ราคา ๔๘๐ บาท ISBN 978-616-7767-04-8
พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
หมวดศิลปะไทย
พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
พัฒนาการของงานช่าง และแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน
ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
๔๘๐.-
พัฒนาการของงานช่าง และแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน
ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
สารบัญ คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�ผู้เขียน กล่าวนำ�
๑๑ ๑๒ ๑๖
ภาคที่ ๑ : สถาปัตยกรรม
๒๐
เจดีย์
๒๑ ๒๓ ๒๓ ๖๒ ๘๖ ๘๖ ๘๘
สมัยรัชกาลที่ ๑-๓ เจดีย์ทรงปรางค์ : เจดีย์ที่ได้รับความนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๑-๓ เจดีย์ทรงเครื่อง สมัยรัชกาลที่ ๔ เจดีย์เพิ่มมุม เจดีย์ทรงระฆัง : เจดีย์แบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๔
อาคารหลังคาคลุม (พระอุโบสถ พระวิหาร และศาลาการเปรียญ) ๑๑๔ สมัยรัชกาลที่ ๑-๓
กลุ่มที่ ๑ แบบไทยประเพณี กลุ่มที่ ๒ แบบผสมระหว่างแบบไทยประเพณีกับแบบพระราชนิยม กลุ่มที่ ๓ แบบพระราชนิยม
สมัยรัชกาลที่ ๔ สมัยรัชกาลที่ ๕
อาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่นภายในวัด หอพระไตรปิฎก หอระฆัง กุฏิสงฆ์
๑๑๔ ๑๒๕ ๑๔๑ ๑๖๒ ๑๘๔ ๒๑๑ ๒๔๒ ๒๔๒ ๒๔๗ ๒๕๑
ภาคที่ ๒ : ประติมากรรม (พระพุทธรูป)
๒๖๑
๒๖๓ ๒๗๑ ๒๗๘ ๓๒๖ ๓๔๔ ๓๖๘ ๓๗๐
สมัยรัชกาลที่ ๑ สมัยรัชกาลที่ ๒ สมัยรัชกาลที่ ๓ สมัยรัชกาลที่ ๔ สมัยรัชกาลที่ ๕ สมัยรัชกาลที่ ๖ จนถึงปัจจุบัน
สมัยรัชกาลที่ ๖ ถึงรัชกาลที่ ๗ (สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕) สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. ๒๔๗๕) ถึงรัชกาลปัจจุบัน
๓๗๖
ภาคที่ ๓ จิตรกรรม
๓๙๖
๓๙๘ ๔๒๐
สมัยรัชกาลที่ ๑-๒ จิตรกรรมแบบไทยประเพณี สมัยรัชกาลที่ ๓ จิตรกรรมแบบไทยประเพณีและแบบนอกอย่าง (อิทธิพลศิลปะจีน) สมัยรัชกาลที่ ๔ จิตรกรรมที่ปรับเปลี่ยนสู่สัจนิยม สมัยรัชกาลที่ ๕ การเขียนภาพเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ สมัยรัชกาลที่ ๖-๗ จิตรกรรมไทยประเพณีย้อนยุค จิตรกรรมในรัชกาลปัจจุบัน : ศิลปะร่วมสมัย
บทสรุป บรรณานุกรม
๔๖๘ ๕๒๑ ๕๓๕ ๕๔๖ ๕๕๗ ๕๕๘
กล่าวน�ำ ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระ เจ้าตากสินทรงกอบกู้บ้านเมืองได้สำ�เร็จ ทรงเล็งเห็นว่ากรุงศรีอยุธยา เสียหายอย่างมาก ยากแก่การบูรณปฏิสังขรณ์ พระองค์จึงทรงตั้ง ราชธานีขึ้นใหม่ที่กรุงธนบุรีอันเป็นเมืองที่มีความสำ�คัญมาแล้วตั้งแต่ ครั้งกรุงศรีอยุธยา และใช้เป็นราชธานีอยู่ ๑๕ ปี เนื่องจากกรุงธนบุรี เป็นราชธานีในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และเป็นช่วงศึกสงคราม การสร้าง งานศิลปกรรมต่างๆ ปรากฏหลักฐานอยู่น้อยมาก และทำ�ตามแบบ อย่างงานศิลปกรรมในสมัยอยุธยาเป็นสำ�คัญ ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาฝั่งตรงข้าม คือฝั่งตะวันออกของ แม่นํ้าเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ให้นามพระนครใหม่ว่า “กรุงเทพ มหานครฯ” จึงได้มีการเริ่มต้นในการสถาปนาบ้านเมือง ได้แก่ การ สร้างพระราชวังและการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามขึ้นใหม่ สมัย รั ต นโกสิ น ทร์ ต อนต้ น ระหว่ า งรั ช กาลที่ ๑-๒ จึ ง ถื อ เป็ น ยุ ค แห่ ง การ ฟื้นฟูบูรณปฏิสังขรณ์ งานสร้างสรรค์ศิลปกรรมส่วนใหญ่จึงทำ�ตาม แบบแผนประเพณีนิยมที่มีมาแต่เดิมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ ๓ บ้ า นเมื อ งว่ า งเว้ น จากการศึ ก สงคราม มี ก ารติ ด ต่ อ ค้ า ขายกั บ ต่างประเทศโดยเฉพาะเมืองจีน ทำ�ให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ประกอบกับพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชศรั ทธาใน 16 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
