ดนตรีแห่งชีวิต (ฉบับปรับปรุง)

Page 1

ดนตรี แห่งชีวิต สุ ร พ ง ษ์  บุ น น า ค

ชีวประวัติของ ๖๓ นักดนตรีที่สําคัญของโลก ครบถ้ วนที่สุด จากยุคบาโรก จนถึงโรแมนติกและยุคคลาสสิกใหม่


หนังสือ ดนตรีแห่งชีวิต (ฉบับปรับปรุง) ผู้เขียน สุรพงษ์ บุนนาค © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที ่ ๑ พ.ศ. ๒๔๙๔ (ส�ำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์) พิมพ์ครั้งที ่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๔ (ส�ำนักพิมพ์วลี) พิมพ์ครั้งที ่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๐ (ส�ำนักพิมพ์มิ่งมิตร) พิมพ์ครั้งที ่ ๔ พ.ศ. ๒๕๔๘ (ส�ำนักพิมพ์สารคดี)

พิมพ์ครั้งที ่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๓ จ�ำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม ราคา ๙๙๙ บาท ข้อมูลบรรณานุกรม สุรพงษ์ บุนนาค. ดนตรีแห่งชีวิต.--พิมพ์ครั้งที่ ๕.--นนทบุรี : สารคดี, ๒๕๖๓. ๗๙๒ หน้า : ภาพประกอบ. I. คีตกวี--ชีวประวัติ. II . นักดนตรี--ชีวประวัติ. III . ดนตรี--ประวัติและวิจารณ์. ๙๒๗.๘ ISBN 978-616-465-033-6

คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : นฤมล สุวรรณอ่อน  ออกแบบปก/รูปเล่ม : วันทนี เจริญวานิช  พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ แยกสี/เพลต  เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์  ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐ จัดพิมพ์  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี) จัดจ�ำหน่าย  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุร ี ๒๒ ถนนนนทบุร ี (สนามบินน�ำ้ ) ต�ำบลบางกระสอ  อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐  โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ (อัตโนมัติ)  โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อำ� นวยการ : สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อำ� นวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�ำ้ มันถั่วเหลือง  ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�ำ้ มันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม


จากสํานักพิมพ์ หากถามชื่อนักดนตรีเอกของโลกที่ท่านรู้จัก - โมซาร์ท เบโทเฟน โชแปง คงเป็น ชื่อที่ท่านพอจ�ำได้ แต่ความจริงนักดนตรีเอกของโลกมิได้มีเพียงเท่านี้ หนังสือ ดนตรีแห่งชีวิต เล่มนี้ คุณสุรพงษ์ บุนนาค ได้เขียนถึงประวัติชีวิต นักดนตรีเอกทีส่ ำ� คัญของโลกไว้ถงึ  ๖๓ ท่าน ร้อยเรียงจากดนตรียคุ บาโรก คลาสสิก โรแมนติก และเข้าสู่ดนตรีในศตวรรษที ่ ๒๐ นับเป็นผลงานเขียนในแนวนีท้ สี่ มบูรณ์ทสี่ ดุ เท่าทีเ่ คยเขียนกันมาในบ้านเรา ผูเ้ ขียนได้ถา่ ยทอดทีม่ าแห่งเสียงเพลงอมตะทีช่ กั น�ำให้ผฟู้ งั จินตนาการไปถึง ท้องทุง่  หุบเขา สงคราม ความตาย หรือความรัก ซึง่ ล้วนกลัน่ ออกมาจากท�ำนอง ชีวิตอันเข้มข้นของผู้ประพันธ์ และหลายต่อหลายครั้งก็สวนทางอย่างสิ้นเชิงกับ ความงดงามที่ตนสร้างสรรค์ขึ้น ความเป็นไปของชีวิตนักดนตรีเอกเหล่านี้จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวอันน่า ประทับใจและซาบซึ้ง ที่ผู้อ่านจะไม่มีวันลืม หนังสือเล่มนีจ้ ดั พิมพ์ครัง้ แรกปี ๒๔๙๔ และได้รบั การจัดพิมพ์มาอีกหลาย ครั้ง ซึ่งการจัดพิมพ์ครั้งนี้เป็นฉบับปรับปรุงจากการจัดพิมพ์เมื่อปี ๒๕๔๘ โดย ส�ำนักพิมพ์สารคดีได้เพิม่ ภาพบุคคลและสถานทีซ่ งึ่ เกีย่ วข้องเพือ่ ให้อรรถรสการอ่าน มีชวี ติ ชีวาขึน้   รวมทัง้ ปรับปรุงเรือ่ งการถอดเสียงจากภาษาต่างประเทศให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน  อย่างไรก็ตามส�ำหรับชือ่ นักดนตรี ทีค่ นส่วนใหญ่คนุ้ เคย เช่น โชแปง เบโทเฟน  ส�ำนักพิมพ์ได้เลือกใช้การสะกดตาม ความนิยมแทน  ส�ำหรับชื่อเมืองหลวง เมืองส�ำคัญ และชื่อประเทศ ได้ยึดตาม พจนานุกรมชือ่ ภูมศิ าสตร์สากล ส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา เอกสารฉบับปรับปรุง ปี ๒๕๖๐ ประกอบกับหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตในการถอดเสียง ส�ำนักพิมพ์สารคดีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดพิมพ์อย่างประณีตครั้งนี้จะมี ส่วนช่วยอนุรักษ์ผลงานประพันธ์อันงดงามและทรงคุณค่าที่คุณสุรพงษ์  บุนนาค ได้ฝากไว้ ให้โลดแล่นมีชีวิตสืบต่อไปในบรรณพิภพ ขอเชิญท่านพลิกอ่านตัวโน้ตแห่งความสุขและความทุกข์นั้นได้ ณ บัดนี้ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ด น ต รี แ ห่ ง ชี วิ ต 5


