@VC@ 'ESh*9Wg q ù =ES<=EZ*bMC
@Z9:JVG= LCSDES7;a$LV;9E @S4;T$TE%O**T;- T* `GR`;I'V69Wg=ES<_=GWgD;
JTL7ET+TED 6E« JS$6Vk-SD LTDLV*M
พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ ศิลปะสมัยรัชกาลที่ ๕
(ซ้ายบน) พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ ศิลปะสมัยรัชกาลที่ ๓ (ซ้ายล่าง) ศิลปะแบบพระราชนิยม สมัยรัชกาลที่ ๓ วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ
จิตรกรรมฝาผนังรูปเงื้อมผานันทมูล พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ ศิลปะสมัยรัชกาลที่ ๓
(ซ้าย) จิตรกรรมฝาผนังเรื่องเนมิราช วัดสุวรรณาราม กรุงเทพฯ ศิลปะสมัยรัชกาลที่ ๓
ISBN 978-616-465-031-2 หนังสือ พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดทีป่ รับเปลีย่ น ผูเ้ ขียน ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิช์ ยั สายสิงห์ ภาพประกอบ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิช์ ยั สายสิงห์ พิมพ์ครัง้ ที ่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๖ พิมพ์ครัง้ ที ่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๓ จ�ำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม ราคา ๖๐๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด
บรรณาธิการเล่ม พิสจู น์อกั ษร ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท พิมพ์ท ี่ จัดพิมพ์โดย จัดจ�ำหน่าย
อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ วรินวิตตา ดารามาตร์ นัทธินี สังข์สขุ ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์. ฟิลม์ โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ โรงพิมพ์ฟสิ กิ ส์เซ็นเตอร์ โทร. ๐-๒๔๓๓-๗๗๐๔ สํานักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด) บริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินนํา้ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุร ี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. --นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๓. ๕๖๘ หน้า. ๑. ศิลปกรรมพุทธศาสนา--ไทย. I. ชื่อเรื่อง. ๒๙๔.๓๑๘๗ ISBN 978-616-465-031-2 ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินนํ้า) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อ�ำนวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ� นวยการฝ่ายศิลป์ จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด/โฆษณา กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ นับเป็นเวลา ๒๓๑ ปีแล้วตัง้ แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นนครหลวงแห่งใหม่ของประเทศ และเริ่มต้นสมัยรัตนโกสินทร์ในหน้าประวัติศาสตร์ ไทย ระยะเวลามาก กว่าสองศตวรรษได้ก่อเกิดองค์ความรู้ด้านงานศิลปะและสถาปัตยกรรม ที่มีทั้งสืบทอดและพัฒนามาจากยุคก่อน รวมทั้งการสร้างสรรค์แนว ความคิดและรูปแบบใหม่ๆ มาถึงปัจจุบัน หนังสือ พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน ผลงานใหม่ ของศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เล่มนี้ ให้ความรู้และ ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์แต่ละช่วงเวลาผ่านงานอัน เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา ๓ ประเภท คือ (๑) งานสถาปัตยกรรม เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ หอพระไตรปิฎก หอระฆัง เป็นต้น (๒) งานประติมากรรม ได้แก่ พระพุทธรูป (๓) งานจิตรกรรมฝาผนัง งานพุทธศิลป์เหล่านี้ไม่เพียงแต่แสดงศรัทธาในพุทธศาสนาของคนไทย เท่านั้น แต่ยังสะท้อนโลกทัศน์ ค่านิยม และเทคนิควิทยาการของผู้คน ในสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ช่วงเวลา ซึ่งนี่เป็นคุณค่าสำ�คัญอีก ประการของงานศิลปะ เราจึงควรเรียนรู้ที่จะรักษามรดกทางวัฒนธรรม เหล่านี้ทั้งที่สร้างในอดีตและปัจจุบันให้ดำ�รงอยู่อย่างคงคุณค่ายั่งยืนสืบ ต่อไป สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ มีนาคม ๒๕๕๖
สารบัญ คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�ผู้เขียน กล่าวนำ�
๑๑ ๑๒ ๑๖
ภาคที่ ๑ : สถาปัตยกรรม
๒๐
เจดีย์
๒๑ ๒๓ ๒๓ ๖๒ ๘๖ ๘๖ ๘๘
สมัยรัชกาลที่ ๑-๓ เจดีย์ทรงปรางค์ : เจดีย์ที่ได้รับความนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๑-๓ เจดีย์ทรงเครื่อง สมัยรัชกาลที่ ๔ เจดีย์เพิ่มมุม เจดีย์ทรงระฆัง : เจดีย์แบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๔
อาคารหลังคาคลุม (พระอุโบสถ พระวิหาร และศาลาการเปรียญ) ๑๑๔ สมัยรัชกาลที่ ๑-๓
