การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
บทความเรียบเรียงจากการบรรยายและเสวนาในงานประชุมวิชาการ วันที่ 23 สิงหาคม 2559 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วิทยากร รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล รศ. ดร.น�้ำทิพย์ วิภาวิน รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช ศ.มาซาโตชิ คุโบ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ สิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี บรรณาธิการ ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
เอกสารวิชาการล�ำดับที่
121
1 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
“การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล”
บทความเรียบเรียงจากการบรรยายและเสวนาในงานประชุมวิชาการ วันที่ 23 สิงหาคม 2559 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วิทยากร
บรรณาธิการ บรรณาธิการเล่ม ออกแบบปกและจัดรูปเล่ม พิสูจน์อักษร ประสานงานการผลิต พิมพ์ครั้งที่ 1 จ�ำนวนพิมพ์ จัดพิมพ์
พิมพ์ที่
รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล รศ. ดร.น�้ำทิพย์ วิภาวิน รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช ศ.มาซาโตชิ คุโบ (Professor Masatoshi Kubo) ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ สิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ พงศกร เจนในเมือง สกลชนก เผื่อนพงษ์ พงศกร เจนในเมือง รุ้งตะวัน อ่วมอินทร์ ธนิตตา ธนสิริกุลวงศ์ ตุลาคม 2560 300 เล่ม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) 20 ถนนบรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170 โทรศัพท์ 0-2880-9429 โทรสาร 0-2880-9332 www.sac.or.th บจก.ภาพพิมพ์ 0-2879-9155
2
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ข้อมูลทางบรรณานุกรมหนังสือ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล : บทความเรียบเรียงจากการบรรยาย และเสวนาในงานประชุมวิชาการ / ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2560. 116 หน้า (เอกสารวิชาการล�ำดับที่ 121) ISBN : 978-616-7154-62-6 1. สังคมศาสตร์ – วิจัย – การจัดการข้อมูล. 2. การจัดการคลังข้อมูล. 3. การสร้างคลังข้อมูล 4. การจัดแฟ้มข้อมูล (วิทยาการคอมพิวเตอร์). I. ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ ; บรรณาธิการ II. ยื่น ภู่วรวรรณ. III. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. IV. น�้ำทิพย์ วิภาวิน. VI. ชื่อเรื่อง
H62.5.ท9ศ734 2560
ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงทีม่ า - ไม่ใช้เพือ่ การค้า - อนุญาตแบบเดียวกับ (by-nc-sa) เมื่อน�ำเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ไปใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มา โดยไม่น�ำไปใช้เพื่อการค้าและยินยอมให้ผู้อื่นน�ำเนื้อหาไปใช้ต่อได้ ด้วยสัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน ข้อมูลเพิ่มเติม www.cc.in.th www.creativecommons.org
3
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
สารบัญ สารจากผู้อ�ำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
7
บทบรรณาธิการ โดย ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
9
สาระส�ำคัญ 12 หมายเหตุการเรียบเรียงบทความ 16 ความยัง่ ยืนในการเข้าถึงและใช้ซำ�้ ข้อมูล วิทยากร รศ.ยืน ภูว่ รวรรณ
17
การก้าวสู่ดิจิทัล โลกไซเบอร์ ผสม โลกจริง การจัดการข้อมูลมหาศาล ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นการใช้ประโยชน์จาก “Big Data” การประมวลผลบนคลาวด์ การจัดการข้อมูลแบบเปิด การบริการแบบเปิด (open platform service) การจัดการทรัพยากรแบบเปิด สรุป อ้างอิง
18 19 22 24 26 28 28 29 32 32
33 การจัดการข้อมูลงานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ วิทยากร ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช และ ดร.วชิรภรณ์ คลังธนบูรณ์ ผู้ด�ำเนินรายการ สิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี
“คน” กับ “เครื่อง” ในคลังข้อมูล 35 โดย ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล
การก้าวข้ามช่องว่าง 35 คลังข้อมูลที่มีคุณภาพ 37 สิทธิของเจ้าของข้อมูล 38
4
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
การจัดการข้อมูลโบราณคดี : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ โดย รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช
41
ธรรมชาติของข้อมูลทางโบราณคดี 42 “จากใต้ดิน” สู่ “ดิจิทัล”
50 การจัดการข้อมูลการวิจัย : กระบวนการที่จ�ำเป็นต่อการสร้างสรรค์ความรู้และนวัตกรรม โดย ดร.วชิรภรณ์ คลังธนบูรณ์
เหตุที่ต้องมีการจัดการข้อมูลการวิจัย วงจรชีวิตข้อมูลการวิจัย แผนการจัดการข้อมูลการวิจัย การจัดการข้อมูลมีผู้เกี่ยวข้องหลากหลาย
52 54 56 59
ถาม-ตอบ ด�ำเนินรายการโดย สิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี อ้างอิง
61 67
กระบวนการจัดการข้อมูลดิจิทัล 68 และมาตรฐานการจัดการข้อมูลงานวิจัยในคลังสารสนเทศดิจิทัล วิทยากร รศ. ดร.น�้ำทิพย์ วิภาวิน Digital Curation: ความหมายและความรู้กับทักษะที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตและมาตรฐาน Digital Curation ที่ควรค�ำนึงถึง พัฒนาการการสร้างระบบและมาตรฐานข้อมูลดิจิทัล คลังสารสนเทศงานวิจัย ท�ำอย่างไรให้กระบวนการ Digital Curation ที่มีประสิทธิภาพ สรุปสาระส�ำคัญของการจัดการคลังสารสนเทศ อ้างอิง
5 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
71 72 73 77 78 81 84
การด�ำเนินการสารสนเทศ 86 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา ประเทศญี่ปุ่น (INFORMATION PROCESSING AT THE NATIONAL MUSEUM OF ETHNOLOGY)
วิทยากร ศ.มาซาโตชิ คุโบ (PROF. MASATOSHI KUBO)
88 ภารกิจและบทบาทในการศึกษาสังคมและวัฒนธรรม ของ “มินปากุ” แนวคิดในการส่งเสริมความร่วมมือ 94 เพื่อการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมแบบฟอรัม การสนับสนุนระบบที่บูรณาการจดหมายเหตุหรือฐานข้อมูล 103 อ้างอิง 108 DIGITAL CURATION กับนักวิจัย : บทบาทใหม่ส�ำหรับยุคใหม่ (DIGITAL CURATION AND RESEARCHERS: NEW ROLES FOR NEW TIMES)
วิทยากร ศ.มาซาโตชิ คุโบ และ รศ. ดร.น�้ำทิพย์ วิภาวิน ผู้ด�ำเนินรายการ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์
6
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
109
สารจากผู้อ�ำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
Thailand 4.0 นับเป็นวาระส�ำคัญที่ประเทศก�ำลังก้าวสู่ยุคของ การเปลีย่ นแปลง ทีอ่ าศัยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา ประเทศ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร (องค์การมหาชน) นับเป็นองค์กรแรกๆ ที่พัฒนาระบบในการจัดการความรู้ว่าด้วยสังคม ประวัติศาสตร์ และ วั ฒ นธรรม ด้ ว ยสื่ อ ดิ จิ ทั ล และเครื อ ข่ า ยอิ น เตอร์ เ น็ ต ด้ ว ยเล็ ง เห็ น ความส�ำคัญของข้อ มูล และความรู ้ ใ นฐานะรากฐานของการต่ อยอด คิดค้น ประดิษฐ์ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในการจรรโลงสังคมที่นับวัน จะมีความซับซ้อน และต้องการการสร้างความเข้าใจในความแตกต่าง และหลากหลายของผู้คนและชุมชน การจัดประชุมทางวิชาการ เรื่อง การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุค ดิจิทัล และเรียบเรียงเป็นเอกสารภายหลังการประชุมดังกล่าว นับเป็น ความพยายามของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ในการ กระตุ้นและส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาและการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และมนุ ษ ยศาสตร์ ต ระหนั ก ถึ ง การจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล ชั้ น ต้ น และชั้ น รอง อย่างเป็นระบบ เพื่อส่งต่อให้กับนักวิจัยคนอื่นๆ ในแวดวง โดยเฉพาะ นั ก วิ จั ย รุ ่ น หลั ง ข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วนั บ ได้ ว ่ า “มี ค วามสด” ในการบั น ทึ ก เพราะเป็ น ข้ อ มู ล พื้ น ฐานก่ อ นการประมวล ตี ค วาม วิ เ คราะห์ และ สังเคราะห์งานวิจัย 7 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ในยุคที่สื่อดิจิทัลแสดงบทบาทของตนเองอย่างต่อเนื่อง และ นับวันจะทวีความส�ำคัญมากยิ่งขึ้น นักวิจัยเองจะตระเตรียมมาตรการ ในการรั ก ษาบริ บ ทและเนื้ อ หาจากการท� ำ งานวิ จั ย เพื่ อ ท� ำ ให้ ข ้ อ มู ล งานวิจัยนั้นมีความสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว เอกสารเรื่อง “การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล” จากการบรรยาย และการเสวนาของนักวิชาการทั้งทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ สารสนเทศ ในการประชุมวิชาการ ที่จัดขึ้นโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จะท�ำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนสามารถทบทวน เนื้อหา หรือเรียนรู้เพิ่มเติม จนน�ำมาสู่การวางแนวทางการจัดการข้อมูล งานวิจัยได้อย่างเหมาะสม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ในฐานะศูนย์ข้อมูล ทางสั ง คม ประวั ติ ศ าสตร์ และวั ฒ นธรรม หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะได้ ท�ำหน้าที่เผยแพร่ความรู้และความช�ำนาญที่สั่งสมจากการท�ำงานในการ จัดการความรู้ และเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะ ในด้านสารสนเทศทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยในวาระ “Thailand 4.0” จักได้ก้าวสู่สังคมที่พัฒนาอยู่บนฐานของความรู้ โดยมี เทคโนโลยี ส ารสนเทศเป็ น เครื่ อ งมื อ ในการเรี ย นรู ้ แ ละสร้ า งสรรค์ ในกระแสโลกาภิวัตน์อย่างแท้จริง