ส า ร บั ญ ประวัติดนตรีตะวันตกโดยสังเขป ที่มาของดนตรี บาค ผู้น�ำวิถีแห่งยุคบาโรก แฮนเดิล ผู้เขียนเพลงศาสนาอมตะ กลุค นักปฏิรูปอุปรากร ไฮเดิน ผู้เบิกทางซิมโฟนี โมซาร์ท อัจฉริยบุคคล เบโทเฟน นักปฏิวัติ ชูเบิร์ท คนอาภัพ ปากานีนี ยอดนักไวโอลิน เวเบอร์ ผู้เบิกทางอุปรากรโรแมนติก แบร์ลียอซ ผู้เขียนซิมโฟนีรัก ชูมันน์ ผู้แพ้ชีวิต ลิสซท์ นักเปียโนเอก โชแปง คนอารมณ์อ่อนไหว เม็นเดลส์โซน ศิลปินเศรษฐี โรสซีนี, โดนีเซตตี, เบลลีนี ผู้นําอุปรากรเบลกันโต ไมเออร์เบร์, เกรูบีนี, โอแบร์ ผู้ปลุกอุปรากรฝรั่งเศส ว้ากเนอร์ ผู้เปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยอุปรากร แวร์ด ี ยักษ์ใหญ่แห่งอิตาลี บรามส์ นักแต่งเพลงจารีตนิยม สเทราสส์ เจ้าเพลงวอลซ์ ออฟเฟนบาค, ซัลลิแวนและกิลเบิร์ต, เลฮาร์ ผู้สร้างความหรรษา 8 ด น ต รี แ ห่ ง ชี วิ ต

๑๑ ๑๘ ๒๔ ๔๔ ๕๘ ๗๐ ๘๘ ๑๔๖ ๑๗๒ ๒๐๐ ๒๑๔ ๒๒๔ ๒๔๒ ๒๕๖ ๒๗๒ ๓๐๔ ๓๑๘ ๓๓๒ ๓๔๔ ๓๗๖ ๓๙๐ ๔๐๔ ๔๗๖


ว็อล์ฟ ผู้ฟั่นเฟือนเพราะความผิดหวัง กูโน, บีเซ, มาเซอเน, แซ็ง-ซ็องส์ เสียงจากปารีส กลิงคา, บาลาคีเรฟ, โบโรดิน ผู้นำ� วิถีดนตรีรัสเซีย มุสซอร์กสกี ผู้เบิกทางดนตรีแนวใหม่ ริมสกี-คอร์ซาคอฟ นายทหารศิลปิน ไชคอฟสกี ผู้เศร้าสร้อย สเมทานา, ดวอชาค, ซิเบลิอุส, กริ๊ก, ยานาเชค กลุ่มปิตุภูมินิยม ฟร็องก์ คนสมถะ ปุชชีน ี ผู้เขียนอุปรากรอมตะ บรุคเนอร์ คนซื่อ มาเลอร์ ผู้ลาโลกด้วยซิมโฟนี ชเตราสส์ ผู้เขียนอุปรากรต้องห้าม เดอบูว์ซี อิมเพรสชันนิสต์ ราแวล ผู้มุ่งมั่น เชินแบร์ค ผู้แสวงหาแนวทางใหม่ สตราวินสกี ผู้ก่อความวุ่นวายด้วยบัลเลต์ ดีลิอัส, เอลการ์ เสียงจากอังกฤษ รัชมานีนอฟฟ์, สเครียบิน ศิลปินหน้าตาย และผู้หลงจินตภาพ โปรโคฟีฟ, โชสตาโควิช นักแต่งเพลงโซเวียต คอปแลนด์, แม็กดาวเอลล์ เสียงจากอเมริกา บาร์ท็อค ผู้รักเสรีภาพ

