สุดยอดนักชีววิทยา

Page 1

• อริสโตเติล • ดา วินชี • วีเซเลียส • เลเวนฮุก • ฮุก • ลินเนียส  • ลามาร์ก • ออดูบอง • ดารวิน  • ฮุกเกอร์ • เมนเดล • วอลเลซ • มิวร์ • โคค • เฟลมิง  • แมกคลินทอก • คาร์สัน  • กูดอลล์ • เซอเรโน • เวอร์เมจ


2

หนังสือ  สุดยอดนักชีววิทยา ผู้เขียน  ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต

พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2556  จ�ำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม ราคา 220 บาท ข้อมูลบรรณานุกรม สุทัศน์ ยกส้าน. สุดยอดนักชีววิทยา.--กรุงเทพฯ : สารคดี, 2556. 264 หน้า.  1. นักวิทยาศาสตร์--ชีวประวัติและผลงาน. I. สุทัศน์ ยกส้าน 925.574 ISBN 978-616-7767-06-2

คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : ปณต ไกรโรจนานันท์   ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปก/จัดรูปเล่ม : ณิลณา หุตะเศรณี พิสูจน์อักษร : เกษณี วิลาวัลย์เดช, นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์  ส�ำนักพิมพ์สารคดี (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) จัดจ�ำหน่าย  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด 28, 30 ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 0-2281-6110 (อัตโนมัติ) โทรสาร 0-2282-7003 เพลต  เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. 0-2215-7559 พิมพ์  บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด โทร. 0-2720-5014 ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล  ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : ปฏิมา หนูไชยะ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด : พิเชษฐ ยิ้มถิน  ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : สุดารา สุจฉายา บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�้ำมันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม


สุดยอดนักชีววิทยา

3

ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน

จากส�ำนักพิมพ์ ชีววิทยาเป็นสาขาทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาสิ่งมีชีวิตในแง่มุมที่หลาก หลายและชวนพิศวง ตั้งแต่การจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นอาศัย และระหว่าง สิ่งมีชีวิตด้วยกัน วิวัฒนาการ การท� ำงานของอวัยวะ ไปจนถึงการ ท�ำงานในระดับเซลล์และโมเลกุล หนังสือสุดยอดนักชีววิทยาเล่มนี้น�ำเสนอเรื่องราวชีวิตของ นักชีววิทยาซึง่ ก็นา่ พิศวงไม่แพ้นกั วิทยาศาสตร์สาขาอืน่  เช่น อริสโตเติล ผู้ต้องหลบหนีอเล็กซานเดอร์มหาราชซึ่งเป็นศิษย์เพราะพระองค์ระแวง อริสโตเติล วีเซเลียสผู้ต้องอดทนต่อกลิ่นเน่าเหม็นของศพเพื่อวาด สรี ร ะของมนุ ษ ย์   กู ด อลล์ ผู ้ ไ ม่ มี พื้ น เพการศึ ก ษาทางวิ ท ยาศาสตร์ มาก่อน แต่ด้วยความทุ่มเทมุ่งมั่นก็สามารถบุกเบิกการศึกษาชิมแปนซี จนเป็นผู้ที่รู้จักชิมแปนซีดีที่สุด  นอกจากนี้ เลโอนาร์โด ดา วินชี ผู้มี ความสามารถหลายด้าน ก็มีชื่อปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้จากผลงาน ภาพวาดกายวิภาคที่แสดงกล้ามเนื้อตรงความจริงแต่ขณะเดียวกันก็ งดงามในเชิงศิลปะ ส�ำนักพิมพ์สารคดีหวังว่าผู้อ่านจะรู้จักชีวิตของผู้ศึกษาสิ่งมี ชีวิตรวม 20 คน และสนุกสนานตามสไตล์ ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน ในสุดยอดนักชีววิทยาเล่มนี้ ส�ำนักพิมพ์สารคดี


