ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย

Page 1

ราคา ๕๕๐ บาท ISBN 978-616-465-011-4

ศิลปะทวารวดี

หมวดศิลปะไทย

ศิลปะทวารวดี

ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

วัฒนธรรมทางศาสนา ยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย

วัฒนธรรมทางศาสนา ยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย

ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


ศิลปะทวารวดีในดินแดนไทย  พบรูปเคารพทางศาสนาพุทธและ ศาสนาพราหมณ์ที่มาจากอินเดีย  ที่น่าจะมาพร้อมกับการติดต่อค้าขาย  เช่น พระพุทธรูปปางประทานพร  ศิลปะคุปตะ พระนารายณ์สี่กร เป็นต้น  ในไทยพบงานศิลปกรรมที่สร้างในช่วงนี้ ซึ่งมีอิทธิพลศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ

งานศิลปกรรมในยุคนี้ได้รับอิทธิพล ศิลปะอินเดียอย่างเห็นได้ชัด  ในท้องถิ่นมีรูปแบบศิลปกรรมเฉพาะ  เช่น ศิลปะภาคใต้ ศิลปะในภาคอีสาน  ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมร

สมัยศิลปะทวารวดีอย่างแท้จริง  ในท้องถิ่นมีรูปแบบเฉพาะ  เช่น ศิลปะทวารวดีอีสาน  และมีอิทธิพลศิลปะจากภายนอก มาผสมผสาน เช่น ศิลปะชวา  จาม และเขมร

งานศิลปกรรมมีรูปแบบ แตกต่างหลายกลุ่ม เช่น  ศิลปะหริภุญชัยในภาคเหนือ  ศิลปะอิทธิพลเขมร  ศิลปะลพบุรี เป็นต้น

ศิลปะเขมร ในประเทศไทย ศิลปะเขมรในประเทศไทย สมัยนครวัด สมัยบายน

สมัยทวารวดี

อีสาน

ศิลปะศรีวชิ ยั

ศิลปะภาคใต้/ศรีวชิ ยั

ศิลปะเขมร ในประเทศไทย สมัยเกาะแกร์

ศิลปะเขมรในประเทศไทย

พุทธศตวรรษที ่ ๙-๑๑ ยุคก่อนทวารวดี

พุทธศตวรรษที ่ ๑๒-๑๓ ทวารวดียคุ ต้น

ศิลปะภาคใต้

สมัยหริภญ ุ ชัย

สมัยลพบุรี

ศิลปะเขมร ในประเทศไทย สมัยบาปวน

พุทธศตวรรษที ่ ๑๖-๑๘ ทวารวดียคุ ปลาย

พุทธศตวรรษที ่ ๑๔-๑๕ ทวารวดียคุ กลาง

ศิลปะจากดินแดนต่าง ๆ ที่ให้อิทธิพลแก่ศิลปะทวารวดี ศิลปะอินเดียและลังกา เป็นแหล่งที่ส่งอิทธิพล ให้แก่งานศิลปกรรมในยุคนี้ สืบต่อมาสู่สมัยทวารวดียุคต้น  (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓)

สมัยอินเดียโบราณ

ศิลปะอินเดีย

สมัยอมราวดี

ศิลปะอินเดีย  สมัยหลังคุปตะ

ศิลปะลังกา  สมัยอนุราธปุระ

ศิลปะชวา

ศิลปะชวา ภาคกลาง

ศิลปะอินเดีย  ศิลปะอินเดีย  สมัยโจฬะ สมัยปาละ ศิลปะเขมร

สมัยก่อนเมืองพระนคร

ศิลปะอินเดีย

ศิลปะจาม

สมัยหัวล่าย

ศิลปะจาม

สมัยมี่เซิน E1

ศิลปะพม่า

สมัยศรีเกษตร

ศิลปะเขมร  สมัยเมืองพระโค

ศิลปะลังกา  สมัยอนุราธปุระ

ศิลปะเขมร

ศิลปะลังกา  สมัยโปลนนารุวะ

ศิลปะจาม สมัยมี่เซิน A1

ศิลปะชวา  ภาคกลาง

ศิลปะเขมร  สมัยบายน

ศิลปะจาม  สมัยบิญดิ่น

ศิลปะพม่า

สมัยเกาะแกร์

สมัยพุกาม

สมัยคุปตะ

ศิลปะเขมร  สมัยนครวัด

ศิลปะลังกา  สมัยอนุราธปุระ ศิลปะเขมร สมัยบาปวน

ศิลปะจาม สมัยดงเดือง

ศิลปะชวา  ภาคตะวันออก

ศิลปะพม่า  สมัยพุกาม


พระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิ ศิลาจ�ำหลัก พบที่เมืองฝ้าย อ�ำเภอล�ำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพระพุทธรูปนาคปรกระยะแรกในศิลปะทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓  มีอิทธิพลศิลปะอมราวดีและคุปตะจากศิลปะอินเดีย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดอุทัยมัคคาราม ต�ำบลหินดาด อ�ำเภอห้วยแกลง จังหวัดนครราชสีมา


ISBN 978-616-465-011-4 หนังสือ ผูเ้ ขียน พิมพ์ครัง้ แรก (โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ) พิมพ์ครัง้ ที ่ ๒ (ปรับปรุงใหม่) จ�ำนวนพิมพ์ ราคา

ศิลปะทวารวดี :  วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริม่ ในดินแดนไทย ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิช์ ยั  สายสิงห์ สิงหาคม ๒๕๔๗ มีนาคม ๒๕๖๒ ๒,๐๐๐ เล่ม ๕๕๐ บาท

© สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด

บรรณาธิการเล่ม ภาพประกอบ ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท จัดพิมพ์โดย พิมพ์ท ี่ จัดจ�ำหน่าย

อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิช์ ยั  สายสิงห์ ณิลณา หุตะเศรณี ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์. ฟิลม์  โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด) ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ บริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุร ี ๒๒ ถนนนนทบุร ี (สนามบินน�ำ้ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุร ี นนทบุร ี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐  โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. --นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. ๔๖๔ หน้า. ๑. ศิลปกรรมไทย--สมัยทวารวดี. ๒. ศิลปกรรมไทย--แง่ศาสนา--พุทธศาสนา I. ชื่อเรื่อง. ๗๒๐.๕๙๓ ISBN 978-616-465-011-4

ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด) ๓ ซอยนนทบุร ี ๒๒ ถนนนนทบุร ี (สนามบินน�ำ้ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุร ี จังหวัดนนทบุรี  ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐  โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑ ทีป่ รึกษา ศรีศกั ร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา  เสนอ นิลเดช  สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผูอ้ ำ� นวยการ สุวพร ทองธิว  ผูจ้ ดั การทัว่ ไป/ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายศิลป์ จ�ำนงค์ ศรีนวล ผูจ้ ดั การฝ่ายการตลาด/โฆษณา กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ทีป่ รึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง


จากส�ำนักพิมพ์ หนังสือ ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มใน ดินแดนไทย ผลงานของ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ เล่มนี้ นับว่าเป็นหนังสือที่ ให้เรื่องราวของสมัยทวารวดีซึ่งเป็นช่วงเวลาหนึ่ง  ทางประวั ติ ศ าสตร์ ใ นดิ น แดนไทยในช่ ว งประมาณพุ ท ธศตวรรษที่   ๑๒-๑๘ จากการศึกษาโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ อย่างครอบ  คลุมทุกแง่มุมและสมบูรณ์ที่สุด  หลักฐานจากอดีตที่อาจารย์ศักดิ์ชัย  นำ�มาใช้วิเคราะห์และอธิบายเกี่ยวกับศิลปะทวารวดีด้วยกระบวนการ  ศึกษาทางประวัติศาสตร์ศิลปะ แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์การสร้าง  สรรค์ ง านศิ ล ปะ สถาปั ต ยกรรม ประติ ม ากรรมของผู้ ค นในสมั ย  ทวารวดี ที่ผสมผสานคติความเชื่อทางศาสนาทั้งศาสนาพุทธ ศาสนา  พราหมณ์   การรั บ อิ ท ธิ พ ลทางศิ ล ปะจากดิ น แดนใกล้ เ คี ย ง รวมทั้ ง  ให้ภาพที่มีชีวิตชีวาอันเกี่ยวเนื่องกับผู้คนในยุคนั้น ทั้งค่านิยม ความเชื่อ  ลักษณะผู้คน การแต่งกาย ทรงผม เป็นต้น สำ�หรับการจัดพิมพ์ครั้งนี้เป็นการพิมพ์ครั้งที่ ๒ โดยสำ�นัก  พิมพ์เมืองโบราณ ซึ่งอาจารย์ศักดิ์ชัยได้ปรับปรุงทั้งเนื้อหาและภาพ  ประกอบเพิ่มเติม เนื่องจากมีการพบหลักฐานต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นในช่วง  ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยความตั้งใจจะให้หนังสือเล่มนี้ ให้เรื่องราว  เกี่ยวกับศิลปะทวารวดีอย่างสมบูรณ์มากที่สุดสำ�หรับผู้อ่านจะได้ความรู้  ที่เป็นประโยชน์ต่อไป  สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ  กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒


ค�ำนิยม หนังสือเล่มนี้เดิมเป็นเอกสารค� ำสอนในรายวิชา ๓๑๗ ๔๐๓ ศิลปะ  ในประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๖-๑๔ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.  ศั ก ดิ์ ชั ย  สายสิ ง ห์   จั ด ท�ำ ขึ้ น เพื่ อ ประกอบการสอนในชั้ น เรี ย นระดั บ  ปริญญาตรีและปริญญาโท ในหลักสูตรของภาควิชาประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ  มหาวิทยาลัยศิลปากร การจัดพิมพ์ครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์  มอบให้ส� ำนักพิมพ์เมืองโบราณเป็นผู้จัดพิมพ์ โดยได้ปรับปรุงและ  จัดระบบให้เหมาะสมเรียบง่าย เพื่อการน� ำเสนอให้เกิดประโยชน์แก่  สาธารณชนมากยิ่งขึ้น  งานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะคือการศึกษาอดีต  จากงานศิลปกรรม (งานช่างในอดีต) หมายถึง ศึกษาชิ้นงานช่างเหล่านี้  เพื่อท�ำความเข้าใจสังคมสมัยที่สร้างชิ้นงานนั้น  การศึกษาเช่นนี้จึงมิได้  จบสิ้นลงตรงที่ก�ำหนดรูปแบบศิลปะหรือก�ำหนดยุคสมัย ตลอดจนถึง  การก�ำหนดราคาค่างวดเชิงธุรกิจ การศึกษาชิ้นงานศิลปะนอกเหนือจากรูปแบบศิลปะ ลักษณะ  กรรมวิธีช่าง แนวความคิด คติความเชื่อ รวมถึงแหล่งที่พบแล้ว ยังต้อง  วิเคราะห์ผลรวมกับหลักฐานข้อมูลด้านโบราณคดี (หลักฐานจากการขุด  ค้น ขุดแต่ง) หลักฐานด้านประวัติศาสตร์ เอกสาร ต�ำนาน พงศาวดาร  ศิลาจารึก เป็นต้น ดังกล่าวนีห้ มายถึงว่าเมือ่ มีขอ้ มูลหลักฐานทีเ่ กีย่ วข้อง  แต่หากไม่มี (ซึ่งบ่อยครั้งมักเป็นเช่นนี้) คือมีเพียงชิ้นงาน  ข้อจ�ำกัดใน  การศึกษาก็มากขึ้น  ประเด็นคิดประเด็นสันนิษฐานชิ้นงานช่างถูกจ�ำกัด


