แนะนำ�ประเทศ ดร. พรชัย สุจิตต์
ราคา ๑๕๐ บาท
ISBN 978-616-7767-34-5
หมวดประวัติศาสตร์/สังคม
ดร. พรชัย สุจิตต์
จุดประสงค์ของหนังสือเล่มเล็กๆ นี้คือ การนำ�เสนอเรื่องราวของประเทศติมอร์เลสเต เพราะนอกจากเป็นประเทศใหม่แล้ว ทั้งประวัติศาสตร์ ประชากร และวัฒนธรรม ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักดี โดยผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปอาศัย และทำ�งานเป็นผู้แทนกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations Population Fund (UNFPA) ในประเทศติมอร์เลสเต เป็นเวลาสามปีครึ่ง หนังสือเล่มนี้เริ่มด้วยการแนะนำ�ประเทศจากความเป็นมา ของชื่อและที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ประชากร ภาษา ประวัติศาสตร์ตั้งแต่อดีตถึง ปัจจุบัน อุปสรรคของความมั่นคงทางการเมือง ลักษณะสังคมและวัฒนธรรม สถานภาพของสตรี งานศิลปหัตถกรรม ปัญหา และอนาคตของติมอร์เลสเต พร้อมด้วยแผนที่และภาพประกอบตลอดทั้งเล่ม
แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต
ติมอร์เลสเต
แนะนำ�ประเทศ
ติมอร์เลสเต ดร. พรชัย สุจิตต์
ISBN 978-616-7767-34-5 หนังสือ แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต ดร. พรชัย สุจิตต์ ผู้เขียน ภาพประกอบ ดร. พรชัย สุจิตต์ พิมพ์ครั้งที ่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๗ จำ�นวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ราคา ๑๕๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ที่ปรึกษาต้นฉบับ บรรณาธิการเล่ม ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท จัดพิมพ์โดย พิมพ์ที่ จัดจำ�หน่าย
ดร. ธิดา สาระยา อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ นัทธิน ี สังข์สุข ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด (สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ) ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ พรชัย สุจิตต์. แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต.-- กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๗. ๑๑๒ หน้า. ๑. ติมอร์ตะวันออก--ประวัติศาสตร์. ๒. ติมอร์ตะวันออก--การเมืองและ การปกครอง. ๓. ติมอร์ตะวันออก--ความเป็นอยู่และประเพณี. ๔. ติมอร์ ตะวันออก--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. I. ชื่อเรื่อง. ๙๕๙.๘๖ ISBN 978-616-7767-34-5
สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล ผู้อำ�นวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ทีป่ รึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
2
แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต
สารบัญ
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�จากผู้เขียน บทย่อ Abstract
๕ ๗ ๙ ๑๐
บทที่ ๑ บทนำ� ชื่อและที่ตั้ง ภูมิประเทศและประชากร ภาษาและกลุ่มเผ่าพันธุ์
บทที่ ๒ ประวัติศาสตร์ของติมอร์เลสเต ประวัติความเป็นมาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ การติดต่อกับสังคมภายนอกและภายใต้อาณานิคม โปรตุเกส สงครามโลกครั้งที่ ๒ เกาะติมอร์ภายใต้การปกครองของอินโดนีเชีย การต่อสู้เพื่อความเป็นไท การฉลองเอกราชของชาติใหม่ อุปสรรคของความมั่นคงทางการเมือง
๒๓ ๒๓
ดร. พรชัย สุจิตต์
๑๒ ๑๒ ๑๓ ๑๕
๒๘ ๒๙ ๓๐ ๓๒ ๓๓ ๓๔
3
บทที่ ๓ สังคม-วัฒนธรรมของชาวติมอร์รีส งานศิลปหัตถกรรมและผ้าพื้นเมือง สตรีในสังคมติมอร์เลสเต สุขภาพและอนามัยของชาวติมอร์รีส
