อียิปต ชาทัลฮูยุก อัสซีเรีย
บาบิลอน กรีก ฮิตไทต
นาลันทา
ไท ผิงเทียนกว อ
ผาแต ม
150.-
ขงจื๊อ อินเดีย
จีน
หนังสือ ท่องยานเวลา บุกฝ่าอารยธรรม (2) ผู้เขียน ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต
พิมพ์ครั้งที ่ 1 เมษายน 2556 จ�ำนวนพิมพ์ 4,000 เล่ม ราคา 150 บาท ข้อมูลบรรณานุกรม ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ. ท่องยานเวลา บุกฝ่าอารยธรรม (2). --กรุงเทพฯ : สารคดี, 2556. 144 หน้า. 1. อารยธรรม. I. ชื่อผู้แต่ง. 2. ประวัติศาสตร์. 909 ข ISBN 978-616-7767-07-9
คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปก/รูปเล่ม : ชาญศักดิ์ สุขประชา พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก สินี ศิริศักดิ์ ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ ส�ำนักพิมพ์สารคดี (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) จัดจ�ำหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด 28, 30 ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 0-2281-6110 (อัตโนมัติ) โทรสาร 0-2282-7003 เพลต เอ็น.อาร์. ฟิล์ม โทร. 0-2215-7559 พิมพ์ บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด โทร. 0-2720-5014 ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อำ� นวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : ปฏิมา หนูไชยะ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด : พิเชษฐ ยิ้มถิน บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : สุดารา สุจฉายา หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วตั ถุดบิ จากน�ำ้ มันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิง่ แวดล้อม
จากส�ำนักพิมพ์ ความรู้นั้นค้นคว้าเท่าไรก็ไม่หมด ยิ่งค้นหาก็เหมือนยิ่งด�ำดิง่ ลงลึก ไปพบความมหัศจรรย์ทซี่ กุ ซ่อนอยูอ่ กี มากมาย ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ จึงพาคุณผู้อ่านขึ้นยานเวลาออกเดินทางผ่านตัวอักษรกัน อีกครั้ง เพราะความรู้อันมหาศาลยังมีให้หยิบยกมาเล่าได้ไม่รู้จบ ยังมีประดิษฐกรรมและนวัตกรรมในอดีตอีกมากมายที่รอการเผย แพร่ให้รับรู้ในวงกว้าง ส�ำหรับท่องยานเวลา บุกฝ่าอารยธรรม เล่มที่ 2 นี้มีเรื่อง ราวอันชวนตื่นตาเช่นเคย ไม่ว่าจะเป็น ความรุ่งโรจน์และร่วงโรย ของมหานครบาบิลอน ที่อาจเป็นอุทาหรณ์สอนใจถึงความไม่จีรัง ของสิ่งต่างๆ หรือใครที่สงสัยเรื่องที่มาของการแต่งงาน รวม ถึงท�ำไมสาวอินเดียจึงต้องเสียค่าสินสอด ก็เป็นเรื่องที่น่าติดตาม เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีเรื่องการปลอมเหรียญที่มีมาแต่โบราณ มิได้เกิดขึ้นในยุคสมัยของเราเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ อย่างเราคงมีนิสัยดั้งเดิมบางอย่างที่มิเคยเปลี่ยนแปลง ฯลฯ คุณผู้อ่านท่านใดที่ยังไม่มีท่องยานเวลา บุกฝ่าอารยธรรม เล่มแรก โปรดรีบค้นหามาอ่านโดยพลัน เพราะมิอยากให้คณ ุ ผูอ้ า่ น พลาดเรื่องราวความรู้อันน่าตื่นตาชวนพิศวงแกมอัศจรรย์ของคน ยุคโบราณเหล่านั้น นอกเหนือไปจากความเพลิดเพลินที่จะได้รับ อย่างแน่นอนอยู่แล้ว ส�ำนักพิมพ์สารคดี
สารบัญ Archaeology : โบราณคดี
ปริศนาภาพผนัง 8,200 ปี แผนที่ชิ้นแรกของโลก ? 008 ภาพชีวิตที่ “ชาทัลฮูยุก” 020 ปริศนาที่ผาแต้ม 028
History : ประวัติศาสตร์
มหาสันติเทพรัฐ กบฏหรือปลดแอก ? 042 นาลันทา มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก 052 ความรุ่งโรจน์ & ร่วงโรย แห่งมหานครบาบิลอน 058
Culture : ปรัชญา ศาสนา & วัฒนธรรม ปรัชญาขงจื๊อมีชัยเหนือปรัชญาอื่นได้อย่างไร ? 074 เอมเปโดเคลส ผู้เสนอทฤษฎี ดิน-น�้ำ-ลม-ไฟ 080 กลับชาติมาเกิดใหม่ในสไตล์กรีก 088 แผนที่โลกผสมจินตนาการ 094 วิวาห์...มาจากไหนกัน ? 100 เหตุใดสาวอินเดียจึงต้องเสียค่าสินสอด ? 104
Technology : วิทยาการ
ย้อนรอยรถศึกโบราณ 112 หอศึกโจมตีเมือง 118 เครื่องทลายก�ำแพงแห่งโลกโบราณ 124 ฟากฟ้าแห่งบาบิลอน 130 กษาปณ์ปลอมย้อมแมว 140
ขออุทิศแด่
คุณเล็ก-คุณประไพ วิริยะพันธุ์ ผู้สร้างสรรค์เมืองโบราณ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ และปราสาทสัจธรรม ไว้เป็นมรดกแก่มวลมนุษยชาติ
ปริศนา ภาพผนั ง 8,200 ปี แผนที่ชิ้นแรกของโลก ? นช่วงปี ค.ศ. 1961-1965 (พ.ศ. 2504- 2508) มีเหตุการณ์ส�ำคัญทางโบราณคดี ซึ่งยังส่งผลต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ใน ครั้ ง นั้ น นั ก โบราณคดี ช าวอั ง กฤษน� ำ ที ม โดย เจมส์ เมลลาร์ต (James Mellaart) ได้ขุดค้นชุมชนยุคหินแห่งหนึ่งในประเทศ ตุรกีซงึ่ เรียกว่า ชาทัลฮูยกุ (Catal Huyuk) ค� ำ ว่ า ชาทั ล เป็ น ภาษาตุ ร กี หมายถึ ง ส้อม (fork) ส่วน ฮูยกุ หมายถึง มูนดิน ชุมชนชาทัลฮูยุกก่อตั้งขึ้นราว 7500 ปี ก ่ อ นคริ ส ตกาล (หรื อ 9,500 ปี ก ่ อ น) ซึ่ ง เป็ น ช่ ว งเวลาที่ ผู ้ ค นเริ่ ม เปลี่ ย นผ่ า น จากการเร่ร่อนล่าสัตว์ มาลงหลักปักฐาน ท�ำเกษตรกรรมและสร้างบ้านเรือน เรียก ว่า การปฏิวัติของยุคหินใหม่ (Neolithic Revolution)
ภาพวาดแสดงลักษณะกลุม่ อาคารบ้านเรือน ของชาทัลฮูยุก
แหล่งโบราณคดีที่ชาทัลฮูยุก