กลุ่มที่ ๑ แบบไทยประเพณี กลุ่มที่ ๒ แบบผสมระหว่างแบบไทยประเพณีกับแบบพระราชนิยม กลุ่มที่ ๓ แบบพระราชนิยม
สมัยรัชกาลที่ ๔ สมัยรัชกาลที่ ๕
อาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่นภายในวัด หอพระไตรปิฎก หอระฆัง กุฏิสงฆ์
๑๑๔ ๑๒๕ ๑๔๑ ๑๖๒ ๑๘๔ ๒๑๑ ๒๔๒ ๒๔๒ ๒๔๗ ๒๕๑
ภาคที่ ๒ : ประติมากรรม (พระพุทธรูป)
๒๖๑
๒๖๓ ๒๗๑ ๒๗๘ ๓๒๖ ๓๔๔ ๓๖๘ ๓๗๐
สมัยรัชกาลที่ ๑ สมัยรัชกาลที่ ๒ สมัยรัชกาลที่ ๓ สมัยรัชกาลที่ ๔ สมัยรัชกาลที่ ๕ สมัยรัชกาลที่ ๖ จนถึงปัจจุบัน
สมัยรัชกาลที่ ๖ ถึงรัชกาลที่ ๗ (สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕) สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. ๒๔๗๕) ถึงรัชกาลปัจจุบัน
๓๗๖
ภาคที่ ๓ จิตรกรรม
๓๙๖
๓๙๘ ๔๒๐
สมัยรัชกาลที่ ๑-๒ จิตรกรรมแบบไทยประเพณี สมัยรัชกาลที่ ๓ จิตรกรรมแบบไทยประเพณีและแบบนอกอย่าง (อิทธิพลศิลปะจีน) สมัยรัชกาลที่ ๔ จิตรกรรมที่ปรับเปลี่ยนสู่สัจนิยม สมัยรัชกาลที่ ๕ การเขียนภาพเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ สมัยรัชกาลที่ ๖-๗ จิตรกรรมไทยประเพณีย้อนยุค จิตรกรรมในรัชกาลปัจจุบัน : ศิลปะร่วมสมัย
บทสรุป บรรณานุกรม
๔๖๘ ๕๒๑ ๕๓๕ ๕๔๖ ๕๕๗ ๕๕๘
ภาคที่ ๑ : สถาปัตยกรรม
20 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
เจดีย์ เจดีย์ ตามความหมายในพระพุทธศาสนา คือ สถานที่หรือ สิ่งอันควรแก่การเคารพบูชา ใช้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธเจ้า และบรรจุพระธาตุ อัฐิธาตุ ของผู้ที่ควรแก่การเคารพบูชา เจดี ย์ จึ ง เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ ทนองค์ พ ระพุ ท ธเจ้ า และเป็ น ตั ว แทนของ พระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่ไป ณ ที่ใด จึงมีการสร้าง เจดีย์ไว้เพื่อการเคารพบูชา สำ�หรับในดินแดนไทยได้พบหลักฐานการ สร้างเจดีย์มาแล้วตั้งแต่เมื่อแรกรับพุทธศาสนาและสืบต่อมาทุกยุคสมัย จนถึงปัจจุบัน ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการสร้างเจดีย์เป็นประธานของวัดมา ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ และลดความสำ�คัญลงในสมัยรัชกาล ที ่ ๕ และตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมามีการสร้างวัดน้อยลงพร้อม กับการสร้างเจดีย์ก็ลดน้อยลงตามไปด้วย รูปแบบของเจดีย์หลักใน สมัยรัตนโกสินทร์นี้พบเพียง ๔ รูปแบบ ได้แก่ เจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์ ทรงเครื่อง เจดีย์ทรงระฆัง และเจดีย์เพิ่มมุมไม้สิบสอง โดยเจดีย์ทรง ปรางค์และเจดีย์ทรงเครื่องพบอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๑-๓ มีรูปแบบที่ สืบทอดมาจากศิลปะอยุธยาตอนปลาย พบมากในสมัยรัชกาลที่ ๓ จน อาจกล่าวได้ว่าวัดที่มีเจดีย์สองรูปแบบดังกล่าวเป็นวัดที่พระองค์ทรง สถาปนาและบูรณปฏิสังขรณ์ ส่วนเจดีย์ทรงระฆังนั้นเป็นการย้อนกลับ ไปทำ�ตามแบบเจดีย์ทรงระฆังในสมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นเจดีย์ที่ สร้างขึ้นตามวัดที่รัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ จนถือได้ว่าเป็นเจดีย์ 21 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
สถาปัตยกรรม
ภาพลายเส้นพระเจดีย์ทรงปรางค์สมัยรัชกาลที่ ๓ เจดีย์ประจำ�มุม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นภศูล
ชั้นซ้อน กลีบขนุน บรรพแถลง (ใบขนุน) ชั้นเชิงบาตรครุฑแบก ซุ้ม ซุ้มจระนำ�
ช่องจระนำ�
เรือนธาตุ
ชั้นบัวควํ่า-บัวหงาย
ชุดฐานสิงห์ ๓ ชั้น
ชั้นเขียง ฐานเขียง
ลายเส้น : ศิวพร วงษ์แดง 26 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
รูปแบบเจดีย์ทรงปรางค์ ต�ำแหน่ง หน้าที่ และล�ำดับวิวัฒนาการ • เจดี ย ์ ท รงปรางค์ วั ด ระฆั ง โฆสิ ต าราม : ปรางค์ ในสมัยอยุธยาตอนปลายที่สืบทอดมายังสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น (รูปที่ ๒)
วิวัฒนาการของเจดีย์ทรงปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนปลายเริ่ม ตรวจสอบได้จากวัดไชยวัฒนารามที่มีประวัติการสร้างที่แน่นอนในสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในปี พ.