นายรอบรู้-น่าน V.4

Page 1

o.c RobRo om Nai

“นายรอบรู้” น่าน www .

“นายรอบรู้” น่าน กิน

เที่ยว

ซื้อของ

ที่พัก

น่าน

แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ� จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

180.-

ISBN 978-616-7767-13-0


สารบัญ

“ น า ย ร อ บ รู้ ”

10 น่ า น

1 คำ�ขวัญประจำ�จังหวัด 15 แผนที่ 44 อ่านก่อนเที่ยว - รู้ จั ก  จ. น่ า น/สภาพธรรมชาติ / ประวั ติ แ ละความเป็ น มา/น่ า น เมืองเก่าที่มีชีวิต 57 “สุดยอด” ในน่าน 65 ที่เที่ยวและเส้นทาง 65 • ที่เที่ยวย่านใจกลางเมืองน่าน - วั ด ภู มิ น ทร์ / พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ   น่ า น/วั ด มิ่ ง เมื อ ง/  วัดพระธาตุชา้ งคํา้ วรวิหาร/วัดหัวข่วง/ปันใหญ่ ปันสูง แกลเลอรี/  วัดกู่คำ�/วัดพญาภู/วัดหัวเวียงใต้ 87 • ที่เที่ยวในตัวเมืองน่าน - วัดสวนตาล/ตึกรังษีเกษม รร. น่านคริสเตียนศึกษา/โฮงเจ้า-  ฟองคำ�/พิพธิ ภัณฑ์ชมุ ชนบ้านพระเกิด/วัดมหาโพธิ/์ วัดพญาวัด/  วัดศรีพันต้น/ห้องสมุดบ้าน ๆ น่าน ๆ 104 • ที่เที่ยวย่าน อ. เมือง - วัดพระธาตุเขาน้อย/เตาเผาโบราณบ้านบ่อสวก (แหล่งเตา  โบราณบ้านจ่ามนัส)/วัดพระธาตุแช่แห้ง/พิพิธภัณฑ์วัดนาปัง/  โฮมสเตย์บ้านหาดผาขน/หอศิลป์ริมน่าน 119 • ที่เที่ยวย่าน อ. เวียงสา - วัดบุญยืน/ที่ว่าการอำ�เภอ (หลังเก่า)/เฮือนรถถีบ (พิพิธภัณฑ์  จักรยาน) 129 • ที่เที่ยวช่วง อ. นาน้อย - อ. นาหมื่น - เสาดิ น นาน้ อ ยและคอกเสื อ /อช. ศรี น่ า น/บ้ า นปากนาย/  อช. ขุนสถาน 138 • ที่เที่ยวย่าน อ. ท่าวังผา - วัดหนองบัว/บ้านสันเจริญ/อช. นันทบุรี 147 • ที่เที่ยวย่าน อ. ปัว - ต้นดิ๊กเดียม วัดปรางค์/วัดต้นแหลง/วัดพระธาตุเบ็งสกัด/  วัดร้องแง/วังศิลาแลง/นํ้าตกศิลาเพชร


น่ า น

11 “ น า ย ร อ บ รู้ ”

155 • ที่เที่ยวช่วง อ. บ่อเกลือ-สะจุกสะเกี้ยง - อช. ดอยภูคา/บ่อเกลือสินเธาว์/อช. ขุนน่าน/สถานีพัฒนา  การเกษตรที่สูงตามพระราชดำ�ริ บ้านสะจุก-สะเกี้ยง/ศูนย์  ภูฟ้าพัฒนา 167 • ที่เที่ยวช่วง อ. เชียงกลาง - อ. ทุ่งช้าง - วั ด หนองแดง/นํ้ า ตกตาดม่ า น/กลุ่ ม ทอผ้ า บ้ า นทุ่ ง สุ น /บ้ า น  มณีพฤกษ์ 179 • ที่เที่ยวย่าน อ. สองแคว - อช. ถํ้าสะเกิน/นํ้าตกห้วยหาด 183 • ที่เที่ยวย่าน อ. เฉลิมพระเกียรติ - ด่านพรมแดนห้วยโก๋น-นํ้าเงิน/ฐานปฏิบัติการห้วยโก๋น (เก่า) 188 เที่ยวเทศกาลงานประเพณี - เทศกาลชมพูภูคาบาน และงานบวงสรวงเจ้าหลวงภูคา/ประเพณี หกเป็ง ไหว้พระธาตุแช่แห้ง/ประเพณีสรงนํ้าพระเจ้าทองทิพย์/  ประเพณีแปดเป็ง ขึ้นพระธาตุเขาน้อย/ประเพณี ใส่บาตรเทียน/  เทศกาลโลกของกว่าง/งานแข่งเรือประเพณี จ. น่าน/เทศกาลของดี  เมืองน่านและงานกาชาด/ประเพณีปีใหม่ม้งบ้านมณีพฤกษ์ 195 เที่ยวตลาด - ตลาดราชพัสดุ/ตลาดตั้งจิตนุสรณ์ (กาดเช้า)/กาดบ้านเก่าวัด  หัวเวียงใต้/ตลาดเทศบาล ต. เวียงสา (ตลาดวัดบุญยืน)/ตลาด  เช้าเมืองปัว/ตลาดชายแดนห้วยโก๋น 206 ของกินและที่กิน 212 “นายรอบรู้” อร่อยทั่วไทย 233 ซื้อของฝาก 248 ข้อมูลการเดินทาง - การเดินทางจากกรุงเทพฯ/การเดินทางภายในตัวเมือง/การเดิน ทางไปเที่ยวต่างอำ�เภอ/ตารางโทรศัพท์ติดต่อรถโดยสาร/ตาราง  โทรศัพท์ติดต่อสอบถามเที่ยวบิน/บริษัททัวร์และบริการรถเช่า 255 ข้อมูลที่พัก - พักที่ไหนดี/อ. เมือง/ย่าน อ. ภูเพียง/ย่าน อ. เวียงสา/อช. แม่จริม/ อ. นาน้อย/อช. ศรีน่าน/อช. ขุนสถาน/อ. นาหมื่น/อ. ท่าวังผา/  อช. นั น ทบุ รี / ย่ า น อ. ปั ว /อช. ดอยภู ค า/ย่ า น อ. บ่ อ เกลื อ /  อช. ขุนน่าน/อ. เชียงกลาง/อ. ทุ่งช้าง/อ. เฉลิมพระเกียรติ 269 ค้นหาที่เที่ยว 271 ขอความช่วยเหลือ


3★ อาวตาลคู

ดูแผนที่ 7

3156

6★

318

อ. เมือง

3157

1★

แมน้ำ ตราด

อ. แหลมงอบ 3148 5 4 3155 ★

ดูแผนที่ 3

3157

3

แมน้ำเวฬุ

3159

3388 3159

ดูแผนที่ 2

3158

3157

3157

อ. บอไร

3299

ดูแผนที่ 5

แมน้ำ 3494 2 เขาสมิง อ. เขาสมิง ★

ดูแผนที่ 4

3447

จ. จันทบุรี

318

3271

จ. ตราด

0

กัมพูชา

5

10

ทิศเหนือ

1. นํ้าตกคลองแก้ว 2. กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศตำ�บลห้วยแร้ง 3. อ่าวตาลคู่ 4. ศูนย์การเรียนรู้และศึกษาระบบนิเวศ หาดทรายดำ� 5. กลุ่มการท่องเที่ยวบ้านนํ้าเชี่ยว 6. วัดบุปผาราม 7. เกาะช้าง 8. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งตราด 9. เกาะหวาย 10. เกาะรังใหญ่ 11. เกาะขาม 12. เกาะหมาก 13. เกาะกระดาด 14. เกาะกูด 15. หาดราชการุณย์ 16. ชุมชนโรงโป๊ะ

★ ที่เที่ยว

15 กม.

1 จ. ตราด


ดูแผนที่ 8

4

ดูแผนที่ 11

ดูแผนที่ 9

8

3155

ดูแผนที่ 12

ดูแผนที่ 13

เกาะไมซี้

อ. เกาะกูด ★ 14

เกาะขาม 13 ★เกาะกระดาด 11★ 12 เกาะระยั้งใน ★เกาะหมาก เกาะรังใหญ ★10 เกาะระยั้งนอก เกาะตุน

เกาะพราวใน เกาะงาม เกาะพราวนอก เกาะไมซี้เล็ก เกาะเหลายา เกาะ เกาะไมซี้ใหญ ดูแผนที่ 10 เหลายา เกาะเหลายานอก เกาะจาน กลาง ★9 เกาะคลุม เกาะหวาย เกาะใบตั้ง

หาด ทราย อ. เกาะชาง ขาว ★ หาด 7 คลอง พราว

อาวตาลคู

ดูแผนที่ 6

3269

หาดราชการุณย 15 ★

318

อาวไทย

3292

16★ อ. คลองใหญ

ระยะทางจาก อ. เมืองไปอำ�เภอต่าง ๆ 16 กม. อ. เขาสมิง อ. แหลมงอบ 17 กม. อ. เกาะช้าง 27 กม. อ. บ่อไร่ 59 กม. อ. คลองใหญ่ 74 กม. อ. เกาะกูด 82 กม.


