ISBN 978-616-7767-21-5 หนังสือ ชุด “อาเซียน” ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ ผู้เขียน อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ จำานวนพิมพ์ ๔,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๑๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำานักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด ที่ปรึกษาต้นฉบับ ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท พิมพ์ที่ จัดจำาหน่าย
ดร. ธิดา สาระยา นฤมล ต่วนภูษา ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์. ประวัติศาสตร์สิงคโปร์.-- กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๖. ๑๖๘ หน้า. -- (“อาเซียน” ในมิติประวัติศาสตร์). ๑. สิงคโปร์--ประวัติศาสตร์. I. ชื่อเรื่อง. ๙๕๙.๕๗ ISBN 978-616-7767-21-5
สำานักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำานวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำานวยการฝ่ายศิลป์ จำานงค์ ศรีนวล ผู้อำานวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ บรรณาธิการสำานักพิมพ์ อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ทีป่ รึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
2
ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
สารบัญ
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ จ�กผู้เขียน
๖ ๘
บทที่ ๑ สิงคโปร์ยุคก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ สิงคโปร์ยุคก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ กำ�เนิดสิงคปุระในตำ�น�น สิงคปุระในเอกส�รล�ยลักษณ์อักษร หลักฐ�นท�งโบร�ณคดีของสิงคปุระ สิงคปุระ : แหล่งซ่องสุมโจรสลัด
๑๔ ๑๕ ๑๗ ๑๗ ๑๙ ๒๒ ๒๖
บทที่ ๒ สิงคโปร์ สถานีการค้าของอังกฤษ และคลังสินค้าแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แรฟเฟิลส์และสิงคโปร์ อังกฤษครอบครองสิงคโปร์ แรฟเฟิลส์ปกครองสิงคโปร์ สเตรทส์เซ็ทเทิลเมนท์ ระบบก�รศึกษ�ในสเตรทส์เซ็ทเทิลเมนท์ เศรษฐกิจ-ก�รค้� การก่อตั้งสหพันธรัฐแห่งมลายา สิงคโปร์ในสงคร�มโลกครั้งที่ ๒ สหพันธรัฐแห่งมล�ย�
๓๕ ๓๗ ๓๙ ๔๓ ๔๖ ๔๗ ๔๘ ๕๕ ๕๖ ๕๘
ภูมิลักษณ์ของเกาะสิงคโปร์
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์
3
การตั้งประเทศมาเลเซีย
บทที่ ๓ สิงคโปร์ใหม่ อิสรภาพจากอังกฤษ-แยกตัวจากมาเลเซีย การเลือกตั้งครั้งแรกและร่างรัฐธรรมนูญของสิงคโปร์ ภายใต้การปกครองของอังกฤษ สร้างบ้านแปงเมืองของสิงคโปร์ใหม่ ลีกวนยิว บิดาของสิงคโปร์ใหม่ นโยบายการเคหะแห่งชาติสิงคโปร์ : การสร้างชุมชนใหม่ของชาวสิงคโปร์ การสร้างกองทัพแห่งชาติของสิงคโปร์ การสร้างความรู้สึกชาตินิยมผ่านการศึกษา นโยบายการเรียนสองภาษา การสร้างเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ความหลากหลายของชาวสิงคโปร์ ชาวจีน ชาวเปอรานากัน ชาวมลายู ชาวอินเดีย ชาวอาหรับ ชาวยุโรป กลุ่มชนอื่นๆ
4
ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
๖๑ ๙๐ ๙๒ ๙๒ ๑๐๐ ๑๐๒ ๑๐๔ ๑๐๗ ๑๐๙ ๑๑๒ ๑๑๓ ๑๑๙ ๑๒๑ ๑๓๑ ๑๓๓ ๑๓๕ ๑๓๘ ๑๓๙ ๑๔๐
บทที่ ๔ สิงคโปร์กับอาเซียน บทบาทของสิงคโปร์ในอาเซียน ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐสิงคโปร์ กับประเทศไทย
๑๔๗ ๑๔๙
บทที่ ๕ บทสรุป
๑๕๘
บรรณานุกรม ภาคผนวก ๑ รายนามผู้ปกครองสิงคโปร์ตั้งแต่สมัยอาณานิคม ถึงปัจจุบัน ภาคผนวก ๒ เพลงชาติสิงคโปร์
๑๖๑
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์
๑๕๓
๑๖๔ ๑๖๗
5
บทที่ ๑
สิงคโปร์ ยุคก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙
สาธารณรัฐสิงคโปร์หรือ “สิงคปุระ” (Singapura) หรือ “เทมาเส็ก” (Temasik/Temasek) ที่เรียกขานกันในอดีต เป็นเกาะที่อยู่ใกล้กับ ส่วนปลายสุดของคาบสมุทรมลายู เป็นหนึง่ ในประเทศสมาชิกประชาคม อาเซียน (ASEAN) ทีม่ รี ายได้ประชากรต่อหัวสูงทีส่ ดุ ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ เป็นหนึ่งในเสือทางเศรษฐกิจของเอเชีย และอีกนานาประการ ที่แสดงถึงการที่ประเทศเล็กๆ นี้มีความเจริญมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยทั่วไปมักคิดว่าความรุ่งเรืองของสิงคโปร์เริ่มต้นเมื่ออังกฤษ เข้าปกครองเกาะนี ้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิงคโปร์มคี วามเป็นมายาวนาน ก่อนการเข้ามาของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มีหลักฐานเอกสาร ลายลักษณ์อักษรและหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ ของเกาะนี้กับแผ่นดินใหญ่บนคาบสมุทรมลายูและกลุ่มเกาะใกล้เคียง ที่อยู่ในน่านน�้าเดียวกัน ในฐานที่เป็นเกาะส่งผ่านหรือรวบรวมสินค้าอัน สอดคล้องกับภูมิลักษณ์และที่ตั้งของเกาะที่อยู่บนเส้นทางการค้าทาง ทะเลในภูมภิ าค ซึง่ เป็นพืน้ ฐานทีท่ า� ให้สงิ คโปร์เติบโตสูงเมือ่ อังกฤษได้ตงั้ สถานีการค้าที่นี่ สืบเนื่องมาจนถึงหลังการได้รับเอกราชจากอังกฤษ
14
ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
ภูมิลักษณ์ของเกาะสิงคโปร์
ด้วยที่ตั้งของเกาะขนาดประมาณ ๗๑๒.๔ ตารางกิโลเมตรแห่ง นี้ (รวมพื้นที่ที่ได้จากการถมทะเล) ที่อยู่ส่วนปลายของคาบสมุทรมลายู และเป็นส่วนหนึง่ ของกลุม่ เกาะในน่านทะเลจีนใต้ สิงคโปร์จงึ ตัง้ อยูไ่ ม่หา่ ง จากแผ่นดินใหญ่ที่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันหลากหลาย โดย ตัง้ อยูต่ รงข้ามกับช่องแคบยะโฮร์ทางใต้ของประเทศมาเลเซีย และอยูใ่ กล้ กับกลุ่มเกาะริเอา-ลิงกา (Riau-Linga) และอยู่ในเส้นทางการติดต่อกับ กลุ่มเกาะที่เป็นศูนย์กลางการค้าแต่ครั้งอดีต เช่น กลุ่มเกาะสุมาตราของ อินโดนีเซีย เป็นต้น ทัง้ นีบ้ ริเวณน่านทะเลปลายคาบสมุทรมลายูนตี้ งั้ อยู ่ ในเส้นทางการเดินเรือ (sea lane) ระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตก หรือระหว่างจีนและอินเดีย ท�าให้สิงคโปร์มีบทบาทในการเป็นแหล่ง รวบรวมสินค้าของมลายู (Malay entrepôts) มาแต่อดีตกาล ทัง้ ทรัพยากร ทางทะเลจากหมู่เกาะและชายฝั่ง และสินค้าจากดินแดนตอนในของ แผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ข้าว พริกไทย เครื่องเทศ ของป่า แร่ดีบุก ทองค�า เป็นต้น ๑ ภูมิกายภาพของเกาะสิงคโปร์มีแม่น�้าส�าคัญคือ แม่น�้าสิงคโปร์ (Singapore River) มีความยาวประมาณ ๓.๒ กิโลเมตร ปากแม่น�้าอยู ่ ทางด้านใต้ของเกาะ และมีลา� น�า้ สายสัน้ ๆ อืน่ เช่น แม่นา�้ เกลัง (Geylang River อยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะ) แม่น�้าโรชอร์ (Rochor River) คลองอเล็กซานดร้า เป็นต้น บนเกาะมีเนินเขาขนาดย่อม ๒-๓ แห่ง ทีส่ า� คัญคือ เขาทีอ่ ยูใ่ กล้ ปากแม่นา�้ สิงคโปร์ทปี่ จั จุบนั เรียกว่า ฟอร์ต แคนนิง่ (Fort Canning Hill) อยูห่ า่ งจากแม่นา�้ สิงคโปร์ไปทางเหนือประมาณ ๑ กิโลเมตร ซึง่ บริเวณนี ้ พบโบราณวัตถุจ�านวนมากที่ให้ร่องรอยของสิงคโปร์ก่อนการเข้ามาของ อังกฤษ
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์
15