ศ. ๒๑๗๒ และเป็นตัวอย่างของ การนำ�เจดีย์ทรงปรางค์ขนาดใหญ่กลับมาสร้างเป็นเจดีย์ประธานของ วัดอีกครั้งหนึ่ง (รูปที่ ๓) คล้ายกับระบบในสมัยอยุธยาตอนต้น๒ โดย สามารถนำ�มาเป็นประเด็นสำ�คัญเรื่องวิวัฒนาการของเจดีย์ทรงปรางค์ มาประกอบการพิจารณาเจดีย์ทรงปรางค์ที่วัดระฆังโฆสิตารามได้ว่า น่าจะอยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย กล่าวคือ วิวัฒนาการของเจดีย์ทรง ปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนปลายมีข้อสังเกตหลักๆ อยู่ ๓ ส่วนได้แก่ ส่วนที่ ๑ ส่วนฐาน ยังคงปรากฏฐานบัวลูกฟัก ๓ ฐาน เช่น ที่พระปรางค์ประธาน วัดไชยวัฒนาราม แต่ที่ปรางค์ประจำ�มุมที่วัด เดียวกันนี้ได้เปลี่ยนเป็นชุดฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ๓ ฐานแล้ว ส่วนที่ ๒ การเปลี่ยนแปลงของส่วนชุดฐานบัว ที่เริ่มเปลี่ยน เป็นฐานสิงห์ ๑ ฐาน และเหนือฐานสิงห์นี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำ�คัญ คือ ปรับเป็นชั้นคอดที่เรียกว่า “เอวขัน” จำ�นวน ๒-๓ ชั้น เพื่อการ ประดับงานประติมากรรมปูนปั้น ตัวอย่างเช่น พระปรางค์วัดบรมพุทธาราม ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเพทราชา ส่วนที่ ๓ ส่วนเอวขันก็ปรับเป็นฐานสิงห์เหมือนกับชั้นล่าง จึง กลายเป็น ชุดฐานสิงห์ ๓ ฐาน ทีถ่ อื เป็นวิวฒ ั นาการช่วงสุดท้ายของเจดีย์ ทรงปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนปลายที่สืบทอดมายังสมัยรัตนโกสินทร์๓ อีกส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเจดีย์ทรงปรางค์ ในสมัยอยุธยาตอนปลายคือ ส่วนบน เนื่องจากปรางค์มีขนาดเล็กลง ทำ�ให้ยอดสูงเพรียว ไม่มีพื้นที่เพียงพอเพื่อการประดับรายละเอียด จึงทำ�เป็นเพียงแถบนูนดูคล้ายชั้นรัดประคดเท่านั้น แล้วปิดประดับ 27 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
สถาปัตยกรรม
อาคารหลังคาคลุม (พระอุโบสถ พระวิหาร และศาลาการเปรียญ) สมัยรัชกาลที่ ๑-๓ อาคารแบบ “ประเพณีนิยม” หรือ “ไทยประเพณี” และแบบ “พระราชนิยม” การก่อสร้างอาคารหลังคาคลุมในสมัยรัชกาลที่ ๓ ถือว่าเป็น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการก่อสร้างครั้งสำ�คัญในงานสถาปัตยกรรม ไทยที่มีการศึกษาและกล่าวถึงมากที่สุดคือ การสร้างอาคารที่มีลักษณะ ของอิทธิพลจีนที่เรียกว่า แบบนอกอย่าง หรือ แบบพระราชนิยม (รูป ที่ ๕๕) คือ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของหลังคาโดยเฉพาะหน้าบัน* ทำ�เป็นงานก่ออิฐถือปูน ไม่ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ส่วนหน้าบัน ประดับลวดลายอย่างจีน กับอาคารอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า แบบไทย ประเพณี (รูปที่ ๕๔) ได้แก่ อาคารที่สร้างตามแบบอย่างที่เคยมีมาแต่ เดิม คือ ส่วนของหลังคาที่ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เป็นต้น ดูเหมือนว่าเมื่อมีการกล่าวถึงอาคารหลังคาคลุมในสมัยรัชกาล ที่ ๓ มักกล่าวโดยรวมว่าเป็น “แบบพระราชนิยม” แต่ในความเป็นจริง แล้วอาคารที่สร้างในสมัยรัชกาลที ่ ๓ ที่เป็นแบบประเพณีนิยมก็ยังมีการ *ค�ำว่า “หน้าบัน” ที่ถูกควรเรียกว่า “หน้าบรรพ” หรือ “หน้าบรรพ์” ซึ่งแปลว่า ด้านหน้า ดูใน สันติ เล็กสุขมุ , งานช่าง ค�ำช่างไทยโบราณ : ศัพท์ชา่ งและข้อคิดเกีย่ วกับงานช่างศิลป์ ไทย, หน้า ๒๕๗. ในที่นี้ขอใช้ค�ำว่า “หน้าบัน” เพราะเหตุว่าเป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้ว 114 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
รูปที่ ๕๔ พระอุโบสถแบบประเพณีนิยม วัดสุวรรณาราม กรุงเทพฯ
สร้างอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงกล่าวว่า การสร้างอาคารแบบนอกอย่างและในอย่างมีการสร้าง ปะปนกัน บางวัดอาจมีอาคารทั้งสองแบบ เช่น ที่วัดกัลยาณมิตร วิหาร พระโตสร้างแบบในอย่าง ส่วนพระอุโบสถและศาลาการเปรียญสร้าง แบบนอกอย่าง๗๑ เป็นต้น ดังนั้นจึงกล่าวได้ ในชั้นต้นว่า อาคารที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาล ที่ ๓ มี ทั้ ง รู ป แบบที่ เ ป็ น แบบพระราชนิ ย มและแบบประเพณี นิ ย มที่ สร้างขึ้นพร้อมๆ กัน มีข้อสังเกตคือ วัดที่สร้างขึ้นใหม่หรือบูรณะใหม่ หมดทั้งวัดและวัดที่สร้างโดยขุนนางส่วนใหญ่จะเป็นแบบพระราชนิยม ส่วนวัดที่มีการสร้างเพิ่มเติมในที่วัดเดิมที่เคยมีอาคารแบบประเพณี นิยมอยู่แล้วก็จะสร้างตามแบบประเพณีนิยม เช่น พระวิหารพระพุทธ- ไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระอุโบสถ วัดอรุณราชวรา- ราม วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นต้น แต่ก็มีข้อยกเว้นสำ�หรับบางวัดที่ สร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด เช่น วัดราชนัดดาราม ยังเป็นแบบไทยประเพณี 115 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
สถาปัตยกรรม
อาคารแบบไทยประเพณี
ช่อฟ้า ใบระกา หน้าบรรพ์ (หน้าบัน) นาคลํายอง
หางหงส์
คันทวย เสาย่อมุม ซุ้มสีมาทรง ปราสาทยอด
รูปที่ ๖๐ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สร้างเป็นอาคารแบบไทยประเพณี
126 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
หน้าบันแบบไทยประเพณี (รูปที่ ๖๑)