๔๙๔ ๕๐๒ ๕๒๒ ๕๓๖ ๕๔๘ ๕๗๐ ๕๙๘ ๖๒๘ ๖๓๖ ๖๕๐ ๖๖๐ ๖๗๐ ๖๘๒ ๖๙๒ ๗๐๒ ๗๑๒ ๗๒๔ ๗๓๘ ๗๕๒ ๗๖๔ ๗๗๔

ภาคผนวก

๗๘๗

ด น ต รี แ ห่ ง ชี วิ ต 9


ยุคกลาง (Medieval) ค.ศ. ๔๕๐-๑๔๕๐

ดนตรีในยุคนี้แบ่งเป็นดนตรีที่เป็นเพลงสวดในโบสถ์ ดนตรีเพื่อประกอบ พิธีกรรม ซึ่งไม่มุ่งส�ำหรับการฟังเพื่อความบันเทิง กับดนตรีพื้นบ้านที่มุ่ง เน้นความสนุก เน้นการร้องชัดเจน มีดนตรีประกอบจังหวะ

ยุคเรอเนซองซ์ (Renaissance Period) ค.ศ. ๑๔๕๐-๑๖๐๐

ดนตรีในยุคนี้ยังคงเป็นดนตรีพิธีกรรม เน้นการร้องแต่มีเครื่องดนตรีที่ สามารถบรรเลงท�ำนองประกอบ เช่น ลูต รีคอร์เดอร์ ประกอบด้วย เริ่ม มีการเล่นดนตรีเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยใช้เครื่องดนตรีตระกูลเดียวกัน (เช่น เครื่องสาย) หรือต่างตระกูล (เช่นเครื่องสายกับเครื่องเป่า)

12 ด น ต รี แ ห่ ง ชี วิ ต


ยุคบาโรก (Baroque Period) ค.ศ. ๑๖๐๐-๑๗๕๐

ยุคนี้เริ่มขึ้นพร้อมกับการก�ำเนิดของอุปรากรใน ค.ศ. ๑๖๐๐ และสิ้นสุด ลงในปี ๑๗๕๐ เมือ่ บาคเสียชีวติ   แม้ดนตรีในยุคนีจ้ ะเป็นดนตรีเพือ่ การฟัง มากขึน้  แต่สว่ นใหญ่กย็ งั อยูบ่ นพืน้ ฐานของเพลงสวด และยังให้ความส�ำคัญ กับเนื้อร้องมาก  นักดนตรีส่วนมากได้รับการอุปถัมภ์เลี้ยงดูจากโบสถ์ ราชส�ำนัก และผูม้ เี งิน  ดังนัน้ บทเพลงทีเ่ ขียนขึน้ จึงเป็นการเขียนเพือ่ อาชีพ ไม่ใช่จากแรงบันดาลใจภายในของตัวเอง ไม่วา่ จะเป็นเพลงเพือ่ ใช้ในศาสนพิธี เพื่อให้ความส�ำราญหรือเฉลิมฉลองโอกาสพิเศษในราชส�ำนัก ในยุคนี้ยังไม่มีการบรรเลงดนตรีเพื่อการฟังของสามัญชนเช่น ในปัจจุบัน แต่มีโรงอุปรากรเชิงพาณิชย์แห่งแรกเกิดขึ้นที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลีในปี ค.ศ. ๑๖๓๗ นักดนตรีผู้มีชื่อเสียงแห่งยุคได้แก่ เทเลมันน์ (Telemann) วีวัลดี (Vivaldi) แฮนเดิล (Handel) และบาค (Bach) ป ร ะ วั ติ ด น ต รี ต ะ วั น ต ก โ ด ย สั ง เ ข ป 13


Johann Sebastian Bach


บาค ผู้ นํ าวิ ถี แ ห่ งยุ ค บาโรก


ยุคบาโรก (baroque) นั้นตกอยู่ในช่วงระยะ ปี ค.ศ. ๑๖๐๐-๑๗๕๐ (พ.ศ. ๒๑๔๓-๒๒๙๓)  เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเปลี่ยนไปจากแนวเดิมที่เป็นมา  เพลงศาสนาตามแบบดั้งเดิมที่เล่นอยู่ ตามโบสถ์เริ่มจะหมดสิ้นไป  มีการเขียนเพลงศาสนาตามแนวใหม่ขึ้นมาแทน   มีการแบ่งโน้ตดนตรีออกเป็นบาร์ มีจังหวะจะโคนที่ เน้นยิ่งขึ้น เป็นแนวทางซึ่งก่อให้เกิดเพลงอย่างโซนาตา,  ซิมโฟนี, คอนแชร์โต, โอเวอร์เชอร์ เป็นต้น

