คู มือช วยฟ นฝ าช วงวัยที่ ร อ น ที่ สุ ด ในชีว�ต
เป ด สมอง ES SE N CE
Emotional Spark อารมณ อันพลุ งพล าน
Social Engagement
Creative Explorations การแสวงหาอย างสร างสรรค
นพ. ประเสร�ฐ ผลิตผลการพิมพ
THE POWER AND PURPOSE
Novelty
ความแปลกใหม
OF THE TEENAGE BRAIN
การมีส วนร วมทางสังคม
“เด็กเล็กจะเห็นพ อแม เสมือนเทพเจ า พูดอะไร ก็ถูกหมดเสมอ แต เมื่อถึงวัยรุ น วัยรุ นทุกคน ในโลกจะพบว าพ อแม เป นคนธรรมดา มีผิดมีถูก มีดีมีไม ดี พวกเขาก็มักจะเช�่อฟ งน อยลง และ หากสายสัมพันธ ไม ดีก็อาจจะลามไปจนถึงระดับ ผิดหวังหร�อแม กระทัง่ ดูหมิน่ แต ถา สายสัมพันธ ดี เขาก็จะยังรัก เคารพ และต องการพ อแม เสมอ”
BRAINSTORM
สาระสำคัญ ของวัยรุ น
“วัยรุ นเป นวัยที่พัฒนาตนเองไปตามการตัดสิน ของผู อื่น ที่น าห วงคือ นี่เป นช วงช�ว�ตสุดท าย ก อนที่เขาจะกลายเป นผู ใหญ เหมือนดักแด ที่กลายเป นผีเสื้อ ซ�่งอาจจะเปลี่ยนแปลงอะไร ไม ค อยได อีก…เพราะอะไรจ�งเปลี่ยนแปลงไม ได อีก…หนังสือเล มนี้ให คำอธ�บายไว …”
มีลูกวัยรุน ตองอาน
วั ย ว า วุ น
BRAINSTORM THE POWER AND PURPOSE
OF THE TEENAGE BRAIN
หมวดจ�ตว�ทยา ราคา 290 บาท ISBN 978-616-7767-73-4
Daniel J. Siegel, M.D. 290.-
อิฏฐพร ภู เจร�ญ แปล คำนำเสนอโดย นพ. ประเสร�ฐ ผลิตผลการพิมพ
หนังสือ Brainstorm เปิดสมองวัยว้าวุ่น ผู้เขียน Daniel J. Siegel ผู้แปล อิฏฐพร ภู่เจริญ Thai Language Translation copyright 2015 by Sarakadee Press Copyright © 2013 by Mind Your Brain, Inc. Illustrations © 2013 by Leah Pearlman Healthy Mind Platter © 2011 by David Rock and Daniel J. Siegel, M.D. All rights reserved including the right of reproduction in whole or in part in any form. This edition published by arrangement with Jeremy P. Tarcher, a member of Penguin Group (USA) LLC, a Penguin Random House Company through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2559 จำ�นวนพิมพ์ 3,000 เล่ม ราคา 290 บาท ข้อมูลบรรณานุกรม Daniel J. Siegel. Brainstorm เปิดสมองวัยว้าวุ่น.--กรุงเทพฯ : สารคดี, 2559. 304 หน้า. 1. จิตวิทยาวัยรุ่น. I. Daniel J. Siegel. 155.5 ISBN 978-616-7767-73-4 คณะผู้จัดทำ� บรรณาธิการเล่ม : ปณต ไกรโรจนานันท์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปก/จัดรูปเล่ม : ชาญศักดิ์ สุขประชา พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด (สำ�นักพิมพ์สารคดี) จัดจำ�หน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด 3 ซอยนนทบุรี 22 ถนนนนทบุรี (สนามบินน้ำ�) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร. 0-2547-2700 โทรสาร 0-2547-2721 เพลต เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. 0-2215-7559 พิมพ์ ทวีวฒ ั น์การพิมพ์ โทร. 0-2720-5014-8 สำ�นักพิมพ์สารคดี ผู้อำ�นวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จำ�นงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จำ�นงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด/โฆษณา : กฤตนัตตา หนูไชยะ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ
หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำ�มันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน้ำ�มันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
AWbrainstorm1-150-2.indd 2
23/09/2016 16:36
คำนำเสนอ นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ “เมื่อครูได้รับฟังมาว่านักเรียนบางคนมีปัญญาอันจ�ำกัด นักเรียนเหล่านั้น จะมีผลการเรียนแย่กว่านักเรียนคนอื่นที่ครูไม่ได้รับข้อมูลอย่างเดียวกัน” คือประโยคส�ำคัญในหน้า 14 เมื่อเรามีอคติว่าวัยรุ่นจะเป็นอย่างไร เขาจะเป็นอย่างนั้น วัยรุน่ เป็นวัยทีพ่ ฒ ั นาตนเองไปตามการตัดสินของผูอ้ นื่ ทีน่ า่ ห่วงคือ นี่เป็นช่วงชีวิตสุดท้ายก่อนที่เขาจะกลายเป็นผู้ใหญ่ เหมือนดักแด้ที่กลาย เป็นผีเสื้อ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ค่อยได้อีก เพราะอะไรจึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้อีก ทั้งที่จิตใจของคนมิใช่อะไรที่อยู่ นิง่ อีกทัง้ สมองของคนก็มคี ณ ุ สมบัตทิ เี่ รียกว่า plasticity คือศักยภาพทีจ่ ะ พัฒนาไม่หยุดยัง้ หนังสือเล่มนีใ้ ห้ค�ำอธิบายไว้สองเรือ่ ง ซึง่ ได้มาจากความ ก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ค�ำอธิบายแรกคือ synaptic pruning คือการตัดแต่งวงจรประสาทที่ ไม่ถกู ใช้งาน กระบวนการนีเ้ ริม่ ตัง้ แต่วยั รุน่ ตอนต้นคือประมาณ 12 ปี และ ไปสิ้นสุดที่วัยรุ่นตอนกลางคือประมาณ 15 ปี นี่เป็นความรู้ค่อนข้างใหม่ ช่วยให้เราตระหนักว่าเด็กๆ ของเราควรท�ำอะไรมากกว่าท�ำอะไร อะไรนั้น จึงจะคงอยู่ เช่น อ่านหนังสือให้มาก คิดวิเคราะห์ให้มาก วงจรประสาทส่วนนี้ จึงจะถูกเก็บรักษา (preserve) ไว้ หรือเราเลือกที่จะให้เด็กๆ ท่องจ�ำ ท�ำข้อสอบให้ถูกต้อง วงจรประสาทส่วนนี้ก็จะถูกเก็บรักษาไว้ อะไรที่ถูก เก็บรักษาไว้ก็จะได้ใช้ตลอดชีวิตที่เหลือ อะไรที่ไม่ค่อยใช้จะหายไปก่อน อายุ 15 ปี
