�าที่ใช้เรียกกลุ่มเกาะนี้ เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ หรือเมื่อ ค.ศ. ๑๕๔๓ นี้เอง เมื่อนักส�ารวจ ชาวสเปนคือ รุย โลเปซ เดอ บิยาโลบอส (Ruy Lopez de Villalobos) น�าพระนามของเจ้าชายฟิลิป ซึ่งต่อมาคือพระเจ้าฟิลิปที่ ๒ แห่งสเปน (ค.ศ. ๑๕๕๖-๑๕๙๘) มาตัง้ เป็นชือ่ หมูเ่ กาะทีเ่ ขาเดินทางมาถึง  หลังจาก นั้นใน ค.ศ. ๑๕๕๔ จึงมีนักภูมิศาสตร์ชาวอิตาเลียนนาม จิโอวานนี รามู สิ โ อ (Giovanni Ramusio) บั น ทึ ก ชื่ อ ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ล งไปในแผนที่ ของเขา อย่างไรก็ดีก่อนที่จะรู้จักในชื่อฟิลิปปินส์  หมู่เกาะแห่งนี้มีผู้ รู้จักมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ  คลอดิอุส ปโตเลมี (Claudius Ptolemy) แห่งเมืองอเล็กซานเดรีย เคยกล่าวถึงหมู่เกาะแห่งนี้ในชื่อ มานิโอลาส (Maniolas)  ในยุคต่อมามีหลักฐานปรากฏในหนังสือเก่าแก่ของจีนว่า พ่อค้าชาวจีนเคยเดินทางมายังหมู่เกาะแห่งนี้และต่างเรียกชื่อหมู่เกาะนี้ ว่า มายี (Ma-i, Ma-Yi)  แม้แต่จ้าวจูกัว (Chao Ju-Kua) ซึ่งเป็น ผู้ดูแล

16

ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้


การค้าต่างประเทศของจีนในเมืองซินเกียงและฝูเจี้ยนก็เคยเขียนชื่อนี้ไว้ ในผลงานทางภูมศิ าสตร์ของเขาทีช่ อื่  Chu-fan-chih (Record of Foreign Nations) ซึง่ เขียนขึน้ ระหว่าง ค.ศ. ๑๒๔๘-๑๒๕๘ หรือตัง้ แต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ ใน ค.ศ. ๑๕๒๑ เฟอร์ดนิ านด์ มาเจลลัน (Ferdinand Magellan) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสผูร้ บั จ้างเดินเรือส�ารวจให้แก่กษัตริยแ์ ห่งสเปน ได้ เดินทางมาถึงทีห่ มูเ่ กาะนีแ้ ละขนานนามว่า “หมูเ่ กาะแห่งเซนต์ ลาซารัส” (St. Lazarus’ Island) เพราะเขาพบหมู่เกาะในวันฉลองเซนต์ ลาซารัส ยังมีนกั เดินเรือชาวยุโรปอื่นๆ ให้สมญานามต่างๆ แก่หมู่เกาะฟิลปิ ปินส์ เช่น “หมู่เกาะทางตะวันออก” “หมู่เกาะทางตะวันตก” “หมู่เกาะของ มาเจลลัน” เป็นต้น  ส่วนนักเขียนสมัยใหม่มักขนานนามหมู่เกาะนี้ว่า “ดินแดนแห่งรุง่ อรุณ” “เพชรพลอยแห่งตะวันออก” “ไข่มกุ แห่งตะวันออก” เป็นต้น  จึงกล่าวได้ว่าฟิลิปปินส์เป็นอีกประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน เนือ่ งจากฟิลปิ ปินส์มสี ภาพทางภูมศิ าสตร์เป็นเกาะ ซึง่ ประกอบ ด้วยเกาะใหญ่น้อยจ�านวนมาก มีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับจ�านวนนับสิบๆ ลูก แต่สภาพภูมศิ าสตร์เช่นนีก้ ลับมีผคู้ นหลากหลายเผ่าพันธุเ์ ข้ามาตัง้ รกราก ถิน่ ฐานในฟิลปิ ปินส์ และยังเป็นทีถ่ กเถียงกันว่าบรรพบุรษุ ของคนเหล่านี้ มาจากที่ใดกันแน่

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์เป็นประเทศทีป่ ระกอบด้วยเกาะใหญ่นอ้ ย ๗,๑๐๗ เกาะ แต่มเี พียง ๑๑ เกาะเท่านัน้ ทีม่ คี วามเจริญอย่างรวดเร็วและ มีผคู้ นอาศัยอยูม่ าก  พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ของประเทศมีลกั ษณะเป็นภูเขา  ทีต่ งั้ ของประเทศอยูใ่ นบริเวณทีเ่ สีย่ งต่อการเกิดแผ่นดินไหวและยังมีภเู ขาไฟที่ ยังไม่ดบั อยูถ่ งึ  ๒๒ ลูก จากทัง้ หมด ๒๐๐ ลูก  นอกจากนีย้ งั ตัง้ อยูใ่ นแนว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

17


ที่พายุไต้ฝุ่นพัดผ่านทุกปี แม้ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์มีขนาดเล็กกว่าสาธารณรัฐ อินโดนีเซียประมาณห้าเท่า แต่มีจา� นวนเกาะใกล้เคียงกัน  เกาะจ�านวน เจ็ดพันกว่าเกาะมีชื่อเรียกแล้วไม่ถึงครึ่งและมีคนอยู่อาศัยบนเกาะต่างๆ ประมาณ ๙๐๐ เกาะเท่านั้น  เกาะที่มีขนาดไม่ถึง ๑ ตารางไมล์มีอยู่ถึง ๕๐๐ เกาะ  หมู่เกาะของฟิลิปปินส์มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตรหรือ ๑๑๕,๗๐๗ ตารางไมล์  เกาะใหญ่ ๑๑ เกาะมีพนื้ ที่ รวมกันเท่ากับร้อยละ ๙๐ ของพื้นที่ทั้งหมด  เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะ ลูซอน (Luzon) ซึ่งอยู่ทางเหนือ และเกาะมินดาเนา (Mindanao) ซึ่ง อยู่ทางใต้ ด้วยที่ตั้งที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ฟิลิปปินส์จึงมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น มี ๒ ฤดู คือฤดูแล้งและฤดูฝน  หากดูจาก แผนที่โลกจะเห็นได้ว่าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก เฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ บอร์เนียว และทางใต้ของเกาะไต้หวัน  อยู่ห่างจากผืนแผ่นดินใหญ่ของ ทวีปเอเชียประมาณ ๙๗๐ กิโลเมตร  หมู่เกาะฟิลิปินส์มีความยาวจาก ทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ ๑,๘๕๐ กิโลเมตร  และทิศตะวันออกจรด ทิศตะวันตกประมาณ ๑,๑๐๐ กิโลเมตร  หมู่เกาะทั้งหมดนี้อาจแบ่งได้ เป็น ๓ หมู่เกาะใหญ่ คือ หมูเ่ กาะเหนือ ประกอบด้วย ๒ เกาะใหญ่คอื  เกาะลูซอน (Luzon) และเกาะมินโดโร (Mindoro) หมู่เกาะกลาง เรียกว่า วิสายาส์ (Visayas) ประกอบด้วยเกาะ ต่างๆ ประมาณ ๗,๐๐๐ เกาะ  กล่าวเฉพาะบริเวณหมู่เกาะวิสายาส์ ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ประกอบด้วยเกาะขนาดใหญ่ ๙ เกาะ และเกาะขนาดเล็กอีกมากมาย  แต่ละเกาะยังรักษาความเป็นธรรมชาติ ดั้งเดิมเอาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งป่าไม้ สัตว์ป่า ท้องทะเลและหาดทราย

