โต้มชิ่งจา วิวาห์เมี่ยนในแดนดอย หากฟ้าไม่กำ� หนดมาให้เขาและเธอคู่กัน ความรักของคนทั้งสองก็ไม่ถึงฝั่งฝัน ...ชีวิตคนเมี่ยนก้าวเดินไปตามบัญชาฟ้าดิน เลตองคุ ต�ำนานหมู่บ้านกะเหรี่ยงฤๅษี การคบชู้ผิดประเวณีถือเป็นความผิดรุนแรง ถึงขั้นถูกเนรเทศออกจากหมู่บ้าน และจ�ำนวนหนึ่งไม่กินเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต
ไตแลง รอวันฉายแสงเหนือแผ่นดินฉาน สุนทรพจน์ของเจ้ายอดศึก... ใจความส�ำคัญสามารถสรุปลงในบรรทัดเดียวได้ว่า ให้ชาติพันธุ์ของเราพ้นทุกข์ จะยอมเอาหน้าอกเป็นป้อมปราการต่อสู้สืบไป
แผ่นดินนีท้ อี่ กี ฟากเขา
แขนข้างขวาชื่อสาละวินฯ “สาละวินไม่ใช่เป็นแต่เพียงแม่น�้ำ แต่เป็นอะไรบางอย่างที่สามารถกลืนวิญญาณ ของคนที่อยู่ริมฝั่งทั้งสอง มันเป็นพลังดึงดูดที่ลึกลับและมีพลังมหาศาล”
วีระศักดิ์ จันทร์สง่ แสง
หมวดประวัติศาสตร์/สังคม ISBN 978-974-484-323-4
ราคา ๑๙๙ บาท
๑๙๙.-
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
หลายชาติพันธุ์ หลากวิถี ในเขตแดนอันเร้นลับ
แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา
ISBN 978-974-484-323-4 หนังสือ แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา ผู้เขียน วีระศักดิ ์ จันทร์ส่งแสง
c สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ จ�ำนวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๑๙๙ บาท
คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปกและรูปเล่ม : บุญส่ง สามารถ พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ ส�ำนักพิมพ์สารคดี (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) จัดจ�ำหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ แยกสี/เพลต เอ็น.อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด โทร. ๐-๒๗๒๐-๕๐๑๔
ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อำ� นวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อำ� นวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : ปฏิมา หนูไชยะ ผู้อำ� นวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด : พิเชษฐ ยิ้มถิน ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : สุดารา สุจฉายา บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ
จากส�ำนักพิมพ์ ไกลไปจากศูนย์กลางของการพัฒนา ความวุน่ วายสับสนทางการ เมือง และความผันผวนในตัวเลขเงินๆ ทองๆ กลิ่นอายของดงดอย บ้านป่า และผู้คน ความต่างในวิถีแห่งความเชื่อความศรัทธา การต่อสูแ้ ละการเปลีย่ นแปลงเพือ่ ความด�ำรงอยูข่ องชนหลากเชือ้ ชาติ เหล่านี้คือเรื่องราวอันเต็มไปด้วยชีวิตและเลือดเนื้อที่นักเขียน สารคดีหนุม่ วีระศักดิ ์ จันทร์สง่ แสง ได้เดินทางไปสัมผัส และถ่ายทอด เป็นตัวอักษรอันเปี่ยมด้วยพลังของงานสารคดีชั้นเยี่ยม ล�ำดับจาก เรือ่ งราวหวานชืน่ ของวิวาห์เมีย่ นในแดนดอย แล้วเพิม่ ดีกรีความเข้มข้น ขื้นเรื่อยๆ จนจบที่การสละชีพเพื่อเอกราชของนักรบไทใหญ่บนดอย ไตแลง ไกลไปจากมหานครอันกว้างใหญ่ และแสงสีแห่งเทคโนโลยีทฉี่ าย ฉาน ในค�ำ่ คืนมืดมิดและเงียบสงัด ยังมีเสียงเต้นของหัวใจจาก “ผูค้ น” ที่เราควรรับรู้และรับฟัง ส�ำนักพิมพ์สารคดี
4
แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา
ความในของคนชายขอบ สามปี นานไหม ? มันขึ้นอยู่กับว่าเป็นช่วงเวลาส�ำหรับอะไร ส�ำหรับนักเขียนหัด ใหม่ที่ใจยังไม่นิ่ง-เช่นข้าพเจ้า สามปีที่ไม่มีงานเล่มใหม่ออกมาเลย ถือเป็นช่วงที่แสนนาน ไม่อาจเอือ้ มคิดไปว่าคนอ่านจะตัง้ ตารอ แต่กบั คนเขียน-ผูป้ ลูก ปลายปากกาบนที่นากระดาษ แต่ละรอบปีที่ผ่านไปโดยไม่มีผลิตผล ออกมาเป็นรูปเล่ม ถือเป็นเรื่องปวดร้าว ไม่ได้หา่ งร้างการท�ำงาน โดยเฉพาะวาระรับผิดชอบในรอบเดือน ในนิตยสาร สารคดี แต่ก็อย่างที่รู้กันกับบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ สารคดี ว่าการรวมเล่มงานเขียนคงไม่ใช่แค่การหยิบเอาเรื่องที่เคยตี พิมพ์ (ใน สารคดี) มาพอได้ความหนาตามควร แล้วพิมพ์รวมกันเป็น เล่ม อาศัยบารมีของนิตยสารที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นเครื่องการันตี คุณภาพของงาน เท่านัน้ คงไม่พอ--งานสารคดีทเี่ คยตีพมิ พ์เป็นเรือ่ งๆ ต่างกรรม ต่างวาระ หากน�ำมาพิมพ์รวมเล่ม อย่างน้อยทีส่ ดุ ก็ควรมีการสือ่ ความ หมายใหม่และเป็นเอกภาพในเนื้อหา หลัง แสงใต้ในมรสุม งานสารคดีสะท้อนวิถีด้านดีงามของแดน
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
5
ด้ามขวาน ออกสู่สายตาผู้อ่านเมื่อหัวปี ๒๕๕๐ จนล่วงถึงท้ายปี ๒๕๕๓ นี้ เราจึงรวมงานเขียนได้อีกเล่ม เป็นเรื่องราวของชนกลุ่ม ชาติพันธุ์ ที่มีถิ่นฐานอยู่ในเขตภูเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย โต้มชิ่งจา พิธีวิวาห์ตามวิถีของชาวเผ่าเมี่ยน น่าน ชนเผ่าปกากะญอบนเทือกเขาถนนธงชัย กับการรักษาป่ารักษา น�้ำ ไทใหญ่ กลุ่มชนที่มีดินแดนและประเพณีวัฒนธรรมของตน ใน คืนวันเพรียกหาเอกราช และกะเหรี่ยงฤๅษีแห่งป่าตะวันตก ชนกลุ่มเดียวในประเทศไทย ที่นับถือองค์ฤๅษีเป็นผู้น�ำทางความเชื่อและจิตวิญญาณ เป็นเรือ่ งราวเนือ้ สารในหนังสือเล่มนี ้ แต่สอื่ สารเรือ่ งราวของพวก เขาออกไปแล้ว ก็อดรู้สึกไม่ได้ว่าความจริงแล้วตัวงานสารคดีก็เป็น