พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน

Page 1

พจนานุกรม

หัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน

ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  อดีตศาสตราจารย์ประจำาหมวดวิชาทัศนศิลป์  คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์  สาขาวิชาจิตรกรรม

ศาสตราจารย์ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ

นั ก วิ ช าการด้ า นศิ ล ปวั ฒ นธรรมและศิ ล ปิ น ที่ สร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปกรรมจัดแสดงใน ประเทศและต่างประเทศ  ผู้เขียนสนใจและ เชี่ยวชาญในศิลปะไทย งานหัตถกรรมพื้นบ้าน  มีผลงานเขียนทางวิชาการและหนังสือมากกว่า  ๔๐ เล่ม หลายเล่มได้รับรางวัล เช่น  ศิ ล ปะชาวบ้ า น ได้ รั บ รางวั ล ดี เ ด่ น  ประเภทหนังสือสารคดี ประจำาปี พ.ศ. ๒๕๑๙  จากสมาคมผู้ ผ ลิ ต และจำ า หน่ า ยหนั ง สื อ แห่ ง ประเทศไทย และคณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ หนังสือ    ศิ ล ปะน่ า รู้ ใ นสองศตวรรษ ได้ รั บ รางวัลดีเด่น ประเภทหนังสือสารคดี ประจำาปี  พ.ศ. ๒๕๒๕ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ แห่งชาติ     หนั ง สื อ ชุ ด พจนานุ ก รมของผู้ เ ขี ย นที่ จัดพิมพ์โดยสำานักพิมพ์เมืองโบราณ ได้แก่   • พจนานุกรมหัตถกรรม      เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน    • พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ    • พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย

หมวดพจนานุกรม

ISBN 978-616-7767-64-2

ราคา ๔๘๐ บาท

๔๘๐.-

พจนานุกรม

หัตถกรรม  เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ


2  พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน

ISBN  978-616-7767-64-2 หนังสือ  พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน ผู้เขียน  ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ภาพประกอบ  ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ พิมพ์ครั้งแรก  กันยายน  ๒๕๔๖ พิมพ์ครั้งที่ ๔  ตุลาคม  ๒๕๕๘ (ปรับปรุงใหม่) จำานวนพิมพ์  ๒,๐๐๐ เล่ม ราคา  ๔๘๐ บาท  สงวนลิขสิทธิ์โดยสำานักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด บรรณาธิการเล่ม  ออกแบบปก/รูปเล่ม  ควบคุมการผลิต  แยกสี/เพลท  พิมพ์ที่  จัดพิมพ์  จัดจำาหน่าย

อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ นัทธินี สังข์สุข  ธนา วาสิกศิริ  เอ็นอาร์ฟิล์ม  โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์  โทร. ๐-๒๖๙๙-๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด (สำานักพิมพ์เมืองโบราณ) บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด  ๒๘, ๓๐ ถ.ปรินายก แขวงบ้านพานถม  เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ)  โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ   วิบูลย์ ลี้สุวรรณ.     พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน.     - - กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๘.     ๔๑๖ หน้า.     ๑. ศิลปหัตถกรรมไทย- -พจนานุกรม. I. ชื่อเรื่อง.   ๗๔๕.๕๐๓   ISBN 978-616-7767-64-2 สำานักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ)  โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓  ทีป่ รึกษา ศรีศกั ร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช  สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  ผู้อำานวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำานวย การฝ่ายศิลป์ จำานงค์ ศรีนวล  บรรณาธิการสำานักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์  ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  3

สารบัญ

คำานำาสำานักพิมพ์  คำานำาผู้เขียน (พิมพ์ครั้งที่ ๔)  บทนำา

๔ ๕ ๖

อักษร ก ..................................................................... ๒๔ อักษร ข ..................................................................... ๙๙ อักษร ค .................................................................. ๑๒๐ อักษร ฅ .................................................................. ๑๕๙ อักษร ฆ ................................................................... ๑๖๐ อักษร ง ................................................................... ๑๖๓ อักษร จ .................................................................. ๑๖๗ อักษร ฉ .................................................................. ๑๗๙ อักษร ช ................................................................... ๑๘๒ อักษร ซ ................................................................... ๑๙๔ อักษร ฌ .................................................................. ๒๐๘ อักษร ฐ ................................................................... ๒๑๐ อักษร ด ................................................................... ๒๑๑ อักษร ต ................................................................... ๒๑๔ อักษร ถ .................................................................. ๒๕๒ อักษร ท ................................................................. ๒๕๗ อักษร ธ ................................................................... ๒๖๑ อักษร น .................................................................. ๒๖๔ อักษร บ ................................................................... ๒๖๘ อักษร ป ................................................................. ๒๗๗ อักษร ผ .................................................................. ๒๙๑ อักษร ฝ .................................................................. ๒๙๖ อักษร พ .................................................................. ๒๙๘ อักษร ฟ .................................................................. ๓๐๖ อักษร ภ ................................................................... ๓๐๘

อักษร ม ................................................................... ๓๐๙ อักษร ย .................................................................. ๓๑๗ อักษร ร ................................................................... ๓๒๑ อักษร ล ................................................................... ๓๓๐ อักษร ว ................................................................... ๓๔๘ อักษร ศ ................................................................... ๓๕๑ อักษร ส .................................................................. ๓๕๒ อักษร ห .................................................................. ๓๗๔ อักษร อ ................................................................... ๔๐๕ อักษร ฮ ................................................................... ๔๑๔