ให้แคบลง เช่น เพียงการก�ำหนดรูปแบบศิลปะ สันนิษฐานด้านก�ำหนด  อายุ และนี่เองที่เป็นสาเหตุให้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า วิชาประวัติศาสตร์  ศิลปะศึกษาเฉพาะด้านก� ำหนดรูปแบบศิลปะ หรือด้านก� ำหนดอายุ  เท่านั้น ข้อสังเกตดังกล่าวนี้อาจเกิดจากหลงลืมหรือไม่เข้าใจปัญหา  เพราะไม่ตระหนักว่า เพียงประเด็นประวัติศาสตร์ศิลปะที่มีข้อจ�ำกัดก็  เป็นประโยชน์  หากฉลาดน�ำไปใช้ (ในขณะที่ยังไม่พบข้อมูลอื่นใดที่  เกี่ยวข้อง) งานค้นคว้าเรียบเรียงของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย  สายสิงห์ เล่มนี้ยืนยันค�ำกล่าวข้างต้นด้วยการเสนอข้อมูล ล�ำดับข้อมูล  ข้อคิดวิเคราะห์อย่างเหมาะสมตามเงื่อนไข ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อด้อยใน  การศึกษาแนวประวัติศาสตร์ศิลปะ โดยเปิดประเด็นให้นักวิชาการใน  สาขาเดียวกันและสาขาที่ต่างกัน รวมทั้งผู้ที่สนใจติดตามศึกษาได้นำ� ไป  พัฒนาเชื่อมสานให้เกิดประโยชน์ต่อไป ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร


ค�ำน�ำผู้เขียน

(ในการพิมพ์ครั้งที่ ๒ โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ)

หนังสือศิลปะทวารวดีเล่มนี้ได้มีการพิมพ์เผยแพร่แล้วสองครั้ง  โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งหนึ่ง และส�ำนัก  พิมพ์เมืองโบราณครัง้ หนึง่  หนังสือเล่มนีไ้ ด้จ�ำหน่ายหมดไปเป็นเวลานาน  มากแล้ว แต่ด้วยเหตุที่ยังมีผู้สนใจและสอบถามมายังผู้เขียนและส�ำนัก  พิมพ์อยู่เสมอว่าเมื่อไหร่จะจัดพิมพ์ใหม่  ผู้เขียนและส� ำนักพิมพ์เมือง  โบราณจึงได้น�ำกลับมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าเนื้อหายังเหมาะสมและ  ทันสมัยต่อความก้าวหน้าทางวิชาการหรือไม่ จึงลงความเห็นว่าน่าจะน�ำ  มาพิมพ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุผลส�ำคัญคือ เนื้อหาหลักยังมีความ  ทันสมัยที่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้เพราะยังมีการอ้างอิงอย่าง  สม�่ำเสมอ  ผูเ้ ขียนจึงได้ทำ� การปรับปรุงภาษาเขียนใหม่ทงั้ หมดให้เหมาะสม  นอกจากนี้ ยั ง มี ส ่ ว นที่ เ พิ่ ม เติ ม ขึ้ น สองส่ ว น คื อ  ส่ ว นของเจดี ย ์ แ ละ  พระพุ ท ธรู ป  ด้ ว ยเหตุ ที่ ช ่ ว งเวลาที่ ผ ่ า นมาผู ้ เ ขี ย นได้ ท�ำ การวิ จั ย ทั้ ง  สองเรื่องนี้ใหม่ คือ เรื่อง “พระพุทธรูปในประเทศไทย” และ “เจดีย์  ในประเทศไทย”  ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทวารวดีจึงมีข้อมูลใหม่เพิ่มเติม  หลายส่ ว น โดยได้ ป รั บ มาน� ำ เสนอเฉพาะในส่ ว นที่ เ ป็ น แกนหลั ก  จึ ง ท� ำ ให้ เ นื้ อ หาของศิ ล ปะทวารวดี ชั ด เจนและทั น สมั ย มากขึ้ น   อี ก  ส่วนหนึ่งที่เป็นประเด็นทางวิชาการ คือ เรื่องของชื่อเรื่องที่แต่เดิมใช้ค�ำ  ว่า “ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย”  จะปรับเปลี่ยนเป็น “ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่ม


ในดินแดนไทย” โดยตัดค�ำว่า “พุทธศาสนา” ออกไปด้วยเหตุผลคือ ถึง  แม้ว่าโดยรวมแล้วทวารวดีจะเป็นเรื่องของพุทธศาสนา (แบบเถรวาท)  แต่ก็ต้องไม่ลืมว่ามีศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาแบบมหายานแทรกอยู่  ด้วย ซึ่งจะท�ำให้ภาพของศิลปะหรือวัฒนธรรมทวารวดีชัดเจนขึ้น ในโอกาสนีผ้ เู้ ขียนขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ โดยเฉพาะ  คุณอภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ บรรณาธิการ ผู้เล็งเห็นความส�ำคัญที่เสนอ  ให้จัดพิมพ์และช่วยดูต้นฉบับให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมกับผู้เอื้อเฟื้อภาพ  ประกอบเพิ่มเติมได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม  คุณอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองศาสตราจารย์ ดร. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง  อาจารย์กวิฎ ตั้งจรัสวงศ์ และท่านอื่นที่ไม่ได้เอ่ยนามมา ณ ที่นี้ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตุลาคม ๒๕๖๑


สารบัญ ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำนิยม โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม ค�ำน�ำผู้เขียน (ในการพิมพ์ครั้งที่ ๒) ค�ำน�ำผู้เขียน (ในการพิมพ์ครั้งที่ ๑)

๑๓ ๑๔ ๑๖ ๑๘

กล่าวน�ำ ความเป็นมาของค�ำว่า “ทวารวดี” การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอารยธรรมทวารวดี

๒๔ ๒๔ ๒๕

ส่วนที่ ๑ ก่อนทวารวดีและอารยธรรมทวารวดี

๓๕

บทที่ ๑ ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์

๓๖ ๓๖ ๓๖ ๔๒

สังคมและวัฒนธรรมก่อนพุทธศตวรรษที่ ๖ • พัฒนาการของชุมชนจากยุคก่อนประวัติศาสตร์สู่ยุคประวัติศาสตร์ • หลักฐานทางศิลปกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการรับอารยธรรม  หรือการน�ำเข้าวัตถุจากภายนอก ช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๖ หลักฐานทางศิลปกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการรับอารยธรรมจากภายนอก ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖-๙ พัฒนาการของชุมชนสมัยก่อนทวารวดีระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑  และข้อเสนอเรื่องอาณาจักรฟูนัน ศิลปกรรมที่น�ำเข้าจากภายนอกระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑ • รูปเคารพเนื่องในพุทธศาสนาเถรวาท • รูปเคารพเนื่องในพุทธศาสนามหายาน • รูปเคารพเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ศิลปกรรมที่สร้างขึ้นในดินแดนไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑

บทที่ ๒ อารยธรรมทวารวดี

ปัญหาเรื่องศูนย์กลางของอาณาจักร

๔๘ ๕๖ ๕๗ ๕๗ ๖๖ ๖๗ ๗๑ ๘๓ ๘๓


ประวัติศาสตร์ทวารวดีจากจารึกและเอกสารโบราณ • หลักฐานจากจดหมายเหตุจีน • หลักฐานจากจารึก • ใครเป็นเจ้าของวัฒนธรรมทวารวดี สังเขปเกี่ยวกับเมืองโบราณสมัยทวารวดี • สภาพโดยทั่วไปของเมืองโบราณสมัยทวารวดี • รูปแบบของเมืองโบราณ คติความเชื่อ ศาสนา และศิลปกรรม • พุทธศาสนาเถรวาท • พุทธศาสนามหายาน • ศาสนาพราหมณ์ • คติความเชื่ออื่น ๆ การแพร่กระจายของวัฒนธรรมทวารวดี • ภาคกลาง • ภาคตะวันออก • ภาคอีสาน • ภาคเหนือ • ภาคใต้

๙๒ ๙๒ ๙๓ ๙๖ ๙๘ ๙๘ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๑ ๑๐๖ ๑๐๘ ๑๑๐ ๑๑๑ ๑๑๒ ๑๑๔ ๑๑๖ ๑๒๓ ๑๒๖

สรุปรูปแบบศิลปกรรมทวารวดีในแต่ละยุคสมัย พระพุทธรูปปางต่าง ๆ และพุทธประวัติในศิลปะสมัยทวารวดี

๑๓๐ ๑๓๗

ส่วนที่ ๒ ศิลปกรรมสมัยทวารวดี

๑๔๔

บทที่ ๓ สถาปัตยกรรม

๑๔๕ ๑๔๖ ๑๔๖ ๑๔๖ ๑๔๘ ๑๔๘ ๑๔๘ ๑๕๑ ๑๕๔ ๑๖๓

ประเภทของศาสนสถาน • ศาสนสถานกลางแจ้ง • ศาสนสถานที่อยู่ในถ�้ำ วัสดุและเทคนิคการก่อสร้าง แผนผังและรูปทรงสันนิษฐานของสถาปัตยกรรม • ประเภทของอาคาร • รูปแบบและผังเจดีย์ • รูปทรงสันนิษฐานของเจดีย์ รูปแบบเจดีย์สมัยทวารวดี : ศึกษาจากเจดีย์ขนาดเล็ก เจดีย์จำ� ลอง  ภาพสลักรูปเจดีย์บนภาพเล่าเรื่อง ใบสีมา และพระพิมพ์ • กลุ่มที่ ๑ เจดีย์ที่ไม่มีเรือนธาตุ  • กลุ่มที่ ๒ เจดีย์ทรงปราสาท (มีเรือนธาตุ) หรือมีส่วนฐานเป็นสี่เหลี่ยมยกสูง • วิเคราะห์ที่มาของเจดีย์ทรงหม้อน�ำ้  ทั้งกลุ่มที่มีเรือนธาตุและไม่มีเรือนธาตุ • เจดีย์จ�ำลองทรงปราสาทยอดที่มีเรือนธาตุแปดเหลี่ยมแบบปาละ  • เจดีย์ที่อยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่

๑๖๔ ๑๖๘ ๑๖๙ ๑๗๓ ๑๗๕


เจดีย์ที่ส�ำคัญในสมัยทวารวดี

• เจดีย์ที่อยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ • เจดีย์ที่มีผังแปดเหลี่ยม • อาคารทีม่ ีแผนผังเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