บทที่ ๔ อนาคตอันท้าทาย เศรษฐกิจ ปัญหา และสิ่งท้าทาย ปัญหาคุณภาพชีวิตของชาวติมอร์รีส
๘๔ ๘๔ ๘๗
บรรณานุกรม ขอขอบคุณ
๑๐๔ ๑๑๐
4
แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต
๔๖ ๔๖ ๔๗ ๔๙
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์
สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์เลสเตเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทาง ด้านตะวันออกของเกาะติมอร์ในทะเลติมอร์ เป็นอีกประเทศที่มีความ ประสงค์ จ ะเข้ า เป็ น สมาชิ กอาเซี ย นในอนาคต บางท่ า นอาจจะเคย ได้ยินชื่อ “ติมอร์ตะวันออก” เมื่อครั้งที่รัฐบาลไทยส่งตำ�รวจและทหาร ไทยเข้าไปช่วยเหลือในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศนี้ช่วง ค.ศ. ๑๙๙๙-๒๐๐๒ รวมถึงการส่งเจ้าหน้าที่จากบางหน่วยงานเข้าไป อบรมส่งเสริมอาชีพให้แก่ชาวติมอร์รีสด้วย อย่างไรก็ดีดูเหมือนว่าคน ไทยจะรู้จักเรื่องราวของประเทศนี้น้อยมาก ในอดีตเกาะติมอร์เป็น ส่วนหนึ่งของโลกการค้าระหว่างตะวันออก-ตะวันตก เพราะที่นี่เป็น แหล่งไม้จันทน์หอมอันเป็นสินค้าที่ชาติตะวันตกต้องการ ทำ�ให้ในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ทั้งโปรตุเกสและดัชต์ต่างแย่งชิงครอบครองเกาะนี้ ซึ่งท้ายที่สุดเกาะติมอร์กลายเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ๑๐๐ กว่าปี จนกระทั่งได้เอกราชเมื่อ ค.ศ. ๑๙๗๕ แต่ก็ถูกอินโดนีเซียเข้ายึดครองใน ปีต่อมา ชาวติมอร์รีสได้พยายามต่อสู้เรียกร้องเอกราชมาโดยตลอด ซึ่ง ในที่สุดการต่อสู้อันยาวนานของพวกเขาสัมฤทธิ์ผล ติมอร์เลสเตได้รับ เอกราชใน ค.ศ. ๒๐๐๒ แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต ผลงานของ ดร. พรชัย สุจิตต์ เล่ม นี ้ มุง่ หมายให้ความรูพ้ น้ื ฐานทีเ่ กีย่ วกับประเทศติมอร์เลสเตในด้านต่าง ๆ ทั้งประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของผู้คน โดยผู้เขียน ได้มีโอกาสทำ�งานที่ติมอร์เลสเตเป็นเวลาสามปีครึ่ง ทำ�ให้ท่านมีข้อมูล ที่น่าสนใจของประเทศนี้จากประสบการณ์การทำ�งานและอาศัยอยู่ใน ประเทศนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพถ่ายจำ�นวนมากที่ผู้เขียนคัดเลือกมา
ดร. พรชัย สุจิตต์
5
กระทรวงสัมพันธ์ทางสังคม (Ministry of Social Solidarity); Secre- tary of State for Promotion of Equality; National Statistics Direc- torate; the Women Parliamentarian Group; the Catholic Church representatives, SVD; NGOs เช่น PRADET, Fokupers, Casa Vida, Holy Spirit Sisters; SRSG Ameerah Haq of UNMIT; DSRSG of UNMIT and UNRC Finn Reske-Neilsen; UNFPA Asia-Pacific Regioinal Director Nobuko Horibe and UNFPA Re- gional Programme Officer for Timor-Leste Ali Shirazi; หน่วยงาน ขององค์ ก ารสหประชาชาติ ใ นกรุ ง ดิ ล่ี ได้ แ ก่ UNDP, UNICEF, UN Women, WHO, WFP, UNESCO; เจ้ า หน้ า ที่ UNFPA Country Office และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงดิลี่ ประเทศติมอร์เลสเต นอกจากนี้ผู้เขียนขอขอบคุณ รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม และ ดร. ธิดา สาระยา รวมถึงสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในการสนับสนุนให้ผู้เขียน ได้เขียนเรื่องติมอร์เลสเตนี้ และขอขอบคุณ ครอบครัวของผู้เขียนคือ ศรีสุดา (ภรรยา) กัญญ์วรา (ลูกสาว) และธฤต (ลูกชาย) ที่ได้ให้กำ�ลัง ใจและช่วยให้การปฏิบัติงาน และการอยู่อาศัยอยู่ของผู้เขียนในติมอร์ เลสเตผ่านไปอย่างราบรื่นและได้ประสบการณ์ชีวิตที่หามิได้
