ประวัติศาสตร์ มหาสมุทรอินเดีย
ในมิติของพื้นที่และเวลา อาจารย์ธิดาใช้มหาสมุทรอินเดียเป็นพื้นที่ศูนย์กลางของการค้าขาย ทางทะเลที่เชื่อมโยงกับทะเลสำ�คัญๆ ของเอเชียตะวันตก เช่น ทะเลแดง อ่าวเปอร์เซียที่มา สัมพันธ์กับฝั่งทะเลมะละบาร์ทางตะวันตกของอนุทวีปอินเดีย ทะเลทางฝั่งโคโรมันเดลทางฝั่ง ตะวันออกของอินเดียกับฝั่งทะเลอันดามันของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาถึงช่องแคบ มะละกาที่สัมพันธ์กับพื้นที่ทางฝั่งตะวันออก อันเป็นพื้นที่อ่าวไทยและทะเลจีนใต้ จากพื้นที่ของ อ่าวและทะเลต่างๆ ดังกล่าวนี้ ได้นำ �ไปสู่กลุ่มคนหลายเผ่าพันธุ์ หลายศาสนาและวัฒนธรรม ที่ทำ�การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการค้าขายทางทะเลในนามของภาพรวมว่าเป็นกลุ่มชนชาวน้ำ� จาก คำ�นำ�เสนอ รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม
ดร. ธิดา สาระยา
ดร. ธิดา สาระยา อักษรศาสตรบัณฑิต (จุฬาฯ) อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (จุฬาฯ) M.A. Chinese History (Minnesota) Ph.D Early Southeast Asian & Thai History (Sydney) หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๒๕-๒๕๒๙) ประธานคณะกรรมการบริหาร หลักสูตร Thai Studies คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๓๐-๒๕๓๗) ประธานคณะกรรมการบริหาร หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๔๒-๒๕๔๔)
ประวัติศาสตร์ มหาสมุทรอินเดีย
ดร. ธิดา สาระยา
หมวด ประวัติศาสตร์ ISBN 978-974-7385-55-7
ราคา ๔๙๐ บาท
การนำ�เสนอสาระของหนังสือเล่มนี้ เป็นความจริงในอีกมิติหนึ่งของ “ประวัติศาสตร์บริเวณ” ซึ่งเสมือนไม่มีบริเวณ เพราะ ไม่อิงอยู่กับพรมแดนทางการเมือง แต่เป็นประวัติศาสตร์ ที่ชนหลายกลุ่มชนชาติเผ่าพันธุ์ ร่วมกันสร้าง อาจถึงเวลาแล้วที่เราต้องมอง แรงผลักดันจากหลายด้านหลายมุม อันส่งผลกระทบต่อ การเปลี่ยนแปลงสังคม และการเคลื่อนไหวของกลุ่มชน จากมุมมองหรือมิติของ ประวัติศาสตร์ที่น่านทะเล
ISBN 978-974-7385-55-7 หนังสือ ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย ผู้เขียน ดร. ธิดา สาระยา พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม ๒๕๕๔ ๓,๐๐๐ เล่ม จำ�นวนพิมพ์ ๔๙๐ บาท ราคา © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด บรรณาธิการเล่ม พิสูจน์อักษร ออกแบบ/จัดรูปเล่ม ควบคุมการผลิต
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร นฤมล ต่วนภูษา ธนา วาสิกศิริ
แยกสี/เพลท พิมพ์ที่
เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖
จัดจำ�หน่าย
บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ธิดา สาระยา. ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย.--กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๔. ๗๕๒ หน้า. ๑. การค้า--ประวัติ. ๒. มหาสมุทรอินเดีย--การค้า. ๓. การค้าระหว่างประเทศ- ประวัติ. I. ชื่อเรื่อง. ๓๘๐.๑๐๙ ISBN 978-974-7385-55-7
สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวง บ้ า นพานถม เขตพระนคร กรุ ง เทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อั ต โนมั ติ ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ผูอ้ �ำ นวยการ สุวพร ทองธิว ผูจ้ ดั การทัว่ ไป/ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล ผู้อำ�นวยการฝ่ายการตลาดและฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ทีป่ รึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
10
|
ดร. ธิดา สาระยา
สารบัญ คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�เสนอ โดย รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม คำ�ขอบคุณจากผู้เขียน The Indian Ocean
๑๔ ๑๕ ๒๓ ๒๗
บทนำ� โครงสร้างประวัติศาสตร์ของน่านทะเล (มหาสมุทรอินเดีย-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
๒๘
บทที่ ๑ มหาสมุทรอินเดีย
๖๙
บทนำ�เกี่ยวกับมหาสมุทรอินเดีย ๗๑ ชุมชนน้ำ�และแวดวงการค้าชายฝั่ง ๘๓ ชุมชนน้ำ� ๘๕ การสร้างความเชื่อมโยง ๙๖ วัฒนธรรมร่วมเกี่ยวกับเรือของชุมชนน้�ำ ๑๐๔ การค้าชายฝั่งถึงการค้าข้ามอารยธรรม ๑๒๑ อารยธรรมลุ่มน้ำ�สินธุ ๑๒๔ ชุมชนน้ำ�และการค้าข้ามอารยธรรม ๑๓๓ การเปลี่ยนแปลงและเครือข่ายของเมืองการค้าริมฝั่ง มหาสมุทรอินเดีย ๑๔๕ การเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินเรือ ๑๔๙ เครือข่ายของเมืองการค้าริมฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ๑๗๖ กำ�เนิดและพัฒนาการของเครือข่ายการค้า ๑๘๑ เครือข่าย ๑๙๘
ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย
|
11
บทที่ ๒ ทมิฬ : พ่อค้าแห่งมหาสมุทรอินเดีย ๒๒๕ “ทมิฬ” และ “ทมิฬกัม” ทมิฬ ภาษาทมิฬ ชนชาติผู้ใช้ภาษาทมิฬ (ชาวน้ำ�และชาวบก) ปาระวาร์-ปาระวา-ปาระวาน มุกกุวาน มาราวัน ทักษะเกี่ยวกับการเดินเรือของชาวน้ำ�ทมิฬ พัฒนาการของไวศยวรรณะในสังคมทมิฬ ระบบวรรณะ พุทธศาสนาและการเติบโตของวรรณะพ่อค้า ไวศยวรรณะและสมาคมพ่อค้า หมู่บ้านและสมาคมพ่อค้าทมิฬ-ผู้ประกอบการ แห่งมหาสมุทรอินเดีย “ทมิฬนาฑู” สมาคมพ่อค้าและอาชีพแห่งอินเดียใต้ กำ�เนิดและพัฒนาการ สมาคมการค้าในน่านทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การขยายอำ�นาจของจักรวรรดิทมิฬในน่านทะเล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม่น้ำ�ฆาเวรีและไวไก แม่น้ำ�ฆาเวรี แม่น้ำ�ไวไก ราชวงศ์ปัลลวะ ราชวงศ์ปัณฑัย ราชวงศ์เจระ ราชวงศ์โจฬะ 12
|
ดร. ธิดา สาระยา
๒๒๕ ๒๒๕ ๒๓๖ ๒๔๖ ๒๕๒ ๒๕๖ ๒๕๖ ๒๖๘ ๓๑๑ ๓๑๒ ๓๒๓ ๓๓๑
๓๕๑ ๓๕๒ ๓๖๓ ๓๖๙ ๓๗๘ ๓๘๑ ๓๘๖ ๓๘๖ ๓๙๐ ๓๙๕ ๔๐๔ ๔๐๘ ๔๑๒
บทที่ ๓ มิติกว้างของการค้ามหาสมุทรอินเดีย และน่านทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๔๒๓
วงจรการค้าทะเลใต้ ๔๒๔ ชาวน้ำ�ในน่านทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๔๒๕ เครือข่ายความสัมพันธ์และชุมชนทางการค้า ๔๓๗ การเปิดช่องแคบมะละกา ๔๕๕ เส้นทางสายพุทธศาสนา ๔๗๓ ความหลากหลายของวัตถุสินค้า ๔๘๙ “ศรีวิชัย” ๕๐๓ เอกสารจีนและเอกสารอาหรับ ๕๑๕ เอกสารจีน ๕๑๕ เอกสารอาหรับ ๕๓๕ พัฒนาการของศรีวิชัย : จารึกและหลักฐานทางโบราณคดี ๕๔๖ จารึก ๕๔๘ หลักฐานทางโบราณคดี ๕๗๒ หลักฐานทางโบราณคดีที่สุมาตราและบริเวณใกล้เคียง ๕๗๕ หลักฐานทางโบราณคดีที่ชวา ๕๘๑ ภาพรวมของศรีวิชัย ๕๘๕ โจฬะ-ศรีวิชัย ๕๙๕ การค้าจีนและการขยายตัวของ “พ่อค้าเอกชน” ในน่านน้ำ�เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๖๑๓ การค้าจีน ๖๑๔ การค้าเซรามิกส์จีนในทะเลใต้ ๖๒๘ พ่อค้าเอกชนในการค้ามหาสมุทรอินเดียและ น่านทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๖๔๙ การเคลื่อนไหวของพ่อค้ามุสลิม ๖๖๔ บรรณานุกรม ๖๘๕ ภาคผนวก คำ�ศัพท์ภาษาทมิฬ ๗๔๔ ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย
|
13
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ ประวัตศิ าสตร์มหาสมุทรอินเดีย ผลงานของ ดร. ธิดา สาระยา เล่มนี ้ ได้เปิด มุมมองการศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านชีวิตของผู้คนชาวน้ำ�ในดินแดนต่างๆ จากฝั่งทะเลแดงสู่ฝั่งทะเลจีนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ โดยมีมหาสมุทร อินเดียเป็นผืนน้�ำ ทีเ่ ชือ่ มโยงการปะทะสังสรรค์ของผูค้ นหลากกลุม่ และชนชัน้ นับว่าเป็นการศึกษาที่แตกต่างจากงานทางประวัติศาสตร์ทั่วไป ด้วยเหตุที่ อาจารย์มิได้ยึดติดกับเงื่อนไขทางเวลาของประวัติศาสตร์หรือเป็นเรื่องของ ผู้นำ�เท่านั้น หากแต่เป็นการศึกษาเหตุการณ์และกิจกรรมของมนุษย์ผู้ สัมพันธ์กับผืนน้ำ�แห่งมหาสมุทรอินเดีย โดยวิเคราะห์จากหลักฐานเอกสาร ทางประวั ติศาสตร์ วรรณกรรม ประกอบกับการที่อาจารย์ธิดาลงพื้นที่ ออกสำ�รวจแดนต่างๆ ที่ร่องรอยแห่งอดีตยังคงหลงเหลืออยู่ในวิถีชีวิต ของผู้คน ทำ�ให้เรื่องราวประวัติศาสตร์อันไกลโพ้นในหนังสือเล่มนี้มีชีวิต เห็นภาพของผู้คน และไม่ยากเกินกว่าเราคนปัจจุบันจะรับรู้และเข้าใจได้ อนึ่งในบางช่วงตอนของหนังสือเล่มนี้อาจมีเนื้อความที่ดูเหมือน จะซ้ำ�ซ้อน แต่ทั้งนี้เป็นความตั้งใจที่ผู้เขียนจำ �เป็นต้องอ้างถึงเนื้อความ บางตอนเพื่อเชื่อมโยงให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์อันเกี่ยวข้องกับประเด็น ในหัวข้อนั้นๆ หนังสือ ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย จึงเป็นอีกหนึ่งผลงาน ที่สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณภูมิใจที่ได้มีส่วนในการเผยแพร่หนังสือเล่มนี้สู่ สาธารณชน ซึ่งสาระจากหนังสือนี้คงจะทำ�ให้ผู้อ่านได้เข้าใจประวัติศาสตร์ ของผู้คนอันหลากหลายที่อยู่ร่วมกันมานับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน รวมทั้ง เปิดมุมมองในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่มิได้จบลงแต่อดีตอันไกลโพ้น ทว่า ยังเชื่อมโยงกับปัจจุบัน ให้เราได้ใช้อดีตเป็นตัวขับเคลื่อนความเป็นไปใน ปัจจุบันและอนาคตต่อไป
14
|
ดร. ธิดา สาระยา
สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ พฤษภาคม ๒๕๕๔
คำ�นำ�เสนอ ข้าพเจ้าไม่ได้เล่าเรียนวิชาประวัติศาสตร์เยี่ยงนักประวัติศาสตร์ทั้งหลาย แต่เข้ามาสนใจและรับรู้ประวัติศาสตร์ในเชิงสหวิทยาการ ในความเข้าใจ ของข้าพเจ้า วิชาประวัติศาสตร์เป็นการเรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ในลักษณะเป็นมหภาคทั้งมิติทางเวลา และพื้นที ่ ในส่วนข้าพเจ้าที่เรียนมาทางมานุษยวิทยาสังคม จะเกี่ยวข้อง กับประวัติศาสตร์ในลักษณะที่เป็นจุลภาคทั้งในมิติของพื้นที่ เวลา และ กลุ่มชน โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์สังคมของผู้คนในถิ่นใดถิ่นหนึ่ง ในช่วงเวลาของอายุคนไม่กี่ชั่วคนเป็นสำ�คัญ แต่งานประวัติศาสตร์ของ นักประวัติศาสตร์ท้งั หลายที่ข้าพเจ้าเคยได้อ่านและรับรู้มาก็ ไม่เคยครอบ คลุมพื้ น ที่ แ ละเวลาที่ ก ว้ า งใหญ่ ไ พศาลและยาวนาน เช่ น งานนิ พ นธ์ ประวัติศาสตร์บริเวณ คือประวัติศาสตร์ทางทะเลของมหาสมุทรอินเดีย โดย ดร. ธิดา สาระยา เรื่องนี้ เพราะข้าพเจ้าไม่ใคร่เชื่อว่าจะมีนัก ประวัติศาสตร์กี่คนที่จะทำ�ได้ โดยเฉพาะผู้ที่เรียกว่านักประวัติศาสตร์ไทย ครั้ ง หนึ่ ง กว่ า สิ บ ปี ม าแล้ ว ข้ า พเจ้ า ได้ รั บ เชิ ญ ให้ ไ ปร่ ว มสั ม มนากั บ นั ก ประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์องค์รวม หรือภาพรวม (Total history) ที่อ้างถึงการศึกษาประวัติศาสตร์ในบริเวณ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในรูปองค์รวม (wholistic) ซึง่ ข้าพเจ้าก็ ไม่ใคร่เชือ่ ว่า จะทำ�ได้โดยเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะแนวการศึกษาแบบองค์รวม เช่นนี้นักมานุษยวิทยาสังคมรุ่นข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นเรื่องขบขัน หากเราจะ ใช้แนวทางที่เรียกว่าศึกษาจากส่วนใดส่วนหนึ่งก่อนแล้วเชื่อมโยงเข้ามา ส่วนอื่นเพื่อให้เห็นองค์รวม (part and whole) หลังจากนั้นก็ ไม่เห็นว่า ได้มี ใครคิดทำ�กันในเรื่องประวัติศาสตร์แบบองค์รวมดังกล่าวนี้ ดูเป็น พู ด กั น ให้ ตื่ น เต้ น แล้ ว ก็ ฝ่ อ ไป แต่ ข้ า พเจ้ า เองก็ เ ปิ ด ใจได้ ว่ า อาจจะมี ผู้ เขี ย นได้ ทำ � ได้ แต่ นั่ น จะต้ อ งเป็ น การศึ ก ษาวิ จั ย กั น ชั่ ว ชี วิ ต (life time research) ทีเดียว
ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย
|
15
อันที่จริงประวัติศาสตร์แบบองค์รวม หรือภาพรวมดังกล่าวนี้ ก็เคยมีการเขียนมาแล้วในรูปแบบของประวัติศาสตร์อารยธรรม แต่สมัย การล่าอาณานิคมของคนตะวันตก อย่างเช่นการเขียนถึงการแพร่หลาย ของอารยธรรมอิ น เดี ย ที่ ม ายั ง ภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ หรื อ ประวัติศาสตร์อาณาจักรฟูนานที่ต่อมาเป็นประวัติศาสตร์เมืองพระนคร หรืออาณาจักรกัมพูชา อาณาจักรศรีวิชัย รวมมาถึงอาณาจักรสุโขทัย เป็นต้น ล้วนเป็นประวัติศาสตร์ที่ ไม่ใคร่เห็นความเป็นไปและพัฒนาการ ทางสังคมของคนเบื้องล่างที่หลากหลายไปด้วยเผ่าพันธุ์ ภาษา และ ศาสนา แต่เลือกศึกษาเฉพาะเรื่องของกษัตริย์ราชวงศ์ ชนชั้นผู้นำ� ศิลปวัฒนธรรมเป็นสำ�คัญ ประวัติศาสตร์ไทยที่เรียนกันอยู่ในโรงเรียนและ มหาวิทยาลัยในประเทศไทย ก็ยงั คงวนเวียนอยูใ่ นเรือ่ งของประวัตศิ าสตร์ องค์รวมแบบนี้ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีนักประวัติศาสตร์ไทยที่ ได้เล่าเรียน วิชาประวัติศาสตร์มาจากต่างประเทศแล้วก็ตาม ถึงแม้นักประวัติศาสตร์ เหล่านี้จะไม่นิยมชมชื่นประวัติศาสตร์ อารยธรรม และเรื่องของกษัตริย์ ราชวงศ์ก็ตาม แต่ก็ ไม่มี ใครใคร่อยากจะเขียนประวัติศาสตร์แบบภาพรวม หรือองค์รวมดังกล่าวได้ คงแต่เพียงทำ�งานค้นคว้าและผลิตผลงานเฉพาะ เรื่องราวในสิ่งที่ตัวสนใจและเชี่ยวชาญเท่านั้น โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ ทางเศรษฐกิจ-การเมืองเป็นสำ�คัญ ทีจ่ ะสนใจประวัตศิ าสตร์สงั คมทีเ่ กีย่ วกับ ชีวิตวัฒนธรรมของคนข้างล่างตามท้องถิ่นต่างๆ ก็มีเป็นส่วนน้อย งานเขียนประวัติศาสตร์แบบภาพรวมและองค์รวมของอาจารย์ ธิดาชิน้ นีก้ ต็ าม ข้าพเจ้าก็เคยคิดว่าคงเป็นประวัตศิ าสตร์อารยธรรมดังเช่น ที่เคยเป็นมา ข้าพเจ้าทราบจากอาจารย์ธิดาว่าได้ขอทุนวิจัยจาก สกว. เพื่อค้นคว้าประวัติศาสตร์เมธีวิจัย และได้ใช้เวลาค้นคว้าตั้งแต่ช่วงเวลา ก่อนเกษียณอายุราชการและหลังเกษียณอายุราชการ รวมทั้งเดินทาง ออกไปเก็บข้อมูลภาคสนามนอกประเทศบ่อยๆ แต่เมื่อทาง สกว. ได้ส่ง งานวิจัยที่เสร็จแล้วมาให้ข้าพเจ้าประเมิน ก็ตกใจพอสมควร เพราะเป็น หนังสือขนาดใหญ่หนากว่า ๗๐๐ หน้า และหาได้เป็นประวัตศิ าสตร์ศรีวชิ ยั หรือประวัติศาสตร์ท่ี ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะไม่ แต่เป็นประวัติศาสตร์บริเวณ 16
|
ดร. ธิดา สาระยา
ที่เป็นภาพรวมที่มีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์กว้างใหญ่ไพศาลกว่าอาณาบริเวณ ของศรี วิ ชั ย มาก เมื่ อ ใช้ เ วลาอ่ า นยาวนานจนทาง สกว. ลื ม ทวงผล งานวิจัยไปนาน ก็มาถึงบางอ้อว่าจากประวัติศาสตร์ศรีวิชัยมาเป็นประวัติศาสตร์บริเวณกว้างใหญ่เช่นนี้ เพราะการวิจัยภาคสนามหรือการลงเก็บ ข้อมูลในพื้นที่พาเพลิน ที่ว่าเช่นนี้เพราะถ้าพึ่งเพียงหลักฐานทางเอกสาร จากห้องสมุด หรือจากสถาบันการศึกษา หรือการสัมมนาทางวิชาการ ทั้งในและนอกประเทศแต่เพียงอย่างเดียว งานวิจัยเช่นนี้ก็คงได้ข้อสรุป ไปนานแล้ว แต่การลงภาคสนามนั้นมักได้พบข้อมูลใหม่ๆ ที่หลากหลาย มากจนเกิดคำ�ถามใหม่ๆ ขึ้นมากเช่นกัน ซึ่งถ้าไม่ควบคุมเรื่องเวลาและ ขอบเขตให้ดีก็จะเกิดอาการชวนเพลินอยากรู้อยากเห็นไปเรื่อยๆ จนจบ ไม่ลง นักวิจัยหลายคนล้มเลิกการสรุปและเขียนรายงานขั้นสุดท้ายไป โดยข้ออ้างว่ารู้เฉพาะตัวก็พอใจแล้วและไม่อยากทำ�อะไรต่อไป หรือบางที ยอมใช้ทนุ วิจยั คืนผูใ้ ห้กม็ ี แต่อาจารย์ธดิ าไม่ท�ำ เพราะไม่ใช่นกั วิจยั เลยเขียน มาให้ประเมินกว่า ๗๐๐ หน้า หลังจากการอ่านเพื่อประเมินด้วยเวลานานพอสมควร ข้าพเจ้า เห็นว่างานเขียนประวัติศาสตร์เรื่องนี้ของอาจารย์ธิดา สาระยา เป็นงาน ชิ้นสำ�คัญของชีวิต (Monumental work) เพราะน้อยคนที่จะทำ�ได้ แม้แต่ ตัวข้าพเจ้าเองคงไม่อดทนกับการนั่ง การเขียน และการวิเคราะห์แบบนี้ แม้ว่าจะมีความสนุกสนานเพลิดเพลินจนลืมตัวกับงานภาคสนามก็ตาม ข้าพเจ้าประเมินผลงานของอาจารย์ธิดาด้วยการถามตัวเองว่า เมื่ออ่าน งานชิ้นนี้แล้วข้าพเจ้าได้รู้อะไรใหม่ๆ นอกเหนือไปจากสิ่งที่ข้าพเจ้าและ ที่คนอื่นรู้แล้วประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งผลงานนี้เป็นประโยชน์ แก่วงวิชาการและคนทั่วไปหรือไม่ เมื่ออ่านและประเมินแล้วก็เห็นว่า อาจารย์ธิดามีผลสำ�เร็จในการทำ�งานวิจัยเรื่องนี้เป็นอย่างมากดังนี้ ประการแรก งานเขียนเรื่องนี้ ให้ความรู้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับ ตำ�แหน่งและความสำ�คัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าเป็น ส่ ว นหนึ่ ง ในทวี ป เอเชี ย อั น เป็ น ทวี ป ใหญ่ ข องโลกอย่ า งไร คื อ ไม่ ใ ช่่ เพียงแลเห็นตำ�แหน่งที่ตั้งและลักษณะทางภูมิศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว
ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย
|
17
หากหมายถึงการเคลื่อนไหวของผู้คน พัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองระหว่างภูมิภาคนี้และภูมิภาคต่างๆ ของทวีปด้วย นั่นก็คือ โดยทั่ ว ไปเรารู้ จั ก ภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย หมู่เกาะและพื้นแผ่นดินใหญ่ว่าอยู่ระหว่างอินเดียกับจีน ทำ�ให้มีการ เข้าใจว่าเป็นภูมิภาคที่ ได้รับแต่ความเจริญและอยู่ภายใต้การครอบงำ�ของ อินเดียและจีน ทำ�ให้คนตะวันตกยุคล่าอาณานิคมเรียกง่ายๆ ว่า อินโดจีน เป็นต้น โดยเฉพาะคนไทย ลาว เขมร และพม่านั้นมักเชื่อและยอมรับว่า ศาสนา ศิลปวิทยาการ อักษรศาสตร์ ระบบกษัตริย์ และการปกครอง เป็นสิ่งที่ ได้รับมาจากอินเดีย เช่น บรรดาชื่อและนามสกุลของคนไทย ส่วนมากมักเป็นภาษาสันสกฤต เป็นต้น หรือกลุ่มคนที่มีความรู้ก็มัก จะรู้มากไปกว่าคนธรรมดาว่า ความเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เพราะเป็นภูมภิ าคทีอ่ ยูบ่ นเส้นทางการค้าทางทะเลจากอินเดียไปจีน หรือ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ จากเอเชียกลางมาเอเชียตะวันตก มาเอเชียตะวันออก เฉียงเหนือ และไปเอเชียไกลคือ จีน โดยย่อก็คอื เส้นทางการค้าทางทะเล กับความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค แต่งานของอาจารย์ธิดาเรื่องนี้ ได้ให้ ความชัดเจนมากกว่าเส้นทางการค้าและตำ�แหน่งทางภูมิศาสตร์ มาเป็น การให้ ภ าพเคลื่ อ นไหวของคนในแต่ ล ะภู มิ ภ าคที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การค้ า ทางทะเลทั้ ง ในมิ ติ เ วลา แต่ ส มั ย ก่ อ นคริ ส ตกาลมาจนถึ ง สมั ย การล่ า อาณานิคมของคนตะวันตก และมิติทางพื้นที่ของผู้คนและเผ่าพันธุ์ใน พื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลและทางทะเล ในมิติของพื้นที่และเวลา อาจารย์ธิดาใช้มหาสมุทรอินเดียเป็น พื้นที่ศูนย์กลางของการค้าขายทางทะเลที่เชื่อมโยงกับทะเลสำ�คัญๆ ของ เอเชียตะวันตก เช่น ทะเลแดง อ่าวเปอร์เซียที่มาสัมพันธ์กับฝั่งทะเล มะละบาร์ทางตะวันตกของอนุทวีปอินเดีย ทะเลทางฝัง่ โคโรมันเดลทางฝัง่ ตะวันออกของอินเดียกับฝั่งทะเลอันดามันของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉี ย งใต้ มาถึ ง ช่ อ งแคบมะละกาที่ สั ม พั น ธ์ กั บ พื้ น ที่ ท างฝั่ ง ตะวั น ออก อันเป็นพื้นที่อ่าวไทยและทะเลจีนใต้ จากพื้นที่ของอ่าวและทะเลต่างๆ ดังกล่าวนี้ ได้นำ�ไปสู่กลุ่มคนหลายเผ่าพันธุ์ หลายศาสนาและวัฒนธรรม 18
|
ดร. ธิดา สาระยา