อ่านก่อนเที่ยว รู้จัก จ. น่าน

“ น า ย ร อ บ รู้ ”

44 น่ า น

น่านตัง้ อยูท่ างด้านตะวันออกของภาคเหนือ เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ทีแ่ วดล้อม  ด้ ว ยขุ น เขาน้ อ ยใหญ่   มี อ ายุ  ร่วมสมัยกับแคว้นสุโขทัยและ  อาณาจักรล้านนา  ในบริเวณ  จั ง หวั ด มี ผู ้ ค นหลายเชื้ อ ชาติ  อาศัยอยู่ โดยเฉพาะชาวไทลื้อ  ทีส่ ร้างสรรค์งานศิลปะสถาปัตย-  อช. ขุนสถาน ใน อ. นาน้อย กรรมเฉพาะตั ว   นอกจากนี้  เมืองน่านยังมีความงดงามของขุนเขา สายน�้ำ และทะเลหมอก ดังนั้น  เมืองเล็ก ๆ แห่งนี้จึงเป็นอีกจุดหมายหนึ่งของนักท่องเที่ยวผู้นิยมใน  วิถีชุมชนอันเงียบสงบและธรรมชาติอันพิสุทธิ์ ในอดี ต เมื อ งน่ า นก่ อ ร่ า งเป็ น แว่ น แคว้ น ขึ้ น ในสมั ย เดี ย วกั บ  สุโขทัย ต่อมาตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรล้านนา และ  เกิดศึกสงครามกับพม่าและอยุธยาหลายครั้งหลายหน บ้านเมืองจึงถูก  ทิง้ ร้างเป็นระยะ ๆ จนกระทัง่ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองน่านจึงได้ด�ำรง  อยู่อย่างสงบและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน แนวชายแดนด้ า นเหนื อและด้านตะวัน ออกของน่า นที่ติด กับ  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้น มีทิวเขาหลวงพระบางเป็น  พรมแดนธรรมชาติยาวถึง 277 กม. ส่วนด้านใต้ที่ติดกับ จ. แพร่ก็มี  ทิวเขาผีปันน�้ำเป็นเส้นพรมแดน  การที่มีทิวเขาขวางกั้นเช่นนี้ ท�ำให้  น่านถูกกล่าวขานว่าเป็นบ้านป่าเมืองดอย เนื่องเพราะการเดินทาง


“ น า ย ร อ บ รู้ ”

น่ า น

ติดต่อที่ยากล�ำบาก ทางบกต้องขึ้นเขาลงห้วยข้ามไปยัง จ. แพร่ ก่อน  จะไปติดต่อกับหัวเมืองล้านนาอื่น ๆ ส่วนทางน�้ำ ในล�ำน�้ำน่านก็เต็มไป  ด้วยเกาะแก่งมากมาย แม้กระทั่งการเดินทางภายในจังหวัดไปแถบ  อ�ำเภอทางเหนือก็ต้องใช้เวลาหลายวัน  สภาพการคมนาคมดังกล่าว  ท�ำให้เมืองน่านพัฒนาช้ากว่าเมืองอื่น ถึงอย่างนั้นก็มีผู้คนจากหลาย  แหล่งแห่งที่เข้ามาก่อตั้งชุมชนในเมืองนี้ ทั้งชาวไทลื้อที่อาศัยอยู่ตาม  ที่ราบริมฝั่งแม่น�้ำน่าน และชาวเขาหลายกลุ่มที่อพยพจากจีนและลาว  มาตามทิวเขาเข้ามาตั้งรกรากอยู่เนิ่นนาน ในสมั ย รั ช กาลที่   5 แห่ ง กรุ ง รั ต น-  โกสินทร์ แม้เมืองล้านนาอื่น ๆ จะเริ่มมีการ  พัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ด้วย  อิทธิพลจากประเทศตะวันตก เช่น มีรถยนต์  เกิดธุรกิจท�ำไม้ มีการก่อสร้างบ้านเรือนใหญ่  โต แต่น่านก็ยังคงสภาพเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่  ชาวเมื อ งด� ำ รงชี วิ ต อยู ่ อ ย่ า งสงบด้ ว ยการ  45 ทุ่งนา อ. นาหมื่น ท�ำการเกษตร ปลูกข้าว พืชไร่ ยาสูบ และ  ท�ำประมง เมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลกับนักศึกษา  เมื่อหลายสิบปีก่อน เหล่านักศึกษาปัญญาชนได้เดินทางเข้าป่าไปร่วม  กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) จัดตั้งกองก�ำลังอาศัย  อยูต่ ามป่าเขาสูงของเมืองน่าน เช่น ทีด่ อยผาจิ ดอยวาว เป็นต้น  รัฐบาล  จึงมีนโยบายดึงมวลชนในพื้นที่ให้มาอยู่ฝ่ายเดียวกับรัฐบาล โดยพัฒนา  ถนนจากแพร่มาน่านและอนุญาตให้ประชาชนเข้าไปจับจองตัดฟันป่าไม้  เพื่อท�ำเป็นพื้นที่ทางการเกษตร สิ่งนี้เป็นผลให้ชาวเมืองน่านสามารถ  ติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวกขึน้  แต่นนั่ ก็ตอ้ งแลกกับป่าไม้จำ� นวน  มหาศาลที่ถูกท�ำลายไป ปัจจุบันเศรษฐกิจของเมืองน่านยังคงผูกพันอยู่กับพืชผลทาง  การเกษตร และสภาพเศรษฐกิจก็เฟือ่ งฟูขนึ้ เมือ่ รัฐบาลมีนโยบายเปลีย่ น


นอนนับดาวเต็มฟ้าบนดอยเสมอดาว

ดอยเสมอดาว ใน อช. ศรีน่าน นับเป็นสุดยอดสถานที่สุดโรแมนติกในช่วงฤดูหนาว  ของเมืองน่าน  หลังตะวันลาลับขอบฟ้า ดวงจันทร์กลมโตจะค่อย ๆ เคลือ่ นขึน้ แขวนตัว  บนผืนกำ�มะหยี่สีดำ� ขณะดาวดวงเล็กดวงน้อยทอประกายระยิบระยับ  มานอนอาบ  แสงเดือนส่องแสงดาวที่นี่ แล้วคุณจะรู้สึกว่าอยู่ใกล้แสงระยิบระยับนั้นราวกับจะ   “เสมอดาว” ได้ดังชื่อดอย



เที่ยวชมวัดในตัวเมืองน่าน

มาเมืองน่านไม่ควรพลาดชมวัดต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในตัวเมือง ทั้งวัดภูมินทร์ วัดมิ่งเมือง  วัดพระธาตุช้างคํ้าวรวิหาร และวัดหัวข่วง  วัดแต่ละแห่งอยู่บนถนนที่เชื่อมต่อถึงกัน  สามารถเดินชมความงดงามได้ตั้งแต่เช้าจดเย็น

ปั่นรถถีบแอ่วเมืองสงบที่เวียงสา

เวียงสาเป็นอำ�เภอเล็ก ๆ ทีอ่ ยูไ่ ม่ไกลนักจากตัวเมืองน่าน  คนเวียงสายังคงใช้จกั รยาน  เป็นพาหนะในชีวติ ประจำ�วัน การเทีย่ วเมืองนีใ้ ห้สนุกจึงต้องปัน่ จักรยานเทีย่ ว แล้วคุณ  จะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เงียบสงบ อันจะทำ�ให้คุณหลงรักเมืองเล็ก ๆ แห่งนี้


ที่เที่ยวและเส้นทาง ที่เที่ยว

ย่านใจกลางเมืองน่าน (ดูแผนที่ 4)

วัดภูมินทร์

ชมวิหารแปลกตาและจิตรกรรมฝาผนังชิ้นเอก

- วิหารเปิดเวลา 08.00-18.00 น. - วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-18.00 น. มีมัคคุเทศก์น้อยพาชมจิตรกรรมฝาผนัง - ช่วงที่เหมาะถ่ายภาพด้านหน้าวิหารโดยไม่ย้อนแสงคือช่วงบ่ายหรือเย็น

อาจกล่าวได้ว่า ในบรรดาวัดทั้งหมดของ จ. น่าน วัดภูมินทร์คือมรดก  ทางภูมิปัญญาชิ้นเอกที่ช่างโบราณฝากผลงานไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา  และภาคภูมิใจ  วิหารของวัดนับเป็นงานสถาปัตยกรรมที่แปลกตา คือ  เป็นอาคารทรงจัตุรมุขที่ดูเหมือนตั้งอยู่บนหลังพญานาค ซึ่งมีเพียงแห่ง

“ น า ย ร อ บ รู้ ”