AWbrainstorm1-150-2.indd 3
23/09/2016 16:36
จะเห็นว่าเวลา 15 ปีนนั้ เร็วมาก หากนโยบายด้านเด็กและวัยรุน่ ไม่ไหว ทัน เราจะสูญเสียทรัพยากรทางสติปัญญาของเด็กๆ ไปอย่างน่าเสียดาย ค�ำอธิบายที่ 2 คือ prefrontal myelination คือกระบวนการสร้าง ปลอกประสาทที่บริเวณสมองส่วนหน้าส่วนที่เรียกว่า prefrontal cortex กระบวนการสร้างปลอกประสาทหรือปลอกไมอีลนี ทีส่ มบูรณ์จะท�ำให้ การสื่อน�ำประสาทรวดเร็ว ถูกต้อง และเชื่อมโยงกับสมองส่วนอื่นๆ ดีกว่า สมองส่วน prefrontal cortex เป็นสมองส่วนส�ำคัญมากของมนุษย์ ใช้มองอนาคต วางแผน คิดวิเคราะห์ และตัดสินใจ รวมทัง้ จัดการอารมณ์ และยับยั้งชั่งใจ เปรียบเหมือนคนขับรถยนต์ที่มีไฟหน้า ระบบเลี้ยว และ ระบบเบรกที่ดี ก็จะขับรถถึงเป้าหมายส�ำเร็จ กระบวนการสร้างปลอกไมอีลินนี้จะไปสิ้นสุดที่อายุประมาณ 20-25 ปี หากเราออกแบบให้ชีวิตวัยเด็กและวัยรุ่นได้เรียนรู้ชีวิตด้วยวิธีที่ถูกต้อง คือ ฝึกค้นคว้า คิดวิเคราะห์ ท�ำงานเป็นทีม โดยรักษาสมดุลระหว่างความ มุ่งมั่นกับความหุนหันพลันแล่นอย่างเหมาะสม เราก็จะได้ผู้ใหญ่ที่มีสมอง ส่วนหน้าที่ดี สองประการนี้คือเหตุผลที่เราไม่สามารถนิ่งนอนใจกับวัยเด็กหรือ วัยรุ่นได้ เพราะอาจแก้ไขอะไรไม่ได้มากนักหลังอายุ 25 ปี เรือ่ งส�ำคัญๆ ของวัยรุน่ ทีเ่ ล่ามานี ้ หนังสือ ต�ำรา และผูป้ ระพันธ์แต่ละ คนใช้ค�ำต่างๆ กัน หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเป็นค�ำย่อไว้ในหน้า 22 คือ ESSENCE ซึ่งประกอบด้วยสี่องค์ประกอบคือ อารมณ์อันพลุ่งพล่าน การมีสว่ นร่วมทางสังคม ความแปลกใหม่ และการแสวงหาอย่างสร้างสรรค์ พ่อแม่ทกุ วันนีว้ ติ กกังวลกับพฤติกรรมของวัยรุน่ เป็นเพราะพวกเขา สูญเสียความสามารถของวัยรุ่นเหล่านี้ไปหมดแล้ว พ่อแม่ที่รู้ทันจะรู้จัก ให้เกียรติลูกวัยรุ่นของตัว ด้วยความเชื่อมั่นว่าเขาเป็นวัยก�ำลังฝึกฝนการ ใช้ความมุ่งมั่นให้สมดุลกับความหุนหันพลันแล่นด้วยตรรกะที่ดี พ่อแม่ที่ ให้เกียรติวัยรุ่น วัยรุ่นจะให้เกียรติพ่อแม่ด้วยเช่นกัน
AWbrainstorm1-150-2.indd 4
23/09/2016 16:36
ประเด็นทางจิตใจที่ดีมากอีกเรื่องหนึ่งปรากฏในค�ำพูดของ มาร์ก ทเวน หน้า 25 “เมือ่ ผมเป็นเด็กอายุ 14 ปี พ่อของผมช่างเขลาเสียจนผมไม่อาจทน อยู่ใกล้ๆ” เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กจะเห็นพ่อแม่เสมือนเทพเจ้าและพูดอะไรก็ ดูดี ถูกหมดเสมอ แต่เวลาหวานชื่นนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อถึงวัยรุ่น วัยรุ่น ทุกคนในโลกจะพบในวันหนึ่งว่าพ่อแม่ของตัวเป็นคนธรรมดา มีผิดมีถูก มีดีมีไม่ดี พวกเขาก็มักจะเชื่อฟังน้อยลง และหากสายสัมพันธ์ไม่ดีก็อาจ จะลามไปจนถึงระดับผิดหวังหรือแม้กระทัง่ ดูหมิน่ แต่ถา้ สายสัมพันธ์ดเี ขา ก็จะยังรัก เคารพ และต้องการพ่อแม่เสมอแม้ว่าพ่อแม่จะไม่มีการศึกษา หรือดูเชยมากเพียงใดก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยท�ำให้สังคมเปลี่ยนไปเป็นประเด็น ทางสังคมที่หนังสือเล่มนี้ไม่ได้ละเลย ดังที่เขียนไว้ในหน้า 42 สมัยก่อน เด็กๆ และวัยรุ่นคนหนึ่งอยู่ในสายตาของคนทั้งหมู่บ้าน ผู้ใหญ่ทุกคนที่ ผ่านไปมาไม่ลังเลที่จะช่วยกันดูแลไปจนถึงตักเตือนเมื่อพบใครออกนอกลู่ นอกทาง แตกต่างจากปัจจุบันที่สังคมต่างคนต่างอยู่ แม้บ้านจะอยู่ชิด กันก็ไม่สามารถก้าวล่วงการอบรมดูแลเด็กได้ แม้กระทั่งครูที่โรงเรียนก็ ยังอาจจะใส่ใจเฉพาะเด็กที่เรียนเก่ง แต่เพิกเฉยเด็กเรียนไม่เก่งทั้งที่ควร จะเป็นหน้าที่โดยตรง สภาพแวดล้อมส�ำคัญอีกอย่างหนึง่ ของวัยรุน่ คือ เพือ่ น ความส�ำคัญ ของเพือ่ นมีปรากฏในหน้า 80 ด้วยเรือ่ งเล่าง่ายๆ เกีย่ วกับการใช้พฤติกรรม เสี่ยงของเพื่อนบุตรชายผู้ประพันธ์เอง และจบลงด้วยค�ำพูดว่า
AWbrainstorm1-150-2.indd 5
“จะบ้าเหรอครับ ผมไม่มีทางกระโดดแน่”
23/09/2016 16:36
ดังที่รู้กันทั่วไปว่าวัยรุ่นมักใช้พฤติกรรมเสี่ยง แต่มักไม่มีค�ำตอบว่า ท�ำไม ข้อความหนึ่งย่อหน้าในหน้าที่ 85 ให้ภาพชัดว่าวัยรุ่นมักมีแนวโน้ม ประเมินความเสี่ยงอย่างมีอคติอย่างไร “ในสถานการณ์เหล่านี้เองที่วัยรุ่นมองเห็นแต่ข้อดี โดยไม่ให้ความ ส�ำคัญกับความเสี่ยง นี่คืออคติเชิงบวกในจิตใจวัยรุ่น” โดยมีค�ำอธิบายเชือ่ มโยงกับปัจจัยทางชีววิทยาว่าเป็นเพราะพัฒนาการ ของสมองส่วน prefrontal cortex ยังไม่สมบูรณ์นั่นเอง หนังสือเล่มนี้ให้ภาพวัยรุ่นครบทั้งสามองค์ประกอบ คือ ชีววิทยา จิตใจ และสังคม ปิดท้ายด้วยตัวอย่างกรณีศกึ ษาอย่างละเอียด และเป็นไป ตามที่ผู้ประพันธ์ได้เขียนไว้ในค�ำน�ำว่าจะเริ่มอ่านที่บทไหนก่อนก็ได้
