๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ

Page 1

๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ

“๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ”  ได้นำ� หลักฐานใหม่ซึ่งไม่เป็นที่รู้จัก ในแวดวงประวัติศาสตร์ไทยมาตีแผ่  ท�ำให้ผู้อ่านได้สัมผัสยุทธวิธีการรบ ที่พม่าใช้ในการตีกรุงซึ่งกินระยะเวลา นานถึง ๑๔ เดือน

อวสานกรุงศรีฯ

ค�ำนิยม : ศ.ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์พม่า

ราคา ๒๕๐ บาท coverupdate.indd 184

สุเจน กรรพฤทธิ์

หมวดประวัติศาสตร์ ISBN 978-616-7767-89-5

กรุงแตก ในแบบที่ คนไทย “ไม่รู้จัก”

๒๕๐.-

สุเจน กรรพฤทธิ์ 10/3/17 4:50 PM


ISBN 978-616-7767-89-5

หนังสือ  ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ ผู้เขียน  สุเจน กรรพฤทธิ์  © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด  ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที ่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐  จ�ำนวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๕๐ บาท คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : ศรัณย์ ทองปาน ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน  ออกแบบปกและรูปเล่ม : บุญส่ง สามารถ  ภาพปก : ปรีชา เถาทอง ภาพ : สกล เกษมพันธุ ์ และฝ่ายภาพ สารคดี พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก  ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี) จัดจ�ำหน่าย  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�ำ้ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุร ี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐  โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑ เพลต  เอ็น.อาร์. ฟิล์ม  โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์  บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด  โทร. ๐-๒๗๒๐-๕๐๑๔ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง   ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�้ำมันปิโตรเลียม 2ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ AYUTHAYA PART intro.indd 2

10/4/17 4:46 PM


สารบัญ จากส�ำนักพิมพ์ .......................................................................................................................................................... ๔ จากบรรณาธิการ ..................................................................................................................................................... ๖ ค�ำนิยม ................................................................................................................................................................................. ๘ จดหมายถึงปี ๒๖๖๐ (จากผู้เขียน) ................................................................................................. ๑๓ ฉากที่ ๑ - ๒๔๘ ปีต่อมา ............................................................................................................................ ๒๖ ฉากที่ ๒ - ๑๐ ปีก่อนกรุงแตก ............................................................................................................. ๓๑ ฉากที่ ๓ - ศึกอลองพญา ๘ ปีก่อนกรุงแตก....................................................................... ๕๓ ฉากที่ ๔ - ๓ ปีก่อนกรุงแตก และยุทธศาสตร์ “คีมหนีบ” .............................. ๗๐ ฉากที่ ๕ - ๑๕ เดือนก่อนกรุงแตก มายาคติเรื่อง “บ้านระจัน” .............. ๙๑ ฉากที่ ๖ - ๔ เดือนก่อนกรุงแตก ..................................................................................................... ๑๑๔ ฉากที่ ๗ - นาทีกรุงแตก .............................................................................................................................. ๑๒๗ ฉากที่ ๘ - อยุธยาที่เหลืออยู่ ................................................................................................................. ๑๔๒ หลักฐานไทย-พม่า ................................................................................................................................................ ๑๗๐ บทสัมภาษณ์ ศ. ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ........................................................................................... ๑๗๖ บทสัมภาษณ์ ศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ............................................................................ ๑๘๖ “ประวัติศาสตร์บาดแผล” กับผู้น�ำไทย-พม่า ........................................................................ ๑๙๖ นับถอยหลัง “เสียกรุงครั้งที่ ๒” ............................................................................................................ ๑๙๙ 3 สุเจน กรรพฤทธิ์ AYUTHAYA PART intro.indd 3

10/3/17 5:04 PM


จากส�ำนักพิมพ์ ปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ ถือเป็นวาระครบ ๒๕๐ ปีการล่มสลายของกรุง ศรีอยุธยาในปี ๒๓๑๐ หรือ “เสียกรุงฯ ครัง้ ที ่ ๒”  ตามความรับรูข้ องสังคม ไทย เหตุการณ์ในครั้งนั้นถูกมองว่าเป็นความอัปยศ เป็นเรื่องอันไม่พึง เกิดขึ้น และมักถูกทางราชการน�ำเสนอย�้ำเตือนให้เห็นเป็นตัวอย่างว่าการ แตกสามัคคีและความอ่อนแอทางการทหารจักน�ำไปสู่ผลเช่นไร  แต่ใน ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ หนังสือเล่มล่าสุดของ สุเจน กรรพฤทธิ์ ผู้เขียนได้น�ำเสนอข้อมูลและมุมมองใหม่ส�ำหรับเหตุการณ์ “เสียกรุงฯ ครั้ง ที่ ๒”  ด้วยวิธีการ “ทะลวงกรอบ ทลายกรง” ในแนวทางเดียวกับผลงาน ล�ำดับก่อนหน้านี้ของเขา คือ จากวังจันทร์สู่เวียงแหง ตามรอยนเรศวร มหาราช (พิมพ์ครัง้ แรก ๒๕๕๑ พิมพ์ซำ  �้ ๒๕๕๘) และ ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว (พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๕๕ พิมพ์ซ�้ำ ๒๕๕๙) ทว่าสิ่งที่แตกต่างออกไปคือในครั้งนี้มิได้เป็นการ “ตามรอย” บุคคลส�ำคัญ ในหน้าพงศาวดาร แต่เป็นการสืบสวนเหตุการณ์สงครามคราวเสียกรุง ศรีอยุธยาปี ๒๓๑๐ อันเป็นหมุดหมายส�ำคัญที่สุดของประวัติศาสตร์ไทย ด้วยงานค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์รุ่นล่าสุด ผนวกกับการตระเวนลงภาค สนาม ส�ำรวจพื้นที่จริง ตั้งแต่ชายแดนไทย-เมียนมา (พม่า) จนถึงบรรดา อดีตป้อมค่ายและแนวรบของสงครามครั้งนั้น 4 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ AYUTHAYA PART intro.indd 4

10/3/17 5:04 PM


ข้อเสนอของผู้เขียนใน ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ อาจแตกต่างจากที่ เคยรับรูม้ าในประวัตศิ าสตร์ฉบับทางการเป็นอย่างมาก เช่น กรุงศรีอยุธยา มิได้อ่อนแอในทางการทหาร เพราะทั้งกษัตริย์และขุนนางต่างพยายาม ป้องกันพระนครอย่างเข้มแข็งเต็มที่กระทั่งสามารถต้านทานข้าศึกได้เป็น แรมปี  ขณะที่บ้านบางระจันก็มิได้เป็นเพียงกลุ่มชาวบ้านที่รวมตัวกันด้วย ความรักชาติ (เพราะสมัยนั้นยังไม่มี “ชาติ”) แต่อาจอยู่ร่วมในเครือข่าย ป้องกันราชธานี  ที่ส�ำคัญกองทัพอังวะก็มิได้เป็น “กองโจร” แต่วางแผน เตรียมการล่วงหน้ามาเป็นอย่างดี โดยใช้ยทุ ธศาสตร์ยทุ ธวิธที ไี่ ม่ใช้มาก่อน มิหน�ำซ�้ำทหารในกองทัพอังวะจ�ำนวนมากก็มิได้เป็นพม่ารามัญ แต่คือคน สยามและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่กวาดต้อนกะเกณฑ์มาจากบ้านเมือง รายทางนี่เอง  รวมถึงเมื่อ “กรุงแตก” แล้ว ข้าศึกคงมิได้มีเวลาเผาท�ำลาย เมืองมากนัก ท�ำได้เพียงปล้นสะดมและกวาดต้อนผู้คนตามประเพณี สงครามยุคโบราณ เพราะกองทัพอังวะถูกเรียกกลับไปรับศึกกองทัพจีนที่ เข้ามาประชิดชายแดน  แต่ทพี่ ระนครศรีอยุธยาหลงเหลือเพียงซากอิฐหักกากปูนอย่างทีเ่ ห็น ในอุทยานประวัติศาสตร์ ล้วนเป็นผลงานต่างกรรมต่างวาระของคนไทย ! ประเด็นเหล่านี้ พร้อมหลักฐานใหม่และรายละเอียดอีกมากมาย รอผูอ้ า่ นเข้ามาร่วมส�ำรวจและค้นพบไปพร้อมๆ กันใน ๒๓๑๐ อวสานกรุง ศรีฯ อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของส�ำนักพิมพ์สารคดี ส�ำนักพิมพ์สารคดี

