คู่มือแมลง

Page 1

แมลง

คู่มือแมลงฉบับพกพา สำ�หรับผู้เริ่มต้น

คู่มือ

การดูแมลงในเมืองไทยและการจำ�แนกชนิด คู่มือภาพ แมงมุม แมลงปอ ตั๊กแตน ด้วง มด มอธ ฯลฯ 321 ชนิด ข้อมูล ชนิด ลักษณะ พฤติกรรม ถิ่นอาศัย สถานภาพ และแผนที่เขตกระจายพันธุ์

เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์

ฉบับพกพาสำ�หรับผู้เริ่มต้น ด้วยภาพถ่ายสวยงามในธรรมชาติ 321 ชนิด

คู่มือ แมลง เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์

หมวดท่องเที่ยว/ธรรมชาติ ISBN 978-616-7767-69-7

ราคา 299 บาท

299.-


4

สารบัญ ส่วนที่ 1 รู้จักแมลง แมง/แมลง ต่ อย่างไร การกระจายพัานงกั ธุ์ขนองกล้ วยไม้ ในประเทศไทย ลัแหล่ กษณะภายนอกของแมลง งกล้วยไม้ที่น่าสนใจ การจ� การเจริ ญเติบโตของแมลง ำแนกกล้ วยไม้ การสื อ ่ สารของแมลง รู้จักส่วนของกล้วยไม้ คูประโยชน์ ของแมลงต่ ่มือภาพกล้ วยไม้ อคน การอนุ แมลงที่เรป็ักนษ์สัผตีเว์สืป้อ่า คุ้มครอง ถิวงศ์ ่นอาศั ผีเสืย้อของแมลง บินเร็ว การเตรี ย มตั วไปดู วงศ์ผีเสื้อหางติ ่ง แมลง วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหลํ่า ส่ วนทีวงศ์ ่ 2 คูผ่มีเสื​ือ้อ ข้สีอนํ้ามูเงิลนและภาพแมลง  แมงมุ วงศ์ผมีเสื ้อขาหน้าพู่ แมงป่ ดัชนีชอื่อง ไทย แมลงปอ ดัชนีชื่อภาษาอังกฤษ ตับรรณานุ ๊กแตน กรม มวน ผู้ถ่ายภาพท่านอื่น จัเกีก่ยจัวกั ่น บผู้เขียน ด้วง กว่าง มด มอธ

5 87 169 17 12 18 13 18 15 19 17 19 41 65 81 22 129 43 201 53 206 93 211 103 211 118 212 122 172 192

ส่วนที่ 3 ภาคผนวก ดัชนีชื่อแมลงภาษาไทย ดัชนีชื่อวิทยาศาสตร์ บรรณานุกรม ประวัติผู้เขียน

237 243 249 251


5

รู้จักแมลง แมง  แมลง  ต่างกันอย่างไร

การแบ่งกลุ่มสัตว์ที่มีล�ำตัวเป็นข้อปล้องพวกนี้เป็นแมงและแมลงตาม การเรียกชือ่ ในภาษาไทยอาจจะไม่ชดั เจนนัก และแมลงหลายชนิดก็ถกู เรียก ว่า แมง เช่น แมงมัน (มด) แมงแคง (มวนล�ำไย) แมงช้าง (แมลงช้าง) แมงช้างน้อย (แมลงค่อมทอง) แมงกุดจี ่ (ด้วงขีค้ วาย) เป็นต้น เพือ่ ให้เข้าใจ ถูกต้องตรงกัน หนังสือเล่มนีจ้ ะใช้การจัดกลุม่ ตามอนุกรมวิธานเป็นหลัก และ เรียกสัตว์ใน Class Insecta ทั้งหมดว่า แมลง  ในกลุ่มของแมงตามตารางข้างล่างนี้ ยังมีสัตว์ขาข้อปล้องอีกหลาย ชนิดที่เราไม่ได้เรียกว่า แมง น�ำหน้า เช่น เห็บ ไร และมีสัตว์ขาข้อปล้องใน กลุ่มอื่น ๆ อีกจ�ำนวนมาก เช่น กิ้งกือ ตะขาบ กุ้ง กั้ง ปู เป็นต้น

แมลง

ลักษณะ

ขา ปีก ล�ำตัว

แมลง Class Insecta

แมง

แมง Class Merostomata เช่น แมงดาทะเล Class Arachnida เช่น แมงมุม  แมงป่อง แมงป่องแส้ Class Pycnogonida เช่น แมงมุมทะเล 6 ขา 8 ขา 2 คู่ ไม่ม ี แบ่งเป็น 3 ส่วน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ หัวและอก  คือ หัว อก และ (เชื่อมเป็นส่วนเดียวกัน) และท้อง หรือ ท้อง มีหัว อก และท้องรวมเป็นส่วนเดียวกัน


6

การแบ่งกลุ่มของสัตว์ขาข้อปล้อง  (Phylum Arthopoda)

สัตว์ในไฟลัมนี้จะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้   1. Subphylum Triobita สูญพันธุ์หมดแล้ว 2. Subphylum Chelicerata  Class Merostomata เช่น แมงดาทะเล Class Arachnida* เช่น แมงป่อง แมงป่องแส้ แมงป่องเทียม แมงมุม เห็บ ไร Class Pycnogonida เช่น แมงมุมทะเล 3. Subphylum Crustacea  Class Branchiopoda เช่น ไรน�้ำจืด ไรน�้ำเค็ม Class Copepoda เช่น เหาปลา Class Ostracoda เช่น กุ้งเปลือก Class Cirrepedia เช่น เพรียง Class Malacostraca เช่น กุ้ง กั้ง ปู 4. Subphylum Uniramia Class Onychophora เช่น หนอนก�ำมะหยี่ (onychophorans)  Class Diplopoda เช่น กิ้งกือ ลูกกระสุนพระราม Class Chilopoda* เช่น ตะขาบ  Class Pauropoda เช่น เล็นกิ้งกือ Class Symphyla เช่น ตะขาบฝอย Class Insecta* แมลง 6 ขาทั่วไป   *ในหนังสือเล่มนี้จะแนะน�ำแมงและแมลงใน 3 Class คือ Class Arachnida Class Chilopoda และ Class Insecta เท่านั้น