6  พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน

บทนำา

การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ วิ ถี ชี วิ ต มนุ ษ ย์ นั้ น น่ า สนใจ ตั้ ง แต่ กำ า เนิ ด ของมุ ษ ย์   พั ฒ นาการด้ า นการดำา รงชี วิ ต  การรวมกลุ่ ม  การสร้ า งบ้ า นสร้ า งเมื อ ง   การก่อตัวทางวัฒนธรรม เฉพาะการดำารงชีพของมนุษย์ซึ่งพัฒนาเรื่อย  มาเป็นลำาดับ  จากการอาศัยอยู่ตามถำ้า เพิงผา ล่าสัตว์ เก็บพืชและผลไม้  เป็นอาหาร มาเป็นการสร้างที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง นำ าสัตว์มาเลี้ยง  ไว้ใช้งานและเป็นอาหาร เปลี่ยนจากการทำาไร่เลื่อนลอยมาเป็นการตั้ง  ถิ่นฐานอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ หมู่บ้าน เมือง จนถึงเป็นอาณาจักร  เมื่อ  มนุษย์เปลี่ยนสภาพจากการดำารงชีวิตตามธรรมชาติมาเป็นการดำารงชีวิต  ด้วยการผลิตปัจจัยสี่เพื่อยังชีพ  มนุษย์จึงต้องสร้างงาน “หัตถกรรม”  (crafts, handicrafts) เพื่อใช้เป็น “เครื่องมือเครื่องใช้” ในการดำารงชีพ  ตั้งแต่การนำาหินมากะเทาะเป็นเครื่องมือ หินกะเทาะ  และพัฒนามาเป็น หินขัดให้เรียบใช้เป็นขวานอย่างที่เรียก ขวานฟ้า  ปั้นดินเป็นภาชนะแล้ว เผาทำาให้ได้ภาชนะดินเผาและเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปแบบและประโยชน์  ใช้สอยหลากหลาย  นำาเถาวัลย์ ต้นพืช มาสานเป็นภาชนะจักสาน  งาน  หัตถกรรมเหล่านี้เป็นหลักฐานสำาคัญแสดงให้เห็นสภาพการดำารงชีพ การ  ทำามาหากิน การสร้างที่อยู่อาศัย การทำ าเครื่องนุ่งห่ม จนถึงเครื่องมือ  เครื่องใช้ที่ช่วยบำาบัดอาการเจ็บป่วย เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ซึ่งใช้  วัสดุ กลวิธี รูปแบบ ต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศ ความเชื่อ ขนบ-  ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละเผ่า แต่ละกลุ่มชน แต่ละยุคตั้งแต่   สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน   เครื่องมือเครื่องใช้ของคนไทยแตกต่างจากเครื่องมือเครื่องใช้  ของชนกลุ่ ม อื่ น  ชนชาติ อื่ น  เพราะเครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ ข องคนไทยเกิ ด  จากความคิ ด สร้ า งสรรค์ ที่ มี พื้ น ฐานจากสภาพภู มิ ป ระเทศ ภู มิ อ ากาศ   ขนบประเพณี ความเชื่อ และวัฒนธรรมไทย  เครื่องมือเครื่องใช้ของไทย  หลายชนิดสะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาที่แยบยลน่าสนใจอย่างยิ่ง   ปัจจุบันเครื่องมือเครื่องใช้หลายชนิดกำาลังจะสูญหายไปตาม  กาลเวลา เพราะไม่สนองการใช้สอยและสภาพการดำารงชีวิตที่เปลี่ยนไป   ดั ง นั้ น การให้ ค วามรู้ แ ก่ เ ยาวชนผ่ า นหนั ง สื อ จึ ง มี ค วามสำ า คั ญ อย่ า งยิ่ ง  เพราะนอกเหนือจากการให้ความรู้แล้ว หนังสือยังเป็นบันทึกภูมิปัญญา  ที่สำาคัญ

วิวัฒนาการของเครื่องมือเครื่องใช้     เครื่องมือ  ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ หมอบรัดเลย์ ๑ พ.ศ.    ๒๔๑๖ อธิ บ ายว่ า  เครื่ อ งมือ คือเครื่องที่สำ าหรับใช้ด้วยมือนั้น , เหมือน


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  7

อย่างสิ่ว, ขวาน กบ เลื่อย เปนต้น. เครื่องใช้, คือเครื่องภาชนะทั้งปวง  ที่สำาหรับใช้สอยนั้นเอง, เหมือนอย่าง โต๊ะ โตก เปนต้นนั้น. พจนานุกรม ฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิ บ ายว่ า  เครื่ อ งมื อ  น. สิ่ ง ของ สำาหรับใช้ในการประดิษฐ์ สร้างหรือทำา, โดยปริยายหมายถึงคนหรือสิ่งที่ ใช้ทำาประโยชน์อย่างเครื่องมือ  ส่วนคำาว่า เครื่องใช้ หมายถึง สิ่งของ สำาหรับใช้การต่างๆ โดยทั่วไป คำาว่า เครื่องมือ กับ เครื่องใช้ มักเป็นคำา คู่กัน เพราะบางสิ่งเป็นทั้งเครื่องมือและเครื่องใช้ไปพร้อมๆ กัน เช่น มีด  ใช้ตดั  ผ่าไม้ และใช้เป็นเครือ่ งมือแปรรูปวัตถุดบิ เพือ่ นำามาทำาสิง่ ต่างๆ ด้วย   ในขณะเดียวกันมีดก็เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำาวันด้วย เช่น ใช้ตัดต้นไม้  ถางหญ้า ผ่าฟืน เป็นต้น  กล่าวโดยสรุป เครื่องมือเครื่องใช้คือสิ่งที่ทำาขึ้น ด้วยวัสดุต่างๆ ให้มีรูปแบบสอดคล้องกับการใช้สอย สารานุกรมภาษา อังกฤษอธิบายคำ าว่า Tools ไว้คล้ายกันคือ สิ่งประดิษฐ์สำาหรับใช้สอย โดยตรง ทำาจากวัสดุต่างๆ ให้มีรูปทรงตามการใช้สอย   เครื่องมือเครื่องใช้เก่าแก่ที่สุดในโลกพบเมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๙  ตอน เหนือของประเทศเคนยา (Kenya) ในทวีปแอฟริกา อายุประมาณกว่า ๒ ล้านปี๒ เป็นก้อนหินที่มนุษย์นำามาใช้ทุบผลไม้ สับเนื้อสัตว์เป็นอาหาร  โดยเลื อ กหิ น ที่ มี รู ป ทรงเหมาะสมและขนาดเหมาะมื อ โดยไม่ ดั ด แปลง  รูปทรงของหินให้ต่างไปจากเดิม  ก้อนหินเหล่านี้เป็นเครื่องมือของมนุษย์  ยุคแรกๆ ก่อนที่มนุษย์ทำา (manmade) ให้รูปทรงเปลี่ยนไปจากธรรมชาติ  เช่น กะเทาะหินให้แหลมด้วยการต่อยหินให้แตก โดยใช้มือข้างหนึ่งจับหิน  หรือเอามือกดหินไว้กับต้นขา หรือวางลงบนทั่งหิน แล้วทุบด้วยก้อนหิน  หมอบรัดเลย์หรือนายแพทย์แดนบีช แบรดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley M.D. 18041871) มิชชันนารีชาวอเมริกัน เดินทางเข้ามาใช้ชีวิตในประเทศสยามสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็น  ผู้นำาการแพทย์แบบตะวันตกมารักษาชาวสยามในสมัยนั้น เช่น การปลูกฝี การฉีดวัคซีน  ปลูกฝี และการผ่าตัด เป็นต้น  นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ยังสนใจการพิมพ์ จึงสั่งแท่นพิมพ์   จากสิงคโปร์มาพิมพ์หนังสือ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) ซึง่ เป็นหนังสือพิมพ์ ข่าวสั้นๆ ภาษาอังกฤษ ออกเดือนละ ๒ ครั้ง ออกจำ าหน่ายเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.   ๒๓๘๗  หมอบรัดเลย์มีคุณูปการแก่สังคมไทยหลายประการ  หมอบรัดเลย์ใช้ชีวิตอยู่ใน  ประเทศสยามจนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๔ ศพฝังอยู่ที่สุสานโปร-  แตสแตนท์ ใกล้โรงงานยาสูบกรุงเทพฯ ๒ มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุเกินหนึ่งล้านปี อาจจะเป็นมนุษย์โฮโม อีเรกตัส  (Homo erectus) มนุ ษ ย์ ช วา หรื อ มนุ ษ ย์ ปั ก กิ่ ง ที่ มี อ ายุ ร าว ๑.๙ ล้ า นปี  ถึ ง  ๓ แสนปี  มนุษย์กลุ่มนี้มีหลักฐานว่าอยู่มาถึง ๒๗,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา เป็นมนุษย์ที่มีรูปร่างลำ่าสัน มี  กล้ามเนื้อแข็งแรง สูงราว ๑.๕-๑.๘ เมตร หน้าผากลาด ขากรรไกรหุบเข้า สมองใหญ่ (ราว  ร้อยละ ๖๐ ของสมองมนุษย์ปัจจุบัน) รู้จักใช้ไฟ สร้างกระท่อมอยู่เป็นกลุ่ม มีภาษาพูด  มีเครื่องมือใช้งานเฉพาะอย่าง มีพิธีกรรม และวิธีการล่าสัตว์ที่ก้าวหน้า ๑


