วิวัฒนาการลายไทย

Page 1

ISBN 978-616-7767-86-4 วิวัฒนาการลายไทย หมวดศิลปะไทย ราคา ๓๕๐ บาท


ISBN 978-616-7767-86-4 หนังสือ วิวัฒนาการลายไทย ผู้เขียน น. ณ ปากน�้ำ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๒๔ พิมพ์ครั้งที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๐ (ปรับปรุงใหม่) จ�ำนวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ราคา ๓๕๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด บรรณาธิการเล่ม ออกแบบปก/จัดรูปเล่ม คอมพิวเตอร์ ภาพ ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท พิมพ์ที่ จัดพิมพ์ จัดจ�ำหน่าย

อภิวันทน์  อดุลยพิเชฏฐ์ นัทธิน ี สังข์สุข วัลลภา สะบู่ม่วง ศูนย์ข้อมูล “เล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์” ธนา วาสิกศิริ เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์  โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุรี  ๒๒ ถนนนนทบุร ี (สนามบินน�ำ้ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุร ี จังหวัดนนทบุรี  ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ (อัตโนมัติ)  โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ. น. ณ ปากน�ำ้ . วิวัฒนาการลายไทย. --นนทบุร ี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๐. ๒๕๒ หน้า. ๑. ลายไทย.   I. ชื่อเรื่อง. ๗๔๓ ISBN 978-616-7767-86-4

ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด) ๓ ซอยนนทบุร ี ๒๒ ถนนนนทบุร ี (สนามบินน�ำ้ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี  จังหวัดนนทบุรี  ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑  ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช  สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  ผู้อ�ำนวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์  จ�ำนงค์  ศรีนวล บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  อภิวันทน์  อดุลยพิเชฏฐ์   ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์  เจียมพานทอง

2   วิวัฒนาการลายไทย


สารบัญ ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน

๔ ๕

ปฐมก�ำเนิดของลายไทย ลายไทยยุคต้น ลายบ้านเชียง

๘ ๑๒ ๒๘

ลายไทยยุคเริ่มต้นในสมัยอู่ทอง อโยธยา และสุโขทัย ลายสมัยอโยธยา ลายในศิลปะลพบุรี อู่ทอง

๓๒ ๔๑ ๕๘

ลายสมัยสุโขทัย ลายสมัยสุโขทัย

๗๑ ๗๕

ลายไทยอันสง่าของสมัยอยุธยาตอนต้นและอยุธยาตอนกลาง ลายไทยสมัยอยุธยาตอนต้น ลายไทยสมัยอยุธยาตอนกลาง

๙๑ ๙๘ ๑๑๗

ลายไทยอันเลื่อนไหลเป็นเปลวไฟสมัยอยุธยาตอนปลาย ลายไทยสมัยอยุธยาตอนปลาย ลายรดน�้ำสมัยอยุธยา

๑๔๔ ๑๕๐ ๑๘๕

สมัยรัตนโกสินทร์ ศิลปะของเมืองหลวงปัจจุบัน ลายไทยสมัยรัตนโกสินทร์

๒๐๐ ๒๐๘

ดัชนีภาพ

๒๓๘

น. ณ  ปากน�้ำ  3


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ วิวัฒนาการลายไทย นับเป็นหนึ่งในหนังสือเพียงไม่กี่เล่มของ น. ณ ปากนํ้า หรือ อาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ (ศิลปินแห่งชาติ  สาขาทัศนศิลป์  พ.ศ. ๒๕๓๕)  ที่ท่าน  ตั้งใจเขียนต้นฉบับและเลือกภาพสำ�หรับการจัดพิมพ์เป็นหนังสือโดยเฉพาะ (ผลงาน  หนังสือที่จัดพิมพ์ส่วนใหญ่ของท่านจะเป็นงานที่รวมบทความจากที่ต่างๆ) โดยใช้  เวลามากกว่าห้าปีในการเขียนและจัดภาพ  ผู้อ่านจะได้รู้จักลักษณะที่โดดเด่นของ  ลวดลายไทยในแต่ ล ะยุ ค สมั ย  จากปฐมกำ�เนิ ด ลายไทยยุ ค บ้ า นเชี ย ง มาสู่ ศิ ล ปะ  ทวารวดี  อู่ทอง ลพบุรี  สุโขทัย อยุธยา ล้านนา ถึงศิลปะรัตนโกสินทร์  ศิลปะของ  เมื อ งหลวงปั จ จุ บั น  ส่ ว นสำ�คั ญ ยิ่ ง คื อ ภาพประกอบที่ อ าจารย์ ตั้ ง ใจเลื อ กมาใช้ ใ น  หนังสือเล่มนี้  ส่วนใหญ่เป็นภาพที่ท่านบันทึกในการออกสำ�รวจภาคสนามโบราณ  สถานต่างๆ ทั่วประเทศไทย นับถึงปัจจุบันภาพเหล่านี้มีอายุมากกว่า ๓๐ ปี  ซึ่งตอน  นี้หลายแห่งเปลี่ยนแปลงไปมาก บ้างชำ�รุดทรุดโทรม ลวดลายสูญหาย มีลักษณะ  แตกต่างจากเมื่อครั้งที่อาจารย์บันทึกภาพไว้   ในการพิมพ์ครั้งที่  ๕ (พ.ศ. ๒๕๖๐) นี้สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณจึงปรับปรุง  การออกแบบรูปเล่มใหม่   เน้นการจัดวางภาพประกอบให้เห็นลวดลายแต่ละภาพ  ชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษา วิเคราะห์  และจะดียิ่งหากองค์ความรู้ที่อาจารย์ประยูร  ตั้งใจนำ�เสนอในหนังสือเล่มนี้สามารถทำ�ให้ผู้อ่านต่อยอดความคิดเพื่อช่วยจรรโลง  ศิลปะไทยให้อยู่คู่สังคมไทยสืบไป

4   วิวัฒนาการลายไทย

สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ มีนาคม ๒๕๖๐


ค�ำน�ำผู้เขียน ลายไทยเป็นศิลปะเก่าแก่มีมานานตั้งแต่เริ่มประวัติศาสตร์ชาติไทย แม้ว่า  ลายไทยรุ่นดึกด�ำบรรพ์จะไม่เหมือนลายไทยในสมัยหลัง แต่ก็ยังมีเค้าว่าเป็นลูกหลาน  ว่านเครืออันเดียวกันอยู่ ซึง่ กาลเวลาอันเนิน่ นานหลายศตวรรษได้คอ่ ยๆ เปลีย่ นรูปโฉม  โนมพรรณของศิลปะให้ผิดแผกกันไปด้วยอิทธิพลของสมัยนิยมของแต่ละยุค  ความ  ผันแปรเช่นนี้มีมูลเหตุจากหลายกระแสด้วยกัน อาจจะเป็นอิทธิพลของอินเดียที่แพร่  เข้ามาพร้อมกับลัทธิศาสนาและวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองกว่า อันนับว่าเป็นสายตรง ด้วย  ประเทศในข่ายรัศมีของวัฒนธรรมอินเดียซึ่งเรียกกันว่าอินเดียไกลโพ้น ดังเช่นลังกา  ซึ่งอยู่ใต้อินเดียลงไปและบรรดาประเทศในเอเชียอาคเนย์  เช่น พม่า ไทย เขมร จาม  อินโดนีเซีย เป็นต้น และเหนืออินเดียขึน้ ไปคือทิเบตและเนปาล ล้วนแล้วแต่ได้รบั มรดก  วัฒนธรรมจากอินเดียด้วยกันทั้งนั้น ดูเหมือนว่าชาติเก่าแก่ในแหลมอินโดจีน ได้แก่  ฟูนัน เจนละ และจาม จะเริ่มต้นประวัติศาสตร์อารยธรรมของชาติด้วยชาวอินเดีย  เข้ามาตั้งตนเป็นใหญ่  น�ำระบบการสถาปนากษัตริย์ตามพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์  มาใช้จนเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีสืบเนื่องกันมาทุกวันนี้   ประวัติศาสตร์ของฟูนัน  บันทึกไว้วา่  พราหมณ์โกญฑัญญะจากอินเดียได้เข้ามาร่วมสมพงศ์กบั นางพญาพืน้ เมือง  แล้วตัง้ ตนเป็นปฐมกษัตริยแ์ ละกล่าวว่านางพญาสมัยนัน้ ยังไม่รจู้ กั นุง่ ผ้าด้วยซ�้ำไป เห็น  ได้ว่าผู้คนในแหลมอินโดจีนนั้นถือว่าอินเดียเป็นผู้น�ำแสงสว่างทางวัฒนธรรม และเป็น  ครูน�ำศาสนาและศิลปะมายื่นให้  ดังนี้แบบแผนศิลปะซึ่งเป็นรากเหง้าของประเทศชาติ  จึงเป็นแบบแผนของครูอินเดีย มูลเหตุอีกกระแสหนึ่งที่ท�ำให้เกิดการผันแปรของศิลปะ เกิดขึ้นจากอิทธิพล  ของศิลปวัฒนธรรมของเพื่อนบ้านซึ่งรุ่งเรืองกว่าแผ่รัศมีเข้ามา ดังเช่น อาณาจักร  นครหลวงของขอมซึ่งครองความเป็นเอกทางบูรพาทิศ ส่วนทิศตะวันตกมีนครอริ-  มัททนะหรือพุกามประเทศ ต่างก็ขนาบอยูส่ องข้าง สองนครนีเ้ บิกบานแจ่มจรัสขึน้ เมือ่   พุทธศตวรรษที่  ๑๖ ซึ่งย่อมเป็นของที่แน่นอนทีเดียวว่า นครใหญ่น้อยไม่ต�่ำกว่าสิบ  นครในลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยาย่อมจะต้องบรรลุความไพโรจน์ทางศิลปะและวัฒนธรรม  เป็นยุคทองพร้อมกัน เพียงแต่ว่าในขณะนี้เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าจุดศูนย์กลางอยู่ตรง  ไหน จากร่องรอยศิลปวัตถุที่เหลืออยู่กระจัดกระจายทั่วไป เป็นศิลปะในรูปแบบที่เรา