5 สุเจน กรรพฤทธิ์ AYUTHAYA PART intro.indd 5

10/3/17 5:04 PM


จากบรรณาธิการ หลายปีมาแล้ว ผมเคยตืน่ เต้นมากเมือ่ ได้อา่ นบทแรกๆ จากนวนิยายไทย เรือ่ ง แดนดาว ของ “แก้วเก้า” (พิมพ์ครัง้ แรก ๒๕๒๙) แม้วา่ เมือ่ เรือ่ งด�ำเนิน ต่อไปจะกลายเป็นนิยายรักผสมเรือ่ งภูตผีในบรรยากาศสลัวราง ซึง่ ไม่ได้อยู่ ในความสนใจของผมนัก  สิง่ ทีท่ ำ� ให้รสู้ กึ ทึง่ กับความคิดของผูเ้ ขียนอย่างยิง่ คือฉากหลังของเรื่อง  แดนดาว เล่าถึงตัวเอกฝ่ายหญิงที่ประสบอุบัติเหตุจมน�้ำแล้วพลัด ข้ามมิติไปสู่พิภพคู่ขนาน ที่ซึ่งกรุงศรีอยุธยาต้านทานศึกอังวะในปี ๒๓๑๐ ได้สำ� เร็จ สืบสถานะราชธานีของสยามมาจนถึงยุคอาณานิคม แล้วสูญเสีย เอกราชไปในระยะเวลาไล่เลีย่ กับอาณาจักรอืน่ ๆ ในภูมภิ าค จนกลายเป็น สาธารณรัฐในยุคต่อมา โดยเมืองหลวงของประเทศยังคงตั้งอยู่ที่อยุธยา และไม่เคยมี “กรุงเทพมหานคร” มีเพียง “บางกอก” ทีเ่ ป็นเมืองท่าริมแม่นำ�้ อยู่ระหว่างอยุธยากับทะเลเท่านั้น แน่นอนว่าทั้งหมดนั้นเป็นเพียงสมมุติในสมมุติ เช่นการที่ในนิยาย เรือ่ งนีใ้ ห้ตวั เอกฝ่ายชายในสาธารณรัฐสยามยังคงสามารถพูดจากับตัวเอก ฝ่ายหญิงจากราชอาณาจักรไทยได้รู้เรื่อง เนื่องจากถ้ามีพิภพคู่ขนานดังว่า จริง ทั้งสองน่าจะสื่อสารกันได้ล�ำบาก เพราะไม่อาจปฏิเสธได้ว่าถ้อยค�ำ ส�ำนวน หรือแม้แต่ “ส�ำเนียง” ที่ใช้ในภาษาไทยมาตรฐานปัจจุบัน เป็นผล จากวิวัฒนาการและการผสมผสานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากว่า ๒๐๐ ปีหลัง 6 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ AYUTHAYA PART intro.indd 6

10/3/17 5:04 PM


จาก “กรุงแตก” เมื่อปี ๒๓๑๐ ทั้งสิ้น แล้วเรื่องที่เล่ามานี้ เกี่ยวข้องอย่างไรกับ ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ หนังสือเล่มใหม่ของคุณสุเจน กรรพฤทธิ์ ? ประเด็นอย่างหนึ่งที่ผมรับรู้ได้จากการอ่านต้นฉบับของเขา คือการ พยายามท�ำความเข้าใจกับอดีตให้ใกล้เคียงกับสิง่ ทีเ่ คยเกิดขึน้ มากทีส่ ดุ เท่า ทีจ่ ะเป็นไปได้  พร้อมๆ กับพร�ำ่ ย�ำ้ เตือนผูอ้ า่ นว่า จงอย่าได้ฟมู ฟายกับเรือ่ ง ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแล้ว  แน่นอนว่าสงครามคือความสูญเสียที่ไม่ สมควรเกิดขึน้  และชะตากรรมของบ้านเมืองและผูค้ นในเหตุการณ์ “เสียกรุง ครั้งที่ ๒” คือโศกนาฏกรรมอันรันทด  แต่การฆ่าฟัน ปล้นสะดม หรือเผา บ้านเผาเมืองนั้น ล้วนผ่านไปนานแล้วทั้งสิ้น  ไม่มีใครย้อนกลับไปแก้ไข สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วได้ หรือถ้าท�ำได้จริง สิ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาก็อาจน�ำมาสู่ ปัจจุบันที่แตกต่างไปจากที่เรารู้จักอย่างสิ้นเชิง มีแต่คนทีไ่ ด้เรียนรูจ้ ากประวัตศิ าสตร์มาแล้วเท่านัน้ ทีจ่ ะตระหนักได้ ว่าประวัติศาสตร์ไม่มีค�ำว่า “ถ้า” และมุมมองที่ว่า “อย่าฟูมฟาย” นั้น ยัง สามารถประยุกต์ใช้ได้กับอีกหลายเหตุการณ์ในหน้าประวัติศาสตร์ จนถึง เรื่องเมื่อไม่นานมานี้  ในฐานะบรรณาธิการ ผมขอน�ำเสนอ ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ ของ คุณสุเจน กรรพฤทธิ์ ต่อผู้อ่านด้วยความยินดียิ่ง  ที่ส�ำคัญการสร้างประวัติศาสตร์ส�ำหรับอนาคตย่อมถือเป็นภารกิจ ของคนรุ่นเราเช่นกัน ศรัณย์ ทองปาน 7 สุเจน กรรพฤทธิ์ AYUTHAYA PART intro.indd 7

10/3/17 5:04 PM


ค�ำนิยม ศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์  ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์พม่า

สุเจน กรรพฤทธิ์ เป็น “นักเล่ าเรื่อง” ที่มากด้วยฝีมือ  คุณสมบัตินี้  เป็นคุณสมบัตพิ นื้ ฐานของผูเ้ ขียนงานประวัตศิ าสตร์  กลวิธใี นการเล่าเรือ่ ง ส�ำนวนภาษา จังหวะ  และเหลี่ยมมุมในการล�ำดับข้อมูล ล้วนมีอยู่ในงาน เขียนทางประวัติศาสตร์ ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ อันที่จริงผมมิได้ติดใจในสาระทางประวัติศาสตร์ที่สุเจนน�ำมาเล่า เพราะพอจะมีพื้นความรู้อยู่บ้างแล้ว  แต่ “เสน่ห์” ของงานประพันธ์นี้ เห็นจะอยู่ที่กลวิธีในการเล่าเรื่อง  พูดง่ายๆ คือผมสนใจอยากจะรู้ว่า “นักเล่าเรื่อง” อย่างสุเจนจะมีกลวิธีในการเล่าเรื่องอย่างไร  และเมื่อได้ เริ่มอ่านก็วางไม่ลง ต้องอ่านต่อจนจบ จบแล้วก็ยังอิ่มเอมในงานเขียนที่ กะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย  และทีส่ ำ� คัญคือให้มมุ มองทีเ่ กินคาด เพราะได้ “ต่อยอด” ความเข้าใจในอวสานแห่งราชธานีครั้งนั้นไปไกลเกินกว่าที่คิด 8 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ AYUTHAYA PART intro.indd 8