18

ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้


สวยงาม  รัฐบาลท้องถิน่ มีนโยบายอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมอย่างจริงจัง ท�าให้ หมู่เกาะวิสายาส์เหมาะแก่การท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากกว่าการเป็น เขตอุตสาหกรรม  อุตสาหกรรมส่วนใหญ่จึงมักเป็นอุตสาหกรรมขนาด เล็กในครัวเรือน ใช้เทคโนโลยีการผลิตไม่สูงนัก และอาศัยแรงงานฝีมือ เป็นหลัก ส่วนมากเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว หมูเ่ กาะใต้ ประกอบด้วยเกาะมินดาเนา (Mindanao) และกลุม่ เกาะซูลู หรือ Islands of the Sulu Archipelagoes ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มเกาะประมาณ ๔๐๐ เกาะ ตั้งเรียงรายอยู่ทางใต้ของเกาะมินดาเนา ไปจนถึงทางทิศตะวันตกของเกาะบอร์เนียว  เฉพาะบริเวณหมู่เกาะ มินดาเนาแบ่งเป็น ๖ เขต ได้แก่ มินดาเนาตะวันตก (Western Mindanao) หรือทีร่ จู้ กั กันในนามของ “คาบสมุทรซัมบวงกา” (Zamboanga Peninsula)  มินดาเนาเหนือ (Northern Mindanao)  มินดาเนาใต้ (Southern Mindanao) หรือดาเวา (Davao)  มินดาเนากลาง (Central Mindanao) หรือซอกส์กซาร์เกน (Soccsksargen)  คารากา (Caraga) และเขตปกครองตนเองมุสลิมมินดาเนา (Autonomous Region in Muslim Mindanao-ARMM)  หมูเ่ กาะด้านนีเ้ ป็นเขตอุตสาหกรรมทีส่ า� คัญ ของประเทศ ตลอดชายฝัง่ ทะเลมีอา่ วทัง้ ขนาดเล็กและใหญ่อยูเ่ ป็นจ�านวนมาก และมีแนวชายฝัง่ ทีย่ าวกว่าแนวชายฝัง่ ของประเทศสหรัฐอเมริกาทัง้ ประเทศ นอกฝั่งด้านตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์มีร่องลึกมินดาเนา ซึ่งเป็น ทะเลทีม่ คี วามลึกมากทีส่ ดุ แห่งหนึง่ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คอื มีความ ลึกมากกว่า ๑๐,๔๐๐ เมตร

ก�าเนิดของหมู่เกาะฟิลิปปินส์

ก�าเนิดของหมูเ่ กาะฟิลปิ ปินส์ทเี่ ล่าขานในหมูช่ าวฟิลปิ ปินส์สบื ต่อ มาจนกลายเป็นต�านานนั้นมีอยู่เรื่องหนึ่งเล่าว่า  เมื่อหลายล้านปีมาแล้ว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

19


โรมันคาทอลิกประมาณร้อยละ ๘๓  นิกายโปรเตสแตนท์ประมาณร้อยละ ๙  ซึ่งนิกายหลังนี้เข้ามาสู่ฟิลิปปินส์ภายหลังจากที่สหรัฐอเมริกามามี บทบาทปกครองฟิลิปปินส์แล้ว ซึ่งสหรัฐอเมริกาให้สิทธิและเสรีภาพแก่ ชาวฟิลิปปินส์ในการนับถือศาสนา นอกจากสองนิกายใหญ่แล้ว ในฟิลิปปินส์ยังมีคริสต์ศาสนา นิกายอื่นๆ อีกสองกลุ่มซึ่งเป็นสายท้องถิ่นอิสระ มีประชาชนนับถือพอ สมควร คือ กลุ่มอากลิเปย์ (Aglipay หรือ Philippine Independent Church) ก่อตั้งใน ค.ศ. ๑๙๐๒  และกลุ่มอิเกลเซีย นี คริสโต (Iglesia Ni Cristo หรือ Church of Christ) ก่อตั้งใน ค.ศ. ๑๙๑๔  ยังมีอีกกลุ่ม หนึง่ ซึง่ ตัง้ ขึน้ หลังสุดแต่เติบโตอย่างรวดเร็ว และมีสมาชิกกว่า ๒ ล้านคน ทัว่ โลกชือ่  เอลิซโี อ โซริอาโน (Eliseo Soriano) น�าโดยสมาชิกโบสถ์แห่ง พระเจ้านานาชาติ (Members Church of God International) กล่าวได้วา่  ในทวีปเอเชียนีม้ เี พียงประเทศฟิลปิ ปินส์และประเทศ ติมอร์-เลสเตเท่านัน้ ทีม่ ปี ระชากรนับถือศาสนาคริสต์มากทีส่ ดุ   ฟิลปิ ปินส์ ยังเป็นหนึง่ ในชาติทไี่ ด้รบั อิทธิพลจากตะวันตกมากทีส่ ดุ   เกิดการผสมผสาน ระหว่างตะวันตกกับตะวันออกเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของฟิลิปปินส์ ขึ้นมาเอง