8  พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน

ให้หินแตกเป็นก้อนเล็กๆ หรือเป็นแผ่น แล้วกะเทาะแต่งให้แหลมหรือ  แต่ ง ขอบให้ ค ม ใช้ ขู ด  ตั ด  แล่ เ นื้ อ สั ต ว์   หรื อ ใช้ เ ป็ น หั ว หอกหรื อ หั ว ธนู  เครื่องมือหินลักษณะนี้เรียกว่า เครื่องมือหินกะเทาะ  เครื่องมือหินอีก ชนิดหนึ่งเป็นหินที่นำามาขัดให้คมเรียก เครื่องมือหินขัด เครื่องมือหินที่ ไม่มีด้ามนี้สันนิษฐานว่ามีอายุราว ๒ แสนปีมาแล้ว  ต่อมามนุษย์นำาท่อน  ไม้หรือกระดูกสัตว์มาผูกด้วยเชือกหรือเถาวัลย์ยึดติดกับเครื่องมือหินเป็น  ด้าม ทำาให้ใช้ฟัน ตัด หรือสับ ได้ดีขึ้น รูปร่างคล้ายขวาน คนไทยเรียกว่า  ขวานฟ้า สันนิษฐานว่ามีอายุราว ๓๕,๐๐๐ ปี นอกจากนี้มนุษย์ยังใช้หิน กะเทาะเป็นมีดหรือใบเลื่อย โดยใช้หินชิ้นเล็กๆ ฝังเป็นแนวเรียงกันบน  ท่อนไม้คล้ายฟันปลาเพื่อใช้เลื่อยสิ่งต่างๆ พบครั้งแรกในทวีปยุโรป มีอายุ  ราว ๑๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว แต่พบในประเทศศรีลังกาเมื่อ ค.ศ. ๑๙๘๘  มีอายุ  ราว ๓ หมื่นปี อายุใกล้เคียงกับเครื่องมือหินที่พบในทวีปแอฟริกาใต้  เมื่อ  ประมาณ ๘ พันปีมาแล้วมนุษย์เริ่มรู้จักลับคมหินและขัดให้เป็นเงาด้วย  หินเนื้อแข็งและหยาบ โดยใช้ผงทรายเป็นวัสดุขัด และพรมนำ้าขณะลับ  เช่นเดียวกับการลับมีดในปัจจุบัน   ต่ อ มาในยุ ค โลหะ ๓ มนุ ษ ย์ ใ ช้ โ ลหะ เช่ น  เหล็ ก  ทองแดง ทำ า เครื่องมือเครื่องใช้ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าเครื่องมือหิน  ช่วยให้คุณภาพ  ชีวิตมนุษย์ดีขึ้น การพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ทำาให้มนุษย์พัฒนาจากการ  ดำ า รงชี วิ ต ด้ ว ยการล่ า สั ต ว์ เ ป็ น อาหารและอาศั ย อยู่ ต ามเพิ ง ผามาเป็ น  เพาะปลู ก และเลี้ ย งสั ต ว์  สร้ า งที่ อ ยู่ อ าศั ย เป็ น หลั ก แหล่ ง เมื่ อ ประมาณ   ๑ หมื่นปีมาแล้ว การเปลี่ยนวิถีชีวิตทำาให้ของมนุษย์สร้างเครื่องมือเครื่อง  ใช้สำาหรับผลิตปัจจัยการดำารงชีพที่หลากหลายมากขึ้น เช่น เมื่อประมาณ   ๔ พันปีมาแล้ว มนุษย์ประดิษฐ์ไถสำาหรับไถนา ขวาน ผึ่ง สำาหรับตัดและ  ถากไม้เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย   วิ วั ฒ นาการของเครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ กิ น เวลาหลายหมื่ น ปี จ าก  ยุคหินมาสู่ยุคโลหะ พัฒนาทั้งวัตถุดิบที่นำามาสร้างเครื่องมือ รูปทรง กลวิธี  และการใช้งาน  เมื่อมนุษย์พัฒนาการทำ าขวานด้วยหินมาใช้วัสดุที่อ่อน  กว่า เช่น กระดูกสัตว์ เขากวาง หรือไม้เพื่อให้มีความคมและบาง ใช้งาน  ได้สะดวก  ต่อมาเมื่อมนุษย์สามารถนำ าแร่โลหะต่างๆ มาใช้ประโยชน์  ทั้งที่นำามาแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้โดยตรง และนำาแร่มาหลอมเหลว  ยุคโลหะเป็นยุคที่มนุษย์สามารถนำาโลหะ (metal) ธาตุที่ถลุงจากแร่ เช่น เหล็ก ทองแดง ทองคำา ที่ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ แข็งแต่ตีให้ยืดแผ่ออกได้ จึง  ทำาเป็นแผ่นหรือเส้นได้ สะท้อนแสงได้ดี ขัดขึ้นเงา เป็นตัวนำ าความร้อนและไฟฟ้าได้ดี  ธาตุประมาณร้อยละ ๗๕ เป็นโลหะ ๓