4

จากผู้เขียน สมมุติเราได้มีโอกาสอ่านต้นฉบับเรื่อง The Origin of Species ของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน หรือใช้กล้องจุลทรรศน์ที่เลเวนฮุกประดิษฐ์ส่องดู จุลนิ ทรีย ์ หรือเห็นกระดูกไดโนเสาร์ท ี่ พอล เซอเรโน พบ หรือได้สนทนา กับเมนเดลเรื่องงานด้านพันธุกรรม เราก็คงใคร่รู้เรื่องแรงดลใจที่ทำ� ให้ สุดยอดนักชีววิทยาเหล่านี้ท�ำงานจนประสบความส�ำเร็จขั้นสูงสุด ซึ่ง อาจรวมถึงการเลือกปัญหา เทคนิคการวิเคราะห์และสังเคราะห์ต่างๆ รวมถึงประวัตสิ ว่ นตัว สภาพสังคม และปัจจัยหลักทีท่ �ำให้บคุ คลเหล่านี้ ได้รับความส�ำเร็จระดับที่น่าประทับใจในการเปลี่ยนแปลงโลกชีววิทยา หนังสือสุดยอดนักชีววิทยาเล่มนี้จึงรวบรวมชีวประวัติและ ผลงานของนักชีววิทยาระดับโลก ตั้งแต่อริสโตเติลในยุคพุทธกาล จนกระทั่งถึง พอล เซอเรโน ในยุคปัจจุบัน รวม 20 คน เพื่อให้คุณ ผู้อ่านได้เห็นและเข้าใจว่าบุคคลเหล่านี้น่าสนใจและส�ำคัญอย่างไร ทั้งๆ ที่เขาเหล่านี้ทุกคนเริ่มต้นชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ไม่ เหมือนกัน ต่างชาติและต่างภาษากัน บางคนท�ำงานอย่างโดดเดี่ยว เช่ น  บาร์ บ ารา แมกคลิ น ทอก, เกรกอร์   เมนเดล แต่ ห ลายคน ก็ท�ำ งานคาบเกี่ ย วกัน เช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน กับ อั ล เฟรด รั ส เซล วอลเลซ, โรเบิร์ต ฮุก กับ โจเซฟ ฮุกเกอร์ เป็นต้น แต่ในที่สุดก็ใช้ ชีวิตเป็นนักชีววิทยาเหมือนกัน พบกันใหม่ในรวมเล่มฉบับหน้า และขอบคุณครับที่ติดตาม อ่าน ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน


สุดยอดนักชีววิทยา

5

สารบัญ

ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน

อริสโตเติล ดา วินชี วีเซเลียส เลเวนฮุก ฮุก ลินเนียส ลามาร์ก ออดูบอง ดาร์วิน ฮุกเกอร์

7 19 29 41 53 65 77 85 93 125

เมนเดล วอลเลซ มิวร์ โคค เฟลมิง แมกคลินทอก คาร์สัน กูดอลล์ เซอเรโน เวอร์เมจ

137 149 169 181 193 209 219 229 241 253


กลโมีคเกนัดอยดสุ

6


สุดสุยอดนั ดยอดนั กชีกวเคมี วิทโลก ยา

7

อริAriสsโตเติ ล totle

มหาปราชญ์แห่งโลกโบราณ

ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน

พ.ศ. 159-221

อริสโตเติล (Aristotle ในภาษากรีกแปลว่า ความประสงค์ที่ดีที่สุด) คือปราชญ์ผู้วาง รากฐานของวิทยาศาสตร์และตรรกวิทยา ซึง่ ท�ำให้โลกเข้าใจแก่นแท้ของปรัชญาตะวันตกเป็นครั้งแรก  นอกจากนี้ ยังเป็นนักวิชาการผูร้ เิ ริม่ การจัดองค์ความรูด้ า้ นชีววิทยาให้เป็นระบบด้วย อริสโตเติลเกิดที่เกาะสเตจีราซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียง เหนือของกรีซในทะเลอีเจียน เมื่อ พ.ศ. 159  ปัจจุบันเกาะนี้อยู่ห่าง จากเมืองเทสซาโลนิกิไปทางทิศตะวันออกประมาณ 55 กิโลเมตร บิดาชื่อนิโคมาคัส (Nicomachus) เป็นแพทย์หลวงในกษัตริย์อมินทาส (Amyntas) แห่งอาณาจักรมาเซดอน ส่วนมารดาชื่อฟีสทิส (Phaestis) ในเบื้องต้นบิดาต้องการให้อริสโตเติลยึดอาชีพแพทย์เพื่อจะได้ถ่ายทอด ความรู้ให้โดยตรง จึงจัดให้อริสโตเติลได้รับการศึกษาขั้นสูงและฝึกให้ ท�ำงานใกล้ชิดกับบุคคลที่มีฐานันดรศักดิ์ระดับกษัตริย์