(นายพีรพน พิสณุพงศ์) ผู้อ�ำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
8
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
บทบรรณาธิการ โดย ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
9 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
หนังสือ “การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล” ที่ท่านก�ำลัง อ่านอยูข่ ณะนีเ้ ป็นบทความ ทีม่ าจากการเรียบเรียงการบรรยายและเสวนา ในงานประชุมวิชาการในหัวข้อเดียวกัน เมือ่ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร (องค์การมหาชน) งานประชุมวิชาการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ส�ำคัญเพื่อสร้างความตระหนัก และเผยแพร่ความรู้ด้าน การจัดการข้อมูลดิจิทัลให้กับนักวิจัย นักจัดการข้อมูล นักศึกษา และ บุคคลภายนอกที่สนใจ โดยเชิญวิทยากรที่มีประสบการณ์ด้านการวิจัย และการจัดการข้อมูลทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ มาร่วมกัน แลกเปลี่ยนและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดการข้อมูลงานวิจัย ของประเทศไทยในอนาคต ในงานนี้ ศู น ย์ ม านุ ษ ยวิ ท ยาสิ ริ น ธร (องค์ ก ารมหาชน) ให้ ความส�ำคัญทั้งแนวคิดและแนวทางปฏิบัติในการจัดการข้อมูลงานวิจัย เพราะการจัดการข้อมูลงานวิจัยที่ดีจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ตั้งแต่ ระดับนโยบายของหน่วยงานถึงระดับนักวิจัยที่เป็นปัจเจกบุคคล ผู้สร้าง สะสม และส่งต่อข้อมูลดังกล่าวให้กับต้นสังกัด หรือบริจาคให้กับองค์กร ที่มีหน่วยงานดูแลเป็นการเฉพาะ ฉะนั้น เนื้อหาต่าง ๆ ในการบรรยาย และเสวนา จึงเน้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้าใจและตระหนัก และ น�ำไปสู่การปฏิบัติได้ในอนาคต 10
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
นอกจากนี้ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ยังจัด การประชุมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อเรื่อง “Digital Curation: Setting the Stage for Success” เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559 การประชุม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารดั ง กล่ า วเชื่ อ มโยงกั บ การประชุ ม เชิ ง วิ ช าการในครั้ ง นี้ โดยให้ความส�ำคัญกับการก�ำหนดนโยบายและทิศทางการจัดการข้อมูล งานวิจยั นับเป็นก้าวแรกและก้าวส�ำคัญส�ำหรับการจัดการข้อมูลงานวิจยั ในระดับองค์กรเพราะหากหน่วยงานใดไม่ก�ำหนดทิศทางและขอบเขต การจั ด การข้ อ มู ล ตั้ ง แต่ ต ้ น จะส่ ง ผลให้ ข ้ อ มู ล ที่ จั ด เก็ บ นั้ น ไม่ เ ป็ น ระบบมาตรฐานขององค์กร หรือกลายเป็นการท�ำงานที่ไม่ยั่งยืน เพราะ ไม่กำ� หนดหรือมอบหมายให้ฝา่ ยงานหรือบุคลากรท�ำหน้าทีจ่ ดั การข้อมูล จากนั ก วิ จั ย ที่ ชั ด เจน หรื อ ไม่ มี ก ารพั ฒ นาระบบรองรั บ อย่ า งแท้ จ ริ ง อย่างไรก็ดี เนือ้ หาจากการประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารในครัง้ หลังนี้ ไม่ได้รวบรวม ไว้ในหนังสือเล่มนี้ แต่ผู้ที่สนใจสามารถติดตามชมภาพบันทึกกิจกรรมได้ ทางเว็บไซต์ของศูนย์มานุษยวิทยาฯ “การจัดการข้อมูลงานวิจยั ในยุคดิจทิ ลั ” เป็นงานทีส่ ำ� คัญอย่างยิง่ ของหน่วยงานวิจัยต่างๆ เพราะข้อมูลจากงานวิจัยทั้งในรูปแบบข้อมูล เชิงสถิติ บันทึกข้อมูลภาคสนาม อนุทินของนักวิจัย ภาพนิ่งและภาพ เคลื่อนไหว เสียงบันทึกจากการสัมภาษณ์หรือจากสภาพแวดล้อม ฯลฯ ข้ อ มู ล เหล่ า นี้ ส ามารถเป็ น หลั ก ฐานชั้ น ต้ น และเปิ ด โอกาสให้ นั ก วิ จั ย คนอื่น ตีความหรือใช้ประโยชน์ในการศึกษา การต่อยอดความรู้ หรือ การวิพากษ์กับการวิจัยที่เกิดขึ้นและสามารถเป็นบทเรียนให้กับนักวิจัย รุ่นต่อไป ความท้าทายประการส�ำคัญ คือ ข้อมูลต่างๆ ที่นักวิจัยสร้าง และสะสมอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งมีลักษณะที่สะดวกสบายในการจัดการ แต่ในอีกทางหนึ่ง หากต้องการพัฒนาให้ข้อมูลดังกล่าวอ�ำนวยให้ผู้อื่น เข้าใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ จ�ำเป็นต้องมีกระบวนการ จัดการอย่างเหมาะสม นี่เองจึงเป็นที่มาของการจัดประชุมเชิงวิชาการ ในครั้งนี้
11 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
สาระส�ำคัญ
จากการบรรยายและเสวนา บรรณาธิ ก ารเห็ น ถึ ง ประเด็ น ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การจั ด การข้ อ มู ล งานวิ จั ย และควรกล่ า วถึ ง อย่ า งน้ อ ย สองประเด็ น เพื่ อ ให้ ค ลั ง ข้ อ มู ล วิ ช าการนั้ น กอปรด้ ว ยความถู ก ต้ อ ง สมบูรณ์ และทันสมัย รวมทั้งต้องเอื้ออ�ำนวยความสะดวกในการเข้าถึง และการใช้ซ�้ำข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ในประเด็นแรก การจัดการข้อมูลต้นทางด้วยผู้สร้างหรือผู้ผลิต ข้อมูลและการพัฒนาระบบที่เป็นมาตรฐานรองรับการดูแลรักษาและ การเปิดให้สาธารณชนเข้าใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวก และในอีกทางหนึ่ง นั่นคือการค�ำนึงถึงจริยธรรม ทรัพย์สินทางปัญญาและมิติทางวัฒนธรรม ในการก�ำกับการด�ำเนินการต่างๆ โดยการท�ำงานในแต่ละขั้นตอนนั้น มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั น ฉะนั้ น ผู ้ มี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย ในการจั ด การข้ อ มู ล ตั้งแต่ผู้สร้างข้อมูล ผู้ดูแลระบบ และผู้ที่ใช้ข้อมูล ต่างมีบทบาทและ ความรับผิดชอบ ดังที่ ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ กล่าวถึง “การจัดการ ข้อมูลการวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นไม่ใช่แค่ความรับผิดชอบของ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทั้งระบบต่างหากที่จะมีส่วน ร่วมกันในการจัดการข้อมูลการวิจัยอย่างเป็นระบบ” ส�ำหรับในประเด็นแรก ความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลต่างๆ และพร้อมส�ำหรับการใช้งาน จะเกิดขึน้ ได้นนั้ ผูส้ ร้างหรือผูผ้ ลิตข้อมูลต้อง ให้ความส�ำคัญกับการรักษาบริบทของข้อมูล ดังในตัวอย่างการอภิปราย ถึงข้อมูลทางโบราณคดีของ รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช “ข้อมูลที่ดีต้องมี ทะเบียน มีที่มา รู้บริบทของเวลาและสถานที่ เช่น ภาพถ่าย หากไม่มี รายละเอียดอืน่ ก็แทบจะไม่มปี ระโยชน์เลย ยิง่ เป็นข้อมูลส�ำหรับการวิจยั ควรมีการบันทึกข้อมูลในทุกขั้นตอน” ฉะนั้น รศ. ดร.น�้ำทิพย์ วิภาวิน จึงเน้นย�้ำถึง “การตรวจสอบ ความถูกต้อง มีการจัดท�ำเมทาดาทาหรือตัวแทนข้อมูล ...พร้อมที่จะให้ ผูใ้ ช้บริการเข้าถึงข้อมูลได้ทกุ เมือ่ ” มากไปกว่านัน้ ต้องมี “...การตรวจสอบ 12
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
สิ ท ธิ์ แ ละลิ ข สิ ท ธิ์ ใ นการจั ด เก็ บ และการเผยแพร่ และเพื่ อ ให้ ข ้ อ มู ล มีความสมบูรณ์ครบถ้วน” โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่อ�ำนวยในการ ก�ำหนดรูปแบบของการจัดการเอกสาร การส�ำรองและรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล พร้อมด้วยระบบมาตรฐานในการจัดเก็บไฟล์ และพัฒนา ให้คลังพร้อมส�ำหรับการใช้งานด้วยมาตรฐานเช่นกัน ทั้งหลายทั้งปวง “ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ ...ควรเป็นสิง่ ทีส่ ร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้อื่น ท�ำให้ผู้ใช้ข้อมูลอยากสร้างสรรค์ เป็นงานวิจัยต่อหรือสร้าง งานวิจัยใหม่” ดังที่ รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช กล่าวไว้ในตอนหนึ่งของ การบรรยาย ในประเด็นหลัง รศ.ยืน ภูว่ รวรรณ ตัง้ ค�ำถามไว้อย่างน่าสนใจว่า “...การเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น การจัดการทรัพย์สินอย่างไรที่ไม่ก่อให้เกิด ผลกระทบกับผู้อื่น” ในที่นี้ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ การสร้างสรรค์ผลงาน ที่ควรได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย หากแต่ ยังหมายถึงความมั่นคงและความปลอดภัย รวมถึงมิติทางสังคมและ วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลงานวิจัยด้วย ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ กล่าวถึงประเด็นทางจริยธรรมและ ทรัพย์สินทางปัญญาไว้ว่า “แม้ข้อมูลจะเป็นสิ่งส�ำคัญ แต่ไม่ใช่ทุกคน ที่ ส ามารถเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ได้ เพราะข้ อ มู ล บางอย่ า งอาจมี ค วามเสี่ ย ง ด้ า นความปลอดภั ย ความมั่ น คงของชาติ หรื อ อาจจะละเมิ ด สิ ท ธิ ส่วนบุคคลหากได้เผยแพร่ออกไป จึงต้องมีการจ�ำกัดระดับการเข้าถึง ส�ำหรับกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องแต่ละกลุ่ม ดังนั้นจึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้อง พิจารณาประเด็นเรื่องจริยธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาด้วย” ในที่นี้ มีตัวอย่างในสองลักษณะที่น่าสนใจและนับเป็นวิธีการ ท�ำงานทีค่ วรพัฒนาต่อยอด้วยเช่นกัน ตัวอย่างแรก เป็นตัวอย่างการท�ำงาน ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล กล่าวถึงการจัดการจดหมายเหตุมานุษยวิทยาที่เกี่ยวข้อง กับบุคคลและชุมชนที่นักวิจัยศึกษา “ในฐานะผู้ดูแลข้อมูลและส่งต่อ ข้อมูลให้ผู้อื่น เราต้องคิดต่อไปอีก เพราะเรื่องราวต่างๆ เป็นเรื่องของ 13 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