น่ า น

พื้นที่ใจกลางเมืองนับเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของจังหวัด มีแหล่ง  ท่องเที่ยวส�ำคัญหลายแห่ง โดยเฉพาะบริเวณ “ข่วงเมือง” หรือลานใจ  กลางเมือง ซึ่งมีทั้งวัดภูมินทร์ วัดพระธาตุช้างค�้ำวรวิหาร และพิพิธ-  ภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน  นักท่องเทีย่ วสามารถเดินเทีย่ วชมได้ เพราะ  แต่ละแห่งอยู่ไม่ไกลกันมาก  นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการ  65 นักท่องเที่ยวซึ่งให้บริการข้อมูล แผนที่ และเป็นจุดขึ้นรถรางชมเมือง  มีบริษัททัวร์ ที่พัก ธนาคาร ร้านขายของฝาก และตลาด


“ น า ย ร อ บ รู้ ”

66 น่ า น

เดียวในโลก  ความงามโดดเด่นนี้ท�ำให้รัฐบาลไทยในสมัยรัชกาลที่ 8  น�ำรูปวิหารวัดภูมินทร์มาตีพิมพ์ลงบนธนบัตรใบละ 1 บาท  ขณะเดียว  กันจิตรกรรมฝาผนังในวิหารก็มคี ณ ุ ค่าระดับงานชิน้ ยอดของประเทศ ทัง้   ในแง่ความงดงามและการบันทึกวิถีชีวิตคนน่านในอดีตไว้อย่างแจ่มชัด ที่ตั้ง  บริเวณข่วงเมือง ถ. สุริยพงษ์ ต. ในเวียง อ. เมือง รถยนต์ส่วนตัว  จากสี่แยกข่วงเมือง ใช้ ถ. ผากองไปทางศูนย์  บริการนักท่องเที่ยว ผ่านศูนย์ฯ ไปเล็กน้อย วัดอยู่ทางขวามือ เยื้อง  กับศูนย์ฯ ประวัติ  พงศาวดารเมืองน่านระบุว่า เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์  สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2139 หลังจากทรงครองนครน่านได้  6 ปี  เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” ภายหลังชื่อวัดเพี้ยนไปเป็นวัดภูมินทร์  มีผสู้ นั นิษฐานว่า พระองค์สร้างพระประธานสีอ่ งค์ โดยหมายถึงพรหม-  วิหาร 4 ซึ่งคล้องกับพระนามของพระองค์เอง และเพื่อให้เห็นพระ  ประธานแต่ละองค์ชัดเจนจึงต้องสร้างวิหารจัตุรมุขขึ้น  เมื่อปี พ.ศ.  2410 หรือราวปลายสมัยรัชกาลที ่ 4 เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผูค้ รอง  นครน่าน โปรดให้ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ซึ่งใช้เวลานานถึง 8 ปีจึงส�ำเร็จ  สันนิษฐานว่า จิตรกรรมฝาผนังในวิหารอาจเขียนขึ้นในช่วงนี้  ส�ำหรับ  ช่างผู้วาดนั้น สันนิษฐานว่าเป็นช่างไทลื้อชื่อหนานบัวผัน คนเดียวกับที่  วาดจิตรกรรมในวิหารวัดหนองบัว สิ่งน่าสนใจ • วิหารจัตุรมุข  เป็นงานสถาปัตยกรรมล้านนาแบบพิเศษที่  งดงามลงตัว  ตัวอาคาร  เป็ น ทรงจั ตุ ร มุ ข  คื อ มี  มุ ข ยื่ น ออกมาทั้ ง สี่ ด ้ า น  สั น นิ ษ ฐานว่ า เป็ น วิ ห าร  ทรงจัตุรมุขหลังแรกของ  ประเทศ  ด้านหน้าวิหาร  มีบันไดรูปพญานาคสอง


“ น า ย ร อ บ รู้ ”

น่ า น

ตัว ด้วยเชื่อว่าพญานาคเป็นสัตว์ซึ่งเกื้อหนุนพระพุทธศาสนา  เศียร  พญานาคชูขึ้นสู่เบื้องบน ล�ำตัวทอดยาวจากด้านหน้าวิหารทะลุสู่ด้าน  หลัง ท�ำให้ดเู หมือนวิหารตัง้ อยูบ่ นหลังพญานาค  ขณะทีล่ านประทักษิณ  รอบวิหารออกแบบให้มีช่องผ่านตัวพญานาค จึงเหมือนผู้มาวัดได้เดิน  ลอดใต้ท้องพญานาค ลวดลายบนหน้าบันของวิหารเป็นรูปพรรณพฤกษา เปรียบกับ  ป่าหิมพานต์ซึ่งอยู่ก่อนถึงที่ประทับของพระพุทธเจ้า  บานประตูทั้ง  สี่ทิศแกะสลักเป็นรูปท้าวเวสสุวัณแผลงฤทธิ์  สอดแทรกด้วยสัตว์จัตุบาทสัตว์ทวิบาท ฝีมือ  แกะสลั ก ประณี ต งดงามสมฐานะวั ด หลวง  ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น  ปางมารวิ ชั ย ขนาดใหญ่ สี่ อ งค์ เ ป็ น ประธาน  แต่ ล ะองค์ หั น พระปฤษฎางค์   (หลั ง ) ชน  กัน บ่ายพระพักตร์ออกสู่ประตูทั้งสี่ทิศ  มีผู้  สันนิษฐานว่าหมายถึงอดีตพระพุทธเจ้าทั้งสี่  67 ที่ตรัสรู้แล้วในภัทรกัป บ้างก็ว่าหมายถึงพรหมวิหาร 4  เพดานและ  เสาวิหารลงรักปิดทองเป็นลวดลายวิจิตรบรรจง วิ ห ารวั ด ภู มิ น ทร์ยังใช้กลวิธีออกแบบไม่เหมือนใคร คือรวม  วิ ห าร โบสถ์   และเจดีย์ ไว้ในอาคารเดียวกัน กล่าวคือ ใช้อาคาร  แนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นวิหาร อาคารแนวเหนือ-ใต้เป็นโบสถ์  (จุดสังเกตที่บอกความเป็นโบสถ์คือใบเสมาซึ่งมีเฉพาะด้านเหนือและ  ใต้ ข องวิ ห าร) และเจดี ย ์ สี่ เ หลี่ ย มย่ อ มุ ม ไม้ สิ บ สองที่ ตั้ ง อยู ่ บ ริ เ วณ  พระปฤษฎางค์ (ส่วนหลัง) ของพระประธานก็คือเจดีย์ของวัดนั่นเอง • จิตรกรรมฝาผนัง  ปรากฏอยู่บนผนังด้านในวิหารทั้งสี่ด้าน  เป็นภาพจิตรกรรมที่เลื่องชื่อไปทั่วประเทศ  เรื่องราวแบ่งเป็นสาม  ส่วน คือ พุทธประวัติ คัทนกุมารชาดก และเนมิราชชาดก  ภาพพุทธประวัติอยู่ตอนบนสุดของผนัง มีฉากส�ำคัญคือการแสดงธรรมเทศนา  และปรินิพพาน  ภาพคัทนกุมารชาดกอยู่ต�่ำลงมา ใช้พื้นที่เขียนมาก


“ข้างหลังภาพ” ในวัดภูมินทร์

“ น า ย ร อ บ รู้ ”