พระพุทธศาสนา ทรงทำ�นุบำ�รุง สร้าง และบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม รวมทั้งสนับสนุนให้เจ้านายและขุนนางสร้างวัดด้วยเช่นกัน จนมีคำ� กล่าวติดปากว่า “ใครใจบุญสร้างวัดก็จะเป็นคนโปรด” ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีวัดที่สถาปนาขึ้นใหม่เป็นจำ�นวนมากในรัชกาลของพระองค์ และมี การเปลี่ยนแปลงครั้งสำ�คัญในการสร้างวัดทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และงานจิตรกรรม คือ เริ่มมีอิทธิพลของศิลปะจาก ภายนอกเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอิทธิพลศิลปะจีน จนเกิดเป็นงานศิลปะ แบบใหม่ขึ้นที่เรียกว่า “ศิลปะแบบนอกอย่าง” หรือ “แบบพระราช- นิยม” ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ ๔ ถื อ เป็ น ยุ ค ที่ มี ก ระแสของอารยธรรมตะวั น ตกเข้ า มามี บ ทบาท ในราชสำ�นัก ความนิยมในการสร้างงานแบบพระราชนิยมในรัชกาล ที่ ๓ ที่เป็นอิทธิพลศิลปะจีนนั้นค่อยๆ หมดไป งานศิลปกรรมส่วนหนึ่ง หันกลับไปสร้างงานตามแบบประเพณีนิยมที่มีมาแต่เดิม แต่อีกส่วน หนึ่ ง เป็ น การรั บ อิ ท ธิ พ ลศิ ล ปะตะวั น ตกเข้ า มาใช้ อั น เป็ น ยุ ค ที่ เ รี ย ก ว่า “สัจนิยม” เกิดขึ้น จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จึงมีการปรับตัวเข้ายุคใหม่อย่างแท้จริง การสร้าง วัดวาอารามต่างๆ น้อยลง สิ่งสำ�คัญที่รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ 17 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
กล่าวน�ำ
ในพระราชนิยมของพระองค์ ส่วนเจดีย์เพิ่มมุมไม้สิบสองนั้นพบไม่มาก นัก มีเจดีย์องค์สำ�คัญ คือ เจดีย์ประจำ�รัชกาลที่ ๔ ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้มีรูปแบบสอดคล้องกับเจดีย์ประจำ� รัชกาลที่ ๑-๓ ที่เป็นเจดีย์ทรงเครื่อง ในการกล่าวถึงเจดีย์ได้ลำ�ดับความสำ�คัญตามรูปแบบในแต่ละ แบบพร้อมกับลำ�ดับช่วงเวลาที่เจดีย์รูปแบบนั้นได้รับความนิยมและ หมดความนิยมไป โดยอธิบายถึงลักษณะรูปแบบที่สำ�คัญ ที่มาของ รูปแบบ คติการสร้าง หน้าที่การใช้งาน ดังนี้
22 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่ ๑-๓ เจดีย์ทรงปรางค์ : เจดีย์ที่ได้รับความนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๑-๓ เจดีย์ทรงปรางค์เป็นงานสถาปัตยกรรมที่สืบทอดมาจากศิลปะ อยุธยาตอนปลาย ได้พบหลักฐานปรากฏจำ�นวนมากในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น และคงหมดความนิยมไปเมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๓ เพราะเมื่อถึง รัชกาลที่ ๔ ไม่ปรากฏว่ามีการสร้างเจดีย์ทรงปรางค์อีกเลย เนื่องจาก พระองค์โปรดเจดีย์ทรงระฆังมากกว่า ที่ยังปรากฏอยู่บ้างคือ ปราสาท พระเทพบิดร ซึง่ เป็นการนำ�เจดียท์ รงปรางค์ไปต่อเป็นส่วนบนของหลังคา จัตุรมุขเท่านั้น ดังนั้นเจดีย์ทรงปรางค์จึงถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง ของงานสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๑-๓ โดยเฉพาะงานที่สร้างใน สมัยรัชกาลที่ ๓ จะพบมากและเป็นการสร้างปรางค์ในยุคสุดท้ายของ สถาปัตยกรรมไทย
คติการสร้างเจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์ทรงปรางค์มีวิวัฒนาการมาจากปราสาทซึ่งเป็นที่สถิต ของเทพเจ้า โดยถือเป็นการจำ�ลองเขาพระสุเมรุมาสร้างบนโลกมนุษย์ ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย รูปแบบนี้ได้ถ่ายทอด มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมกับการรับศาสนาและอารยธรรม อิ น เดี ย ของดิ น แดนในแถบนี้ โดยเฉพาะในอาณาจั ก รชวา จามปา กัมพูชา และไทย ภายหลังจากขอมหมดอำ�นาจทางการเมืองและอิทธิพลทาง ศิลปกรรมไปจากภาคกลางของประเทศไทยแล้วในสมัยก่อนอยุธยา ศาสนสถานส่วนหนึ่งของขอมได้รับการดัดแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนาแบบเถรวาท และบางครั้ ง ตั ว ปราสาทได้ ส ร้ า งขึ้ น เพื่ อ บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุแทนการตั้งรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์หรือพุทธศาสนามหายาน นอกจากนี้รูปทรงของสถาปัตยกรรมประเภทดังกล่าว 23 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