ประกอบด้วย ไขราที่ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน ประดับลวดลายไม้จำ�หลักรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณตรงกลาง ล้อมรอบ ด้วยลายกระหนกเปลว มีลายเทพนมแทรกอยู่ในกระหนกเปลว ตัวอย่าง ทีส่ ำ�คัญคือ หน้าบันพระอุโบสถ วัดพระศรีรตั นศาสดาราม ทีส่ ร้างขึน้ ใน สมัยรัชกาลที่ ๑ วัดสุวรรณาราม เขตบางกอกน้อย สร้างสมัยรัชกาล ที่ ๓ เป็นต้น
รูปที่ ๖๑ หน้าบัน พระอุโบสถ วัดสุวรรณาราม กรุงเทพฯ
รูปที่ ๖๑ ก รายละเอียดหน้าบัน รูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ พระอุโบสถ วัดสุวรรณาราม
127 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
สถาปัตยกรรม
อาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่นภายในวัด หอพระไตรปิฎก หอพระไตรปิฎกหรือหอไตร คือ อาคารสำ�หรับเก็บพระไตรปิฎก คัมภีร์สำ�คัญที่สุดในพุทธศาสนา หอพระไตรปิฎกส่วนใหญ่ต้งั อยู่ในเขต สังฆาวาส หอไตรที่พบในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมี ๒ ลักษณะ คือ ลักษณะแรก เป็นงานศิลปกรรมแบบไทยประเพณี คือ อาคาร ที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยา เป็นอาคารเครื่องไม้ที่ยกพื้นสูง และมัก สร้างไว้กลางสระนํ้าเพื่อป้องกันพวกแมลง มด ปลวก ทำ�ลายพระไตร- ปิฎก องค์ประกอบของอาคารมีลักษณะเช่นเดียวกับพระอุโบสถและ พระวิหาร คือ มีหลังคาซ้อนชั้น ประกอบด้วยเครื่องลำ�ยองที่มีหน้าบัน ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคลำ�ยอง มีคนั ทวยรองรับชายคา ซึง่ หอไตร ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่เป็นแบบไทยประเพณีนั้นปัจจุบันเหลือ หลักฐานไม่มากนัก เนื่องจากในภายหลังได้เกิดความนิยมสร้างหอไตร เป็น ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นงานก่ออิฐถือปูน ซึ่งเชื่อว่าเป็นการป้องกันแมลง ได้ส่วนหนึ่ง ดังนั้นหอไตรที่อยู่กลางสระนํ้าจึงหมดไป ตัวอย่างหอไตร กลางสระนํ้าและยังมีงานศิลปกรรมแบบไทยประเพณีที่สวยงามมาก แห่งหนึ่งคือ หอไตร วัดอัปสรสวรรค์ กรุงเทพฯ ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นพร้อม กับการสร้างวัดในสมัยรัชกาลที่ ๓ (รูปที่ ๑๔๔)
242 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
รูปที่ ๑๔๔ หอพระไตรปิฎกไม้ วัดอัปสรสวรรค์
243 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
สถาปัตยกรรม
มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, วัดบวรนิเวศวิหาร, หน้า ๕๑. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๕. ๑๑๐ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๒. ๑๑๑ ศักดิ์ชัย สายสิงห์, งานช่าง สมัยพระนั่งเกล้าฯ, หน้า ๑๒๐-๑๒๑. ๑๑๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๙๙. ๑๑๓ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ สมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ, สาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๘, (กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา ๒๕๐๕), หน้า ๑๔๖. ๑๑๔ สุริยา รัตนกุล, พระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร, เล่ม ๒, หน้า ๑๗๗-๑๗๘. ๑๑๕ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๗๘. ๑๑๖ สันติ เล็กสุขุม, ข้อมูลกับมุมมอง : ศิลปะรัตนโกสินทร์, หน้า ๒๐๓. ๑๑๗ สุริยา รัตนกุล, พระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร, เล่ม ๒, หน้า ๑๖๕. ๑๑๘ ยุทธนาวรากร แสงอร่าม, การประดับตกแต่งส่วนสถาปัตยกรรมในพระพุทธศาสนา ด้วยลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, การศึกษาโดยเสรี ในแขนงวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะ โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา ๒๕๔๕, หน้า ๒๘. ๑๑๙ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๗. ๑๒๐ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๓. ๑๒๑ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๘-๔๙. ๑๒๒ ข้อมูลจากภาพถ่ายเก่า พระพรหมมุนี (สุชิน อคฺคชิโน) และคณะ, วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม พระอารามประจำ�รัชกาลที่ ๕, (กรุงเทพฯ : บริษั ทแปลนพริ้นติ้ง จำ�กัด, ๒๕๕๕), หน้า ๖๑. ๑๒๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๙. ๑๒๔ สุริยา รัตนกุล, พระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร, เล่ม ๒, หน้า ๒๑๓. ๑๒๕ สุวัฒน์ เทพอารักษ์, (บ.ก.), วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก, (กรุงเทพฯ : ๒๕๔๔), หน้า ๒๕-๓๐. ๑๒๖ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๓-๓๗. ๑๒๗ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๘-๓๙. ๑๒๘ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๕๑. ๑๒๙ สันติ เล็กสุขุม, ข้อมูลและมุมมอง : ศิลปะรัตนโกสินทร์, หน้า ๑๑๔-๑๑๕. ๑๓๐ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๖๗. ๑๐๘ ๑๐๙