70 น่ า น

- ความนัยของการ “กระซิบ” ภาพชายหญิ ง กระซิบกันไม่เคยปรากฏโดดเด่นมาก่อนในโลก  ศิลปะ  วินัย ปราบริปู วิเคราะห์ว่าอาจเป็นกลวิธีของผู้เขียนที่ท� ำให้ผู้ชม  รู้สึกอยากรู้ความลับของคนทั้งสอง หรืออาจเป็นการสะท้อนภาวะสังคมที่  มีคนหลายเผ่าอยู่ร่วมกันในสังคมเมือง ทั้งการเมืองการปกครองในยุคนั้น  ก�ำลังมีการเปลีย่ นแปลง ผูค้ นจึงมีความลับและต้องกระซิบกัน ซึง่ หนานบัว-  ผันอาจไม่เคยเห็นลักษณะดังกล่าวในสังคมเล็ก ๆ ที่บ้านหนองบัวหมู่บ้าน  ของชาวไทลื้อ จึงวาดภาพนี้ไว้ - คัทนกุมาร : พ่ออยู่ไหน คัทนกุมารชาดกเล่าเรื่องราวการเดินทางตามหาพ่อของเจ้าคัทนะ  เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อถึงวาระที่พระโพธิสัตว์ต้องลงมาสั่งสมบารมีในโลก  มนุษย์ พระอินทร์ได้แปลงองค์เป็นพญาช้างเผือกลงมาเหยียบย�ำ่ ข้าวใน  นาของหญิงทอผ้าคนหนึ่งจนเสียหาย แต่เมื่อนางได้ดื่มน�้ำในรอยตีนของ  ช้างตัวนั้น นางก็ตั้งครรภ์และให้ก�ำเนิดทารกชื่อคัทนกุมาร  ครั้นคัทนกุ-  มารเติบใหญ่ก็ขอให้แม่พาไปดูรอยเท้าของพ่อ และเกิดปณิธานว่าจะออก  ตามหาพ่อให้พบ  พออายุ 19 เจ้าคัทนะก็ออกเดินทาง ได้พบกับไม้รอ้ ยกอ  เกวียนร้อยเล่ม จึงชวนให้ร่วมเดินทางไปด้วย  ระหว่างทางพระองค์ได้พบ  กับพระราชาเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ปฏิบัติตามทศพิธราชธรรมจึงถูกพระยาแถน  ลงโทษ ด้วยการส่งงูยักษ์ นกยักษ์ มาจับคนกิน จนประชาชนในเมือง  เดือดร้อน  เจ้าคัทนะมีของวิเศษที่ได้มาจากการปราบยักษ์คือ ไม้ต้น  ชี้ตายปลายชี้เป็น และพิณวิเศษที่ใช้เรียกกระดูกคนมารวมกันเพื่อชุบ  ชีวิต จึงเข้าช่วยเหลือชาวเมืองเหล่านั้นด้วยวิธีการต่าง ๆ  เมื่อถึงเมือง  จ�ำปานคร เจ้าคัทนะพบนางสีไวยธิดาของเศรษฐีซึ่งมีความงามมากและ  ได้แต่งงานครองคู่กัน  เมื่อมีพระโอรสแล้ว เจ้าคัทนะก็ออกตามหาพ่อต่อ  และด้วยความดีที่สั่งสม รวมถึงความพยายามตามหาพ่ออย่างไม่ลดละ  พระอินทร์ก็ยอมมาพบในที่สุด ชาดกนี้สอนลูกหลานชาวน่านให้มีความพยายาม ตั้งใจท�ำความดี  กตัญญู เสียสละ และช่วยเหลือผู้อื่น


“ น า ย ร อ บ รู้ ”

น่ า น

ที่เข้ามาในเมืองน่านขณะนั้น โดยเฉพาะชาวฝรั่งเศสที่เข้ามายึดครอง  ประเทศลาว  ภาพชาวพืน้ เมืองภูเขาแบกของไว้บนศีรษะเพือ่ น�ำมาแลก  เปลี่ยนกับคนเมือง เป็นต้น - ภาพเด่นไม่ควรพลาดชม ได้แก่ 1. ภาพปู่ม่านย่าม่าน หรือชายหญิงคู่หนึ่งยืนกระซิบกัน  เป็น  ภาพบุคคลขนาดใหญ่บนผนังข้างบานประตูด้านทิศตะวันตก  ชายหนุ่ม  เปลือยอกเห็นรอยสักสีดำ� ตัง้ แต่สะดือลงมาถึงโคนขาตามความนิยมของ  ชาวล้านนา เป็นที่มาของชื่อเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ลาวพุงด�ำ”  ฝ่ายหญิง  นุ่งซิ่นลุนตยา ผ้าซิ่นไหมของพม่าที่นิยมแต่งในกลุ่มเจ้านายฝ่ายเหนือ  ในช่วงรัชกาลที่ 5  ท่าทางที่ผู้ชายจับไหล่ผู้หญิงในยุค 100 ปีก่อนอาจ  บอกความเป็นสามีภรรยามากกว่าการเกี้ยวพาราสี  หนานบัวผันเขียน  อย่างประณีต ไม่วา่ จะเป็นใบหน้า สายตา รายละเอียดของรอยสักหรือ  เครื่องแต่งกาย ทั้งยังเป็นภาพการกระซิบแห่งเดียวในโลกที่เขียนเน้น  ให้โดดเด่น จึงมีการตั้งชื่อภาพว่า “กระซิบรักบันลือโลก” จัดเป็นภาพ  ชิ้นเยี่ยมและโดดเด่นที่สุดในบรรดาภาพเขียนทั้งหมดของที่นี่ 71 2. ภาพชายหญิงกลุ่มหนึ่งยืนหยอกเย้าโดยขอต่อบุหรี่ขี้โยกัน  ผู้หญิงในภาพนี้นุ่งผ้าซิ่นต่อตีนแบบไทลื้อและซิ่นลายน�ำ้ ไหลแบบเมือง  น่าน และสะพายย่ามแดง  มีอกั ษรธรรมล้านนาเขียนก�ำกับว่า “แม่หญิง  ไปกาด” คือไปตลาด  สันนิษฐานว่าเป็นผู้หญิงทันสมัยในยุคนั้น  นับเป็น  อีกภาพที่งดงามไม่แพ้กัน 3. ภาพบุคคลบริเวณยอดเสาด้าน  ซ้ า ยของประตู ด ้ า นทิ ศ ตะวั น ออก  นั ก  วิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพเหมือน  ของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ผูป้ ฏิสงั ขรณ์วดั นี้ 4. ภาพผู้หญิงขนาดใหญ่ก�ำลังเกล้า  ผมหรือนางสีไวยในเรื่องคัทนกุมารชาดก นางสีไวยแต่งกายแบบผู้มีฐานะในสมัยนั้น  คือเกล้าผมใส่ดอกไม้หอมหรือดอกไม้แห้ง เจาะหูแล้วม้วนแผ่นทอง


วัดสวนตาล

ไหว้พระส�ำริดองค์ใหญ่

- มีประเพณีสรงน�ำ้ พระเจ้าทองทิพย์ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 13-15 เม.ย.

“ น า ย ร อ บ รู้ ”

88 น่ า น

วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์ พระคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวน่านให้  ความเคารพนับถือ ที่ตั้ง  ถ. มหายศ ต. ในเวียง อ. เมือง รถยนต์สว่ นตัว  จากสีแ่ ยกข่วงเมือง ใช้ ถ. ผากองไปทางสีแ่ ยก  สวนตาลประมาณ 1 กม. วัดอยู่ทางซ้ายมือบริเวณสี่แยกสวนตาล ประวัติ  วัดนี้สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 1955 โดยพระนางปทุมมาวดี  ชายาของเจ้าภูเข็งซึง่ เป็นคนบ้านสวนตาล  วัดสวนตาลตัง้ อยูน่ อกก�ำแพง  เมืองน่านด้านทิศเหนือ ในบริเวณที่เป็นสวนตาลหลวง  เดิมเจดีย์เป็น  ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย ต่อมาพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ผู้ครอง  นครน่าน โปรดให้บูรณะขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2457 รูปทรงเจดีย์จึง  เปลี่ยนเป็นยอดปรางค์ดังปัจจุบัน สิ่งน่าสนใจ • พระเจ้าทองทิพย์  ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในวิหาร  เป็ น พระพุ ท ธรู ป ส� ำ ริ ด ปางมารวิ ชั ย องค์  ใหญ่ หน้าตักกว้าง 10 ฟุต สูง 14 ฟุต 4  นิว้   ได้รบั อิทธิพลทางศิลปะจากพระพุทธ-  รูปล้านนาด้วย เช่น มีพระวรกายอวบอ้วน  พระนาสิกใหญ่ เป็นต้น  พระเจ้าติโลกราช  แห่งนครเชียงใหม่โปรดให้สร้างขึ้นในปี  พ.ศ. 1993 เพือ่ แสดงถึงชัยชนะทีพ่ ระองค์  สามารถยึดเมืองน่านไว้ในพระราชอ�ำนาจ  ได้ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ชาวน่านจะจัดประเพณีสรงน�้ำพระเจ้า  ทองทิพย์ โดยอัญเชิญพระพุทธรูปองค์จ�ำลองแห่แหนทั่วเมืองและมี


โบราณวัตถุสถานในตัวเมืองน่าน  ได้รับการดูแลรักษาให้มีสภาพ  สมบูรณ์  (บน) พระประธาน  อายุกว่า 400 ปี  ในวิหารวัดภูมินทร์   พระพุทธรูปปางมารวิชัย  ขนาดใหญ่สี่องค์  หันพระปฤษฎางค์ชนกัน  นับว่าแปลกตาหาชมได้ยาก    (ซ้าย) วัดพระธาตุช้างคํ้าวรวิหาร  วัดสำ�คัญของราชสำ�นักน่าน  อายุราว 600 ปี ตั้งอยู่ในบริเวณ  “ข่วง” หรือลานใจกลางเมือง  ช่วงกลางคืนมีการเปิดไฟประดับ  อย่างสวยงาม


จากจุดชมทิวทัศน์ที่วัดพระธาตุเขาน้อย ใน อ. เมือง จะมองเห็นตัวเมืองน่านตั้งอยู่บนที่ราบ กลางหุบเขา พระธาตุแช่แห้งและวิหารหลวงวัดพระธาตุแช่แห้ง ใน อ. ภูเพียง มีงานสถาปัตยกรรม  ฝีมือช่างพื้นถิ่นที่สวยงามน่าชม