สถาปัตยกรรม
ได้ มี วิ วั ฒ นาการสู ง ขึ้ น จึ ง เรี ย กว่ า “ปรางค์ ” และถ้ า นั บ รวมถึ ง วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างปรางค์ด้วยแล้ว ปรางค์จึงหมายถึง เจดีย์ รูปแบบหนึ่ง๑ เจดียท์ รงปรางค์ได้รบั ความนิยมอย่างมากในงานสถาปัตยกรรม สมัยอยุธยาตอนต้น และกลับมานิยมอีกครั้งหนึ่งในสมัยอยุธยาตอน ปลายสืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๑-๓) ส่วน คติการสร้างปรางค์ในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น นอก เหนือจากใช้แทนความหมายของเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว อาจมีคติในเรือ่ งเขาพระสุเมรุหรือศูนย์กลางของจักรวาลเข้ามาเกีย่ วข้อง ด้วย แต่เป็นการสร้างขึ้นตามความเชื่อของพุทธศาสนาแบบเถรวาท แล้ว เช่น พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม (รูปที่ ๑) เป็นต้น
รูปที่ ๑ พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
24 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
องค์ประกอบของเจดีย์ทรงปรางค์ ส่วนฐาน ปรางค์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่ประกอบ ด้วยชุดฐานสิงห์ ๓ ฐานในผังย่อมุมหรือเพิ่มมุมหลายมุม เช่น ย่อมุมไม้ ยี่สิบ และแต่ละมุมมีขนาดเท่ากัน ส่วนกลาง ประกอบด้วยเรือนธาตุในผังย่อมุมทีม่ มุ ทุกมุมมีขนาด เท่ากัน ที่เรือนธาตุมีจระนำ�ซุ้มทั้งสี่ด้าน มีข้อสังเกตคือ ตามประเพณี นิยมโดยทั่วไปตั้งแต่สมัยอยุธยา ในจระนำ�ซุ้มมักประดิษฐานพระพุทธรูป แต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้มีการปรับเปลี่ยนไป ส่วนหนึ่งยังคง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ แต่ส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นพระสาวก พระอินทร์ เทวดา และยักษ์ (อสูร) ได้แก่ ท้าวจัตุโลกบาล แสดงถึง ตำ�แหน่งและหน้าที่ของปรางค์ที่ปรับเปลี่ยนไป ส่วนบน เหนือเรือนธาตุขึ้นไปที่เป็นชั้นเชิงบาตร มักทำ�เป็นชั้น ครุฑแบก เทวดาแบก หรือยักษ์แบก อาจมีเพียงชั้นเดียว ๒ ชั้น หรือ ๓ ชั้น รองรับส่วนบนประกอบด้วยเรือนชั้นซ้อนหลายชั้น ส่วนใหญ่ ประมาณ ๕-๖ ชั้น ตามระเบียบของปรางค์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอน ต้น สัดส่วนของปรางค์สูงเพรียว เพิ่มมุม โดยทุกมุมมีขนาดเท่ากัน ข้อสังเกตที่แสดงให้เห็นว่าปรางค์ได้มีพัฒนาการเป็นปรางค์ในสมัย รั ต นโกสิ น ทร์ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง แล้ ว คื อ การประดั บ กลี บ ขนุ น ปรางค์ แ ละ บรรพแถลงแนบติดกับผนังในแต่ละชั้นแล้ว และที่สำ�คัญคือ ส่วนของ บรรพแถลงได้รวมเป็นส่วนเดียวกับช่องวิมานและใบขนุนแล้ว จนเหลือ เป็ น เพี ย งใบขนุ น ที่ แ ปะติ ด กั บ ผนั ง แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ความหมายและ สัญลักษณ์เดิมที่มีมาตั้งแต่วัฒนธรรมขอมที่มีช่องวิมาน บรรพแถลง และใบขนุนปิดหน้าช่องวิมานอันเป็นสัญลักษณ์ของปราสาทในแต่ละชั้น ของเทพเจ้านั้นได้หมดไปแล้ว
25 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
สถาปัตยกรรม
อาคารแบบไทยประเพณี
ช่อฟ้า ใบระกา หน้าบรรพ์ (หน้าบัน) นาคลํายอง
หางหงส์
คันทวย เสาย่อมุม ซุ้มสีมาทรง ปราสาทยอด
รูปที่ ๖๐ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สร้างเป็นอาคารแบบไทยประเพณี