คนในชุ ม ชน เราจะน� ำ ชี วิ ต ประจ� ำ วั น ของพวกเขามาให้ ค นอื่ น อ่ า น ได้หรือไม่ ข้อมูลแบบใดควรเปิดเผย หรือเปิดเผยได้ในระดับใด ใครมี อ�ำนาจตัดสินใจ เช่น พิธศี พ ก็จะมีภาพศพ หรือภาพเด็กน้อยไม่ใส่เสือ้ ผ้า ที่ปัจจุบันเป็นพระสงฆ์แล้ว เราควรจะเผยแพร่หรือไม่ เป็นต้น” ทั้งนี้ กระบวนการท�ำงานดังกล่าวอาศัยการพัฒนาระบบการเปิดเผยข้อมูล ที่มีชาวบ้านมีส่วนร่วม โดยอาศัยการพูดคุยกับชุมชนต้นทาง ด้วยการ น�ำเสนอข้อมูลที่อยู่ในความรับผิดชอบ และชุมชนจะต้องมีส่วนร่วม ในการช่วยตัดสินใจว่าข้อมูลใดบ้างทีไ่ ม่ตอ้ งการให้เปิดเผย หรือไม่อยากให้ น�ำเสนอสู่สาธารณะ ตัวอย่างที่สอง เป็นการท�ำงานของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพนั ธุว์ ทิ ยา ประเทศญีป่ นุ่ ศ.มาซาโตชิ คุโบ กล่าวถึง “การปรับเปลีย่ น วิธคี ดิ เกีย่ วกับวัสดุทางชาติพนั ธุว์ รรณนา หรือ ethnographical materials ที่หมายถึงการรวบรวมวัตถุจากกลุ่มชน ให้เป็นทรัพยากรวัฒนธรรม (cultural resources) ที่อยู่ในความดูแลโดยผู้คนในพื้นที่ (site people) แต่ทรัพยากรวัฒนธรรมในที่นี้ มีเป้าหมายส�ำคัญในการสร้างความเข้าใจ ในวั ฒนธรรมของมนุษ ยชาติ ฉะนั้น จึง เป็น สมบั ติข องมนุ ษ ย์ ทั้ งปวง (global commons) ในฐานะภูมิปัญญาของมนุษยชาติ” การฟื้นฟูหรือ การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมในพื้นที่ต้นทาง จึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่ง ศ.คุโบ กล่าวถึงการพัฒนาฐานข้อมูลประเภทฟอรัม (forum-type) เพื่อ “...ลดความแตกต่างระหว่างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางกับสาธารณชน ...จึงเกิดการส่งเสริมให้เกิดการจัดการข้อมูลที่เปิดให้นักวิจัยเฉพาะทาง และสาธารณชนทั่ ว ไปที่ มี ค วามสนใจเฉพาะทางได้ ท� ำ งานร่ ว มกั น ” จนน�ำมาสูก่ ารพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลแบบฟอรัม ทีอ่ าศัยช่องทาง เว็บไซต์ จึงกล่าวได้ว่าความร่วมมือในการจัดการข้อมูลแบบฟอรัมก่อให้ “...เกิดจากการแบ่งปันความรู้และร่วมพลังในการด�ำเนินการ นับเป็น ความเปลี่ยนแปลงในเชิงจรรยาบรรณของการวิจัย”
14
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
กล่ า วได้ ว ่ า ความมุ ่ ง หมายของความร่ ว มมื อ ในการจั ด การ ทรัพยากรทางวัฒนธรรมแบบฟอรัม “...มุ่งหมายให้ผู้คนในพื้นที่ร่วมให้ ความหมาย ร่วมตัดสินใจ รวมถึงการพัฒนาข้อมูลในอนาคต” ตัวอย่าง ของการพัฒนาที่ ศ.คุโบ กล่าวไว้เป็นอย่างดี นั่นคือ การค้นคว้าเกี่ยวกับ วัฒนธรรมชาวไอนุ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่น วัฒนธรรม หลายอย่างสูญหายจากชุมชน ฉะนัน้ “สมาชิกในปัจจุบนั จึงเดินทางมายัง พิพิธภัณฑสถานฯ เพื่อสืบค้นวัฒนธรรมเรือขุด ซึ่งพิพิธภัณฑสถานฯ ได้บันทึกขั้นตอนและเทคนิคการขุดเรือ ในที่สุด ชนรุ่นใหม่ร่วมมือฟื้นฟู เทคโนโลยีการขุดเรือ จึงเรียกได้วา่ ทรัพยากรทางวัฒนธรรมเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งกับการฟื้นฟูหรือการสร้างสรรค์ในพื้นที่ทางวัฒนธรรมต้นทาง” เท่าที่บรรณาธิการกล่าวถึงสาระส�ำคัญจากการบรรยายและ การเสวนาในงานประชุมทางวิชาการนี้ เป็นเพียงเศษเสี้ยวของความรู้ หรือสาระจากวิทยากรแต่ละท่าน คงเป็นหน้าที่ของท่านที่จะใช้เวลาและ วิจารณญาณในการกลั่นกรองข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ข้อคิด และน�ำไปสู่ การประยุกต์ใช้ในการท�ำงานของตนเอง ความสมดุลระหว่างมาตรฐาน ในการจัดการข้อมูลกับการค�ำนึงถึงมิตสิ งั คมและวัฒนธรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับ การจัดการ นับเป็นความท้าทายในการท�ำงาน เพราะข้อมูลจากงานวิจัย ไม่มีลักษณะที่เป็นกลาง หากแต่มาจากบริบทและเงื่อนไขหนึ่งๆ ใน การท� ำ งานของผู ้ วิ จั ย การน� ำ ข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วมาจั ด เก็ บ และเผยแพร่ อย่างยั่งยืน จึงไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและมาตรการ ต่างๆ ในการการท�ำงานแต่เพียงเท่านั้น หากแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกส่วน จะต้องค�ำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ และความเปราะบางของข้อมูล ทีจ่ ะไม่สง่ ผลกระทบแก่ผหู้ นึง่ ผูใ้ ด เพือ่ ให้ขอ้ มูลจากงานวิจยั เป็นประโยชน์ อย่างสูงสุด
15 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
หมายเหตุการเรียบเรียงบทความ
การเรียบเรียงบทความจากการบรรยายและการเสวนาในที่นี้ อาศัยการท�ำงานในสามล�ำดับ ในล�ำดับแรก เป็นการถอดเสียงค�ำบรรยาย หรือบทสนทนา โดย พงศกร เจนในเมือง เพื่อน�ำเนื้อหาดังกล่าวมาสู่ การท�ำงานในล�ำดับต่อมา บรรณาธิการท�ำหน้าที่เรียบเรียงเป็นบทความ โดยการพิจารณาถึงความจ�ำเป็นในการเพิ่มเติมเชิงอรรถและการอ้างอิง รวมทั้ ง การก� ำ หนดภาพประกอบบางส่ ว นจากไฟล์ ก ารน� ำ เสนอของ วิทยากร เพื่อให้มีความเหมาะสมในการถ่ายทอดเนื้อหา นอกจากนี้ ผู้รับผิดชอบโครงการ สิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี ได้ด�ำเนินการตรวจสอบ ในชั้นต้น และเพิ่มเติมข้อความส�ำคัญด้วยการก�ำหนดรูปแบบน�ำเสนอ ด้วย “ข้อความที่เอียง” ให้ผู้อ่านตระหนักถึงประเด็นที่ควรพิจารณาหรือ ขบคิดในการท�ำงาน จากนัน้ บรรณาธิการจัดส่งบทความจากการเรียบเรียงให้วทิ ยากร แต่ละท่านตรวจสอบ และเป็นสิทธิข์ องวิทยากรในการคงไว้หรือการตัดทิง้ เชิ ง อรรถและการอ้ า งอิ ง รวมถึ ง การแก้ ไขอื่ น ๆ ที่ เ หมาะสมตามแต่ วิจารณญาณของวิทยากรแต่ละคน ส�ำหรับบทความจากการบรรยายของ ศ.คุโบ นั้น บรรณาธิการเรียบเรียงจากบทบรรยายในภาคภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทย เพื่ออ�ำนวยความสะดวกให้กับผู้อ่าน แม้บรรณาธิการ จะส่งบทความจากการเรียบเรียงให้ ศ.คุโบ ตรวจสอบ แต่เนื่องด้วย ภารกิจของเพือ่ นร่วมงานของ ศ.คุโบ ทีม่ คี วามสามารถในการใช้ภาษาไทย จึงไม่สามารถช่วยในการอ่านและแปลสรุปให้ ศ.คุโบ เข้าใจถึงเนื้อหา ของบทความในภาษาไทยที่บ รรณาธิก ารเรียบเรี ย งไว้ แต่ ด ้ ว ยความ ไว้วางใจในบรรณาธิการ จึงยินยอมให้เผยแพร่บทความจากการบรรยาย ของตนเองในภาคภาษาไทย อย่างไรก็ดี ความผิดพลาดอันใดทีเ่ กิดจากกระบวนการเรียบเรียง และการตรวจสอบเนื้ อ หาของบทความ บรรณาธิ ก ารขอน้ อ มรั บ ไว้ แต่เพียงผู้เดียว 16
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ความยั่งยืนในการเข้าถึง และใช้ซ�้ำข้อมูล วิทยากร รศ.ยืน ภู่วรวรรณ
17 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ผมรูส้ กึ เป็นเกียรติอย่างยิง่ ทีไ่ ด้มโี อกาสมาแลกเปลีย่ นความคิดเห็น ในวั น นี้ เมื อ งไทยก� ำ ลั ง ก้ า วไปข้ า งหน้ า ในยุ ค ดิ จิ ทั ล เราก� ำ ลั ง มี แ ผน ยุท ธศาสตร์ ชาติ 20 ปี ในแผนยุทธศาสตร์ช าติ 20 ปี นั้ น เราอาจจะ คุ้นเคยกับค�ำว่า “ไทยแลนด์ 4.0” (Thailand 4.0) เราให้ความส�ำคัญ ในเรื่อง ไทยแลนด์ 4.0 ที่เกี่ยวกับ Cyber-Physical System ในปัจจุบัน การด� ำ เนิ น ชี วิ ต มี ส องโลก คื อ การด� ำ เนิ น ชี วิ ต ที่ อ ยู ่ บ นโลกจริ ง และ การด�ำเนินชีวิตที่เราไปอยู่บนโลกสมมุติที่เรียกว่า Cyberspace ซึ่งมี ลักษณะเป็นจินตนาการบนโลกสมมติมากขึ้น การก้าวสู่ดิจิทัล
เอกสารสิ่ ง พิ ม พ์ ต ่ า งๆ หรื อ แม้ ก ระทั่ ง ข้ อ มู ล ข่ า วสารต่ า งๆ ก�ำลังจะถูกเปลี่ยนเป็นดิจิทัลไปเก็บไว้ในโลกสมมตินี้ ภายใต้โลกสมมตินี้ ก�ำลังจะมีบทบาทต่อชีวิตเรา และที่ส�ำคัญอย่างมากคือ ความรู้หรือ องค์ความรู้ต่างๆ เริ่มได้รับการพัฒนา และวิเคราะห์ จากข้อมูลข่าวสาร จ�ำนวนมาก โดยเครื่องจักร หมายความว่า วันนี้เรามีเครื่องจักร ที่ท�ำ หน้าที่ประมวลผลความรู้ เครื่องจักรเรียนรู้ได้เรียกว่า Learning Machine ซึ่ ง มี ห ลายบริ ษั ท ให้ ค วามสนใจสร้ า งขึ้ น มา ที ม งานของ Google น� ำ Learning Machine ให้เรียนรู้วิธีการเล่นโกะ และสามารถพัฒนาตัวเอง จนในที่สุดนั้น สามารถเอาชนะแชมป์โลกได้ 18
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ท�ำไมเครือ่ งจักรสามารถเรียนรู้ และฉลาดขึน้ ท�ำบางสิง่ บางอย่าง เหนือมนุษย์ได้ ค�ำตอบคือว่า เครื่องจักรคิดวิเคราะห์บนพื้นฐาน ของ ข้อมูลข่าวสารจ�ำนวนมาก เราเรียกส่วนข้อมูลข่าวสารจ�ำนวนมากนี้ว่า Big Data ข้อมูลข่าวสารจ�ำนวนมากเป็นสิง่ ทีส่ ามารถใช้ในการสร้างความรู้ อย่างทีม่ นุษย์ไม่เคยสร้างมาก่อนได้ ในวันนี้ มีสงิ่ ทีท่ า้ ทายอีกหลายประการ ที่จะท�ำให้เครื่องจักรช่วยท�ำงานแทนมนุษย์ เช่น ช่วยเป็นที่ปรึกษาให้ มนุษย์ ลองพิจารณาถึงสิ่งที่ท้าทายที่จะเกิดขึ้นในโลกนี้ บนพื้นฐานของ การเชื่อมโยงสื่อสารถึงกันบนอินเทอร์เน็ตที่ก�ำลังขยายเติบโตอย่างเร็ว การเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยที่พัฒนามาเป็น 4G-LTE และ ก�ำลังมีการประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ อีกมาก มีการใช้ข้อมูลดิจิทัล ประเภทต่าง ๆ โลกไซเบอร์ ผสม โลกจริง
เมื่ อ มี ก ารใช้ ส มาร์ ต โฟนมากขึ้ น คนไทยเริ่ ม ก้ า วเข้ า สู ่ ยุ ค ที่ เชือ่ มโยงกันผ่านทาง Cyberspace และเราก�ำลังผสมผสานสิง่ เป็น Physical กับ Cyber เข้าด้วยกัน ลองนึกถึงเกมโปเกมอน Pokémon Go เพิ่งเข้ามา เมืองไทยได้สองสัปดาห์ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม วันนี้คนเล่นกันมาก เป็นมหกรรมใหญ่ที่หลายสถานที่ บ่ายๆ เย็นๆ มีผู้รวมตัวไปเล่นกัน มากมาย ในมหาวิทยาลัยมีเสาโปเกสตอป (PokeStop) อยู ่ เรี ย งกั น เต็มไปหมด มีผู้คนไปจับโปเกม่อนกันตรงนั้น ที่น�ำเอามาพูดก็เพื่อให้ เข้ า ใจถึ ง ไซเบอร์ ผ สมกั บ กายภาพ เพราะโลกของเกมอยู ่ ใ นไซเบอร์ เหมือนในโลกดิจทิ ลั เราสร้างให้มตี วั ตนและมีชวี ติ จิตใจขึน้ มาได้ เราเรียกว่า augmented reality สิ่งที่เป็นดิจิทัลมาผนวกกับความจริงบนแผนที่จริง บนถนนจริง บนสิ่งแวดล้อมจริง จึงเป็นการผสมกันสองโลก วันนี้เราก�ำลังอยู่ในโลกสมมติหรือไซเบอร์ โลกที่เราเรียกว่าเป็น โลกดิจิทัล ภายใต้โลกดิจิทัล กดดันเราอย่างแรง ลองพิจารณาสิ่งต่อไปนี้ เงินก�ำลังจะเปลีย่ นเป็นดิจทิ ลั ทีเ่ ราเรียกว่า digital money อัตราแลกเปลีย่ น ในที่นี้ คือ BitCoin ต่อ 20,000 กว่าบาท หมายความว่า เราเอาเงินบาท ไปเปลี่ยนเป็น BitCoin ได้และน�ำไปซื้อสิ่งของต่างๆ ได้ 19 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ในวันนี้ ไม่มปี ระเทศใดเป็นเจ้าของหน่วยเงินนี้ เงินทีอ่ ยูใ่ นไซเบอร์ มีหน่วยทีส่ ร้างขึน้ มาใหม่ เป็นเสมือนก้อนดิจทิ ลั ก้อนหนึง่ ทีส่ ำ� คัญก็คอื ว่า มีเทคโนโลยีชั้นสูงเข้าไปจัดการที่ดูแลการแลกเปลี่ยน และมีระบบขนส่ง เงิน ที่เราเรียกว่า blockchain ที่เป็นฐานข้อมูลแบบทั้งโลกมาช่วยกัน แล้วน�ำเงินลงใส่ในระบบแล้วขนส่งไป เวลาจะซื้อขายเวลาหรือกิจกรรม อื่นๆ ทั้งระบบของการจัดการก็ดี ข้อมูลนั้นมีมูลค่า (value) มีอัตรา แลกเปลี่ยน หลังจากที่สหราชอาณาจักรลงประชามติออกจากสหภาพยุโรป เงินสกุลยูโรตก แต่ BitCoin เพิม่ BitCoin แข็งค่าขึน้ มาเรือ่ ยๆ เมือ่ ประมาณ 4-5 ปีก่อน BitCoin ต่อบาทอยู่ในช่วงแค่ต�่ำกว่า 1,000 บาทตอนนี้ 1 BitCoin เพิ่มไปถึง 20,000 กว่าบาท เราจะเห็นว่า BitCoin มีมูลค่า สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ในกรณีนี้ แสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีดิจิทัลมีการจัดการชั้นสูง และมี ค วามน่ า เชื่ อ ถื อ เงิ น ที่ เ ป็ น ดิ จิ ทั ล สามารถใช้ จ ่ า ยและส่ ง ต่ อ ใน ฐานข้อมูล และสามารถโอนกันไปโอนกันมาหรือใช้จ่ายได้ ในทุกวันนี้ เราเคยได้ยนิ ไวรัสทีเ่ รียกว่า Ransomware เมือ่ เข้ามาในเครือ่ งคอมพิวเตอร์ จะจัดการเข้ารหัสและมีข้อความในการเรียกค่าไถ่ บอกว่า “เราเข้ารหัส ข้อมูลคุณ ถ้าคุณอยากได้ข้อมูลคืน โปรดส่งเงินมาให้เรา 3 BitCoin” เมื่อช�ำระเงิน จะส่งกุญแจมาให้ไขเพื่อคืนข้อมูลมา ในยุคที่หลายสิ่งหลายอย่างก�ำลังเปลี่ยนเป็นดิจิทัล รัฐบาลก�ำลัง ด�ำเนินการเกี่ยวกับพร้อมเพย์ (PromptPay) ชาวบ้านยังไม่เข้าใจ ก็รู้สึก ต่อต้าน แต่ต่อไปก็จะคุ้นชิน และใช้กัน ในเมื่อทุกวันนี้ เราใช้พร้อมเพย์ อยู่แล้วโดยไม่รู้ตัว ลองนึกดูว่าในกระเป๋าสตางค์ มีบัตรแรบบิต (Rabbit) ส�ำหรับใช้บริการรถไฟฟ้า บัตรดังกล่าวก็เป็นพร้อมเพย์ เมื่อสองวันก่อน ไปทีแ่ มคโดนัลด์ใช้บตั รแรบบิตเพือ่ จ่ายแทนเงินสด หรือจะเป็น Starbucks card, True money, Easypass หรือ Line coin นี่ก็เป็นพร้อมเพย์ ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาไทยใช้ “เงินสกุลอาลีบาบา” ในการจ่าย เพื่อซื้อสินค้าและบริการ เรียกว่าเป็น digital money 20
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
วันนี้เราก�ำลังอยู่ในโลกที่เทคโนโลยีสร้างสิ่งที่เป็นดิจิทัล แล้วน�ำ มาแลกเปลี่ยนกัน มีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้แทนสกุลเงินได้ เพราะฉะนั้ น หมายความว่ า ดิ จิ ทั ล สามารถมี มู ล ค่ า ในทางกฎหมาย เราท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อไปนีค้ งปฏิเสธความเป็นดิจทิ ลั ไม่ได้ ถ้าเรามีกระดาษใบหนึ่ง เรามีกระบวนการเปลี่ยนกระดาษใบนี้ให้เป็น ดิ จิ ทั ล ที่ ถู ก ต้ อ ง และเราใช้ ก ระดาษใบนี้ เ ป็ น หลั ก ฐานทางศาลได้ อีกตัวอย่างหนึ่ง วันนี้ เราไปที่ “ตู้เอทีเอ็ม” ธนาคารให้ลายเซ็นเราด้วย รหัสประจ�ำบัตร (PIN code) 4 ตัว ทุกครัง้ ถ้าเราใช้รหัสนี้ นัน่ หมายความว่า เรายอมรับกับข้อมูลดิจทิ ลั ชุดนัน้ กฎหมายจะพิสจู น์วา่ เราลงลายมือชือ่ แล้ว เราเป็นคนท�ำให้ข้อมูลดิจิทัลนี้ หรือเอกสารชุดนี้เป็นเอกสารที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย และจะต้องจัดเก็บเอกสารให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้น ไว้เป็นหลักฐานได้ ทุกวันนี้ ธนาคารจ�ำเป็นต้องแข่งขันกันในการแย่งลูกค้า ไม่เช่นนัน้ ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งจะไปอยู ่ ใ นลั ก ษณะของธุ ร กรรมที่ ไ ม่ พึ่ ง พาธนาคาร (non-bank activities) ลองนึกถึงการใช้บัตร Starbucks, True money หรื อ Line coin หรื อ การเดิ น เข้ า ไปซื้ อ หนั ง สื อ ในร้ า นซี เ อ็ ด ผู ้ ซื้ อ ส่ ง โทรศั พท์มือ ถือ และใช้เงินสกุล ไลน์ ใ นการซื้ อหนั งสื อ ฉะนั้ น ในที่ สุด ดิจิทัลเข้ามาแทนสิ่งต่างๆ ที่เคยใช้กันด้วยกระดาษ ดิจิทัลมีบทบาท ที่ท�ำให้สิ่งที่ไม่มีตัวตนเข้ามาแทนที่ ในไม่ช้านี้ เราอาจจะไม่มีโอกาส ใช้ธนบัตรหรือเหรียญอีกต่อไป สิ่ ง ที่ ต ามมาต่ อ มาคื อ ข้ อ มู ล จากสมาร์ ต โฟนสามารถระบุ อัตลักษณ์บุคคล ซึ่งเป็นข้อมูลแทนบัตรประชาชน ในระยะเวลาอันใกล้ เมื่อบุคคลเดินผ่านที่ประตู จะมีการส่งสัญญานถามว่า “คุณคือใคร ?” แล้วโทรศัพท์มอื ถือจะตอบว่าเราเป็นใคร เพราะฉะนัน้ ในวันนีบ้ ตั รประจ�ำตัว เปลี่ยนแปลงแล้ว การน�ำโทรศัพท์มือถือผูกโยงกับบัตรประชาชนให้เป็น อั ต ลั ก ษณ์ บุ ค คลเดี ย วกั น และผู ก โยงเข้ า กั บ บั ญ ชี ส� ำ หรั บ พร้ อ มเพย์ จึงเห็นได้ว่าเป็นแนวคิดที่มุ่งสู่ระบบดิจิทัลมากขึ้นไปเรื่อยๆ 21 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
แต่ เ ดิ ม มนุ ษ ย์ พ ยายามเป็ น คนสร้ า งข้ อ มู ล ขึ้ น ตั้ ง แต่ โ บราณ ตั้งแต่สมุดข่อย มนุษย์เป็นคนเขียน เป็นคนบันทึก เป็นคนสร้างและใช้ อักขระ แต่วนั นีโ้ ลกยุคดิจทิ ลั มีสงิ่ ทีเ่ หนือกว่านัน้ มากมาย สิง่ ทีส่ ร้างข้อมูล จะไม่ใช่มนุษย์อกี แล้ว เรานึกถึงอุปกรณ์ตา่ งๆ เมือ่ เราขับรถไปทีศ่ นู ย์การค้า อุปกรณ์ระบุว่าคุณเป็นใครและจะให้จอดที่ไหน ซึ่งอาจแทนด้วยการ ใช้บัตรผ่านเข้าออก ข้อมูลเหล่านั้นสร้างขึ้นโดยเครื่องจักร ที่เราเรียกว่า Internet of Things หรือ IoT ซึ่งจะรับหน้าที่ในการสร้างข้อมูลจ�ำนวน มหาศาลในโลกทุกวันนี้ การจัดการข้อมูลมหาศาล
ในยุ ค ถั ด จากนี้ ไ ป ข้ อ มู ล ดิ จิ ทั ล จ� ำ นวนมหาศาลจะเกิ ด จาก เครื่องจักร เพราะเครื่องจักรจะเป็นผู้สร้างข้อมูล ต่อไปเรานึกถึงว่าถ้า โทรศัพท์มือถือเป็น “อัตลักษณ์บุคคล” เมื่อเดินผ่านประตู เครื่องจักรจะ ถามว่าคุณคือใคร โทรศัพท์มอื ถือก็จะตอบว่าเราคือใคร ฉะนัน้ ต่อไปก็จะ รูว้ า่ ในห้องนัน้ มีใครอยูบ่ า้ งและจะก�ำหนดแผนผังทีน่ งั่ อีกตัวอย่างหนึง่ คือ ในครัวเรือน อุปกรณ์ในบ้านจะเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ เมื่อเราเดินผ่านตู้เย็น ทักทายกับตู้เย็น และถามตู้เย็นว่าวันนี้มีอะไรกิน ตู้เย็นอาจจะคุยกับเรา โดยดูถึงลักษณะการสั่งและการเก็บอาหาร ข้อมูลเหล่านี้เชื่อมโยงกับ ข้อมูลดิจิทัลอื่นบนพื้นฐานของสิ่งที่เราเรียกว่า Internet of Things (IoT) ประเด็นส�ำคัญ คือ เมื่อเกิดข้อมูลจ�ำนวนมหาศาล ยังผลให้เกิด ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Big Data ลองนึกถึงว่ากล้องวงจรปิดที่ติดตั้งไว้ จ�ำนวนมากทั้งเมือง และอีกต่อไป รถทุกคันติดกล้องวงจรปิดทั้งหมด ข้อมูลที่มีอย่างท่วมท้นนี้จะได้รับการจัดการอย่างไร จึงกล่าวได้ว่าข้อมูล ได้เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม มนุษย์ไม่ใช่เป็นผู้สร้างข้อมูลแบบเดิมและ เชือ่ มโยงข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูลและการจัดการสารสนเทศเท่านัน้ ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดแนวคิดทีเ่ รียกว่าเป็น “datafication” นัน่ หมายถึงข้อมูล ที่เกิดจากเครื่องจักรเหล่านี้ควรถูกน�ำมาวิเคราะห์ จัดการ และสร้างเป็น ความรู้ใหม่ ความท้าทายของการจัดการข้อมูล จึงมีสามองค์ประกอบ ที่เป็นฐานของดิจิทัลที่จะส่งต่อไปในอนาคต ได้แก่ (1) การจัดเก็บข้อมูล 22
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
มหาศาลและการเข้ า ถึ ง (2) เครื่ อ งมื อ ในการควานเก็ บ ข้ อ มู ล และ (3) การใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้วยระบบวิเคราะห์ เมื่อเครื่องจักรสร้างข้อมูล เช่น สามารถใช้เสียงพูดแทนคีย์บอร์ด ในการท�ำเอกสารหนึ่งชิ้น ในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง ก็ท�ำเอกสารได้เกือบ เจ็ดหน้า เพราะฉะนั้น เอกสารที่มีจ�ำนวนมาก เราจะเก็บข้อมูลเหล่านั้น ไว้ ที่ ใ ด สิ่ ง ที่ เราจะเก็ บ ไว้ นั้ น สามารถเก็ บ ไว้ ใ นส่ ว นที่ เรี ย กว่ า cloud เพราะฉะนัน้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ นัน้ จะถูกเก็บบน cloud หรือ “ก้อนเมฆ” เอกสารทัง้ หมดทีผ่ มใช้ในการท�ำงานต่างๆ ในวันนีไ้ ม่ตอ้ งเก็บไว้กบั ตัวเอง เพราะเราสามารถท�ำงานทุกอย่างบนสมาร์ตโฟนได้ การพิมพ์เอกสาร สามารถท�ำบนสมาร์ตโฟนได้ ทั้งการป้อนหรือแก้ไขข้อมูล ผมสามารถ ใช้เสียงพูดในการท�ำงาน หรือการเข้าสู่โปรแกรมตารางค�ำนวณได้ เราต้องยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลจ�ำนวนมาก ไม่ว่าในหน่วยงานหรือ ของตัวเอง ในกรณีส่วนตัว ผมต้องเก็บข้อมูลไว้ในลักษณะ personal cloud ผมมีโอกาสใช้ระบบการจัดเก็บของ Apple เรียกว่า time machine ทีบ่ า้ น เป็นการจัดเก็บด้วยระบบ cloud ย่อยอย่างหนึง่ เมือ่ ระบบเชือ่ มโยง ข้อมูล จะลิงก์ในแบบ time machine ที่มีการจัดการบน cloud ฉะนั้น การท�ำงานตอนนี้เริ่มเปลี่ยนไปแล้ว เพราะข้อมูลจ�ำนวนมากล่องลอย อยู่บน cloud ถ้ า พิ จ ารณาในกรณี ข ององค์ ก รใดที่ ต ้ อ งมี ก ารจั ด การข้ อ มู ล จ�ำนวนมาก ข้อมูลนัน้ มาจากทีใ่ ด เช่น กรมสรรพากรดูแลข้อมูลจ�ำนวนมาก เขาต้องมีเครือ่ งจักรทีต่ รวจหาข้อมูลทีเ่ ราส่งผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต หรือ หากข้อมูลเป็นกระดาษ เขาจะสแกนให้กลายเป็นกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ แล้วหาวิธีการจัดเก็บเอกสารกระดาษไว้ในโกดัง ที่เหลือนั้นอยู่ในระบบ ก้อนเมฆที่ทุกคนเข้าถึงและใช้งานข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้ได้ เมื่อเป็นอย่างนี้ กรมสรรพากรต้องมีเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลดิจิทัลต่างๆ มารวมกันอยู่บน cloud ด้วยลักษณะของการค�ำนวณบน cloud และ น�ำข้อมูลที่อยู่บน cloud มาใช้ประโยชน์ เป็น cloud ขององค์กร 23 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นการใช้ประโยชน์จาก “Big Data”
ผมเพิง่ มีโอกาสบรรยายในงานทางการแพทย์ เรือ่ ง Smart Health มีแพทย์ทำ� การศึกษาในโครงการทีเ่ กีย่ วกับเรือ่ งโรคไหลตาย ด้วยการถอด Genome ของผู้เสียชีวิตด้วยโรคไหลตาย (1 Genome มี 3,500 ล้าน ตั ว อั ก ษร) จ� ำ นวน 200 คน แล้ ว น� ำ มาเปรี ย บเที ย บกั บ คนที่ ไ ม่ เ ป็ น โรคไหลตายอีก 200 คน เพื่อมองหาความสัมพันธ์ และสรุปถึงสาเหตุ ของโรคนี้ว่าสาเหตุมาจากพันธุกรรมหรือไม่ ความรู้ของเราในวันนี้คือ ยี น ส่ ว นใดที่ มี ผ ลต่ อ โรคนี้ นี่ เ ป็ น อี ก หนึ่ ง ตั ว อย่ า งที่ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า เราก�ำลังเผชิญกับข้อมูลจ�ำนวนมหาศาล หรือ “Big Data” และน�ำมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ได้ ตั ว อย่ า งเพิ่ ม เติ ม เกี่ ย วกั บ การใช้ ข ้ อ มู ล ขนาดใหญ่ ม าก เช่ น เมื่อเราเดินทางไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทางเจ้าหน้าที่เก็บภาพ ของผู้โดยสารจากการถ่ายภาพ และเก็บไว้ในฐานข้อมูล ท�ำการวิเคราะห์ (data analysis) ฐานข้อมูลดังกล่าวมีระบบ Learning Machine เพือ่ จดจ�ำ ใบหน้า หลังจากนั้น ภาพที่บันทึกจะถูกน�ำไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่ อยู่ใน “บัญชีด�ำ” (blacklist) ว่าตรงกันหรือไม่ หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ใน Social Media เช่น Facebook (เฟซบุ๊ก) เมื่อเราโพสต์ภาพเข้าไปและ “tag” ว่าคนนีเ้ ป็นใคร Facebook จะจัดการเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลทันที เมือ่ มีการโพสต์ภาพทีม่ บี คุ คลหน้าตาแบบนีอ้ กี ครัง้ หนึง่ ระบบจะสามารถ บอกทันทีว่าบุคคลนี้เป็นใคร การใช้ Google Maps เป็นอีกตัวอย่างของการใช้ข้อมูลแบบ Big data ในแต่ ล ะครั้ ง ก่ อ นออกจากบ้ า น เราสั่ ง ให้ Google Maps ค�ำนวณก่อนว่าเราจะเดินทางอย่างไร ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเส้นทางและ ระยะเวลาที่จะใช้ เพื่อให้เราเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด ค�ำถามว่า Google Maps รู้ได้อย่างไร? ตรงไหนมีรถยนต์มากหรือการจราจรติดขัด ค�ำตอบ
24
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
คือ Google Maps อาศัยสมาร์ตโฟนของทุกคนที่ใช้งาน ถ้าแต่ละเครื่อง เปิดระบบ GPS ข้อมูลดังกล่าวถูกส่งให้ Google มือถือของเราจะส่ง ข้อมูลสด (real time) ให้ Google แล้วข้อมูลดังกล่าวจะได้รับการวิเคราะห์ และกลับมาปรากฏบนแผนที่ โดยระบุดว้ ยสีให้เราทราบ ถ้ามีใครเดินทาง ก็ใช้ข้อมูลเหล่านั้นประมวลผล เขาค�ำนวณระยะเวลาให้เสร็จ วันนี้เราจึงอยู่กับ “การด�ำเนินการบนก้อนเมฆ” เวลาเราใช้งาน บนสมาร์ตโฟน เช่น การสนทนาผ่านสมาร์ตโฟน เกิดจากข้อมูลเสียง ที่ ส ่ ง ไปค� ำ นวณบนก้ อ นเมฆ เมื่ อ ได้ ผ ลลั พ ธ์ ถึ ง ส่ ง กลั บ มายั ง เครื่ อ ง โทรศัพท์มือถืออีกครั้ง เราเรียกว่า cloud computing ทุกอย่างในวันนี้ เราจะท�ำอะไรก็ตามแต่ ข้อมูลจะถูกน�ำไปค�ำนวณบนก้อนเมฆ จึงท�ำให้ ข้อมูลข่าวสารกองอยู่เป็นจ�ำนวนมาก ลองพิจารณาถึงข้อมูลข่าวสาร ที่ทุกวินาทีผู้ใช้โพสต์ข้อมูลไว้ใน เฟซบุ๊ก ทั้งคลิป รูปภาพ ข้อความ เพราะข้อมูลที่เราส่งให้ คือ ขุมทรัพย์ หรือทรัพยากรข้อมูลทีส่ ำ� คัญใน cloud ผลของการจัดการข้อมูลยังก่อให้ เกิดการใช้งานร่วมกัน แนวคิดของการจัดการข้อมูลจึงก้าวเข้าสูร่ ะบบเปิด ที่ทุกคนเข้าถึงได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใด เรียกได้ว่าสามารถเข้าถึงหรือ น�ำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ มี ก ารกล่ า วว่ า ในอนาคต แหล่ ง ความรู ้ ใ หญ่ คื อ Wikipedia เพราะเป็น crowd source ขุมความรู้ที่เป็นแหล่งข้อมูลของ “กลุ่มชน” คนทั้งโลกจะน�ำทุกสิ่งทุกอย่างไปเก็บรวมกัน ขนาดของ cloud จะเติบโต ต่อได้อีกหรือไม่ วันนี้เรายังไม่เห็นข้อจ�ำกัด ฉะนั้น ข้อมูลที่มีการจัดเก็บ จะอยูแ่ ละเรียกใช้ได้ตลอดไป แต่คงมีคำ� ถามถึงความมัน่ คงของการจัดเก็บ และความยั่ง ยืนในการใช้ป ระโยชน์ ข องสิ่ งที่ เ ป็ น ดิ จิทั ล ข้ อมู ลต่ างๆ มาจากปลายทางที่เราเรียกว่า end device หรืออุปกรณ์ที่ผู้ใช้ช่วยกัน ป้อนข้อมูลและให้ไว้กับโลก
25 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
การประมวลผลบนคลาวด์
Cloud computing ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ลองพิจารณาตัวอย่างการส่งสัญญาณโทรทัศน์แบบเดิมที่เปลี่ยนสู่ระบบ โทรทัศน์ดิจิทัล แต่ในปัจจุบัน การอัพโหลดคลิปเพลงไปไว้บน YouTube เพียงสัปดาห์เดียว ยอดจ�ำนวนการชมอาจสูงถึงล้านครั้ง ละครโทรทัศน์ หลายเรื่องจึงถ่ายทอดทาง Line TV แทนการส่งสัญญาณโทรทัศน์ปกติ จึงเห็นได้ว่า ข้อมูลและวิธีการคิดในการสื่อสารจึงเริ่มไม่จ�ำกัดรูปแบบ (unformatted) เดิมทีการสร้างและถ่ายทอดข้อมูล เราต้องสร้างรูปแบบ เพือ่ ข้อมูลเก็บทีเ่ ป็นตารางหรือช่องรายการ (fields) และน�ำเข้าสูฐ่ านข้อมูล เพื่ อ ให้ เ กิ ด การใช้ ง านอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ แต่ วั น นี้ ข ้ อ มู ล ดิ จิ ทั ล นั้ น กระจัดกระจายรวมกันในลักษณะ Big Data สมมติ ว ่ า กรุ ง เทพฯ ติ ด กล้ อ งวงจรปิ ด เป็ น แสนตั ว ทุ ก วิ น าที กล้องวงจรปิดเก็บข้อมูลดิจิทัลจ�ำนวนมหาศาลมากองรวมกัน วันหนึ่ง มีเหตุระเบิดเกิดขึ้น แล้วอยากรู้ว่าใครเกี่ยวข้องบ้าง ผู้ก่อเหตุเคลื่อนไหว ผ่านกล้องวงจรปิดตัวใดบ้าง ต้องไปหาข้อมูลดังกล่าวในระบบฐานข้อมูล ขนาดใหญ่ ฉะนั้น การค้นหาข้อมูลแบบเดิมเป็นไปไม่ได้ เพราะข้อมูล จ�ำนวนมหาศาล หรือจะสร้างข้อมูลที่เป็นรูปแบบก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะ ข้อมูลกองทับถมกันมากมาย การจัดการหรือการใช้งานข้อมูลในวันนี้ จึงต้องเปลีย่ นแนวคิดใหม่ ทีเ่ รียกว่า เครือ่ งมือคิดวิเคราะห์ (analytic tools) เครื่องมือคิดวิเคราะห์สามารถค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะไม่จ�ำกัดรูปแบบ มากขึน้ เมือ่ มองอย่างนี้ เราจะเห็นว่าทุกขณะจะมีขอ้ มูลทัง้ ทีเ่ ป็นทางการ และไม่เป็นทางการอยู่มากมาย สิ่งที่ตามมาคือ ข้อมูลเหล่านี้ไม่สูญหายไปไหน วันนี้ เด็กมัธยม ถ่ายคลิปแล้วคิดว่าเป็นเรื่องสนุก อีก 10 ปีต่อมา พวกเขาได้ท�ำงาน ฝ่ายบุคคลเกิดอยากรู้ประวัติ พฤติกรรม นิสัยใจคอ ว่าเป็นอย่างไร ก็ไป ควานหาจากข้อมูลขนาดใหญ่ ข้อมูลทีเ่ คยบันทึกไว้ในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ อาจถูกค้นหา และน�ำมาต่อเรือ่ งราวในอนาคต หากมีลกู หลานก็จำ� เป็นต้อง สอนให้รเู้ ท่าทันสือ่ หรือ “สือ่ ใหม่” (New Media) ทีม่ คี วามคงทนและยัง่ ยืน 26