10/3/17 5:04 PM


ส�ำหรับสุเจนแล้ว อวสานของกรุงศรีอยุธยาไม่ได้เริ่มต้นที่ปีพุทธศักราช ๒๓๐๙ เมื่อทัพใหญ่ของพม่าเข้าล้อมกรุง และก็ไม่ได้จบลงในปี ๒๓๑๐ เมื่อกรุงแตก  แต่ในมิติที่ว่าด้วย “ศึกพม่า” สุเจนเชื่อว่าเงาแห่ง อวสานนั้นย้อนไปถึงศึกอลองพญาในปี ๒๓๐๓  กล่าวอีกนัยหนึ่งคือจะ เข้าใจสงครามคราวเสียกรุงฯ ครั้งนั้นให้ถ่องแท้ ต้องเข้าใจศึกอลองพญา เสียก่อน เพราะในทัศนะของสุเจนแล้ว ศึกอลองพญากับสงครามปี ๒๓๐๙๒๓๑๐ เป็น “ศึกต่อเนื่องกัน” กระนัน้ สงครามไม่ใช่กจิ กรรมทีจ่ ะเกิดขึน้ ได้โดยฉับพลันทันที  ก่อน สงครามจะเกิดมักมีเหตุอันเป็นเหมือนเมฆฝนที่ตั้งเค้ามาก่อนจะเกิดพายุ ใหญ่ ฉันใดก็ฉนั นัน้   สุเจนได้ขยายมุมมองทางประวัตศิ าสตร์เชิง “คูข่ นาน” คือเท้าความให้เห็นว่าก่อนจะเกิดศึกอลองพญาอันเป็น “ปฐมบท” ของ สงครามคราวเสียกรุงฯ นั้น ได้เกิดเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงขึ้นทั้งใน ราชอาณาจักรอยุธยาและพุกามประเทศ  ในทางประวัตศิ าสตร์ กล่าวได้วา่ การเปลี่ยนแปลงนั้นน่าจะเป็น “ปัจจัยพื้นฐาน” (primary course) อัน น�ำมาซึ่งอวสานของอยุธยา ในกรณีของพม่าคือการสถาปนาความเป็นใหญ่ของพระเจ้าอลองพญา และผู้สืบอ�ำนาจในราชวงศ์ผู้กระหายจะพิสูจน์ความเป็นใหญ่ โดยมี พระเจ้าบุเรงนองเป็นเพดานเทียบเคียง แต่ประเด็นทีน่ า่ สนใจกว่าคือปัญหา ทางการเมืองภายในของราชอาณาจักรอยุธยา ซึ่งปรากฏเค้าเงื่อนให้เห็น มาแต่ในรัชกาลพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศ ทีม่ กั จะเข้าใจว่าเป็น “ยุคบ้านเมือง ยังดี” 9 สุเจน กรรพฤทธิ์ AYUTHAYA PART intro.indd 9

10/3/17 5:04 PM


สุเจนได้ตีแผ่สภาวะคลื่นใต้น�้ำในยุคนี้จนดูเหมือนกับ Game of Throne ภาคไทย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นว่าภาวะที่ “กัดเซาะ” ความเข้มแข็ง ของราชอาณาจักรที่ไม่อาจต่อรบได้ด้วยนี้ มีให้เห็นมาช้านานก่อนจะเกิด การผลัดแผ่นดิน ความแตกแยกภายในอันมีทมี่ าจากการขาดการวางระบบ ที่เข้มแข็งให้แก่การสืบทอดอ�ำนาจ ส่งผลให้ความขัดแย้ง การเผชิญหน้า การใช้ก�ำลังเข้าประหัตประหาร ตลอดรวมถึงการสละราชสมบัติของ พระเจ้าอุทุมพร เป็นเสมือนโรคร้ายที่เกาะกินแก่นอ�ำนาจของรัฐอยุธยา สืบมาแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจนถึงช่วงหลังสิ้นศึกอลองพญา  เมื่ออ่าน ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ ก็พออนุมานได้ว่าสภาวะความไม่ สงบภายในของอยุธยาน่าจะเป็นหนึ่งในเหตุปัจจัยส� ำคัญที่เชิญชวนให้ พระเจ้าอลองพญาและพระเจ้ามังระตัดสินพระทัยเปิดศึกกับราชอาณาจักร เบื้องตะวันออกของเทือกเขาตะนาวศรีซึ่งยากแก่การเอาชัย  ข้อเด่นส�ำคัญอีกประการหนึ่งของหนังสือเล่มนี้เห็นจะอยู่ที่ความ “รอบด้าน” ในการใช้ขอ้ มูลหลักฐานเพือ่ ตีแผ่อวสานของอยุธยา สุเจนใช้ทงั้ หลักฐานไทย หลักฐานพม่า และหลักฐานชาวต่างประเทศ แต่สำ� หรับหลัก ฐานพม่าแล้ว ทีต่ า่ งออกไปคือสุเจนได้ให้ความส�ำคัญกับหลักฐานร่วมสมัย ที่ยังไม่เคยมีนักวิชาการไทยน�ำมาใช้ในการศึกษาสงครามคราวเสียกรุง นั่นคืองานวรรณกรรมเรื่อง โยธยาพ่าย ซึ่งมีชื่อเป็นภาษาพม่าว่า “โยธยา นัยโมโกง” (Yodaya nai Mawgun) หรือ “ลิลิตโยธยาพ่าย” ของ เลตเว นาราธา (Letwe Nawrahta) ซึง่ เชือ่ ว่าน่าจะเขียนขึน้ จากรายงานของผูเ้ ห็น เหตุการณ์การตีกรุงศรีอยุธยาในปี ๒๓๐๙-๒๓๑๐

10 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ AYUTHAYA PART intro.indd 10

10/3/17 5:04 PM


สุเจนได้อาศัยหลักฐานนี้ตีแผ่เงื่อนง�ำของการที่พม่าสามารถเข้ามา ขุดอุโมงค์เผารากก�ำแพงกรุงศรีอยุธยา ซึง่ ผูร้ จนาวรรณกรรมได้เล่าไว้อย่าง เป็นขั้นเป็นตอน ตลอดจนนาทีที่พม่าบุกเข้าเมืองได้ จึงกล่าวได้ว่า ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ ได้นำ� หลักฐานใหม่ ซึง่ ไม่เป็นทีร่ จู้ กั ในแวดวงประวัตศิ าสตร์ ไทยมาตีแผ่ ท�ำให้ผู้อ่านได้สัมผัสยุทธวิธีการรบที่พม่าใช้ในการตีกรุง ซึ่ง กินระยะเวลายาวนานถึง ๑๔ เดือน  นอกเหนือจากการใช้ข้อมูลใหม่ประกอบการฟื้นประวัติศาสตร์ สงครามคราวเสียกรุงฯ แล้ว สุเจนยังช่วยเพิ่ม “ชีวิตชีวา” ให้แก่งานเขียน ตามครรลองที่ตัวเองถนัด คือการน�ำข้อมูลภาคสนามเข้ามาประกอบการ เล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการลงส�ำรวจสมรภูมิสู้รบ อาทิ เส้นทางเดินทัพ ด่านสิงขร หรือการสนทนากับแหล่งข้อมูลในพื้นที ่ ช่วยเพิ่มความเข้าใจว่า สงครามเสียกรุงฯ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ ๒๕๐ ปีที่แล้ว ส�ำหรับคนจ�ำนวนหนึ่งยัง คงเป็นประวัตศิ าสตร์ทมี่ ชี วี ติ  ท�ำให้ระยะเวลา ๒๕๐ ปีทดี่ หู า่ งไกลนัน้  ใกล้ เข้ามาถนัดใจ นั่นต้องยกประโยชน์ให้แก่สุเจนที่ช่วยย่นเวลาลงในขวดแก้ว ขวดนั้นคือ ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ เล่มนี้ ข้อคิดส�ำคัญที่สุเจนทิ้งท้ายจนต้องหันกลับมาทบทวนนิยามอวสาน กรุงศรีฯ เสียใหม่ คือข้อเท็จจริงทีว่ า่  อยุธยานัน้ หาได้สนิ้ ลงด้วยน�้ำมือพม่า แต่เพียงถ่ายเดียว ซากเมืองที่เกือบไม่เหลือเค้าที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นผล จากน�้ำมือของคนไทยด้วยกันเอง ที่ต่างร่วมท�ำลายราชธานีอันยิ่งใหญ่ ด้วยจิตเจตนาและประโยชน์โพดผลที่ต่างกัน สืบทอดต่อมาอีก ๒๕๐ ปี นับเป็นการ “เปิดใจกว้าง” ในการตีแผ่เบือ้ งลึกแห่งอวสานราชธานีนี้  อ่าน แล้วช่วยให้ภาพความเป็นผู้ร้ายของพม่าลดทอนลงไปเป็นกอง  11 สุเจน กรรพฤทธิ์ AYUTHAYA PART intro.indd 11