AWbrainstorm1-150-2.indd 6
23/09/2016 16:36
ส า ร บั ญ Part 1 สาระส�ำคัญของความเป็นวัยรุ่น 11
ประโยชน์และความท้าทายของวัยรุ่น การรักษาพลังและจุดมุ่งหมายของจิตใจวัยรุ่นไว้จนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ วัยรุ่น - จากภายในสู่ภายนอก ความเสี่ยงและรางวัล การต่อต้าน จังหวะเวลาของวัยเริ่มเจริญพันธุ์ เพศสภาพ และความเป็นวัยรุ่น ความเครียดและความผิดหวังของช่วงวัยรุ่นที่ยาวนานขึ้น การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นและศูนย์กลางของความสัมพันธ์
16 20 24 27 31 32 34 37
เครื่องมือส่องใจ 1 การเห็นและสร้างทะเลในจิตใจ
45
แผนที่ส่องใจขั้นพื้นฐานสามประเภท มองเข้าไปในทะเลแห่งจิตใจ การฝึกส่องใจ ก : กระบวนการตระหนักรู้สี่อย่าง - SIFT ในจิตใจ ภาพโลกวัตถุที่ตามองเห็นกับโลกในตัวเราที่ใจมองเห็น การฝึกส่องใจ ข : ส่องใจให้กระจ่าง ความเห็นอกเห็นใจ การฝึกส่องใจ ค : ความเห็นอกเห็นใจ การเชื่อมรวม การฝึกส่องใจ ง : การรู้สึกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกัน ในการเชื่อมรวม หากปราศจากการเชื่อมรวม : ความยุ่งเหยิงหรือความไม่ยืดหยุ่น การฝึกส่องใจ จ : เรียกชื่อเพื่อให้เชื่อง
AWbrainstorm1-150-2.indd 7
49 50 53 54 57 58 60 61 65 66 68
23/09/2016 16:36
การฝึกส่องใจ ฉ : การตรวจหาความยุ่งเหยิงหรือความไม่ยืดหยุ่น 69 และการสร้างสมดุลให้จิตใจ การส่องใจเสริมสร้างจิตใจ สมอง และความสัมพันธ์ของเรา 72
Part 2 สมอง 73
โดพามีน การตัดสินใจ และแรงผลักดันสู่รางวัล ครอบครัว เพื่อน และการเล่นสนุกไปเรื่อย จุดมุ่งหมายของวัยรุ่น การตัดสินใจ ค�ำว่า “อย่าท�ำ” ไม่ได้ผล : พลังแห่งการส่งเสริมแง่ดี การเชื่อมรวมสมองของคุณ แบบจ�ำลองสมองรูปมือ วัยรุ่น ประตูสู่การแสวงหาอย่างสร้างสรรค์ การสร้างความร่วมมือระหว่างรุ่น ความอ่อนแอและโอกาส การปรับโครงสร้างสมองและความฉุนเฉียววู่วาม ความเป็นวัยรุ่นสร้างการเชื่อมรวมในสมอง สมองส่วนล่างที่เจ้าอารมณ์ วงจรถาวรส�ำหรับการผจญภัยและความสัมพันธ์
75 79 81 84 86 87 90 95 101 103 107 112 113 115
เครื่องมือส่องใจ 2 เวลา-ใน
119
เวลา-ใน การส่องใจ และการตระหนักรู้อย่างมีสติ การอยู่กับสิ่งที่ก�ำลังเกิดขึ้นอย่างที่มันก�ำลังเกิดขึ้น การฝึกส่องใจ ก : ตระหนักรู้การหายใจ การสร้างเลนส์ส่องใจ การเชื่อมรวมความรู้สึกตัวกับกงล้อแห่งความตระหนักรู้ การฝึกส่องใจ ข : กงล้อแห่งความตระหนักรู้
119 125 127 135 138 141
AWbrainstorm1-150-2.indd 8
23/09/2016 16:36
การพิจารณากงล้อแห่งความตระหนักรู้
146
Part 3 ความผูกพัน 151 แหล่งพักพิงที่ปลอดภัยและฐานแห่งการเริ่มต้นอันมั่นคง แม่แบบความผูกพัน แม่แบบความผูกพันที่มั่นคง (secure/model) แม่แบบความผูกพันแบบหลีกเลี่ยง (avoidant model) แม่แบบความผูกพันแบบรวนเร (ambivalent model) แม่แบบความผูกพันแบบสับสน (disorganized model) ปฏิกิริยาของภาวะผูกพันผิดปรกติ การสร้างความผูกพันที่มั่นคงและการเชื่อมรวมสมอง การคิดทบทวนความผูกพันและการท�ำความเข้าใจชีวิต ค�ำถามเพื่อการคิดทบทวนความผูกพัน เรื่องเล่าบนฐานความผูกพันและสมองทั้งสองซีก การหลีกเลี่ยง ระยะห่างทางอารมณ์ และสมองซีกซ้าย ความรวนเร ความสับสนทางอารมณ์ และสมองซีกขวา ความผูกพันแบบสับสนและสมองที่ขาดความต่อเนื่อง การสร้างแหล่งพักพิงที่ปลอดภัยและฐานเพื่อการเริ่มต้น ส�ำหรับวัยรุ่น
156 161 162 162 164 165 166 167 172 174 178 185 191 196 202
เครื่องมือส่องใจ 3 เวลา-ระหว่างกัน และการสนทนาเพื่อการคิดทบทวน 205
แม่แบบความผูกพันก�ำหนดชีวิตในปัจจุบันของเราอย่างไร การฝึกส่องใจ ก : การคิดทบทวนว่าแม่แบบความผูกพัน ก�ำหนดการสนทนาเพื่อการคิดทบทวนอย่างไร การคิดทบทวน การเชื่อมรวม และที่มาของความเห็นอกเห็นใจ การฝึกส่องใจ ข : การสนทนาเพื่อการคิดทบทวน บทบาท (PART) เพื่อสร้างตัวเองในความสัมพันธ์
AWbrainstorm1-150-2.indd 9
206 210 210 214 215
23/09/2016 16:36
การฝึกส่องใจ ค : การซ่อมแซมรอยร้าว
217
Part 4 การอยู่กับปัจจุบันขณะผ่านความเปลี่ยนแปลง และปัญหา 221 ให้เกียรติตัวตนใหม่ของวัยรุ่น ก้าวออกจากบ้าน วัยเจริญพันธุ์ เพศสภาวะ และอัตลักษณ์ ความสัมพันธ์แบบไม่ผูกมัด เรื่องรักและรักแรก การอยู่กับปัจจุบันขณะเพื่อผู้อื่น การเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในการเชื่อมรวม การยอมรับ การปล่อยวางความคาดหวัง และรสนิยมทางเพศ การเสพหรือติดยาเสพติด การกลับบ้าน : การคิดทบทวน การปรับตัวใหม่ และการซ่อมแซมรอยร้าว
