ห้าเดือนกลางซากอิฐปูน

Page 1

ห้าเดือน กลางซากอิฐปูน ทีอยุธยา น. ณ ปากนํา้

ISBN 978-616-7767-53-6 ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา หมวดศิลปะไทย ราคา ๕๕๐ บาท


ISBN 978-616-7767-53-6 หนังสือ ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ผู้เขียน น. ณ ปากน�ำ้ พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๑๐ พิมพ์ครั้งที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๘ จ�ำนวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๕๕๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักเมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด บรรณาธิการ ออกแบบปก/รูปเล่ม ภาพประกอบ ภาพลายเส้น ควบคุมการผลิต

ศรัณย์ ทองปาน นฤมล ต่วนภูษา ศูนย์ข้อมูล เมืองโบราณ น. ณ ปากน�ำ้ ธนา วาสิกศิริ

แยกสี/เพลท เอ็น. อาร์. ฟิล์ม  โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ พิมพ์ที่ ด่านสุทธาการพิมพ์  โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐–๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ) จัดพิมพ์ บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด จัดจ�ำหน่าย ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐ ๒๒๘๑ ๖๑๑๐ (อัตโนมัติ)  โทรสาร ๐ ๒๒๘๒ ๗๐๐๓ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ น. ณ ปากน�้ำ. ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา.-- พิมพ์ครั้งที่ ๔.- กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๘. ๕๓๖ หน้า. ๑. ศิลปกรรมพุทธศาสนา. I. ชื่ิอเรื่อง. ๒๙๔.๓๑๘๗ ISBN 978-616-7767-53-6

ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด)  ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ  ๑๐๒๐๐  โทรศัพท์ ๐ ๒๒๘๑ ๖๑๑๐ (อัตโนมัต)ิ   โทรสาร ๐ ๒๒๘๒ ๗๐๐๓ ทีป่ รึกษา  ศรีศกั ร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา  เสนอ นิลเดช  สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  ผูอ้ �ำนวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์    จ� ำนงค์  ศรีนวล  ผู้อ�ำนวยการฝ่าย การตลาด/โฆษณา  ปฏิมา หนูไชยะ  บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์  ทีป่ รึกษา กฎหมาย  สมพจน์ เจียมพานทอง

2  ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา


สารบัญ

บทน�ำเสนอ

ภาคน�ำ ๑๓ เชิงอรรถภาคน�ำ ๒๖ ๓๕ เดือนที่หนึ่ง เดือนที่สอง ๑๓๓ เดื่อนที่สาม ๒๙๗ เดือนที่สี่ ๓๖๕ เดือนที่ห้า ๔๔๙ เชิงอรรถ ๔๕๑ ภาคผนวก เบื้องหลังการส�ำรวจอยุธยา ๒๕๐๙–๒๕๑๐ ขนาดใบเสมาของวัดต่างๆ ขนาดอิฐของวัดต่างๆ ดัชนีค้นชื่อวัด แผนที่