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
IBM กล่าวถึงคุณลักษณะของ Big Dataไว้สี่ประการ (1) ขนาด ใหญ่มาก (2) เคลื่อนไหวเร็ว (3) มีความหลากหลาย และ (4) มีความ ไม่ แ น่ น อน ฉะนั้ น การใช้ ข ้ อ มู ล ใหญ่ ข นาดนี้ จึ ง ต้ อ งมี ก ลไกพิ เ ศษ หลายอย่าง หากมองต่อไปในอนาคต สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนคือ บ้านเมืองเราจะ “สมาร์ต” ขึน้ เรือ่ ยๆ ยกตัวอย่างคอนโดมิเนียม หากไม่มี ความสมาร์ต เราก็ใช้ชีวิตล�ำบาก ทุกวันนี้หลายสิ่งขยับไปสู่ความสมาร์ต เช่น รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ในอนาคตชีวิตเราจะซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ เราจะอยูก่ บั สิง่ ทีด่ ขี นึ้ เรือ่ ยๆ ข้อมูลข่าวสารจึงช่วยเรือ่ งความฉลาดให้เรา ใช้ชีวิตในโลกที่มีความต้องการความซับซ้อนมากขึ้น ฉะนั้น การพัฒนา ต่างๆ ทีเ่ กีย่ วกับข้อมูลข่าวสาร จึงต้องมองให้มองในมุมของผูใ้ ช้งานด้วย ต้องอ่านออกเขียนได้ทางดิจิทัล วันนี้ สิ่งที่เราอยากได้ ถ้าพัฒนาเมืองไทยไปสู่ดิจิทัล เราเก่ง การแพทย์ เราเก่งเกษตรกรรม ดิจิทัลจะต้องแทรกซึมเข้าไป ค�ำถามคือ คนหรือผู้ใช้นั้นมีความรู้พื้นฐานเพียงพอหรือไม่ เราเรียกสิ่งนี้ว่า “การ อ่านออกเขียนได้ทางดิจทิ ลั ” (media and information literacy หรือ MIL) ตัวอย่างเช่น เมื่อรัฐบาลพัฒนาร่วมภาคเอกชนในระบบทางการเงิน “พร้อมเพย์” แต่คนที่ยังไม่รู้เลยว่าคืออะไร กลับมีกระแสต่อต้านทันที เมื่อความรู้พื้นฐานของคนยังไม่พร้อม ยังไม่มีความเข้าใจที่ดี ดังนั้น ต้องยกฐานะของคนให้มีการอ่านออกเขียนได้ทางดิจิทัลด้วย มิฉะนั้น ประชาชนจะรับสิ่งที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาไม่ได้ นอกจากนี้ MIL ต้องเกี่ยวข้องกับทักษะของบุคคล เช่น จะกด รหัสเอทีเอ็ม ทักษะการกดเอทีเอ็มก็เกิดขึ้น หรือบุคคลจะขึ้นรถไฟฟ้า ต้ อ งไปซื้ อ บั ต รและสอดบั ต ร เป็ น ต้ น ทั ก ษะจะพั ฒ นาตามล� ำ ดั บ ในท�ำนองเดียวกัน ข้อมูลดิจทิ ลั จ�ำนวนมากต้องอาศัยเครือ่ งมือคิดวิเคราะห์ ข้ อ มู ล และเราจะพั ฒ นาทั ก ษะในการใช้ เ ครื่ อ งมื อ เพราะเครื่ อ งมื อ มีความจ�ำเป็น คล้ายกับการท�ำงานที่ใช้เครื่องจักรผ่อนแรงให้เราท�ำงาน ง่ายขึ้น วันนี้ พฤติกรรมของคนเริ่มเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลอย่างชัดเจนมาก เช่น มังงะ (การ์ตูน) ญี่ปุ่น ที่ในอดีตต้องพิมพ์ในลักษณะที่เป็นรูปเล่ม แต่ปัจจุบันเป็นออนไลน์ 27 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
อีกตัวอย่างหนึ่ง ลองเข้าเว็บไซต์หน่วยงานราชการไทยในตอนนี้ ปรากฏว่าข้อมูลข่าวสารในเว็บไซต์ ไม่เป็นแบบตอบสนอง (responsive) กับอุปกรณ์หลากหลายเช่นสมาร์ตโฟน เพราะการจัดท�ำข้อมูลให้เป็น ดิจทิ ลั ส�ำหรับหน่วยราชการไทยนัน้ กลับใช้เทคโนโลยีเมือ่ 10-20 ปีทแี่ ล้ว ในการท�ำเว็บไซต์ ถ้าเราอยากรู้ความเปลี่ยนแปลง ลองดูเทคโนโลยีของ การ์ตูน เพราะการ์ตูนในยุคใหม่อยู่ในสมาร์ตโฟนที่ให้คนใช้งานเพียง มือเดียวได้ อ่านสบาย และมีลักษณะที่ตอบสนองกับอุปกรณ์ดีมาก ฉะนัน้ การท�ำข้อมูลออนไลน์ตอ้ งสอดคล้องกับลักษณะการใช้งานอุปกรณ์ ของผู้ใช้ ถ้าข้อมูลออนไลน์ไม่สามารถใช้งานได้ในสมาร์ตโฟน ข้อมูล เหล่านั้นก็ไม่มีความหมาย การจัดการข้อมูลแบบเปิด
ในวันนี้ ทุกคนมีส่วนช่วยในการสร้างข้อมูล ซึ่งแตกต่างจากการ ท�ำสิง่ พิมพ์ตา่ งๆ ทีม่ ผี สู้ ร้างจ�ำกัด เช่น สารานุกรมบริทานนิกา (Britannica) ใช้นักวิชาการ 3,000-5,000 คนในการเขียน แต่ในวันนี้ มีคนทั้งโลก ช่วยกันเขียน Wikipedia ที่สามารถเขียนและแก้ไข และยังมีหุ่นยนต์ ในการแก้ ไขและตรวจสอบเพื่ อ ให้ ข ้ อ มู ล มี ค วามน่ า เชื่ อ ถื อ มากที่ สุ ด เราจะเห็นว่ากลไกในการสร้างข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนรูปแบบจากอดีต การเปลี่ยนรูปแบบเช่นนี้ท�ำให้เกิดธุรกิจและบริการใหม่ๆ ที่ไม่น่าเชื่อว่า จะเป็นไปได้ เช่น เฟซบุ๊กที่ไม่ได้มีข้อมูลเป็นของตนเอง แต่ให้บริการและ สร้างรายได้มหาศาล หรือธุรกิจการให้บริการขนส่ง Uber ที่ไม่มีรถยนต์ เป็นของตนเอง แต่ให้บริการโดยการใช้เทคโนโลยีในการเชือ่ มโยงระหว่าง ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ หรือ ธุรกิจ Airbnb ที่ไม่มีโรงแรมหรือที่พัก ของตนเองเลย แต่ท�ำให้เกิดโลกยุคใหม่ได้ การบริการแบบเปิด (open platform service)
ในโลกยุคใหม่ เป็นยุคของเศรษฐกิจเชิงสังคม (socio economics) ที่หมายถึง ระบบเศรษฐกิจต่างๆ เกิดจากคนในสังคมช่วยกันท�ำ หากเรา เป็นหน่วยงานที่อยากเก็บข้อมูลและท�ำอยู่อย่างโดดเดี่ยว สิ่งที่เราท�ำนั้น 28
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
เป็ น เหมื อ นจุ ด เล็ ก ๆ จุ ด หนึ่ ง เท่ า นั้ น แต่ ถ ้ า หากเราสร้ า ง “ชุ ม ชน” (community) ที่ประกอบด้วยคนจ�ำนวนมาก เช่น นิสิต นักศึกษา อาจารย์ เมื่ อ ท� ำ วิ จั ย ส� ำ เร็ จ ต้ อ งน� ำ ผลการศึ ก ษามาแบ่ ง ปั น จะเกิ ด ลั ก ษณะ การท�ำงานเชิงสังคม เพราะการท�ำข้อมูลอย่างโดดเดี่ยว จะไม่ส่งเสริมให้ มี ม วลชนจ�ำนวนมากเพียงพอที่จ ะสร้ างคุ ณ ค่ าให้ เ ห็ น ได้ ในทุ กวั น นี้ การท�ำงานจึงต้องอาศัยสังคม ความร่วมมือ และการท�ำงานเป็นทีม เพื่อแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน จึงจะท�ำให้งานด�ำเนินได้ด้วยดี การจัดการทรัพยากรแบบเปิด
ฉะนั้น การบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลง การปรับเปลี่ยน หรือการสร้างข้อมูลดิจิทัลนั้น ต้องหาวิธีการและกระบวนการใหม่เข้ามา สนับสนุน เช่น เอกสารหรือสิ่งพิมพ์ทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ในห้องสมุด หลายแห่ง สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ นั่นคือ จะท�ำอย่างไรให้เอกสารดังกล่าว เกิดการใช้ซำ�้ โดยไม่กระทบกระเทือน ฉะนัน้ การรวมกันเป็นจดหมายเหตุ ของเอกสารทางประวัติศาสตร์ ในอีกลักษณะหนึ่ง งานอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่พัฒนาการสมัย Netscape ที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์รุ่นแรกของ มหาวิทยาลัยนัน้ ทุกวันนีผ้ มหาเว็บไซต์ดงั กล่าวไม่เจอ แต่กลับไปค้นเจอ ในลักษณะที่เป็นจดหมายเหตุอนุรักษ์ไว้ที่ญี่ปุ่น หรือแม้แต่อีเมลของ ตนเองทีใ่ ช้คยุ กับลูกตัง้ แต่ ค.ศ. 1994 ผมว่ามีคณ ุ ค่ามาก ปัจจุบนั นีก้ ย็ งั อยู่ เพื่อเป็นหลักฐานว่าสมัยนั้นเราคุยกับลูกอย่างไรบ้าง เป็นต้น ในแง่ของงานวิชาการ บางอย่างที่เราศึกษาเป็นเพียงหลักฐาน ทุติยภูมิ (secondary source) แต่หากต้องการศึกษาในเชิงลึก การเข้าถึง หลักฐานปฐมภูมิ (primary source) เป็นเรื่องส�ำคัญมาก ฉะนั้น หาก เกิดการจัดเก็บหลักฐานปฐมภูมิ และส่งเสริมให้มีการใช้ซ�้ำได้โดยง่าย และเข้า ถึง ง่า ย คุณค่า ของงานวิจัยก็ จะมี ม ากขึ้ น ปั จจุ บั น หลายเล่ ม เป็นหนังสือหายาก เช่น หนังสือที่ผมเขียนเมื่อ พ.ศ. 2519 หนังสือเรื่อง สมบัติผู้ดี นิทานร้อยบรรทัด แบบเรียนต่างๆ เมื่อประวัติศาสตร์ต้อง มาจากต้ น ทาง หากเรามี ข ้ อ มู ล และมี ก ารบั น ทึ ก ไว้ เ ป็ น จ� ำ นวนมาก สิ่งเหล่านี้จะมีคุณค่า 29 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
บางครั้ ง หากต้ อ งการค้ น หาเอกสารบางอย่ า งในอดี ต ไม่ ใช่ เรื่องง่าย เช่น หนังสือพิมพ์สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แม้เรารู้ว่า หอสมุดแห่งชาติเก็บเอกสารดังกล่าว แต่เป็นเรื่องยากกว่าจะอ่าน หรือ หาเสียงจอมพลประภาส จารุเสถียร หรือโฆษณาของ ส. สะพานมอญ หรื อเพลงโฆษณาถ่า นไฟฉายตรากบ บางครั้ งเราสามารถหาได้ จาก เว็บไซต์ YouTube ที่มีผู้อัปโหลดเก็บไว้ ดังนั้น หากเราสามารถเข้าถึง ข้อมูลได้โดยง่าย เราจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เทคโนโลยีมีส่วนส�ำคัญในการท�ำงานในสี่ลักษณะ (1) รูปแบบ การจั ด การเอกสาร (2) การส่ ง เสริ ม ให้ ผู ้ ใช้ บ ริ ก ารเข้ า ถึ ง เอกสารนั้ น (3) การจัดการทรัพย์สินอย่างไรที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับผู้อื่น และ (4) การจัดการสภาวะเสมือนจริง เราเรียนรู้ว่าเทคโนโลยีพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ถ้าเราเตรียมข้อมูล และต้องการให้ผู้คนเข้าถึง เราสามารถจัดการระดับชั้นของการใช้งาน ตั้งแต่การเข้าถึงแบบเปิด (open access) ที่ให้ใครก็ได้เข้ามา หรือการ จัดการเข้าถึงเฉพาะกลุ่ม สอดคล้องกับนโยบายขององค์การยูเนสโก (UNESCO) หรือองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาแหล่งการศึกษาแบบเปิด หรือ Open Education Resource (OER) ด้วยการส่งเสริมให้หน่วยงาน น�ำ ทรั พ ยากรทางการศึก ษามาแบ่ง ปันกัน เพื่ อให้ ม นุ ษ ย์ มี การศึ กษา ที่ดีขึ้น ดังนัน้ แล้ว จึงควรมีการท�ำงานเพือ่ ส่งเสริมการแบ่งปันทรัพยากร ทางการศึกษาในสามด้าน ด้ า นที่ ห นึ่ ง การจั ด เก็ บ ทรั พ ยากร ในปั จ จุ บั น มี ก ารจั ด การ แหล่งข้อมูลดิจทิ ลั แบบเปิด (open source) ในสองแนวทาง คือ กลุม่ MIT ที่พัฒนาโปรแกรม DSpace กับกลุ่มที่สอง คือ Fedora ที่ NECTEC ในประเทศไทยใช้ในการจัดการชิ้นส่วนดิจิทัล
