เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ

Page 1

เจดีย์ ในศิลปะพม่า-มอญ :

เจติยวิหาร (กู่ปายา-Gu Hpaya)

เจติยวิหาร หรือ กู่ปายา (Gu Hpaya) คือ เจดีย์ซึ่งมีเรือนธาตุเข้าไปภายในได้  เป็นเจดีย์ที่มีต้นกำ�เนิดมาจาก อาคารทรงศิขระในศิลปะอินเดีย และต่อมาจะกลายเป็นต้นกำ�เนิดให้กับเจดีย์ทรงปราสาทยอดในศิลปะไทย  เจติ ย วิ ห ารที่ มี พั ฒ นาการสู ง สุ ด   ได้ แ ก่   เจติ ย วิ ห ารในศิ ล ปะพุ ก าม และอาจถื อ ได้ ว่ า เป็ น ระยะที่ ทำ � ให้ เ กิ ด เจติยวิหารแบบพม่าอย่างแท้จริง เจติยวิหารแบบพม่านี้ต่อมาจะสืบทอดไปถึงศิลปะอมรปุระ-มัณฑเลด้วย

เจดีย์ ในศิลปะพม่า-มอญ

เจดีย์ทรงะระฆังในศิลปะพม่ามีพื้นฐานมาจากเจดีย์ ในศิลปะอินเดียและลังกาหลากหลายสกุล โดยแต่ละกลุ่มมี ลักษณะเฉพาะของตนเอง บางกลุ่มมีบัลลังก์  บางกลุ่มก็ไม่มีบัลลังก์  เจดีย์ทรงระฆังในศิลปะพม่า-มอญ มีอยู่  ๕ กลุ่ม คือ เจดีย์ทรงลอมฟางและทรงกระบอกแบบปยู  เจดีย์ทรง ระฆังกลุ่มอิทธิพลปาละ เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มพม่าแท้  เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มอิทธิพลลังกา และเจดีย์แบบมอญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. เชษฐ์   ติงสัญชลี

เจดีย์ทรงระฆัง (เซดี-Zedi)

หมวดศิลปะไทย ISBN 978-974-7727-80-7 ราคา ๔๒๐ บาท

๔๒๐.-

พัฒนาการทางด้านรูปแบบ ตั้งแต่ศิลปะศรีเกษตร ถึงศิลปะมัณฑเล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. เชษฐ์   ติงสัญชลี


เจดีย์เสียนเยทนยิมา หมู่บ้านมยิงกาบา เมืองพุกาม เจดีย์กลุ่มอิทธิพลปาละในศิลปะพุกามตอนต้น

2

| เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ


เจดีย์สุเล เมืองย่างกุ้ง เจดีย์แบบมอญในศิลปะสมัยหงสาวดี

|

ผศ.ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี 5


ISBN 978-974-7727-80-7 หนังสือ เจดีย์ ในศิลปะพม่า-มอญ :  พัฒนาการทางด้านรูปแบบตั้งแต่ศิลปะศรีเกษตรถึงศิลปะมัณฑเล ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. เชษฐ์   ติงสัญชลี พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม ๒๕๕๕ จำ�นวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ราคา ๔๒๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด บรรณาธิการเล่ม ภาพประกอบ ออกแบบปก/รูปเล่ม คอมพิวเตอร์ ควบคุมการผลิต

วรินวิตตา  ดารามาตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. เชษฐ์   ติงสัญชลี นัทธินี   สังข์สุข วัลลภา  สะบู่ม่วง ธนา  วาสิกศิริ

แยกสี/เพลท พิมพ์ที่ จัดจำ�หน่าย

เอ็น. อาร์. ฟิล์ม  โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์   โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ เชษฐ์   ติงสัญชลี. เจดีย์ ในศิลปะพม่า-มอญ : พัฒนาการทางด้านรูปแบบตั้งแต่ศิลปะศรีเกษตรถึงศิลปะมัณฑเล. -- กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕. ๔๒๔ หน้า ๑. เจดีย ์ -- พม่า.  I. ๗๒๖.๑ ISBN 978-974-7727-80-7

สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด)  ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม  เขตพระนคร  กรุ ง เทพฯ  ๑๐๒๐๐  โทร.  ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐  (อั ต โนมั ติ )   โทรสาร  ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓    ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์  จำ�นงค์  ศรีนวล  ผู้อำ�นวยการฝ่าย การตลาดและฝ่ า ยประชาสัมพันธ์  ปฏิมา หนูไชยะ  บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์  อภิวันทน์  อดุลยพิเชฏฐ์   ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์   เจียมพานทอง

10

| เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ


สารบัญ

๑๔ ๑๕ ๑๗

คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�ผู้เขียน เกริ่นนำ�

บทที่ ๑ เจดีย์ทรงลอมฟางและทรงกระบอกแบบปยู ในศิลปะศรีเกษตรและศิลปะพุกาม เจดีย์ทรงโอคว่ำ�และทรงลอมฟางแบบปยูในศิลปะศรีเกษตร เจดีย์ทรงกระบอกแบบปยูในศิลปะพุกาม เจดีย์แบบปยูในศิลปะพุกามตอนปลายและหลังพุกาม สรุปพัฒนาการของเจดีย์แบบปยูในศิลปะศรีเกษตร และเจดีย์ปยูในศิลปะพุกามก่อนและสมัยพระเจ้าอโนรธา

๒๐ ๒๐ ๓๔ ๔๒ ๔๗

บทที่  ๒ เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มอิทธิพลปาละในศิลปะพุกาม เจดีย์ ในศิลปะวกาฏกะกับการปูพื้นฐานต่อศิลปะปาละ เจดีย์ ในศิลปะปาละ อิทธิพลปาละกับเจดีย์ทรงระฆังกลุ่มอิทธิพลปาละในศิลปะพุกาม “ทรงระฆัง” และ “รัดอก” : ประเด็นการคิดค้นใหม่ของ เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มอิทธิพลปาละในศิลปะพุกาม การแบ่งกลุ่มเจดีย์กลุ่มอิทธิพลปาละในศิลปะพุกาม

๕๑ ๕๑ ๕๔ ๕๗ ๖๘ ๖๙

บทที่  ๓ เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มพม่าแท้ ในศิลปะพุกามและหลังพุกาม ๘๒ เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มพม่าแท้ ในศิลปะพุกาม ๘๒ เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มพม่าแท้ ในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล ๑๐๘

|

ผศ.ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี 11


บทที่  ๔ เจดีย์ทรงโอคว่�ำ กลุ่มอิทธิพลลังกา ในศิลปะพุกามและหลังพุกาม รูปแบบโดยรวมของสถูปในศิลปะลังกา เจดีย์ทรงโอคว่ำ�กลุ่มอิทธิพลลังกาในศิลปะพุกามตอนต้น (ก่อนพระฉปัฏกลับจากลังกา) เจดีย์ทรงโอคว่ำ�กลุ่มอิทธิพลลังกาในศิลปะพุกามตอนปลาย (ตั้งแต่พระฉปัฏกลับจากลังกา) เจดีย์ทรงโอคว่ำ�และทรงระฆังกลุ่มอิทธิพลลังกา ในศิลปะอังวะ-อมรปุระ-มัณฑเล