๔๙๙ ๕๐๐ ๕๐๖ ๕๑๑ ๕๑๕ ๕๒๙ น. ณ ปากน้ำ�  3


บทน�ำเสนอ

ส�ำหรับการพิมพ์ครั้งที่ ๔

ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนทีอ่ ยุธยา  ผลงานชิน้ ส�ำคัญของ น. ณ ปากน�ำ้  หรืออาจารย์ ประยูร อุลุชาฎะ (๒๔๗๑–๒๕๔๓) มีที่มาจากการส� ำรวจโบราณวัตถุสถานใน อยุ ธ ยาระหว่ า งเดื อ นพฤศจิ ก ายน ๒๕๐๙ ถึ ง เดื อ นมี น าคม ๒๕๑๐ ในการนี้ ท่านได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิเอเซีย (Asia Foundation) ตามโครงการของ คณะกรรมการจัดงานอนุสรณ์อยุธยา ๒๐๐ ปี โดยมีจุดมุ่งหมายว่าจะน�ำภาพถ่าย ภาพคัดลอกจิตรกรรมฝาผนัง และผลการส�ำรวจไปร่วมจัดแสดงนิทรรศการเนือ่ งใน โอกาสครบ ๒๐๐ ปีแห่งการเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ ขณะนั้น คือปี  ๒๕๐๙ อาจารย์ประยูรเป็นหนุ่มใหญ่วัย ๓๘ ปี   หลัง ออกจากราชการมหาวิทยาลัยศิลปากรอันเป็นสถาบันเก่าที่เคยศึกษามา  ท่านเริ่ม สั่งสมชื่อเสียงในฐานะนักเขียนนักค้นคว้าด้านศิลปะ เริ่มต้นจากศิลปะตะวันตก ก่อนจะค่อยๆ เบนเข็มมาสู่ศิลปกรรมไทยโบราณในเวลาต่อมา นามปากกา “น. ณ ปากน�้ำ” ปรากฏสม�่ำเสมอในนิตยสาร กะดึงทอง, ช่อฟ้า, ชาวกรุง, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และ สังคมศาสตร์ปริทัศน์  บทความ เหล่านั้นยังเป็นวัตถุดิบที่น�ำไปสู่การรวบรวมเป็นรูปเล่มหนังสือ เช่น บันไดเข้าถึง ศิลป (๒๕๐๙) และ เรื่องน่ารู้จากอดีต (๒๕๐๙) ก่อนหน้านี ้ ตัง้ แต่ป ี ๒๕๐๑ น. ณ ปากน�ำ้  เคยมี โอกาสออกส�ำรวจอยุธยา บั น ทึ ก ข้ อ มู ล บางส่ ว นไว้ บ ้ า งแล้ ว   แต่ ก ารส�ำ รวจอยุ ธ ยาในช่ ว งห้ า เดื อ นของปี 4  ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา


๒๕๐๙–๒๕๑๐ นี้ ท่านมีวัตถุประสงค์ยิ่งใหญ่ที่ว่า “ข้าพเจ้าต้องการส�ำรวจอยุธยา ให้ ม ากที่ สุ ด  โดยจะตะลุ ย ค้ น ให้ ห มดไม่  ใ ห้ เ หลื อ  แม้ ว ่ า จะบุ ก ป่ า ฝ่ า รกล� ำ บาก ขนาดไหน จะต้องดั้นด้นไป ให้ ได้” ดังนัน้  การนีจ้ งึ ต้องจับท�ำกันอย่างจริงจัง เริม่ ตัง้ แต่จดั หาทีมงานภาคสนาม (ได้แก่ คุณนิพนธ์ ข�ำวิไล  คุณปรีดา อัมพลภ และคุณอรรถทวี ศรีสวัสดิ์)  หาเช่า บ้านเป็นที่พัก ไปจนถึงขั้นลงทุนซื้อเรือยนต์มาไว้ ใช้ออกส�ำรวจ คณะส�ำรวจอยุธยาเมือ่ เกือบ ๕๐ ปีกอ่ น ใช้ วธิ เี ดินทางสารพัด ทัง้ เดินเท้า ขี่จักรยาน จ้างรถสามล้อ ขึ้นรถไฟ โดยสารรถประจ�ำทาง หรือหากมีลูกศิษย์ (เช่น คุณอวบและคุณวิสตุ า สาณะเสน) มาเยีย่ มหรือมาช่วยถ่ายรูป ก็อาจได้อาศัยรถยนต์ ส่วนตัวออกส�ำรวจบ้าง แต่ยานพาหนะที่ โดดเด่นที่สุดใน ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา ก็คือ เรือ อยุธยายุคนัน้  แม่นำ�้ ยังเป็นเส้นทางหลักในการสัญจร สองฝัง่ น�ำ้ เต็มไปด้วย เรือนไทยและเรือนแพ “เรือด่วน” เริม่ เข้ามาแทนทีเ่ รือเมล์สองชัน้ จ�ำพวก “เรือเขียว เรือแดง” ทีเ่ คยขึน้ ล่องประจ�ำทาง และเรือหางยาวก็เริม่ มี ให้เห็นตามแม่น�้ำล�ำคลอง (และดูเหมือนจะเป็นสิ่งน่ารังเกียจส�ำหรับอาจารย์ประยูร) หากจับสังเกตจากทีก่ ล่าวในเนือ้ เรือ่ ง จะพบว่าข้อมูลเอกสารทีค่ ณะส�ำรวจ น�ำติดตัวไป ใช้ ในสนามมี ไม่มากนัก  ที ่ ใช้เป็นหลักในการสอบค้น เข้าใจว่าจะมีพระราชพงศาวดารฉบับหมอบรัดเลย์ หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า พระราชพงศาวดารฉบับ พระพนรัตน์ กับ พงศาวดารเหนือ  นอกจากนั้นก็มีงานค้นคว้าของพระยาโบราณ ราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) เรื่องกรุงเก่า (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓) กับ หนังสือ อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีแผนที่เกาะเมืองแนบท้าย  รวมทั้ง ยังมีส�ำเนาแผนที่กรุงศรีอยุธยาในหนังสือจดหมายเหตุฝรั่ง เช่นของเดอ ลาลูแบร์ และของหมอแกมป์เฟอร์ น. ณ ปากน้ำ�  5