บทสรุปเรื่องเจดีย์สมัยทวารวดี

บทที่ ๔ ประติมากรรม

ประติมากรรมเนื่องในพุทธศาสนาเถรวาท • การแบ่งยุคสมัยของงานประติมากรรมทวารวดี • สมัยทวารวดีตอนต้น (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓) • สมัยทวารวดีตอนกลาง : สมัยทวารวดีอย่างแท้จริง

(ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕) • สมัยทวารวดีตอนปลาย : อิทธิพลศิลปะเขมรและสกุลช่างท้องถิ่น  (พุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๘) • บทวิเคราะห์พระพุทธรูปสมัยทวารวดี

พระพิมพ์ดินเผา ประติมากรรมเนื่องในพุทธศาสนามหายาน • แหล่งที่พบงานประติมากรรมในพุทธศาสนามหายาน • รูปแบบงานประติมากรรมในพุทธศาสนามหายาน ประติมากรรมเนื่องในศาสนาพราหมณ์ • ภาคใต้ • ภาคตะวันออก • เมืองศรีเทพ • ภาคกลาง ประติมากรรมรูปบุคคลและภาพเล่าเรื่องในชีวิตประจ�ำวัน • หน้าตาของ “คน” ทวารวดี • ประติมากรรมที่แสดงสถานภาพทางสังคม • ชาวต่างชาติ • นักดนตรี • นักโทษ • ประติมากรรมรูปบุคคลขนาดเล็ก (ตุ๊กตาดินเผา) ประติมากรรมรูปคนแคระและรูปสัตว์ • คนแคระ • สิงห์ • ช้าง

บทที่ ๕ ประติมานวิทยาและประติมากรรมเล่าเรื่องทางพุทธศาสนา

พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ที่ส�ำคัญในสมัยทวารวดี • พระพุทธรูปยืนปางประทานพร • พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์ (วิตรรกมุทรา) • พระพุทธรูปปางแสดงธรรมประทับนั่งห้อยพระบาท (แบบยุโรป)

๑๗๘ ๑๗๘ ๒๐๓ ๒๐๖ ๒๑๒ ๒๑๘ ๒๑๙ ๒๑๙ ๒๒๐ ๒๒๔ ๒๓๔ ๒๖๙ ๒๗๒ ๒๘๐ ๒๘๐ ๒๘๓ ๒๘๙ ๒๘๙ ๒๙๒ ๒๙๗ ๓๐๑ ๓๐๕ ๓๐๖ ๓๐๘ ๓๐๘ ๓๐๙ ๓๑๑ ๓๑๑ ๓๑๓ ๓๑๓ ๓๑๗ ๓๒๐ ๓๒๕ ๓๒๕ ๓๒๕ ๓๒๖ ๓๒๖


• พระพุทธรูปปางสมาธิ • พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา • พระพุทธรูปปางมารวิชัย • พระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิ • พระพุทธไสยาสน์ (ปางปรินิพพาน) ประติมากรรมเล่าเรื่องทางพุทธศาสนา • พุทธประวัติตอนแสดงปฐมเทศนา • พุทธประวัติตอนแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี • พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ • พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมต่อเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ • พระพุทธรูปปางแสดงธรรมประทับเหนือสัตว์ผสมที่เรียกว่า “พนัสบดี”

สิงห์ ครุฑ และพระอาทิตย์ • รูปเล่าเรื่องชาดกในพุทธศาสนา • รูปสลักที่ถำ�้ เขาถมอรัตน์ อ�ำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ • รูปเล่าเรื่องบนใบสีมาอีสาน • ธรรมจักร • พระศรีหรือคชลักษมี

๓๓๑ ๓๓๓ ๓๓๔ ๓๓๖ ๓๓๙ ๓๔๒ ๓๔๒ ๓๔๔ ๓๕๔ ๓๕๖ ๓๖๐ ๓๗๑ ๓๗๘ ๓๘๒ ๓๙๐ ๔๐๐

บทที่ ๖ ภาชนะดินเผา เครื่องใช้สอย และเครื่องประดับ

ภาชนะดินเผา • กลุ่มภาชนะที่ใช้ในท้องถิ่น • กลุ่มภาชนะที่มีอิทธิพลจากภายนอก • ลวดลายบนภาชนะ เหรียญเงินและตราประทับ • เหรียญเงิน • ตราประทับ เครื่องมือเครื่องใช้ • ประเภทดินเผา • ประเภทหิน • ประเภทโลหะ เครื่องดนตรี เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ • เครื่องแต่งกาย • เครื่องประดับ

๔๐๘ ๔๐๘ ๔๑๐ ๔๑๑ ๔๑๕ ๔๑๖ ๔๑๖ ๔๒๔ ๔๒๕ ๔๒๖ ๔๒๗ ๔๒๘ ๔๒๙ ๔๓๐ ๔๓๐ ๔๓๖

บทสรุป บรรณานุกรม

๔๔๗ ๔๕๒


กล่าวน�ำ ความเป็นมาของค�ำว่า “ทวารวดี”

การศึกษาเกี่ยวกับทวารวดีได้รับการกล่าวถึงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.  ๒๔๒๗ นับเป็นเวลา ๑๓๐ กว่าปีมาแล้ว  ในยุคเริ่มต้นของการศึกษา  จะเป็นเรื่องชื่อของอาณาจักรโบราณที่กล่าวไว้ในเอกสารจีน ได้แก่ โถ-  โล-โป-ตี (To-lo-po-ti) ซึง่ นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าหมายถึง  ทวารวดี อันเป็นอาณาจักรหนึง่ ทีต่ งั้ อยูบ่ ริเวณภาคกลางของประเทศไทย ต่อมาจึงได้มีการศึกษาค้นคว้าและได้พบหลักฐานที่สนับสนุน  ข้อเสนอดังกล่าวมาเป็นล�ำดับ โดยเฉพาะหลักฐานที่ส�ำคัญคือจารึกที่  ปรากฏค�ำ “ศฺรที วฺ ารวตี ศฺวรปุณยฺ ะ” บนเหรียญเงินและศิลาจารึก  สรุป  ความแล้วเชื่อว่าหมายถึงชื่อของอาณาจักร และได้พบหลักฐานทางด้าน  ศิลปกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการรับอารยธรรมจากภายนอก โดยเฉพาะ  ด้านศาสนาจากอินเดีย ยิ่งท�ำให้ภาพของทวารวดีเริ่มกระจ่างขึ้น หลังจากนั้นจึงมีการศึกษาค้นคว้าทางด้านโบราณคดี เพื่อให้  ทราบรายละเอียดของวัฒนธรรมทวารวดีอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึง  ปัจจุบัน (ดูรายละเอียดในหัวข้อ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอารยธรรม  ทวารวดี ในบทนี้) ขอบเขตของการศึกษาในครั้งนี้จึงไม่ใช่เรื่องของการน�ำเสนอ  ผลงานการวิจัยใหม่ แต่เป็นงานที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อให้เป็นหมวดหมู่ตาม  กระบวนการด้านประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ โดยให้ความส�ำคัญกับการตีความ  ที่อยู่บนพื้นฐานของงานศิลปกรรมเป็นหลัก  ทั้งนี้ได้ใช้งานศิลปะบอก  24 ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย


เล่าความเป็นมาของบ้านเมืองและสภาพสังคม คือความเป็นมาของคน  หรือประวัติความเป็นมาของกลุ่มชนที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรม  การน�ำ  เสนอจึงเน้นในส่วนของการสร้างภาพรวม  บางเรื่องอาจหาข้อสรุปได้  เนื่องจากมีหลักฐานเพียงพอ แต่บางประเด็นอาจทิ้งค้างไว้เนื่องจากยัง  ขาดข้อมูลมาสนับสนุน ควรมีการค้นคว้าต่อไป  อย่างไรก็ตามผู้เขียน  พยายามประมวลความรู้และความคิดเห็นจากนักวิชาการต่าง ๆ ที่ได้  ศึกษาเรื่องของทวารวดีไว้แล้วให้ได้มากที่สุดตามความจ�ำเป็นและเท่าที่  จะสามารถกระท�ำได้  ขอบเขตของพืน้ ทีใ่ นการศึกษาครอบคลุมแหล่งอารยธรรมทวาร-  วดีทั้งหมด โดยให้ความส�ำคัญกับบริเวณศูนย์กลางคือที่ราบลุ่มแม่น�้ำ  เจ้าพระยาเป็นหลัก การแพร่กระจายไปยังท้องถิน่ ต่าง ๆ ในเขตภาคกลาง  ตอนบน จนกระทั่งถึงภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ศึกษาเปรียบ  เทียบงานศิลปกรรมกับแม่แบบคือ อินเดียและศิลปะในประเทศใกล้เคียง  ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ในส่วนระยะเวลาจะเริ่มกล่าวถึงตั้งแต่ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อทาง  ประวัติศาสตร์ (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖-๙)  การเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์  สมัยก่อนทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑) และสมัยทวารวดีตั้งแต่ยุค  เริ่มต้น (พุทธศตวรรษที่ ๑๒) จนกระทั่งสิ้นสุด (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-  ๑๗) การน�ำเสนอแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่ ๑ เป็นเรื่องของ  สมัยก่อนทวารวดีและภาพรวมเกี่ยวกับอารยธรรมทวารวดี  ส่วนที่ ๒  เป็นเรื่องของงานศิลปกรรมทวารวดีทั้งหมด

การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอารยธรรมทวารวดี

ค�ำว่า ทวารวดี เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ประกอบด้วยประตู  ซึง่ อาจหมายถึง เมืองท่า และค�ำว่า ทวารวดี อาจเทียบได้กบั  “ทวารกา”  ซึ่งเป็นเมืองของพระกฤษณะในมหากาพย์อินเดียเรื่องมหาภารตะ ส่วนค�ำว่า ทวารวดี ทีอ่ าจหมายถึงอาณาจักรหนึง่ ทางภาคกลาง  ของประเทศไทย ยังมีขอ้ โต้แย้งกันอยูว่ า่ เป็นอาณาจักรจริงหรือไม่ รวมถึง  การเรียกชื่อ “ศิลปะสมัยทวารวดี” ด้วย  อย่างไรก็ตามนักวิชาการส่วน 25 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