260 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
ภาคที ่ ๒ : ประติมากรรม (พระพุทธรูป)
261 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ประติมากรรม (พระพุทธรูป)
กล่าวน�ำ ในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๒ นั้นมีการ สร้างพระพุทธรูปน้อยมาก เนื่องจากเป็นระยะเวลาแห่งการสร้างบ้าน แปงเมือง เน้นการบูรณะซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วัดที่มีอยู่เดิมเป็นหลัก และที่สำ�คัญคือ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูป จากหัวเมืองต่างๆ โดยเฉพาะจากสุโขทัยและอยุธยาลงมากรุงเทพฯ ปรากฏในเอกสารว่านำ�มาประดิษฐานที่ระเบียงคด วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จำ�นวน ๑,๒๘๘ องค์๑ และได้พระราชทานไปยังวัดต่างๆ ที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยนั้น ด้วยเหตุนี้พระพุทธรูปประธานหรือ พระพุทธรูปสำ�คัญที่ประดิษฐานตามวัดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ส่วน หนึ่ ง จึ ง เป็ น พระพุ ท ธรู ป สมั ย ต่ า งๆ ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น พระพุ ท ธรู ป สมัยสุโขทัยและอยุธยา พระพุทธรูปสำ�คัญในสมัยสุโขทัย เช่น พระ ศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม พระพุทธรูปสมัยอยุธยา เช่น พระ พุทธเทวปฏิมากร พระประธานในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งเป็นยุคสมัยที่บ้านเมืองเริ่มเข้าสู่ ภาวะสงบ เริ่มมีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ จึงมีการสถาปนาและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเป็นจำ�นวนมาก ในยุคนี้จึงมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่พร้อมกับการสร้างวัด และเกิดเป็นรูปแบบใหม่ของพุทธศิลป์ ในสมัยรัตนโกสินทร์อย่างแท้จริง รวมทั้งมีประเพณีการสร้างสืบต่อมา จนถึงปัจจุบัน 262 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที ่ ๑ พระพุทธรูปที่สร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที ่ ๑ ในรั ช สมั ย ของพระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานการสร้างพระพุทธรูป ไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปสำ�คัญที่โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้น เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่องที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่ บูรพมหากษัตริย์ ซึ่งการสร้างเพื่อการอุทิศพระราชกุศลถวายมีปรากฏ ในเอกสารการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องสำ�คัญ และพบว่าคติการ สร้างเพื่อการอุทิศพระราชกุศลถวายนั้นมีมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา กล่าวคือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงหล่อพระ ศรี ส รรเพชญ์ หุ้ ม ด้ ว ยทองสู ง ตั้ ง แต่ พ ระบาทถึ ง พระรั ศ มี ๘ วา และ กษัตริย์อยุธยาสมัยหลังได้สถาปนาพระพุทธรูปสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๑ เพื่อนมัสการ และได้พบว่ารัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาพระพุทธรูป สำ�คัญ คือ พระพุทธจุลจักรและพระพุทธจักรพรรดิเพื่อการอุทิศพระราชกุศลถวาย ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับคติและรูปแบบของพระพุทธรูป ทรงเครื่องต้นนี้ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดย เรียกว่า พระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างพระมหาจักรพรรดิ ๒ ส่วนใหญ่ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำ�ริดแล้วหุม้ ด้วยทองคำ� ลักษณะทรงเครือ่ งต้น ประดับลวดลายลงยาราชาวดี ประดับด้วยเนาวรัตน์ มีพุทธลักษณะที่ ใกล้เคียงกันทุกพระองค์ คือ เป็นพระพุทธรูปยืน ยกพระหัตถ์ทง้ั สองข้าง แสดงปางประทานอภั ย (ปางห้ า มสมุ ท ร) ทรงเครื่ อ งต้ น อย่ า งพระ มหาจักรพรรดิ คือ ทรงมงกุฎประกอบกรรเจียกจอน ทรงกรองศอ มีทับทรวง พาหุรัด ทองกร แหวนรอบ ปะวะหลํ่า พระธำ�มรงค์ทุกนิ้ว พระหัตถ์ แสดงการครองจีวรไว้ด้านในซึ่งมีทั้งที่ห่มเฉียงและห่มคลุม มี เ ครื่ อ งประดั บ จี ว รอี ก ชั้ น หนึ่ ง ประกอบด้ ว ยสายรั ด องค์ ท่ี ป ระดั บ ปั้นเหน่งรูปดอกไม้และมีสุวรรณกระถอบห้อยอยู่ การนุ่งสบงมีผ้าจีบ หน้านาง มีเจียระบาดและชายไหวชายแครงซ้อนกัน ๓ ชั้น ที่พระบาท ทรงทองพระบาทและฉลองพระบาทเชิงงอน 263 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ประติมากรรม (พระพุทธรูป)