โรเบิร์ต เจ. แอนโทนี่, คู่มือศึกษาโจรสลัด, หน้า ๑๗๗-๑๗๘. Kwa Chong Guan, Derek Heng, Tan Tai Yong, Singapore A 700-Year History, p. 178. ๒๒ Frost, R. Mark and Yu-Mei Balasingamchow, Singapore A Biography, (Singapore: National Museum of Singapore, 2009), pp. 110-111. ๒๓ โรเบิร์ต เจ. แอนโทนี่, คู่มือศึกษาโจรสลัด, หน้า ๖๒. ๒๔ ริเอา (Rhio, Riow, Rio เป็นต้น) เป็นฐานที่มั่นของอาณาจักรยะโฮร์ (Johor Empire) ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่เป็นตันจงปินังในปัจจุบัน ทางตะวันตกของ อ่าวเบนตัน เบนตันเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มเกาะริเอา-ลิงกา และมักเรียกว่า ริเอา บางครั้งค�าว่า “ริเอา” ใช้เรียกกลุ่มเกาะริเอาทั้งหมดด้วย จาก Carl A. Trocki, Prince of Pirates, (Singapore: Singapore University Press, 1979), p. 2. ๒๕ โรเบิร์ต เจ. แอนโทนี่, คู่มือศึกษาโจรสลัด, หน้า ๑๗๘. ๒๖ Carl A. Trocki, Singapore: Wealth, power and the culture of control, p. 182. ๒๗ , Prince of Pirates, pp. xix-xxi. ๒๐ ๒๑
34
ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
บทที่ ๒
สิงคโปร์ สถานีการค้าของอังกฤษ และคลังสินค้าแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยที่ตั้งของสิงคโปร์ที่เป็นเกาะเล็กใกล้ปลายคาบสมุทรมลายูและอยู่ บนเส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างตะวันตกและตะวันออก ส่งเสริม ให้สิงคโปร์มีพัฒนาการในฐานะเมืองท่าส�าคัญในภูมิภาคมาตั้งแต่อดีต จวบจนปัจจุบัน หน้าประวัติศาสตร์ยุคแรกของสิงคโปร์ก่อนการเข้ามา ของอังกฤษเป็นเกาะเล็กๆ ทีม่ บี ทบาทในการเป็นเมืองท่าทีค่ า้ ขายระหว่าง น่านน�้าทะเลจีนใต้-มหาสมุทรอินเดียมานานแล้ว สินค้าหลักๆ ที่ผ่าน สิงคโปร์มาจากกลุ่มเกาะใกล้เคียง มลายู และผืนแผ่นดินใหญ่ของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ แต่การเข้ามาของชาติตะวันตกได้สร้างความเปลี่ยน แปลงแก่สิงคโปร์ทั้งในด้านกายภาพ สถานภาพ และส่งผลกระทบต่อ วิถีชีวิตและจารีตของชนพื้นถิ่นที่ด�าเนินมานับร้อยปีในภูมิภาคนี้ ชาวยุโรปกลุม่ แรกทีเ่ ข้ามาสูเ่ อเชียตะวันออกเฉียงใต้คอื โปรตุเกส และฮอลันดา เข้ามาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ด้วยความมุ่งหมายน�า สินค้าจากทางตะวันตกไปขายให้ประเทศใหญ่ที่เป็นตลาดรองรับสินค้า อย่างจีนและญีป่ นุ่ ในทางกลับกันก็สรรหาสินค้าอันเป็นผลผลิตธรรมชาติ จากผืนแผ่นดินและกลุ่มเกาะในอาณาบริเวณนี้น�ากลับไปขายที่ยุโรป เช่น เครื่องเทศ เป็นต้น แน่นอนว่ากษัตริย์หรือเจ้าพื้นเมืองในภูมิภาคนี้ มีส่วนร่วมและได้ความมั่งคั่งจากการค้านานาชาติระหว่างน่านน�้า เช่น
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์
35
เดียวกับที่ได้ความมั่นคงทางอ� านาจจากการแสวงหาพันธมิตรที่เป็น ชนต่างชาติต่างถิ่นที่เข้ามาเหล่านี้ด้วย เช่น กรณีของสุลต่านแห่งยะโฮร์ ดึงฮอลันดา (ผ่านบริษทั อินเดียตะวันออกของฮอลันดา) มาเป็นพันธมิตร ในการต่อสูก้ บั สุลต่านแห่งอาเจะห์ทตี่ งั้ ตนอยูท่ างตอนเหนือของสุมาตรา เมือ่ กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ และแผ่ขยายอาณาเขตด้วยการโจมตีเมือง ส�าคัญที่อยู่ในอ�านาจของสุลต่านแห่งยะโฮร์ เช่น ค.ศ. ๑๖๑๓ เข้าโจมตี สิงคโปร์และบาตูซาวาร์ ทีเ่ ป็นเมืองท่าส�าคัญ ข้างฝ่ายสุลต่านแห่งอาเจะห์ ได้ดึงโปรตุเกสมาเป็นพันธมิตร ซึ่งการที่โปรตุเกสและฮอลันดาเข้ามา แทรกแซงหรือมีสว่ นเกีย่ วข้องกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ของเจ้าพืน้ ถิน่ ในน่านน�า้ นีเ้ ป็นความสืบเนือ่ งมาจากความขัดแย้งระหว่าง สเปน-ฮอลันดาที่มีมายาวนานตั้งแต่ ค.