8
แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต
พรชัย สุจิตต์
บทย่อ
จุดประสงค์ของหนังสือเล่มเล็กๆ เรื่อง “แนะนำ�ประเทศติมอร์ เลสเต” นี้คือ การนำ�เสนอเรื่องราวของประเทศติมอร์เลสเตให้ผู้อ่าน คนไทยทราบ เพราะนอกจากเป็นประเทศใหม่แล้ว ทั้งประวัติศาสตร์ ประชากร และวัฒนธรรม ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักดีในหมู่คนไทย และหนังสือ เกี่ยวกับติมอร์เลสเตในฉบับภาษาไทยก็ไม่ค่อยมีให้คนไทยอ่าน โดย ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปอยู่และทำ�งานเป็นผู้แทน (Representative) กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติหรือ United Nations Population Fund (UNFPA) ในประเทศติมอร์เลสเตตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๐๐๙ ถึงเดือนธันวาคม ๒๐๑๒ หนังสือเล่มนี้เริ่มด้วยการแนะนำ�ประเทศ จากความเป็นมาของชื่อและที่ตั้ง ประกอบด้วยแผนที่และภาพต่างๆ ตลอดเรื่อง ผู้เขียนกล่าวถึงสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ ประชากร ภาษา พูดและภาษาเขียนที่ใช้ หลักฐานกิจกรรมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ การติดต่อกับสังคมภายนอก ความขัดแย้งระหว่างโปรตุเกสและดัชต์ อาณานิคมภายใต้โปรตุเกส สงครามโลกครั้งที่ ๒ สถานการณ์ภายใต้ การปกครองของอินโดนีเชีย การต่อสูเ้ พือ่ ความเป็นไท การฉลองเอกราช ของชาติใหม่ อุปสรรคของความมั่นคงทางการเมือง ธงชาติ สังคมและ วัฒนธรรม สถานภาพของสตรี งานศิลปะ หัตถกรรม และผ้าพื้นเมือง สุ ข ภาพและอนามั ย เศรษฐกิ จ ปั ญ หา สิ่ ง ท้ า ทาย และอนาคตของ ติ ม อร์ เ ลสเต ทั้ ง นี้ ผู้ เ ขี ย นได้ ใ ห้ ร ายชื่ อ ของเอกสารอ้ า งอิ ง ซึ่ ง เกื อ บ ทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ และบางเล่มเป็นภาษาโปรตุเกส รวมทั้ง รายชื่อเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประเทศติมอร์เลสเตได้
ดร. พรชัย สุจิตต์
9
Abstract
The main purpose of this small publication on TimorLeste is to introduce Timor-Leste to the Thai readers as this new country is not so well known to them and little is written in Thai about this beautiful country, its history, people and culture. The author uses the opportunity of having spent three and a half years living and working in Timor- Leste with the United Nations Population Fund (UNFPA) as the Representative from July 2009 to December 2012. This book starts by introducing the country with its flag, name and whereabout with maps and photos throughout. It talks about the environment, population, languages spoken, its prehistory, the arrival of foreigners, the rivals of the Portuguese and the Dutch, Portuguese colonization, World War II, Indonesian occupation, move towards self determination, independence of a new Nation-State, political security and obstacles, arrival of the UN peace keeping forces, attack on President José Ramos-Horta, its society and culture, status of women, art, handicrafts and local Timorese textiles, health, economy, problems, challenges and future of the country. The book has a bibliography mostly in English, a few in Portuguese and a list of useful websites for further information on Timor-Leste.