26

ด น ต รี แ ห่ ง ชี วิ ต


นีก่ เ็ ป็นระยะทีค่ นชัน้ กลางผูม้ ฐี านะเริม่ เข้ามาเกีย่ วข้องกับดนตรีมาก ขึ้น  ดนตรีเริ่มแพร่ออกไปจากโบสถ์และราชส�ำนักสู่คนชั้นกลางที่มีเงิน ผูต้ อ้ งการความรืน่ รมย์จากสิง่ นี ้ และก่อให้เกิดการแสดงดนตรีตอ่ ประชาชน ขึน้   บรรดานักดนตรีและนักแต่งเพลงต่างก็สนองความต้องการในด้านนี ้ โดย จัดตั้งโรงเรียนสอนดนตรี แล้วตามร้านกาแฟก็จัดให้มีการแสดงดนตรีขึ้น อีกด้วย โยฮันน์ เซบัสเทียน บาค (Johann Sebastian Bach) ผู้จะกลาย เป็นนักแต่งเพลงยิง่ ใหญ่ผหู้ นึง่ ของโลก ได้เกิดมาในระหว่างยุคนี ้ เมือ่ วันที่ ๒๑ มีนาคม ๑๖๘๕ (พ.ศ. ๒๒๒๘) ที่เมืองไอเซนัค  เมืองนี้อยู่ในแคว้น ทูรนิ เจียทีอ่ ยูถ่ ดั ขึน้ ไปทางเหนือของแคว้นบาวาเรียแห่งเยอรมนี  ไอเซนัค มีแม่นำ�้ อันน่าดูสองสาย มีปา่ อันร่มรืน่  แล้วก็มปี ราสาทวาร์ทบวร์คอันขึน้ ชือ่ ว่าเป็นแหล่งที่พวกมินสเทรลซึ่งเป็นนักดนตรีร่อนเร่ชอบมาพักกันอยู่ แถวนีต้ งั้ แต่ศตวรรษที ่ ๑๒  ต่อมาในปี ๑๕๒๑ มาร์ทนิ  ลูเทอร์ ผูน้ ำ� ส�ำคัญ คนหนึ่งในทางศาสนาของยุคนั้น โดยเป็นผู้จัดตั้งนิกายลูเทอแรนขึ้น ในดินแดนทีจ่ ะกลายเป็นประเทศเยอรมนี ก็มาซ่อนตัวอยูท่ วี่ าร์ทบวร์คเพือ่ ลีภ้ ยั จากการแตกแยกทางศาสนา เพราะลูเทอแรนเป็นสาขาหนึง่ ของนิกาย โปรเตสแตนต์ที่พวกนับถือศาสนานิกายคาทอลิกต่างต่อต้าน เมื่อบาคมีอายุได้ ๘ ขวบ เขาได้เข้าเรียนในโรงเรียนละตินของ เมืองนี้ซึ่งพี่ชายของเขาสองคนได้เรียนอยู่ก่อนแล้ว  บาคเรียนหนังสือได้ เป็นอย่างดีและมีน�้ำเสียงที่เหมาะแก่การร้องเพลง เมือ่ เอลิซาเบ็ทมารดาของเขาสิน้ ชีวติ ลงในปี ๑๖๙๔ หลังจากบาค มีอายุได้ ๙ ขวบ อัมโบรซิอุสบิดาของเขาก็แต่งงานใหม่ในอีก ๘ เดือน ต่อมา แต่อัมโบรซิอุสก็สิ้นชีวิตลงอีกในเดือนกุมภาพันธ์ ทิ้งลูกห้าคนไว้ ในความดูแลของเมียทีเ่ ป็นม่าย ซึง่ เป็นภาระหนักอยู ่  แต่คริสท็อฟลูกชาย คนหัวปีผู้มีอายุได้ ๒๓ ก็รับเอา โยฮันน์ เซบัสเทียน กับ โยฮันน์ ยาค็อบ น้องชายไปอยูด่ ว้ ย เพือ่ ผ่อนเพลาภาระแก่ผทู้ ตี่ อ้ งเลีย้ งดูลกู ๆ ของอัมโบรซิอุส  คริสท็อฟขณะนั้นท�ำงานเป็นนักออร์แกนอยู่ในเมืองโอร์ดรุฟที่อยู่