ศ. ๑๕๖๖-๑๖๔๘ โดยโปรตุเกส เป็นมิตรกับสเปน เท่ากับเป็นฝ่ายตรงข้ามกับฮอลันดาหรือดัชต์นั่นเอง ๑ สิงคโปร์จึงตกอยู่ในวงล้อมแห่งการช่วงชิงผลประโยชน์ระหว่างกันของ ชาติตะวันตก เหตุการณ์ขา้ งต้นเป็นเสมือนโหมโรงส�าหรับชนพืน้ ถิน่ ในน่านน�้า นี้ถึงการที่ชนจากต่างถิ่น ต่างน่านน�้า ต่างวัฒนธรรม เข้ามาสร้างความ เปลี่ยนแปลงต่อสังคมและความสัมพันธ์ของผู้คนกลุ่มเกาะและคาบ สมุทรมลายูที่มีมาแต่ดั้งเดิม หากราชส�านักหรือเจ้าพื้นเมืองกลุ่มใด ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตก นั่นหมายถึงการได้ครอบครอง อาวุธประสิทธิภาพดีจากโลกตะวันตกและการสนับสนุนด้านการทหาร ในบางครั้ง แต่ยังหมายถึงการที่ต้องแลกเปลี่ยนบางสิ่งตอบแทนแก่ชน จากภายนอกด้วย เช่นเดียวกับที่อังกฤษพยายามเข้ามามีบทบาทในเขต ช่ อ งแคบมะละกานอกเหนื อจากที่ โ ปรตุ เ กสและฮอลั น ดามี บ ทบาท อยู่ก่อนแล้ว อังกฤษเลือกสิงคโปร์เป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งสถานีการค้า แม้ว่าจะได้ปีนังในความครอบครองอยู่แล้ว โดยตกลงให้ค่าตอบแทน รายปีแลกกับการที่อังกฤษได้สิทธิ์ใช้เกาะสิงคโปร์ ท�าให้เกาะที่แม้เป็น
36
ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
เมืองท่าการค้าแต่กไ็ ม่คบั คัง่ รุง่ เรืองเท่ามะละกาบนคาบสมุทรมลายูกลาย เป็นเกาะทีม่ คี วามส�าคัญนับแต่ตน้ คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ พัฒนาจากสถานี การค้าของอังกฤษ มาสู่การเป็นเมืองหลวงของสเตรทส์เซ็ทเทิลเมนท์ อันเป็นกลุ่มเมืองบนคาบสมุทรมลายูที่อังกฤษครอบครอง และเป็น ศูนย์กลางของกองทัพเรือของอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง สถานะเช่นนี้ของสิงคโปร์ด� าเนินไปบนพื้นฐานของความสัมพันธ์กับ คาบสมุทรมลายูทมี่ มี าแต่โบราณ จวบจนกระทัง่ หลังสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ ทีม่ กี ารเรียกร้องเอกราชเกิดขึน้ ในหลายดินแดนในภูมภิ าคนี้ แม้สงิ คโปร์ และดินแดนบนคาบสมุทรมลายูจะมีจดุ มุง่ หมายเรียกร้องเอกราชเหมือน กัน แต่สองดินแดนที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาแต่อดีตกาลกลับมีความ คิดเห็นแตกต่างกัน โดยสิงคโปร์นยิ มอังกฤษแต่ฝา่ ยมลายูไม่ให้ความส�าคัญ และสนใจในอังกฤษนัก ท้ายที่สุดถึงแม้ว่าทั้งสิงคโปร์และมลายูจะได้ รับเอกราชจากอังกฤษ และพัฒนาสูก่ ารรวมตัวเป็นประเทศมาเลเซีย แต่ เพราะแนวคิดที่แตกต่างกันของผู้น�าประเทศ ท�าให้สิงคโปร์ต้องแยกออก มากลายเป็นสาธารณรัฐสิงคโปร์ในปัจจุบัน
แรฟเฟิลส์และสิงคโปร์
การเข้ามาของแรฟเฟิลส์มสี ว่ นส�าคัญท�าให้สถานภาพของสิงคโปร์ เปลีย่ นแปลง โดยเฉพาะอย่างยิง่ การมีสถานภาพเป็นสถานีการค้าภายใต้ การเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แม้บนเกาะสิงคโปร์จะปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงว่า อย่างน้อยทีส่ ดุ มีชมุ ชนทีม่ ผี นู้ า� อยูอ่ าศัยโดยมีอายุประมาณคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๔ และมีสถานะเป็นเมืองท่ารับส่งสินค้ามาแต่เดิม แต่ในความรับรู้ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์โดยทั่วไปดูจะเริ่มขึ้นเมื่อ เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (Sir Thomas Stamford Raffles) มาถึงเกาะนี้ และสร้างให้เป็นเมืองท่าการค้าเสรีปลอดภาษีของอังกฤษโดยมีรปู ลักษณ์
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์
37
บทที่ ๓
สิงคโปร์ใหม่
นับตั้งแต่เกิดประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๖๕ มาจนถึงปัจจุบัน (ค.ศ. ๒๐๑๓) เป็นเวลา ๔๘ ปีแล้วที่ประเทศ อันเป็นเกาะเล็กๆ นี้มีรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที ่ ได้คะแนนเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตัง้ มาตลอดคือ พรรคกิจประชาชน* และมีนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในต�าแหน่งยาวนานที่สุดถึง ๓๑ ปี คือ นาย ลีกวนยิว (Lee Kuan Yew) อาจกล่าวได้วา่ ความเป็นสิงคโปร์ในปัจจุบนั นี้ มีรากฐานจากรัฐบาลสมัยลีกวนยิวเป็นส�าคัญ เพราะเขาขึ้นมาเป็น ผู้น�า ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศ นับตั้งแต่ก่อนการรวมตัวเป็นประเทศ มาเลเซีย