ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา

Page 1

ชุดถาม-ตอบ

เสริมความรู้สาระประวัติศาสตร์

ฉบับ นักเรียน นักศึกษา

ชุ ด ถาม-ตอบ

เ ส ริ ม ค ว า ม รู้ ส า ร ะ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์

ชุ ด ถ า ม - ต อ บ

เ ส ริ ม ค ว า ม รู้ ส า ร ะ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ส มั ย

อยุธยา

เหตุใดจึงเกิดการแย่งชิงราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยา แนวคิด “ธรรมราชา” คืออะไร การปฏิรูปการปกครองสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเกี่ยวข้องกับการค้าหรือไม่ เหตุการณ์ใดที่แสดงว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสนพระทัยด้านการค้า กรุงศรีอยุธยาค้าขายอะไร ชาวกรุงศรีอยุธยาใช้เงินทองในด้านใด ระบบมูลนาย-ไพร่คืออะไร ไพร่สามารถเลื่อนชั้นได้หรือไม่ สงครามระหว่างไทย-พม่าเกิดเพราะเหตุใด ชาวต่างชาติในกรุงศรีอยุธยาถูกเกณฑ์แรงงานหรือไม่

ประวัติศาสตร์สมัย

อยุธยา

ผู้เขียน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ บรรณาธิการวิชาการ

ดร. ธิดา สาระยา

หมวดประวัติศาสตร์

ราคา ๓๘๐ บาท

ISBN 978-616-7767-81-9

๓๘๐.-

เรียนรู้จากหลักฐานและการวิเคราะห์ ของนักประวัติศาสตร์ เข้าใจพัฒนาการทางการเมืองการปกครอง และเศรษฐกิจการค้าที่ท�ำ ให้กรุงศรีอยุธยา เติบโตรุ่งเรือง เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยา


ชุดถาม-ตอบ เสริมความรู้สาระประวัติศาสตร์ ฉบับนักเรียน นักศึกษา หนังสือ  ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ผู้เขียน  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ บรรณาธิการวิชาการ  ดร. ธิดา สาระยา © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๐ จำ�นวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๓๘๐ บาท ข้อมูลบรรณานุกรม วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ. ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา.- -นนทบุรี : สารคดี, ๒๕๖๐. ๒๙๖ หน้า : ภาพประกอบ. ๑. ไทย- -ประวัติศาสตร์- -กรุงศรีอยุธยา, ๑๘๙๓-๒๓๑๐. ๙๕๙.๓๐๒๓ ISBN 978-616-7767-81-9

คณะผู้จัดทำ� บรรณาธิการเล่ม : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ บรรณาธิการผู้ช่วย : อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ออกแบบปกและรูปเล่ม : นฤมล ต่วนภูษา พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์  สำ�นักพิมพ์สารคดี (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) จัดจำ�หน่าย  บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ (สนามบินนํ้า) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑ เพลต  เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ พิมพ์  ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖

ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : สุดารา สุจฉายา บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ

2

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


สารบัญ คำ�นำ�เสนอ  ๕ ภาค ๑ การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา  ๑๓ บทที่ ๑ หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา  ๑๕ บทที่ ๒ ภาพรวมประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา  ๔๒

ภาค ๒ การสถาปนากรุงศรีอยุธยา  ๕๙

บทที่ ๓ ก่อนจะเป็นกรุงศรีอยุธยา  ๖๑ บทที่ ๔ ความสำ�คัญของการตั้งราชธานี  ๗๐ บทที่ ๕ แนวความคิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา  ๗๔

ภาค ๓

การปกครองและการค้า  ๘๐ บทที่ ๖ การจัดระเบียบบริหารบ้านเมือง  ๘๓ บทที่ ๗ ระบบมูลนาย-ไพร่  ๘๙ บทที่ ๘ การค้าสมัยอยุธยา  ๑๐๓ บทที่ ๙ การปฏิรูปการปกครองสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ๑๓๔ บทที่ ๑๐ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ กับบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจของกรุงศรีอยุธยา  ๑๔๗

ภาค ๔

สังคมอยุธยา เมือง และผู้คน  ๑๖๓ บทที่ ๑๑ ชาวต่างชาติในสังคมอยุธยา  ๑๖๕ บทที่ ๑๒ เศรษฐกิจกับวิถีชีวิตชาวอยุธยา  ๑๘๘ บทที่ ๑๓ ศาสนาและประเพณี  ๑๙๖

ภาค ๕

ศิลปวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยา  ๒๑๓ บทที่ ๑๔ วรรณกรรมอยุธยา  ๒๑๕ บทที่ ๑๕ งานศิลปะในศาสนา  ๒๒๕ บทที่ ๑๖ การรับอิทธิพลทางศิลปะและวัฒนธรรมจากต่างชาติ  ๒๓๔

ภาค ๖

สงครามไทย-พม่า  ๒๔๓ บทที่ ๑๗ สาเหตุของสงครามไทย-พม่า  ๒๔๖ บทที่ ๑๘ ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการรบของกรุงศรีอยุธยา  ๒๕๘ บทที่ ๑๙ การทำ�สงครามของกรุงศรีอยุธยากับบ้านเมืองใกล้เคียง  ๒๖๔ บทที่ ๒๐ วีรกรรมครั้งสำ�คัญของกษัตริย์อยุธยา  ๒๖๗

ภาคผนวก

เชิงอรรถ  ๒๗๕ บรรณานุกรม  ๒๘๘ ดัชนี  ๒๙๓ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

3


จากสำ�นักพิมพ์ หากเอ่ยถึงวิชาประวัติศาสตร์หลายคนนึกถึงการท่องจ�ำข้อมูลในอดีต ไม่ว่าจะเป็นปีที่เกิด เรื่องราว ใครท�ำอะไร และรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ท�ำให้หลายคนคิดว่าเป็น สิ่งที่น่าเบื่อ ยากแก่การจดจ�ำ  ทั้งที่จริงแล้วประวัติศาสตร์คือการท�ำความ “เข้าใจ” อดีต ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดเพราะเหตุอะไร ผลที่เกิดขึ้นเป็นเช่นไร วิชาประวัติศาสตร์เป็นการ เรียนรู้วิธีคิดและองค์ความรู้ของผู้คนในอดีตเพื่อเข้าใจปัจจุบันและต่อยอดสู่อนาคต หนังสือชุด ถาม-ตอบ เสริมความรู้ประวัติศาสตร์ ฉบับนักเรียน นักศึกษา เป็นความ พยายามของส�ำนักพิมพ์สารคดีในการน�ำเสนอสาระวิชาประวัติศาสตร์ในอีกแนวทางหนึ่ง คือ การตั้งค�ำถามและการค้นหาค�ำตอบ ค�ำถาม เพื่อเปิดประเด็นความรู้ กระตุ้นความสงสัย เพื่อน�ำไปสู่การหาค�ำตอบ ค�ำตอบ ที่น�ำเสนอในหนังสือชุดนี้เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ ทั้ง เอกสารภาษาไทยและต่างประเทศ และจากโบราณสถาน โบราณวัตถุ มาประกอบการอธิบาย ดังนั้นจึงไม่ใช่ค�ำตอบส�ำเร็จรูป แต่มุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวในประวัติศาสตร์ เข้าใจสาเหตุ และผลเป็นส�ำคัญ ส�ำหรับหนังสือ ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา เล่มนี้เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพทั ธ์สขุ กิจ แห่งภาควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา เนื้อหาน�ำเสนอประวัติศาสตร์ตั้งแต่ การเริ่มต้นจนถึงการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาอันเป็นช่วงเวลาที่นักวิชาการเรียกว่า “สมัย อยุธยา” โดยมีแนวคิดส�ำคัญของประวัตศิ าสตร์ยคุ นีค้ อื  การจัดระบบการปกครองและระบบ การค้าที่มีประสิทธิภาพท�ำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักร และเป็นเมืองท่าส�ำคัญแห่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หนังสือชุดนีส้ �ำเร็จได้ดว้ ยความเอาใจใส่ของ ดร. ธิดา สาระยา ทีไ่ ด้กรุณาแนะน�ำการ วางกรอบเนื้อหาสาระ ตรวจต้นฉบับ และเขียนค�ำน�ำเสนอที่ท�ำให้ผู้อ่านได้เข้าใจภาพรวม ของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งส�ำนักพิมพ์สารคดีขอขอบพระคุณอาจารย์มา ณ ที่นี้ ส�ำนักพิมพ์สารคดีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือชุดนี้จะมีส่วนส่งเสริมการเรียนการสอน วิชาประวัติศาสตร์ไทย เปิดมุมมองใหม่ในการเรียนรู้วิชานี้ด้วยความเข้าใจ สนุกคิดที่จะ แสวงหาค�ำตอบ และเห็นคุณค่าที่น่าเรียนรู้ของวิชาประวัติศาสตร์ ส�ำนักพิมพ์สารคดี 4

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


คำ�นำ�เสนอ เมือ่ นึกถึงกรุงศรีอยุธยาทุกคนพร้อมทีจ่ ะนึกถึงวันคืนอันรุง่ โรจน์ของแผ่นดินนี ้ มหานคร อันยิ่งใหญ่  จากเมืองท่าเล็ก ๆ กลายเป็น “อโยธยาศรีรามเทพนคร” วิวัฒน์เป็น “กรุง”-“กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา” ศูนย์กลางของสังคมระดับเมือง อัญมณีเม็ดงาม แห่งท้องทะเลเอเชียอาคเนย์ จนกวีแห่งยุคสมัยอดไม่ได้ที่จะบันทึกอารมณ์ไว้ใน ก�ำสรวลสมุทร ถึงความรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางทั้งในทางโลกและทางธรรม “...อยุธยายศโยกฟ้า ฟากดิน” จนถึง “...ไตรรัตน์เรืองเรืองหล้า หลากสวรรค์” ภาพอันงดงามนั้นเห็นประจักษ์ “...อยุธยายิ่งแมนสูร สุระโลก รงงแฮ แก่ตา” ถนัดดุจสวรรค์คล้ายคล้าย หลังชีวิตของมหานครยืนยาวอยู่ ๔๑๗ ปี กรุงศรีอยุธยาล่มสลายลงใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ท�ำให้ราชอาณาจักรสยามต้องเปลี่ยนที่ตั้งศูนย์กลางทางการเมืองและการ ปกครองไปอยู่ ณ ที่ใหม่ ความรุง่ เรือง ความมัง่ คัง่ ของอยุธยาแผ่ไพศาลทัง้ ในหมูช่ าวเอเชียและต่างชาติ ยุโรปยุคนั้น  “กษัตริย์” ประมุขของราชอาณาจักร  ความมั่งคั่งรุ่งเรืองของมหานคร “กรุงใหญ่” สร้างเสริมให้เกิดสถาบันกษัตริย์บารมีแผ่ไพศาล เกิดพัฒนาการแนวคิด พฤติกรรมสืบเนื่องเกี่ยวกับอ�ำนาจบารมีแห่งสถาบันนี้สืบต่อมา อดี ต อั น รุ ่ ง เรื อ งของกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาทุ ก แง่ มุ ม กลายเป็ น ประวั ติ ศ าสตร์  ซึ่ ง เราร�่ำร้องโหยหา ยกย่อง สะท้อนผ่านโบราณวัตถุ-โบราณสถาน งานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประณีตศิลป์  เราเรียกร้องจนอดีตกรุงศรีอยุธยากระจ่างอยู่ใน ความคิดถึงของคนไทยและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกผ่านองค์การยูเนสโก ขณะเดียวกันการศึกษาประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาเท่าที่เป็นมามักเน้นหนัก ถึงความยิง่ ใหญ่ เข้มแข็ง ทรงพลัง สมกับเป็น “ราชธานีแห่งแรก” ตามความเห็นของ นักวิชาการและผู้คนทั้งหลาย  นอกเหนือไปจากความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม ความมัง่ คัง่ ร�ำ่ รวยทางเศรษฐกิจ และบารมีทางการเมืองเหนือชุมชนบ้านเมืองใหญ่นอ้ ย ทั้งภายในราชอาณาจักรและบ้านใกล้เรือนเคียง  เรื่องราวเหล่านี้แม้ถูกบรรยาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