ที่ทำ�การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการค้าขายทางทะเลในนามของภาพรวมว่า เป็นกลุ่มชนชาวน้ำ� โดยให้ความสำ�คัญกับจุดเริ่มต้นทางการค้าทางทะเล มาจากการเคลือ่ นไหวทางเศรษฐกิจและสังคมทางทะเลแดง อ่าวเปอร์เซีย มาอินเดียทางด้านตะวันตก เช่น ลุม่ น้�ำ สินธุ ลุม่ น้�ำ นัมทา ลงไปถึงบริเวณ อินเดียใต้ที่สัมพันธ์กับเกาะลังกาก่อน ทำ�ให้แลเห็นการค้าขายและแลก เปลี่ยนสินค้าและการกระจายความเจริญทางอารยธรรมและเทคโนโลยี ระหว่างชนชาติต่างๆ ในตะวันออกกลาง เช่น อียิปต์ กรีก เปอร์เซีย โรมัน กับผู้คนในอนุทวีปอินเดียโดยเฉพาะทางด้านตะวันตกมาก่อน ๑,๐๐๐ ปีกอ่ นคริสตกาล ความเจริญทางอารยธรรมของอินเดียมีหลักฐาน ให้เห็นจากแหล่งโบราณคดี เช่น ฮะรัปปาและโมเฮนโชฑะโรในลุม่ น้�ำ สินธุ ราว ๒,๕๐๐-๑,๙๐๐ ปีก่อนคริสตกาล เป็นอารยธรรมที่มีการติดต่อ เกี่ยวข้องกับอารยธรรมของอียิปต์ เมโสโปเตเมียในตะวันออกกลาง แต่ การเติ บ โตของอิ น เดี ย ทางสั ง คม เศรษฐกิ จ และวั ฒ นธรรมของทั้ ง อนุทวีปคือ ทั้งด้านตะวันตกมาทางตะวันออกในมหาสมุทรอินเดียเริ่ม แลเห็นแต่ราว ๑,๐๐๐ ปีกอ่ นคริสตกาล อันนับเนือ่ งเป็นยุคเหล็ก จนราว ๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาลก็แลเห็นการเกิดของบ้านเมือง รัฐ และอาณาจักร ที่มั่นคงขึ้น แลเห็นความเจริญทางศาสนา ภาษา วรรณกรรม และ ศิลปวิทยาการต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับทางตะวันออกกลาง รวมทั้ง การเคลื่อนย้ายของผู้คนจากทางตะวันออกกลางเข้ามา มีการเดินเรือ ค้าขายของกลุ่มชนชาวน้ำ� ทั้งจากทางตะวันออกกลางและจากอนุทวีป อินเดียมายังฝั่งทะเลอันดามันของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คนอินเดีย เรียกดินแดนของภูมภิ าคนีอ้ ย่างรวมๆ ว่า สุวรรณภูม ิ และในช่วง ๕๐๐ ปี ก่อนคริสตกาลนี้เองที่บรรดากลุ่มชนในท้องถิ่นและภูมิภาคต่างๆ ของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งบนพื้นแผ่นดินใหญ่ คาบสมุทร และ หมู่เกาะพัฒนาการเข้าสู่ยุคเหล็กที่เริ่มมีการเกิดของบ้านเมืองและรัฐ แรกเริ่มขึ้น ทั้งศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และพุทธศาสนาเกิดขึ้นแล้วใน ช่วงเวลา ๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งผู้คนในเอเชียอาคเนย์ยังไม่ได้มีการ
ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย
|
19
รับนับถือศาสนาทั้งสองนี้ แต่การเติบโตในกระบวนการแพร่อารยธรรม อินเดียมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น้ัน น่าจะมีจุดเริ่มต้นมา จากการเข้ารุกรานอินเดียของกรีกแต่ครั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์เมื่อ ๓๒๕ ปีก่อนคริสตกาล ที่ส่งความเจริญมาถึงการเกิดราชวงศ์เมารยะ ของพระเจ้าอโศกมหาราช พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่แพร่หลายและ ศรัทธาในหมู่ชนวรรณะไวศยะหรือชนชั้นพ่อค้า ซึ่งกินไปถึงชนชาวน้ำ�ที่ ทำ�การค้าขายทางทะเลระยะไกลระหว่างภูมิภาค เมื่อพระเจ้าอโศกทรง ตั้งพระองค์เป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก การแพร่หลายจึงเข้ามาถึงแทบทุก แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมๆ กันกับคติความเชื่อในศาสนา ฮิ น ดู ที่ ม ากั บ พวกพราหมณ์ ที่ นำ � เอาระบบกษั ต ริ ย์ ขนบธรรมเนี ย ม ศิลปวิทยาการมารับใช้บรรดาผู้นำ�และผู้ปกครองของบ้านเมืองและรัฐ ให้เป็นอย่างอินเดีย แต่ความสำ�คัญที่เด่นชัดของความสัมพันธ์ระหว่าง อินเดียกับเอเชียอาคเนย์หรือสุวรรณภูมิในช่วงเวลา ๕๐๐ ปีกอ่ นคริสตกาล นั้น อยู่ที่ช่วงเวลาระหว่าง ๑๐๐ ปีก่อนคริสตกาลจนถึงคริสต์ศตวรรษ ที่ ๒ อันเป็นช่วงเวลาของการขยายตัวการค้าทางทะเลจากตะวันออก กลาง ผ่านอินเดียและเอเชียอาคเนย์หรือสุวรรณภูมิ ไปจีนในภูมิภาค ตะวันออกไกล ยุคนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคของการเกิดเส้นทางสายไหม ทางทะเลขึ้น อันเป็นการติดต่อค้าขายระหว่างมหาอำ�นาจทางตะวันตก คือ โรมัน กับมหาอำ�นาจทางตะวันออกคือ จีน เป็นเส้นทางที่เกิดจาก การติ ด ต่ อ ระหว่ า งตะวั น ออกกลางกั บ จี น ทางตะวั น ออกไกล ทางบก ที่ผ่านทะเลทรายเกิดอุปสรรคขึ้นจากการรุกรานและรบกวนของพวก อนารยชน ช่วงเวลานี้ ได้แลเห็นหลักฐานทั้งทางเอกสารจากกรีก โรมัน อินเดีย ทีส่ อดคล้องกับแหล่งโบราณคดี และโบราณวัตถุทเ่ี กีย่ วกับกลุม่ ชน บ้านเมืองและรัฐ ทั้งในอินเดียกับบ้านเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทัง้ ฟากทะเลอันดามัน และฟากทะเลจีนอย่างแท้จริง เป็นยุคทีก่ ารค้าขาย ทางทะเลจากโรมและอินเดียมาสิ้นสุดทางฝั่งอันดามันและหมู่เกาะ ใน ขณะเดียวกันก็แลเห็นชนชาวน้ำ�พื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ ทำ�หน้าที่เชื่อมโยงการขนถ่ายสินค้าจากฝั่งอันดามันไปยังจีนในฟากฝั่ง 20
|
ดร. ธิดา สาระยา
อ่ า วไทยและทะเลจี น โดยมี ทั้ ง เส้ น ทางข้ า มคาบสมุ ท รทางบกและ เส้นทางผ่านช่องแคบและหมู่เกาะไปจีน และช่วงเวลานี้ก็เป็นยุคที่จีนใน สมัยราชวงศ์ฮั่นให้ความสนใจกับบ้านเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการค้าขายกับทางอินเดียที่สืบเนื่องมาจนถึงราชวงศ์ถัง ประการที่ ๒ เป็ นการสื บ เนื่ อ งกั บ มิ ติ ข องพื้ น ที่ แ ละเวลามาสู่ พัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองทีเ่ กิดจากเส้นทางการค้าระหว่าง อินเดียกับจีนแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๒ ลงมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ ช่วงเวลาดังกล่าวนี้แลเห็นพัฒนาการของบ้านเมืองที่สัมพันธ์กับเส้นทาง ข้ามคาบสมุทรอันเป็นเส้นทางบก กับเส้นทางที่ผ่านช่องแคบซุนดาที่ อยู่ระหว่างเกาะสุมาตราและเกาะชวา บนเส้นทางข้ามคาบสมุทรเกิด เมืองและรัฐทั้งฟากทะเลอันดามันและทะเลจีน แต่ดูรัฐใหญ่ๆ จะอยู่ทาง ตะวันออกคือทางฝั่งทะเลจีนมากกว่า เช่น รัฐฟูนานและจามปา อันเป็น รั ฐ ของกลุ่ ม ชนชาวน้ำ � ที่ สื บ เนื่ อ งมาเป็ น กลุ่ ม รั ฐ ทางลุ่ ม แม่ น้ำ � และรั ฐ ภายในที่เรียกว่า พยู ทวารวดี และเจนละ เป็นต้น ล้วนเป็นรัฐที่มีความ สั ม พั น ธ์ ท้ัง ทางอิ น เดี ย และจี น ในขณะที่ท างหมู่เ กาะก็ แ ลเห็ น รั ฐ ที่ เกิดขึน้ ระหว่างช่องแคบซุนดา ที่มีทั้งบนเกาะสุมาตรา ชวา และบอร์เนียว บรรดารั ฐ เหล่ า นี้ ทั้ ง พุ ท ธศาสนาและศาสนาฮิ น ดู ที่ ผู้ ค นนั บ ถื อ และ ระบบกษัตริย์เป็นศิลปวัฒนธรรมที่ ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย จนราว คริสต์ศตวรรษที่ ๕ ลงมา การเปลี่ยนแปลงการค้าทางทะเลระหว่าง อิ น เดี ย และจี น ก็เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการรวมตัวของรัฐในหมู่เกาะ โดยเฉพาะสุมาตราและชวาที่ทำ�หน้าที่เป็นคนกลาง ทำ�ให้เกิดเส้นทาง จากอินเดียผ่านช่องแคบมะละกาไปยังจีนทางตะวันออกไกล ซึ่งทำ �ให้ เส้ น ทางการค้ า ข้ า มคาบสมุ ท รและเส้ น ทางที่ ผ่ า นช่ อ งแคบซุ น ดาลด ความสำ�คัญลง กลุ่มของรัฐที่มีอำ�นาจทางทะเลดังกล่าวนี้คือ กลุ่มรัฐ ศรี วิ ชั ย ที่ มี ก ารเติ บ โตมั่ น คงตั้ ง แต่ ค ริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ ๗ ไปจนคริ ส ต์ - ศตวรรษที่ ๑๓ ซึ่งในช่วงเวลานี้นอกจากมีผลกระทบไปถึงการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของบรรดารัฐใหญ่น้อยต่างๆ บนคาบสมุทร แล้ว ยังได้เห็นการเติบโตของการค้าขายนานาชาติที่มีคนเปอร์เซีย
ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย
|
21
อาหรับ และจีนที่มีลัทธิทางศาสนาและภาษาแตกต่างไปจากกลุ่มชน ของบ้านเมืองที่มีมาก่อน สุดท้ายอาจารย์ธดิ าได้น�ำ เรือ่ งราวของการค้าขายทางทะเลระหว่าง ภูมิภาคที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นเข้าสู่รายละเอียดที่เกี่ยวกับพัฒนาการ ของกลุ่มรัฐเมืองท่าศรีวิชัย (Port Polity) โดยชี้ ให้เห็นความเคลื่อนไหว ตั้งแต่การรวมตัวของการเกิดกลุ่มรัฐ การเติบโต การเสื่อมสลาย และ การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สมัยการค้าทางทะเลที่มีอิทธิพลของพวกอินเดียใต้ มุสลิม อาหรับ จีน และตะวันตก เช่น โปรตุเกสเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สิ่ง ที่โดดเด่นเป็นที่ประทับใจของข้าพเจ้าเป็นพิเศษก็คือ เรื่องของรัฐโจฬะ ของอินเดียใต้ อันเป็นรัฐที่มีอำ�นาจทางทะเลในมหาสมุทรอินเดียที่เป็น คู่แข่งกับรัฐศรีวิชัย ความรู้และความเกี่ยวข้องกับอินเดียใต้ และความ เป็นมาของรัฐโจฬะและชนชาติทมิฬดังกล่าวนี ้ ดูเป็นที่ขาดหายไปจากการ รับรู้ของผู้สนใจประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก ข้ า พเจ้ า เห็ น ว่ า และเชื่ อ ว่ า การที่ อ าจารย์ ธิ ด าค้ น คว้ า มาได้ ดี ก็ เ พราะ การลงเก็บข้อมูลทางภาคสนามได้พาเพลินจนพบอะไรต่ออะไรหลาย อย่างที่ท่านผู้สนใจควรหาอ่านด้วยตนเอง
22
|
ดร. ธิดา สาระยา
ศรีศักร วัลลิโภดม มีนาคม ๒๕๕๔
The Indian Ocean The study of the Indian Ocean is a history of the sea with her unattainable frontier. The Indian Ocean is by far the oldest of the seas in history, in terms of it being used and traversed by humans. It is a total history of the ocean trade with intra-ocean connections and far-flung connections with the Red Sea, and even with the Silk Route of Central Asia. In the Indian Ocean there is a long history of contact and distant voyages done by people from its coasts from the African shores extending to the South China Sea. Emphasis is on the movements of men of the sea from the littoral towards the inland, such as Tamil speaking people of the Southern Indian Peninsula and trading activities of the Srivijayan of the Southeast Asian Archipelago. These peoples participated in the eastern zone, within which there was extensive trade all around the shores of the Malay Peninsula, the Bay of Bengal and the Coromandel coast. On the basis of coastal trade, longer distance trade connected India and China. It is suggestive that, prior to the arrival of the Europeans in the Indian Ocean region in the fifteenth century, pattern of Asian trade network was established with the emergence of the private traders who acted as entrepreneurs, merchants and artisans of various groups of people such as the Chinese, the Indian (both the Hindu and Muslim) and the Southeast Asian.
ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย
|
27
สถานที่ส�ำคัญในหนังสือ
โรม
ทะ
เลเ
มด
ิเตอ
ร เร
เนีย
พัลมีรา
น
เพตรา น. ยูเฟรติส
น. ไทกริส
ไมโอสฮอร โมซ เบเรนิเก
ปอร
ซีย
เ
สมุท
บาห เรน
ชีราซ
อ าวเ
คาบ
น. ไนล
รอา
ย
บี
ดง
ระเ
ทะเลแ
โมเฮนโชฑะโร น. สินธุ อ าวโอ มาน
มถุรา น. คงคา
ภรุกัจฉะ
ทะเล
อา
ีย ระเบ
อ า วคั ม เบย
ตัมลุค
น. นาร มาดะ น. โฆธาวารี น. กฤษณา
อ า วเบงกอล
มหาสมุ ท รอิ น เดี ย
น. ฆาเวรี
อลากันคุลัม อ า วมั น นาร
ชื่อสถานที่สำคัญในงานวิจัย
68
|
ดร. ธิดา สาระยา
อะริกะเมฑุ ฆาเวริป ฏฏินัม มันไต
ล
บทที่ ๑
มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรอินเดียเป็นความลี้ลับในแผนที่ความรู้
ของผู้คนชนเผ่าชนชาติมาแต่ครั้งโบราณบรมสมกัลป์ ประมาณต้น พุทธศักราชหรืออย่างน้อย ๖๐๐ ปีก่อน ค.ศ. ก็เริ่มปรากฏหลักฐานให้ เราเห็นความเคลื่อนไหวของผู้คนในภาคพื้นทวีปตื่นตัวที่จะทำ�ความรู้จัก กับมหาสมุทรอินเดียผ่านเส้นทางการค้าขายแลกเปลี่ยน อพยพโยกย้าย และหรือทำ�สงคราม เข้าสู่อนุทวีปอินเดียทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ และเราก็ได้เริ่มรับรู้ถึงชุมชนบ้านเมืองแว่นแคว้นอันเกิดขึ้นในลุ่มน้ำ � คงคาทางตอนเหนือของอินเดีย ปรากฏชัดเจนอยู่ในเรื่องราวของชาว อารยันที่เริ่มเข้ามาตั้งแว่นแคว้นเป็น “มหาชนบท” หลักฐานลายลักษณ์ หลายประเภททำ�ให้เรารู้ถึงราชวงศ์กษัตริย์ซึ่งปกครองมีอำ�นาจอยู่ทาง ตอนบนของอินเดียจนถึงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๖ ราชวงศ์อันมี อำ�นาจโดดเด่นคือ ราชวงศ์เมารยะและราชวงศ์คุปตะ เนื้อหาเหล่านี้ เป็นเพียงแง่มุมเดียวที่สั่งสมกันมาในหมู่นักประวัติศาสตร์ นักวิชาการ ซึ่งศึกษาเรื่อง “อินเดีย” นี้คือความไขว้เขวอันส่งผลต่อความเข้าใจเรื่อง มหาสมุ ท รอิ น เดี ย ถื อ เอาว่ า มหาสมุ ท รอิ น เดี ย ไม่ มี ป ระวั ติ ศ าสตร์ นอกจากที่เกี่ยวข้องกับอนุทวีปอินเดีย (ตอนบน) และเป็นประวัติศาสตร์ ของชาวอารยันผู้ใช้ภาษาสันสกฤตเท่านั้น ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดียมีหรือไม่ ? การศึกษาในกรอบ โครงความคิดเดิมที่ก�ำ หนดบริเวณพื้นที่ของรัฐชาติประเทศผ่านพรมแดน ทางการเมืองหรือพรมแดนทางอำ�นาจของวีรบุรุษผู้นำ�เพียงอย่างเดียว ทำ�ให้พรมแดนทางความคิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย เข้ ม งวด หยุ ด นิ่ ง ตายตั ว ดู เ หมื อ นไม่ เ คลื่ อ นไหว อาณาบริ เ วณอั น ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย
|
69
กว้ า งขวางไร้ พ รมแดนของมหาสมุ ท รอิ น เดี ย ที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยผู้ ค นที่ โลดแล่นเคลื่อนไหวจึงเป็นประดุจชิ้นวัตถุซึ่งถูกแช่แข็งอยู่ในกาลเวลา ของประวัติศาสตร์ ถ้าเรามองมหาสมุทรอินเดียเป็นบริเวณไร้พรมแดนของรัฐทาง การเมือง ผ่านการเคลื่อนไหวของผู้คนชนชาติที่ร่วมกิจกรรมในบริเวณ อันกว้างขวางนี้ บริเวณที่ผืนน้ำ�สัมพันธ์กับแผ่นดินตอนในหลังฝั่ง เลย ตลอดไปถึงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีนามสมมติว่าเป็นเอเชียตะวันตก เรา จะเห็นการเปิดเส้นทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียของผู้คนในอาณาบริเวณ นั้นๆ สัมพันธ์กับการใช้ชีวิต เคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลงของผู้คน ชุมชนตามบริเวณชายฝั่งอันยาวไกลของมหาสมุทรอินเดีย อย่างน้อย ที่สุดในอาณาบริเวณที่เป็นภูมิศาสตร์สัมพันธ์จากทะเลแดง อ่าวเปอร์เซีย ฝั่งทะเลอาหรับ เรื่อยตลอดผ่านฝั่งทะเลของลุ่มน้ำ�สินธุ และฝั่งทะเล ตะวันตกของอินเดีย ผู้คนในบริเวณดังกล่าวได้สร้างความเปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจสังคมผ่านการค้าชายฝัง่ -การค้าข้ามอารยธรรม ย้อนเวลา ไปได้ไกลหลายพันปีตามกำ�เนิดของอารยธรรมโบราณแห่งลุ่มน้ำ�สินธุ (อนุทวีปอินเดีย) และอารยธรรมแห่งเมโสโปเตเมียในเอเชียตะวันตก ภาพการเคลื่อนไหวของชุมชนที่ขยายบริเวณของประวัติศาสตร์ อย่างกว้างขวางเช่นนี้ จะทำ�ให้เราสามารถเปิดมิติการมองประวัติศาสตร์ มหาสมุทรอินเดียได้กว้างขวางขึ้น และเราจะเห็นว่าผู้คนซึ่งมีบทบาท เกี่ ย วข้ อ งเคลื่ อ นไหวอยู่ ใ นมหาสมุ ท รอิ น เดี ย อั น เป็ น กลุ่ ม หลั ก นั้ น คื อ ชาวน้ำ�ท้องถิ่น ในภาคพื้นมหาสมุทรอินเดียนี้เอง ชาวน้ำ�ที่มีการผสม ผสานทางด้านชีวิตวัฒนธรรมกับผู้คนชุมชนบนบก ค้าขายแลกเปลี่ยน สามารถรวมตัวสร้างเอกลักษณ์ของความเป็นชนชาติ สร้างประวัติศาสตร์ อันโดดเด่นในมหาสมุทรอินเดียและคาบสมุทรอินเดียทางตอนใต้ การ เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์ในบริเวณนี้มิได้มีพลังความ เข้มข้นน้อยไปกว่าประวัติศาสตร์ชาวอารยันในดินแดนอินเดียเลย อีกทั้ง ในบางช่วงสมัยยังสามารถขยายกำ�ลังอำ�นาจทางวัฒนธรรม ความเชื่อ และเศรษฐกิจการค้าออกสู่น่านน้�ำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใกล้เคียงด้วย 70
|
ดร. ธิดา สาระยา
บทนำ�เกี่ยวกับมหาสมุทรอินเดีย
ตามสภาพทางภูมิศาสตร์และความรับรู้ของคน ได้กล่าวมาแล้ว ว่า มหาสมุทรอินเดียเป็นส่วนหนึ่งแห่งโลกอันไพศาลของคนโบราณ จนกระทั่ ง เกิ ด การยอมรั บ ว่ า ที่ ตั้ ง ของมั น อยู่ ริ ม แดนสุ ด เฉี ย ดไปทาง ปลายขอบโลก เลยต่อจากบริเวณนีค้ อื ความมืด ความลีล้ บั และมหัศจรรย์ ด้วยเหตุนี้กระมัง ในบรรดาข้อมูลหลักฐานที่เราพบจึงเป็นเรื่องเล่าและ บันทึกเอกสารซึ่งเหมือนอยู่ระหว่างบรรทัดของข่าวในหนังสือพิมพ์ ว่า ด้วยตำ�นาน นิทาน นิยาย ประวัติของผู้คนเลยชายขอบของโลกออกไป ผู้ซึ่งนำ�เรื่องเหล่านี้มาสืบต่อก็มักเป็นนักเดินทางผู้แสวงหา ผู้ค้าผู้ขาย และนักผจญภัย เขาเหล่านั้นต้องการสิ่งแปลก ทั้งเพื่อสนองตอบความ อยากรู้และสนองความต้องการของคนอยากซื้ออยากได้ ถึงอย่างนั้น ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าเขาทั้งหลายตั้งใจเดินทางให้ตกขอบโลกไปจริงๆ ฉะนั้นมหาสมุทรอินเดียจึงเป็นบริเวณแห่งการแสวงหาของ คนโบราณ เป็นอนุกรมทางวัฒนธรรมอันกว้างใหญ่ที่สุดในโลกในช่วง สหัสวรรษแรกก่อน ค.ศ. จนถึงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๖ แผ่นดิน อิ น เดี ย เป็ น ที่ กำ � เนิ ด ของศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุ ท ธ ศาสนาเชน ซึ่งจะตามมาด้วยการเกิดศาสนาอิสลามบนแผ่นดินตะวันออกกลางหรือ เอเชียตะวันตก มหาสมุทรอินเดียแม้ห่างไกล ลี้ลับ แต่ก็ยังเป็นบริเวณที่คน สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางสังคม ทั้งในผืนน้ำ�แห่งนี้และต่อติด กับบริเวณอื่นมาแต่บรรพกาล การดำ�รงชีวิตอยู่ของมนุษย์ในอดีตของ มหาสมุทรอินเดียนั้น เราสามารถเห็นได้ผ่านความเชื่อมโยงทางสังคม อันทำ�ให้มนุษย์เข้ามาเกี่ยวพันอยู่ในแวดวงหรือมีเส้นสายติดต่อกันได้ ไม่ใช่เฉพาะด้วยมีชาติพันธุ์เดียวกันหรือเป็นเครือญาติกันเท่านั้น ความ เกี่ยวพันเชื่อมโยงสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งโดยผ่านภาษา วัฒนธรรม ความ เชื่อ วัฒนธรรมทางวัตถุ (อันนำ�ไปสู่การผลิต-สร้างวัตถุเพื่อประโยชน์ ใช้สอย) และที่สุดอาจเกิดเป็นการปะทะสังสรรค์ทางอารยธรรม ควบคู่ ไปกับการสนองความต้องการของมนุษย์ในการแลกเปลี่ยนถ่ายทอด ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย
|
71
๔๐
หมายถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บางทีเรียกว่า ตาโพรบาน อันที่จริงคำ�ว่า ตาโพรบานา มีที่มาจากคำ�ภาษาสันสกฤตว่า “ตัมรปารณี” (tamraparni) แปลว่า ใบไม้ทองแดง (copper leaf) ผู้ที่รายงานถึงเกาะนี้ เป็นครั้งแรกคือเมกาธีนิส (Megathenes) เมื่อปี ๒๙๐ ก่อน ค.ศ. แต่ปโตเลมีทำ�ให้คำ�นี้ เป็นที่รู้จักกัน ๔๒ แผ่นดินทองของปโตเลมีนั้นคือ “เกาะทอง” นั่นเอง ๔๑
224
|
ดร. ธิดา สาระยา
บทที่ ๒
ทมิฬ : พ่อค้าแห่งมหาสมุทรอินเดีย “ทมิฬ” (தமிழ) และ “ทมิฬกัม” (தமிழகம) ทมิฬ
ทมิฬมีต้นกำ�เนิดในอินเดียใต้ มีประวัติศาสตร์และความสำ�เร็จ ที่ ย าวนาน นอกเหนื อ จากอยู่ ใ นกลุ่ ม ที่ ใ ช้ ภ าษาเก่ า แก่ ที่ สุ ด คื อ ภาษา ดราวิเดียน และมีประเพณีทางวรรณกรรมอันรุ่งเรืองเก่าแก่ซึ่งจัดเป็น ยุคสำ�คัญเรียกว่า “ยุคสังกัม” ชนกลุ่มนี้นับเป็นกลุ่มแรกๆ ที่พัฒนาการ เดินเรือ สร้างเมือง และเกิดสังคมของคนที่ใช้ชีวิตในเมือง ที่มีประวัติ ความเป็นมาเกี่ยวข้องกับการค้าขายในมหาสมุทรอินเดียเก่าแก่ที่สุด กลุ่มหนึ่ง “ทมิฬกัม” จึงเป็นโลกของบรรดาชนชาติซึ่งใช้ภาษาทมิฬ อันเป็นกลุ่มภาษาที่โดดเด่นที่สุดที่ชาวดราวิเดียนใช้กันอยู่ในตอนนั้น [Thapar, R., 2003: 209] หลักฐานในพื้นที่อันแสดงถึงการรวมตัวของชนผู้ใช้ภาษาทมิฬ นอกจากบันทึกงานของนักเขียนและนักเดินทางชาวต่างประเทศแล้ว คือ จารึกของพระเจ้าอโศก และประกาศจารึกของกษัตริย์แห่งพวกกลิงค์ จารึกของพระเจ้าอโศกมีคำ�ว่า “โจฬะ” “เจระ” “ปัณฑัย” และ “สัตยปุตร” คำ�เหล่านีเ้ ท่ากับยืนยันการมีตวั ตนและการรวมตัวของชนในพืน้ ถิน่ ดัง้ เดิม ของอินเดีย อย่างน้อยสามชื่อแรกที่ปรากฏในจารึกของพระเจ้าอโศก ก็ เ ป็ น ชื่ อ ราชวงศ์ แ ละกลุ่ ม ชนพื้ น ถิ่ น ซึ่ ง ที่ สุ ด แล้ ว ตั้ ง เป็ น รั ฐ อาณาจั ก ร มี บ ทบาททางการค้ า และอำ � นาจในน่ า นน้ำ � มหาสมุ ท รอิ น เดี ย บาง อาณาจักรแผ่อำ�นาจไปถึงน่านน้ำ�เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถสร้าง ระบบกษัตริย์อันมั่งคั่งด้วยกองกำ�ลังทางเรือและพานิชย์นาวี ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย
|
225
อินเดียสมัยศตวรรษที่ ๕ ก่อน ค.ศ. ฮะรัปปา น. สินธุ
โมเฮนโชฑะโร
น. คงคา น. ยมุนา
ปาฏลีบุตร เ ข า วิ น ธ น. นาร มาดะ
ภรุกัจฉะ
ัย
ตัมราลิปติ
วั ง ค ะ
น. มหานาดี
น. โฆธาวารี น. กฤษณา
เจระ
มะฑุไร
ฑั ย
ฏอนฏิ วานจี มูซีรีส
โจฬะ
น. ฆาเวรี
น. ไวไก
ป ล ล ว ะ
อมราวดี วังคาตัม
มหาสมุ ท รอิ น เดี ย
ิง กล
ค
ณ ะ ศ า ต ะ ว า ห
อ า วคั ม เบย
ป ณกอรไก
กาญจีปุรัม อะริกะเมฑุ
พูคาร อุไรยูร
กุมารี
อ า วมั น นาร ศรีลังกา
226
|
อินเดียสมัยศตวรรษที่ ๕ ก อน ค.ศ. ดร. ธิดา สาระยา
อ า วเบงกอล
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๙-๑๔ “ทมิฬโจฬะ” คือทมิฬกลุ่มราช- วงศ์โจฬะซึ่งมีอำ�นาจปกครอง ดินแดนของพวกนี้รู้จักกันในชื่อ “โจฬะ- มันฎะลัม” (Cholamandalam) หรือ “โจฬะแห่งฝั่งโคโรมันเดล” ส่วน คำ � ว่ า “สัตยปุตร” หรือ “สัตยบุตร” แม้ยังไม่อาจบอกได้ว่าหมายถึง ชาวดราวิเดียนกลุ่มใด แต่คำ�ว่า “ปุตร” ใช้เป็นอาคมต่อท้ายคำ�สะท้อน ถึงระบบโคตรตระกูลอันมี “เจ้าเผ่า” เป็นหัวหน้า จึงอาจเป็นส่วนหนึ่ง แห่ ง กลุ่ ม ชนที่ ห ล่ อ หลอมโลกแห่ ง ชนผู้ ใ ช้ ภ าษาทมิ ฬ หรื อ “ทมิ ฬ กั ม ” ต่อไปได้ ท่ า มกลางชาติ ว งศ์ ว รรณาของอิ น เดี ย ตอนใต้ อั น หลากหลาย ได้ปรากฏการเกาะกลุ่มของชนพื้นถิ่น เรียกชื่อในเอกสารว่า ทมิฬกัม (Tamilakam) หรื อ ทมิ ฬ าฮั ม (Tamilaham) หมายถึ ง โลกทั ศ น์ ทั ศ นะเกี่ ย วกั บ โลกและชี วิ ต ของชาวทมิ ฬ รวมตลอดทั้ ง แผ่ น ดิ น ของ ทมิฬ คำ�ศัพท์ “ทมิฬกัม” จึงมีนัยถึงองค์รวมทางความคิด จิตวิญญาณ ของชนผู้ใช้ภาษาทมิฬเกี่ยวกับวิถีชีวิต ภาษา และวัฒนธรรมส่วนอื่นๆ ซึ่ง บ่งชี้ความเป็นทมิฬ ถิ่นที่อยู่อาศัยซึ่งมีทั้งผืนฟ้า แผ่นน้ำ� และแผ่นดิน ความคิดร่วมดังกล่าวส่วนที่เห็นเป็นรูปธรรมจำ�กัดวงอยู่เฉพาะพื้นที่หรือ ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ที่ซึ่งชาวทมิฬตั้งถิ่นฐาน เป็นอาณาบริเวณของ ผู้คนซึ่งใช้ภาษาทมิฬในการสื่อสารระหว่างกัน อาณาบริเวณดังกล่าว เปรียบเสมือนโลกของชาวทมิฬ คำ�ว่า “ทมิฬกัม” เกิดจากการสนธิคำ�สองคำ�คือ “ทมิฬ” (Tamil) และ “อุลากัม” (Ulakam) คือโลกของทมิฬนัน่ เอง [Balusamy, N., 2004: 12] การรวมตัวของชนผู้ใช้ภาษาทมิฬที่เรียกว่า “ทมิฬกัม” จึงมีความ หมายทั้งในด้านจิตวิญญาณและในทางพื้นที่ น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรก เริ่มที่มีการติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างกัน กลไกในการติดต่อนอกจากผ่าน วัฒนธรรมทางภาษาแล้วยังผ่านวิถีชีวิตส่วนสำ�คัญคือการแลกเปลี่ยน ค้าขาย ซึ่งส่งผลทำ�ให้ทัศนะเกี่ยวกับโลกและการใช้ชีวิตอาจขยายออก ได้กว้างขวางกว่าขอบเขตหรือพื้นที่บริเวณทางภูมิศาสตร์ในอันที่จะมอง
ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย
|
227
422
น. ปาลาร
น. กฤษณา
อนุราธปุระ
กาญจีปุรัม นาคป ฏฏินัม
น. โฆธาวารี
หมู เกาะนิโคบาร
มหาสมุ ท รอิ น เดี ย
น. มหานาดี
น. คงคา
ลามูรี
ฮัมสวตี จามปา กัมโพช
ปไน
ชวา
ลอมบอก บาหลี
ซาบาห ปูนาน บอร เนียว
ทะเลจี น ใต
ชัมบี (มาไลยูร ) ศรีวิชัย (ปาเลมบัง)
กฎาราม (เคดะห )
มาพัพพะลัม ตะไลตักโกลัม (ตะกั่วป า) ไชยา มายิรูดิงกัม อิลังกะโสกัม
สยาม
น. เจ าพระยา
น. โขง
เมืองและเอมโพเรียมสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ (ตามที่ปรากฏในจารึกติรุกกะไดยูร์)
เมืองและเอมโพเรียมสมัยคริสต ศตวรรษที่ ๑๑ (ตามที่ปรากฏในจารึกติรุกกะไดยูร )
น. ฆาเวรี
|
ดร. ธิดา สาระยา
บทที่ ๓
มิติกว้างของการค้า มหาสมุทรอินเดียและน่านทะเล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่องแคบมะละกาเป็นช่องแคบที่เชื่อมมหาสมุทร
อิ น เดี ย กั บ ทะเลจี น ใต้ อยู่ ร ะหว่ า งเกาะสุ ม าตรากั บ คาบสมุ ท รมลายู ลักษณะของช่องแคบทางเหนือกว้างกว่าทางใต้ มีเกาะเล็กเกาะน้อย มากมายตรงบริเวณปากช่องแคบทางด้านใต้ เป็นเส้นทางระหว่างจีน และอินเดียที่สั้นที่สุด (ปัจจุบันเป็นหนึ่งในบรรดาช่องแคบที่มีการขนส่ง ทางเรือมากที่สุด) ทะเลจี น ปั จ จุ บั น ถื อ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของมหาสมุ ท รแปซิ ฟิ ก ทาง ตะวันตก แต่ในอดีตทะเลจีนสัมพันธ์กับน่านน้�ำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรอินเดียเฉพาะอย่างยิ่งเชิงเศรษฐกิจการค้า ส่วนหนึ่งของ ทะเลจีนขยายไปจรดทางใต้ของคาบสมุทรมลายู ส่วนที่เรียกว่าทะเล จีนใต้คือบริเวณตั้งแต่เกาะไต้หวันลงมา รวมภาคตะวันออกเฉียงใต้ของ จีน ฟิลิปปินส์ บอร์เนียว และกลุ่มเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะสุมาตรา เป็นเกาะทางตะวันตกของประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันและนับเนื่องอยู่ในหมู่เกาะซุนดา เกาะสุมาตราตั้งอยู่บนเส้นทาง การค้าทางทะเล จึงปรากฏร่องรอยของอิทธิพลอารยธรรมพราหมณ์-ฮินดู ในช่วงแรกอย่างชัดเจน หมูเ่ กาะซุนดา (สุมาตรา ชวา บอร์เนียว ซูลาเวสี บาหลี ลอมบอก ติมอร์ และหมู่เกาะเล็กๆ อื่นๆ เป็นอาทิ) เรียงรายจาก คาบสมุทรมลายูไปจนถึงหมู่เกาะโมลุกกะ เกาะสำ�คัญอีกเกาะหนึ่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของสุมาตราคือ เกาะชวา ระหว่างเกาะชวาและสุมาตรามีชอ่ งแคบขวางกัน้ เรียก ช่องแคบ ซุนดา เชื่อมระหว่างทะเลชวากับมหาสมุทรอินเดีย คาบสมุทรมลายู ประกอบด้วยแผ่นดินใหญ่ของประเทศมาเลเซีย ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย
|
423
และพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ทอดยาวลงไปทางใต้สุด ของทวีปเอเชีย มีประเทศสิงคโปร์เป็นเกาะอยู่ทางใต้ตรงข้ามช่องแคบ ยะโฮร์ กลุ่มเกาะสุมาตราและคาบสมุทรมลายูคือบริเวณซึ่งขนาบช่อง แคบมะละกาอยู่ทั้งสองด้าน (ถ้าเจาะลงไปก็คือ สุมาตราเหนือ สุมาตรา ตะวันออก และคาบสมุทรมลายูตอนล่าง ส่วนสุมาตราตะวันตกเปิดสู่ ทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล) ในอาณาบริเวณดังกล่าวครั้งโบราณ เป็นถิ่นของชาวน้ำ� ประชากรอันเป็นชาวน้ำ�ในน่านน้ำ�เอเชียตะวันออก เฉียงใต้นั้นมีประวัติความเป็นมาย้อนหลังไปไกล และครั้งหนึ่งในอดีต พวกเขาเหล่านีร้ วมตัวกันมีบทบาททางการค้า คุมน่านน้�ำ บริเวณช่องแคบ มะละกาและใกล้เคียง
วงจรการค้าทะเลใต้
ความเคลื่อนไหวและการตื่นตัวของชาวน้ำ�ในการแลกเปลี่ยนซึ่ง เห็นได้ชัดจากบันทึกหลักฐานการติดต่อนั้นมีมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษ นอกจากนีแ้ รงผลักดันทางด้านการค้า-การติดต่อจากภายนอกทางวัฒนธรรม เช่น การเผยแผ่พุทธศาสนา ก็มีส่วนทำ�ให้การค้าขยายตัวเข้าสู่น่านทะเล และกลุ่มเกาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ค้าต่างชาติ เช่น เปอร์เซียน อาหรับ อินเดียน ได้ขยายขอบเขตการค้าขายมหาสมุทรอินเดียสูจ่ นี ผ่าน อ่าวเบงกอล สู่น่านทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มุ่งไปสู่จีน ประมาณ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๔ นักเดินทางจากภายนอกได้ผ่านช่องแคบซุนดา สู่น่านทะเลชวา อันเห็นได้จากจารึกยุคต้นของชุมชนในบริเวณนี้ การใช้ ช่องแคบมะละกาเป็นเส้นทางประจำ�ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๕ ทำ�ให้เกิด การติดต่อซึ่งเรียกได้ว่าเป็น “วงจรการค้าทะเลใต้” ครอบคลุมอาณา บริ เ วณคาบสมุ ท รมลายู ช่ อ งแคบมะละกา ช่ อ งแคบซุ น ดา ผ่ า นไปสู่ หมูเ่ กาะอันเป็นแหล่งเครือ่ งเทศทางด้านตะวันออก อาณาบริเวณดังกล่าว รองรับการเคลื่อนไหวตื่นตัวของชาวเกาะชาวน้ำ� ได้เกิดรัฐอาณาจักร ที่เรียกว่า ศรีวิชัย ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๗ โดยที่ก่อนหน้านั้นเกิด 424
|
ดร. ธิดา สาระยา
ชุมชนทางการเมือง ณ ทะเลชวา ซึ่งบางกลุ่มเป็นที่มาของกลุ่มอำ�นาจ แห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ อันวิวัฒน์ร่วมสมัยกับศรีวิชัย
ชาวน้ำ�ในน่านทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คำ�ว่า “น่านทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ในที่น้หี มายถึงอาณา บริเวณที่หันออกสู่ทะเลหรือสัมพันธ์กับทะเล จึงรวมบริเวณตอนล่าง ของคาบสมุทรมลายู ฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเวียดนาม เกาะและกลุ่ม เกาะทั้งหลายไว้ด้วย อาณาบริเวณตะวันออกเฉียงใต้โดยรวมทั้งส่วนที่เป็นแผ่นดิน และผืนน้ำ� ในการศึกษาดั้งเดิมแบ่งตามการใช้ภาษาของผู้คน ได้แก่ บนแผ่นดินใหญ่ในประเทศเมียนมาร์ ไทย กัมพูชา ลาว และส่วนใหญ่ ของเวี ย ดนาม ผู้ ค นพู ด ภาษาในกลุ่ ม ตระกู ล ภาษามอญ-ขแมร์ รวม ภาษาไท-กะได หรือตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ส่วนชนตามน่านทะเล (ซึ่ง รวมพวกจามทางฝั่ ง ทะเลตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ข องเวี ย ดนาม และทาง ตอนใต้ ข องคาบสมุ ท รมลายู ) ตลอดจนเกาะและกลุ่ ม เกาะทั้ ง หลาย พูดภาษาในตระกูลภาษามลาโย-โปลีนีเชียน รวมทั้งเกาะสิงคโปร์ (ก่อนที่ จะมีคนจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานจำ�นวนมากในคริสต์ศตวรรษที ่ ๑๙) ส่วนอาณาบริเวณทีเ่ ป็นจีนตอนใต้นน้ั สัมพันธ์กบั เอเชียตะวันออก เฉียงใต้ทั้งทางวัฒนธรรม ชาติพันธุ์วิทยา และภาษา แหล่งกำ�เนิดของผู้ที่ใช้ภาษาในตระกูลภาษามลาโย-โปลีนีเชียน อันเป็นชาวน้ำ�นั้นเป็นเรื่องราวถกเถียงกันยาวนาน เพราะพื้นที่อันเป็น น่านน้�ำ และแผ่นดินใหญ่นน้ั มีลกั ษณะทางภูมศิ าสตร์สมั พันธ์กนั นานมาแล้ว ในบรรพกาลนับล้านปี ประมาณ ๔,๐๐๐ ปีก่อน ค.ศ. ชนเหล่านี้อยู่ทาง ตอนใต้ของแม่น้ำ�แยงซีเกียง (แต่ไม่ใช่ชาวจีนในความหมายปัจจุบัน) ว่ากันว่าผู้คนเหล่านี้คือบรรพบุรุษของมลาโย-โปลีนีเชียน ต่อมาพวกนี้ ก็ออกเดินทางทะเลมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เกาะไต้หวัน จากไต้หวันลงใต้ไปที่ ฟิลิปปินส์และตะวันออกของอินโดนีเซีย ช่วงระหว่าง ๓,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปีก่อน ค.ศ. ชนเหล่านี้ก็เข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเกาะและคาบสมุทร
ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย
|
425
ประวัติศาสตร์ มหาสมุทรอินเดีย
ในมิติของพื้นที่และเวลา อาจารย์ธิดาใช้มหาสมุทรอินเดียเป็นพื้นที่ศูนย์กลางของการค้าขาย ทางทะเลที่เชื่อมโยงกับทะเลสำ�คัญๆ ของเอเชียตะวันตก เช่น ทะเลแดง อ่าวเปอร์เซียที่มา สัมพันธ์กับฝั่งทะเลมะละบาร์ทางตะวันตกของอนุทวีปอินเดีย ทะเลทางฝั่งโคโรมันเดลทางฝั่ง ตะวันออกของอินเดียกับฝั่งทะเลอันดามันของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาถึงช่องแคบ มะละกาที่สัมพันธ์กับพื้นที่ทางฝั่งตะวันออก อันเป็นพื้นที่อ่าวไทยและทะเลจีนใต้ จากพื้นที่ของ อ่าวและทะเลต่างๆ ดังกล่าวนี้ ได้นำ �ไปสู่กลุ่มคนหลายเผ่าพันธุ์ หลายศาสนาและวัฒนธรรม ที่ทำ�การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการค้าขายทางทะเลในนามของภาพรวมว่าเป็นกลุ่มชนชาวน้ำ� จาก คำ�นำ�เสนอ รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม
ดร. ธิดา สาระยา
ดร. ธิดา สาระยา อักษรศาสตรบัณฑิต (จุฬาฯ) อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (จุฬาฯ) M.A. Chinese History (Minnesota) Ph.D Early Southeast Asian & Thai History (Sydney) หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๒๕-๒๕๒๙) ประธานคณะกรรมการบริหาร หลักสูตร Thai Studies คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๓๐-๒๕๓๗) ประธานคณะกรรมการบริหาร หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๔๒-๒๕๔๔)
ประวัติศาสตร์ มหาสมุทรอินเดีย
ดร. ธิดา สาระยา
หมวด ประวัติศาสตร์ ISBN 978-974-7385-55-7
ราคา ๔๙๐ บาท
การนำ�เสนอสาระของหนังสือเล่มนี้ เป็นความจริงในอีกมิติหนึ่งของ “ประวัติศาสตร์บริเวณ” ซึ่งเสมือนไม่มีบริเวณ เพราะ ไม่อิงอยู่กับพรมแดนทางการเมือง แต่เป็นประวัติศาสตร์ ที่ชนหลายกลุ่มชนชาติเผ่าพันธุ์ ร่วมกันสร้าง อาจถึงเวลาแล้วที่เราต้องมอง แรงผลักดันจากหลายด้านหลายมุม อันส่งผลกระทบต่อ การเปลี่ยนแปลงสังคม และการเคลื่อนไหวของกลุ่มชน จากมุมมองหรือมิติของ ประวัติศาสตร์ที่น่านทะเล