8

พลาโต (ซ้าย) และอริสโตเติล (ขวา)  ในภาพวาด The School of Athens โดยจิตรกรราฟาเอล

เมื่ออายุ 18 ปี อริสโตเติลไปศึกษาต่อที่สถาบันพลาโตใน กรุงเอเทนส์ ซึง่ ในสมัยนัน้ เป็นศูนย์กลางการศึกษาของโลก โดยมีพลาโต ผู้เป็นศิษย์รักของโสกราตีสเป็นผู้อ�ำนวยการ  อริสโตเติลใช้เวลาเรียน และท�ำงานทีน่ นี่ าน 20 ปี จนพลาโตรูส้ กึ ประทับใจในความสามารถมาก ครั้นเมื่อพลาโตเสียชีวิต หลานชายของพลาโตชื่อสปิวซิปปัส (Speusippus) ได้เข้ามาเป็นผู้อ� ำนวยการบริหารสถาบันแทน แต่ เมื่อเวลาผ่านไป อริสโตเติลมีความเห็นว่า ทิศทางของสถาบันมิได้เป็น ไปตามแนวที่พลาโตเคยวางไว้ จึงขอลาออกจากการเป็นอาจารย์เพื่อ ไปท�ำงานกับแอร์เมียส เศรษฐีผู้มีอ�ำนาจแห่งเมืองอทาร์เนียสในเอเชีย ไมเนอร์  ขณะท�ำงานที่นี่อริสโตเติลได้เดินทางไปส�ำรวจเกาะเลสบอส เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพืชและสัตว์ที่น่าสนใจบนเกาะ อริสโตเติลเข้าพิธีสมรสกับไพเทียส (Pythias) ซึ่งเป็นบุตร สาวของแอร์เมียส  ครอบครัวนี้มีบุตรสาวหนึ่งคน  เมื่อเกิดสงคราม


สุดยอดนักชีววิทยา

9

แอร์เมียสถูกทหารเปอร์เซียจับตัวไปเผาทั้งเป็น อริสโตเติลได้ประพันธ์ กลอนแสดงความอาลัยต่อพ่อตา  ลุถึงปี พ.ศ. 200 กษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งอาณาจักรมาเซดอนทรงเชิญอริสโตเติลไปเป็นพระอาจารย์ถวาย พระอักษรแด่เจ้าชายอเล็กซานเดอร์วัย 13 ชันษาผู้เป็นราชบุตร สมดัง ที่เคยทรงปรารภว่า พระองค์ทรงยินดีปรีดามากที่พระเจ้าได้ประทาน พระโอรสมาให้ แต่ความโสมนัสนี้ก็ยังไม่มากเท่ากับการทรงรู้ว่าใน อนาคตพระโอรสจะได้รับการสอนโดยอริสโตเติล ในการถวายพระอักษรที่เมืองเพลลานั้น นอกจากเจ้าชาย อเล็กซานเดอร์แล้ว อริสโตเติลยังได้สอนพระสหายของเจ้าชายชื่อ ปโตเลมีและคาสแซนเดอร์ด้วย  แววพระปรีชาสามารถของเจ้าชาย อเล็กซานเดอร์เริ่มเป็นที่ประจักษ์ต่อพระอาจารย์ เมื่ออริสโตเติลถาม บรรดาศิษย์ว่า ถ้าได้เป็นกษัตริย์ ใครจะท�ำอะไรในอนาคต  ศิษย์คน อื่นๆ ของอริสโตเติลตอบว่า ตนจะถามอาจารย์ก่อนทุกครั้ง แล้วจะท�ำ ตามที่อาจารย์บอก แต่อเล็กซานเดอร์กลับตอบว่า ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะ เกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นค�ำตอบที่จะให้จึงเป็นเพียงเรื่องสมมุติ แม้อเล็กซานเดอร์ทรงมีความเป็นพระองค์เองค่อนข้างมาก

ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน

อเล็กซานเดอร์ก�ำลังฟังการสอนจากอริสโตเติล


18

เชกสเปียร์  ในด้าน drama นั้น บทละครปัจจุบันก็ยังมีการใช้แนวคิด ของอริสโตเติลที่ว่า บทละครมีอิทธิพลมากในการระบายอารมณ์ของ ผู้ชม อริสโตเติลจึงเป็นบรมครูผู้รักทั้งวิทยาศาสตร์และวรรณกรรม ในขณะที่พลาโตไม่ชอบวิทยาการทั้งสองรูปแบบนี้เลย ในปี พ.ศ. 2540 นักโบราณคดีชื่อ อีฟี ลีกูรี (Ephi Ligouri) พบต�ำแหน่งที่ตั้งของไลเซียมโดยบังเอิญ  สถานที่นี้มีพื้นที่ประมาณ 50x50 เมตร และตั้งอยู่ใกล้แม่น�้ำอีลิโซ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของ ก� ำ แพงเมื อ งเอเทนส์    นี่ เ ป็ น การค้ น พบที่ ส� ำ คั ญ มากครั้ ง หนึ่ ง ใน ประวัติศาสตร์ เพราะได้พบสถานที่ที่ครูผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกโบราณ เคยสอนศิษย์ว่า “One swallow does not make a summer, and a single day does not make a happy life.”


