พัฒนาการของลายไทย: กระหนกกับเอกลักษณ์ไทย

Page 1

สาระความรู้ เกี่ยวกับศิลปะไทย

พัฒนาการของลายไทย :

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี  คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์  มหาวิทยาลัยศิลปากร ปริญญาโทด้านโบราณคดี  สมัยประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน และ ปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ-โบราณคดี จากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส  ผู้มีผลงานวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ  ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่มากมาย

ศาสตราจารย์

ดร. สันติ เล็กสุขุม

ศาสตราจารย์

ดร. สันติ เล็กสุขุม

กระหนกกับเอกลักษณ์ไทย ดร. สันติ เล็กสุขุม

ศาสตราจารย์

กระหนก กับเอกลักษณ์ไทย พัฒนาการของลายไทย :

ราคา ๔๕๐ บาท ISBN 978-974-7385-50-2

รวบรวมลายกระหนกตั้งแต่สมัยทวารวดีถึงปัจจุบัน


ISBN : 978-974-7385-50-2 หนังสือ : พัฒนาการของลายไทย : กระหนกกับเอกลักษณ์ไทย : ศาสตราจารย์ ดร. สันติ เล็กสุขุม ผู้เขียน พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง : กรกฎาคม ๒๕๕๓ จำ�นวนพิมพ์ : ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา : ๔๕๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด : วรินวิตตา ดารามาตร์ บรรณาธิการเล่ม : ศาสตราจารย์ ดร. สันติ เล็กสุขุม ภาพประกอบ ออกแบบปก/จัดรูปเล่ม : เจียมจิตร ความสุข ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ แยกสี/เพลท : เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ : ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖ พิมพ์ที่ : บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด จัดจำ�หน่าย ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ. สันติ เล็กสุขุม. พัฒนาการของลายไทย : กระหนกกับเอกลักษณ์ไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๓. ๔๘๐ หน้า. ๑. ลายไทย. ๒. ศิลปกรรมไทย. I. ชื่อเรื่อง 759.9593 ISBN : 978-974-7385-50-2

สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษั ทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓  ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา  เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการ ฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล  ผู้อำ�นวยการฝ่ายการตลาดและฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ  บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์  ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

part 1-5 credit-contents.indd 2

8/4/10 7:01 PM


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

หนังสือ พัฒนาการของลายไทย : กระหนกกับเอกลักษณ์ไทย เป็นผลงานของศาสตราจารย์ ดร. สันติ เล็กสุขุม ที่กล่าวถึงพัฒนาการของลวดลายไทยซึ่งพบเห็นอยู่ทั่วไปในชีวิต ประจำ�วันจนนับว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของศิลปะไทย  ทั้ง ที่จริงแล้วต้นกำ�เนิดและเส้น ทางของ“ลายกระหนก” นั้น มิได้ เกิ ด ขึ้ น ที่ นี้ แ ต่ มี ต้ น กำ � เนิ ด อยู่ ใ นดิ น แดนชมพู ท วี ป และมี ที่ ม า ที่ ไปอยู่ ในศิลปะของเพื่อนบ้านของเรา  ระยะเวลากว่าพันปีที่ ลายกระหนกได้เดินทางเข้ามาสู่ภูมิภาคแห่งนี้พร้อม ๆ กับวัฒนธรรมทางศาสนาและศิลปะ ได้พฒ ั นาเปลีย่ นแปลงผสมกลมกลืน อยู่ในสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งนี้ สำ�หรับสังคมไทย “ลายกระหนก” ไม่ใช่เป็นแต่เพียงลวด ลายประดับที่ปรากฏอยู่ในพุทธศาสนาและราชสำ�นักเท่านั้น แต่ ยังเป็นหนึง่ ในลวดลายทีแ่ ทรกซึมอยู่ในวิถชี าวบ้าน แม้จะเป็นลวด ลายที่มาจากต่างถิ่นแต่กลับผูกพันกับสังคมไทยอยู่ไม่น้อย  ดังที่ ผูเ้ ขียนได้กล่าวว่า “ลายไทย - ลายกระหนก งดงามชวนมองทัง้ ที่ คุน้ เคยจนเจนตา ด้วยลักษณะซํา้  ๆ แต่ทา่ มกลางความซํา้ ก็มคี วาม หลากหลายอยูด่ ว้ ย กล่าวอีกอย่างว่าคือความยืดหยุน่ ทีม่ กี ฎเกณฑ์ กำ�กับอยู ่ และเพราะความเป็นเอกลักษณ์ในการประดับมักอยู่ได้ กับทุกที ่ ทุกโอกาส จึงสอดคล้องกับทีน่ ยิ มกันเสมอว่า สังคมไทย เป็นสังคมที่มีความยืดหยุ่นเป็นลักษณะพิเศษ ด้วยเหตุนี้ “ลาย ไทย - ลายกระหนกจึงเป็นเสมือนภาพสะท้อนสังคมไทย” สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ กรกฎาคม ๒๕๕๓

part 1-5 credit-contents.indd 3

8/4/10 7:01 PM


กล่าวนำ� งานวิจยั ชิน้ นีแ้ สดงพัฒนาการของลวดลายประดับเมือ่ กว่า พันปีก่อนดินแดนนี้จะได้ช่อื ว่าประเทศไทย คืิอลวดลายที่ปัจจุบัน เรียกว่า “ลายไทย” หรือลายกระหนกอันเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ ไทย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ คือแรกเริ่มเมื่อวัฒนธรรมศาสนาและการช่างทีแ่ พร่หลายจากชมพูทวีปมาสูด่ นิ แดนใน ภูมภิ าคเอเชียอาคเนย์ อดีตของดินแดนไทยได้เกิดวัฒนธรรมทวารั นธรรมร่วมสมัยของดินแดนในภูมภิ าค เช่น วัฒนธรรม วดี โดยมีวฒ ขอมมีศนู ย์กลางอยู่ในประเทศกัมพูชาโบราณ ซึง่ ได้แพร่หลายมา ทางภาคอีสานเข้ามาครอบงำ�วัฒนธรรมทวารวดีทางภาคกลาง ภาค ใต้มวี ฒ ั นธรรมศรีวชิ ยั  ภาคเหนือคือวัฒนธรรมหริภญ ุ ไชย วัฒนธรรมขอมเป็นประเด็นสำ�คัญหลังจากขยายวงกว้างเป็นลำ�ดับแล้ว จึงเสื่อมถอยไปเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ โดยเชื่อมโยงมา ในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ในบรรยากาศของวัฒนธรรมใหม่ คือ ราชธานีสุโขทัย ราชธานีเชียงใหม่ ราชธานีกรุงศรีอยุธยา และ ราชธานีกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน ระหว่างต้นทางกับปลายทางของลายไทย - ลายกระหนก อยู่ในบรรยากาศของพุทธศาสนาและราชสำ�นักตลอดมา ได้เพิ่ม พูนความหลากหลาย คลี่คลาย ผสมผสานกับแรงบันดาลใจทั้ง ใกล้-ไกล  ดังนั้นแทนที่จะจางหายถูกละเลยเพราะสังคมไทยไม่ ตระหนักในคุณค่า  ลายไทย - ลายกระหนกกลับเพิ่มบทบาท และหน้าที่แพร่หลายอย่างกว้างขวางทั่วไปในสังคมไทยปัจจุบัน งานวิจัยนี้ได้ประโยชน์จากข้อมูลและงานศึกษาต่อเนื่อง มาไม่นอ้ ยกว่า ๓๐ ปี ของผูว้ จิ ยั  ผนวกกับผลการค้นคว้าวิจยั ของ นักวิชาการหลายท่าน ซึ่งผู้วิจัยได้สอบสวนทวนความ ตรวจสอบ กับข้อคิดมุมมองจากข้อมูลใหม่ ๆ ที่ได้จากงานสำ�รวจเป็นระยะใน ช่วงสองปีของโครงการนี้