อาจช่วยให้คนในยุคปัจจุบันได้พบเห็นทั้งความอุตสาหะพยายามของคนรุ่นก่อน และได้ตระหนักว่าบ้านเมืองของเราเปลี่ยนแปลงไปมากมายเพียงใด ภายในช่วง เกือบห้าทศวรรษที่ผ่านมา อนึ่ง รายงานการส�ำรวจอยุธยาที่เป็นต้นฉบับลายมือ พร้อมลายเส้นและ แบบแปลนต่างๆ อาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ ได้มอบให้เป็นสมบัติของมหาวิทยาลัย ศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ อันเป็นสถาบันที่รักยิ่งของท่าน ตั้งแต่เมื่อ ๒๐ กว่าปี ก่อน พร้อมกับต�ำรับต�ำราทางศิลปะอีกมากมายที่ท่านสะสมมาชั่วชีวิต และยัง คงเก็บรักษาไว้ ณ ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยแห่งนั้นสืบมาจนบัดนี้

12  ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา

ศรัณย์ ทองปาน


ภาคน�ำ

หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ป็ น รายงานการส� ำ รวจ บั น ทึ ก ไว้ ป ระจ� ำ วั น ตลอดเวลาที่  ไ ด้ ท� ำ การค้นคว้าศิลปกรรมอยู่ ในอยุธยาห้าเดือนเต็ม  จึงมีสาระหนักไปทางโบราณคดี มากเกินไป  และเพราะเหตุว่าเป็นบันทึกการส�ำรวจ จึงหนี ไม่พ้นต่อข้อละเอียด ปลีกย่อยต่างๆ ตามหลักฐานที่ค้นพบ ทั้งๆ ที่ ไม่อยากจะเอ่ยถึงให้มากนัก ด้วย ยังมีสมุดบันทึกประจ�ำวันที่ท�ำการรังวัด และสเก็ตช์แบบอย่างของศิลปะอยุธยา ต่างๆ พร้อมกับท�ำรายละเอียดไว้ ซึ่งเป็นเอกสารส�ำคัญทางวิชาการ ถึงห้าเล่ม สมุดขนาดใหญ่ เป็นหลักฐานส�ำคัญอยู่แล้ว จึงไม่จ�ำเป็นจะต้องพะวงต่อการให้ รายละเอียดจุกจิกในบันทึกประจ� ำวันมากนัก เหตุนี้  จึงพยายามอ้างหลักฐาน ให้ น ้ อ ยที่ สุ ด  นอกจากของส� ำคั ญ  ซึ่ ง อย่ า งไรก็ ดี ยั ง คงเต็ ม ไปด้ ว ยเรื่ อ งราวของ โบราณคดีและศิลปกรรมโดยตลอด  เพราะประการนี้จึงให้ชื่อเรื่องว่า ห้าเดือน กลางซากอิฐปูนที่อยุธยา หน้าที่ซึ่งข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ส�ำรวจ จากคณะกรรมการจัดงาน อนุ ส รณ์ อ ยุ ธ ยา ๒๐๐ ปี   มี ข ้ อ แม้ อ ยู ่ เ พี ย งว่ า  ต้ อ งตรวจค้ น ศิ ล ปะอยุ ธ ยาตาม แหล่งต่างๆ เท่าที่อาจจะมีหลงเหลืออยู่  ถ้าหากเป็นไป ได้ก็ควรคัดลอกถ่ายแบบ อย่างนั้นๆ เอาไว้  เพื่อจะได้น� ำผลงานเหล่านั้น มาติดตั้งแสดงให้ประชาชนชม ในภายหลัง  นอกเหนือไปจากนั้น เป็นเรื่องที่จะด�ำเนินการตามใจชอบทุกอย่าง ข้าพเจ้าจึงตั้งจุดมุ่งหมายขึ้นบ้าง เพื่อที่จะค้นหาความจริงตามแหล่ง น. ณ ปากน้ำ�  13