126 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
หน้าบันแบบไทยประเพณี (รูปที่ ๖๑)
ประกอบด้วย ไขราที่ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน ประดับลวดลายไม้จำ�หลักรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณตรงกลาง ล้อมรอบ ด้วยลายกระหนกเปลว มีลายเทพนมแทรกอยู่ในกระหนกเปลว ตัวอย่าง ทีส่ ำ�คัญคือ หน้าบันพระอุโบสถ วัดพระศรีรตั นศาสดาราม ทีส่ ร้างขึน้ ใน สมัยรัชกาลที่ ๑ วัดสุวรรณาราม เขตบางกอกน้อย สร้างสมัยรัชกาล ที่ ๓ เป็นต้น
รูปที่ ๖๑ หน้าบัน พระอุโบสถ วัดสุวรรณาราม กรุงเทพฯ
รูปที่ ๖๑ ก รายละเอียดหน้าบัน รูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ พระอุโบสถ วัดสุวรรณาราม
127 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
สถาปัตยกรรม
หน้าบันลักษณะนีจ้ ดั เป็นแบบประเพณีนยิ มทีม่ รี ปู แบบทีส่ บื ทอด มาจากศิลปะสมัยอยุธยา ซึ่งนิยมประดับประติมากรรมรูปพระนารายณ์ ทรงสุบรรณ อาจใช้ในความหมายของวัดทีพ่ ระมหากษัตริยท์ รงสร้างหรือ เป็นผู้อุปถัมภ์จนกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ทำ�สืบต่อกันมา จนเริ่มมีการ เปลี่ ย นแปลงในสมั ย รั ช กาลที่ ๓ ที่ เ ปลี่ ย นเป็ น พระอิ น ทร์ ท รงช้ า ง เอราวัณ เช่นที่วัดสุทัศนเทพวราราม
คันทวยและบัวหัวเสา (รูปที่ ๖๒)
คันทวย คือ ไม้คํ้าที่ติดกับเสาเพื่อรองรับชายคา คันทวยและ บัวหัวเสานับเป็นงานประดับอาคารที่ต้องสร้างคู่กันเสมอ และส่วนใหญ่ จะประดับเสาย่อมุม อันเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมแบบ ประเพณีท่ีมีมาแต่เดิมเช่นในสมัยอยุธยา ลักษณะของคันทวยในสมัย รัตนโกสินทร์มีวิวัฒนาการต่างไปจากงานช่างในสมัยอยุธยาแล้ว คือ
รูปที่ ๖๒ คันทวยและบัวหัวเสา พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
128 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
คันทวยจะมีขนาดเล็กส่วนโคนใหญ่ปลายเรียว มีลักษณะที่บอบบาง มากกว่าในสมัยอยุธยา จนดูแล้วเหมือนงานประดับมากกว่าจะเป็นส่วน ที่รองรับนํ้าหนักชายคาอย่างแท้จริง ในขณะที่สมัยอยุธยาคันทวยจะ มีขนาดใหญ่ส่วนโคนและปลายมีขนาดที่ไล่เลี่ยกัน แสดงให้เห็นถึงการ รับนํ้าหนักอย่างแท้จริง ตัวอย่างสำ�คัญที่เหลือหลักฐานอยู่ เช่น ที่พระ อุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น บั ว หั ว เสาที่ เ รี ย กว่ า บั ว แวง : เอกลั ก ษณ์ ข องงานช่ า งสมั ย รัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๑-๓) บัวแวง ถือเป็นกลีบบัวหัวเสาที่มีลักษณะเฉพาะในศิลปะสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ กลีบบัวเรียวยาวและมีส่วนปลายที่สะบัดเล็ก น้อย ลักษณะของบัวแวงที่ทำ�เป็นกลีบบัวยาวแบบนี้เรียกว่า บัวแบบ คล้ายใบดาบ มีวิวัฒนาการมาจากบัวหัวเสาในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศลงมา ถ้าเป็นสมัย ก่อนหน้านั้น เช่น ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระ นารายณ์ กลีบบัวจะเป็นแบบใบสามเหลี่ยมคล้ายใบหอก แต่ถ้าเป็น สมัยอยุธยาตอนต้นไปจนถึงสมัยสุโขทัยจะเป็นกลีบบัวแบบธรรมชาติ เรียกว่า บัวทรงคลุ่ม หรือบัวโถ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นแม้ว่าจะสืบทอดรูปแบบมาจาก สมัยอยุธยาตอนปลายแต่มีส่วนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ สมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนปลายของกลีบบัวจะสะบัดพริ้ว ตัวอย่างที่ สำ�คัญคือ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในขณะที่กลีบบัว สมัยอยุธยาจะไม่สะบัดปลาย การประดับบัวหัวเสาและคันทวยนี้พบเฉพาะงานสถาปัตยกรรมแบบประเพณีที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยาเท่านั้น ส่วนในงาน สถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที ่ ๓ ที่เป็นแบบพระราชนิยม หรือกลุ่มที่มี การผสมผสานรูปแบบไทยประเพณีแต่ใช้โครงสร้างหลังคาแบบรัชกาล ที่ ๓ เช่น การใช้เสาที่เป็นแท่งสี่เหลี่ยมกลุ่มนี้จะไม่ประดับบัวหัวเสา และคันทวยแล้ว