ใหญ่ยอมรับและใช้ค�ำว่า ทวารวดี ตลอดมา อันมีข้อสันนิษฐานจากการ  ศึกษาที่พอจะประมวลได้ดังต่อไปนี้ ผู้ที่ศึกษาและตีความค�ำว่า ทวารวดี เป็นคนแรกน่าจะได้แก่  นายแซมมวล บีล (Samuel Beal) ใน พ.ศ. ๒๔๒๗ ผู้แปลบันทึกของ  พระภิกษุเชวียนจังหรือเหี้ยนจัง (Hiuen Tsiang) หรือที่รู้จักกันดีในนาม  ของพระถังซัมจั๋งในเรื่องไซอิ๋ว  พระภิกษุเหี้ยนจังเดินทางจากจีนไปสืบ  ศาสนาในอินเดียโดยทางบกใน พ.ศ. ๑๑๗๒ และเดินทางกลับจีนใน  พ.ศ. ๑๑๘๘ เอกสารเล่มนี้ชื่อว่า Si-yu-ki : Buddhist Records of  the Western World ๑  ในบันทึกนี้ได้กล่าวถึงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง  กับดินแดนที่อยู่ระหว่างพม่ากับเขมร คือบริเวณภาคกลางของประเทศ  ไทย ปรากฏชื่อ “โถ-โล-โป-ตี” ซึ่งนักวิชาการตีความว่าเป็นชื่อของ  อาณาจักรที่ตรงกับภาษาสันสกฤตว่า ทวารวดี ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ นายตากากุสุ (J. Takakusu) ได้แปลบันทึก  การเดินทางของพระภิกษุชาวจีนอีกรูปหนึง่ คือ อีจ้ งิ  (I-Tsing) ทีเ่ ดินทาง  ไปแสวงบุญ ณ ประเทศอินเดียเช่นเดียวกัน แต่เป็นการเดินทางทาง  ทะเลเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ บันทึกนี้ปรากฏในเอกสารชื่อ  A Record of the Buddhist Religion; as Practised in India and  the Malay Archipelago (A.D. 671-695) by I-Tsing๒ กล่าวถึงการ  เดินทางทางทะเลออกจากเมืองกวางตุ้ง (Canton) ไปยังอินเดียโดย  ผ่านท่าเรือ เมือง หรืออาณาจักรที่ส�ำคัญตามเส้นทาง ได้แก่ หลินยี่  (Lin-I)  ฟูนนั  (Fu-Nan)  ทวารวดี (Dvaravati)  ลังเจียซู (Lan-Chia-  Shu หรือ Lankasuka) ศรีวิชัย (Srivijaya) และโมโลยู (Mo-lo-yu) ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรง  นิพนธ์ บันทึกรายงานเสด็จตรวจราชการเมืองสุพรรณบุร ี นับเป็นจุดเริม่   ต้นของการกล่าวถึงศิลปะในภาคกลางของประเทศไทย และได้ทรงกล่าว  ถึงอีกครั้งหนึ่งในหนังสือนิทานโบราณคดี ทรงตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับ  เมืองอู่ทองว่า “เมืองท้าวอู่ทองเห็นว่าเป็นเมืองใหญ่มีก�ำแพงเมือง ๒ ชั้น มี  สระใหญ่ ๆ ขุดไว้หลายสระ ข้างในเมืองมีโคกอิฐ ซึ่งน่าจะเป็นวัดวาของ  เก่ามากมายหลายแห่ง  เจดียย์ งั คงรูปอยูก่ ม็ บี า้ ง พบพระพุทธรูปทีม่ ฝี มี อื   26 ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย


ช่างเดียวกับที่พบที่พระปฐมเจดีย์ รวมทั้งได้พบเหรียญตราสังข์ อย่าง  เดียวกับที่ขุดได้ที่จุลปะโทน สันนิษฐานว่าเมืองนี้จะเป็นเมืองสมัยเดียว  กับเมืองโบราณที่พระปฐมเจดีย์” ๓ สังเกตได้ว่าสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพยังไม่ได้ใช้คำ�   ว่า “ทวารวดี”  พระองค์น่าจะเริ่มใช้ค�ำนี้ในหนังสือนิทานโบราณคดี ที่  ทรงนิพนธ์เมือ่  พ.ศ. ๒๔๖๙ โดยเชือ่ มโยงกับการตีความของนักปราชญ์  ที่อ้างถึงจดหมายเหตุจีน และทรงสันนิษฐานว่านครปฐมเป็นราชธานี  แห่งแรก๔ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๗ นายปอล เปลลิโยต์ (Paul Pelliot)  นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสที่ศึกษาเรื่องจีน และเป็นผู้บุกเบิกการศึกษา  เกี่ยวกับเส้นทางสายไหม ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ถังและ  พบว่าในหนังสือประวัติศาสตร์ใหม่สมัยราชวงศ์ถัง (Siu T’ang Chou)  กล่าวถึงชื่อของอาณาจักรหนึ่งคือ “ฉวนโลโปตี” (Tchouan-lo-po-ti)  และในประวัติศาสตร์เก่าสมัยราชวงศ์ถัง (Kian T’ang Chou) มีชื่อของ  “โถ-โล-โป-ตี” ซึง่ แน่ใจว่าตรงกับภาษาสันสกฤตว่า ทวารวดี และตัง้ อยู่  บริเวณที่ราบลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา  นอกจากนี้นายเปลลิโยต์ยังได้เสนอ  ว่า ชาวพื้นเมืองที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมนี้เป็นคนมอญหรือเขมร เพราะ  ได้พบจารึกจ�ำนวนมากบริเวณภาคกลางของประเทศไทยที่เป็นภาษา  มอญและเขมร๕ ใน พ.ศ. ๒๔๕๒ นายลูเนท์ เดอ ลาฌองกิแยร์ (Lunet de La  jonquiere) นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ได้เดินทางเข้ามาส� ำรวจใน  ประเทศไทย ซึง่ นับเป็นคนแรกและครัง้ แรกทีม่ กี ารส�ำรวจทางโบราณคดี  เกีย่ วกับทวารวดี  นายลาฌองกิแยร์ได้กล่าวถึงข้อมูลทางด้านโบราณคดี  บริเวณลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยาว่า มีโบราณวัตถุแบบหนึ่งที่พบในจังหวัด  นครปฐม สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี มีลักษณะแบบอินเดีย-เขมร และ  ได้ให้ชื่อว่าเป็นศิลปะ “แบบฮินดู” รายงานดังกล่าวนี้ชื่อว่า “Domaine  arch ologique du Siam” และ “Essai d’inventaire arch ologique  du Siam” พิมพ์ใน Bulletin de la Commission Archeologique de  l’Indo-chine๖ การศึกษาเกี่ยวกับศิลปะทวารวดีได้เริ่มต้นขึ้นอย่างแท้จริง  27 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


แปลจากภาษาอั ง กฤษของ Piriya Krairiksh, Buddhist folk tales depicted at  Chula Pathon Cedi, (กรุงเทพฯ : พระจันทร์การพิมพ์, ๒๕๑๗), หน้า ๓๖-๓๗. ๑๘  นันทนา ชุติวงศ์, “ภาพชาดกที่เจดีย์จุลปะโทน,” ใน ศิลปากร, ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๔ (พฤศจิกายน ๒๕๒๐), หน้า ๒๘-๕๖. ๑๙  พิริยะ ไกรฤกษ์, ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแบบศิลปในประเทศไทย, (กรุงเทพฯ : กรุงสยาม การพิมพ์, ๒๕๒๐). ๒๐    , ประวัติศาสตร์ศิลปในประเทศไทย ฉบับคู่มือนักศึกษา, (กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๘). ๒๑    , ประวั ติ ศ าสตร์ ศิ ล ปะและโบราณคดี ใ นประเทศไทย, (กรุ ง เทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำ�กัด, ๒๕๓๓). ๒๒  สำ�นักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑ ราชบุรี, คูบัว : ความสัมพันธ์กับ ชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียง, (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๑). ๒๓  อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ, เมืองศรีเทพ, (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๘). ๒๔  สายันต์ ไพรชาญจิตร์ และศุภมาศ ดวงสกุล, “หลักฐานและความรู้ใหม่ทาง โบราณคดี เกี่ ย วกั บ โบราณสถานคอกช้ า งดิ น เมื อ งอู่ ท อง,”  ใน ศิ ล ปากร, ปี ที่   ๔๑ ฉบั บ ที่   ๔ (กรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๔๑), หน้า ๑๕-๔๐. ๒๕  ธิดา สาระยา, (ศรี) ทวารวดี : ประวัติศาสตร์ยุคต้นของสยามประเทศ, (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๓๒). ๒๖  ผาสุ ข  อิ น ทราวุ ธ , ทวารวดี  : การศึ ก ษาเชิ ง วิ เ คราะห์ จ ากหลั ก ฐานทางโบราณคดี , (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย, ๒๕๔๒).

34 ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย


๑ ก่อนทวารวดี ส่วนที ่

และอารยธรรมทวารวดี

35 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


บทที่ ๑ ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์

สังคมและวัฒนธรรมก่อนพุทธศตวรรษที ่ ๖ ●

พัฒนาการของชุมชนจากยุคก่อนประวัติศาสตร์

สู่ยุคประวัติศาสตร์

จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีทมี่ กี ารค้นพบแล้วจนถึงปัจจุบนั   ท�ำให้ทราบถึงพัฒนาการของคนในอดีตบริเวณประเทศไทยว่ามีมนุษย์  อยู่อาศัยมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์  อย่างไรก็ตามพัฒนาการของมนุษย์จากสมัยก่อนประวัติศาสตร์เข้าสู่ยุค  ประวัตศิ าสตร์ในแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน  ในการศึกษาทางประวัตศิ าสตร์  โดยทั่วไปใช้การรู้จักตัวอักษรเป็นตัวแบ่งยุคระหว่างก่อนประวัติศาสตร์  และสมัยประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เมื่อใดที่ชุมชนหนึ่ง ๆ รู้จักตัวอักษร  ในการบั น ทึ ก เรื่ อ งราวและสามารถอ่ า นได้   ถื อ ว่ า ชุ ม ชนนั้ น เข้ า สู ่ ยุ ค  ประวัติศาสตร์แล้ว เกี่ยวกับการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยโดยใช้  จารึกเป็นตัวก�ำหนดนั้น ไม่สามารถก�ำหนดได้ว่าจะใช้จารึกหลักใด อันมี