จนแยกตัวออกมาแบบกระทันหันโดยปราศจากการเตรียมตัว วางแผนมาก่อน ผลงานของเขาและรัฐบาลเห็นได้จากความเป็นสิงคโปร์ ทุกวันนีท้ มี่ คี วามเจริญทางเศรษฐกิจ เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ที่มีรายได้ประชากรต่อคนต่อปีสูงที่สุด และอีกนานาประการ ที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของสิงคโปร์ แต่ขณะเดียวกันรัฐบาลสิงคโปร์ก ็ ขึ้นชื่อว่าเข้มงวด ปิดกั้นสื่อสารมวลชน มีการลงโทษผู้กระท�าความผิด *แต่หากนับตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๕๙ ที่พรรคกิจประชาชนได้รับเสียงข้างมากจากการเลือกตั้ง และจัดตัง้ รัฐบาลก่อนได้รบั เอกราชจากอังกฤษ ถือว่าเป็นเวลา ๕๔ ปีแล้วทีพ่ รรคนีป้ กครอง สิงคโปร์
90
ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
ในพื้นที่สาธารณะอย่างรุนแรง เช่น กรณีการสั่งปิดหนังสือพิมพ์ ๓ ฉบับ ในทศวรรษที่ ๑๙๗๐ คื อ Eastern Sun, Singapore Harald และ Nanyang Siang Pau ด้วยข้อหาว่าเป็นภัยต่อประเทศ หรือใน ค.ศ. ๑๙๙๒ กรณีของนายไมเคิล เฟย์ วัยรุน่ อเมริกนั ทีท่ �าผิดกฎหมายด้วยการ พ่นสีในพื้นที่สาธารณะ จึงถูกลงโทษด้วยการเฆี่ยน อันเป็นข่าวใหญ่ใน สายตาของโลกตะวันตก หรือการออกกฎหมายห้ามเคี้ยวหมากฝรั่ง ซึ่งมีทั้งถูกปรับและถูกจ�าคุก เป็นต้น ท�าให้ภาพลักษณ์ของสิงคโปร์ ที่ ด้านหนึ่งดูมีความทันสมัยมาก แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับมีกฎระเบียบ เข้มงวดและรุนแรงต่อผู้กระท�าผิด แต่ก็ต้องยอมรับว่าสิ่งเหล่านี้ท�าให้ สิงคโปร์กลายเป็นแบบอย่างของการพัฒนาให้แก่หลายๆ ประเทศใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศเกิดใหม่ ปัจจัยส�าคัญของการ สร้างประเทศคือ การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (unity) ของ ประชาชน ภายใต้การมีสทิ ธิเท่าเทียมกันของคนทุกเชือ้ ชาติ จะเห็นได้จาก นโยบายและการด�าเนินงานของรัฐบาลในช่วงสองทศวรรษแรกหลังตั้ง ประเทศทีแ่ สดงถึงแนวทางนีเ้ พือ่ สร้างความเป็นชาติ ด้วยการสร้างความ เข้าใจในความแตกต่างทางเชื้อชาติของ “ชาวสิงคโปร์” ในส่วนของการเมืองการปกครองของสิงคโปร์ ต้องย้อนกลับไปดู ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่อังกฤษค่อยๆ ผ่อนถ่ายอ� านาจการ ปกครองตนเองให้แก่สิงคโปร์ โดยเริ่มจากการเลือกตั้งครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๙๔๘ มาสู่การได้รับเอกราช เป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซียจนถึง การแยกตัวเป็นประเทศสิงคโปร์ ในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เราจะเห็นการที่พรรคกิจประชาชนค่อยๆ สั่งสมฐานคะแนนเสียง จาก การเป็นฝ่ายค้านเมื่อเริ่มต้นในรัฐบาลนายเดวิด มาร์แชล มาสู่การเป็น ผู้น�ารัฐบาลตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๕๙
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์
91
อิสรภาพจากอังกฤษ-แยกตัวจากมาเลเซีย
การเลือกตัง้ ครัง้ แรกและร่างรัฐธรรมนูญของสิงคโปร์ ภายใต้การปกครองของอังกฤษ
นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่การเมืองการปกครองของ สิงคโปร์มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากอังกฤษวางแผนจัดระเบียบการ ปกครองสิงคโปร์ใหม่ โดยให้มกี ารเลือกตัง้ สมาชิกอย่างไม่เป็นทางการใน สภานิติบัญญัติได้ ๖ คน คนในบังคับอังกฤษทุกคนที่มีอายุเกิน ๒๑ ปี ถือเป็น ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง ท�าให้การเลือกตั้งครั้งแรกในหน้า ประวัติศาสตร์การเมืองสิงคโปร์เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ มีจ�านวน ผูม้ สี ทิ ธิอ์ อกเสียง ๒๒,๓๘๕ คน มีสมาชิกนิตบิ ญ ั ญัตทิ ไี่ ด้รบั การเลือกตัง้ ๖ คน โดย ๓ คนมาจากพรรคก้าวหน้า (Progressive Party) แต่ อย่างไรก็ตามประชากรสิงคโปร์จ�านวน ๒ ใน ๓ ของทั้งหมดเป็น ผู้ไม่ม ี สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง เพราะไม่ได้เป็นคนในบังคับอังกฤษและอายุ ไม่ถงึ เกณฑ์ และในการเลือกตัง้ อีก ๓ ปีตอ่ มาคือ ค.