129 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
สถาปัตยกรรม
กล่าวน�ำ ในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๒ นั้นมีการ สร้างพระพุทธรูปน้อยมาก เนื่องจากเป็นระยะเวลาแห่งการสร้างบ้าน แปงเมือง เน้นการบูรณะซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วัดที่มีอยู่เดิมเป็นหลัก และที่ส�ำ คัญคือ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูป จากหัวเมืองต่างๆ โดยเฉพาะจากสุโขทัยและอยุธยาลงมากรุงเทพฯ ปรากฏในเอกสารว่านำ�มาประดิษฐานที่ระเบียงคด วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จำ�นวน ๑,๒๘๘ องค์๑ และได้พระราชทานไปยังวัดต่างๆ ที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยนั้น ด้วยเหตุนี้พระพุทธรูปประธานหรือ พระพุทธรูปสำ�คัญที่ประดิษฐานตามวัดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ส่วน หนึ่ ง จึ ง เป็ น พระพุ ท ธรู ป สมั ย ต่ า งๆ ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น พระพุ ท ธรู ป สมัยสุโขทัยและอยุธยา พระพุทธรูปสำ�คัญในสมัยสุโขทัย เช่น พระ ศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม พระพุทธรูปสมัยอยุธยา เช่น พระ พุทธเทวปฏิมากร พระประธานในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งเป็นยุคสมัยที่บ้านเมืองเริ่มเข้าสู่ ภาวะสงบ เริ่มมีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ จึงมีการสถาปนาและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเป็นจำ�นวนมาก ในยุคนี้จึงมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่พร้อมกับการสร้างวัด และเกิดเป็นรูปแบบใหม่ของพุทธศิลป์ ในสมัยรัตนโกสินทร์อย่างแท้จริง รวมทั้งมีประเพณีการสร้างสืบต่อมา จนถึงปัจจุบัน 262 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที ่ ๑ พระพุทธรูปที่สร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที ่ ๑ ในรั ช สมั ย ของพระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานการสร้างพระพุทธรูป ไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปสำ�คัญที่โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้น เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่องที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่ บูรพมหากษัตริย์ ซึ่งการสร้างเพื่อการอุทิศพระราชกุศลถวายมีปรากฏ ในเอกสารการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องสำ�คัญ และพบว่าคติการ สร้างเพื่อการอุทิศพระราชกุศลถวายนั้นมีมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา กล่าวคือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงหล่อพระ ศรี ส รรเพชญ์ หุ้ ม ด้ ว ยทองสู ง ตั้ ง แต่ พ ระบาทถึ ง พระรั ศ มี ๘ วา และ กษัตริย์อยุธยาสมัยหลังได้สถาปนาพระพุทธรูปสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๑ เพื่อนมัสการ และได้พบว่ารัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาพระพุทธรูป สำ�คัญ คือ พระพุทธจุลจักรและพระพุทธจักรพรรดิเพื่อการอุทิศพระราชกุศลถวาย ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับคติและรูปแบบของพระพุทธรูป ทรงเครื่องต้นนี้ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดย เรียกว่า พระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างพระมหาจักรพรรดิ ๒ ส่วนใหญ่ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำ�ริดแล้วหุม้ ด้วยทองคำ� ลักษณะทรงเครือ่ งต้น ประดับลวดลายลงยาราชาวดี ประดับด้วยเนาวรัตน์ มีพุทธลักษณะที่ ใกล้เคียงกันทุกพระองค์ คือ เป็นพระพุทธรูปยืน ยกพระหัตถ์ทง้ั สองข้าง แสดงปางประทานอภั ย (ปางห้ า มสมุ ท ร) ทรงเครื่ อ งต้ น อย่ า งพระ มหาจักรพรรดิ คือ ทรงมงกุฎประกอบกรรเจียกจอน ทรงกรองศอ มีทับทรวง พาหุรัด ทองกร แหวนรอบ ปะวะหลํ่า พระธำ�มรงค์ทุกนิ้ว พระหัตถ์ แสดงการครองจีวรไว้ด้านในซึ่งมีทั้งที่ห่มเฉียงและห่มคลุม มี เ ครื่ อ งประดั บ จี ว รอี ก ชั้ น หนึ่ ง ประกอบด้ ว ยสายรั ด องค์ ท่ี ป ระดั บ ปั้นเหน่งรูปดอกไม้และมีสุวรรณกระถอบห้อยอยู่ การนุ่งสบงมีผ้าจีบ หน้านาง มีเจียระบาดและชายไหวชายแครงซ้อนกัน ๓ ชั้น ที่พระบาท ทรงทองพระบาทและฉลองพระบาทเชิงงอน 263 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ประติมากรรม (พระพุทธรูป)
สมัยรัชกาลที่ ๑-๒ จิตรกรรมแบบไทยประเพณี งานจิตรกรรมฝาผนังที่จัดอยู่ ในสมัยรัชกาลที่ ๑-๒ นั้นเหลือ หลักฐานอยู่น้อยมาก แม้ว่าตามประวัติปรากฏว่ามีมาแล้วตั้งแต่รัชกาล ที่ ๑ แต่ด้วยเหตุที่ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มีการบูรณะพระอารามครั้ง ใหญ่ จึงทำ�ให้จิตรกรรมส่วนหนึ่งได้รับการบูรณะด้วย อย่ า งไรก็ ต ามเท่ า ที่ เ หลื อ หลั ก ฐานอยู่ ทำ� ให้ ก ล่ า วได้ ว่ า งาน จิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๑-๒ นี้เป็นงานแบบไทยประเพณีที่สืบทอด มาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยส่วนหนึ่งพบอยู่ในกลุ่มวัดที่มีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายและได้รับการบูรณะใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เช่น วัดราชสิทธาราม วัดไชยทิศ วัดใหม่เทพนิมิต เป็นต้น กับอีกกลุ่ม หนึ่งมีหลักฐานว่าสร้างใหม่หรือปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ และมีหลักฐานการเขียนจิตรกรรมขึน้ ใหม่ เช่น พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล หอไตร วัดระฆังโฆสิตาราม พระอุโบสถ วัดดุสิดาราม และส่วนหนึ่ง ปรากฏอยู่ในภาพสมุดไทย เป็นต้น สำ�หรับจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๒ นัน้ แทบไม่ปรากฏหลักฐาน เหลืออยู่เลย แต่เดิมมักกล่าวว่า จิตรกรรมในพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม ที่เขียนเป็นภาพป่าหิมพานต์จัดเป็นงานในสมัยนี้ แต่จากการตรวจสอบเรือ่ งเทคนิคการเขียนแล้วพบว่าน่าจะเป็นงานเขียน ในสมัยรัชกาลที่ ๓๑ สอดคล้องกับประวัติการสร้างพระวิหารที่มาแล้ว เสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๓ รวมทั้งเรื่องราวต่างๆ นั้นเป็นเรื่องที่สัมพันธ์ กันทั้งหมด ที่เขียนเรื่องไตรภูมิโลกสัณฐานและประวัติพระอดีตพุทธเจ้า ซึ่งเป็นงานในสมัยรัชกาลที่ ๓ แล้วทั้งสิ้น๒
398 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
ลักษณะของจิตรกรรมไทยประเพณี ในความหมายของจิตรกรรมไทยประเพณีซง่ึ เป็นทีเ่ ข้าใจกันดีอยู่ ระดับหนึ่งแล้ว จึงขอกล่าวโดยสรุปความจากผู้เชี่ยวชาญงานจิตรกรรม ไทย ได้แก่ คุณวรรณิภา ณ สงขลา ในหนังสือ จิตรกรรมไทยประเพณี ๓ ๑. จิตรกรรมส่วนใหญ่เขียนด้วยสีฝนุ่ ผสมกาว (tempera technique) ทั้งที่เขียนบนผนังปูน บนผ้า ไม้ กระดาษ และอื่นๆ การเขียน ต้องมีการเตรียมพื้น เทคนิคสีและปูนแห้งช้าจึงเหมาะกับงานเขียน จิตรกรรมไทยเพราะต้องการความประณีต จึงเขียนช้าได้ ไม่ต้องเร่งรีบ ในการเขียน ๒. จิตรกรรมเขียนขึ้นจากความคิดที่เป็นมโนภาพ (idealistic arts) คือ การเขียนภาพที่เป็นนามธรรม เช่น ภาพเทวดา กษัตริย ์ แบบ กายทิพย์ ที่มีรูปร่างสัดส่วนสมบูรณ์ งดงาม ไม่แสดงกล้ามเนื้อ แต่มี ทรวดทรงอ่อนหวาน ๓. การเขียนภาพไม่มีปริมาตร (สองมิติ) ไม่เป็นภาพมีระยะ ใกล้-ไกล และลึก (สามมิติ) ไม่ทำ�ภาพที่มีวรรณะสีตามบรรยากาศ ๔. การเขียนภาพขนาดเล็ก