7

การแบ่งกลุ่มสัตว์ ใน Class Insecta

แมลง (Insects) เป็นสัตว์ใน Class Insecta ของ Phylum Arthopoda แบ่งแมลงออกเป็นอันดับ (Order) ต่าง ๆ อีกถึง 29-30 อันดับด้วยกัน มีอันดับที่น่าสนใจ เช่น • Order Ephemeroptera ชีปะขาว (mayflies) • Order Odonata แมลงปอเข็ม (damselflies) แมลงปอ (dragonflies)   • Order Orthoptera ตั๊ ก แตนหนวดสั้ น  ตั๊ ก แตนหนวดยาว จิ้งหรีด แมลงกระชอน • Order Phasmatodea ตั๊กแตนกิ่งไม้ ตั๊กแตนใบไม้ • Order lsoptera ปลวก (termites) • Order Mantodea ตั๊กแตนต�ำข้าว (mantids) • Order Blattodea แมลงสาบ (cockroaches) • Order Hemiptera มวน จักจั่น และเพลี้ยต่าง ๆ • Order Coleoptera ด้วงปีกแข็ง (beetles) ด้วงงวง • Order Neuroptera แมลงช้าง • Order Hymenoptera ผึ้ง ต่อ แตน มด  • Order Lepidoptera มอธ ผีเสื้อ • Order Mecoptera แมลงแมงป่อง • Order Diptera แมลงวัน ยุง  ตัวอย่างการเรียงล�ำดับอนุกรมวิธานของแมลงปอเข็มน�้ำตกใหญ่จีน  (Neurobasis chinensis)  ไฟลัม (Phylum) : Arthropoda (อาร์โทโพดา) สัตว์ที่มีล�ำ ตัวเป็นเปลือกแข็ง ขาเป็นข้อปล้อง  ชั้น (Class) : Insecta (อินเซกตา) แมลงทั้งหมด อันดับ (Order) : Odonata แมลงปอและแมลงปอเข็ม วงศ์ (Family)  : Amphipterygidae วงศ์แมลงปอเข็ม ก้านปีกยาว สกุล (Genus) : Neurobasis  ชนิด (Species) : chinensis


8

รูปร่างลักษณะภายนอกของแมลง

แมลงมีร่างกายแบ่งออกเป็นปล้อง ไม่มีโครงกระดูกภายใน มีเปลือก แข็งหุ้มอยู่ภายนอกซึ่งประกอบด้วยสารไคติน ท�ำหน้าที่เป็นเกราะป้องกัน อวัยวะภายใน และท�ำหน้าที่ยึดติดกับกล้ามเนื้อต่าง ๆ เพื่อให้แมลงสามารถ ขยับและเคลื่อนไหวร่างกายได้  ล�ำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ หัว อก และท้อง หัว มีหนวด 1 คู่ มีตา บางชนิดมีทั้งตาเดี่ยว และตาประกอบ บาง ชนิดมีเพียงตาประกอบ มีปากอยู่ดา้ นใต้ อก แบ่งเป็น 3 ปล้องด้วยกัน แต่ละปล้องมีขา 1 คู ่ ปล้องที ่ 2 และ 3 มีปีกปล้องละ 1 คู่ ท้อง ส่วนปลายมีอวัยวะสืบพันธุ์ อวัยวะวางไข่ บางชนิดมีแพนหาง

ปีก

หัว

อก

ท้อง


9

ตา

ตาของแมลงมี 2 แบบด้วยกัน คือ ตารวมหรือตาประกอบ (compound eyes) และตาเดี่ยว (ocelli หรือ simple eyes)  ตารวม ท�ำหน้าที่มองภาพเป็นรูปทรงต่าง ๆ ประกอบด้วยเลนส์ตา ขนาดเล็กเป็นพื้นที่หกเหลี่ยมเรียงต่อกัน โดยที่เลนส์ตาแต่ละเลนส์เห็นภาพ เดียวกัน แต่ต่างมุมกัน ซึ่งตาของแมลงจะกลอกไปมาแบบตาคนหรือสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนมไม่ได้ จ�ำนวนของเลนส์จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการใช้งาน ของแมลงแต่ละพวก เช่น แมลงปอจะมีเลนส์ตาเป็นจ�ำนวนมากเพราะต้อง ใช้สายตาที่มีประสิทธิภาพสูงในการมองหาเหยื่อที่บินอยู่กลางอากาศ จึง ต้องการการมองเห็นในมุมมองทีก่ ว้างทีส่ ดุ   ตาของแมลงจะรับคลืน่ แสงของ สีได้ในช่วงสั้นของการมองเห็นของคนเรา  ตาเดี่ ย ว ท� ำ หน้ า ที่ รั บ รู ้ ค วามเข้ ม ของแสง มี  2-3 ตา แมลงบาง ชนิดอาจมีถึง 7 ตา ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างตารวมเหนือฐานหนวด

ตา


10

หนวด

หนวดของแมลงเป็นอวัยวะที่ใช้รบั รูค้ วามรูส้ กึ โดยการสัมผัส ท�ำหน้าที่ ดมกลิ่น รับรู้การเปลี่ยนแปลงของความชื้นในอากาศ รับรู้การสั่นสะเทือน รับรู้ทิศทางลม ในแมลงบางชนิดสามารถใช้หนวดฟังเสียงได้ด้วย ส่วน ใหญ่เคลื่อนไหวได้ มีลักษณะเป็นปล้องเล็ก ๆ ส่วนใหญ่มีขนาดไล่เลี่ยกัน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ฐานหนวด (scape) ข้อต่อหนวด (pedicel) และเส้น หนวด (flagellum)  ฐานหนวดเป็น หนวดปล้องแรกส่วนที่ติด อยู่กับหัว บริเวณใต้ตารวม  ข้อต่อหนวดเป็น หนวดปล้องที่ 2 ต่อจาก ปล้องแรก  เส้นหนวดเป็นปล้องที่เหลือ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามวงศ์ (family) ของแมลง ดังนี้ 1. หนวดแบบเส้นด้าย (filiform) มีลักษณะเรียวยาว แต่ละปล้อง มีขนาดไล่เลี่ยกัน เช่นหนวดของด้วงหนวดยาว แมลงสาบ ตั๊กแตน 2. หนวดแบบสร้อยลูกปัด (moniliform) มีลักษณะปล้องค่อนข้าง กลมคล้ายลูกปัดเรียงต่อกัน เช่นหนวดของด้วงงวง ด้วงเจาะไม้ 3. หนวดแบบกระบอง (clavate) ปล้ อ งหนวดส่ ว นโคนจะเล็ ก แล้วค่อย ๆ ขยายใหญ่ทางส่วนปลาย เช่นหนวดของผีเสือ้  ด้วงเต่าลาย แมลง ช้าง 4. หนวดแบบลู ก ตุ ้ ม  (capitate) ปล้ อ งหนวดที่ อ ยู ่ ส ่ ว นปลาย ประมาณ 1-3 ปล้องมีขนาดใหญ่กว่าปล้องอื่น ๆ เช่นหนวดของด้วงผลไม้ แมลงเหนี่ยง 5. หนวดแบบข้อศอก (geniculate) หนวดปล้องแรก (ฐานหนวด) จะยาวมาก ปล้องที่เหลือมีลักษณะงอพับเป็นข้อศอก เช่น หนวดของมด แมลงภู่ ต่อกระดาษ ด้วงงวง 6. หนวดแบบพู่ขนนก (plumose) ปล้องหนวดทุกปล้องมีขนยาว ปกคลุมรอบ ๆ เช่นหนวดของยุงตัวผู้ 7. หนวดแบบฟันเลือ่ ย (serrate) ทัง้ สองข้างของหนวดไม่เท่ากัน ข้าง หนึ่งขยายออกเป็นรูปสามเหลี่ยม ท�ำให้ดูคล้ายฟันเลื่อย เช่นหนวดของด้วง ดีด หิ่งห้อย แมลงทับ 8. หนวดแบบฟันหวี (pectinate) หนวดบางปล้องขยายยาวเป็นแผ่น เรียวเรียงต่อกันแบบซี่หวี เช่นหนวดของมอธไหม มอธหนอนกระท้อน 9. หนวดแบบแผ่นใบไผ่ (flabellate) ปล้องหนวดด้านหนึง่ ขยายออก เป็นแผ่นแบน โดยแต่ละปล้องเรียงแผ่นซ้อนกัน เช่นหนวดของด้วงสีดา 10. หนวดแบบใบไม้ (lamellate) ด้านหนึง่ ของปล้องช่วงปลายขยาย ออกเป็นแผ่นแบนกว้างและเรียงซ้อนกัน โดยมีแกนติดอยู่ทางด้านข้าง เช่น หนวดของด้วงแรด ด้วงมะพร้าว แมลงนูน