สุดสุยอดนั ดยอดนั กชีกวเคมี วิทโลก ยา

19

ดา  วินชี da Vinci

นักกายวิภาคศาสตร์ ผู้รอบรู้

ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน

พ.ศ. 1995-2062

เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) คื อ ต้ น แบบของมนุ ษ ย์ ยุ ค เรอเนซองซ์ ผู ้ รอบรู้และมีความสามารถในศาสตร์ทุกด้าน แต่ในช่วงเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ เขาเป็นที่รู้จักและยกย่องว่าเป็นสุดยอด จิตรกรที่ท�ำงานวิทยาศาสตร์เป็นงานอดิเรก  เมื่อถึงวันนี้ ดา วินชี เองก็คงไม่นึกว่า ผลงานวิทยาศาสตร์ที่ตนท�ำ (เล่นๆ) นั้น ยิ่งใหญ่ เทียบเท่ากับผลงานศิลปะทีเดียว หากเราได้ศึกษางานวิทยาศาสตร์ของ ดา วินชี แล้ว เราก็จะ เห็นว่ามีทั้งงานธรณีวิทยา ทัศนศาสตร์ พฤกษศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ชลศาสตร์ ฯลฯ แต่งานกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์เป็นวิทยา ศาสตร์ที่ ดา วินชี สนใจและผูกพันมากที่สุด ขณะนีภ้ าพวาดด้านกายวิภาคศาสตร์ของเลโอนาร์โด 87 ภาพ ซึ่งเป็นภาพที่ราชวงศ์อังกฤษเก็บสะสมเป็น Royal Collection จาก


20

ภาพกายวิภาคของหัวไหล่มนุษย์

ภาพทั้งหมด 600 ภาพ ก�ำลังถูกน�ำออกแสดงที่ Queen’s Gallery ในกรุ ง ลอนดอน ตั้ ง แต่ วั น ที่   4 พฤษภาคมจนกระทั่ ง ถึ ง วั น ที่   7 ตุ ล าคม 2555 ภายใต้ ชื่ อ ว่ า  Leonardo da Vinci: Anatomist ซึ่งมีทั้งภาพของกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นประสาท ล�ำไส้ มดลูก ตัวอ่อน ในครรภ์มารดา ที่เลโอนาร์โดวาดไว้ในปี พ.ศ. 2033 กับในช่วงปี พ.ศ. 2050-2056 การน�ำผลงานด้านกายวิภาคศาสตร์ของเลโอนาร์โดออกเสนอ ต่อสาธารณชนในครั้งนี้จึงนับเป็นการแสดงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ครั้ง สุดท้ายที่มีการน�ำผลงานเรื่องเดียวกันออกแสดงในปี พ.ศ. 2520 เลโอนาร์ โ ดสร้างผลงานนี้จากการผ่าตัดและช� ำแหละศพ


สุดยอดนักชีววิทยา

21

ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน

ภาพกายวิภาคของทารกในครรภ์

ประมาณ 30 ศพ และตั้งใจจะตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทั้งหมด แต่ ไม่ได้ด�ำเนินการใดๆ ซึ่งถ้าได้ท�ำ วิทยาการด้านกายวิภาคศาสตร์คง ก้าวหน้ากว่านี้มาก เพราะบางสิ่งที่เลโอนาร์โดเห็นและวาดนั้น ไม่มี นักกายวิภาคศาสตร์คนใดได้เห็นจนอีก 400 ปีต่อมา  ส�ำหรับสาเหตุ ที่ท�ำให้เลโอนาร์โดไม่ตีพิมพ์ผลงาน นักประวัติศาสตร์คิดว่า คงเพราะ สิ่งที่เขาเห็นมิได้เป็นไปตามที่นักสรีรวิทยาในสมัยนั้นเชื่อ ดังนั้นเขาจึง มิกล้าโต้แย้งกับ “ผู้รู้” จนกระทั่งเสียชีวิต เลโอนาร์โด ดา วินชี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 1995 (ตรงกับรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) ที่หมู่บ้านวินชีในแคว้นทัสคานี ประเทศ อิตาลี  บิดา เซร์ ปีเอโร (Ser Piero) เป็นนักกฎหมาย และมารดา เป็นสาวชาวนาชื่อกาเตรินา (Caterina)  เพราะเป็นลูกนอกสมรส เลโอนาร์โดจึงใช้ชีวิตในวัยเด็กอยู่กับปู่ย่า และเรียนหนังสือที่บ้านจน อ่านออกเขียนได้  เขาไม่ถนัดวิชาคณิตศาสตร์และไม่ได้เรียนภาษา กรีกกับละติน ซึ่งเป็นภาษาที่นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นใช้สื่อสารกัน


28

อาหารไม่ลง) แต่เลโอนาร์โดเป็นคนอยากรู้จึงใช้ความสามารถที่มีทั้งด้าน วิ ท ยาศาสตร์ แ ละศิ ล ปศาสตร์   (ในสมั ย นั้ น ความสามารถทั้ ง สอง ด้านยังไม่แยกกันเหมือนในสมัยนี้) เจาะลึกอย่างละเอียดด้วยการใช้ สายตาที่แหลมคม อีกทั้งยังได้บรรยายสิ่งที่เห็นในเชิงวิทยาศาสตร์ ด้วย ภาพวาดที่โด่งดังของเลโอนาร์โด เช่น Mona Lisa ได้เปลี่ยน โลกศิลปะ แต่ภาพวาดกายวิภาคศาสตร์ของเขากลับไม่มีใครเห็นในยุค นั้น ซึ่งถ้าได้เห็น กายวิภาคศาสตร์จะเปลี่ยนไปแค่ไหน ไม่มีใครรู้ อ่านเพิ่มเติมจาก The Science of Leonardo: Inside the Mind of the Great Genius of the Renaissance โดย Fritjof Capra จัดพิมพ์โดย Doubleday เมื่อปี พ.ศ. 2550