part 1-5 credit-contents.indd 4

8/4/10 7:01 PM


เนือ่ งจากงานวิจยั นีป้ ระกอบด้วยข้อมูลภาพจำ�นวนมาก ทัง้ ภาพถ่ายและลายเส้น อันเป็นเงือ่ นไขกำ�หนดให้งานศึกษาประเด็น พัฒนาการของงานประดับซึง่ มีระยะเวลากว่าพันปี  งานออกแบบ และจัดการทัง้ ด้านสำ�รวจภาคเอกสารและภาคสนามจึงต้องปรับหา วิธกี ารอันเหมาะสม  ทัง้ นีร้ วมถึงการนำ�เสนอผลการวิจยั ซึง่ ผูว้ จิ ยั คำ�นึงถึงความกระชับ เรียบง่าย แต่กห็ ลีกไม่พน้ ความยุง่ ยากเรือ่ ง การอ้างอิงภาพประกอบจำ�นวนมาก พร้อมคำ�อธิบายภาพ จึงต้อง จัดทำ�รายการภาพประกอบไว้ทา้ ยเล่มอีกต่างหาก เพือ่ เสริมความ สมบูรณ์ของข้อมูล และท่านผูอ้ า่ นสามารถค้นหาตรวจสอบข้อมูล ของภาพประกอบเหล่านั้นสะดวกยิ่งขึ้น ความคิดของผู้วิจัยก่อรูปเป็นโครงการวิจัยได้ด้วยการ สนับสนุนของ รองศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ หัวหน้า ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะในขณะนัน้  ซึง่ ได้อ�ำ นวยความสะดวก ในการดำ � เนิ น งานตลอดมาอี ก ด้ ว ย สำ � หรั บ การอนุ มั ติ ทุ น สนับสนุนโครงการฯ เป็นความกรุณาของผูอ้ �ำ นวยการสถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร และกรรมการประจำ�สถาบันฯ ผู้วิจัยจึงขอขอบคุณไว้  ณ ที่ นี้    เจ้ า หน้ า ที่ ข องสถาบั น สำ� หรั บ ความสะดวกในด้านต่าง ๆ สมควรได้รบั ความขอบคุณด้วยเช่นเดียว กับคณาจารย์และนักศึกษาในภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะที่มี ส่วนช่วยเหลือเสมอ ศาสตราจารย์ ดร. สันติ เล็กสุขุม เมษายน ๒๕๕๓

part 1-5 credit-contents.indd 5

8/4/10 7:01 PM


สารบัญ

คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�ผู้เขียน

๓ ๔

ส่วนนำ�  สังคมก่อนประวัติศาสตร์ : เทคโนโลยีกับงานประดับ

ส่วนที่ ๑ ประเทศไทยกับงานช่างก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ • เริ่มงานช่างในวัฒนธรรมศาสนา • งานประดับในศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ - ลายกระหนก แบบฉบับของงานประดับ : การสืบทอดที่ไม่เคยจางหาย • งานประดับในศิลปะขอมที่พบในประเทศไทย • งานประดับในศิลปะศรีวิชัย • งานประดับในศิลปะหริภุญชัย ส่วนที่ ๒

ประเทศไทยกับงานช่าง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ • งานประดับในศิลปะสุโขทัย • งานประดับหลังศิลปะสุโขทัย • งานประดับในศิลปะล้านนา • งานประดับก่อนและหลังสถาปนาราชธานี กรุงศรีอยุธยา : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี • งานประดับในศิลปะอยุธยา

part 1-5 credit-contents.indd 6

๑๙ ๒๒ ๒๔ ๖๗ ๙๗ ๙๙ ๑๐๙ ๑๐๙ ๑๓๓ ๑๕๕ ๑๙๓ ๒๓๒

8/4/10 7:01 PM


- ตัวอย่างงานประดับนอกกรุงศรีอยุธยา • งานประดับในศิลปะธนบุรี และศิลปะรัตนโกสินทร์ - ศิลปะสมัยกรุงธนบุร ี : สมุดภาพสมัยกรุงธนบุร ี - ศิลปะรัตนโกสินทร์ : หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ - วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง

part 1-5 credit-contents.indd 7

๓๔๔ ๓๙๕ ๓๙๖ ๔๐๐ ๔๐๔

ส่วนที่ ๓ ปัจจุบันของงานประดับ : ลายไทย-ลายกระหนกกับเอกลักษณ์สังคมไทย

๔๕๓

บรรณานุกรม

๔๗๔

8/4/10 7:01 PM


8

ส่วนน�ำ สังคมก่อนประวัติศาสตร์ : เทคโนโลยีกับงานประดับ


สังคมก่อนประวัติศาสตร์ : เทคโนโลยีกับงานประดับ

9

ก่อนประวัตศิ าสตร์ทางภาคเหนือของดินแดนไทย

ผ่านจากสังคมล่าสัตว์มาสู่สังคมเกษตรกรรม ๑  ผ่านมาแรกเริ่ม รูจ้ กั ใช้แร่โลหะ หล่อหลอมเป็นเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ รวมทัง้ เครือ่ ง ประดับ เช่น ก�ำไลส�ำริด และใช้แก้ว หินแร่ ท�ำเป็นลูกปัด สร้อย ข้อมือและสร้อยคอ เครื่องประดับประเภทลูกปัดได้พบในแหล่ง โบราณคดีบ้านวังไฮ จังหวัดล�ำพูน บ่งว่าเป็นสิ่งที่น�ำเข้าจากภาย นอก เช่นที่ท�ำจากแก้วหรือหินแร่คาร์เนเลียน ๒ ยุคก่อนประวัตศิ าสตร์ทางภาคเหนือทีก่ ล่าวมา ไล่เลีย่ หรือ ก่อนกว่าทางภาคอีสานในลุ่มน�้ำโขงซึ่งมีอายุถึงราว ๑๒,๐๐๐๕,๖๐๐ ปี โดยมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับดินแดนในลุ่มน�้ำเดียว กัน คือภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ภาคตะวันตกและ ภาคใต้ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว ตอนกลางของ ประเทศกัมพูชา และตอนใต้ของประเทศเวียดนามด้วย ๓ และ รวมถึงอินเดีย (ชมพูทวีป) แหล่งวัฒนธรรมใหญ่ที่ต่อมาจะแพร่ หลายเป็นพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงครั้งส�ำคัญของภูมิภาค ดังนี้ ดินแดนอีสานผ่านจากยุคสังคมล่าสัตว์สู่ยุคเริ่มแรกเกษตรกรรม มีแหล่งโบราณคดีส�ำคัญคือ บ้านเชียง อ�ำเภอหนองหาน จังหวัด


อุดรธานี และโนนนกทา อ�ำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ๔ อนึ่ง โลหกรรมประเภทส�ำริดในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงคงเริ่มเมื่อ ประมาณ ๔,๕๐๐-๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ส�ำหรับส่วนผสมของส�ำริด คือ ทองแดงกับดีบกุ ไม่มอี ยูโ่ ดยธรรมชาติในบริเวณบ้านเชียง จึง แปลความได้ว่ามีการติดต่อไปมาค้าขายกับดินแดนภายนอกที่ ห่างไกล ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง อุดรธานี เริ่มมี การใช้เหล็กตั้งแต่ราว ๒,๗๐๐-๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว โลหะส�ำคัญ ประเภทนี้ได้จากการถลุงสินแร่ให้ได้เป็นก้อนโลหะเหล็ก แล้วจึง น�ำไปตีขนึ้ รูปเป็นเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ ขัน้ ตอนสุดท้าย คือ การชุบ ให้เหล็กแข็งด้วยการเผาให้รอ้ นแดง แล้วจุม่ ลงในน�ำ้ เย็น เครือ่ งมือ เหล็กที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้แก่ ใบหอก หัวขวาน หัวลูกศร เคียว และใบมีดลักษณะต่างๆ (ภาพที่ ๑) เครื่องมือที่ มีการใช้งานเฉพาะอย่างสอดคล้องกับการหล่อโลหะเป็นเครื่อง ประดับ เช่น ก�ำไล ห่วงคล้องคอ (ภาพที่ ๒) รวมทั้งงานทอผ้า และทีส่ ำ� คัญ คือ ประเพณีฝงั ศพ ซึง่ เป็นทีร่ วมของบรรดาหลักฐาน ทีก่ ล่าวมา รวมทัง้ ภาชนะเขียนสี ๕ (ภาพที ่ ๓-๔) สิง่ ของเครือ่ งใช้

10

ภาพที่ ๑ เครื่องมือส�ำริด พช. บ้านเชียง ใบหอก ขวาน คือเครื่องมือส�ำคัญในการด�ำรงชีวิต ของผู้คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สะท้อนว่า เอาใจใส่รูปแบบที่สอดคล้องกับการใช้งาน ทั้งไม่ละเลยในเรื่องของการประดับตกแต่งด้วย