11

11. หนวดแบบเคียว (stylate) ปล้องสุดท้ายมีฐานใหญ่และส่วน ปลายเรียวโค้งงอคล้ายเคียว เช่นหนวดของเหลือบ แมลงวันหัวบุบ 12. หนวดแบบขน (setaceous) ปล้องหนวดมีขนาดเล็กมากจนดู คล้ายเส้นขน ปล้องส่วนปลายเรียวเล็ก เช่นหนวดของชีปะขาว เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด จักจั่น 13. หนวดแบบขนอะริสตา (aristate) หนวดสัน้ มาก ปล้องสุดท้ายมี ขนาดใหญ่กว่าปล้องอื่น ๆ และที่ด้านข้างของปล้องมีขนที่เรียกว่า arista ติดอยู่ 1 เส้น เช่นหนวดของแมลงวันหัวเขียว แมลงวันดอกไม้ แมลงวัน บ้าน 1

2

3

4

6 5

8

7

9

11

10

12

13


14

ปีก

ปีกของแมลงแบ่งตามลักษณะความหนาบาง แบ่งเป็น 4 แบบด้วยกัน 1. Membrane ปีกเป็นเยื่อบาง ๆ ใส หรือเป็นเนื้อเดียวตลอดทั้ง แผ่น ปีก เช่น ปีกของแมลงปอ ผึ้ง ผีเสื้อ ปีกคู่หลังของแมลงหลายชนิด เช่น แมลงสาบ ด้วงปีกแข็ง 2. Tegmina ปีกเกือบอ่อน หนากว่าแบบ Membrane เล็กน้อย ไม่ ใส ไม่แข็งเปราะ แต่จะเห็นเส้นปีกชัดเจน เช่น ปีกคู่หน้าของตั๊กแตน แมลงสาบ  3. Hemelytra ปี ก ที่ มี ลั ก ษณะของปี ก แบบ  Membrane และ Tegmina ผสมกั น  โคนปี ก ค่ อ นข้ า งแข็ ง  ปลายปี ก ยั ง คงบางและอ่ อ น เช่น ปีกคู่หน้าของมวน 4. Elytra ปีกหนา แข็ง เปราะ ผิวเรียบเป็นมัน ไม่เห็นเส้นปีก เช่น ปีกคู่หน้าของด้วง

1

2

3

4


15

แมลงหายใจอย่างไร

แมลงหายใจผ่ านรูหายใจที่เป็น ท่ออากาศ (spiracles) ที่อยู่ข้ าง ล�ำตัว โดยทั่วไปมีอยู่ประมาณ 10 คู่ อยู่ที่อกปล้องที่  2 และ 3 ปล้อง ละ 1 คู่ ที่เหลืออีก 8 คู่ อยู่ที่ปล้องท้อง  อากาศที่เข้าทางท่อหายใจข้าง ล�ำตัวจะส่งต่อไปยังท่ออากาศภายในที่มีขนาดเล็กและแตกแขนงกระจายไป ตามเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย

แมลงฟังเสียงอย่างไร

การได้ยินเสียงของแมลงไม่ได้ใช้แก้วหูแบบของคนเรา แต่แมลงจะมี อวัยวะรับเสียงที่อยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยรับแรงสั่นสะเทือน ของคลื่นเสียงเข้ามายังกระแสประสาท หลังจากนั้นจะส่งสัญญาณไปยังปม ประสาท เช่น  - ตั๊กแตนหนวดสั้น จักจั่น ผีเสื้อ มีอวัยวะรับคลื่นเสียงอยู่บริเวณ ปล้องท้อง - ตัก๊ แตนหนวดยาว จิง้ หรีด แมลงกระชอน มีอวัยวะรับคลืน่ เสียงอยู่ บริเวณขาคู่หน้า - หนอนผีเสื้อใช้ขนที่ติดกับเยื่อบาง ๆ เป็นอวัยวะรับคลื่นเสียง - ยุงใช้อวัยวะที่อยู่ในหนวดปล้องที่ 2 ท�ำหน้าที่รับคลื่นเสียง

ส่วนขยาย


16

การเจริญเติบโตของแมลง

แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบด้วยกัน คือ   1. แบบ Ametabola พบน้อยมาก ส่วนใหญ่พบในแมลงที่ ไม่มีปีก ตัวอ่อนมีรูปร่างคล้ายตัวเต็มวัยทั้งภายนอกและภายใน เพียงแต่มีขนาดเล็ก กว่า เมื่อเจริญเติบโตขึ้นก็จะลอกคราบไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยน ลั ก ษณะของรู ป ร่ า ง มี เ พี ย งขนาดที่ ใ หญ่ ขึ้ น เช่ น  แมลงหางดี ด  แมลง สามง่าม

2. แบบ Gradual metamorphosis หรือ Paurometabola ตัวอ่อน มีรปู ร่างเกือบคล้ายตัวเต็มวัย แต่มขี นาดเล็กกว่า อวัยวะสืบพันธุย์ งั ไม่สมบูรณ์ มีตุ่มปีกให้เห็น จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทีละน้อย จนกระทั่งโตเต็มที่ จึงจะมีรูปร่างคล้ายกับพ่อแม่หรือตัวเต็มวัย ไม่มีระยะดักแด้ เช่น ตั๊กแตน มวน จักจั่น

3. แบบ Incomplete metamorphosis หรือ Hemimetabola ตัว อ่อนและตัวเต็มวัยมีรูปร่างแตกต่างกัน ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน�้ำ หายใจด้วย เหงือก ไม่มรี ะยะดักแด้ เมือ่ เจริญเติบโตใกล้จะเป็นตัวเต็มวัยสมบูรณ์จะลอก คราบเปลี่ยนแปลงรูปร่างแล้วขึ้น มาบนบก มีปีก หายใจด้วยท่อหายใจ (spiracles) ที่อยู่บริเวณด้านข้างล�ำตัว เช่น ชีปะขาว แมลงปอ