ที่อยู่อาศัยของชุมชนชาทัลฮู ยุ กนั้ นน่ า ทึ่ ง โดยสร้ า งจาก ดินตะกอนที่น�้ำพัดพามา (alluvial clay) มีลักษณะเหมือนน�ำ กล่องมาต่อๆ กัน ไม่มีถนน แต่ละบ้านไม่มีหน้าต่าง มีแต่ช่อง เปิดด้านบนซึ่งใช้เป็นทางเข้าออกโดยใช้บันได ส่วนในตัวบ้านก็ พบข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งกระดูกคนที่ฝังไว้ในตัวบ้าน ลั ก ษณะของหลั ก ฐานต่ า งๆ ที่ พ บเหล่ า นี้ ท� ำ ให้ ตี ค วาม 009
สภาพวิถีชีวิตของชาวชาทัลฮูยูกได้ใน ระดั บ หนึ่ ง แต่ ใ นขณะเดี ย วกั น ก็ มี หลักฐานบางชิ้นที่เป็นปริศนาคาใจคน จ�ำนวนมากมานาน นัน่ คือ ภาพปริศนา ที่ผนังห้องแห่งหนึ่งซึ่งเรียกว่าสักการสถานหมายเลข 14 (Shrine 14) ซึ่ง เจมส์ เมลลาร์ต ค้นพบในปี ค.ศ. 1963 ภาพบนผนังที่ เจมส์ เมลลาร์ต ค้นพบมีขนาดใหญ่ กินพื้นที่ผนังสองผนังติดกัน ภาพส่วนใหญ่ อยู่บนผนังฝั่งทิศเหนือ ที่เหลืออยู่บนผนังฝั่งทิศตะวันออก จาก การตรวจสอบพบว่าภาพนี้มีอายุราว 6200 ปีก่อนคริสตกาล หรือ ประมาณ 8,200 ปีมาแล้ว ภาพด้านบนเป็นภาพเล็กกว่า กว้างประมาณครึ่งเมตร สูง ประมาณ 30 เซนติเมตร โดยมีลักษณะเป็นจุดแต้มกระจายอยู่ ส่วนด้านล่างประกอบด้วยภาพสี่เหลี่ยมผืนผ้าจ�ำนวนราว 80 ภาพ วางเรี ย งกั น ยาวประมาณ 2.7 เมตร (เอกสารของ เมลลาร์ตระบุว่าราว 9 ฟุต) สีที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นสีแดง แต่มีสีส้ม
การใช้ชีวิตของชาวชุมชนชาทัลฮูยุก
010
ภาพเขียนบนผนังที่ชาทัลฮูยุก (ผนังทางซ้ายคือด้านทิศเหนือ ผนังทางขวาคือด้านทิศตะวันออก)
ภาพซึ่งได้จากการตีความว่าภาพผนังปริศนา แสดงภูเขาไฟและที่อยู่อาศัยของชาทัลฮูยุก
อมแดงอยู่บ้างในภาพด้านบน ในรายงานของเมลลาร์ ต ฉบั บ เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ป ี ค.ศ. 1964 ระบุว ่า แวบแรกนั้นเมลลาร์ ตคิ ดว่ า ภาพส่ วนที่ เป็ นลาย จุดแต้ม (ด้านบน) น่าจะเป็นลายหนังเสือดาว แต่ในรายงาน 011
ภาพชี ว ิ ต ที่ “ชาทัลฮูยุก” นเรื่อง “ปริศนาภาพผนัง 8,200 ปี แผนที่ ชิ้นแรกของโลก?” เราได้เห็นประเด็นลึกลับ ที่ชาทัลฮูยุกกันไปแล้ว ในครั้งนี้จะขอย้อน กลับไปดูภาพรวมของชุมชนโบราณแห่งนี้ กันบ้าง ชาทัลฮูยุก (Catal Huyuk) อยู่บน ที่ราบคอนยา ห่างจากกรุงอังการา เมือง หลวงของตุ ร กี ไ ปทางใต้ ร าว 320 กิ โ ลเมตร ค�ำว่าชาทัล ในภาษาตุรกีแปลว่า ส้ อ ม (fork) ส่ ว น ฮู ยุ ก (Huyuk) แปล ว่ า มู น ดิ น ทั้ ง นี้ เ นื่ อ งจากผู ้ ค นที่ นี่ เ มื่ อ สร้างบ้านเรือนและอยู่ไปสักพักหนึ่งจนบ้าน เสื่อมโทรมลง ซ่อมแซมไม่ไหว ก็จะสร้าง บ้านใหม่ซ้อนบนซากบ้านเดิม ผลก็คือเมื่อ เวลาผ่านไปนานหลายร้อยปี บ้านที่สร้าง ใหม่ก็จะอยู่บนมูนดินที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ
แผนที่แสดงต�ำแหน่งชุมชนโบราณชาทัลฮูยุกในประเทศตุรกี