ภาพที่ ๒ เครื่องประดับส�ำริด 11 พช. บ้านเชียง เข้าใจว่า ส�ำหรับสวมเป็นก�ำไลมือ

ภาพที่ ๓ ภาชนะดินเผาประดับ ลายเขียนสี พช. บ้านเชียง บ่งถึงการวางแผนในการออกแบบ เพื่อให้ลวดลายบรรจุลงในพื้นที่ ได้อย่างพอเหมาะ โดยมีการแบ่งชนิด ของลวดลายตามความแตกต่าง ของพื้นที่ประดับ คือ ลายประดับ คอภาชนะและลายประดับตัวภาชนะ

ภาพที่ ๔ ภาชนะดินเผาประดับ ลายเขียนสี พช. บ้านเชียง แสดงว่า ก่อนการก�ำหนดพื้นที่และเลือก ลักษณะของลวดลายประดับ ให้เหมาะสมคือการออกแบบ ภาชนะให้เหมาะแก่งาน การหยิบถือใช้งานด้วย

เหล่านีล้ ว้ นมีประเด็นของงานประดับตกแต่งอยูม่ ากบ้างน้อยบ้าง ทั้งนี้ไม่ต้องกล่าวถึงเครื่องประดับกาย ซึ่งท�ำขึ้นเพื่อการตกแต่ง อยู่แล้ว


12

ในแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ไม่เพียงภาคเหนือและภาค อีสานเท่านัน้  ภาคกลางและภาคใต้ลว้ นได้พบก�ำไลโลหะ รวมทัง้ ลูกกระพรวนโลหะอย่างแพร่หลาย ลูกกระพรวนเหล่านั้นได้พบ ที่หล่อต่อเนื่องเป็นก�ำไลมือ หรือเรียงร้อยกันเป็นสร้อยคอก็มี ทีเ่ รียงร้อยสลับด้วยลูกปัดหินสีกม็  ี อายุประมาณ ๒,๕๐๐-๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ๖ ลูกกระพรวนโลหะแสดงถึงเทคโนโลยีของงานประเภท ทุบตี โลหะร้อนเพือ่ ขึน้ รูป ก้าวหน้ามาเป็นงานหล่อโลหะแบบพิมพ์ ง่ายๆ ต่อมามีพฒ ั นาการ เช่นเพิม่ ความซับซ้อนด้วยการหล่อแบบ สูญขีผ้ งึ้  กล่าวคือ เบือ้ งต้นต้องท�ำแบบเป็นแกนดิน แล้วจึงใช้เส้น ขีผ้ งึ้ พันขึน้ รูป โดยพันทับขวางกันเป็นชุดเป็นแถบ หรือพันแนวตัง้ แนวนอนหรือแนวเฉียงก็ม ี เมือ่ พอกดินปะกบขีผ้ งึ้ พันดังกล่าวแล้ว ก็สุมไฟไล่ขี้ผึ้งออก จากนั้นจึงเทโลหะหลอมละลายเข้าไปแทนที่ ขีผ้ งึ้ เมือ่ เย็นลงกะเทาะดินหุม้ ออกก็จะได้ลกู กระพรวนโลหะ ๗ ซึง่ มี รูปแบบของลวดลายแถบแนวตั้ง แนวนอน แนวเฉียง ท�ำนอง ลวดลายเรขาคณิตตามรูปแบบการพันเส้นขี้ผึ้ง การประดับด้วยการท�ำพิมพ์จากแถวแนวขีผ้ งึ้  คือหนึง่ ใน งานประดับประดาที่มีมากขึ้นทุกที ความประณีตเพิ่มขึ้นสะท้อน ถึงความก้าวหน้าทางกรรมวิธี ควบคู่กับพัฒนาการทางสังคมที่มี แบบแผนซับซ้อนกว่ายุคก่อน ข้อสังเกตที่น่าสนใจมีอยู่ว่า ก�ำไล ลูกกระพรวนทีข่ ดั ผิวเรียบคงเป็นกระพรวนที่ใช้งาน เช่น ตกแต่ง ร่างกาย แตกต่างจากกระพรวนหรือก�ำไลกระพรวนที่มิได้ผ่าน การขัดถูเอาเศษแหลมหรือปุ่มปมอันเป็นต�ำหนิจากการหล่อออก ทิ้ง ได้พบในหลุมฝังศพ คือท�ำขึ้นเพื่อฝังพร้อมผู้ตาย ๘ สั ง คมก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ใ ช้ ก รรมวิ ธี ห ล่ อ สู ญ ขี้ ผึ้ ง ดังกล่าว ย่อมควบคู่กับรูปแบบงานช่างที่งานออกแบบได้สัดส่วน ดีขึ้นเป็นล�ำดับ นับตั้งแต่เครื่องประดับกาย เครื่องมือเครื่องใช้ ทีม่ รี ปู แบบต่าง ๆ กันตามประเภทการใช้งาน สังคมก่อนประวัต-ิ ศาสตร์ที่บ้านเชียงมีตัวอย่างของเครื่องมือเหล็กมากมายหลาย แบบตามประโยชน์ใช้สอย ทัง้ จากการหล่อหรือตีขนึ้ รูป ทัง้ นีส้ อด คล้องกับงานเขียนสีประดับภาชนะดินเผา ลวดลายงดงามทีม่ คี วาม พิสดารเกิดจากการวางแผนออกแบบ และควบคุมการเขียนไม่เรือ่ ย


ประเทศไทยกับงานช่าง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙

งานประดับในศิลปะสุโขทัย ภาคกลางตอนบนเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หรือก่อน หน้านั้นเล็กน้อย ผ่านมาถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ มีราชธานี คือสุโขทัย โดยมีเมืองเครือข่ายหลายเมือง ที่ส�ำคัญ คือ ศรีสัชนาลัย ก�ำแพงเพชร และพิษณุโลก ส�ำหรับศรีสชั นาลัยยังเหลือ หลักฐานของลวดลายประดับแบบศิลปะสุโขทัยอยู่ในโบราณสถาน ร้างหรือวัดร้าง เช่นเดียวกับที่เหลืออยู่ตามวัดร้างในราชธานี สุโขทัย โดยมีหลักฐานการเกี่ยวข้องด้านลวดลายประดับและ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมบางประการกับศิลปะทางเหนือคือ แคว้นล้านนา มีเชียงใหม่เป็นราชธานี ซึ่งเกี่ยวโยงอยู่กับรสนิยม บางประการด้านลวดลายประดับที่มาจากจีนและศิลปะอยุธยา ราชธานีรุ่นน้องทางใต้ซึ่งเชื่อมโยงกับงานประดับแบบขอมด้วย อนึ่งในส่วนลวดลายประดับของเมืองก�ำแพงเพชร คือลักษณะ ผสมผสานรสนิยมจากราชธานีทางเหนือและราชธานีทางใต้เมื่อ ผ่านต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ มาแล้ว และส�ำหรับพิษณุโลกในส่วน ของลวดลายยังไม่พบที่ส�ำคัญ นอกจากลวดลายประดับในต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๑ อันเป็นงานช่างผสมผสานจากหลากหลาย

109


110

รสนิยม ในราชธานีสุโขทัย ลวดลายแบบสุโขทัยซึ่งมีลักษณะ เฉพาะอาจเชื่อได้ว่ามีส่วนรับแรงบันดาลใจจากลวดลายประดับ แบบศิลปะลังกา คงสืบเนื่องมาจากการรับพุทธศาสนาลังกาวงศ์ จากลังกา แต่ก็เป็นไปได้ว่าคงมีบางส่วนที่รับผ่านจากพม่า ซึ่ง หมายความว่ า สุ โ ขทั ย รั บ มาทั้ ง พุ ท ธศาสนาและงานช่ า งเช่ น ลวดลายประดับด้วย การเกี่ยวข้องระหว่างราชธานีสุโขทัยกับ ราชธานีทางใต้คือกรุงศรีอยุธยา และลพบุรีตอนต้นของงานช่าง กรุงศรีอยุธยา ก็ย่อมมีผลต่องานช่างในด้านการประดับของ สุโขทัยด้วย

วัดมหาธาตุ สุโขทัย

ความทีว่ ดั มหาธาตุเป็นวัดกลางเมือง มีขนาดใหญ่ มีงาน สิ่งก่อสร้างมากหลากหลาย แสดงว่าเป็นวัดส�ำคัญของราชธานี และคงสร้างขึน้ ในระยะแรกของราชธานี โดยผ่านการปฏิสงั ขรณ์ สร้างเสริมเพิ่มเติมอย่างส�ำคัญเรื่อยมาในทุกรัชกาลของสมัย สุโขทัย