สุดสุยอดนั ดยอดนั กชีกวเคมี วิทโลก ยา

29

วีVesal เซเลียiuสs

บิดาของกายวิภาคศาสตร์

ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน

พ.ศ. 2057-2107

ในฤดูใบไม้ร่วงของปี พ.ศ. 2076 อุณหภูมิ อากาศในกรุงปารีสลดต�่ำจนชาวเมืองต้อง เผาถ่ า นหิ น เพื่ อ ให้ บ ้ า นและที่ อ ยู ่ อ าศั ย อบอุ่นตลอดเวลา นี่จึงเป็นเรื่องสิ้นเปลืองแต่จ�ำเป็น  ดังนั้นคนยากจน เวลากลับจากที่ท�ำงานจึงต้องออกก�ำลังกายในเวลากลางคืนเพื่อให้ ร่างกายอบอุ่น จะได้ไม่ต้องเสียเงินซื้อถ่านหินปริมาณมาก  แม้แต่ จาโคบัส ซิลเวียส (Jacobus Sylvius ชือ่ ภาษาละตินของ ชากส์ ดูบวั ส์ - Jacques Dubois) ซึ่งขณะนั้นเป็นศาสตราจารย์แพทย์ที่มีชื่อเสียง ที่สุดในยุโรปก็ต้องกระเหม็ดกระแหม่  ด้วยเหตุนี้ก่อนเริ่มบรรยายให้ นิสิตมหาวิทยาลัยฟัง เขาจึงกล่าวเตือนว่า นิสิตคนใดที่ยังไม่เสียเงิน ค่าเล่าเรียน จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเรียนในครั้งต่อไป อันเดรียส วีเซเลียส (Andreas Vesalius) ซึ่งได้เดินทางจาก กรุงบรัสเซลส์ในเบลเยียม เป็นนิสิตคนหนึ่งที่ได้เดินทางไกล 300


30

ต�ำรา De Usu Partium ของกาเลน ซึ่งโบราณและมีข้อเท็จจริงที่ผิดพลาดมากมาย

กิโลเมตรมาที่ปารีสเพื่อเรียนวิชาแพทยศาสตร์กับซิลเวียส เพราะคาด หวังจะได้รับความรู้มหาศาล  เมื่อได้ยินชายชราพูดเรื่องค่าเล่าเรียน ก่อนสอนหนังสือ ความงกเงินของอาจารย์ทำ� ให้วเี ซเลียสรูส้ กึ ผิดหวังมาก ครั้ น เมื่ อ ซิ ล เวี ย สเริ่ ม บรรยาย ความผิ ด หวั ง ของวี เ ซเลี ย ส ก็ ยิ่ ง ทวี คู ณ  เพราะเขาเห็ น ซิ ล เวี ย สหยิ บ ต� ำ ราเก่ า คร�่ ำ คร่ า ชื่ อ  De Usu Partium (On the Use of the Parts) ของ คลอเดียส กาเลน (Claudius Galen) ปราชญ์ ก รี ก ซึ่ ง ได้ เ สี ย ชี วิ ต ไปเมื่ อ  พ.ศ. 744 คือเมื่อ 1,300 กว่าปีก่อน มาอ่านให้นิสิตฟังและจด พร้อมกับบอก ว่าหนังสือเล่มนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุดและ ถูกต้องที่สุด จนไม่มีใครในโลกจะรู้ดีกว่าหรือรู้มากกว่ากาเลนอีก แล้ว ดังนั้นค� ำพูดและค� ำสอนทุกค� ำของกาเลนคือสัจจะ และเป็น กฎหมายที่ใครจะเถียง จะล้มล้าง หรือจะคิดต่างไม่ได้อย่างเด็ดขาด แล้วซิลเวียสก็เปิดต�ำราเล่มนัน้ ออกอ่านทีละค�ำ ทีละบรรทัด และทีละหน้า ให้บรรดานิสิตฟังเพื่อให้จดอย่างตั้งอกตั้งใจ กาเลนเกิ ด เมื่ อ  พ.ศ. 674 คื อ ประมาณ 100 ปี ห ลั ง จาก พระเยซูสิ้นพระชนม์ มีอาชีพเป็นแพทย์ผู้ภูมิใจในตัวเองว่ารู้มาก และ ชอบวิพากษ์วิจารณ์แพทย์คนอื่นๆ  กาเลนได้ความรู้จากการทดลอง