17

4. แบบ Complete metamorphosis หรือ Holometabola แมลง ประมาณ 85% มีการเจริญเติบโตแบบนี ้ ตัวอ่อนเป็นหนอน เมื่อโตเต็มที่จะ เข้าสู่ระยะดักแด้ และเมื่อเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยก็จะออกจากดักแด้ เช่น แมลงวัน ผีเสื้อ มด ผึ้ง แมลงแมงป่อง

การสื่อสารของแมลง

แมลงใช้การสื่อสารเพื่อหาคู่ ข่มขู่ศัตรู เตือนภัย หรือบอกทิศทาง แก่กัน ในหลายลักษณะด้วยกัน เช่น ใช้เสียง ใช้กลิ่นหรือฟีโรโมน ใช้รูป แบบของท่าทาง เช่น  • จิ้งหรีดตัวผู้ใช้ปีกที่มีซี่ฟันอยู่ด้านล่างสีกับขอบปีกที่มีลิ้นเป็นเยื่อ แข็ง   • ตั๊กแตนตัวผู้กรีดปุ่มเล็ก ๆ ที่ขาหลังกับลายเส้นหนาบนปีกหน้า  • จักจั่นใช้การสั่นของแผ่นท�ำเสียงในช่องอก  • จิ้งหรีดและตั๊กแตนท�ำเสียงเพื่อหาคู่ เรียกร้องความสนใจจาก ตัวเมีย และขับไล่ตัวผู้ด้วยกันให้ออกไปจากบริเวณใกล้เคียง • มดยื่นเหล็กในครูดไปตามทางที่เดิน พร้อมปล่อยฟีโรโมน เพื่อ ให้สมาชิกตัวอื่นตามมา • ปลวกทหารใช้ส่วนหัวเคาะพื้นเพื่อขู่ศัตรู

ขาตั๊กแตน


18

ศัตรูของแมลง

แมลงมีศตั รูอยูร่ อบตัว เนือ่ งจากแมลงเป็นสัตว์ขนาดเล็กและมีปริมาณ มาก จึงเป็นอาหารของสัตว์หลายชนิด เช่น กบ คางคก งู นก สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม นอกจากนี้ยังมีแมลงด้วยกันเอง ทั้งชนิดเดียวกันและต่างชนิดกัน พืชกินสัตว์ รวมทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และมนุษย์

ประโยชน์ของแมลงต่อคน

แมลงมีสว่ นช่วยระบบนิเวศในธรรมชาติเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการ ผสมเกสรของพืชนานาชนิดที่อยู่ ในธรรมชาติ มนุษ ย์น�ำน�้ำผึ้งมาบริโ ภค และน�ำขี้ผึ้งมาผลิตเทียนไข แมลงที่เป็นตัวห�้ำช่วยเกษตรกรปราบศัตรูพืช ระยะเวลาวงจรชีวติ ของแมลงบางชนิดเป็นดัชนีชวี้ ดั ช่วงเวลาการตายของศพ ช่วยให้การพิสจู น์ทางนิตเิ วชมีความแม่นย�ำมากขึน้  แมลงทีก่ ดั กินเศษซากพืช ช่วยย่อยสลายซากพืชและสัตว์เน่าเปื่อยในธรรมชาติ  ผีเสื้อ แมลงปอ และ แมลงสวยงามหลายชนิด ช่วยสร้างความบันเทิงเริงรมย์ให้มนุษย์

แมลงที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

สัตว์ป่า หรือแมลงบางชนิดได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535  ห้ามล่า ห้ามซื้อขาย ห้ามมี ไว้ใน ครอบครอง หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท โทษจ�ำไม่เกิน 4 ปี หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ส่วนจะเป็นชนิดใดบ้างให้ไปดูที่กฎกระทรวง ซึ่งจะ มีการประกาศและเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ในกฎกระทรวงก�ำหนด ให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์คุ้มครอง พ.ศ. 2546 ซึ่งได้ก�ำหนดให้แมลง 20 ชนิดเป็นสัตว์ป่า (แมลง) คุ้มครองดังนี้ 1. ด้วงกว่างดาว (Cheirotonus parryi Gray) 2. ด้วงคีมยีราฟ (Prosopocoilus (Cladognathus) giraffa) 3. ด้วงดินขอบทองแดง (Mouhotia batesi) 4. ด้วงดินปีกแผ่น (Mormolyce phyllodes) 5. ผีเสือ้ ไกเซอร์อมิ พีเรียล (หรือผีเสือ้ มรกตผ้าห่มปก) (Teinopalpus imperialis) 6. ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ (Troides amphrysus) 7. ผีเสื้อถุงทองป่าสูง (Troides helena) 8. ผีเสื้อนางพญากอดเฟรย์ (Stichophthalma godfreyi) 9. ผีเสื้อนางพญาเขมร (Stichophthalma cambodia) 10. ผีเสื้อนางพญาพม่า (Stichophthalma louisa) 11. ผีเสื้อนางพญาเมืองเหนือ (Stichophthalma camadeva)


19

12. ผีเสื้อภูฏาน (หรือผีเสื้อสมิงเชียงดาว) (Bhutanitis lidderdalii) 13. ผีเสื้อรักแร้ขาว (Papilio protenor) 14. ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ (Meandrusa sciron) 15. ผีเสื้อหางดาบปีกโค้ง (Meandrusa payeni) 16. ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว (Papilio palinurus) 17. ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายตรง (Actias rhodopneuma) 18. ผีเสื้อหางยาวตาเคียวปีกลายหยัก (Actias maenas) 19. ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายตรง (Actias selene) 20. ผีเสื้อหางยาวสี่ตาปีกลายหยัก (Actias sinensis)

ถิ่นอาศัยของแมลง

แมลงแต่ละชนิดจะเลือกแหล่งอาศัยทีเ่ หมาะสมของตัวเอง ซึง่ ส่วนใหญ่ อยู่ใกล้แหล่งอาหาร และแหล่งที่ต้องวางไข่ ซึ่งเป็นพื้นที่ตามธรรมชาติ ใน ที่นี้จะแบ่งกว้าง ๆ ดังนี้ ป่าดงดิบ (Evergreen Forest) ป่าสนเขา (Tropical Pine Forest) ป่ า พรุ  (Swamp Forest) ป่ า ชายเลน (Mangrove Forest) ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) ป่าเต็งรัง (Deciduous Dipterocarp Forest) ป่ า ละเมาะหรื อ ป่ า ทุ ่ ง  (Savanna) ทุ ่ ง หญ้ า (Grassland) และสวนผลไม้ (Garden)