10
แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต
ธงประจำ�ชาติติมอร์เลสเต
หลังเทีย่ งคืนของวันที ่ ๑๙ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๒ ธงของ สหประชาชาติถูกลดลงจากเสา และสาธารณรัฐประชาธิปไตย ติมอร์เลสเตได้นำ�ธงชาติของตัวเองมาใช้อย่างเป็นทางการเมื่อได้ รับเอกราช ธงชาติของประเทศใหม่นี้เดิมได้เตรียมไว้สำ�หรับใช้ เมื่อปี ๑๙๗๕ หลังจากที่ได้เอกราชจากโปรตุเกส แต่ก็ไม่สามารถ นำ�ธงชาตินี้มาใช้ได้เพราะถูกอินโดนีเซียยึดครองประเทศก่อน ธงชาติของประเทศติมอร์เลสเตมีความหมายดังนี ้ (ข้อมูล จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Flag of East Timor) สีแดง หมายถึง การต่อสู้ของชาติเพื่อการปลดปล่อย สี เ หลื อ ง หมายถึ ง ร่ อ งรอยของอาณานิ ค มในประวั ติ - ศาสตร์ติมอร์เลสเต สีดำ� หมายถึง การขัดขวางความก้าวหน้าและการเผย แพร่ความรู้ที่ต้องเอาชนะให้ผ่านไป สีขาวของดวงดาว หมายถึง สันติภาพ ดวงดาว หมายถึง แสงสว่างที่นำ�ทาง
ดร. พรชัย สุจิตต์
11
บทที่ ๑
บทนำ� ชื่อและที่ตั้ง ติมอร์เลสเต (Timor-Leste) ชื่อทางการของประเทศ มาจาก ชื่อเกาะติมอร์ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศอินโดนีเซีย ชื่อ “ติมอร์” เป็นคำ�ที่ยืมมาจากภาษามลายู แปลว่า “ตะวันออก” ซึ่งเดิม ใช้อธิบายถึงกลุ่มเกาะต่างๆ ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะชวา (Durand, 2012:8) ส่วนคำ�ว่า “เลสเต” เป็นภาษาโปรตุเกส แปลว่า ตะวันออก แต่ถ้าเป็นภาษาท้องถิ่นที่เรียกว่า ภาษาเตตุม (Tetum) ก็ คือ “Lorosae” ประเทศติมอร์เลสเตมีเมืองหลวงชื่อ ดิลี่ (Dili) เมืองนี้มีประชา- กร ๑๙๓,๕๖๓ คนหรือประมาณ ๑๘% ของทั้งประเทศ (จากสำ�มะโน ประชากร ค.ศ. ๒๐๑๐ ดู National Statistics Directorate, 2010b: 13) กรุงดิลี่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ที่ต้องใช้เวลาบินประมาณ ๖ ชั่วโมง โดย มีสองเส้นทางให้เลือก คือ ต้องแวะค้างคืนและเปลี่ยนเครื่องบินที่เกาะ บาหลี เมืองเดนปาซาร์ (Denpasar) ประเทศอินโดนีเซีย หรือใช้เส้น ทางจากประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ประเทศติมอร์เลสเตอยู่ห่างจาก เมืองดาร์วิน (Darwin) ของประเทศออสเตรเลียไปทางทิศตะวันตก เฉี ย งเหนื อ ประมาณ ๖๔๐ กิ โ ลเมตร เวลาในประเทศติ ม อร์ เ ลสเต จะเร็ วกว่า ประเทศไทย ๒ ชั่วโมง และใช้เงินตราเป็นดอลลาร์สหรัฐ (US Dollar) เพราะยังไม่มีเงินตราของตนเอง
12
แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต
ภูมิประเทศและประชากร ติมอร์เลสเตมีสองฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึง เดือนเมษายน และฤดูแล้งเริม่ ตัง้ แต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึง่ ช่วงนีท้ างออสเตรเลียจะเข้าฤดูหนาว อุณหภูมเิ ฉลีย่ ตลอดปีประมาณ ๓๐-๓๕ องศาเซลเซี ย สในพื้ น ที่ ร าบโดยเฉพาะตามชายฝั่ ง ทะเลและ ตอนกลางคืน ส่วนความชื้นจะมีน้อยกว่าประเทศไทย ดังนั้นหน้าแล้ง อากาศจะร้อนแบบแห้งๆ อุณหภูมิอาจลดลงถึง ๒๐ องศาเซลเซียส ส่วนในบริเวณพื้นที่สูงตามภูเขา อุณหภูมิจะต่ำ�กว่าและอาจลดลงถึง ๑๕ องศาเซลเซียส หรือต่ำ�กว่าโดยเฉพาะในที่สูงๆ เช่น ภูเขาราเมลาอู (Ramelau) ที่ มี ค วามสู ง ถึ ง ๒,๙๖๔ เมตร ซึ่ ง เป็ น ภู เ ขาที่ สู ง ที่ สุ ด ใน ติมอร์เลสเต (Turismo de Timor-Leste: 3 และดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ จาก www.turismotimorleste.com) ติมอร์เลสเตมีสภาพพื้นที่เป็นเกาะ มีพื้นที่ประมาณ ๑๔,๙๑๙ ตารางกิโลเมตร มีความยาวจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกประมาณ ๑๕๐ กิ โ ลเมตร และความกว้างประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร ตัวเกาะ ติมอร์มีรูปร่างคล้ายจระเข้ มีตำ�นานโบราณเล่าว่า จระเข้เป็นผู้สร้าง เกาะติมอร์หลังจากที่มีเด็กผู้ชายไปพบไข่จระเข้และได้ช่วยดูแลไข่จนฟัก ออกมาเป็นตัว และเด็กได้นำ�จระเข้ไปปล่อยลงทะเล ทั้งเด็กและจระเข้ กลายเป็นเพื่อนสนิทกัน เดินทางท่องเที่ยวไปด้วยกัน จนในที่สุดจระเข้ ก็ได้ตายจากไปและกลายเป็นเกาะติมอร์ (Ramos-Horta and Vickers- Rich, 2009) เนื่องจากตัวเกาะติมอร์มีลักษณะผอมยาวคล้ายจระเข้ มาก คนติมอร์จึงมีความเชื่อว่าจระเข้ในตำ�นานที่ตายไปได้กลายเป็น เกาะติมอร์ ปัจจุบันในทะเลติมอร์และในแม่น้ำ�ที่ไหลออกทะเลยังพบ จระเข้น้ำ�เค็มออกหากิน จนมีข่าวอยู่บ่อยครั้ง (ในระหว่างที่ผู้เขียนอาศัย และทำ�งานอยู่ในประเทศติมอร์เลสเตระหว่างปี ๒๐๐๙-๒๐๑๒) ว่ามีคน
ดร. พรชัย สุจิตต์
13
บทที่ ๓
สังคม-วัฒนธรรม ของชาวติมอร์รีส งานศิลปหัตถกรรมและผ้าพื้นเมือง เนื่องจากติมอร์เลสเตเป็นประเทศเล็กๆ และตั้งขึ้นใหม่ แม้จะ มีชาวติมอร์รีสที่เป็นศิลปินบ้างแต่ยังมีจ�ำ นวนไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบ กับศิลปินในประเทศอืน่ ๆ ตัวอย่างของงานภาพวาดสีจะเป็นภาพผูห้ ญิง ในชุดพื้นเมือง ส่วนงานแกะสลักไม้ก็มีบ้างดังตัวอย่างในภาพประกอบ อย่างไรก็ตามกล่าวได้ว่าสังคมติมอร์เลสเตคล้ายคลึงสังคมชาวเกาะอื่น ที่นิยมผลิตผ้าทอขึ้นใช้ในท้องถิ่นของตนเอง ติมอร์เลสเตมีผา้ ทอพืน้ เมืองทีท่ อจากฝ้าย เดิมย้อมด้วยสีธรรม- ชาติ ใช้นุ่งห่มทั้งหญิงและชาย โดยทั่วไปคำ�ว่าผ้าทอพื้นเมืองในภาษา