ศ. ๑๙๕๑ แม้จา� นวน ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเพิ่มเป็น ๔๘,๑๕๕ คน แต่ผู้ไม่มีสิทธิ์ยังคิดเป็น ๒ ใน ๓ ของประชากรทั้งหมดเช่นเดิม ๑ รัฐบาลอาณานิคมได้แต่งตัง้ ให้ เซอร์ จอร์จ แรนเดล (Sir George Rendel) เป็นประธานคณะกรรมาธิการให้คา� แนะน�าในการร่างรัฐธรรมนูญ ของสิงคโปร์ มักเรียกกันว่า “รัฐธรรมนูญฉบับแรนเดล” ซึ่งมีข้อแนะน�า หลักๆ คือ (๑) การเพิ่มจ�านวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งด้วยการจด ทะเบียนโดยอัตโนมัต ิ (แต่เดิมให้จดทะเบียนด้วยความสมัครใจ) (๒) ให้ สภานิตบิ ญ ั ญัตมิ สี มาชิก ๓๒ คน โดย ๒๕ คนมาจากการเลือกตัง้ ๓ คน เป็นอดีตข้าราชการ และ ๔ คนมาจากการแต่งตั้งจากผู้ว่าราชการ (๓) มีสภาของรัฐมนตรี (council of Ministers) ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อ สภานิติบัญญัติ แนวทางของคณะกรรมการชุดนี้กลายเป็นแนวทาง ส�าหรับรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้ใน ค.ศ. ๑๙๕๕ ๒
92
ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
ช่วง ค.ศ. ๑๙๕๔ มีการตั้งพรรคการเมืองใหม่ๆ ที่ต่อมาจะมี บทบาทในการเมืองของสิงคโปร์ภายหลังจากที่มีการเลือกตั้งทั่วไปใน เดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๕๕ พรรคที่โดดเด่นคือ พรรคแนวร่วมแรงงาน (Labour Front) ของนายเดวิด มาร์แชล (David Saul Marshall) และ พรรคกิจประชาชน (the People’s Action Party-PAP) ทีม่ นี ายลีกวนยิว (Lee Kuan Yew) เป็นเลขาธิการพรรค ในทศวรรษที่ ๑๙๕๐ เป็นช่วงที่สังคมและการเมืองสิงคโปร์มี ความเคลือ่ นไหวมาก ทีน่ า่ สนใจคือ เกิดการเคลือ่ นไหวของสตรีในสังคม สิงคโปร์ ตัวอย่างเช่น ความเคลือ่ นไหวของ คอนสแตนซ โก๊ะ (Constance Goh) สตรีเชื้อสายจีน ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ด้วยภูมิหลังของการเกิดใน ครอบครัวขนาดใหญ่ท�าให้เธอเห็นความส�าคัญของการเลี้ยงดูเด็กและ พยายามผลักดันให้มกี ารจัดตัง้ ศูนย์เลีย้ งเด็กเล็กใน ค.ศ. ๑๙๔๕ และเปิด คลีนคิ วางแผนครอบครัวแห่งแรกของสิงคโปร์ใน ค.ศ. ๑๙๔๙ อีกกรณีคอื การเรียกร้องสิทธิของสตรีมสุ ลิมของ นางโมฮัมเหม็ด สิราช (Mohamed Siraj) เนื่องจากในสังคมมุสลิมอนุญาตให้ชายมีภรรยามากกว่า ๑ คน ท�าให้เกิดปัญหาทีผ่ หู้ ญิงถูกสามีทอดทิง้ หรือหย่าร้าง ซึง่ ผูห้ ญิงเหล่านีส้ ว่ น ใหญ่แต่งงานเมื่ออายุน้อย ท�าให้พวกเธอไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้ นาง โมฮัมเหม็ดพยายามผลักดันให้มีการตั้งศาลครอบครัวอิสลาม (Islamic Family Court) เพื่อปกป้องสิทธิของสตรีและเด็ก ซึ่งใน ค.ศ. ๑๙๕๕ รัฐ ได้ จั ด ตั้ ง Syariah Court ท�า หน้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบดู แ ลการแต่ ง งานของ ครอบครัวมุสลิม โดยหากฝ่ายชายต้องการมีภรรยาหลายคนต้องท�าเรื่อง ขออนุญาตจากรัฐก่อน และหากมีการหย่าร้างก็ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้แก่ อดีตภรรยาด้วย ๓ นับว่าเป็นความเคลื่อนไหวใหม่ที่ตอบรับรัฐธรรมนูญ ของประเทศที่ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่ช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อก่อนจะมีการเลือกตั้งและประกาศใช้ รัฐธรรมนูญฉบับแรกมีการจลาจลเกิดขึน้ หลายครัง้ ในช่วง ค.ศ. ๑๙๔๘ ถึง
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์
93