223 226 232 236 238 244 247 249 261 271
เครื่องมือส่องใจ 4 เจ็ดกิจกรรมส่องใจอย่างง่าย
277
การฝึกส่องใจ ก : เวลา-ใน การฝึกส่องใจ ข : การนอนหลับ การฝึกส่องใจ ค : การให้ความจดจ่อ การฝึกส่องใจ ง : การพักผ่อน การฝึกส่องใจ จ : การเล่นสนุก การฝึกส่องใจ ฉ : การออกก�ำลังกาย การฝึกส่องใจ ช : การเชื่อมสัมพันธ์
278 279 282 285 286 289 290
สรุป ฉันกับเรา และการเชื่อมรวมอัตลักษณ์ 293 กิตติกรรมประกาศ
AWbrainstorm1-150-2.indd 10
303
23/09/2016 16:36
1 Part
ส า ร ะ ส ำ คั ญ ข อ ง ค ว า ม เ ป็ น วั ย รุ่ น
วั
ยรุ่นคือช่วงเวลาในชีวิตที่ทั้งน่าตื่นใจและสับสนได้ในขณะเดียวกัน ช่วงอายุของวัยรุ่นซึ่งครอบคลุมตั้งแต่อายุ 12 ถึง 24 ปี (ใช่แล้ว... ถึงช่วงกลางวัย 20 เลยทีเดียว !) จึงเป็นที่รู้กันในทุกวัฒนธรรมว่า นีค่ อื ช่วงเวลาของความท้าทายอันยิง่ ใหญ่ ทัง้ ส�ำหรับตัววัยรุน่ เองและผูใ้ หญ่ ทีค่ อยดูแลวัยรุน่ อยู ่ และเนือ่ งจากนีเ่ ป็นเรือ่ งท้าทายส�ำหรับทุกคนทีเ่ กีย่ วข้อง ผมจึงหวังว่าจะมีส่วนช่วยคนต่างวัยทั้งสองรุ่นได้บ้าง หากคุณเป็นวัยรุน่ ทีก่ �ำลังอ่านหนังสือเล่มนีอ้ ยู่ ผมหวังว่าหนังสือเล่ม นีจ้ ะช่วยให้คณ ุ ก้าวผ่านการเดินทางของวัยนีไ้ ปได้ แม้บางครัง้ อาจเจ็บปวด และบางครัง้ อาจตืน่ เต้น แต่ถา้ คุณเป็นพ่อแม่ ครู ทีป่ รึกษา ครูฝกึ กีฬา หรือ ผู้ให้ค�ำแนะน�ำแก่วัยรุ่น ผมหวังว่าการส�ำรวจครั้งนี้จะท�ำให้คุณสามารถให้
AWbrainstorm1-150-2.indd 11
23/09/2016 16:36
12
เปิดสมองวัยว้าวุ่น
ความช่วยเหลือแก่วัยรุ่นในชีวิตของคุณได้ โดยไม่เพียงให้เขารอดชีวิตไป ได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เขาเติบโตได้อย่างงดงามตลอดช่วงเวลาของการ ก่อร่างสร้างตัวอันน่าอัศจรรย์นี้ ผมขอบอกก่อนเลยว่า มีเรือ่ งราวทีเ่ ชือ่ กันมาผิดๆ มากมายเกีย่ วกับ วัยรุ่น และในขณะนี้วิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าไม่เป็น ความจริงเลย ที่แย่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ความเชื่อผิดๆ เหล่านั้นอาจท�ำให้ ชีวิตยากเย็นยิ่งขึ้นทั้งส�ำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ดังนั้นเรามาขจัดความเชื่อ ผิดๆ เหล่านั้นกันเสียเดี๋ยวนี้เลยดีกว่า เรื่องหนึ่งที่คนมากมายเชื่อกันผิดๆ เกี่ยวกับวัยรุ่น คือความเชื่อ ที่ว่า ฮอร์โมนที่พลุ่งพล่านท�ำให้เด็กวัยรุ่น “เป็นบ้า” หรือ “เสียสติ” เรื่องนี้ไม่จริงเลย ถึงแม้ฮอร์โมนจะสูงขึ้นในระยะนี้ แต่ฮอร์โมน ไม่ได้เป็นตัวก�ำหนดว่าจะเกิดอะไรขึน้ กับวัยรุน่ บ้าง ตอนนีเ้ รารูแ้ ล้วว่า สิง่ ที่ วัยรุน่ ต้องเผชิญส่วนใหญ่แล้วเป็นผลมาจากการเปลีย่ นแปลงในพัฒนาการ ของสมอง การรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจช่วยให้ชีวิตด�ำเนินไป ได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ทั้งส�ำหรับตัววัยรุ่นเองหรือผู้ใหญ่ที่มีวัยรุ่นใช้ชีวิต ร่วมอยู่ด้วย ความเชื่อผิดๆ อีกประการหนึ่งคือ วัยรุ่นเป็นเพียงช่วงเวลาที่ยังไม่โตเป็นผู้ใหญ่ และวัยรุ่นจ�ำเป็น ที่จะต้อง “โตขึ้น” เท่านั้นเอง ด้วยมุมมองอันจ�ำกัดเช่นนีจ้ งึ ไม่แปลกทีผ่ คู้ นส่วนมากมองว่าจะต้อง อดทนกับวัยรุ่น และวัยรุ่นจะต้องผ่านพ้นช่วงนี้มาได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งโดย ให้เหลือร่องรอยบาดแผลให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จริงอยู ่ แม้การเป็นวัยรุน่ จะสับสนและอาจน่ากลัวอยูบ่ า้ ง เพราะหลาย อย่างที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เป็นเรื่องใหม่และอาจรุนแรง ส�ำหรับผู้ใหญ่แล้ว สิ่ง ที่วัยรุ่นท�ำอาจดูเหมือนกวนประสาทและไร้เหตุผล แต่โปรดเชื่อผม ใน
AWbrainstorm1-150-2.indd 12
23/09/2016 16:36
สาระส�ำคัญของความเป็นวัยรุ่น
13