• พระพุทธจุลจักรและพระพุทธจักรพรรดิ : พระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างพระมหาจักรพรรดิ คตินิยม ในสมัยรัตนโกสินทร์
ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่าง พระมหาจักรพรรดิ (รูปที่ ๑๕๕) แล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ได้แก่ พระพุทธจุลจักรและพระพุทธจักรพรรดิ พระพุทธจุลจักรนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระราชบิดา และพระพุทธจักรพรรดิทรงสร้าง ขึ้นเพื่อบำ�เพ็ญพระราชกุศลในพระองค์๓ พระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างพระมหาจักรพรรดิสององค์นี้ มีลักษณะการแสดงปาง การทรงเครื่อง และลักษณะทางศิลปกรรม
รูปที่ ๑๕๕ พระพุทธจักรพรรดิ หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง (ที่มาภาพ : พระพุทธปฏิมา ในพระบรมมหาราชวัง)
264 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
ดังได้กล่าวแล้ว โดยเฉพาะพระพักตร์ จะแย้มพระโอษฐ์กว้าง ใกล้เคียง กับพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาตอนปลาย จึงอาจกล่าวได้ว่าพระพุทธรูป ทรงเครื่องที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที ๑ ่ น่าจะเป็นแรงบันดาลใจสำ�คัญ ของการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างจักรพรรดิในสมัยรัชกาล ที่ ๓ ทั้งรูปแบบและคติในการสร้าง อันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่น่าจะ สืบต่อมาจากสมัยอยุธยาด้วยเช่นกัน
การสร้างพระพุทธรูปประธานขนาดใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ ๑
• พระศรีสรรเพชญ์ พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
พระพุทธรูปที่ถือเป็นหลักฐานสำ�คัญของการสถาปนาขึ้นใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้แก่ พระศรีสรรเพชญ์ (รูปที่ ๑๕๖) พระพุทธรูป ประธาน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง ๕.๑๖ เมตร สูง ๖.๙๖ เมตร ตามประวัติกล่าวว่าสร้าง ขึ้นโดยสมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โปรดเกล้าฯ ให้ พระยาเทวารังสรรค์ ช่างวังหน้าเป็นผู้ปั้นขึ้น เมื่อคราวที่พระองค์ทรง บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ซึ่งแต่เดิมชื่อว่า วัดพระศรีสรรเพชญ์ ดังนั้นนาม ของพระพุทธรูปจึงเรียกตามชื่อวัด๔ ต่อมาในสมัยรัชกาลที ่ ๓ วัดมหาธาตุยวุ ราชรังสฤษฎิช์ �ำ รุดทรุดโทรมมาก ในปี พ.ศ. ๒๓๘๗ จึงบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม โดยโปรดเกล้าฯ ให้เสริมส่วนสูงของพระอุโบสถขึ้นไปอีก ๑ ศอก และ ก่อเสริมพระศรีสรรเพชญ์ให้ใหญ่ขน้ึ ตามพระอุโบสถ โดยพระยาชำ�นิรจนา เป็นผูป้ น้ั ๕ ดังนัน้ พระศรีสรรเพชญ์ทป่ี รากฏในปัจจุบนั จึงน่าจะมีลักษณะ บางประการที่เป็นงานช่างในสมัยรัชกาลที ่ ๓ ปรากฏอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามพระพุทธรูปองค์นี้ได้แสดงลักษณะสำ�คัญของ พระพุทธรูปที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๑-๓) ๒ ประการ ได้แก่ การทำ�สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่อยู่กึ่งกลางพระวรกาย กับ การแสดงนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ซึ่งเป็นแบบอย่างพระพุทธรูป 265 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ประติมากรรม (พระพุทธรูป)
รูปที่ ๑๗๔ พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย พระประธานในพระอุโบสถ วัดเครือวัลย์ 310 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
รูปที่ ๑๗๕ พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ พระประธานในพระอุโบสถ วัดกัลยาณมิตร 311 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ประติมากรรม (พระพุทธรูป)
รูปที่ ๑๗๖ พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานในพระวิหาร วัดราชโอรสาราม (ภาพ : อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช)
312 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
• พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานในวิหาร พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
การสถาปนาพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (รูปที่ ๑๗๗) ปรากฏในเอกสารสมัยรัชกาลที ่ ๓ เป็นสำ�เนาพระราชดำ�ริ ว่าด้วยการสร้างพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ใน จดหมายเหตรัชกาลที่ ๓ เล่มที่ ๑ จ.ศ. ๑๑๙๓ เลขที ่ ๓๒ “ศิริศุภมัศดุ พระพุทธศักราชล่วงแล้วสองพันสามร้อยเจ็ดสิบ สี่พระวษา จ.ศ. ๑๑๙๓ กาลปีเถาะ นักษัตรตรีณิศก พระบาทสมเด็จ- บรมธรรมมฤกมหาราชาธิราชรามาธิบดีบรมนารถบรมบพิตร พระพุทธ- เจ้าอยู่หัว ผู้เป็นพระบรมภาคิไณยนารถ... ทรงพระราชศรัทธาให้กระทำ� การปฏิสงั ขรณะ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศวรมหาวิหาร พระอาราม หลวง ด้วยพระกระมลหฤไทยกรอประด้วย พระกตัญญูกัตเวทีธรรม เพื่อสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าพระบรม- ไอยกาธิราชเจ้า ซึ่งทรงสถาปนาการไว้แต่... แลทรงพระราชดำ�ริว่าพระ พุทธปฏิมากรใหญ่ ยังมิได้มีในพระมหานครนี้ จึงมีพระราชโองการ มานพระบันทูลสุรสีหนาท ดำ�หรัดสั่งพญาศรีพิพัทธ์รัตนโกษาและพญา เพ็ ช พิ ไ ชย ให้ เ ป็ น แม่ ก องการสถาปนาพระมหาวิ ห ารแลพระพุ ท ธ- ไสยาศน์ใหญ่ ขึ้นไว้ในพระอารามแห่งนี้จะเปนที่สักการบูชาแก่เทพยดา มานุษย์ สรรพสัตวทั้งปวงทั่วสกลโลกธาตุ์ เปนมหากุศลโกษฐาษเจริญ พระเกียรดิยศ ปรากฏไปตราบเท่ากัลปาวสาน ...” ๓๙ จากแนวพระราชดำ�ริที่ยกมานี้แสดงให้เห็นพระราชศรัทธา ปณิ ธ านในการสถาปนาพระพุ ท ธรู ป โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก คื อ ต้องการให้มีพระพุทธปฏิมาขนาดใหญ่ที่ยั งมิได้มีในพระมหานครนี้ เหตุ ผ ลหนึ่ ง ที่ อ้ า งถึ ง พระราชดำ� ริ ใ นการสถาปนาพระพุ ท ธไสยาสน์ วั ด พระเชตุ พ นวิ ม ลมั ง คลาราม เพื่ อ แสดงหลั ก ฐานสำ � คั ญ ในการ สถาปนา และการบรรยายถึงแนวพระราชดำ�ริในการสร้างงานศิลปกรรม กับแนวการออกแบบงานช่าง และคติการสร้างทีม่ กี ารบันทึกเป็นตัวอักษร ไว้ เป็นการบรรยายถึงพระราชดำ�ริอย่างละเอียด ซึง่ ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในงานช่างไทย
313 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ประติมากรรม (พระพุทธรูป)
ภาคที ่ ๓ : จิตรกรรม
396 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
งานจิ ต รกรรมในพุ ท ธศิ ล ป์ ส มั ย รั ต นโกสิ น ทร์ ส่ ว นใหญ่ คื อ จิ ต รกรรมฝาผนั ง ที่ เ ขี ย นขึ้ น ในพระอุ โ บสถ พระวิ ห าร และหอพระ ไตรปิฎกเป็นหลัก จิตรกรรมฝาผนังถือเป็นหลักฐานทางศิลปกรรมที่ มีความสำ�คัญต่อการศึกษางานช่างไทย เพราะงานจิตรกรรมเป็นสื่อ สำ�คัญของการสอนหลักธรรมในพระพุทธศาสนา แสดงให้เห็นถึงแนว ความคิ ดในการออกแบบ เรื่อ งราวที่เ ขี ยน เทคนิค การเขีย น ความ งดงาม และสีสัน จิตรกรรมในแต่ละยุคสมัยมีพัฒนาการที่แตกต่าง กันไป ขึ้นอยู่กับแหล่งบันดาลใจทางศิลปะจากภายนอก ทั้งเรื่องราว แนวคิด คติการสร้าง เทคนิคการเขียน รวมทั้งวัสดุและอุปกรณ์การ เขียน ในที่นี้จะขอแบ่งเนื้อหาของงานจิตรกรรมฝาผนังตามลำ �ดับ พัฒนาการของงานช่าง ดังนี้ สมัยรัชกาลที ่ ๑-๒ จิตรกรรมแบบไทยประเพณี สมัยรัชกาลที ๓ ่ จิตรกรรมแบบไทยประเพณีและแบบ นอกอย่าง (อิทธิพลศิลปะจีน) สมัยรัชกาลที ่ ๔ จิตรกรรมที่ปรับเปลี่ยนสู่สัจนิยม สมัยรัชกาลที ่ ๕ จิตรกรรมเหตุการณ์ทางประวัตศิ าสตร์ สมัยรัชกาลที่ ๖-๗ จิตรกรรมแบบย้อนยุค แบบไทย ประเพณี และแบบตะวันตก จิตรกรรมในรัชกาลปัจจุบัน ศิลปะร่วมสมัย 397 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
จิตรกรรม
สมัยรัชกาลที่ ๑-๒ จิตรกรรมแบบไทยประเพณี งานจิตรกรรมฝาผนังที่จัดอยู่ ในสมัยรัชกาลที่ ๑-๒ นั้นเหลือ หลักฐานอยู่น้อยมาก แม้ว่าตามประวัติปรากฏว่ามีมาแล้วตั้งแต่รัชกาล ที่ ๑ แต่ด้วยเหตุที่ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มีการบูรณะพระอารามครั้ง ใหญ่ จึงทำ�ให้จิตรกรรมส่วนหนึ่งได้รับการบูรณะด้วย อย่ า งไรก็ ต ามเท่ า ที่ เ หลื อ หลั ก ฐานอยู่ ทำ� ให้ ก ล่ า วได้ ว่ า งาน จิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๑-๒ นี้เป็นงานแบบไทยประเพณีที่สืบทอด มาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยส่วนหนึ่งพบอยู่ในกลุ่มวัดที่มีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายและได้รับการบูรณะใหม่ในสมัยรัชกาลที ่ ๑ เช่น วัดราชสิทธาราม วัดไชยทิศ วัดใหม่เทพนิมิต เป็นต้น กับอีกกลุ่ม หนึ่งมีหลักฐานว่าสร้างใหม่หรือปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ และมีหลักฐานการเขียนจิตรกรรมขึน้ ใหม่ เช่น พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล หอไตร วัดระฆังโฆสิตาราม พระอุโบสถ วัดดุสิดาราม และส่วนหนึ่ง ปรากฏอยู่ในภาพสมุดไทย เป็นต้น สำ�หรับจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๒ นัน้ แทบไม่ปรากฏหลักฐาน เหลืออยู่เลย แต่เดิมมักกล่าวว่า จิตรกรรมในพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม ที่เขียนเป็นภาพป่าหิมพานต์จัดเป็นงานในสมัยนี้ แต่จากการตรวจสอบเรือ่ งเทคนิคการเขียนแล้วพบว่าน่าจะเป็นงานเขียน ในสมัยรัชกาลที่ ๓๑ สอดคล้องกับประวัติการสร้างพระวิหารที่มาแล้ว เสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๓ รวมทั้งเรื่องราวต่างๆ นั้นเป็นเรื่องที่สัมพันธ์ กันทั้งหมด ที่เขียนเรื่องไตรภูมิโลกสัณฐานและประวัติพระอดีตพุทธเจ้า ซึ่งเป็นงานในสมัยรัชกาลที่ ๓ แล้วทั้งสิ้น๒