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  9

ด้วยความร้อนแล้วหล่อเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ให้มีรูปแบบเหมาะสมกับ  การใช้สอย ทำาให้มนุษย์มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความคมใช้ตัด สับ เจาะสิ่ง  ต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เครื่องมือเครื่องใช้โลหะช่วยให้คุณภาพ  ชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น โดยเฉพาะเครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ผลิตปัจจัยสี่ในการ  ดำารงชีวิต เช่น เครื่องมือโลหะประเภทขวาน มีด สำ าหรับตัด สับ ถาก   ช่วยในการแล่ชำาแหละเนื้อสัตว์ได้ดี  ขณะเดียวกันก็ใช้ตัดไม้ ถากหรือ  ผ่าไม้เพื่อสร้างอาคารที่พักอาศัย มนุษย์จึงทำ า เครื่องมือช่างไม้ เพื่อใช้ แปรรูปไม้ให้มีรูปทรงตามการใช้สอย นอกจากนี้มนุษย์ยังทำาเครื่องปั่น  ด้าย สาวไหม เครื่องทอผ้า เครื่องปั้นหม้อ เครื่องบดยา ซึ่งจำาเป็นต่อการ  ดำารงชีวิต   เครื่องมือเครื่องใช้ท่ีมนุษย์ทำาขึ้นในยุคแรกๆ ที่พบในส่วนต่างๆ   ของโลกมักใช้วัสดุจากธรรมชาติ มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้สอย เช่น  เครื่องมือสำาหรับทุบประเภทค้อนยุคหินมักทำาด้วยหินขนาดเหมาะมือ ใช้  จับทุบผลไม้ ทุบเปลือกไม้ โดยไม่ได้ดัดแปลงรูปทรงของก้อนหิน ต่อมา  ฝนหินให้คมและทำาด้ามด้วยกระดูกสัตว์หรือไม้ที่มีลักษณะโค้งเล็กน้อย  พอให้จับได้สะดวก มัดติดกับก้อนหินด้วยหวายหรือเถาวัลย์ เพื่อใช้เป็น  ด้ามคล้ายขวานหรือค้อนซึ่งเป็นเครื่องมือสำาหรับใช้สับ ทุบ เก่าแก่ที่สุด  เครื่องมืออีกชนิดคือ ขวาน และผึ่ง  เครื่องมือประเภทนี้มีด้ามสำาหรับ จับ ทำาให้ผ่า สับ หรือถากได้ดี  ในระยะแรกอาจคล้ายค้อนหินแต่เลือก  หินปลายแบนมีคมแทนหินกลมหรือทรงกระบอก เพื่อใช้ผ่าหรือสับได้ดี   หรือใช้เปลือกหอยที่มีความคมเป็นตัวขวานหรือผึ่ง ก่อนที่จะใช้โลหะที่ตี   หรือหล่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ รูปร่างเครื่องมือประเภทขวานและผึ่ง  ที่ใช้ในปัจจุบันไม่เปลี่ยนแปลงจากโบราณมากนัก เพียงแต่เปลี่ยนวัสดุเป็น  เหล็กกล้าหรือสแตนเลสที่มีความคมมากและใช้ได้คงทน   วัตถุประสงค์หลักของการทำาเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์เพื่อ  ประโยชน์ใช้สอยในการดำารงชีวิตตามปัจจัยสี่ แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้  ดังนี้

เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ

ในประเทศไทยเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนใหญ่ใช้สำาหรับประกอบ อาชี พ เกษตรกรรม เพราะประชากรประกอบอาชี พ เกษตรกรรมและ  ประมงเป็นหลัก โดยเฉพาะ เครื่องมือเกษตรกรรม เป็นต้นทางของการ ผลิตอาหารสำาหรับประชากรของประเทศ เครื่องมือเครื่องใช้พื้นฐานจึง  สร้างขึ้นเพื่อใช้ทำานา ปลูกข้าว เช่น ไถสำาหรับไถนา ซึ่งมีแทบทุกภูมิภาค


10  พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน

ไถเหล็ก ซึ่งพัฒนามาจากไถไม้ ชาวนาบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี

ของโลกไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ไถเป็นเครื่องมือสำ าคัญต่อวิถีชีวิต  ของมนุษยชาติ  เพราะไถช่วยปฏิวัติวิถีเกษตรกรรม ช่วยประหยัดเวลา  และแรงงานได้มาก  ไถแบบแรกพบในประเทศจีน ลักษณะคล้ายคันไถ  แต่ไม่มี ผาล  มีใบมีดปลายแหลมสองเล่ม เมื่อลากไปตามแนวดินที่จะ ปลูกพืชใบมีดทั้งสองจะพรวนดินเป็นคันและไถเอาวัชพืชออกจากคันดิน  ทั้งสองข้างออก  ขุดดินเป็นร่องลึกให้นำ้าไหลและพอกดินรอบๆ รากพืช  ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้มาก   ไถยุคแรกทำาด้วยไม้ รูปทรงง่ายๆ คือใช้ไม้สองอันมาประกอบ  เข้าด้วยกัน อันหนึ่งขนานกับพื้นสำาหรับให้สัตว์ลาก อีกอันตั้งฉากกับพื้น  ปลายโค้งงอนสำาหรับจับ ด้านล่างมีหัวหมูสำาหรับไถดิน ซึ่งเป็นไถแบบ  สากลพบในหลายประเทศ เรียกว่า อาร์ด (ard)  ไถประเภทนี้ไถได้ไม่ลึก นั ก  ผาลที่ ปิ ด บนหั ว หมู ทำา ด้ ว ยหิ น  พบในประเทศจี น มี อ ายุ ถึ ง  ๗,๐๐๐-  ๖,๐๐๐ ปี  ต่อมาเมื่อประมาณ ๒,๖๐๐ ปีมาแล้วชาวจีนได้ประดิษฐ์ไถเหล็ก  ขึ้นใช้ มีทั้งไถเหล็กล้วนๆ และเหล็กผสมไม้  ชาวจีนได้พัฒนาไถเหล็กให้   มีคุณภาพดีและเป็นต้นแบบที่แพร่ไปในยุโรป  รูปแบบของไถจะมีส่วน  ประกอบหลักที่คล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ขนาดซึ่งขึ้นอยู่กับสัตว์ที่ใช้ลาก เช่น  ไถควาย ไถวัว และไถม้า เป็นต้น   สำาหรับไถในประเทศไทยส่วนมากทำาด้วยไม้ ผาลทำาด้วยเหล็ก  รูปแบบโดยทั่วไปประกอบด้วย หางยาม ซึ่งเป็นที่จับ รูปร่างโค้ง ส่วน ล่างเสียบเข้ากับหัวหมูซึ่งทำาด้วยไม้ง่ามรูปสามเหลี่ยมแหลมเป็นที่ไถดิน  ต่อมาใช้แผ่นเหล็กสามเหลี่ยมปิดอยู่ด้านหน้าเรียก ผาล  เหนือหัวหมู ขึ้นมาเรียก กระทู้หางยาม  ไม้อีกอันหนึ่งยาวขนานกับพื้นสอดสลักยึด ติดกับกระทู้หางยามเรียก คันชัก เพื่อดึงให้ตัวไถเคลื่อนไปตามแรงลาก