น. ณ  ปากน�้ำ  5


เรียกกันอย่างเจนปากว่า ศิลปะอู่ทองและศิลปะลพบุรี  อันพบหนาตาในท้องที่ของ  จังหวัดเพชรบุรี  ราชบุรี  ลพบุรี  อยุธยา สุพรรณบุรี  สรรคบุรี  เหนือสุดถึงก�ำแพงเพชร  และสุโขทัย ใต้สุดถึงนครศรีธรรมราช นครเหล่านี้ล้วนเป็นนครใหญ่  เคยมีเจ้าฟ้ามหา  กษัตริย์สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน นอกจากนี้ยังมีนครเล็กอีกหลายต่อหลายแห่งซึ่ง  ยังคงมีซากเมืองและศิลปวัตถุหลงเหลืออยู่เป็นประจักษ์พยานจ�ำนวนมาก เรื่องราวของนครเหล่านี้บันทึกอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ดังเช่น ชินกาลมาลี  ปกรณ์ พระราชพงศาวดารเหนือ และต�ำนานต่างๆ ซึง่ แทรกอภินหิ ารปนเปกับนิทานอัน  พิลกึ พิลนั่ จนท�ำให้นกั ประวัตศิ าสตร์คนส�ำคัญของไทยบางท่านสบประมาทคาดหน้าว่า  เป็นเรือ่ งเหลวไหล แต่กย็ งั มีนกั ประวัตศิ าสตร์อกี หลายท่านยังคงเคารพนับถืออยู ่ ดังเช่น  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั  พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หลายแห่งด้วย  กันว่าต�ำนานต่างๆ ของไทยจะต้องมีมลู ความจริงอยู ่ ครัง้ หนึง่ เมือ่ เสด็จทางชลมารคผ่าน  ล�ำคูขอื่ หน้าของกรุงศรีอยุธยา ทอดพระเนตรเห็นวัดโบราณเก่าแก่ ทรงพระราชวิจารณ์  ว่าท�ำเลตรงนัน้ เหมาะทีจ่ ะตัง้ บ้านเรือนด้วยสายน�ำ้ ไหลมารวมกันหลายสาย ก่อนทีก่ รุง  ศรีอยุธยาจะตั้งขึ้นก็จะต้องมีบ้านเมืองเจริญสืบทอดกันมาอยู่แล้ว พระราชวิจารณ์นี้มี  ข้อสนับสนุนทางโบราณคดี  ด้วยได้พบศิลปะอู่ทองก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นจ�ำนวนมาก  เช่นพระพุทธรูปใหญ่วัดพนัญเชิง ในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ บันทึกไว้  ว่าสร้างก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง ๒๖ ปี  ยังที่วัดธรรมิกราช ซึ่งพบพระประธาน  ในพระวิหารหลวงท�ำด้วยส�ำริดขนาดใหญ่  เป็นพระแบบอู่ทองรุ่นแรก ซึ่งยืนยันรับกับ  พระราชพงศาวดารเหนือที่กล่าวว่าวัดนี้สร้างในสมัยอโยธยา การที่ข้าพเจ้าอ้างถึงประวัติศาสตร์และต� ำนานในต่อไปข้างหน้าก็ด้วยมี  เหตุผลดังที่ปรารภมาแล้วนี้  เพราะได้พิสูจน์แล้วว่าส่วนใหญ่โบราณวัตถุสถานที่ค้นพบ  มักจะมีอายุลงตัวกับที่ต�ำนานระบุไว้จริงๆ แม้ว่าสมัยนี้นักวิชาการบางท่านจะยังไม่  ยอมรับนัน้ ก็ตอ้ งรอกาลเวลาเป็นเครือ่ งวินจิ ฉัยกัน  จะขอยกอุทาหรณ์ดงั กรณีกรุงทรอย  ในมหากาพย์ของโฮเมอร์ซึ่งพรรณนาเรื่องราวไว้อย่างพิสดารพันลึก มีเทวดาลงมาร่วม  สนับสนุนท�ำสงครามถือหางฝ่ายละข้าง อาจจะเป็นเรือ่ งราวในสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์  ของพวกกรีกก็ได้  ที่สุดมีนักโบราณคดีท่านหนึ่งชื่อชาลีมาน ได้ไปท�ำการขุดค้นยัง  ต�ำแหน่งที่ระบุไว้ในต�ำนานว่าเป็นกรุงทรอย หลังจากที่ใช้ความเพียรอย่างไม่ลดละก็  สามารถขุดพบกรุงทรอยเป็นผลส�ำเร็จ ชินกาลมาลีปกรณ์  ต�ำนานเอกของไทยซึง่ นักประวัตศิ าสตร์สว่ นมากให้ความ  เชือ่ ถือดังศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์  ได้ให้ขอ้ วินจิ ฉัยไว้ในหนังสือของเขา เมือ่ กล่าวถึง  6   วิวัฒนาการลายไทย


พระเจ้าสุริยวรมันที่  ๑ ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์ของอาณาจักรนครหลวงของขอมว่ามาจาก  ละโว้ก็โดยถือจากต�ำนานชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นหลัก ในหนังสือเล่มนีข้ า้ พเจ้ากล่าวถึงลวปุระ อโยธยา ฯลฯ ก็ดว้ ยถือต�ำราชินกาล-  มาลีปกรณ์นี้เป็นส�ำคัญ ดังเช่นจะกล่าวถึงศิลปะลวปุระซึ่งมีมาก่อนอโยธยา เพราะมี  หลักฐานว่าพระนางจามเทวีเสด็จจากลวปุระไปครองนครหริภุญชัย เราพบศิลปวัตถุ  โบราณสถานในสมัยนั้นหรือสมัยใกล้เคียงกัน เช่น วัดกู่กุดที่ล�ำพูน โบราณสถานและ  ประติมากรรมเป็นศิลปะแบบทวารวดีตอนปลาย หรืออาจจะเป็นศิลปะของลวปุระซึ่ง  สืบเชือ้ สายมาจากศิลปะทวารวดีนนั่ เอง ส่วนศิลปะอโยธยานัน้ ได้ถกู เรียกกันมานานแล้ว  ว่าเป็นศิลปะอู่ทอง ข้าพเจ้าจึงยังรักษาชื่อเดิมไว้เพื่อมิให้เกิดความฉงน ขอท�ำความ  เข้าใจในที่นี้ว่า ศิลปะอู่ทอง ศิลปะลพบุรี  และศิลปะอโยธยานั้นที่แท้คือศิลปะร่วม  ยุคสมัยเดียวกันอาจรุ่งโรจน์พร้อมกัน รูปร่างหน้าตาอาจเพี้ยนไปบ้างตามท้องถิ่นอัน  เป็นเรื่องธรรมดา แต่จุดส�ำคัญที่ควรจะระลึกไว้คือ เป็นศิลปะที่ยืนอยู่ระหว่างปลาย  สมัยทวารวดีกับยุคต้นของศิลปะสุโขทัยและอยุธยานับว่าเป็นบทบาทส�ำคัญ แต่ก็เป็น  เรือ่ งทีน่ า่ เศร้า ด้วยเรือ่ งราวของศิลปะเหล่านีไ้ ด้ขาดหายไปจากหน้าประวัตศิ าสตร์ไทย  โดยสิ้นเชิง ั นาการของลายไทยมีความเป็นมาอันลึกซึง้  การทีจ่ ะกล่าวถึงมูลเหตุความ  วิวฒ เป็นมา ถ้าไม่หยิบพงศาวดารมาเป็นฉากประกอบก็ไม่ผิดอะไรกับดูละครไม่ทรงเครื่อง  ย่อมดูไม่ออกว่าตัวไหนเป็นตัวกษัตริย ์ หรือพระ หรือนาง จึงขออภัยส�ำหรับบางท่านที่  ต้องการจะศึกษาในแง่ของศิลปะแต่อย่างเดียว ข้าพเจ้าตั้งจุดมุ่งหมายไว้ว่าจะให้เรื่อง  ราวของลายไทยทีห่ ยิบยกมาพรรณนาตัง้ แต่ปฐมไปจนจบมีสาระทีจ่ ะใช้อา้ งอิงได้ ทัง้ ใน  ทางประวัติศาสตร์และโบราณวิทยา ด้วยได้ไปเสาะแสวงค้นคว้าตามที่ต่างๆ ทั่วเมือง  ไทยมาเป็นเวลาแรมปี  จ�ำต้องแสดงข้อมูลไว้ปรากฏ ถ้าจะต้องอ้างอิงอะไรไว้มากมาย  จนรกรุงรังก็ต้องขออภัยไว้  ณ ที่นี้