12

๑๕๙ ๑๕๙ ๑๖๘ ๑๗๑ ๑๘๔

บทที่  ๕ เจดีย์  “แบบมอญ” ในศิลปะสะเทิม หงสาวดี  และสมัยหลัง ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเจดีย์แบบมอญ เจดีย์แบบมอญในศิลปะสะเทิมและความสัมพันธ์กับศิลปะพุกาม ลักษณะพิเศษของเจดีย์  “แบบมอญ” สมัยหงสาวดี และความแตกต่างจากเจดีย์  “แบบพม่า” การแบ่งกลุ่มและตัวอย่างเจดีย์แบบมอญสมัยหงสาวดี เจดีย์แบบผสมระหว่างเจดีย์มอญกับเจดีย์พม่า  :  กรณีศึกษามหาเจดีย ์ เมืองหงสาวดี เจดีย์แบบมอญในระยะหลัง

๒๓๓ ๒๓๗

บทที่  ๖ เจติยวิหาร (กู่ปายา) ในศิลปะศรีเกษตร เจดีย์เซกูตะวันออก เจดีย์เลมเยธนา เจดีย์เบเบ

๒๔๖ ๒๔๖ ๒๔๙ ๒๕๒

บทที่  ๗ เจติยวิหาร (กู่ปายา) ในศิลปะพุกาม แผนผัง ฐาน

๒๕๓ ๒๕๓ ๒๗๓

| เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ

๑๙๘ ๑๙๘ ๒๐๐ ๒๐๔ ๒๑๙


เรือนธาตุ รูปแบบหน้าต่าง-ประตูและซุ้มเคล็ก ลายกาบบน-กาบล่าง-ประจำ�ยามอก และลวดลายอื่นๆ ที่ประดับเรือนธาตุ ชั้นหลังคา ยอดศิขระและยอดเจดีย์

๒๗๗ ๒๘๘

บทที่  ๘ เจติยวิหาร (กู่ปายา) ในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล ตัวอย่างสำ�หรับการศึกษาเจติยวิหารในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล แผนผัง ฐาน เรือนธาตุ  การตกแต่งเรือนธาตุ  และเสาติดผนัง ซุ้ม ชั้นหลังคา ยอดเจดีย์และยอดศิขระ

๓๔๐ ๓๔๐ ๓๔๘ ๓๔๙ ๓๕๑ ๓๖๐ ๓๗๑ ๓๗๖

๓๐๗ ๓๑๔ ๓๑๘

บทส่งท้าย ๓๘๑ สรุปพัฒนาการของเจดีย์แบบพม่า-มอญในประเทศพม่า ๓๘๑ สรุปพัฒนาการของเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะพม่า-มอญ ๓๘๓ สรุปพัฒนาการของเจดีย์ทรงปราสาทในศิลปะพม่า-มอญ ๓๘๘ เจดีย์ ในศิลปะพม่า-มอญและความเกี่ยวข้องกับศิลปะไทย ๓๘๙ ลักษณะที่โดดเด่นของศิลปกรรมพม่าในแต่ละยุค ๓๙๗ บรรณานุกรม ๔๐๐ คำ�อธิบายศัพท์ ๔๐๒ ดัชนีเรื่อง ๔๐๗ ภาคผนวก ๔๑๗ รายพระนามกษัตริย์พม่า ระยะเวลา และเหตุการณ์สำ�คัญ ในรัชกาล ๔๑๗

|

ผศ.ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี 13


คํานําสํานักพิมพ์ เจดีย์ ในศิลปะพม่า-มอญ : พัฒนาการทางด้านรูปแบบตั้งแต่ศิลปะศรีเกษตร ถึงศิลปะมัณฑเล เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเจดีย์ ในประเทศพม่า ซึ่งเขียนโดย  ดร. เชษฐ์  ติงสัญชลี  อาจารย์ประจ�ำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร  ที่สนใจศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปะสถาปัตยกรรมของเจดีย์  ในประเทศพม่ามากว่า ๑๐ ปี หนังสือเล่มนี้ได้แบ่งกลุ่มเจดีย์ ในประเทศพม่าออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ  เจดีย์ทรงระฆัง หรือ เซดี  (Zedi) และเจติยวิหาร หรือ กู่ปายา (Gu Hpaya) ซึ่งเจดีย์  ทัง้ สองกลุม่ ได้รบั อิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียและลังกา แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทาง  สังคมและศิลปวัฒนธรรมระหว่างอินเดีย ลังกา และพม่าตั้งแต่สมัยแรกเริ่มในศิลปะ  ศรีเกษตรหรือปยู  (ประมาณพุทธศตวรรษที่  ๑๒) สืบเนื่องเรื่อยมาจนถึงศิลปะพุกาม  อังวะ และศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล (พุทธศตวรรษที ่ ๒๕) ซึง่ ผูเ้ ขียนได้วเิ คราะห์ ให้เข้าใจ  ถึงลักษณะส�ำคัญและพัฒนาการของเจดีย์ ในศิลปะพม่ายุคต่างๆ  จากทีร่ ะยะแรกได้รบั   อิทธิพลทางศิลปะจากดินแดนภายนอก มีพัฒนาการและการสร้างสรรค์จนกลายเป็น  เจดีย์ที่มีรูปแบบเฉพาะของแต่ละยุค เช่น เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มพม่าแท้  เป็นต้น ส�ำหรับความสัมพันธ์กบั ดินแดนไทยนัน้  การศึกษาเจดีย์ ในศิลปะพม่านอกจาก  จะสะท้อนถึงอิทธิพลของเจดียศ์ ลิ ปะพม่า-มอญทีป่ รากฏในเจดีย์ ในศิลปะไทย โดยมีการ  เลือกรับปรับใช้ ให้เหมาะสมกับศิลปะและค่านิยมในสังคมไทยแต่ละยุคแต่ละถิ่นที่มี  มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สมัยหริภุญชัย ล้านนา สุโขทัย อยุธยา จนสมัยรัตนโกสินทร์  รวมทัง้ สมัยล้านนารุน่ หลัง  ร่องรอยจากโบราณสถานเหล่านีย้ งั ช่วยเสริมให้เข้าใจความ  สัมพันธ์ของผู้คนที่มีการติดต่อและการยักย้ายถ่ายเทระหว่าง “ชาวพม่า-ไทยใหญ่-  มอญ” ผูอ้ าศัยอยู่ในประเทศพม่ากับชาวไทยสยาม-ชาวไทยล้านนาผูอ้ าศัยอยู่ในประเทศ  ไทยปัจจุบันในอีกทางหนึ่งด้วย ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ มีนาคม ๒๕๕๕ 14

| เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ


คํานําผู้เขียน แม้ว่าในประเทศไทยได้มีการศึกษาวิจัยและได้ตีพิมพ์เอกสารค�ำสอน หนังสือ  และต�ำราเกี่ยวกับศิลปะในประเทศพม่าที่มีความลึกซึ้งและลุ่มลึกอย่างต่อเนื่อง แต่ยัง  ไม่มีต�ำราเล่มใดที่เน้นพัฒนาการทางด้านรูปแบบโดยการศึกษาสายอิทธิพล “ในแนว  ดิง่ ” ตัง้ แต่ศลิ ปะศรีเกษตรจนถึงศิลปะมัณฑเล  หนังสือเล่มนีจ้ งึ ถูกพัฒนาขึน้ โดยอาศัย  ข้อมูลจากการส�ำรวจและการค้นคว้าเกีย่ วกับเจดีย์ ในประเทศพม่าของผูเ้ ขียนในระหว่าง  พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๕๔ เพือ่ ใช้เป็นต�ำราส�ำหรับวิชา “ศิลปะในประเทศพม่า” และ “สัมมนา  ศิลปะในประเทศพม่า” ซึ่งเป็นวิชาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทของภาควิชา  ประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ คณะโบราณคดี  โดยมีจดุ ประสงค์เพือ่ ให้นกั ศึกษาและผูส้ นใจเข้าใจ  พัฒนาการของเจดีย์ ในประเทศพม่า เนื่องจากศิลปะพม่าได้รับอิทธิพลหลายสายจากอินเดียและลังกา ท�ำให้เกิด  ความหลากหลายของรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังแม้ ในระยะเวลาร่วมสมัยกัน  การศึกษา  เจดียท์ รงระฆังในหนังสือเล่มนีจ้ ะเน้นพัฒนาการตามสายอิทธิพล “ในแนวดิง่ ” เป็นหลัก   ส่วนเจติยวิหารแม้ว่าจะศึกษา “ในแนวราบ” ตามล�ำดับอายุสมัย แต่ในหนังสือเล่มนี้  ผูเ้ ขียนได้แบ่งหัวข้อการศึกษาโดยเน้นพัฒนาการขององค์ประกอบแต่ละส่วนของเจติย-  วิหาร เช่น แผนผัง ฐาน เรือนธาตุ  ชั้นหลังคา ยอดศิขระหรือยอดเจดีย์  เป็นต้น อนึง่  การศึกษาเจดีย์ ในศิลปะพม่านับว่ามีความส�ำคัญมากส�ำหรับการท�ำความ  เข้าใจบทบาทของศิลปะอินเดียและลังกา ทัง้ สมัยอมราวดี  คุปตะ ปาละ อนุราธปุระ และ  โปลนนารุวะต่อพม่าซึ่งเป็นดินแดนในภาคตะวันตกของเอเชียอาคเนย์  ซึ่งโดยสภาพ  ที่ตั้งแล้วใกล้ชิดกับอนุทวีปอินเดียมากที่สุด  นอกจากนี้การศึกษาเจดีย์ ในศิลปะพม่า  ยังมีความส�ำคัญต่อการท�ำความเข้าใจเจดีย์ ในประเทศไทย เนือ่ งจากในศิลปะไทยหลัง  พุทธศตวรรษที่  ๑๙ ส่วนมากล้วนมีพื้นฐานมาจากศิลปะพม่าทั้งสิ้น โดยเฉพาะศิลปะ  พม่าสมัยพุกาม ซึง่ เป็นแหล่งบันดาลใจส�ำคัญให้กบั เจดีย์ ในศิลปะสุโขทัย ล้านนา และ  อยุธยา  ส่วนศิลปะมอญสมัยหงสาวดีและศิลปะพม่าสมัยอมรปุระ-มัณฑเลก็อาจสัมพันธ์  กับเจดีย์ระยะหลังในประเทศไทยหลายองค์ทั้งทางภาคเหนือและภาคกลาง

|

ผศ.ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี 15


บทที่ ๑

เจดีย์ทรงลอมฟางและทรงกระบอก แบบปยูในศิลปะศรีเกษตร และศิลปะพุกาม เจดียท์ รงลอมฟางและทรงกระบอก ถือเป็นเจดียแ์ บบทีเ่ ก่าแก่ทสี่ ดุ และเรียบง่าย ทีส่ ดุ ในบรรดาเจดีย์ ในศิลปะพม่า โดยมีพื้นฐานมาจากเจดียท์ รงโอคว�่ำในศิลปะอินเดีย โบราณและอมราวดีก่อนที่จะถูกยืดสูงจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง  เจดีย์ แบบนีไ้ ด้รบั ความนิยมอยู่ในระยะไม่นานนัก คือ ศิลปะศรีเกษตรและศิลปะพุกามตอนต้น ก่อนที่จะเสื่อมหายไปในที่สุด ในบทนีจ้ ะเริม่ ด้วยการศึกษาเจดียท์ รงโอคว�ำ่ และทรงลอมฟางในศิลปะศรีเกษตร และต่อมาจะศึกษาเจดีย์ทรงกระบอกในศิลปะพุกาม

เจดีย์ทรงโอคว�่ำและทรงลอมฟางแบบปยูในศิลปะศรีเกษตร

ในศิลปะศรีเกษตรได้ค้นพบตัวอย่างของเจดีย์ทรงโอคว�่ำและทรงลอมฟาง จ�ำนวนมากจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะส�ำคัญของสมัย ตัวอย่างที่ค้นพบปรากฏทั้ง ในภาพสลักเจดีย์จ�ำลองและเจดีย์จริงที่เมืองไบก์ถาโนและเมืองศรีเกษตร ซึ่งอาจแยก ศึกษาได้ดังนี้

สถูปแบบปยูที่เมืองไบก์ถาโน

อาจกล่าวได้วา่  สถูปแบบปยูในระยะแรกสุดสามารถศึกษาได้จากเจดีย ์ KKG 2 ที่เมืองไบก์ถาโน (รูปที่  ๑) ซึ่งจากการขุดค้นได้พบฐานของสถูปในผังกลมขนาดใหญ่ พร้อมด้วยมุขยื่นออกมาทั้งสี่ทิศ ๑ 20

| เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ


รูปที่  ๑  แผนผังของเจดีย์  KKG 2 ที่เมืองไบก์ถาโน  (ที่มา : Janice Stargardt, The Ancient Pyu of Burma, p. 201.)

อนึ่ง เนื่องจากสถูปในศิลปะอมราวดี  (รูปที่  ๒) มีลักษณะส�ำคัญ คือ อยู่ใน ผังกลม และมีมขุ ซึง่ เรียกว่า “อยกะ” ยืน่ ออกมาทัง้ สีท่ ศิ  สถูปทีเ่ มืองไบก์ถาโนจึงมีความ ใกล้ชิดกับสถูปในศิลปะอมราวดีเป็นอย่างมาก อาจกล่าวได้ว่าสถูปในศิลปะปยูระยะแรกนั้นมีความใกล้ชิดกับศิลปะอินเดีย ภาคใต้สมัยอมราวดี  หลักฐานดังกล่าวนี้ยังอาจแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางด้าน พุทธศาสนาระหว่างวัฒนธรรมปยูและอินเดียใต้ด้วย สถูปอีกกลุ่มหนึ่งที่ควรกล่าวถึง คือ โบราณสถานหมายเลข KKG 14 และ KKG 18 ซึง่  Elizabeth Moore กล่าวว่า “น่าจะเป็นสถูป” ๒ ส�ำคัญ คือ มีฐานประทักษิณ ในผังสีเ่ หลีย่ ม มีบนั ไดทางด้านหน้า ฐานประทักษิณดังกล่าวรองรับสถูปในผังกลม ฐาน ยังคงหลงเหลืออยูเ่ พียงเล็กน้อยและได้รบั การบูรณะแล้ว ส่วนอัณฑะด้านบนกลับหักหาย (รูปที่  ๓) เนื่องจากฐานดังกล่าวยังคงอยู่ในผังกลม แต่กลับมีขนาดเล็กกว่าสถูปแบบ อมราวดี  ด้วยเหตุนจี้ งึ เป็นไปได้ทจี่ ะสันนิษฐานว่า สถูปดังกล่าวอาจมีฐานยืดสูงเป็นทรง กระบอกรองรับอัณฑะทรงกลมขนาดเล็กซึง่ คล้ายคลึงกับสถูปในศิลปะคุปตะ-วกาฏกะ (รูปที่  ๖)  ทั้งยังอาจสันนิษฐานได้ว่า อาจเป็นสถูปที่มีอัณฑะเป็นทรงกระบอกดังเช่น สถูปโบโบจีที่เมืองศรีเกษตรก็เป็นได้ ผศ.ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี

| 21


อัณฑะทรงกลมขนาดใหญ่ อาจเป็นต้นแบบให้กับ เจดีย์แบบปยูระยะแรก แผนผังกลม มีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ทิศ

รูปที่  ๒  สถูปในศิลปะอมราวดี  ปรากฏในภาพสลักนูน พิพิธภัณฑ์เจนไน ประเทศอินเดีย

22

| เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ


รูปที่  ๓  โบราณสถานหมายเลข KKG 14  ซึ่ง Elizabeth Moore กล่าวว่า  “น่าจะเป็นสถูป”  (ที่มา : Elizabeth Moore, Early Landscapes of Myanmar, p. 159.)

