Scholar Award

Page 1

มูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ ่น มาลากุล ในพระราชูปถัมภ์

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในการพระราชทานรางวัล ศาสตรเมธี ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๖



สารบัญ

หน้า

คำนำ

พระราโชวาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

6

ประวัติความเป็นมาของรางวัลศาสตรเมธี (สาด-ตะ-ระ-เม-ที)

9

ประกาศมูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

รางวัลศาสตรเมธีประจำปีพุทธศักราช 2555

- พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต)

11

- พระพรหมจริยาจารย์

12

- พระราชญาณกวี

16

- พระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ)

19

- พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ)

21

- พระครูพิพิธประชานาถ

22

- รองศาสตราจารย์ โกวิทย์ ขันธศิริ

25

- ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ

29

- นางมุกดา (จิราธิวัฒน์) เอื้อวัฒนะสกุล

31

- นายกว้าง รอบคอบ

34

10



คำนำ

เนื่องในปี พ.ศ. 2555 เป็นปีฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี และเป็นปีมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ 80 พรรษา เป็นปีครบชาตกาล 109 ปีของศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล มูลนิธิศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี ได้ดำเนินการสรรหานักวิชาการผู้ได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมที่สมควรได้รับการยกย่องเป็น นักปราชญ์ เพื่อรับพระราชทานรางวัลศาสตรเมธี ปี 2555 ตามระเบียบมูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น

มาลากุล ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่าด้วยรางวัลศาสตรเมธี คณะกรรมการบริหารมูลนิธิ เห็นสมควรยกย่องบุคคล 10 ท่าน เป็นผู้รับรางวัลศาสตรเมธี ปี 2555 มูลนิธิ มีความภูมิใจและขอแสดงความยินดีแก่ศาสตรเมธี ทั้ง 10 ท่านเป็นอย่างยิ่ง มู ล นิ ธิ ได้ จั ด พิ ม พ์ ห นั ง สื อ ที่ ร ะลึ ก รางวั ล ศาสตรเมธี ปี 2555 เพื่ อ ประกาศเกี ย รติ คุ ณ ศาสตรเมธี ทั้ ง

10 ท่านและเพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ได้ปฏิบัติ

พระราชกรณียกิจอันเป็นคุณอนันต์แก่ประเทศชาติตลอดมา ขอให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน (รองศาสตราจารย์ชม ภูมิภาค) ประธานมูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระราชูปถัมถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี



พระราโชวาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ อาคารกีฬา ๑ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก วันศุกร์ที่ ๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๒



ประวัติความเป็นมาของ รางวัลศาสตรเมธี (สาด-ตะ-ระ-เม-ที)

เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 เนื่องในพระราชวโรกาสครบรอบ 120 ปี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า

เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงเป็นปราชญ์แห่งสยาม ซึ่งเป็นวาระ เดียวกันที่ศาสตราจารย์หม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล ได้รับเกียรติประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวั ฒ นธรรมแห่งสหประชาชาติ [ ยูเนสโก ] (United Nations Educational Scientific and Cultural Organization – UNESCO) ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นระดับโลก สาขาการศึกษาวัฒนธรรม วรรณกรรมและการ สื่อสาร และได้รับการประกาศให้เป็นครูโลก ซึ่งนับเป็นครูโลกคนแรกของประเทศไทย จากเหตุผลดังกล่าว

คณะกรรมการมูลนิธิฯ จึงมีมติเห็นควรตั้งรางวัลศาสตรเมธี เพื่อเป็นเกียรติกับศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล และเป็นการยกย่องบุคคลที่ทำความดีเพื่อสังคมสืบไป จึงมีการจัดตั้งกรรมการฯ เพื่อพิจารณาสรรหา

ผู้สมควรได้รับรางวัลปราชญ์ทางวิชาการหรือรางวัลศาสตรเมธี 9 สาขา ได้แก่ 1. สาขามนุษยศาสตร์ 2. สาขาสังคมศาสตร์ 3. สาขาศึกษาศาสตร์ 4. สาขาศิลปกรรมศาสตร์ 5. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6. สาขาคหกรรมศาสตร์ 7. สาขากีฬาและนันทนาการ 8. สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 9. สาขาธุรกิจ เพื่อให้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรียบเรียงโดย : ดร.พูลศรี เวศย์อุฬาร

9


10


รางวัลศาสตรเมธี ประจำปีพุทธศักราช 2555

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) วัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม

“ผู้มีจิตใจเป็นอิสระรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหาอุปทานเท่านั้น จึงจะรู้ว่าอะไร เป็นความเสื่อม อะไรเป็นความเจริญที่แท้จริง มิใช่เพียง ความเจริญที่อ้างสำหรับมาผูกรัดตัวเอง และผู้อื่นให้เป็น ทาสมากยิ่งขึ้น หรือ ถ่วงให้จมต่ำลงไปอีก จึงจะสามารถ ใช้ประโยชน์จากความเจริญที่สร้างขึ้นพร้อมกับสามารถ ทำตนเป็นที่พึ่งแก่คนอื่นได้เป็น อย่างดี” นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร กำเนิด 12 ม.ค. 2481 สถานที่เกิด อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2504 ในฐานะ นาคหลวง สมณศักดิ์ พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านจบการศึกษาทางโลกในระดับมัธยมศึกษา โดยได้รับทุนเรียนดีของกระทรวงศึกษาธิการ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. 2494 สอบได้นักธรรมชั้น ตรี โท เอก และเปรียญธรรม 3 ถึง 9 ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร จึงได้รับพระราชทาน

พระบรมราชานุเคราะห์ ให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในฐานะนาคหลวง ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งน้อยคนนัก ที่จะได้ รับโอกาสเช่นนี้ เมื่อจบการศึกษาขั้นปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ สอบได้วิชาชุดครู พ.ม. ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งท่านได้สร้างความเจริญ ให้แก่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั้งด้านบริหาร และวิชาการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ การพัฒนาหลักสูตรที่เน้นบทบาท และภาวะสังคมที่เพิ่มขึ้น ของสงฆ์ รวมทั้งสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนไว้ในหลักสูตร ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดพระพิเรนทร์ ในปีพ.ศ.2515 ถึง พ.ศ.2519 จากนั้นจึงได้มาดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม ท่านได้อุทิศตนให้กับการเผยแพร่พระศาสนา ทั้งด้านการบรรยาย ทางวิชาการ การแสดงพระธรรมเทศนา ตลอดจนงาน ด้านนิพนธ์ เอกสารวิชาการ และตำราต่าง ๆ จำนวนมาก ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ หนังสือ “พุทธธรรม” ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “มรดกธรรมอันล้ำค่าแห่งยุค” ที่ควรค่าแก่การศึกษาอย่างยิ่ง นอกจากงานด้านนิพนธ์แล้ว ท่านยังได้รับการอาราธนาให้เป็นผู้แสดงปาฐกถาในการประชุม นานาชาติขององค์กรระดับ โลกต่าง ๆ หลายครั้ง อีกทั้งยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติต่างๆ มากมาย อาทิเช่น รางวัล “สังข์เงิน” สาขาเผยแพร่พระพุทธศาสนา ปีพ.ศ.2533 รางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพปีพ.ศ.2537 จากยูเนสโก นับเป็นคนไทยคนแรก ที่ได้รับเกียรติให้รับรางวัลนี้ ซึ่งนับ เป็นการสร้างเกียรติประวัติ และชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยอย่างมาก ท่านดำรงชีวิตแบบ เรียบง่าย มีวัตรปฏิบัติที่อ่อนน้อมถ่อมตน ให้ความสำคัญ และความสนใจแก่ผู้ที่เข้าพบโดยไม่เลือก ชาติ ศาสนา ผิวพรรณ และเพศ เป็นพระสงฆ์ที่ทำคุณประโยชน์ต่อวงการพระพุทธศาสนา และสังคมของมวลมนุษย์อย่างหาที่ เปรียบได้ยาก

11


รางวัลศาสตรเมธี ประจำปีพุทธศักราช 2555

พระพรหมจริยาจารย์

(สงัด ปัญญาวุธะมหาเถระ) เจ้าคณะใหญ่หนใต้ และเจ้าอาวาสวัดกะพังสุรินทร์ พระอารามหลวง จังหวัดตรัง ชาติกำเนิด พระพรหมจริยาจารย์ ฉายา ปัญฺญาวุโธ อายุ ๘๔ พรรษา ๖๕ วิทยฐานะนักธรรมเอกเปรียญธรรม ๗ ประโยค

วัดกะพังสุรินทร์ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง สถานะเดิม ชื่อ สงัด นามสกุล ลิ่มไทย เกิดวันพฤหัสบดี ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๒๗ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑ บิดาชื่อ นายเปลี่ยน ลิ่มไทย มารดาชื่อ นางทองอ่อน ลิ่มไทย เกิด ณ บ้านเลขที่ ๑๕๕ หมู่ที่ ๒ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง l สู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ พระพรหมจริยาจารย์ได้เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์โดยการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันเสาร์ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๑๔ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ณ วัดมงคลสถาน ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ซึ่งขณะนั้นอายุได้ ๑๔ ปี โดยมี พระครูวิบูลศีลวัตร วัดนิคมประทีป ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุ ๒๐ ปีพระเดชพระคุณ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันพุธ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๑๔ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ณ วัดจอมไตร ตำบล

นาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โดยมีพระครูสังวรโกวิท วัดจอมไตร ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เป็น พระอุปัชฌาย์ พระครูพิบูลธรรมสาร วัดควนวิเศษ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมี พระผุด มหาวีโร วัดจอมไตร ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ l วุฒิการศึกษาและปริญญา ตั้งแต่วัยเด็ก พระเดชพระคุณ พระพรหมจริยาจารย์ ได้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนเพาะปัญญา อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ และสอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษาวัดควนวิเศษ สำนักเรียนคณะ จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ และสอบได้เปรียญธรรม ๗ ประโยค จากสำนักศาสนศึกษาวัดคูหาสวรรค์ สำนักเรียนคณะ จังหวัดพัทลุง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ อีกทั้งยังสอบได้วิชาชุดครูพิเศษมูล และยังมีความชำนาญในการสอบบาลี และมีความชำนาญ ในด้านการทำบัญชีอีกด้วย และจากการที่พระเดชพระคุณมีความชำนาญในกิจการต่างๆ เหล่านี้ จึงส่งผลให้สถาบันการศึกษา ต่างๆ ได้ถวายปริญญาบัตรให้แก่พระเดชพระคุณหลายสถาบันด้วยกัน ดังนี้ เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๐ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ตถวาย ปริญญาครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ถวายปริญญาศิลปศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์และปี พ.ศ. ๒๕๕๓ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา วิชาปรัชญา เป็นต้น l การบริหารการปกครองคณะสงฆ์ จากการที่พระเดชพระคุณ พระพรหมจริยาจารย์ มีลักษณะของความเป็นผู้นำ และเป็นนักปกครองที่ดี จึงได้รับความไว้ วางใจจากคณะสงฆ์ให้ดำรงตำแหน่งทางการบริหารคณะสงฆ์ ให้ดำรงตำแหน่งทางการบริหารการปกครองคณะสงฆ์โดยลำดับคือ พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดกะพังสุรินทร์ พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นเจ้าคณะตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง l

12


พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นเจ้าคณะจังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นรองเจ้าคณะภาค ๑๘ พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นเจ้าคณะภาค ๑๘ พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดกะพังสุรินทร์ พระอารามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นเจ้าอาวาสวัดกะพังสุรินทร์ พระอารามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่หนใต้ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นเจ้าคณะใหญ่หนใต้ อีกทั้งพระเดชพระคุณยังได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องที่มหาเถรสมาคมมอบหมาย (มติ ม.ส. ที่ ๒๘๕/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘) ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงานตามแผนพัฒนากิจการ พระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คำสั่ง พ.ศ.ที่ ๑๖๖/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘) เป็นคณะที่ปรึกษา ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (มติ ม.ส. ที่ ๒๕๙/๕๔๗ ) ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นประธานคณะกรรมการ สงฆ์ ค วบคุ ม และส่ งเสริมกิจกรรมพระพุทธศาสนา ระหว่ า ง ไทย-มาลาเซี ย (ก.ส.ทม.) และเป็ น อนุ ก รรมการป้ อ งกันและ ปราบปรามยาเสพติด จังหวัดตรัง (ปป.ส.จ.) l การส่งเสริมการศึกษาของคณะสงฆ์ ในส่วนของงานด้านการศึกษา ถือได้ว่าพระเดชพระคุณ พระพรหมจริยาจารย์ เป็นผู้ที่อุทิศตนเพื่อการศึกษาของ