น. ณ ปากน�้ำ

น. ณ  ปากน�้ำ  7


ปฐมก�ำเนิดของลายไทย อันแบบแผนลายไทยเท่าที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ถือได้ว่าเป็นแบบแผน  ตายตัว เนื่องด้วยลายไทยได้วิวัฒนาการตัวเองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา และ  รัตนโกสินทร์  จนสู่จุดสมบูรณ์กลายเป็นเอกลักษณ์ของชาติ  มีกฎเกณฑ์ชื่อของลาย  แต่ละแบบไม่ผดิ อะไรกับชือ่ ของเพลงไทยโบราณ ดังเช่น ลายกระหนกสามตัว ลายพุม่   ข้าวบิณฑ์ ลายกระหนกหางหงส์ ลายขอสร้อย ลายประจ�ำยามกระจังปฏิญาณ ลายช่อ  หางโต เป็นต้น ซึง่ ศิลปินรุน่ ก่อนในยุคต้นรัตนโกสินทร์จะต้องจ�ำกันอย่างขึน้ ใจ ด้วยลาย  ไทยในยุคหลังนีก้ ลายเป็นศาสตร์ทมี่ แี บบแผน มีขอ้ บังคับมากมาย แล้วแต่ครูบาอาจารย์  ผู้อบรมสั่งสอนศิษย์จะคิดขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องช่วยในการประกอบค�ำสอน ที่จริงในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาลายไทยมิได้มีหน้าตาดังที่เราเห็นอยู่นี้  จาก  การค้นคว้าลายรุน่ เก่าบนลายปูนปัน้ และลายจ�ำหลักศิลาบนใบเสมารุน่ อูท่ องและสุโขทัย  ซึ่งพบทั่วไปในดินแดนลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา ในท้องที่ของนครเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัย  เรื่อยลงมาไปสุดใต้ที่นครศรีธรรมราช ลายอันปรากฏนั้นมิได้เป็นลายที่สืบต่อมาจาก  ขอมหรือทวารวดี  หากแต่เป็นลายทีเ่ กิดขึน้ จากการสลัดแอกอิทธิพลอินเดียเข้าสูค่ วาม  เป็นตนเอง มีลกั ษณะเหมือนธรรมชาติคอื เป็นลายเครือเถา ลายก้านขด ประกอบด้วย  รูปดอกไม้  ใบไม้  รูปนก สัตว์จตุบาท ทวิบาทต่างๆ ซึ่งลักษณะของลายแบบนี้เป็นลาย  คนละตระกูลกับลายอันมีอิทธิพลจากอินเดีย อันลักษณะลายอินเดียนัน้ จะปรากฏอิทธิพลอย่างรุนแรงในศิลปะสมัยทวารวดี  รวมทัง้ ฟูนนั ด้วย  ศิลปะในแหลมอินโดจีนเมือ่ รุน่ พุทธศตวรรษที ่ ๑๑-๑๓ มักจะจ�ำหลัก ลายคล้ายกับลายที่เราเรียกว่า “ลายผักกูด” คือมีแกนกลางเป็นลายเป็นแผ่นโค้ง  เหมือนคลื่น ตรงครีบของลายคือส่วนข้างท�ำเป็นหยักและขมวดลายม้วนตัว มิใช่พุ่ง  เป็นเปลวแหลมเหมือนลายไทยปัจจุบัน ลายชนิดนี้ปรากฏให้เห็นที่แผ่นศิลาจ�ำหลัก  ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  นครปฐม รูปลายล้อมรอบตัวสิงห์  (ภาพที่  ๒ หน้า ๑๓)  และบนใบเสมาที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์  ซึ่งจ�ำหลักรูปพระพุทธเจ้าก�ำลัง  แสดงเทศนาและสรภังคชาดกบนแผ่นเดียวกัน (ภาพที่  ๑ หน้า ๑๒)  ลายที่พบสอง  แห่งนีแ้ ม้วา่ จะมีตำ� แหน่งสถานทีห่ า่ งไกลกันมาก ซึง่ บ่งชัดว่าเป็นนครเอกเทศ ไม่มคี วาม  ผูกพันกันในรูปอาณาจักร แต่เพราะว่าต่างก็อยู่ร่วมยุคและรับอิทธิพลจากครูอินเดีย  มาด้วยกัน ศิลปะจึงคล้ายคลึงกัน ซึ่งมิใช่หมายความว่าเหมือนกันเฉพาะสองแห่งนี้

8   วิวัฒนาการลายไทย


เท่านั้น แม้นครอื่นที่สร้างศิลปะร่วมสมัยเป็นแบบทวารวดี  ดังเช่น อู่ทอง บ้านคูบัวที่  ราชบุรี  ลพบุรี  (ภาพที่  ๕ หน้า ๑๔-๑๕) เป็นต้น  ลายปูนปั้นกับลายจ�ำหลักศิลาที่  ปรากฏล้วนเป็นแบบแผนเดียวกันทั้งนั้น อาณาจักรขอมในลุ่มแม่น�้ำโขงสมัยที่จีนบันทึกไว้ในพงศาวดารของตนเรียก  ว่าประเทศเจนละ ซึง่ อยูร่ ว่ มยุคกับทวารวดีและอาณาจักรจามปาของพวกจามทีช่ ายฝัง่   ทะเลตะวันออกของแหลมอินโดจีน ลายของชาติเก่าแก่ทั้งสองเหมือนลายผักกูดของ  ทวารวดีซึ่งต่างก็ด�ำเนินรอยตามแบบครูอินเดีย มิได้ออกนอกลู่นอกทางเลย (ภาพ  ที่  ๑๖-๑๘ หน้า ๒๑-๒๒) ลายผักกูดนี้ยังปรากฏตามโบราณสถานต่างๆ ในอินเดียหลายแห่ง ดังเช่น  ลายจ�ำหลักในถ�้ำแอลเลฟแฟนต้า  ลายจ�ำหลักที่วิหารราชา-รานีแห่ง Bhubones  War และลายบนแผ่นศิลารูปรัศมีจากพระพุทธรูปสมัยคุปตะ ปางปฐมเทศนา ที่เมือง  สารนาท เป็นต้น  ไม่เฉพาะแต่ในอินเดียเท่านัน้  แม้ในเกาะลังกาซึง่ อยูใ่ กล้ชดิ กับอินเดีย  มากทีส่ ดุ  ศิลปะลังกามีลกั ษณะเหมือนเป็นพิมพ์เดียวกับอินเดียซึง่ ยังคงหลงเหลือศิลปะ  โบราณวัตถุจำ� นวนมาก ลายรุน่ เก่าจึงเป็นลายอินเดียแท้ๆ ดังปรากฏทีอ่ ฒ ั จันทร์จ�ำหลัก  ศิลาเป็นรูปช้างกับหงส์  คั่นด้วยตัวลายบนแผ่นครึ่งวงกลมบนดิน ณ เมืองอนุราธปุระ  เฉพาะลายขอบนอกเป็นลายผักกูดเหมือนกับลายอินเดีย และลายสมัยทวารวดีของไทย  ไม่ผิดเพี้ยน (ภาพที่  ๘ หน้า ๑๗) ทีจ่ ริงอารยธรรมของแหลมอินโดจีนเราอาจสืบสาวราวเรือ่ งไปได้ไกลถึงห้าพัน  กว่าปี  ด้วยมีหลักฐานศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งขุดพบได้ที่บ้านเชียง อุดรธานี  (ภาพที ่ ๒๘-๓๕ หน้า ๒๘-๓๑) นักโบราณคดีได้วนิ จิ ฉัยแล้วสรุปผลได้วา่ ศิลปะโบราณ  วัตถุเหล่านัน้ มีอายุตงั้ แต่สมัยยุคหินใหม่คาบเกีย่ วกับยุคส�ำริดซึง่ นับว่าเก่ามิใช่นอ้ ย  สิง่   ที่ขุดพบมักเป็นหม้อดินมีลายต่างๆ ทั้งแบบทาบเชือก ขูดลึกลงบนผิวหม้อ และลาย  เขียนสี   เฉพาะลายเขียนสีปรากฏบนหม้อบรรจุกระดูกคนตาย ลักษณะทรงสูงซึ่ง  คล้ายๆ จะเป็นแบบแผนของโกศบรรจุกระดูกของสมัยหลังต่อมา อันมีลกั ษณะสูงและ  ฝาครอบยอดเรียวแหลม แสดงว่าความคิดนี้ได้สืบช่วงกันมาโดยไม่ขาดตอน ซึ่งเป็น  เรื่องที่น่าพิศวงนัก ลักษณะลายหม้อบ้านเชียงเขียนด้วยเส้นโค้งคดแปลกๆ กันไปไม่ซำ�้ แบบกัน  ส่วนใหญ่เป็นริ้วขนานกัน สีที่ใช้คือดินแดงผสมกับยางไม้ซึ่งติดทนทานมาก แม้ฝังจม  ดินเนิ่นนานหลายพันปีจนบัดนี้ก็ไม่ลอก ท�ำให้นึกถึงแผ่นอิฐที่ขุดพบ ณ เมืองอู่ทอง  สมัยทวารวดี  มีการเขียนสีลงบนนั้นด้วยวิธีเดียวกัน เมื่อขุดขึ้นมายังคงเห็นลายต่างๆ  น. ณ  ปากน�้ำ  9