คล้ายชนชายขอบในอาณาจักรวรรณกรรมไทยอยู่เช่นกัน มากมาย ปรากฏการณ์ในช่วงหลายปีทผี่ า่ นมา สะท้อนความจริงนีอ้ ย่างปฏิเสธ ไม่ได้ ใน “จุดไต้” (ค�ำน�ำผู้เขียน) ของหนังสือ แสงใต้ในมรสุม เมื่อปี ๒๕๕๐ ข้าพเจ้าในวัยหนุม่ (กว่าวันนี)้ ระบายความใฝ่ฝนั ส่วนตนไว้ ว่า อยากเห็นงานสารคดีได้รบั การยอมรับอย่างเสมอหน้ากับงานเขียน ประเภทอื่น และอย่างไม่มีข้อกังขาว่านี้คืองานวรรณกรรมแขนง หนึง่ --ซึง่ ออกจะเป็นความคาดหวังจากคนอืน่ และข้าพเจ้าก็คาดคัน้ กับตัวเองไว้ว่า จะต้องสร้างสรรค์วรรณศิลป์ให้ถึงรส ให้ถึงที่คนอ่าน จะหยิบงานสารคดีขนึ้ มาอ่านโดยไม่ตอ้ งขึน้ กับความมุง่ หมายใคร่รตู้ อ่
6
แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา
หัวข้อเรือ่ งนัน้ ๆ แต่อา่ นเพราะแน่ใจว่าจะได้ความรืน่ รมย์ในรสอักษร เฉกเช่นการเสพงานวรรณศิลป์แขนงอื่น ถึงวันนี้ ข้าพเจ้าพบความจริงเพิ่มขึ้นตามหนทางการเรียนรู้ที่ ผ่านมาว่า งานเขียนแต่ละประเภทล้วนมีลักษณะเฉพาะของตน ไม่ เว้นแม้แต่งานสารคดี ความพยายามที่จะเขียนสารคดีในแนวของ ภาษากวี หรือพยายามจะให้เป็นไปในรูปของเรื่องสั้น นิยาย จึงอาจ ล้วนเป็นความเข้าใจผิด เพราะงานสารคดีมีหลักที่ต้องยึดกุมอยู่กับ ข้อเท็จจริงและมีขนบของการบอกเล่าและให้รายละเอียดของข้อมูล ที่ต่างไปจากเรื่องแต่ง ถ้าการเดินไปตามเงือ่ นไขทีเ่ ป็นเหมือนภาคบังคับของงานสารคดี ดังที่ว่านี้ แล้วท�ำให้ดูงุ่มง่ามในทางวรรณศิลป์ จนถูกผลักไปอยู่แถว ชายขอบของวงวรรณกรรม คนเขียนสารคดีก็ไม่มีทางเลือกอื่นไปได้ ในเมื่อข้อมูลหรือข้อเท็จจริงนั้น ถือเป็นครึ่งหนึ่งของงานสารคดี ที่จะ มาผสานกับการเล่าเรื่องด้วยส�ำนวนภาษาที่ลื่นไหลและแหลมคม ความคาดหวังถึงชิ้นงานที่จะเป็นงานเขียนในดวงใจคนอ่าน จึง ไม่อาจปฏิเสธเรือ่ งหัวข้อประเด็นทีผ่ เู้ ขียนเลือกหยิบมาเล่า ซึง่ ถือเป็น บันไดขั้นแรกของความส�ำเร็จ ที่รอการมาบรรจบของการสร้างสรรค์ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การน�ำเสนอ และชั้นเชิง พลัง กับทั้งเสน่ห์ อันชวนลุม่ หลง เร่งเร้า กระทบใจ ของตัวหนังสือทีผ่ เู้ ขียนส่งมาเล่าเรือ่ ง สารคดีมีลักษณะเฉพาะเช่นเดียวกับงานเขียนสายอื่น ส่งผล สืบเนื่องถึงความคาดหวังและการวัดคุณค่า ที่ย่อมต้องผ่านกรอบ เกณฑ์เฉพาะ
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
7
นี้เป็นความในของคนชายขอบ (ผู้เขียน) ที่อยากเกริ่นกล่าวต่อ ผูอ้ า่ น ก่อนผ่านเข้าไปพบเรือ่ งเล่าถึงชนชายขอบ (ตัวละคร-จริง) ที่ แสดงบทบาทของตนอยู่ตามวิถี-ชีวิตจริง ซึ่งท่านผู้อ่านอาจรื่นรมย์ ขมขืน่ เห็นอกเห็นใจ เศร้าสร้อย สะเทือนใจ หวานชืน่ อิม่ ใจ ฯลฯ ไป กับเขาเหล่านั้น และข้าพเจ้าก็ยังหวังว่า ท่านจะรื่นรมย์ในรสของอักษรด้วย