ก�ำแพงเมืองเก่า หากเดินจากวัดสวนตาลลงมาทางทิศใต้ตาม ถ. มหาวงศ์ จะพบแนวก�ำแพง  เมืองยาวประมาณ 417 ม. สร้างด้วยอิฐ เป็นแนวก�ำแพงเมืองเก่าด้าน  ทิศเหนือของเมืองน่าน ใช้ปอ้ งกันข้าศึกศัตรู  เดิมเป็นแนวเนินดินถมสูง แต่  ต่อมาใช้ต้นซุงปักเป็นแนวล้อมเมืองไว้ กระทั่งเกิดน�้ ำท่วมใหญ่สมัยเจ้า  สุมนเทวราช จ�ำต้องย้ายเมืองไปทีเ่ วียงเหนือนาน 36 ปี  เมือ่ เจ้าอนันตวร-  ฤทธิเดชฯ ย้ายเมืองกลับมาตัง้ บริเวณเดิมในปี พ.ศ. 2397 จึงโปรดให้สร้าง  แนวก�ำแพงอิฐแทนก�ำแพงเมืองเก่าที่ถูกน�ำ้ พัดพังทลาย

การเฉลิมฉลองทั้งวันทั้งคืน

- เปิดเวลา 08.30-16.30 น. - ติดต่อขอเข้าชม โทร. 0-5471-0306

อาคารเรียนหลังนีส้ ร้างแล้วเสร็จราวปี พ.ศ. 2458 โดยคณะมิชชันนารี  น�ำโดย ดร. ซามูเอล ซี. พีเพิล  ชื่อ “รังษีเกษม” มาจากพระนามของ  สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรงั ษีสว่างวงศ์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอม-  เกล้าเจ้าอยู่หัว  ปัจจุบันมีการปรับปรุงอาคารเรียนนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ จัด  แสดงข้าวของเครือ่ งใช้ของคณะมิชชันนารีและภาพถ่ายเมืองน่านยุคอดีต ที่ตั้ง  ถ. รังษีเกษม ต. ในเวียง อ. เมือง รถยนต์ส่วนตัว  จากสี่แยกช้างเผือก ใช้ ถ. เปรมประชาราษฎร์  ไปประมาณ 650 ม. พบทางแยกให้เลี้ยวขวาเข้า ถ. สุมนเทวราชไป  เล็กน้อย จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้า ถ. รังษีเกษมไปประมาณ 350 ม.  โรงเรียนอยู่ทางขวามือ สิ่งน่าสนใจ • ชมอาคารเก่าแบบตะวันตก  อาคารเรียนหลังนี้ดัดแปลง

93 “ น า ย ร อ บ รู้ ”

ชมตึกเก่าอายุเกือบ 100 ปี

น่ า น

ตึกรังษีเกษม รร. น่านคริสเตียนศึกษา


(บนสุด) แสงแรกของวัน ที่ อช. ขุนสถาน อ. นาน้อย (บน) บรรยากาศยามเย็นในหมู่บ้านชาวประมงปากนาย อ. นาหมื่น


ธรรมาสน์แกะเป็นรูปนกยูงในซุ้มนาค ส่วนยอดแกะสลักเป็นรูปมังกร  ล้อมขึ้นไปเป็นชั้น ๆ งดงามมาก • พระประธาน  เป็นพระพุทธรูปปูนปิดทองปางประทับยืน  พระกรทิง้ แนบล�ำตัว สูงราว 5 ม. มีพทุ ธลักษณะแบบพืน้ ถิน่ ทีด่ สู งบเย็น  และงดงาม  บริเวณหน้าจั่วเหนือองค์พระมีลายค�ำ (คือลายเขียนทอง)  รูปพระปางไสยาสน์และปางสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ์ • ประตูไม้แกะสลัก  ประตูดา้ นหน้าโบสถ์แกะสลักเป็นรูปเทวดา  ฝีมือเจ้าราชวงศ์เชียงของ อายุกว่า 200 ปี  บานซ้ายมือเป็นรูปเทพถือ  หอกรายล้อมด้วยลายพรรณพฤกษา บานขวาเป็นรูปเทพถือหอยสังข์ยนื   อยู่บนช้างเจ็ดเศียร

- เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น. - เทศบาลต�ำบลเวียงสาจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในวันที่ 3-5 ธ.ค. - โทร. 0-5478-1681 ต่อ 16

อาคารไม้ที่ชาวเวียงสาภาคภูมิใจ เนื่องด้วยในวันที่ 16 มี.ค. 2501  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ จาก จ. แพร่มายังอาคารหลังนี้ที่ในสมัย  นั้นเป็น “ที่ว่าการอ�ำเภอสา” ตามชื่อเก่าของอ�ำเภอ  ทั้งสองพระองค์  เสด็จฯ ขึ้นประทับ ณ มุขหน้าที่ว่าการอ�ำเภอ โดยมีราษฎรชาวเวียงสา  เฝ้ารับเสด็จอย่างเนืองแน่น  การเสด็จฯ เยี่ยมเยียนพสกนิกรครั้งนั้น  เป็นการเสด็จฯ เยือน จ. น่านเป็นครัง้ แรก นับเป็น “รอยพระบาทแรก”  ที่ ทั้ ง สองพระองค์ ป ระทับลงบนแผ่นดินน่าน ก่อนเสด็จ ฯ ไปยังตัว  จ. น่านต่อไป ในปี พ.ศ. 2552 ส�ำนักงานเทศบาลได้ปรับปรุงอาคารให้เหมือน  เมือ่ ครัง้ ทีท่ งั้ สองพระองค์เสด็จฯ ทัง้ จัดนิทรรศการและท�ำเป็นพิพธิ ภัณฑ์

125 “ น า ย ร อ บ รู้ ”

ย้อนร�ำลึกรอยพระบาทแรกแห่งน่าน

น่ า น

ที่ว่าการอ�ำเภอ (หลังเก่า)


อช. ดอยภูคา

ชมทะเลหมอก ดูดอกชมพูภูคา

- มีบ้านพักและเต็นท์ให้เช่า  ที่กางเต็นท์มีสามแห่งคือ บริเวณที่ท�ำการ (ลานดูเดือน)  ลานดูดาว และหน้าบ้านเกวียน - ติดต่อที่ ตู้ ปณ. 8 ต. ภูคา อ. ปัว จ. น่าน 55120 โทร. 0-5470-1000, 08-2194-  1349

“ น า ย ร อ บ รู้ ”

อช. ดอยภูคามีสภาพป่าไม้อนั อุดมสมบูรณ์ มีพรรณไม้หลากหลาย โดย  เฉพาะพันธุ์ไม้หายากที่พบเพียงแห่งเดียวในประเทศอย่างต้นชมพูภูคา  ช่วงเวลาทีเ่ หมาะมาเทีย่ วคือเดือน ก.พ.-มี.ค. เพราะนอกจากดอกชมพู-  ภูคาจะบานแล้ว ดอกเสี้ยวสีขาวยังบานสะพรั่งตลอดเส้นทาง ทั้งยังมี  ฝูงนกอพยพหายากหลายชนิดให้ชม  ในอุทยานฯ มีเส้นทางเดินศึกษา  ธรรมชาติอย่างง่าย ๆ และเส้นทางเดินป่าพิชติ ยอดดอยภูคาซึง่ เป็นเสน่ห์  ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือน อช. ดอยภูคามีเนื้อที่ประมาณ 1,680 ตร.กม. หรือ 1,050,000  156 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ อ. ปัว อ. เชียงกลาง อ. ทุ่งช้าง อ. แม่จริม อ.  ท่าวังผา อ. สันติสุข และ อ. บ่อเกลือ  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา  สูงสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบตามแนวรอบเขต ความสูงโดยเฉลี่ยของ  พื้นที่ 800 ม. จากระดับน�้ำทะเล  มียอดเขาที่สูงที่สุดคือยอดดอยภูคา  สูง 1,980 ม. จากระดับน�ำ้ ทะเล  อากาศเย็นสบายตลอดปี โดยเฉพาะ  ในฤดูหนาวตั้งแต่เดือน พ.ย.-ก.พ. ซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวของที่นี่ สภาพป่าประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และ  ป่าเต็งรัง ทั้งยังมีป่าสนธรรมชาติในพื้นที่ทางด้านใต้ของอุทยานฯ และ  ทุง่ หญ้าอยูก่ ระจัดกระจายทัว่ ไปบนยอดเขาสูง  มีการส�ำรวจพบสัตว์ปา่   ทั้งสัตว์ขนาดใหญ่อย่างเลียงผา หมี และสัตว์ขนาดเล็กอย่างค่าง ชะนี  กระจง ไก่ฟา้   นอกจากนีย้ งั พบนกหายากสองชนิด คือนกมุน่ รกคอแดง  และนกพงใหญ่พันธุ์อินเดีย ซึ่งพบเฉพาะที่ดอยภูคาเท่านั้น รวมถึงพันธุ์  ไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ คือชมพูภูคาและเต่าร้างยักษ์ ซึ่งพบที่นี่เพียง  น่ า น


