ISBN 978-974-7727-71-5 หนังสือ ชุด “อาเซียน” ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย : รัฐจารีตบนหมู่เกาะ ความเป็นสมัยใหม่ แบบอาณานิคม และสาธารณรัฐแห่งความหลากหลาย (ปรับปรุงจาก อินโดนีเซีย รายา : รัฐจารีต สู่ “ชาติ” ในจินตนาการ) ผู้เขียน ทวีศักดิ์ เผือกสม พิมพ์ครั้งที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๕ จำานวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๔๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำานักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด ที่ปรึกษาด้านต้นฉบับ บรรณาธิการเล่ม ผู้ช่วยบรรณาธิการ/ พิสูจน์อักษร ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท พิมพ์ที่ จัดจำาหน่าย
ดร. ธิดา สาระยา อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ วรินวิตตา ดารามาตร์ นฤมล ต่วนภูษา ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ทวีศักดิ์ เผือกสม. ชุด “อาเซียน” ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย : รัฐจารีตบนหมู่เกาะ ความเป็นสมัยใหม่ แบบอาณานิคม และสาธารณรัฐแห่งความหลากหลาย.--กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕. ๓๒๐ หน้า. ๑. อินโดนีเซีย--ประวัติศาสตร์. ๒. อินโดนีเซีย--การเมืองและการปกครอง. I. ชื่อเรื่อง. ๙๕๙.๘ ISBN 978-974-7727-71-5
สำานักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำากัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำานวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำานวยการฝ่ายศิลป์ จำานงค์ ศรีนวล ผู้อำานวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ บรรณาธิการสำานักพิมพ์ อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ทีป่ รึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
2
ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
สารบัญ
คำานำาสำานักพิมพ์ คำานำาเสนอ กิตติกรรมประกาศ
๕ ๖ ๑๐
บทนำา
๑๒
บทที่ ๑
รัฐและสังคมจารีตบนหมู่เกาะก่อนอรุณรุ่ง แห่งยุคอาณานิคม - ลักษณะของรัฐจารีตในหมู่เกาะ - การสถาปนาอำานาจมุสลิม ณ หมู่เกาะอินดีส - การเผยแผ่อิสลามในชวายุคแรก - กำาเนิดรัฐมุสลิมบนชายฝั่งทะเลชวา : เดอมัก - หัวเมืองมุสลิมชวาในชายฝั่งทะเลเหนือ
บทที่ ๒
การตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฮอลันดา - สภาพของ “หมู่เกาะ” ในช่วงแรก - การเข้ามาของดัตช์ - การสถาปนาอาณานิคมดัตช์บนเกาะชวา - การกระชับอำานาจของอาณานิคม - และสงครามชวา - ระบบการเพาะปลูก-เพชรบนมงกุฎแห่งจักรวรรดิ - ระบบอาณานิคมและสังคมอินดีส
๑๗ ๑๗ ๒๖ ๓๗ ๕๒ ๕๖
ทวีศักดิ์ เผือกสม
๖๔ ๖๔ ๗๑ ๘๘ ๙๔ ๑๑๗
3
บทที่ ๓ บทที่ ๔ บทที่ ๕
ความเป็นสมัยใหม่แบบอาณานิคม การปฏิวัติ และการสร้างชาติ - ความเป็นสมัยใหม่แบบอาณานิคม - การยึดครองของญี่ปุ่นและ การปฏิวัติของอินโดนีเซีย การต่อต้านคอมมิวนิสต์และ ระบบอำานาจนิยมในยุคระเบียบใหม่ - การเมืองอินโดนีเซียยุคหลังอาณานิคม - เหตุการณ์ “G-30-S” ใน ค.ศ. ๑๙๖๕ - และการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ - ชะตากรรมของประวัติศาสตร์ในยุค - ระเบียบใหม่ - การสถาปนา “ยุคระเบียบใหม่” - (Orde Baru) - การเมืองอิสลามในอินโดนีเซียยุคระเบียบใหม่ การกระจายอำานาจและการเมืองอินโดนีเซีย ในยุคปฏิรูป - อวสานของยุคระเบียบใหม่ - ยุคแห่งการปฏิรูป (Reformasi) และ การกระจายอำานาจสู่ท้องถิ่น - การเมืองอิสลามหลังยุคระเบียบใหม่
บทสรุป บรรณานุกรม
4
ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
๑๖๔ ๑๖๔ ๑๙๕ ๒๑๕ ๒๑๕ ๒๒๒ ๒๓๐ ๒๓๖ ๒๕๒ ๒๖๔ ๒๖๔ ๒๗๖ ๒๘๗ ๓๐๕ ๓๐๙
คำานำาสำานักพิมพ์
ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย : รัฐจารีตบนหมู่เกาะ ความเป็นสมัยใหม่ แบบอาณานิคม และสาธารณรัฐแห่งความหลากหลาย ของ ดร. ทวีศกั ดิ ์ เผือกสม เล่มนี ้ เป็นการปรับปรุงมาจากเรือ่ ง อินโดนีเซีย รายา : รัฐจารีต สู่ “ชาติ” ในจินตนาการ ของผู้เขียนที่สำานักพิมพ์เมืองโบราณได้เคย จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ ในชุด “ประวัตศิ าสตร์สาำ หรับประชาชน” ทว่า การปรับปรุงครั้งนี้ผู้เขียนได้ปรับปรุงเนื้อเรื่องไปมากพอสมควร รวมถึง การเพิม่ ภาพประกอบจากผูเ้ ขียน ซึง่ จะทำาให้ผอู้ า่ นเข้าใจเกีย่ วกับประเทศ อินโดนีเซียตั้งแต่ยุคจารีตที่มีลักษณะการปกครองและสังคมแบบดั้งเดิม ซึ่งได้รับอิทธิพลศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพุทธศาสนานิกายมหายาน มาสู่ยุคที่ชาติตะวันตกเข้ามา และยุคหลังได้รบั เอกราชจากเนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) ทีก่ อ่ ร่างเป็นประเทศอินโดนีเซียปัจจุบันซึ่งมีประชากรหลาก หลายและมีจำานวนมากที่สุดในกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน สำานักพิมพ์ฯ หวังว่าสาระประวัติศาสตร์ของประเทศอินโดนีเซีย เล่มนีไ้ ม่เพียงแต่จะทำาให้ผอู้ า่ นได้รจู้ กั อดีตของประเทศร่วมภูมภิ าคเท่านัน้ แต่ยังเพื่อความเข้าใจต่อผู้คนในประเทศอื่น รวมทั้งจะเป็นแนวทางให้ เราได้เรียนรู้ในการดำาเนินนโยบายในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อการจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนจะสัมฤทธิ์ผลใน พ.ศ. ๒๕๕๘ นี้
สำานักพิมพ์เมืองโบราณ มิถุนายน ๒๕๕๕
ทวีศักดิ์ เผือกสม
5
คำานำาเสนอ
อ่านเพียงแค่ชอื่ อินโดนีเซีย รายาหรือ “มหารัฐอินโดนีเซีย” ผูอ้ า่ นอาจรูส้ กึ ไม่คนุ้ เคยนัก แต่การดำาเนินเรือ่ งของอาจารย์ทวีศกั ดิ ์ เผือกสม ตัง้ แต่หน้าแรก จนหน้าสุดท้าย ดำาเนินไปเหมือนลูกคลืน่ ซึง่ ซัดกันเป็นทอดๆ ในท้องทะเล ทีใ่ นเวลาของประวัตศิ าสตร์เรียกทะเลนีว้ า่ ทะเลจีนใต้ และ ทะเลชวา ตัว ละครนอกจากชาวนำา้ พืน้ เมืองแล้ว ก็มจี นี อินเดีย และพ่อค้าต่างชาติแดนไกล ปัจจุบนั อยูต่ รงรอยต่อระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟกิ ซึง่ กำาลังเป็น เวทีของมหาอำานาจโลกตะวันตกทีก่ ารปะทะทางความคิดกำาลังแหลมคม และจากมุมมองของประเทศไทย เวทีนอี้ ยูไ่ ม่ใกล้ไม่ไกลจากเราจนเกินไปนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านยืนอยู่ตรงภาคใต้ของประเทศไทย อินโดนีเซีย รายา : รัฐจารีต สู ่ “ชาติ” ในจินตนาการ คือหนังสือ เล่มเล็กๆ อีกเล่มหนึง่ ในชุดประวัตศิ าสตร์สาำ หรับประชาชน ซึง่ ทางสำานักพิมพ์ เมืองโบราณภูมใิ จเสนอต่อท่านผูอ้ า่ น โดยเนือ้ หาความเป็นมาแล้ว ประวัต-ิ ศาสตร์อนิ โดนีเซียค่อนข้างซับซ้อน เพราะเป็นเรือ่ งการรวมตัวต่อสู้ ขัดแย้ง ของหมูเ่ กาะหลายเกาะซึง่ ล้วนมีเจ้าอำานาจปกครองควบคุมอยูม่ านานกาเล การรวมประเทศในชือ่ “อินโดนีเซีย” เป็นเรือ่ งใหม่ แม้จะเกิดขึน้ หลังจาก ถูกดัตช์ยดึ ครองเป็นอาณานิคม แต่กไ็ ม่ได้หมายความว่าการรวมอินโดนีเซีย ไม่ใช่ความต้องการของคนพืน้ เมือง ประวัตศิ าสตร์อนิ โดนีเซียมิใช่ประวัต-ิ ศาสตร์ปลดแอกจากการเป็นอาณานิคมดังเข้าใจกันทัว่ ไปเท่านัน้ ทีจ่ ริงเป็น ประวัตศิ าสตร์ของการสร้างชาติภายใต้ชอื่ อินโดนีเซียควบคูก่ นั ด้วยเงือ่ นไข ความคิดเช่นนี้เอง ผู้เขียนทำาให้หนังสือประวัติศาสตร์อินโดนีเซียเล่มนี้ม ี เอกลักษณ์เฉพาะตนในการนำาเสนอ ผู้เขียนเริ่มตั้งแต่ลักษณะของรัฐแบบจารีตที่ไม่มีขอบเขตพื้นที่และ
6
ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
พรมแดนชัดเจนแน่นอน โดยอ้างอิงสิง่ ทีข่ า้ พเจ้าอยากเรียกรวมๆ ว่า “สำานวน ความคิด” ของผู้รู้ ๓ ท่าน คือ Ben Anderson, O. W. Wolters และ นิธ ิ เอียวศรีวงศ์ แต่สาำ นวนเป็นกันเองของผูเ้ ขียนทำาให้เรือ่ งราวอันมีราย- ละเอียดและความคิดซับซ้อนเข้าใจได้ง่ายขึ้น เราสามารถเห็นภาพได้ว่า อำานาจของรัฐจารีตนัน้ เกาะกลุม่ อยูเ่ ฉพาะตัวบุคคล จนเกิดการสร้างศูนย์ อำานาจทางการเมืองขึ้นในแต่ละยุคสมัย บางเวลาเกิดเป็น “มหาอำานาจ น้อยๆ” ดังกรณีของมะละกาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ อาเจะห์ในคริสต์ ศตวรรษที ่ ๑๖ ฟันเฟืองทีส่ าำ คัญอีกตัวหนึง่ ในการเปลีย่ นแปลงโครงสร้าง อำานาจนี้ ผู้เขียน เรียกว่า “พ่อค้าเอเชีย” ชนกลุ่มนี้เองที่เผชิญกับการ เข้ามาของชาติตะวันตก เช่นโปรตุเกส ดัตช์ ในคริสต์ศตวรรษที ่ ๑๖ ทีส่ ดุ หมู่เกาะก็ตกเป็นอาณานิคมของมหาอำานาจตะวันตก จากนั้นเราก็ได้รับ รู้ถึงการสร้างชาติอินโดนีเซีย กำาเนิดของชาติในจินตนาการเป็นอีกประเด็นหนึง่ ซึง่ ผูเ้ ขียนตัง้ ข้อสังเกต ไว้ และทำาให้หนังสือเล่มนีน้ า่ สนใจ ต่างจากการนำาเสนอประวัตคิ วามเป็นมา ของประเทศใดประเทศหนึง่ แบบเดิมๆ ผูเ้ ขียนกล่าวถึงชนชัน้ ใหม่ทเี่ กิดขึน้ ในบริบทใหม่ของการเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจสังคม ไม่ได้มพี นื้ ฐานมา จากสายโลหิตของชาติตระกูล คนกลุม่ นีเ้ องเป็นกลุม่ แรกทีเ่ กิดความตืน่ ตัว ทางการเมือง เกิดจินตนาการถึงความเป็นชาติ “อินโดนีเซีย” (ซึง่ ชือ่ นีถ้ อื กำาเนิดมาจากตะวันตก) เป็นทีน่ า่ สังเกตว่าจินตนาการเรือ่ ง “ชาติ” ซึง่ มีผพู้ ยายามจะสร้างขึน้ มานัน้ ดำาเนินไปพร้อมกับขบวนการทำาให้ศาสนาอิสลามทันสมัยและไม่ผดิ เพี้ยนไปจากเดิม ผู้ร่วมในขบวนการหลายคนมีการศึกษาจากเมกกะ ถึง กระนัน้ ยังมีขอ้ ความเล็กๆ ซึง่ ผูเ้ ขียนอุตส่าห์แทรกไว้ให้ผอู้ า่ นคิดสมบูรณ์ขนึ้ “ขณะเดียวกันนัน้ ชาวมุสลิมดัง้ เดิมในอินโดนีเชีย โดยเฉพาะทีเ่ ป็นเจ้าของ ทีด่ นิ หรือประกอบการค้าเป็นเจ้าของทุนรายย่อยอยูต่ ามท้องถิน่ เริม่ รูส้ กึ ไม่พอใจพวกหัวสมัยใหม่จากตะวันออกกลาง...” เหล่านีใ้ ห้ขอ้ คิดอะไรเกีย่ ว
ทวีศักดิ์ เผือกสม
7
กับประวัตศิ าสตร์ภาคใต้ของเราบ้างหรือไม่ อย่างไร น่าทีผ่ สู้ นใจประวัตศิ าสตร์ จะนำามาไตร่ตรอง และนีค่ อื คุณค่าทีห่ นังสือเล่มนีใ้ ห้ตอ่ ผูอ้ า่ น นอกเหนือไป จากเนื้อหาของประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย รายา มีหลายเรื่องในหนังสือเล่มนี้ซึ่งผู้เขียนเปิดโอกาสให้ผู้อ่านสัม ผัส ความคิด เช่น เรือ่ งการเติบโตของพรรคคอมมิวนิสต์และการสลายตัว จบลง ด้วยการกวาดล้าง ผู้เขียนบันทึกว่า “มีการประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตโดย เกีย่ วข้องกับการกวาดล้างครัง้ นี.้ .. ผูท้ ถี่ กู จับกุมมีทงั้ ส่งขึน้ ศาล เนรเทศ และ ขังไว้ชวั่ คราว โดยคนเหล่านีถ้ กู ก�าหนดให้ถอื บัตรประชาชนทีร่ ะบุวา่ เคยมี ส่วนเกีย่ วข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์อนิ โดนีเซียจนกระทัง่ ถึงปัจจุบนั ” ผูอ้ า่ น เช่นข้าพเจ้าอยากบอกว่า มนุษย์ชา่ งมีความสามารถทำาให้เกิดการแปลกแยก ระหว่างกันได้ถึงเพียงนี้ ! และอีกตอนหนึง่ เมือ่ กล่าวถึงการจลาจลทีผ่ คู้ นเรือนแสนเรือนล้าน ทัว่ ประเทศพากันหลัง่ ไหลออกมาบนท้องถนน ทีส่ ดุ นายพล สุฮารโตตัดสินใจ ประกาศลงจากตำาแหน่ง ผูเ้ ขียนบันทึกแทรกไว้ในวงเล็บอย่างคมคายว่า “มี เรือ่ งเล่ากันในหมูช่ าวชวาว่า การทีน่ ายพล สุฮารโตได้เดินทางไปเข้าเฝ้า... ในราชส�านักสุระการตาในช่วงท้ายก่อนหมดอ�านาจ คือสาเหตุทที่ า� ให้ “ศักติ” ทีเ่ คยมลังเมลืองของนายพล สุฮารโตสูญสลายไป เพราะว่าอ�านาจนัน้ มีได้ แค่เพียงหนึ่งเดียว’” สุดท้ายข้าพเจ้าในนามสำานักพิมพ์เมืองโบราณ ขอขอบคุณผูเ้ ขียนที่ มีความอุตสาหะวิรยิ ะนำาเสนอความรู ้ ความคิด เกีย่ วกับเรือ่ งราวของประวัต-ิ ศาสตร์ซงึ่ ไม่งา่ ยนักทีจ่ ะเข้าใจให้เป็นเรือ่ งน่าสนใจ และในฐานะนักประวัต-ิ ศาสตร์ ขอชืน่ ชมผูเ้ ขียนถึงความสามารถในการใช้ขอ้ มูลหลักฐานโดยมิได้ ละเลยสิง่ ซึง่ อาจไม่เป็นทีส่ นใจของอีกหลายคน เช่น ตำานาน นิทาน (เพราะ ดูออกจะล้าสมัยสำาหรับยุค) ใครเลยจะคิดว่าตำานานทำาให้เข้าใจประวัตศิ าสตร์ ของปัจจุบนั สมัยด้วย ดังทีผ่ เู้ ขียนเล่าถึงตำานานเมืองมะตะรัมผสมผสานกับ ข้อมูลประวัตศิ าสตร์อนั เป็นเอกสารต่างประเทศอีกชุดหนึง่ ผลก็คอื ผูอ้ า่ น
8
ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
มีโอกาสซึมซับความจริงเกีย่ วกับการทีด่ ตั ช์เข้าครอบครองมะตะรัม สะท้อน ให้เห็นการเข้ามาของระบอบอาณานิคมตะวันตกเหนือหมูเ่ กาะอินโดนีเซีย และแน่นอน ตำานานทำาให้เราเห็นมุมมองอันมีสสี นั เหมือนอ่านวรรณคดีเรือ่ ง อิเหนา และบันทึกประวัตศิ าสตร์ไปพร้อมกัน นัน่ คือตำานานเล็กๆ ซึง่ ทำาให้ หนังสือประวัตศิ าสตร์ไม่นา่ เบือ่ เป็นความสามารถเฉพาะตนของผูเ้ ขียนและ ความแหลมคมทางความคิด หนังสือเล่มนีถ้ งึ แม้จะรกไปด้วยชือ่ ศัพท์แสงแปลกๆ ซึง่ เราไม่คนุ้ เคย แต่การรูเ้ ขารูเ้ ราผ่านการอ่านหนังสือก็มคี วามหมายต่อภูมปิ ญ ั ญาอย่างยิง่ มิใช่หรือ
ดร. ธิดา สาระยา สิงหาคม ๒๕๔๗
* “คำานำาเสนอ” นี้ ดร. ธิดา สาระยา ได้เขียนสำาหรับการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ครั้งแรกในชื่อ อินโดนีเซีย รายา : รัฐจารีต สู่ “ชาติ” ในจินตนาการ ซึ่งอยู่ในชุด “ประวัติศาสตร์สำาหรับ ประชาชน” แม้ว่าการพิมพ์ในครั้งนี้ผู้เขียนได้ปรับปรุงเนื้อหาบางส่วน เปลี่ยนชื่อหนังสือ ปรับชือ่ บทและหัวข้อใหม่ แต่กย็ งั คงสาระสำาคัญของเรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์อนิ โดนีเซียเช่น เดิม รวมถึงข้อความบางประโยคที่ ดร. ธิดา กล่าวถึงใน “คำานำาเสนอ” นีก้ ย็ งั คงปรากฏใน เนือ้ เรือ่ ง ด้วยเหตุนที้ างสำานักพิมพ์เมืองโบราณจึงได้นาำ “คำานำาเสนอ” นีม้ าจัดพิมพ์อกี ครัง้ โดยยังคงชื่อหนังสือเดิมตามที่ ดร. ธิดาได้เขียนไว้-บรรณาธิการเล่ม
ทวีศักดิ์ เผือกสม
9
บทนำ�
สาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประเทศทีม่ อี าณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล กินพืน้ ที่ ทั้งภาคพื้นดินและพื้นนำ้ารวมกันแล้วแทบจะใหญ่กว่าทวีปยุโรปทั้งทวีป (ไม่รวมพืน้ ทีใ่ นกลุม่ ประเทศสหภาพโซเวียตเดิม) มีจาำ นวนประชากรมาก เป็นอันดับที่ ๔ ของโลกรองจากจีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ถือเป็น ประเทศทีม่ ปี ระชากรและพืน้ ทีม่ ากทีส่ ดุ ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือในกลุ่มอาเซียน การสำารวจประชากรเมื่อ ค.ศ. ๒๐๑๐ ระบุว่า ใน ปัจจุบันสาธารณรัฐอินโดนีเซียมีประชากรทั้งสิ้น ๒๓๗,๕๕๖,๓๖๓ คน แบ่งเป็นชาย ๑๑๙,๕๐๗,๕๘๐ คน และหญิง ๑๑๘,๐๔๘,๗๘๓ คน โดย ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยูใ่ นเกาะชวามากถึง ๕๘ เปอร์เซ็นต์ ตามด้วย เกาะสุมาตรา ๒๑ เปอร์เซ็นต์ สุละเวสี ๗ เปอร์เซ็นต์ กาลิมนั ตัน (บอร์เนียว) ๖ เปอร์เซ็นต์ บาหลีกบั หมูเ่ กาะนุสาเต็งการา ๖ เปอร์เซ็นต์ และหมูเ่ กาะ โมลุกกะ หรือมาลูกูกับปาปัวอีกราว ๓ เปอร์เซ็นต์
12
ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
สัดส่วนการกระจายตัวของประชากร จำาแนกตามเกาะ ค.ศ. ๑๙๗๑-๒๐๑๐ (ร้อยละ) เกาะ
๑๙๗๑
๑๙๘๐
๑๙๙๐
๒๐๐๐
๒๐๑๐
กาลิมันตัน
๔.๓๓
๔.๕๘
๕.๐๙
๕.๔๙
๕.๘๐
ชวา-มาดุรา
๖๓.๘๙
๖๒.๑๒
๖๐.๒๓
๕๘.๙๓
๕๗.๔๙
นุสาเต็งการา-บาหลี
๕.๕๖
๕.๔๐
๕.๒๗
๕.๓๔
๕.๕๐
มาลูกู-ปาปัว
๑.๔๔
๑.๗๖
๑.๙๖
๒.๐๐
๒.๖๐
สุมาตรา
๑๗.๖๒
๑๙.๐๗
๒๐.๔๔
๒๑.๐๒
๒๑.๓๑
สุละเวสี
๗.๑๖
๗.๐๘
๗.๐๑
๗.๒๓
๗.๓๑
ที่มา : Badan Sensus Statistik, 2010: 14.
ในช่วงศตวรรษทีผ่ า่ นมา จำานวนประชากรในหมูเ่ กาะอินโดนีเซียได้ เพิ่มจำานวนขึ้นจากเดิมอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ในการสำารวจของรัฐบาล อาณานิคมเมื่อ ค.ศ. ๑๙๓๐ พบว่าประชากรในหมู่เกาะแห่งนี้มีอยู่ราว ๖๐.๗ ล้านคน การสำารวจประชากรหลังจากนัน้ อีก ๓๐ ปีใน ค.ศ. ๑๙๖๑ หลังจากที่อินโดนีเซียได้รับเอกราช ระบุว่ามีประชากรอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น เป็น ๙๗.๑ ล้านคน คิดเฉลีย่ ตกอยูใ่ นราวทศวรรษละ ๘.๘ ล้านคน ก่อน จะมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น คือ ๑๑๙.๒ ล้านคนในการ สำารวจเมือ่ ค.ศ. ๑๙๗๑ (เฉลีย่ ปีละ ๒.๒ ล้านคน) เพิม่ เป็น ๑๔๖.๙ ล้าน คนใน ค.ศ. ๑๙๘๐ (เฉลีย่ ปีละ ๒.๘ ล้านคน) และเพิม่ เป็น ๑๗๘.๖ ล้าน คนใน ค.ศ. ๑๙๙๐ (เฉลี่ยปีละ ๓.๒ ล้านคน) และเพิ่มขึ้นเป็น ๒๐๕.๑ ล้านคนใน ค.ศ. ๒๐๐๐ (เฉลี่ยปีละ ๒.๖๕ ล้านคน) ส่วนการสำารวจครั้ง หลังสุดเมือ่ ค.ศ. ๒๐๑๐ มีอตั ราเพิม่ ขึน้ จากเดิมเฉลีย่ ปีละ ๓.๒๔ ล้านคน [Badan Sensus Statistik, 2010: 6.] อันเป็น ผลมาจากการมีชีวิต ยืนยาวมากขึ้นเนื่องจากระบบการแพทย์และการสาธารณสุขสมัยใหม่
ทวีศักดิ์ เผือกสม
13
เป็นต้น หรือเรียกตามชือ่ กลุม่ คน เช่น ชวา มาดุรา บาหลี เป็นต้น ก่อน ที่ขบวนการชาตินิยมจะประดิษฐ์ชื่อเรียกชุมชนทางการเมืองของตนขึ้น ในทศวรรษ ๑๙๒๐ นั้น ดินแดนอาณานิคมในแถบนี้เรียกตามภาษาเจ้า อาณานิคมว่า หมู่เกาะอินดีสหรืออินดีสตะวันออก หมายถึง หมู่เกาะ อินเดียอันเป็นอาณานิคมของดัตช์
16
ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
บทที่ ๑
รัฐและสังคมจารีตบนหมู่เกาะ ก่อนอรุณรุ่งแห่งยุคอาณานิคม
ลักษณะของรัฐจารีตในหมู่เกาะ
ก่อนจะตกเป็นอาณานิคมของดัตช์ หรือเนเธอร์แลนด์ หรือ ฮอลแลนด์-ฮอลันดา อันเป็นชื่อที่สังคมไทยรู้จักคุ้นชินมาตั้งแต่สมัย อยุธยานั้น ดินแดนในหมู่เกาะอินดีส คือกลุ่มรัฐและสังคมแบบจารีต จ�านวนมาก ซึง่ มีชวี ติ ทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรมแตกต่างกันออก ไปในแต่กลุ่มเกาะ โดยมีทั้งกลุ่มชนเผ่าขนาดเล็กที่ตั้งอยู่กลางป่าลึก โดดเดี่ยวบนเกาะอันไกลโพ้น นครรัฐขนาดย่อมที่ตั้งอยู่ตามเมืองท่า การค้า จนถึงรัฐขนาดใหญ่ที่มีแบบแผนทางสังคมวัฒนธรรมค่อนข้าง ซับซ้อน มีความรุง่ เรืองทางอารยธรรมอันยาวนาน และมีแสนยานุภาพ ทางทหารสามารถแผ่อิทธิพลออกไปครอบครองดินแดนกว้างใหญ่ไป ถึงรัฐบนเกาะอืน่ ๆ และสามารถกล่าวได้วา่ กลุม่ รัฐและสังคมแบบจารีต ที่มีพัฒนาการมาช้านาน จนมีแบบแผนทางสังคม-วัฒนธรรมค่อนข้าง ซับซ้อน และทิ้งร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไว้เป็นจ�านวนมาก ทีส่ ดุ คือ กลุม่ รัฐและสังคมในหมูเ่ กาะชวา มาดุรา สุมาตรา และบาหลี สังคมและวัฒนธรรมของหมูเ่ กาะชวา มาดุรา สุมาตรา และบาหลี ในสมัยโบราณนั้น นอกจากจะมีความสัมพันธ์ทางอ�านาจในฐานะกลุ่ม เครือข่ายรัฐเดียวกันแล้ว ดัง้ เดิมยังมีลทั ธิความเชือ่ ศาสนา และลักษณะ
ทวีศักดิ์ เผือกสม
17
บทที่ ๒
การตกเป็นอาณานิคมของ จักรวรรดิฮอลันดา
สภาพของ “หมู่เกาะ” ในช่วงแรกการเข้ามาของดัตช์
แม้วา่ ภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีพลวัตทางการเมืองและ การค้าอยู่ภายใน และมีศูนย์กลางการค้าที่คึกคักอยู่หลายแห่งท�าหน้าที่ เป็นศูนย์ย่อยให้กับเครือข่ายทางการค้าของภูมิภาค ซึ่งกินอาณาบริเวณ ตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงจีนและญี่ปุ่น และมีแม่ข่ายใหญ่ คือเมืองท่าของจีนเป็นแหล่งดึงดูดสินค้า โดยภูมิภาคแถบนี้ทา� หน้าที่ ผลิตข้าว เครื่องเทศ พริกไทย พิกุล จันทน์เทศ ไม้จันทน์ ทองค� า ฯลฯ แต่ความสัมพันธ์กบั โลกตะวันตกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที ่ ๑๖ ได้กลาย เป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่ผลักให้ประวัติศาสตร์ของภูมิภาคแถบนี้ และ รวมทั้งหมู่เกาะอินโดนีเซียในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากยุคจารีต กล่าวได้ว่า การพิชิตมะละกาในปี ค.ศ. ๑๕๑๑ ของโปรตุเกสเป็น จุดเปลี่ยนที่ส� าคัญที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการเมืองใน ภูมิภาคอย่างลึกซึ้ง ก่อนหน้านัน้ ในช่วงศตวรรษที ่ ๑๔ และ ๑๕ มีอาณาจักรทีย่ งิ่ ใหญ่ อยู ่ ๒ แห่ง คือ มัชฌปาหิตซึง่ เป็นอาณาจักรแบบฮินดู-พุทธทีย่ งิ่ ใหญ่ทสี่ ดุ ก่อนยุคมุสลิมในชวาตะวันออก และมะละกาซึง่ กล่าวได้วา่ เป็นจักรวรรดิ
64
ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
การค้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมุสลิมบนคาบสมุทรมลายา หลังจากที่เจ้าชาย ปรเมศวรแห่งอาณาจักรปาเล็มบังได้ก่อตั้งมะละกาขึ้นในปลายคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๔ ภายหลังที่ปาเล็มบังถูกมัชฌปาหิตเข้าตีใน ค.ศ. ๑๓๗๗ มะละกาก็ถูกพัฒนาให้กลายเป็นเมืองท่านานาชาติที่ดึงดูดพ่อค้านัก เดินเรือทัง้ หลายต้องจอดแวะ โดยการอ�านวยความสะดวกในเรือ่ งการค้า และการตั้งโรงสินค้า ทั้งๆ ที่มะละกาเองก็ไม่ได้มีสินค้าเป็นของตนเอง และยังต้องสั่งสินค้าจากภายนอกส�าหรับการบริโภค นอกจากนี้มีความ เป็นไปได้ว่า เพื่อสร้างแรงดึงดูดให้กับพ่อค้ามุสลิม ในที่สุดปรเมศวรก็ หันไปรับอิสลาม มะละกากลายเป็นจุดเชือ่ มส�าคัญระหว่างการค้าจากจีน ในภาคตะวันออกและจากแอฟริกากับทะเลเมดิเตอเรเนียนในภาคตะวัน- ตก รวมทั้งสร้างเครือข่ายการค้ากับบรรดาหมู่เกาะอินดีส และต่อมาใน กลางคริสต์ศตวรรษที ่ ๑๕ ก็กลายเป็นมหาอ�านาจน้อยๆ ด้วยการกวาดตี พิชิตดินแดนทั้งสองฝั่งปลายคาบสมุทรที่เป็นแหล่งผลิตอาหาร ดีบุก ทองค�า และพริกไทย ซึ่งท�าให้มะละกามั่งคั่งและเข้มแข็งยิ่งขึ้นไปอีก การพิชติ มะละกาของโปรตุเกสใน ค.ศ. ๑๕๑๑ ได้ทา� ลายความเป็น ศูนย์กลางการค้าที่รุ่งเรืองที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ ของมะละกาลง และได้ทา� ให้เครือข่ายการค้ากลุม่ นีแ้ ตกกระจายไม่ได้รวมศูนย์อยูจ่ ดุ ใดจุดหนึง่ อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นเหตุผลส�าคัญที่จะน�าไปสู่การเกิดศูนย์อ�านาจทาง การเมืองใหม่ๆ ขึน้ มาอีกหลายศูนย์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที ่ ๑๖ หลังจาก ยึดครองมะละกาได้แล้ว แม้โปรตุเกสพยายามจะใช้ความเป็นมหาอ�านาจ ทางทะเลของตัวเองควบคุมแต่ก็ไม่ประสบความส�าเร็จ เพราะพ่อค้า เอเชียหันไปถ่ายโอนแลกเปลีย่ นสินค้ากันในเมืองท่าอืน่ ๆ แทนโดยไม่สนใจ โปรตุเกส เมื่อมะละกาแตกแล้ว สุลต่าน มาห์มุดก็อพยพไปตั้งศูนย์อ�านาจ แห่งใหม่อยูท่ ยี่ ะโฮร์ ซึง่ จะกลายเป็นเมืองท่าการค้าแห่งใหม่ทขี่ นึ้ มาแย่งชิง ส่วนแบ่งการค้ากับมะละกาในเงือ้ มมือของโปรตุเกส พร้อมกับทีอ่ าเจะห์
ทวีศักดิ์ เผือกสม
65
บทที่ ๓
ความเป็นสมัยใหม่แบบอาณานิคม การปฏิวัติ และการสร้างชาติ
ความเป็นสมัยใหม่แบบอาณานิคม
กล่าวได้วา่ การยกเลิกระบบการเพาะปลูกในอาณานิคมอินดีสนัน้ มีส่วนผลักดันส�าคัญมาจากการที่ภาคอุตสาหกรรมของดัตช์เริ่มเล็งเห็น ว่าอินดีสเป็นตลาดที่มีศักยภาพแต่ต้องมีการยกระดับมาตรฐานการ ครองชีพ ซึ่งจะท�าให้มีแรงงานที่มีประสิทธิภาพและเกิดการขยายตัวของ ตลาดที่จะท�าให้คุ้มกับการลงทุน การยกเลิกระบบการเพาะปลูกและ หันไปสนับสนุนระบบทุนนิยมเสรีในอินดีสจึงส่งผลให้เกิดความต้องการ แรงงานในภาคการผลิตอุตสาหกรรม และก่อให้เกิดแรงกดดันให้รัฐบาล อาณานิคมต้องหันมาลงทุนในเรือ่ งโครงสร้างพืน้ ฐานให้ทนั สมัยและใส่ใจ ในเรื่องการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ การศึกษา และสวัสดิการ ใน ค.ศ. ๑๘๙๙ เวอร์เวนเตอร์ (C. Th. Veventer) นักกฎหมาย ซึง่ เคยใช้ชวี ติ อยูใ่ นอินดีสมาเกือบสองทศวรรษ (ช่วง ค.ศ. ๑๘๘๐-๑๘๙๗) ได้ตีพิมพ์บทความเรื่องหนึ่งในวารสารของดัตช์ คือ “หนี้แห่งเกียรติยศ” (A Debt of Honour) โดยอ้างว่าเนเธอร์แลนด์ติดค้างหนี้บางอย่างแก่ ชาวพื้นเมือง คือหนี้แห่งความมั่งคั่งทั้งหมดที่ถูกสูบออกมาจากดินแดน แห่งนี ้ ซึง่ ควรจะต้องชดใช้ดว้ ยการก�าหนดให้นโยบายของรัฐบาลอาณานิคม ต้องใส่ใจต่อผลประโยชน์ของชาวพื้นเมืองเป็นอันดับแรก หลังจากนั้น
164
ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
ใน ค.ศ. ๑๙๐๑ สมเด็จพระราชินีวิลเฮมมีนา (ครองราชย์ ค.ศ. ๑๘๙๐- ๑๙๔๘) ได้ประกาศให้สา� รวจสภาพชีวติ ความเป็นอยูด่ า้ นสวัสดิการในชวา และท�าให้ “นโยบายจริยธรรม” (Ethical Policy) ได้รบั การรับรองว่าเป็น นโยบายส�าคัญของรัฐอย่างเป็นทางการ โดยคนที่นา� นโยบายจริยธรรม มาปฏิบตั ใิ นอินดีสก็คอื อเล็กซานเดอร์ ไอเดนเบอร์ก (Alexander W. F. Idenburg) ซึ่งขึ้นเป็นรัฐมนตรีกระทรวงอาณานิคมในช่วง ค.ศ. ๑๙๐๒- ๑๙๐๕, ๑๙๐๘-๐๙๐๙ และ ๑๙๑๘-๑๙๑๙ และยังด� ารงต�าแหน่งเป็น ข้าหลวงใหญ่ในอินดีสในระหว่างช่วง ค.ศ. ๑๙๑๖-๑๙๑๙ หลักการ สามประการของนโยบายจริยธรรม คือ การศึกษา การชลประทาน และ การโยกย้ายถิ่นฐาน [ดู Ricklefs, 2001: 193-194.] ผลของการด�าเนินนโยบายจริยธรรมได้กอ่ ให้เกิดการปฏิรปู ในด้าน ต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของเทคโนโลยีการคมนาคมและการศึกษาสมัย ใหม่แบบตะวันตก ส�าหรับเทคโนโลยีการคมนาคมนั้น พลังมหัศจรรย์ ของเทคโนโลยีการเดินทางอย่างเรือกลไฟและรถไฟได้ชว่ ยเชือ่ มต่อร้อยรัด หมูเ่ กาะและผูค้ นจ�านวนมากทีแ่ ตกต่างหลากหลายทางชาติพนั ธุใ์ ห้เข้ามา อยู่ในปริมณฑลเดียวกันในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมสมัยใหม่ เฉพาะบนเกาะชวานัน้ เมือ่ รางรถไฟสายตะวันตกได้เชือ่ มเข้ากับสายตะวัน- ออก ซึง่ ท�าให้เชือ่ มหัวเมืองส�าคัญไว้ทงั้ หมดเมือ่ ค.ศ. ๑๘๙๔ คือเริม่ จาก บาตาเวีย บันดุง ยอกยาการตา สุระการตา (ซึง่ ก่อนหน้านัน้ มีรางรถไฟเชือ่ ม กับเสอมารังอยูแ่ ล้ว) จนไปจรดเมืองสุราบายา ในปีตอ่ มาการคมนาคมทาง รถไฟก็สามารถขนย้ายผูโ้ ดยสารได้มากถึง ๕,๗๕๙,๐๐๐ คน, เพิม่ ขึน้ เป็น ๙,๗๓๘,๐๐๐ ใน ค.ศ. ๑๙๐๐, เพิม่ เป็น ๑๓,๓๖๑,๐๐๐ คนใน ค.ศ. ๑๙๐๕, เพิม่ เป็น ๒๘,๔๒๐,๐๐๐ คนใน ค.ศ. ๑๙๑๐ และเพิม่ ขึน้ สูงถึง ๔๒,๕๗๙,๐๐๐ คนใน ค.ศ. ๑๙๑๕ [Shiraishi, 1990: 8-9.] เส้นทางคมนาคมทางน�้ า ในชวาจึงเริ่มร้างไปในเวลาไม่นานนัก พร้อมกับที่เมืองที่เป็นศูนย์กลาง ทางเศรษฐกิจการค้าแห่งใหม่ๆ ก็เริ่มรุ่งเรืองขึ้นตามเส้นทางรถไฟ
ทวีศักดิ์ เผือกสม
165
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยตัวแทนของฝ่ายอินโดนีเซียได้ยนื่ หนังสือบันทึก ช่วยจ�าในการประชุมระบุว่า ส่วนมากของหนี้ก้อนนี้คือเงินที่ถูกน�ามาใช้ ในการทหารเพื่อกลับมาจัดตั้งอาณานิคมของดัตช์ในอินโดนีเซียอีกครั้ง ซึ่งเป็นค่าใช้ทางทหารราว ๓,๐๒๔ ล้านเหรียญกิลเดอร์ บวกกับค่าใช้ สนับสนุนทางพลเรือนอีกราว ๕๓๙ เหรียญกิลเดอร์ พร้อมทัง้ ยังระบุวา่ ถ้าหากมีการค�านวณกันอย่างยุตธิ รรมแล้ว แทนทีร่ ฐั บาลใหม่ในอินโดนีเซีย จะต้องจ่ายหนีใ้ ห้แก่รฐั บาลดัตช์แล้ว ดัตช์ตา่ งหากคือผูท้ ตี่ ดิ หนีอ้ นิ โดนีเซีย อยู่อีกกว่า ๕๐๐ ล้านเหรียญกิลเดอร์ แต่ตัวแทนของสหรัฐฯ คือ เมิร์ล ค็อคแรน (Merle Cochran) และตัวแทนของดัตช์ได้พยายามโยนข้ออ้าง เหล่านี้ลงถังขยะไป โดยค็อคแรนได้พยายามหลอกฮัตตะและผู้แทน ของอินโดนีเซียว่า สหรัฐฯ จะยอมให้เงินช่วยเหลือหลังได้เอกราช แต่ ต้องเจรจาปัญหาเรือ่ งการเงินให้แล้วเสร็จภายในการประชุมโต๊ะกลม และ ท�าให้ตัวแทนของอินโดนีเซียต้องยอมรับหนี้ถึง ๔,๕๕๙.๕ ล้านเหรียญ กิลเดอร์ (ราว ๑,๗๒๓ ล้านเหรียญสหรัฐ) ไปในที่สุด [Kahin, 2003: 119-121.] แล้วในวันที่ ๒๗ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๙ เนเธอร์แลนด์ก็โอน อ�านาจอธิปไตยเหนืออินโดนีเซียทั้งหมด (ยกเว้นอิเรียนซึ่งตกลงกันว่า ดัตช์ยังคงยึดครองต่อไปจนกว่าจะเจรจากันใหม่) ให้แก่สาธารณรัฐแห่ง สหรัฐอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการ ซึ่งก็ด�ารงสถานภาพเช่นนั้นอยู่ได้ เพียงไม่กเี่ ดือนก็ถกู ยุบรวมเข้ากับสาธารณรัฐอินโดนีเซียทัง้ หมดในโอกาส ครบรอบ ๕ ปีของการประกาศเอกราชเมือ่ วันที่ ๑๗ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๕๐ [Ricklefs, 2001: 282-285.]
214 ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
บทที่ ๔
การต่อต้านคอมมิวนิสต์และ ระบบอำานาจนิยมในยุคระเบียบใหม่
การเมืองอินโดนีเซียยุคหลังอาณานิคม
อินโดนีเซียหลังได้รบั เอกราชเต็มไปด้วยความยุง่ เหยิง ไม่มเี สถียรภาพ ทางการเมือง (นายกรัฐมนตรีทสี่ ามารถนัง่ อยูใ่ นต�าแหน่งได้นานทีส่ ดุ นัน้ ก็อยู่ได้แค่เพียง ๒ ปี), ประชากรของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก ๗๗.๒ ล้านคนใน ค.ศ. ๑๙๕๐ เพิม่ ขึน้ เป็น ๘๕.๔ ล้านคนใน ค.ศ. ๑๙๕๕ และเป็น ๙๗ ล้านคนใน ค.ศ. ๑๙๖๑, เศรษฐกิจของประเทศจมดิง่ สูห่ ว้ ง วิกฤติเพราะการส่งออกฟืน้ ตัวได้ชา้ มาก เช่น น�า้ มันซึง่ เป็นผลผลิตส่งออก ส�าคัญมีอตั ราการผลิตเพิม่ ขึน้ ถึงสองเท่าในปี ค.ศ. ๑๙๕๗ จากอัตราเดิม ที่เคยผลิตได้ในช่วง ค.ศ. ๑๙๔๐ แต่ใช้บริโภคภายในประเทศเสียเป็น ส่วนใหญ่, นอกจากนัน้ การก�าหนดอัตราแลกเปลีย่ นเงินตายตัวอย่างไม่ตรง กับความเป็นจริงก็ยิ่งน�าหายนะมาสู่เศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ค่าใช้จ่าย ในการครองชีพเพิ่มขึ้นราว ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ในช่วง ค.ศ. ๑๙๕๐-๑๙๕๗ และทุกส่วนของสังคมต่างก็ประสบกับปัญหาความตกต�่าทางเศรษฐกิจ กันอย่างถ้วนหน้า แม้วา่ ชาวนาทีม่ ที ดี่ นิ อาจจะได้ประโยชน์จากราคาข้าว ที่เพิ่มสูงขึ้นบ้างก็ตาม [Ricklefs, 2001: 291-292.] ส่วนด้านที่ดีอยู่บ้างของอินโดนีเซียหลังได้รับเอกราชก็คือ การ ขยายตัวของระบบการศึกษาทัง้ ของรัฐและเอกชน ซึง่ ท�าให้อตั ราผูร้ หู้ นังสือ
ทวีศักดิ์ เผือกสม
215
บทที่ ๕
การกระจายอำานาจและ การเมืองอินโดนีเซียในยุคปฏิรูป
อวสานของยุคระเบียบใหม่
หลัง ค.ศ. ๑๙๖๖ เมื่ออ�ำนำจของยุคระเบียบใหม่ค่อยๆ ก่อตัว เป็นรูปเป็นร่ำงขึน้ อย่ำงชัดเจน จุดเน้นของกำรวิจยั ในชุมชนทำงวิชำกำร ก็เปลี่ยนจำกปัญหำควำมขัดแย้งระหว่ำงกระบวนกำรสร้ำงชำติกับควำม ผูกพันในเชิงรำกเหง้ำทำงชำติพนั ธุอ์ นั เป็นก�ำพืดดัง้ เดิมของคนแต่ละกลุม่ ซึ่งเน้นควำมส�ำคัญของควำมผูกพันต่อท้องถิ่นผ่ำนทำงเครือญำติ ชุมชน ศำสนำ ภำษำ หรือธรรมเนียม (อำทิ Geertz, 1963) โดยหันมำเพ่ง ควำมสนใจในเรื่องธรรมชำติของรัฐแทน อำทิ บทควำมของเบนดำเรื่อง “The Pattern of Administrative Reforms in the Closing Years of Dutch Rule in Indonesia” (ค.ศ. ๑๙๖๖) อันแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะ ของรัฐอำณำนิคมว่ำเป็นรัฐรำชกำรตำมกรอบคิดของแม็กซ์ เวบเบอร์ โดย ชีใ้ ห้เห็นถึงองคำพยพเชิงกำรบริหำรแบบปลอดกำรเมืองซึง่ มีเจ้ำหน้ำทีเ่ ป็น ชำวดัตช์และชำวพืน้ เมืองภำยใต้กำรควบคุมอย่ำงแน่นหนำของจักรวรรดิ ดัตช์ และยึดหลักกำรบริหำรแบบรวมศูนย์ดว้ ยหลักเหตุผล พูดอีกอย่ำง หนึ่งก็คือ รัฐอำณำนิคมในอินดีส คือรัฐที่ให้ควำมส�ำคัญแก่กำรปกครอง เพือ่ ให้เกิดกำรพัฒนำอย่ำงมีประสิทธิภำพและอย่ำงทันสมัย [ดูพฒ ั นำกำร ของกำรศึกษำด้ำนเศรษฐกิจกำรเมืองอินโดนีเซียในยุคระเบียบใหม่ใน
264 ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
Nordholt and van Klinken, 2007: 1-29.] กำรผงำดขึ้นของควำมเป็นรัฐที่เข้มแข็งในยุคระเบียบใหม่ ท�ำให้ กลุ่มคนขนำดใหญ่ในสังคมถูกกีดกันออกไปจำกปริมณฑลทำงกำรเมือง กำรเมืองเป็นสิง่ ผูกขำดทำงกำรแข่งขันอยูเ่ ฉพำะในหมูช่ นชัน้ น�ำกลุม่ เล็กๆ บำงคนจึงเห็นว่ำ ยุคระเบียบใหม่ควรถูกมองในฐำนะระบอบทหำรบวกกับ ระบอบปิตำธิปไตย โดยมีระบบอุปถัมภ์เป็นเครื่องผูกมัดภำคส่วนต่ำงๆ ของรัฐเข้ำไว้ดว้ ยกัน ทัง้ ยังเห็นถึงกระบวนกำรทีค่ อ่ ยๆ เติบโตขึน้ ของกำร ก�ำหนดนโยบำยของรัฐแบบยึดหลักเหตุผล กล่ำวได้ว่ำ นักวิชำกำรจ�ำนวนมำกต่ำงเห็นพ้องกันเป็นส่วนใหญ่ ในเรื่องธรรมชำติของกำรเป็นรัฐแบบปิตำธิปไตยของอินโดนีเซียในยุค ระเบียบใหม่ อย่ำงไรก็ตำมระบอบอ�ำนำจในยุคระเบียบใหม่ก็ไม่ได้เป็น ปรำกฏกำรณ์ที่ไร้พลวัต เพรำะบำงคนมองว่ำอินโดนีเซียมีวิวัฒนำกำร ไปสู่กำรเป็นระบอบอ�ำนำจเชิงกดบังคับ นอกจำกนั้นธรรมชำติของรัฐ อำณำนิคมอันด�ำเนินภำรกิจบริหำรจัดกำรโดยข้ำรำชกำรพลเรือนกับรัฐใน ยุคระเบียบใหม่ทดี่ ำ� เนินภำรกิจกำรบริหำรจัดกำรโดยทหำร ยังมีลกั ษณะ บำงอย่ำงเหมือนกันอย่ำงน่ำประหลำด เนือ่ งจำกระบอบอ�ำนำจของทัง้ สอง ตัง้ อยูบ่ นพลังอ�ำนำจ กำรท�ำให้ปลอดจำกควำมเป็นกำรเมือง และกำรใช้ แนวปฏิบัติแบบขุนนำงอ�ำมำตย์ในกำรบริหำรจัดกำร เพื่อมุ่งไปสู่กำรท�ำ สังคมให้ทนั สมัย บำงคนคิดว่ำสำเหตุอนั ท�ำให้ธรรมชำติของรัฐอินโดนีเซีย มีลักษณะเช่นนั้นเกิดจำกรำกฐำนของรัฐในยุคระเบียบใหม่ คือระบอบ รัฐอำณำนิคมในช่วงปลำยยุคอำณำนิคม รัฐอินโดนีเซียในยุคระเบียบใหม่ จึงถือก�ำเนิดขึ้นบนรำกฐำนที่แข็งแกร่งยิ่งกว่ำสังคมอินโดนีเซียเอง นอก จำกนีร้ ฐั ยังเป็นเครือ่ งมือของทุนข้ำมชำติและชนชัน้ กระฎุมพี จนสำมำรถ กล่ำวได้ว่ำ แนวโน้มอย่ำงหนึ่งในหมู่นักสังเกตกำรณ์ที่เฝ้ำจับตำมอง อินโดนีเซีย คือ กำรมองรัฐแยกออกจำกสังคม และเนื่องจำกรัฐมีควำม เข้มแข็งและสำมำรถบรรลุเป้ำหมำยในเรื่องกำรเติบโตทำงเศรษฐกิจ
ทวีศักดิ์ เผือกสม
265