111

ภาพที่ ๗๙  เจดีย์ประธาน เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม และเจดีย์บริวารประจ�ำทิศ ประจ�ำมุม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุโขทัย  ร่อยรอยการต่อเชื่อมระหว่าง เจดีย์ประธานกับเจดีย์บริวารประจ�ำทิศทั้งสี่แสดงถึงการปรับเปลี่ยนในคราว ปฏิสังขรณ์ เชื่อว่าก่อนหน้านั้นเจดีย์ประธานคงเคยเป็นเจดีย์ทรงปราสาท แบบเรือนชั้นจากแรงบันดาลใจที่ได้จากปราสาทแบบขอม เช่นเดียวกับรูปแบบ ของเจดีย์บริวารประจ�ำทิศทั้งสี่ แต่มีขนาดใหญ่กว่าเพราะเป็นเจดีย์ประธาน เจดีย์ประธานทรงยอดดอกบัวตูมคงสร้างขึ้นคราวปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่คราวใด คราวหนึ่งในสมัยสุโขทัยนั้นเอง โดยสร้างครอบเจดีย์ประธานองค์เดิม ๑  ส�ำหรับ ลวดลายปูนปั้นประดับมีอยู่ที่เจดีย์บริวารประจ�ำทิศทั้งสี่องค์  ส่วนเจดีย์ประจ�ำมุม อีกสี่องค์เกี่ยวข้องกับแบบอย่างของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดในศิลปะล้านนา ๒ บางองค์เหลืออยู่เพียงงานปูนปั้นเป็นรูปบัวทรงคลุ่มที่ส่วนยอด  อนึ่งทั้งเจดีย์ ประจ�ำมุมและประจ�ำทิศมีหลักฐานว่า ส่วนฐานถูกก่อหุ้มจนกลายเป็นว่าตั้งอยู่บน ฐานไพที ทัง้ ทีแ่ ต่เดิมมีความเป็นไปได้วา่ ก่อบนพืน้ ดินหรือบนยกพืน้ เตีย้ ๆ เท่านัน้ ๓


154

ค้าของคุรุสภา, ๒๕๒๖), หน้า ๑๘๓. ๑๗ สันติ เล็กสุขมุ , ความสัมพันธ์จนี -ไทย : โยงใยในลวดลายประดับ, ๒๕๕๐, หน้า  ๔๗. ๑๘ ส�ำนักนายกรัฐมนตรี, ประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา ภาค ๑,  (คณะกรรมการ  จัดพิมพ์เอกสารทางประวัตศิ าสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี, พระนคร : โรงพิมพ์  ส�ำนักท�ำเนียบนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๐), ไม่ระบุเลขหน้า. ๑๙ หน้าเดิม. ๒๐ สันติ เล็กสุขมุ , กระหนกในดินแดนไทย, (พิมพ์ครัง้ ที ่ ๓), (กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์  เมืองโบราณ, ๒๕๔๕), หน้า ๔๑-๔๖.


งานประดับในศิลปะล้านนา เมื่อยึดได้เมืองล�ำพูน ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๙๔๐ พญามังรายทรง  ตัง้ เมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี และทรงรวบรวมเมืองต่าง ๆ ทาง  ภาคเหนือเป็นเครือข่ายเรียกว่าแคว้นล้านนา ๑ ปัจจุบนั นักวิชาการ  จึงเรียกงานช่างศิลปกรรมที่สร้างขึ้นในเมืองเหนือระยะนั้นว่า ศิลปะล้านนา แทนชื่อเดิมที่เรียกกันว่า ศิลปะเชียงแสน มีเพียง  แต่พระพุทธรูปในศิลปะล้านนาเท่านั้นที่ยังเรียกกันติดต่อมาว่า   พระพุทธรูปเชียงแสน ราชธานีเชียงใหม่มีอายุยืนนานกว่าราชธานีสุโขทัย โดย  ได้ผ่านยุคทองในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช ซึ่งเกี่ยวโยงกับกรุง  ศรีอยุธยา ภายหลังตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าราวสอง  ร้อยปี ตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๑๐๑ จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่ง  เชียงใหม่อยู่ในสภาพรกร้างระยะหนึง่ ก็ได้รบั ความช่วยเหลือจาก  ทางกรุงเทพฯ ขับไล่พม่าผู้ปกครองออกไป จนในที่สุดเชียงใหม่  รวมทัง้ เมืองเครือข่ายก็รวมอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีกรุงเทพฯ   เป็นราชธานี ๒ พื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมของล้านนา นอกเหนือจาก  หลักฐานด้านเอกสารล้านนา เอกสารจีน และพม่าแล้ว ยังมีหลัก-  ฐานด้านงานช่างทัง้ สถาปัตยกรรมและงานปูนปัน้ ประดับ น่าสนใจ  ว่าในส่วนลวดลายประดับของล้านนาเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับรสนิยม  จีนยิง่ กว่าความใกล้ชดิ ระหว่างพม่ากับจีน  การวิเคราะห์ประเด็น  นี้ย่อมหลีกไม่พ้นส่วนส�ำคัญนอกเหนือจากงานด้านลวดลาย  ประดับ คือลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ล้านนามีเส้นทางติดต่อกับ  จีนตอนใต้ ซึง่ การแพร่หลายเข้ามาในส่วนของงานประดับประดา  ในรูปของเครื่องบรรณาการหรือสินค้า เช่น เครื่องถ้วย ผ้าแพร  พรรณซึง่ ถักทอประดับประดาด้วยลวดลายประดับ เหตุนรี้ สนิยม  จีนจึงแพร่หลายผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งในเอกลักษณ์ของศิลปะ ล้านนา

155


156

วัดป่าสัก เชียงแสน

หากพิจารณาจากเอกสารซึง่ มีชอ่ งให้เข้าใจได้วา่ วัดป่าสัก  สร้างขึ้นในราว พ.ศ. ๑๘๗๑ ในรัชกาลพระเจ้าแสนภู ๓ พระองค์  ทรงเป็นพระราชนัดดาของพระยามังราย ผู้ทรงสถาปนาเมือง  เชียงใหม่ซงึ่ เป็นราชธานีของแคว้นล้านนา และหากการวิเคราะห์  ลวดลายปูนปั้นโดยรวมที่ประดับเจดีย์ประธานทรงปราสาทห้า  ยอดของวัดป่าสักว่าปั้นขึ้นคราวแรกสร้างวัด ก็ควรกล่าวได้ว่า  เมืองเชียงแสนระยะนั้นเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมจีน พม่า และ  สุโขทัย

ภาพที่ ๑๓๒ เจดีย์ประธาน วัดที่สร้างในกลางพุทธตวรรษที่ ๑๙ แห่งนี้ มีงานช่างที่เกี่ยวข้องกับทางจีน พม่า และสุโขทัย  เจดีย์ประธานองค์นี้ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอด มียอดประธานและยอดบริวารอีกสี่ยอด (ซึ่งหักช�ำรุด) จึงเรียกว่า เจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด


157

ภาพที่ ๑๓๓ ซุ้มซ้อนและลวดลายประดับ แถวแท่งยาวตั้งเรียงอย่างเป็นระเบียบ บนกรอบซุม้ ทีด่ เู หมือนครีบ ท�ำนองเดียวกับรูปแบบและระเบียบของงานประดับซุม้ ซึ่งมีมาก่อนในศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกามเรียกว่า “เคล็ก” (clec) รูปพญานาค ออกจากปากมกร รวมทั้งกระหนกวงโค้งที่ประกอบกันเป็นแผงอาจเป็นอิทธิพล ที่ผสมผสานทั้งศิลปะขอมและศิลปะลังกา โดยผ่านทางศิลปะสุโขทัยซึ่งได้กล่าวมา แล้วในงานประดับของศิลปะสุโขทัย (เช่นภาพที่ ๘๐-๘๒) ส่วนลายพรรณพฤกษา ย่อมเกี่ยวข้องกับงานประดับเครื่องถ้วยจีน ซึ่งแพร่หลายลงมาจากจีนทางตอนใต้ และได้กล่าวมาแล้วเช่นกันในส่วนของงานประดับของศิลปะสุโขทัย ดังในงานจารึก บนแผ่นศิลาของวัดศรีชุม (ดูภาพที่ ๘๖-๘๙ ก.) ลายชุดประดับเสาจระน�ำคือ รูปสามเหลี่ยม ตอนบนเรียกว่า “กาบบน”  ถัดลงมาเรียกว่า “ประจ�ำยามอก” ล่างสุดเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยายคือส่วนที่พิเศษ เพราะโดยปรกติเป็นลายกรอบ สามเหลี่ยมที่เรียกว่า “กาบล่าง” หากประดับเป็นชุดเรียกว่า “กาบบน กาบล่าง และประจ�ำยามอก” ซึ่งมีต้นเค้าอยู่ในศิลปะพุกาม เช่นงานปูนปั้นประดับที่เจดีย์วิหารฮติโลมินโล (พ.ศ. ๑๗๕๔) หรือที่เจดีย์-วิหารปยะตองสู ราวครึ่งแรกของ พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ๔  อนึ่งในศิลปะล้านนาตั้งแต่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ หรือเมื่อเริ่มพุทธศตวรรษต่อมา กรอบสามเหลี่ยมจะเปลี่ยนลักษณะไป โดยมีส่วนโค้งเล็กๆ ประกอบกัน อันเป็นลักษณะที่ปรับปรุงจากงานประดับ จากศิลปะจีน (ดู ภาพที่ ๑๕๒, ๑๕๓)


232

งานประดับในศิลปะอยุธยา

ใน พ.ศ. ๑๘๙๓ ดินแดนทางภาคกลางมีกรุง-  ศรีอยุธยาเป็นราชธานี งานช่างหลวงของอยุธยามีพนื้ ฐานอันเกิด  จากวัฒนธรรมสั่งสมและปรุงแต่งด้วยการผสมผสานวัฒนธรรม  ขอมกับแหล่งบันดาลใจใหม่คอื ราชธานีรนุ่ พี ่ - สุโขทัยและล้านนา  ตามล�ำดับ ในศตวรรษแรกของราชธานีกรุงศรีอยุธยาได้ผนวกเอา  แคว้นสุโขทัยไว้ในอาณาจักรของตน ในทางช่างย่อมหมายถึงการ  ควบรวมศิลปะสุโขทัยไว้ในศิลปะอยุธยา ทัง้ นีแ้ ตกต่างจากล้านนา  คู่กรณีทั้งด้านสงครามและมิตรภาพ ที่ยังแผ่อิทธิพลศิลปะลงมา  เป็นระลอก ประกอบกับราชธานีกรุงศรีอยุธยาติดต่อค้าขายกับ  ต่างประเทศทัง้ ใกล้และไกล จึงเพิม่ พูนความมัง่ คัง่ ทางเศรษฐกิจ  ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิม่ เติมความหลากหลายในงานช่างด้วย เช่นกัน ราชธานีกรุงศรีอยุธยาผ่านช่วงเวลากว่าสีร่ อ้ ยปี หลักฐาน  ทางด้านงานช่างอันเป็นส่วนหนึง่ ของวิถวี ฒ ั นธรรมในพุทธศาสนา  ภายใต้พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภ์ พระองค์ทรง  น�ำในการสร้างปฏิสงั ขรณ์วดั   ศิลปะของช่างหลวงจึงสืบทอดเป็น  แบบแผนประเพณี และแพร่หลายลงสูส่ งั คมระดับล่างทัง้ ในราช-  ธานีและเมืองในพระราชอาณาจักร หลั งการสิ้นสุดเวลาของราชธานีตั้งแต่ พ.ศ.  ๒๓๑๐  ศาสนสถานและพระราชวังรกร้างไปในที่สุด  เมื่อบ้านเมืองเริ่ม  กลับมีขึ้นใหม่เพราะผู้คนทยอยอพยพกลับมาเป็นล�ำดับ ซึ่งคง  เพิ่มมากขึ้นแล้วในสมัยต้นราชธานีกรุงเทพฯ ดังในรัชกาลพระ-  บาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั  พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้มาบูรณะ


วัดร้างในอยุธยา เช่น วัดหน้าพระเมรุ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๘๒๓๘๑ ซึ่งระบุไว้ในศิลาจารึกภายในวัดนั่นเอง  หลังการเปลี่ยน  233 แปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ มีการใช้พื้นที่โบราณสถานเพื่อ  สร้างสถานทีร่ าชการและสถานศึกษา รวมทัง้ บ้านเรือนราษฎร ก่อน  การประกาศขึน้ ทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากร  ราชธานี  กรุงศรีอยุธยา - อดีตที่มีปัจจุบันแทรกทับซ้อนอยู่ทั่วไปจึงมี  ประเด็นให้โยกย้ายผูค้ นออกไปจากเขตโบราณสถาน หากเป็นเช่น  ทีว่ า่ เท่ากับโดดเดีย่ วโบราณสถานหรือไม่ เพราะหากไม่มผี คู้ น ซาก  โบราณสถานจะมีความหมายได้อย่างไร จึงคิดต่อไปว่าหากคนกับ  ซากโบราณสถานอยูร่ ว่ มกันโดยจัดการให้เป็นสัดส่วนอย่างเหมาะ  สมก็น่าจะดี  กระนั้นค�ำถามท้าทายที่ตามมาคือจะท�ำอย่างไร  เพราะในทางปฏิบตั ยิ งั มีปญ ั หาทีต่ อ้ งท�ำความเข้าใจกันอีกไม่นอ้ ย ในที่นี้ได้คัดเลือกตัวอย่างลวดลายประดับที่แสดงตัวตน  ของสมัยราชธานีกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสืบเนื่องเกี่ยวโยงกับแหล่ง  วัฒนธรรมรุ่นก่อน ทั้งจากลพบุรี สุโขทัย และล้านนา ผสมกลม  กลืนกันเป็นพัฒนาการของลวดลายประดับสมัยกรุงศรีอยุธยา  อย่างชัดเจนยิ่ง

วัดพุทไธสวรรย์ พระนครศรีอยุธยา

พระราชพงศาวดารฯ ระบุว่า พ.ศ. ๑๘๙๖ สมเด็จพระ-  รามาธิบดีท ี่ ๑ (พระเจ้าอูท่ อง) โปรดให้สร้างวัดนี ้  เดิมพืน้ ทีก่ อ่ น  การสร้างเคยเป็นทีป่ ระทับของพระองค์กอ่ นเสด็จข้ามฟากแม่น�้ำ  มาสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ ๑  การ  ตรวจสอบด้านแผนผังของวัดโดยศึกษาต�ำแหน่งที่ตั้งของปรางค์  ประธาน องค์ปรางค์มมี ขุ ยืน่ ยาวออกไปทางทิศตะวันออกและปีก  ปรางค์ยนื่ ออกทางทิศเหนือและทิศใต้  บริเวณของปรางค์ประธาน  ล้อมด้วยระเบียงคด กลางด้านตะวันออกของระเบียงคดมีท้าย  วิหารยื่นล�้ำเข้ามา ดังกล่าวนี้คือแบบแผนของวัดทั้งหลายที่สร้าง  ขึน้ ในสมัยแรกเริม่ ราชธานีซงึ่ มีตน้ แบบคือวัดพระศรีรตั นมหาธาตุ  ลพบุร ี ๒  ความส�ำคัญทีเ่ ป็นวัดแรกของราชธานียอ่ มได้รบั การท�ำนุ


234

บ�ำรุง ปฏิสงั ขรณ์มาตลอดสมัยของราชธานี จนแม้ผา่ นเข้ามาสมัย  รัชกาลที ่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ราษฎรก็ยงั พร้อมใจกันบริจาค  เงินปฏิสงั ขรณ์พระปรางค์ซงึ่ เป็นเจดียป์ ระธานของวัดรวมทัง้ งาน  ปฏิสงั ขรณ์สร้างเสริมของวัดในปัจจุบนั  และงานในหน้าทีข่ องกรม  ศิลปากรด้วย

ภาพที่ ๒๐๗  ปรางค์ประธานวัดพุทไธสวรรย์ เรียกว่าเจดีย์ประธานทรงปรางค์ และยอดแหลมของมณฑปที่ขนาบสองด้านซึ่งผ่านการปฏิสังขรณ์จนไม่อาจศึกษา รูปแบบเดิมได้ดีนัก