เต่าร้างยักษ์ เต่าร้างยักษ์ (Caryota obtusa) เป็นปาล์มหายากและใกล้สญ ู พันธุ ์ มีลำ� ต้น  สูงใหญ่กว่าเต่าร้างทั่วไป เมื่อโตเต็มที่จะสูง 8-12 ม. มักขึ้นตามไหล่เขา  ที่ลาดชัน และตามหน้าผาในป่าดิบเขาซึ่งสูง 1,500-1,700 ม. จากระดับ  น�้ำทะเล  ดอยภูคาเป็นเพียงแห่งเดียวในไทยที่พบเต่าร้างยักษ์  ส่วนพื้นที่  อืน่ คาดว่าจะมีเต่าร้างยักษ์อยูใ่ นป่าดิบเขาบนทิวเขาหลวงพระบางในฝัง่ ลาว

“ น า ย ร อ บ รู้ ”

น่ า น

แห่งเดียวเช่นกัน ทีต่ งั้   กม. 24-25 ทางหลวงหมายเลข 1256 เขต ต. ภูคา อ. ปัว รถยนต์ส่วนตัว  จาก อ. ปัว ใช้ทางหลวงหมายเลข 1256 ไป  ทาง อ. บ่อเกลือประมาณ 24 กม. พบด่านเก็บค่าธรรมเนียมอยู่ทาง  ซ้ายมือและทางเข้าที่ท�ำการ อช. ดอยภูคา ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 200  ม. ถึงที่ทำ� การ สิ่งน่าสนใจ • ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว  ภายในศูนย์ฯ มีนิทรรศการอธิบาย  157 สภาพธรณีวทิ ยาของการเกิดภูเขา มีตวั อย่างหินชนิดต่าง ๆ เช่น หินปูน  หินทราย หินบะซอลต์ มีเรื่องราวของดินโป่งและถ�้ำ มีความรู้เกี่ยวกับ  สภาพป่าต่าง ๆ และแนะน�ำให้รจู้ กั สัตว์อย่างแมลง นก สัตว์สงวนดังเช่น  กระทิง เสือ ช้าง โดยท� ำเป็นกล่องความรู้  ทั้งยังมีล้อหมุนแสดง  วัฏจักรของการย่อยสลายตั้งแต่เมื่อไม้ล้ม  จนสลายกลายเป็นปุ๋ย รวมถึงผลกระทบที่  เกิดจากมนุษย์ทั้งไฟป่า ยาฆ่าแมลง หรือ  การทิ้งขยะไม่เป็นที่ บริเวณรอบศูนย์ฯ เป็นจุดชมทิวทัศน์  ทีส่ วยงาม มีตน้ เสีย้ วดอกขาวซึง่ เป็นดอกไม้  ประจ�ำจังหวัดและเมเปิลให้ชม • เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ  มี  สองเส้นทาง คือเส้นทางวงรอบเล็กและเส้น


ปรากฏการณ์ธรรมชาตินํ้าเซาะโขดหินจนเกิดลายริ้วโค้งสวยงาม ที่วังศิลาแลง ใน อ. ปัว

สัมผัสชีวิตชนเผ่ามละบริ ที่ศูนย์การเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมมละบริภูฟ้า ใน อ. บ่อเกลือ


(บน) ทิวทัศน์ยามเช้าตรู่  บนดอยผาผึ้ง ในหมู่บ้าน  มณีพฤกษ์ อ. ทุ่งช้าง   มองเห็นสันดอยภูแว  ทอดยาวไปไกล (ซ้าย, ซ้ายล่าง) แปลง  เกษตรปลอดสารพิษ  ในสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง  ตามพระราชดำ�ริ  บ้านสะจุก-สะเกี้ยง  อ. เฉลิมพระเกียรติ   มีผักผลไม้เมืองหนาวหลายชนิด   รวมทั้งสตรอว์เบอร์รี  พันธุ์พระราชทาน 80   รสหวานฉํ่า    และในฟาร์มบริเวณสถานีฯ   มีแกะภูเขาให้ถ่ายภาพ  และให้อาหาร


สิ่งน่าสนใจ มีการออกร้านจ�ำหน่ายสินค้าพื้นเมือง งานหัตถกรรม ผลิตผล  ทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์โอทอป การประกวด การจัดขบวนแห่  การแสดงทางวัฒนธรรมและการแสดงของชนเผ่า การแสดงนิทรรศการ  ของหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงการแสดงมหรสพและการละเล่นอีกมาก  มาย  และในส่วนของงานกาชาดก็มกี ารออกร้านกาชาดและสลากกาชาด

ประเพณีปีใหม่ม้งบ้านมณีพฤกษ์

“ น า ย ร อ บ รู้ ”

นับเป็นงานรืน่ เริงทีเ่ ต็มไปด้วยสีสนั ของชาวม้งบ้านมณีพฤกษ์  ในงานมี  การแสดงประจ�ำเผ่าและกิจกรรมโยนลูกช่วง วันที่จัดงาน  ช่วงกลางเดือน ธ.ค.-กลางเดือน ม.ค.  ที่บ้าน  มณีพฤกษ์ อ. ทุ่งช้าง สิ่งน่าสนใจ ในช่วงเทศกาลปีใหม่บรรดาชายหนุม่ หญิงสาวชาวม้ง ทัง้ จากบ้าน  194 มณีพฤกษ์และจากหมู่บ้านอื่น จะแต่งชุดประจ�ำเผ่าหลากสีสันมารวม  ตัวกันที่ลานกิจกรรมของหมู่บ้าน ช่วงเช้าจะมีการแสดงบนเวที เช่น ฟ้อนประจ�ำเผ่า ร�ำกระด้ง เป่า  แคนม้ง ประกวดมิสม้ง เป็นต้น  ช่วงบ่ายมีการเล่นโยนลูกช่วงของ  หนุ่มสาว  ลูกช่วงเป็นลูกบอลที่ท�ำจากเศษผ้า มีขนาดและน�้ำหนักใกล้  เคียงกับลูกเทนนิส  การโยนลูกช่วงจะมีขนึ้ เมือ่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ ออกปาก  ชวน ถ้าอีกฝ่ายตอบตกลงก็จะมายืนตรงข้ามกัน คู่ต่อไปก็จะยืนต่อ  เป็นแถวหน้ากระดานคู่กันไป แล้วเริ่มโยนลูกช่วงไปมา โดยมีกติกาว่า  หากรับไม่ได้สามครั้งจะถูกลงโทษ เช่น ต้องร้องเพลง หรือมอบเครื่อง  ประดับให้  ระหว่างโยนแต่ละฝ่ายจะมีโอกาสพูดคุยท�ำความรู้จัก หาก  คู่ไหนถูกใจชอบพอกันก็อาจพัฒนาไปสู่การแต่งงานในอนาคต ในงานยังมีการออกร้านกาแฟมณีพฤกษ์ของกลุม่ กาแฟในหมูบ่ า้ น  มีกาแฟให้ลองชิม มีกาแฟสดและกาแฟคั่วบรรจุถุงจ�ำหน่าย น่ า น


ตลาด

อ. เมือง

ตลาดราชพัสดุ

เลือกซื้ออาหารมื้อเย็นในราคาย่อมเยา - ติดตลาดเวลา 15.00-19.00 น.

คนท้ อ งถิ่ น เรี ย กตลาดนี้ ว่ า  “กาดแลง” ซึง่ แปลว่าตลาดเย็น  ร้ า นค้ า ส่ ว นใหญ่ ข ายอาหาร  พื้นเมืองประเภทแกง ยำ� ลาบ  ส้ า  ที่ ค นน่ า นนิ ย มซื้ อ กลั บ ไป  กินที่บ้าน  นอกจากนั้นก็ยังมี  ของสดจำ � หน่ า ยหรื อ ถ้ า จะหาขนมและของกิ น เล่ น แบบพื้ น ถิ่ น  ที่ นี่   ก็มีให้เลือกอร่อย

195 “ น า ย ร อ บ รู้ ”

สำ�หรับผูท้ ชี่ อบเดินชมบรรยากาศตลาด ในเมืองน่านมีตลาดให้เลือกเดิน  หลายแห่งทั้งในตัวเมืองและนอกเมือง โดยมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจคือ  อาหารพืน้ ถิน่ ของคนเหนือทีม่ ใี ห้เลือกลิม้ ลองมากมาย อีกทัง้ ยังมีสนิ ค้า  ตามฤดูกาลให้เลือกซื้อหา เช่นในฤดูหนาวก็มีส้มสีทองผลไม้ขึ้นชื่อของ  เมืองน่าน ไกหรือสาหร่ายนํา้ จืดซึง่ นำ�มาขายในรูปแบบต่าง ๆ  นอกจาก  ตลาดสดก็ยังมีถนนคนเดินในตัวเมืองน่าน ที่พ่อค้าแม่ขายนำ�สินค้า  พื้นเมืองทั้งของกินและของฝากสารพัดอย่างมาวางจำ�หน่ายในราคา ย่อมเยา