สุดยอดนักชีววิทยา ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน

31

ผ่าตัดสัตว์ เช่น สุนัข สุกร ลิง จึงรอบรู้เรื่องสรีระและอวัยวะต่างๆ ของสัตว์ดีกว่าแพทย์ทุกคนในสมัยนั้น ท�ำให้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่ง ตั้ ง เป็ น แพทย์ ห ลวงในจั ก รพรรดิ ม าร์ คั ส  ออเรเลี ย ส (Marcus Aurelius) แห่ ง โรม  ชาวโรมั น ทุ ก คนพากั น ยกย่ อ งกาเลนว่ า เป็ น จักรพรรดิแห่งวิชาแพทยศาสตร์  แม้ว่าค�ำสอนของกาเลนหลายเรื่อง จะผิด แต่ไม่มใี ครกล้าท้าทายความคิดและความเชือ่ ของเขาเลย เพราะ คนคนนั้นจะถูกจ�ำคุก ถูกทรมาน หรืออาจถูกฆ่าก็ได้ เช่น กาเลนสอน ว่า ในเวลากลางวันเลือดแดงจะไหลไปหล่อเลี้ยงสมองและปอด และ ในเวลากลางคืนเลือดด�ำจะไหลไปหล่อเลีย้ งกระเพาะ แขน และขา ส่วน ตับนั้นเป็นแหล่งผลิตเลือดของมนุษย์ เป็นต้น ตลอดเวลาที่วีเซเลียสร�่ำเรียนกับซิลเวียส เขารู้สึกผิดหวัง และหมดหวังมากที่เห็นซิลเวียสน�ำต�ำราอายุ 1,300 กว่าปีมาอ่านให้ ฟังโดยไม่ อ ธิบายอะไรเลย และห้ามถามค�ำถามใดๆ ด้ว ย  ครั้น ถึงเวลาสาธิตการผ่าตัด ซิลเวียสก็ให้ผู้ช่วยซึ่งมีอาชีพเป็นช่างตัดผม แต่ มี ค วามสามารถด้ า นช� ำ แหละสั ต ว์ ม าผ่ า หมู ห รื อ สุ นั ข ให้ นิ สิ ต ดู ในสมัยนั้นสถาบันศาสนามีกฎห้ามผ่าตัดคนซึ่งเป็นสัตว์ที่พระเจ้า สร้างอย่างประเสริฐ จนมนุษย์ไม่สมควรจะไปดัดแปลงใดๆ อีกทั้ง กาเลนก็อ้างว่า ร่างกายสัตว์ก็เหมือนกับร่างกายคนทุกประการ ดังนั้น แพทย์จึงไม่จ�ำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องร่างกายคน  และเมื่อใดที่ต� ำรา อ้างว่าร่างกายสัตว์ต้องมีกระดูกจ�ำนวนเท่านั้นชิ้นหรือเส้นเลือดจ�ำนวน เท่านี้เส้น แต่ซิลเวียสค้นหากระดูกหรือเส้นเลือดไม่พบ เขาก็จะบอก ว่าสัตว์ตัวนั้นผิดปกติ  วีเซเลียสคิดว่าการตอบเช่นนี้ไม่ใช่เหตุผล และคิดเองอย่างตลกๆ ว่า เพราะร่างกายของสัตว์ตัวนั้นมิได้เป็นไป ตามค�ำสอนของกาเลนนั่นเอง มันจึงต้องตาย อันเดรียส วีเซเลียส เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2057 (ตรงกั บ รั ช สมั ย สมเด็ จ พระรามาธิ บ ดี ที่   2) ที่ ก รุ ง บรั ส เซลส์ ใ น