คณะสงฆ์อย่างแท้จริง ซึ่งพระเดชพระคุณ ได้เริ่มเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักศาสนศึกษา วัดคูหาสวรรค์ ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ และเมื่อย้ายมาจำพรรษาที่วัดกะพังสุรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ก็ได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม สำนัก ศาสนศึกษาวัดกะพังสุรินทร์ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นครูสอนพิเศษ สอนภาษาบาลีแก่นักเรียนเตรียมอักษรศาสตร์ โรงเรียนวิเชียรมาตุ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัด ตรัง และเมื่อดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ก็ได้เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดกะพังสุรินทร์ ตำบลทับเที่ยง อำเภอ เมือง จังหวัดตรัง ไปพร้อมกัน และยังได้รับการแต่งตั้ง เป็นกรรมการฝ่ายการศึกษาของมหาเถรสมาคม คำสั่งที่ ๓/๒๕๕๐ ในปี

พ.ศ. ๒๕๔๐ อีกด้วย l การสงเคราะห์ทุนการศึกษา ในงานด้านการศึกษาสงเคราะห์ พระเดชพระคุณพระพรหมจริยาจารย์ ได้ตั้งทุนการศึกษาไว้ ๒ ระดับ คือ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้ตั้งทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นประถมศึกษาวัดกะพังสุรินทร์ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง โดยนำเงินฝาก ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาตรัง ประเภท ฝากประจำ ชื่อบัญชี ทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นประถมศึกษา เลขที่บัญชี

๐๓๐-๒-๐๔๐๐๐-๔ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้ตั้งทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นอุดมศึกษาวัดกะพังสุรินทร์ ตำบลทับเที่ยง อำเภอ เมืองตรัง จังหวัดตรัง โดยนำเงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาตรัง ประเภทฝากประจำ ชื่อบัญชี ทุนสงเคราะห์นักเรียน ชั้ น อุ ด มศึ ก ษา เลขที่ บั ญ ชี ๐๓๐-๒-๐๕๒๐๒-๗ โดยในระยะเวลาตั้ ง แต่ ตั้ ง ทุ น สงเคราะห์ นั ก เรี ย นทั้ ง ๒ บั ญ ชี ขึ้ น มา พระเดชพระคุณก็ได้บริจาคทรัพย์ส่วนตัวเพื่อเพิ่มทุนสงเคราะห์ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการสงเคราะห์นักเรียนใน ด้านการศึกษาอย่างเต็มที่ โดยได้แจกทุนการศึกษาแก่นักเรียนทั้งระดับชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษาเป็นประจำทุกปี l การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในส่วนของงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระเดชพระคุณพระพรหมจริยาจรรย์ ได้ดำรงตำแหน่งที่เกี่ยวข้องงาน การเผยแพร่พระพุทธศาสนา ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นพระคณาธิการองค์การเผยแพร่จังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นพระธรรมทูตจังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นผู้ตรวจการงานพระธรรมทูตภาคใต้ มีหน้าที่ออกตรวจการงาน พระธรรมทูตในเขตสายที่ ๘ และสายที่ ๙

13


ในวัดกะพังสุรินทร์เองก็มีการแสดงพระธรรมเทศนา ทำวัตรสวดมนต์ ทุกวันธรรมสวนะตลอดทั้งปี ในวันสำคัญทาง พระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา เป็นต้น ก็มีการประกอบพีธีทางศาสนา มีผู้มาร่วมประชุม

ทำพิธี พระภิกษุ สามเณร ประมาณ ๕๐ รูป ประชาชนประมาณ ๕๐๐ คน เป็นประจำทุกปี มีการอบรมพระภิกษุสามเณร ใน ฐานะเจ้าอาวาส มีการอบรมพระภิกษุสามเณรทุกกึ่งเดือน โดยเฉพาะพระนวกะในพรรษา มีการอบรมตลอดพรรษา และ หลังจากทำอุโบสถสังฆกรรมแล้ว ได้ให้สามเณรต่อศีลและรับฟังโอวาทมีการอบรมศีลธรรมให้แก่ประชาชน ทุกวันธรรมสวนะ มีการอบรมศีลธรรมให้แก่นักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) ในวันที่ทางโรงเรียนจัดกิจกรรมพิเศษ เช่น วันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปี อีกทั้งได้ให้ความสะดวกแก่นักเรียนโรงเรียนต่างๆ จัดพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ มีกิจกรรมเกี่ยวกับ การเผยแผ่ คือ ให้ความร่วมมือกับคณะสงฆ์ในการเผยแพร่ศีลธรรมและจริยธรรมในที่ต่างๆ คือ โรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดตรัง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดตรัง สถานีวิทยุ ว.ป.ถ. ๑๗ จังหวัดตรัง สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง ๑๑ จังหวัดตรัง ได้ให้ความร่วมมือกับทางราชการในการเผยแพร่ศีลธรรมและจริยธรรม เช่น ให้ทางราชการจัดประกวดสวดมนต์หมู่ ทำนองสรภัญญะ เนือ่ งในเทศกาลวันวิสาขบูชา ณ วัดกะพังสุรนิ ทร์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นประจำทุกปี ได้ให้ความสะดวก แก่โรงพยาบาลศูนย์ตรัง ออกหน่วยพยาบาลเคลื่อนที่ รักษาพยาบาลแก่ผู้สูงอายุและประชาชนโดยทั่วไป ณ วัดกะพังสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นประจำทุกเดือน l การก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ งานสาธารณูปการงานก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด พระเดชพระคุณ พระพรหมจริยาจารย์ ได้ดำเนินการก่อสร้าง และบูรณะปฏิสังขรณ์มาเป็นลำดับ ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เป็นต้นมา โดยเมื่อเป็นเจ้าอาวาสได้ดำเนินการให้สำนักงาน ที่ดินออกโฉนดที่ดินให้กับวัดกะพังสุรินทร์ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้ดำเนินการก่อสร้าง

หอสมุด จำนวน ๑ หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐ ถือปูน เป็นอาคาร ๔ ชั้น กว้าง ๑๒.๔๐ เมตร ยาว ๑๒.๕๐ เมตร และดำเนินการก่อสร้างโรงครัว จำนวน ๑ หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐ ถือปูน หลังคามุงกระเบื้องลอนคู่ เป็น อาคารชั้นเดียวกว้าง ๑๐.๙๐ เมตร ยาว ๒๓.๕๐ เมตร สร้างควบคู่ไปกับหอสมุด เป็นจำนวนเงิน ๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ดำเนินการก่อสร้างถนนทางเข้าวัด สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๒๑.๐๕ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๑๒๗,๕๐๐.๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ดำเนินการก่อสร้างพื้นซีเมนต์บริเวณลานวัด เนื้อที่ ๘๑๑.๗๗ ตารางเมตร เป็นจำนวน เงิน ๑๑๔,๐๓๔.๓๐ บาท พ.ศ. ๒๕๔๒ ดำเนินการเทพื้นซีเมนต์บริเวณลานวัดต่อจากปีก่อน เนื้อที่ ๙๐๓.๗๕ ตารางเมตร เป็นจำนวนเงิน ๑๒๓,๔๒๓.๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๔๙ ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญ จำนวน ๑ หลัง สร้างด้วยคอนกรีต เสริมเหล็ก ก่ออิฐ ถือปูน เป็นอาคาร ๒ ชั้น กว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๒๘ เมตร หลังคาทรงไทยพื้นปูด้วยหินแกรนิต หน้าบรรณมี สัญลักษณ์เป็นพัดยศชั้นธรรม เสามีลายไทย มีห้องน้ำ ๒ ห้อง รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน ๑๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท ในส่วน ของการบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด ได้ดำเนินการต่างๆ คือ พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้ดำเนินการปฏิสังขรณ์โรงฉัน จำนวน ๑ หลัง ลักษณะก่ออิฐ ถือปูน ปรับพืน้ และทาสีใหม่ กว้าง ๑๐.๙๐ เมตร ยาว ๒๓.๕๐ เมตร เป็นจำนวนเงิน ๑๓๘,๓๙๗.๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๓๙ ดำเนินการปูกระเบื้องพื้นโรงฉันหลังเดิม เป็นจำนวน ๕๔,๓๒๔.๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๔๒ ดำเนินการปฏิสังขรณ์ ศาลาบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน ๑ หลัง ซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด เช่น เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา เปลี่ยนฝ้าเพดาน ก่ออิฐ ถือปูน และทาสีใหม่ทั้งหลัง กว้าง ๙.๖๐ เมตร ยาว ๑๖.๖๐ เป็นจำนวนเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท และได้มีการพัฒนาวัดต่างๆ เช่น ปรับพื้นที่บริเวณลานวัดซึ่งเดิมเป็นลานทราย เปลี่ยนเป็นลาดพื้นซีเมนต์ทั่วบริเวณ จัดให้พระภิกษุสามเณรทำความสะอาดบริเวณ วัดในวันโกนทุกครั้ง จัดให้พระภิกษุสามเณรช่วยรักษาความสะอาดที่อยู่อาศัยตลอดถึงศาสนสมบัติของวัด และเก็บสิ่งของ เครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นต้น l การสาธารณสงเคราะห์การกุศล งานสาธารณสงเคราะห์หรือกิจการงานกุศลต่างๆ พระเดชพระคุณได้ประกอบกิจกรรมต่างๆ มาโดยลำดับ เช่น พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นประธานจัดหาทุนดำเนินการก่อสร้างรูปเหมือน พระอุดมปิฏก (สอน พุทสโร ป.ธ.๙) ขนาดเท่าองค์จริง และ มณฑปหลังคาจตุรมุข เป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือน ขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๑๕ เมตร ณ วัดสุนทราวาส อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เพื่อวัตถุประสงค์ ๔ ประการ คือ ประการแรก เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ประการที่สอง เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการที่ท่านเป็นผู้มีความสามารถสอบบาลี ได้เปรียญ ๙ ประโยค เป็นรูปแรกของจังหวัดพัทลุง และของภาคใต้ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประการที่สาม เพื่อยกย่อง

14


เชิดชูแห่งความเป็นปราชญ์และอัจฉริยะ ที่ท่านเคยแสดงออกต่อหน้าพระที่นั่งพระเจ้าแผ่นดิน จนเลื่องลือมาจนถึงปัจจุบัน และ ประการสุดท้าย เพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชาของชนรุ่นหลังอย่างภาคภูมิใจ โดยรวมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เป็นเงินทั้งสิ้น

๑,๕๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นประธานมูลนิธิผู้มีพระคุณ ด้วยการนำเงินที่เหลือจากการก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลสิเกา มาจัดตั้งเป็นมูลนิธิ โดยความเห็นชอบของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรผู้อาพาธที่เข้ารับการรักษา พยาบาลที่โรงพยาบาลสิเกา และส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณรในจังหวัดตรัง เป็นต้น นอกจากการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในงานด้านพระศาสนาแล้ว พระเดชพระคุณ พระพรหมจริยาจารย์ ยังได้ปฏิบัติหน้าที่ ในด้านอื่นๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานทางด้านการศึกษา เช่น พ.ศ. ๒๕๑๓ ถึงปัจจุบัน เป็นกรรมการการศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์) อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นประธานกรรมการฝ่ายกำกับมูลนิธิวัดกะพัง สุรินทร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภา วิทยาเขตนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการศาสนา จังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นอนุกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติดจังหวัดตรัง พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ มูลนิธิ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เป็นต้น l รับพระราชทานสมณศักดิ์ นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นต้นมา พระเดชพระคุณพระพรหมจริยาจารย์ ในฐานะที่ดำรงตำแหน่งทางการปกครอง คือ เจ้าอาวาสวัดกะพังสุรินทร์ และดำรงตำแหน่งในทางปกครองคณะสงฆ์ ได้ปฏิบัติกิจการงานต่างๆ ในหน้าที่ ด้วยความมีเมตตา ธรรม และยึดมั่นในพระธรรมวินัยตลอดมา จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ต่างๆ เป็นลำดับ ดังนี้ คือ พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระปิฎกคุณาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชปริยัตยาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวิมลเมธี พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมรัตนากร และใน พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้น หิรัญบัฎ ที่พระพรหม-

จริยาจารย์ สุวิธานวรกิจจานุกิจ นิวิฐศีลาจารวิมล โสภณทักษิณคณาทร ตรีปิฎกวราลงกรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะเจ้าคณะรอง สถิต ณ วัดกะพังสุรินทร์ พระอารามหลวง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