น่ า น

เที่ยว


(บนสุด, บน) นอกจากสินค้าจะน่าซื้อแล้ว แม่ค้าที่ตลาดตั้งจิตนุสรณ์ ใน อ. เมือง ยังมีอัธยาศัยดี   ต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างเป็นกันเอง  และในตลาดยังมีพืชผักพื้นบ้านและแมลงที่คนน่านนิยม นำ�มาปรุงอาหาร วางจำ�หน่ายด้วย


(บนสุด, บนซ้าย) บรรยากาศยามเช้าที่ตลาดเทศบาล ต. เวียงสา (ตลาดวัดบุญยืน) อ. เวียงสา    และใบเมี่ยงดอง ของขบเคี้ยวของคนท้องถิ่น ที่มีขายอยู่หลายเจ้าในตลาด (บนขวา) นักท่องเที่ยวเลือกซื้อสินค้าจากลาวที่ตลาดชายแดนห้วยโก๋น อ. เฉลิมพระเกียรติ


(ขวา) ข้าวซอย อาหารพื้นเมือง  ของภาคเหนือ มีให้เลือกลิ้มลอง  หลายร้านใน จ. น่าน    (ขวากลาง) สำ�รับอาหารไทลื้อ  ที่บ้านหนองบัว อ. ท่าวังผา  มีแกงแค แกงขนุน   นํ้าพริกมะกอก นํ้าพริกอ่อง   คล้ายอาหารพื้นเมืองเหนือทั่วไป   โดยมีเมนูพิเศษหากินยากคือ   “ไก” ทั้งห่อนึ่งไกและไกยี   (ล่าง) ไก่มะแขว่น เมนูยอดนิยม  ของคนน่าน มีรสเผ็ดร้อน   กลิ่นหอมชวนชิม มาเที่ยว  เมืองน่านจึงไม่ควรพลาดเมนูนี้    (ล่างขวา) อาหารพื้นเมืองเหนือ   หากินได้ทั่วไปในเมืองน่าน   ทั้งในตลาดและร้านอาหาร


ช็อปสินค้าพื้นเมืองในบรรยากาศยามเย็น - ติดตลาดวันเสาร์ เวลา 17.00-21.00 น.

ทีน่ คี่ อื ถนนคนเดินของเมืองน่าน  แม้จะมีพนื้ ทีไ่ ม่ใหญ่นกั  แต่บรรยากาศ  ก็คึกคัก เดินเที่ยวได้อย่างเพลิดเพลิน ทั้งสินค้าก็มีหลากหลายประเภท  ให้เลือกซื้อ โดยเฉพาะสินค้าพื้นเมืองของ จ. น่านอย่างผ้าทอ และยัง  มีการแสดงและมหรสพต่าง ๆ ให้ชมด้วย ที่ตั้ง  บริเวณหน้าวัดหัวเวียงใต้เรื่อยไปตาม ถ. สุมนเทวราช  อ. เมือง รถยนต์ส่วนตัว  จากสวนศรีเมือง ใช้ ถ. สุมนเทวราชตรงขึ้น  ไปทางเหนือ จะพบวัดหัวเวียงใต้อยู่ทางซ้ายมือ สิ่งน่าสนใจ • เลือกซื้อของฝากสไตล์คนน่าน  ผู้ที่ชื่นชอบงานแฮนด์เมด มา  ที่กาดบ้านเก่าฯ จะไม่ผิดหวัง เพราะที่นี่มีงานฝีมือหลากหลายรูปแบบ

201 “ น า ย ร อ บ รู้ ”

กาดบ้านเก่าวัดหัวเวียงใต้

น่ า น

สิ่งน่าสนใจ • ชิมอาหารพื้นเมือง  มาถึงเมือง  น่านทั้งทีต้องหาของอร่อยฝีมือคนน่านชิม  ที่นี่มีให้เลือกทั้งอาหารเหนือที่เราคุ้นเคย  เช่ น  แกงอ่ อ ม ย�ำหน่ อ ไม้   ย�ำขนุ น  แอ็ บ  ชนิ ด ต่ า ง ๆ และอาหารเอกลั ก ษณ์ เ มื อ ง  น่ า น โดยเฉพาะไกหรื อ สาหร่ า ยน�้ ำ จื ด ที่  คนน่านนิยมกินกันมาก น�ำมาปรุงอาหาร  ได้หลายอย่าง เช่น ลาบไก ต�ำปูใส่ไก ไกหมก ไกยี ก็มีให้ชิมที่ตลาด  นี้  นอกจากนี้ยังมีไส้อั่ว แคบหมู น�้ำพริกหนุ่ม ให้ซื้อกลับไปเป็นของ  ฝาก  และถ้ามาเที่ยวช่วงฤดูหนาวราวเดือน พ.ย.-ธ.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่  ส้มสีทองออกผล ในตลาดก็มีจ�ำหน่ายอยู่หลายเจ้า


ของกินและที่กิน อาหารพื้นถิ่นน่าน

“ น า ย ร อ บ รู้ ”

จ. น่านเหมือนกับจังหวัดทางภาคเหนืออื่น ๆ อย่างเชียงใหม่ เชียงราย  ล�ำพูน ที่ผู้คนส่วนใหญ่เป็นคนเมือง หรือชาวไทยวน รวมถึงชาวไทลื้อ  ซึ่งมีวัฒนธรรมการกินคล้าย ๆ กัน  คนน่านสืบทอดวิธีการปรุงอาหาร  ต่อ ๆ กันมา และปัจจุบันก็ยังคงนิยมกินอาหารพื้นถิ่นที่ท�ำกินกันเอง  ในครอบครัว โดยใช้พืชผักที่มีในท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบ และกินข้าว  เหนียวเป็นหลัก  ส�ำหรับนักท่องเที่ยวก็มีเมนูอาหารพื้นถิ่นให้เลือกลิ้ม  ลองตามร้านอาหารต่าง ๆ ในจังหวัด 206 อาหารพื้นถิ่นน่านที่น่าสนใจมีดังนี้ • แก๋ง  หมายถึงแกง  แกงของคนน่านมีรสเข้มข้นและเผ็ด  ปานกลาง ส่วนเครื่องแกงจะแตกต่างไปแล้วแต่ชนิดของแกง โดยมี  เครื่องแกงหลักคือมะแขว่น เครื่องเทศพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่มีมากทาง  ภาคเหนือ มีกลิ่นหอมคล้ายเมล็ดผักชี ช่วยดับกลิ่นคาวได้ดี จึงนิยมน�ำ  มาปรุงอาหาร  ตัวอย่างแกงพื้นเมืองน่านมีดังนี้ - แกงสนัด (สะ-นัด)  เป็นแกงโบราณที่ตามคุ้มเจ้านายมักท�ำ  เป็นประจ�ำ ปัจจุบนั จะมีกแ็ ต่ผเู้ ฒ่าผูแ้ ก่ทมี่ เี ชือ้ สายเจ้าเท่านัน้ ทีย่ งั พอท�ำ  เป็น  วิธที ำ� คือ ต้มน�ำ้ ซุปกระดูกหมูให้เดือดจัด ใส่หวั ปลีทที่ บุ แล้วหัน่ เป็น  ชิน้ ลงต้มจนสุก ใส่หน่อไม้ดอง พริกหยวก ถัว่ ฝักยาว ผักบุง้ ไทย มะเขือ-  เปราะ ทีห่ นั่ เตรียมไว้ตามลงไป ปรุงรสด้วยปลาร้าและเกลือ จากนัน้ น�ำ  แกงที่ต้มสุกลงผัดในกระทะที่เจียวกระเทียมจนหอมเตรียมไว้แล้ว ท้าย  สุดใส่งาด�ำคั่วโขลกละเอียดเพิ่มความหอม  แกงสนัดคล้ายแกงแค แต่  มีรสเปรี้ยวจากหน่อไม้ดองและรสเค็มจากเกลือ น่ า น


“ น า ย ร อ บ รู้ ”