ชัดเจนอยู่  เพราะวัสดุที่ใช้เขียนเป็นดินจากธรรมชาติ  จึงไม่ละลายสูญหายไปแบบสี  วิทยาศาสตร์ในสมัยหลัง ลายบนหม้อบ้านเชียงพอจะจ�ำแนกตามลักษณะลายใหญ่ๆ ได้สามชนิด ชนิด  แรกเป็นลายรูปขดก้นหอยหรือมัดหวาย (ภาพที ่ ๒๘ หน้า ๒๘) ลายแบบนีจ้ ะพบหนาตา  กว่าลายแบบอื่น  ชนิดถัดมาคือมีลายหักมุมเป็นเส้นแหลม บางทีก็เดินตัวลายเป็น  เส้นตรง (ภาพที ่ ๒๙ หน้า ๒๘) ลักษณะเหลีย่ มสันผิดกับแบบแรกซึง่ เป็นเส้นโค้งคดกัน  แบบสุดท้ายเป็นแบบอิสระ เขียนตามใจชอบทัง้ เส้นตรงและเส้นโค้ง แถมยังมีหยักเป็น  รูปฟันปลาอีกด้วย (ภาพที่  ๓๕ หน้า ๓๑)  อย่างไรก็ดีลักษณะส่วนใหญ่ที่ยังคงเห็นได้  ชัดคือ แม้ศิลปินจะเขียนเส้นแบบเถาวัลย์เกี่ยวพันกันคล้ายแบบธรรมชาติ  จะอิสรเสรี  อย่างไรก็ยังคงลักษณะเส้นริ้วขนานกันไว้ให้เห็นได้ทุกแห่ง  ลายบ้านเชียงมีอารมณ์  แปลกๆ กันไป บางรูปเขียนด้วยเส้นอ่อนหวานเบาฟ่องเหมือนฟองคลื่น (ภาพที่  ๓๒  หน้า ๓๐) หรืออาจจะม้วนตัวคล้ายก้อนเมฆ บางทีกเ็ ขียนก่ายกันยุง่ คล้ายขดเชือกหรือ  กองเชือก (ภาพที่  ๓๐ หน้า ๒๙) เนื่องจากลายบ้านเชียงเป็นผลิตผลอิสระจึงไม่ซ�้ำแบบกัน มีทั้งลักษณะงาม  นุ่มนวลและดุดัน บางชิ้นผู้เขียนประดิษฐ์ลายเส้นริ้วรูปก้นหอยทรงยาวรี  แต่ตรงกลาง  เว้นว่างไว้  แล้วเขียนเส้นหยักๆ เหมือนฟันสัตว์ร้ายที่ก�ำลังอ้าปากจะขบกัด ท�ำให้ผู้ชม  เกิดอารมณ์คึกคักได้อย่างน่าประหลาด อันศิลปะลวดลายแบบนีจ้ ะถือเป็นแบบอย่างพิเศษประจ�ำท้องถิน่ ก็ใช่ท ี่ ด้วย  เรามักพบศิลปะเก่าแก่ในที่ต่างๆ ทั่วไป เช่น หม้อเขียนสีที่พบในอินโดนีเซียก็ดี  ในจีน  ก็ดี  หรือในแอฟริกาก็ดี  ล้วนเขียนลายแบบเส้นริ้วคล้ายคลึงกัน จะมีผันแปรแตกต่าง  กันไปบ้างก็ตรงโครงสร้างของตัวลายผิดแผกกันไปตามรสนิยมของเชื้อชาติ  เช่น ลาย  ของพวกอินเดียแดงบางเผ่ากับลายของจีนมักจะมีลกั ษณะเป็นเหลีย่ มสัน แม้วา่ เส้นจะ  ลากติดต่อกันโดยตลอดแต่จะเดินลายเป็นหยักสีเ่ หลีย่ ม แทนทีจ่ ะเดินเป็นเส้นโค้งอย่าง  ทีพ่ บในสยามประเทศของเรานี ้ ลายคดโค้งเหล่านีเ้ ป็นสิง่ ทีไ่ ด้รบั ความบันดาลใจมาจาก  ธรรมชาติ  เช่น ลายในตัวสัตว์  ตามพืช หรือตามปรากฏการณ์ของธรรมชาติต่างๆ ดัง  ภาพที่  ๒๗ (หน้า ๒๗) เป็นลายเส้นอันเกิดจากปูนที่ฉาบผนังตึกที่สึกกร่อนเพราะแดด  ลม และฝนท�ำให้เกิดรอยตามธรรมชาติ   เส้นเหล่านี้เราจะเห็นว่าน่าจะเป็นสิง่ ที่ศลิ ปิน  โบราณได้รับความบันดาลใจ ดังเช่นลายบ้านเชียง และแม้ลายพระพุทธบาทสุโขทัยก็  น่าจะได้รับความบันดาลใจมาจากสิ่งเหล่านี้ เรื่องรสนิยมประจ�ำชาติเป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง แต่ละชาติแต่ละภาษา  10   วิวัฒนาการลายไทย


ต่างมีแบบแผนแปลกกันไป ดังศิลปะทวารวดีอนั จ�ำเริญอยูใ่ นลุม่ แม่นำ�้ เจ้าพระยา และ  บนพืน้ ทีร่ าบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีความแตกต่างกับลายของ  ขอมในลุม่ แม่นำ�้ โขง แม้วา่ ต้นก�ำเนิดจะมาจากอินเดีย ซึง่ ดูคล้ายคลึงกันมากในยุคแรกๆ  แต่นานวันเข้าก็หนั หลังออกจากกันไปตามรสนิยมของเชือ้ ชาติของตน อันลายของทวา-  รวดีนั้นมักจะมนปลาย ลายขมวดม้วนตัวแบบผักกูด  ส่วนลายขอมรุ่นมหาอาณาจักร นครหลวง ปลายจะถูกคุมรูปร่างให้เส้นแหลมและคม  อย่างไรก็ดีลายของทวารวดี รุ่นหลังสุดก็ประดิษฐ์ลายเป็นเส้นคมบ้างแล้ว ทั้งนี้เนื่องด้วยขอมรุ่นหลังมีความเจริญ มากกว่าทวารวดี  จึงส่งอิทธิพลทางศิลปะของตนให้แก่ทวารวดีอย่างเต็มที่

น. ณ  ปากน�้ำ  11


ลายไทยยุคต้น

ลักษณะลายอินเดียนั้นจะปรากฏอิทธิพลอย่างรุนแรงในศิลปะสมัยทวารวดีรวมทั้งฟูนัน  มักจะจ�ำหลักลายคล้ายกับลายที่เราเรียกว่า “ลายผักกูด”

12   วิวัฒนาการลายไทย


ภาพที่ ๒ นรสิงห์ศิลา  จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระปฐมเจดีย์  นครปฐม  ลวดลายเป็นลายผักกูด ขมวดแน่น เป็นลายคุปตะรุน่ แรก พุทธศตวรรษที่  ๙ มีอิทธิพล ลายทวารวดีหลงเหลืออยู่ อันลายคุปตะรุ่นหลังของอินเดีย ซึ่งปรากฏยังธรรมเมกขสถูป  และลายศิลาที่สารนาถ อินเดีย  ตัวลายไม่ขมวดแน่นอย่างนี้  แต่แยกกิ่งก้านออกอิสระ จัดว่า เป็นลายสมัยพุทธศตวรรษที ่ ๑๑

ภาพที่ ๑ (หน้า ๑๒) ภาพจากใบเสมาสมัยทวารวดี เมืองฟ้าแดดสงยาง กาฬสินธุ์ ประมาณพุทธศตวรรษที ่ ๑๑-๑๓ ลายทีป่ ระกอบเบือ้ งหลังเป็นลาย ทวารวดี  อันมีอิทธิพลจากศิลปะ อินเดียสมัยคุปตะอย่างเต็มที่    ลักษณะเป็นลายผักกูด และเหมือนกับที่เราพบที่ นครปฐมและบ้านคูบัว ราชบุรี ซึ่งต่างก็ได้รับอิทธิพล จากอินเดียเช่นเดียวกัน

ภาพที่ ๓ หัวเสากลมปูนปั้น ขุดได้จากใต้สถูปวัดนครโกษา  ลพบุรี  เป็นหัวเสาร่วมสมัย กับศิลปะคุปตะของอินเดีย  ลายสี่เหลี่ยมเรียงรายที่หัวเสา เป็นลายแบบศิลปะทวารวดี  ตัวลายหัวเสาเป็นลายเครือเดียว  ร่วมสมัยกับปราสาทภูมิโปน ทีส่ รุ นิ ทร์และทับหลังทีแ่ ก่งสะพือ อุบลราชธานี

น. ณ  ปากน�้ำ  13


ภาพที่ ๔ ลายปูนปั้นแบบคุปตะ  ร่วมสมัยกับทวารวดีของไทย  ขุดได้จากวัดนครโกษา ลพบุรี

ภาพที่ ๕ ลายจ�ำหลักศิลาพระพุทธเจ้า แสดงปฐมเทศนา สมัยทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์  นครปฐม ลายหน้ากระดานเป็นลายผักกูด

14   วิวัฒนาการลายไทย


ภาพที่ ๖ พระนอนจ�ำหลักศิลากับปูนปั้น สมัยทวารวดีที่ถ�้ำฝาโถ เขางู  ราชบุรี

น. ณ  ปากน�ำ้   15


ภาพที่ ๒๘ หม้อบ้านเชียง  ลักษณะลายหม้อบ้านเชียง เขียนด้วยเส้นโค้งคดแปลกๆ เขียนลายด้วยดินแดง  ไม่ซ�้ำแบบกัน มีทั้งลักษณะงาม เป็นลายแบบลายมัดหวาย ในนิ้วมือ การออกแบบตัวลาย นุ่มนวลและดุดัน พิเศษคือใช้เส้นใหญ่ๆ ให้วิ่ง  บ่งถึงการเคลื่อนไหว  ตรงเส้นทางบรรจบกัน เกิดช่องว่างสามเหลี่ยม ใช้เส้นขีดเล็กๆ เหมือนหนาม ท�ำให้เกิดจุดขัดกันขึ้น นับว่า ให้อารมณ์ความงามชนิดหนึ่ง

ลายบ้านเชียง

28   วิวัฒนาการลายไทย

ภาพที่ ๒๙ หม้อบ้านเชียงแบบนี้ เป็นการออกแบบที่เข้าระเบียบ แบบแผน ไม่อิสระเหมือน ภาพที ่ ๒๘ ตัวลายก็วางซ�ำ้ ๆ กัน เรียงรายไปโดยรอบ ท�ำให้ เกิดความรู้สึกในจังหวะจะโคน  จัดว่าเป็นศิลปะตกแต่งทีส่ มบูรณ์ ในยุคนั้น


ภาพที่ ๓๐ ลายหม้อบ้านเชียงแบบนี้ คล้ายภาพที่  ๒๙ คือ ออกแบบเป็นตัวลายแบบหนึ่ง แล้วเขียนลายเชื่อมโยงซ�้ำๆ  กันไป แต่ให้อารมณ์ประณีต มากกว่า กล่าวคือ  ภาพที่  ๒๙ ลายที่ซำ�้ กัน แยกกันอยู่  แต่ภาพนี้ตัวลาย จะเชื่อมโยงกัน  นับว่าเป็นวิวัฒนาการก้าวที่สอง

ภาพที่ ๓๑ ลายหม้อบ้านเชียง ซึ่งเขียนเป็นลายซ�ำ้ เอามาเชื่อมโยงถึงกัน  แต่ออกแบบลวดลายเป็นลักษณะ ศิลปะนามธรรม (abstract) แสดงถึงความคิดสมัยใหม่  คงทนต่อกาลเวลามาทุกยุค