เตตุมคือ Tais (ออกเสียงตัว S) ในแต่ละอำ�เภอลวดลายสีและการทอ ของผ้าจะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำ�ให้ผู้ทอและผู้ใส่มีความรู้สึกภูมิใจ ในเอกลักษณ์นี้ ชุมชนต่างๆ ร่วมกับ Alola Foundation และ Timor Aid ได้พยายามอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมนี้ เพื่อให้ผ้คู นตระหนักและ เคารพในมรดกที่ได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหลายร้อยปีให้ด�ำ รงสืบต่อ ไปถึงชั่วลูกชั่วหลาน ดังตัวอย่างภาพที่ผู้เขียนนำ�มาประกอบในหนังสือ เล่มนี ้ ผ้าซิ่นของติมอร์เลสเตมักทอจากฝ้าย มีทั้งที่ย้อมด้วยสีธรรม- ชาติและสีวิทยาศาสตร์ มาจากหลายอำ�เภอ ที่น่าสนใจคือการทอลาย เทวทูตเด็กที่มีปีก (Cherubs) ซึ่งเป็นลายเอกลักษณ์ที่ผู้เขียนไม่เคย
46
แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต
เห็นในเอเชีย หมู่เกาะใกล้เคียง และที่อื่นๆ ส่วนใหญ่ลายพวกนี้มา จากอำ�เภอโอคูซี่ เพราะได้อิทธิพลจากศาสนาคริสต์ที่โปรตุเกสและแม่ช ี คาทอลิกนำ�ลวดลายแบบยุโรปเข้ามาสอนผู้หญิงทอเมื่อประมาณร้อย กว่าปีมานี ้ (Barkman and Finch, 2009: 22-25) นอกจากนี้ติมอร์เลสเตมีธรรมเนียมมอบผ้าทอที่เรียกว่า Tais ให้อาคันตุกะสำ�คัญคล้องคอเพื่อแสดงการต้อนรับแขกที่มาเยือน ดังเห็น ในภาพหน้า ๙๒ ที่ผืน ผ้าทอลายอักษรว่า Timor-Leste และรูปธงชาติ ผ้าทอเหล่านี้มีลวดลายหลากหลายและมีสีสันมาก การมอบผ้านี้จะ ปฏิบัติกันในทุกหมู่บ้านในติมอร์เลสเตเท่าที่ผู้เขียนได้พบเห็น ชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้หญิงที่ทอผ้าจะภูมิใจเมื่อเห็นแขกรับผ้าไป ทั้งนี้ในประเทศ ติมอร์เลสเตผู้เขียนยังไม่เคยเห็น ผู้ชายทอผ้า แต่เคยเห็นในประเทศบัง- คลาเทศที่ผู้ชายจะทอผ้าด้วย โดยทั่วไปสังคมในติมอร์เลสเตให้ความสำ�คัญในการนับเชื้อสาย ทางฝ่ายชายเป็นส่วนใหญ่ (Patrilineal) ผู้ชายจึงเป็นใหญ่ในครอบครัว แต่การนับเชื้อสายทางฝ่ายหญิง (Matrilineal) ในติมอร์เลสเตก็มีอยู่บ้าง ในชนบางกลุ่มแต่เป็นส่วนน้อย (Bellwood, 1979: 89) ดังนั้นปัญหา สำ�คัญสืบเนือ่ งจากอดีตถึงปัจจุบนั จึงเป็นปัญหาเกีย่ วกับสตรีซง่ึ กลายเป็น ปัญหาสำ�คัญนอกเหนือจากปัญหาอื่นๆ
สตรีในสังคมติมอร์เลสเต การให้ความสำ�คัญทางฝ่ายชาย ทำ�ให้ผู้ชายมีบทบาทสำ�คัญ และมีอำ�นาจในครอบครัว สังคมติมอร์เลสเตจึงมีปัญหาที่ผู้หญิงหรือ ภรรยามักจะถูกสามีทำ�ร้ายซึ่งสังคมมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา จากการ สำ�รวจของ Demographic Health Survey 2009-10 ในติมอร์เลสเต พบว่า ๓๘% ของผู้หญิงอายุระหว่าง ๑๕-๔๙ ปี มีประสบการณ์ของ