บ า ค

27


Franz  Joseph  Haydn


ไฮเดิน ผู ้ เบิ กทางซิ ม โฟนี


ซิมโฟนีนั้นอาจเขียนขึ้นได้ด้วยความมุ่งหมายต่าง ๆ กัน  เป็นสิ่งที่ยังความเบิกบานหรือความวุ่นวายสับสน  ความสะเทือนใจอันลึกซึ้ง หรือเป็นค�ำท�ำนายทายทัก อันใดก็ได้  วงดนตรีซิมโฟนีอาจประกอบด้วย ผู้เล่นตั้งแต่ ๒๐ คนขึ้นไปจนถึง ๑๒๐  อาจมีเพียงตอนหนึง่ หรือห้าตอนก็ได้ อาจกินเวลาเล่น ตัง้ แต่ ๑๐ นาที ไปจนถึง ๑ ชั่วโมงครึ่งได้  แล้วก็ยังคงเรียกว่าซิมโฟนี แนวความคิดเกี่ยวกับซิมโฟนีนั้นไม่มีที่ยุติ หรือข้อจ�ำกัดอันใด แล้วกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่าง ๆ  ในต�ำราว่าด้วยการแต่งเพลงนั้นก็ไม่สู้จะมีประโยชน์นัก  เพราะการพยายามวางหลักเกณฑ์ใด ๆ ไว้  ไม่อาจติดตามความก้าวหน้าของซิมโฟนีได้ทัน

72

ด น ต รี แ ห่ ง ชี วิ ต


แล้วชาวออสเตรียผู้หนึ่งซึ่งได้เขียนซิมโฟนีไว้ถึง ๑๐๔ เพลงก็ได้ บรรยายความคิด ความรูส้ กึ  ความจับใจของตนออกมาในดนตรี จนในทีส่ ดุ ท�ำให้เขาได้ชอื่ ว่าเป็นผูเ้ บิกทางหรือผูใ้ ห้กำ� เนิดแก่ซมิ โฟนี นัน่ ก็คอื  ฟรันทซ์ โยเซฟ ไฮเดิน (Franz Joseph Haydn) ผู้เกิดมาในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๑๗๓๒ (พ.ศ. ๒๒๗๕) ทีเ่ มืองโรเรา ซึง่ อยูต่ รงพรมแดนออสเตรีย-ฮังการี ไฮเดินเป็นนักแต่งเพลงที่มีคนยกย่องนับถือกันอยู่มากที่สุดในยุค ของตน  ในช่วงชีวิตอันยืนยาวถึง ๗๗ ปีนั้น เขาได้แสดงแนวความคิด ใหม่ ๆ ในทางดนตรีออกมา  เขาเป็นคนนับถือศาสนา แต่กม็ ไิ ด้เคร่งเกินไป เป็นคนกล้า แต่กม็ ไิ ด้กล้าจนเกินไปเช่นกัน  รูปร่างหน้าตาของเขานัน้ มิได้ ชวนให้ผู้ที่ได้เห็นเกิดความประทับใจอันใด เพราะเป็นคนร่างเตี้ย ผิวคล�้ำ แถมหน้ายังมีรอยพรุนด้วยฝีดาษ ขาก็สั้น จมูกงุ้ม เป็นเหตุให้เขาไม่ชอบ ถ่ายรูป เพราะไม่อยากแสดงลักษณะอันไม่น่าดูของตนให้เห็นประจักษ์ไว้ เขาเป็นคนขยันขันแข็ง อารมณ์ดี ใจกว้าง มีอารมณ์ขัน และด�ำเนินชีวิต คู่ของเขาไปในฐานะสามีที่ดี เขามีชีวิตอยู่ในสมัยที่เจ้านายใหญ่โตเป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์แก่ นักดนตรีด้วยการจ้างไว้เป็นประจ�ำ และเขาได้ท�ำงานอยู่กับราชตระกูล เอสเทอร์ฮาซียอ์ ยูเ่ ป็นส่วนใหญ่ของชีวติ   เขาเคยสนทนาอย่างเป็นกันเอง กับจักรพรรดิ กษัตริย์ และเจ้าชายหลายต่อหลายองค์ แล้วก็ได้รับค�ำ ยกย่องชมเชยจากคนเหล่านั้น แต่ก็มิได้สมัครใจจะมีความคุ้นเคยเช่นนั้น อยูเ่ สมอไป เนือ่ งจากยินดีทจี่ ะท�ำงานของตนอยูต่ ามล�ำพังมากกว่า ครัง้ หนึง่ นายจ้างของเขา-เจ้าชายนิโคลาส เอสเทอร์ฮาซีย ์ ที ่ ๒ ได้เข้ามาแทรกแซง ระหว่างที่ไฮเดินซ้อมวงดนตรี และเขาบอกว่า “ใต้ฝ่าพระบาท นี่เป็นเรื่อง ของผม” เป็นเหตุให้นายจ้างของเขาผละไปด้วยความโมโห แต่ก็มิได้ ท�ำอะไรเกี่ยวแก่ไฮเดินในภายหลัง เพราะถ้าหากเป็นเช่นนั้นไฮเดินก็จะ ลาออกไปเลย ยังมีเจ้านายอื่น ๆ ที่ต้องการจะว่าจ้างนักดนตรีและนักแต่ง เพลงผู้ยิ่งใหญ่นี้ไว้เสมอ