36 ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย


สาเหตุจากเงื่อนไขของจารึกที่พบ กล่าวคือ กลุ่มจารึกที่เก่าสุดที่พบใน  ประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถกล่าวได้ว่ามีอายุไม่  เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ ๑๑ จารึกด้วยตัวอักษรปัลลวะ เปรียบเทียบ  ได้กับอักษรที่ใช้อยู่ในราชวงศ์ปัลลวะในอินเดียตอนใต้ เช่น จารึกวัด  มเหยงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช  จารึกเขารัง จังหวัดปราจีนบุร ี  จารึก  ปากแม่นำ�้ มูล จังหวัดอุบลราชธานี  จารึกกไดอัง ในประเทศกัมพูชา และ  ยังพบในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และพม่า  จารึกเหล่านี้มี  รูปแบบอักษรเหมือนกับทีใ่ ช้ในสมัยของพระเจ้าศิวะสกันทวรมัน กษัตริย์  แห่งราชวงศ์ปลั ลวะในประเทศอินเดีย ประมาณพุทธศตวรรษที ่ ๑๐-๑๑๑  ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าจารึกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รุ่นแรกจะใช้  อักษรปัลลวะ และมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ เป็นต้นมา๒ จารึกกลุ่มที่เก่าสุดที่เชื่อว่าพบในวัฒนธรรมทวารวดีรุ่นแรกแต่  ยังไม่มีการระบุศักราช ใช้วิธีการก�ำหนดอายุจากรูปแบบอักษรราวต้น  พุทธศตวรรษที ่ ๑๒ เช่น จารึกเมืองศรีเทพ พช./๑๓ และจารึกช่วงกลาง  พุทธศตวรรษที ่ ๑๒ ได้แก่ จารึกในวัฒนธรรมเจนละ โดยเฉพาะทีป่ รากฏ  พระนามของเจ้าชายจิตรเสน เช่นจารึกปากน�้ำมูล ๒  ส่วนจารึกรุ่น  แรกที่มีศักราชและจัดอยู่ในวัฒนธรรมทวารวดีอย่างแท้จริงพบแถบภาค  ตะวันออก จะอยูใ่ นราวปลายพุทธศตวรรษที ่ ๑๒ จารึกด้วยอักษรปัลลวะ  ภาษาสันสกฤต เช่นจารึกพบที่ปราสาทเขาน้อย อ� ำเภออรัญประเทศ  จังหวัดสระแก้ว พ.ศ. ๑๑๘๐๔  จารึกพบที่เขารัง ในเขตอ�ำเภอและ  จังหวัดเดียวกัน พ.ศ. ๑๑๘๒๕ เป็นต้น  ดังนั้นถ้าจะใช้หลักฐานการพบ  จารึกและมีการอ่านได้แล้วในดินแดนไทยเป็นตัวก�ำหนดในระดับแรก  จะมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑  ส่วนในระดับรองลงมาจาก  หลักฐานทีร่ ะบุปที สี่ ร้าง ก็จะอยูใ่ นช่วงกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที ่ ๑๒ ในการศึกษาพบว่ามีช่วงระยะเวลาหนึ่งที่อยู่ระหว่างสมัยก่อน  ประวัตศิ าสตร์กบั สมัยประวัตศิ าสตร์ ซึง่ เป็นเวลาทีด่ นิ แดนนัน้  ๆ ยังไม่ร้ ู จักการบันทึกเป็นลายลักษณ์อกั ษรของตนเอง แต่มกี ารบันทึกเรือ่ งราวที่  กล่าวถึงดินแดนนัน้ ในเอกสารของชนชาติอนื่  ท�ำให้สามารถทราบถึงความ  เป็นมาของดินแดนนัน้  ๆ ได้  ช่วงระยะเวลาดังกล่าวนีจ้ ดั เป็นยุคหัวเลีย้ ว  หัวต่อทางประวัตศิ าสตร์ หรือยุคกึง่ ก่อนประวัตศิ าสตร์ (proto-history) 37 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


รูปที่ ๑๓  (บนและกลาง) ตะเกียงโรมันส�ำริด  พบที่ ต. พงตึก  อ. ท่ามะกา จ. กาญจนบุรี  จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร

รูปที่ ๑๔  ตะเกียงโรมันส�ำริด  ไม่ทราบที่มา  จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร

52 ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย


ลักษณะส�ำคัญของตะเกียงประกอบด้วย ส่วนตัวที่บรรจุนำ�้ มัน  ส่วนของพวยทีย่ นื่ ออกมาด้านหน้าส�ำหรับใส่ไส้ตะเกียง และส่วนด้ามจับ  ทีป่ ระดับลวดลาย  ส่วนตัวส�ำหรับบรรจุนำ�้ มันมีฝาปิดประดับด้วยใบหน้า  ของเทพเจ้าซิเลนุส (Silenus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งไฟหรือเทพแห่งป่าไม้  ของชาวกรีก  ส่วนด้ามเป็นลายลอยตัว ประกอบด้วยปลาโลมาสองตัว  หันหัวเข้าหากันอยู่ด้านล่างสุด ส่วนบนเป็นลายใบปาล์ม  ตะเกียงรูป  แบบดังกล่าวพบจ�ำนวนมากแถบเมืองอเล็กซานเดรีย มีหลายชิน้ จัดแสดง  อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟ (Mus e du Louvre) ประเทศฝรั่งเศส ในห้องแสดง  อิทธิพลกรีกในประเทศอียิปต์ นอกจากนี้ มี ก ารค้ น พบตะเกี ย งโรมั น ส�ำ ริ ด อี ก หลายดวงใน  ประเทศไทย แต่รปู ทรงไม่สวยงามเท่ากับตะเกียงพบทีพ่ งตึก ปัจจุบนั จัด  แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (รูปที่ ๑๔)  ตะเกียงรูป  แบบนีพ้ บแพร่กระจายอยูโ่ ดยทัว่ ไปในทีต่ า่ ง ๆ ทีอ่ ารยธรรมกรีกและโรมัน  แพร่ไปถึง  ส�ำหรับการเข้ามาในดินแดนไทยเชือ่ ว่าพวกพ่อค้าอินเดียเป็น  ผูน้ ำ� เข้ามา นอกจากเป็นหลักฐานชิน้ ส�ำคัญทีแ่ สดงให้เห็นถึงการน�ำเข้ามา  รูปที่ ๑๕  ตะเกียงดินเผา  พบที่ จ. นครสวรรค์  จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร

รูปที่ ๑๖  ตะเกียงดินเผาพบที่บ้านท่าแค  อ. เมือง จ. ลพบุรี

53 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


ลาว, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๒), หน้า ๑๒๘-๑๒๙. ๓๖ Jean Boisselier, La Statuaire du Champa, (Paris : EFEO, 1976), pp. 24-27,  fig. 1 ab. ๓๗ พิริยะ ไกรฤกษ์, ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดีในประเทศไทย, หน้า ๒๕๒. ๓๘ Pisit Charoenwongsa and M.C. Subhadradis Diskul, Archaeologia Mundi : Thailande, (Genenve : Nagel, 1976), p. 107. ๓๙ พิริยะ ไกรฤกษ์, ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดีในประเทศไทย, หน้า ๒๒๖-๒๒๗. ๔๐ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะในประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ ๙, หน้า ๓. ๔๑ พิริยะ ไกรฤกษ์, ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดีในประเทศไทย, หน้า ๒๑-๒๓. ๔๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๐๑. อ้างจาก O’Conner, S.J., Hindu Gods of Peninsular Siam, (Ascona Switzerland : Artibus Asiae, 1972). ๔๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๐๘. ๔๔ หม่อมเจ้าสุภทั รดิศ ดิศกุล, ศิลปะในประเทศไทย, หน้า ๒. อ้างจาก ฌอง บวสเซอลิเยร์,  “ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับสถานที่ตั้งอาณาจักรฟูนัน,” หน้า ๑๙. ๔๕ เรื่องเดียวกัน. ๔๖ พิริยะ ไกรฤกษ์, ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดีในประเทศไทย, หน้า ๒๒๑. ๔๗ นันทนา ชุติวงศ์, รอยพระพุทธบาทในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์, (กรุงเทพฯ :  เมืองโบราณ, ๒๕๓๓), หน้า ๓๖. ๔๘ เรื่องเดียวกัน, รูปที่ ๑๗. ๔๙ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๒. ๕๐ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๑. ๕๑ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๓. ๕๒ พิริยะ ไกรฤกษ์, ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดีในประเทศไทย, หน้า ๑๙๒.

82 ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย


บทที่ ๒ อารยธรรมทวารวดี

ก่อนที่จะกล่าวถึงอารยธรรมทวารวดีจะต้องท�ำความเข้าใจก่อนว่า จะ  พูดถึงประวัติความเป็นมาของอารยธรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น�้ ำ  เจ้าพระยาทางภาคกลางของประเทศไทย และนักวิชาการส่วนใหญ่ให้ขอ้   สันนิษฐานว่าดินแดนนี้มีชื่อว่า ทวารวดี ซึ่งใช้หลักฐานจากจดหมายเหตุ  จีนโบราณและจารึกที่พบบริเวณดังกล่าวในการพิจารณาถึงชื่อทวารวดี  รวมทั้งการตีความเรื่องของแคว้นหรืออาณาจักรทวารวดี

ปัญหาเรื่องศูนย์กลางของอาณาจักร

เนื่องจากทวารวดีเป็นอารยธรรมหนึ่งที่แพร่กระจายกว้างขวาง  มากที่สุดในดินแดนไทย ท�ำให้นักวิชาการเกิดความสนใจอย่างมาก  เกี่ยวกับรูปแบบของอาณาจักรและอารยธรรม  ส่วนหนึ่งของการแพร่  หลายทางวัฒนธรรมเหล่านี้น่าจะต้องมีศูนย์กลางที่ส�ำคัญ อันเป็นต้น  ก�ำเนิดและตัวกลางที่ถ่ายทอดไปยังแหล่งอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งในรูป  ของอาณาจักร คือเรื่องของการปกครองที่รวมศูนย์อ�ำนาจ แต่อีกส่วน  83 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


คันธารระ • ตักศิลา

ล ัม

กปส•ะ

น .เ ซ

• ฮะรัปปา

นุ า

ินธุ

โมเฮนโชฑะโร •

น .ยม น.ค งคา

เล น.สัต

ทิเบต

แคชเมียร เดลฮี • มถุรา•

น.ส

โกศามิ • ี

• ปะตะสะ • นคร •

ภรุกัจฉะ ศูรปารกะ

ประดิษฐาน (ไปถาน)

ตัมราลิปติ •

น.มหานที

อานธระ อมราวดี น.ก ฤ ษ ณ

น.โ

อาวเบงกอล

กลิงค

อาวคัมเบย

• ปาฏลีบุตร จัมปา•

มคธ

วา ฆธา

ทวารกา โสมนาถ อัมเรลิ

พาราณสี

วิทิศา • อุชเชน • ดะ น . น า ร ม า

น.พ ร หมบตุ ร

เนปาล

มสุลิปฏนั•ม

มัณฏสาลา

กาญจี •

ทะเลอันดามัน

• •

อะริกะเมฑุ ฆาเวริปฏฏินัม

• มูซีรีส กุมารี

ศรีลังกา

แหลมโคโมริน

มหาสมุทรอินเดีย

แผนที่ ๑ เส้นทางการค้าทางทะเลระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และเมืองท่าโบราณในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 84 ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย

หมูเ


จีน

ตร

น.อ รว ด น.สาละวิน

ยะไข

ฟูเจี้ยน

นานเจา ยูนนาน

น.โขง

น.ซ ินดว ิน

• ตาลี

ซัวเถา• กวางตุ • ง

ตังเกี๋ย

อาว ธัญหัว• • ไบกถโน ตั งเกี๋ย ไหหลำ • แปร (ศรีเกษตร) • พะโค (หงสาวดี) • สะเทิม • ง • สุวรรณเขต ดราเกียว มะละแหม ดงเดือน จั น เสน • •• ลพบุรี น.มูล • • ซาหูน หรือ ซาหวิ่น (ไดลาญ) ทวาย • ศรีมโหสถ พงตึก • น.เจา•พระยา สมโบร (อีศานปุระ) นครปฐม • สนิคม ฟูนัน • พนั คูบัว • ญาตรัง (เกาฐาร) • โวคาญ• • หมูเกาะอันดามัน อยาธปุระ• อาวไทย เขาสามแกว (ชุมพร) ออกแกว• • ทะเลจีนใต แหลมโพธิ์ (ไชยา) • • ตามพรลิงค • ตะกั่วปา (พังงา) • • (นครศรีธรรมราช) ควนลูกปด •• • ปตตานี (กระบี่) นราธิวาส หมูเกาะนิโคบาร บานดอน

ไตหวัน

น.โข

ฟลิปปนส

มัน

ยี ง งซเี ก

น.โข

บงกอล

น.แ ย

อฉิน

ยะรัง

สุมาตรา

บอรเนียว

สิงหปุระ

เซลีเบส ทะเลชวา ตารุ•มา

บุโรพุทโธ

••

ปรัมบนัม

85 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

บาหลี


หนึ่งอาจมีเฉพาะเรื่องของการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ศาสนา และงาน  ศิลปกรรมสืบต่อกันมาเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของอ�ำนาจทางการเมืองในรูป  แบบของอาณาจักรแต่อย่างใด ในส่วนทีเ่ ป็นรูปแบบของรัฐหรืออาณาจักร นักวิชาการส่วนใหญ่  ลงความเห็นว่าศูนย์กลางของทวารวดีน่าจะอยู่บริเวณภาคกลางตอน  ล่างของประเทศไทย เนื่องจากพบหลักฐานที่ส�ำคัญมากกว่าแหล่งอื่น ๆ  รวมทัง้ ทีต่ งั้ อยูใ่ นท�ำเลทีเ่ หมาะสมต่อการรับอารยธรรมจากโลกภายนอก จากหลักฐานทางโบราณคดี ท�ำให้นักวิชาการตั้งข้อสมมติฐาน  เกีย่ วกับศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดีไว้สามแห่งคือ เมืองอูท่ อง เมือง  นครปฐม (นครชัยศรี) และเมืองลพบุรี (ละโว้หรือลวปุระ) เหตุที่กล่าวว่าทั้งสามเมืองนี้น่าจะเคยเป็นศูนย์กลางเนื่องจาก  มีขนาดใหญ่กว่าเมืองอื่น ๆ  มีท�ำเลที่ตั้งเหมาะสมต่อการติดต่อกับโลก  ภายนอกทางทะเล  และประการส�ำคัญคือ พบหลักฐานทางโบราณคดี  ที่ส�ำคัญมากที่สุด เช่น รูปเคารพทางศาสนา (พระพุทธรูป) ธรรมจักร  เหรียญเงิน เป็นต้น กล่าวโดยสรุปคือ เมืองอู่ทอง (รูปที่ ๓๕) ได้พบหลักฐานที่ส�ำคัญคือ จารึกบน  แผ่นทองแดงอักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่  ๑๓-๑๔ กล่าวถึงพระนามของพระมหากษัตริยค์ อื  พระเจ้าหรรษะวรมัน  (รูปที่ ๓๖) ซึ่งศาสตราจารย์ฌอง บวสเซอลิเยร์สันนิษฐานว่าอาจเป็น  พระนามของกษัตริย์ทวารวดีพระองค์แรกที่รู้จัก จึงสันนิษฐานว่าเมือง  อูท่ องน่าจะเคยเป็นเมืองหลวงอย่างน้อยก็ระยะเวลาหนึง่ ๑  นอกจากนีย้ งั   พบเหรียญเงินทีม่ จี ารึก ศฺรที วฺ ารวตี ศฺวรปุณยฺ ะ อีกหลายเหรียญ  รวมทัง้   พบหลักฐานความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ตอน  ปลาย ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖-๙  อันเป็นวัฒนธรรมก่อนทวารวดี (ฟูนัน) ชัดเจนที่สุด เมืองนครปฐม (นครชัยศรี) (รูปที ่ ๓๗) เป็นเมืองทีม่ ขี นาดใหญ่  ทีส่ ดุ ในวัฒนธรรมทวารวดี คือประมาณ ๓ ตารางกิโลเมตร ทีเ่ มืองนีพ้ บ  ศาสนสถานที่ส�ำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าที่อื่น ๆ เช่น เจดีย์องค์เดิมของ  พระปฐมเจดีย์ เจดีย์พระประโทณ เจดีย์จุลประโทน เจดีย์วัดพระเมรุ  เป็นต้น  นอกจากนีย้ งั พบประติมากรรมส�ำคัญขนาดใหญ่เป็นจ�ำนวนมาก  88 ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย


รูปที่ ๓๕  ภาพถ่ายทางอากาศเมืองโบราณอูท่ อง  อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี

รูปที่ ๓๖  จารึกบนแผ่นทองแดง  พบที่เมืองโบราณอู่ทอง  อ. อู่ทอง  จ. สุพรรณบุรี  จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  อู่ทอง

89 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


รูปที่ ๓๗  ภาพถ่ายทางอากาศเมืองโบราณนครปฐม  จ. นครปฐม

เช่น พระพุทธรูป ภาพเล่าเรือ่ งในพุทธศาสนา ธรรมจักร เป็นต้น ซึง่ พบ  มากกว่าแหล่งอืน่  ๆ รวมทัง้ พบเหรียญเงินทีม่ จี ารึก ศฺรที วฺ ารวตี ศฺวรปุณยฺ ะ  ด้วยเช่นกัน เมืองลพบุรี (ลวปุระ) (รูปที่ ๓๘) เป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีขนาด  ใหญ่ พบโบราณสถานและโบราณวัตถุสำ� คัญ ๆ เท่าเทียมกับสองเมือง  ที่กล่าวแล้ว  หลักฐานที่ส�ำคัญที่ใช้ประกอบข้อสันนิษฐานนี้คือ การพบ  จารึกภาษามอญหลายแห่ง เช่นที่เสาแปดเหลี่ยม  อย่างไรก็ตามข้อสันนิษฐานเรื่องลพบุรีเคยเป็นศูนย์กลางของ  อาณาจักรทวารวดีมีน้อยมาก เพราะในเอกสารจีนกล่าวถึงอาณาจักร  หนึ่งที่เจริญควบคู่กับ “โถ-โล-โป-ตี” (ทวารวดี) คือ “ตูเหอหลอ” ซึ่ง  อาจหมายถึงละโว้หรือลวปุระ  นอกจากนี้ยังพบเหรียญเงินที่มีจารึก  ค�ำว่า ลวปุระ (พบที่เมืองอู่ทอง) อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ แสดงให้  เห็นว่าเมืองลพบุรีเดิมน่าจะเป็นอาณาจักรหรือรัฐแห่งหนึ่งที่ร่วมสมัย  กับทวารวดี เพราะมีชื่อและเหรียญของตัวเองใช้  ดังนั้นศูนย์กลางของ  90 ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย


รูปที่ ๓๘  ภาพถ่ายทางอากาศเมืองโบราณลพบุรี  จ. ลพบุรี

อาณาจักรทวารวดีจึงน่าจะอยู่ที่เมืองอู่ทองและนครปฐม อนึ่งแต่เดิมมักใช้จ�ำนวนของการพบเหรียญเงินที่มีจารึกกล่าว  ถึง ศฺรีทฺวารวตี ศฺวรปุณฺยะ เป็นตัวก�ำหนดว่าหากพบมากที่เมืองใด  สันนิษฐานว่าเมืองนัน้ น่าจะเป็นศูนย์กลาง เช่น นครปฐมและอูท่ อง  แต่  การใช้จำ� นวนเหรียญทีพ่ บไม่นา่ จะใช้เป็นเกณฑ์หลักในการพิจารณาเรือ่ ง  ความเป็นศูนย์กลางได้ เพราะเหรียญเงินมีขนาดเล็ก เป็นสิ่งที่ใช้ในการ  แลกเปลี่ยน และพบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งอารยธรรมทวารวดี  เช่น  ทีค่ น้ พบเหรียญเงินใหม่ถงึ สามเหรียญทีเ่ มืองโบราณคอกช้างดิน อ�ำเภอ  อูท่ อง จังหวัดสุพรรณบุร ี  ดังนัน้ ความส�ำคัญของการตีความควรใช้หลัก  ฐานในด้านที่ตั้ง ขนาดของเมือง  ที่ส�ำคัญคือ ศาสนสถานและโบราณ  วัตถุที่พบ และการติดต่อกับโลกภายนอก เป็นสิ่งส�ำคัญในการตีความ  เรื่องศูนย์กลางของอาณาจักร ถ้าพิจารณาถึงสภาพภูมิศาสตร์เดิมจะพบว่าในยุคทวารวดี  ชายฝั่งทะเล (อ่าวไทย) ได้ขึ้นมาถึงจังหวัดนครสวรรค์  เพราะฉะนั้น  เมืองโบราณส�ำคัญที่เป็นเมืองขนาดใหญ่ พบหลักฐานในสมัยทวารวดี  91 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


๒ ศิลปกรรมสมัยทวารวดี ส่วนที ่

144 ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย


บทที่ ๓ สถาปัตยกรรม

วัฒนธรรมทวารวดีได้แพร่กระจายอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มภาค  กลางของประเทศไทย และจากหลักฐานทางด้านศิลปกรรมส่วนใหญ่  เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธแบบเถรวาท  ปัจจัยสองอย่างนี้นับว่ามีผลต่อ  งานสถาปัตยกรรมมาก กล่าวคือ ประการที่ ๑ เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิประเทศซึ่งตั้งอยู่บริเวณ  ที่ราบลุ่ม จึงมีข้อจ�ำกัดในเรื่องของวัสดุที่จะน�ำมาใช้ในการก่อสร้าง  อาคารจึงจ�ำเป็นต้องสร้างด้วยอิฐซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถท�ำขึ้นใช้เอง จน  อาจกล่าวได้วา่ วัฒนธรรมของชาวทวารวดีนนั้ เป็นวัฒนธรรมของกลุม่ ชน  ผู้ใช้อิฐเลยก็ว่าได้ ประการที่ ๒ การเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธแบบเถรวาทท�ำให้  ศาสนสถานมีขนาดเล็ก เนื่องมาจากแนวความคิดแบบเถรวาทที่ว่า จุด  สูงสุดคือการถึงซึ่งนิพพาน  ดังนั้นพุทธสถานส�ำหรับท�ำพิธีกรรมทาง  ศาสนาจึงไม่จ�ำเป็นต้องสร้างขนาดใหญ่โต แต่สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทน  ของพระพุทธเจ้า แตกต่างจากแนวความคิดของศาสนาพราหมณ์ใน  145 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