ดร. พรชัย สุจิตต์
47
bassador ในการส่งเสริมกิจกรรมของ UNFPA ในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ในเดือนกรกฎาคม ๒๐๐๙ คาตาลินา ฟูร์ตาโด ในฐานะ UN- FPA Goodwill Ambassador ได้เดินทางมาติมอร์เลสเตและถือโอกาส ดูงานของ UNFPA เช่น เธอได้ไปเยี่ยมแม่ที่เพิ่งคลอดลูกที่โรงพยาบาล ในกรุงดิลี่ และสอบถามถึงปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพของแม่และ เด็กแรกเกิด รวมทั้งพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่ทำ�การฝึกอบรมผดุงครรภ์ใน โรงพยาบาล เมื่อเธอกลับไปโปรตุเกสและได้ออกรายการโทรทัศน์ใน เดือนมีนาคม ค.ศ. ๒๐๑๑ เพื่อหาเงินบริจาคให้กับประเทศติมอร์เลสเต
52
แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต
ชาวบ้านผู้หญิงในชุดพื้นเมืองที่เมืองโคเลียติ ซึ่งอยู่บนภูเขาในอำ�เภอเออร์เมรา (ถ่ายเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๐๐๙)
ดร. พรชัย สุจิตต์
53
เจ้าบ่าวและเจ้าสาวชาวติมอร์รีสในงานวันแต่งงานที่กรุงดิลี่ในชุดแบบตะวันตกที่ได้รับ อิทธิพลมาจากโปรตุ เ กส ส่ ว นพ่ อ แม่ ข องเจ้ า บ่ า วอยู่ ด้ า นซ้ า ยและฝ่ า ยเจ้ า สาวอยู่ ด้ า น ขวามือ ทุกคนแต่งกายแบบท้องถิ่นที่ใช้ผ้าพื้นเมืองเป็นโสร่งและผ้าซิ่น แต่สังเกตได้ว่า เสื้อของผู้หญิงได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนีเซีย งานแต่งงานของชาวติมอร์รีสถือว่าเป็น งานใหญ่ที่เชิญแขกมาร่วมรับประทานอาหาร มีวงดนตรีบรรเลงเพลงและมีการเต้นรำ� แบบตะวันตกสมัยใหม่ (ถ่ายเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๐๑๒)
54
แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต
ชาวบ้านผู้หญิงในหมู่บ้านพาสซาเบที่เข้าร่วมโครงการ Micro Financing ของ UNDP ในการเพิ่มรายได้ รวมทั้งเพื่อพัฒนาครอบครัวและสถานภาพของผู้หญิง โครงการนี้มุ่ง ที่จะช่วยลดความยากจน ช่วยเรื่องการศึกษา และอนามัยการเจริญพันธุ์ โดยมี ๖ หน่วย งานขององค์การสหประชาชาติ (ได้แก่ FAO, ILO, UNDP, UNFPA, UNICEF, WFP) หน่วยงานของรัฐบาล และ NGOs เข้าร่วม โดยได้ทุนสนับสนุน (๔.๐๘๘ ดอลลาร์สหรัฐ) จากญี่ปุ่น สโลเวเนีย และประเทศไทย ภายใต้ UN Trust Fund for Human Security (ถ่ายเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๐๑๑)
ดร. พรชัย สุจิตต์
55
งานฝีมือที่ช่างนำ�เส้นเงินมาขดเป็นรูปคล้ายบ้านศักดิ์สิทธิ์ของชาวติมอร์รีสแบบดั้งเดิมที่ใช้ ในพิธีกรรมในบูชาบรรพบุรุษหรือพิธีกรรมอื่นๆ ของแต่ละกลุ่มชนเผ่าที่มีมาก่อนโปรตุเกส และศาสนาคริสต์เข้ามา (ถ่ายเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๐๑๓)