อ้ำงถึงใน กนิษฐำ จำนเขื่อง, นโยบายการเคหะแห่งชาติกับการพัฒนาประเทศสิงคโปร์ (ค.ศ. ๑๖๐๐-๒๐๐๐), หน้ำ ๓๙. ๗๓ Samuel S. Dhoraisingam, Peranakan Indians of Singapore and Melaka, (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2006), pp. 3-4, 6. ๗๔ Ibid, pp. xii, 18. ๗๕ Maya Jayapal, Old Singapore, pp. 45-46. ๗๖ Ibid. ๗๗ Mark R. Frost and Yu-Mei Balasingamchow, Singapore A Biography, (Singapore: National Museum of Singapore, 2009) pp. 101-102. ๗๘ Chang Tou Chaung, “The ‘Expatriatisation’ Holland Village,” in Portraits of Places: History, Community and Identity in Singapore, p. 114. อ้ำงถึงใน กนิษฐำ จำนเขือ่ ง, นโยบายการเคหะแห่งชาติกบั การพัฒนาประเทศสิงคโปร์ (ค.ศ. ๑๖๐๐๒๐๐๐), หน้ำ ๔๙. ๗๙ Maya Jayapal, Old Singapore, p. 48. ๘๐ Ibid. และกนิษฐำ จำนเขื่อง, นโยบายการเคหะแห่งชาติกับการพัฒนาประเทศสิงคโปร์ (ค.ศ. ๑๖๐๐-๒๐๐๐), หน้ำ ๔๒, ๔๙. ๘๑ Maya Jayapal, Old Singapore, pp. 46, 48. ๘๒ กนิษฐำ จำนเขื่อง, นโยบายการเคหะแห่งชาติกับการพัฒนาประเทศสิงคโปร์ (ค.ศ. ๑๖๐๐-๒๐๐๐), หน้ำ ๔๑. ๘๓ มำเรีย เฮอร์ทอก เป็นชำวยูเรเชียเชื้อสำยฮอลันดำที่เกิดในชวำ เนื่องจำกบิดำถูกญี่ปุ่น จับกุมในช่วงสงครำมโลกครัง้ ที่ ๒ มำรดำเธอจึงยกเธอให้อำมิมำห์ สตรีมสุ ลิมชำวอินโดนีเซีย เป็น ผู้เลี้ยงดูเธอ ซึ่งต่อมำอำมิมำห์ได้อพยพมำเรียมำอยู่ที่ตรังกำนูด้วยกัน หลังสงครำม จบลงครอบครัวเฮอร์ทอกพยำยำมขอสิทธิเ์ ลีย้ งดูมำเรีย เรือ่ งรำวถูกตัดสินในชัน้ ศำลทีส่ งิ คโปร์ ที่ตัดสินให้เธอกลับคืนสู่ครอบครัวฝ่ำยบิดำ รวมทั้งตัดสินให้กำรแต่งงำนของเธอกับครูชำว มุสลิมเป็นโมฆะ ท�ำให้กลุม่ ชำวมุสลิมทีต่ ดิ ตำมเรือ่ งนีไ้ ม่พอใจมำก และคิดว่ำค�ำตัดสินนีเ้ ป็น กำรต่อต้ำนชำวมุสลิม ชำวอินเดียและมลำยูมุสลิมจึงลุกฮือต่อต้ำนค�ำตัดสิน มีกำรท�ำร้ำย ชำวยูเรเชียและชำวยุโรป จนมีกำรประกำศภำวะฉุกเฉินเป็นเวลำ ๒ สัปดำห์กอ่ นทีก่ องทัพ อังกฤษและมลำยูจะสำมำรถควบคุมสถำนกำรณ์ ข้อมูลจำก infopedia.nl.sg/articles/ SIP_83_2005-02-02.html?s=Maria%20Hertog
146
ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
บทที่ ๔
สิงคโปร์กับอาเซียน
สิงคโปร์ดูจะเป็นประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่โดดเด่น มี ความเจริญและทันสมัยทัดเทียมประเทศพัฒนาแล้วมากทีส่ ดุ ไม่วา่ จะเป็น ผู้คนที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษอย่างคล่องแคล่ว รวมทั้งภาษาอื่นอย่าง ภาษาจีนกลางซึ่งเป็นประเทศที่ก�าลังมีบทบาทในเศรษฐกิจโลกทุกวันนี้ บ้านเมืองที่ทันสมัย สะอาด เป็นระเบียบ ประชากรที่มีการศึกษาดี มี รายได้สงู เป็นต้น การเติบโตและการพัฒนาประเทศของสิงคโปร์จึงเป็น ตัวอย่างให้แก่หลายประเทศในอาเซียน หากย้อนกลับไปเมื่อครั้งแรกตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (Association of Southeast Asian Nations-ASEAN) ดูเหมือนว่าการรวมตัวร่วมมือกันของประเทศที่อยู่ ในภูมิภาคเดียวกันจะเป็นความทันสมัยหรือกระแสของการสร้างสถานะ ของประเทศต่างๆ ในโลกช่วงเวลานัน้ ผ่านการเป็นสมาชิกองค์กรระหว่าง ประเทศต่างๆ อันเป็นยุคทีค่ วามแตกต่างของระบบการเมืองการปกครอง แบ่งประเทศในโลกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มปกครองระบอบประชา ธิปไตยและกลุม่ ปกครองระบอบสังคมนิยม แต่กม็ กี ารรวมตัวเพือ่ แสวงหา ความร่วมมือกันในระดับย่อยๆ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วการรวมตัวของกลุ่ม ประเทศต่างๆ จะบรรลุผลตามเป้าประสงค์มากหรือน้อยเพียงใดขึน้ อยูก่ บั
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์
147