15


รางวัลศาสตรเมธี ประจำปีพุทธศักราช 2555

พระราชญาณกวี

ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ๑. ชื่อ พระราชญาณกวี ฉายา ปิยวิชฺโช อายุ ๕๐ พรรษา ๒๙ ป.ธ.๙, ศน.บ., M.A. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ๒. สถานะเดิม ชื่อ สุวิทย์ นามสกุล ปิยวิชชานันท์ เกิดวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีขาล ณ บ้านเลขที่ ๖ บ้านเหล่าหลวง ต.วังทอง อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี บิดา นายสิงห์ ชะมินทร์ มารดา นางสุวรรณี ชะมินทร์ ๓. บรรพชา วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๑๖ ณ วัดอัมพวัน ต.คอนสาย อ.หนองหาน จ.อุดรธานี พระอุปัชฌาย์ พระครูประภัสสรศีลคุณ วัดอัมพวัน ต.หนองหาน จ.อุดรธานี ๔. อุปสมบท วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เวลา ๐๙.๔๔ น. ณ พัทธสีมา วัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระกรรมวาจาจารย์ พระพรหมมุนี (จุนท์ พรหมคุตโต) ขณะเป็นที่ พระอมรโมลี พระอนุสาวนาจารย์ พระราชเมธากร (ปาน ธมมสาโร) ขณะเป็นที่พระศรีธรรมวงศาจารย์ ๕. วิทยฐานะ ก. การศึกษาแผนกธรรมสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๑๙ สอบได้นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี ข. การศึกษาแผนกบาลี พ.ศ. ๒๕๓๐ สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ณ สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร ค. การศึกษาขั้นอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๐ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศาสนศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร ง. การศึกษาพิเศษ พ.ศ.๒๕๔๐ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต จาก School of Oriental and African Studies(SOAS) มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยทุนพระราชทาน ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จ. มีความชำนาญ การศึกษาและเผยแผ่ เช่น สอน, ปาฐกถา, บรรยาย , อภิปราย. ๖. งานปกครอง ๑) พ.ศ. ๒๕๓๒ – ๒๕๓๕ เป็นผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

16


๓) มีการทำอุโบสถสังฆกรรมตลอดปี มีพระภิกษุสวดพระปาฏิโมกข์ได้ ๔ รูป ๔) มีการทำวัตรสวดมนต์เช้า- เย็น ตลอดปี ๕) มีระเบียบ กติกา การปกครองวัด ตามพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์โดยสอดคล้องกับพระธรรมวินัย ๖) มีพระภิกษุ ๑๙ รูป สามเณร ๑ รูป ๗. งานการศึกษา ๑) พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๓๐ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการผู้อำนวยการสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร รับผิดชอบการศึกษา

ทั้งนักธรรม-บาลี นวกภูมิ ภายในสำนักเรียน ๒) พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจบาลีสนามหลวง ๓) พ.ศ. รับผิดชอบการอบรมพิเศษ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ๑. การอบรมนวกภิกษุนักเรียนนายร้อย จปร. ภาคฤดูร้อน ๒. การอบรมนวกภิกษุนักเรียนนายเรืออากาศ ๓. การอบรมนวกภิกษุนักเรียนนายร้อยตำรวจ ภาคฤดูร้อน ๔. การอบรมนวกภิกษุนักเรียนนายเรือ ภาคฤดูร้อน ๔) เป็นอาจารย์พิเศษ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ๕) เป็นอาจารย์บรรยายพิเศษ วิทยาลัยการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ๖) เป็นอาจารย์บรรยายวิชา “บัณฑิตอุดมคติ” จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ๗) เป็นอาจารย์บรรยายระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง ๘) เป็นอาจารย์บรรยายพิเศษ ระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๙) เป็นกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนนวมินทร์ เตรียมน้อมฯ ๑๐) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นผู้ริเริ่มและบรรยายทุกวันเรียน โครงการ “ปลูกรากแก้วของแผ่นดิน” ณ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ (บดินทร์เดชา ๓) สำหรับนักเรียนชั้น ม.๑ – ๖ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นผู้ริเริ่มและรณรงค์โครงการ “ปลูกรากแก้วศาสนทายาทสืบอายุพระบวรพุทธศาสนา” เพื่อให้ทุน

การศึกษา แก่พระภิกษุสามเณร ทั้งแผนกธรรม – บาลี – ปริยัติธรรมสายสามัญ ๑๒) ร่วมกับสภาวัฒนะธรรมเขตห้วยขวาง จัดอบรมครูสอนวิชาพระพุทธศาสนาและศีลธรรมในบริเวณใก้ลเคียง ทุก

๓ เดือน ๑๓) ในปลายปีของแต่ละปี เดินทางไปเยี่ยมเยียนพระภิกษุสามเณร และเยาวชนในชนบทในทุกภูมิภาค และมอบทุน

การศึกษาแก่นักเรียน งานพิเศษด้านการศึกษาสงเคราะห์ ในฐานะได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการการศึกษาสงเคราะห์ จากมหาเถระสมาคม ได้ริเริ่มจัดตั้งโครงการ “ปลูกรากแก้ว ศาสนาทายาท” ขึ้น เพื่อมอบทุนการศึกษาแก่ภิกษุสามเณรให้ได้รับการศึกษาตลอดหลักสูตรการศึกษา ๑๐ ปี ทั้งนักธรรม – บาลี และพระปริ ยั ติ ธ รรมแผนกสามั ญ ทั้ ง ในประเทศและต่ า งประเทศ ทรงพระกรุ ณ ารั บ กองทุ น นี้ ไว้ ใ น “มู ล นิ ธิ ชั ย พั ฒ นา”

(รายละเอียดมีเอกสารสรุปแนบมาถวายพร้อมนี้แล้ว) ๘. งานเผยแพร่ ๑) มีประกอบพิธีมาฆบูชาทุกปี มีบวรเนกขัมมะ และมีประชาชนชาวพุทธร่วมพิธีประมาณ ๒,๐๐๐ คน มีการแสดง

ปาฐกถาธรรมก่อนเวียน ๒) มีประกอบพิธีวิสาขบูชาทุกปี มีบวชเนกขัมมะ และประชาชนชาวพุทธร่วมพิธีประมาณ ๓,๐๐๐ คน มีแสดงปาฐกถา

ธรรมก่อนเวียน ๓) มีพิธีอัฐมีบูชาทุกปี มีบวชเนกขัมมะ และมีประชาชนชาวพุทธร่วมพิธีประมาณ ๓๐๐ คน ๔) มีประกอบพิธีอาสาฬหบูชาทุกปี มีบวชเนกขัมมะ และมีประชาชนชาวพุทธร่วมพิธีประมาณ ๑,๕๐๐ คน ๕) วันสำคัญทางพุทธศาสนา มีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ,ประกวดอ่านพระไตรปิฎก, การหล่อเทียนจำนำพรรษา ๖) วันสำคัญของชาติคือ ทุกวันเฉลิมพระชนมพรรษา มีกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติมีกิจกรรมเยาวชน และชุมชน บ้าน วัด

17


โรงเรียน ประกวดวาดภาพระบายสี เป็นต้น ๗) วนั สำคัญทางวัฒนธรรมประเพณี เช่น วันสงกรานต์, วันลอยกระทง, วันขึน้ ปีใหม่ มีพธิ สี ง่ เสริมและอนุรกั ษ์วฒ ั นธรรม

แบบโบราณ ๘) มีการส่งพระภิกษุไปสอนหนังสือแก่เยาวชนในโรงเรียนต่างๆ เป็นประจำทุกวัน ๙) ร่วมกับสภาวัฒนธรรม โรงเรียนและชุมชน มีโครงการ ข้าวก้นบาตร, และเข้าวัดฟังธรรมวันพระ ๑๐) มีการแสดงธรรมทุกวันธรรมสวนะ ๑๑) มี ก ารศึ ก ษาสงเคราะห์ ให้ ทุ ก นการศึ ก ษาประจำปี แก่ เ ยาวชนในชุ ม ชนและบำรุ ง องค์ ก รเอกชนใกล้ เ คี ย ง เช่ น

ศูนย์แพทย์พัฒนา ๑๒) ร่วมกับคณะทันตแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ออกหน่วยรักษาฟันแก่ประชาชน ทุกปีๆ ละ ๑ ครั้ง เนื่องใน

วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๑๓) ร่วมกับคณะสงฆ์ จัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลืออุทกภัยเป็นประจำทุกปี ๑๔) จัดรายการวิทยุ ๓ รายการ คือ ๑. ธรรมะร่วมสมัย ๒. อาหารกาย – อาหารใจ ๓. มองโลกมองธรรมและช่อง ๙

รายการอยู่เย็นเป็นสุข ๑๕) แต่งหนังสือธรรมะสำหรับเยาวชน เพื่อรณรงค์งานปลูกรากแก้วของแผ่นดิน และในปีพ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับพระราชทาน

รางวัลเสมาธรรมจักรเนื่องในสัปดาห์ ส่งเสริมพระพุทธศาสนา วันวิสาขบูชา สาขาแต่งหนังสือ ทางพระพุทธศาสนา

สำหรับเยาวชน ๑๖) จัดทำวีซีดี ซีดี เทป และเอกสาร เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านการต่างประเทศ ๑๗) จัดสร้างพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก ๖๐ นิ้ว ปางแสดงปฐมเทศนา มอบให้แก่ชาวพุทธอังกฤษประดิษฐานที่ศูนย์

พระพุทธศาสนา เมืองเวลส์ เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช เนื่องในวโรกาสครบ ๑๐๐ ปี

ที่ทรงพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ ๑๘) นำกุลบุตรชาวอังกฤษเข้ามารับการศึกษาและอบรม รวมทั้งอุปสมบทเป็นพระภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา ๑๙) เป็นองค์ปาฐก แสดงธรรมแก่ชาวต่างประเทศ ๒๐) ร่วมกับคณะสงฆ์ และศรัทธาสาธุชน เดินทางไปเยี่ยม และอุปถัมภ์การบรรพชาอุปสมบทแก่พระภิกษุ สามเณรใน

ประเทศลาว และเยี่ยมเยียนประเทศเพื่อนบ้านคือ เขมร ๒๑) แต่งหนังสือทางพุทธศาสนา ภาษาอังกฤษ สำหรับชาวต่างประเทศ ๙. งานสาธารณูปการ ๑) พ.ศ. ๒๕๓๒ – ๒๕๓๕ เป็นกรรมการการจัดหาทุนสร้างตึก ศัลยกรรมโรงพยาบาลศูนย์จังหวัดอุดรธานี เป็นเงิน ๑๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ สร้างอาคารโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ราคา ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ๑๐. สมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระศรีญาณโสภณ” พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ “พระราชญาณกวี”

18


รางวัลศาสตรเมธี ประจำปีพุทธศักราช 2555

พระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ) เกิดวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2492 ปีฉลู บิดา นายเปล่ง จั่นเพชร - มารดา นางสำเภา จั่นเพชร ภูมิลำเนา อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี การศึกษา พ.ศ. 2500 เข้ารับการศึกษา ที่โรงเรียนสังวรพิมลไพบูลย์ พ.ศ. 2513 อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดสังวรพิมลไพบูลย์ พ.ศ. 2514 จบนักธรรมตรี ที่วัดอัมพวัน จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2515 จบนักธรรมโท ที่วัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ 2516 จบนักธรรมเอกที่วัดบางอ้อยช้าง จังหวัด นนทบุรี ชีวิตในวัยเด็ก พระพยอมเกิดในครอบครัวที่ยากจน การใช้ชีวิตจึงไม่เหมือนกับเด็กทั่วไป ในวันที่โรงเรียนหยุดหรือช่วงเย็นหลังจากเลิก เรียนเด็กชายพยอมจะออกหางานพิเศษรับจ้างดายหญ้าตามร่องสวน บางครั้งรับจ้างขึ้นต้นหมาก และเก็บมะพร้าวหล่น ด้วยการมีไหวพริบฉลาดเฉลียว ทำให้เด็ก ชายพยอมคิดวิธีขึ้นต้นหมากวิธีลัด คือ ขึ้นต้นหนึ่งเสร็จแล้ว จะโหนยอดหมากไปอีกต้นหนึ่ง โดยไม่ ต้องลงและขึ้นทุกต้น ทำให้ได้รับค่าแรงเพิ่ม ขึ้นกว่าปกติ ที่เด็กวัยเดียวกันทำได้ ในสมัยนั้นจะได้รับค่าจ้างต้นละ 3 - 5 บาท แต่เด็กชายพยอมก็มิได้เกี่ยงงานประการใด เพียงขอให้ได้รับค่าตอบแทนที่ยุติธรรม และให้สิ่งที่ได้มานั้นโดยชอบธรรมงานดายหญ้าบริเวณร่อง สวน ที่เด็กชายพยอมรับจ้างนั้น จะได้รับค่าจ้างวันละ 20-30 บาท ความขยันขันแข็ง ความมีน้ำใจ ทำให้ชาวบ้านรักและสงสาร และมอบงานพิเศษให้ทำอยู่เสมอ วัยหนุ่ม พระพยอมไม่เคยใช้ชีวิตวัยหนุ่มเยี่ยงชายหนุ่มทั่วไป ท่านใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาโดยสุจริต ด้วย ความประหยัด มัธยัสถ์ เพื่อนๆ ของท่านจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าตามยุคสมัย แต่ท่านยังคงสวม เสื้อยืด กล้าม กางเกงแบบชาวสวนทั่วไปส่วนเรื่องเพศตรงข้าม ท่านเป็นที่สนใจแก่ผู้หญิงทั่วไป แต่ท่านก็ยังคง ยึดมั่นในการประกอบอาชีพทำมาหากิน โดยไม่ได้ให้ความสนใจแก่ผู้ใดเป็นพิเศษ พระดีศรีสังคม วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2492 เด็กชายคนหนึ่งที่ถือกำเนิดจากแม่สำเภา จั่นเพชร แม่ที่ยากจน แต่มีความรักลูกสุดประมาณ จากวันนั้น...จนถึง...วันนี้ เด็กยากจนนั้น คือ...พระนักเทศน์ผู้มีคุณภาพ