5


ถึงแต่ประเด็นส�ำคัญของเหตุการณ์หรือหัวข้อหลักของการอภิปรายให้เรื่องราว กลับเน้นหนักอยู่ที่เรื่องไทยรบพม่าหรือการสงครามระหว่างราชอาณาจักรอยุธยา กับพม่า (เมียนมา) ซึ่งแก่นสารหรือสาระส�ำคัญมักหยุดอยู่ที่เรื่องวีรบุรุษและวีรสตรี ในสงคราม สุดท้ายแล้วชาวไทย (และหรือชาวสยาม) ก็ได้วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่สมัย กรุงศรีอยุธยาคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ถูกสร้างให้เป็นวีรบุรุษและ มหาราชของราชอาณาจักรไทยทุกยุคทุกสมัยเพราะทรงเป็นนักรบ  ส่วนสงคราม ไทย-พม่าก็กลายเป็นประเด็นหลักของประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา ถูกกล่าวอ้างอิง ถึงในทุกโอกาส ประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยาในหนังสือเล่มนี้ใช้วิธีการตั้งค�ำถามและ เสนอค�ำตอบเป็นหลัก เปิดโอกาสให้ผู้อ่านสามารถสร้างความคิดประมวลเรื่องราว ด้วยตัวเอง  นอกจากค�ำตอบพร้อมหลักฐานข้อมูล ค�ำตอบที่ผู้อ่านคิดได้ส่วนหนึ่ง จึงเป็นประสบการณ์ทางความคิด (และหรือความรู้เฉพาะตน) ผสานกับสิ่งที่ได้จาก ค�ำถามค�ำตอบที่ผู้เขียนก�ำหนด เหล่านี้อาจช่วยเติมเสริมต่อความคิดชุดใหม่ให้ เกิดขึ้นแก่ผู้อ่าน นับเป็นประโยชน์ประการหนึง่ โครงสร้างของประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาตามการเสนอของผู้เขียนมีทั้งหมด หกภาค พร้อมค�ำถามค�ำตอบ  เมือ่ พิเคราะห์แล้วเห็นได้วา่ เนือ้ หาทัง้ หมดแบ่งออกเป็น “ธีม” (theme) หรือหัวข้อหลักสามหัวข้อ ได้แก่ ก�ำเนิดและการสถาปนากรุงศรีอยุธยา; สังคมอยุธยา บ้านเมือง ผู้คน รวมทัง้ ความรุ่งโรจน์ทางด้านศิลปวัฒนธรรม; สุดท้าย ว่าด้วยเรื่องสงครามไทย-พม่าและวีรกรรมของกษัตริย์ สาระส�ำคัญของค�ำถามค�ำตอบส่วนหนึ่งจะท�ำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงบริบทอันเป็น ที่ก�ำเนิดของกรุงศรีอยุธยาว่ามิใช่เกิดจากปาฏิหาริย์ของวีรบุรุษ หรือมิใช่เพราะ การเคลื่อนที่โยกย้ายของคนสยามหรือไทที่เข้ามาอยู่ตามผู้น�ำชาญฉลาด รู้จักเลือก ท�ำเลที่ตั้งเหมาะสม  กรุงศรีอยุธยามิใช่เกิดเพราะการสร้างบ้านแปงเมือง รู้จักเลือก ที่ท�ำกินอันเหมาะสมเพียงเท่านั้น ยังมีสาเหตุปัจจัยภายนอกอื่นเข้ามาสมทบ  การ สร้างบ้านแปงเมืองหรือชุมชนอาจเกิดขึ้นตรงบริเวณที่หลักฐานเก่า  (ศิลาจารึก วัดเขากบ นครสวรรค์) ขนานนามว่า “อโยธยาศรีรามเทพนคร”  ท�ำเลที่ตั้งของ กรุงศรีอยุธยานอกจากเป็นบริเวณที่สบกันแห่งสามแม่น้ำ� คือ เจ้าพระยา ลพบุร ี และ ป่าสัก ที่สุดแล้วมหานครแห่งนี้ได้เติบโตเป็นราชธานีใหญ่คุมอ�ำนาจทั้งทางการเมือง และวัฒนธรรมเหนือสามลุ่มน�้ำคือ ลุ่มน�้ำเจ้าพระยา ท่าจีน และแม่กลอง ลงใต้ ไกลถึงแหลมมลายู ตะวันออกเฉียงเหนือจดแม่น�้ำโขง ทางเหนือและตะวันตกจด แดนเมืองมอญ-พม่า (หรือเมียนมาในปัจจุบัน) ลักษณะทางกายภาพของท�ำเลที่ตั้งอโยธยาศรีรามเทพนครนั้นส�ำคัญ เป็น พื้นที่แห่งความหลากหลายของกลุ่มชนที่เข้ามาสู่บริเวณนี ้ มีทั้งชนชาติชนเผ่าจาก ภูมิภาคส่วนใน ผู้คนจากภายนอกทั้งจีน จาม แขก มุสลิม ไม่เว้นแม้แต่ชาวยุโรป 6

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


อีกหลายกลุ่มที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ค้าขายในสมัยหลัง ๆ  บริเวณที่ต่อไปจะเป็นสยาม รัฐแห่งนี้ได้เพาะพืชพรรณความเติบโตของชุมชนจนเกิดเป็นสังคมระดับเมือง  จาก เมืองคู่ แบบที่ปรากฏค�ำเรียกในต�ำนานพงศาวดารเก่า เช่น ละโว้-อโยธยา อู่ทองสุพรรณภูมิ สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย  ณ บริเวณหนึ่งที่เปิดออกสู่การติดต่อกับทะเลได้ มีการเติบโตของมหานครขนาดใหญ่ นอกเหนือจากเป็นราชธานีและเมืองท่าค้าขาย เป็นเอ็มโพเรียม และคลังสินค้า ความคับคั่งของผู้คนและกิจกรรมแสดงวิถีชีวิต ต่างจากชุมชนเกษตรกรรมเดิม เป็นสังคมระดับเมือง (urban society) กรุงศรีอยุธยา มหานครแห่งนี้มีความส�ำคัญเสมือนเป็นสถาบันทางการเมือง ในตัวเอง ในฐานะที่ประทับแห่งองค์พระมหากษัตริย์ และส�ำคัญต่อการด�ำรงอยู่ ของบ้านเล็กเมืองน้อย บ้านใหญ่เมืองโตของหัวหน้าผู้น�ำจากหลายราชวงศ์ ต่าง พยายามเข้าครอบครองและสืบต่ออ�ำนาจทีม่ หานครแห่งนี   ้ ๔๑๗ ปีแห่งการด�ำรงอยู่ ของราชธานีศรีอยุธยาจึงเป็นเรื่องราวส่วนส�ำคัญของประวัติศาสตร์ไทย และส�ำหรับ คนไทยที่จะได้ผนึกก�ำลังรวมกันสืบต่อกรุงศรีอยุธยาด้วยการสถาปนาศูนย์อ�ำนาจ แห่งใหม่คือ กรุงเทพฯ-ธนบุรี ที่ภายหลังได้รับการเฉลิมฉลองเป็นกรุงเทพมหานคร หรือกรุงเทพฯ  ผูเ้ ขียนหนังสือเล่มนีไ้ ด้บนั ทึกไว้ตอนหนึง่ ความว่า เมือ่ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึน้ เป็นกษัตริยน์ นั้  พระองค์โปรดให้ยา้ ยเมืองหลวง มายังกรุงรัตนโกสินทร์ และโปรดเกล้าฯ ให้รื้ออิฐจากกรุงศรีอยุธยาน�ำมาสร้างเมือง กรุงเทพฯ “กรุงศรีอยุธยาปิดฉากความเป็นราชธานีในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง” ผู้เขียนมีแนวโน้มที่จะตั้งค�ำถาม-ค�ำตอบหนักไปด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ การค้าว่าส่งผลต่อเหตุการณ์ส�ำคัญสมัยกรุงศรีอยุธยา เฉพาะอย่างยิง่ การจัดระเบียบ การปกครอง การเคลือ่ นไหวทางเศรษฐกิจ และสงครามไทย-พม่า  เหตุผลซึง่ สัมพันธ์ กับเศรษฐกิจกลายเป็นเรื่องที่ผู้เขียนเน้นอยู่ในทุกสาระค�ำถาม-ค�ำตอบ  แม้มิได้ แยกเฉพาะหัวข้อเกี่ยวกับเศรษฐกิจในการน�ำเสนอก็ตาม เว้นเรื่องการจัดการการค้า เท่านั้น  หนังสือเล่มนี้จึงต่างไปจากหนังสือประวัติศาสตร์อยุธยาเล่มอื่น แม้แต่เหตุผลเบื้องต้นของสงครามไทย-พม่าก็มีที่มาจากความต้องการหรือ ผลได้ทางเศรษฐกิจ โดยผูเ้ ขียนตัง้ ค�ำถามและมีมมุ มองเกีย่ วกับศึกเชียงกรานอันเป็น เบือ้ งต้นของสงครามไทย-พม่าว่าเกีย่ วข้องโดยตรงกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ กรุงศรีอยุธยา และเป็นความริเริ่มของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ผู้เขียนให้ค�ำตอบและวันเวลาของสงครามกับพม่าครั้งแรกที่เชียงกรานโดย มีนัยว่าอาจมิได้เกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราชดังอ้างกันมา เพราะใน พ.ศ. ๒๐๘๑ อันเป็นปีที่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กรีธาทัพมาตีเมืองเชียงกรานหรือ เดิงกรายในเขตแดนกรุงศรีอยุธยานั้น ทรงติดพันการศึกอยู่ที่พะโคและตองอูตามใน พงศาวดารพม่า ตรงกันข้ามใน พ.ศ. ๒๐๓๑ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระมหาอุปราชได้เสด็จไปตีเมืองทวาย ทรงตีได้และกวาดต้อนผูค้ นไปเป็นจ�ำนวนมาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

7


ยุทธวิธีอย่างหนึ่งของนักประวัติศาสตร์ เสมือนนักรบท�ำสงครามต้องอาศัยข้อมูล ข่าวสารจริง  ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้พยายามจุดประกายความอยากรู้ของคนอ่าน ด้วยค�ำถาม-ค�ำตอบเพื่อเข้าถึงความจริงผ่านหลักฐานซึ่งเชื่อถือได้  ทั้งนี้เพื่อให้ได้ บริบทของเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ที่นักประวัติศาสตร์สามารถ “ร่อน” ความจริงออกมาได้ ประดุจนักร่อนทอง  กระนั้นเมื่อเริ่มต้นบทที่ ๑ และภาคที่ ๑ ของหนังสือนี้ ผู้เขียน ได้ท้วงติงความน่าเชื่อถือของหลักฐานก่อนน�ำเสนอเรื่องราวอื่นใดทั้งหมด  นั่นเป็น ธรรมดาวิสยั ของผูแ้ สวงหาความจริง การวิพากษ์หลักฐาน คอื เงือ่ นไขส�ำคัญอีกประการ หนึง่ ของนักประวัติศาสตร์ หลักฐานหลากหลายประเภทแม้พงศาวดารซึ่งเคยเป็น ต�ำรับต�ำราอันเราปิดทองกราบไหว้เป็นพระคัมภีร์แต่โบราณกาล ก็ต้องน�ำมาช�ำระ “การช�ำระพงศาวดาร” ดังนักปราชญ์ผู้รู้ของเราแต่เก่าก่อนท�ำไว้นับเป็นภูมิปัญญา ชาญฉลาด กระนั้นการช�ำระพงศาวดารอย่างถูกต้องด้วยวิธีการก็เป็นเรื่องอันทุกคน ควรตระหนักสมตามข้อความอันผู้เขียนบันทึกไว้เป็นข้อความล้อมกรอบอยู่ใน บทที่ ๑ เรื่อง การ “ช�ำระพระราชพงศาวดาร” คืออะไร “การช�ำระ คือ การแก้ไข ดัดแปลง ตัด ต่อเติม ข้อความในพระราชพงศาวดาร โดยผูช้ �ำระมิได้ท�ำเครือ่ งหมาย หรืออธิบายว่าได้ ‘ช�ำระ’ อะไรบ้างและท�ำด้วยเหตุผลใด  การช�ำระจึงเป็นการท�ำให้ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือนได้ตามความต้องการและอคติของผู้ช�ำระ... แต่บางครัง้ การช�ำระด้วยการตัดหรือเติมข้อความก็อาจท�ำให้เกิดการบิดเบือนหลักฐาน โดยที่ผู้ใช้หลักฐานในสมัยหลัง จะไม่ รู ้ เ ลยว่ า ข้ อ ความใดถู ก ตัด ออกหรือ ถู ก เติม เข้าไป” ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับท่านผู้อ่านว่าท่านจะพยายามเข้าถึง “ความจริง” ของประวัติศาสตร์ แล้วใช้เป็นบทศึกษาเพื่อท�ำความเข้าใจกับบริบทปัจจุบันและสถานการณ์ อนาคต จนสามารถอยู่กับ “ความจริง” ได้อย่างไร