ฐานะพ่อของวัยรุ่นสองคน ผมรู้ดี มุมมองที่ว่าพวกเราทุกคนจะต้องทน กับวัยรุ่นเป็นมุมมองที่จ�ำกัดมาก ในทางตรงกันข้าม วัยรุ่นไม่เพียงแต่ต้องมีชีวิตให้รอดพ้นช่วงวัยนี้ มาให้ได้เท่านั้น แต่พวกเขายังสามารถเติบโตขึ้นอย่างงดงามในช่วงเวลา อันส�ำคัญของชีวิตนี้ ผมหมายถึงอะไรน่ะหรือ แนวคิดหลักๆ ทีเ่ ราก�ำลังจะพูดถึงก็คอื “งาน” ของวัยรุน่ ซึง่ หมาย ถึงการทดสอบขีดจ�ำกัดและความหลงใหลการแสวงหาสิ่งที่ไม่รู้และ น่าตื่นเต้น อาจเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับการพัฒนาอุปนิสัยส�ำคัญ ที่จะช่วยให้วัยรุ่นด�ำเนินชีวิตอันยิ่งใหญ่ที่เต็มไปด้วยการผจญภัยและจุด มุ่งหมายต่อไปได้ ความเชื่อผิดๆ เรื่องที่ 3 ได้แก่ การเติบโตในช่วงวัยรุ่นจ�ำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านจากการพึ่งพิง ผู้ใหญ่ไปสู่การเป็นอิสระจากผู้ใหญ่โดยสิ้นเชิง แม้จะมีแรงผลักดันตามธรรมชาติและตามความจ�ำเป็นที่ผู้ใหญ่ซึ่ง เป็นผู้เลี้ยงดูจะพยายามส่งเสริมให้เด็กพึ่งตัวเองมากขึ้น แต่วัยรุ่นก็ยังได้ รับประโยชน์จากความสัมพันธ์กบั ผูใ้ หญ่อยูน่ นั่ เอง การเคลือ่ นสูค่ วามเป็น ผูใ้ หญ่อย่างมัน่ คงคือการก้าวสูค่ วามเป็นอิสระ แต่ไม่ใช่การแยกตัวออกมา แบบ “ท�ำเองทุกอย่าง” โดยสมบูรณ์ ธรรมชาติของความผูกพันทีว่ ยั รุน่ มีตอ่ พ่อแม่ในฐานะบุคคลทีผ่ กู พัน ด้วยจะเปลี่ยนแปลงไป โดยเพื่อนจะมีความส�ำคัญมากขึ้นในระยะนี้ ในที่สุดแล้วเราก็เรียนรู้ที่จะก้าวผ่านความต้องการการดูแลจาก ผู้อื่นในช่วงวัยเด็ก ไปสู่การถอยห่างจากพ่อแม่กับผู้ใหญ่คนอื่นๆ แล้วพึ่ง พาเพื่อนๆ ในช่วงวัยรุ่นมากขึ้น รวมทั้งการให้ความดูแลและรับความ ช่วยเหลือจากผู้อื่น นี่แหละการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
AWbrainstorm1-150-2.indd 13
23/09/2016 16:36
14
เปิดสมองวัยว้าวุ่น
หนังสือเล่มนี้จะพาคุณส�ำรวจธรรมชาติของความผูกพันเช่นนี้ และ พิจารณาว่าความต้องการความสัมพันธ์อันใกล้ชิดดังกล่าวจะด�ำเนินต่อไป ตลอดช่วงชีวิตอย่างไร เมือ่ ก้าวข้ามความเชือ่ ผิดๆ เหล่านีไ้ ปได้ ความจริงแท้ทซี่ อ่ นอยูจ่ ะปรากฏ และชีวิตของวัยรุ่น รวมทั้งผู้ใหญ่ในชีวิตของวัยรุ่นเหล่านั้นจะดีขึ้นมาก โชคร้ายที่สิ่งที่คนอื่นๆ เชื่อกันเกี่ยวกับเราส่งผลถึงวิธีที่เรามอง ตัวเองและปฏิบัติตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยรุ่นและทัศนคติเชิงลบที่วัยรุ่น “ได้รับ” จากผู้ใหญ่ (ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม) ว่าวัยรุ่น “ควบคุม ไม่ได้” หรือ “ขี้เกียจ” หรือ “ไม่มีจุดยืน” งานวิจยั แสดงให้เห็นว่า เมือ่ ครูได้รบั ฟังมาว่านักเรียนบางคนมี “ปัญญา อันจ�ำกัด” นักเรียนเหล่านั้นจะมีผลการเรียนแย่กว่านักเรียนคนอื่นที่ครู ไม่ได้รับข้อมูลอย่างเดียวกัน แต่เมื่อมีคนบอกครูว่านักเรียนกลุ่มเดียวกัน นีม้ คี วามสามารถพิเศษ นักเรียนกลุม่ นีก้ ลับมีคะแนนสอบดีขนึ้ อย่างเด่นชัด นั่นหมายความว่า วัยรุ่นที่ได้ยินเรื่องไม่ดีเกี่ยวกับตนเองและสิ่งที่ มีผู้คาดหวังจากพวกเขา อาจจมดิ่งลงไปถึงระดับแย่ๆ เช่นนั้นแทนที่จะ ตระหนักถึงศักยภาพอันแท้จริงของตนเอง ดังที่ โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ เขียนไว้ว่า “จงปฏิบัติต่อผู้อื่นสมกับที่พวกเขาควรได้รับ แล้วท่าน จะท�ำให้พวกเขาเป็นอย่างที่เขาสามารถจะเป็นได้” วัยรุน่ ไม่ได้เป็นช่วงเวลาของความ “บ้าคลัง่ ” หรือ “ไม่เป็นผูใ้ หญ่” แต่เป็นช่วงเวลาอันส�ำคัญของการมีอารมณ์รนุ แรง การมีสว่ นร่วมทางสังคม และการมีความคิดสร้างสรรค์ นีค่ อื ปัจจัยส�ำคัญว่าเรา “ควรจะ” เป็นอย่างไร เราสามารถท�ำอะไรได้ บ้าง และเราต้องการอะไรทั้งในฐานะปัจเจกบุคคลและในฐานะครอบครัว
AWbrainstorm1-150-2.indd 14
23/09/2016 16:36
สาระส�ำคัญของความเป็นวัยรุ่น
15
หนังสือ เปิดสมองวัยว้าวุ่น แบ่งออกเป็นภาคๆ ดังนี้ ภาคแรกจะ วิเคราะห์สาระส�ำคัญของวัยรุน่ และอธิบายว่าการท�ำความเข้าใจมิตทิ สี่ �ำคัญ ของความเป็นวัยรุ่นจะสร้างพลังชีวิตทั้งในขณะนี้และตลอดชั่วชีวิตได้ อย่างไร ภาคที ่ 2 จะส�ำรวจถึงการเจริญเติบโตของสมองในช่วงวัยรุน่ เพือ่ ทีเ่ ราจะได้ใช้โอกาสของช่วงวัยนีใ้ ห้เป็นประโยชน์ทสี่ ดุ ภาคที ่ 3 จะส�ำรวจว่า ความสัมพันธ์มสี ว่ นก�ำหนดอัตลักษณ์ของเราอย่างไร และเราจะท�ำอย่างไร ในการสร้างความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งทั้งกับผู้อื่นและกับตัวเอง ในภาคที่ 4 เราจะเจาะลึกถึงวิธีดีที่สุดในการหาทางรับมือกับความ เปลี่ยนแปลงและความท้าทายของช่วงวัยรุ่น ด้วยการอยู่กับปัจจุบันขณะ โดยการตระหนักรู้ถึงสิ่งที่ก�ำลังเกิดขึ้นได้อย่างเต็มเปี่ยมในแง่มุมต่างๆ ของประสบการณ์ส่วนบุคคลและระหว่างบุคคล นอกจากนี้ผมยังจะให้ค�ำ แนะน�ำอย่างเป็นขัน้ ตอนทีส่ ามารถน�ำไปปฏิบตั ไิ ด้ในส่วนของเครือ่ งมือส่อง ใจ (mindsight tool) ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ แล้วว่าสามารถเสริมสร้างสมองและความสัมพันธ์ของเราได้ เนือ่ งจากคนเราแต่ละคนจะเรียนรูอ้ ย่างมีประสิทธิภาพได้ดว้ ยวิธกี าร ทีแ่ ตกต่างกันไป คุณจึงอาจเลือกอ่านหนังสือเล่มนีด้ ว้ ยวิธใี ดก็ตามทีด่ ที สี่ ดุ ส�ำหรับคุณเองหลังจากอ่านภาคที่ 1 จบแล้ว ถ้าคุณชอบเรียนรูด้ ว้ ยวิธกี าร ผสมผสานแนวคิดและข้อเท็จจริงเข้ากับวิทยาศาสตร์และเรื่องราวต่างๆ การอ่านหนังสือเล่มนีต้ ั้งแต่ต้นจนจบอาจเป็นวิธที ี่ดีที่สดุ แต่ถ้าคุณเรียนรู้ ได้ดีที่สุดด้วยการลงมือท�ำ ด้วยการปฏิบัติจริง อาจเริ่มต้นที่เครื่องมือ ส่องใจทั้งสี่ส่วน แล้วจึงค่อยกลับมาส�ำรวจเนื้อหาวิชาการและเรื่องเล่าใน ภายหลัง ผมเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อที่ว่า ถ้าผู้อ่านต้องการเจาะลึกใน หัวข้อใด ก็อา่ นส่วนนัน้ ก่อนได้ เช่น ถ้าอยากอ่านเรือ่ งเกีย่ วกับความสัมพันธ์ ให้อ่านภาคที่ 3 แต่ถ้าอยากอ่านเรื่องสมองก็ต้องอ่านภาคที่ 2 หากคุณ เรียนรู้ได้ดีที่สุดด้วยการอภิปรายโดยมีเรื่องเล่าเป็นตัวน�ำ ก็อาจอ่านภาคที่