น. ณ  ปากน�้ำ  29


ลายไทยยุคเริ่มต้นในสมัยอู่ทอง อโยธยา และสุโขทัย จากการศึกษาลวดลายสมัยสุโขทัยซึ่งส่วนใหญ่ปรากฏที่ปูนปั้นประดับสถูป  เจดีย์  ลายเส้นบนแผ่นศิลาจากวัดศรีชุม ลายเขียนด้วยพู่กันบนถ้วยชามสังคโลก  และลายจ�ำหลักศิลาบนใบเสมา ดังเช่นเสมาสมัยสุโขทัยที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ก�ำแพงเพชร (ภาพที่  ๙๐ หน้า ๗๕)  ท�ำให้ตระหนักชัดว่าลายสุโขทัยเป็นลายเครือ  เดียวกับสมัยอู่ทองหรืออโยธยา สุพรรณภูมิ  (ภาพที่  ๓๖ หน้า ๔๑) และเป็นลายแบบ  เดียวกับศิลปะเชียงใหม่ยุคต้นๆ ซึ่งยังคงมีหลักฐานเหลืออยู่  เช่น ลายปูนปั้นที่วัด  เจ็ดยอด ลายปูนปั้นเศียรนาคเชิงบันไดวัดเจดีย์หลวง วัดสวนดอก และวัดอุโมงค์มหา  เถรจันทร์  เป็นต้น ซึ่งตรงกับข้อเท็จจริงของวิวัฒนาการศิลปะว่า ศิลปะร่วมสมัยย่อม  มีสำ� เนียงอย่างเดียวกันและมีการถ่ายเทเข้าหากัน อุทาหรณ์ดงั เช่นศิลปะแบบทวารวดี  ที่เมืองอู่ทอง, เมืองโบราณบ้านคูบัว ราชบุรี, นครปฐม, เมืองเสมา อ�ำเภอสูงเนิน  นครราชสีมา, เมืองโบราณบ้านตาดทอง ยโสธร, เมืองฟ้าแดดสงยาง กาฬสินธุ ์ เป็นต้น  นครเหล่านี้ครองความยิ่งใหญ่ในท้องที่ของตน แม้ว่าศิลปะไม่ว่าจะเป็นลวดลายก็ดี  งานประติมากรรมก็ด ี จะคล้ายคลึงกัน แต่คติของการสร้างสรรค์ศลิ ปะแตกต่างไปตาม ความเชื่อของท้องถิ่น ดังเช่นการท�ำใบเสมาขนาดใหญ่โตมโหฬารจ�ำนวนมากของบ้าน  ตาดทอง (ภาพที่  ๑๔ หน้า ๒๐) และเมืองฟ้าแดดสงยาง (ภาพที่  ๑ หน้า ๑๒) เป็น  ลักษณะพิเศษของท้องถิน่   ขณะเดียวกันเราไม่พบใบเสมาแบบนีใ้ นภาคกลางลุม่ แม่น�้ำ  เจ้าพระยาเลย ซึ่งเป็นข้อยืนยันว่าอาณาจักรอันสร้างสรรค์ศิลปะแบบทวารวดีเหล่านี้  ต่างก็เป็นอิสระ  แม้จะอยู่ห่างไกลกันมาก แต่เพราะอยู่ร่วมสมัยเดียวกัน ศิลปะจึง  คล้ายคลึงกันเป็นธรรมดา  ท�ำให้นึกถึงศิลปะแบบลพบุรีซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัด  ลพบุรี  ศิลปะแบบนี้ดูเผินๆ คล้ายกับศิลปะขอมในลุ่มแม่น�้ำโขง แต่ถ้าพิจารณาอย่าง  ละเอียดจะเห็นข้อแตกต่างกันมาก  ข้อนี ้ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เป็นผูต้ งั้ ข้อสังเกต  ไว้  บ่งชัดว่าศิลปะลพบุรีอาจจะไม่ได้ผูกพันกับศิลปะขอมในรูปราชอาณาจักรหรือเป็น  ประเทศราชดังที่สมัยหนึ่งเคยเข้าใจกัน แต่คงจะเป็นไปในลักษณะเดียวกับศิลปะทวา-  รวดี  กล่าวคือ ศิลปะอันร่วมสมัยกันย่อมคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในสมัยพุทธ-  ศตวรรษที่  ๑๔-๑๘ อาณาจักรขอมมีความรุ่งโรจน์อย่างสุดขีด ย่อมจะเป็นศูนย์กลาง  32   วิวัฒนาการลายไทย


ของศิลปะ ส่งอิทธิพลไปยังนครต่างๆ ในอาณาบริเวณใกล้เคียงจนทั่ว ซึ่งคงจะท�ำนอง  เดียวกับราชวงศ์ปลั ลวะกับปาละทีม่ คี วามเจริญรุง่ เรืองอย่างสุดขีดในฝัง่ ทะเลของอินเดีย  ในด้านตะวันออก จึงแพร่ศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรมข้ามน�้ ำข้ามทะเลสู่แหลม  อินโดจีนและหมูเ่ กาะน้อยใหญ่ใต้ลงไป จนดูเหมือนว่าอ�ำนาจของราชวงศ์ปลั ลวะได้เข้า  มาครอบง�ำในดินแดนนี้   แท้จริงศิลปะในเอเชียอาคเนย์ในยุคนั้นเหมือนศิลปะปัลลวะ  และปาละก็เพราะอิทธิพลของศิลปะร่วมสมัยดังกล่าวมาแล้วข้างต้น การทีน่ ครต่างๆ ในลุม่ แม่นำ�้ เจ้าพระยาสลัดอิทธิพลของอินเดียออกไป อาจจะ  เพราะว่าศิลปะแบบอินเดียได้บรรลุถงึ จุดสุดยอดเสียแล้วในรูปศิลปะทวารวดีและศิลปะ  ขอมรุ่นเก่าก่อนอาณาจักรนครหลวง จึงเป็นผลให้เกิดรูปศิลปะแบบใหม่ขึ้น เพราะใน  พุทธศตวรรษที่  ๑๖ เป็นต้นมา  อินเดียซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมอันจะส่ง  อิทธิพลให้เอเชียอาคเนย์เริ่มเสื่อมความส�ำคัญลง เมื่อราชวงศ์ปาละแห่งเบงกอลรัศมี  ดับวูบลงใน พ.ศ. ๑๗๔๐ หลังจากที่เบิกบานมาอย่างสุดขีดเนิ่นนานถึงห้าศตวรรษ  จากนี้ไปอินเดียก็หมดอิทธิพลและศาสนาอิสลามได้เข้ามาเป็นใหญ่แทนที่   ศูนย์กลาง  ของพุทธศาสนาจึงไปรุ่งเรืองโดดเดี่ยวที่พุกามประเทศในพม่า ในลุ่มแม่นำ�้ เจ้าพระยา  และลังกา  การตัดขาดจากเมืองแม่คืออินเดียซึ่งเปรียบเสมือนเมืองเมกกะของชาว  พุทธจึงท�ำให้ชนชาติต่างๆ ในแหลมอินโดจีนเริ่มส�ำนึกความเป็นตนของตนเองและ  เริ่มศักราชของศิลปะตนขึ้นมาใหม่   ตอนนี้จะเห็นว่าอิทธิพลของธรรมชาติซึ่งได้แสดง  แววออกมาแล้วตัง้ แต่ในสมัยยุคหินและยุคส�ำริด อันเป็นศิลปะดัง้ เดิมของชนชาติตา่ งๆ  ในดินแดนแถบนี้ได้เคยเนรมิตมาก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ครั้นอินเดียเสื่อม  ไป ชาวนครต่างๆ ในลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยาจึงได้ประดิษฐ์ศิลปะของตนขึ้นมาแทนที่โดย  พยายามที่จะไม่เอาอย่างของเก่าเลย  เมื่อพิจารณาลักษณะตัวลายสมัยพุทธศตวรรษ  ที่  ๑๗-๑๙ ท�ำให้ตระหนักชัดว่าโซ่พันธะที่ชาวอินเดียได้ผูกมัดชนชาติในอาณาบริเวณ  แถบนี้ได้ขาดลุ่ยออกโดยสิ้นเชิง ลายผักกูดดังปรากฏที่ภาพจ�ำหลักนูนบนผนังอิฐพระ  ธาตุพนม (ภาพที่  ๑๓ หน้า ๒๐) กับลายจ�ำหลักศิลาที่ปราสาทเขาพระวิหาร (ภาพ  ที ่ ๒๖ หน้า ๒๖) ได้ตายไปอย่างไม่มโี อกาสได้รอื้ ฟืน้ ขึน้ มาอีก และได้เผยโฉมหน้าลาย  แบบใหม่บนใบเสมาสมัยอโยธยาและอู่ทอง ดังเช่นใบเสมาสมัยอโยธยาเป็นลายขมวด  ม้วนตัวแบบธรรมชาติ  มีเค้าการสืบเนื่องมาจากลักษณะการม้วนตัวของเถาวัลย์ที่พัน  เกีย่ วกันและลายตามธรรมชาติ  (ภาพที ่ ๒๗ หน้า ๒๗) ส่วนทีบ่ ริเวณบ่าเสมาจะเป็นลาย  ขมวดขดสลับกันแบบลายเครือเถา ตรงส่วนแหลมของบ่าเสมาท�ำเส้นหยักเป็นลูกคลืน่   อันเป็นปฐมก�ำเนิดของกระหนกเปลว น. ณ  ปากน�้ำ  33


ภาพที ่ ๓๘ ลายจ�ำหลักบนใบเสมาสมัยอูท่ อง ที่วัดธรรมามูล ชัยนาท  ท�ำด้วยหินทรายสีแดง

42   วิวัฒนาการลายไทย

ภาพที่ ๓๙ ใบเสมาสมัยอู่ทอง ที่วัดธรรมามูล ชัยนาท  ออกแบบอย่างสวยงามยิ่ง  เป็นแหล่งของศิลปะอู่ทอง อีกแห่งหนึ่งที่งดงามมาก


ภาพที ่ ๔๐ ส่วนบนของใบเสมาสมัยอโยธยา เป็นลายก้านขมวดแบบธรรมชาติ ประกอบด้วยดอกไม้  ใบไม้  ล้วนเป็นธรรมชาติงามยิ่งนัก

ภาพที่ ๔๑ ใบเสมาสมัยอู่ทอง ที่วัดมหาธาตุ  เพชรบุรี  ลักษณะลายเป็นแบบอโยธยา  ตัวกระหนกก้านขด ยังไม่เป็นลักษณะกระหนกโดยแท้ ส่วนลายหน้ากระดานข้างล่าง เลียนแบบศิลปะลพบุรี