12

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา

ดร. ธิดา สาระยา ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐


๑ ภ า ค

การศึกษา ประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

13


ภาค

ารศึกษาประวัตศิ าสตร์สมัย อยุธยาเป็นหัวข้อการศึกษา ที่แม้จะมีผู้สนใจมาก แต่กลับท�ำ การศึกษา ได้ยาก เนื่องจากหลักฐานที่เป็น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษรซึ่ ง น� ำ มาใช้ ใ น ประวัติศาสตร์ การศึกษามีจ�ำนวนไม่มากนักเมื่อ สมัยอยุธยา เปรียบเทียบกับระยะเวลา ๔๑๗ ปี แห่งยุคสมัยอยุธยา  นอกจากจะมี หลักฐานอยู่น้อยแล้ว ยังมีปัญหา กรณีหลักฐานไทยทีม่ หี ลายประเภท ยังหาข้อยุติไม่ได้ เช่นหลักฐานประเภทพระราชพงศาวดารที่ผ่านการช�ำระ หลายครัง้ และไม่ทราบว่าเนือ้ หาส่วนใดถูกช�ำระไปบ้าง อีกทัง้ พระราชพงศาวดาร เป็นงานที่ผลิตขึ้นเพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจที่ส�ำคัญของพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะ จึงแทบจะไม่มเี รือ่ งอืน่ นอกจากการเมืองการปกครอง หรือหากมีเรือ่ ง ประเภทอืน่ ทีส่ อดแทรกเข้ามา ก็ลว้ นแต่สมั พันธ์กบั การเมืองการปกครองทัง้ สิน้ หากจะศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมในพระราชพงศาวดารนับว่า ท�ำได้ยากยิ่ง อย่างไรก็ดยี งั มีหลักฐานภาษาไทยชนิดอืน่  ๆ ดังเช่น กฎหมายตราสามดวง หลั กบฐาน ค�ำให้การฉบั ต่าง ๆ วรรณกรรม นิทานพืน้ บ้าน ต�ำนาน จารึก ฯลฯ ทีส่ ามารถ น�ำมาช่วยในการศึกษาประวัตศิ าสตร์สมัยอยุธยา แต่งานเหล่านีก้ ต็ อ้ งอาศัยความ ช�ำนาญในการวิพากษ์และวิเคราะห์หลักฐานอย่างละเอียดก่อนน�ำมาใช้ จึงเห็น ได้วา่  งานเกีย่ วกับสมัยอยุธยาทีม่ ผี ศู้ กึ ษาไว้ในยุคแรก ๆ เมือ่ มาถึงปัจจุบนั  หลายชิน้ ถูกโต้แย้งโดยนักประวัติศาสตร์ที่ค้นคว้าโดยอาศัยหลักฐานลายลักษณ์อักษร ต่างประเทศประกอบ  ดังนัน้ หลักฐานภาษาต่างประเทศ เช่น จีน ญีป่ นุ่  โปรตุเกส ฮอลันดา สเปน ฯลฯ จึงมีประโยชน์ตอ่ การศึกษาประวัตศิ าสตร์สมัยอยุธยามาก เพราะช่วยเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปในประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา นอกจากหลักฐานประเภทเอกสารทีเ่ ป็นลายลักษณ์อกั ษรแล้ว หลักฐาน ทีไ่ ม่เป็นลายลักษณ์อกั ษร เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ และหลักฐานกึง่ ลาย ลักษณ์ เช่น แผนที ่ สามารถน�ำมาใช้ศกึ ษาประวัตศิ าสตร์สมัยอยุธยาได้เช่นกัน

ก่อนสมัยสุโขทัย

14

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


บ ท ที่

หลักฐานในการศึกษา

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา

ท�ำไมการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา จึงท�ำได้ยาก เนื่องจากขาดหลักฐานที่จะน�ำมาศึกษา แต่มิได้หมายความว่าไม่มีหลักฐาน เลย  เมื่อคราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ หลักฐานประเภท เอกสารสูญหายไปเป็นจ�ำนวนมาก กล่าวกันว่าเอกสารทีห่ ลงเหลือมาถึงปัจจุบนั มีเพียง ๑ ใน ๑๐ ส่วนจากที่เคยมีเท่านัน้  แต่นับว่าโชคดีที่มีหลักฐานเอกสาร ภาษาต่างประเทศมาช่วยได้มาก โดยเฉพาะจากชาวยุโรปที่เคยเข้ามาในกรุง ศรีอยุธยา ท�ำให้สามารถศึกษาประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนกลางและ ตอนปลายได้มากขึ้นโดยอาศัยหลักฐานจากต่างประเทศเหล่านี้ การใช้หลักฐานภาษาต่างประเทศนัน้  ในด้านหนึง่ ถือว่าเป็นข้อดีเพราะ สามารถตรวจสอบหลักฐานที่เป็นอิสระจากกันได้มากขึ้น  แต่ยังคงมีปัญหา เรื่องความถูกต้องของการบันทึกหลักฐานซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม อคติ และความรู้จริงเกี่ยวกับเรื่องที่บันทึก หากจะน�ำหลักฐานไปใช้จึงต้องผ่าน กระบวนการวิพากษ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด จึงกล่าวได้ว่า การขาดหลักฐานเป็นข้อจ�ำกัดของการศึกษาประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

15


หลักฐานแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง การแบ่งประเภทของหลักฐานท�ำได้หลายวิธี เช่น แบ่งเป็นหลักฐานชั้นต้น หลักฐานชั้นรอง * หลักฐานที่ตั้งใจจะบอกและหลักฐานที่ไม่ตั้งใจจะบอก ฯลฯ แต่เพื่อให้เข้าใจง่าย ในที่นจี้ ึงแบ่งหลักฐานออกเป็นสองประเภท คือ หลักฐาน ที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีอะไรบ้าง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีหลายชนิด และอาจแยกย่อยออกไปได้ เป็น หลักฐานเอกสารของไทย และหลักฐานเอกสารภาษาต่างประเทศ ซึ่งมี ทั้งที่แปลเป็นภาษาไทยแล้วและที่ยังไม่ได้แปล  หลักฐานประเภทนี้มีผู้น�ำมา พิมพ์เผยแพร่แล้วหลายครั้ง สามารถหาอ่านได้ตามห้องสมุดต่าง ๆ

หลักฐานเอกสารของไทยมีอะไรบ้าง หลักฐานเอกสารของไทยส่วนใหญ่เป็นพระราชพงศาวดาร ค�ำให้การฉบับต่าง ๆ กฎหมายตราสามดวง แต่หลักฐานเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ใช่หลักฐานชั้นต้น เพราะไม่ได้เขียนขึ้นโดยผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ และยังผ่านการแก้ไข ดัดแปลง เพิม่ เติม หรือทีเ่ รียกว่า “ช�ำระ” มาหลายครัง้   ทีส่ ำ� คัญคือ ไม่ทราบว่าเนือ้ ความ ส่วนไหนถูก “ช�ำระ” ไปบ้าง * หลักฐานชั้นต้น หมายถึงเอกสารที่ผู้บันทึกอยู่ในเหตุการณ์และเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ด้วย ตัวเอง หรือเป็นประจักษ์พยาน (eye-witness) ไม่ได้ฟังผู้อ่นื เล่าต่อมา หลักฐานชั้นรอง หมายถึงเอกสารที่เขียนขึ้นโดยผู้เขียนหรือผู้บันทึกไม่ได้เป็นผู้เห็น เหตุการณ์ แต่อาจจะรับทราบข้อมูลจากประจักษ์พยานด้วยการสนทนาหรือการบอกเล่า สืบต่อ ๆ กันมา หรือจากการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น งานของ ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง เรื่อง Histoire du Royaume de Siam  เขียนขึ้นจากข้อมูลของบาทหลวงบรีโกต์ สังฆราช แห่งตาบรากา (Bishop of Tabraca) ประมุขมิสซังแห่งกรุงสยาม ผูท้ เี่ คยอยูก่ รุงสยามหลายปี และตุรแปงน�ำข้อมูลเหล่านี้มารวบรวมเป็นงานของเขา

16

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


การ “ช�ำระพระราชพงศาวดาร” คืออะไร

การช�ำระ คือ การแก้ไข ดัดแปลง ตัด ต่อ เติม ข้อความในพระราชพงศาวดาร โดยผู้ช�ำระมิได้ท�ำเครื่องหมาย หรืออธิบายว่าได้ “ช�ำระ” อะไรบ้าง และท�ำด้วยเหตุผลใด การช�ำระจึงเป็นการท�ำให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ถูกบิดเบือนได้ตามความต้องการและอคติของผู้ช�ำระ  ทั้งนี้หากเป็นการแก้ไขตัวสะกดให้ตรงกับสมัยนิยมก็ไม่น่า จะเป็นปัญหาเพราะอาจท�ำเพื่อให้ผู้อ่านในสมัยเดียวกับผู้ช�ำระเข้าใจศัพท์โบราณที่อาจจะอ่านเข้าใจได้ยาก แต่บางครั้งการช�ำระด้วยการตัดหรือเติมข้อความก็อาจท�ำให้เกิดการบิดเบือนหลักฐาน โดยที่ผู้ใช้หลักฐานใน สมัยหลังจะไม่รู้เลยว่าข้อความใดถูกตัดออกหรือถูกเติมเข้าไป ผู้ใช้หลักฐานจึงไม่ได้หลักฐานที่ถูกต้องหรือ น่าเชื่อถือ

ต้นฉบับสมุดไทยด�ำ บันทึกเรื่องราวพระราชพงศาวดารฉบับต่าง ๆ เป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรภาษาไทย รูปแบบหนึ่ง

พระราชพงศาวดารคืออะไร พระราชพงศาวดารเป็นงานวรรณกรรมทางประวัติศาสตร์ที่พระมหากษัตริย์ โปรดให้บันทึกหรือรวบรวมเรื่องราวพระราชอาณาจักรของพระองค์ จึงเป็น งานเขียนเพือ่ เทิดพระเกียรติทางอ้อม ๑  จิตร ภูมศิ กั ดิ ์ กล่าวว่า พระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยาเป็นเพียงบันทึกเรื่องประวัติของราชวงศ์ที่ครองกรุงศรีอยุธยา เท่านัน้  จุดมุง่ หมายของการจดจึงไม่ได้มงุ่ หมายทีจ่ ะจดพัฒนาการแห่งสังคมไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

17


หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมีอะไรบ้าง หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหลายประเภท เช่น โบราณสถาน โบราณ-  วัตถุ วัง ป้อม วัด สถูป เจดีย์ โบสถ์ วิหาร เครื่องทองและเครื่องประดับ เรือ  ในขบวนพยุหยาตราชลมารค ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้แสดงลักษณะทางศิลปะและ  สถาปัตยกรรม อิทธิพลทางศิลปะจากต่างแดน  ความเจริญทางภูมิปัญญา  และเทคโนโลยีซึ่งศึกษาได้จากวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง  นอกจากนั้นยังมีจิตรกรรม  ที่บอกสภาพสังคม ความเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญา ความคิดและความเชื่อ  ทางศาสนา และหลักฐานทางโบราณคดีใต้น�้ำ เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่อง  สังคโลก ร่องรอยของอาหารและเครื่องใช้ที่หลงเหลืออยู่ในเรือ ฯลฯ  การน�ำ  หลักฐานเหล่านี้มาใช้ต้องศึกษาประกอบกับหลักฐานเอกสาร บางครั้งต้อง  อาศัยความรู้ในศาสตร์สาขาอื่น ๆ มาช่วยก�ำหนดอายุของหลักฐาน ยุคสมัย  ของศิลปะและสถาปัตยกรรม ยังมีหลักฐานกึ่งลายลักษณ์อักษรและกึ่งสัญลักษณ์ที่ส�ำคัญในสมัย  อยุธยา คือแผนที่ของชาวตะวันตกซึ่งเขียนขึ้นในยุคสมัยต่าง ๆ

การศึกษากรุงศรีอยุธยา จากแผนทีข่ องชาวตะวันตก มีประโยชน์อย่างไร การศึกษากรุงศรีอยุธยาจากแผนที่ของชาวตะวันตกจะช่วยให้เห็นภาพกรุงศรี-  อยุธยาได้ชัดเจนขึ้นกว่าการศึกษาเฉพาะหลักฐานเอกสารเท่านั้น  นอกจากนี ้ การเปรีย บเทีย บอายุข องแผนที่ ยั ง จะช่ ว ยให้ เ ราเห็ น หรื อ ก�ำ หนดอายุ ข อง  สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏในแผนที่เทียบกับในเอกสารได้ถูกต้องและแม่นย�ำยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังช่วยยืนยันความถูกต้องของหลักฐานเอกสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เรื่องราวเกี่ยวกับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในก�ำแพงและนอกก�ำแพงกรุงศรี-  อยุธยา แผนที่หลายแผ่นผู้วาดได้ข้อมูลมาจากผู้ที่เคยมาเยือนกรุงศรีอยุธยา  หรือเคยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาระยะเวลาหนึ่ง ยืนยันตรงกันเกี่ยวกับที่ตั้งของ  วังหลวง วังหน้า วังหลัง คลอง ถนน และสถูปเจดีย์ส�ำคัญของเมือง  แผนที่  บางแผ่นบอกรายละเอียดเกี่ยวกับประตูนำ�้ ในกรุงศรีอยุธยาด้วย