ผศ.ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี

| 23


เชิงอรรถ ๑

โปรดดูรายละเอียดสถูป KKG 2 ได้ ใน Janice Stargardt, The Ancient Pyu of Burma, (Singapore: Paesea Cambridge, 1991), pp. 200-205. ๒  Elizabeth H. Moore, Early Landscapes of Myanmar, (Bangkok: River Books, 2007), p. 159.  และโปรดดูเพิ่มเติมเรื่องเจดีย์  KKG 14 และ 18 ได้ ใน Janice Stargardt, The Ancient Pyu of Burma,  pp. 205-209. ๓  G.H. Luce, Phases of Pre-Pagan Burma: Languages and History, Vol. II (London: Oxford University Press, 1985), fig. 27. ๔  Pierre Pichard, The Pentagonal Monuments of Pagan, (Bangkok: White Lotus, 1991), p. 4. ๕  G.H. Luce, Phases of Pre-Pagan Burma: Languages and History, Vol. II, fig. 30. ๖  Luce มีความคิดเช่นเดียวกันว่าสถูปดังกล่าวอาจมีพื้นฐานมาจากศิลปะอมราวดี  โปรดดู  G.H. Luce, Old Burma-Early Pagan, Vol. 1, (New York: J.J. Augustine, 1970), pp. 237-238. ๗  โปรดดูพระพิมพ์ ในศิลปะศรีเกษตรตัวอย่างอื่นๆ ได้ ใน G.H. Luce, Phases of Pre-Pagan Burma: Languages and History, Vol. II, fig. 55-63. ๘  โปรดดูรายพระนามกษัตริย์ของเมืองพุกามก่อนสมัยพระเจ้าอโนรธาได้ ใน Pictorial Guide to Pagan, (Rangoon, Archaeological Department Ministry of Culture, 1979), pp. e-h. ๙  เช่น เจดียบ์ พู ยา ซึง่ ต�ำนานกล่าวว่าสร้างขึน้ โดยพระเจ้าพยูสอตี  และเจดียง์ าคีเวนาดองซึง่ สร้างขึน้ ในรัชกาล พระเจ้าตองถุจี   แม้ว่ารัชกาลที่ปรากฏในต�ำนานอาจใช้ก�ำหนดอายุเจดีย์ ไม่ได้  แต่อย่างน้อยก็ใช้สันนิษฐาน ได้ว่าเจดีย์ทั้งสองนี้อาจสร้างขึ้นก่อนสมัยพระเจ้าอโนรธา โปรดดู  Pictorial Guide to Pagan, pp. 25, 29. ๑๐  Pictorial Guide to Pagan, p. 38. ๑๑  Luce กล่าวว่า เจดีย์ทรงน�้ำเต้านี้ไม่ได้พบเฉพาะในพุกาม แต่พบในส่วนอื่นๆ ของพม่าด้วย นอกจากนี้ ยังท�ำให้นกึ ถึงเจดีย์ ในศิลปะอินเดียทีถ่ �้ำเอลโลร่า กาณเหรี  และอชันตา และยังท�ำให้นกึ ถึงเจดีย์ ในศิลปะธิเบต อีกด้วย โปรดดู  G.H. Luce, Old Burma-Early Pagan, Vol. 1, p. 258. และโปรดดูเรื่องเจดีย์ทรงลูกแก้ว และทรงน�ำ้ เต้าเพิม่ เติมได้ ใน เกรียงไกร เกิดศิร,ิ  พุกาม : การก่อรูปของสถาปัตยกรรมจากก้อนอิฐแห่งศรัทธา, (กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์อุษาคเนย์, ๒๕๕๑), หน้า ๘๓. ๑๒  ต�ำนานนีป้ รากฏใน พงศาวดารฉบับหอแก้ว แต่ไม่มจี ารึกใดระบุเหตุการณ์ดงั กล่าว โปรดดู  G.H. Luce, Old Burma-Early Pagan, Vol. 1, p. 259. และเชิงอรรถที่  ๑๖. ๑๓  พงศาวดารฉบับหอแก้ว เล่าว่า พระเขีย้ วแก้วจ�ำลองจากลังกาได้ลงเรือล่องตามแม่นำ�้ อิรวดีมาและมาขึน้ ฝัง่ ณ เจดีย์แห่งนี้  นอกจากนี้ยังมีจารึกใน พ.ศ. ๑๗๕๐ กล่าวว่าเจดีย์องค์นี้มีชื่อว่า โลกานันท์  เป็นของพระจักรพรรดิอโนรธา โปรดดู  G.H. Luce, Old Burma-Early Pagan, Vol. 1, p. 260.

50

| เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ


บทที่ ๒

เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มอิทธิพลปาละ ในศิลปะพุกาม เจดียท์ รงระฆังในศิลปะพุกามกลุ่มที ่ ๒ คือ เจดียท์ รงระฆังกลุ่มอิทธิพลปาละ  ซึง่ แสดงความเกีย่ วข้องกับศิลปะปาละทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียอย่างมาก   เจดียก์ ลุม่ นีค้ งมีระยะความนิยมอยูใ่ นสมัยพุกามเท่านัน้  เนือ่ งจากไม่พบเจดียก์ ลุม่ ดังกล่าว  ในศิลปะอังวะ-อมรปุระ-มัณฑเล โดยที่สมัยพุกามตอนต้นน่าจะเป็นระยะที่เจดีย์แบบ  ดังกล่าวได้รับความนิยมสูงสุด ตัวอย่างทีส่ ำ� คัญของเจดียก์ ลุม่ นี ้ เช่น เจดีย์ ใกล้หมูบ่ า้ นมยิงกาบา (รูปที ่ ๒๓)  เจดีย์ ใกล้อเพยทนะ (รูปที่  ๒๔) เจดีย์เป็ตเลก (รูปที่  ๒๖) เจดีย์เสียนเยทนยิมา (รูป  ที ่ ๒๗-๓๐) เจดียป์ ยาตสาชเวกู  (รูปที ่ ๓๑-๓๓) เจดียบ์ เู ลธิ  (รูปที ่ ๓๕-๓๖) และเจดีย์  พอดอมู  (รูปที ่ ๓๙) เป็นต้น  นอกจากนีย้ งั ปรากฏว่ายอดของเจติยวิหารในศิลปะพุกาม  ตอนต้นหลายแห่งก็ปรากฏการใช้เจดีย์กลุ่มอิทธิพลปาละเป็นยอดด้วย เช่น เจดีย์  อเพยทนะ (รูปที่  ๒๕) เจดีย์ปาโทธรรมยา (รูปที่  ๓๔) เป็นต้น