พระดีศรีสังคม พ่อพระของผู้ยากจน พระผู้ร่ำรวยงาน แต่ยากจนเวลาพระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ) มูลนิธิสวนแก้ว ในปี 2529 พระพยอม กัลยาโณ จัดตั้ง มูลนิธิสวนแก้วเพื่อช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ ให้แก่เพื่อนมนุษย์โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา และสัญชาติ กิจกรรมของมูลนิธิสวนแก้ว มี 18 โครงการ ประกาศเกียรติคุณ และรางวัล พ.ศ. 2528 o รางวัลสังข์เงิน สาขาใช้ศิลปะในการเผยแพร่จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย พ.ศ 2531 o โล่โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จากกรุงเทพมหานคร พ.ศ 2535 o โล่เกียรติคุณบารมี “พระผู้มีคุณต่อแผ่นดินและสังคม” จากสมเด็จพระสังฆราชฯ o โล่โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน พ.ศ. 2536 o โล่บุคคลดีเด่นแห่งวงการศึกษาของชาติ สาขาการศึกษานอกระบบจากสมาคมศึกษานิเทศแห่งประเทศไทย

19


o โล่ผลงานดีเด่นด้านวิชาภาษาไทย จากกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2537 o ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสน์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย o ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) พ.ศ. 2538 o รางวัลเหรียญอนามัยโลก การรณรงค์เลิกบุหรี่ จากองค์การอนามัยโลก o รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาค ลำดับที่ 3 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย o รางวัลโล่ผู้สนับสนุนกรมประชาสงเคราะห์ดีเด่นปี 2538 จากนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี o รางวัลชมเชยที่ 3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคม สำหรับเอเชียแปซิฟิก

(เอสแคป) ประจำปี พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2539 o รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาค ลำดับที่ 2 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย o โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้ร่วมรณรงค์สร้างสรรค์สังคมปลอดบุหรี่” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรม-

ราชกุมารี พ.ศ. 2540 o เกียรติบตั รยกย่องเชิดชูเกียรติในด้าน “อภิปรายถ่ายทอดเสียงวิชาการทางพุทธศาสนา” จากสมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก o ประกาศนียบัตรทองคำเชิดชูเกียรติ “พระดีศรีสังคม” จากสมาคมสื่อมวลชนส่วนภูมิภาค (ประเทศไทย) o โล่ประกาศเกียรติคุณ “นักสุขศึกษาดีเด่นแห่งชาติ สาขาสื่อมวลชน” จากกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2541 o ได้รับการคัดเลือกเป็น อุทยานการศึกษาในวัดประจำปี 2541 จากกรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ o รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาคที่ 1 ลำดับที่ 1 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย o ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ เพื่อพัฒนาชุมชน จากสภามหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์ o ปริญญานิเทศศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล พ.ศ. 2542 o “เสาเสมาธรรมจักร” ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา o รางวัลชมเชย ผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง “เรียนผูกเรียนแก้” จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวง

ศึกษาธิการ พ.ศ. 2543 o รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาคที่ 1 ลำดับที่ 1 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย o โล่รางวัล “มหิดลวรานุสรณ์” จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ พ.ศ. 2544 o โล่เกียรติคุณ “ผู้สนับสนุนงานกรมประชาสงเคราะห์ดีเด่น ประจำปี 2544” จากพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

นายกรัฐมนตรี o โล่เกียรติรางวัลอาสาสมัครดีเด่นพิเศษ ปี 2544 จากผู้ว่าราชราชการจังหวัดนนทบุรี o รางวัลมูลนิธิภาคดีเด่น ประจำปี 2543-2544 ลำดับที่ 1 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย ใน

พระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2545 o โล่รางวัลสนับสนุนโครงการการจัดการสิ่งปฏิกูลตามแนวพระราชดำริ จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข o รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาคที่ 1 ลำดับที่ 1 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ o เกียรติบัตรยกย่องเป็นครูภูมิปัญญาไทย ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี จากสำนักงานคณะกรรมการ

การศึกษาแห่งชาติ o โล่รางวัลอาสาสมัครดีเด่น จากนายอนุรก ั ษ์ จุรมี าศ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ o โล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรดีเด่นที่ให้การสนับสนุนคนพิการ จากรองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ ฉายแสง พ.ศ. 2546 o โล่รางวัล PCD Awards 2002 ด้านบุคคลดีเด่นด้านการจัดการขยะมูลฝอย จากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวง

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม o ปริญญาพุทธศาสตร์ดษ ุ ฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย o เกียรติบัตรสาขาการอภิปรายถ่ายทอดเสียง วิชาการทางพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหา-

สังฆปริณายก o เกียรติยศผู้มีส่วนร่วมถวายความจงรักภักดีในการจัดงาน 5 ธันวามหาราชและงาน12 สิงหาราชินีนาถ จาก

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ o โล่เกียรติยศบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน จากพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา o รางวั ล พระภิ ก ษุ ผู้ อุ ทิ ศ ตนในการป้ อ งกั น และต่ อ ต้ า นยาเสพติ ด จากพระเจ้ า วรวงศ์ เ ธอพระองค์ เจ้ า โสมสวลี

พระวรราชาทินัดดามาตุ

20


รางวัลศาสตรเมธี ประจำปีพุทธศักราช 2555

พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ)

ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร สมณศักดิ์ เกิด บรรพชา (บวชเณร) อุปสมบท (บวชพระ) การศึกษา หน้าที่การงาน งานเผยแพร่ งานเขียน อดีตดำรงสมณศักดิ์ ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ อนาคต

พระราชวิจิตรปฏิภาณ วันอังคารที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐ ตำบลชายนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑ วัดเจ้าเจ็ดนอก อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระครูเขมาภิรัต เป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะมีอายุ ๑๑ ปี วันที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ วัดสุทัศนเทพวราราม แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ พระเดชพระคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนทสิริมหเถร) ขณะมีอายุ ๒๑ ปี - นักธรรมชั้นเอก - เปรียญธรรม ๕ ประโยค - มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย - ปริ ญ ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต กิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ สาขาธรรมนิ เ ทศ มหาวิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณ์ ร าชวิ ท ยาลั ย

๒๕๕๔ - เป็นเลขานุการเจ้าคณะภาค ๔ ตั้งแต่ ปี ๒๕๒๒ - เป็นเลขานุการเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม - เป็นประธานก่อตั้งโครงการเปิดพระอารามภาคกลางวัน – คืน วัดสุทัศนเทพวราราม - เป็นประธานก่อตั้งศูนย์ท่องเที่ยว วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหนคร - เป็นประธานก่อตั้งโครงการร่มโพธิ์ (โครงการส่งพระนิสิตไปสอนหนังสือตามสถาบันการศึกษา) - เป็นนักบรรยายธรรมในรายการลีลาชีวิต,ธรรมรส-ธรรมรัฐ ทางสถานีโทรทัศน์ NBT (ช่อง ๑๑)

กรมประชาสัมพันธ์,รายการพุทธิธรรมนำทาง สถานีโทรทัศน์ช่อง ๙ และ GLOBAL NETWORK - เป็นนักเทศน์, นักปาฐกถา, นักอภิปราย - เป็นคอลัมน์นิสต์ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ, คม-ชัด-ลึก - เป็นนักเขียนบท และเป็นที่ปรึกษาเขียนบทโทรทัศน์ - พระพิพิธธรรมสุนทร - พระราชวิจิตรปฏิภาณ - ไม่แน่นอน

21


รางวัลศาสตรเมธี ประจำปีพุทธศักราช 2555

พระครูพิพิธประชานาถ ประวัติชีวิตหลวงพ่อนาถ พระครูพิพิธประชานาถ (ฉายาสุทธสีโล) นามเดิม นาน สีชมพู เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๗๒ ที่บ้านเลขที่ ๒๔

บ้านเตรี๊ยะใต้ ตำบลตะพานลาว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรนายบัว นางจุม สีชมพู มีพี่น้องร่วมบิดามารดา

๘ คน เป็นชาย ๖ คน หญิง ๒ คน พระครูพิพิธประชานาถ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาภูมิปัญญาชาวบ้านการผลิตและการบริโภค เป็น

พระภิกษุที่มีความคิดก้าวหน้าพยายามหาทางดับทุกข์ของชาวบ้านที่มีแต่ความยากจนทุกข์ยากเดือนร้อน อันเนื่องมาจากความ แห้งแล้งของสภาพดินฟ้าอากาศฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านไม่มีทุนในการประกอบอาชีพจึงเป็นหนี้เป็นสิน ต้องชำระค่า ดอกเบี้ยสูงมาก เมื่อพระครูพิพิธประชานาถได้สำรวจพบว่าชาวบ้านกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงถึงขั้นที่เรียกได้ ว่า “คนทำนาแต่ไม่มีข้าวกิน” ท่านจึงคิดหาวิถีทางที่จะทำลายจุดสำคัญของ “วงจรหนี้สิน” เหล่านี้ให้หมดไปโดยเริ่มให้ชาวบ้าน ฝึกสมาธิ พิจารณาตนเองและให้ลดละเลิกอบายมุขที่เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์และได้จัดตั้งโครงการ สหบาลข้าว ขึ้นจนประสบผล สำเร็จทำให้ประชาชนที่อยู่จังหวัดใกล้เคียงมาขอร้องและนิมนต์ท่านไปช่วยจัดตั้งโครงการเช่นเดียวกันนี้ในหลายจังหวัดวิธีการนี้ เป็นการปลุกสำนึกให้ชาวบ้านได้ตระหนักถึงการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันด้วยวิธีการพึ่งพาตนเองเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ต่อมา ท่านได้ปรับประยุกต์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้เป็นแกนนำในการระดมทุนแช่น บุญเทศน์มหาชาติ บุญเข้าพรรษา บุญ ทอดผ้าป่า ฯลฯ โดยมีวัดเป็นศูนย์รวม ต่อมาจึงได้จัดตั้ง “สหบาลคน” เพื่อเป็นการรวมพลังชาวบ้านในการ “ทำนากระชับมิตร” ที่ได้ผลดียิ่ง พระครูพิพิธประชานาถ เป็นพระสงฆ์ผู้ทรงศีลที่มีปรัชญาในการบริหารงานบุคคลได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งท่านเป็นแกนนำ ชี้แนะแนวทางโดยยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์กับแนวคิดที่เป็นภูมิปัญญาของท่านจนประสบผลสำเร็จ ชาวบ้าน และนักวิชาการต่างขนานนามท่านว่า พระนักพัฒนา พระครูพิพิธประชานาถ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่น ทางด้านวัฒนธรรม สาขาภูมิปัญญาชาวบ้าน (การผลิตและการบริโภค) ประจำปี 2536 จากสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ การศึกษา ๑. การศึกษาสามัญ พ.ศ. ๒๕๘๕ สำเร็จการศึกษาขั้นประถมปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดสามัคคี ๒. การศึกษาปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๔๙๒ สอบได้นักธรรมชั้นตรีศึกษาด้วยตนเอง พ.ศ. ๒๔๙๔ สอบได้นักธรรมชั้นโทศึกษาด้วยตนเอง พ.ศ. ๒๔๙๗ สอบได้นักธรรมชั้นเอกศึกษาด้วยตนเอง แผนการปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานด้านการเกษตรกรรมธรรมชาติ อนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการสวัสดิการและธุรกิจชุมชน การ ผลิตและการบริโภค โดยการเป็นผู้นำเน้นให้เห็นถึงการพึ่งพาตนเอง รู้จักตนเองการช่วยเหลือเกือกูลซึ่งกันและกัน ภายใต้ สัจธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นการร่วมมือระหว่างวัดกับชาวบ้าน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และ จังหวัดบุรีรัมย์ ผลงานบริการด้านการศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นครูสอนปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นพระธรรมทูต

22


พ.ศ. ๒๕๒๒ เปิดโรงเรียนนักธรรมบาลีที่วัดสามัคคี ผลงานด้านการพัฒนาสังคม หลวงพ่อนาถ สุทธสีโล แห่งวัดสามัคคี หมู่บ้านท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ชาวบ้านและนักวิชาการต่าง ขนานว่า “พระนักพัฒนา” ในด้านการศาสนาท่านมีสมณะศักดิ์เป็น “พระครูพิพิธประชานาถ” ซึ่งหมายถึง “ผู้เป็นศูนย์รวมแห่ง ที่พึ่งของประชาชน” ชีวิตของหลวงพ่อนาถในวัยเด็ก ครอบครัวมีฐานะยากจน ร่างกายของท่านเองก็ไม่ค่อยแข็งแรงมักเจ็บไข้ ได้ป่วยอยู่เสมอ จึงไม่สามารถที่จะวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ ได้ จากจุดนี้เองที่ทำให้ท่านเป็นคนช่างคิด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ อายุครบ ๒๐ ปี บิดามารดาจึงให้บวชเป็นพระภิกษุที่วัดสามัคคีในบ้านท่าสว่างนั้นเอง ในระหว่างที่ บวชนี้ท่านได้สนใจศึกษาพระธรรมอย่างจริงจัง จนกระทั่งสอบปริยัติธรรมได้ นักธรรมตรี ในปีแรกที่บวช สอบได้นักธรรมโทในปี ๒๔๙๔ และสอบได้นักธรรมเอกในปี ๒๔๙๗ ผลสำเร็จแห่งการศึกษาพระปริยัติธรรมสืบเนื่องมาจากท่องบ่นและเรียนรู้ด้วย ตนเองอย่างเพียรพยายามตามหลัก “ตนเป็นที่พีงแห่งตน” ต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดโคกสูง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และปีต่อมาได้สร้างวัดราษฏร์ศรัทธาธรรมขึ้นที่ ตำบลห้วยราช อำเภอเมือง จนสำเร็จจึงได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดสามัคคีเช่นเดิม ในระหว่างนี้ท่านได้ตระหนักว่าพระสงฆ์อยูได้ เพราะอาหารและปัจจัยที่ชาวบ้านถวาย ปฏิบัติธรรมได้เพราะชาวบ้านเลี้ยงดู พระสงฆ์เป็นหนี้ชาวบ้านสิ่งหนึ่งที่บ่งชี้ให้ท่านได้ คิดถึงเรื่องนี้ เมื่อท่านเห็นชาวบ้านมีสภาพชีวิตยากลำบากมากไม่มีอาหารพอเลี้ยงชีพ ต้องเป็นหนี้เป็นสินและมีความทุกข์ร้อนอยู่ เสมอ และในส่วนของพระสงฆ์เองก็ได้แต่เทศนาอบรมให้ชาวบ้านเป็นคนดี มีศีลธรรม และการที่มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อหาทาง หลุดพ้นเพียงผู้เดียวเป็นทางที่ถูกแล้วหรือ ในฐานะที่หลวงพ่อนาถ เป็นเจ้าอาวาสท่านจึงตัดสินใจพัฒนาหมู่บ้านแบบสมัยใหม่ เริ่มด้วยการตัดถนนโดยระดม

พระเณร จับจอบจับเสียม สร้างถนนในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เมื่อชาวบ้านรู้ข่าวจึงเข้ามาช่วยจำนวนคนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาการขุด ถนนมีปัญหาเนื่องจากต้องขุดผ่านที่ดินของชาวบ้านหลวงพ่อนาถจึงต้องออกบิณฑบาตขอที่ดิน ชาวบ้านเห็นความตั้งใจจริงของ ท่านจึงยินดีถวายที่ดินให้ท่านทุกรายในที่สุด ชาวบ้านท่าสว่างจึงได้ถนนยาว ๘ กิโลเมตรไปจนถึงตัวเมือง หลวงพ่อนาถเป็นพระภิกษุที่มุ่งแสวงแก่นแห่งสัจธรรม เพื่อนำมาเกิดความสงบสุขแห่งตนและชาวบ้าน ได้เริ่มวางแผนพา ชาวบ้านไปลดละ และดับกิเลสคือการสงบจิตใจ ท่านได้ชักชวนชาวบ้าน ๔๐ คน ไปปฏิบัติสมถะกรรมฐาน ๗ วัน ท่านได้สอนให้ผู้ เข้าอบรมใช้สติปัญญาพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต สิ่งใดไม่จำเป็นควรละเลิกไปเสีย การปฏิบัติสมถะกรรมฐานครั้งนี้ได้ รับความสนใจจากคนในหมู่บ้าน และคนในหมู่บ้านอื่นๆ ที่ทำให้คนส่วนใหญ่สามารถลดหรือเลิกอบายมุขไปได้ สร้างศัทธาให้เกิด ขึ้นอีกจนท่านต้องรับนิมนต์ไปช่วยจัดกิจกรรมเหล่านี้ในหมู่บ้านอื่นๆ ในเวลาต่อมา อาจกล่าวได้ว่าช่วงนี้เป็นช่วงการเริ่มพัฒนา โดยการเริ่มเตรียมจิตใจในการฝึกสมถะสมาธิ สิ่งที่ได้จากการรักษาศีลคือการฝึกสมาธิ และสิ่งที่ได้ตามมาคือบ่อเกิดแห่งปัญญา เมื่อชาวบ้านเอาปัญญาของแต่ละคนมารวมกัน ก็จะเห็นปัญหาของตนเองและปัญหาของหมู่บ้านจึงพบว่า ความยากจน ความแห้งแล้ง ความทุกข์ยากและความเดือนร้อนของคนในหมู่บ้านส่วนหนึ่งมาจากสถาพของลมฟ้าอากาศ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตาม ฤดูกาล ชาวบ้านไม่มีทุนทำกิน เป็นหนี้เป็นสินดอกเบี้ยแพงการเก็งกำไรของพ่อค้าคนกลางการตลาดที่ราคาสินค้าราคาถูกกดให้ ต่ำลง และอีกส่วนหนึ่งมาจากชาวบ้านที่ต้องสูญเสียไปกับอบายมุขทั้งปวง หลวงพ่อนาถจึงให้สติชาวบ้านให้เห็นถึงเหตุแห่งทุกข์ ในที่สุดชาวบ้านมีปัญญาสามารถเลิกอบายมุขได้ในที่สุด หลวงพ่อนาถได้สำรวจพบว่า ชาวบ้านกำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ อย่างรุนแรง มีหนี้สินตกทอดมาหลายชั่วคนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวบ้านเป็นผู้ทำนาแต่ไม่มีข้าวจะกิน หลวงพ่อจึงนำพระและเณร วัดสามัคคีทำนา เพื่อมิให้ชาวบ้านต้องห่วงต่ออาหารที่นำมาทำบุญสุนทาน และเป็นการแบ่งเบาความทุกข์ยากของชาวบ้านไป ด้วย ในขณะเดียวกันก็คิดหาวิธีที่จะชะลอการขายข้าวในช่วงที่เก็บเกี่ยวใหม่ ซึ่งมีราคาตกต่ำ ท่านจึงได้รวบรวมเงินที่ชาวบ้าน บริจาคในการทำบุญทั้งหมดที่มีอยู่โดยคิดว่า เงินของวัดคือเงินของชาวบ้านนำเงินไปแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน ในปี ๒๕๒๑ หลังจาก ที่ได้ตั้งกลุ่มปุ๋ยขึ้นในหมู่บ้าน มีสมาชิกในหมู่บ้านเป็นกรรมการได้เลือกตัวแทนไปเจรจาซื้อปุ๋ยจากองค์การตลาด เพื่อการเกษตร โดยตรง ทำให้สามารถตัดพ่อค้าคนกลางออกไปราคาปุ๋ยจึงถูกลงมาก วิธีนี้เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนไปได้บ้าง เท่านั้น แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่แท้จริงได้ นั่นคือปัญหาการตลาด ปัญหาการกดราคาและปัญหาที่ต้องรีบขายข้าวเพื่อ ชำระหนี้สินการเก็บเกี่ยวท่านมองเห็นจุดสำคัญต้องทำลาย “วงจรหนี้สิน” พ.ศ. ๒๕๒๔ จึงได้จัดตั้ง “โครงการสหบาลข้าว” นั่นคือ โครงการที่สามารถประกันข้าวให้แก่ชาวบ้านได้เพียงพอ โดย ให้กู้ยืมในอัตราการชดใช้ดอกเบี้ยต่ำ นับได้ว่าจุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญอีกจุดหนึ่งในการตัดวงจรหนึ้สินให้ลดน้อยลงหรือหมดไป ในที่สุด โครงการสหบาลข้าวประสบผลสำเร็จคือได้รับความสนใจจากชาวบ้าน เพียงสิ้นปี ๒๕๒๔ หมู่บ้านใกล้เคียงได้ทำเลียน แบบเป็นการดำเนินรอยตามถึง ๔ แห่ง ทำให้แพร่ขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ ในเวลาอันรวดเร็ว ต่อมาชาวบ้านกระสังอยากตั้งสหบาลข้าวขึ้นในหมู่บ้านบ้าง จึงพากันมานิมนต์หลวงพ่อนาถไปช่วยจัดการให้ เมื่อได้เห็น สภาพแล้วชาวบ้านกระสังมีความแห้งแล้งอดอยากยากแค้น หลวงพ่อจึงตัดสินใจรวบรวมเงินที่ชาวบ้านอุทิศให้วัดสามัคคีเก็บไว้ สร้างกุฏิและสร้างโบสถ์นำไปสร้างฉางข้าวให้หมู่บ้านกระสังอีกแห่งหนึ่ง พ.ศ. ๒๕๒๖ หลวงพ่อนาถไปตั้งสหบาลข้าวที่บ้านระเภาร์ บ้านตม็องและกำลังจะทำสหบาลข้าวที่บ้านกาเกาะ ตำบล

23


ท่าสว่าง บ้านประเดียก อำเภอบัวเขต จังสุรินทร์ บ้านห้วยสำราญและบ้านสำโรงสูง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ทุกครั้งที่ จัดหาทุนพัฒนาหมู่บ้าน สิ่งที่แฝงไว้ในวิธีการของหลวงพ่อนาถ นั่นคือการนำพลังแห่งความร่วมมือของชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ เพื่อหมู่บ้าน ด้วยการสอนให้ตระหนักถึงความเมตตากันระหว่างคนในหมู่บ้านหรือหมู่บ้านอื่น ถึงแม้ว่าในช่วงแรก สหบาลข้าวสามารถช่วยให้ชาวบ้านลืมตาอ้าปากได้ทีละน้อยๆ ก็ตามและไม่ประสบผลสำเร็จในทันที ทันใดเลยทีเดียวก็ตาม หากแต่หลวงพ่อต้องการปลุกจิตสำนึกให้ชาวบ้านได้ตระหนักถึงความช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วยการพึ่งพา ตนเอง เป็นประการสำคัญ หลวงพ่อจึงประยุกต์ประเพณีท้องถิ่น เช่น บุญเทศน์มหาชาติ บุญเข้าพรรษา บุญวันพระ มาเป็น