36

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


ภาพแผนที่เกาะเมืองอยุธยา ช่วยบอกอะไรได้บ้าง

แผนที่อยุธยา พิมพ์เผยแพร่ ที่ประเทศฝรั่งเศส ประมาณ พ.ศ. ๒๒๙๔

ภาพที่มักจะเห็นกันบ่อยคือ ภาพแสดงเกาะกรุง ศรีอยุธยา โดยภาพของ เองเงิลแบร์ต แกมป์เฟอร์  (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ ช าวเยอรมั น  ประจ�ำบริษทั อินเดียตะวันออกของฮอลันดามีความ  แม่นย�ำและถูกต้องที่สุด  แม้ท่านจะอยู่ที่กรุงศรี-  อยุธยาเพียง ๓ สัปดาห์ แต่ได้จดบันทึกสิง่ ทีพ่ บเห็น  อย่างละเอียด แผนที่ของแกมป์เฟอร์ระบุตำ� แหน่ง  วั ง หลวง วัง หน้ า  วัง หลัง  คฤหาสน์ ข องออกญา  วิชาเยนทร์ โรงต้มกลั่นสุรา เพนียด และหมู่บ้าน  ชาวต่างชาติรอบกรุงศรีอยุธยา  นอกจากนั้นยังมี  แผนทีร่ ะบุตำ� แหน่งของเจดียภ์ เู ขาทอง  ทีส่ ำ� คัญคือ  เขาบันทึกว่าเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึง  ชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเหนือพม่า   ภาพลายเส้นลักษณะเกาะเมืองอยุธยา และแม่น�้ำส�ำคัญในหนังสือของนายแพทย์แกมป์เฟอร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

37


พระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยาและราชวงศ์สมัยอยุธยา

ราชวงศ์อู่ทอง สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๑๙๓๑-๑๙๓๘

อยุธยา ยุคต้น

ล�ำดับ ๕

ราชวงศ์อู่ทอง

สมเด็จพระรามราชาธิราช พ.ศ. ๑๙๓๘-๑๙๕๒

ล�ำดับ ๑

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) พ.ศ. ๑๘๑๙-๑๙๑๒

ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ล�ำดับ ๓

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) เชษฐาของมเหสีพระเจ้าอู่ทอง ตั้งราชวงศ์ใหม่ พ.ศ. ๑๙๑๓-๑๙๓๑

ล�ำดับ ๔

สมเด็จพระเจ้าทองลัน พ.ศ. ๑๙๓๘-๑๙๕๒

52

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พ.ศ. ๒๐๓๑-๒๐๓๔

ล�ำดับ ๑๐

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ อนุชาของล�ำดับที่ ๙ พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๗๒

ล�ำดับ ๑๑

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ พ.ศ. ๒๐๗๒-๒๐๗๖

ล�ำดับ ๑๒

อยุธยา ยุคกลาง

ล�ำดับ ๒

สมเด็จพระราเมศวร พ.ศ. ๑๙๑๒-๑๙๑๓

ล�ำดับ ๙

ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ล�ำดับ ๖

สมเด็จพระนครินทราธิราช นัดดาของล�ำดับที่ ๓ พ.ศ. ๑๙๕๒-๑๙๖๗

ล�ำดับ ๗

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พ.ศ. ๑๙๖๗-๑๙๙๑

ล�ำดับ ๘

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา

สมเด็จพระรัษฎาธิราช พ.ศ. ๒๐๗๖-๒๐๗๗

ล�ำดับ ๑๓

สมเด็จพระชัยราชาธิราช อนุชาของล�ำดับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๐๗๗-๒๐๘๙

ล�ำดับ ๑๔

สมเด็จพระยอดฟ้า พ.ศ. ๒๐๘๙-๒๐๙๑

ล�ำดับ ๑๕

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ อนุชาของล�ำดับที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๑

ล�ำดับ ๑๖

สมเด็จพระมหินทราธิราช  พ.ศ. ๒๑๑๑-๒๑๑๒


ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

ราชวงศ์สุโขทัย

ล�ำดับ ๒๘

ล�ำดับ ๑๗

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พ.ศ. ๒๑๑๒-๒๑๓๓

อยุธยา ยุคปลาย

ล�ำดับ ๑๘

ราชวงศ์ปราสาททอง

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘

ล�ำดับ ๑๙

สมเด็จพระเอกาทศรถ อนุชาของล�ำดับที่ ๑๘ พ.ศ. ๒๑๔๘-๒๑๕๓

ล�ำดับ ๒๐

สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ พ.ศ. ๒๑๕๓

ล�ำดับ ๒๑

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เชษฐาของล�ำดับที่ ๒๐? พ.ศ. ๒๑๕๓-๒๑๗๑

ล�ำดับ ๒๒

สมเด็จพระเชษฐาธิราช พ.ศ. ๒๑๗๑

ล�ำดับ ๒๓

สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ อนุชาของล�ำดับที่ ๒๒ พ.ศ. ๒๑๗๒

สมเด็จพระเพทราชา ปราบดาภิเษกตั้งราชวงศ์ใหม่ พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๕

ล�ำดับ ๒๙

ล�ำดับ ๒๔

สมเด็จพระเจ้าเสือ พ.ศ. ๒๒๔๕-๒๒๕๑

สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ปราบดาภิเษกตั้งราชวงศ์ใหม่ พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๑๙๙

ล�ำดับ ๒๕

ล�ำดับ ๓๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. ๒๒๕๑-๒๒๗๕

สมเด็จเจ้าฟ้าชัย พ.ศ. ๒๑๙๙

ล�ำดับ ๒๖

สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา อนุชาของล�ำดับที่ ๒๔ พ.ศ. ๒๑๙๙

ล�ำดับ ๒๗

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑

ล�ำดับ ๓๑

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๗๕-๒๓๐๑

ล�ำดับ ๓๒

สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร พ.ศ. ๒๓๐๑

ล�ำดับ ๓๓

สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ เชษฐาของล�ำดับที่ ๓๒ พ.ศ. ๒๓๐๑-๒๓๑๐ * ไม่ได้นับขุนวรวงศาธิราชที่ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๙๑ เพียง ๔๒ วัน   สืบราชสมบัติจากพระชนก   ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

53


เหตุการณ์สำ� คัญในสมัยอยุธยา พ.ศ. ๑๘๙๓ - สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์ ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี - สมเด็จพระเจ้าอู่ทองโปรดให้สมเด็จพระราเมศวรยกทัพไปตีเมืองกัมพูชา แต่ไม่สำ� เร็จ พ.ศ. ๑๙๑๒ สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงโปรดให้ขุนหลวงพะงั่วหรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ซึ่งครองเมืองสุพรรณบุรีเสด็จไปช่วย สามารถยึดเมืองพระนครและกวาดต้อนผู้คน จ�ำนวนมากเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา - สมเด็จพระราเมศวรทรงท�ำสงครามขยายพระราชอาณาเขตโดยทรงยกทัพไป พ.ศ. ๑๙๓๓ ตีเมืองเชียงใหม่ได้ กวาดต้อนชาวเมืองมาไว้ที่เมืองพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช และจันทบุรี แล้วยกทัพไปตีเมืองกัมพูชาได้ - สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ทรงแต่งตั้งราชทูตออกไปเจริญพระราชไมตรี พ.ศ. ๑๙๔๐ กับประเทศจีน - เจิ้งเหอ แม่ทัพจีนของจักรพรรดิหย่งเล่อ น�ำขบวนกองเรือพร้อมทหารเข้ามาถึง พ.ศ. ๑๙๕๑-๑๙๕๕ กรุงศรีอยุธยาและเข้าเฝ้าสมเด็จพระนครินทราธิราช - พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) แห่งสุโขทัย ทรงขึ้นครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๖๒-๑๙๘๑ - สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ทรงยกทัพหลวงไปล้อมพระนครหลวง (นครธม) พ.ศ. ๑๙๗๔ หรือเมืองยโสธรปุระอยู่ ๗ เดือนจึงยึดเมืองได้ - สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่สำ� เร็จ พ.ศ. ๑๙๘๕ - สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง พ.ศ. ๑๙๘๘ ได้เมืองชายแดนเชียงใหม่ แต่พระองค์ทรงพระประชวรจึงทรงยกทัพกลับ - สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงขึ้นครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๐ - สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางต�ำแหน่งศักดินา การก�ำหนดศักดินา พ.ศ. ๑๙๙๘ - สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้ง “กฎมณเฑียรบาล” เป็นกฎหมายส�ำหรับ พ.ศ. ๒๐๐๑ การปกครอง แบ่งเป็นสามหมวด คือ พระต�ำราว่าด้วยแบบแผน (เช่นการพระราชพิธีต่าง ๆ) พระธรรมนูญว่าด้วยต�ำแหน่งหน้าที่ราชการ และพระราชก�ำหนดเป็นข้อบังคับส�ำหรับราชส�ำนัก - สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงพระผนวชที่เมืองพิษณุโลก มีผู้บวชตาม ๒,๓๔๘ คน ๑๑ กรกฎาคม ๒๐๐๘ - ศึกยวนพ่ายระหว่างกรุงศรีอยุธยากับล้านนา (สมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา) พ.ศ. ๒๐๑๗ - สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือ พ.ศ. ๒๐๒๕ มหาชาติค�ำหลวง จัดเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกของกรุงศรีอยุธยา - รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ อฟงซู ดือ อัลบูแกร์ (Afonso de Albuquerque) พ.ศ. ๒๐๕๔ ผู้บัญชาการกองทัพเรือของโปรตุเกสที่กำ� ลังโจมตีมะละกาอย่างดุเดือดได้ส่ง ดูอาร์ต ฟืรน์ านดืช (Duarte Fernandes) เป็นทูตเดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยา นับเป็นการ เปิดความสัมพันธ์ครั้งแรกระหว่างกรุงศรีอยุธยากับประเทศในทวีปยุโรปคือโปรตุเกส - พระเมืองแก้ว เจ้าเมืองเชียงใหม่ ยกทัพมาตีกรุงสุโขทัย แต่ชาวเมืองป้องกันเมืองไว้ได้ พ.ศ. ๒๐๕๖ - สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงตอบรับไมตรีจากโปรตุเกส และท�ำสัญญาทาง พ.ศ. ๒๐๕๙ พระราชไมตรีทางการค้าต่อกัน เป็นสัญญาฉบับแรกที่ไทยท�ำกับประเทศตะวันตก - สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์ตำ� ราพิชัยสงคราม พ.ศ. ๒๐๖๑ - เกิดศึกเชียงกราน สมเด็จพระชัยราชาธิราชเสด็จยกกองทัพหลวงออกรบ พ.ศ. ๒๐๘๑ นับเป็นความพยายามของกรุงศรีอยุธยาในการขยายแสนยานุภาพทางการเมือง

54

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


และการทหารสู่ฝั่งทะเลอันดามัน - สมเด็จพระชัยราชาธิราชทรงยกทัพไปเมืองเชียงใหม่ พระมหาเทวีจิระประภา พ.ศ. ๒๐๘๑ ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ให้การต้อนรับและขอเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา - สมเด็จพระชัยราชาธิราชทรงยกทัพหลวงไปล้อมเมืองเชียงใหม่ เนื่องจาก พ.ศ. ๒๐๘๘ พระมหาเทวีจิระประภายอมอ่อนน้อมต่อพม่า ระหว่างทางตีได้เมืองล�ำปาง และนครล�ำพูน เชียงใหม่ยอมเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา - ท้าวศรีสุดาจันทร์ได้รับการทูลเชิญจากเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ขึ้นเป็นผู้สำ� เร็จราชการ  พ.ศ. ๒๐๘๙ เนื่องจากสมเด็จพระแก้วฟ้าทรงพระเยาว์ พระชนมายุเพียง ๑๐ พรรษา - สงครามไทย-พม่าคราวสมเด็จพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๐๙๑ - สงครามไทย-พม่ารู้จักกันในนามสงครามช้างเผือก พ.ศ. ๒๑๐๖ - สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ ๗ สิงหาคม ๒๑๑๒ - สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้ขุดคูพระนครศรีอยุธยาด้านตะวันออกหรือ พ.ศ. ๒๑๒๓ “คูขื่อหน้า” ซึ่งแต่เดิมแคบท�ำให้ข้าศึกข้ามมาถึงตัวพระนครได้สะดวกกว่าด้านอื่น และให้รื้อก�ำแพงพระนครด้านตะวันออกสร้างใหม่ให้จดริมฝั่งแม่นำ�้ เช่นเดียวกับด้านอื่น ๆ - สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงในระหว่างที่ ๑๔ เมษายน ๒๑๒๗ ทรงน�ำทัพไทยไปช่วยพระเจ้านันทบุเรง กษัตริย์พม่า ตีเมืองอังวะ แล้วทรงน�ำทัพ มุ่งไปเมืองหงสาวดี กวาดต้อนครอบครัวไทยจ�ำนวนมากกลับมาด้วย “พระแสงปืนต้นข้ามแม่นำ�้ สะโตง” ได้ชื่อจากเหตุการณ์ครั้งนี้ - พม่าส่งทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงน�ำทัพออกต่อสู้กับพม่า  พ.ศ. ๒๑๒๙ หลายครั้ง ในที่สุดพม่าต้องถอยทัพกลับไป เกิดต�ำนาน “พระแสงดาบคาบค่าย” ๑๘ มิถุนายน ๒๑๓๐ - สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงตีค่ายพระเจ้านันทบุเรงแห่งหงสาวดีที่ป่าโมก - หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ ๘ เดือน พ.ศ. ๒๑๓๓ พม่าได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาโดยมีพระมหาอุปราชาเป็นแม่ทัพใหญ่ พระยาพะสิม และพระยาพุกามเป็นกองหน้ายกทัพมาทางด่านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงยกทัพไปรับศึก ที่เมืองสุพรรณบุรี ฝ่ายพม่าเสียที พระยาพุกามเสียชีวิต พระยาพะสิมถูกจับได้ พระมหาอุปราชาบาดเจ็บต้องถอนทัพกลับไป - สงครามยุทธหัตถี  พระเจ้านันทบุเรงทรงให้พระมหาอุปราชายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา  พ.ศ. ๒๑๓๕ อีกครั้งโดยยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและ สมเด็จพระเอกาทศรถทรงยกทัพไปรอรับทัพพม่าที่หนองสาหร่าย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระท�ำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา - สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพไปตีเขมร ทรงตีหัวเมืองรายทางไปจนถึง  พ.ศ. ๒๑๓๖ เมืองละแวก เมืองหลวงของเขมร จับนักพระสัตถากษัตริย์เขมรได้ - สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพบกและทัพเรือเพื่อไปตีกรุงหงสาวดี ทรงปราบ  พ.ศ. ๒๑๔๒ หัวเมืองมอญอยู่ ๓ เดือนแล้วจึงทรงยกทัพไปตีกรุงหงสาวดี แต่พระเจ้าตองอูได้  อพยพผู้คน รวมทั้งอัญเชิญพระเจ้านันทบุเรงไปตั้งมั่นอยู่ ณ เมืองตองอู  พระเจ้ายะไข่  ปล้นสะดมและเผาเมืองหงสาวดีจนเป็นเมืองร้างก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  จะเสด็จฯ ไปถึง  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพตามไปล้อมเมืองตองอู แต่ตีไม่ได้เนื่องจากขาดเสบียงต้องยกทัพกลับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

55


๒๓ ธันวาคม ๒๒๓๑ - ราชทูตไทยได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ ๑๑ ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี - เขมรได้ส่งทูตน�ำช้างเผือกหนึ่งช้างเข้ามาถวายและเข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร พ.ศ. ๒๒๓๔ - พระเจ้ากรุงศรีสตั นาคนหุตล้านช้างส่งราชทูตน�ำพระราชสาส์นและ พ.ศ. ๒๒๓๘ เครือ่ งราชบรรณาการมาถวาย เพือ่ ขอกองทัพอยุธยาไปช่วยต้านทานการรุกราน ของกองทัพจากหลวงพระบาง สมเด็จพระเพทราชาโปรดให้จัดทัพไปช่วย แต่ไม่ได้มีการรบ เพียงแต่ช่วยไกล่เกลี่ยจนทั้งสองเมืองเป็นมิตรกัน - นักพระอินทร์จากเมืองกัมพูชาถวายช้างเผือก สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ท้ายสระ พ.ศ. ๒๒๕๒ โปรดให้ออกไปรับและปลูกต�ำหนักให้ที่ ต. ต้นตาล - เกิดความวุ่นวายภายในกัมพูชา เจ้าเมืองละแวกขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พ.ศ. ๒๒๖๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พระองค์โปรดให้ส่งกองทัพบกและเรือไปยังกัมพูชา เหตุการณ์นี้ท�ำให้กัมพูชามีฐานะเป็นประเทศราชของอยุธยาดังเดิม - พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกา ทรงทราบว่าพระพุทธศาสนาในกรุงศรีอยุธยา  พ.ศ. ๒๒๙๖ เจริญรุ่งเรืองมาก จึงทรงส่งคณะทูตมาขอพระสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในลังกาซึ่งเสื่อมโทรมลง  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดให้ส่งคณะทูต ไปลังกาเพื่อประกอบพิธีบรรพชาอุปสมบทให้กับชาวลังกาและ ตั้ง “นิกายสยามวงศ์” ขึ้นในลังกา คณะทูตเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๓ - เจ้าฟ้าอุทุมพร (กรมขุนพรพินิต) กษัตริย์อยุธยาองค์ที่ ๓๒ พ.ศ. ๒๓๐๑ เสวยราชย์ได้ ๒ เดือนเศษ แล้วถวายราชสมบัติให้กับเจ้าฟ้าเอกทัศน์ (กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) พระเชษฐา - พม่ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่สำ� เร็จ ต้องยกทัพกลับเนื่องจาก พ.ศ. ๒๓๐๓ พระเจ้าอลองพญาประชวรและเสด็จสวรรคต - พระเจ้ามังระ โอรสพระเจ้าอลองพญา ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาสองทาง พ.ศ. ๒๓๐๗ คือ ทางเหนือและทางใต้ โดยตีหัวเมืองรายทางมาตามล�ำดับแล้วเข้าล้อม กรุงศรีอยุธยา - ค่ายบางระจันถูกพม่าตีแตก พ.ศ. ๒๓๐๙ - สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการน�ำก�ำลัง ๕๐๐ คน  ตีฝ่ากองทหารพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาไปทางทิศตะวันออก ๗ เมษายน ๒๓๑๐ - กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ หลังจากพม่าล้อมกรุงอยู่ ๑ ปี ๒ เดือน

58

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


๒ ภ า ค

การสถาปนา กรุงศรีอยุธยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

59


ภาค

๒ก

ารศึกษาประวัติศาสตร์ไทย  ในอดีตทีก่ ล่าวว่ากรุงสุโขทัย  เป็นราชธานีแห่งแรกของไทย หลัง  การสถาปนา จากสุโขทัยสลายไปแล้วราชธานี  ก็คือกรุงศรีอยุธยากลายเป็นเรื่อง  กรุงศรีอยุธยา ที่ ไ ม่ ย อมรั บ กั น แล้ ว ในปั จ จุ บั น  เพราะในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ยัง  ไม่มรี าชธานีทเี่ ป็นศูนย์กลางทางการ  เมืองการปกครอง มีแต่บา้ นเมืองที ่ แบ่งเป็นรัฐกระจายอยู่ทุกภาคของ  ประเทศไทยปัจจุบนั  แต่ละรัฐมีเมืองส�ำคัญ เช่น เมืองนครศรีธรรมราชในภาคใต้  เมืองสุพรรณภูมิและอโยธยาในภาคกลาง เชียงใหม่และสุโขทัยในภาคเหนือ  ฯลฯ ดังนั้นในช่วงเวลาหนึ่งสุโขทัยและอยุธยาจึงอยู่ร่วมสมัยเดียวกัน คงไม่ผดิ ไปจากความเป็นจริงหากจะกล่าวว่าก่อนทีส่ มเด็จพระรามาธิบดี  ที่ ๑ จะทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ บริเวณที่ตั้งเมืองนี้เคย  มีบ้านเมืองอยู่ก่อนแล้วซึ่งรู้จักกันในนามอโยธยาศรีรามเทพนคร หรืออโยธยา  ปัจจุบนั ยังเหลือหลักฐานทางโบราณคดีเช่นคูน�้ำคันดินของเมืองและศาสนสถาน  ส�ำคัญบางแห่ง เช่น วัดอโยธยา วัดมเหยงคณ์ วัดเจ้าพระยาไทย (วัดใหญ่-  หลักดฐาน ชัยมงคล) วั พนัญเชิง ฯลฯ อโยธยามีชอื่ ปรากฏในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยว่า “อโยธยาศรีรามเทพนคร”  ทีเ่ ป็นเมืองคูก่ บั เมือง “สุพรรณภูม”ิ  บนฝัง่ แม่นำ�้ ท่าจีน  การเกิดขึน้ ของอยุธยา  สถาปนาขึ้นจากการรวมตัวของเมืองคู่ส�ำคัญสองกลุ่มคือ ละโว้-อโยธยา และ  สุพรรณภูม-ิ แพรกศรีราชา โดยศูนย์กลางระยะแรกอยูท่ อี่ โยธยา ต่อมาพระเจ้า  อู่ทองทรงย้ายเมืองมาทางด้านตะวันตกที่รู้จักกันในนาม “กรุงศรีอยุธยา”  ในระยะแรกกษัตริยจ์ ากเมืองสองกลุม่ นีผ้ ลัดกันขึน้ มามีอำ� นาจทีก่ รุงศรีอยุธยา  แม้การรวมตัวของกลุม่ เมืองทัง้ สองจะยังไม่ดำ� เนินไปอย่างราบรืน่ นัก แต่เท่ากับ ยอมรับฐานะของกรุงศรีอยุธยาว่าเป็นศูนย์กลางอ�ำนาจแห่งราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยาได้พัฒนาอ�ำนาจขึ้นมาตามล�ำดับจนกระทั่ง สามารถแผ่อำ� นาจจากราชธานีไปควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ได้

ก่อนสมัยสุโขทัย

60

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


บ ท ที่

ก่อนจะเป็น

กรุงศรีอยุธยา ละโว้-อโยธยามีความเป็นมาอย่างไร ละโว้หรือ “ลวรัฐ” เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยทวารวดีประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ด�ำรงความเป็นศูนย์กลางการปกครองและศิลปวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองมาจนถึง กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จึงลดความส�ำคัญลง ละโว้เป็นเมืองส�ำคัญเมืองหนึ่งในลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา ในเอกสารจีน เรียกว่า “หลอหู”  มีแม่น�้ำลพบุรีไหลผ่าน ซึ่งเป็นทั้งเส้นทางคมนาคมออกสู่ ภายนอกและเข้าสู่ดินแดนภายในตามเส้นทางสิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี และ นครสวรรค์  ความเติบโตของละโว้เป็นผลจากความเจริญด้านการค้าของพุกาม ขอม และลังกา ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของโฉมหน้าใหม่ ทางเศรษฐกิจรอบอ่าวไทยที่ย้ายมาทางตะวันออกของลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา ซึง่ มีละโว้เป็นศูนย์กลาง จากแต่เดิมเฟือ่ งฟูอยูเ่ ฉพาะทางตะวันตกของลุม่ แม่นำ�้ เจ้าพระยาที่เมืองอู่ทอง คูบัว และนครปฐมโบราณในลุ่มแม่น�้ำท่าจีน ความ ส�ำคัญของละโว้ในด้านเศรษฐกิจส่งผลต่อเนื่องมาสู่กรุงศรีอยุธยาด้วย

เหรียญจาก ต่างประเทศ ที่พบในเมืองละโว้ หลักฐานที่สะท้อน การติดต่อค้าขายกับ ดินแดนภายนอก

เครื่องปั้นดินเผา และโบราณวัตถุ พบที่เมืองละโว้ บ่งบอกการตั้งถิ่นฐาน ที่มีมานานนับพันปี ในพื้นที่เมืองละโว้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

61


พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

พระที่นั่งวิหารสมเด็จ

พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์มหาปราสาท สร้างในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ สร้างในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา

72

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


รูปแบบการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้น เปลี่ยนแปลงในสมัยต่อมาอย่างไร ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างเมือง  หลวงกับหัวเมือง ลดฐานะเมืองประเทศราชบางเมืองที่เคยมีอิสระในการ  ปกครองตนเองลงเป็ น เพีย ง “เมือ งพระยามหานคร” โดยส่ ง ขุ น นางจาก  เมืองหลวงไปปกครอง  อย่างไรก็ตามฐานะของเมืองอาจเปลี่ยนแปลงไป  ตามรัชกาล และบางครั้งเมืองหนึ่งอาจมีฐานะหลายอย่าง เช่นเป็นทั้งเมือง ลูกหลวงและเมืองพระยามหานคร ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงจัดระบบการปกครอง  ใหม่เพื่อลดอ�ำนาจเมืองพระยามหานครและโปรดให้ตั้งหัวเมืองต่าง ๆ เป็น สามกลุ่ม คือ เมืองเอก เมืองโท และเมืองตรี ต่างเป็นอิสระต่อกัน๑ เพื่อให้  กรุงศรีอยุธยาควบคุมหัวเมืองตอนในได้ใกล้ชดิ เพือ่ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  เช่นหัวเมืองเหนือ ซึง่ เป็นแหล่งสินค้าของป่าจ�ำนวนมากทีต่ ลาดต้องการ  การ เกิดเมืองเอก โท ตรี ซึง่ ขึน้ ต่อเมืองหลวงโดยตรง แสดงให้เห็นว่ากรุงศรีอยุธยา  ขยายอ�ำนาจเข้าสูห่ วั เมืองด้วยการสลายอ�ำนาจท้องถิน่ เดิมซึง่ เคยมีอทิ ธิพลสูง ในเขตแดนของตน ท�ำให้ราชธานีควบคุมหัวเมืองได้โดยตรง สามารถเรียก เกณฑ์กำ� ลังคนได้สะดวกอันเป็นความจ�ำเป็นส�ำหรับบ้านเมืองทีต่ อ้ งท�ำสงคราม อยู่เสมอในช่วงเวลานั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