จากการขุดค้นของนักโบราณคดีพบว่า ชุมชนชาทัลฮูยุกมี จ�ำนวนชั้นของบ้านเรือนทั้งหมดถึง 18 ชั้น ชั้นล่างสุดที่พบเริ่ม ต้นในช่วง 7500 ปีก่อนคริสตกาล หรือราว 9,500 ปีมาแล้ว ลั ก ษณะการสร้ า งบ้ า นใหม่ ทั บ ซ้ อ นลงบนต� ำ แหน่ ง ของ บ้านเดิมจนเกิดเป็นมูนดินนี้พบในสถานที่อื่นด้วย ในซีเรียและ ปาเลสไตน์เรียกว่า เทล (tell) ซึ่งมีความหมายเหมือนฮูยุกใน ภาษาตุรกีนั่นเอง บ้ า นแต่ ล ะหลั ง มี ลั ก ษณะเป็ น ห้ อ ง แต่ ล ะห้ อ งมี ข นาด ประมาณ 6x4 เมตร ใช้ผนังร่วมกับห้องที่อยู่ติดกัน จุดเด่นที่ น่าสนใจคือ ไม่มีประตูด้านข้างผนัง แถมยังไม่มีหน้าต่างอีกด้วย ! ที่ เ ป็ น เช่ น นี้ เ พราะชาวชาทั ล ฮู ยุ ก เข้ า ออกทางช่ อ งเปิ ด ที่ หลังคาโดยใช้บันไดพาด ช่องเปิดจึงเป็นทั้งประตู ช่องระบาย อากาศ และช่ อ งแสง เรี ย กว่ า เป็ น ดี ไ ซน์ แ บบ 3-in-1 เลย ทีเดียว (สถาปนิกท่านใดชื่นชอบไอเดียนี้ก็ลองน�ำไปเสนอลูกค้า ดูได้นะครับ ;-)) ไม่มีใ ครรู้ว ่า ท�ำ ไมชาวชาทั ล ฮู ยุ ก จึ ง ออกแบบที่ อ ยู ่ ที่ดูทึบ 021
และมีช่องทางเข้าออกน้อยเช่นนี้ แต่เดากันว่าลักษณะที่อยู่แบบนี้ ท�ำให้พวกสัตว์ร้ายไม่สามารถเข้ามาในบ้านได้ง่ายๆ (บ้างก็ว่าช่วย ลดการลักเล็กขโมยน้อยจากเพื่อนบ้านขี้ขโมยโน่นเลย) แล้วถ้าเกิดฝนตกล่ะ น�้ำไม่ท่วมเข้าไปในบ้าน (หรือห้อง) หรือ? ไม่ต้องห่วงครับ เรื่องนี้สถาปนิกชาทัลฮูยุกได้ออกแบบ รับมือไว้แล้ว สังเกตดูจะเห็นว่ามีการเล่นระดับหลังคาบ้าน โดย บ้านแต่ละหลังมีรางน�้ำซึ่งหล่อจากพิมพ์ปูนขาวอยู่บนหลังคา เมื่อ ฝนตก รางน�้ำเหล่านี้ก็จะระบายน�ำ้ ไปยังลานใกล้เคียง ในยามอากาศดี หลังคาบ้านจะเป็นทั้ง “ถนน” ภายใน ชุมชน อีกทั้งยังเป็นลานที่ชาวชาทัลฮูยุกใช้ท�ำกิจกรรมต่างๆ อีก ด้วย เรียกว่าเป็นหลังคาอเนกประสงค์จริงๆ ผนังบ้านทัง้ ภายในและภายนอกได้รบั การฉาบอย่างดี ผนัง ภายนอกฉาบเพื่อป้องกันฝนและแสงแดด ส่วนผนังภายในฉาบ เรียบ และอาจตกแต่งผนังด้วยภาพวาด ภาพนูนท�ำจากปูนขาว หรือสลักเป็นรูปเค้าโครงคล้ายเงาลงบนแผ่นปูนขาว ถ้าเป็นภาพวาดมีตั้งแต่รอยสีแดงแบบง่ายๆ รูปมือคน รูปคนก�ำลังต่อสู้กับฝูงแร้ง ไปจนถึงรูปแบบเชิงเรขาคณิต ถ้า เป็นภาพนูนท�ำจากปูนขาวมักพบว่าเป็นภาพเทพีก�ำลังคลอดเด็ก โดยชูแขนขาขึ้น ตีความกันว่านี่คือสัญลักษณ์ของการให้ก�ำเนิด ซึ่งเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ (ของผู้คนในทุกยุคทุกสมัย) และถ้า เป็นการสลักรูปบนแผ่นปูนขาวเป็นเค้าโครงมักเป็นภาพวัวกระทิง หัวกวางมีเขา หมูป่า และวัว ภายในบ้านของชาวชาทัลฮูยุกแบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็นสัดส่วน ทางทิศใต้ใช้อยู่อาศัย มีที่นอน เตาไฟ และถังเก็บของ ส่วน ทางด้านเหนือสันนิษฐานว่าใช้เป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรม เพราะ พบภาพวาดประดับบนฝาผนัง ข้าวของเครื่องใช้ส่วนใหญ่ที่พบแกะจากไม้หรือกระดูก บาง ส่วนปั้นด้วยดินเหนียว ของใช้ที่ท�ำจากไม้ เช่น จานแบน ถ้วย ชาม จานหลุมขนาดใหญ่พร้อมหูจบั ส่วนของใช้ทที่ ำ� จากดินเหนียว 022