40

แล้ว เขาก็สามารถแต่งงานได้ แต่ชีวิตสมรสของวีเซเลียสก็ไม่ราบรื่น ในปี พ.ศ. 2107 เมื่อวีเซเลียสได้อ่านหนังสือ Observations Anatomicae ที่เรียบเรียงโดย เกเบรียลเล ฟอลโลปิโอ (Gabriele Fallopio) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์กายวิภาคศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย ปาดัว ผู้พบ Fallowpion tube เขาก็เห็นว่า ในต�ำรานั้นมีข้อความ หลายตอนที่ขัดแย้งกับค�ำสอนของเขา  ความคิดเห็นของฟอลโลปิโอ ท�ำให้วีเซเลียสรู้ว่า เขาต้องกลับไปเป็นนักกายวิภาคศาสตร์อีก จึง เขียนจดหมายอธิบายชี้แจงต่อฟอลโลปิโอ แต่ฟอลโลปิโอเสียชีวิตไป ก่อนจะได้รับจดหมายฉบับนั้น วีเซเลียสจึงเข้ารับต�ำแหน่งแทนฟอลโลปิโอ  ชีวิตท�ำงานของ วีเซเลียสที่ปาดัวประสบอุปสรรคตลอดเวลา เพราะต้องต่อสู้กับข่าวลือ ในทางลบมากมาย เช่น เขาผ่าตัดเปิดหน้าอกของขุนนางคนหนึง่  ทัง้ ๆ ที่ขุนนางคนนั้นยังไม่ตาย และเขาเป็นผู้ที่ท�ำให้นางสนมคนหนึ่งในวัง เสียชีวิต  ข่าวลือเหล่านี้ท�ำให้สถาบันศาสนาสาปแช่งจนวีเซเลียสต้อง ตัดสินใจเดินทางไปจาริกแสวงบุญที่เยรูซาเลมในอิสราเอล ในช่วงเดินทางกลับจากดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ขณะเรือแล่นใบถึง เกาะซาคินทอสในทะเลไอโอเนียน พายุได้พัดกระหน�่ำอย่างรุนแรงจน เรืออับปาง และวีเซเลียสเสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2107 หลายสัปดาห์ต่อมาขบวนเรือผู้จาริกแสวงบุญซึ่งได้แวะหลบ พายุ ที่ เ กาะซาคิ น ทอสได้ เ ห็ น ซากศพมากมาย และเห็ น ศพหนึ่ ง มี จดหมายที่ฟอลโลปิโอเขียนถึงวีเซเลียส เขาจึงรูว้ า่ นีค่ อื ศพของวีเซเลียส จึงน�ำศพไปฝังพร้อมปักเสาหินที่สลักชื่อของวีเซเลียสเพื่อเป็นเกียรติ หาอ่านผลงานและชีวิตของบุรุษผู้ที่ท�ำให้กายวิภาคศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์โดยการขโมยศพจากตะแลงแกงเพิ่มเติมในหนังสือ Andreas Vesalius, Pilgrimage ที่จัดพิมพ์โดย Isis ในปี พ.ศ. 2497


สุดสุยอดนั ดยอดนั กชีกวเคมี วิทโลก ยา

41

เลเวนฮุ ก Leeuwenhoek บิดาของจุลชีววิทยา และวิทยาแบคทีเรีย

ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน

พ.ศ. 2175-2266

ชีวิตนักวิทยาศาสตร์ในยุโรปเมื่อ 350 ปี ก่อนแตกต่างจากชีวิตนักวิทยาศาสตร์ใน ปัจจุบันมาก เพราะในสายตาของสังคม ทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์คือบุคคลที่ควรค่าแก่การยกย่อง มีเงินเดือน มีห้องปฏิบัติการให้ท�ำงาน มีทุนวิจัย มีเจ้าหน้าที่ผู้ช่วย และสร้าง ผลงานที่ในบางครั้งได้รับการเผยแพร่ในหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ แต่ ในยุคของ อันโตนี วาน เลเวนฮุก (Antoni van Leeuwenhoek) เมื่อ 3 ศตวรรษก่อน โลกยังอยูใ่ นยุคมืดทีส่ งั คมต่อต้านวิทยาศาสตร์มาก เช่น เมือ่  ไมเคิล เซอร์เวทัส (Michael Servetus) ช�ำแหละศพ เขาถูกกล่าว หาว่าขัดค�ำสอนของศาสนาและถูกน�ำไปเผาทั้งเป็น  เมื่อกาลิเลโอ แถลงความเชื่อของตนเองว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เขาถูกศาล ศาสนากักบริเวณ  และเมื่อคนทั่วไปล้มป่วยจะด้วยโรคอะไรก็ตาม สังคมจะสรุปว่าเขาถูกภูตผีปิศาจท�ำร้าย


42

กล้องจุลทรรศน์จ�ำลองตามแบบของเลเวนฮุก

ด้ ว ยเหตุ นี้ เ มื่ อ เลเวนฮุ ก ใช้ ก ล้ อ งจุ ล ทรรศน์ ที่ เ ขาประดิ ษ ฐ์ ส่องเห็นโลกของจุลินทรีย์เป็นครั้งแรก และพบว่ามันมีขนาดเล็กมาก จนมนุษย์ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยในเวลาต่อมานักชีววิทยา ได้พบว่า สิ่งมีชีวิตเหล่านี้บางชนิดมีอันตรายต่อชีวิต แต่บางชนิด ก็มีประโยชน์ต่อมนุษย์มาก เลเวนฮุกจึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาของจุลชีววิทยาและวิทยาแบคทีเรีย เลเวนฮุกเกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2175 (ตรงกับรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง) ทีเ่ มืองเดลฟต์ ในฮอลแลนด์ ในครอบครัว ที่บิดาเป็นคนที่ชาวเมืองนับถือ เพราะท�ำงานเป็นช่างจักสานตะกร้า และต้มเบียร์ ซึ่งอาชีพหลังนี้เป็นอาชีพที่มีเกียรติ  เพราะครอบครัว มีฐานะไม่สู้ดี เลเวนฮุกจึงไม่ได้เรียนหนังสือในมหาวิทยาลัย เลเวนฮุกก�ำพร้าบิดาตั้งแต่อายุยังน้อย มารดาจึงส่งไปเรียน หนังสือที่โรงเรียนในเมือง และหวังจะให้ท�ำงานราชการเมื่อลูกชาย เรียนส�ำเร็จ แต่เลเวนฮุกชิงลาออกจากโรงเรียนก่อนเมื่ออายุ 16 ปี เพื่อไปฝึกงานเป็นพนักงานการเงินที่ศาล และท�ำงานเป็นคนเฝ้าโรง