ไ ฮ เ ดิ น

73


Wolfgang  Amadeus  Mozart


โมซาร์ท อั จฉริ ยบุ คคล


เมื่อเอ่ยถึงชื่อ ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ท  (Wolfgang Amadeus Mozart) โลกย่อมรู้จักเขา ในฐานะผู้มีความสามารถในทางดนตรีอย่างยากที่จะ หาใครเปรียบ  เมื่ออายุเพียง ๕ ขวบเขาสามารถ เล่นคลาเวียร์ได้อย่างน่าพิศวง แล้วเริ่มแต่งเพลง เมื่ออายุได้ ๖ ขวบ จากนั้นก็ท�ำให้ยุโรปเกิดความชื่นชม ในการแสดงฝีมือทางดนตรีของเขาเมื่ออายุ ๖ ขวบเศษ  เมื่อออกเดินทางไปแสดงดนตรีในประเทศต่าง ๆ

90

ด น ต รี แ ห่ ง ชี วิ ต


เขาเป็นนักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคของตน มีความสามารถ ยอดเยี่ยมทั้งในด้านอุปรากร ซิมโฟนี คอนแชร์โต และเพลงชนิดอื่น ๆ อีกหลายอย่าง นอกจากนี้ยังเป็นนักเล่นออร์แกนและเปียโนชั้นเยี่ยมของ ยุโรปอีกด้วย แล้วถ้าหากต้องการ - เขาก็คงจะเป็นนักไวโอลินชัน้ เยีย่ มอีก ด้วยเช่นกัน  เขาสามารถที่จะเขียนเพลงอันยุ่งยากสับสนลงเป็นตัวโน้ต ได้ในขณะก�ำลังนึกแต่งเพลงใหม่อีกเพลงอยู่  แล้วเมื่อได้ฟังเพลงยาว ๆ อันใดเข้าเป็นครั้งแรก เขาก็สามารถเขียนออกมาเป็นตัวโน้ตได้ทันทีเมื่อ ฟังจบ แต่เขาก็มชี วี ติ อยูเ่ พียง ๓๖ ปีเท่านัน้  คือเกิดมาในวันที ่ ๒๗ มกราคม ๑๗๕๖ (พ.ศ. ๒๒๙๙) ณ เมืองซัลซ์บูร์กในออสเตรีย แล้วสิ้นชีวิตลงใน วันที ่ ๕ ธันวาคม ๑๗๙๑ (พ.ศ. ๒๓๓๔)  ในช่วงชีวติ อันสัน้ นีเ้ ขาได้เขียน เพลงขึน้ ไว้มากมาย ซึง่ เป็นความชืน่ ชมของช่วงระยะปลายศตวรรษที ่ ๑๘ มาจนถึงปัจจุบันนี้เช่นกัน

เมื่อโมซาร์ทมีอายุเพียง ๔ ขวบ ขณะที่เลโอโพลด์พ่อของเขา

ก�ำลังสอน อันนา มารีอา พี่สาวผู้แก่กว่า ๕ ปีให้เล่นคลาเวียร์อยู่นั้น ว็อล์ฟกังน้อยจะยืนอยูเ่ งียบ ๆ ข้างพีข่ องตน  เขาได้เคยฟังพ่อเล่นคลาเวียร์ อยู่บ่อย ๆ แต่มิได้เกิดสนใจอะไร แต่คราวนี้ขณะที่นิ้วเล็ก ๆ ของพี่สาว เคลือ่ นไปมาอยูต่ ามคีย ์ เสียงเพลงก็กอ่ ให้เกิดความจับใจและดูเหมือนจะมี เสียงกระซิบบอกว่า “เจ้าก็ทำ� อย่างนัน้ ได้เหมือนกัน” ดังนัน้ เมือ่ มารีอาเรียน เสร็จลงเขาก็กระโดดขึ้นนั่งบนม้าแทน แล้วก็ลองเล่นดูตามที่ได้ยินจาก มารีอาและสามารถเล่นได้อย่างถูกต้อง  จากนั้นเขาลองกดคีย์ฟังเสียง ประสานดูดว้ ยความประหลาดใจและพอใจ ขณะทีพ่ อ่ ของเขาเฝ้าดูอยูด่ ว้ ย ความสนเท่ห์ยิ่งขึ้นทุกที จากวันนัน้ เป็นต้นมาว็อล์ฟกังก็สนใจกับดนตรีเพิม่ ขึน้ ทุกที เขาจะ ฟังพี่สาวเล่นคลาเวียร์อยู่เสมอด้วยความสนใจ ในไม่ช้าก็ขอให้พ่อสอนให้ เขาอย่างจริงจัง  เขาสามารถเรียนได้อย่างรวดเร็ว ท�ำให้เลโอโพลด์เล็งเห็น ว่า ลูกชายของเขาคนนีม้ หี วั เป็นพิเศษในทางดนตรีราวกับสวรรค์ประทาน