398 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
ลักษณะของจิตรกรรมไทยประเพณี ในความหมายของจิตรกรรมไทยประเพณีซง่ึ เป็นทีเ่ ข้าใจกันดีอยู่ ระดับหนึ่งแล้ว จึงขอกล่าวโดยสรุปความจากผู้เชี่ยวชาญงานจิตรกรรม ไทย ได้แก่ คุณวรรณิภา ณ สงขลา ในหนังสือ จิตรกรรมไทยประเพณี ๓ ๑. จิตรกรรมส่วนใหญ่เขียนด้วยสีฝนุ่ ผสมกาว (tempera technique) ทั้งที่เขียนบนผนังปูน บนผ้า ไม้ กระดาษ และอื่นๆ การเขียน ต้องมีการเตรียมพื้น เทคนิคสีและปูนแห้งช้าจึงเหมาะกับงานเขียน จิตรกรรมไทยเพราะต้องการความประณีต จึงเขียนช้าได้ ไม่ต้องเร่งรีบ ในการเขียน ๒. จิตรกรรมเขียนขึ้นจากความคิดที่เป็นมโนภาพ (idealistic arts) คือ การเขียนภาพที่เป็นนามธรรม เช่น ภาพเทวดา กษัตริย ์ แบบ กายทิพย์ ที่มีรูปร่างสัดส่วนสมบูรณ์ งดงาม ไม่แสดงกล้ามเนื้อ แต่มี ทรวดทรงอ่อนหวาน ๓. การเขียนภาพไม่มีปริมาตร (สองมิติ) ไม่เป็นภาพมีระยะ ใกล้-ไกล และลึก (สามมิติ) ไม่ทำ�ภาพที่มีวรรณะสีตามบรรยากาศ ๔. การเขียนภาพขนาดเล็ก ไม่แสดงความรู้สึกทางใบหน้า แต่ สื่อความหมายด้วยท่าทาง อิริยาบถต่างๆ (ท่าทางนาฏยศาสตร์) ภาพ สถาปัตยกรรมจะมีขนาดเล็ก ไม่ได้สัดส่วนกับภาพบุคคล ใช้เพียงเพื่อ สื่อความหมายของอาคารเท่านั้น แต่เน้นความงดงาม ๕. รูปแบบของตัวภาพมีลักษณะคล้ายกันทั้งหมด เช่น ภาพ เทพ กษัตริย์ เจ้านาย ข้าราชบริพาร บุคคลสามัญ อมนุษย์ เป็นต้น ๖. การแบ่งภาพด้วยลายสินเทา ธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่นํ้า ต้นไม้ กำ�แพง การจัดภาพเป็นกลุ่มเล็กๆ และเรียงลำ�ดับภาพต่อเนื่อง กันทั้งผนัง เว้นช่องไฟพองาม
399 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
จิตรกรรม
ลักษณะงานจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๑-๒ แผนผัง
แผนผั ง หลั ก ของงานจิ ต รกรรม คื อ ด้ า นหลั ง พระพุ ท ธรู ป ประธานเขียนภาพไตรภูมิ โลกสัณฐาน (รูปที่ ๒๑๙) ด้านหน้าพระ ประธานเป็นภาพมารผจญ (รูปที่ ๒๒๐) ผนังเหนือช่องหน้าต่างเขียน ภาพเทพชุ ม นุ ม ระหว่ า งช่ อ งหน้ า ต่ า งเขี ย นเรื่ อ งพุ ท ธประวั ติ หรื อ ทศชาติ หรือเขียนทั้งสองเรื่อง
เรื่องในงานจิตรกรรม เรื่องในงานจิตรกรรมนิยมเขียนเรื่องแบบไทยประเพณี ได้แก่ พุทธประวัติหรือปฐมสมโพธิกถา ทศชาติ เวสสันดรชาดก ไตรภูมิ โลก สัณฐาน เทพชุมนุม ทวารบาล ซึง่ เรือ่ งทัง้ หมดนีม้ แี นวคิดในการออกแบบ ที่สอดคล้องกัน คือ การเขียนภาพไตรภูมิโลกสัณฐานเพื่อแสดงให้เห็น ถึงภพภูมติ า่ งๆ ทีเ่ ขียนไว้ในคัมภีรท์ างศาสนา คือ การแสดงถึงศูนย์กลาง จักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง มีเขาสัตบริภัณฑ์เป็นวงแหวน ล้อมรอบ ๗ ชั้น มีกำ�แพงจักรวาล แสดงโลกสวรรค์ประกอบด้วย สวรรค์ชั้นต่างๆ ผู้ที่อยู่ยอดเขาพระสุเมรุ คือ พระอินทร์ ซึ่งถือเป็น เทวดาสูงสุดในพุทธศาสนาแบบเถรวาท แสดงโลกมนุษ ย์ ความเป็น จักรพรรดิราช และโลกของบาดาล ที่แสดงนรกภูมิ เปรตภูมิต่างๆ เพื่อ การสั่งสอนคนให้รู้จักความดี ความชั่ว ในการแสดงฉากไตรภูมิ โลก สัณฐานที่แสดงถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ได้เชื่อมโยงเข้ากับพุทธประวัติ ตอนเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และตอนเสด็จลง จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ การเขียนภาพไตรภูมิ โลกสัณฐานจึงมักเขียน ไว้บนผนังสกัดด้านหลังพระประธานทั้งผนัง ซึ่งถือเป็นฉากที่ยิ่งใหญ่ ฉากหนึ่ง ส่วนอีกฉากหนึ่งคือ พุทธประวัติตอนมารผจญ ซึ่งจะเขียนไว้ ที่ผนังสกัดด้านหน้าพระประธาน ส่วนเหนือกรอบประตูทางเข้า เขียน เต็มพื้นที่ ถือว่าเป็นพุทธประวัติตอนสำ�คัญที่สุดตอนหนึ่ง คือ ฉากการ ตรัสรู้ ในขณะที่พระพุทธองค์กำ�ลังจะทรงตรัสรู้นั้นมีพญามาร (พญา 400 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
รูปที่ ๒๑๙ จิตรกรรมฝาผนังด้านหลังพระประธาน เขียนภาพไตรภูมิโลกสัณฐาน พระอุโบสถ วัดสุวรรณาราม
401 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
จิตรกรรม
LSg*.YhOOO;cG; 9Wg ½ðÞïÞèÞáââêÞä
ET'T uoo <T9
°º©µ
MCI6JVG=Rc9D