ประสิทธิภาพขององค์กรและความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกเป็นส�าคัญ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน เป็น องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทีเ่ กิดขึน้ จากการตกลงร่วมกันของ ๕ ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลปิ ปินส์ โดยมีการลงนามข้อตกลงร่วมกันในปฏิญญา อาเซียน (The ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๖๗ ๑ ด้วยวัตถุประสงค์เริม่ แรกเพือ่ สร้างสันติภาพใน ภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยไม่เข้าไปก้าวก่ายเรื่องการเมืองของแต่ละประเทศที่ ต่างมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป วัตถุประสงค์หลักที่ก�าหนดไว้ในปฏิญญา อาเซียนมี ๗ ประการ ได้แก่ ๒ ๑. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทาง สังคมและวัฒนธรรม ๒. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมัน่ คงของภูมภิ าค ๓. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร ๔. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการ วิจัย ๕. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการด�ารงชีวิต ๖. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๗. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กร ระหว่างประเทศ จะเห็นได้ว่าจากวัตถุประสงค์ข้างต้น การรวมตัวของประเทศ สมาชิกสมาคมอาเซียนทัง้ ห้าประเทศนีม้ ปี ระเด็นส�าคัญคือ ความร่วมมือ ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทัง้ นีน้ า่ สังเกตว่า ๓ ใน ๕ ประเทศผูก้ อ่ ตัง้ นี้
148 ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
เป็นประเทศมีกายภาพเป็นกลุ่มเกาะ ดูเหมือนว่าในระยะแรกๆ ประเทศสมาชิกทัง้ ห้าผูก้ อ่ ตัง้ อาเซียน ยังไม่มีการด�าเนินงานใดๆ ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นความสัมพันธ์แบบ หลวมๆ ไม่มีการวางกรอบแผนงาน ระยะเวลาการท�างาน หรือแนวทาง ด�าเนินงานของอาเซียนทีช่ ดั เจนเพือ่ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล แก่ประเทศสมาชิกเมื่อเปรียบเทียบกับการรวมตัวของกลุ่มประเทศอียู ในยุโรป
บทบาทของสิงคโปร์ในอาเซียน
ส�าหรับสิงคโปร์การเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นเสมือนอีกหนึ่ง องค์กรทีร่ บั รองสถานะการเป็นประเทศทีเ่ ป็นเอกราชโดยสมบูรณ์ภายหลัง การแยกตัวออกจากมาเลเซียตามเป้าประสงค์แรกเริม่ ของการตัง้ ประเทศ หลัง ค.ศ. ๑๙๖๕ เช่นเดียวกับที่สิงคโปร์เข้าเป็นสมาชิกอีกหลายองค์กร ระหว่างประเทศนอกเหนือจากองค์การสหประชาชาติ ใน ค.ศ. ๑๙๖๕ เช่น สมาชิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ APEC) ทีต่ งั้ ขึน้ เมือ่ ค.ศ. ๑๙๘๙ เป็นต้น ด้วยความมุ่งหมายของการเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาจท�าให้สิงคโปร์ได้รับ ผลตอบแทนหรือโอกาสที่ดีในอนาคต ๓ และหากพิจารณาในทางความ สัมพันธ์กับเพื่อนบ้านที่มีปัญหากันก่อนหน้าการประกาศตั้งประเทศคือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย การเข้าร่วมเป็นสมาชิกในสมาคมอาเซียนอาจ ช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสิงคโปร์กับสองประเทศนี้ด้วย โดย ในช่วง ค.ศ. ๑๙๖๗-๑๙๗๓ เอส. ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศของ สิงคโปร์มคี วามคิดเห็นว่า การรวมตัวเป็นอาเซียนถือเป็นข้อได้เปรียบต่อ การแก้ปญ ั หาด้านเศรษฐกิจและสังคมในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไม่ควรเข้ายุ่งเกี่ยวกับด้านการเมือง ๔ และในช่วง ค.ศ. ๑๙๗๐ ทั้ง เอส. ราชารัตนัม และ ดร. โก๊ะเกงสวี ต่างเห็นพ้องกันว่า ประเทศสมาชิก
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์
149