8
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง กลางกันยาฯ ๒๕๕๓ บ้าน-ซอยบ้านช่างหล่อ, ธนบุรี
แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา
แด่ ถนนธงชัย ปฐมบทเรียนที่สอนให้ข้าพเจ้าเข้าใจ ความยิ่งใหญ่และเหน็บหนาวของภูเหนือ
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
9
ไตแลง สาละวิน โต้มชิ่งจา
เลตองคุ
แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา
สารบัญ
๑๒
โต้มชิ่งจา วิวาห์เมี่ยนในแดนดอย
๔๐
เลตองคุ ต�ำนานหมู่บ้านกะเหรี่ยงฤๅษี
๘๖
แขนข้างขวาชื่อสาละวิน : (๒,๘๐๐ กิโลเมตรแห่งความลึกลับ ของแม่น�้ำใหญ่สายสุดท้าย ที่ยังปลอดเขื่อน)
๑๒๔
ไตแลง รอวันฉายแสงเหนือแผ่นดินฉาน
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
11
โต้มชิ่งจา วิวาห์เมี่ยนในแดนดอย
น่าน
12
คู่ชีวิตใหม่ ของหมู่บ้าน น�้ำปุกเหนือ แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
13
โต้มชิ่งจา วิวาห์เมี่ยนในแดนดอย
๗ ๘ ๙
๑๐
๗ ตลอดงานมีการกินเลี้ยงอย่างหรูหรา ๘ ก่อนเสร็จพิธ ี คู่บ่าวสาวยกน�ำ้ ชา ติ้ว (เหล้า) เลี้ยงแขกที่มาร่วมงานแทนค�ำขอบคุณ และแขกจะวางเงินไว้ในถาดเป็นขวัญถุงแก่คู่บ่าวสาว ๙ เจ้าบ่าวต้องเตรียมหมูไว้กว่า ๑๐ ตัวขึ้นไปส�ำหรับเซ่นไหว้ ในพิธีกรรม ท�ำอาหารเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน และแบ่งให้ แขกคนส�ำคัญติดตัวกลับบ้านหลังเสร็จพิธี ๑๐ ดอกไม้สีขาวปักบนหนังหมู เป็นสัญญาณว่างานเลี้ยงก�ำลังจะเลิกรา
18
แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา
โหย่ว อี้ อ้าย เตอะ เหยิน ลี่ ซีน ฉี่ ฝู้ ปู้ ผ้า ผิน ตั้งใจรักใครสักคน มุ่งมั่นขอแต่งงานด้วย ไม่กลัวจน บทหนึ่งในหนังสือปรัชญา ผอ ลี้ สอนเอาไว้ และลูกผู้ชายชน เผ่าเมี่ยนทุกคนถือปฏิบัติกันอย่างมั่นคง ล�ำพังแต่ค่าสินสอดนั้นไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ที่หนักหนาสาหัสอยู่ที่ ค่ารับรองเลี้ยงดูแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน พิธีสมรสของชนเผ่าเมี่ยนสืบแบบแผนมาจากการแต่งงานใน ราชวังจีนโบราณ แม้เมือ่ เคลือ่ นย้ายเผ่าพันธุม์ าอยูก่ ลางดงดอยห่างไกล งานวิวาห์ยังคงถูกจัดอย่างเอิกเกริก เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ แพรว พรายด้วยสีสัน และบ่งบอกถึงฐานะบารมีของเจ้าของงาน ใครจัดงานแต่งได้ยงิ่ ใหญ่กน็ บั เป็นหน้าเป็นตาและช่วยเชิดชูวงศ์ ตระกูล วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