10/3/17 5:04 PM


ผูเ้ ขียนขึน้ ต้นค�ำนิยมว่าผูแ้ ต่งคือสุเจนเป็น “นักเล่าเรือ่ ง” ก็จะขอจบ ค�ำนิยมที่คุณสมบัตินี้  ผู้เขียนเป็นนักประวัติศาสตร์ แต่บ่อยครั้งก็พบว่างานวิชาการทาง ประวัติศาสตร์ดูออกจะแห้งแล้ง แม้กระทั่งงานของผู้เขียนเอง จนบางครั้ง รูส้ กึ ว่าได้สร้างช่องว่างระหว่างผูเ้ ขียนกับผูอ้ า่ น  ประวัตศิ าสตร์จะสนุกเมือ่ ได้นั่งจับเข่าคุยกัน ซึ่งก็หาโอกาสได้ยากระหว่างผู้นิพนธ์งานกับผู้อ่าน แต่ ส�ำหรับหนังสือ ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ สุเจนได้ท�ำลายก�ำแพงที่ขวางกั้น ระหว่างผู้ผลิตงานประวัติศาสตร์และผู้เสพงานประวัติศาสตร์ลง ด้วยลีลา การเขียนแบบสบายๆ อ่านสนุก กระชับ เข้าใจง่าย และทีส่ ำ� คัญคือได้สาระ ครบถ้วนตามเจตนาของผู้เขียน  จึงอยากฝากงานนี้ไว้ประจ�ำหิ้งหนังสือของท่าน โดยเฉพาะคนที่ สนใจตามกระแส ๒๕๐ ปี กรุงแตก ควรได้อ่านหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านจะได้ทงั้ ความรู ้ อรรถรส และแง่คดิ  แล้วท่านจะพบว่าเมือ่ ท่าน อ่านจบแล้ว ๒๕๐ ปีแห่งอวสานกรุงศรีฯ ยังไม่จบ หนังสือได้ฝากแง่คิด ให้คิดต่อ เป็นพลังปัญญา ปลูกปัญญา และต่อชีวิตอยุธยาที่ดูเหมือนจะ ดับสูญ ให้คงอยู่ในความทรงจ�ำของท่านไปอีกนานเท่านาน

๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๐

12 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ AYUTHAYA PART intro.indd 12

10/3/17 5:04 PM


จดหมายถึงปี  ๒๖๖๐ (จากผู้เขียน)

ถึงท่านที่หยิบหนังสือเล่มนี้อ่านในปี พ.ศ. ๒๖๖๐ / ค.ศ. ๒๑๑๗ ถ้าหนังสือเล่มนีย้ งั เหลือรอด ไม่วา่ จะในรูปเล่มหนังสือ ไมโครฟิลม์   หรือไฟล์ดจิ ทิ ลั   ในวาระครบรอบ ๓๕๐ ปีแห่งการเสียกรุงศรีอยุธยา และ  ๑๐๐ ปีของหนังสือเล่มนี้ ผมหวังว่าท่านจะอ่านมันด้วยความขบขัน ขบขัน -เมื่อพบว่าถอยหลังไปเมื่อศตวรรษก่อน ในปี ๒๕๖๐ แบบ เรียนประวัติศาสตร์ในโรงเรียนไทยยังคงเอาเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อหลายร้อยปี ก่อนมาสร้างความรู้สึกเคืองแค้นประเทศเพื่อนบ้าน จนเปิดโอกาสให้นัก เขียนสารคดีคนหนึ่ง “รื้อ” ประวัติศาสตร์เรื่องการเสียกรุงศรีอยุธยามา เขียนหากินได้เป็นเล่ม ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ เกิดขึ้นในบริบทที่ว่ามานี้ ไม่ปดิ บังว่านอกจากการท�ำมาหากินอันเป็นเรือ่ งปรกติของ “นักเขียน ไส้แห้ง” ผมยังมี “วาระ” ที่ต้องการสื่อสารกับสังคมไทยในปี ๒๕๖๐ ด้วย 13 สุเจน กรรพฤทธิ์ AYUTHAYA PART intro.indd 13

10/3/17 5:04 PM


เมือ่ ผมเขียนค�ำน�ำชิน้ นี ้ ช่วงปลายปี ๒๕๖๐/๒๐๑๗ ระบบการศึกษา ในโรงเรียนของรัฐอย่างน้อย ๑๒ ปี  หล่อหลอมให้คนวัยท�ำงานรุ่นผม เติบโตขึ้นพร้อมความรับรู้ว่าการสูญเสียกรุงศรีอยุธยาในปี ๒๓๑๐/๑๗๖๗ คือความสูญเสีย “ของชาติ” ทัง้ ทีว่ งการประวัตศิ าสตร์ระดับนานาชาติอธิบาย กันมาพักใหญ่แล้วว่าในยุคที่อาณาจักรศรีอยุธยาอวสานลง ยังไม่มีสิ่งที่ เรียกว่า “รัฐชาติ” ใดๆ  แม้กระทั่ง “ประเทศไทย” ก็ยังไม่มีตัวตน  ค�ำว่า “สามัคคี” หรือ “สละชีพเพื่อชาติ” ล้วนถูกประดิษฐ์สร้างขึ้น ในภายหลัง เมือ่ เราสร้างรัฐสมัยใหม่ตามระเบียบของโลกทีเ่ ปลีย่ นไปทัง้ สิน้ ทว่าคนจ�ำนวนมากยังคง “ติดหล่ม” กับความรับรูช้ ดุ ดังกล่าว ทัง้ ยัง มีการ “ผลิตซ�้ำ” เรื่องนี้อยู่ตลอดเวลาในอุตสาหกรรมบันเทิง ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์ จนกลายเป็นเครื่องมือมอมเมาผู้คนภายใต้ ระบอบเผด็จการที่สังคมไทยคุ้นชินกันเป็นอย่างยิ่ง แต่คงต้องหมายเหตุไว้ด้วยว่า มีความพยายาม “ก้าวข้าม” เช่นกัน  แต่ส่วนมากกลับ “ติดหล่ม” และ “ตกม้าตาย” ในแง่เนื้อหาอยู่ดี ผมอยากบั น ทึ ก ไว้ ต รงนี้ ด ้ ว ยว่ า  ในห้ ว งชี วิ ต ของผมถื อ เป็ น ยุ ค ที่ ประวัติศาสตร์ถูกน�ำมารับใช้จุดมุ่งหมายทางการเมืองในระดับเข้มข้นที่สุด ยุคหนึ่ง  การรัฐประหารซ�ำ้ ซากยิ่งซ�ำ้ เติมให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น ในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา สังคมไทยผ่านเหตุการณ์รัฐประหารมาแล้ว สองครั้ง ครั้งแรกคือในปี ๒๕๔๙/๒๐๐๖ และครั้งที่ ๒ คือในปี ๒๕๕๗/ ๒๐๑๔  สัจธรรมอย่างหนึง่ ทีผ่ มค้นพบคือ ยิง่ ทหารเข้ามาปกครองประเทศก็ 14 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ AYUTHAYA PART intro.indd 14

10/3/17 5:04 PM


ยิง่ มีการน�ำเอาประวัตศิ าสตร์ไปรับใช้จดุ มุง่ หมายหลัก คือการรักษาอ�ำนาจ ของผู้น�ำเผด็จการมากขึ้นทุกขณะ หาได้ถูกใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพใน การคิดของมนุษย์ไม่ หนังสือเล่มนี้คือความพยายาม “ป่วน” (disrupt) องค์ความรู้แบบ เผด็จการในบรรยากาศดังกล่าว ท่ามกลางสภาพที่สังคมไทย “เลี้ยวขวา” จนตกขอบ ผมตั้งปณิธานเสมอว่างานเขียนสารคดีของผมจะต้อง “บันเทิงด้วย ความรู้” (edutainment) ต้องเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้แก่ผู้อ่าน  ยิ่งเป็นงาน เขียนสารคดีเชิงประวัตศิ าสตร์ ยิง่ ไม่สมควรย�ำ่ อยูก่ บั ที ่ ย�ำ้ ซ�ำ้ แต่แนวคิดหรือ เนื้อหาเดิมๆ ที่งานประเภทอื่นเคยท�ำไว้มากมายแล้ว  ไม่เช่นนั้นแล้ว คนเขียนสารคดีจะเป็นได้เพียง “ช่างเทคนิคทาง ภาษา” เท่านั้น  ผมไม่มที างรูไ้ ด้วา่ งานเขียนสารคดีภาษาไทยในยุคของท่าน คือในปี  ๒๖๖๐/๒๑๑๗ จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ทั้งกลวิธีการเขียน วิธีการน�ำ เสนอ จะเดินหน้า หรือเปลี่ยนแปลงไปมากมายขนาดไหน   แต่เฉพาะองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ผมหวังอย่างเต็มเปี่ยมว่า ในห้วงเวลาของท่านผู้อ่านอีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า การเรียนประวัติศาสตร์ใน โรงเรียน (ถ้าในยุคนัน้ ยังมีวชิ านีแ้ ละมีสถาบันโรงเรียน) คงเปลีย่ นแปลงไป จากยุคของผมแล้ว  นักเรียนควรเรียนวิชานีเ้ พือ่ เข้าใจอดีต ถกเถียงตีความ ได้กว้างขวาง บนพื้นฐานข้อเท็จจริง และสร้างสรรค์ปัญญาและ “มนุษย์ นิยม” ให้แก่สังคมไทย ผมหวังอย่างเต็มเปีย่ มว่าหนังสือประวัตศิ าสตร์ประเภท “นัง่ ทางใน/ 15 สุเจน กรรพฤทธิ์ AYUTHAYA PART intro.indd 15

10/3/17 5:04 PM


เข้าฌาน” คงพ้นสมัย เพราะสังคมไทยพัฒนาไปไกลเสียจนคนส่วนใหญ่ หันมาอ่านสิ่งที่มีกระบวนคิดแบบวิทยาศาสตร์มากขึ้น ท่ามกลางเสรีภาพ และระบอบการปกครองที่ให้ความส�ำคัญแก่ประชาชน ผมหวังอย่างเต็มเปี่ยมว่าในอีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า ประเทศต่างๆ ใน โลกคงเปิดพรมแดนถึงกันอย่างเสรี ผู้คนไปมาหาสู่กันง่ายดาย ไม่ต้องใช้ หนังสือเดินทางรุงรัง  ประกอบกับระบบขนส่งอันยอดเยี่ยม มนุษย์ในโลก คงรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในฐานะ “มนุษยชาติ” มากขึ้น  ผมหวังว่า หลังเวลาผ่านไป ๑ ศตวรรษ  โลกเราคงพัฒนาไปในทาง ทีด่ ขี นึ้ ในแง่ขององค์ความรู  ้ แม้วา่ อาจประสบความล�ำบากบ้างเรือ่ งสภาพ แวดล้อม ซึ่งทั้งหมดผมยอมรับโดยไม่ต้องแก้ตัว ว่าเป็นผลงานชิ้นโบด�ำที่ คนรุ่นผมก่อเรื่องเอาไว้ ที่ส�ำคัญผมหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นแค่สิ่งล้าสมัย และมีสถานะ เป็นแค่ “บันทึกวิธีคิดของสังคมไทยในอดีต” ที่ซุกอยู่ในซอกมุมฝุ่นจับบน ชัน้ หนังสือ หรือเป็นไฟล์ออนไลน์อนั เล็กจิว๋ อยูใ่ นฐานข้อมูลขนาดยักษ์ของ คนรุ่นท่าน ผมกลัวแต่ว่าจนปี ๒๖๖๐/๒๑๑๗ แล้ว หนังสือเล่มนี้จะยังมีฐานะ เป็น “มุมมองใหม่”  ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ผมก็คงต้องขอแสดงความเสียใจที่จะบอกท่าน ว่า “เราอยู่ที่เดิมมานานเกินไปแล้ว”  สุเจน กรรพฤทธิ์ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๐ เมืองไทยภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร 16 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ AYUTHAYA PART intro.indd 16

10/3/17 5:04 PM


อุทิศแด่

รศ. ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ของผู้เขียนผู้ล่วงลับ ซึ่งมีส่วนผลักดันให้ผู้เขียน ผลิตเนื้อหาส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้

17 สุเจน กรรพฤทธิ์ AYUTHAYA PART intro.indd 17

10/3/17 5:04 PM


18 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ AYUTHAYA PART 1.indd 18

9/30/17 2:45 PM


อวสานกรุงศรีฯ < จิตรกรรมจากอนุสรณ์สถานแห่งชาติ แสดงเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยา ท�ำหน้าที่ “ตอกย�ำ้ ” และสร้างความรับรูเ้ รือ่ ง “ประวัตศิ าสตร์การเสียกรุง” ให้กบั คนไทย โดยเฉพาะ ทหารในกองทั พ ที่ มั ก ถู ก ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชามอบหมายให้ ไ ปชมในฐานะส่ ว นหนึ่ ง ของ การทัศนศึกษา

AYUTHAYA PART 1.indd 19

9/30/17 2:45 PM


ฉากที   ่ ๑ ๒๔๘ ปีต่อมา ◆

“ครั้นจุลศักราช ๑๑๒๖ พระเจ้าอังวะให้มหานรธาเป็น แม่ทัพใหญ่ยกพลเข้ามาตีกรุง ศรีอยุธยา แต่หาได้ยกเข้ามา ทางต� ำ บลท่ า กระดานทาง เมืองกาญจนบุรีไม่ ยกมาทาง เมืองมฤทเมืองทวาย...” ◆ ค�ำให้การชาวกรุงเก่า 26 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ AYUTHAYA PART 1.indd 26