ลักษณะชุมชนที่ชาทัลฮูยุก
บันไดทีใ่ ช้เป็นทางเข้าออก หลังคามีลกั ษณะแบนเรียบ ใช้เป็นทีท่ ำ� งาน และเส้นทางเดินไปยังบ้านที่อยู่ใกล้เคียงกัน
บันไดใช้พาดเพื่อไต่ขึ้นหลังคา
ห้องที่มีการตกแต่งมากเป็นพิเศษ (เช่น มีหัวและเขาวัวติดผนัง) น่าจะเป็นสักการสถาน หลังคาท�ำจากไม้ ต้นกก และดินเหนียว
ภาพแสดงรายละเอียดของที่อยู่อาศัย
023
ปริศนาที่ผาแต้ม
ม
นุ ษ ย์ ใ นยุ ค โบราณ โดยเฉพาะก่ อ นจะ มี ตั ว อั ก ษรใช้ อาจขู ด ขี ด วาดภาพ หรื อ ท� ำ สั ญ ลั ก ษณ์ บ นผนั ง ถ�้ ำ หรื อ หิ น ตาม หน้ า ผา ซึ่ ง คนในปั จ จุ บั น เรี ย กว่ า ศิ ล ปะ ถ�้ ำ (cave art) หรือศิลปะบนหิ น (rock art) ในประเทศไทย เราพบศิลปะถ�้ำทั้ง ในภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาค อี ส าน แต่ แ หล่ ง ศิ ล ปะถ�้ ำ ที่ มี ข นาดใหญ่ ที่สุดในประเทศ ได้แก่ ผาแต้มโขงเจียม บนภูผาขาม อ�ำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แหล่งศิลปะถ�้ำผาแต้มโขงเจียม ค้นพบในปี พ.ศ. 2524 ต่อมาพืน้ ทีโ่ ดยรอบ ได้รับการยกระดับความส�ำคัญเป็นอุทยาน แห่งชาติผาแต้ม เพือ่ อนุรกั ษ์สภาพธรรมชาติ และศิลปะโบราณที่มนุษย์สรรค์สร้างขึ้น
เสาเฉลียง
ผมไปเยือนอุทยานแห่ง ชาติผาแต้มในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 และอี ก ครั้ ง ใน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 รู ้ สึ ก ประทั บ ใจอย่ า งมาก จึ ง ขอน�ำจุดเด่นและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจมาฝาก เผื่อว่าคุณ ผูอ้ า่ นทีก่ ำ� ลังจะเดินทางไปอาจแวะชมและเรียนรูส้ งิ่ ทีส่ นใจได้อย่าง เพลิดเพลิน จุดแวะชมที่โดดเด่นแห่งแรกเมื่อย่างเข้าสู่อุทยานฯ เป็น กลุ่มเสาหินรูปร่างสะดุดตาคล้ายเห็ดยักษ์ กล่าวคือ บนยอดก้อน หินที่มีลักษณะเป็นเสาดูเหมือนมีก้อนหินเป็นแผ่นขนาดใหญ่วาง ทับอยู่ คล้ายกับมีคนจงใจน�ำขึ้นไปวางไว้ ป้ายของอุทยานฯ ระบุว่าประติมากรรมธรรมชาติที่เห็นนี้ เรียกว่า เสาเฉลียง ซึง่ แผลงมาจากค�ำว่า สะเลียง (ในภาษากูย ที่ เราชอบเรียกว่า ภาษาส่วย) แปลว่าเสาหิน อย่างไรก็ดีหนังสือศิลปะถ�้ำผาแต้มโขงเจียม (จัดพิมพ์โดย กรมศิลปากร พ.ศ. 2532) หน้า 29 ระบุว่า “ชาวบ้านแถบภูผา 029