AWbrainstorm1-150-2.indd 15
23/09/2016 16:36
44
เปิดสมองวัยว้าวุ่น
วินาทีนี้ ผมไม่แน่ใจว่าผมพร้อมที่จะเห็นเธอจากไปหรือเปล่า ในฐานะพ่อแม่ เราก็ได้แต่ท�ำให้ดที สี่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ มันอาจจะช่วย ให้รู้สึกดีขึ้นถ้ารู้ว่า อย่างน้อยมากกว่าหนึ่งในสามของพ่อแม่ ยังพยายาม ตั้งใจคิดทบทวนตนเองและพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกเพื่อเปลี่ยนความ ไม่มั่นคงในอดีตมาเป็นความมั่นคงในปัจจุบัน การด�ำรงอยู่อย่างรู้ตัวของเราในส่วนนี้จะช่วยน�ำการเชื่อมรวมมาสู่ ชีวติ ของลูก เพือ่ น�ำความมัน่ คงมาสูพ่ วกเขาเมือ่ เริม่ ออกห่างจากพ่อแม่และ ก้าวเข้าสู่วัยรุ่น เพื่อที่พวกเขาจะได้น�ำความปรารถนาดีและความเชื่อมโยง ที่พ่อแม่มอบให้ติดตัวไปด้วย นีค่ อื ของขวัญทีเ่ ราสามารถมอบให้แก่ลกู ๆ ของเรา และสามารถมอบ ให้ตัวเราเองเช่นกัน ความตัง้ ใจ ความพยายามทุกทางทีจ่ ะมีชวี ติ อยูแ่ ละเรียนรู ้ ความ พยายามทีจ่ ะรักจากภายในสูภ่ ายนอก คือสิง่ ทีพ ่ อ่ แม่สามารถบ่มเพาะ ได้ในบ้าน และให้ประสบการณ์ที่จะช่วยให้ลูกๆ ของเราเติบโตต่อไป อย่างงดงามเมื่อเข้าเป็นวัยรุ่นจนกระทั่งวัยผู้ใหญ่ ถ้าคุณเป็นวัยรุ่นที่ก�ำลังเตรียมตัวจะไปจากบ้าน หรือได้ออกมาอยู่ ด้วยตนเองแล้ว ผมหวังว่าคุณจะรู้ว่า ยังมีบ้านอันมั่นคงปลอดภัยรอคุณ กลับไปอยู่ทุกเมื่อที่ต้องการ หรือคุณอาจหาทางของตัวเองที่จะสร้างบ้าน ซึ่งเป็นฐานของคุณในอนาคต หนังสือเล่มนีจ้ ะใช้แนวทางจากภายในสูภ่ ายนอกในการสร้างฐานอัน มัน่ คงทีช่ ว่ ยเราในฐานะครอบครัวให้สามารถน�ำการเปลีย่ นแปลงและความ ท้าทายของช่วงวัยรุน่ มาเป็นพลังทีเ่ ราจะใช้กา้ วผ่านการเดินทางของชีวติ ครัง้ นี้
AWbrainstorm1-150-2.indd 44
23/09/2016 16:36
45 เครื่องมือส่องใจ
ก า ร เ ห็ น แ ล ะ ส ร้ า ง ท ะ เ ล ใ น จิ ต ใ จ
ใ
นส่วนเครือ่ งมือส่องใจนี ้ เราจะส�ำรวจวิธที คี่ ณ ุ สามารถ ใช้เสริมสร้างจิตใจ ท�ำให้สมองยืดหยุ่นมากขึ้นและ ฟืน้ จากความเจ็บป่วยได้เร็ว และท�ำให้ความสัมพันธ์ ของคุณดีขนึ้ ดังทีไ่ ด้เห็นในภาคที ่ 1 การเปลีย่ นแปลงในช่วง วัยรุ่นไม่ใช่สิ่งที่จะต้องผ่านไปให้พ้นๆ เพียงเท่านั้น แต่เป็น คุณสมบัติที่เราจะต้องยึดถือไว้เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอย่าง สมบูรณ์และมีความหมายในวัยผู้ใหญ่ ในส่วนแรกของแบบฝึกหัดนี ้ เราจะเน้น “การส่องใจ” (mindsight) ซึ่งหมายถึงความสามารถที่จะ “มองเห็น” หรือรูจ้ กั จิตใจอย่างแท้จริง นีค่ อื ค�ำทีผ่ มคิดขึน้ เมือ่ หลายปีมา แล้วขณะยังเรียนแพทย์ เมื่อพบว่าอาจารย์ของผมหลายคน ขาดความสามารถนี้ หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้ใช้ความสามารถ นี้กับคนไข้หรือลูกศิษย์ การเห็นเข้าไปในจิตใจ ความเห็นใจ ความมีเมตตา กรุณา เป็นสิ่งส�ำคัญในความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กบั คนไข้ ยิง่ เราสามารถ เข้าใจการท�ำงานของจิตใจเราได้ดเี พียงใด โลกภายในของเรา
AWbrainstorm1-150-2.indd 45
MINDSIGHT TOOLS #1
1
23/09/2016 16:36
MINDSIGHT TOOLS #1
46 ก็จะแข็งแรงมากขึน้ เท่านัน้ นีเ่ ป็นเพราะเมือ่ เรามุง่ ความสนใจ ไปที่จิตใจ ก็เป็นไปได้ที่สมองของเราจะสร้างวงจรเฉพาะขึ้น จิตใจเป็นสิ่งที่ “ยืดหยุ่นได้” อย่างแท้จริง เป็นสิ่งที่ เปลี่ยนแปลงได้ผ่านประสบการณ์ ทั้งยังสามารถเสริมสร้าง ความแข็งแรงและท�ำงานอย่างสอดประสานกันได้เสมอไม่ว่า จะอยู่ในช่วงอายุใด ทักษะการส่องใจประกอบด้วยทักษะพืน้ ฐานสามทักษะ ได้แก่ การหยั่งรู้ตนเอง เป็นความสามารถที่จะรู้สึกถึงชีวิต ของจิตใจภายในตัวคุณเอง การหยั่งรู้ตนเองช่วยให้คุณรู้ว่า ขณะนีค้ ณ ุ เป็นใคร ในอดีตคุณเป็นใคร และในอนาคตอันใกล้ คุณอยากจะเป็นใคร การหยัง่ รูต้ นเองเชือ่ มโยงอดีต ปัจจุบนั และอนาคตเข้าด้วยกัน ดังนั้นการหยั่งรู้ตนเองจึงรวมถึง ความสามารถในการเดินทางข้ามเวลาในจิตใจ ซึ่งจะช่วยให้ คุณรู้สึกได้อย่างสมบูรณ์และชัดเจนว่าตนเองคือใคร ความเห็นอกเห็นใจ เป็นความสามารถทีจ่ ะรูส้ กึ ถึงชีวติ ของจิตใจภายในบุคคลอืน่ ความเห็นอกเห็นใจนีช้ ว่ ยให้เราได้ “มองเห็น” จากมุมมองของผูอ้ นื่ และสามารถทีจ่ ะจินตนาการ ว่าถ้าเราเป็นเขาแล้วเราจะรู้สึกอย่างไร ความเห็นอกเห็นใจ คือประตูสู่ความเมตตากรุณา ทั้งยังเป็นกุญแจส�ำคัญ ที่จะน�ำไปสู่ปัญญาทางสังคม เพราะความเห็นอกเห็นใจช่วย ให้เราเข้าใจเจตนาและความจ�ำเป็นของผู้อื่น ดังนั้นเราจึง สามารถตอบสนองอย่างทีส่ ร้างความพอใจให้แก่ทงั้ สองฝ่าย การเชื่อมรวม เป็นความสามารถที่จะเชื่อมโยงส่วน ต่างๆ เข้าสูค่ วามเป็นหนึง่ เดียว การเชือ่ มรวมช่วยให้ความ สัมพันธ์ของเราเป็นรางวัลอันงดงาม เพราะเราเคารพในความ