32

ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้


บทที่ ๒

ประวัติศาสตร์ แห่งการต่อสู้ของฟิลิปปินส์

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

ประวัตศิ าสตร์ของฟิลปิ ปินส์เป็นประวัตศิ าสตร์ของการถูกครอบ  ครองโดยชาวต่างชาติและประวัตศิ าสตร์ของการต่อสูเ้ พือ่ ให้หลุดพ้นจาก  การปกครองนัน้   สเปนเป็นชาวตะวันตกชาติแรกทีเ่ ข้าครอบครอง ยืนหยัด  ตักตวงผลประโยชน์และเอารัดเอาเปรียบชาวฟิลปิ ปินส์เป็นเวลายาวนาน  ถึง ๓๓๕ ปี  จนท�าให้ผู้น�าชาวฟิลิปปินส์ต้องต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช  จากสเปน  แต่เมื่อสเปนถอยออกไป ฟิลิปปินส์กลับตกอยู่ภายใต้การ  ปกครองของสหรั ฐ อเมริ ก าต่ อ อี ก เกื อ บร้ อ ยปี    หลั ง จากนั้ น จึ ง ได้ รั บ  เอกราชจากสหรัฐอเมริกาเมือ่ วันที ่ ๔ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ แต่การต่อสู ้ ของประชาชนก็ยังไม่จบลง เพราะต้องรวมตัวกันต่อสู้กับผู้น�าเผด็จการ  และผูน้ า� คอร์รปั ชันอีก  จึงกล่าวได้วา่ ประวัตศิ าสตร์ของชาวฟิลปิ ปินส์คอื   ประวัติศาสตร์ของการต่อสู้โดยแท้ ยุคก่อนการเข้ามาของชาวสเปนเป็นช่วงเวลาทีผ่ คู้ นจากภายนอก  เข้ามาปักหลักอยู่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ตั้งแต่ครั้งก่อนประวัติศาสตร์  คน  เหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามปากแม่นา�้  ใช้ชีวิตเรียบง่าย ยังชีพด้วยการ  ท�านาและหาปลา ไม่ค่อยติดต่อกับโลกภายนอกมากนัก จากสภาพทีต่ งั้ ของหมูเ่ กาะฟิลปิ ปินส์ทา� ให้มพี อ่ ค้าและนักเดินเรือ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

33


เข้ามาติดต่อค้าขายกับผูค้ นบนเกาะตัง้ แต่ครัง้ โบราณ พ่อค้าชาวจีน อินเดีย  อาหรับ และอินโดนีเซียที่เดินทางมายังหมู่เกาะได้นา� สินค้า อาทิ เครื่อง  ปัน้ ดินเผา ผ้า อาวุธเหล็ก เครือ่ งประดับ มาแลกกับไข่มกุ  ปะการัง และ  ทองค�า  ดังเช่นในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ เป็นอย่างน้อยที่ผู้คนบน  หมูเ่ กาะท�าการค้ากับราชวงศ์ซง่ ของจีน (ค.ศ. ๙๖๐-๑๒๗๙) และมีบนั ทึก  การส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐-๑๕ ๑   การค้ากับจีนท�าให้มชี าวจีนมาตัง้ รกรากถิน่ ฐานอยูใ่ นหมูเ่ กาะเป็นจ�านวน  มาก  แต่วัตถุประสงค์ของการเข้ามานั้นเพื่อท�าการค้าเพียงอย่างเดียว  ซึ่งแตกต่างจากกับพ่อค้าที่เข้ามาในภายหลัง คือผู้นับถือศาสนาอิสลาม  และสเปน ที่เมื่อเข้ามาแล้วต้องการแผ่อิทธิพลไปทั่วหมู่เกาะ ลักษณะการเมืองการปกครองของดินแดนนี้ก่อนที่สเปนจะเข้า  ครอบครองนั้นเป็นการปกครองในรูปชนเผ่า  มีลักษณะการปกครอง  แบบหมู่บ้าน หรือที่เรียกว่า บารังไก (Barangay) มี ดาตู (Datu) เป็น  ผู้ปกครอง  ในแต่ละบารังไกจะมีการแบ่งประชาชนเป็นชนชั้นปกครอง  เสรีชน ชาวนา และทาส  การปกครองของดาตูเป็นการปกครองแบบ  เผด็จการ ท�าให้ประชาชนไม่พอใจ จึงขาดพลังในการรวบรวมประชาชน  ต่อต้านการรุกรานของสเปน หลังจากนั้นก็มาถึงยุคที่สเปนเข้าครอบครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์  เมื่อ ค.ศ. ๑๕๒๑ เมื่อนักเดินเรือนาม “มาเจลลัน” เดินทางมาถึง และ  ครอบครองอยูน่ านถึง ๓๓๕ ปี  เมือ่ สเปนจ�าต้องออกไปจากฟิลปิ ปินส์ ชาว  ฟิลิปปินส์ที่คิดว่าจะได้ปกครองตนเองก็ต้องผิดหวังเพราะสหรัฐอเมริกา  เข้ามาครอบครองแทนอยูเ่ กือบร้อยปี แต่การเข้ามาของสหรัฐอเมริกานัน้   ถือได้ว่าน�าความเปลี่ยนแปลงมาสู่ฟิลิปปินส์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ  การเตรียมความพร้อมส�าหรับชาวฟิลิปปินส์ในการปกครองตนเองใน  ค.ศ. ๑๙๔๖ การปกครองของสเปนท�าให้ฟิลิปปินส์มีโครงสร้างทางสังคม

34

ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้


เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองแตกต่างไปจากที่เคยเป็นมา  ชาว  สเปนพยายามแสวงหาผลประโยชน์จากชาวพืน้ เมืองอย่างมาก  เมือ่ ชาว  สเปนเข้ามาปกครองมีการจัดโครงสร้างทางสังคมที่แตกต่างไปจากเดิม  โดยแบ่งเป็น - ชนชั้นสูง ได้แก่ ชาวสเปนผู้ท�าหน้าที่ปกครองและผูกขาดการ  รับราชการ - ชนชั้นกลาง ได้แก่ พวกลูกครึ่งชาวสเปนกับชาวพื้นเมืองหรือ  ชาวจีน มีสทิ ธิเข้ารับราชการได้ คนกลุม่ นีเ้ ป็นก�าลังส�าคัญในการเผยแพร่  ลัทธิชาตินิยมและกอบกู้เอกราชของฟิลิปปินส์ในเวลาต่อมา - ชนชัน้ ล่าง ได้แก่ ชาวพืน้ เมือง ทีแ่ ม้จะอยูม่ าก่อนแต่กลายเป็น  ผู้เช่าที่ดินซึ่งไม่มีบทบาทใดๆ ทางสังคมเลย  สเปนเรียกคนเหล่านี้ว่า  อินดิโอ (Indio) ซึง่ มีความหมายเช่นเดียวกับเมือ่ สเปนเรียกพวกเม็กซิกนั   ว่า อินเดียน ชาวสเปนน�า ระบบโปโล (Polo System) ซึ่งเป็นระบบเกณฑ์  แรงงานมาใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์จากชาวพืน้ เมืองได้อย่างสะดวก   คนพื้นเมืองทุกคนยกเว้นหัวหน้าเผ่าและลูกชายคนแรกของหัวหน้าเผ่า  ต้องอุทศิ แรงงานให้ทางราชการ  นอกจากนีย้ งั มีระบบผูกขาดการค้าหรือ  ระบบบันดาลา (Vandala System) ทีใ่ ช้บงั คับซือ้ สินค้าจากชาวพืน้ เมือง  ในราคาต�่า ในด้านการศึกษา สเปนจัดการศึกษาให้ชาวพื้นเมืองโดยผ่าน  โรงเรียนคาทอลิกซึง่ สอนโดยบาทหลวง วัตถุประสงค์ส�าคัญคือการเผยแผ่  คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก และใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก  ท� าให้  อิทธิพลของศาสนาคริสต์ฝังรากลึกอยู่ในสังคมฟิลิปปินส์  ประเพณีบาง  อย่างทางศาสนาคือการมีพ่อแม่อุปถัมภ์ท�าให้สังคมของฟิลิปปินส์กลาย  เป็นสังคมภายใต้ระบอบอุปถัมภ์มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนด้านเศรษฐกิจ สเปนเข้ามาครอบครองทีด่ นิ ท�าให้ชาวพืน้ เมือง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