การเตรียมตัวไปดูแมลง

สีของเสื้อผ้า แมลงมองเห็นสีตา่ ง ๆ ได้ดี โดยเฉพาะสี ในระดับเหนือ ม่วง (ultraviolet) ควรสวมเสื้อผ้าที่มีสีเรียบ ๆ ไม่ด�ำสนิทและไม่สะท้อน แสง โดยพยายามให้มีสีกลมกลืนกับธรรมชาติมากที่สุด สีที่ดีที่สุดควรเป็น สีกากี สีน�้ำตาล หรือสีเขียว

อุปกรณ์

การดู แ มลงนั้ นไม่ แ ตกต่ า งไปจากการดู น กมากนั ก  อุ ป กรณ์ ที่ ใ ช้ ประกอบการดูหรือศึกษาก็คือ กล้องส่องทางไกล กล้องถ่ายภาพ หนังสือ คู่มือ และสมุดบันทึก กล้องส่องทางไกล กล้องส่องทางไกลหรือกล้องสองตา (Binoculars) จะช่ ว ยให้ ดู แ มลงในระยะไกลได้   โดยที่ ไ ม่ ต ้ อ งเข้ าใกล้ ม ากจนเกิ นไป ซึง่ จะไม่รบกวนแมลง อีกทัง้ ยังช่วยให้ดแู มลงทีอ่ ยูบ่ นทีส่ งู  เช่น บนต้นไม้หรือ ในที่ที่ ไ ม่เข้าไปไม่ได้ เช่น ฝั่งตรงข้ามล�ำห้วย  กล้องที่ ใช้ควรมีขนาด และก�ำลังขยายประมาณ 8x30  กล้องถ่ายภาพ เป็นอุปกรณ์เสริมที่ช่วยบันทึกภาพแมลงหรือสภาพ


20

แวดล้อมทั่วไป ท�ำให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์มากขึ้น และสามารถน�ำภาพถ่าย มาเปรียบเทียบหรือจ�ำแนกชนิดในภายหลังได้ สมุดบันทึก ส�ำหรับบันทึกชนิด ลักษณะพฤติกรรม และวันเวลาที่พบ แมลงแต่ละชนิด เพื่อเป็นข้อมูลในการดูและศึกษาแมลงในครั้งต่อไป การ บัน ทึกควรบัน ทึกทัน ที ในระหว่ างที่ดู เพราะเมื่อสงสัยก็สามารถดูแมลง อีกครั้งได้ ท�ำให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดกว่าการบันทึกทีหลัง ซึ่งอาจจะลืมหรือ จ�ำสับสนได้

แหล่งดูแมลงที่น่าสนใจ

เราพบเห็ น แมลงได้ แ ทบจะทุ ก สถานที่   ทั้ ง ที่ เ ป็ น แหล่ ง ธรรมชาติ และตามอาคารบ้านเรือน สวนผลไม้ สวนสาธารณะต่าง ๆ ที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่ หลากหลาย แต่ถ้าหากต้องการดูและศึกษาแมลงอย่างจริงจัง พื้นที่ของ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรกั ษ์หลายแห่งเป็นแหล่ง ดูแมลงได้เป็นอย่างดี


21

ค�ำอธิบายและสัญลักษณ์ ประกอบภาพคู่มือแมลง

ภาพถ่ายแมลงในธรรมชาติ

ชื่อภาษาไทย

ชื่อสามัญ

ดูข้อมูลแมลง ที่หน้า...

ขนาด (มม.) จากมุมปลายปีกด้านซ้าย ถึงด้านขวาของปีกคู่หน้า เพศของแมลงในภาพ (ถ้าไม่มีสัญลักษณ์เป็นภาพของเพศผู้) เพศเมีย

เพศผู้


อันดั2 บ2 2แมงมุม Order ARANEAE

วงศ์แมงมุมใยกลม (Family Araneidae)

แมงมุมใยกลมแถบเขียว Green Striped Orb-weaver  : 9-11  30

แมงมุมใยกลมท้องสามเหลี่ยม Common Garden Spider  :  18-20  6-8 30

แมงมุมนุ่งซิ่นเงินดิ้นทอง Great Argiope Spider  :  28  6 30


23

แมงมุมนุ่งซิ่นแดง Dang Argiope  :  5  2

31

แมงมุมนุ่งซิ่นใหญ่  :  12  5

31

แมงมุมเกียหลังหนาม  : 2-5

31


24

แมงมุมขาวด�ำก้นแหลม Black orb web Spider  : 6-10  32

แมงมุมใยกลมขาสีนำ�้ ตาล Brown Legged Spider  :  10-12  7-9   32

แมงมุมเปลือกไม้สุมาตรา Sumartra Bark Spider  : 10-15 32


25

แมงมุมหลังหนามดอเรีย Doria’s spiny Spider  : 7-8

33

แมงมุมหลังหนามฮัสเซลต์ Hasselt’s Spiny Spider  :  7-8  2-3

33

แมงมุมหลังหนามขาวด�ำ Black and White Spiny Spider:  7-8

33


28

แมงมุมไลเคน Lichen Huntsman Spider  : 12-15   36

วงศ์แมงมุมใยทอง (Family Nephilidae)

แมงมุมเปลือกไม้ลายประดับ Ornate Orb-weaver  : 12-15  36

แมงมุมใยทองท้องม่วง Purple Orb-weaver Spider  :  30-40  7-10 36


29

ค�ำอธิบายและสัญลักษณ์ ประกอบข้อมูลคู่มือแมลง

ชื่อภาษาไทย

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

ขนาด (มม.) จากมุมปลายปีก ด้านซ้ายถึงด้านขวา ของปีกคู่หน้า

เพศเมีย เพศผู้

ถิ่นอาศัย

รายละเอียด

ดูรูปแมลงที่หน้า...


อั3น030ดับแมงมุม Order ARANEAE

วงศ์แมงมุมใยกลม (Family Araneidae) แมงมุมใยกลมแถบเขียว Green Striped Orb-weaver /  22 Araneus pentagrammicus  : 9-11 ลักษณะ: หัวและอกสีนำ�้ ตาลอมเขียว ส่วนท้องสีเขียวอ่อน ตรงกลาง สีออกขาว และมีแถบสีเขียวเข้มคาดกลาง บางตัวแถบสีเขียวนี้ ไม่ ยาวต่อเนื่องกัน แต่เป็นแต้มสีเขียวอยู่สองข้าง ขามีสีเขียว  พฤติกรรม: ขึงใยตามกอหญ้าสูง บางครั้งชักใยระหว่างก้อนหินบน พื้นป่า ชอบอยู่ทั้งในพื้นที่โล่งและในป่า ถิ่นอาศัย: ป่าต็งรัง ป่าเบญจพรรณ สถานภาพ: พบไม่บ่อย