เจดีย์ ในศิลปะวกาฏกะกับการปูพื้นฐานต่อศิลปะปาละ

เจดีย์ ในศิลปะปาละมีพื้นฐานมาจากเจดีย์ศิลปะวกาฏกะ จึงจ�ำเป็นต้องกล่าว  ถึงเจดียท์ ถี่ ำ�้ อชันตาก่อน ตัวอย่างของเจดียท์ ถี่ ำ�้ อชันตาทีจ่ ะท�ำการศึกษา ได้แก่  เจดีย์  ในถ�้ำอชันตาที่  ๑๙ (รูปที่  ๑๙) และเจดีย์ ในถ�ำ้ อชันตาที่  ๒๖ (รูปที่  ๒๐) เจดีย์ ในศิลปะวกาฏกะมีลกั ษณะส�ำคัญ คือ มีแผนผังเป็นทรงกลม ฐานยืดสูง เป็นทรงกระบอกรองรับอัณฑะทรงกลมขนาดเล็ก ด้านหน้าสถูปมักปรากฏซุ้มจระน�ำ ประดิษฐานพระพุทธรูปเสมอ แสดงให้เห็นถึงการซ้อนสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า ๒ ประการ คือ สถูปกับพระพุทธรูป  อนึง่  ซุม้ จระน�ำในศิลปะวกาฏกะมีเพียง ๑ ซุม้ เสมอ  แตกต่างไปจากศิลปะปาละที่มีถึง ๔ ซุ้ม

|

ผศ.ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี 51


บทที่ ๓

เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มพม่าแท้ ในศิลปะพุกามและหลังพุกาม ในศิลปะพม่า รูปแบบเจดียท์ รงระฆังที่ได้รบั ความนิยมสูงสุดต่อเนือ่ งมาตัง้ แต่ ศิลปะพุกามจนถึงศิลปะอมรปุระ-มัณฑเลก็คือ “เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มพม่าแท้” โดยอาจ เป็นไปได้ทเี่ จดียแ์ บบนีอ้ งค์แรกๆ คือ เจดียช์ เวซิกองและเจดียช์ เวซานดอ เมืองพุกาม ต่อมาเจดีย์แบบพม่าแท้ ในระยะหลังมีความพยายาม “จ�ำลองแบบ” เจดีย์ชเวซิกอง อย่างต่อเนื่องจนเจดีย์ทรงนี้แทบจะมีเค้าโครงเหมือนกันโดยตลอด ด้วยเหตุที่เจดีย์ชเวซิกองเป็นเจดีย์ส�ำคัญส�ำหรับการจ�ำลองแบบ การศึกษา เจดีย์องค์นี้ในฐานะต้นแบบของเจดีย์แบบพม่าแท้จึงเป็นประเด็นส�ำคัญ

เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มพม่าแท้ ในศิลปะพุกาม

ดูเหมือนว่าการออกแบบเจดียช์ เวซิกองนัน้ ได้มคี วามพยายามในการประดิษฐ์ รูปแบบเจดีย์ขึ้นมาใหม่  โดยใช้ลักษณะบางประการของเจดีย์กลุ่มอิทธิพลปยูกับเจดีย์ กลุม่ อิทธิพลปาละมาผสมกัน  จึงขอเรียกเจดียท์ ถี่ กู ประดิษฐ์ขนึ้ มาใหม่นวี้ า่ เป็น “เจดีย์ แบบพม่าแท้” “เจดีย์แบบพม่าแท้” ซึ่งมีเจดีย์ชเวซิกองเป็นต้นแบบ ต่อมากลายเป็นเจดีย์ที่ ได้รบั ความนิยมสูงสุดในศิลปะพุกาม และได้รบั การสืบทอดจนถึงศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล ด้วย ตัวอย่างอืน่ ๆ ของเจดียแ์ บบพม่าแท้ ในศิลปะพุกามนัน้  ได้แก่  เจดียช์ เวซานดอ ซึง่ สร้างขึน้ ในรัชกาลพระเจ้าอโนรธา (รูปที ่ ๔๘)  เจดียธ์ รรมยาซิกะ สร้างขึน้ ในรัชกาล พระเจ้านรปติสิทธุ  (รูปที่  ๔๙-๕๒)  และเจดีย์มิงกลาเซดีซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้า นรสีหบดี  (รูปที ่ ๕๓)  โดยทีเ่ จดียแ์ ต่ละองค์นนั้ มีเค้าโครงคล้ายคลึงกับเจดียช์ เวซิกอง แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน 82

| เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ


รูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังกลุ่มพม่าแท้  :  ศึกษาจากเจดีย์ชเวซิกอง

น่าเชื่อว่าเจดีย์แบบพม่าแท้เริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรกในรัชกาลพระเจ้าอโนรธา โดยเจดีย์ชเวซิกอง (รูปที่  ๔๐-๔๑) อาจเป็นตัวอย่างแรกๆ  ดังนั้นการศึกษารูปแบบ ของเจดีย์ชเวซิกองจะท�ำให้สามารถเข้าใจถึงเจดีย์ทรงระฆังกลุ่มพม่าแท้องค์อื่นๆ ใน ศิลปะพุกามและศิลปะหลังพุกามได้

ปล้องไฉน ประกอบด้วย ลูกแก้วสลับบัวคว่�ำ การไม่มีบัลลังก์ ซึ่งสืบมาจากเจดีย์แบบปยู

ส่วนเชื่อมต่อฐาน-องค์ระฆัง หรือ “ฐานปรับมุม” ปรับมุมเป็นแปดเหลี่ยมเพิ่มมุม และทรงกลมตามลำ�ดับ บันไดทางขึ้น ๔ ทิศ เพื่อขึ้นไปยัง ทางประทักษิณ ด้านบนฐาน ทั้งสามชั้น

องค์ระฆังซึ่งมีปากผาย มีรัดอก และบัวคอเสื้อ สถูปิกะประดับมุมฐาน แต่ละชั้น

ฐานบัว ๓ ชั้น ในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมเล็ก

รูปที่  ๔๐  เจดีย์ชเวซิกอง ต้นแบบของเจดีย์แบบพม่าแท้ทั้งในศิลปะพุกามและในศิลปะ อมรปุระ-มัณฑเล ผศ.ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี

| 83


เจดีย์ ในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเลอีกหลายองค์ทคี่ น้ พบนอกบริเวณเมืองอังวะ-อมรปุระ-มัณฑเล  อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าในแถบเมืองอังวะ-อมรปุระ-มัณฑเล ซุ้มดังกล่าวยังคงท�ำให้เป็น “ซุ้มประตู” อันแสดงระเบียบ ใกล้ชิดกับพุกามมากกว่า ๒๑  โปรดดูภาพและการศึกษาสิงห์ที่เจดีย์ชเวซิกองได้ ใน G.H. Luce, Old Burma-Early Pagan, Vol. 1, p. 274. and Vol. 3, pl. 177. ๒๒  ศาสตราจารย์  ดร. สันติ  เล็กสุขมุ , เจดีย ์ : ความเป็นมาและค�ำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ ในประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่  ๕, (กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๕๒), หน้า ๗๑-๗๔. ๒๓  โปรดอ่านประวัติศาสตร์ระยะดังกล่าวได้ ใน หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, “ประวัติศาสตร์พม่าโดยย่อ,” ใน เที่ยวดงเจดีย์ที่พม่าประเทศ, หน้า ๑๗-๑๘. ๒๔  กษัตริย์องค์ที่  ๘ ของราชวงศ์คองบอง โปรดดู  หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, “ประวัติศาสตร์พม่าโดยย่อ,” ใน เที่ยวดงเจดีย์ที่พม่าประเทศ, หน้า ๒๒.