พระที่นั่ง สุริยาศน์อมรินทร์ สร้างในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์ มหาราช บนฐานเดิม ของพระที่นั่ง เบญจรัตนปราสาท

73


80

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


๓ ภ า ค

การปกครอง และการค้า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

81


ภ า ค

สังคมอยุธยา เมือง และผู้คน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

163


ภาค

สังคมอยุธยา เมือง และผู้คน

รุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง และเมืองท่าส�ำคัญแห่งหนึง่ บนภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออก เฉียงใต้  ความเติบโตทางการค้า และแสนยานุภาพของกองทัพท�ำ ให้มีผู้คนต่างถิ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ดังจะเห็นได้จากหมูบ่ า้ นชาวต่างชาติ จ�ำนวนมากทัง้ ในและนอกก�ำแพงกรุงศรีอยุธยา  ชาวต่างชาติตา่ งภาษาเหล่านี้ เข้ามาเป็นก�ำลังคนของกรุงศรีอยุธยาในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ เพราะส่วนใหญ่มีทักษะและความสามารถเฉพาะทางที่ชาวอยุธยาไม่ม ี ท�ำให้ พระมหากษัตริยต์ อ้ งการดึงชาวต่างชาติเข้าสูร่ าชส�ำนัก  ราชส�ำนักอยุธยาจึงมี ชาวต่างชาติจำ� นวนหนึ่งรับใช้อยู่ตลอดมา ต่อมาเมือ่ การค้าเติบโตมากขึน้  คือตัง้ แต่รชั กาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เป็นต้นไป ความต้องการขุนนางชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นด้วย  ชาวต่างชาติจึงเริ่ม เข้ามามีบทบาททางการเมืองนอกเหนือจากบทบาททางเศรษฐกิจ หลั กฐาน ความเติ บโตทางการค้าของกรุงศรีอยุธยาท�ำให้ระบบเศรษฐกิจเปลีย่ นแปลง จากแบบที่พอเลี้ยงตัวเองมาเป็นระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินตรามากขึ้น  มีหลาย เหตุการณ์ทสี่ ะท้อนถึงความต้องการเงินตราของราชส�ำนักและประชาชน รวมทัง้ เกิดค่านิยมสะสมเงินตราเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจดังกล่าวจ�ำกัดอยู่เฉพาะที่ เมือ งหลวง ปริม ณฑล และหัว เมือ งใหญ่ ๆ เท่ า นั้น  เกษตรกรรมยัง คงมี ความส�ำคัญในวิถีชีวิตและเป็นเศรษฐกิจหลักของประชาชน ดังจะเห็นได้จาก ประเพณีการละเล่นต่าง ๆ ตลอดสมัยอยุธยา

ก่อนสมัยสุโขทัย

164

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


ชาวต่างชาติ

ในสังคมอยุธยา

๑๑ บ ท ที่

เหตุใดจึงมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ มาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา เพราะกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าการค้าที่ทั้งรับส่งสินค้า เป็นแหล่งรวมของป่า และสิ น ค้ า ส่ ง ออกที่ ต ลาดภายนอกต้ อ งการ ท� ำ ให้ เ มื อ งนี้ เ ป็ น คลั ง สิ น ค้ า (emporium) ที่ส�ำคัญแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป แม้จะ ไม่ได้อยู่ติดทะเล แต่สามารถเดินทางจากปากอ่าวไทยเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาได้ รวมทั้งการมีระบบบริหารการค้าที่มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งดึงดูดพ่อค้าและ นักเดินทางต่างแดนเข้ามากรุงศรีอยุธยา เมื่อคนเหล่านี้เข้ามาพบว่าที่นี่มี ความอุดมสมบูรณ์ ผู้ปกครองยินดีต้อนรับชาวต่างถิ่น ไม่กีดกันทางศาสนา และค่อนข้างจะให้อิสระทางการปกครอง ล้วนเป็นปัจจัยที่ท�ำให้ชาวต่างชาติ เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ซึ่งนอกจากช่วยเพิ่มจ�ำนวนประชากรแล้ว ชาวต่างชาติส่วนหนึ่งมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เช่น การค้า การใช้ อาวุธปืน การก่อสร้าง ฯลฯ

กรุงศรีอยุธยาปกครองชาวต่างชาติอย่างไร มีการจัดให้ชาวต่างชาติอาศัยอยู่เป็นชุมชนและให้แต่ละกลุ่มเชือ้ ชาติปกครอง กันเอง ๑ โดยแต่ละหมู่บ้านจะเลือก “นาย” ปกครองดูแลเสมือนเป็นนายบ้าน หรือหัวหน้าชุมชน มีหน้าทีพ่ พิ ากษาทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างกลุม่ คนในสังกัด ๒  ติดต่อ เรื่องการเข้า-ออกราชอาณาจักรของชาวต่างชาติ เรือ การขนถ่ายสินค้า และ การจ�ำหน่ายสินค้า โดยหัวหน้าหมู่บ้านจะต้องรายงานต่อเสนาบดีพระคลัง ก่อน มิฉะนั้นอาจจะถูกริบสินค้า โบย หรือจ�ำคุก ๓ แสดงว่าแม้จะให้อิสระ แก่ชาวต่างชาติ แต่กต็ อ้ งอยูภ่ ายใต้กฎเกณฑ์ซงึ่ อยูบ่ นพืน้ ฐานทีใ่ ห้ผลประโยชน์ แก่กรุงศรีอยุธยา หั ว หน้ า ชุ ม ชนยั ง เป็ น คนกลางติ ด ต่ อ กั บ ขุ น นางที่ ล าลู แ บร์ เ รี ย กว่ า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

165


ลายรดน�้ำ รูปชาวต่างชาติ บนตู้พระไตรปิฎก สมัยอยุธยา ด้านขวา เป็นแขก ด้านซ้าย เป็นชาวตะวันตก ในเครื่องแต่งกายสมัย พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔

166

“ขุนนางว่าการประจ�ำชาติ” (the Mandarin of this nation) ๔ ซึ่งเป็นมูลนาย ดูแลกลุม่ ชาวต่างชาติในสังกัดตน เช่น ออกญาพลเทพดูแลกลุม่ มอญ ออกญา วังดูแลกลุ่มลาว ออกญาพิชัยสงคราม (Oya Pitsjasencram) เจ้ากรมอาสา ซ้าย ดูแลกลุ่มญี่ปุ่น ๕ ออกพระศรีสมบัติและท่องสื่อ (Oopras Sysembat and Thonsuy) ดูแลกลุ่มจีน ๖ ออกพระลักษมณา (Oopras Alaks Amane) เจ้ากรม อาสาจามขวาผูม้ เี ชือ้ สายแขกมลายูดแู ลกลุม่ มลายู ออกพระราชมนตรี (Oparas Ray Montry) เจ้าท่าว่าแขกประเทศ อังกฤษ ญวน ฝรั่ง สังกัดกรมพระคลัง ดูแลกลุ่มโปรตุเกส ฯลฯ ยกเว้นกลุ่ม “มัวร์” ที่ “ดูเหมือนว่าพวกเขาจะอยู่ ภายใต้การปกป้องคุม้ ครองของพระเจ้าแผ่นดิน (ด้วยเหตุผลพิเศษบางประการ)” ๗ สังเกตว่าขุนนางว่าการประจ�ำชาติมกั จะเป็นคนเชือ้ สายเดียวกับคนในความดูแล หรือนับถือศาสนาเดียวกัน แต่ขุนนางเหล่านี้ไม่มีอ�ำนาจในการตัดสินใจเท่า เสนาบดีพระคลัง ขุนนางระดับสูงสุดซึ่งมีหน้าที่ดูแลชาวต่างชาติ ๘ ในหลาย รัชกาลเสนาบดีพระคลังเป็นคนเชื้อสายต่างชาติและมักเกื้อหนุนคนเชื้อชาติ เดียวกันในการท�ำการค้าซึ่งน่าจะได้ผลประโยชน์จากการค้าส่งออกด้วย ตามกฎหมายของกรุงศรีอยุธยา ระบุว่าหากชาวต่างชาติแต่งงานกับ สตรีพื้นเมือง ลูกที่เกิดมาจะมีสังกัด ตามแม่คอื ถือว่าเป็นชาวกรุงศรีอยุธยา ท�ำให้มบี ดิ าของลูกครึง่ ฟ้องร้องขอน�ำ ลูกของตนออกนอกราชอาณาจักร ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จึ ง อนุ ญ าตให้ น� ำ เด็ ก ที่ อ ายุ ไ ม่ เ กิ น ๙ ขวบ ออกนอกราชอาณาจักรได้ หากอายุมากกว่านี้ห้ามน�ำออกไป เด็ดขาด ถือว่าผิดกฎหมาย

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


๑๓ บ ท ที่

ศาสนา

และประเพณี​ี ศาสนาของคนสมัยอยุธยาคือศาสนาใด ศาสนาพุทธนิกายหินยานหรือเถรวาท ที่เข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แต่เดิมผู้คนในดินแดนนี้นับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน ศาสนาฮินดู เชื่อในอ�ำนาจเหนือธรรมชาติ ภูตผีปีศาจและ ไสยศาสตร์  อีกทั้งการที่พระมหากษัตริย์ไม่กีดกันศาสนาท�ำให้มีศาสนาอื่น เข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยา เช่น ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์นิกายเยซูอิต นิกาย โรมันคาทอลิก ฯลฯ  นักบวชของศาสนาเหล่านี้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาและ ได้รับอนุญาตให้สร้างศาสนสถานของตนในกรุงศรีอยุธยา บางครั้งได้รับ พระราชทานที่ดินและวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง

เจดีย์พระบรมธาตุในสมัยอยุธยา

ความเชื่อเกี่ยวกับพระบรมธาตุในดินแดนประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี-ลพบุรี เมื่อผู้คนนับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยานเป็นหลัก มีการสร้างพระสถูปเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าให้เป็น ศูนย์กลางของบ้านเมือง  ความเชื่อนี้สืบต่อมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อเกิดสุโขทัย ล้านนา ล้านช้าง ซึ่ง นับถือพุทธศาสนานิกายหินยานที่ได้รับอิทธิพลลัทธิลังกาวงศ์จากลังกา พม่า และมอญ ท�ำให้ความเชื่อเรื่อง การบูชาพระบรมธาตุแพร่หลายมากขึ้น  วัดส�ำคัญแทบทุกเมืองจะต้องมีพระสถูปเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ส�ำหรับกรุงศรีอยุธยามีวัดส�ำคัญสองวัดคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุที่มีมาก่อนตั้งเมือง ส่วนพระมหาธาตุ เจดียเ์ ริม่ สร้างสมัยสมเด็จพระบรมราชาที ่ ๑ และวัดพระศรีสรรเพชญ์ ทสี่ มเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ปรับปรุง พื้นที่ในพระบรมมหาราชวังโดยยกที่พระราชวังเดิมให้เป็นวัดเมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๑ วัดนี้เป็นวัดภายในพระบรมมหา ราชวัง ไม่มีพระสงฆ์จ�ำพรรษา ใช้เป็นสถานที่ประกอบพระ ราชพิธีทางศาสนาของอาณาจักร และพระราชพิธีของพระ มหากษัตริย์และเจ้านาย  ภายในวัดพระศรีสรรเพชญ์มีพระ บรมธาตุเจดียท์ รงระฆังเป็นประธานของวัดสามองค์ แต่ละองค์ บรรจุพระบรมธาตุและทรัพย์สมบัตลิ ำ�้ ค่าของแผ่นดินจ�ำนวนมาก ซึ่งพระมหากษัตริย์และเจ้านายบรรจุถวายเป็นพุทธบูชา วัดมหาธาตุ มหาธาตุเจดีย์ประจ�ำกรุงศรีอยุธยา

196

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา

ตลับทอง ประดับอัญมณีที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ จากวัดมหาธาตุ


รรจุ ตุ

วัดใดเป็นวัดส�ำคัญในกรุงศรีอยุธยา วัดในกรุงศรีอยุธยามีทงั้ พระอารามหลวงคือวัดทีร่ าชส�ำนักสร้าง และพระอาราม  ราษฎร์ซึ่งราษฎรเป็นผู้สร้าง พระอารามที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นและ  ที่สร้างในยุคหลังมีความแตกต่างกันที่เห็นได้ชัดคือ ในยุคต้นมีพระปรางค์  หรือพระเจดีย์เป็นประธานของวัด แต่ในยุคหลังใช้พระอุโบสถหรือโบสถ์เป็น  ประธานของวัด  อย่างไรก็ดคี วามนิยมสร้างพระปรางค์หรือเจดีย์เป็นประธาน  ของวัดกลับมานิยมในช่วงหนึ่งคือในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทั้งนี้สันนิษฐานว่าคงมีพระอารามหลวงจ�ำนวนมาก แต่ที่ปรากฏชื่อใน  พระราชพงศาวดารมี ๑๕ แห่งตั้งอยู่ทั้งในพระนครและนอกก�ำแพงพระนคร  ดังนี้

วิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ ศิลปะสมัยอยุธยา ยุคกลาง

พระอารามหลวงในพระนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

197


ภ า ค

ศิลปวัฒนธรรม ของกรุงศรีอยุธยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

213


ภาค

ศิลปวัฒนธรรม ของกรุงศรีอยุธยา

ศิ

ลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยา เป็นต้นแบบของศิลปวัฒนธรรมสมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ ต อนต้ น น่าเสียดายที่หลักฐานด้านศิลปวัฒนธรรมของอยุธยาถูกท� ำลาย ไปมากทั้ ง จากการสงครามและ กาลเวลา  แต่ สิ่ ง ที่ ห ลงเหลื อ อยู ่ ทั้งงานศิลปะ สถาปัตยกรรม วรรณกรรม ประเพณี พิธีกรรมล้วนแสดงถึง ความสูงส่งทางจิตใจของผู้คนในสมัยอยุธยา และแสดงถึงความเป็นเมือง การค้าที่มีผู้คนหลากหลายของกรุงศรีอยุธยา ดังจะเห็นได้จากการรับอิทธิพล ต่างชาติมาผสมผสานกับศิลปะพื้นเมือง เกิดเป็นศิลปะอยุธยาที่งดงามและ เป็นเอกลักษณ์

หลักฐาน

ก่อนสมัยสุโขทัย

214

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


๖ ภ า ค

สงคราม ไทย-พม่า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

243


ภาค สงคราม ไทย-พม่า

ลอด ๔๑๗ ปีของราชอาณา จั ก รอยุ ธ ยา การสงคราม ระหว่ า งไทยกั บ พม่ า นั บ ว่ า เป็ น สงครามส�ำคัญ น�ำมาสูก่ ารเสียกรุง ศรีอยุธยาถึงสองครั้งคือ สงคราม เสี ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาครั้ ง ที่  ๑ พ.ศ. ๒๑๑๒ และสงครามเสีย กรุง ศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐  นอกจากนี้กรุงศรีอยุธยาท�ำสงครามกับพม่า ถึง ๒๔ ครั้งด้วยสาเหตุต่าง ๆ  สงครามครั้งใหญ่เกิดขึ้นในรัชกาลสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์  ส่วนรัชกาลที่ท�ำสงคราม กับพม่ายาวนานที่สุดคือ ตลอดรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงอธิบายถึงเหตุของสงคราม ระหว่างไทยกับพม่าไว้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อเกิด “บุรุษพิเศษขึ้นเป็นใหญ่ในพวก พม่า” * สามารถปราบปรามดินแดนใกล้เคียงให้อยู่ใต้อ�ำนาจพม่าได้ เมื่อนั้น พม่าก็จะยกทัพมาท�ำสงครามกับไทย  ค�ำอธิบายของท่านจะเน้นที่การเสีย กรุงศรีอยุธยาทั้งสองครั้งเพื่อชี้ให้เห็นว่าเมื่อไทยเพลี่ยงพล�้ ำเสียทีพม่าแล้ว หลังจากนั้นไม่นานก็จะมีวีรบุรุษที่สามารถควบคุมผู้คนรบพุ่งเอาชัยชนะพม่า ซึ่งมีไพร่พลมากกว่าได้ด้วยปรีชากล้าหาญ ซึ่งมีถึง ๑๙ ครั้งที่พม่าเลิกทัพ กลับไปหรือพ่ายแพ้ ท่านทรงเรียกการสงครามนี้ว่า “สงครามยุคใหญ่” ** นอกจากนี้ก็มีครั้งที่พม่ามาตีเมืองชายแดนโดยติดตามพวกมอญเข้ามาบ้าง มาปล้นทรัพย์จับเชลยบ้าง หรือมาชิงเมืองเชียงใหม่บ้าง แต่ก็แพ้ทุกครั้ง จะเห็นได้ว่าค�ำอธิบายของท่านมุ่งยกย่องความสามารถของวีรกษัตริย์และ ความยิ่งใหญ่ของชาติไทยเป็นส�ำคัญ

* สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ, ไทยรบพม่า ฉบับรวมเล่ม, (กรุงเทพฯ : บรรณาคาร, ๒๕๔๓), หน้า ๓. ** อ่านรายละเอียดใน เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓.

244

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


จิตรกรรมฝาผนัง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงลงเรือเล็กติดตามพระยาจีนจันตุ ที่หนีกลับเมืองเขมร ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับเขมร เป็นไปในลักษณะของการสู้รบ โดยอยุธยาได้ยกทัพไปตีเขมรหลายครั้ง ในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

จิตรกรรมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงท�ำปฐมกรรมพระยาละแวกแห่งเขมร ซึ่งเรื่องราวตอนนี้ไม่ปรากฏในพงศาวดาร ที่เขียนในสมัยอยุธยาเลย ท�ำให้ยังเป็นปัญหาหนึ่งในประวัติศาสตร์ รัชกาลสมเด็จพระนเรศวร

อย่างไรก็ดเี มือ่ กรุงศรีอยุธยาเริม่ ฟืน้ ตัว  หลัง  ศึกนันทบุเรง สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระ  เอกาทศรถจึงทรงยกกองทัพไปตีเมืองละแวกใน  พ.ศ. ๒๑๓๐ ได้ ช ้ า ง ม้ า  และผู ้ ค นจ� ำ นวนมาก  เพราะทรงเห็นว่าเมื่อพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง  ยกทัพมาล้อมพระนครนั้น ละแวกให้ฟ้าทะละยก  กองทัพลอบเข้ามาตีได้เมืองปราจีนบุรี ในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรง  ยกทัพไปตีละแวกอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๑๓๖ ซึ่งยังคง  มีขอ้ ถกเถียงเรือ่ งการท�ำพิธปี ฐมกรรมพระยาละแวก  นักพระสัตถา  หลักฐานไทยในสมัยรัตนโกสินทร์  กล่ า วว่ า ท� ำ พิ ธี นี้  แต่ ห ลั ก ฐานสเปนว่ า ไม่ ไ ด้ ท� ำ  เพราะนักพระสัตถาหนีไปได้  ในครั้งนั้นสมเด็จ  พระนเรศวรมหาราชทรงน�ำตัวพระศรีสุพรรณมา-  ธิราช (พระอนุชาของนักพระสัตถา) มาไว้ที่กรุงศรี-  อยุธยาและกวาดต้อนผูค้ นมาเป็นจ�ำนวนมาก 266

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


วีรกรรมครั้งส�ำคัญของ

กษัตริย์อยุธยา

๒๐ บ ท ที่

วีรกรรมครั้งส�ำคัญของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชคืออะไร วีรกรรมส�ำคัญของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชคือการประกาศอิสรภาพทีเ่ มือง แครง รวมถึงการสงครามหลายครั้งกับพม่าและเขมร  แต่ส� ำหรับชาวไทย  วีรกรรมครั้งส�ำคัญของพระองค์คือการสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ใน พ.ศ. ๒๑๓๕ สงครามครั้งนี้สืบเนื่องจากสงคราม พ.ศ. ๒๑๓๓ เมื่อพระมหาอุปราชา  ยกกองทัพมาเพราะพระเจ้านันทบุเรงทรงเห็นว่าฝ่ายกรุงศรีอยุธยาก� ำลัง  เปลี่ยนแผ่นดินคงจะวุ่นวายจึงเข้าโจมตีเพื่อปราบกรุงศรีอยุธยา  แต่กองทัพ  พระมหาอุปราชาพ่ายแพ้กลับไป  พระเจ้านันทบุเรงจึงให้พระมหาอุปราชา  ท�ำศึกอีกครั้งโดยเกณฑ์กองทัพจากสามเมือง คือ หงสาวดี แปร ตองอู และ  มีทัพจากเชียงใหม่มาสมทบด้วย  ยกทัพออกจากหงสาวดีเมื่อวันพุธ เดือน  อ้าย ขึ้น ๗ ค�่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๑๓๕ โดยเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ที่  ต. ตระพังตรุ แขวงเมืองสุพรรณบุรี  ในหลักฐานไทยกล่าวว่า สมเด็จพระ  นเรศวรมหาราชทรงยกทัพไปตั้งรับที่สุพรรณบุรี แต่หลักฐานพม่ากล่าวว่า  พระมหาอุปราชายกทัพเข้ามาถึงชานพระนคร กองทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

จิตรกรรมฝาผนัง สงครามยุทธหัตถี สงครามครั้งส�ำคัญใน หน้าประวัติศาสตร์ไทย ที่ได้รับการเล่าขาน สืบมาและก่อเกิด งานวรรณกรรม ลิลิตตะเลงพ่าย ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

267


ดัชนี

กฎมณเฑียรบาล   ๘๕, ๑๓๗, ๒๐๘ กฎหมายตราสามดวง   ๑๖, ๒๗ กบฏมักกะสัน   ๑๒๑ กรมพระคลังสินค้า  ๑๐๓, ๑๐๖-๑๐๗ กัลปนา   ๗๖ กาพย์เห่เรือ   ๒๑๖ แกมป์เฟอร์   ๓๗, ๑๒๒, ๒๓๗ แขกตานี   ๑๗๕ แขกมัวร์   ๑๑๘, ๑๖๖, ๑๖๙, ๑๗๕-๑๗๖, ๒๔๐ คลัง   ๔๓, ๘๔-๘๖ ค�ำหลวง   ๒๑๗ ค�ำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม   ๒๕, ๑๘๘-๑๘๙, ๑๙๑, ๑๙๕ ค�ำให้การชาวกรุงเก่า   ๒๕, ๖๗, ๒๐๘, ๒๖๙, ๒๗๔ โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช    ๒๒๑ โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์   ๒๒๑ โคลงโลกนิติ์   ๒๑๕, ๒๒๓ โคลงสุภาษิต   ๒๒๒ เงินก�ำไล   ๑๙๓ เงินแดง   ๑๙๓ เงินพดด้วง   ๑๙๓-๑๙๔ เงินพราง   ๑๙๓ จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์   ๓๙, ๖๗ จดหมายเหตุฟาน ฟลีต   ๓๓, ๕๖ จักรพรรดิราช   ๕๑, ๗๔, ๗๖-๗๗, ๒๔๗, ๒๕๐, ๒๕๒ จังกอบ   ๑๓๓ จัตุสดมภ์   ๔๓, ๘๕ จันทรุปราคา   ๒๓๘-๒๓๙ จิตรกรรมสมัยอยุธยา   ๒๓๒ จินดามณี   ๒๒๒-๒๒๓ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์   ๒๑๖ เฉกอะหมัด   ๑๘๕ ช้างเผือก   ๗๘ แชรแวส, นิโกลาส์   ๓๔, ๒๐๘, ๒๑๒, ๒๓๔ ตราภูมิคุ้มห้าม   ๙๕ ตุรแปง, ฟรังซัวส์ อังรี   ๓๔, ๑๒๒ ท้าวทองกีบม้า   ๑๘๖-๑๘๗ เทวราชา   ๗๔ ไทยรบพม่า   ๒๙, ๒๔๖, ๒๔๘, ๒๕๔ ธรรมราชา   ๗๔-๗๕ นะงะมะสะ, ยะมะดะ   ๑๗๔, ๑๘๔

นักพระสัตถา   ๕๕, ๑๕๒, ๒๖๖ นา   ๔๓, ๘๔-๘๖ บรัดเลย์, แดน บีช   ๒๔-๒๕ บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส   ๑๘๒ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (EIC)   ๑๘๑-๑๘๒ บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (VOC)   ๓๓, ๕๖, ๘๘, ๑๗๙-๑๘๑ บ้านญี่ปุ่น   ๑๗๓, ๑๘๔ บ้านปลาเห็ด   ๑๘๓ บ้านพลูหลวง, ราชวงศ์   ๕๐, ๕๓ ปัญญาสชาดก   ๒๑๘ ปุณโณวาทค�ำฉันท์   ๒๑๙ โปรตุเกส   ๓๓, ๑๑๒, ๑๑๔, ๑๕๕, ๑๖๙, ๑๗๗-๑๗๘, ๒๔๑ ผูกขาดการค้า   ๑๐๓ ฝรั่งเศส   ๑๘๒-๑๘๓, ๒๔๑ พงศาวดาร   ๑๘ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวัน วลิต   ๓๓, ๑๔๓ พงศาวดารพม่า ฉบับหอแก้ว   ๑๕๐, ๒๖๒ พงศาวดารพม่า ฉบับอูกาลา   ๑๕๐ พงศาวดารราชวงศ์หมิง   ๑๕๔ พรรณนาเรื่องอาณาจักรสยาม   ๓๓ พระคลัง   ๑๐๔ พระคลังสินค้า   ๗๘, ๑๐๖-๑๐๗, ๑๑๓, ๑๑๖ พระจักรวาทิน   ๗๗ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี    ้ ๒๔๘, ๒๕๐, ๒๕๙ พระเจ้าบุเรงนอง   ๗๗, ๒๐๐, ๒๕๒-๒๕๔, ๒๕๙ พระเจ้าเอกราช   ๗๗ พระบรมธาตุ​ุ   ๑๙๖ พระมงคลบพิตร   ๒๐๖ พระมหานาค   ๒๑๙ พระมหาราชครู   ๒๑๘-๒๑๙, ๒๒๑ พระมหาอุปราชา   ๑๕๐, ๒๖๓, ๒๖๗-๒๖๘ พระมาลัยค�ำหลวง   ๒๑๗, ๒๑๙ พระยาละแวก   ๑๕๒ พระราชพงศาวดาร   ๑๗-๑๘ พระราชพงศาวดารกรุงสยาม   ๒๒ พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์    ๒๒-๒๓, ๒๖๙ พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์   ๒๒ พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพันจันทนุมาศ   ๒๐, ๖๖, ๑๔๐, ๑๔๖, ๒๖๙

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

293


พระราชพงศาวดารฯ ฉบับหมอบรัดเลย์   ๒๔ พระราชพงศาวดารฯ ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์    ๑๙, ๔๕, ๖๗, ๘๓, ๑๔๓, ๑๔๕, ๒๔๘, ๒๖๙-๒๗๐, ๒๗๓ พระราชพงศาวดารฯ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ   ๒๐ พระศรีสรรเพชญดาญาณ   ๒๐๖ พระสุริโยทัย   ๕๕, ๑๙๙, ๒๗๐-๒๗๓ พระสุวัฒน์   ๒๗๐, ๒๗๔ พระไอยการต�ำแหน่งนาทหารหัวเมือง   ๙๑, ๑๕๘ พระไอยการต�ำแหน่งนาพลเรือน   ๙๐-๙๑, ๑๖๘ พระไอยการพรมศักดิ​ิ   ๙๖-๙๗, ๑๙๔ พระไอยการลักษณะมรดก   ๑๖๐ พัทธยา   ๑๓๓ พิธีปฐมกรรม   ๒๖๖ พิษณุโลก   ๘๖-๘๗, ๑๒๓, ๑๓๗, ๑๔๐-๑๔๓, ๑๕๘, ๒๕๓-๒๕๔ ไพร่   ๔๗, ๙๐, ๙๗ ไพร่สม   ๙๑-๙๔, ๑๑๓ ไพร่ส่วย   ๙๑-๙๒, ๙๕, ๑๑๓ ไพร่หลวง   ๙๑-๙๔ ฟอลคอน, คอนสแตนติน   ๑๑๙, ๑๒๒-๑๒๓ ฟาน ฟลีต, เยเรมีส (วัน วลิต)   ๓๓, ๕๖, ๑๔๘ มหาชาติค�ำหลวง   ๒๑๖-๒๑๗ มอญ   ๑๖๙-๑๗๐, ๒๕๑, ๒๕๖ มารี กีมาร์   ๑๘๖ มูลนาย   ๙๐, ๙๕-๙๖, ๑๑๓, ๑๕๙ เมืองเอก   ๗๓, ๘๗, ๑๕๘ เมืองโท   ๗๓, ๘๗, ๑๕๘ เมืองตรี   ๗๓, ๘๗, ๑๕๘ เมืองจัตวา   ๘๗ เมืองประเทศราช   ๔๓, ๘๔-๘๖, ๑๓๖-๑๓๗, ๑๓๙ เมืองพระยามหานคร   ๗๓, ๘๕-๘๖, ๑๓๗ เมืองลูกหลวง   ๗๐, ๗๓, ๘๔ เมืองหลานหลวง   ๗๐, ๘๔ ระบบมูลนาย-ไพร่   ๗๘, ๘๙, ๑๐๔, ๑๔๐ ระบบอุปถัมภ์   ๗๘ ราชธานี   ๗๐, ๘๔-๘๕, ๑๓๖, ๑๓๙ ราชาธิราช   ๕๑, ๗๐ ฤชา   ๑๓๓ ละแวก   ๒๖๕-๒๖๖ ละโว้   ๔๒, ๖๑-๖๓, ๖๕, ๖๗ ลิลิตยวนพ่าย   ๒๘, ๑๔๔-๑๔๕, ๒๒๐ ลิลิตโองการแช่งน�้ำ   ๒๑๕

294

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา

วัง   ๔๓, ๘๔-๘๖ เวียง   ๔๓, ๘๔-๘๖, ๙๘ ศรีปราชญ์   ๒๑๙ ศักดินา   ๙๑, ๙๖-๙๘, ๑๙๔ ศึกเชียงกราน   ๒๔๘ ศึกนันทบุเรง   ๒๕๘, ๒๖๓ สงครามช้างเผือก   ๕๕, ๗๘, ๒๕๘ สงครามยุคใหญ่   ๒๔๔ สงครามยุทธหัตถี   ๕๕, ๑๔๙-๑๕๐, ๒๖๖ สงครามเสียกรุง   ๔๕, ๕๕, ๘๖, ๒๔๔, ๒๔๖, ๒๕๔, ๒๕๘-๒๕๙, ๒๖๒ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ   ๒๕, ๖๘-๖๙, ๗๘, ๙๑, ๑๕๐, ๑๖๑, ๒๒๕, ๒๒๗, ๒๔๔, ๒๔๖-๒๔๗, ๒๕๒-๒๕๕, ๒๕๙ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม   ๓๐, ๔๙, ๕๑, ๕๓, ๘๘, ๑๘๔-๑๘๕, ๒๐๖ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง   ๓๒-๓๓, ๔๖, ๔๘, ๕๖, ๘๘, ๑๑๓, ๑๑๕, ๑๖๑-๑๖๒, ๑๘๕, ๒๐๐, ๒๒๑, ๒๒๖ สมเด็จพระเจ้าเสือ   ๒๒, ๕๐, ๕๓ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ   ๕๓, ๑๙๑, ๒๐๑, ๒๐๗, ๒๑๙, ๒๒๖ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ   ๕๓, ๕๘, ๑๑๑, ๑๒๔, ๒๒๖ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร   ๒๖, ๕๓, ๕๘ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์   ๕๘, ๘๘, ๒๔๔, ๒๕๗, ๒๖๒ สมเด็จพระชัยราชาธิราช   ๕๒, ๕๕, ๑๖๘, ๒๔๘ สมเด็จพระนครินทราธิราช   ๔๙, ๕๒, ๘๓ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช   ๔๕, ๕๓-๕๖, ๘๖, ๑๔๗, ๑๕๐, ๑๕๓-๑๕๙, ๒๒๖, ๒๔๔, ๒๔๘, ๒๕๐, ๒๖๓, ๒๖๖-๒๖๘ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ๔๖, ๔๘, ๕๓, ๕๖-๕๗, ๘๕, ๑๐๘, ๑๑๒-๑๑๕, ๑๑๙-๑๒๓, ๑๖๒, ๑๖๘, ๑๙๑, ๒๐๑, ๒๒๑-๒๒๒, ๒๓๖-๒๓๙ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ๔๓, ๕๒, ๕๔, ๗๓, ๑๓๔-๑๓๕, ๑๔๐, ๑๔๒-๑๔๕, ๑๙๖, ๒๑๖, ๒๒๐, ๒๒๕ สมเด็จพระเพทราชา   ๒๒, ๕๐, ๕๓, ๕๗, ๑๐๒, ๑๖๑, ๑๙๙, ๒๐๑ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ   ๔๖, ๕๒, ๗๗-๗๘, ๑๔๕, ๑๙๙, ๒๔๙, ๒๕๒-๒๕๓, ๒๕๘-๒๖๐, ๒๖๙, ๒๗๓ สมเด็จพระมหาธรรมราชา   ๔๖, ๔๙, ๕๓, ๕๕, ๘๖,


๒๕๓, ๒๖๐, ๒๖๔-๒๖๕, ๒๗๔ สมเด็จพระมหินทราธิราช   ๕๒, ๒๕๒-๒๕๓ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑   ๔๒, ๖๙, ๑๙๙, ๒๑๕ สมเด็จพระราเมศวร   ๕๒, ๕๔, ๑๙๘, ๒๒๕ สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา   ๕๓, ๑๑๓-๑๑๕ สมเด็จพระอาทิตยวงศ์   ๔๙, ๕๓ สมเด็จพระเอกาทศรถ   ๔๔, ๕๓, ๕๕-๕๖, ๘๗, ๑๕๓, ๑๕๘-๑๖๐, ๑๘๕, ๑๙๙, ๒๖๖-๒๖๗ สมปัก   ๑๙๕ สมมติเทวดา   ๗๙ สมุทรโฆษค�ำฉันท์   ๒๑๘ สมุหนายก   ๔๓, ๘๖, ๑๖๑-๑๖๒ สมุหพระกลาโหม   ๔๓, ๘๕, ๑๖๑ ส่วย   ๘๒, ๙๑, ๙๙-๑๐๐, ๑๓๓, ๑๔๐, ๑๕๗ สองแคว   ๑๔๑, ๑๔๓ สามร้อยยอด   ๑๕๖ สินค้าส่งผ่าน   ๑๐๙ สุโขทัย, ราชวงศ์   ๔๘, ๕๓ สุพรรณภูมิ, ราชวงศ์   ๔๗-๔๘, ๕๒, ๖๕, ๑๓๖ สุริยุปราคา   ๒๓๙ หลักฐานชั้นต้น   ๑๖ หลักฐานชั้นรอง   ๑๖ อกา มูฮัมหมัด   ๑๘๕ อนิรุทธ์ค�ำฉันท์   ๒๑๙ อโยธยา   ๔๒, ๖๐, ๖๒, ๖๔, ๖๖ ออกญากลาโหม   ๔๙, ๑๘๔ อากร   ๑๓๓ อาร์เมเนีย   ๑๗๘-๑๗๙ อูกาลามหายาสะวินจี   ๒๔๘-๒๔๙, ๒๕๒ อู่ทอง, เมือง   ๔๒, ๖๘-๖๙ อู่ทอง, พระเจ้า   ๔๒, ๔๖, ๔๘, ๖๗-๖๙ อู่ทอง, ราชวงศ์   ๔๘, ๕๒ เอกสารรีวกีว   ๓๕, ๑๐๖-๑๐๗ ฮอลันดา   ๓๒-๓๓, ๑๑๔, ๑๒๔, ๑๗๙-๑๘๑, ๒๔๐, ๒๕๒

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ

295


ประวัติผู้เขียน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ อาจารย์ประจ�ำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การศึกษา • อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๒) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความสนใจและความเชี่ยวชาญ • ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น • ปรัชญาประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ ผลงานที่ผ่านมา • หนังกวาง ไม้ฝาง ช้าง ของป่า การค้าอยุธยาสมัยพุทธศตวรรษที ่ ๒๒-๒๓ • ฟิลิปปินส์ : ประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ • จากอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์

296

ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา


ชุดถาม-ตอบ

เสริมความรู้สาระประวัติศาสตร์

ฉบับ นักเรียน นักศึกษา

ชุ ด ถาม-ตอบ

เ ส ริ ม ค ว า ม รู้ ส า ร ะ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์

ชุ ด ถ า ม - ต อ บ

เ ส ริ ม ค ว า ม รู้ ส า ร ะ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ส มั ย

อยุธยา

เหตุใดจึงเกิดการแย่งชิงราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยา แนวคิด “ธรรมราชา” คืออะไร การปฏิรูปการปกครองสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเกี่ยวข้องกับการค้าหรือไม่ เหตุการณ์ใดที่แสดงว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสนพระทัยด้านการค้า กรุงศรีอยุธยาค้าขายอะไร ชาวกรุงศรีอยุธยาใช้เงินทองในด้านใด ระบบมูลนาย-ไพร่คืออะไร ไพร่สามารถเลื่อนชั้นได้หรือไม่ สงครามระหว่างไทย-พม่าเกิดเพราะเหตุใด ชาวต่างชาติในกรุงศรีอยุธยาถูกเกณฑ์แรงงานหรือไม่

ประวัติศาสตร์สมัย

อยุธยา

ผู้เขียน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ บรรณาธิการวิชาการ

ดร. ธิดา สาระยา

หมวดประวัติศาสตร์

ราคา ๓๘๐ บาท

ISBN 978-616-7767-81-9

๓๘๐.-

เรียนรู้จากหลักฐานและการวิเคราะห์ ของนักประวัติศาสตร์ เข้าใจพัฒนาการทางการเมืองการปกครอง และเศรษฐกิจการค้าที่ท�ำ ให้กรุงศรีอยุธยา เติบโตรุ่งเรือง เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.