แกนนำในการระดมทุน เช่น รูปแบบการระดมทุนโดยการประยุกต์ประเพณีทอดผ้าป่ามาปรับใหม่ สามารถระดมข้าวระดมทุนได้ คราวละมากๆ ลักษณะพิเศษและโดดเด่นของการทอดผ้าป่าข้าว จึงเป็นวิธีการที่ชาวบ้านระดมทุนเพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน เพื่อนบ้าน หรือหมู่บ้านที่ขาดแคลนยากจนบนหลักธรรมแห่งการเมตตากรุณาต่อกันและกัน วิธีการนี้ทำให้ทุกคนรู้ซึ้งถึงหลักการ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การทอดผ้าป่าข้าว เป็นวิธีการทำบุญที่ได้ผลดีเพียงไม่กี่ปี สหบาลข้าวได้ข้าวมากมายจนไม่มีที่เก็บ หลวงพ่อจึงขยายโครงการระดมทุนตั้งสหบาลข้าวตามหมู่บ้านต่างๆ ปีละ ๒ แห่ง โดยตั้งเป้าหมายว่าภายใน ๑๐ ปี จะสามารถลด หนี้สินจากสหกรณ์การเกษตร และ ๑๕ ปี จะลดหนี้สินส่วนอื่นๆ ให้หมดไปด้วย ต่อมาหลวงพ่อนาถคิดที่จะตั้ง “สหบาลคน” หมายถึงการรวมคนเป็นการรวมพลังชาวบ้านเวลาผ่านพ้นไปอีกไม่นาน “นากระชับมิตร” ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการผลิตข้าว ทำให้ทุ่งนากว้างยาวสุดสายตาคึกคักไปด้วยฝูงชนที่แห่กันมาช่วยไถนา ทุกคนลุยงานกันอย่างสนุกสนานร่าเริงด้วยน้ำใจไมตรีที่หยิบยื่นความรักความเมตตาให้แก่กันและกัน หลวงพ่อนาถมีปรัชญาในการบริหารงานบุคคลได้อย่างดี โดยเน้นหลักธรรมคำสั่งสอนให้มีความซื่อสัตย์รับผิดชอบ ต่อหน้าที่โดยสำนึกถึงความผิดชอบชั่วดีเป็นที่ตั้ง จึงเห็นได้ว่าแนวทางการพัฒนาสังคมของหลวงพ่อนาถแท้ที่จริงคือการสร้าง ชุมชนธรรมะ สังคมธรรมะ หรือหมู่บ้านธรรมะ ให้ถึงพร้อมทั้งการตอบสนองทางวัตถุ โดยที่ชาวบ้านมีจิตใจเป็นธรรม มีความ เพียงพอและปฏิบัติธรรมเพื่อความสงบสันติสุขของสังคม ชีวิตชุมชนจะสงบร่มเย็นสืบต่อไป ผลงานดีเด่น ๑. อบรมกรรมฐานกับการพัฒนาคน ๒. ประยุกต์ประเพณีวัฒนธรรมในการระดุมทุนเพื่อการพัฒนา ๒.๑ การก่อเจดีย์ข้าวเปลือกในงานเทศน์มหาชาติ ๒.๒ การทอดผ้าป่าข้าว ๒.๓ การรณรงค์ในเทศกาลเข้าพรรษา ถือศีลอด และการทำบุญวันพระ ๒.๔ การลงแขกดำนากระชับมิตร ๓. การจัดตั้งเครือข่ายผู้นำในการพัฒนา ๓.๑ กลุ่มสหธรรม ๓.๒ กลุ่มสานุศิษย์ ๓.๓ กลุ่มที่มาศึกษาดูงาน ๓.๔ งานด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ๓.๔.๑ จัดตั้งสหบาลข้าว ๓.๔.๒ จัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ร้านค้าในบ้านท่าสว่าง และชุมชนที่เป็นเครือข่าย ๓.๔.๓ จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ๓.๔.๔ จัดตั้งชมรมเกษตรกรรมชาติ ปลอดสารเคมี เกียรติคุณที่เคยได้รับ ๑. โล่ประกาศเกียรติคุณจากสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย ๒. โล่ประกาศเกียรติคุณจากคณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนพัฒนาชนบทภาคอีสาน ๓. โล่ประกาศเกียรติคุณด้านสาธารณูปการจากมูลนิธิสรรพวรรณิต ๔. โล่ประกาศเกียรติคุณด้านการส่งเสริมการศึกษานอกระบบ จากคุรุสภา จังหวัดสุรินทร์ ๕. ปริญญาบัตรศิลปศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสหวิทยาลัยอีสานใต้สุรินทร์ ๖. ปริญญาบัตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ๗. เสมาธรรมจักร จากกรมการศาสนา ด้านการส่งเสริมการพัฒนาชุมชน โดยใช้หลักธรรมทางศาสนา ปัจจุบัน พระครูพิพิธประชานาถ เป็นเจ้าอาวาสและจำพรรษาอยู่ที่วัดสามัคคี หมู่ ๑ บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอ

เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

24 20


รางวัลศาสตรเมธี ประจำปีพุทธศักราช 2555

รองศาสตราจารย์ โกวิทย์ ขันธศิริ เกิดวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 บิดาชื่อ สมบุญ ขันธศิริ มารดาชื่อ สมจิตต์ ขันธศิริ สถานที่เกิด ตลาดพลู ทีอ่ ยูป่ จั จุ บัน 39/88 หมูบ่ า้ นเปีย่ มสุข ซอยกันตนา ถนนตลิง่ ชัน-สุพรรณบุรี อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11140 ประวัติการศึกษา วุฒิการศึกษา พ.ศ. วิชาเอก สถาบัน ชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 - ปีที่ 4 โรงเรียนวัฒนศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 1 - ปีที่ 3 โรงเรียนวุฒิศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 4 - ปีที่ 6 โรงเรียนวัดมงกุฎกษัตริย์ มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 7 โรงเรียนวัดนวลนรดิษฐ์ ปริญญาตรี - ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 2502 วิชาเอกคณิตศาสตร์ -วิทยาลัยครูสวนสุนันทา - K.C.M. 2513 การแสดงและการสอนทาง Violin -จาก Royal Conservatory of music กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปริญญาโท (ทุน Fulbright) 2521-2523 M.A. in Musicology - Kent State University, Ohio USA. Ethnomusicology ปริญญาเอก 2524 ดนตรีเปรียบเทียบจากการวิจัย Sussex College ประเทศอังกฤษ Research Ph.D. Music Comparative ประวัติการรับราชการ พ.ศ. หน่วยงาน - สถาบัน อาจารย์ประจำ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิชาคณิตศาสตร์ 2506-2507 ดนตรีไทย และดนตรีสากล อาจารย์ประจำและหัวหน้าสาขาดนตรีสากล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2517-2524 บริหาร ภาควิชาดุริยางคศิลป์ให้คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2521-2529

งานต่างประเทศ ลำดับที่ พ.ศ. งานต่างประเทศ 1 ก่อตั้งวงดนตรีไทยโดยชาวไทยและชาวตะวันตก ได้แสดงและเผยแพร่ดนตรีไทยและเล่นไวโอลินเพลงไทย

ในประเทศฮอลแลนด์ และสหรัฐอเมริกาในรัฐต่างๆ รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในยุโรป 2 2523 ได้รบั เชิญจากทางราชการเป็นวิทยากรนักแสดง และตัวแทนประเทศไทยเพือ่ บรรยาย สาธิตและเปรียบเทียบ

ดนตรีไทย และดนตรีตะวันตก ณ ประเทศต่างๆ ในเอเชีย ยุโรปและสหรัฐอเมริกา

25


ลำดับที่ พ.ศ. งานต่างประเทศ 3 2530 ได้รับทุน Fulbright scholar ทำการสอนมหาวิทยาลัยกว่า 10 แห่ง ณ สหรัฐอเมริกา 4 2543 ได้รับเชิญจากเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันในฐานะอาจารย์จากภาควิชา

ดุริยางคศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพบปะและเจรจาด้านศิลปวัฒนธรรมและแลกเปลี่ยนการ

เรียนการสอนการแสดงกับศิลปิน หัวหน้าภาควิชาดนตรีมหาวิทยาลัยกรุงเบอร์ลิน และหัวหน้าพิพิธภัณฑ์

ดนตรีในประเทศเยอรมัน 5 2543 ได้รับเชิญจากเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเยอรมันให้ไปแสดงดนตรีไทยและสากลในงานเฉลิม

พระเกียรติวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าประชุมแลกเปลี่ยนด้านดนตรีและ

นักดนตรีกับผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยในกรุงบอนน์และมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน 6 เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีให้กับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทยรวมทั้งเดินทางไปแสดงและบรรยาย

ทั้งด้าน Violin และดนตรีไทยให้กับประเทศเยอรมัน อิตาลี อเมริกา ฮอลแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ จีน และ

กลุ่มประเทศอาเซียน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีท่านอื่นๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน 7 ได้รับเชิญให้เป็นครูสอน Violin หัวหน้าวงและผู้อำนวยการเพลงให้กับวง Orchestra ทั้งในประเทศและ

ต่างประเทศ 8 บรรยายดนตรีเปรียบเทียบร่วมกับ รศ.อรวรรณ บรรจงศิลป์ ให้กบั วิทยาลัยดนตรีฟลิ ปิ ปินส์ มหาวิทยาลัย U.P. 9 เป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมกับกรมศิลปากร แสดงดนตรีนาฎศิล- ดนตรีไทย ณ เมืองกวางเจา ยูนาน

ประเทศจีน 10 เป็นตัวแทนจากสมาคมครูดนตรีแห่งประเทศไทยไปร่วมงาน Expro เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน งานทั่วไป 1 ได้รับเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยจากการพิจารณาของคณะกรรมการศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นอาจารย์สอนและ

ควบคุมตัวแทนนักดนตรีสากล (ทาง Violin) จากประเทศไทยไปร่วมเรียน ฝึกซ้อมและแสดง ณ ประเทศต่างๆ ในกลุ่ม

อาเซียนจาก 5-6 ประเทศตลอดเวลาปี พ.ศ. 2526-2533 2 หัวหน้าวงดนตรี Fantasia Light Orchestra และวงจามจุรี Chamber Music ปี พ.ศ. 2543 3 ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนคณาจารย์ ภาควิชาดุริยางคศิลป์ในการจัดคอนเสิร์ต เดี่ยว Violin โดยผลงานของนัก

ประชาสัมพันธ์ชาวฟิลิปปินส์ในงานนักเรียนเก่าของฟิลิปปินส์ มหาวิทยาลัย(U.P.) ร่วมกับนักดนตรีระดับนานาชาติของ

ประเทศฟิลิปปินส์ ณ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2543 4 เป็นผู้บรรยายให้ความรู้ทางดนตรีกับสถานีวิทยุโทรทัศน์ทุกช่อง ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา วิทยุกรมประชาสัมพันธ์

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน(ตามคำเชิญ) รวมทั้งเป็นวิทยากรและนักแสดงที่ได้รับเชิญจากสถาบันและงานต่างๆ ที่

เป็นหน่วยงานราชการ หน่วยงานการกุศล และคอนเสิร์ตทั่วไป 5 ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าวงดนตรี กรุงเทพมหานคร ฟิลฮาโมนิก ออร์เคสตร้า (Bangkok Philharmonic Orchestra) ปี

พ.ศ. 2545 6 ได้รับคัดเลือกเป็นนักไวโอลินคนไทยที่ได้ร่วมเล่นกับวง Studgard Symphony จากประเทศเยอรมันแสดงในกรุงเทพ

ปี พ.ศ. 2515 7 ผู้ประสานงานการทำวิจัยกับ Prof.Dr.H.Maceda (ศาสตราจารย์ทางดนตรี จาก มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ในประเทศไทย)

เรื่องภูไทย 8 กรรมการพิจารณาผลงานข้าราชการเพื่อเลื่อนตำแหน่งของกระทรวงศึกษาธิการ ด้านศิลปิน, ดนตรี ละคร,ศิลปะ ใน

ฐานะกรรมการประจำสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) 9 กรรมการพิจารณาหลักสูตรทางดนตรีของมหาวิทยาลัยเอกชน ทบวงมหาวิทยาลัยถึงปัจจุบัน 10 กรรมการพิจารณาการขอเปิดดำเนินการหลักสูตรและรับรองมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สาขา

ดุริยางคศิลป์ ปีพ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบัน 11 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สาขาการศึกษาศิลปะศาสตร์และสังคมศาสตร์อื่นๆ 2 สำนักงาน ก.พ. ปี พ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบัน

26


12 13 14 15 16 17 18 19 20

กรรมการสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงปัจจุบัน กรรมการพิจารณาผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่งของอาจารย์ด้านดนตรีของกรมอาชีวะถึงปัจจุบัน ผู้ร่วมก่อตั้ง ผู้แสดงและกรรมการบริหารวง Bangkok Orchestra จนถึงปี พ.ศ. 2543 ผู้ก่อตั้งวง CU.Orchestra ประยุกต์การเล่น Violin และดนตรีไทยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ โดยมีผลงานเป็น เอกสารตำราและงานวิจัย DVD, VCD

โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบริการวิชาการแก่สังคม เป็นกรรมการทุนเรียนดีคัดเลือกนักดนตรีระดับปริญญาตรีไปศึกษาดูงานที่ประเทศออสเตรีย ได้รับเชิญเป็นนักดนตรีในงานครูดนตรีไทยอาวุโสทุกปี ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการตัดสินดนตรีไทย มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นกรรมการดนตรีไทยศรทอง

งานสอนประจำและงานสอนพิเศษ ลำดับที สถาบัน 1 ผู้ร่วมก่อตั้งคณะดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 2 อาจารย์ใหญ่ และผู้จัดการโรงเรียนดนตรีสยามกลการ กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2518-2521 3 อาจารย์พเิ ศษ โดยรับผิดชอบการสอน ซึง่ เป็นเนือ้ หาส่วนหนึง่ ของวิชามนุษย์-อารยธรรม ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปี พ.ศ. 2518-2521 4 หัวหน้าภาคดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปี พ.ศ.2525-2536 และได้ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ภาค

ดุริยางคศิลป์ คณะศิลปศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก ไวโอลิน

เครื่องสายสากล และ Introduction to Classic Music 5 เป็นกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาโทดนตรีตะวันตก (Composition) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทาลัย 6 ได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการและเลขานุการพิจารณาผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัย ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2543 7 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรด้านความซาบซึ้งทางดนตรี จัดโดยสโมสรโรตารี่ธนบุรี และประทุมวันตั้งแต่ปี พ.ศ.2538-2543 8 ได้รับเชิญเป็นประธานการแสดงการจัดงานดนตรีนานาชาติ เพื่อจัดตั้งศูนย์ดนตรีเอเซียแห่งประเทศไทย โดย

เครือข่ายนานาชาติเพื่อส่งเสริมดนตรีในเอเซียร่วมกับจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยปี พ.ศ. 2543 9 กรรมการรับเชิญตรวจสอบและกรรมการคุมสอบวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและเอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

และมหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์รับเชิญสอนนิสิตปริญญาตรี-โทของสาขาดุริยางคศิลป์ไทย ณ คณะศิลปกรรม

ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10 อาจารย์พิเศษและวิทยาลัยแห่งรัฐและเอกชนหลายแห่ง รวมทั้งสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงปัจจุบัน 11 อาจารย์พิเศษ วิชาดนตรีวิจักษ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523-2530 12 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสอบคัดเลือกนักศึกษาดนตรี และกรรมการวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก

มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และสถาบันกันตนา 13 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต บทความ/หนังสือ ชื่อผู้แต่ง พ.ศ. โกวิทย์ ขันธศิริ 2550 โกวิทย์ ขันธศิริ โกวิทย์ ขันธศิริ 2549

ชื่อหนังสือ พิมพ์ครั้งที่ ดุริยางคศิลป์ตะวันตก (เบื้องต้น) ดนตรีเบื้องต้น สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาค 1-2 ประวัตินักดนตรีและนักร้องฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน

จังหวัด : สำนักพิมพ์ กรุงเทพฯ สำนักพิพม์แม่ไก่ขยัน กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ราชบัณฑิตยสถาน

27


ชื่อผู้แต่ง โกวิทย์ ขันธศิริ โกวิทย์ ขันธศิริ โกวิทย์ ขันธศิริ โกวิทย์ ขันธศิริ โกวิทย์ ขันธศิริ โกวิทย์ ขันธศิริ โกวิทย์ ขันธศิริ โกวิทย์ ขันธศิริ โกวิทย์ ขันธศิริ โกวิทย์ ขันธศิริ

พ.ศ. 2550 2550 2544 2531 2550 2528

ชื่อหนังสือ พิมพ์ครั้งที่ สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาค ประวัติเพลงเกร็ดและเพลงละคร ร้องฉบับราชบัณฑิตยสถาน 1 สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาค 1 ประวัติ และบทร้องเพลงตับ ประวัติเพลงหน้าพาทย์และเพลง โหมโรง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย และ 1 เกณฑ์การประเมิน ดุริยางคศิลป์ตะวันตก ดุริยางคศิลป์ตะวันตก (เบื้องต้น) ดุริยางคศิลปะปริทัศน์ (ตะวันตก) พื้นฐานดุริยางคศิลป์ (ตะวันตก) สังคีตนิยม สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย 1-2 ภาคคีตะ-ดุริยางค์ สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย 1-4 ภาค ประวัติและบทร้องเพลงเถา

จังหวัด : สำนักพิมพ์ กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ราชบัณฑิตยสถาน กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ ราชบัณฑิตยสถาน

กรุงเทพฯ สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์จุฬาฯ กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์จุฬา ฯ กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ครุศาสตร์ จุฬาฯ กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ราชบัณฑิตยสถาน กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ ราชบัณฑิตยสถาน

สมาคมทางวิชาการ - ได้รับเชิญเป็นวิทยากรของงาน “Art for All” โดยมี รศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ เป็นประธาน ตั้งแต่เริ่มโครงการในปี พ.ศ. 2541 ถึงปัจจุบัน - บรรณาธิการสารานุกรมดนตรีไทย ราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ.2528-ปัจจุบัน - ผู้เชี่ยวชาญดนตรีตะวันตก นักไวโอลินและผู้สอนไวโอลินในดนตรีเยาวชนอาเซียนเชิญโดยคณะกรรมการดนตรีและ

ผู้บริหารศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยรวมทั้งกรรมการวงดนตรีเยาวชนแห่งชาติ - เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ให้กับสมาคมครูดนตรีแห่งประเทศไทย - คณะกรรมการมูลนิธิหลวงประดิษฐ์ไพเราะ รางวัลต่างๆ - ประกาศนียบัตร ทางการเล่น Violin เกรด 8 จาก Royal school of music ประเทศอังกฤษ ปี พ.ศ. 2508 - ได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1 ในการประกวดรายการแมวมอง (เด็กพรสวรรค์) ณ สถานีวิทยุ ททท. การดนตรี ในการเดี่ยว ซอด้วง ปี พ.ศ. 2496 - ได้รับรางวัลที่ 2 ในการประกวดร้องเพลงไทยงานศิลปหัตถกรรม ปี พ.ศ. 2501 - ได้รางวัลที่ 1 ในการเล่นซอด้วง และนำวงดนตรีสวนสุนันทา ปี พ.ศ. 2502 - ได้รับตำแหน่งอาจารย์ดีเด่นและหัวหน้าภาคดุริยางค์ คณะศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ได้รับตำแหน่งศิลปินแห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร - ได้รับตำแหน่งครูในดวงใจแห่งสมาคมครูดนตรีแห่งประเทศไทย - รางวัลชนะเลิศที่ 1 ขับร้องเพลงไทยสากล ตัดสินโดยวงพยงค์ มุกดา - ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ช้างเผือก ปี พ.ศ. 2541 ผลงานวิจัย 1. เรื่องวิวัฒนาการของเพลงไทยสมัยรัตนโกสินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยอรวรรณ บรรจงศิลป์ และโกวิทย์

ขันธศิริ 31 ก.ค. 2526 2. The Technique of Playing Thai Bowed Lutes by Kovit Kantasiri : August 1980

28


รางวัลศาสตรเมธี ประจำปีพุทธศักราช 2555

ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ ประวัติการศึกษา: พ.ศ. 2540 Post doctoral studies in the Higher Education Management Programme, Universities of Warwick and

Oxford, England พ.ศ. 2538 ปริญญาเอก (การบริหารการศึกษา) ณ Illinois State University ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2524 ปริญญาโท (การบริหารโรงเรียน) ณ St.Mary’s College of California ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2514-2517 ปริญญาตรี (Mathematics) ณ Saint Louis University ประเทศฟิลิปปินส์ ประสบการณ์การทำงาน: พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน คณะกรรมการบริหาร โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน คณะกรรมการบริหาร โรงเรียนอัสสัมชัญ นครราชสีมา พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน คณะกรรมการบริหาร โรงเรียนเซนต์คาเบรียล พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน คณะกรรมการบริหาร โรงเรียนพระแม่มารีสาทร พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารสภาวิทยาลัยมิชชั่น พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน ที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน อุปนายกสภาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพฯ พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน คณะกรรมการบริหาร โรงเรียนดาราสมุทร พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน คณะกรรมการบริหาร โรงเรียนอัสสัมชัญ พ.ศ. 2541-2546 รักษาการคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พ.ศ. 2537-2546 รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พ.ศ. 2534-2537 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พ.ศ. 2528-2533 ผู้อำนวยการ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล พ.ศ. 2522-2526 ผู้อำนวยการ โรงเรียนอัสสัมชัญสำโรง พ.ศ. 2521-2527 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ พ.ศ. 2517-ปัจจุบัน กรรมการสภา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พ.ศ. 2517-2520 อธิการ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี พ.ศ. 2510-2513 ครูสอนประจำ โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง สมาชิกองค์กร : พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน รองประธานอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดตั้งมหาวิทยาลัยโดยการ

หลอมรวม ยุบรวม และการยกเลิก สถาบันอุดมศึกษา คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

29


พ.ศ. 2553-ปัจุจุบัน พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน พ.ศ. 2553-2554 พ.ศ. 2552-2553 พ.ศ. 2552-2554 พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน พ.ศ. 2548-2550 พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน พ.ศ. 2541-ปัจจุบัน พ.ศ. 2540-2544 พ.ศ. 2540-2544 พ.ศ. 2540-2544 พ.ศ. 2540-2547 พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2540-2544 พ.ศ. 2543-2545 พ.ศ. 2527-2542 พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน

30

กรรมการสภามหาวิทยาลัยพะเยา กรรมการมูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ งานชุมนุมลูกเสือคาทอลิกโลก (ICCS Scout Jamboree 2010) รักษาการประธาน สำนักงานเลขานุการ สออ. ประเทศไทย อนุกรรมการสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะกรรมการฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษาสมาคม

สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) รองประธาน สำนักงานเลขานุการ สออ. ประเทศไทย นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) ที่ปรึกษา สมาคมเกียรตินิยมการศึกษาแห่งประเทศไทย กรรมการบริหาร สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) คณะกรรมการ สำนักงานเลขานุการ สออ. ประเทศไทย คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาวิชาการ ของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ภายใต้สังกัด

ทบวงมหาวิทยาลัย (สกอ.) คณะกรรมการฝ่ายรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษาภายใต้สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย (สกอ.) คณะกรรมการกิตติมศักดิ์ สำนักงานเลขานุการ สออ. ประเทศไทย กรรมการบริหาร สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) คณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) รองประธานฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) กรรมการบริหารฝ่ายวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท) ประธาน สมาคมเกียรตินิยมการศึกษาแห่งประเทศไทย (PDK) สมาชิก สมาคมเกียรตินิยมการศึกษาแห่งประเทศไทย (PDK) กรรมการมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.)


รางวัลศาสตรเมธี ประจำปีพุทธศักราช 2555

นางมุกดา (จิราธิวัฒน์) เอื้อวัฒนะสกุล ประวัติส่วนตัว ชื่อ/นามสกุล นางมุกดา เอื้อวัฒนะสกุล นามสกุลเดิม จิราธิวัฒน์ ศาสนา พุทธ หมู่โลหิต โอ วัน/เดือน/ปีเกิด วันที่ 23 เดือน เมษายน พ.ศ. 2479 อายุ 76 ปี สถานที่เกิด 60 ถนนธนบุรีปากท่อ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ที่อยู่ (ทะเบียน) เลขที่ 60 ซอยนวศรี 8 ถนนรามคำแหง 21 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 081-834-7222 โทรศัพท์ (บ้าน) 0-2677-3283, 0-2285-5310, 0-2319-6778 โทรสาร (บ้าน) 0-2677-3284, 0-2285-5309, 0-2718-6199 E-mail uamookda@central.co.th การศึกษา ชั้นมัธยม 8 จาก มาแตร์ เดอี วิทยาลัย อนุปริญญา คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย GEORGE WASHINGTON UNIVERSITY สาขาวิชาบัญชี ประวัติการประกอบอาชีพ (ส่วนตัว) พ.ศ. 2499-2510 เริม่ จาการช่วยงานของบิดา-มารดา ทางด้านการเงิน (แคชเชียร์) ซึง่ เป็นธุรกิจค้าปลีก คือบริษทั ห้างสรรพสินค้า

เซ็นทรัล ดีพาทเมนท์ สโตร์ จำกัด ที่ สาขาวังบูรพาฯ พ.ศ. 2511-2551 เป็นผู้จัดการฝ่ายการเงิน ด้านธุรกิจค้าส่ง (เจ้าของกิจการ) บริษัท ห้างเซ็นทรัลดีพาทเมนท์ สโตร์ จำกัด

สาขาสีลม พ.ศ. 2539-ปัจจุบัน เป็นรองประธานกรรมการ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด และกรรมการบริษัทหัวหิน บีชรีสอร์ท จำกัด

(สำนักงานชั่วคราว) ที่อาคาร เซ็นทรัลสีลม ทาวเวอร์ พ.ศ. 2531- ปัจจุบัน เป็นกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม เอ็ม พี คอร์ปอเรชั่น จำกัด สำนักงานอยู่ที่สุขุมวิท 101 แขวงบางจาก

เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ประวัติการทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2539-ปัจจุบัน ตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ทำหน้าที่ร่วมนั่งพิจารณาคดีกับผู้พิพากษา

ได้แก้ไขปัญหาและช่วยเหลือครอบครัวที่แตกแยก พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน เป็นสมาชิกอาสากาชาด กิติมศักดิ์ รุ่น กาญจนาภิเษก สภากาชาดไทย ทำหน้าที่เข้าตรวจเยี่ยมและ

ประเมินผลตามโรงเรียนต่างๆ รณรงค์ต่อต้านยาเสพติดและให้ความร่วมมือทุกด้าน พ.ศ.2540 เป็นนายกสมาคมสตรีสัมพันธ์ พ.ศ. 2541-ปัจจุบัน เป็นนายกบริหาร กิติมศักดิ์ ของสมาคมสตรีสัมพันธ์ ทำหน้าที่ในการให้ทุนการศึกษาแก่เด็กไทยไปเรียน

ภาษาจีนที่นครเซี่ยงไฮ้และปักกิ่งเป็นเวลา 1 ปี

31


พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน เป็นรองประธานฝ่ายการศึกษา สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้าน

การศึกษา และจัดงบประมาณสำหรับงานวิจัย พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน เป็นเหรัญญิก มูลนิธิหม่อมเจ้าพิจิตร จิราภา เทวกุล ทำหน้าที่รณรงค์หาทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนทั่ว