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  11

ของสัตว์ ได้แก่ วัว ควาย ขณะที่สัตว์ลากไถไปข้างหน้า  ส่วนที่เป็นหัวหมู  จะไถดินให้เป็นร่อง ผาลที่เพล่ออกทำาให้ดินเปิดออกและม้วนตัวออกเป็น  แนว  ความลึกของรอยไถขึ้นอยู่กับการบังคับหางยาม  การไถอาจไถเป็น  แนวเรียงกันไปจนเต็มพื้นที่หรือไถไขว้กันให้ดินพลิกขึ้นจนทั่ว  จากการ  พบไถโบราณในส่วนต่างๆ ของโลกจะมีส่วนประกอบหลักๆ คล้ายคลึงกัน  แทบทั้งสิ้น อาจมีรูปทรงต่างกันบ้างตามความนิยมและความชอบของผู้ใช้  เช่น ทำาหางยามให้งอนโค้งจับได้เหมาะมือ ทำาคันชักให้ยาวโค้งรับกับส่วน  สูงของสัตว์ ทำาใบหัวหมูและผาลให้เผล้มากหรือน้อยเพื่อให้ดินที่ไถขึ้นมา  ม้วนตัวพลิกออกจากรอยไถตามต้องการ บางประเทศนำาล้อมาติดกับไถ  เพื่อช่วยให้เบาแรงสัตว์    ไถ เป็นเครื่องมือยุคแรกที่มนุษย์สร้างสำาหรับไถนา ทำาด้วยไม้ซึ่ง เป็นวัสดุที่หาได้ทั่วไป แม้ภายหลังจะมีผู้ประดิษฐ์ไถเหล็กขึ้นใช้ในประเทศ  จีนดังกล่าวแล้ว ไถจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มนุษย์สามารถผลิตพืชพรรณ  ธัญญาหารได้มากขึ้น โดยเฉพาะการทำานา  ไถช่วยประหยัดแรงงานและ  เวลาได้มากกว่าการปลูกข้าวไร่แบบโบราณ  ไถและเครื่องมือเครื่องใช้ที่  ทำาด้วยโลหะได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพดีมาโดยลำาดับจนก้าวเข้าสู่การ  ปฏิวัติอุตสาหกรรม  ทั้งนี้การทำานาทำาไร่ไม่ได้มีแต่ไถเท่านั้นแต่ยังมีเครื่อง  มืออื่นๆ ด้วย เช่น จอบ เสียม เคียว หรือเครื่องมือเกี่ยวข้าว ตัดรวงข้าว   ซึ่งอาจจะเริ่มจากการใช้แผ่นหินบางๆ หรือเปลือกหอยคมๆ ตัดรวงข้าว  ทีละรวงๆ อย่าง แกระเก็บข้าวของภาคใต้  ต่อมาในยุคโลหะจึงพัฒนามา  เป็นเคียวอย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน   นอกจากเครื่องมือเกี่ยวข้าวประเภทเคียวแล้วยังมีเครื่องมืออื่นๆ   อีกอย่าง ไม้หนีบข้าว คุตีข้าว เครื่องสีข้าว และครกตำาข้าว  เครื่องมือ เหล่ า นี้ ใ ช้ สำ า หรั บ ฟาดเมล็ ด ข้ า วให้ ห ลุ ด ออกจากรวง สี เ พื่ อ กะเทาะให้  เปลือกหลุดออกจากเมล็ดข้าว สีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารหรือตำ าข้าว  ให้เปลือกหลุดออกจากเมล็ดเป็นข้าวสาร  ใช้กระด้งฝัดแยกแกลบออกจาก  เมล็ดข้าวก่อนนำาไปบริโภค  เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลิต  อาหารจากการเกษตรถูกสร้างขึ้นตามความจำาเป็นในการดำารงชีวิต    นอกจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ในการผลิตอาหารแล้ว ต่อมา  มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องจุดไฟ ทำาให้มนุษย์ได้รับประโยชน์จากไฟ  อย่างมหาศาล เช่น ใช้เผาภาชนะดินเผาให้แข็งและแกร่ง ใช้ใส่นำ้าหรือหุง  ต้มอาหาร  ไฟทำาให้อาหารสุก ใช้ไฟเป็นเครื่องให้แสงสว่าง ช่วยลดความ  หนาวเย็น  เครื่องจุดไฟยุคแรกที่มนุษย์เรียนรู้จากธรรมชาติ เช่น คนไทย  นำาไม้ไผ่มาทำา ไม้สีไฟ โดยใช้ไม้ไผ่สองอันมาสีกันไปมาให้เกิดความร้อน


24  พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน

ก กก  ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งขึ้นในที่มีนํ้าแฉะ ลําต้นกลมสูง ใช้ทอเสื่อเรียก เสื่อ กก (ดู เสื่อ, เสื่อจันทบูร)

เรือมาดขนาดใหญ่วางกงตลอดลำา

กง  ส่วนประกอบของเรือทําด้วยไม้รูปโค้งตามรูปร่างเรือ ตั้งบนไม้กระดูกงู

เรียงกันเป็นช่วงๆ ตลอดลํา เพื่อรับไม้ข้างเรือและไม้ท้องเรือที่ประกอบ  กันขึ้นเป็นเรือ  กงมักเรียกตามลักษณะและการใช้งาน เช่น กงค้างหรือ  กงข้าง คือกงข้างเรือลงไปไม่ถึงท้องเรือ วางสลับกับกงวานซึ่งเป็นกงโค้ง  จากท้องเรือขึ้นมายังข้างเรือทั้งสองข้าง ด้านท้องเรือเจาะรูเพื่อให้นํ้าไหล  ถึงกันทั้งท้องเรือ ช่วยให้วิดหรือสูบนํ้าออกจากท้องเรือได้ง่าย

กงเกวียน

กงเกวียน  ไม้รอบล้อเกวียนรูปวงกลม ทําด้วยไม้เนื้อแข็งโค้งเป็นส่วนๆ แล้วนํามา

ประกอบกันจนเป็นวงกลม มีกํา ทําด้วยไม้เป็นซี่ๆ เรียงกันจนเต็มวงล้อ


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  25

ประมาณ ๑๖ ซี่ ด้านหนึ่งของกําฝังลงไปในดุมซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของ  ล้อเกวียน ล้อเกวียนจึงประกอบกันเป็นวงล้อได้ด้วยกง กํา และดุม   กงเกวียน บางทีเรียก ไม้ฝักมะขาม ตามลักษณะของไม้ที่เลื่อย ให้โค้งอย่างฝักมะขามเป็นชิ้นๆ แล้วนํามาต่อกันจนเป็นวงกลม

กงครอบนำ้าตาล อำาเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม (ภาพ พ.ศ. ๒๕๔๐)

กงครอบนํ้าตาล เครือ่ งสานไม้ไผ่สาํ หรับครอบกระทะเคีย่ วนํา้ ตาลโตนดหรือนํา้ ตาลมะพร้าว

เพื่อป้องกันฟองนํ้าตาลล้นออกนอกกระทะ กงครอบนํ้าตาลสานด้วยตอก  ปื้นลายขัดเป็น รูปทรงกระบอก สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์  กลางประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ปากเข้าขอบด้วยไม้ไผ่ กงครอบนํ้าตาลมี  ใช้ในบริเวณจังหวัดสมุทรสงคราม ราชบุรี และเพชรบุรี

กงจักรฝากระป๋องนม

กงจักร  เครื่องเล่นอย่างหนึ่งทําด้วยฝากระป๋องนม ฝาขวดโซดา หรือฝาขวดเบียร์

ที่ทุบให้แบน เจาะรูตรงกลางสองรูให้ห่างกันประมาณ ๑-๒ เซนติเมตร   ร้อยเชือกผ่านรูทั้งสองให้ยาวประมาณ ๒ คืบ ผูกปลายเชือกเข้าด้วยกัน  เลื่อนฝากระป๋องหรือกงจักรให้อยู่กึ่งกลางเชือก สอดนิ้วกลางของทั้งสอง  มือเข้าระหว่างห่วงปลายเชือกทั้งสองข้าง แกว่งเชือกให้กงจักรหมุนเป็น  เกลียวรอบตัวเอง ขณะเดียวกันก็ดึงเชือกให้ตึงและหย่อนสลับกัน กงจักร  จะหมุนกลับไปกลับมา จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับจังหวะการดึงเชือกของ  ผู้เล่น  กงจักรเป็นเครื่องเล่นพื้นบ้านที่เด็กมักทําเล่นเมื่อประมาณ ๕๐ ปี  มาแล้ว


102  พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน

อารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายแห่ง เช่น อำาเภอเมือง จังหวัด    กาญจนบุรี, อำาเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, อำาเภอเมือง จังหวัดนคร-    สวรรค์ เป็นต้น