158

| เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ


บทที่  ๔

เจดีย์ทรงโอคว�ำ่ กลุ่มอิทธิพลลังกา ในศิลปะพุกามและหลังพุกาม ตั้งแต่พระเจ้าอโนรธาทรงโปรดให้น�ำพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาตั้งมั่นยังเมือง  พุกาม โดยที่ในช่วงเวลานั้นลังกาเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาเถรวาท ท�ำให้ความ  สัมพันธ์ทางด้านศาสนาระหว่างพุกามกับลังกาเริ่มปรากฏอย่างชัดเจน สมัยพุกามตอนต้น ในรัชกาลพระเจ้าอโนรธา ลังกาได้ถวายพระเขี้ยวแก้วแก่  พุกามซึง่ พระองค์ โปรดให้สร้างเจดียช์ เวซิกองเพือ่ บรรจุพระเขีย้ วแก้ว๑  ต่อมาในรัชกาล  พระเจ้าอลองสิทธูได้มีการติดต่อและการท�ำสงครามกับพระเจ้าปรากรมพาหุท ี่ ๑ แห่ง  เมืองโปลนนารุวะด้วย๒  ส่วนในสมัยพุกามตอนปลายนั้นได้มีการส่งพระภิกษุพุกาม  ไปเรียนทีล่ งั กาจ�ำนวนมาก รวมถึงพระฉปัฏ๓ ซึง่ เดินทางไปเรียนพุทธศาสนาทีล่ งั กาใน  รัชกาลพระเจ้านรปติสทิ ธุกอ่ นทีจ่ ะน�ำเอาอิทธิพลเจดียล์ งั กากลับมาผสมผสานกับเจดีย์  แบบพม่าแท้ด้วย ภายหลังอาณาจักรพุกามล่มสลาย ความสัมพันธ์ทางด้านศาสนาระหว่างพม่า  กับลังกาก็ยังคงด�ำเนินอยู่  เหตุการณ์ส�ำคัญ คือ การอัญเชิญพระธาตุจากลังกามายัง  เมืองสะแคงในสมัยราชวงศ์อังวะตอนต้น๔ การที่พระเจ้าบุเรงนองส่งทูตไปลังกาเพื่อ  ขอพระเขี้ยวแก้ว และการจ�ำลองเจดีย์รุวันเวลิมาสร้างเป็นเจดีย์กวงมูดอ เมืองสะแคง  ในรัชกาลพระเจ้าตลุงมิน สมัยราชวงศ์อังวะรุ่นหลัง (นยองยาน)

รูปแบบโดยรวมของสถูป ในศิลปะลังกา

สถูปลังกาในศิลปะอนุราธปุระสามารถศึกษาตัวอย่างจากเจดียร์ วุ นั เวลิองค์จริง  (รูปที่  ๙๒) เจดีย์จ�ำลองที่รุวันเวลิ  (รูปที่  ๙๓-๙๔) เจดีย์เชตวัน (รูปที่  ๙๕-๙๖) และ  เค้าโครงหัตถีปราการของเจดีย์มหิยังคณะ (รูปที่  ๙๗)

|

ผศ.ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี 159


บทที่ ๖

เจติยวิหาร (กู่ปายา)  ในศิลปะศรีเกษตร ที่เมืองศรีเกษตรปรากฏตัวอย่างของเจติยวิหาร (กู่) ที่ส�ำคัญจ�ำนวน ๓ แห่ง คือ เจดีย์เซกูตะวันออก เจดีย์เลมเยธนา และเจดีย์เบเบ โดยเจดีย์ทั้งสามนี้มีบทบาท ส�ำคัญในการปูพื้นฐานให้กับเจติยวิหารในศิลปะพุกามเป็นอย่างยิ่ง

เจดีย์เซกูตะวันออก

- ประเด็นเรื่องแผนผังแบบครรภคฤหะ-มณฑป

- ประเด็นเรื่องการเรียงอิฐแบบแนวตั้ง (True Arch)

เจดีย์เซกูตะวันออก (รูปที่  ๑๕๔) อยู่ในผังครรภคฤหะ-มณฑป (รูปที่  ๑๕๕) ซึ่งเป็นแผนผังของเทวาลัยในศิลปะอินเดีย อนึ่ง ในศิลปะอินเดีย แผนผังแบบครรภคฤหะ-มณฑปมีที่มาจากวัดถ�้ำและ เทวาลัยในศาสนาฮินดู   ต่อมาได้มกี ารน�ำแผนผังดังกล่าวมาใช้กบั อาคารในศาสนาพุทธ ด้วย เช่น วิหารมหาโพธิท์ พี่ ทุ ธคยา ในศิลปะคุปตะ และอาคารหมายเลข ๑๒, ๑๓ และ ๑๔ ที่นาลันทา ในศิลปะปาละตอนต้น การที่ศิลปะปาละเริ่มน�ำแผนผังแบบนี้มาใช้กับอาคารในศาสนาพุทธ จึงน่าจะ เป็นพื้นฐานให้กับเจดีย์เซกูตะวันออกในศิลปะศรีเกษตร และท�ำให้ต่อมากลายเป็น แผนผังปกติในศิลปะพุกาม ปัจจุบันเจดีย์องค์นี้หักพังมาก  อย่างไรก็ตามที่ด้านทั้งสี่ของครรภคฤหะยัง ปรากฏซุม้ วงโค้งแหลมซึง่ ปรากฏ “การเรียงอิฐแบบแนวตัง้ ” (True Arch) (รูปที ่ ๑๕๖) ดังทีท่ ราบกันโดยทัว่ ไปแล้วว่า “การเรียงอิฐแบบแนวตัง้ ” เป็นลักษณะทีพ่ บใน 246

| เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ


ศิลปะโรมันและศิลปะจีน  ในขณะที่  “การเรียงอิฐแบบสันเหลื่อม” (Corbelled Arch) กลับเป็นการเรียงอิฐที่พบในศิลปะอินเดียและศิลปะเอเชียอาคเนย์ส่วนมาก ศิลปะพม่าจึงเป็นศิลปะเดียวในเอเชียอาคเนย์ก่อนพุทธศตวรรษที่  ๑๙ ที่ สามารถก่ออาคารโดยใช้ระบบ True Arch ได้   หลักฐานการเรียงอิฐแบบแนวตั้งนั้น ปรากฏมาแล้วตั้งแต่ศิลปะศรีเกษตร คือที่เจดีย์เซกูตะวันออก ก่อนที่จะแพร่หลาย จนเป็นรูปแบบทั่วไปในศิลปะพุกาม เนื่องจากระบบ True Arch ปรากฏอยู่ในศิลปะโอริสสาในอินเดียตะวันออก เช่นกัน เช่น ที่วัดอุทัยคีรี  ศิลปะโอริสสาสมัยเภามการ (รูปที่  ๑๕๗) และเทวาลัย จอสัฐโยคินี  เมืองภูวเนศวร ศิลปะสมัยโสมวังศี-คงคาตะวันออก จึงเป็นไปได้หรือไม่ ทีร่ ะบบ True Arch ในศิลปะศรีเกษตรและพุกามอาจมีความเกีย่ วข้องกับศิลปะโอริสสา รูปที่  ๑๕๔   เจดีย์เซกูตะวันออก  ได้รับอิทธิพลแผนผังแบบ ครรภคฤหะ-มณฑป มีที่มาจากวัดถ้ำ�และเทวาลัย ในศาสนาฮินดูของอินเดีย

รูปที่  ๑๕๕  แผนผัง แบบครรภคฤหะ-มณฑป ของเจดีย์เซกูตะวันออก  (ที่มา : G.H. Luce, Phases  of Pre-Pagan Burma,  Vol II, fig. 23-25.)