ประเทศ พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน เป็นกรรมการสโมสรซอนต้าสากล กรุงเทพฯ ทำหน้าที่ ให้ทนุ การศึกษาแก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนถิน่ ทุรกันดาล พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน เป็นกรรมการ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่รณรงค์ให้รู้จักรักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้ถุงผ้าเพื่อลดภาวะ

โลกร้อน พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน เป็นกรรมการมูลนิธิช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ขาดแคลนในพระบรมราชินูปถัมภ์ ทำหน้าที่ให้ทุนการ

ศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ พ.ศ. 2546 เป็นประธานคณะกรรมการบริหารร้านค้า ศูนย์ฝึกอาชีพ ฟ้าใส ปันน้ำใจ ทำหน้าที่ฝึกอาชีพให้เด็กที่มา

ศาลเยาวชนฯ เช่น งานซ่อมรถยนต์ พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน เป็นกรรมการ ชมรมแม่ดีเด่นแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร สภาสังคมสงเคราะห์ ทำหน้าที่จัดกิจกรรมใน

วันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ เช่น จัดเลี้ยงอาหารกลางวัน ที่สภาสตรีแห่งชาติฯ พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน เป็นกรรมการบริหารและประธานฝ่ายหาทุน มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทยในพระบรม-

ราชินูปถัมภ์ ทำหน้าที่ จัดกิจกรรม หาทุนเฉพาะกิจ เช่น การจัดงานวันเมตตาปัญญาอ่อนฯ ทางโทรทัศน์,

งานสัปดาห์พยากรณ์ ฯลฯ พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน เป็นรองประธานฝ่ายบริหารและกิจกรรม ชมรมแลกเปลี่ยนมิตรภาพระหว่างประเทศกรุงเทพฯ ทำ

หน้าที่ เผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีของไทยให้ชาวต่างประเทศได้รู้จัก ประสบการณ์ในการศึกษา อบรม / ดูงาน พ.ศ. 2545 ได้รับประกาศนียบัตร หลักสูตร “กระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัว” จากสถาบัน พัมนากระบวนการ

ยุติธรรมเยาวชนและครอบครัวและคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2547 ได้ศึกษาดูงานระบบไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทและวิธีการประชุมกลุ่มครอบครัว ณ ประเทศออสเตรเลียและ

ประเทศนิวซีแลนด์ พ.ศ. 2547 ได้รับการฝึกอบรม โครงการอบรมเกี่ยวกับสิทธิเด็ก พ.ศ. 2549 การประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ทรงคุณวุฒิในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของศาลอาญา กรุงเทพใต้ พ.ศ. 2550 เป็นผู้ประนีประนอมประจำ ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง พ.ศ. 2551 ผ่านการอบรมการประชุมสัมมนาผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวทั่วราชอาณาจักร ประจำปี 2551

ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551 ผ่านการอบรมหลักสูตร การใช้งานระบบปฏิบัติการ Window & Internet จาก มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ พ.ศ. 2553 การประชุมสัมมนาวิชาการเชิงปฏิบัติการระดับผู้บริหาร และระดับผู้ปฏิบัติแกนนำงานเพื่อประโยชน์สูงสุด เด็ก

เยาวชนและครอบครัว : นวัตกรรมเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็ก เยาวชนและครอบครัววิกฤต (ปัญหา

ยาเสพติ ด ปั ญ หาครอบครั ว ปั ญ หาสุ ข ภาพกาย-จิ ต และจิ ต เวช ปั ญ หาพฤติ ก รรมและอารมณ์ ) ว่ า ด้ ว ย

กระบวนการนิติจิตเวช เด็ก เยาวชน และครอบครัวเชิงเยียวยาในกระบวนการยุติธรรม เยาวชน และครอบครัว

ณ โรงพยาบาลตุลาการเฉลิมพระเกียรติสำนักงานยุติธรรม พ.ศ. 2533 ได้ผ่านการฝึกกระโดยหอสูง กองทัพเรือ ศูนย์การฝึก หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินผ่านการอบรม “โครงการ

อบรมพัฒนาศักยภาพ ผู้ปะนีประนอม ประจำศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ตำแหน่ง/ภารกิจ/สมาคมอื่นๆ พ.ศ. 2518 เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ของสภากาชาดไทย พ.ศ. 2538-ปัจจุบัน เป็นกรรมการมูลนิธิภูมิพโลภิกขุ พ.ศ. 2539-ปัจจุบัน เป็นรองประธานคณะกรรมการ ฝ่ายสารานุกรมไทย สโมสรไลออนส์สากล 310 อี

32


พ.ศ. 2540-2549 เป็นกรรมการสงเคราะห์ของกรมพินิจ พ.ศ. 2541-2546และ2547 เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก และสตรี สำนักงาน

เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2546 พ.ศ. 2544 เป็นวุฒิอาสา ธนาคารคลังสมอง ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. 2545 ประธานกรรมการฝ่ายจัดหารางวัลคณะกรรมการจัดงานวันรัตนาภา มูลนิธิพลเรือโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และหม่อมกอบแก้วอาภากร ณ อยุธยา ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทร์ทรา บรมราชนนี พ.ศ. 2549 เป็นกรรมการสมทบ การเสริมสร้างศักยภาพ ผู้ทรงคุณวุฒิในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท

ประจำศาลอาญากรุงเทพฯ ใต้ รุ่น 1 พ.ศ. 2549 เป็นผู้แทนองค์การเอกชนที่เกี่ยวกับสตรี ของสภาผู้แทนราษฎร 26 สิงหาคม พ.ศ. 2541 เป็นประธานกลุ่มสตรีไหหนำ (แห่งประเทศไทย) เป็นประธานรุ่น 19 สมาคมนิสิตเก่า คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการ มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (ศาลมีนบุรี) วาระที่ 1 พ.ศ. 2551-2552 กรรมการที่ปรึกษา สมาคมศิษย์เก่า คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2553 ได้ผ่านการฝึกกระโดดหอสูง กองทัพเรือ ศูนย์การฝึก หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน รางวัลดีเด่น พ.ศ. 2542 ได้รับเลือกเป็นแม่ดีเด่น ประเภท แม่ผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ พ.ศ. 2548 ได้รับคัดเลือกเป็นครอบครัวประชาธิปไตยตัวอย่าง จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล พ.ศ. 2549 ได้รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณสตรีไทยดีเด่น ประเภทกลุ่มสตรีนักธุรกิจของ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ พ.ศ. 2550 ได้รับการคัดเลือกเป็น แม่ดีเด่นกรุงเทพมหานคร ประเภทแม่ผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ จาก

กรุงเทพมหานคร (12 สิงหาคม 2550) พ.ศ. 2550 ได้รับโล่เกียรติคุณ อาสาสมัครดีเด่นแห่งชาติ ของสำนักพัฒนาสังคมและอาสาสมัคร สภาสังคมสงเคราะห์

แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์(21 ตุลาคม พ.ศ. 2550) พ.ศ. 2555 ได้ รั บ ประทานรางวั ล “พระกิ น รี ” เป็ น รางวั ล “คนดี คิ ด ดี สั ง คมดี ตามรอยพระยุ ค ลบาท” ของสมั ช ชา

นักจัดรายการข่าววิทยุโทรทัศน์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2555 ได้รับเลือกเป็นนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2554 ประเภท นักสังคมสงเคราะห์อาสาสมัคร ของ

มูลนิธิศาสตราจารย์ปกรณ์ อังศุสิงห์ พ.ศ. 2555 ได้รับ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาวิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา) จากมหาวิทยาลัย

รามคำแหง พ.ศ. 2555 ได้รับประทานรางวัล “ตาชั่งทอง” เป็นรางวัลที่ได้รับเลือกเป็นบุคคลแบบอย่าง (บุคคลสงเคราะห์ดีเด่นแห่งปี)

จากสำนั ก งานคณะกรรมการสงเคราะห์ เ ด็ ก และเยาวชน สถานพิ นิ จ และคุ้ ม ครองเด็ ก และเยาวชน

กรุงเทพมหานคร กระทรวงยุติธรรม

33


รางวัลศาสตรเมธี ประจำปีพุทธศักราช 2555

นายกว้าง รอบคอบ ประวัติ นายกว้าง รอบคอบ ข้อมูลทั่วไป วันเดือนปีเกิด วันที่ 1 มกราคม 2481 สถานที่เกิด (ภูมิลำเนา) จังหวัดมุกดาหาร บิดาชื่อ นายโจม รอบคอบ มารดาชื่อ นางเพ็ง รอบคอบ คู่สมรส นางสมสมัย รอบคอบ ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 8/219 หมู่ 3 ซอยร่วมมิตร ถนนติวานนท์ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2498 มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม พ.ศ. 2500 ป.กศ. โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี พ.ศ. 2504 ปริญญาตรี วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร พ.ศ. 2510 Graduate Diploma in Education Administration จากมหาวิทยาลัย Alberta ประเทศแคนาดา พ.ศ 2534 ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จาก วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ประกาศนียบัตรนักบริหารระดับสูง หลักสูตร 1 (นบส. 1) รุ่นที่ 9 พ.ศ. 2554 ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2504 ครูตรี โรงเรียนบำรุงวิทยา (สุนทรวิจิตร) จังหวัดนครพนม พ.ศ. 2505-2509 ครูตรี โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม พ.ศ. 2509-2513 ครูโท โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม พ.ศ. 2513-2517 ครูโท โรงเรียนบวรนิเวศทำหน้าที่หัวหน้าโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาในชนบท (คมช.) พ.ศ. 2517-2518 พนักงานพัสดุโท กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา ทำหน้าที่หัวหน้าโครงการพัฒนาโรงเรียน

มัธยมศึกษาในชนบท (คมช.) พ.ศ. 2518-2521 อาจารย์ใหญ่โรงเรียนปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2521-2532 ผู้อำนวยการโรงเรียนปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2532-2533 ผู้อำนวยการกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2533-2535 รองอธิบดีกรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2535-2537 ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ผู้ตรวจราชการ 10) พ.ศ. 2537-2539 อธิบดีกรมพลศึกษา พ.ศ. 2537-2539 เลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

34


พ.ศ. 2540-2542 เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายการศึกษา พ.ศ. 2540-2542 อธิบดีกรมสามัญศึกษา (เกษียณอายุราชการ) พ.ศ. 2545-2546 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2546-2547 กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวิทยาศาสตร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2547 กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2547 กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2548 กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552-2553 ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2552 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2552 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เกียรติคุณและเกียรติบัตร พ.ศ. 2537 บุคคลตัวอย่าง พ.ศ. 2535 ศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2535 ศิษย์เก่าโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน พ.ศ. 2535 เกียรติคุณที่ให้การอุปการะโรงเรียนด้วยดีตลอดมา ของโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จ.นครพนม พ.ศ. 2535 เกียรติคุณเชิดชูเกียรติที่สนับสนุนกิจการโรงเรียนของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย

จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2535 เกียรติคุณการจัดตั้งมูลนิธิเสาธงทอง โรงเรียนปากเกร็ด พ.ศ. 2535 เกียรติคุณเพื่อแสดงว่า มีสิทธิประดับเข็มเครื่องหมายพระปรมาภิไทยย่อ ป.ป.ร. ของกองพลปืนใหญ่ต่อสู้

อากาศยาน เกียรติบัตร นักทำลายใต้น้ำจู่โจมกิตติมศักดิ์ กองทัพเรือ พ.ศ. 2534 เกียรติคุณคณะกรรมการแรลลี่ลดมลพิษ ของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ พ.ศ. 2534 เข็มบุรฉัตร เป็นผู้บำเพ็ญคุณงามความดี มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ของกรมทหารสื่อสารที่ 1 กองทัพบก พ.ศ. 2534 เกียรติบัตร สมาชิกพลร่มสัมพันธ์กิตติมศักดิ์ ของศูนย์สงครามพิเศษ กองทัพบก พ.ศ. 2533 พ่อตัวอย่างแห่งชาติ ของสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา พ.ศ. 2533 เกียรติคุณผู้มีอุปการคุณต่อโรงเรียนมัธยมศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2528 เกียรติบัตร “มาตรฐานวิชาชีพครู” สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา พ.ศ. 2626 ผู้บริหารดีเด่น สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา พ.ศ. 2552 เกียรติบัตร “HONORARY PROFESSERS” ณ เมืองปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 5 ธ.ค. 2539 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) 5 ธ.ค. 2538 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) 5 ธ.ค. 2533 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) 5 ธ.ค. 2530 เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.) 5 ธ.ค. 2526 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) 5 ธ.ค. 2521 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) 5 ธ.ค. 2519 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) 5 ธ.ค. 2517 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) 5 ธ.ค. 2510 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)

35


พิมพ์ที่ บริษัท ธรรมสาร จำกัด 83 ถ.บำรุงเมือง แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 0-2226-2599, 0-2221-0374 แฟกซ์ กด 104 E-mail : dharmmasarn@yahoo.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.