ภาพที ่ ๒๐๘  เจดียท์ รงเครือ่ ง มีชอื่ ว่าเจดียห์ มายเลข ๑๓  อยูส่ ดุ พืน้ ทีท่ างตะวันออกของวัด มีผลวิเคราะห์ดา้ นรูปแบบ และลวดลายประดับบ่งว่า คงเป็นเจดียท์ รงเครือ่ ง ในระยะแรก ๆ ก�ำหนดอายุได้ ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ๓

ภาพที่ ๒๐๙  ขยายจากภาพที่ ๒๐๘ ขาสิงห์นับเนื่องเป็นงานประดับที่มีลวดลาย ประดับอยู่ด้วย การพิจารณาลักษณะของขาสิงห์ซึ่งมีน่องสิงห์ประกอบจาก ส่วนโค้งคล้ายวงเล็บต่อเนื่องกัน และกาบเท้าสิงห์ที่ยังไม่มีรายละเอียดมากนัก ตรงกับทฤษฎีว่าด้วยแบบอย่างของขาสิงห์รุ่นก่อนที่แบนใหญ่คล้ายใบพาย น่องสิงห์ประกอบจากส่วนโค้งต่อเนื่องกันเช่นขาสิงห์ที่กำ� หนดอายุในราว พ.ศ. ๒๐๔๒ ของฐานวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ (ดูภาพที่ ๒๘๖) ๔

235


236

วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา

ระยะแรกของราชธานีผา่ นมาถึงปีทสี่ ร้างวัดมหาธาตุ เมือ่   พ.ศ. ๑๙๑๗ ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที ่ ๒ (ขุนหลวง  พะงัว่ ) ๕ ปรางค์มหาธาตุซงึ่ เป็นเจดียป์ ระธานก่อด้วยศิลาแลงแซม  ด้วยศิลาและอิฐ ปัจจุบันทลายลงเหลือเพียงฐานต่อขึ้นเป็นตอน  ล่างของเรือนธาตุ ด้านทั้งสี่ของฐานก่ออิฐต่อยื่นออกไปแสดงว่า  เคยเป็นจัตรุ มุข นับว่าผิดแปลกไปจากแบบแผนของยุคต้นทีก่ อ่ มุข  ยืน่ ไปเฉพาะทางด้านตะวันออก การปฏิสงั ขรณ์ครัง้ ส�ำคัญเมือ่  พ.ศ.  ๒๑๗๖ ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  พระราช-  พงศาวดารฯ ได้กล่าวถึงงานปรับปรุงเฉพาะทรวดทรงของปรางค์  แต่ไม่ได้กล่าวว่าได้เพิ่มเติมเป็นสี่มุข ๖ จึงน่าคิดว่ารัชกาลนี้เองที่  เพิ่มเติมเอาไว้ บรรดาซากสิ่งก่อสร้างภายในวัดสะท้อนถึงความ  เป็นวัดส�ำคัญคือแบบอย่างต่างๆ ทีส่ ร้างและปฏิสงั ขรณ์กนั มาเป็น  ระยะจนถึงวาระสิ้นสุดของราชธานี

ภาพที่ ๒๑๐ ซากเจดีย์ประธาน - เจดีย์มหาธาตุ เบื้องหน้าของภาพคือ ซากอาคารและพระพุทธรูปหินทราย ไกลออกไปคือเจดีย์มหาธาตุซึ่งเป็นประธาน ของวัด และบรรดาเจดีย์บริวารภายในบริเวณวัด


237

ภาพที่ ๒๑๑  ลวดลายสลักศิลา

ภาพที่ ๒๑๑ ก.  ลายเส้น จากภาพที่ ๒๑๑ ภาพที่ ๒๑๑, ๒๑๑ ก.  แท่งหินมีลวดลายสลักจ�ำนวนหนึ่ง กรมศิลปากรขุดค้นได้  บริเวณใต้ฐานชุกชีของวิหารหลวง เข้าใจว่าเป็นชิ้นส่วนของฐานชุกชีเดิม ปรกติ  งานสลักหินเป็นลวดลายประดับนิยมอยู่เฉพาะวัฒนธรรมขอมในอดีต เมื่อถึงสมัย  ราชธานีกรุงศรีอยุธยารสนิยมขอมปรับเปลีย่ นมามากแล้ว แม้ยงั มีงานสลักลวดลาย  หลงเหลืออยู่ก็สะท้อนถึงวัฒนธรรมอื่นที่เข้าผสมสาน จึงแทบไม่เห็นลวดลายใน  รสนิยมขอมชัดเจนอีกแล้ว  ประการแรกคือ การสลักนูนต�ำ่  ต่างจากภาพสลักนูนสูง  แบบขอม ลักษณะลวดลายแบบจีนได้รบั การดัดแปลงเข้ามาผสมผสานเด่นชัดคือลาย  ดอกบัวอยูภ่ ายในกรอบทีป่ ระกอบจากวงโค้ง ดังทีน่ ยิ มมาก่อนในงานประดับแบบจีน


ภาพที่ ๒๓๔ ลวดลายประดับเรือนธาตุ

254

ภาพที่ ๒๓๔ ก. จากภาพที่ ๒๓๔

ภาพที่ ๒๓๔ ข. หมายเลข ๑ ลายเส้น จากภาพที่ ๒๓๔ ก.


ภาพที่ ๒๓๔, ๒๓๔ ก. ๒๓๔ ข.  ลวดลายประดับเรือนธาตุ หมายเลข ๑ คือลายกรวยเชิงสมัยสร้างปรางค์ เพราะแม่ลายรูปสาม  255 เหลี่ยมแบ่งภายในออกเป็นสามส่วน คือส่วนประธานและส่วนขนาบแม่ลายสลับกับ  ลายแทรก มีเส้นนอกเชื่อมสานกันตามแบบอย่างที่เคยมีมาก่อนที่วัดพระศรีรัตน-  มหาธาตุ ลพบุรี โดยลวดลายเกิดจากการปั้นให้มีปริมาตรเล็กน้อย หมายเลข ๒ ลายเฟื่องอุบะส่วนที่ถูกปฏิสังขรณ์ในอดีตโดยใช้เครื่องมือ  คมกรีดลาย แบบแผนของลายรวนออกจากระบบเดิม แม้มีความพยายามจะเลียน  แบบอยู่บ้างก็ตาม  อนึ่งงานปฏิสังขรณ์ที่ท�ำแทนของเดิมที่หลุดร่วง ไม่ได้ฉาบปูน  ทับทั้งองค์ แตกต่างจากวิธีปฏิสังขรณ์ที่วัดมหาธาตุซึ่งได้กล่าวมาแล้ว (ดูภาพที่  ๒๑๙, ๒๑๙ ก.) หมายเลข ๓ ส่วนที่ถูกปฏิสังขรณ์ในอดีต โดยปั้นเป็นลายแบบใหม่ คง  เพราะงานที่เคยประดับส่วนนี้หลุดร่วงไปทั้งหมด

ภาพที่ ๒๓๕  ลวดลายประดับ งานสมัยแรกกับสมัยปฏิสังขรณ์

ซ้าย ขวา

ภาพที่ ๒๓๕ ก.  ขยายจากภาพที่ ๒๓๕


284

ภาพที่ ๒๖๙  ลวดลายดุนนูนประดับชิ้นส่วนปรางค์จำ� ลองทองค�ำ จากกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ

ภาพที่ ๒๖๙ ก.  ลายเส้น จากภาพที่ ๒๖๙ ภาพที ่ ๒๖๙, ๒๖๙ ก.  ลายรูปกลีบบัว ภายในดุนนูนรูปช่อดอก เข้าใจว่าคือดอกบัว  เป็นชิ้นส่วนทองค�ำของปรางค์จ�ำลอง สัมพันธ์กับงานประดับช่อดอกภายในกลีบบัว  ของวัดอื่นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ที่ได้กล่าวมาบ้างแล้ว (ภาพที่ ๒๑๓)