ขามรู้จักผาแต้มกันมานานพอๆ กับเสาเสลียง แต่เห็นเสาเสลียง ชินตามากกว่า เพราะอยู่ในเส้นทางสัญจรไปมา และทึ่งในรูปร่าง ที่ชวนพิศวงว่าเป็นการกระท�ำของคนหรือธรรมชาติกันแน่…บาง แห่งเรียก เสาเสลียง แปลว่า เสาเอียง ต่อมาแผลงเป็น เฉลียง ตามแบบภาคกลาง จนฟังไม่เพราะหูไปเสียแล้ว” ข้อมูลทางธรณีวิทยาในป้ายดังกล่าวระบุว่า แผ่นหินส่วนที่ เป็นดอกเห็ดเป็นหินทรายอายุราว 130 ล้านปี ส่วนเสาหินที่เป็น ก้านดอกเห็ดก็เป็นหินทรายเช่นกัน แต่เก่ากว่าคือราว 180 ล้านปี เสาหินทรายถูกกัดเซาะจนสึกกร่อนไปโดยสภาพลมฟ้าอากาศ แต่ ในขณะเดียวกันก็ถูกกดทับจนแข็งแกร่งมากขึ้นด้วย ผมบันทึกภาพเสาเฉลียงในมุมอืน่ ๆ รวมทัง้ ภาพระยะใกล้ไว้ ในเว็บบล็อก http://gotoknow.org/posts/373623 หากคุณ ผู้อ่านสนใจก็แวะไปชมและฝากข้อคิดเห็นได้ เมือ่ เดินทางต่อไปอีกราว 1.6 กิโลเมตร จะถึงลานหินทราย กว้างใหญ่ซ่ึงเป็นจุดที่เราจะลงไปชมศิลปะถ�้ำของผาแต้ม แต่ก่อน ทีจ่ ะเดินลงไปชมภาพเขียนสีกอ่ นประวัตศิ าสตร์ ควรแวะชมกองหิน ที่เรียกว่า คอกหิน สักนิดก่อน ป้ายข้อมูลระบุวา่ “คอกหิน นักโบราณคดีสนั นิษฐานว่าเป็น วัฒนธรรมหินตั้ง (Megaliths) หรือเสมาหิน ซึ่งเป็นระบบความ เชื่ออย่างหนึ่งของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คู่กับกลุ่มภาพเขียน บนหน้าผาเบื้องล่าง” มี ข ้ อ สั ง เกตเกี่ ย วกั บ ข้ อ มู ล วั ฒ นธรรมหิ น ตั้ ง ส� ำ หรั บ คุ ณ ผู้อ่านที่สนใจดังนี้ ศ. ชิน อยู่ดี ได้เขียนไว้ในหนังสือสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (หน้า 106) ว่า “วัฒนธรรมหินใหญ่ (Megalithic Culture) เป็นวัฒนธรรม ของคนก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ ลั ก ษณะที่ เ ด่ น ชั ด ของวั ฒ นธรรมนี้ ได้แก่การน�ำก้อนหินมาก่อสร้างเป็นครั้งแรกในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สิง่ ก่อสร้างด้วยหินของคนก่อนประวัตศิ าสตร์ดงั กล่าว แบ่ง ได้เป็น 030
คอกหิน
1. โต๊ะหิน (Dolmens) ประกอบด้วยหินตั้งสองแท่งหรือ มากกว่าและมีหินพาดอยู่ตอนบนแท่งหนึ่ง 2. หินตัง้ (Standing stones หรือ Menhirs) ได้แก่ แท่ง หินที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว ไม่อยู่เป็นกลุ่มหรือเป็นวงกลมหรือเป็นแถว 3. หินตั้งเป็นวงกลม (Stone circles หรือ Cromlechs) 4. หินที่ตั้งเป็นแถวขนานกัน (Aligments)” ส่วนเรื่อง เสมาหิน ที่ป้ายระบุไว้นั้น ศ. สุรพล ด�ำริห์กุล ได้เขียนไว้ในหนังสือแผ่นดินอีสาน (หน้า 57) ว่า “วัฒนธรรม หินตั้งนี้ต่อมาได้คลี่คลายผสมผสานกับวัฒนธรรมอินเดียอันเป็น รูปแบบใหม่ทเี่ ข้ามา กลายเป็นวัฒนธรรมเสมาหินในสมัยทวารวดี” คราวนี้ก็ได้เวลาเดินลงไปชมภาพเขียนสีที่หน้าผาด้านล่าง
031
มหาสั น ติ เ ทพรั ฐ กบฏหรือปลดแอก ?