แมงมุมใยกลมท้องสามเหลี่ยม Common Garden Spider /  22 Parawixia dehaani  :  18-20  6-8 ลักษณะ: มีรูปร่างและสีสันแตกต่างกันหลายแบบ หัวเล็กกว่าส่วน ท้องเล็กน้อย ปลายท้องแหลม ส่วนใหญ่มีสีน�้ำตาลหรือสีเทาเข้ม ท้องมีลายเล็กน้อย ขาสีเทาสลับสีน�้ำตาล ทั้งตัวมีขนปกคลุม  พฤติกรรม: ขึงใยในแนวตั้งระหว่างพุ่มไม้ เมื่อถูกรบกวนมักทิ้งตัว ลงพื้นล่างและแกล้งตาย ช่วงกลางวันมักหลบซ่อนตัวอยู่ตามใบไม้ แห้ง  ถิ่นอาศัย: สวนผลไม้ ป่าต็งรัง ป่าเบญจพรรณ สถานภาพ: พบบ่อย

แมงมุมนุ่งซิ่นเงินดิ้นทอง Great Argiope Spider /  22 Argiope aemula  :  28  6  ลักษณะ: หัวและอกมีขนปกคลุมสีเทาหรือสีน�้ำตาลอ่อน ท้องมีสี เหลืองสลับขาว ขาสีน�้ำตาลเข้ม-อ่อนสลับกัน  พฤติกรรม: ขึงใยตามพุ่มไม้ในพื้นที่ค่อนข้างโล่ง กลางเส้นใยจะ สร้างเส้นใยหนาเป็นรูปกากบาท เมือ่ เกาะอยูน่ งิ่  ๆ มักกางขาแนบกัน เป็นคู่  ถิ่นอาศัย: ป่าละเมาะ สวนผลไม้ ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ สถานภาพ: พบบ่อย


31

แมงมุมนุ่งซิ่นแดง Dang Argiope / Argiope dang  :  5  2

23

ลักษณะ: หัวและอกมีขนปกคลุมสีเทา ท้องยาว ปลายท้องมน และ มีสีด�ำ ท้องด้านบนและด้านล่างมีแต้มสีเหลือง-ขาว ขาสีน�้ำตาล  พฤติกรรม: ขึงใยระหว่างพุ่มไม้เตี้ย ๆ กลางเส้นใยจะสร้างเส้นใย หนาเป็นรูปกากบาท เมื่อเกาะอยู่นิ่ง ๆ มักกางขาแนบกันเป็นคู่  ถิ่นอาศัย: ป่าละเมาะ สวนผลไม้ ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ สถานภาพ: พบบ่อย

แมงมุมนุ่งซิ่นใหญ่ Multi-coloured Argiope Spider /  23 Argiope pulchella  :  12  5 ลักษณะ: หัวและอกมีขนปกคลุมสีเทา ท้องมีแถบสีขาว เหลือง และ น�้ำตาลเข้มสลับกัน ขาสีน�้ำตาล  พฤติกรรม: มักเกาะเอาขาแนบติดกันเป็นคู ่ ชอบอยู่ในพืน้ ทีโ่ ล่ง ลม แรง และขึงใยอยู่ระหว่างกอหญ้า กลางเส้นใยจะสร้างเส้นใยหนา เป็นรูปกากบาท เมื่อเกาะอยู่นิ่ง ๆ มักกางขาแนบกันเป็นคู่  ถิน่ อาศัย: ทุง่ หญ้า สวนผลไม้ ป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง สถานภาพ: พบบ่อย

แมงมุมเกียหลังหนาม - / Gea spinipes  : 2-5

23

ลักษณะ: ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย หัวและอกเล็ก ท้อง กลมใหญ่ ทั้งตัวมีสีน�้ำตาลเทา (ตัวผู้มีหัวและอกออกสีน�้ำตาลแดง) ท้องทั้งด้านบนและด้านล่างมีแต้มสีเหลืองอ่อนเรียงเป็นแถว ขาสี น�้ำตาลเข้มสลับสีน�้ำตาลอ่อน พฤติกรรม: ขึงใยเตี้ย ๆ ในพงหญ้า หรือตามสนามหญ้า  ถิ่นอาศัย: ทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ สถานภาพ: พบบ่อย


32

แมงมุมขาวด�ำก้นแหลม Black orb web Spider /  24 Neogea nocticolor : 6-10 ลักษณะ: หัวและอกสีด�ำ ด้านบนมีขนสีขาวปกคลุม ท้องมีลักษณะ กว้างตรงกลาง ส่วนปลายท้องแหลม ท้องสีด�ำและมีแต้มวงกลม ขนาดใหญ่เรียงกัน บริเวณตั้งแต่กลางท้องไปถึงปลายท้องมีสีขาว และมีเส้นสีด�ำ 2 เส้นจากกลางท้องไปยังปลายท้อง ขาสีด�ำและมี แต้มสีขาวเป็นช่วง ๆ  พฤติกรรม: ขึงใยขนาดใหญ่ในแนวตั้งฉากกับพื้น  ถิ่นอาศัย: ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ สถานภาพ: พบไม่บ่อย

แมงมุมใยกลมขาสีนํ้าตาล Brown Legged Spider /  24 Neoscona cf. vigilans  :  10-12  7-9 ลักษณะ: ทั้งตัวมีสีน�้ำตาลเข้ม-อ่อนสลับกัน และมีขนปกคลุม โดย เฉพาะส่วนหัวจะมีขนปกคลุมหนาแน่น หัวและอกค่อนข้างสั้น ท้อง ใหญ่มีลักษณะกลมแบน ท้องด้านบนมีสีน�้ำตาลเข้ม และมีลวดลาย เล็กน้อย บางตัวมีแต้มสีครีม 2 แต้ม  พฤติกรรม: ขึงใยตั้งฉากกับพื้นตามช่องว่างในป่าหรือตามชายป่า ชักใยดักเหยื่อตอนกลางคืน และเก็บใยตอนเช้า  ถิ่นอาศัย: สวนผลไม้ ป่าเบญจพรรณ สถานภาพ: พบบ่อย

แมงมุมเปลือกไม้สุมาตรา Sumartra Bark Spider /  24 Caerostris sumatrana  : 10-15  ลักษณะ: ทั้งตัวมีสีน�้ำตาลปนเทา คล้ายเปลือกไม้ หัวและอกค่อน ข้างสั้น ท้องใหญ่มีลักษณะกลมแบน ท้องด้านบนมีสีน�้ำตาลเข้ม พฤติกรรม: ขึงใยตั้งฉากกับพื้นตามช่องว่างในป่าหรือตามชายป่า ชักใยดักเหยื่อตอนกลางคืน และเก็บใยตอนเช้า  ถิ่นอาศัย: ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ สถานภาพ: พบบ่อย


33

แมงมุมหลังหนามดอเรีย Doria’s spiny Spider /  25 Gasteracantha doriae  : 7-8  ลักษณะ: ท้องมีรูปร่างคล้ายกระดองปู ด้านข้างยื่นแหลม และมี ลักษณะคล้ายหนามส่วนปลายมีสีน�้ำตาลแดง หัวและอกสีด�ำ ท้อง ด้านบนสีเหลือง มีแถบสีน�้ำตาลเข้มในแนวขวาง 2 แถบ ท้องด้าน ล่างและขาสีด�ำ  พฤติกรรม: ขึงใยตามช่องว่างของไม้พนื้ ล่างและตามทางเดินในป่า   ถิ่นอาศัย: ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ สถานภาพ: พบบ่อย