งานประดับในศิลปะธนบุรี และศิลปะรัตนโกสินทร์

หลังจากกรุงศรีอยุธยาล่มสลายและก่อนสมัย

ราชธานีใหม่กรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพฯ มีสมัยกรุงธนบุรคี นั่ อยู่ชั่วคราวในช่วง ๑๕ ปี งานช่างที่มีอยู่บ้างของสมัยกรุงธนบุรี ย่อมสืบทอดจากกรุงเก่า แต่คงเพราะปฏิสงั ขรณ์มากจนไม่สามารถ ศึกษาได้แน่ชัด นอกจากจิตรกรรมในสมุดภาพฉบับกรุงธนบุรีซึ่ง จะได้กล่าวถึงต่อไป วัดคืออุปกรณ์อย่างหนึ่งในการเผยแผ่ศาสนา วัดผูกพัน แนบแน่นกับวิถีชีวิตไทย กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าวัดคือสัญลักษณ์ ของพุทธศาสนาและสังคมไทย งานสร้างปฏิสังขรณ์วัดเป็นพระ ั นธรรม ราชกิจส�ำคัญของพระมหากษัตริยต์ ลอดมา มีมาตัง้ แต่วฒ ศาสนาแผ่หลายเข้ามาเมือ่ กว่าพันปีมาแล้ว พระองค์ทรงโปรดให้ พระราชวงศ์รวมทัง้ ข้าราชบริพารโดยเสด็จพระราชกุศลในการท�ำนุ บ�ำรุงพระพุทธศาสนา ทั้งการสร้างและการปฏิสังขรณ์ด้วย งาน ประดับของช่างไทยสมัยโบราณจึงเจริญรุ่งเรืองควบคู่กับพุทธศาสนาและราชส�ำนักเรือ่ ยมา  เมือ่ ผ่านเข้าสูส่ มัยกรุงเทพฯ และ ผ่านมาจนปัจจุบันดังงานช่างในพระบรมมหาราชวัง รวมทั้งที่วัด พระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง ซึ่งในที่นี้จะเลือก เป็นตัวอย่างศึกษา เมือ่ บทบาทของเอกชนเพิม่ มากเป็นล�ำดับตัง้ แต่ในรัชกาล ที ่ ๗ คือส่วนทีเ่ พิม่ ความหลากหลายให้แก่งานช่างไทย โดยทีง่ าน ช่างโบราณหรือที่เรียกว่างานช่าง “แนวแบบแผนประเพณี” ไม่ จ�ำกัดอยูเ่ ฉพาะในวัด ในปราสาทราชวังดังอดีตทีผ่ า่ นมา ได้แพร่ หลายออกมาอยู่ในส�ำนักงานทัง้ ของรัฐและเอกชนตามห้องแสดง

395


396

ภาพ งานช่างไทยแนวแบบแผนประเพณีแยกย่อยหลายเรื่องราว หลายรูปแบบลักษณะ จากการเลือกใช้วสั ดุ การแสดงออกทีแ่ ยก แตกประเด็นจากเดิมมามีแบบอย่างเฉพาะของยุคร่วมสมัยปัจจุบนั ตลอดจนแบบอย่างงานศิลปกรรมทุกประเภท ไม่เพียงจากตะวัน ตกแต่จากตะวันออก เช่น ญีป่ นุ่  จีน เกาหลี ทีแ่ พร่หลายเข้ามาสู่ สังคมไทย โดยเฉพาะกลุม่ วัยรุน่ อันเป็นอนาคตของชาติแพร่หลาย เข้ามาทัง้ แนวประยุกต์ผสมผสานและแนวทีพ่ ยายามลอกเลียนมา ในบางโอกาสบางกรณี จึงเป็นอันว่าปัจจุบันวัฒนธรรมจากต่าง ประเทศทัง้ ตะวันตกและตะวันออกมีอยูอ่ ย่างชัดเจนและกว้างขวาง กว่าอดีต โฉมหน้าของวัฒนธรรมไทยจึงปรับเปลีย่ นรวดเร็วยิง่ กว่า ที่ผ่านมา งานช่างแนวโบราณของไทยซึ่งรวมถึงงานประดับโดย เฉพาะลายกระหนก ก็เป็นธรรมดาทีผ่ นั แปรลักษณะมาตามเงือ่ น ไขของกาลเวลาด้วย แต่ขณะเดียวกันก็ยงั เป็นส่วนส�ำคัญไม่นอ้ ย ในวัฒนธรรมไทยปัจจุบัน

ศิลปะสมัยกรุงธนบุรี : สมุดภาพสมัยกรุงธนบุรี

สมุดภาพฉบับนีม้ ปี ระวัตเิ ขียนเป็นลายลักษณ์อกั ษรทีบ่ าน แผนกว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุร ี “ตรัสสัง่ ให้พญาศรีธรรมาธิราช จัดพระสมุดเนื้อดี ส่งให้ช่างไปเขียนภาพในส�ำนักสมเด็จพระสังฆราช เพื่อให้สมเด็จพระสังฆราชบอกเรื่องราวและคัด ข้อความ...” ๑ นับเป็นหลักฐานชิน้ ส�ำคัญ นอกจากในด้านงานช่าง แล้วยังหมายถึงความเกี่ยวโยงระหว่างอาณาจักรกับศาสนาจักร ที่มีมาตั้งแต่โบราณกาลอันเป็นพื้นฐานส�ำคัญของปัจจุบันด้วย ลักษณะต่าง ๆ ในงานจิตรกรรมของสมุดภาพที่มีก�ำหนดอายุแน่ ชัด ช่วยให้สามารถตรวจสอบแบบอย่างลักษณะก่อนและหลังจาก นัน้ คืองานช่างสมัยรัตนโกสินทร์ได้มากพอใช้ เช่น ทีทา่  การแต่งกาย ของบุคคลชั้นสูง แบบอย่างของเจดีย์ ปราสาท และงานประดับ ประดาในภาพ ตลอดจนการใช้สี ทีส่ ดุ แล้วก็คติความเชือ่ ปรัมปรา ที่แฝงเรื่องบาปบุญตามคติปรัมปราเรื่องไตรภูมิ ซึ่งสืบทอดมา


ยาวนานอย่างน้อยก็ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ในสมัยสุโขทัยคือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเข้าใจว่าพระมหาธรรมราชาที่ ๑ พระยาลิไท ทรงเรียบเรียงจากคัมภีรโ์ บราณซึง่ เชือ่ มโยงคุณธรรมจรรยาอยู่ใน งานช่าง ต้องรอจนถึงรัชกาลที่ ๔ เรื่องไตรภูมิจึงเริ่มค่อยเสื่อม ถอยจากหน้าที่เชื่อมโยงดังกล่าว ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป

ภาพที่ ๓๘๔  ทุสสมหาเจดีย์บนสวรรค์ชั้นอกนิษฐพรหม ระบุในเรื่องพุทธประวัติว่า มหาเจดีย์องค์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระภูษาของเจ้าชายสิทธัตถะ-โพธิสัตว์เมื่อคราวทรงผนวช ได้ประทานให้ฆฏิการพรหมอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานไว้ในพระมหาเจดีย์องค์นี้

397


452

ส่วนที่ ๓ ปัจจุบันของงานประดับ : ลายไทย-ลายกระหนก กับเอกลักษณ์สังคมไทย


ปัจจุบันของงานประดับ : ลายไทย-ลายกระหนก กับเอกลักษณ์สังคมไทย

ผ่านยุคสมัยต่าง ๆ ช่วงพันกว่าปีอยู่ในดินแดน

ปัจจุบนั คือประเทศไทย โดยพัฒนาเป็นงานช่างแนวประเพณีรว่ ม สมัยอยู่ในสังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งควบคู่สถาบันศาสนากับสถาบัน กษัตริย์เสมอ ดังการสร้างปฏิสังขรณ์วัดซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศทั้ง ส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น มีทั้งการสืบทอดท�ำซ�้ำหรือปรับปรุง เปลี่ยนไปตามความนิยมใหม่ ๆ ประกอบอยู่ในรูปลักษณ์ต่าง ๆ โดยไม่ขาดหาย ความรุ่งเรืองของงานช่างไทยครั้งส�ำคัญที่เกิดขึ้นใน รัชกาลปัจจุบนั  สืบเนือ่ งจากงานเฉลิมฉลองปีครองราชย์ครบ ๖๐ ปี งานเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หน่วยงานทั้งราชการ และเอกชนทั่วประเทศมี กิจกรรมแนวประเพณีหลายอย่างหลายประการ หนึง่ ในกิจกรรม แพร่หลายเป็นรูปธรรมยิ่งคืองานประดับประดา เช่น ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคล ซุ้มเฉลิมฉลองตามสถานที่ต่าง ๆ หรือแผ่นป้ายถวายพระพรโดยมีการประดับประดาด้วยลายไทย อันมีกระหนกประกอบอยูเ่ สมอ ลักษณะอันมากหลายยักย้ายของ กระหนก บางครัง้ ผสมผสานกับลายฝรัง่ หรือลายจีน ลวดลายต่าง ชาติ ต่างรสนิยม ผสมกลืนกลายเป็นความงามอย่างใหม่ของลาย ไทยภายใต้ชื่อเรียกเฉพาะว่า “ลายเทศ” ซึ่งได้รับความนิยมมาก ในงานช่างสมัยรัชกาลที่ ๓ ๑