AWbrainstorm1-150-2.indd 46
23/09/2016 16:36
47
AWbrainstorm1-150-2.indd 47
MINDSIGHT TOOLS #1
แตกต่างและส่งเสริมความเชือ่ มโยงทีเ่ ปีย่ มด้วยเมตตาในการ สือ่ สารระหว่างกัน การเชือ่ มรวมภายในตัวเราช่วยให้เราเชือ่ ม โยงความทรงจ�ำในแง่มมุ ต่างๆ เข้าด้วยกัน ทัง้ อดีต ปัจจุบนั และอนาคต ในวิถีทางที่สอดประสานกันจนเรามีเรื่องราว ของชีวิตที่บอกเล่าถึงความเป็นตัวเราได้อย่างสมเหตุสมผล นอกจากนี้การเชื่อมรวมยังท�ำให้เราได้เชื่อมโยงแง่มุมต่างๆ ของสมองและร่างกาย เพื่อที่เราจะมีสุขภาพแข็งแรงและท�ำ หน้าที่ได้อย่างดี การเชื่อมรวมน�ำไปสู่การประสานงานและ ความสมดุลระหว่างโลกภายในตัวเราและโลกระหว่างบุคคล ทั้งยังเป็นพื้นฐานส�ำหรับการใช้ชีวิตที่สมบูรณ์ ดังนัน้ ทักษะการส่องใจด้วยการหยัง่ รูต้ นเอง ความเห็น อกเห็นใจ และการเชื่อมรวม จึงช่วยให้เราสร้างสุขภาพที่ดี แก่ร่างกาย สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และสร้างจิตใจที่เข้มแข็ง สมองส่วนที่อยู่บนสุด คือ เปลือกสมอง (cortex) สร้าง “แผนที”่ หรือรูปแบบการส่งสัญญาณของเซลล์ประสาท ซึง่ ช่วยสร้างภาพจินตภาพหรือตัวแทนของสิง่ ต่างๆ บริเวณ ด้านหลังของเปลือกสมองสร้างแผนที่ของสิ่งที่เรามองเห็น บริเวณด้านข้างสร้างแผนทีข่ องสิง่ ทีเ่ ราได้ยนิ บริเวณด้านหน้า สร้างแผนที่หลายชนิด รวมทั้งแผนที่ของเหตุการณ์ที่ผ่านมา และแผนที่ของประสบการณ์ในอนาคตที่เป็นไปได้ ส�ำหรับส่วนที่อยู่หน้าสุดของบริเวณด้านหน้าที่เรียก ว่า เปลือกสมองส่วนหน้าสุด (prefrontal cortex) จะสร้าง แผนที่ของจิตใจ ซึ่งท�ำให้เราสามารถรู้สึกและจินตนาการถึง ความรู้สึก ความคิด และความทรงจ�ำของผู้อื่น ตลอดจนแง่ มุมอื่นๆ ในชีวิตของเรา ผมเรียกส่วนนี้ว่า “แผนที่ส่องใจ” เพราะแผนที่นี้ช่วยให้เราได้เห็นว่าคนอื่นๆ ก็มีจิตใจเหมือน
23/09/2016 16:36
MINDSIGHT TOOLS #1
72 เคยกับวิธีการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้นจากความ ยุ่งเหยิงและความไม่ยืดหยุ่นในชีวิตขณะนี้
การส่องใจเสริมสร้างจิตใจ สมอง และความสัมพันธ์ของเรา การได้ฝึกตามวิธีที่เสนอไว้ในหนังสือเล่มนี้ จะเป็นการสร้าง ทักษะการส่องใจเพื่อให้เราพัฒนาการหยั่งรู้ตนเอง ความ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และการเชื่อมรวมขึ้นมาในชีวิตของเรา เนือ่ งจากจิตใจของเราอยูท่ งั้ ภายในตัวเราและระหว่าง เรากับผูอ้ นื่ นัน่ คือ จิตใจเป็นทัง้ สิง่ ทีอ่ ยูใ่ นตัวและเป็นความ สัมพันธ์ การเรียนรูเ้ กีย่ วกับสมองของเราและความสัมพันธ์ ของเราจึงเป็นพื้นฐานที่จะเสริมสร้างจิตใจ
AWbrainstorm1-150-2.indd 72
23/09/2016 16:36
2 Part
ส ม อ ง
เ
คทีย์ซึ่งเป็นเด็กชั้นมัธยมฯ ปลายวัย 17 ปี ดูตื่นตระหนกขณะ เจ้าหน้าทีพ่ ยาบาลก�ำลังล้างท้องเธอในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลท้อง ถิ่นหลังจากดื่มอย่างหนักมาในคืนนี้ เธองอตัวด้วยความเจ็บปวด จากการอาเจียนเพราะฤทธิ์ยาที่ท�ำให้อาเจียน ทั้งยังคงมึนเมาจากเตกีลา เจ็ดช็อตและไวน์สี่แก้วในงานเลี้ยงฉลองหยุดภาคฤดูร้อนเมื่อคืนนี้ อย่าง น้อยนี่คอื เรื่องเล่าที่เกิดขึ้นตามที่พ่อแม่ฟังมาจากเพื่อนของเคทีย์อีกทีหนึ่ง ส�ำหรับตัวเคทีย์เอง เธอจ�ำอะไรไม่ได้มากนักว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในคืนนั้น ปรากฏว่าเคทีย์เป็นคนน�ำสุราเข้าไปในงานปาร์ตี้เอง เธอแบ่งกัน ดื่มกับเพื่อนๆ แถมยังคะยั้นคะยอเจ้าภาพซึ่งเป็นลูกสาวของผู้อ�ำนวยการ โรงเรียนให้รว่ มดืม่ ด้วย เคทียถ์ กู ไล่ออกจากโรงเรียนในสัปดาห์ตอ่ มา และ
AWbrainstorm1-150-2.indd 73
23/09/2016 16:36
74
เปิดสมองวัยว้าวุ่น