64
แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต
การที่ผู้ชายพื้นเมืองในชนบทประดับร่างกายด้วยลูกปัดและกำ�ไลข้อมือเงินจะพบเห็นได้ ทั่วไปโดยเฉพาะในวันงานสำ�คัญ เพื่อแสดงถึงสถานภาพและความภูมิใจของผู้ใส่ ดังใน ภาพนี้ที่หมู่บ้านโคเลียติในอำ�เภอเออร์เมรา (ถ่ายเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๐๐๙)
ดร. พรชัย สุจิตต์
65
ผ้าทอเห็นครึ่งผืน ด้านซ้ายขนาด ๔๙ x ๒๐๔ เซนติเมตร ทอลายเทวทูตเด็กที่มีปีกเหาะ ได้และมีคำ�สวดภาษาโปรตุเกส ส่วนด้านขวาขนาด ๓๕ x ๑๖๒ เซนติเมตร ทอลายนก และมีคำ�ภาษาโปรตุเกสที่เป็นชื่อคนและหน่วยงานที่มอบผ้าชิ้นนี้ (ถ่ายเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๐๑๓)
74
แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต
ชาวบ้านผู้ชายแต่งกายแบบพื้นเมือง นุ่งผ้าฝ้าย ประดับสร้อยคอลูกปัด และเครื่องประดับ โลหะบนหน้าผากที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวติมอร์รีส บางคนจะใส่ขนไก่แทน และมีขนม้า ประดับที่ข้อเท้า ภายถ่ายที่อ�ำ เภอไอลีอู (ถ่ายเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๐๑๐)
ผ้าฝ้ายขนาด ๗๘ x ๒๔๐ เซนติเมตร พับครึง่ ผืน พืน้ สีด� ำ ลวดลายนักรบขีม่ า้ แบบตะวันตก ที่ได้รับอิทธิพลมาจากโปรตุเกส ผ้าแบบนี้ผู้ชายจะนำ�มาใช้นุ่งห่ม (ถ่ายเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๐๑๓)
ดร. พรชัย สุจิตต์
75
แนะนำ�ประเทศ ดร. พรชัย สุจิตต์
ราคา ๑๕๐ บาท
ISBN 978-616-7767-34-5
หมวดประวัติศาสตร์/สังคม
ดร. พรชัย สุจิตต์
จุดประสงค์ของหนังสือเล่มเล็กๆ นี้คือ การนำ�เสนอเรื่องราวของประเทศติมอร์เลสเต เพราะนอกจากเป็นประเทศใหม่แล้ว ทั้งประวัติศาสตร์ ประชากร และวัฒนธรรม ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักดี โดยผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปอาศัย และทำ�งานเป็นผู้แทนกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations Population Fund (UNFPA) ในประเทศติมอร์เลสเต เป็นเวลาสามปีครึ่ง หนังสือเล่มนี้เริ่มด้วยการแนะนำ�ประเทศจากความเป็นมา ของชื่อและที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ประชากร ภาษา ประวัติศาสตร์ตั้งแต่อดีตถึง ปัจจุบัน อุปสรรคของความมั่นคงทางการเมือง ลักษณะสังคมและวัฒนธรรม สถานภาพของสตรี งานศิลปหัตถกรรม ปัญหา และอนาคตของติมอร์เลสเต พร้อมด้วยแผนที่และภาพประกอบตลอดทั้งเล่ม
แนะนำ�ประเทศติมอร์เลสเต
ติมอร์เลสเต
แนะนำ�ประเทศ
ติมอร์เลสเต ดร. พรชัย สุจิตต์