19
ส�ำหรับเจ้าสาว พิธวี วิ าห์เป็นเหมือนบานประตูของการก้าวข้าม ไปสูค่ วามเปลีย่ นแปลงยิง่ ใหญ่ในชีวติ ไม่เฉพาะแต่ชวี ติ ของเธอผูเ้ ดียว หากยังเกี่ยวโยงถึงคนอื่นๆ อีกตระกูลหนึ่งด้วย กว่าทีเ่ ธอจะได้รบั อนุญาตให้ผา่ นบานประตูเข้าไป จึงต้องมีการ ตรวจดวงชะตาราศีกันอย่างถี่ถ้วน หนุม่ และสาวจะรักมัน่ ต่อกันปานใด หากฟ้าไม่กำ� หนดมาให้เขา และเธอคู่กัน ความรักของคนทั้งสองก็ไม่ถึงฝั่งฝัน ถ้าใครจะกล่าวว่า ชีวติ คนเมีย่ นก้าวเดินไปตามบัญชาฟ้าดิน-เขาคงไม่ปฏิเสธ สู เซิน เหยี่ยว มิ่น อยู่หรือตายขึ้นกับโชคชะตา
๑ คืนที่ผ่านมา เฉ่งฮิ้น หรือ นิภาพร แซ่จ่าว ได้นอนในห้องของ ตัวเองเป็นคืนสุดท้าย เช้าวันนีแ้ ล้วทีเ่ ธอต้องจากบ้านเกิดทีค่ นุ้ เคยมา ๑๗ ปี ไปอยูใ่ นบ้านอีกหลังหนึง่ จากอ้อมอกแม่ทใี่ ห้กำ� เนิด ไปสูอ่ อ้ ม แขนของชายคนรัก ก่อนจะออกเดินทางไปกับยามสายอันแจ่มใสของฤดูหนาว เธอ อยากจะนึกทบทวนเรื่องราวแต่หนหลังระหว่างเธอกับเขาคนนั้นอีก สักครั้ง
20
แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา
ดอย ชายคนรักทีก่ ลายมาเป็นเจ้าบ่าวของเธอ มีชอื่ ในโรงเรียน ว่า ศักดิ์อุดร เข็มทองน�ำชัย เขามีอายุมากกว่าเธอ ๓ ปี หลายปีมาแล้ว พี่ชายคนหนึ่งของดอย ย้ายครอบครัวจากบ้าน น�ำ้ ปุกเหนือ เข้ามาอยูท่ หี่ มูบ่ า้ นสันเจริญ ต�ำบลผาทอง อ�ำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน บ้านเกิดของนิภาพร ยามเมือ่ ดอยมาเยีย่ มบ้านพีช่ าย ก็ มักได้เห็นเด็กหญิงขี้อายคนหนึ่งเที่ยววิ่งเล่นอยู่ในหมู่บ้าน กระทั่งหลังเรียนจบ ม. ๓ ดอยมาเข้าค่ายเยาวชนเผ่าเมี่ยนที่ โรงเรียนบ้านสันเจริญ ครั้งนี้เขามาพบเด็กหญิงคนเดิมในวัยเริ่มแตก เนื้อสาวและรู้สึกหลงรัก คิดมาถึงตรงนี้นิภาพรรู้สึกหวามหวิวในใจ เมื่อนึกไปถึงเรื่องเล่าในสมัยก่อนเก่าที่เคยได้ยินคนรุ่นพ่อแม่พูดกัน มา หนุม่ เมีย่ นสมัยก่อนเกิดชอบพอสาวคนไหน เขาจะหมายบ้านไว้ แต่กลางวัน ครั้นตกค�ำ่ พวกผู้ใหญ่หลับกันแล้ว เพื่อนหนุ่มในหมู่บ้าน จะพาเขาไปเคาะฝาบ้านตรงที่เป็นห้องนอนของสาว ขอพูดคุยด้วย เข้าทีเ่ ข้าทางดีแล้วกลุม่ เพือ่ นจะปลีกตัวไป ปล่อยชายหนุม่ ไว้คนเดียว ถ้าสามารถเกี้ยวพานจนสาวคนที่อยู่ในบ้านพึงใจ เธออาจเปิดประตู ให้เขาเข้าไปถึงในห้อง--หากเป็นความยินยอมพร้อมใจของหญิงสาว พ่อแม่หรือใครก็ไม่มีสิทธิ์กีดกั้น เว้นจากฟ้าดิน-เท่านั้น ! หนุม่ สาวเมีย่ นมีเสรีในเรือ่ งความรัก ทัง้ นีเ้ ขาและเธอต้องพร้อม รับผิดชอบต่อทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้นด้วย แต่กับนิภาพรดอยไม่ได้ท�ำอย่างนั้น การจีบสาวในยุคสมัยนี้ก็ ผันเปลีย่ นไปตามสภาพสังคมบ้านเมืองทีเ่ ปลีย่ นแปลง ดอยกับเธอมัก