9/30/17 2:46 PM


ต้นปีพุทธศักราช ๒๕๕๘  บ้านด่านสิงขร อ�ำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผมเงยหน้าจากหนังสือค�ำให้การชาวกรุงเก่า ก้าวลงจากรถยนต์ แล้วพบว่าหน้าตา “ด่าน” เส้นทางเดินทัพโบราณในจินตนาการมลายไป หมด ด้วยทางขึ้นด่านสิงขรในปัจจุบันกลับเป็นซุ้มประตูคอนกรีตสีขาว ขนาดใหญ่ติดป้าย “ด่านสิงขร” มองเห็นได้แต่ไกล  ผมตัดสินใจมาส�ำรวจที่นี่เพราะค�ำให้การชาวกรุงเก่า หลักฐาน ปากค�ำของเชลยศึกชาวอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปกรุงอังวะเมื่อปี ๒๓๑๐ ระบุว่ารอยต่อระหว่างปี ๒๓๐๒-๒๓๐๓ กองทัพเมืองรัตนสิงค์ของพระเจ้า อลองพญายกมาทางนี้เพื่อไปตีอยุธยา ศึกครั้งนี้รู้จักกันในชื่อ “ศึกอลองพญา” อันเป็นเสมือน “สัญญาณ เตือนภัย” ให้แก่กรุงศรีอยุธยา ก่อนที่ศึกใหญ่ในปี ๒๓๐๗ จะมาถึง

27 สุเจน กรรพฤทธิ์ AYUTHAYA PART 1.indd 27

9/30/17 2:46 PM


ศาลในปัจจุบัน ชาวบ้านที่ด่านเล่าว่า “ก่อนที่จะเห็นสภาพนี้มีการแย่งกัน ย้ายต�ำแหน่งหินหลายครั้งทั้งจากฝั่งเจ้าหน้าที่ไทยและพม่า” ซึ่งน่าจะ มาจากการที่กองหินท�ำหน้าที่เหมือนเป็น “หลักเขตท้องถิ่น” ที่จะส่งผล บางอย่างต่อเส้นเขตแดน  ทั้งไทยและพม่าจึง “ยืนยัน” ความเป็นเจ้าของด้วยการสร้างศาล ในรูปแบบของตัวเอง นีย่ อ่ มเป็นผลของกรณี “เส้นเขตแดนระหว่างประเทศ” ทีย่ งั เจรจาไม่ จบระหว่างไทยกับพม่าในฐานะรัฐชาติสมัยใหม่  พักเรื่องเขตแดนไว้ ย้อนไปดูสถานการณ์ในปี ๒๓๐๐  สองปีก่อนที่ทัพรัตนสิงค์จะเคลื่อนผ่านเข้ามาทางด่านสิงขรอันถือ เป็นเหตุการณ์ “ปฐมบท” ของการเสียกรุงฯ ปี ๒๓๑๐

30 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ AYUTHAYA PART 1.indd 30

9/30/17 2:46 PM


ฉากที   ่ ๒ ๑๐ ปีก่อนกรุงแตก ◆

“อันสมเด็จพระบรมราชาธิราช  เจ้าแผ่นดินนี้ มีพระกมลสันดานต่าง  กันกับพระบรมบิดาและพระเชษฐา  ธิราช ปาณาติปาตพระองค์ทรงเว้น เป็นนิจ ทรงประพฤติกศุ ลสุจริตธรรม สมณพราหมณาประชาราษฎร มีแต่ สโมสรเป็นสุขสนุกทั่วหน้า” ◆ พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน 31 สุเจน กรรพฤทธิ์ AYUTHAYA PART 1.indd 31

9/30/17 2:46 PM


32 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ AYUTHAYA PART 1.indd 32

9/30/17 2:58 PM


แผนผัง พระราชวังหลวง กรุงศรีอยุธยา ที่มา : ศิลปากร ปีที่ ๑๐ เล่มที่ ๖, มีนาคม ๒๕๑๐.

พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์  พระที่นั่งองค์นี้เป็นพระที่นั่งส�ำคัญองค์หนึ่ง ในพระราชวังหลวง มีการบูรณะหลายครั้ง  และพระเจ้าเอกทัศน์มักเสด็จไปประทับ จนเป็นที่มาของพระนามหนึ่งของพระองค์วา่   “พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์”  พระที่นั่งทรงปืน  พระที่นั่งองค์ขนาดย่อมภายในพระบรมมหาราชวัง พระต�ำหนักศาลาลวด  อยู่ติดกับพระต�ำหนักสระแก้ว พระต�ำหนักนี้เป็นของ  “เจ้าสามกรม” ซึ่งมีบทบาทส�ำคัญในการชิงราชบัลลังก์ หลังสิ้นแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ปัจจุบันพระต�ำหนักนี้ไม่เหลือร่องรอยแล้ว

วัดพระศรีสรรเพชญ์  วัดหลวงในพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษฐาน  “พระศรีสรรเพชญ์” พระพุทธรูปส�ำริดองค์ใหญ่ หุ้มทองค�ำทั้งองค์ ซึ่งเป็น “ขวัญเมือง”  ของกรุงศรีอยุธยา พระต�ำหนักสวนกระต่าย  พระต�ำหนักของพระเจ้าอุทุมพร 33 สุเจน กรรพฤทธิ์ AYUTHAYA PART 1.indd 33

9/30/17 2:59 PM


พระเจ้าเอกทัศน์

พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา (จินตนาการของศิลปิน) กษัตริย์องค์สุดท้ายของอยุธยา มีฉายาว่า “ขุนหลวงขี้เรื้อน”  ถูกกล่าวหาจากหลักฐานประวัติศาสตร์ชาตินิยมว่า ชิงบัลลังก์จากพระอนุชา ท�ำให้ราชส�ำนักอ่อนแอ และไม่เอาใจใส่ป้องกันกรุง  สวรรคตหลังกรุงศรีอยุธยาแตก ในวันที ่ ๗ เมษายน ๒๓๑๐ (ภาพ : สุธีรา รุ่งเรืองเสาวภาคย์)

56 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ AYUTHAYA PART 1.indd 56

9/30/17 2:46 PM


พระเจ้าอุทุมพร

พระอนุชาพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา (จินตนาการของศิลปิน) มีฉายาว่า “ขุนหลวงหาวัด” เนื่องจากหลังพระราชบิดา (พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)  สวรรคต พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นเวลาสั้น ๆ และสละราชสมบัติออกผนวช  เป็นก�ำลังส�ำคัญในการรับศึกอลองพญา แต่ในศึกคราวเสียกรุง ทรงไม่ลาผนวชมาช่วยป้องกันเมืองแต่อย่างใด (ภาพ : สุธีรา รุ่งเรืองเสาวภาคย์)

57 สุเจน กรรพฤทธิ์ AYUTHAYA PART 1.indd 57

9/30/17 2:46 PM


“จับจุดให้ได้ ว่าใคร บาดหมาง กับใคร” ศ. ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์

“การเสี ย กรุ ง ครั้ ง ที่   ๒ จะโทษว่ า เป็ น ความผิ ด พระเจ้ า เอกทั ศ น์  ทั้งหมดไม่ได้เพราะมีหลักฐานที่มองพระองค์ในแง่บวกปรากฏ  บาง เรื่องก็ต้องพิจารณา เช่นการชิงบัลลังก์พระอนุชา คงต้องถามว่าก่อน สมัยรัชกาลที่ ๕ คนส่วนใหญ่ของสังคมสนใจด้วยหรือ ว่าใครจะเป็น กษัตริย์ ขอแค่เอาชนะ ท�ำรัฐประหารได้ ท�ำพิธีให้ถูก ก็มีสิทธิธรรม ปกครองแล้ว 176 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ ��������.indd 176

9/30/17 3:13 PM


177 สุเจน กรรพฤทธิ์ ��������.indd 177

9/30/17 3:13 PM


“ถึงตอนนี ้ (๒๕๕๘) ผมยังคงยืนยันทฤษฎีเดิม ว่าระบบราชการ อยุธยานั้นเสื่อมสลายลง  เรื่องการป้องกันได้ยาวนานนั้น อยุธยายัน ด้วยก�ำแพงเมืองและอะไรอีกร้อยแปดครับ แต่ทแี่ น่นอนคือ ระบบของ อยุธยาหลังจากรัชกาลพระนเรศวรเสื่อมลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะการ ควบคุมหัวเมืองและไพร่พล  ส่วนการบุกของอังวะนั้นผมมองเขามี การเตรียมการมานานมากๆ และพม่าไม่ต้องการให้อยุธยาเป็นที่พึ่ง ของหัวเมืองมอญอีกต่อไป “ในสงครามคราวเสียกรุงครั้งที่  ๒ นั้น อยุธยาตั้งรับโดยไม่ สามารถระดมก�ำลังจากหัวเมืองไปตีตัดเสบียงทัพอังวะได้เลย แต่ก็มี การเตรียมตัวก่อนหน้ามาเป็นปีทงั้ เสบียงอาหาร ทัง้ ก�ำลังพล เท่าทีจ่ ะ กวาดต้อนเข้ามาในเมือง ผมคิดว่าอยุธยาตั้งใจจะตั้งรับด้วยก�ำแพง เมือง จน ๙ เดือนสุดท้าย ทหารอยุธยาก็ยังสามารถที่จะออกลาด ตระเวนหาเสบียงนอกกรุงได้บ้าง เพราะการล้อมยังไม่แน่นหนาพอ เราจะเห็นว่าการตัง้ รับในหัวเมืองล้มเหลว ส่งทัพไปโดนตีแตกกลับมา ถึงแม้จะบอกว่าพงศาวดารพม่าบันทึกการรบอันเหีย้ มหาญ แต่คำ� ถาม ของผมคือท�ำไมมันแตกแพ้กลับมาหมด (หัวเราะ) ค�ำตอบที่ผมมีคือ คนมันน้อยไป ไม่วา่ จะถูกหรือผิดก็ตาม  ผมเสนออย่างนี ้ ส่วนทีบ่ อก ว่าใช้ยุทธศาสตร์เอาพระนครรับศึกนั้น จะเห็นได้ว่าก็มีการส่งทัพ ใหญ่ออกจากกรุงด้วยเช่นกัน  “เรือ่ งเสบียงทีว่ า่ ในกรุงมีพอเพียง ผมก็มคี ำ� ถามว่าข้างนอกกรุง ล่ะ เสบียงไม่พอหรือไร เวลาเกิดสงครามสิง่ แรกทีท่ กุ คนท�ำคือหนี ทัง้ ไทยและพม่า ทุกคนเอาตัวรอด เรือ่ งอะไรจะไปรบให้ละ่  ถ้าหนีไม่ทนั ก็ไปอย่าง แต่นี่หนีทัพทันจ�ำนวนมาก พอหนีก็เอาข้าวไปไม่ได้ ข้าวนี่ 178 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ ��������.indd 178

9/30/17 3:13 PM


เป็นเสบียงที่แย่มาก ขนล�ำบาก ทางเลือกก็คือคุณต้องปล้นเขากิน ทุกคนต้องปล้น ใครจะขนข้าวไปกินได้ “ในกรณีของบ้านบางระจันนัน้  ผมมองว่าทีท่ พั อังวะต้องท�ำลาย บางระจัน เพราะบางระจันเป็นชุมชนที่เกิดขึ้นจากการหนีการจับกุม ของพม่า จนกลายเป็นชุมชนใหญ่ทจี่ ะตัง้ ค่ายรับมือกับทัพพม่าได้  ใน เวลานั้น ถ้าไปดูชุมนุมอื่นๆ ที่เหลืออยู่ ไม่มีใครตั้งค่ายได้ในลักษณะ นี้  นั่นหมายถึงบางระจันนั้นมีคนมากพอและมีศักยภาพที่อาจจะ รบกวนท�ำลายการส่งเสบียงในแนวหลังของทัพอังวะได้  บางระจัน ยังผิดจากชุมนุมอื่นๆ ทั่วไปที่แยกตัวออกจากอ� ำนาจของอยุธยา บางระจันนั้นมีความก�ำกวมเป็นอิสระจากอยุธยา แต่ไม่ได้ต่อต้าน อยุธยา  อยุธยาก็ไม่มีอ�ำนาจไปควบคุมแต่อย่างใด เรื่องนี้ถ้าไปเทียบ กับพระเจ้ากรุงธนบุร ี (พระเจ้าตากสิน) จะเห็นเลยว่าพระองค์เองแยก ตัวออกจากอ�ำนาจอยุธยาตอนยกทัพออกจากกรุง และประกาศตัว เป็นกษัตริย ์ นัน่ หมายถึงพระองค์จะกลับไปในเครือข่ายอ�ำนาจอยุธยา ไม่ได้อีก และที่หลักฐานพม่าไม่บันทึกเรื่องของบ้านบางระจัน เพราะ มันเล็กเกินไป ขนาดกองทัพบ้านบางระจันนั้น ทัพอังวะยังให้แค่สุกี้ พระนายกองยกมาตี “กรณีบางระจัน นีค่ อื เรือ่ ง ‘ความรักมาตุภมู ’ิ  ไม่ใช่ชาติ  เรือ่ งนี้ มี ตั้ ง แต่ ยุ ค หิ น  ปั ญ หาของการสร้ า งความรู ้ สึ ก ชาติ นิ ย มคื อ คุ ณ จะ กลืน ‘ความรักมาตุภมู ’ิ  อย่างไร ประเทศในโลกนีส้ ว่ นมากกลืนได้ แต่ ไทยกลืนไม่ได้ เพราะ ‘ชาติ’ ไม่มี ‘ประชาชน’ อยู่ในนั้น เราจึงจัดการ ส�ำนึกรักมาตุภูมิไม่ได้  “ท�ำไมเราถึงไม่ให้บางระจันรบในฐานะผู้รักมาตุภูมิล่ะ ในเมื่อ 179 สุเจน กรรพฤทธิ์ ��������.indd 179

9/30/17 3:13 PM


“ค�ำอธิบาย

(ทางประวัติศาสตร์)

ชุดเดิม ก�ำลังเสื่อมลง” ศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์พม่า

“ในพม่าปัจจุบัน เรื่องตีกรุงศรีอยุธยาปี ๒๓๑๐ ไม่ถูกเน้นเท่าเรื่อง  พระเจ้าบุเรงนอง แต่ในพงศาวดารพม่าถูกเน้น และเน้นช่วงพระเจ้า อลองพญามากกว่าพระเจ้ามังระ เพราะผู้เขียนพงศาวดารต้องสร้าง ‘ความเป็นหนึ่งเดียวกัน’ ที่พระเจ้าอลองพญาทรงท�ำได้ในยุคของ พระองค์หลังอาณาจักรพม่าล่มสลาย  186 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ ��������.indd 186