น. ณ  ปากน�้ำ  43


ภาพที่ ๗๕ พระพิมพ์มหายาน ศิลปะลพบุรี

ภาพที่ ๗๖ ลายปูนปั้นและลายศิลาประดับ ปรางค์จากวัดมหาธาตุ  ลพบุรี ศิลปะสมัยลพบุรีตอนปลาย หรืออโยธยา  ประมาณพุทธศตวรรษที ่ ๑๗-๑๘ ภาพบนและมกรคาบนาค  ซึ่งภายหลังสมัยอยุธยา ตอนปลายประดิษฐ์ลายนกคาบ เอาแบบแผนไปจากนี้  ภาพล่างเป็นลายขอสร้อย  ให้สังเกตว่าปฐมก�ำเนิดกระหนก สามตัวเกิดขึ้นแล้วในสมัยนี้

62   วิวัฒนาการลายไทย


ภาพที่ ๗๗ ลายจ�ำหลักศิลา ได้จากวัดมหาธาตุ  ลพบุรี  ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ  สมเด็จพระนารายณ์  ศิลปะสมัยลพบุรีตอนปลาย หรือสมัยอโยธยา เป็นลาย แข้งสิงห์แต่มีหยักฟันปลา  ลายหยักฟันปลานี้ปรากฏอยู่ใน ลายท้องสิงห์ที่ภาพจ�ำหลัก ลายเส้นบนแผ่นศิลาวัดศรีชุม  สุโขทัย และที่แข้งสิงห์ พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ในถ�้ำเขาหลวง เพชรบุรี กับที่ใบเสมาสมัยอโยธยาจาก วัดสิงห์ที่นครชัยศรี  นครปฐม ใต้ทอ้ งสิงห์เป็นรูปแพะซึง่ อาจจะ มีความหมายถึงราศีเมษก็เป็นได้

ภาพที่ ๗๘ ลายปูนปัน้ ทีพ่ ระปรางค์สามยอด ลพบุรี  สมัยลพบุรีตอนปลาย (อโยธยา) เลียนแบบศิลปะขอม สมัยบายน น. ณ  ปากน�้ำ  63


ภาพที ่ ๘๒ พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง  ให้สังเกตบัวรองรับองค์พระ อยู่บนฐานสิงห์  ตรงท้องสิงห์ หยักเป็นฟันปลา รอยหยักแบบนี้ จะพบในฐานพระ ปรากฏใน รอยจ�ำหลักศิลาที่วัดศรีชุม  สุโขทัย แสดงว่าศิลปะ สมัยสุโขทัยตอนต้น มีความคล้ายคลึงกับสมัยอู่ทอง มาก อยู่ร่วมสมัยกัน โดยศิลปะอู่ทองเก่าแก่กว่ามาก  เพราะลายแข้งสิงห์กับท้องสิงห์ ตรงกับสมัยอู่ทองรุ่นที่  ๓  ส่วนแข้งสิงห์ที่ท้องสิงห์ หยักเป็นฟันปลายังพบที่ ใบเสมาสมัยอู่ทองที่วัดสิงห์

66   วิวัฒนาการลายไทย

ภาพที่ ๘๓ พระประธานในพระอุโบสถ วัดพิชัยปุรณาราม อุทัยธานี ศิลปะอู่ทองตอนปลาย มีเรือนแก้วแบบวัดไลย์  ลพบุรี และวัดพระมหาธาตุวรวิหาร นครศรีธรรมราช  มีนาคเบือนผุดออกจากปากมกร  เป็นการเอาแบบแผนมาจาก วัดมหาธาตุ สุโขทัย  ตรงซุ้มเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์


ภาพที ่ ๘๔ พระประธานศิลาวัดไลย์  ลพบุรี ศิลปะสมัยอโยธยาตอนปลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่  ๑๗ มีเรือนแก้วแน่นงดงามมาก ตรงบ่าพระพุทธรูปมีลาย เป็นเหงากระหนก แบบเดียวกับ วัดพระมหาธาตุวรวิหาร นครศรีธรรมราช

ภาพที่ ๘๕ ลายปูนปั้นประดับปรางค์  ศิลปะสมัยลพบุรี ร่วมสมัยกับอู่ทอง

น. ณ  ปากน�้ำ  67


ภาพที่ ๑๐๔ ก สังคโลกอีกแบบหนึ่ง ของศิลปะสุโขทัย  เป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์  ถือช่อกระหนก  ก�ำลังเหาะเหนือดอกบัว  เทพนมนี้ใส่ชฎาเทริดแบบเก่า  คงจะเป็นส่วนครอบช่อฟ้า ของสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย

82   วิวัฒนาการลายไทย

ภาพที่ ๑๐๔ ข ส่วนยอดแหลมของปั้นลม ตรงที่ปัจจุบันคือส่วนที่เรียกว่า ช่อฟ้า สมัยสุโขทัยท�ำเป็น เครื่องดินเผาเคลือบสังคโลก รูปเทพนม เป็นเทวดา พนมมือโผล่จากดอกบัว  เห็นเค้าของศิลปะพุทธมหายาน ตามคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร

ที่กล่าวถึงสุขาวดี ของพระอมิตาภะพุทธเจ้า  อันมีสระน�้ำไพศาล  เหล่าเทวดาและเทพธิดา จุติจากดอกบัว แสดงว่า อิทธิพลศิลปะมหายาน หลงเหลืออยู่แม้ว่าในสมัยนี้ จะได้รับลัทธิลังกาวงศ์แล้ว


ภาพที่ ๑๐๕ ซุ้มเรือนแก้วพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ศิลปะสุโขทัย  ให้ดลู ายขมวดม้วนแบบธรรมชาติ ตรงเชิง เป็นลายที่เราเห็น จนชินตาตามใบเสมาสมัยอู่ทอง หรืออโยธยาทั่วไป  การที่เหมือนกันก็เพราะ เป็นศิลปะร่วมสมัยกัน  ลายตรงส่วนปลายของเรือนแก้ว เป็นลายมังกรคาบลาย  ตรงส่วนขอบของลายมีกา้ นกลาง และมีก้านขดออกสองข้าง  มีดอกไม้แบบสุโขทัย ชนิดที่ปรากฏบนลายจ�ำหลัก ที่วัดศรีชุมซ้อนๆ กันขึ้นไป  สลับด้วยลายขมวดใหญ่ มีเส้นหยักโค้งๆ บนส่วนขอบ ของเส้นงอนนี้คงเป็น แบบเดียวกับส่วนยอดของ ปั้นลมแบบสุโขทัย

น. ณ  ปากน�้ำ  83


ภาพที่ ๑๑๐ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ จ�ำหลักไม้นูนสูง  ประดิษฐานในถ�ำ้ เขาหน่อ  นครสวรรค์ ศิลปะสมัยสุโขทัย  ลักษณะลายกระหนก ที่ห้อยลงมาแบบนี้ พบในศิลปะบายนที่ทับหลัง ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พิมาย เป็นศิลปะร่วมสมัย หรือใกล้เคียงกัน  ส่วนแจกันดอกไม้ขนาดใหญ่ พบบ่อยในพระพิมพ์ที่เรียกว่า “พระกลีบขนุน”  ทัง้ ทีพ่ บในสุพรรณภูมแิ ละสุโขทัย

ภาพที่ ๑๑๐ ก ลายช่อดอกไม้ที่รูปจ�ำหลักไม้ พระนอนวัดถ�ำ้ เขาหน่อ นครสวรรค์  ตัวลายเป็นขมวด แบบธรรมชาติผสมดอกไม้  ใบไม้  ศิลปะสมัยสุโขทัย ผสมกับสมัยลพบุรีตอนปลาย

88   วิวัฒนาการลายไทย


ภาพที่ ๑๑๑ พระพุทธรูปแผ่นสมัยสุโขทัย ท�ำด้วยชิน มีแจกันประดับ ข้างซุ้มและข้างฐานปัทมะ  อันเป็นแบบฉบับของศิลปะ สมัยสุโขทัยโดยตรง  ซุ้มมนแบบนี้เหมือนกับ ซุม้ ในพระพิมพ์ เช่น พระก�ำแพง  (ก�ำแพงเพชร) กับ พระก�ำแพงศอกที่สุพรรณบุรี ภาพที่ ๑๑๒ ลายจ�ำหลักศิลาพระพุทธบาท สมัยสุโขทัย เป็นศิลปะรุ่นเก่า ของสุโขทัยก่อน พ.ศ. ๑๘๐๐ การออกแบบลวดลายสวยงาม ยอดเยี่ยม ตัวลายเป็น ลักษณะเดียวกับลายสมัยอโยธยา สุพรรณภูม ิ เนือ่ งด้วยอยูร่ ว่ มสมัย เดียวกัน

น. ณ  ปากน�้ำ  89


ภาพที่ ๑๑๓ ภาพลายเส้นจารึกบนแผ่นศิลา ในอุโมงค์วัดศรีชุม สมัยสุโขทัย เรื่องราวของชาดกแสดงถึง พระโพธิสตั ว์เป็นพระยาพาราณสี ประทับนั่งในปราสาท  ลักษณะลายก็คือซุ้มหน้าต่าง ปราสาทเป็นลักษณะพิเศษ ของศิลปะสุโขทัย  ลักษณะหยักด้านในดูท่าที จะได้รับอิทธิพลมาจากขอม แต่ถูกดัดแปลงแล้ว  ลักษณะพิเศษของสุโขทัย อีกอย่างหนึ่งคือ เส้นโค้ง ของพระรัศมีเป็นรูปวงรีคล้ายไข่ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก ศิลปะอโยธยา ดังปรากฏ เส้นพระรัศมีวงรีแบบนี้ ที่ภาพเขียนในห้องปรางค์ วัดมหาธาตุ  ราชบุรี ภาพที่ ๑๑๔ บัวสุโขทัยและลายมุม  เป็นลายขมวดแบบธรรมชาติ  ยังไม่ได้ประดิษฐ์เป็นลาย กระหนก แต่เป็นลายร่วมสมัย กับอยุธยาตอนต้น ลายจ�ำหลักไม้บนเพดาน ของห้องปรางค์  วัดพระศรีรัตนมหาธาตุที่ศรีสัชนาลัย  สมัยสุโขทัยตอนปลาย

90   วิวัฒนาการลายไทย


ลายไทยอันสง่าของสมัยอยุธยาตอนต้น และอยุธยาตอนกลาง ดังได้กล่าวไว้แต่บทก่อนแล้วว่า ศิลปะสมัยก่อนอยุธยานับตัง้ แต่อทู่ อง ลพบุร ี จนถึงอโยธยาถือว่าเป็นสมัยอาร์เคอิก (archaic) ของไทย คือเป็นศิลปะที่เจริญถึง  ขัน้ สูงแต่ยงั ไม่สดุ ยอดทีเดียว ทีบ่ รรลุถงึ ยอดสูงสุดคือศิลปะสุโขทัยกับอโยธยาตอนปลาย  อันได้รับการยกย่องทั่วไปแล้วว่าคือศิลปะคลาสสิกของไทย ศิ ล ปะถ้ า เลยจุ ด พอดี อ อกไปถื อ ว่ า เป็ น จุ ด เสื่ อ ม ซึ่ง ให้ พิ จ ารณากั น ในแง่  สุนทรียะ แต่ถ้าพิจารณาในแง่เทคนิคกับฝีไม้ลายมือแล้ว ก็นับว่าแบบที่เลยคลาสสิก  ออกไปฝีมือความช�ำนาญดีกว่า เพียงแต่รูปแบบความคิดอลังการขึ้นมาจนเลยจุด  พอดีไป  ถ้าพิจารณาในแง่ศิลปะตกแต่งแล้วนับว่าศิลปะแบบที่เลยคลาสสิกออกไป  กลับดีกว่าแบบคลาสสิกเสียด้วยซ�้ำ  ดังเช่นเฟอร์นิเจอร์การตกแต่งสมัยโรโกโก (Ro-  coco) ของฝรั่งเศสในราชส�ำนักของพระเจ้าหลุยส์  จัดว่าเป็นการตกแต่งอันยอดเยี่ยม  ของโลก ไม่มีแห่งใดเทียบได้ ศิลปะลวดลายของอยุธยาก็เช่นกัน ลายตูพ้ ระธรรมวัดเซิงหวาย (ภาพที ่ ๒๓๕  ค หน้า ๑๙๒) ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ ซึ่งถือว่าเป็นศิลปะ  อันงามยอดเยี่ยมสมัยอยุธยา ตัวลายละเอียดยิบฟู่ฟ่าเต็มที่  บ่งถึงความอลังการของ  ศิลปะอย่างสุดขีด ซึง่ ถ้าพิจารณาในแง่สนุ ทรียะก็ตอ้ งจัดว่าเป็นงานวิจติ รพิสดารเกินจุด  งามพอดีออกไป กล่าวคือ องค์ประกอบของภาพขาดส่วนประธานกับส่วนสัมพันธ์และ  จังหวะช่องไฟอันประทับใจ  แต่ถา้ พิจารณาในแง่ฝมี อื แล้ว ลายวัดเซิงหวายก็เป็นเยีย่ ม  ไม่มีแห่งใดเทียบได้  ขอให้ดูตู้พระไตรปิฎกวัดศาลาปูนในอยุธยา (ภาพที่  ๒๓๘ หน้า  ๑๙๔) ซึ่งคล้ายคลึงกับฝีมือช่างวัดเซิงหวาย ทั้งฝีมือและองค์ประกอบภาพจะเห็นว่า  ตัวลายและส่วนประกอบล้วนละเอียดจุกจิกไปทั้งภาพ แต่จังหวะของเส้นและฝีมืออัน  อ่อนพลิ้วนั้นวิเศษจับใจยิ่ง จึงถือว่าเป็นความงามของมัณฑนศิลป์อีกแบบหนึ่งที่เป็น  เอกไม่มีสอง  อย่างไรก็ดีศิลปะอยุธยาตอนปลายเหล่านี้เป็นรูปแบบของศิลปะอันเลย  จุดสุดยอดของคลาสสิกของสุโขทัยและอโยธยาตอนปลาย ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้น  สุดท้ายของศิลปะไทยซึ่งจะส่งแบบแผนให้แก่ศิลปะรัตนโกสินทร์อีกต่อหนึ่ง  ศิลปะ

น. ณ  ปากน�ำ้   91


ลายไทยอันเลื่อนไหลเป็นเปลวไฟ สมัยอยุธยาตอนปลาย อยุธยาตอนปลายเริม่ ตัง้ แต่รชั กาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึง่ รัชกาล  นี้มีความเกี่ยวพันกับฝรั่งชาวยุโรปอย่างใกล้ชิดได้เปิดโอกาสให้ชนต่างชาติเข้ามารับ  ราชการซึ่งมีหลายชาติ  หลายภาษา ดังเช่นชาวอาหรับชื่อเฉกอะหมัด รับราชการจน  เป็นขุนนางผูใ้ หญ่และสืบตระกูลขุนนางมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์  เป็นตระกูลใหญ่คอื   ตระกูลบุนนาคซึ่งรู้จักกันดีทั่วเมืองไทย ฝรั่งเศสได้ส่งนายช่าง ศิลปิน วิศวกร สถาปนิกมาเมืองไทยช่วยสร้างป้อม  วิไชยเยนทร์ทเี่ มืองบางกอก ปากทางออกทะเลของกรุงศรีอยุธยา และสร้างก�ำแพงเมือง  ที่นครศรีธรรมราชกับนครราชสีมา พร้อมกับสร้างเมืองหลวงแห่งที่สองที่เมืองลพบุรี  ทางทิศเหนือให้ไกลจากทะเล เพื่อป้องกันการรุกรานจากกองทัพเรือของชาวต่างชาติ   บรรดาช่างเทคนิคเหล่านั้นออกแบบสร้างพระราชวังลพบุรีอย่างสวยงาม มีนำ�้ พุและ  พระที่นั่ง เป็นสถานที่แปรพระราชฐานนอกเมืองท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และ  สร้างตึกรับแขกเมืองจ�ำนวนหลายหลังภายในเขตก�ำแพงอันใหญ่โตใกล้กับพระราชวัง  ทางทิศเหนือ  อาคารกลุม่ นีส้ ร้างตามแบบเรอเนสซองส์ของยุโรป ส่วนใหญ่เป็นอาคาร  สองชัน้ ซึง่ มีอทิ ธิพลใหญ่หลวงแก่ศลิ ปะและสถาปัตยกรรมของไทย ด้วยบรรดาช่างไทย  เมื่อได้เห็นเทคนิคก่อสร้างแบบให้แปลกตาจึงเอาอย่าง โดยใช้ระบบผนังอาคารรับ  น�ำ้ หนักเครือ่ งบนหลังคาและเจาะหน้าต่างถีเ่ พือ่ ให้แสงสว่างเข้ามากขึน้  พระวิหารหลวง  วัดกุฎีดาวและพระวิหารหลวงวัดบรมพุทธารามเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมสมัย  อยุธยาตอนปลายที่ได้รับการปฏิรูปโดยได้รับอิทธิพลจากยุโรป ศิลปะลวดลายโรโกโก (Rococo) ของฝรัง่ เศสเข้ามามีอทิ ธิพลอย่างกว้างขวาง  พร้อมกันนัน้ เทคนิคการใช้หน้าต่างโค้ง (arch) ก็ได้นยิ มใช้กนั แพร่หลายในสมัยทีเ่ ริม่ รับ  อิทธิพลจากยุโรปใหม่ๆ พระวิหารวัดเตว็ด (ภาพที่  ๑๗๗ หน้า ๑๕๐) ซึ่งอยู่ริมคลองประจาม นอก  ตัวเกาะอยุธยาทางทิศใต้  เป็นตัวอย่างที่ดีแสดงถึงอิทธิพลการก่อสร้างของยุโรป   ภาพนี้คือส่วนของผนังหุ้มกลองทางทิศใต้  ก่อฐานสูงคล้ายอาคารสองชั้นแบบเดียวกับ  ต�ำหนักที่พุทไธศวรรย์  และหน้าต่างโค้ง  หน้าบันก่อผนังอิฐขึ้นยันอกไก่  ขอบหน้าบัน  เป็นลายแบบยุโรป  แม้ปูนปั้นหน้าบันก็เป็นลายแบบยุโรป เป็นลายเครือเถาประกอบ  144   วิวัฒนาการลายไทย


ภาพที่ ๑๗๙ ลายปูนปั้นหน้าบันพระอุโบสถ วัดยาง สามแยกไฟฉาย  กรุงเทพฯ สมัยพระนารายณ์  ลักษณะเป็นลายเครือเถา  มีเทพนมแต่งกายแบบฝรั่งเศส สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่  ๑๔  ลายทีด่ อกตามก้านเป็นแบบแผน ของลายไทย แต่ถ้าสังเกตให้ดี จะมีลายประกอบบางตอนเป็น ลายฝรั่งแทรกทั่วไปทุกจุด  มีการเอาจานกระเบื้องมาติด ตรงกลางดอกและปลายช่อ ของตัวลายอย่างเป็นระเบียบ  เช่นเดียวกับหน้าบันวัดท่าหลวง  อ่างทอง ภาพที่ ๑๘๐ หน้าบันปูนปั้นวัดท่าหลวง  อ�ำเภอวิเศษชัยชาญ อ่างทอง  ปั้นลายเครือเถามีเทพนม อยู่กลาง เบื้องล่างรูปยักษ์หรือ ราหูคาบลาย ลักษณะลาย ที่ปรากฏท�ำมาทางแบบไทย  แต่ยงั สังเกตเห็นว่ามีลกั ษณะลาย ฝรั่งปะปนอยู่  ตรงส่วนจะงอย ของปั้นลมและข้างบน ปั้นรูปเทพนมแทนรูปหัวคน อย่างวัดเตว็ด  เป็นศิลปะสมัยพระนารายณ์

น. ณ  ปากน�้ำ  151


ภาพที่ ๒๐๐ ฐานบัวพระพุทธรูปประธาน  พระอุโบสถวัดไผ่ล้อม เพชรบุรี  สมัยพระเพทราชา ภาพที่ ๒๐๑ ลายบัวรวนที่สถูปเล็กวัดตะไกร  อยุธยา อยู่หลังวัดหน้าพระเมรุ  ลักษณะกลีบบัวยาวเรียวสูง  และตัวกระจังที่ห้อย สอดใส่อยู่นั้นเรียวยาว  เป็นแบบของศิลปะอยุธยา ตอนปลายโดยแท้