35


พระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๒ ทรงให้เปิดการค้าโดยตรงและจัดตั้งบริษัทหลวงขึ้น  ที่ฟิลิปปินส์ ให้ส่งสินค้าที่ผลิตได้จากที่ฟิลิปปินส์ไปสเปนโดยไม่เสียภาษี  ขาเข้า ท�าให้การค้ามีกา� ไรดี  เกิดเป็นอุตสาหกรรมโรงงานทอผ้า การผลิต  พริกไทย เครื่องเทศ คราม น�้าตาล และไหมขึ้น  ต่อมาใน ค.ศ. ๑๘๓๔  มีการสั่งยุบบริษัทหลวง และเปิดท่าเรือมะนิลาสู่ตลาดโลก อันเนื่องมา  จากการประกาศเอกราชของเม็กซิโกใน ค.ศ. ๑๘๒๑ ค.ศ. ๑๘๒๑ เม็กซิโกได้รบั เอกราชและแยกตัวออกจากสเปน ใน  ขณะที่การพัฒนาที่เกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ส่งผลให้มีชาวต่างชาติเข้ามาอยู่  ในฟิลปิ ปินส์มากยิง่ ขึน้ ซึง่ สเปนไม่ตอ้ งการให้มชี าติอนื่ เข้ามา  เพือ่ กีดกัน  ชาวต่างชาติจากการค้าในฟิลิปปินส์ถึงกับมีการออกพระราชกฤษฎีกา  ก�าหนดห้ามชาวต่างชาติอาศัยอยูใ่ นฟิลปิ ปินส์ และห้ามค้าปลีกหรือเดินทาง  เพือ่ การค้า  ชาวต่างชาติถอื เป็นศัตรูของพระเจ้าและชาวสปน แต่ดเู หมือน  จะไม่เป็นผลส�าเร็จเพราะมีการประกาศกฎหมายอีกหลายครั้ง หลังจากที่เปิดให้มะนิลาเป็นเมืองท่าการค้ากับต่างประเทศใน  ค.ศ. ๑๘๓๔ ก็ยงิ่ มีพอ่ ค้าชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายมากยิง่ ขึน้   พ่อค้าอังกฤษ  มีชยั เหนือพ่อค้าอเมริกนั ในการแข่งขันทางการค้า เนือ่ งจากมีธรุ กิจธนาคาร  และสถานีการค้าในฮ่องกง สิงคโปร์ และอินเดีย  นอกจากนี้ยังเกิดการ  เปิดมะนิลาและเกาะต่างๆ ให้ค้าขายกับโลกภายนอกท�าให้การค้าใน  ฟิลิปปินส์เจริญมากขึ้น  สินค้าเกษตรของฟิลิปปินส์ เช่น ปอและยาสูบ  ขายดีในตลาดโลก  การนี้ท�าให้ต้องเร่งสร้างสาธารณูปโภคโดยเฉพาะ  ถนน  สร้างสิ่งอ�านวยความสะดวกให้แก่ท่าเรือ พัฒนากิจการไปรษณีย์  โทรเลข ตลอดจนระบบธนาคารให้ทัยสมัยเพื่อให้ทันต่อความต้องการ  สินค้า ๑๘ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ความเจริญที่เกิดขึ้นทางการค้านี ้ เองส่งผลให้เกิดชนชัน้ กลางขึน้ ในฟิลปิ ปินส์  ส่วนใหญ่เป็นลูกครึง่ จีนหรือ  สเปนซึ่งมั่งคั่ง สมบูรณ์พูนสุข มีการศึกษาดี นิยมส่งลูกหลานไปรับการ

54

ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้


ศึกษาในต่างประเทศ  คนกลุม่ นีช้ ว่ ยท�าลายประเพณีดงั้ เดิมทีป่ ดิ ฟิลปิ ปินส์  จากโลกภายนอก และตืน่ ตัวเรือ่ งลัทธิชาตินยิ มและลัทธิเสรีนยิ มในคริสต์-  ศตวรรษที ่ ๑๙  ขบวนการชาตินยิ มทีเ่ กิดขึน้ ในฟิลปิ ปินส์ได้หยัง่ รากลึกใน  สังคมโดยมีผู้น�าศาสนาหัวเสรี กลุ่มวิชาชีพ และกลุ่มนักศึกษาฟิลิปปินส์  ในสเปนเข้าร่วม

ขบวนการชาตินิยมช่วงแรกในฟิลิปปินส์

ความไม่พอใจการปกครองของสเปนจนกลายเป็นความเกลียดชัง  ฝังรากลึกอยู่ในสังคมชาวฟิลิปปินส์  ชาวโมโรแห่งมินดาเนาและผู้สืบ  เชื้อสายซูลูเป็นตัวอย่างอันดีของการไม่ยอมรับการปกครองของสเปนมา  ตั้งแต่ต้น  การต่อต้านของคนเหล่านี้รุนแรงถึงขั้นบางครั้งสเปนสู้ไม่ได้  จนกระทัง่ ปลายคริสต์ศตวรรษที ่ ๑๙ จึงเกิดการลงนามในสัญญาสงบศึก  ระหว่างสุลต่านแห่งซูลูผู้พ่ายแพ้กับสเปน แต่ก็มิได้หมายความว่าสเปน  สามารถขจัดความไม่พอใจของคนกลุม่ ต่างๆ ทีม่ ตี อ่ การปกครองทีต่ นน�า  มาใช้ได้จริง การกบฏหรือการต่อต้านสเปนของชาวพืน้ เมืองฟิลปิ ปินส์เห็นได้  จากกบฏโบโฮล ค.ศ. ๑๖๒๑  การจลาจลเลย์เต การจลาจลในพันกาซินนั   และอิโลคอส ในศตวรรษเดียวกัน ยังมีกบฏซารัต ค.ศ. ๑๘๑๕  กบฏ  โนวาเลส ค.ศ. ๑๘๒๓  กบฏในค่ายทหารตากาล็อก ค.ศ. ๑๘๔๓ แต่การ  กบฏเหล่านี้ยังไม่เป็นผลเนื่องจากขาดความสามัคคี หลังการปฏิวตั โิ ค่นสมเด็จพระนางเจ้าอิซาเบลลาที ่ ๒ (Isabella  II) ในปี ค.ศ. ๑๘๖๒ และสมเด็จพระเจ้าอะมาเดอุสที่ ๑ แห่งสเปน  (Amadeus I) ราชวงศ์ซาวอยขึ้นครองราชย์แทน มีการยกเลิกกฎหมาย  และค�าสัง่ ทางศาสนาทีข่ ดั แย้งกับความคิดเสรีนยิ ม ท�าให้แนวคิดเสรีนยิ ม  แพร่กระจายไปในหมูช่ าวสเปนและแพร่มาสูฟ่ ลิ ปิ ปินส์ดว้ ย เพราะผูป้ กครอง  ทีม่ หี วั คิดเสรีนยิ มถูกส่งมายังเกาะต่างๆ ของฟิลปิ ปินส์มากขึน้  โดยเฉพาะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