แมงมุมหลังหนามฮัสเซลต์ Hasselt’s Spiny Spider /  25 Gasteracantra hasselti  :  7-8  2-3 ลักษณะ: ท้องมีรูปร่างคล้ายกระดองปู และขอบด้านข้างมีหนาม แหลม หัว อก และท้องด้านใต้สีด�ำ ท้องด้านบนสีเหลือง มีจุดสีด�ำ ประปราย ขาสีน�้ำตาลเข้ม  พฤติกรรม: ขึงใยในแนวค่อนข้างราบตามช่องว่างของไม้พนื้ ล่างและ ตามทางเดินในป่า และมักเกาะหงายท้องอยู่ด้านล่างของใย   ถิ่นอาศัย: สวนผลไม้ ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ   สถานภาพ: พบบ่อย

25 แมงมุมหลังหนามขาวด�ำ Black and White Spiny Spider /  Gasteracantha kuhli  : 7-8  ลักษณะ: ท้องมีรูปร่างคล้ายกระดองปู และขอบด้านข้างมีหนาม แหลม ส่วนปลายหนามมีขนปกคลุม หัวและอกสีด�ำ และมีขนสีเทา ปกคลุม ท้องด้านบนสีขาว และมีลวดลายสีน�้ำตาลเข้มหรือด�ำ ท้อง ด้านใต้สีด�ำ ขาสีด�ำสลับสีน�้ำตาล พฤติกรรม: ขึงใยในแนวค่อนข้างราบตามช่องว่างของไม้พื้นล่าง และตามทางเดินในป่า และมักเกาะหงายท้องอยู่ด้านล่างของใย ถิ่นอาศัย: สวนผลไม้ ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ สถานภาพ: พบไม่บ่อย


116

Family Alydidae ALYDIDAE แมลงสิงเล็ก Lesser Rice Bug / Leptocorisa acuta  : 15-16

104

ลักษณะ: หนวดสีเขียวเข้มหรือสีน�้ำตาล หัวและอกส่วนบนสีเขียว หัวเล็กแหลม ล�ำตัวผอมเรียว ปีกสีน�้ำตาลอมเขียว ไม่มีจุดสีด�ำข้าง ล�ำตัว ขายาวสีเขียว (สีของล�ำตัวในแต่ละช่วงวัยแตกต่างกัน เขียวน�้ำตาล) พฤติกรรม: เกาะตามพุ่มไม้เตี้ย ๆ ดูดกินน�้ำเลี้ยงจากช่อดอกหญ้า กาบใบข้าว เมล็ดหญ้าและเมล็ดข้าวอ่อน หากถูกรบกวนจะปล่อย กลิ่นเหม็นเขียวออกมาเพื่อป้องกันตัว  ถิ่นอาศัย: นาข้าว ทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ สถานภาพ: พบบ่อย

มวนถั่วเหลือง Soybean pod Bug / Riptortus linearis  : 24-26

104

ลักษณะ: หนวดยาว หัวเป็นรูปสามเหลีย่ มมีสนี ำ�้ ตาล ล�ำตัวผอมเรียว อกปล้องแรกด้านบนนูนขึ้นเป็นสันมีสีน�้ำตาล ปีกคู่หน้ามีสีน�้ำตาล ข้างล�ำตัวมีแถบสีเหลืองอ่อนยาวตลอดแนว ขายาวสีนำ�้ ตาล ขาคูห่ ลัง ใหญ่กว่า 2 คู่แรก ตัวที่ยังโตไม่เต็มวัยมีรูปร่างคล้ายมด พฤติกรรม: เกาะตามพุม่ ไม้เตีย้  ๆ วางไข่ใต้ใบและฝักของพืชจ�ำพวก ถั่ว ตัวอ่อนดูดกินน�้ำเลี้ยงจากฝักถั่ว ถิ่นอาศัย: ทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ สถานภาพ: พบบ่อย

104 มวนนักกล้ามถั่ว Legume Pod Bug /  Anoplocnemis phasiana  : 22-28 ลักษณะ: คล้ายมวนถัว่ ลิสง หนวดสีดำ�  ส่วนปลายสีออกส้มเล็กน้อย หัว อก และปีกสีน�้ำตาลเข้มและสีนำ�้ ตาลอ่อนสลับกัน ขาคู่หลังของ ตัวผู้ตรงส่วนโคนขาพองโตออก และขอบขามีหนามแหลมเรียว ดูคล้ายกล้าม  พฤติกรรม: มักรวมกลุ่มอยู่ด้วยกัน 10-15 ตัว ดูดกินน�้ำเลี้ยงจาก พืชจ�ำพวกถั่ว ถิ่นอาศัย: ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ สถานภาพ: พบบ่อย


Family Pyrrhocoridae

117

มวนแดงฝ้าย Red Cotton Bug  : 15-17

129

มวนมะเยา, มวนท้องยาว Long-bodied Bug  :  20-30  60-80

129

Family Belostomatidae

แมลงดานา Giant Water Bug  : 110

129


140

วงศ์ด้วงกว่าง (Family Scarabaeidae) กว่างสามเขาแอตลาส,  Northern Atlas Beetle /  กว่างสามเขาเขาใหญ่ Chalcosoma atlas  :  50-60

60-95

128

ลักษณะ: ทัง้ ตัวสีดำ� หรือด�ำปนน�ำ้ ตาลแดง ปีกคูห่ น้าผิวเรียบมันวาว ตัวผู้มีเขา 3 เขา (เขาด้านล่างอยู่ที่ส่วนหัว 2 เขาบนอยู่ที่ส่วนอก ตัวเมียไม่มีเขา อกด้านบน (Pronotum) มีผิวขรุขระเล็กน้อย พฤติกรรม: มักบินเข้ามาหาแสงไฟตามอาคารที่อยู่ใกล้ป่า  ถิ่นอาศัย: ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ สถานภาพ: พบบ่อย

กว่างซางสยาม, กว่างซางอีสาน - / Eupatorus siamensis  : 43-68

128

ลักษณะ: ทัง้ ตัวสีดำ� หรือด�ำปนน�ำ้ ตาลแดง ปีกคูห่ น้าผิวเรียบมันวาว ตัวผู้มีเขาสามเขา เขาด้านล่างยาวอยู่ที่ส่วนหัว สองเขาบนอยู่ที่ส่วน อกเป็นเขาสัน้  ๆ และปลายบิดไปข้างหน้า ตัวเมียไม่มเี ขา อกด้านบน มีผิวขรุขระเล็กน้อย  พฤติกรรม: มักบินเข้ามาหาแสงไฟตามอาคารที่อยู่ใกล้ป่า ออกบิน ในช่วงใกล้ค�่ำ ถิ่นอาศัย: ป่าเบญจพรรณ สถานภาพ: พบบ่อย