ผศ.ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี

| 247


เจดีย์เบเบ

เจดียเ์ บเบ (รูปที ่ ๑๖๒) เป็นเจติยวิหารทีเ่ มืองศรีเกษตรเพียงแห่งเดียวทีย่ งั เหลือ “ยอดเจดีย”์  ครบสมบูรณ์   และท�ำให้ทราบว่า ด้านบนของเจติยวิหารในศิลปะศรีเกษตร นัน้ มีการน�ำเอา “เจดียท์ รงลอมฟาง-เจดียท์ รงกระบอก” คล้ายเจดียป์ ยามา เจดียป์ ยาจี และเจดีย์ โบโบจีมาประดับไว้บนยอด ในศิลปะอินเดียเหนือ ด้านบนสุดของอาคารย่อมเป็นทรงศิขระเสมอ แม้ว่า อาคารหลังนัน้ จะเป็นอาคารทางพุทธศาสนาก็ตาม เช่น วิหารมหาโพธิท์ พี่ ทุ ธคยา  การ น�ำเอา “เจดีย์” มาประดับบนยอดแทน จึงดูเหมือนว่าเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะ ศรีเกษตรที่แสดงพัฒนาการแตกต่างไปจากศิลปะอินเดียแล้ว การน�ำเจดียม์ าประดับไว้บนยอดย่อมเป็นต้นเค้าให้กบั  “เจติยวิหารยอดเจดีย”์ ในศิลปะพุกาม

รูปที่  ๑๖๒  เจดีย์เบเบ  เมืองศรีเกษตร ทำ�ให้ทราบว่า เจติยวิหารในศิลปะศรีเกษตร มียอดเป็น “เจดีย์ทรงลอมฟางเจดีย์ทรงกระบอก” และเป็น ต้นเค้าให้กับ “เจติยวิหารยอด เจดีย์” ในศิลปะพุกาม

252

| เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ


บทที่ ๗

เจติยวิหาร (กูป่ ายา) ในศิลปะพุกาม เจติยวิหาร๑ หรือ “กูป่ ายา”๒ (Gu Hpaya) ในศิลปะพุกาม มีพฒ ั นาการทีก่ า้ ว  หน้าขึน้ มากกว่าศิลปะศรีเกษตร และอาจถือได้วา่ เป็นระยะทีท่ ำ� ให้เกิด “เจติยวิหารแบบ  พม่า” อย่างแท้จริง  อนึง่  “เจติยวิหารแบบพม่า” นีต้ อ่ มาจะสืบทอดไปถึงศิลปะอมรปุระ-  มัณฑเลด้วย ส�ำหรับการศึกษาเจติยวิหารในศิลปะพุกาม สามารถศึกษาโดยแยกองค์ประกอบ  ออกได้เป็น ๗ ส่วน ดังนี้

แผนผัง

แผนผังแบบครรภคฤหะ-มณฑป

แผนผังแบบครรภคฤหะ-มณฑป (รูปที่  ๑๖๓-๑๖๔) คือ แผนผังที่ประกอบ  ด้วยองค์ประกอบ ๓ ประการ ได้แก่  (๑) “ครรภคฤหะ” อันหมายถึงห้องประดิษฐาน  พระพุทธรูป  (๒) ทางประทักษิณภายใน  และ (๓) “มณฑป” อันหมายถึงห้องซึง่ ต่อยืน่   ออกมาด้านหน้า แผนผังแบบครรภคฤหะ-มณฑปนีป้ รากฏมาก่อนแล้วเป็นปกติในศิลปะอินเดีย  สมัยที ่ ๔ ทั้งในศิลปะอินเดียเหนือและศิลปะอินเดียใต้

- ครรภคฤหะ

ครรภคฤหะมักมีลกั ษณะเป็นห้องขนาดเล็กส�ำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป  มี  ทางเข้าทางด้านหน้าเพียงทางเดียว ส่วนด้านทีเ่ หลือทึบตันโดยอาจมีการเจาะช่องหน้าต่าง  บ้าง  ห้องขนาดเล็กนี้ตรงกับต�ำแหน่งของยอดศิขระหรือยอดเจดีย์เสมอ ส�ำหรับแผนผังแบบนี ้ ผนังของครรภคฤหะยังมีหน้าที่ในการรับน�ำ้ หนักของยอด  ศิขระหรือยอดเจดีย์  อันแตกต่างไปจากแผนผังแบบ “แกนกลาง-ครรภคฤหะสี่ทิศ-

|

ผศ.ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี 253


ค�ำอธิบายศัพท์ กโปตะ (ส.) กลศะ (ส.) กาบบน-กาบล่าง-   ประจ�ำยามอก (ท.) กาบเต็ม/กาบครึ่ง (ท.) กุมภะ (ส.) กูฑุ  (ทมิฬ) เก็จกรรณะ (ส.) เก็จประติภัทระ (ส.) เก็จภัทระ (ส.) ขูระ (ส.) ครรภคฤหะ (ส.) ควากษชาละ (ส.) คอศิขระ (ท.) เคล็ก (พม่า) งวงไอยรา (ท.)

หลังคาลาดที่ประดับด้วยกูฑุ  มักใช้เป็นองค์ประกอบของฐานบัว บัวลูกแก้วเต็มท้องไม้ตามแบบศิลปะอินเดีย โปรดดู  “ลวดบัวลูกแก้ว” คือ ลวดลายตกแต่งเสาติดผนัง โดยกาบบน มีลกั ษณะเป็นสามเหลีย่ ม ห้อยลง กาบล่างมีลกั ษณะเป็นสามเหลีย่ มตัง้ ขึน้  และประจ�ำยามอก มีลกั ษณะเป็นรูปกลีบบรรจุภายในกรอบสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั หรือสีเ่ หลีย่ ม ขนมเปียกปูนโดยประดับอยู่ที่กึ่งกลางเสา กาบเต็ม คือ กาบซึง่ ประดับ “เสาติดผนังทีด่ า้ น” กาบมีลกั ษณะเป็น สามเหลีย่ มเต็ม ส่วนกาบครึง่  คือ กาบซึง่ ประดับ “เสาติดผนังทีม่ มุ ” กาบมีลกั ษณะเป็นสามเหลีย่ มมุมฉากเนือ่ งจากอีกครึง่ หนึง่ ของกาบ นั้นประดับอยู่ที่อีกด้านหนึ่งของเสา คือ “บัวคว�ำ่ ” อันเป็นองค์ประกอบส่วนล่างของฐานบัว หน้าบันรูปวงโค้งเกือกม้าเลียนแบบเครื่องไม้  ปรากฏเสมอในศิลปะ อินเดียและศิลปะในเอเชียอาคเนย์ เก็จมุมของอาคารที่ยกเก็จ โปรดดู  “ปัญจรถะ” เก็จขนาบเก็จประธานของอาคารทีย่ กเก็จ โปรดดู  “ปัญจรถะ” เก็จประธานของอาคารที่ยกเก็จ โปรดดู  “ปัญจรถะ” หน้ากระดานล่าง คือ ส่วนระนาบด้านล่างสุดของฐานบัว คือ ห้องขนาดเล็กซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูป เป็นส่วนส�ำคัญที่สุด ของเจติยวิหาร (กู่) ต�ำแหน่งของห้องนี้มักตรงกับยอดเจดีย์ กูฑเุ ต็มอัน-ครึง่ อันทีป่ ระดับต่อเนือ่ งกันเป็นแผง ดูคล้ายแห (ชาละ) มักใช้ประดับเก็จต่างๆ ของศิขระ โปรดดูค�ำว่า “วรัณฑิกา” คือ ส่วนตกแต่งด้านบนกรอบซุม้ จระน�ำ ซึง่ มีลกั ษณะเป็นแท่งตัง้ ตรง คล้ายฝักเพกา ภาษาไทยเรียกส่วนนีว้ า่  “ฝักเพกา” คือ ปลายกรอบซุ้มซึ่งสะบัดขึ้นดูคล้ายงวงช้าง ในศิลปะพุกามมัก แตกร่างด้วยรูปมกรชูงวง ภาษาพม่าเรียกส่วนนี้ว่า “เช”