164   วิวัฒนาการลายไทย


ภาพที่ ๒๓๖ ลายตู้พระไตรปิฎก จากวัดศาลาปูน อยุธยา  ศิลปะรุ่นหลังจากสมัย พระนารายณ์เล็กน้อย  มีลายเครือเถาปนกับลายไทย  สังเกตจากทรงหลังคา เป็นลายแบบฝรั่ง เข้าใจว่า เป็นศิลปะสมัยพระเพทราชา

น. ณ  ปากน�้ำ  193


สมัยรัตนโกสินทร์ ศิลปะของเมืองหลวงปัจจุบัน หลังจากกรุงศรีอยุธยาถูกเผาผลาญโดยกองทัพพม่า พระเจ้าตากสินได้กู้  อิสรภาพขึ้นมาใหม่ในท่ามกลางบ้านเมืองวิบัติบ้านแตกสาแหรกขาด เกิดทุพภิกขภัย  อดอยากไปทัว่ หน้า ไร่นาสาโททีเ่ คยอุดมสมบูรณ์กเ็ กิดวิปริต มีเพลีย้ แมลงบ่อนท�ำลาย  จนปลูกพืชผลไม่ได้  ชาวสยามในยุคบ้านเมืองปัน่ ป่วนนีต้ อ้ งเทีย่ วขุดค้นสมบัตทิ ฝี่ งั ซ่อน  ไว้ใต้ดินเมื่อคราวหลบภัยพม่ากันจ้าละหวั่น ครั้นสมบัติหมดก็หันหน้าเข้าวัดขุดกรุรื้อ  เอาสมบัติภายในกรุมาหล่อหลอมรวมไปกับพระพุทธรูปส�ำริดส่งบรรทุกส�ำเภาไปขาย  เมืองจีน โดยท�ำกันอย่างเป็นล�่ำเป็นสันตลอดมา จนฝรั่งนักสอนศาสนาสมัยนั้นบันทึก  ไว้วา่ ตามถนนหนทางเต็มไปด้วยถ่าน เจดียสถานถูกขุดคุย้ จนพรุน เหล่ามิจฉาชีพจะงัด  เอาประตูพระอุโบสถ คันทวย หน้าบันอันแกะสลักไว้อย่างวิจิตรบรรจงมาสับเป็นฟืน  เพื่อหลอมโลหะจนควันโขมงไปทั่วทุกหนทุกแห่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินผู้กู้ชาติต้องย้ายเมืองหลวงจากกรุงศรีอยุธยาลงมาอยู่  ใกล้ปากแม่น�้ำเจ้าพระยาที่เมืองบางกอก ตั้งพระราชวังอยู่ติดกับป้อมวิไชยเยนทร์อัน  เป็นหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา ด้วยเมืองหลวงเก่าถูกพม่าเผาจนไม่มีชิ้นดี   พระองค์  ต้องเสด็จไปปราบอริราชศัตรูตามทีต่ า่ งๆ เป็นโอกาสให้ประชาชนทีห่ ากินโดยมิจฉาชีพ  ซึง่ บางพวกก็เป็นบุคคลนับถือศาสนาอืน่ ทีม่ ใิ ช่ศาสนาพุทธถือโอกาสไปตัง้ หลักแหล่งยัง  เมืองเก่าอยุธยา ขุดค้นสมบัตเิ ป็นอาชีพโดยทีท่ างบ้านเมืองมิอาจป้องกันแก้ไขได้เพราะ  ติดราชการสงคราม พระราชวังของกษัตริย์ผู้รักชาติพระองค์นี้ก็ปลูกสร้างขึ้นอย่างง่ายๆ เป็น  อาคารชั้นเดียวไม่ประดับประดาอะไรเลย เพราะบ้านเมืองยังไม่สงบสุข  บรรดาช่าง  ฝีมือแขนงต่างๆ ถูกพม่ากวาดต้อนไปจนหมดสิ้น ต�ำรับต�ำราก็ถูกเผาผลาญ ศิลปะ  ในสมัยกรุงธนบุรีจึงไม่มีปรากฏนอกจากสมุดภาพไตรภูมิซึ่งเขียนคัดลอกจากสมุด  โบราณซึ่งบัดนี้ต้นฉบับได้หายไปเสียแล้ว ไตรภูมิฉบับกรุงธนบุรีปัจจุบันยังคงรักษาไว้ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   ยังมีสมุดภาพไตรภูมิอีกเล่มหนึ่งขณะนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์  แห่งชาตินครเบอร์ลนิ  ประเทศเยอรมนี เขียนคัดลอกขึน้ ในสมัยกรุงธนบุรเี ช่นกัน  สมุด  ภาพไตรภูมสิ ว่ นใหญ่เป็นเรือ่ งราวเกีย่ วกับศาสนาพุทธ นรก และสวรรค์  เขียนระบายสี

200   วิวัฒนาการลายไทย


เหมือนภาพเขียนบนผนังพระอุโบสถ จึงไม่สู้จะมีลวดลายปรากฏมากนัก เมือ่ กษัตริยอ์ งค์ท ี่ ๒ ต่อจากพระเจ้าตากสินให้ยา้ ยเมืองหลวงจากฝัง่ ตะวันตก  ของแม่น�้ำเจ้าพระยาไปยังฝั่งตรงข้ามคือทิศตะวันออก พระองค์ให้สถาปนาปราสาท  ราชวัง พระราชมนเทียรขึน้ ใหม่ โดยพยายามเลียนแบบเดิมของอยุธยา ดังเช่นพระทีน่ งั่   ดุสติ มหาปราสาท สร้างขึน้ เลียนแบบพระทีน่ งั่ สุรยิ าสน์อมรินทร์ในกรุงเก่า ซึง่ รัชกาลนี้  พยายามจะรือ้ ฟืน้ ขนบธรรมเนียมเก่าขึน้ มาใช้เป็นแบบฉบับของประเทศชาติ มีการสร้าง  วัดวาอารามขึ้นในเมืองบางกอกหลายแห่งด้วยกัน เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น  พระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่ง  ราชวงศ์จักรี  กรุงรัตนโกสินทร์ เนือ่ งจากรัชกาลนีพ้ ยายามรวบรวมช่างฝีมอื เก่าของกรุงศรีอยุธยาทีย่ งั คงหลง  เหลืออยู่  และท�ำนุบ�ำรุงการช่างขึ้นเพื่อสร้างพระนครให้งดงามเหมือนเดิม ศิลปกรรม  จึงมีรูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนปลายสุดทุกอย่าง ดังเช่นพระอุโบสถวัดเขียน  อ่างทอง มีรูปเทพนมอยู่กลางและมีลายช่อหางโตตรงปลายขมวดลาย อันเป็นศิลปะ  สมัยอยุธยาก่อนกรุงแตก ศิลปะแบบนี้เมื่อน�ำไปเทียบกับลายหน้าบันสมัยรัชกาลที่  ๑  ของกรุงรัตนโกสินทร์  เช่นหน้าบันพระระเบียงวัดพระเชตุพนฯ วัดสุทัศนเทพวราราม  จะดูคล้ายคลึงกันมาก ภาพเขียนสมัยรัชกาลที่  ๑ บนผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในพิพิธภัณฑสถาน  แห่งชาติ  พระนคร เป็นฝีมืออันงามเลิศของช่างอยุธยาที่ยังหลงเหลือตกทอดอยู่  จึงดู  แล้วไม่แตกต่างอะไรกับฝีมือช่างอยุธยาตอนปลาย ตู้พระไตรปิฎกวัดพระเชตุพนฯ อีกใบหนึ่งฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่  ๑ ประจุ  ลายไทยมีกระรอก ลิง และนก ไต่เต้น บินว่อนสลับไปกับตัวลาย เส้นของลายยังคงอ่อน  หวานเหมือนสมัยอยุธยาตอนปลายไม่ผิดเพี้ยน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าระบบช่องไฟของ  สมัยรัชกาลที ่ ๑ นีไ้ ม่สดู้ นี กั  กล่าวคือ ตัวลายเบียดกันแน่นและค่อนข้างจะเป็นระเบียบ  แบบแผนมากเกินไป สมัยรัชกาลที่  ๒ ชาวสยามเริ่มว่างเว้นจากการศึกสงคราม กษัตริย์พระองค์  ใหม่ทรงสนพระทัยในการกวีนพิ นธ์  โปรดเกล้าฯ ให้แต่งส�ำเภาไปขายสินค้ายังเมืองจีน  ได้พระราชทรัพย์เข้าท้องพระคลังมากขึ้น  สมัยนี้อิทธิพลของศิลปะจีนและวรรณคดี  จีนได้เข้ามานิยมแพร่หลายในหมูช่ นชัน้ สูง แม้พระเจ้าแผ่นดินเองก็มพี ระราชนิยมแบบ  อย่างกษัตริย์จีน ดังเช่นทรงแต่งเพลงพระสุบินซึ่งกล่าวว่าพระองค์เสด็จไปสู่สวรรค์ฟัง  เพลงนีจ้ ากพระจันทร์ ไม่ผดิ อะไรกับกษัตริยจ์ นี สมัยราชวงศ์ถงั พระองค์หนึง่ เคยเสด็จไป  น. ณ  ปากน�้ำ  201


ลายไทย สมัยรัตนโกสินทร์

ลายแบบจีน ได้กลายเป็นแบบแผน ของศิลปะรัตนโกสินทร์ ผสมกับลายไทยที่สืบมาจาก อยุธยาเป็นศิลปะลูกผสม อันงดงามชนิดหนึ่ง ภาพที่ ๒๔๘ ลายรดน�้ำบนตู้พระไตรปิฎก สมัยรัชกาลที่  ๑

208   วิวัฒนาการลายไทย


ภาพที่ ๒๔๙ ภาพเขียนลายทองรดน�้ำ ตู้พระไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่  ๑  ฝีมือยังคงยอดเยี่ยมเช่นเดียวกับ สมัยอยุธยาตอนปลาย

น. ณ  ปากน�ำ้   209


ISBN 978-616-7767-86-4 วิวัฒนาการลายไทย หมวดศิลปะไทย ราคา ๓๕๐ บาท


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.