ไม่แสดงความรู้สึกทางใบหน้า แต่ สื่อความหมายด้วยท่าทาง อิริยาบถต่างๆ (ท่าทางนาฏยศาสตร์) ภาพ สถาปัตยกรรมจะมีขนาดเล็ก ไม่ได้สัดส่วนกับภาพบุคคล ใช้เพียงเพื่อ สื่อความหมายของอาคารเท่านั้น แต่เน้นความงดงาม ๕. รูปแบบของตัวภาพมีลักษณะคล้ายกันทั้งหมด เช่น ภาพ เทพ กษัตริย์ เจ้านาย ข้าราชบริพาร บุคคลสามัญ อมนุษย์ เป็นต้น ๖. การแบ่งภาพด้วยลายสินเทา ธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่นํ้า ต้นไม้ กำ�แพง การจัดภาพเป็นกลุ่มเล็กๆ และเรียงลำ�ดับภาพต่อเนื่อง กันทั้งผนัง เว้นช่องไฟพองาม
399 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
จิตรกรรม
รูปที่ ๒๒๐ จิตรกรรมฝาผนังด้านหน้าพระประธาน เขียนภาพมารผจญ พระอุโบสถ วัดไชยทิศ
รูปที่ ๒๒๑ ภาพเทพชุมนุม พระอุโบสถ วัดสุวรรณาราม 402 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
วสวัสดีมาร) ยกกองทัพมาเพื่อจะขัดขว้างการตรัสรู้ พระพุทธเจ้าจึง ทรงเรียกแม่พระธรณีมาเป็นพยาน แม่พระธรณีจงึ บีบมวยผมอันเป็นนํา้ แห่งธารบารมีของพระพุทธองค์ที่ทรงบำ�เพ็ญไว้ ในแต่ละพระชาติ ไหล ท่วมเหล่ากองทัพมารให้พ่ายแพ้ ไป และพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ในที่สุด ส่วนเรื่องราวที่เป็นเรื่องหลักพบทั้งสองเรื่อง ได้แก่ พุทธประวัติ และทศชาติ บางแห่งเขียนเฉพาะทศชาติ บางแห่งเขียนเฉพาะพุทธประวัต ิ หรือบางแห่งก็เขียนปนกัน โดยเรื่องต่างๆ นั้นจะเขียนตรงพื้นที่ ระหว่างช่องหน้าต่าง
ภาพเทพชุมนุม นิยมเขียนเป็นเทวดานั่งหันด้านข้างมองไปในทางเดียวกัน (รูป ที่ ๒๒๑) เขียนอยู่เหนือกรอบหน้าต่างที่ผนังทั้งสองข้าง โดยทำ�เป็นแถว ประมาณ ๓ หรือ ๔ แถว ทั้งนี้แล้วแต่พื้นที่ของผนัง แนวคิดและคติ การสร้างเทพชุมนุมนั้นมาจากพุทธประวัติตอนตรัสรู้ที่ในคัมภีร์กล่าวถึง เหล่าทวยเทพจากหมื่นจักรวาลต่างลงมาแสดงความชื่นชมยินดีในคราว ที่ พ ระพุ ท ธองค์ ท รงตรั ส รู้ การเสด็ จ ลงมาในครั้ ง นี้ ไ ม่ มี ก ารแบ่ ง ชั้ น วรรณะ เหล่าเทวดาเสด็จมาพร้อมดอกไม้สวรรค์ที่ โปรยปราย การ แสดงออกของภาพเทพชุมนุมในท่านัง่ และหันพระพักตร์ ไปยังพระพุทธรูปประธานเท่ากับว่าพระพุทธรูปประธาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย คือตอนที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้ว แสดงให้เห็นว่า การออกแบบภายในอาคารที่มีทั้งงานประติมากรรมและจิตรกรรมนั้นมี ความสัมพันธ์กันทั้งแนวคิดและคติการสร้าง๔
ทวารบาล ทีบ่ านประตูและหน้าต่างเขียนภาพทวารบาลอย่างไทยประเพณี (รูปที ่ ๒๒๒) ได้แก่ ทวารบาลทีม่ หี น้าตาแบบเทวดาไทย (แบบหุน่ ละคร) เป็นทวารบาลคู่ หันพระพักตร์เข้าหากันระหว่างบานหน้าต่างประตู ถือพระขรรค์ มีเครื่องทรงอย่างไทยประเพณี ทั้งการนุ่งผ้าและเครื่อง ประดับทั้งหลาย เช่น มงกุฎ กรองศอ เป็นต้น ลักษณะของทวารบาล ดังกล่าวนี้เป็นการทำ�สืบต่อมาจากศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย 403 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
จิตรกรรม
งานจิตรกรรมฝาผนังที่ปรับเปลี่ยน ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ศิลปะแบบนอกอย่าง หรืออย่างเทศ (อิทธิพลศิลปะจีน) ส่วนหนึ่งของงานจิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัชกาลที ๓ ่ ได้มีการ ปรับเปลี่ยนไปเป็นงานอย่างใหม่พร้อมๆ กับการสร้างสถาปนาวัดใหม่ที่ เป็นแบบพระราชนิยม เมื่อศิลปกรรมของวัดเปลี่ยนไป งานศิลปกรรม อื่นๆ ก็ย่อมเปลี่ยนตามรวมทั้งงานจิตรกรรมฝาผนังด้วยเช่นกัน อาจ กล่าวว่าเป็นแบบพระราชนิยมอย่างจีน ประกอบด้วยงานจิตรกรรม ๓ ลักษณะ ได้แก่ แบบแรก คือ เรื่องราวอย่างจีน แบบที่ ๒ เป็น ลวดลายมงคลอย่างจีน แบบที่ ๓ คือ งานประดับตกแต่งลวดลาย ดอกไม้ ที่เรียกว่า “ลายแบบนอกอย่าง” หรือ “ลายอย่างเทศ” ซึ่งแบบ ที่ ๓ นี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำ�คัญของงานจิตรกรรมไทยที่ไม่ เขียนเรื่องราวตามแบบแผนประเพณี แต่เป็นงานประดับตกแต่งผนัง คือ การตกแต่งภายใน (interior design) เพื่อสร้างบรรยากาศภายใน พระอุโบสถ ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบของอาคารที่พบอยู่ ในกลุ่มที่เป็น แบบพระราชนิยมที่สร้างขึ้นใหม่ การประดับซุ้มประตูหน้าต่างก็เป็น ลายอย่างเทศ ไม่ ใช่ซุ้มบรรพแถลงหรือปราสาทยอด อันเป็นงานแนว ใหม่เช่นเดียวกัน๔๐