55


อย่างยิ่งข้าหลวงใหญ่ที่มะนิลาผู้มีความคิดเสรีนิยมคือ คาร์ลอส มาเรีย  เด ลา ตอร์เร (Carlos Maria de la Torre) ที่เข้ามาประจ�าในฟิลิปปินส์  ช่วง ค.ศ. ๑๘๖๙-๑๘๗๑  ข้าหลวงให้ยกเลิกการตรวจตราข่าว ให้โอกาส  ประชาชนในการถกเถียง น�าความคิดใหม่ๆ เกีย่ วกับความสัมพันธ์ระหว่าง  มวลมนุษย์กับรัฐบาลและประชาชาติมาใช้  ท�าให้ความคิดเสรีนิยมแพร่  กระจายในหมู่ชาวฟิลิปปินส์ที่มีการศึกษาและชนชั้นกลาง ซึ่งส่งผลต่อ  การเกิดขบวนการชาตินิยมของฟิลิปปินส์ ชนวนของขบวนการชาตินิยมปะทุขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๗๒ เมื่อเกิด  กบฏกาวิเต เนื่องจาก เด ลา ตอร์เร พ้นวาระและข้าหลวงคนใหม่เป็น  พวกอนุรักษ์นิยม สามัญชนชาวฟิลิปปินส์ร่วมกับทหารและบาทหลวง  ชาวพื้นเมืองก่อกบฏ  ผลก็คือ ชาวฟิลิปปินส์หลายคนถูกจับและถูก  ประหารชีวิต รวมทั้งมีการจับบาทหลวงชาวพื้นเมือง ๓ รูปมาทรมาน  และประหารชีวติ ด้วย  สาเหตุดงั กล่าวนีเ้ องทีร่ วมชาวฟิลปิ ปินส์ทแี่ ม้จะอยู่  ห่างไกลกันให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อต่อต้านชาวสเปนที่ปกครองอย่างกดขี ่ อยู่ในเวลานั้น กลุ่มชนชั้นกลางและผู้มีการศึกษาชาวฟิลิปปินส์เริ่มมีจ�านวน  มากขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙  คนเหล่านี้มีโอกาสไปศึกษาต่อ  ในต่างประเทศและช่วยกันเผยแพร่ความเลวร้ายของสเปน โดยเฉพาะ  มีการตั้งศูนย์เผยแพร่ที่กรุงมาดริด นครบาร์เซโลนา เป็นต้น ชาวสเปนที่  เห็นอกเห็นใจชาวฟิลิปปินส์จึงเพิ่มจ�านวนขึ้น แต่ในที่สุดรัฐบาลสเปนก็  หาทางปกปิดและป้องกัน กระนั้นก็ตามมีชาวฟิลิปปินส์ที่มีการศึกษาสูงเป็นจ�านวนมาก  พยายามอภิปรายในที่สาธารณะให้ชาวยุโรปได้รู้เกี่ยวกับความโหดร้าย  การกดขีข่ ม่ เหงอย่างไม่เป็นธรรมของรัฐบาลสเปนในฟิลปิ ปินส์ หลายคน  ถูกจับขัง เช่น กราซิอาโน โลเปซ ฆาเอนา (Graciano Lopez Jaena)  มาริอาโน ปองเซ (Mariano Ponce)  นายแพทย์โฆเซ่ ริซลั  (Jose Rizal)

56

ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้


เป็นต้น  โดยเฉพาะริซัลเป็นวีรบุรุษคนส�าคัญของฟิลิปปินส์  เขาศึกษา  วิชาแพทย์และวิชาอื่นๆ ในสเปนและประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป เป็น  ผู้ตีพิมพ์นิยายที่แสดงให้เห็นการปกครองที่กดขี่ของชาวสเปนต่อชาว  ฟิลิปปินส์ เช่น เรื่อง Noli Me Tangere บรรยายความทุกข์ของชาว  ฟิลิปปินส์ภายใต้การปกครองของสเปน  เรื่อง Eil Firibusterismo มี  เนื้อหาโจมตีระเบียบทางศาสนา  เรื่อง Max Havelaar ต่อต้านระบบ  เพาะปลูกในชวา  นอกจากนัน้ ยังเป็นผูป้ ระพันธ์โคลงกลอนเสียดสีสงั คม  จ�านวนมาก  หนังสือและเอกสารที่ริซัลจัดพิมพ์ถูกลักลอบน�าเข้าไปใน  ฟิลิปปินส์และกลายเป็นสิ่งกระตุ้นจิตใจชาวพื้นเมืองให้ก่อการปฏิวัติต่อ  สเปน และเมื่อเขากลับมายังฟิลิปปินส์ก็ได้ก่อตั้ง สันนิบาตฟิลิปปินส์ (La Liga Filipina) ขึ้น  อย่างไรก็ดีริซัลถูกจับและถูกประหารชีวิตใน  ค.ศ. ๑๘๙๖ แนวคิดทางการเมืองของนายแพทย์โฆเซ่ ริซลั  น�ามาสูก่ ารก่อตัง้   ขบวนการทางการเมืองชือ่  คาติปนู นั  (Katipunan) ของ อังเดร โบนิฟาซิโอ  (Andrés Bonifacio)  ขบวนการคาติปูนันเป็นองค์กรทางการเมืองที่ม ี วัตถุประสงค์เพือ่ การกอบกูอ้ สิ รภาพของฟิลปิ ปินส์ เริม่ ตัง้ ใน ค.ศ. ๑๘๙๒ ในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๙๖ ขณะที่โบนิฟาซิโอ หัวหน้า  ขบวนการก�าลังประชุมสมาชิกอยู่ได้ถูกทางการจับกุมตัว  เหตุการณ์น ี้ สร้างความไม่พอใจแก่ชาวฟิลิปปินส์เป็นอันมาก ส่งผลให้เกิดการกบฏ  ระบาดไปทัว่ ทุกแห่งในฟิลปิ ปินส์  ต่อมายังมีผนู้ �าคนส�าคัญอีกคนหนึง่ คือ  นายพลเอมิลิโอ อากินัลโด (Emilio Aguinaldo) ผู้ก่อตั้งขบวนการทาง  การเมืองขึ้นเพื่อกอบกู้อิสรภาพ  เขาเป็นผู้นา� ทหารชาวพื้นเมืองต่อสู้กับ  ทหารสเปนจนท�าการปฏิวัติได้ส�าเร็จในวันที่ ๑๒ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๙๘  และประกาศตั้ง สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ขึ้น อย่างไรก็ตามสเปนยังไม่ยอมปล่อยฟิลิปปินส์ แม้อากินัลโดจะ  ประกาศตนเองเป็นประธานาธิบดีและมีการร่างรัฐธรรมนูญ แต่การสู้รบ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