ขอไม้สำาหรับแขวนคอวัว

ขอ  (ถิ่น-อีสาน) เครื่องแขวนคอสัตว์เพื่อทำาให้เกิดเสียง ตัวขอขุดด้วยไม้เนื้อ

แข็ง มีหูไม้สำาหรับผูกเชือกสองข้าง ขุดเป็นโพรง มีไม้เล็กๆ เป็นลูกกระทบ  ห้ อ ยอยู่ ด้ า นในสองหรื อ สามอั น  เมื่ อ ขอแกว่ ง ไปมาจะเกิ ด เสี ย งดั ง เป็ น  สัญญาณบอกให้เจ้าของหรือผู้เลี้ยงรู้ว่าสัตว์ของตนอยู่ที่ใด   ขออีกชนิดหนึ่งทำาด้วยไม้ไผ่ รูปร่างคล้ายคลึงกันเรียก ขอราง ไม้ไผ่ หรือกะโหล่ง  ขอบางทีเรียก เขาะ  หากใช้แขวนคอวัวเรียก เขาะงัว  แขวนคอควายเรียก เขาะควาย   เครื่องแขวนคอสัตว์ในภาคอีสานที่ทาำ ด้วยไม้คล้ายกับขอมีหลาย  ชนิดและมีชื่อต่างๆ กันไป เช่น ขิก ขอลอ ขอหลอด กะแหล่ง กะโหล่ง  เป็นต้น

ข้องภาคเหนือ

ข้อง  เครื่องจักสานสำาหรับใส่ปลาหรือสัตว์นำ้า มีรูปร่างต่างกันไปตามการใช้สอย

เช่น ข้องสำาหรับสะพายหรือหิ้วมักมีรูปกลม คอคอด ปากกลม มีงาเป็น


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  103

ฝาปิดเรียก ข้องตั้ง หรือข้องยืน,  ข้องสำาหรับลอยนำ้า คอกลม ตัวข้องป่อง    มีทุ่นขนาบเพื่อให้ลอยนำ้าได้เรียก ข้องลอย หรือข้องเป็ด เป็นต้น  ข้อง    บางทีเรียก ตะข้อง

ข้องกบ

ข้องกบ ข้องสำาหรับใส่กบ ปากกลม มีงาปิด คอคอดแล้วผายออกเป็นบ่า    สานด้วยตอกเป็นตาโปร่งๆ ตัวข้องสานทึบค่อนข้างแบนแล้วสอบลงเป็น    ก้นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ข้องกบมีขนาดไม่ใหญ่นักใช้สะพายได้สะดวก

ข้องเขียดภาคเหนือ  ปากกว้าง ๑๕ เซนติเมตร  สูง ๒๐ เซนติเมตร  (สะสม พ.ศ. ๒๕๓๗)

ข้องเขียด (ถิ่น-ใต้-เหนือ) ข้องขนาดเล็กสำาหรับใส่ลูกเขียดเพื่อใช้เป็น

เหยื่อตกปลา สานด้วยตอก รูปร่างคล้ายกระบุง ปากกลม คอคอด  กลาง  ป่อง  ก้นสอบเป็นสี่เหลี่ยม มีไม้ไผ่เสียบเป็นขา ตัวข้องสานเป็นเกลียว  นู น ควั่ น เวี ย นจากก้ น ขึ้ น ไปจนถึ ง ปาก เส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลางประมาณ ๑๓   เซนติเมตร สูงประมาณ ๑๗ เซนติเมตร ตรงคอมีหูสำาหรับร้อยเชือกผูก  เอวเวลาไปตกปลา  ข้องเขียดภาคใต้โดยทั่วไปจะมีถุงผ้าเย็บติดกับปาก   ข้างหนึ่งทำาเป็นหูรูดสำาหรับรูดปิดและเปิดจับเขียด เมื่อไปตกปลาจะเหน็บ  ปลายผ้าไว้กับเอว


104  พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน

ข้องคุ  บ้านเกษม ตำาบลเกษม  อำาเภอตระการพืชผล  จังหวัดอุบลราชธานี   สูงประมาณ ๓๗ เซนติเมตร  (ภาพ พ.ศ. ๒๕๕๒)

ข้องคุ (ถิ่น-อีสาน) ข้องขังปลารูปร่างคล้ายไห สานด้วยไม้ไผ่ ยาด้วยขี้ซี่    มีหสู ำาหรับหิ้วหรือหาบ ใช้ขังปลาที่จับได้ไว้ชั่วคราว

ข้องจงภาคใต้

ข้องจง (ถิ่น-ใต้) ข้องขนาดเล็กสานด้วยไม้ไผ่หรือคลุ้มเป็นทรงกระบอก

ปากกลมสอบเข้าเล็กน้อย ก้นสี่เหลี่ยมหรือกลม สูงประมาณ ๗-๙ นิ้ว  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓-๕ นิ้ว ใช้ใส่กุ้ง ปลาเล็กปลาน้อย หรือเหยื่อ  สำาหรับตกปลา

ข้องแจงหรือแจง  สูงประมาณ ๓๕ เซนติเมตร

ข้องแจง (ถิ่น-ใต้) ข้องชนิดหนึ่งคล้ายข้องจงแต่ใหญ่กว่า สานด้วยไม้ไผ่  ปากกลม คอคอดแล้วผายออกเป็นตัวข้องป้อมๆ ก้นสี่เหลี่ยมหรือกลม   ปากข้องมีแผ่นไม้กลมขนาดพอดีกับปากเป็นฝาปิด-เปิด ข้องแจงใช้ใส่ปลา  และสัตว์นำ้าต่างๆ นิยมใช้ในบริเวณจังหวัดนราธิวาส บางทีเรียก แจง


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  105

ข้องชาวเขา  ปากกว้าง ๑๗ เซนติเมตร  สูง ๒๘ เซนติเมตร  (สะสม พ.ศ. ๒๕๓๗)

ข้องชาวเขา ข้องใช้ใส่ปลาของชาวเขา สานด้วยตอกเป็นลายขัด ปาก

กลม สานเก็บริมไม่มีขอบ มีงาแซงรูปร่างคล้ายโถ คอคอดสานโปร่งแล้ว  ผายออก ก้นเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ข้องขาวเขามักมีขนาดเล็กเพราะใช้ใส่  ปลาเล็กปลาน้อยที่จับได้ตามลำาห้วย

ข้องตัดคอบริเวณอำาเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี  สูงประมาณ ๓๕ เซนติเมตร  (ภาพ พ.ศ. ๒๕๔๓)

ข้องตัดคอ ข้องขนาดใหญ่สำาหรับใส่กุ้ง ปู ปลา และสัตว์นำ้าจำานวนมากๆ    เป็นข้องที่ปากไม่ผายออก จึงเรียก ข้องตัดคอ

ข้องทรงหม้อดิน ข้องที่ทำาก้นสานลายขัดเป็นตาโปร่ง ตัวข้องสานลาย   ขัดทึบ คอคอด ปากผายออก ทีป่ ากมีขอบและมีงาปิด มีหสู าำ หรับสะพายบ่า