30
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ด้ า นที่ ส อง การขึ้ น ทะเบี ย นชิ้ น ส่ ว นดิ จิ ทั ล หรื อ ที่ เรี ย กว่ า Digital Object Identifier (DOI) ในประเทศไทย มีส�ำนักงานคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ ในความเป็นจริง หอสมุดแห่งชาติน่าจะ ท�ำหน้าทีด่ งั กล่าว เพราะด�ำเนินการจดแจงการพิมพ์และเลขมาตรฐานสากล ประจ�ำหนังสืออยู่แล้ว ด้ า นที่ ส าม การเข้ า ถึ ง แบบเปิ ด ที่ มี ก ารพั ฒ นาเครื่ อ งจั ก ร ค้นคว้า (search engine) เช่น Google และมีการพัฒนา Google Scholar เพื่อการบริการข้อมูลข่าวสารทางวิชาการ ฉะนั้น การพัฒนาแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดที่อาศัย การน� ำ ชิ้ น ส่ ว นดิ จิ ทั ล ต่ า งๆ มาเรี ย บเรี ย งเป็ น สื่ อ การเรี ย นการสอน ย่อมส่งผลให้ชิ้นส่วนดิจิทัลที่เก็บไว้ เกิดคุณค่าและส่งเสริมการใช้งาน อย่างต่อเนื่องในรูปแบบต่างๆ เช่น Massive Open Online Course (MOOC) คือ หลักสูตร (course) ที่เรียนออนไลน์ (online) จากระบบที่ เปิ ด ให้ ใช้ ง านฟรี (open) และรองรั บ ผู ้ เรี ย นจ� ำ นวนมาก (massive) ซึ่งเชื่อมโยงกับโออีอาร์ (OER) สุ ด ท้ า ยคื อ มาตรฐานที่ น� ำ มาประยุ ก ต์ กั บ การจั ด การข้ อ มู ล ประกอบด้วย ไอเอสโอ (ISO) สี่ด้านที่ควรให้ความส�ำคัญ (1) การบริการ ข้อมูล (Information Service) (2) ความเป็นส่วนตัว (Privacy) (3) ความ ต่อเนื่อง (Continuing) และ (4) ความปลอดภัย (Security) เพื่อให้การ จัดการข้อมูลมีความน่าเชื่อถือและมั่นคง เช่น สิทธิความเป็นส่วนตัว ซึ่งในประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายนี้ ในบางประเทศ ไม่อนุญาตให้ น�ำภาพถ่ายบุคคลอื่นโพสต์ในเฟซบุ๊ก
31 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
สรุป
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เกิดลูกโซ่ของนวัตกรรมทาง การวิจัย โดยการใช้ข้อมูลนั้นเป็นฐานความรู้ เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ เพือ่ ให้บรรลุนโยบาย Thailand 4.0 อย่างน้อยประเทศไทยต้องสร้างสรรค์ นวัตกรรมของตนเอง บนความรู้ บนวิชาการของตนเอง การจัดการ ข้อมูลข่าวสารจะเป็นส่วนสนับสนุน มิฉะนั้น เราจะวิจัยหรือสร้างสรรค์ นวัตกรรมได้ยาก และปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงและความยั่งยืน ในการเข้าถึงข้อมูล นั่นคือปริมาณของข้อมูลที่มีคุณภาพ และการศึกษา ทิศทางของเทคโนโลยีที่ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน อ้างอิง
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2559. “แผนพัฒนา ดิจทิ ลั เพือ่ เศรษฐกิจและสังคม”. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสือ่ สาร. http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/ 590613_4Digital_Economy_Plan-Book.pdf. ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2559. “PromptPay”. ธนาคารแห่งประเทศไทย. https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/PSServices/ PromptPay/Pages/default.aspx ศูนย์เทคโนโลยีอเิ ล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. 2559. “NETPIE: Internet of Things”. นวัตกรรมพร้อมใช้. https://www.nectec. or.th/innovation/innovation-software/netpie.html. Cukier, Kenneth, and Viktor Mayer-Schoenberger. 2013. “The Rise of Big Data”. Foreign Affairs, June, 28–40. หมายเหตุ : ห้วงเวลา เหตุการณ์ และข้อเท็จจริงในบทความนี้ ให้อิง วันที่ 23 สิงหาคม 2559 เป็นส�ำคัญ 32
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
การจัดการข้อมูลงานวิจัย ทางด้านสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ วิทยากร ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช และ ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ ผู้ด�ำเนินรายการ สิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี
33 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ในการน�ำเสนอเนื้อหาในเวทีนี้ แบ่งเป็นสี่ช่วงด้วยกัน โดยให้ วิทยากรแต่ละท่านน�ำเสนอเนื้อหาประมาณ 20-30 นาที และมีการ แลกเปลีย่ นความเห็นในช่วงสุดท้าย โดย ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล เป็นผูน้ ำ� เสนอคนแรก ในการกล่าวถึงข้อคิดต่างๆ ทีส่ ำ� คัญของหน่วยงาน ที่สร้างฐานข้อมูลงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในล�ำดับ ต่อมา รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช แสดงให้เห็นถึงข้อมูลหลากหลายลักษณะ ของการศึกษาทางโบราณคดี และประโยชน์ในการจัดท�ำข้อมูลต่างๆ จากการวิจัย เพื่อให้นักวิชาการและสาธารณชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ ในล�ำดับสุดท้าย ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ ล�ำดับให้เห็นความส�ำคัญ ของแผนการจั ด การข้ อ มู ล งานวิ จั ย ซึ่ ง ควรได้ รั บ การเตรี ย มการและ ก�ำหนดขั้นตอนในการท�ำงานอย่างชัดเจน เพื่อให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นใน งานวิจัยเป็นประโยชน์ส�ำหรับการใช้งานในระยะยาว 34
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
“คน” กับ “เครื่อง” ในคลังข้อมูล
โดย ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล
ในฐานะที่ไม่ใช่นักเทคโนโลยีและมีความรู้ด้านสารสนเทศน้อย อย่างดีก็ใช้ Email, Facebook, Line เหมือนผู้สูงวัยทั่วไป แต่เมื่อต้อง มาท�ำงานกับองค์กรที่ปวารณาตนเองว่าเป็น “ศูนย์ข้อมูลทางสังคม วัฒนธรรม” ของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีหลายเรือ่ ง ที่ ต ้ อ งคิ ด และเป็ น ประสบการณ์ ใ นการท� ำ งานด้ า นนี้ จึ ง อยากน� ำ มา แลกเปลี่ยนกัน ประกอบด้วย เรื่องแรก การก้าวข้ามช่องว่าง เรื่องที่สอง คลังข้อมูลที่มีคุณภาพ เรื่องที่สาม สิทธิของเจ้าของข้อมูล
การก้าวข้ามช่องว่าง
ในฐานะนักมานุษยวิทยาที่ได้ท�ำงานกับคลังข้อมูลดิจิทัล พบว่า มีช่องว่าง เป็นพรมแดน เป็นก�ำแพงที่ต้องก้าวข้ามมากมายหลายอย่าง สิ่งหนึ่งที่พบคือ ภาษาของเทคโนโลยีสารสนเทศกับภาษาสังคมศาสตร์ เป็นคนละชุดกัน พูดกันคนละภาษา ไม่เพียงเฉพาะค�ำศัพท์ท่ีใช้ แต่เป็น กระบวนการคิดและการให้ความส�ำคัญในเรื่องต่างๆ ที่แตกต่างกันมาก การท�ำงานครั้งแรกๆ ต้องน�ำนักวิชาการของศูนย์มานุษยวิทยา สิรนิ ธร เช่น นักโบราณคดี นักภาษาศาสตร์ นักมานุษยวิทยา มานัง่ คุยกับ นักวิชาการสารสนเทศ เช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ โปรแกรมเมอร์ และ เราก็ พ บกั บ ค� ำ ศั พ ท์ ต ่ า งๆ เช่ น Metadata, Archive, Repository, ฐานข้อมูล (Database) ยังมี Drupal, DSpace, Dublin Core ล้วนเป็น “ศัพท์ต่างด้าว” การที่ เราต้ อ งเข้ า ใจสิ่ ง เหล่ า นี้ มี ค วามส� ำ คั ญ ตรงที่ บั ง คั บ ให้ นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องอธิบายถึงสิ่งที่มีความซับซ้อน ให้คนที่ไม่รู้เรื่องได้เข้าใจ เป็นการสื่อสารระหว่างกัน ซึ่งส�ำคัญในการ วางแผนว่า เราจะออกแบบคลังข้อมูลอย่างไร ในลักษณะที่ซื่อตรงต่อ ข้อมูลทางสังคมศาสตร์ ขณะที่ต้องใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และอ�ำนวยความสะดวกในการใช้งาน 35 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ขณะเดียวกัน นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศต้องปวดหัวกับค�ำ ทีน่ กั สังคมศาสตร์ใช้ เช่น ชาติพนั ธุ์ ทีด่ เู หมือนจะเข้าใจง่าย แต่ความหมาย ทางวิชาการต่างกัน หรือ ความหลากหลาย อัตลักษณ์ “Anthropocene” ทีห่ มายถึง “มนุษยสมัย” หรือยุคสมัยมนุษย์ครองโลก นีก่ เ็ ป็นศัพท์สว่ นหนึง่ ที่นักวิชาการสารสนเทศต้องเรียนรู้ ท�ำให้นักสังคมศาสตร์จ�ำเป็นต้อง อธิบายตนเอง ฉะนั้น สิ่งที่ส�ำคัญประการหนึ่งในการท�ำคลังข้อมูลคือ “การสือ่ สารระหว่างกัน” ระหว่างกลุม่ คนทีไ่ ม่คอ่ ยได้แลกเปลีย่ นกันเท่าไร แต่จ�ำเป็นต้องสร้างทักษะในการอธิบายตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจ ต่อมาได้พบช่องว่างอีกแบบหนึ่ง มีค�ำที่ มาร์ค เปรนสกี (Marc Prensky)1 ใช้เรียก คนที่เกิดช่วง ค.ศ. 2000 หรืออายุปัจจุบัน 20-30 ปี ถือเป็นกลุม่ คน Digital Native หรือเป็นชาวดิจทิ ลั โดยก�ำเนิด เกิดมาในยุค ทีท่ กุ อย่างเป็นดิจทิ ลั เรียนหนังสือก็ใช้ Tablet อยูบ่ า้ นเล่นเกมคอมพิวเตอร์ แวดล้อมด้วยเทคโนโลยี คนเหล่านี้จึงคุ้นเคยกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนคนยุคก่อนหน้านั้น เรียกว่า Digital Immigrant เป็นชาวดิจิทัลอพยพ พลัดหลงเข้ามาในโลกดิจิทัล จะออกก็ไม่ได้ แต่ไม่คุ้นเคยกับภาษาดิจิทัล ลักษณะของคนสองกลุม่ นีม้ คี วามแตกต่างกัน ชาวดิจทิ ลั โดยก�ำเนิด จะเป็นผู้ท�ำอะไรได้หลายอย่างพร้อมกัน เวลาท�ำงาน ก็เล่นเกม ฟังเพลง พร้อมกันได้ มีกระบวนการคิดไม่เป็นขั้นตอน แต่คิดพร้อมกันหลายเรื่อง สลับกันไปมา ใช้มัลติมีเดียคล่องแคล่ว มีทรัพยากรด้านสื่อมากมาย ขณะทีช่ าวดิจทิ ลั อพยพมีทรัพยากรจ�ำกัด ยังค้นหาความรูใ้ นห้องสมุด หรือ หอจดหมายเหตุเป็นหลัก อาจใช้ Google หรือ Wikipedia บ้าง แต่ชาว ดิจทิ ลั อพยพคงนิยมรับความรูด้ ว้ ยตัวหนังสือเป็นหลัก มีกระบวนการคิด เป็นขั้นตอน นิยมท�ำอะไรทีละอย่าง