สัปดาห์นนั้ เองเธอก็เริม่ เข้ามารับการบ�ำบัดเป็นครัง้ แรก เมือ่ ได้คยุ กันถึงสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ผมจึงรูว้ า่ เคทียว์ างแผนทีจ่ ะ “สนุกสุดเหวีย่ ง” ในงานเลีย้ ง แม้วา่ จะจัดขึ้นที่บ้านของผู้อ�ำนวยการโรงเรียนก็ตาม เคทีย์รู้ดีว่ามันฟังดู “ไม่เข้าท่า” เพียงใด “แล้วหนูคดิ อะไรก่อนไปงานปาร์ต”ี้ ผมถาม เธอเบือนหน้าไปทางอืน่ แล้วยิม้ อายๆ “คุณหมอคิดว่าจะเกิดอะไรขึน้ หลังงานปาร์ตลี้ ะ่ คะ เมือ่ โรงเรียน มีกฎว่า ‘ไม่อนุญาตเด็ดขาด’ ให้ดื่มสุราในกิจกรรมเกี่ยวกับโรงเรียน” เคทียม์ องหน้าผม ดวงตาเบิกกว้าง สบตากับผม ฉีกยิม้ น้อยๆ กว้างขึน้ ซึง่ หมายความว่าเธออาจกังวลมากขึน้ หรือเธอก�ำลังรูส้ กึ ขบขันกับสถานการณ์ ที่เกิดขึ้น “เอาละ...” เธอเริม่ พร้อมระบายยิม้ ทัว่ ใบหน้า “หนูคดิ อยูก่ อ่ นแล้ว” เธอหยุดแล้วมองไปรอบห้องราวกับว่ามีใครแอบฟังอยู ่ ก่อนจะหันมาหาผม อีกครัง้ “หนูรวู้ า่ จะเกิดอะไรขึน้ หนูวา่ นะ แต่ความสนุกจากการได้เมาเละ ทีบ่ า้ นของผูอ้ �ำนวยการโรงเรียนนี ่ มันมากเกินกว่าจะปฏิเสธนะคะ” ดวงตา ของเธอแวววาวด้วยประกายแห่งความยินดี การที่เคทีย์ยอมรับว่าเธอได้ “วางแผน” สิ่งที่เกิดขึ้นในงานปาร์ตี้ แม้จะรูผ้ ลลัพธ์ทอี่ าจเกิดขึน้ สะท้อนถึงผลการศึกษาเมือ่ เร็วๆ นีท้ วี่ า่ วัยรุน่ ตระหนักถึงความเสี่ยงของพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายอยู่แล้ว ในฐานะ วัยรุ่น เรามักไม่ค�ำนึงถึงผลในทางลบจากการกระท�ำของเรา แต่แม้จะรู้ ผลเสียเหล่านั้น เราก็ยังมุ่งเน้นแต่ผลที่พึงพอใจจะได้รับจากประสบการณ์ นัน้ มากกว่า ได้แก่ ความเร้าใจ ประสบการณ์ทมี่ รี ว่ มกัน ความสนุก ความ ตื่นเต้นจากการได้ละเมิดกฎเกณฑ์ ตอนนีเ้ รารูแ้ ล้วว่า การมุง่ เน้นแต่ผลอันพึงพอใจเกิดจากการเปลีย่ นแปลง โครงสร้างและการท�ำงานของสมองในช่วงวัยรุ่น
AWbrainstorm1-150-2.indd 74
23/09/2016 16:36
สมอง
75
โ ด พ า มี น ก า ร ตั ด สิ น ใ จ แ ล ะ แ ร ง ผ ลั ก ดั น สู่ ร า ง วั ล การทีเ่ คทียม์ งุ่ ความสนใจไปแต่ความพึงพอใจของการกระท�ำนัน้ จริงๆ แล้ว เป็นผลของแรงผลักดันเพื่อรางวัลที่เพิ่มขึ้นในสมองของวัยรุ่น สมองคือแหล่งรวมเซลล์ที่สื่อสารกันด้วยสารเคมีที่เรียกว่า สาร สื่อประสาท (neurotransmitter) ในช่วงวัยรุ่นวงจรประสาทที่ใช้สารสื่อ ประสาทโดพามีน (dopamine) จะมีการท�ำงานมากขึ้น การหลั่งสาร โดพามีนจะเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงวัยรุ่นระยะแรก และขึ้นสู่ระดับสูงสุด ในช่วงวัยรุน่ ระยะกลาง ท�ำให้วยั รุน่ รูส้ กึ สนใจประสบการณ์อนั น่าตืน่ เต้นและ ความรู้สึกเบิกบานใจมากขึ้น งานวิจยั ยังมีวา่ โดยพืน้ ฐานแล้วโดพามีนจะมีระดับต�ำ ่ ซึง่ ช่วยอธิบาย ว่าเพราะเหตุใดวัยรุ่นจึงบอกว่าตนรู้สึก “เบื่อ” ถ้าไม่ได้มีส่วนร่วมใน กิจกรรมใหม่ๆ ที่มีการกระตุ้น การหลั่งโดพามีนที่เพิ่มขึ้นตามธรรมชาติท�ำให้วัยรุ่นมีความรู้สึกมี ชีวติ ชีวาเมือ่ มีอะไรให้ท�ำอยูเ่ สมอ นอกจากนีย้ งั อาจท�ำให้วยั รุน่ มุง่ ให้ความ สนใจแต่รางวัลซึ่งพวกเขามั่นใจว่าจะได้รับแน่ๆ แต่ไม่สังเกตเห็นหรือให้ คุณค่ากับความเสี่ยงและผลเสียที่อาจเกิดขึ้น แรงผลักดันเพือ่ รางวัลทีเ่ พิม่ ขึน้ ในสมองของวัยรุน่ เห็นได้ชดั เจนจาก การแสดงออกที่ส�ำคัญสามประการ 1 มีความหุนหันพลันแล่นมากขึน้ อันเป็นพฤติกรรมทีไ่ ม่ได้ไตร่ตรอง อย่างรอบคอบ เป็นการกระท�ำโดยไม่ยงั้ คิด ซึง่ หากหยุดคิดสักนิดแล้ว เราจะ สามารถคิดถึงทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากแรงผลักดันที่ขับเคลื่อนโดย โดพามีน ถ้าความคิดใดเปลี่ยนไปเป็นการกระท�ำทันทีโดยไม่ไตร่ตรอง
AWbrainstorm1-150-2.indd 75
23/09/2016 16:36
คู มือช วยฟ นฝ าช วงวัยที่ ร อ น ที่ สุ ด ในชีว�ต
เป ด สมอง ES SE N CE
Emotional Spark อารมณ อันพลุ งพล าน
Social Engagement
Creative Explorations การแสวงหาอย างสร างสรรค
นพ. ประเสร�ฐ ผลิตผลการพิมพ
THE POWER AND PURPOSE
Novelty
ความแปลกใหม
OF THE TEENAGE BRAIN
การมีส วนร วมทางสังคม
“เด็กเล็กจะเห็นพ อแม เสมือนเทพเจ า พูดอะไร ก็ถูกหมดเสมอ แต เมื่อถึงวัยรุ น วัยรุ นทุกคน ในโลกจะพบว าพ อแม เป นคนธรรมดา มีผิดมีถูก มีดีมีไม ดี พวกเขาก็มักจะเช�่อฟ งน อยลง และ หากสายสัมพันธ ไม ดีก็อาจจะลามไปจนถึงระดับ ผิดหวังหร�อแม กระทัง่ ดูหมิน่ แต ถา สายสัมพันธ ดี เขาก็จะยังรัก เคารพ และต องการพ อแม เสมอ”
BRAINSTORM
สาระสำคัญ ของวัยรุ น
“วัยรุ นเป นวัยที่พัฒนาตนเองไปตามการตัดสิน ของผู อื่น ที่น าห วงคือ นี่เป นช วงช�ว�ตสุดท าย ก อนที่เขาจะกลายเป นผู ใหญ เหมือนดักแด ที่กลายเป นผีเสื้อ ซ�่งอาจจะเปลี่ยนแปลงอะไร ไม ค อยได อีก…เพราะอะไรจ�งเปลี่ยนแปลงไม ได อีก…หนังสือเล มนี้ให คำอธ�บายไว …”
มีลูกวัยรุน ตองอาน
วั ย ว า วุ น
BRAINSTORM THE POWER AND PURPOSE
OF THE TEENAGE BRAIN
หมวดจ�ตว�ทยา ราคา 290 บาท ISBN 978-616-7767-73-4
Daniel J. Siegel, M.D. 290.-
อิฏฐพร ภู เจร�ญ แปล คำนำเสนอโดย นพ. ประเสร�ฐ ผลิตผลการพิมพ