57


ของสหรัฐอเมริกาและเสียภาษีขาเข้าร้อยละ ๒๕ ผลจากการทีส่ หรัฐอเมริกาเปลีย่ นฟิลปิ ปินส์ในระยะเวลาอันสัน้   แม้จะมีส่วนดีดังที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ แต่ข้อด้อยใหญ่หลวงที่เกิดขึ้นคือ  การเมืองการปกครองของฟิลปิ ปินส์ตกอยูใ่ นมือคนร�า่ รวยและคนทีม่ คี วามรู ้ ซึง่ ไม่ใช่คนกลุม่ ใหญ่ของประเทศ ดังจะเห็นได้จนปัจจุบนั ทีม่ นี กั การเมือง  เพียงไม่กี่ตระกูลเท่านั้นที่กุมอ�านาจทางการเมือง

66

ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้


บทที่ ๓

พลังคริสต์ศาสนา และพลังประชาชนในฟิลิปปินส์

ประชาชนในประเทศฟิลิปปินส์นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก  มากที่สุด  ดังนั้นศาสนานิกายนี้จึงมีอิทธิพลอย่างสูงในวิถีชีวิตของผู้คน  และมีอิทธิพลต่อรัฐบาล  อิทธิพลของศาสนาต่อผู้คนนั้นมีให้เห็นเป็น  ระยะๆ ตั้งแต่ก่อนที่สเปนจะได้ปกครองฟิลิปปินส์เสียด้วยซ�้า และเมื่อ  ได้ฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมแล้ว สเปนได้ใช้ศาสนาเป็นเครื่องบังหน้า  ในการปกครองอาณานิคมแห่งนีข้ องตนเอง และวางรากฐานให้แก่ศาสนา  คริสต์นกิ ายโรมันคาทอลิกอย่างมัน่ คงในฟิลปิ ปินส์  ท�าให้จวบจนปัจจุบนั   ศาสนจักรของฟิลิปปินส์ยังคงมีอิทธิพลอย่างสูงต่อประชาชน และเสียง  ของศาสนจักรก็เป็นเสียงที่รัฐบาลไม่อาจละเลยได้   ดังกรณีการเกิด  ปรากฏการณ์   พลั ง ประชาชน หรื อ  EDSA ถึ ง  ๒ ครั้ ง ในฟิ ลิ ป ปิ น ส์  คือ ครั้งแรกเกิดขึ้นในสมัยของประธานาธิบดีที่อยู่ในอ�านาจยืนยาวคือ  มาร์กอส  และครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นในสมัยประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา  ทีถ่ กู พลังประชาชนก�าราบ ทัง้ ๆ ทีไ่ ด้ชอื่ ว่าเป็นประธานาธิบดีทไี่ ด้รบั เสียง  เลือกตั้งจากคนจนอย่างล้นหลามเป็นประวัติการณ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

67


การใช้คริสต์ศาสนาเพื่อประโยชน์ของสเปน ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์

การน�าศาสนามาพัวพันกับการเมืองนั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคที่ยัง  เป็นอาณานิคมของสเปน  รัฐบาลสเปนใช้ศาสนาบังหน้าเพือ่ ปกครองชาว  ฟิลปิ ปินส์อย่างกดขีข่ ดู รีด จนน�ามาซึง่ การต่อต้านของปัญญาชนและการ  ต่อสู้เพื่อเรียกร้องอิสรภาพ แต่เมื่อได้อิสระจากสเปนแล้ว ศาสนาคริสต์  นิกายโรมันคาทอลิกก็ยังคงมีบทบาทในวิถีชีวิตของผู้คน  ผู้น�าศาสนา  นิกายนีม้ อี ทิ ธิพลมากจนกระทัง่ สามารถขับไล่ผนู้ า� รัฐบาลทีค่ อร์รปั ชันและ  ล้มเหลวในการปกครองประเทศได้ถึงสองคน  ประวัติศาสตร์ของประเทศฟิลิปปินส์เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์  นิกายโรมันคาทอลิกตัง้ แต่เมือ่ มาเจลลันขึน้ ฝัง่ ทีเ่ กาะเซบูเมือ่  ค.ศ. ๑๕๒๑  เขาเสียชีวิตเพราะพยายามเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกให้  แก่ชาวพื้นเมือง ต่อมาใน ค.ศ. ๑๕๖๕ พระเจ้าฟิลปิ ที ่ ๒ ของสเปนทรงส่ง มิกเู อล  โลเปซ เด เลกัสปี และพ่อค้าประมาณ ๑,๐๐๐ คนเดินทางจากเม็กซิโก  มายังฟิลิปปินส์  และเกิดสงครามแย่งฟิลิปปินส์จากสุลต่านชาวมุสลิม  ซึ่งมีอิทธิพลมาก่อนและท�าได้ส�าเร็จ  เด เลกัสปี เป็น ผู้ปลูกฝังและวาง  รากฐานคริสต์ศาสนาในหมูเ่ กาะฟิลปิ ปินส์  ต่อมาอาร์คบิชอปแห่งมะนิลา  ได้ตงั้ มหาวิทยาลัยซานโต โตมัส (University of Santo Tomas) เมือ่ วันที่  ๒๘ เมษายน ค.ศ. ๑๖๑๑ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของทวีปเอเชีย และ  ปัจจุบนั มหาวิทยาลัยนีไ้ ด้ชอื่ ว่าเป็นมหาวิทยาลัยคาทอลิกทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในโลก  เมื่อคิดจากจ�านวนนักศึกษาที่ลงทะเบียน อย่างไรก็ตามเคยมีวทิ ยาลัยทางศาสนาเกิดขึน้ มาก่อนหน้านีแ้ ล้ว  คือวิทยาลัยสอนศาสนาชื่อ โคลิจีโอ เดอ ซาน อิลเดฟอนโซ (Colegio   de San Ildefonso) ซึ่งพวกบาทหลวงได้ตั้งขึ้นในวันที่ ๑ สิงหาคม ค.ศ.  ๑๕๙๕  ต่อมายกฐานะขึน้ เป็นมหาวิทยาลัยซาน คาร์โลส (University of

68

ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้


San Carlos) ยังคงอยู่มาจนทุกวันนี้ การวางรากฐานให้แก่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอย่าง  แน่นหนานี้เป็นไปได้ด้วยอาศัยการศึกษา จนสามารถปลูกฝังความคิด  ความเชือ่  และศรัทธาในศาสนาให้แก่ประชาชนได้ไม่ยากนัก  และในช่วงที ่ ฟิลปิ ปินส์เป็นอาณานิคมของสเปนนัน้  ศาสนาคริสต์นกิ ายโรมันคาทอลิก  ถือเป็นเครื่องมือส�าคัญที่ช่วยให้สเปนปกครองฟิลิปปินส์อย่างได้ผลยิ่ง นักบวชมีส่วนช่วยรัฐบาลสเปนควบคุมดูแลผลประโยชน์จา� นวน  มหาศาล ตัง้ แต่ควบคุมการเก็บภาษี การจัดการเงินบริจาค ดูแลโรงเรียน  และงานสาธารณะอืน่ ๆ  กล่าวได้วา่ รัฐบาลกับคริสตจักรในฟิลปิ ปินส์ตา่ ง  เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน จนกระทั่ง ค.ศ. ๑๗๑๙ จึงเกิดความขัดแย้ง  ระหว่างผู้ปกครองกับศาสนาเกิดขึ้น ในช่วงเวลานั้นข้าหลวงสเปนคือ นายเฟอร์นันโด บุสตามันเต  (Fernando Bustamante) มีนโยบายปราบปรามคอร์รปั ชันและเดินหน้า  ท�าตามนโยบายอย่างเคร่งครัด  ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อข้าหลวงกล่าวหาว่า  คณะบาทหลวงคอร์รัปชันและสั่งจับพระราชาคณะแห่งมะนิลา ผลก็คือ  นักบวชหลายรูปน�าฝูงชนต่อต้านข้าหลวงอย่างรุนแรง มีการเผาอาคาร  สถานทีร่ วมทัง้ ทีอ่ ยูข่ องข้าหลวง แม้ขา้ หลวงจะส่งทหารออกมาปราบปราม  ทว่าทหารส่วนใหญ่ไม่ยอมยิงประชาชนตามค�าสัง่ และละทิง้ หน้าที ่  ในทีส่ ดุ   เมื่อฝูงชนบุกเข้าไปในที่พ�านักของข้าหลวงได้ก็จับข้าหลวงเฟอร์นันโด  บุสตามันเต และบุตรชายฆ่าทิง้ อย่างน่าสยดสยอง  หลังจากนัน้ มาศาสนา  คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกก็ฝังรากลึกในประเทศฟิลิปปินส์ กลายเป็น  นิกายที่มีผู้คนศรัทธาและนับถือมากที่สุดในประเทศ

อิทธิพลของคริสตจักรในประเทศฟิลิปปินส์ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐

เหตุ ก ารณ์ที่แสดงให้เห็นอิทธิพลของผู้น� า ทางศาสนาคริสต์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

69


ชาวโมโร ผู้สร้างประวัติศาสตร์แห่งการต่อต้าน ผู้เข้าครอบครองและการแบ่งแยกดินแดน

เมื่ อ กล่ า วถึ ง ประวั ติ ศ าสตร์ แ ละการท� า ความเข้ า ใจประเทศ  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ การละเลยไม่กล่าวถึงชาวโมโรคงเป็นเรื่องที่เป็น  ไปได้ยาก  เพราะคนกลุม่ นีเ้ กีย่ วข้องกับแทบจะทุกเรือ่ งราวทางการเมือง  ของฟิลปิ ปินส์ ตัง้ แต่การแบ่งแยกดินแดนไปจนถึงการร่วมแสดงพลังเพือ่   ขับไล่ประธานาธิบดี ดังที่ทราบแล้วว่า ศาสนาอิสลามเข้ามาในฟิลิปปินส์เนื่องจาก  พ่อค้ามุสลิมอาหรับที่เข้ามาค้าขายในฟิลิปปินส์เป็น ผู้น� าเข้ามาเผยแผ่  บริเวณที่รับอิทธิพลศาสนาอิสลามมากก็คือแถบหมู่เกาะซูลู มินดาเนา  อย่างไรก็ดชี าวฟิลปิ ปินส์ทางใต้ไม่ได้ยนิ ดีทจี่ ะเปลีย่ นมานับถือศาสนาใหม่  นีท้ นั ที  แต่เมือ่ สเปนเข้าครอบครองฟิลปิ ปินส์และน�าศาสนาคริสต์นกิ าย  โรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแผ่ ท�าให้ชาวพืน้ เมืองไม่พอใจและต้องการต่อต้าน  จึงมีชาวฟิลิปปินส์ส่วนหนึ่งยอมหันมานับถือศาสนาอิสลาม  และเนื่อง  จากการปกครองของสเปนไม่ได้ช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างเท่าเทียม  โดยเฉพาะกับผู้คนในแถบทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ จึงท�าให้ผู้นับถือ  ศาสนาอิสลามจ�านวนหนึ่งยืนหยัดต่อต้านสเปน และต่อมาก็ต่อต้าน  สหรัฐอเมริกาด้วย  กลุม่ ชาวมุสลิมนีเ้ รียกตัวเองว่า ชาวโมโร  ดังนัน้ ชาว  โมโรคือชาวฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของ  ประเทศ  มีประมาณร้อยละ ๔ ของประชากรทัง้ หมด และไม่ถกู จัดว่าเป็น  ชนกลุ่มน้อยของประเทศ ชาวโมโรเรียกร้องให้แยกดินแดนมินดาเนาออกจากฟิลิปปินส์  สืบเนื่องจากเมื่อครั้งที่สเปนปกครองฟิลิปปินส์  สเปนไม่ได้พัฒนาซูลู  มากินดาเนา ลาเนา เดล ซูร์ และมาราเนาเท่าที่ควร จึงท�าให้กลุ่มโมโร  ซึ่งอาศัยอยู่ตามเกาะเหล่านั้นไม่พอใจ  ต่อมาเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้า  ครอบครองฟิลิปปินส์และพยายามพัฒนาฟิลิปปินส์ด้วยนโยบาย Policy

92

ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้


of Attraction ก็ไม่สามารถพัฒนาเขตภาคใต้ที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็น  จ�านวนมากได้อย่างเต็มที ่  และในช่วงนีเ้ องทีม่ สุ ลิมได้พฒ ั นาแนวคิดอิสลาม  เพือ่ ต่อต้านจักรวรรดินยิ มอเมริกนั ขึน้   หลังจากทีฟ่ ลิ ปิ ปินส์ได้รบั เอกราช  จากอเมริกาในวันที่ ๔ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ มุสลิมที่เป็นชนชั้นน� า  ส่วนใหญ่ก็รวมตัวเองเข้ากับรัฐใหม่ที่เกิดขึ้น รวมทั้งเห็นด้วยกับนโยบาย  ของรัฐที่ให้ชาวคริสเตียนอพยพไปท�ามาหากินในมินดาเนา กลุ่มโมโรแบ่งแยกดินแดนเริ่มเกิดขึ้นในทศวรรษ ๑๙๖๐ โดย  คนรุน่ หนุม่ ทีไ่ ม่ได้มาจากครอบครัวชนชัน้ น�าแต่ได้รบั การศึกษาสูง  เพราะ  ช่วงเวลาก่อนหน้านั้นรัฐบาลฟิลิปปินส์สนับสนุนการศึกษาโดยมอบ  ทุนการศึกษาให้ประชาชนที่เรียนดีแต่ยากจนไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย  ของรัฐในกรุงมะนิลา คือ มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ (University of  Philippines, U.P.) และยังให้ไปศึกษาที่ประเทศแถบอาหรับด้วย เมื่อรวมกลุ่มกันนั้น จุดประสงค์เริ่มแรกยังไม่ใช่การแบ่งแยก  ดินแดน แต่ร่วมกันเพื่อป้องกันชาวมุสลิมแยกตัวจากรัฐบาล  คนกลุ่มนี ้ เผยแพร่อดุ มการณ์ดงั กล่าวให้แก่ชาวมุสลิมท้องถิน่   หลายคนได้รบั ความ  เชื่อถือมากจากชาวบ้านโดยเฉพาะ นูร์ มิซูอาริ (Nur Misuari) ซึ่งจบ  การศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ แล้วไปศึกษาต่อที่ลิเบีย และ  กลับมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์  นูร์ มิซูอาริมีนโยบาย  ให้ชาวมุสลิม ผสมกลมกลืนกับชาวคริสเตียนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของ  ประเทศ เพื่อจะไม่เกิดความแตกแยกระหว่างคนทั้งสองกลุ่ม การท�าประโยชน์แก่ทอ้ งถิน่ ของคนหนุม่ เหล่านีส้ ง่ ผลให้ชาวบ้าน  ในท้องถิ่นที่ไม่นิยมพวกมุสลิมที่เป็นชนชั้นสูงอยู่แล้ว เนื่องจากเห็นว่า  คนเหล่านั้นไม่เคยท�าอะไรเพื่อชาวมุสลิมในท้องถิ่นภาคใต้เลย ยิ่งเพิ่ม  ความนิยมในกลุม่ คนหนุม่ มากขึน้ เรือ่ ยๆ เพราะพวกเขามีอดุ มการณ์ทจี่ ะ  พัฒนาท้องถิ่นให้เจริญ  รัฐบาลฟิลิปปินส์เองก็เห็นความส�าคัญของคน  กลุ่มนี้จึงแต่งตั้งให้บางคนด�ารงต�าแหน่งส�าคัญทางการเมือง เช่น เป็น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

93


แผนที่กลุ่มเกาะฟิลิปปินส์ เขียนขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๖๑๖

102

ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้


บทที่ ๔

ฟิลิปปินส์กับอาเซียน

เมือ่ แรกตัง้ สมาคมอาเซียน (Association of Southeast Asian Nations,  ASEAN) ในปี   ค.ศ. ๑๙๖๗ มีเพียง ๕ ประเทศในเอเชียตะวันออก  เฉียงใต้ที่เป็นสมาชิกสมาคม ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย  และฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์คือ ๑. เพื่อเร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทาง  สังคมและส่งเสริมด้านวัฒนธรรม ๒. ส่งเสริมสันติภาพและความมัน่ คงในภูมภิ าค โดยยึดหลักความ  ยุติธรรมและยึดมั่นในกฎบัตรสหประชาชาติ ๓. ส่งเสริมให้มกี าร่วมมือกระท�าการอย่างจริงจัง โดยส่งเสริมความ  ช่ ว ยเหลื อ ซึ่ ง กั น และกั น ในด้ า นเศรษฐกิ จ  สั ง คม วั ฒนธรรม เทคนิ ค  วิทยาศาสตร์ และการบริหาร ๔. ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย ๕. ร่วมมือกันในการเกษตร อุตสาหกรรม และขยายการค้า  ซึ่งกันและกัน ๖. ส่งเสริมการศึกษาในเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๗. ด�ารงไว้ซงึ่ ความใกล้ชดิ ซึง่ กันและกันและแสวงหาผลประโยชน์  ร่วมกันในความสัมพันธ์กบั นานาประเทศ และองค์การส่วนภูมภิ าคอืน่ ๆ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

125


ประวัติศาสตรแหงการตอสู

ผูชวยศาสตราจารย ดร. วรางคณา นิพัทธสุขกิจ

ราคา ๑๖๐ บาท

ISBN 978-974-7727-90-6

หมวดประวัติศาสตร

ผูชวยศาสตราจารย ดร. วรางคณา นิพัทธสุขกิจ

หนังสือเลมนี้คงจะจุดประกายใครรูแกผูอาน ใหศึกษาคนควาเรื่องราวของสาธารณรัฐฟลิปปนส และตระหนักถึงพลังแหงประชาชน ซึ่งเปนกลไกสําคัญ ของประวัติศาสตรแหงการตอสูของประเทศสาธารณรัฐฟลิปปนส ทั้งการตอสูกับประเทศเจาอาณานิคมคือ สเปนและสหรัฐอเมริกา ที่เขาปกครองประเทศอยางเอารัดเอาเปรียบเปนเวลายาวนานสี่รอยกวาป และการตอสูกับผูมีอํานาจทางการเมืองที่เห็นแกประโยชนสวนตน ทําใหประชาชนผูไรอาวุธรวมพลังกัน จนสามารถขับไลผูนําประเทศที่คดโกงออกจากตําแหนง โดยมีศาสนจักรเปนพลังขับเคลื่อนที่สําคัญ

ฟลิปปนส : ประวัติศาสตรแหงการตอสู

ฟลิปปนส

ฟลิปปนส

ประวัติศาสตรแหงการตอสู


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.