แบบที่ ๑ เรื่องราวแบบจีน
ส่วนหนึ่งของงานจิตรกรรมแนวจีนหรืออิทธิพลศิลปะจีนมีการ เปลี่ ย นแปลงเรื่ อ งที่ ส อดคล้ อ งกั บ แบบไทยประเพณี ที่ มี ก ารเขี ย น วรรณกรรมทางศาสนาเพิ่มขึ้น รวมทั้งเรื่องในวรรณคดี ในส่วนของ ศิลปะแบบพระราชนิยมจึงได้มีการนำ�วรรณกรรมจีนมาเขียนด้วย ได้แก่ สามก๊ก พบหลักฐานที่สำ�คัญ ๒ แห่ง คือ จิตรกรรมแบบกำ�มะลอที่ พระอุโบสถ วัดนางนอง และจิตรกรรมฝาผนังที่วัดประเสริฐสุทธาวาส
456 พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
• พระอุโบสถ วัดนางนอง
งานจิตรกรรมภายในพระอุโบสถมีหลายเรื่อง ประกอบด้วย ที่ ผนังพระอุโบสถส่วนบนเหนือกรอบหน้าต่างทุกด้านเขียนเรื่องชมพูบดีสูตร เป็นงานเขียนสีลงบนฝาผนัง ส่วนระหว่างช่องหน้าต่างเป็นงาน เขียนบนรักอย่างจีนที่เรียกว่า ลายกำ�มะลอ เรื่อง สามก๊ก (รูปที่ ๒๕๖) และพื้นที่ระหว่างบานประตู ด้านหน้าเป็นภาพสำ�คัญคือ ฮก ลก ซิ่ว พร้อมทั้งเครื่องมงคลแบบจีน (รูปที่ ๒๕๗) นับเป็นฝีมือการเขียนลาย กำ�มะลอสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่สมบูรณ์อีกแห่งหนึ่ง ส่วนที่วัดประเสริฐสุทธาวาสเป็นจิตรกรรมแบบจีนเขียนเรื่อง สามก๊กทั้งหมด โดยเขียนในกรอบสี่เหลี่ยมเป็นช่องๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ เชื่อว่าผู้เขียนเป็นช่างจีน เพราะใช้เทคนิคการเขียนแบบพู่กันจีน และ เขียนอักษรจีนบอกชื่อภาพและตัวบุคคล๔๑
แบบที่ ๒ ลวดลายเครื่องโต๊ะ เครื่องตั้ง และเครื่อง มงคลจีน
งานจิตรกรรมประเภทนี้มีปรากฏเกือบทุกวัดที่เป็นแบบพระราชนิยม รวมทั้งมีการเขียนแทรกไว้ตามบานประตูหน้าต่างวัดที่มีงาน แบบประเพณีนิยมด้วยเช่นกัน การเขียนลายจีนนี้ประกอบด้วยเครื่อง โต๊ะ เครื่องตั้ง อย่างจีน (รูปที่ ๒๕๗) มีสัญลักษณ์ของความเป็นมงคล ต่างๆ และรูปบุคคลในชุดฮก ลก ซิ่ว เช่น แจกันดอกไม้ ผลไม้ และ ดอกไม้มงคล เช่น นํ้าเต้า ส้ม ส้มโอมือ ดอกโบตั๋น ดอกพุดตาน สัตว์ มงคล เช่น ค้างคาว ผีเสื้อ นก หงส์ ไก่ฟ้า อาวุธที่แสดงถึงเกียรติยศ ชื่อเสียง เป็นต้น โดยการเขียนภาพลวดลายมงคลจะประกอบอยู่กับ เครื่องโต๊ะ เครื่องตั้ง อันเป็นแบบแผนการตั้งเครื่องมงคลหรือเครื่อง บูชาอย่างจีน ภาพชุดเครื่องมงคลแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มคือ (๑) กลุ่ม ที่แสดงถึงความมีอำ�นาจ เช่น พวกอาวุธต่างๆ และ (๒) เครื่องมงคลที่ เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ความสุข ความมีอายุยืน ข้อสันนิษ ฐานเรื่องเครื่องโต๊ะ เครื่องตั้งอย่างจีนนี้น่าจะเป็น พระราชนิยมที่มาจากจีนที่นิยมเครื่องตั้งไว้ ในบ้านพักอาศัยเพื่อความมี โชคลาภ และมีการเขียนภาพตามศาสนสถานของจีน ด้วยเหตุนี้จึงได้ 457 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
จิตรกรรม
ราคา ๔๘๐ บาท ISBN 978-616-7767-04-8
พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
หมวดศิลปะไทย
พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์
พัฒนาการของงานช่าง และแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน
ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
๔๘๐.-
พัฒนาการของงานช่าง และแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน
ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์