หมายเหตุ ส. – สันสกฤต ป. – บาลี ท. – ไทย หรือภาษาสันสกฤต-บาลีที่ถูกนำ�มาใช้ ในความหมายแบบไทยแล้ว

402

| เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ


เจติยวิหาร (ท.) ฉัตรวลี  (ส.) ซุ้มจระน�ำ (ท.) ซุ้มหน้าต่าง (ท.) ซุ้มทับยอดปราสาท (ท.) ฐานเขียง (ท.) ฐานตรีมาลา (ส., สิงหล) ฐานบัวแบบพม่าแท้  (ท.) ฐานบัวแบบอินเดีย (ท.) ฐานปรับมุม/   ฐานปรับรูปทรง (ท.) ฐานประทักษิณ (ท.) ท้องไม้  (ท.) นรสิงห์  (ส.) บัลลังก์ (ท.)

คือ เจดียซ์ งึ่ มีเรือนธาตุเข้าไปภายในได้  เป็นเจดียท์ มี่ ตี น้ ก�ำเนิดมาจาก อาคารทรงศิขระในศิลปะอินเดีย และต่อมาจะกลายเป็นต้นก�ำเนิด ให้กับเจดีย์ทรงปราสาทยอดในศิลปะไทย  ภาษาพม่าเรียกเจดีย์ ประเภทนี้ว่า “กู่” ซึ่งอาจกลายมาจากค�ำว่า “คูหา” คือ ชั้นฉัตรด้านบนของอัณฑะ มักเป็นฉัตรหลายชั้นซ้อนกันขึ้นไป อย่างชัดเจน ฉัตรวลีนี้เป็นต้นก�ำเนิดให้กับ “ปล้องไฉน” ซุม้ ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือประติมากรรม แสดงการจ�ำลองอาคาร และแสดงคติว่าพระพุทธรูปหรือประติมากรรมนั้นๆ ประทับอยู่ใน ปราสาท คือ หน้าต่างซึง่ มีกรอบซุม้ โดยรอบ กรอบซุม้ นีแ้ สดงการจ�ำลองอาคาร เสมอ คือ ปรากฏเสารองรับหน้าบัน ส่วนด้านบนอาจปรากฏยอด ปราสาทในบางครั้ง ซุม้ ซึง่ มียอดปราสาทอยูด่ า้ นบนตามคติ  “ปราสาทซ้อนปราสาท” โดย ทีซ่ มุ้ อยู่ในรูปของปราสาทหลังหนึง่  ส่วนยอดก็อยู่ในรูปของปราสาท อีกหลังหนึ่ง ฐานตัดตรงซึ่งไม่ประกอบด้วยลวดบัวใดๆ คล้ายเขียง คือ ฐาน ๓ ชัน้ ซึง่ รองรับอัณฑะในศิลปะลังกา ฐานตรีมาลานีอ้ าจอยู่ ในรูปของฐานเขียงหรือฐานบัวก็ ได้ ฐานบัวทีม่ ลี กู แก้วและมีทอ้ งไม้เจาะช่องประดับภาพเล่าเรือ่ ง เป็นฐาน ที่นิยมในศิลปะพุกาม ฐานบัวทีม่ ลี กู แก้วเต็มท้องไม้  ฐานแบบนีม้ กั ปรากฏเฉพาะเจดียร์ นุ่ เก่า ทีส่ ดุ ในศิลปะพุกาม โดยเฉพาะเจดียก์ ลุม่ ที่ได้อทิ ธิพลมาจากอินเดีย คือ ฐานที่คั่นระหว่างฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมกับองค์ระฆังกลม มักปรากฏเป็นฐานแปดเหลี่ยมเพิ่มมุมเพื่อ “เชื่อมต่อ” รูปทรงจาก แผนผังแบบสีเ่ หลีย่ มเพิม่ มุมให้กลายเป็นแผนผังทรงกลม ฐานแบบนี้ มักปรากฏกับเจดีย์แบบพม่าแท้ ฐานซึง่ ด้านบนมีลานส�ำหรับเดินประทักษิณ ฐานแบบนีจ้ ำ� เป็นต้องมี บันไดเพื่อให้คนสามารถขึ้นไปเดินประทักษิณด้านบนได้ ระนาบที่อยู่ด้านในสุดของฐานบัว ครึง่ คนครึง่ สิงห์  คือ มีหวั เป็นคนแต่มตี วั เป็นสิงห์  นรสิงห์อาจใช้เป็น ประติมากรรมประดับมุมเจดีย์ ในบางครั้ง โปรดดูคำ� ว่า “หรรมิกา” ผศ.ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี

| 403


เจดีย์ ในศิลปะพม่า-มอญ :

เจติยวิหาร (กู่ปายา-Gu Hpaya)

เจติยวิหาร หรือ กู่ปายา (Gu Hpaya) คือ เจดีย์ซึ่งมีเรือนธาตุเข้าไปภายในได้  เป็นเจดีย์ที่มีต้นกำ�เนิดมาจาก อาคารทรงศิขระในศิลปะอินเดีย และต่อมาจะกลายเป็นต้นกำ�เนิดให้กับเจดีย์ทรงปราสาทยอดในศิลปะไทย  เจติ ย วิ ห ารที่ มี พั ฒ นาการสู ง สุ ด   ได้ แ ก่   เจติ ย วิ ห ารในศิ ล ปะพุ ก าม และอาจถื อ ได้ ว่ า เป็ น ระยะที่ ทำ � ให้ เ กิ ด เจติยวิหารแบบพม่าอย่างแท้จริง เจติยวิหารแบบพม่านี้ต่อมาจะสืบทอดไปถึงศิลปะอมรปุระ-มัณฑเลด้วย

เจดีย์ ในศิลปะพม่า-มอญ

เจดีย์ทรงะระฆังในศิลปะพม่ามีพื้นฐานมาจากเจดีย์ ในศิลปะอินเดียและลังกาหลากหลายสกุล โดยแต่ละกลุ่มมี ลักษณะเฉพาะของตนเอง บางกลุ่มมีบัลลังก์  บางกลุ่มก็ไม่มีบัลลังก์  เจดีย์ทรงระฆังในศิลปะพม่า-มอญ มีอยู่  ๕ กลุ่ม คือ เจดีย์ทรงลอมฟางและทรงกระบอกแบบปยู  เจดีย์ทรง ระฆังกลุ่มอิทธิพลปาละ เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มพม่าแท้  เจดีย์ทรงระฆังกลุ่มอิทธิพลลังกา และเจดีย์แบบมอญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. เชษฐ์   ติงสัญชลี

เจดีย์ทรงระฆัง (เซดี-Zedi)

หมวดศิลปะไทย ISBN 978-974-7727-80-7 ราคา ๔๒๐ บาท

๔๒๐.-

พัฒนาการทางด้านรูปแบบ ตั้งแต่ศิลปะศรีเกษตร ถึงศิลปะมัณฑเล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. เชษฐ์   ติงสัญชลี


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.