9/30/17 3:13 PM


187 สุเจน กรรพฤทธิ์ ��������.indd 187

9/30/17 3:13 PM


“เมื่อเราศึกษาเรื่องนี้จากหลักฐานพม่า  ค�ำถามที่ว่าเราเชื่อ หลักฐานพม่าได้แค่ไหนนั้นเป็นอีกขั้นหนึ่ง เราต้องประเมินหลักฐาน ก่อนข้อแรก  หลักฐานว่าด้วย ‘การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒’ ของ พงศาวดารไทยนัน้ แตกต่างกับพงศาวดารพม่า เรามีขอ้ มูลเรือ่ งนีอ้ ย่าง จ�ำกัดมากๆ อันนี้คือความแตกต่างพื้นฐาน อาจเป็นได้ว่ากรณีเราคือ ความพ่ายแพ้ เป็นความทรงจ�ำที่ไม่อยากพูดถึง แต่กรณีพม่า การ รายงานซึ่งผมเชื่อว่ามาจากจดหมายเหตุรายวันทัพแล้วประมวลมา เป็นพงศาวดาร ให้ข้อมูลที่มากกว่าและละเอียดกว่า “ข้อสอง พม่ากับเราพูดเรือ่ งเดียวกันแต่มองต่างกัน  ข้อมูลของ เรามองว่าการเสียกรุงเราไม่ตั้งใจ ไม่พร้อม รบแพ้ตลอด ข้อมูลพม่า พูดว่าเขาพยายามอย่างยิ่งยวด แม้จะเข้าข้างว่าตัวเองรบชนะตลอด แต่เห็นรายละเอียดทีแ่ สดงถึงความพยายามก่อนได้ชยั ชนะ ความต่าง นี้ชวนให้คิดว่าการเสียกรุงไม่ใช่เสียง่าย เป็นเรื่องที่กระทั่งศัตรูก็บอก ว่าพยายามมาก กว่าจะเอาชนะได้ “ข้อสาม คือเรือ่ งความแม่นย�ำ ของพม่าชัดเจน วางแผนอย่างไร จัดทัพอย่างไร ทัพ เนเมียวสีหบดี ทีม่ าก่อน พันธกิจทางทหารมีหลาย อย่าง ตีเชียงใหม่ ล้านช้าง ก�ำลังคนที่รวบรวม เพิ่มอย่างไร จัดก�ำลัง อย่างไร การตั้งทัพเป็นแบบไหน เช่น มาอยู่ทางเหนือก่อน รอสิ้นฝน ถึงลงมา นัน่ หมายถึงการท�ำศึกแรมปี ยังไม่รวมทัพมหานรธาทีม่ าทาง ใต้ พระเจ้ามังระตรัสชัดเจนว่าทัพ เนเมียวสีหบดี ไม่พอ ต้องมีอกี ทัพ หนึง่  เรือ่ งเหล่านีไ้ ม่ปรากฏในพงศาวดารเรา ผมคิดว่าเรือ่ งนี ้ ความน่า เชือ่ ถือต้องยึดหลักฐานพม่าเป็นบรรทัดฐานไปเทียบกับหลักฐานอืน่ ๆ เช่นหลักฐานของล้านนา 188 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ ��������.indd 188

9/30/17 3:13 PM


“ข้อส�ำคัญคือ เมื่อดูหลักฐานพม่า เราเห็นว่า ‘ธุระ’ เรื่องตี อยุธยาใหญ่มาก ไม่ใช่มาแบบกองโจร มองว่าไทยง่ายเลยเปลี่ยนใจตี ให้ถึงอยุธยา แต่นี่คือทัพใหญ่ อาจไม่เท่าคราวทัพ บุเรงนอง แต่เป้า หมายนัน้ คือตีอยุธยาแน่นอน ตรงนีต้ รงข้ามกับทีส่ มเด็จฯ กรมพระยา ด�ำรงราชานุภาพ ทรงเข้าใจ หลักฐานของไทยไม่แสดงเจตจ�ำนงเรื่อง นีข้ องทัพอังวะ นีจ่ งึ เป็นเรือ่ งทีพ่ ม่าวางแผนอย่างมีจงั หวะ เป็นการท�ำ ศึกระยะยาว  “เรือ่ งการท�ำลายอย่างสิน้ ซากเมือ่ ได้ชยั ชนะนัน้  ถ้าเราเข้าใจค�ำ ว่า ‘จักรพรรดิราช’ ไม่จ�ำเป็นต้องตัดสินว่าจักรพรรดิองค์นั้นรบแล้ว ท�ำลายหรือไม่ นั่นไม่ใช่ประเด็น การอธิบายโดยเทียบเคียงพระเจ้า มังระกับพระเจ้าบุเรงนองนั้นเกิดจากนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังมอง สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพจะขึน้ ต้นแบบนี  ้ พม่าไม่เคยมอง ว่าพระเจ้ามังระไม่ใช่จกั รพรรดิราช และทีไ่ ม่เก็บอยุธยาเอาไว้ ก็เพราะ การรบในยุคนัน้ เป็นการท�ำลายแบบไม่เก็บเอาไว้  ลองดูประวัตศิ าสตร์ จะพบว่า ตั้งแต่พระเจ้าอลองพญาตีหงสาวดี สิเรียม พระองค์ทรงให้ ท�ำลายทัง้ หมด ส่งคนมาครองเชียงใหม่นกี่ ป็ ล้นสะดม กวาดต้อนผูค้ น หลักฐานเชียงใหม่จะพูดถึง ‘โบหัวขาว’ ที่ท�ำจนเชียงใหม่ร้าง กว่า เชียงใหม่จะฟื้นอีกครั้งต้องมาเริ่มที่ล�ำปาง เทียบกันแนวทางการรบ แบบนี้ก็ไม่ต่างกับรัชกาลที่  ๑ ส่งกองทัพไปเผาเชียงแสน ท�ำลาย ปาตานี  รัชกาลที่ ๓ ส่งกองทัพไปเผาเวียงจันทน์ จะเห็นว่าไม่ใช่แค่ พม่าที่ท�ำเช่นนั้น เราก็ท�ำเช่นกัน “อธิบายเป็นกรณีเฉพาะคือ พม่ากับมอญ การฟื้นอ�ำนาจของ มอญหมายถึงภัยใหญ่ของพม่า พม่าไม่เคยอยู่ในสภาพล่มสลายมา 189 สุเจน กรรพฤทธิ์ ��������.indd 189

9/30/17 3:13 PM


“ประวัติศาสตร์บาดแผล”

กับผู้น�ำ ไทย-พม่า แม้นักประวัติศาสตร์จะเสนอว่าเรื่องการเสียกรุงครั้งที่ ๒ ไม่เกี่ยว  กั บ ประเทศไทยและพม่ า ในยุ ค ปั จ จุ บั น  ทว่ า ใน “ประวั ติ ศ าสตร์ แห่งชาติ” นั้น นี่คือสิ่งเดียวกัน และบางครั้งก็อยู่ในใจของผู้น�ำทั้ง สองฝ่ายเสมอมา ในประวัตศิ าสตร์การเมืองระหว่างประเทศสมัยใหม่  มีคำ� กล่าว ถึงเรื่องนี้อย่างน้อยสองครั้งจากผู้น�ำไทยและพม่า คือค�ำกล่าวของ ฯพณฯ อูนุ (นายกรัฐมนตรีพม่าขณะนั้น) ระหว่างเยือนอยุธยาเนื่อง ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ตามค�ำเชิญของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๐๐ โดยเมื่อเห็นสภาพอยุธยา ก็กล่าวว่า 196 ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ ��������.indd 196

9/30/17 3:13 PM


197 สุเจน กรรพฤทธิ์ ��������.indd 197

9/30/17 3:13 PM


๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ

“๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ”  ได้นำ� หลักฐานใหม่ซึ่งไม่เป็นที่รู้จัก ในแวดวงประวัติศาสตร์ไทยมาตีแผ่  ท�ำให้ผู้อ่านได้สัมผัสยุทธวิธีการรบ ที่พม่าใช้ในการตีกรุงซึ่งกินระยะเวลา นานถึง ๑๔ เดือน

อวสานกรุงศรีฯ

ค�ำนิยม : ศ.ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์พม่า

ราคา ๒๕๐ บาท coverupdate.indd 184

สุเจน กรรพฤทธิ์

หมวดประวัติศาสตร์ ISBN 978-616-7767-89-5

กรุงแตก ในแบบที่ คนไทย “ไม่รู้จัก”

๒๕๐.-

สุเจน กรรพฤทธิ์ 10/3/17 4:50 PM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.