น่ า น

- แกงส้มเมือง  นับเป็นแกงยอดนิยม มักปรุงด้วยเนื้อปลา  มากกว่าเนือ้ สัตว์อนื่  โดยเฉพาะปลาคังทีม่ เี นือ้ มากก้างน้อย  ส่วนเครือ่ ง  แกงประกอบด้วยตะไคร้ หอมแดง กระเทียม ใบมะกรูด ขมิน้ สด พริก-  ชี้ฟ้าแห้ง และกะปิ โขลกรวมกัน ตั้งน�้ำให้เดือด ใส่เครื่องแกงนี้ลงไป  ตามด้วยเนือ้ ปลา รอให้เดือดอีกครัง้ จึงใส่น�้ำมะขามให้รสเปรีย้ วน�ำ จาก  นั้นใส่ตูน ผักบุ้งไทย ผักกูด มะเขือเทศ และใบแมงลัก พอผักสลด  ก็ตักขึ้นเสิร์ฟได้ - แกงแค  เป็ นอาหารพื้นเมืองที่ขาดไม่ได้ในส�ำรับ เพราะ  อุดมด้วยผักที่หาได้ตามพื้นบ้านนานาชนิด ทั้งจะใส่เนื้อสัตว์ชนิดใด หมู  หรือไก่ก็ได้ แต่ที่นิยมจะเป็นเนื้อกบ ส่วนเครื่องแกงก็มีเพียงพริกขี้หนู  แห้ง กระเทียม เกลือ กะปิ โขลกรวมกัน น�ำเนื้อที่ย่างไฟพอหอมลง  คลุกเคล้ากับเครื่องแกง แล้วน�ำใส่กระทะคั่วให้หอมจึงเติมน�้ำ พอน�้ำ  เดือดก็ใส่ผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ถ้ามีหวายให้ใส่หวายก่อน ตามด้วย  มะเขือเปราะ มะเขือพวง ดอกแค ถั่วฝักยาว ชะอม ใบชะพลู ต�ำลึง  ผักเผ็ด ใบพริก แค่นี้ก็ได้แกงแคแสนอร่อยแล้ว  นอกจากนี้ยังมีแกง  207 ขนุนซึ่งวิธีท�ำคล้ายแกงแค แต่ใส่กระดูกหมูและใส่ขนุนอ่อนแทนผัก  พื้นบ้านสารพัดชนิดนั้น • ย�ำ ต�๋ำ ส้า  มีวิธีปรุงคล้ายคลึงกัน คือน�ำส่วนประกอบหลาย  ชนิดมาคลุกเคล้ากันให้พอมีนำ�้ ขลุกขลิก การย�ำใช้ผกั สดหรือผักนึง่ เพียง  ชนิดเดียว การส้าก็คล้ายการย� ำแต่ใช้ผักสดหลายชนิด ส่วนการต�๋ ำ  หรือต�ำ คือการบด โขลก หรือคลุกผลไม้อ่อนบางชนิด โดยมีเครื่อง  ปรุงแตกต่างกันไป  เมนูพนื้ บ้านปรุงด้วยวิธเี หล่านีท้ หี่ ากินได้ทวั่ ไปมีเช่น - ต�ำ๋ บะหนุน (ต�ำขนุน)  น�ำขนุนอ่อนหัน่ ตามขวาง ต้มทัง้ เปลือก  จนเปื่อยแล้วลอกเปลือกออก โขลกพอให้เนื้อขนุนแตก ตั้งไฟเจียว  กระเทียมให้หอม ใส่หมูสบั ลงผัดพอสุก ตามด้วยขนุนอ่อน พริกป่น และ  เกลือ ผัดให้เข้ากันแล้วโรยใบมะกรูดซอย ต้นหอมผักชี - ส้าบะเขือ  น�ำมะเขือขื่นหรือมะเขือเปราะ ใบชะพลู ชะอม  หัวปลี ล้างน�้ำแล้วหั่นฝอยเตรียมไว้ จากนั้นน�ำเครื่องปรุงซึ่งประกอบ


“นายรอบรู้” อร่อยทั่วไทย

“ น า ย ร อ บ รู้ ”

“นายรอบรู้” ขอแนะนำ�ร้านอร่อยใน จ. น่านที่มีหลากหลาย ทั้งร้าน  อาหารไทย จีน ฝรัง่  ร้านกาแฟน่ารัก ๆ ร้านขนมหวานเจ้าดังประจำ�เมือง  น่าน ร้านข้าวแกงริมทางบรรยากาศบ้าน ๆ ร้านเฉพาะถิน่ ทีไ่ ม่คอ่ ยมีใคร  รู้จัก ร้านอาหารพื้นเมืองบรรยากาศดี และร้านข้าวต้มรอบดึกรสชาติ  เยีย่ ม  อย่าลืมมองหาสัญลักษณ์สติกเกอร์สเี หลือง “นายรอบรู”้  อร่อย ทั่ ว ไทย เป็ น เครื่ อ งการั น ตี ค วามอร่ อ ย และถ้ า คุ ณ พบร้ า นอร่ อ ย ที่อยากแนะนำ�เพิ่มเติม ส่งข้อมูลมาได้ที่  www.NaiRobRoo.com เราจะไม่พลาดตามไปชิม

ย่าน อ. เมือง

212

Coffee Sound

น่ า น

- ที่ตั้ง เยื้องตลาดตั้งจิตนุสรณ์ (กาดเช้า) ถ. ข้าหลวง - เปิดเวลา 08.00-18.00 น. โทร. 08-1531-1335, 08-9755-9902 - เมนูแนะน�ำ มอคค่าร้อน ชาเขียวปั่น บานอฟฟีเค้ก เครปเค้ก - เป็นร้านกาแฟน้องใหม่  ชื่อร้านตั้งตามกิจการเครื่องเสียงของผู้เป็น  พ่อที่อยู่ในเมืองน่านมานับ 20 ปี  ร้านนี้มีลูกค้าแวะเวียนมาตลอดวัน เพราะ  อยู่ในย่านตลาดร้านค้า  ทางร้านสั่งเมล็ดกาแฟมาจากดอยช้างและคั่วบดอย่าง  พิถีพิถัน กาแฟแต่ละแก้วจึงหอมกรุ่นชวนดื่ม แถมเสิร์ฟพร้อมขนมขาไก่ให้กิน  กันเพลิน ๆ  ทั้งยังมีเบเกอรีโฮมเมดอย่างบานอฟฟีเค้ก เครปเค้กรสละมุน ให้  เลือกสั่งตามชอบ

I SUGAR

- ที่ตั้ง ถ. มหาวงศ์ - เปิดเวลา 09.00-17.00 น. โทร. 08-7787-9887 - เมนูแนะน�ำ โกโก้มินต์ สมูทตี


In Nan

กาแฟภูพยัคฆ์

- ที่ตั้ง ถ. สันติสุข - เปิดเวลา 11.00-18.00 น. หยุดวันพฤหัสบดี โทร. 08-4360-0018 - เมนูแนะนำ� เค้กส้ม เค้กมะพร้าวอ่อนครีมสด วานิลลาเครปเค้ก - ร้านของคู่พี่น้องที่รักการทำ�เค้กเป็นชีวิตจิตใจ จึงมีเค้กให้ลูกค้าชิม  ได้ไม่ซํ้ากันในแต่ละวัน  จะทำ�เค้กชนิดใดออกขาย เช่น เค้กอัญชันมะพร้าว  อ่อน เค้กส้ม เค้กลูกตาล เครปเสาวรส รวมถึงคุกกี้งาขี้ม้อน เจ้าของร้านบอก  ว่าขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่หาได้ในวันนั้น ดังนั้นจึงอาจต้องเตรียมใจไว้ก่อนว่า วันที่  แวะที่ร้านอาจไม่ได้ชิมเค้กรสชาติที่คุณโปรดปราน - ทีต่ ง้ั  ถ. รอบเมืองทิศตะวันตก - เปิดเวลา 07.00-19.00 น. โทร. 0-5471-0054 - เมนูแนะนำ� มัลเบอร์รีสมูทตี ภูพยัคฆ์คอฟฟี - หากใครอยากลิ้มลองนํ้ามัลเบอร์รีหรือนํ้าลูกหม่อนสด ๆ มาร้านนี้ไม่ ผิดหวัง เพราะมีทงั้ มัลเบอร์รสี มูทตี มัลเบอร์รสี กัดเข้มข้น 100% และมัลเบอร์รี  พร้อมดื่ม ให้เลือก  ผลมัลเบอร์รีอบแห้งก็มีวางขาย  ทั้งหมดส่งตรงจาก สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำ�ริ ภูพยัคฆ์ อ. เฉลิมพระเกียรติ  นอกจากนีย้ งั มีกาแฟชัน้ เลิศรสเข้มกลมกล่อมกลิน่ หอมกรุน่ ทีค่ ดั สรรเมล็ดกาแฟ  จากยอดดอยภูพยัคฆ์น�ำ มาคั่วบดอย่างพิถีพิถันเพื่อคนรักกาแฟ

213 “ น า ย ร อ บ รู้ ”

น่ า น

- ร้านกาแฟตกแต่งสไตล์วินเทจน่ารักน่านั่งเป็นที่สุด  มาร้านนี้ต้องสั่ง  โกโก้มินต์สูตรเฉพาะของร้าน โกโก้รสเข้มผสานกลิ่นมินต์อ่อน ๆ ช่วยให้สดชื่น  กระปรี้กระเปร่า  ส่วนใครที่ชอบเครื่องดื่มประเภทสมูทตี ทางร้านก็มีสมูทตี  อร่อย ๆ บริการ  ส�ำหรับคอกาแฟมีกาแฟตราแพะรสเข้มข้นหอมกรุน่ ทีท่ างร้าน  สั่งตรงมาจากเชียงใหม่ให้ลิ้มลอง  หากอยากได้เค้กมากินคู่กัน มีร้านเบเกอรี  The Best ร้านของครอบครัว ตั้งอยู่ติดกัน ให้เดินไปสั่งเค้กมากินได้



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.