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
21
เลตองคุ ต�ำนานหมู่บ้านกะเหรี่ยงฤๅษี
ลูกหลานเลตองคุรุ่นใหม่กับทิวสวนหมากที่ยืนต้น สูงชะลูดบอกเวลายาวนานของการตั้งถิ่นฐาน
ตาก
40
แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา
ในวันพระ ชาวกะเหรี่ยงฤๅษี จากหมู่บ้านต่างๆ จะมารวมกัน อยู่ที่ส�ำนักฤๅษี
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
41
เลตองคุ ต�ำนานหมู่บ้านกะเหรี่ยงฤๅษี ๑๑ ฤๅษีองค์ปัจจุบันกับภาพถ่าย ฤๅษีองค์ก่อน ผู้เป็นอาจารย์ ๑๒ แต่ละคุ้มบ้านของหมู่บา้ นเลตองคุ จะมีปา้ ยชื่อสมาชิกติดอยู่ด้านหน้า นามสกุลส่วนใหญ่ตั้งโดยเจ้าหน้าที่ ราชการที่มาท�ำทะเบียนราษฎร์ คนที่ไม่มีนามสกุลเป็นกลุ่มที่ยัง ไม่มีสัญชาติไทย ๑๓ ฤๅษีมอแน่ กับงาช้างแกะสลักพระพุทธรูป สิ่งมงคลคู่บ้านคู่เมือง ของเลตองคุ
๑๑ ๑๒ ๑๓
46
แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา
เพียงภาพแรกที่เห็นหมู่บ้านปรากฏอยู่ตรงหน้าก็ให้ความรู้สึก ตื่นใจไหวระรัว ด้วยเรื่องราวภูมิหลังของหมู่บ้านที่เคยรับรู้มาก่อน กระท่อมไม้ไผ่และบ้านไม้ยกพืน้ สูง กัน้ ขอบระเบียงด้านหน้าด้วย ไม้กระดานฉลุลาย เรียงรายอยูส่ องฟากทางซึง่ กว้างพอให้รถยนต์แล่น ผ่านได้-แม้ว่าหมู่บ้านนี้จะไม่เคยมีรถยนต์เข้ามาถึงเลย ปลายถนนทอดหายเข้าไปในหมูบ่ า้ น น�ำคนเดินทางเข้าไปรูเ้ ห็น ความลึกเร้นของเลตองคุ คล้ายเป็นต�ำนานปรัมปราที่เลือนรางในความรับรู้ของผู้คนใน เมือง เกี่ยวกับหมู่บ้านกะเหรี่ยงฤๅษีแห่งป่าตะวันตก ความมีอยู่จริง ของชุมชนทีผ่ คู้ นทัง้ ชายหญิงไว้ผมยาวเกล้ามวย และยังแต่งกายด้วย ชุดเสื้อผ้าประจ�ำเผ่า ก็บา้ นเมืองในยุคสมัยนีแ้ ล้ว แทบจะดูเหมือนไม่มชี มุ ชนตกส�ำรวจ หลงเหลืออยู่ในเขตประเทศไทยอีก และกระแสความเจริญของโลก
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
47
สมัยใหม่ก็แพร่กระจายเข้าเจาะทะลวง สร้างความเปลี่ยนแปลงและ ชักน�ำผู้คนออกมาสู่โลกภายนอก จะเป็นเกาะเปลี่ยวร้างกลางทะเล ไกล บนดอยสูงกลางการโอบล้อมด้วยทิวผาซับซ้อน หรือหมูบ่ า้ นห่าง ไกลสุดชายแดน ยังมีหมู่บ้านที่ไม่มีความกระจ่างชัดในความรับรู้ ไม่ เคยถูกท�ำวิจัย ไม่มีค�ำตอบหรือค�ำอธิบายในรูปของเอกสารวิชาการ อยู่อีกหรือ? บางที เลตองคุอาจเป็นชุมชนหนึ่งที่ทา้ ทายต่อค�ำถามนี้
๑