สุดยอดนักชีววิทยา ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน

43

สินค้าในเมืองอัมสเตอร์ดัมเป็นเวลานาน 6 ปี จากนั้นก็ลาออกแล้ว กลับบ้านเกิดทีเ่ ดลฟต์เพือ่ แต่งงานและเปิดร้านขายสินค้าแห้งของตนเอง เมื่อภรรยาถึงแก่กรรม เลเวนฮุกแต่งงานใหม่  เขามีลูกจากภรรยาทั้ง สองคนรวมหกคน และใช้ชวี ติ ทีเ่ ดลฟต์อย่างเงียบ ๆ อย่างคนที ่ “ไร้การ ศึกษา” จนกระทั่งอายุ 40 ปี เลเวนฮุกพูดและเขียนได้เฉพาะภาษาดัตช์ ซึ่งเป็นภาษาที่ นักวิชาการในสมัยนั้นดูถูกว่าเป็นภาษาของกรรมกรและชนชั้นต�ำ่  เช่น ชาวประมงและพ่อค้า  ส่วนคนที่ได้รับการศึกษาสูงจะสนทนาพาทีและ เขียนภาษาละตินกัน เลเวนฮุกจึงไม่สามารถอ่านต�ำราใดๆ ได้ ซึ่งก็ เป็นเรื่องดี เพราะถ้าอ่านได้ สมองของเขาคงคลาคล�่ำด้วยข้อมูลและ ความรู้ที่เหลวไหลของผู้คนในสมัยนั้น จนคิดอะไรๆ นอกกรอบไม่ได้ เมือ่ ไม่มคี วามรูแ้ ละสนทนากับ “ผูร้ ”ู้  ไม่ได้ เลเวนฮุกจึงจ�ำเป็นต้องพึง่ พา ตนเอง โดยการคิดเองและตัดสินใจเองตลอดเวลา ปี พ.ศ. 2133 เป็นปีที่ทั่วยุโรปก� ำลังตื่นเต้นกับอุปกรณ์ที่ ซาคาเรียส ยานเซน (Zacharias Janssen) ออกแบบเพื่อให้เห็น วั ต ถุ ที่ มี ข นาดเล็ ก  โดยกล้ อ งจุ ล ทรรศน์ ที่ เ ขาใช้ มี ส องแบบ  แบบ แรกมี เ ลนส์ นู น สองชิ้ น ติ ด อยู ่ ที่ ป ลายเปิ ด ทั้ ง สองข้ า งของท่ อ สั้ น ๆ ส่ ว นแบบที่   2 มี เ ลนส์ นู น ที่ ห นามากชิ้ น เดี ย ววางใกล้ วั ต ถุ ม าก เลเวนฮุกพบว่า การใช้เลนส์สองชิ้นมักท� ำให้เห็นภาพที่ไม่ชัดและ บิดเบี้ยว ทั้งนี้เพราะแก้วที่ใช้ท�ำเลนส์ส่วนใหญ่มีคุณภาพต�่ำ เขาจึง ตัดสินใจใช้เลนส์เดียวที่ท�ำด้วยแก้วคุณภาพสูงและมีขนาดเล็กเท่า หัวเข็มหมุด เลนส์จึงมีความยาวโฟกัสสั้นมาก แต่มีก�ำลังขยายสูง ตั้งแต่ 50 ถึง 300 เท่า ตามปกติเลเวนฮุกเป็นคนที่มีความอยากรู้อยากเห็นและมี สายตาทีแ่ หลมคม เขาจึงใช้กล้องทีป่ ระดิษฐ์สอ่ งดูทกุ สิง่ ทุกอย่าง ตัง้ แต่ ขนแกะ ตัวหมัด เหา หัวแมลงวัน การตัดขวางของล�ำต้นไม้ ฯลฯ แล้ว


• อริสโตเติล • ดา วินชี • วีเซเลียส • เลเวนฮุก • ฮุก • ลินเนียส  • ลามาร์ก • ออดูบอง • ดารวิน  • ฮุกเกอร์ • เมนเดล • วอลเลซ • มิวร์ • โคค • เฟลมิง  • แมกคลินทอก • คาร์สัน  • กูดอลล์ • เซอเรโน • เวอร์เมจ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.