ต่างๆ คือหาเมืองปทาคูจาม ตามล�ำคลองปะจาม และค้นหาหลักฐานตามแหล่ง ที่ ส งสั ย กั น ว่ า จะเป็ น เมื อ งอโยธยาเดิ ม  และประการสุ ด ท้ า ยที่ ส� ำ คั ญ  ข้ า พเจ้ า ต้องการส�ำรวจอยุธยาให้มากที่สุด โดยจะตะลุยค้นให้หมดไม่ ให้เหลือ แม้ว่าจะ บุกป่าฝ่ารกล�ำบากขนาดไหน จะต้องดั้นด้นไป ให้ ได้  ตลอดจนเดินทางไปอ�ำเภอ ต่างๆ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เท่าที่จะมีก� ำลังไป ได้  ผลที่สุดก็ได้ข้อมูล มาพอสรุปผลโดยสังเขป ได้ดังนี้ เมืองปทาคูจาม ซึ่งมีบันทึกไว้ ในพระราชพงศาวดารว่า “ลุศักราช ๗๖๓ ปีมะเส็ง ตรีนิศก (พ.ศ. ๑๙๔๔) สมเด็จพระยารามเจ้า ทรงพระพิโรธแก่เจ้าพระยามหาเสนาบดี จะให้จับเอาตัวฆ่าเสีย เจ้าพระยามหา เสนาบดีหนีข้ามไปอยู่ฟากปทาคูจาม จึงให้ ไปเชิญพระนครอินทร์ พระราชนัดดา สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ซึ่งเสวยสมบัติอยู่  ณ เมืองสุพรรณบุรี  เสด็จเข้า มาถึง จึงเจ้าพระยามหาเสนาบดียกเข้าปล้นเอาพระนครศรีอยุธยาได้  จึงเชิญ เสด็จสมเด็จพระนครอินทร์ขึ้นเสวยราชสมบัติ  ให้สมเด็จพระยารามไปกินเมือง ปทาคูจาม” ค�ำว่า “ข้ามไปอยู่ฟากปทาคูจาม” ในพระราชพงศาวดาร แสดงให้เห็น ชัดว่าเมืองปทาคูจามต้องอยู่คนละฝั่งแม่น�้ำกับพระนครศรีอยุธยา  จุดสงสัยก็คือ ทางด้านทิศใต้ของตัวเกาะอยุธยามีหลักฐานส�ำคัญหลายอย่างชวนให้เชื่อว่าจะ เป็นเมืองปทาคูจาม คือมีล�ำคลองเก่า (บัดนี้ตื้นเขินกลายเป็นล�ำคูแคบๆ) เรียก กันว่า คลองปะจาม บางทีเรียกกันว่า คลองคูจาม ก็มี  เห็นเค้าว่าเอาชื่อมาจาก เมืองปทาคูจามนั่นเอง อันล�ำคลองคูจามนี้อยู่ใกล้กับวัดพุทไธสวรรย์  ถัดไปทางทิศตะวันออก เล็กน้อย บริเวณนั้นแต่เดิมเป็นต�ำหนักเวียงเหล็ก (เข้าใจว่าเดิมจะเรียกต�ำหนัก เวียงเล็ก) ของพระเจ้าอู่ทอง สมัยก่อนที่จะสร้างเมืองใหม่ ขึ้นที่ตัวเกาะอยุธยา ปัจจุบัน  ครั้นเมื่อพระองค์สถาปนานครใหม่เสร็จแล้ว จึงถวายวังเป็นวัด ให้ ชื่อว่า 14  ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา


วัดพุทไธสวรรย์ แต่เชื่อแน่ว่าป้อม คู ประตู หอรบ คงจะบริบูรณ์อยู่ เพราะเป็น ที่มั่นของพระเจ้าอู่ทอง  พระองค์จ�ำเป็นจะต้องประทับอยู่นานหลายปี จนกว่า เมืองใหม่จะสร้างเสร็จ  แม้ว่าวังของพระองค์จะถวายเป็นวัดแล้ว ส่วนใหญ่ก็คง จะบริบูรณ์ คงมีเจ้านายส�ำคัญที่ตั้งหลักมั่นอยู่แล้วประทับอยู่  ต่อมาจึงเรียกกัน ว่าเวียงเล็ก ท�ำนองว่าเมืองใหม่เป็นเวียงใหญ่ ตัวเวียงเล็กนี้กระมังคือเมืองปทาคูจาม และถือว่าเป็นวังหน้ากลายๆ เพราะวังหน้าที่วังจันทรเกษม เพิ่งจะมาสร้างขึ้นภายหลังในสมัยพระมหาธรรม ราชา ด้วยมีหลักฐานในหนังสือ ต�ำนานวังหน้า ของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรง ราชานุภาพ ว่า “เมื่อสมเด็จพระนเรศวรครองเมืองพิษณุโลกอยู่นั้น เสด็จลงมาเฝ้าสมเด็จ พระชนกชนนียังกรุงศรีอยุธยาเนืองๆ ความปรากฏในพระราชพงศาวดาร (ฉบับ พระราชหัตถเลขา เล่ม ๑ หน้า ๑๐๒) ว่าสมเด็จพระนเรศวรเสด็จลงมาประทับ ที่วังใหม่   ที่เรียกว่าวังใหม่นี้  พระยาโบราณราชธานินทร์  (พร เดชะคุปต์) เป็น ผู้ได้สังเกตขึ้นก่อนว่ามิ ใช่ที่อื่น คือวังจันทรเกษมนั้นเอง” ก็เมื่อวังหน้าที่วังจันทรเกษม เพิ่งจะสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชา ตัววังหน้าสมัยก่อนหน้านี้จึงควรเป็นเวียงเล็ก ที่มั่นเดิมของพระเจ้าอู่ทองนั่นเอง สมัยเมื่อพระราเมศวรกลับเข้ามาครองอ� ำนาจ หลังจากพระบรมราชาธิราชที่  ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) สวรรคตแล้ว คงจะให้พวกเจ้านายจากสุพรรณบุรี ไปครองอยู่ ยังเวียงเล็ก คือเมืองปทาคูจามนั้น เจ้าพระยามหาเสนาบดี ก็คงจะเป็นเสนาบดี เก่าจากสุพรรณบุรีเมื่อรัชกาลเก่า  ครั้นพระราเมศวรเสด็จสวรรคต จึงได้ก่อการ ก� ำ เริ บ  ในที่ สุ ด ก็ ห นี ข ้ า มฟากไปอยู ่ ยั ง ที่ มั่ น ในเมื อ งปทาคู จ าม  ครั้ น อั ญ เชิ ญ พระนครอินทร์จากสุพรรณบุรีขึ้นมาแย่งอ�ำนาจได้แล้ว ก็คงย้ายเจ้านายราชวงศ์ สุ พ รรณภู มิ จ ากเมื อ งปทาคู จ าม เข้ า ไปอยู ่ ใ นพระบรมมหาราชวั ง ในเวี ย งใหญ่ แล้วจึง  “ให้สมเด็จพระยารามไปกินเมืองปทาคูจาม” คือเวียงเล็ก อันเปรียบ น. ณ ปากน้ำ�  15