โ ม ซ า ร์ ท

91


Ludwig  van  Beethoven


เบโทเฟน นั ก ปฏิ วั ติ


ขณะเมื่อ ลุดวิช ฟาน เบโทเฟน  (Ludwig van Beethoven)  เกิดมาในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๑๗๗๐ (พ.ศ. ๒๓๑๓)  ที่เมืองบอนน์ในเยอรมนีนั้น  ขอให้สังเกตว่าจะมีเหตุการณ์ส�ำคัญอันใด เกิดขึ้นบ้างต่อไปในโลก

148

ด น ต รี แ ห่ ง ชี วิ ต


อเมริกาในขณะนั้นก็ไม่เป็นปกติสุขอยู่ภายใต้การปกครองของ อังกฤษ แล้วก่อนทีเ่ บโทเฟนจะมีอายุได้ ๖ ขวบ การปฏิวตั ขิ องคนอเมริกนั ก็เริ่มขึ้นในปี ๑๗๗๕ และด�ำเนินต่อไปอย่างเต็มที่ แล้วการปฏิวตั คิ รัง้ ยิง่ ใหญ่ในฝรัง่ เศสเพือ่ ล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีขึ้นต่อไปในปี ๑๗๘๙ จนท�ำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ และ พระราชินีมารี-อ็องตัวแน็ต ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน นับแต่เวลานัน้ เป็นต้นมา ความคิดของประชาชนเริม่ ผันแปรไปจาก สิ่งที่เคยครอบคลุมความเป็นไปในชีวิตของตนมาแต่ไหนแต่ไร กล่าวคือ เดิมชนชั้นมีตระกูลหรือผู้มั่งคั่งเท่านั้นที่จะมีสิทธิต่าง ๆ มีอิสรภาพและ ความสุขเหนือกว่าคนอืน่ ๆ แต่ตอ่ มาความคิดทีว่ า่ มนุษย์ทกุ คนย่อมควรมี ความเสมอภาค มีอสิ ระในความนึกคิด ได้เข้ามาแทนทีค่ วามเป็นทาสและ การถูกบังคับให้เชื่อเจ้านายของตน จากนั้นก็ถึงสมัยที่นโปเลียนได้น�ำกองทัพเข้าโจมตีประเทศต่าง ๆ ได้ชัยชนะอยู่เรื่อยไป แล้วยุติลงด้วยการแพ้สงครามวอเตอร์ลูต่อดยุก เวลลิงตันแห่งอังกฤษ ส่วนสงครามระหว่างอังกฤษกับอเมริกา อันเป็นการต่อสู้ของคน อเมริกันเพื่อแยกตัวเป็นอิสระนั้น ก็ได้ยุติลงด้วยความสมหวังของฝ่าย อเมริกัน ในช่วงนี้เองดูเหมือนว่าความวุ่นวายจะแผ่ขยายไปทั่วโลก โดย เนื่องมาจากปฏิกิริยาของประชาชนทั่วไปที่ต้องการประชาธิปไตย เพราะ เบื่อหน่ายกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเห็นกันว่าเป็นสิ่งล้าสมัย จึงเกิดความวุ่นวายไปทั่วทุกหนทุกแห่งที่ผู้คนตื่นตัวขึ้น นี่ก็คือระยะที่คนอย่างเกอเธ่ ชิลเลอร์ ตลอดจนกวีและนักปรัชญา ที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ได้ใช้ความคิดของตนและแสดงความรู้สึกออกมา ในท่ามกลางความเป็นไปดังนี้ของโลก เบโทเฟนได้เข้าร่วมแสดง ความชื่นชมในอิสรภาพ ความเสมอภาค และได้เพิ่มความงดงามให้แก่ ศิลปะด้านดนตรีด้วยเช่นกัน