ป
ระเทศจีนมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ฉาก เหตุการณ์แต่ละเรื่องสามารถให้แง่คิดได้ อย่างสร้างสรรค์และน�ำไปปรับใช้เพื่อรับมือ (หรื อ ท� ำ ใจ) กั บ ความวุ ่ น วายที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน ระหว่ า งการแย่ ง ชิ ง อ� ำ นาจรั ฐ ไม่ ว ่ า ใน ปัจจุบันหรือในอนาคตได้เป็นอย่างดี ในสมั ย ราชวงศ์ ชิ ง ปี พ.ศ. 2382 เกิ ด สงครามฝิ ่ น ครั้ ง แรกระหว่ า งจี น กั บ อั ง กฤษ ต้ น เหตุ ม าจากการที่ รั ฐ บาลจี น พยายามปราบปรามการค้าฝิ่น เพราะก่อให้ เกิดความเสียหายต่อสังคมและเศรษฐกิจ อย่างมาก เหตุการณ์นี้ปะทุขึ้นเมื่อจีนยึด ฝิ่นที่อังกฤษลักลอบน�ำเข้าไปเก็บไว้ในโกดัง ในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งมีปริมาณมากถึง 2 แสนหีบ หนักกว่า 2 ล้านชั่ง (ราว 1,200 เมตริกตัน โดย 1 ชั่งจีนหนัก 600 กรัม)
จีนน�ำฝิ่นทั้งหมดไปเผาที่อ่าวหู่เหมิน ใช้เวลาทั้งสิ้น 22 วัน ! อังกฤษสบโอกาส (ที่อยากบุกรุกจีนมานานแล้ว) จึงใช้เป็น เหตุตอบโต้ด้วยการส่งทัพเรือเข้ามายึดเมืองชายฝั่งของจีนในปี พ.ศ. 2383 เมื่ อ จี น แพ้ ก็ ถู ก บั ง คั บ ให้ เ ซ็ น สนธิ สั ญ ญานานกิ ง (Treaty of Nanjing) เมือ่ วันที ่ 29 สิงหาคม 2385 สนธิสญ ั ญา นี้ท�ำให้จีนต้องช�ำระค่าปฏิกรรมสงครามถึง 21 ล้านหยวน ยก เกาะฮ่องกงให้อังกฤษ เปิดท่าเรือสี่ท่า แถมยกเลิกข้อจ�ำกัดทาง การค้ากับอังกฤษอีกหลายอย่าง รัฐบาลของราชส�ำนักชิงจึงหันมาขูดรีดจากประชาชนด้วย การขึ้นภาษีต่างๆ อย่างต่อเนื่อง การค้าฝิ่นที่ขยายตัวออกไป ท�ำให้เงินตราของจีนไหลออกเป็นจ�ำนวนมาก เมื่อเศรษฐกิจฟุบ หนัก ผู้คนที่อดอยากยากแค้นก็ทนต่อการกดขี่ต่อไปไม่ไหว จึง รวมตัวกันต่อต้านอ�ำนาจรัฐ โดยกลุ่มที่มีพลังเขย่าราชส�ำนักชิงจน ระส�่ำมากที่สุดน�ำโดยผู้น�ำชื่อ หงซิ่วฉวน หงซิ่วฉวน
043
หงซิ่วฉวนและกองทัพไท่ผิงเทียนกว๋อ
หงซิว่ ฉวนเกิดเมือ่ วันที ่ 1 มกราคม 2357 ในหมูบ่ า้ นเล็กๆ ของอ�ำเภอฮวาเซี่ยน มณฑลกวางตุ้ง วงศ์ตระกูลเป็นชาวนา จีนแคะ เมื่ออายุได้ 7 ขวบ ได้เรียนหนังสือในโรงเรียนประจ�ำ หมู่บ้าน แต่พออายุได้ 16 ปี ต้องหยุดเรียนเพราะครอบครัว ยากจน เขาเคยไปสอบเข้ารับราชการที่เมืองกว่างโจวถึงสี่ครั้ง แต่ ไม่เคยสอบผ่าน เรือ่ งนีอ้ าจมองได้วา่ เป็นเพราะราชส�ำนักคัดเลือก เพียง 1 ใน 100 คน แต่ในมุมมองของหงซิ่วฉวน เขาเชื่อว่า เป็นเพราะตัวเขามาจากครอบครัวชาวนา ช่วงเวลานี้เองเกิดเหตุการณ์ส�ำคัญที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของ เขาไปตลอดกาล คือในปี พ.ศ. 2379 หงซิ่วฉวนได้ฟังนักเผยแผ่ ศาสนาคริสต์คนหนึ่ง และได้หยิบเอกสารเผยแผ่ศาสนาติดมือ