กรุงเทพฯ-เลตองคุ ชาวเลตองคุยุคนี้ทุกคนยังรับรู้เรื่องที่ปู่ย่าตายายเล่าต่อกันมาว่า กรุงเทพฯ กับเลตองคุสร้างวันเดียวกัน สองเมืองนีจ้ งึ มีความเกีย่ วโยง กันอยู่ สถานการณ์หรือความเป็นไปใดๆ ที่เกิดในที่หนึ่ง จะสะท้อน ถึงชะตาของอีกเมืองได้ เพราะเมืองทั้งสองสร้างวันเดียวกันจึงมีดวง เมืองเดียวกัน เรือ่ งเล่านีเ้ ป็นมุขปาฐะปากเปล่าทีไ่ ม่อาจหาข้ออ้างอิงในเชิงเอกสาร ด้วยการจดบันทึกเป็นเรื่องนอกเหนือวิถีชีวิตของชาวเผ่ายุคโบราณ แต่ดูจากท�ำเลที่ตั้ง ตรงนั้นเป็นที่ตั้งเมืองได้จริง เลตองคุเป็นเพียงหมูบ่ า้ นชนเผ่าก็จริง แต่ทตี่ งั้ ชุมชนไม่ได้อยูบ่ น ยอดดอย ไหล่เขา หรือหุบแคบๆ อย่างบ้านชาวเผ่าทัว่ ไป หากตัง้ อยู่
48
แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา
บนแนวเนินกว้างขวางพอจะตั้งเมืองได้ ถัดออกไปรอบนอกขนาบ ด้วยผาเขาสูงเป็นก�ำแพงธรรมชาติ ตัวชุมชนตัง้ อยูบ่ นฝัง่ แม่นำ�้ สามสาย ไพล่ให้นกึ ไปถึงเมืองลีเ่ จียง เมืองมรดกโลกของมณฑลยูนนาน (จีน) บ้านเรือนจ�ำนวน ๒๐๐ กว่า หลังคากระจายกันอยู่ตามระลอกเนิน ที่กว้างพอให้บ้านแต่ละหลังตั้ง อยู่หา่ งๆ กันได้ มีพื้นที่ในแนวรั้วพอจะท�ำสวนครัวและปลูกไม้ยืนต้น พื้นบ้าน ได้อาศัยดอกผลและความร่มรื่น และเป็นความชุ่มชื่นแก่ผืน ดิน นอกเหนือจากทีป่ ลูกเป็นสวนโดยเฉพาะ ซึง่ อาจแยกอยูอ่ กี ทีห่ นึง่ ต่างหาก จากขนาดพุ่มของไม้ผลและความสูงของต้นหมากมะพร้าว ในหมูบ่ า้ น พอมองเห็นได้วา่ พวกเขาคงไม่ได้เพิง่ ตัง้ ถิน่ ฐานกันวันสอง วัน เมืองกรุงเทพฯ มีอายุ ๒๐๐ กว่าปี เลตองคุก็คงไม่น้อยกว่านั้น แต่โดยฐานะตามเขตการปกครองปัจจุบนั เลตองคุกเ็ พียงหมูบ่ า้ น หนึง่ ของต�ำบลแม่จนั ในเขตอ�ำเภออุม้ ผาง จังหวัดตาก ทีม่ อี าณาเขต กว้างขวางขนาดเดินกันเป็นหลายชั่วโมงหรือเป็นครึ่งค่อนวันกว่าจะ ถึงหมู่บ้านใกล้เคียง เว้นแต่ทางตะวันตกที่อยู่ริมตะเข็บชายแดน เพียงข้ามฝั่งแม่น�้ำสุริยะเข้าไปก็เป็นหมู่บ้านพี่น้องกะเหรี่ยงฝั่งพม่า ร่วม ๒๐-๓๐ หมู่บ้าน จากเลตองคุมีเส้นทางเชื่อมต่อกับโลกภายนอกสามสาย ทาง แรกตัดตรงออกไปยังบ้านเปิ่งเคลิ่ง จากที่นั่นจะมีรถสองแถวโดยสาร วิ่งเข้าตัวอ�ำเภออุ้มผางที่อยู่ห่างออกไป ๘๗ กิโลเมตร แต่ระยะทาง ราว ๑๖ กิโลเมตรจากหมูบ่ า้ นเลตองคุ ออกมาถึงทางรถทีบ่ า้ นเปิง่ เคลิง่ นั้น เป็นเส้นทางเล็กแคบผ่านไหล่เขาสูงชัน มีช่วงที่ต้องผ่านล�ำห้วย
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
49
แขนข้างขวาชื่อสาละวิน : (๒,๘๐๐ กิโลเมตรแ
กลุ่มศิลปินแลกเปลี่ยนไทย-พม่า ก�ำลังแสดงงานศิลปะ ที่มีเนื้อหาสร้างจิตส�ำนึกด้านสิ่งแวดล้อมที่บริเวณตากวิน พื้นที่ที่ถูกก�ำหนดให้เป็นที่ตั้งเขื่อนสาละวินตอนล่าง
แม่ฮ่องสอน
86
แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา
ห่งความลึกลับของแม่น�้ำใหญ่สายสุดท้ายที่ยังปลอดเขื่อน)
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
87
แขนข้างขวาชื่อสาละวิน : (๒,๘๐๐ กิโลเมตรแห่ง ผู้คนหลากวัย จากหลายชนเผ่า ในลุ่มน�้ำสาละวิน
92
แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา
ความลึกลับของแม่น�้ำใหญ่สายสุดท้ายที่ยังปลอดเขื่อน)
ยามมองดูแผนที่อย่างจริงจัง ข้าพเจ้ารู้สึกทุกครั้งว่าแม่นำ�้ ใหญ่ สองสายนัน้ เป็นเหมือนแขนสองข้างของแผ่นดินไทย แม่นำ�้ โขงทีไ่ หล ขนาบขอบแดนด้านตะวันออกตั้งแต่เหนือสุดไปจนสุดแดนอีสานเป็น แขนซ้าย และแม่น�้ำสาละวินที่เลียบเข้ามาเฉียดพรมแดนด้านตะวัน ตกเพียงระยะทางสั้นๆ นั้นเป็นแขนข้างขวา ผืนแผ่นดินรูปขวาน โบราณหรือรูปต้นไม้-ตามแต่สายตาใครจะมอง ได้รับการโอบกอด และหล่อเลีย้ งโดยมหานทีสองสายนี ้ รวมทัง้ ห้วยธารสาขาทีแ่ ตกแขนง ไปในลุม่ น�ำ ้ แต่ทผี่ า่ นมาดูเหมือนว่าคนไทยโดยทัว่ ไปจะรูจ้ กั และรูส้ กึ มีเยื่อใยแต่กับแม่น�้ำทางตะวันออก ส่วนกับมหาธารอีกสายดูจะตรง กันข้าม ข่าวสารเกีย่ วกับแม่นำ�้ สาละวินทีเ่ รารู ้ มักไม่พน้ เรือ่ งราวของสงคราม การเข่นฆ่า ป่าดงแดนกันดาร ความดิบเถื่อน และความขัดแย้งที่ยืด เยื้อมากว่าครึ่งศตวรรษ หรือใกล้เข้ามากว่านั้น เราก็คุ้นชื่อสาละวิน ในฐานะแหล่งซุงไม้สกั ป่าสาละวินเป็นถิน่ ไม้เถือ่ น เป็นทางผ่านของ แรงงานเถื่อนที่ข้ามสายน�้ำมาสู่ฝั่งไทย
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
93
โต้มชิ่งจา วิวาห์เมี่ยนในแดนดอย หากฟ้าไม่กำ� หนดมาให้เขาและเธอคู่กัน ความรักของคนทั้งสองก็ไม่ถึงฝั่งฝัน ...ชีวิตคนเมี่ยนก้าวเดินไปตามบัญชาฟ้าดิน เลตองคุ ต�ำนานหมู่บ้านกะเหรี่ยงฤๅษี การคบชู้ผิดประเวณีถือเป็นความผิดรุนแรง ถึงขั้นถูกเนรเทศออกจากหมู่บ้าน และจ�ำนวนหนึ่งไม่กินเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต
ไตแลง รอวันฉายแสงเหนือแผ่นดินฉาน สุนทรพจน์ของเจ้ายอดศึก... ใจความส�ำคัญสามารถสรุปลงในบรรทัดเดียวได้ว่า ให้ชาติพันธุ์ของเราพ้นทุกข์ จะยอมเอาหน้าอกเป็นป้อมปราการต่อสู้สืบไป
แผ่นดินนีท้ อี่ กี ฟากเขา
แขนข้างขวาชื่อสาละวินฯ “สาละวินไม่ใช่เป็นแต่เพียงแม่น�้ำ แต่เป็นอะไรบางอย่างที่สามารถกลืนวิญญาณ ของคนที่อยู่ริมฝั่งทั้งสอง มันเป็นพลังดึงดูดที่ลึกลับและมีพลังมหาศาล”
วีระศักดิ์ จันทร์สง่ แสง
หมวดประวัติศาสตร์/สังคม ISBN 978-974-484-323-4
ราคา ๑๙๙ บาท
๑๙๙.-
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
หลายชาติพันธุ์ หลากวิถี ในเขตแดนอันเร้นลับ
แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา