ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง-หนังสือชุด "อาเซียน" ในมิติวัฒนธรรม

Page 1

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

ราคา ๒๑๐ บาท

ISBN 978-974-7727-79-1

หมวดศิลปะ

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

เรียนรู้เรื่องราวของประเทศเพื่อนบ้านในประชาคมอาเซียน ผ่านงานศิลปะและสถาปัตยกรรม ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง หนังสือที่ให้ความรู้และรายละเอียดด้านศิลปะ และสถาปัตยกรรมของ ๓๓ วัดสำาคัญในเมืองหลวงพระบาง อดีตราชธานีอันรุ่งเรืองแห่งอาณาจักรล้านช้าง ที่สะท้อนความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างไทย-ลาว ผ่านงานสถาปัตยกรรมของเมืองมรดกโลกริมแม่น้ำาโขงแห่งนี้

ชื่นชมสถาปัตย์

วัดในหลวงพระบาง

วั ด ในหลวงพระบาง

ชื่นชมสถาปัตย์

ชื่นชมสถาปัตย์

วัดในหลวงพระบาง รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์


ISBN หนังสือ

978-974-7727-79-1 ชุด “อาเซียน” ในมิติวัฒนธรรม ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง ผู้เขียน รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ พิมพ์ครั้งที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๕ จำานวนพิมพ์ ๔,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๑๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำานักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด ที่ปรึกษาด้านต้นฉบับ บรรณาธิการเล่ม ผู้ช่วยบรรณาธิการ/ พิสูจน์อักษร ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท พิมพ์ที่ จัดจำาหน่าย

ดร. ธิดา สาระยา อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ วรินวิตตา ดารามาตร์ นฤมล ต่วนภูษา ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. ชุด “อาเซียน” ในมิติวัฒนธรรม ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง.--กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕. ๒๓๒ หน้า. ๑. วัด. ๒. สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา. I. ชื่อเรื่อง. ๗๒๖.๑ ISBN 978-974-7727-79-1

สำานักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำานวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำานวยการฝ่ายศิลป์ จำานงค์ ศรีนวล ผู้อำานวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ บรรณาธิการสำานักพิมพ์ อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ทีป่ รึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

2

ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง


สารบัญ

คำานำาสำานักพิมพ์ จากผู้เขียน (ในการพิมพ์ครั้งที่ ๓)

๔ ๖

บทที่ ๑ ประวัติศาสตร์เมืองหลวงพระบาง

บทที่ ๒ องค์ประกอบของศาสนสถานเมืองหลวงพระบาง

๑๕

บทที่ ๓ แบบแผนของสิมหลวงพระบาง - แบบแผนของสิมหลวงพระบาง สิมทรงหลวงพระบาง สิมทรงเชียงขวาง สิมทรงเวียงจันทน์ สิมทรงไทลื้อ สิมทรงผสมผสาน - องค์ประกอบของเครื่องประดับตกแต่ง สิมหลวงพระบาง - ชื่อเรียกงานสถาปัตยกรรม และส่วนประกอบสถาปัตยกรรม

๓๗ ๓๘ ๔๐ ๔๔ ๔๖ ๔๘ ๕๒

บทที่ ๔ วัดในหลวงพระบางที่น่าสนใจ

๕๗ ๘๓ ๘๘

เชิงอรรถ ๑๙๑ บรรณานุกรม ๑๙๖ ภาคผนวก รายพระนามกษัตริย์ที่ปกครองเมืองหลวงพระบาง-ล้านช้าง ๒๐๐

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

3


ภาพวาดทัศนียภาพของเมืองหลวงพระบางเมือ่ กว่าร้อยปีมาแล้ว เบือ้ งหน้าคือแม่นา�้ โขง กลางเมืองมีพระเจดียป์ ระดิษฐานบนยอดเขาภูศรี (ทีม่ า : จากหนังสือ A Pictorial Journey on the Old Mekong)

8

ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง


บทที่ ๑

ประวัติศาสตร์ เมืองหลวงพระบาง

หลวงพระบาง อดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง มีประวัติศาสตร์ ความเป็นมาที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะไม่เพียงมีความส�าคัญต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่ยังมีเรื่องราวที่แสดง “ความพัวพัน” ฉันพี่น้องกับไทยมาแทบทุกยุคสมัย ไม่ว่าสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ และดินแดนล้านนา ๑ ที่ตั้งทางตอนเหนือของประเทศไทย ต� า แหน่ ง ที่ ตั้ ง ของเมื อ งหลวงพระบางอยู ่ ร ะดั บ ขนานกั บ เมื อ ง เชียงราย มีระยะห่างจากเชียงรายและเชียงรุ่งในสิบสองปันนาราว ๒๖๕ กิโลเมตร และห่างจากเชียงตุงและเชียงใหม่ ๓๕๐ กิโลเมตร นับว่าอยูใ่ น จุดกึ่งกลางของการค้าระยะไกล (Long distance trade) ที่โดดเด่นยิ่ง การติดต่อระหว่างล้านช้างและล้านนาที่เชียงของ-บ่อแก้ว ห้วยทรายปากแบง อุดมไชย-หลวงพระบาง เป็นจุดติดต่อที่ใกล้และใช้เวลาไม่นาน ในการข้ามน�า้ โขงไปมาระหว่างสองดินแดน เดิมหลวงพระบางมีชอื่ เรียก หลายชื่อ เช่น นครเชียงดงเชียงทอง ศรีสัตนคนหุตล้านช้าง เมืองชว เมืองชวามาลาประเทศ หรือเมืองชวาซิ่ง ๒ หลวงพระบางซิ่งหรือเมืองซิ่ง และทีร่ จู้ กั กันมากก็คอื ศรีสตั นคนหุต ล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง หรือ หลวงพระบาง เมืองหลวงพระบางมีความเป็นมาอย่างต่อเนือ่ งยาวนานเนือ่ งด้วย

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

9


เป็ น ศู น ย์ ก ลางของอาณาจั ก รที่ รุ ่ ง เรื อ งด้ ว ยการค้ า และโดดเด่ น ด้ า น ศิลปวัฒนธรรม จึงท�าให้เมืองนี้เป็นที่หมายปองของอาณาจักรข้างเคียง อยูเ่ สมอมา เรือ่ งราวความเป็นมาในระยะเริม่ แรกนัน้ ล้วนแต่เป็นเรือ่ งราว จากต�านาน พงศาวดาร นิทานพืน้ บ้าน ทีค่ ละเคล้าไปด้วยเรือ่ งของอ�านาจ อิทธิฤทธิ์ของพญาแถน ซึ่งนักวิชาการลาวกล่าวว่าเป็น “สมัยนิยาย” สมัยนิยาย ๓ เริ่มขึ้นเมื่อชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ได้มี การขยายตัวจนก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมเมืองและสังคมนครรัฐในระยะ ต่อมา ดังจะเห็นได้จากความเชื่อเรื่องการตั้งเมืองเชียงดงเชียงทอง โดย ฤๅษีสองพีน่ อ้ งทีป่ กั หินหลักมัน่ (คือหลักเมือง หรือทีล่ า้ นนาเรียกว่า เสา อินทขิล) ตั้งอยู่กลางเมืองบนยอดพูสี (ภูศรี) มีหลักมั่นก้อนก่ายฟ้าและ ท้ายขันตั้งอยู่นอกเมือง และยังมีภูเขาธรรมชาติอันเป็นเครื่องหมายของ เมือง คือ พูล้านกับพูช้าง เป็นนิมิตหมายจนกลายเป็นชื่ออาณาจักร ล้านช้าง จนกระทัง่ อิทธิพลจากภาษาบาลีและสันสกฤตเข้ามา จึงเปลีย่ น ชื่ อ เป็ น นครศรี สั ต นาคนหุ ต ที่ แ ปลว่ า “ล้ า นช้ า ง” นอกจากนั้ น ยั ง มีเรื่อง “ขุนบรมราชาธิราช” (ชาวลาวมักเรียกว่า “ขุนบูลม”) เป็นเทวดา ที่ พ ญาแถน (พระอิ น ทร์ ) ส่ ง ลงมาเพื่ อดู แ ลความสงบสุ ข ของมนุ ษ ย์ โดยลงมาเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองแถน (เมืองเดียนเบียนฟูในประเทศ เวียดนาม) ต่อจากสมัยนิยายจะเป็น สมัยครึ่งนิยาย กล่าวคือ เริ่มจากยุค ที่ลูกของขุนบรมทั้งเจ็ดคนถูกส่งไปสร้างบ้านแปงเมือง ตามพงศาวดาร ลาวเล่าสืบต่อกันมาว่า ขุนบรมมีราชบุตร ๗ องค์ ที่ประสูติจากนาง แอกแดง ๔ องค์ คื อ ขุนลอ ขุนยี่ผ าลาน ขุนสามจูงสง ขุนเจ็ดเจือง ที่ประสูติกับนางยมผาลา ๓ องค์ คือ ขุนไสผง ขุนงั่วอิน ขุนลกกม ๔ ขุนบรมโปรดให้ราชบุตรทั้งเจ็ดไปสร้างบ้านแปงเมืองยังที่ต่างๆ จนเกิด เป็นอาณาจักรต่างๆ ในภาคพื้นสุวรรณภูมิ คือ ขุนลอ ไปสร้างเมืองชวา เชียงดงเชียงทอง ซึ่งก็คือเมืองหลวง

10

ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง


พระบางปัจจุบัน ขุนยี่ผาลาน ไปสร้างเมืองหอแตหรือหอว้อ ซึ่งก็คือเมืองสิบสองปันนาปัจจุบัน ขุนสามจูงสง ไปสร้างเมืองแกวช่อบัวในแคว้นตังเกี๋ย บางต�านาน ว่าครองเมืองพิมาย (จุลนีพรหมทัต) ขุนไสผง ไปสร้างเมืองโยนกนาคพัน ซึ่งก็คือดินแดนล้านนาของ ไทยปัจจุบัน ขุนงั่วอิน ไปสร้างเมืองละโว้โยทธิกา ซึ่งก็คืออยุธยา ราชอาณาจักรบนลุ่มน�้าเจ้าพระยาของไทย ขุนลกกม ไปสร้างเมืองเชียงคมยอสามในดินแดนหงสาวดี เมือง รามัญหรือเมืองค�าเกิด ขุนเจ็ดเจือง ไปสร้างเมืองพวน เชียงขวาง ซึง่ ยังมีทงุ่ ไหหิน ทีเ่ ชือ่ ว่า เป็นไหเหล้าของขุนเจือง ขุนบรมได้สงั่ ลูกทัง้ เจ็ดว่าอย่าให้มกี ารรุกรานซึง่ กันและกัน ให้เป็น บ้านพี่เมืองน้องกันตลอดไป เดิมบริเวณเมืองหลวงพระบางมีกลุ่มคนอาศัยอยู่มาช้านานแล้ว คือพวกข่าหรือลาวเทิง ที่ในต�านานขุนบรมกล่าวว่า “สร้างบ้านก็เปรื่อง สร้างเมืองก็รุ่ง ฝูงไพร่ไถนา ฝูงข่าฟันไร่” พวกข่านี้เองที่เป็นขุมก�าลัง ให้แก่ชาวลาว ทัง้ ท�าหน้าทีส่ ง่ ส่วยผลผลิตจากป่าไร่ตา่ งๆ เพือ่ มาเลีย้ งเมือง และเป็นแรงงานในการรบทัพจับศึก ตามต�านานเล่าว่า หัวหน้าของ พวกข่าเป็นลูกของนางยักษ์กางฮี (เมรี) กับพ่อที่เป็นมนุษย์ หากแต่ถูก ขุนลอปราบขับไล่ออกไป แล้วสถาปนาเมืองศรีสตั นาคนหุตอุตมราชธานี ขึ้นเป็นปฐมอาณาจักรลาว จะเห็นได้วา่ เรือ่ งราวในระยะแรกนัน้ จะเกีย่ วข้องกับนิทานพืน้ บ้าน และคละเคล้ากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับพงศาวดารของไทย ชื่อที่เป็น ทางการของเมืองหลวงพระบางคือ “ศรีสัตนาคนหุต ล้านช้างร่มขาว

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

11


๑๖. ท้าวแท่น ไม่ทราบศักราช ๑๗. ท้าวยุง ไม่ทราบศักราช ๑๘. ท้าวเผิก ไม่ทราบศักราช ๑๙. ท้าวพิน ไม่ทราบศักราช ๒๐. ท้าวพาด ไม่ทราบศักราช ๒๑. ท้าวหว่าง ไม่ทราบศักราช ๒๒. ท้าวลัง พ.ศ. ๑๘๑๔-๑๘๕๙ ๒๓. พระยาสุวรรณค�าผง พ.ศ. ๑๘๕๙-๑๘๙๖ ความชัดเจนในเรื่องประวัติศาสตร์ของล้านช้างนั้นเริ่มปรากฏใน รัชสมัยของพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราช ที่ทรงรวบรวมพระราชอาณาจักรลาว ให้เป็นปึกแผ่นโดยตั้งเมืองเชียงดงเชียงทอง (หลวงพระบาง) ให้เป็น ราชธานี ซึ่งในช่วงสมัยนั้นสามารถกล่าวได้ว่าเป็นสมัยล้านช้างอย่าง แท้จริง เพื่อให้เข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงสมัย ซึ่งล้วนแล้ว แต่มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่น ไม่ว่าสุโขทัย ล้านนา อยุธยา และ รัตนโกสินทร์จึงได้แสดงรายละเอียดเป็นตารางเพื่อให้เกิดความชัดเจน มากขึ้น อ่านเพิ่มเติมได้ในส่วนภาคผนวกท้ายเล่ม

14

ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง


บทที่ ๒

องค์ประกอบของศาสนสถาน เมืองหลวงพระบาง

หลวงพระบางเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนาที่ส�าคัญเมืองหนึ่งจากการ ที่เคยเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านช้างในอดีต เป็นภูมิหลังที่ก่อ ให้เกิดความงดงามของวิถีชีวิตและประเพณี ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจาก ทุกสารทิศเดินทางมาชื่นชมอยู่เสมอ พระพุทธศาสนานับเป็นศูนย์กลางจิตใจของชาวหลวงพระบาง แม้ วิถชี วี ติ ในปัจจุบนั จะแตกต่างไปจากอดีตแล้ว หากแต่ผคู้ นก็ยงั คงยึดมัน่ ใน พระพุทธศาสนาอย่างมาก ดังจะเห็นจากการใส่บาตรข้าวเหนียวตอนเช้า แทบทุกบ้าน ในตอนสายจะจัดภัตตาหารไปถวายให้พระสงฆ์ทกุ วันในหมู่ ศรัทธาวัด* อีกทัง้ ในวันธรรมสวนะจะมีผคู้ นไปท�าบุญทีว่ ดั อย่างเนืองแน่น รวมทั้งการส่งลูกหลานเข้าบวชเป็น อ้ายจัว หรือ “สามเณร” เพื่อศึกษา เล่าเรียนในแทบทุกวัด สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความผูกพันระหว่างวัด และชาวบ้านในเมืองหลวงพระบางได้เป็นอย่างดี ดังนั้นวัดในหลวงพระบางจึงยังด�ารงบทบาทเป็นศูนย์รวมจิตใจ และสถานศึกษาของชุมชน ชื่อของหมู่บ้านและชื่อของวัดจึงมักจะมีชื่อ เหมือนกัน เช่น บ้านพระบาทจะมีวัดชื่อวัดพระบาทเป็นศูนย์กลางของ *ศรัทธาวัด หมายถึง ผู้ให้การอุปถัมภ์วัดในชุมชน

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

15


ชุมชน เป็นต้น ในอดีตเมืองหลวงพระบางเคยมีวดั ถึง ๖๕ แห่ง ปัจจุบนั เหลือเพียง ๒๙ แห่ง ๑ ซึ่งในจ�านวนที่เหลือมีเพียง ๓ แห่ง ที่ยังคงรักษา โครงสร้างและการประดับตกแต่งแบบดัง้ เดิมไว้ได้ ๒ นั่นคือ วัดเชียงทอง วัดปากคาน และวัดคีลี ทั้งนี้การเสื่อมสภาพของวัดในหลวงพระบาง มาจากหลายสาเหตุ เช่น สภาพของภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและพายุฝน ท�าให้วัสดุที่สร้างเสื่อมสภาพได้ง่าย รวมไปถึงการเกิดอัคคีภัยที่เผาเมือง หลายครั้ง ที่หนักที่สุดคือการถูกท�าลายจากภัยสงคราม กระนั้นก็ดี ในตัวเมืองหลวงพระบางก็ยังคงพยายามฟื้นฟูและรักษาความงดงาม ของวัด รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาแต่อดีตไว้ให้ลูกหลาน ของตนได้สืบทอดกันต่อไป เมื่อได้เข้าไปชมวัดของที่นี่เชื่อได้เลยว่า แทบทุกคนสามารถที่จะจินตนาการย้อนอดีตเห็นถึงความเจริญอย่างสูง ของการพระศาสนาในอดีตเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านช้างได้อย่าง ง่ายดาย การสร้างวัดหรือสถานทีส่ า� คัญของหลวงพระบางเชือ่ ว่าจะต้องผ่าน กระบวนการเลือกสรรต�าแหน่งที่ตั้งมาก่อน โดยมากแล้วต�าแหน่งที่ สร้างวัดนั้นมักจะเป็นศูนย์กลางของชุมชนหรือเคยเป็นสถานที่ส�าคัญ มาก่อน แม้ปัจจุบันก็ยังคงเห็นสภาพเช่นนี้อยู่ เช่น “พระธาตุจอมศรี” (ทาดจอมสี) ที่ตั้งบนยอดภูษี (พูสี) อันเป็นชื่อเรียกย่อมาจาก ภู (เขา) ของพระ (ฤ) ษี ซึง่ ถือเป็น “ภูเขาศักดิส์ ทิ ธิ”์ ด้วยเคยมีฤๅษีมาบ�าเพ็ญพรต ๓ และตั้งหลักหินก้อนก่ายฟ้าเป็นหลักเขตที่ตั้งเมือง จึงเรียกภูเขานี้ว่าภูศรี หรือภูเขาทีเ่ ป็น “ศรีของเมืองหลวงพระบาง” การเลือกต�าแหน่งทีต่ งั้ เช่นนี้ ท�าให้นึกถึงการเลือกท�าเลที่ตั้งศาสนสถานส�าคัญของภาคเหนือ เช่น “พระบรมธาตุดอยสุเทพ” ที่เลือกดอยสุเทพหรือชือ่ เดิมว่าอุสจุ บรรพต ที่ เชือ่ กันว่าเป็นสถานทีท่ ี่ “ฤๅษีวาสุเทพ” เคยบ�าเพ็ญพรต ให้เป็นที่ตั้งของ พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ของเมืองเช่นกัน จะต่างกันเพียงขนาดและต�าแหน่งที่ ภูศรีเป็นภูเขาขนาดเล็กกลางเมือง ส่วนดอยสุเทพเป็นเทือกเขาขนาดใหญ่

16

ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง


พระธาตุจอมศรี ตัง้ เป็นสง่าบนยอดภูศรี กลางเมืองหลวงพระบาง

สามเณรผูบ้ วชเรียน อยูท่ วี่ ดั ล่องคูน

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

17


อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ จากลักษณะที่ตั้งของเมืองที่เป็นที่ราบระหว่างแม่น�้าและภูเขา จะ เห็นการเลือกท�าเลทีต่ งั้ ของวัดหลายแห่งเป็นเนินดินธรรมชาติเพือ่ เน้นถึง สถานภาพพิเศษของศาสนสถาน เปรียบดังการตัง้ อยูเ่ หนือพืน้ มนุษย์ เช่น วัดเชียงทอง ยิง่ หากเดินทางมาทางน�า้ แล้วขึน้ ทีท่ า่ น�า้ ของวัดเชียงทอง สิง่ แรก ที่เห็นคือบันไดที่ทอดยาวจากตลิ่งสูงขึ้นไป เมื่อก้าวเดินขึ้นไปจะมีความ รูส้ กึ เหมือนกับการเดินขึน้ สูภ่ เู ขา และยิง่ เดินขึน้ ไปสูงก็จะเห็นยอดหลังคา ที่เปล่งประกายสีทองงดงาม เป็นความรู้สึกที่สร้างความประทับใจให้แก่ ผู้มาเยือนทุกราย ทั้งนี้ความคิดเรื่องของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ การตั้งวัดบน ภูเขาหรือบนเนินดินสูงเป็นเรื่องที่พบเห็นแพร่หลายในกลุ่มของคนใน อุษาคเนย์ ไม่วา่ จะเป็นปราสาทหินในประเทศกัมพูชา พระเจดียแ์ บบพม่า ในพุกาม วิหารหลายแห่งทีส่ บิ สองปันนา ต่างก็เลือกท�าเลทีต่ งั้ ในลักษณะ เช่นเดียวกันนี้ และหลายแห่งเชื่อว่าบันไดขึ้นสู่ศาสนสถานเหล่านั้น เปรียบดังทางเชื่อมต่อระหว่างแดนมนุษย์และสวรรค์

การวางทิศทางของวัดในหลวงพระบาง

โดยทั่ ว ไปการวางทิ ศ ทางวั ด ของพุ ท ธศาสนามั ก นิ ย มสร้ า งใน ลักษณะแนวแกนตะวันออก-ตะวันตก คือตัวอาคารทอดยาวทางด้าน ทิศตะวันออก-ตะวันตก หันด้านสกัดหรือด้านหน้าและพระพุทธรูป ประธานไปสู่ทิศตะวันออกซึ่งเป็นทิศมงคลแห่งการตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณ หากแต่ที่หลวงพระบางมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปเล็กน้อย คือ วัดที่เมืองหลวงพระบางจะมีการวางผังวัดที่เยื้องไปเล็กน้อย กล่าวคือ อยู่ในแนวแกนตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าใจว่าคงวางผังโดยยึดแนวแม่น�้า และดูทศิ ทางเป็นหลักผสมกัน ๔ การวางผังลักษณะเช่นนีค้ ล้ายกับอยุธยา ที่นิยมสร้างวัดริมแม่น�้าที่เป็นเส้นทางสัญจรหลัก แต่ต่างกันที่อยุธยาจะ หันหน้าวัดลงทางแม่น�้า เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดกษัตริยาราม เป็นต้น

18

ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง


แต่หลวงพระบางมีแผนผังของเมืองในแนวยาว ดังนั้นตัววัดจึงมักสร้าง ขนานกับแนวยาวของแม่น�้า เช่น วัดปากคาน วัดล่องคูน เป็นต้น วัด ที่อยู่ริมน�้าจะมีท่าน�้าของวัดเพื่อใช้เป็นทางขึ้นลง หากเดินทางไปเมือง หลวงพระบางในฤดูแล้งจะเห็นบันไดท่าน�้าทีท่ อดยาวลงมาสูร่ มิ หาดทราย ได้อย่างชัดเจน แต่เมื่อถึงฤดูน�้าหลากปริมาณน�้าในแม่น�้าโขงที่มีอย่าง ท่วมท้น ท�าให้บนั ไดท่าน�า้ ทีเ่ คยเห็นทอดตัวสูงในยามหน้าแล้งนั้นแทบจะ มองไม่เห็นเลยเพราะจมอยู่ใต้กระแสน�้าโขงจนมิด

องค์ประกอบของศาสนสถานเมืองหลวงพระบาง

การสร้างวัดของหลวงพระบางมีการแบ่งเขตวัดออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาส เช่นเดียวกับวัดในพุทธศาสนาโดย ทั่วไป เขตพุทธาวาส เป็นเขตส�าคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและเป็น เขตทีผ่ คู้ นเข้ามาประกอบการบุญ จึงประกอบไปด้วยอาคารทีใ่ ช้เป็นพืน้ ที่ ประกอบการบุญ โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ซึง่ ในที่นกี้ ็คอื วิหาร ที่ ชาวหลวงพระบางเรียกว่า อาราม หรือ สิม และพระธาตุเจดีย์ (ทาด) ที่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุหรืออัฐิของกษัตริย์และเจ้านาย เขตสังฆาวาส เป็นเขตส�าคัญรองลงมา จะเป็นพื้นที่เกี่ยวข้อง กับพระภิกษุสงฆ์ จึงประกอบไปด้วย กุฏิสงฆ์ (กะดี) หอกลอง หอฉัน เป็นต้น เมื่อชาวบ้านมาท�าบุญที่วัดก็คือการมายังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ภาพ ทีเ่ ห็นจนชินตาคือภาพทีช่ าวบ้านพากันถอดรองเท้าตัง้ แต่ประตูโขงหน้าวัด เพื่อมาท�าบุญ การแสดงความนอบน้อมเช่นนี้เคยเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ของคนไทยในอดี ต ที่ แ ทบจะไม่ พ บเห็ น กั น แล้ ว ในปั จ จุ บั น นอกจาก ธรรมเนียมปฏิบัติอันงดงามนี้แล้ว องค์ประกอบของศาสนสถานของ หลวงพระบางยังมีความน่าสนใจไม่น้อยองค์ประกอบเหล่านั้น ได้แก่

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

19


โรงเรือของวัดปากอู

โรงเรือ เป็นองค์ประกอบที่บ่งชี้ถึงการที่ชาวหลวงพระบางให้ ความส�าคัญแก่แม่น�้าที่ใช้เป็นเส้นทางสัญจร ในช่วงหน้าแล้งทุกปีจะมี ประเพณีการแข่งเรือที่แม่น�้าคาน ถือเป็นประเพณีส�าคัญของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งทุกวัดจะน�าเรือของหมู่บ้านตนมาแข่งขัน จึงต้องมีการสร้าง โรงเก็บเรือที่มีความยาวไว้มุมหนึ่งของวัด บางวัดจะน�ามาเก็บไว้ที่ปีกนก ด้านข้างของสิม จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบทางศาสนสถานของหลวงพระบางนั้น มีหลากหลาย ซึ่งแต่ละอย่างมีหน้าที่แตกต่างกันไป มีทั้งที่สร้างเพื่อการ ใช้สอยจริงและการสร้างเพื่อเป็นสัญลักษณ์ เมื่อพิจารณาลึกลงไปจะพบ ความน่าสนใจอยูไ่ ม่นอ้ ย เพราะองค์ประกอบเหล่านีต้ า่ งเล่าเรือ่ งราวความ สัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชนโดยรอบ ทีส่ ะท้อนให้เห็นถึงวิถชี วี ติ ความคิด ความเชือ่ อันเป็นทีม่ าของวัฒนธรรมของชาวหลวงพระบาง ทีแ่ ทบจะไม่ตา่ ง ไปจากวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมของชาวล้านนาและ สิบสองปันนาที่เคยเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันอย่างไม่มีข้อกังขา

36

ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง


บทที่ ๓

แบบแผนของสิมหลวงพระบาง

รูปแบบและลักษณะของสิมหลวงพระบางเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ด้วยรูปทรง และการประดับตกแต่งที่ดูคล้ายกับโบสถ์วิหารของไทย สิมบางหลัง ดูละม้ายกับวิหารล้านนาเป็นอย่างมาก สิมหลวงพระบางในอดีตล้วน สร้างด้วยไม้แกะสลักลวดลายทั้งหลัง อีกทั้งยังมีรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถของบรรดาช่างฝีมอื ทีบ่ รรจงสร้างสรรค์ผลงาน ความแตกต่างของรูปแบบเหล่านีส้ ามารถบ่งชี้ให้เห็นถึงยุคสมัยรวมไปถึง อิทธิพลของกลุ่มชนต่างๆ ที่มีต่อการสร้างได้เป็นอย่างดี โดยทัว่ ไปสิมหลวงพระบางมีลกั ษณะเช่นเดียวกับสิมในภาคอีสาน หรือโบสถ์ของล้านนาที่นิยมสร้างเป็นแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืน ผ้า และใช้ เสาภายในเป็นตัวแบ่งพื้นที่ห้องภายใน ห้องในด้านยาวหน้า-หลังสิม เรียกว่า ห้องลอย ส่วนใหญ่นิยมสร้างห้องลอย ๓ ห้อง หากเป็นวัด ขนาดใหญ่มกั จะมีหอ้ งลอย ๕ ห้อง หากเป็นวัดเล็กก็จะมีเพียงห้องเดียว โดยมากบริ เ วณตรงกลางของท้ า ยห้ อ งลอยใช้ เ ป็ น ส่ ว นประดิ ษ ฐาน พระประธาน ส่วนห้องทางแนวกว้าง เรียกว่า ห้องขวาง นิยมสร้างตัง้ แต่ ๓ ห้องขึ้นไป ส่วนมุขโถงด้านหน้าของสิม เรียกว่า เซีย

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

37


ห้องขวาง

ห้องลอย

แผนผังของสิมหลวงพระบาง ประกอบด้วย ห้องลอย คือ ห้องของสิมในแนวยาว ห้องขวาง คือ ห้องของสิมในแนวกว้าง เซีย คือ มุขด้านหน้าของสิม

เซีย

แผนผังของสิมหลวงพระบาง

แบบแผนของสิมหลวงพระบาง สิมที่สร้างในเมืองหลวงพระบางมีอยู่เป็นจ�านวนมากและมีความ หลากหลายที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งส� าหรับคนไทย รูปแบบของสิมที่นี่ดูคล้ายกับวิหารในหลายดินแดนของคนไทย ไม่ว่าจะ

38

ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง


เป็ น ในภาคเหนื อ ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ และรวมไปถึ ง แบบใน กรุงเทพมหานคร ความหลากหลายนี้เองที่เป็นจุดเด่นของสิมในเมือง หลวงพระบาง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นความสัมพันธ์อย่างปฏิเสธไม่ได้ ในความเป็นบ้านพี่เมืองน้องระหว่างลาวกับไทย แบบแผนของสิมที่สร้างในเมืองหลวงพระบางนี้สามารถจ�าแนก รูปแบบได้ ๕ ประเภท ตามลักษณะรูปทรงอาคารและแหล่งอิทธิพล การ จ�าแนกนีเ้ ป็นการขยายรูปแบบเพิม่ เติมจากการศึกษาของนักวิชาการลาว ทีจ่ า� แนกจากลักษณะของแหล่งอิทธิพลไว้ ๓ รูปแบบ คือ ๑. แบบหลวงพระบางดั้งเดิม ๒. แบบเชียงขวาง ๓. แบบเวียงจันทน์ ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า แบบแผนของสิมที่เมืองหลวงพระบาง มิได้จา� กัดอยูเ่ พียงเท่านี้ หากแต่ปรากฏถึงความสัมพันธ์กบั ดินแดนอืน่ อีก เช่นดินแดนสิบสองปันนาทีม่ เี ขตแดนติดต่อกัน ๑ หรือการเข้าไม้โครงสร้าง เช่นเดียวกับโบสถ์วหิ ารสุโขทัย หรือมีองค์ประกอบหลายอย่างทีค่ ล้ายกับ ล้านนาจึงได้วิเคราะห์เพิ่มเติมอีก ๒ รูปแบบ คือ แบบที่ ๔. แบบไทลื้อ และแบบที่ ๕. แบบผสมผสาน ซึ่งเป็นพัฒนาการของสิมในช่วงหลังสุด ทีน่ า� ความเด่นของสิมแบบต่างๆ ไม่วา่ แบบหลวงพระบางดัง้ เดิม มาผสาน กับแบบเวียงจันทน์ แบบไทลื้อเกิดเป็นรูปแบบใหม่ที่โดดเด่นและเป็น เอกลักษณ์ที่งดงามมาจนปัจจุบัน ดังนั้นรูปแบบของสิมหลวงพระบางที่จ�าแนกตามลักษณะเด่นจึง สามารถแบ่งได้เป็น ๕ รูปทรง คือ ๑. สิมทรงหลวงพระบาง ๒. สิมทรงเชียงขวาง ๓. สิมทรงเวียงจันทน์ ๔. สิมทรงไทลื้อ ๕. สิมทรงผสมผสาน

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

39


ลายเส้นเปรียบเทียบสิม ๕ ลักษณะ ทั้งห้าประเภทที่กล่าวมา จะมีหลังคาทรงจั่วเป็นหลัก แต่แตกต่างกันที่ขนาดของจั่ว การใช้ปีกนก ด้านข้างหรือใช้ปีกนกล้อมรอบทั้งสี่ด้าน เมื่อมีการสร้างสิมจ�านวนมาก ต่างก็ต้องหาลักษณะเฉพาะของตน สิ่งหนึ่งที่สามารถเห็นได้ถึงความ แตกต่างก็คือ การซ้อนชั้นของหลังคาและหลังคาปีกนก (เทิบ) ทั้งนี้ ยุคสมัยในการสร้างก็เป็นตัวแปรส�าคัญที่มีต่อรูปแบบของสิม สิมที่มี การประดับตกแต่งมากจะเป็นสิมที่สร้างมาตั้งแต่สมัยโบราณหรือเป็น วัดส�าคัญที่กษัตริย์สร้าง ส่วนสิมขนาดเล็กจะเป็นวัดที่ราษฎร พ่อค้า เศรษฐีสร้าง โดยดัดแปลงจากแบบของวัดหลวงแต่ไม่สามารถประดับ ตกแต่งให้ทดั เทียมได้ ทัง้ นีค้ งเนือ่ งมาจากความเชือ่ ในเรือ่ ง “ฐานานุศกั ดิ”์ ของสถาปัตยกรรมที่ยังคงมีอยู่ในหมู่ช่างนั่นเอง นอกจากนี้สิมทั้งห้าประเภทยังมีความแตกต่างในเรื่องของอายุ และแผนผัง รวมถึงรายละเอียดทางศิลปกรรม กล่าวคือ สิมทรงหลวงพระบาง เป็นสิมรุน่ เก่าทีส่ ดุ แสดงความสัมพันธ์กบั อาณาจักรล้านนาและสุโขทัยของไทยมาก สิมทรงเชียงขวาง จะมีความคล้ายคลึงกับสิมรุ่นเก่าในภาคอีสาน ของไทย ก่อนที่จะถูกรื้อถอนสร้างใหม่จนเกือบหมด สิมทรงเวียงจันทน์ เป็นสิมทีส่ ร้างเมือ่ ราว ๑๐๐ ปีทแี่ ล้ว แสดงออก ถึงลักษณะของความเพรียวสูงและดูเฉียบขาด แตกต่างไปจากความรูส้ กึ อ่อนช้อยแบบสิมหลวงพระบาง ลักษณะทางศิลปกรรมโดยรวมจะคล้ายคลึง กับงานศิลปะรัตนโกสินทร์ สิมทรงไทลือ้ เป็นสิมอีกแบบทีพ่ บ แม้นกั วิชาการจะไม่คอ่ ยกล่าวถึง สิมแบบนี้ หากแต่ในทางประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างล้านช้าง และสิบสองปันนานัน้ ก็เปรียบเสมือนบ้านพีเ่ มืองน้องเช่นเดียวกับล้านช้าง และล้านนา ในอดีตกษัตริย์แห่งล้านช้างได้เคยไปสู่ขอพระราชธิดาแห่ง กษัตริยเ์ ชียงรุง่ ท�าให้มขี า้ ราชบริพารติดตามการเสด็จมาเป็นจ�านวนมาก

54

ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง


เปรียบเทียบรูปทรง ของสิม ๕ รูปแบบ

เปรียบเทียบลักษณะด้านหน้า ของสิม ๕ รูปแบบ สิมทรงหลวงพระบาง วัดเชียงทอง

สิมทรงเชียงขวาง วัดคีลี

สิมทรงเวียงจันทน์ วัดป่ารวก

สิมทรงไทลื้อ วัดปากคาน

สิมทรงผสมผสาน วัดใหม่สุวรรณภูมาราม

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

55


จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีงานสถาปัตยกรรมแบบสิบสองปันนามาผสม ผสานกับงานในล้านช้าง ทัง้ นีช้ าวไทลือ้ ยังเชือ่ ว่าตนเป็นผูส้ อนให้ชาวลาว ทอผ้า เนื่องจากชาวไทลื้อมีฝีมือและพัฒนาการทอผ้าได้ก่อนล้านช้าง เพราะได้รับความรู้มาจากพวกจีน สิมทรงผสมผสาน เป็นสิมที่สร้างมานานกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว สิม แบบนี้เป็นการผสมผสานแบบศิลปกรรมของสิมได้ลงตัวมากทั้งในด้าน ความงาม สัดส่วน และการประดับตกแต่งทีย่ ากจะเลียนแบบได้ในบางวัด เช่นวัดใหม่สวุ รรณภูมาราม มีความลงตัวในการผสานรูปแบบจนได้รบั การ ยกย่องว่ามีความสวยงามมาก สิมแบบผสมผสานนี้เป็นแบบที่พบมาก ทีส่ ดุ ในหลวงพระบาง ทัง้ นีเ้ พราะในช่วง ๔๐ ปี มานีม้ กี ารสร้างสิมหลังใหม่ แทนทีห่ ลังเก่าทีถ่ กู ท�าลายลงไปด้วยภัยสงคราม เชือ่ ว่าช่างชาวหลวงพระบาง ได้พยายามทีจ่ ะน�ารูปแบบของสิมแบบหลวงพระบางดัง้ เดิมมาใช้ หากแต่ ความรูเ้ รือ่ งงานช่างรุน่ เก่าก็ลดน้อยลง วัสดุทสี่ ร้างก็เปลีย่ นไป เทคนิคของ การสร้างหลังคาอ่อนโค้งที่ต้องใช้ไม้ขนาดใหญ่ก็เป็นเรื่องยาก มีการ พัฒนาน�าปูนซีเมนต์มาใช้ในการก่อสร้าง การแกะสลักที่เคยท�ากันมาก ในอดีตจึงถูกเปลี่ยนแปลง รูปแบบของสิมจึงเป็นการผสมผสานระหว่าง ของเดิมและแบบใหม่ทสี่ ร้างง่ายกว่า แต่กย็ งั คงแสดงลักษณะเฉพาะของ สิมหลวงพระบางยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี ส�าหรับคนไทยแล้วเมื่อดูสิมที่หลวงพระบางจะเห็นถึงสายใยของ ความสัมพันธ์กนั ทัง้ สิมแบบหลวงพระบางทีม่ คี วามคล้ายกับวิหารล้านนา หรือสิมแบบเวียงจันทน์ที่คล้ายกับวิหารในกรุงเทพมหานคร หากแต่ มีขนาดและสัดส่วนที่ย่อมลงมากกว่ามาก นอกจากนั้นยังคล้ายกับทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทัง้ นีค้ า� ศัพท์ตา่ งๆ ทีเ่ รียกชือ่ องค์ประกอบของ สิมดูจะเป็นค�าเดียวกับทีใ่ ช้ในไทย สิมจึงเป็นงานสถาปัตยกรรมทีส่ ามารถ เชื่อมโยงผู้คนสองฝั่งโขงเข้าด้วยกันโดยไม่ยาก

56

ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง


องค์ประกอบของเครื่องประดับตกแต่งสิมหลวงพระบาง องค์ประกอบของสิมที่หลวงพระบางมีจ�านวนมาก และมีความ คล้ายคลึงกับองค์ประกอบประดับอุโบสถ-วิหารของไทย หากแต่มชี อื่ เรียก ทีแ่ ตกต่างไป องค์ประกอบบางชนิดจะมีรปู แบบทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ รวมถึง มีความหมายทีน่ า่ สนใจ ทัง้ นีก้ ารทีจ่ ะเข้าใจรูปแบบของสิมหลวงพระบาง จ�าเป็นทีจ่ ะต้องเข้าใจในองค์ประกอบทีป่ ระดับตกแต่ง ซึง่ แฝงความหมาย ต่างๆ ได้แก่

แป้นลม (ป้านลม) สีหน้า (หน้าบัน) ดอกฮวงเผิ้ง (รวงผึ้ง) แขนนาง (คันทวย)

สัตตะบูริพัน (ช่อฟ้าลาว) โหง่ (ช่อฟ้า) เทิบ/หลั่น (ผืนหลังคา) ป่องเยี่ยม (หน้าต่าง)

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

57


บทที่ ๔

วัดในหลวงพระบาง ที่น่าสนใจ

ในบทนี้ จ ะกล่ า วถึ ง วั ด ที่ น ่ า สนใจในเมื อ งหลวงพระบาง และบริ เ วณ ใกล้เคียงจ�านวน ๓๓ แห่ง โดยจะให้รายละเอียดที่ตั้ง ประวัติวัด และ สิ่งก่อสร้างส�าคัญที่น่าสนใจของแต่ละวัด อันจะท�าให้เข้าใจลักษณะทาง ศิลปะและสถาปัตยกรรมของหลวงพระบางที่ยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

๑ วัดปากคาน ทีต่ งั้ วัดปากคานตัง้ อยูร่ ะหว่างทิวทัศน์ทสี่ วยงามของแม่นา�้ โขงและน�า้ คาน ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองหลวงพระบาง ประวัติ ชื่อของวัดนี้มาจากที่ตั้งวัดซึ่งอยู่ตรงปากแม่น�้าคานที่เชื่อมต่อ สูน่ า�้ โขง ไม่มกี ารกล่าวถึงประวัตมิ ากนัก มีเพียงค�าบอกเล่าทีว่ า่ วัดนีส้ ร้าง ขึน้ ในปี พ.ศ. ๒๒๘๐ โดยพระยาจันทร์เทพตรงกับรัชสมัยของเจ้าอินทโสม ต่อมาวัดนี้ก็ถูกทิ้งร้างไป และชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงร่วมกันบูรณะ ขึ้นใหม่ จากลักษณะรูปแบบของศิลปกรรมเชื่อว่าเป็นแบบที่ซ่อมขึ้นใน ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๕ สิ่งก่อสร้างส�าคัญ พุทธสีมา

88

ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง


สิมแบบไทลือ้ วัดปากคาน เด่นด้วยลักษณะหลังคาทีแ่ บ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนหน้าจัว่ และส่วนปีกนกคลุมอาคาร ใช้คา�้ ยันแบบยาวหลายตัว กระจายการรับน�า้ หนักจากหลังคา

พุทธสีมา สิมของวัดปากคานมีลักษณะเป็นทรงไทลื้อคล้ายกับ วัดธาตุหลวง กล่าวคือ มีแผนผังเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า กว้าง ๓ ห้องขวาง และยาว ๖ ห้องลอย หลังคาด้านบนเป็นทรงจั่ว แยกจากหลังคาปีกนก ที่คลุมรอบสิมทั้งสี่ด้านด้วยแผงไม้ยาวที่เรียกว่า คอสอง ลักษณะของ หลังคาเช่นนี้นับว่าเป็นลักษณะเด่นของวิหารทรงไทลื้อที่หลวงพระบาง ดังนัน้ ช่อฟ้า (โหง่) จึงมีเพียง ๒ ตัวทีด่ า้ นบนของจัว่ ด้านหน้าและด้านหลัง สิม ส่วนสันหลังคาปีกนกท�าเป็นพญานาคทอดตัวลงมาทั้งสี่มุม

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

89


๓ วัดเชียงทอง ที่ตั้ง บนถนนสักรินทร์ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหลวงพระบาง เยื้องกับวัดคีลี ประวัติ วัดเชียงทองเป็นวัดทีเ่ ก่าแก่มากวัดหนึง่ ของหลวงพระบาง สร้าง ราว พ.ศ. ๒๑๐๒-๒๑๐๓ โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ผู้ครอง อาณาจักรล้านนาและล้านช้าง ก่อนที่พระองค์จะย้ายเมืองหลวงไปยัง นครเวียงจันทน์ไม่นานนัก วัดนี้ถือเป็น “วัดประตูเมือง” ทั้งยังเป็นท่า เทียบเรือด้านเหนือ ๔ ส�าหรับการเสด็จประพาสทางชลมารคของกษัตริย์ หลวงพระบาง รวมถึงนักเดินทางจากต่างดินแดนที่เดินทางมาทางเรือ วัดเชียงทองจึงได้รับการอุปถัมภ์มาโดยตลอด โดยเฉพาะในสมัยเจ้า มหาชีวติ ศรีสว่างวงศ์และเจ้ามหาชีวติ ศรีสว่างวัฒนา กษัตริยส์ องพระองค์ สุดท้ายของลาวด้วย นอกจากนี้วัดเชียงทองยังเป็นวัดหนึ่งที่รอดพ้นจาก อัคคีภัยครั้งใหญ่ที่เผาผลาญเมืองในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ สิ่งก่อสร้างส�าคัญ ซุ้มประตูโขง พระธาตุ พุทธสีมา หอไหว้น้อย หอไหว้สีกุหลาบ หอไหว้หลังสิม หอกลอง หอราชโกศเจ้ามหาชีวิต ศรีสว่างวงศ์ พุ ท ธสี ม า ในบรรดาวั ด ทั้ ง หมดของหลวงพระบาง สิ ม ของวั ด เชียงทองได้รับยกย่องว่ามีความงดงามและได้รับการกล่าวขานมากที่สุด เปรียบประดุจอัญมณีแห่งงานสถาปัตยกรรมลาว สิมของวัดนี้ถือว่าเป็น แบบหลวงพระบางแท้ สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน มีโครงสร้างทีไ่ ม่สงู นัก ตามแบบฉบับหลวงพระบาง งดงามด้วยสัดส่วนและการประดับตกแต่ง สิง่ ทีเ่ ด่นมากคือหลังคาซ้อน ๓ ตับ ซึง่ ดัดอ่อนโค้งและลาดต�่าลงมามาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝนสาด บนกลางสันหลังคามีการท�า “ช่อฟ้า” รูปเขา พระสุเมรุและทิวเขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมรอบ ๗ ชั้น รองรับด้วยปลา

96

ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง


อานนท์ อันเป็นการจ�าลองจักรวาลตามคติทางพุทธศาสนา เช่นเดียว กับที่ปรากฏในจิตรกรรมของล้านนาและอยุธยา หน้าบันแกะสลักเป็น รูปดอกตาเว็นหรือลายดวงอาทิตย์ ที่ดูคล้ายลายดอกจอกของไทย เมื่อ เดินขึ้นบนสิมจะพบกับมุขโถงด้านหน้ากว้าง ใช้ส�าหรับเป็นที่วางเครื่อง บวชและทีน่ งั่ ของศรัทธาทีม่ าท�าบุญ บางครัง้ เมือ่ มีแขกคนส�าคัญมาเยือน จะใช้เป็นที่ท�าพิธีผูกขวัญข้อมืออีกด้วย ผนังด้านนอกทิศเหนือทางแม่น�้า โขงมีเศียรช้างชูงวงประดับกระจก ใช้เป็นช่องให้น�้าพระพุทธมนต์ที่รด ผ่านรางรดสรงมายังพระพุทธรูปในสิม ไหลผ่านท่อที่ฝังไว้และไปออกที่ เศียรช้าง เพื่อให้ประชาชนน�าน�้ามนต์ศักดิ์สิทธิ์นี้ไปประพรมร่างกายเพื่อ ความเป็นสิริมงคลในวันสงกรานต์

สิมวัดเชียงทอง ด้านข้างมีหอไตรขนาดเล็ก เรียกว่า หอไหว้นอ้ ย

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

97


รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

ราคา ๒๑๐ บาท

ISBN 978-974-7727-79-1

หมวดศิลปะ

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

เรียนรู้เรื่องราวของประเทศเพื่อนบ้านในประชาคมอาเซียน ผ่านงานศิลปะและสถาปัตยกรรม ชื่นชมสถาปัตย์ วัดในหลวงพระบาง หนังสือที่ให้ความรู้และรายละเอียดด้านศิลปะ และสถาปัตยกรรมของ ๓๓ วัดสำาคัญในเมืองหลวงพระบาง อดีตราชธานีอันรุ่งเรืองแห่งอาณาจักรล้านช้าง ที่สะท้อนความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างไทย-ลาว ผ่านงานสถาปัตยกรรมของเมืองมรดกโลกริมแม่น้ำาโขงแห่งนี้

ชื่นชมสถาปัตย์

วัดในหลวงพระบาง

วั ด ในหลวงพระบาง

ชื่นชมสถาปัตย์

ชื่นชมสถาปัตย์

วัดในหลวงพระบาง รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.