การสร้างปราสาทส�ำหรับเทพเจ้า ซึ่งถือเป็นการจ�ำลองจักรวาลหรือเขา  พระสุเมรุลงมายังโลกมนุษย์ และปราสาทเป็นที่สถิตของเทพเจ้า  ดัง  นั้นสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมทวารวดีจึงแสดงให้เห็นถึงความสมถะและ  เรียบง่าย  จากเหตุผลดังกล่าวท� ำให้การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรม  ทวารวดีค่อนข้างจ�ำกัด เพราะหลักฐานที่เหลืออยู่จะพบเฉพาะซากและ  ส่วนฐานอาคารเท่านัน้   ไม่อาจทราบได้วา่ รูปแบบโดยรวมของศาสนสถาน  เป็นอย่างไร  หลักฐานส่วนใหญ่ทพี่ บรูแ้ ต่เพียงว่าเป็นฐานเจดีย ์  ไม่รรู้ าย  ละเอียดองค์ประกอบอื่น ๆ ของเจดีย์และศาสนสถาน เช่น มีวิหารหรือ  ก�ำแพงที่แสดงขอบเขตหรือไม่  ดังนั้นการศึกษางานสถาปัตยกรรมที่จะสามารถกล่าวได้คือ  รูปแบบของแผนผังและข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับรูปทรงเจดีย์หรือวิหาร  โดยการศึกษาเปรียบเทียบกับที่อื่น ๆ ในศิลปะอินเดียหรือประเทศใกล้  เคียง และสันนิษฐานจากรูปแบบจ�ำลอง ภาพสลัก หรือภาพประกอบใน  งานศิลปกรรมอื่น ๆ เช่น ประติมากรรมนูนต�ำ่  พระพิมพ์ เป็นต้น

ประเภทของศาสนสถาน

จากการศึ ก ษาสถาปั ต ยกรรมในสมั ย ทวารวดี อ าจจ� ำ แนก  ศาสนสถานได้อย่างกว้างเป็นสองประเภทคือ ศาสนสถานกลางแจ้ง  และศาสนสถานที่อยู่ในถ�้ำ ●

ศาสนสถานกลางแจ้ง

ศาสนสถานกลางแจ้ง (รูปที่ ๖๐) เป็นศาสนสถานที่พบอยู่  ทั่วไปในเมืองโบราณทุกเมืองในสมัยทวารวดี  จากหลักฐานที่เหลืออยู่  ได้แก่ ซากเจดียซ์ งึ่ ส่วนใหญ่จะมีผงั เป็นสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั  กับซากวิหารหรือ  อาคารซึ่งมีแผนผังเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ส่วนอาคารอื่น ๆ เช่นที่อยู่อาศัย  คงเป็นเครื่องไม้ จึงไม่พบหลักฐานให้ศึกษา ●

ศาสนสถานที่อยู่ในถ�้ำ

ศาสนสถานที่อยู่ในถ�้ำ (รูปที่ ๔๒) ถ้าจะย้อนกล่าวไปถึงสมัย

146 ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย


ก่อนประวัติศาสตร์ เราได้พบหลักฐานว่ามนุษย์อยู่อาศัยในถ�้ำมาก่อน  ภายหลังจึงเคลือ่ นย้ายลงมาอยูย่ งั พืน้ ทีร่ าบ และแม้วา่ จะมีพฒ ั นาการมา  อยูย่ งั พืน้ ทีร่ าบแล้ว ส่วนหนึง่ ยังพบหลักฐานว่ามีการท�ำพิธกี รรมเกีย่ วกับ  ความเชื่อในถ�้ำอยู่จนกระทั่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือสมัย  หัวเลีย้ วหัวต่อของประวัตศิ าสตร์พบว่ามีการอยูอ่ าศัยและท�ำพิธกี รรมอยู่  บ้าง ตัวอย่างที่ส�ำคัญได้แก่ ภาพเขียนสีต่าง ๆ ที่ปรากฏบนผนังถ�้ำ ในวัฒนธรรมทวารวดี พบการใช้ถ�้ ำเป็นศาสนสถานเช่นกัน  เช่นทีบ่ ริเวณเขางู จังหวัดราชบุร ี  ถ�ำ้ พระโพธิสตั ว์ ต�ำบลทับกวาง อ�ำเภอ  แก่งคอย จังหวัดสระบุรี  ถ�้ำถมอรัตน์ เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์  เป็นต้น รวมทั้งทางภาคใต้เช่นที่ถ�้ำคูหา วัดคูหา อ�ำเภอกาญจนดิษฐ์  จังหวัดสุราษฎร์ธานี   การใช้ถำ�้ เป็นศาสนสถานสันนิษฐานว่าคงมาจากเหตุผลพืน้ ฐาน  สามประการ ประการแรก เป็นเรื่องของพื้นที่ธรรมชาติ มนุษย์ไม่ต้อง  สร้าง เพียงแต่ดัดแปลงและสร้างอาคารหรือรูปเคารพไว้ภายในเท่านั้น  ก็สามารถใช้เป็นศาสนสถานได้  ประการที่ ๒ อาจเป็นวัฒนธรรมที่  สืบทอดมาจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ที่ส่วนหนึ่งของคน  กลุ่มนี้ยังมีการท�ำพิธีกรรมต่าง ๆ ในถ�้ำอยู่ เช่นตัวอย่างจากภาพเขียนสี  ที่ผนังถ�้ำดังกล่าวแล้วข้างต้น เมื่อมีการรับพุทธศาสนาเข้ามาจึงได้ใช้ถ�้ำ  และสร้างรูปเคารพขึ้นมาแทน  และประการที่ ๓ ในสมัยทวารวดีคงรับ  คติการใช้ถ�้ำเป็นศาสนสถานมาจากอินเดียที่เรียกว่า “เจติยสถาน” คือ  ศาสนสถานที่เจาะเข้าไปในภูเขาหรือดัดแปลงถ�้ำให้เป็นศาสนสถาน ซึ่ง  พบมาแล้วตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ (พุทธศตวรรษที่ ๓-๖) ที่พบเป็น  จ�ำนวนมากและเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือถ�้ำในสมัยคุปตะ เช่นที่ถ�้ำ  อชันตา (Ajanta) ถ�้ำเอลโลรา (Ellora) เป็นต้น ถ�้ำของอินเดียแบ่งเป็นสองประเภท คือ เจติยสถาน เป็นสถาน  ที่กระท�ำพิธีกรรมทางศาสนา ภายในถ�้ำจะประกอบด้วยอาคารที่สลัก  เลียนแบบเครื่องไม้ ด้านในสุดของคูหาจะมีสถูปส�ำหรับท�ำพิธีกรรม  ส่วนอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า วิหาร คืออาคารที่เกิดจากการดัดแปลงถ�ำ้   มีส่วนส�ำหรับท�ำพิธีกรรม และผนังเจาะเป็นช่อง ๆ ส�ำหรับเป็นที่จ�ำ  พรรษาของพระภิกษุ 147 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


ส�ำหรับถ�ำ้ ทีใ่ ช้เป็นศาสนสถานในสมัยทวารวดีนา่ จะได้แนวความ  คิดมาจากอินเดีย แต่ไม่มหี ลักฐานให้เห็นอย่างชัดเจนทัง้ ทีเ่ ป็นเจติยสถาน  หรือวิหารเลย  เท่าทีม่ หี ลักฐานจะพบเพียงว่าในถ�้ำมีภาพสลักหรือปูนปัน้   ประดับเป็นรูปเล่าเรื่องพุทธประวัติหรือรูปเคารพของพระพุทธเจ้าและ  พระโพธิสัตว์ ซึ่งอนุโลมได้ว่าหลักฐานเหล่านี้น่าจะเป็นศาสนสถานหรือ  ส่วนหนึ่งของศาสนสถานในวัฒนธรรมทวารวดี

วัสดุและเทคนิคการก่อสร้าง

สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดีส่วนใหญ่เป็นอาคารก่ออิฐสอด้วย  ดิน (ดินเหนียวดิบผสมน�้ำอ้อย)  อิฐจะมีลักษณะแตกต่างจากอิฐเขมร  และอิฐจามทัง้ เนือ้ ดินและวิธผี ลิต มีขนาดใหญ่ประมาณ ๓๔ x ๑๘ x ๘  เซนติเมตร หรืออาจมีขนาดใหญ่กว่านี้  ดินที่ใช้ท�ำอิฐมักผสมกับแกลบ  (เปลือกเมล็ดข้าว) ซึ่งจะช่วยให้การเผาให้เป็นไปได้อย่างสม�่ำเสมอ  แต่ ส ่ ว นใหญ่ จ ะสุ ก เฉพาะข้ า งนอก  การผสมแกลบลงในดิ น เช่ น นี้  ท�ำให้อิฐแบบทวารวดีมีลักษณะพิเศษเป็นของตนเอง  ในการก่อสร้าง  บางครั้งจะใช้ศิลาแลงก่อร่วมกับอิฐ โดยก่อเฉพาะฐานส่วนหนึ่งหรือ  ฐานทั้งหมด ผนังของศาสนสถานมักตกแต่งด้วยลวดลายประดับที่  ท�ำด้วยปูนปั้นหรือดินเผา๑

แผนผังและรูปทรงสันนิษฐาน ของสถาปัตยกรรม ●

ประเภทของอาคาร

จากแผนผังของซากอาคารในสมัยทวารวดี สามารถแบ่งอย่าง  กว้าง ๆ ได้เป็นสองประเภท คือ อาคารทีม่ ผี งั เป็นสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั และแปด  เหลีย่ ม ซึง่ คงเป็นส่วนฐานของเจดีย ์ กับอาคารทีม่ ผี งั เป็นสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า  ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานของวิหาร เจดีย ์  เท่าทีพ่ บหลักฐานและได้มกี ารศึกษาแล้วแสดงให้เห็นว่า  ซากอาคารที่สันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์จะมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มี  ขนาดไม่ใหญ่มากนัก ความกว้างของฐานโดยประมาณคือ ๘-๑๐ เมตร  148 ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย


นอกจากบางองค์เท่านั้นที่มีลักษณะพิเศษซึ่งพบอยู่ไม่มากนัก เช่น  เจดีย์จุลประโทน มีฐานกว้าง ๑๘ เมตร (รูปที่ ๑๐๓) หรือเจดีย์วัด  พระเมรุ ฐานกว้าง ๕๔ เมตร (รูปที่ ๖๐) เป็นต้น นอกจากแผนผังที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้วยังพบว่ามีผังที่เป็น  รูปแบบพิเศษแตกต่างออกไป แต่ก็พบน้อยมากคือ ผังแปดเหลี่ยม เช่น  เจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองอู่ทอง และที่เมืองคูบัวพบสองแห่ง ส่วนผัง  กลมพบที่เมืองคูบัวสามแห่ง เป็นต้น๒   วิหาร ในที่นี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้นว่าเป็นวิหาร กล่าว  คือ ซากอาคารที่อยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งพบอยู่ไม่มากนัก ที่ส�ำคัญ  คือ วัดโขลงสุวรรณคีรี (รูปที่ ๖๑) และอาคารหมายเลข ๕ และ ๑๑  เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี  อาคารผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เมืองโบราณพงตึก  อ�ำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุร ี และทีเ่ ขาคลังใน เมืองโบราณศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งอาคารหลังท้ายสุดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับวัด

รูปที่ ๖๐  เจดีย์วัดพระเมรุ  อ. เมือง จ. นครปฐม 149 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


บทที่ ๔ ประติมากรรม

เนื่องจากอารยธรรมทวารวดีมีช่วงระยะเวลายาวนาน และแพร่  กระจายครอบคลุมไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย จึงท�ำให้พบงาน  ประติมากรรมเป็นจ�ำนวนมาก ทั้งในพุทธศาสนาแบบเถรวาท มหายาน  และศาสนาพราหมณ์ รวมทัง้ รูปแบบของศิลปกรรมก็จะมีความแตกต่าง  กั น ไปในแต่ ล ะท้ อ งถิ่ น   ดั ง นั้ น ในการศึ ก ษาเพื่ อ จั ด กลุ ่ ม รู ป แบบจึ ง  กระท�ำได้ค่อนข้างยาก ในทีน่ จี้ งึ ขอกล่าวถึงงานประติมากรรมทวารวดีโดยแบ่งออกเป็น  สองส่วน คือ ส่วนแรก การจัดกลุ่มรูปแบบและการก�ำหนดอายุสมัยตาม  อิทธิพล และวิวัฒนาการทางด้านศิลปะ ซึ่งถือเป็นหลักในการศึกษาโดย  ทั่วไป  ส่วนที่ ๒ จะแสดงให้เห็นการแพร่กระจายของงานศิลปกรรมที่  เป็นแบบท้องถิ่น ซึ่งสามารถแยกได้เป็นสกุลช่างต่าง ๆ ตามแหล่งที่พบ อย่างไรก็ตามในการจัดกลุ่มรูปแบบ จะใช้ตัวอย่างจากงาน  218 ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย


ประติมากรรมเนื่องในพุทธศาสนาแบบเถรวาทเป็นหลัก  เพราะพบเป็น  จ�ำนวนมาก  ส่วนประติมากรรมในศาสนาพุทธมหายานและศาสนา  พราหมณ์จะแยกกล่าวไว้ต่างหาก

ประติมากรรมเนื่องในพุทธศาสนาเถรวาท ●

การแบ่งยุคสมัยของงานประติมากรรมทวารวดี

ในการศึกษาประติมากรรมทวารวดีโดยทั่วไปนิยมแบ่งเป็นสาม  สมัยอย่างกว้าง ๆ คือ - สมัยทวารวดีตอนต้น (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓) แสดง  ให้เห็นถึงงานศิลปกรรมที่มีอิทธิพลและความสืบเนื่องของศิลปะอินเดีย  มากที่สุด - สมัยทวารวดีตอนกลาง (ทวารวดีอย่างแท้จริง ราวพุทธ-  ศตวรรษที่ ๑๓-๑๕) ถือเป็นงานศิลปกรรมที่มีวิวัฒนาการจนเกิดเป็น  ลักษณะเฉพาะของทวารวดีอย่างแท้จริง รวมทัง้ มีรปู แบบทีแ่ พร่หลายอยู่  โดยทัว่ ไป  อย่างไรก็ตามในยุคนีอ้ าจมีอทิ ธิพลศิลปะจากภายนอกเข้ามา  ผสมผสานอยู่บ้าง เช่น จากชวา จาม เป็นต้น - สมัยทวารวดีตอนปลาย (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ และ  ๑๗-๑๘) ในตอนปลายนี้วัฒนธรรมทวารวดีคงเสื่อมลงอย่างมากแล้ว  ท�ำให้ลักษณะงานศิลปกรรมไม่เด่นชัดนัก  ส่วนหนึ่งเป็นงานศิลปกรรม  ในภาคกลางทีส่ ร้างสืบเนือ่ งมาตัง้ แต่สมัยทวารวดีตอนกลาง แต่ลกั ษณะ  งานเสื่อมลงอย่างมากแล้ว กล่าวคือ มีรูปแบบที่เป็นพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น  ส่วนส�ำคัญคงมีสาเหตุมาจากตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ เป็นต้นมา  อิทธิพลของศิลปะเขมรเริ่มปรากฏมากขึ้นในดินแดนทวารวดี ท�ำให้  ลักษณะงานประติมากรรมเกิดรูปแบบทีม่ คี วามแตกต่างกันออกไปหลาย  กลุ่ม สามารถยกตัวอย่างพอสังเขป คือ กลุม่ ที ่ ๑ เป็นงานทีไ่ ด้รบั อิทธิพลของศิลปะเขมร ซึง่ คงเข้ามามี  บทบาทถึงภาคกลางตัง้ แต่ราวพุทธศตวรรษที ่ ๑๕ เป็นต้นมา ดังได้กล่าว  แล้วข้างต้น  กลุ่มที่ ๒ เป็นพระพุทธรูปในศิลปะภาคใต้ (ระหว่างพุทธ-  219 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


ศตวรรษที่ ๑๑-๑๘) กลุ่มที่ ๓ ศิลปะแบบทวารวดีในท้องถิ่นอีสาน กลุม่ ที ่ ๔ ศิลปะหริภญ ุ ชัย (พุทธศตวรรษที ่ ๑๓-๑๖ และ ๑๗-  ๑๘) ทั้งนี้กลุ่มที่ ๒-๔ อาจกล่าวได้ว่าเป็นสกุลช่างท้องถิ่น ได้แก่  งานศิลปกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาค โดยมีที่มาจากสายวิวัฒนาการ  ของอารยธรรมทวารวดีแต่เดิมและมีลักษณะท้องถิ่นของตัวเองเพิ่มมาก  ขึ้น ส่วนหนึ่งคงเป็นงานที่เกิดในช่วงระยะเวลาที่ทวารวดีในภาคกลาง  หมดไปแล้ว แต่ในท้องถิ่นยังมีการสร้างงานอย่างต่อเนื่องอยู่ เช่น กลุ่ม  ทวารวดีท้องถิ่นที่พบในภาคอีสานตอนบน ศิลปะหริภุญชัยในภาคเหนือ  รวมทั้งศิลปะท้องถิ่นทางภาคใต้ที่มีอิทธิพลของทวารวดีจากภาคกลาง

สมัยทวารวดีตอนต้น (ราวพุทธศตวรรษที ่ ๑๒-๑๓)

การจัดกลุ่มรูปแบบที่ถือเป็นสมัยทวารวดีตอนต้นนี้ใช้เรื่องของ  พัฒนาการทางด้านรูปแบบศิลปกรรมเป็นหลักในการแบ่ง คือ รูปแบบที่  มีความใกล้เคียงกับอินเดียซึง่ เป็นต้นแบบมากทีส่ ดุ  อาจจะเป็นงานทีค่ ดั   ลอกหรือความพยายามสร้างงานทีร่ กั ษารูปแบบของอินเดียไว้ให้มากทีส่ ดุ   โดยช่างในบริเวณลุม่ แม่นำ�้ เจ้าพระยา และอาจเป็นรูปแบบดัง้ เดิมทีส่ ดุ ที่  ปรากฏในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้๑ อิทธิพลของศิลปะอินเดียที่ปรากฏ  ในระยะเวลานี้ ได้แก่  ศิลปะอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๖-๙) คุปตะ  (พุทธศตวรรษที ่ ๙-๑๑) และศิลปะหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที ่ ๑๑-๑๓)  โดยมีการก�ำหนดชื่อเรียกตามราชวงศ์ต่าง ๆ ส่วนหนึ่งได้พบที่เป็นงาน  ศิลปกรรมในพุทธศาสนา เช่น ศิลปะวกาฏกะ เป็นต้น และอิทธิพลศิลปะ  ระยะต่อมาคือศิลปะปาละ (พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๗) ตัวอย่างพระพุทธรูปส�ำคัญทีแ่ สดงให้เห็นถึงการสร้างงานศิลป-  กรรมที่พบในดินแดนไทย ซึ่งศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล  ทรงเสนอว่าได้แก่พระพุทธรูปทีม่ อี ทิ ธิพลระหว่างศิลปะอมราวดีและคุปตะ  ไม่ ท ราบแหล่ ง ที่ พ บ (อาจมาจากทางภาคใต้ )  ปั จ จุ บั น จั ด แสดงใน  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (รูปที่ ๑๒๑) ก�ำหนดอายุได้ในราว  พุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑๒ โดยพระพุทธรูปองค์นี้ครองจีวรห่มเฉียง จีวร  220 ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย


รูปที่ ๑๒๑ ส่วนท่อนบนพระพุทธรูป  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร

เรียบไม่มีริ้ว พระกรซ้ายยึดชายจีวรและแนบกับพระอุระ มีชายจีวรที่  ออกมาจากพระกรซ้ายตกลงมาตรง ๆ พระพักตร์ค่อนข้างกลม ขมวด  พระเกศาเป็นตุม่ ค่อนข้างใหญ่ซงึ่ เป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปสมัย  อมราวดี อย่างไรก็ตามจีวรเรียบไม่มีริ้วนั้นคงมีลักษณะของศิลปะคุปตะ  เข้ามาผสมแล้ว จากการก�ำหนดอายุดงั กล่าวจะหมายถึงพระพุทธรูปองค์  นี้เป็นพระพุทธรูปรุ่นแรกที่สร้างขึ้นหรือพบในดินแดนไทย พระพุ ท ธรู ป ในระยะแรกอี ก องค์ ห นึ่ ง ที่ มี อิ ท ธิ พ ลของศิ ล ปะ  อมราวดี แ ละคุ ป ตะมากที่ สุ ด จั ด โดยนายปิ แ อร์   ดู ป องต์   ในหนั ง สื อ   คือ พระพุทธรูปนาคปรก พบที่  เมืองฝ้าย อ�ำเภอล�ำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัด  อุทัยมัคคาราม ต�ำบลหินดาด อ�ำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา๓  (รูปที ่ ๑๒๒) เป็นพระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิ ครองจีวรห่มเฉียง จีวร  เรียบไม่มีริ้ว และไม่ปรากฏชายสังฆาฏิ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่ง  ของศิลปะอมราวดี รวมทั้งลักษณะของพระพักตร์และท่านั่งที่แสดงการ  ขัดสมาธิอย่างหลวม ๆ ก็ยังรักษารูปแบบของอมราวดีไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่ง  อาจเป็นศิลปะอมราวดีที่ไปปรากฏในศรีลังกา๔  ส่วนลักษณะนาคนั้น  เป็นแบบทวารวดีแล้ว ได้แก่ การท�ำหน้าแบน มองตรง (ต่างจากนาค  221 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


ราคา ๕๕๐ บาท ISBN 978-616-465-011-4

ศิลปะทวารวดี

หมวดศิลปะไทย

ศิลปะทวารวดี

ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

วัฒนธรรมทางศาสนา ยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย

วัฒนธรรมทางศาสนา ยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย

ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.