ข้องนั่ง (ถิ่น-ใต้) ข้องขนาดใหญ่สำาหรับดักปลา สูงประมาณ ๒ ศอก

สานด้วยไม้ไผ่ลายขัดถี่ๆ ปากกลม คอสอบแล้วผายออกคล้ายขวด หรือ  คอยาวก้นป่อง ก้นสี่เหลี่ยมสานเป็นตาสี่เหลี่ยมเล็กๆ  ถัดจากก้นขึ้นมา  เล็กน้อยเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อติดงาเป็นช่องให้ปลาเข้า เมื่อ  สานเสร็จแล้วต้องยาด้วยขี้วัวผสมนำ้ามันยางและแกลบเพื่ออุดรูระหว่าง  ลายสานจึงทำาให้ข้องทึบ  การดักปลาต้องใช้รังมดแดงหรือรังปลวกเผา


162  พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน

ฆือโละจากบ้านกูบังบาเดาะ ตำาบลสะกำา อำาเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

มือของชาวไทยมุสลิมในเขตจังหวัดปัตตานี  รูปร่างคล้ายขันนำ้าแต่ปาก  สอบเข้าเล็กน้อย สูงประมาณ ๓-๔ นิ้ว ปากกว้าง ๔-๕ นิ้ว ตรงกลางมี ลวดลายโดยการกดแม่พิมพ์ลงบนผิวดิน  ภาชนะดินเผาชนิดนี้ชาวบ้านใช้  ใส่นำ้าดื่มหรือนำ้าไว้จุ่มล้างมือเช่นเดียวกับขันนำ้าของชาวบ้านในภาคกลาง   หรือบางทีใช้ใส่สิ่งของเรียก ฆือโละยอรอ   ฆือโละปัจจุบนั ยังทำากันอยูท่ บ่ี า้ นกูบงั บาเดาะ ตำาบลสะกำา อำาเภอ  มายอ จังหวัดปัตตานี

แฆและ  (ถิ่น-ใต้) กะลามะพร้าว


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  163

งอบปีกกว้างประมาณ ๔๕ เซนติเมตร สูงประมาณ ๒๕ เซนติเมตร (ภาพ พ.ศ. ๒๕๓๗)

งอบ  เครื่องสวมศีรษะป้องกันแดดและฝน รูปร่างคล้ายจานควํ่า มีโครงสาน

ด้วยตอกไม้ไผ่เป็นลายเฉลวหรือตาชะลอม กรุด้านนอกด้วยใบลานโดย  เย็บเรียงเกยกันไปแผ่ออกไปโดยรอบ ตรงกลางมีรูซึ่งต้องปิดด้วยใบลานที่  ทําเป็นรูปกลมๆ เรียก กระหม่อมงอบ  ขอบปีกงอบใช้ไม้ประกับขอบงอบ ไม่ให้ขอบงอบชํารุดง่าย  ภายในงอบมีรังงอบ สานด้วยตอกไม้ไผ่เป็นรูป ทรงกระบอกโปร่งๆ ขยายตัวตามขนาดศีรษะของผู้สวม    งอบภาคกลางทํามากที่บริเวณอําเภอบางปะหัน จังหวัดพระ-  นครศรีอยุธยา    ภาคเหนื อ เรี ย กเครื่ อ งสวมศี ร ษะประเภทงอบว่ า  กุ บ  ห รื อ กุ๊ บ  ภาคใต้เรียก เปี้ยว

งอบกะโล่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๕ เซนติเมตร (ภาพ พ.ศ. ๒๕๓๗)

งอบกะโล่ เครื่องสวมศีรษะป้องกันแดดกันฝน ลักษณะคล้ายงอบ มีโครง


164  พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน

สานด้วยไม้ไผ่และบุด้วยใบตาล มักมีขนาดเกือบเท่ากระด้งเล็กๆ ตัวงอบ  มักกรุด้วยใบค้อ ภายในมีรังสําหรับสวมศีรษะ   การทํางอบกะโล่มักใช้ใบค้อซึ่งคล้ายใบตาลแต่ใบอ่อนกว่า นํามา  แผ่กรุลงบนโครง เย็บริมด้วยตอก หวาย ด้าย หรือลวดเพื่อช่วยให้ใบค้อ  คงรูปอยู่ได้แล้วผึ่งแดดให้แห้ง อาจทานํ้ามันยางเคลือบให้คงทนด้วย  งอบ  กะโล่ใช้สวมศีรษะเช่นเดียวกับงอบ บางทีมีแต่ตัวงอบไม่มีรัง ใช้สวมศีรษะ  แล้วใช้เชือกรัดคางกันงอบหลุด   งอบชนิดนี้แต่เดิมมีใช้ในเขตจังหวัดสุโขทัยและเขตภาคเหนือ  ตอนล่าง

งอบแมงดา (ถิ่น-อีสาน) เครื่องสวมหัวประเภทเดียวกับงอบแต่มีขนาด

ใหญ่ ยาวประมาณ ๒ ศอก โครงสานด้วยตอกไม้ไผ่สองชั้นเป็นรูปร่าง  คล้ายตัวแมงดานาจึงเรียก งอบแมงดา ระหว่างโครงไม้ไผ่กรุด้วยใบไม้ แห้ง  งอบแมงดาใช้คลุมศีรษะและหลัง ด้านในไม่มีรังงอบเหมือนงอบ  ทั่วไป แต่กระพุ้งโค้งนูนขึ้นมาคล้ายหัวแมงดาจึงช่วยให้งอบอยู่บนศีรษะ  ได้ ส่วนหางงอบที่คล้ายหางแมงดาจะคลุมลงมาปิดไหล่และหลัง งอบ  แมงดาจึงป้องกันแดดฝนได้ดีกว่างอบทั่วไป  ชาวนามักใช้สวมขณะดํานา  เพื่อช่วยป้องกันแดดไม่ให้เผาหลังขณะก้มดํานานานๆ

งัว  ไม้สางหญ้าคาสําหรับมุงหลังคา ทําด้วยกระบอกไม้ปาดสองข้างเข้าหากัน

งา  ส่วนประกอบของเครื่องจักสานสําหรับดักปลาหลายชนิด ทั้งที่ดักโดยใช้

เหลือเป็นซีไ่ ว้สองข้างคล้ายฟันหวี ส่วนกระบอกทีเ่ หลือไว้เป็นด้ามมีไม้สลัก  ขวางกันไม่ให้มือลื่น จับได้กระชับและถนัดมือ  งัวใช้สางหญ้าคาให้เป็น  ระเบียบก่อนที่จะนําไปผูกเป็นตับมุงหลังคา   งัว บางท้องถิ่นจึงเรียกว่า ไม้ปากกา ตามรูปร่างที่คล้ายปากกา เหยื่อล่อไว้ภายใน เช่น ตุ้ม อีจู้ หรือใช้กับเครื่องดักปลาตามทางนํ้าไหล  เพื่อดักปลาที่ว่ายทวนนํ้า เช่น ลอบนอน ลอบยืน ไซ เป็นต้น ทํา เป็นซี่ๆ  ปลายสอบเข้าหากันเพื่อให้ปลาเข้าไปได้แต่ออกไม่ได้ งาที่ใช้กับเครื่องดัก  ปลามี ๒ ชนิดคือ งาแข็งและงาอ่อน   งาแข็ง สานด้วยตอกให้ปากกว้างปลายสอบเข้าหากัน มักใช้กับ เครื่องดักปลาที่มีเกล็ด   งาอ่อน ทําด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นซี่เล็กๆ ปลายแหลม ใช้หวายหรือ ด้ายผูกโยงเรียงกันให้ปลายสอบก่ายกันคล้ายนิ้วมือที่ประสานกัน ปลายงา