เสมือนวังหน้ากลายๆ นั่นเอง ๑ หลั ก ฐานที่ ต รวจสอบได้ จ ากต� ำ บลเวี ย งเหล็ ก  รอบๆ อาณาบริ เวณ วัดพุทไธสวรรย์  พบซากวัดร้างมากมายนับไม่ถ้วน  จากหลังวัดต� ำหนักโอบไป ทางใต้  ถึงวัดสระสี่เหลี่ยม วัดแดง และวัดตระเว็ด  ในเวิ้งนี้  ปัจจุบันกลายเป็น ทุ ่ ง นา แต่ เ มื่ อ ออกเดิ น ส� ำ รวจ จะพบซากโบราณสถานร้ า งตามเนิ น ดิ น ต่ า งๆ ไม่น้อยกว่า ๒๐ แห่ง  โบราณสถานเหล่านี้ กรมการศาสนาขุดเอาอิฐไปขายจน หมด เหลือเพียงรากฐานที่ติดเนินดินเป็นหย่อมๆ  หากต่อไปภายหน้าไม่มี ใคร เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน ก็จะเข้าใจผิดว่าบริเวณเวียงเหล็กไม่มี โบราณสถานใดๆ เลย นอกจากนี้   บริ เวณด้ า นข้ า งวั ด พุ ท ไธสวรรย์ ท างทิ ศ ตะวั น ตก จากวั ด ท่าราบเป็นต้นไป มีหมู่บ้านมุสลิมอยู่อย่างหนาแน่น ก็ได้พบหมู่บ้านปลูกคร่อม ทับโบราณสถานอีกหลายแห่ง นับจ�ำนวนเป็นสิบๆ แห่ง  ฝั่งตะวันออกของคลอง คู จ าม ตั้ ง แต่ วั ด ทองไปจนถึ ง วั ด ขุ น พรหม เป็ น หมู ่ บ ้ า นมุ ส ลิ ม หนาแน่ น กว่ า ฝั ่ ง ตะวันตก หลังหมู่บ้านเป็นป่าละเมาะ พ้นแนวป่าออกไปเป็นทุ่งนา ภายในป่าละเมาะนี ้ คณะส�ำรวจของเราพบวัดร้างซึง่ เก่าแก่มากนับจ�ำนวน ไม่ถ้วน แต่น่าเสียดายว่าถูกขุดเอาอิฐไปขายเสียประมาณ ๙๕ ใน ๑๐๐  บางวัด เช่น วัดพญาพาน ตั้งอยู่กลางทุ่ง ถัดวัดพญากงไปทางทิศใต้ ถูกขนอิฐไปเสียจน ไม่เหลือ พบเพียงเศษป่นๆ พอจะคล�ำได้ว่ามี โบราณสถานมาก่อนเท่านั้น  อีก ไม่กี่ ปีข้างหน้าคงไม่มี ใครรู้ว่าตรงนี้เคยมีวัดส�ำคัญตั้งอยู่มาก่อนด้วยซ�้ำไป วัดส�ำคัญอีกวัดหนึ่งคือวัดท่าหอย เคยรุ่งเรืองอยู่ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เคยประทับอยู่มาก่อน บัดนี้ราบเป็นหน้ากลองไปแล้ว พบอิฐพ้นหน้าดินขึ้นมาเพียงไม่กี่ก้อนเท่านั้นเอง ตามซากโบราณสถานเก่ า แก่ ที่ พ บมากมายสองฝั ่ ง คลองคู จ าม ๒ ซึ่ ง ส่วนมากรกร้างขนาดหนัก บ่งว่าบริเวณนี้เคยมีความส�ำคัญมาก่อนแต่อดีต  และ ยืนยันชัดเจนว่าเมืองปทาคูจามย่อมมีตัวตนจริง 16  ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา


น่าสังเกตว่าที่วัดพญากง อยู่ทางทิศตะวันตก ใกล้กับวัดพญาพาน มี หลักฐานส�ำคัญพิเศษกว่าที่อื่น คือที่นั่นพบศิลปะทวารวดีด้วย พระพุทธรูปของ วั ด นี้ ส ลั ก หิ น  มี ข นาดใหญ่   ประทั บ ห้ อ ยพระบาท ปั จ จุ บั น ประดิ ษ ฐานอยู ่ ใ น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เจ้าสามพระยา  คณะส�ำรวจของเรามุ่งไปที่นั่น พบ ซากสถูป ใหญ่ข้างในเป็นโพรง เรียงอิฐเป็นระเบียบ เพดานห้องในสถูป โค้ง  ศิลปะ การก่อสร้างแบบนี้ ได้ค้นพบเจนตาตามศิลปะทวารวดี ๓  และสถูปรุ่นเก่า เช่น ที่ วัดพระเมรุ  นครปฐม และโบสถ์พราหมณ์  ลพบุรี  เป็นต้น  ระบุว่าเป็นโบราณสถานเก่า มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา ประจักษ์พยานโบราณวัตถุที่อ้างมานี้ ท�ำให้เราเชื่อมั่นว่า เมืองปทาคูจาม ต้องอยู่ที่นั่นตามประวัติศาสตร์ระบุไว้จริงๆ ส่ ว นฝั ่ ง ตะวั น ออก ตรงข้ า มกั บ ตั ว เกาะอยุ ธ ยา เราออกส� ำ รวจอย่ า ง ละเอียด ก็ ได้พบหลักฐานใหม่ อันไม่เคยคาดฝันมาก่อนเลย  ส�ำหรับฝั่งตะวันออก นี้  เราแบ่งเขตออกเป็นสองซีก ซีกหนึ่งอยู่ทางฝั่งทิศเหนือของคลองบ้านบาตร อีกซีกหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของคลอง ฟากคลองด้านทิศเหนือเป็นบริเวณที่นักประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่งสงสัย กั น ว่ า จะเป็ น เมื อ งอโยธยา ซึ่ ง เคยมี ม าก่ อ นกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ดั ง ที่ มี บั น ทึ ก ไว้ ใ น พงศาวดารเหนือ นั้น  เราได้พบหลักฐานใหม่หลายประการดังนี้ เจดี ย ์ ท รงลั ง กาขนาดย่ อ มในบริ เวณแถบนี้   เช่ น ที่ วั ด สมณโกฏฐาราม วัดสีกาสมุด วัดช้าง วัดมเหยงคณ์ มีส่วนสัดแปลกกว่าเจดีย์ลังกาบนตัวเกาะใหญ่ คือองค์ระฆังเตี้ยเกือบจรดดิน ทรงผายใหญ่  บัลลังก์สูง และฉัตรเหนือบัลลังก์ ใหญ่  เจดีย์แบบนี้ เมื่อน�ำมาเทียบกับเจดีย์ทรงลังกาที่วัดพระบรมธาตุ นครศรี ธรรมราช จะเห็นว่ามีทรวดทรงใกล้เคียงกัน  แสดงว่าเป็นเจดีย์ลังการุ่นแรกที่ เข้ า มาสู ่ ดิ น แดนแถบนี้ จ ากนครศรี ธ รรมราช หรื อ อาจจะมาจากลั ง กาโดยตรง ที เ ดี ย ว  เข้ า ใจว่ า มี ม าก่ อ นกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา เพราะมี ห ลั ก ฐานทางโบราณวั ต ถุ น. ณ ปากน้ำ�  17


70  ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา


น. ณ ปากน้ำ�  71


98  ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา


สิงห์ล้อมเจดีย์ วัดธรรมิกราช

น. ณ ปากน้ำ�  99


ปราสาทนครหลวง ใบเสมา วัดพระจันทร์ลอย

290  ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา


น. ณ ปากน้ำ�  291


318  ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา


เจดีย์รายย่อมุมสิบสอง ด้านในพระระเบียง วัดมหาธาตุ เจดีย์รายย่อมุมสิบสอง วัดมหาธาตุ น. ณ ปากน้ำ�  319


346  ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา


ใบเสมา วัดมณีชลขันธ์ ใบเสมา วัดมณีชลขันธ์ ลพบุรี

น. ณ ปากน้ำ�  347


ห้าเดือน กลางซากอิฐปูน ทีอยุธยา น. ณ ปากนํา้

ISBN 978-616-7767-53-6 ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา หมวดศิลปะไทย ราคา ๕๕๐ บาท


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.