กองทัพของไท่ผิงเทียนกว๋อ
044
ไปหลายฉบับ ในปีต่อมาหลังจากที่สอบตก เขาก็ป่วยเป็นโรค ประสาท ระหว่างที่ป่วยอยู่นั้นเขามองเห็นนิมิตประหลาดหลาย ครัง้ เช่น ครัง้ หนึง่ เป็นชายชราพูดกับเขาว่า มนุษย์ทงั้ หลายแทนที่ จะบูชาท่าน กลับไปรับใช้พวกปิศาจ อีกครัง้ หนึง่ เป็นชายวัยกลาง คนสอนเขาให้รู้จักวิธีฆ่าปิศาจ หงซิว่ ฉวนตีความว่าชายชราทีเ่ ขาเห็นก็คอื พระเจ้า ชายวัย กลางคนคือพระเยซู ส่วนตัวเขาเองเป็นพระบุตรคนรองของ พระเจ้า กล่าวคือ เป็นน้องชายของพระเยซู และเป็น “พระมหาไถ่” องค์ใหม่ที่ลงมาเพื่อก�ำราบมารแมนจู (ราชวงศ์ชิง) และสร้าง ดินแดนแห่งความเสมอภาคขึ้นบนโลก เล่ามาถึงตรงนี้แล้ว ขอตั้งข้อสังเกตไว้สองข้อ คือ 1. ชาวคริ ส ต์ ที่ ไ ด้ ยิ น การตี ค วามแบบนี้ ค งจะรั บ ได้ ย าก หรือรับไม่ได้เอาเสียเลย และตามประวัติก็มีว่าหงซิ่วฉวนเคยขอ ให้นักบวชชื่อ อิสซาชาร์ เจค็อกซ์ โรเบิร์ตส์ (Issachar Jacox Roberts) ท� ำ พิ ธี บั ป ติ ส มา หรื อ ศี ล ล้ า งบาป (baptism) ให้ แก่เขา แต่นักบวชท่านนี้ปฏิเสธ 2. เรื่องการใช้ความเชื่อแนวลึกลับเป็นข้ออ้างเพื่อก่อการ ในประเทศเราก็มีคล้ายๆ กัน เช่น กบฏผู้มีบุญ (หรือผีบุญ) ใน อีสานที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในสมัยรัชกาลที่ 5 เรื่องนี้มีแง่ มุมคล้ายคลึงกันอีกอย่างคือ ใช้เงื่อนไขที่คนยากคนจนตกระก�ำ ล�ำบาก เพราะถูกอ�ำนาจรัฐกดขี่ข่มเหง ย้อนกลับไปทีต่ วั เอกของเราอีกครัง้ หงซิว่ ฉวนชักชวนสมัคร พรรคพวกได้หลายคน พวกเขาท�ำลายรูปขงจื๊อและบรรดาเทพ ต่างๆ ของจีนจนหมดสิน้ ผลก็คอื พวกเขาถูกผูท้ ยี่ งั คงนับถือลัทธิ ขงจื๊อขับไล่ออกจากหมู่บ้าน หงซิ่วฉวนและพวกจึงเดินทางด้วย เท้าราว 480 กิโลเมตร ไปยังมณฑลกวางสี และจัดตั้งสมาคม นับถือพระเจ้าขึน้ ทีน่ นั่ โดยประกาศหลักการว่า “ใต้ฟา้ คือครอบครัว เดียว ครองสันติสุขร่วมกัน” ถึงวันที่ 11 มกราคม 2394 (วันครบรอบวันเกิดของหง045
อียิปต ชาทัลฮูยุก อัสซีเรีย
บาบิลอน กรีก ฮิตไทต
นาลันทา
ไท ผิงเทียนกว อ
ผาแต ม
150.-
ขงจื๊อ อินเดีย
จีน