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  165

งาอ่อนของตุ้มบริเวณภาคกลาง

งาอ่อนใช้ดักปลาและสัตว์นํ้า  ประกอบเข้ากับเครื่องมือจับสัตว์นํ้าประเภทต่างๆ

จะกางออกเมื่อปลาผ่านเข้าไป มักใช้กับเครื่องดักปลาไม่มีเกล็ด

งาโฉง เครื่องดักปลาชนิดหนึ่งทําด้วยไม้ไผ่และหวาย เป็นงาขนาดใหญ่  รูปทรงสี่เหลี่ยม กว้างยาวประมาณ ๑x๒ ศอก  การดักปลาด้วยงาโฉง  ต้องมีเฝือกวางเป็นกรวยสอบเข้าไปหางาโฉง เพื่อให้ปลาว่ายเลาะไปตาม  เฝือกเข้าไปในงาโฉง ด้านหลังใช้เฝือกล้อมเป็นวงกลมเพื่อขังปลาที่ว่าย  เข้าไปติดอยู่ภายในทําให้สามารถจับได้ง่าย   งาโฉงเป็นเครื่องดักปลาที่ไม่ต้องใช้เหยื่อล่อ แต่ปล่อยไว้ให้ปลา  ว่ายหลงเข้าไปเอง จึงเรียกอีกอย่างว่า งาหลอก

งาแซงข้องลอย  บ้านดงขวาง อําเภอเมือง  จังหวัดนครพนม  (ภาพ พ.ศ. ๒๕๒๓)

งาแซง เครื่องจักสานไม้ไผ่ รูปร่างคล้ายกรวย ปลายแหลมถ่างออกได้ ใช้


414  พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน

ฮ ฮอ  (ถิ่น-อีสาน) เครื่องมือสำาหรับฝนขมิ้นหรือว่านหอมสำาหรับทาตัว หรือฝน

ขมิ้นย้อมจีวร ทำาด้วยเหล็กแผ่นบางๆ หรือสังกะสี เจาะเป็นรูเล็กๆ ให้คม    เหล็กหรือสังกะสีบาดเนื้อขมิ้นหลุดลงไปตามรู

ฮอกควายหรือปกหลก  สูงประมาณ ๑๕ เซนติเมตร

ฮอกควาย  (ถิ่น-เหนือ) เครื่องแขวนคอควายอย่างกระดิ่ง ทำาด้วยไม้ไผ่ มีลูกตีอยู่ข้าง   นอก บางถิ่นเรียก ปกหลก

ฮาง  (ถิ่น-อีสาน) ไม้แก่นที่ขุดเป็นร่องตรงกลางสำาหรับใส่อาหารสัตว์ มีขนาด

ต่างๆ กัน เช่น ฮางไก่สำาหรับใส่อาหารไก่  ฮางเป็ดสำาหรับใส่อาหารเป็ด    เป็นต้น

ฮางสรง  วัดหนองมะนาว  อำาเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี

ฮางสรง (ถิ่น-อีสาน) ไม้ท่ีขุดเป็นรางยาวๆ ใช้เป็นฮางนำ้าหรือรางนำ้ารับ   นำ้าฝนจากชายคาเรียก ฮางลิน หรือใช้เป็นรางนำ้าสำาหรับสรงนำ้าพระเถระ


ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  415

หรือเจ้านายเรียก ฮางสรง หรือฮางสรงนำ้า  ภาคเหนือเรียกการสรงนำ้าว่า    ฮินฮดนำ้า (รดนำ้า)

แฮ  (ถิ่น-อีสาน) ผ้าเนื้อบางทอละเอียดเรียก ผ้าแฮ  ใช้เป็นจีวรเรียก ผ้าคุม   แฮ  ทำาเป็นหมอนเรียก หมอนแฮ

โฮ่หรือโห่บ้านเกาะแรต  ตำาบลบางปลา  อำาเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม  (ภาพ พ.ศ. ๒๕๒๓)

โฮ่  (ถิ่น-โซ่ง) ภาชนะสำาหรับใส่เครื่องเย็บปักถักร้อย เช่น เข็ม ด้าย กรรไกร

และสิ่งของเครื่องใช้เบ็ดเตล็ดในครัวเรือน สานด้วยไม้ไผ่และหวาย ทรง  กระบอกเตี้ยๆ ปากกว้างเป็นสามเท่าของความสูง เช่น สูงประมาณ ๑๒   เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางปากประมาณ ๓๖ เซนติเมตร  ด้านบนสาน  ทึบโค้งลงเล็กน้อย ด้านข้างสานทึบด้วยตอกย้อมมะเกลือสีดาำ  สานลายขิด  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวโซ่ง

โฮงกระบอง

โฮงกระบอง  (ถิ่น-อีสาน) ที่สำาหรับวางไต้เพื่อจุดให้แสงสว่าง มักทำาด้วยไม้ มีฐานรับ   ขี้ไต้และมีที่สำาหรับเสียบไต้


พจนานุกรม

หัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน

ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ  อดีตศาสตราจารย์ประจำาหมวดวิชาทัศนศิลป์  คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์  สาขาวิชาจิตรกรรม

ศาสตราจารย์ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ

นั ก วิ ช าการด้ า นศิ ล ปวั ฒ นธรรมและศิ ล ปิ น ที่ สร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปกรรมจัดแสดงใน ประเทศและต่างประเทศ  ผู้เขียนสนใจและ เชี่ยวชาญในศิลปะไทย งานหัตถกรรมพื้นบ้าน  มีผลงานเขียนทางวิชาการและหนังสือมากกว่า  ๔๐ เล่ม หลายเล่มได้รับรางวัล เช่น  ศิ ล ปะชาวบ้ า น ได้ รั บ รางวั ล ดี เ ด่ น  ประเภทหนังสือสารคดี ประจำาปี พ.ศ. ๒๕๑๙  จากสมาคมผู้ ผ ลิ ต และจำ า หน่ า ยหนั ง สื อ แห่ ง ประเทศไทย และคณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ หนังสือ    ศิ ล ปะน่ า รู้ ใ นสองศตวรรษ ได้ รั บ รางวัลดีเด่น ประเภทหนังสือสารคดี ประจำาปี  พ.ศ. ๒๕๒๕ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ แห่งชาติ     หนั ง สื อ ชุ ด พจนานุ ก รมของผู้ เ ขี ย นที่ จัดพิมพ์โดยสำานักพิมพ์เมืองโบราณ ได้แก่   • พจนานุกรมหัตถกรรม      เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน    • พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ    • พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย

หมวดพจนานุกรม

ISBN 978-616-7767-64-2

ราคา ๔๘๐ บาท

๔๘๐.-

พจนานุกรม

หัตถกรรม  เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.