เบโทเฟน

149


ป ร ะ วั ติ ผู้ เ ขี ย น

สุ ร พงษ์ บุ น นาค

เกิดเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๔๖๓ จบการศึกษาจากเยอรมนี เป็นผู้เขียน บทภาพยนตร์ให้แก่แผนกภาพยนตร์ของส�ำนักข่าวสารอเมริกนั  กรุงเทพฯ ในฐานะหัวหน้านักเขียนเป็นเวลา ๑๒ ปี  ต่อมาเป็นผูเ้ ขียนบทโทรทัศน์ให้ แก่สถานีไทยทีวชี อ่ ง ๔ โดยเฉพาะรายการในคืนวันเปิดสถานีเป็นปฐมฤกษ์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๘ คือรายการ RCA HIT PARADE และรายการ “ราตรีในเวนิซ” จึงนับได้วา่ เป็นผูเ้ ขียนบทโทรทัศน์คนแรกของประเทศไทย ต่อมาได้ไปท�ำงานอยูก่ บั สถานีวทิ ยุ “เสียงอเมริกา” ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ๘ ปี จากนั้นพ�ำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลารวมกัน ๒๓ ปี เนื่องจากเป็นคนชอบท่องเที่ยวมาตั้งแต่เด็ก ๆ ท�ำให้มีโอกาสเดิน ทางไปตามแหล่งที่น่าสนใจต่าง ๆ ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ดินแดนเมลานีเซียและโปลินีเซีย ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ฯลฯ รวม ทัง้ เดินทางไปทัว่ ประเทศไทยหลายครัง้ หลายคราวด้วยกัน  ประสบการณ์ จากการเดินทางเหล่านี้ได้น�ำมาเขียนเป็นนิยาย เรื่องสั้น และสารคดี จ�ำนวนมาก

790

ด น ต รี แ ห่ ง ชี วิ ต


ผลงานที่ตีพิมพ์เป็นเล่มในแนวสารคดีท่องเที่ยว ได้แก่ อเมริกา  แดนอัศจรรย์ของธรรมชาติ และ ยุโรป แผ่นดินหรรษา ผลงานที่มาจากความสนใจเกี่ยวกับศิลปินและศิลปะตะวันตก ได้แก่ ดนตรีแห่งชีวติ  (ชีวประวัตขิ องนักดนตรีคลาสสิกคนส�ำคัญของโลก เช่น โมซาร์ท เบโทเฟน ฯลฯ) และ ชีวิตศิลปิน (ชีวประวัติศิลปินกลุ่ม อิมเพรสชันนิสม์ เช่น โมเน เรอนัวร์ ฟาน ก็อก ฯลฯ) ผลงานแนวสารคดีเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้แก่ ทะเล-  เดือด (ยุทธนาวีระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิก) ทะเลโหด (ยุทธนาวีระหว่างเยอรมนีกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาใน มหาสมุทรแอตแลนติก) และสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุทธการพลิกโลก ผลงานแนวนวนิยายและเรือ่ งสัน้  เช่น ชัว่ นิรนั ดร, ฟ้าก�ำหนด ฯลฯ เรือ่ งสัน้  “ทางแพร่ง” ของท่านเป็นเรือ่ งสัน้ ทีไ่ ด้ตพี มิ พ์ในสยามรัฐสัปดาห์-  วิจารณ์ ฉบับปฐมฤกษ์ ด้วยผลงานเขียนจ�ำนวนมาก ท�ำให้ได้รบั รางวัล “นราธิป” ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ในฐานะนักเขียน อาวุโส หลังจากที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งในล�ำไส้ใหญ่เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๔๔ ก็ได้เข้ารับการรักษาและบ�ำบัดมาโดยตลอด และได้ถงึ แก่กรรมเมือ่ วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๕ สิริอายุได้ ๘๒ ปี ๓ เดือน

ด น ต รี แ ห่ ง ชี วิ ต

791


• บาค • แฮนเดิล • กลุค • ไฮเดิน • โมซาร์ท • เบโทเฟน • ชูเบิร์ท • ปากานีนี • เวเบอร์ • แบร์ลียอซ • ชูมันน์ • ลิสซท์ • โชแปง • เม็นเดลส์โซน • โรสซีนี • โดนีเซตตี • เบลลีนี • ไมเออร์เบร์ • เกรูบนี ี • โอแบร์ • ว้ากเนอร์ • แวร์ดี • บรามส์ • สเทราสส์ • ออฟเฟนบาค • ซัลลิแวน • กิลเบิร์ต • เลฮาร์ • ว็อล์ฟ • กูโน • บีเซ • มาเซอเน • แซ็ง-ซ็องส์ • กลิงคา • บาลาคีเรฟ • โบโรดิน • มุสซอร์กสกี • ริมสกี-คอร์ซาคอฟ • ไชคอฟสกี • สเมทานา • ดวอชาค • ซิเบลิอุส • กริ๊ก • ยานาเชค • ฟร็องก์ • ปุชชีนี • บรุคเนอร์ • มาเลอร์ • ชเตราสส์ • เดอบูว์ซี • ราแวล • เชินแบร์ค • สตราวินสกี • ดีลอิ สั • เอลการ์ • รัชมานีนอฟฟ์ • สเครียบิน • โปรโคฟีฟ • โชสตาโควิช • คอปแลนด์ • แม็กดาวเอลล์ • บาร์ท็อค

ราคา ๙๙๙ บาท

ห ม ว ด ชี ว ป ร ะ วั ติ ISBN 978-616-465-033-6

สั่งซื้อออนไลน์ที่ @sarakadeemag


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.