453


454

พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้า พีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ระหว่างวันที ่ ๑๔-๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ คือครัง้ ส�ำคัญยิง่ ทีร่ วบรวมงานช่างแนวประเพณีไทยหลากหลายสาขา (อาจอนุโลม เรียกรวมตามค�ำโบราณว่า “งานช่างสิบหมู”่ ) ประกอบกันในการ สร้างพระเมรุ และงานช่างในส่วนเกีย่ วข้องกับการสร้างพระโกศจันทน์ บรรดารูปอมนุษ ย์จากหิมพานต์และเครื่องสูงประกอบ พระเกียรติยศ ตลอดจนงานซ่อมแซมพระราชรถ พระราชยาน ในพระราชพิธี ๒ เป็นต้น พสกนิกรทั่วประเทศ รวมทั้งชาวต่าง ประเทศได้ชื่นชมรับรู้ความงามของงานช่างไทยแนวประเพณี โบราณของช่างปัจจุบัน งานสร้างพระเมรุคือตัวอย่างของงานช่างแนวประเพณี ไทยทีส่ บื ทอดโดยปรับตัวตามวิทยาการใหม่ ๆ ทางด้านวัสดุ  เช่น การประดับลาย “ซ้อนไม้” ซึ่งหมายถึงงานประดับลวดลายไทย ด้วยการฉลุไม้ แล้วน�ำมาซ้อนกันเพือ่ ให้เกิดปริมาตร งานประดับ ทีม่ ขี อ้ จ�ำกัดด้านช่วงเวลาของพระราชพิธ ี แตกต่างจากงานปัน้ ปูน ประดับเป็นงานถาวร เช่นงานของช่างปั้นปูนในจังหวัดเพชรบุรี อันเป็นแหล่งหนึ่งที่ฝึกฝนช่างปั้นแพร่กระจายออกไปรับงานตาม วัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ  ส�ำหรับงานช่างแบบแผนประเพณีไทยใน การสร้างพระเมรุซงึ่ มีสว่ นที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชว่ ยให้งาน ออกแบบบางอย่างสะดวกรวดเร็ว งานประดับพระเมรุโดยประเด็น ของวัสดุชั่วคราวเฉพาะพระราชพิธี ผู้รับผิดชอบได้เลือกวิธีหล่อ พิมพ์ลายซ้อนไม้แบบต่าง ๆ ด้วยไฟเบอร์ซงึ่ ใช้หล่อลวดลายประดับ ด้วย เช่นเดียวกับการใช้ผา้ ทองย่น (เดิมคาดหมายว่าจะใช้กระดาษ ทองย่น) น�ำมาตัด ฉลุ เป็นลวดลายไทยหลากหลายแบบ แล้วปิด ประดับพืน้ ทีต่ า่ งๆ ของพระเมรุ ๓ แทนการเขียนและการปัน้ ซึง่ จะ ต้องใช้เวลามากกว่าหลายเท่านัก  อย่างไรก็ดีพื้นที่อันเหมาะแก่ การเขียนภาพระบายสีตดั เส้นก็ได้รบั การออกแบบและจัดท�ำอย่าง ประณีตบรรจงตามแนวแห่งเอกลักษณ์ไทย ได้แก่ ลายกระหนก ที่ยอมรับกันว่าดีงาม เหมาะสม มีมากหลายลักษณะ ทุกวันนี้มี แนวทางที่จะเป็นดังกล่าวอยู่แล้ว


จากการส�ำรวจทัง้ ในศูนย์กลางคือกรุงเทพฯ และจังหวัด ใกล้-ไกล สามารถแบ่งกลุ่มลักษณะของงานประดับประดาอันมี กระหนกเป็นหลัก สามารถแบ่งกว้างได้ ๓ กลุ่ม กลุ่มที่ ๑ แบบอย่างของกระหนก มีเกณฑ์ มีหลัก มี สัดส่วน อาจเรียกได้วา่ มีเป็นแบบฉบับแห่งชาติ อนุโลมได้วา่ เป็น งานช่างหลวง เช่น งานช่างจากส�ำนักช่างสิบหมู ่ กรมศิลปากร และ บรรดาครู อาจารย์ชา่ ง สังกัดสถาบันการศึกษา เป็นต้นว่า โรงเรียน ช่างศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สถาบันราชภัฏในส่วนของ งานช่างแนวประเพณี (ศิลปะประจ�ำชาติ) และศิลปินแห่งชาติสาขา ที่เกี่ยวกับงานช่างแบบแผนประเพณี ไทย ครู-อาจารย์หรือนาย ช่างในกลุม่ ที ่ ๑ นี ้ หลายท่านมีสว่ นเกีย่ วข้องกับงานออกแบบซุม้ หรือป้ายเฉลิมพระเกียรติในวาระต่าง ๆ เช่นที่ได้กล่าวมาข้างต้น บ้างแล้ว รวมทัง้ งานช่างด้านต่าง ๆ ในงานพระเมรุดงั กล่าวข้างต้น (เข้าใจว่ากรมศิลปากรอยู่ในระหว่างจัดท�ำหนังสือจดหมายเหตุ บันทึกรายละเอียดด้านความคิด ความหมาย และงานช่างรวมทัง้ ชื่อช่างผู้รับผิดชอบงานสร้าง งานประดับประดาแต่ละส่วนของ พระเมรุ) อนึง่ ในกลุม่ ที ่ ๑ นีม้ งี านออกแบบธนบัตร ซึง่ มีลายกระหนกเป็นส่วนประดับส�ำคัญอย่างหนึ่ง สะท้อนสัญลักษณ์ของ ความเป็นชาติไทย ๔ ธนบัตรของประเทศข้างเคียงที่มีกระหนก อยูบ่ า้ งก็สะท้อนลักษณะทีค่ ลีค่ ลายเกิดจากแวดล้อมทางประวัต-ิ ศาสตร์ ซึง่ มีจดุ เริม่ ต้นจากวัฒนธรรมศาสนาและงานช่างแพร่หลาย จากแหล่งเดียวคือชมพูทวีปเมือ่ กว่าพันปีมา เช่นเดียวกับดินแดน ประเทศไทยปัจจุบนั  แต่ประเทศเหล่านัน้ มีบางช่วงประวัตศิ าสตร์ ภายใต้วัฒนธรรมของประเทศล่าอาณานิคมตะวันตก ลวดลาย ประจ�ำชาติซงึ่ เค้าเก่าแก่ของกระหนกยังมีอยู ่ แต่กม็ ลี ายแบบฝรัง่ ปะปนอยูด้วยไม่น้อย ๕ กลุม่ ที ่ ๒ กลุม่ อิสระ เป็นศิลปินร่วมสมัยปัจจุบนั ทีม่ แี นว ทางเฉพาะตัว เขียนลายไทย-ลายกระหนก โดยมิได้อยู่ภายใต้ แบบแผนประเพณีโบราณอย่างเจาะจง แต่งานของเขาเหล่านีส้ ะท้อน พื้นฐานวัฒนธรรมไทย ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของศิลปิน ไม่

455


สาระความรู้ เกี่ยวกับศิลปะไทย

พัฒนาการของลายไทย :

จบการศึกษาระดับปริญญาตรี  คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์  มหาวิทยาลัยศิลปากร ปริญญาโทด้านโบราณคดี  สมัยประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน และ ปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ-โบราณคดี จากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส  ผู้มีผลงานวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ  ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่มากมาย

ศาสตราจารย์

ดร. สันติ เล็กสุขุม

ศาสตราจารย์

ดร. สันติ เล็กสุขุม

กระหนกกับเอกลักษณ์ไทย ดร. สันติ เล็กสุขุม

ศาสตราจารย์

กระหนก กับเอกลักษณ์ไทย พัฒนาการของลายไทย :

ราคา ๔๕๐ บาท ISBN 978-974-7385-50-2

รวบรวมลายกระหนกตั้งแต่สมัยทวารวดีถึงปัจจุบัน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.