ด้วงแรดมะพร้าวใหญ่, ด้วงแรดกะนู

- / Oryctes gnu  : 53-63

128

ลักษณะ: ทั้งตัวมีสีด�ำ อกด้านบนและปีกคู่หน้ามีผิวขรุขระเล็กน้อย ด้านล่างมีขนสีนำ�้ ตาลแดงปกคลุม ทัง้ สองเพศมีเขาทีส่ ว่ นหัวหนึง่ เขา ตั้งขึ้นคล้ายนอแรด ที่ส่วนอกด้านบนมีปุ่มนูนยื่นไปข้างหน้าเล็กน้อย พฤติกรรม: มักเกาะอยู่ตามต้นมะพร้าว และต้นปาล์ม ถิ่นอาศัย: ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง สถานภาพ: พบบ่อย


141

ด้วงแรดมะพร้าว  : 37-45

153

กว่างชน, กว่างโซ้ง, กว่างแซม, กว่างกิ Fighting Beetle  : 28-50

153

กว่างดาวหนามขาเฉียง  :  45-55  50-65

153


188

มดหนามหีบทองแหลม  - / Polyrhachis illaudata  : 10-11

176

ลักษณะ: หัว อก และท้องสีน�้ำตาลเข้ม ปล้องอกมีรูปทรงคล้าย กล่อง อกปล้องแรกค่อนข้างใหญ่ และบริเวณมุมด้านหน้ามีหนาม แหลม ปล้องเอวมีหนามแหลมยื่นออกมา 1 คู่ ขาสีดำ�  ทั้งตัวมีขน สีน�้ำตาลทองปกคลุมบาง ๆ พฤติกรรม: เดินหากินอยู่ตามพื้น หรือตามพุ่มไม้เตี้ย ๆ  ถิ่นอาศัย: ป่าละเมาะ ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ สถานภาพ: พบบ่อย

มดหนามกระทิงเล็ก  - / Polyrhachis muelleri  : 8-10

176

ลักษณะ: หัว อก และท้องสีเทาข้ม หัวเล็ก อกมีรปู ทรงคล้ายกล่อง สันหลังมุมส่วนอกทั้งด้านหน้าและด้านท้ายมีหนามแหลม ปล้องเอว ด้านบนมีหนามแหลม 1 คู่ ส่วนท้องกลมใหญ่  พฤติกรรม: เดินหากินอยู่ตามพื้น หรือตามพุ่มไม้เตี้ย ๆ  ถิ่นอาศัย: ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ สถานภาพ: พบบ่อย

มดโล่บ้าน  - / Meranoplus bicolor  : 5-6

176

ลักษณะ: หัวและอกมีผวิ ขรุขระและมีสนี ำ�้ ตาล ท้องผิวเรียบสีดำ�  ตา รวมใหญ่ อกค่อนข้างสั้น ปล้องด้านท้ายมีหนามแหลม 2 คู่ เอวมี 2 ปล้อง ปล้องแรกนูนสูงขึน้  ปล้องสองค่อนข้างกลม ท้องกลมใหญ่ มีขนยาวปกคลุมทั่วทั้งตัว พฤติกรรม: เดินหากินอยู่ตามพื้น สร้างรังในดิน  ถิ่นอาศัย: ทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ สถานภาพ: พบบ่อย


189

มดง่ามทุ่ง  : 1.3-2.5

201

มดคันไฟ Fire Ant  : 4-6

201

มดหนามคู่สีเทา  : 10-11.3

201


212

วงศ์มอธเหยี่ยว (Family Sphingidae) มอธเหยี่ยวท้องลายชมพู  - / Agrius convolvuli  : 120-145

200

ลักษณะ: ปีกบน พื้นปีกทั้งสองคู่สีเทา และมีลายสีเทาเข้มคล้าย เปลือกไม้  ปีกล่าง พื้นปีกทั้งสองคู่สีน�้ำตาล ท้องเป็นลายบั้งสีชมพู สลับสีด�ำ พฤติกรรม: มักบินเข้ามาหาแสงไฟตามอาคารที่อยู่ใกล้ป่า  ถิ่นอาศัย: ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ สถานภาพ: พบบ่อย

มอธเหยี่ยวลายพราง  - / Megacorma obligua  : 120-145

200

ลักษณะ: ปีกบน พืน้ ปีกทัง้ สองคูส่ เี ทาปนน�ำ้ ตาล และมีลายสีเทาเข้ม หรือน�้ำตาลเข้มคล้ายเปลือกไม้  ปีกล่าง พื้นปีกทั้งสองคู่สีน�้ำตาล พฤติกรรม: มักบินเข้ามาหาแสงไฟตามอาคารที่อยู่ใกล้ป่า  ถิ่นอาศัย: ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ สถานภาพ: พบบ่อย

200 มอธเหยี่ยวหัวกะโหลกแถบแคบ  Death’s-head Hawkmoth /  Acherontia sytx  : 80-122   ลักษณะ: ปล้องท้องมีแถบแคบ ๆ สีนำ�้ เงินคาดรอบ  ปีกบน พืน้ ปีก คู่หน้าสีน�้ำตาลเข้ม มีลายคล้ายเปลือกไม้ และกลางปีกมีจุดสีขาว 1 จุด พื้นปีกคู่หลังมีสีเหลือง มีเส้นแถบสีน�้ำตาลพาดขวาง 2 เส้น ปีกล่าง พื้นปีกทั้งสองคู่มีสีน�้ำตาลอ่อน ที่ปีกคู่หลังมีเส้นแถบคล้าย ปีกบน  พฤติกรรม: มักบินเข้ามาหาแสงไฟตามอาคารที่อยู่ใกล้ป่า  ถิ่นอาศัย: ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ สถานภาพ: พบบ่อย


213

มอธเหยี่ยวขอบตัวด�ำสีคล�้ำ : 82-138

225

มอธเหยี่ยวน�้ำตาลเทาลายจุด : 100-110

225

มอธเหยี่ยวน�้ำตาลปีกหลังหยัก : 106-134

225


แมลง

คู่มือแมลงฉบับพกพา สำ�หรับผู้เริ่มต้น

คู่มือ

การดูแมลงในเมืองไทยและการจำ�แนกชนิด คู่มือภาพ แมงมุม แมลงปอ ตั๊กแตน ด้วง มด มอธ ฯลฯ 321 ชนิด ข้อมูล ชนิด ลักษณะ พฤติกรรม ถิ่นอาศัย สถานภาพ และแผนที่เขตกระจายพันธุ์

เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์

ฉบับพกพาสำ�หรับผู้เริ่มต้น ด้วยภาพถ่ายสวยงามในธรรมชาติ 321 ชนิด

คู่มือ แมลง เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์

หมวดท่องเที่ยว/ธรรมชาติ ISBN 978-616-7767-69-7

ราคา 299 บาท

299.-


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.