1
โปรดดู Marc Prensky, “Digital Natives, Digital Immigrants” (2001)
36
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
สิ่งนี้ถือเป็นช่องว่างอีกแบบที่คนท�ำงานด้านสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ตอ้ งเผชิญ เราต้องคิดว่าคนทีใ่ ช้ฐานข้อมูลของเราเป็นมนุษย์ ประเภทใด ชาวดิจิทัล โดยก�ำเนิดหรื อชาวดิ จิทั ลอพยพ เราจะเสนอ ข้อมูลไปสู่คนกลุ่มใด เน้นเรื่องใดเป็นพิเศษ รวมทั้งผู้ร่วมงานเช่นกัน ที่มีหลากหลายรูปแบบ ฉะนั้น การก้าวข้ามเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งส�ำคัญและ มีความท้าทาย คนท�ำงานด้านฐานข้อมูลสังคมวัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ต้องเตรียมตัวเผชิญปัญหาเหล่านี้
คลังข้อมูลที่มีคุณภาพ
หากเรากล่าวถึงคลังข้อมูลวิชาการทีไ่ ม่ใช่เว็บไซต์ทวั่ ไป คลังข้อมูล วิชาการต้องให้ความส�ำคัญกับการมีข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นย�ำ สมบูรณ์ และทันสมัย เราต้องระวังว่าสิ่งที่แม้จะดูเป็นวิชาการมากในเว็บไซต์ ก็มีความผิดพลาดได้เช่นกัน ยกตัวอย่างฐานข้อมูลของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร “ฐานข้อมูล งานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย” กลุ ่ ม ชาติ พั น ธุ ์ โ ดยเนื้ อ หานั้ น เข้ า ใจยากมาก เพราะผู ้ ศึ ก ษา ไม่สามารถเข้าถึงภาษาได้ ภาษาจึงท�ำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น คนไทย เรียกกะเหรี่ยง แต่พวกเขาเรียกตนเองว่าปกาเกอะญอ หรือคนไทยเรียก ลัวะ แต่พวกเขาเรียกตนเองว่าละเวื้อ ละวะ ปลัง เป็นต้น ถือเป็นความ แตกต่างที่ละเอียดอ่อน หากเราแก้ไขความเข้าใจผิดนี้ไม่ได้ ก็จะผิด ไปเรื่อยๆ ชนกลุ่มน้อยจะถูกเข้าใจผิดไปตลอดกาล นี่เพียงแค่ชื่อเรียก ยังไม่รวมไปถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรม2
โปรดดู ผศ. ดร.ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ และคณะ, ปริศนาวงศาคณาญาติ “ลัวะ” (2555) 2
37 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ฉะนั้ น เราควรท� ำ อย่ า งไรที่ จ ะท� ำ ให้ แ น่ ใจว่ า ข้ อ มู ล ถู ก ต้ อ ง ค�ำตอบที่พบคือ ผู้ท�ำงานด้าน Digital Curation หรือ “จดหมายเหตุ ดิจทิ ลั ” (Digital Archive) ต้องเป็นนักวิจยั ด้วย ต้องมีความรู้ ความเชีย่ วชาญ ถ้าไม่มี ก็ต้องสร้างขึ้นมาให้ได้ มีความถนัดในเนื้อหาของคลังข้อมูล ที่ก�ำลังสะสม สร้าง และถ่ายทอดให้ผู้อื่น ควรคิดว่าการท�ำคลังข้อมูลคือ การท�ำวิจยั แบบหนึง่ เพราะสังเกตจากทีมงานทีท่ ำ� เรือ่ งกลุม่ ชาติพนั ธุแ์ ล้ว ทุกคนได้ความรู้ใหม่ๆ ทั้งความรู้ในการสื่อสารกับนักวิชาการเทคโนโลยี สารสนเทศ และความรู้ในเนื้อหาคลังข้อมูลที่ตนเองท�ำงาน เพื่อพัฒนา ฐานข้อมูลที่มีคุณภาพ
สิทธิของเจ้าของข้อมูล
ในฐานะที่เป็นนักสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เราต้องคิดถึง ที่ ม าของข้ อ มู ล ด้ ว ย ส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ มนุ ษ ย์ ผลงาน การปฏิบตั กิ ารทีม่ นุษย์เกีย่ วข้องด้วย บางคนก็ตายไปแล้ว บางคนก็ยงั อยู่ ลูกหลานยังอยู่ ชุมชนยังอยู่ ฉะนัน้ เราต้องคิดถึงปัญหาว่าใครคือเจ้าของข้อมูล ? นักวิชาการ หอจดหมายเหตุ ศูนย์ขอ้ มูล และอืน่ ๆ พวกเขาเหล่านีเ้ ป็นเจ้าของหรือไม่ หรือเจ้าของวัฒนธรรมคือเจ้าของตัวจริง ยกตัวอย่างที่เกิดกับตนเอง Application Google Earth จะมี Street View โดย Google ใช้รถวิ่ง ไปตามถนน แล้วถ่ายภาพข้างทาง บางครั้งก็ถ่ายลึกถึงภายในบ้านคน จึงสงสัยว่ากูเกิลมีสิทธิ์ใช้ภาพที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวได้อย่างไร แต่ทุกวันนี้ทุกอย่างอยู่ในเว็บอย่างรวดเร็ว บริเวณที่เป็นส่วนตัว กับบริเวณที่เป็นสาธารณะ (Public Domain) จึงไม่ค่อยแยกกันชัดเจน ปัจจุบัน เราเห็นภาพในห้องนอนคนอื่นหรือภาพลูกคนอื่น ที่เมื่อก่อน เราคิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัว แต่วันนี้หากเข้าไปอยู่ในความเป็นสาธารณะ เมื่อไร เราก็ควบคุมไม่ได้
38
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ตั ว อย่ า งต่ อ มาคื อ ฐานข้ อ มู ล จดหมายเหตุ ม านุ ษ ยวิ ท ยา เราท�ำงานอย่างไรโดยเคารพและให้เกียรติชุมชนที่เป็นเจ้าของข้อมูล อยู ่ ใ นฐานข้ อ มู ล มี ก ารน� ำ บั น ทึ ก ภาพเก่ า และข้ อ มู ล รู ป แบบอื่ น ๆ ที่นักมานุษยวิทยาเคยไปศึกษาชุมชนต่างๆ ในประเทศไทยและเอเชีย ตะวั น ออกเฉียงใต้มาเผยแพร่ เพราะมี ห ลายสิ่ งที่ มิ ได้ รั บ การตี พิ ม พ์ แต่มีประโยชน์เพื่อน�ำไปค้นคว้าวิจัยต่อได้ นักวิชาการเหล่านี้ยินดีให้ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรเป็นผู้จัดการข้อมูลและน�ำขึ้นเผยแพร่ ดร.ไมเคิล มอร์แมน ที่ศึกษาข้อมูล ณ บ้านแพด อ. เชียงค�ำ จ. พะเยา เมื่อ 50-60 ปีที่แล้ว มอบข้อมูลให้ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และนับเป็นจุดเริ่มต้นคลังจดหมายเหตุมานุษยวิทยา เอกสารและบันทึก ของ ดร.มอร์แมน แสดงให้เห็นว่านักวิชาการสมัยก่อนท�ำงานหนักมาก ตัวอย่างเช่น ในตอนกลางคืน ดร.มอร์แมนพิมพ์โน้ต3 ส�ำหรับหนึง่ เรือ่ งไว้ สามชิ้น แยกตามเวลา หัวข้อเรื่อง และสถานที่ เพื่อสะดวกในการค้นคืน ประมวล และวิเคราะห์ ในฐานะผูด้ แู ลข้อมูลและส่งต่อข้อมูลให้ผอู้ นื่ เราต้องคิดต่อไปอีก เพราะเรื่องราวต่างๆ เป็นเรื่องของคนในชุมชน เราจะน�ำชีวิตประจ�ำวัน ของพวกเขามาให้คนอื่นอ่านได้หรือไม่ ข้อมูลแบบใดควรเปิดเผย หรือ เปิดเผยได้ในระดับใด ใครมีอ�ำนาจตัดสินใจ เช่น พิธีศพ ก็จะมีภาพศพ หรือภาพเด็กน้อยไม่ใส่เสื้อผ้า ที่ปัจจุบันเป็นพระสงฆ์แล้ว เราควรจะ เผยแพร่หรือไม่ เป็นต้น สิ่งที่ต้องท�ำคือการกลับไปยังชุมชน เพื่อพูดคุยด้วยการน�ำเสนอ ข้อมูลที่อยู่ในความรับผิดชอบ พร้อมสอบถามว่ามีข้อมูลใดบ้างที่ไม่ ต้องการให้เปิดเผย กระบวนการท�ำงานดังกล่าวนับว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
3
บัตรบันทึกข้อมูลที่มีดัชนี (Typed punch card) โปรดดู http://www.sac.or.th/ databases/anthroarchive/backend/hilight/file/บัตรบันทึกแบบเจาะ.pdf
39 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
เพราะเจ้าของข้อมูลกับคนท�ำงานฐานข้อมูลอาจคิดไม่เหมือนกัน เช่น คดีความในชุมชน ฆาตกรรม ล่วงละเมิดทางเพศ เป็นสิง่ ทีช่ มุ ชนไม่อยาก ให้นำ� เสนอ เพราะลูกหลานของคนเหล่านัน้ ก็ยงั มีชวี ติ อยู่ จึงมีความจ�ำเป็น ที่ชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมในการช่วยตัดสินใจ นอกเหนือ จากนี้ ยัง มีป ระเด็นใหม่ ปั จจุ บั น โลกของการท� ำ คลังข้อมูลก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะให้องค์กรเป็นผู้จัดท�ำฐานข้อมูล ท�ำไมจึงมิให้ชุมชนเจ้าของวัฒนธรรมเป็นผู้จัดท�ำเสียเอง เราเพียงแต่ไป ช่วยสอนให้พวกเขาท�ำเองได้ ดังเช่น Jura Lives Archive4 เป็นส่วนหนึง่ ของ โครงการประวัติศาสตร์ค�ำบอกเล่าของเกาะยูรา (Jura) คลังจดหมายเหตุ ได้รวบรวมเสียงบันทึกประวัตศิ าสตร์คำ� บอกเล่า ทีเ่ คยเผยแพร่ ออกอากาศ กว่า 700 รายการ โดยบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงบันทึกที่ให้บริการ ในเว็บไซต์5 ในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีการเสนอภาพในฝันว่าดิจิทัลจะท�ำให้เรามี Smart City หรือ Smart World แต่ก็ต้องคิดให้ดีเช่นกัน โดยดูจากสิ่งที่ เกิดขึ้นในอดีต เช่น เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว เราพูดถึงเสรีนิยมใหม่ ทีไ่ ม่ตอ้ งมีขอ้ จ�ำกัดทางเศรษฐกิจ ก�ำแพงภาษี เพือ่ ส่งเสริมการท�ำธุรกรรม ที่ก ว้ างขวาง ด้ วยเชื่อ ว่า จะท�ำให้เศรษฐกิจ โลกดี ขึ้ น แต่ 20 ปี ต่ อมา เราพบว่าคนที่รวยอยู่แล้ว ก็รวยขึ้นไปอีก ในขณะที่ชนชั้นกลางจนถึง ระดับล่าง เงินเดือนไม่ขึ้นมา 30 ปีแล้ว จึงมีกระแสของ Brexit6 หรือ คนที่ ส นั บ สนุ น โดนั ล ด์ ทรั ม ป์ (Donald Trump) เพื่ อ ต้ อ งการเห็ น ความเปลี่ยนแปลง เป็นต้น
ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอ ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล 2559, 19) 5 โปรดดู http://www.juradevelopment.co.uk 6 โปรดดู https://en.wikipedia.org/wiki/Brexit 4
40
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ในท�ำนองเดียวกัน โลกดิจิทัลในปัจจุบัน ก็ได้ก่อให้เกิด Digital Divide คือ ช่องว่างระหว่างคนที่ใช้ดิจิทัลในการแสวงหาความรู้ โอกาส สามารถเข้าถึงโอกาสได้งา่ ยและรวดเร็ว กับคนอีกกลุม่ ทีเ่ ข้าไม่ถงึ สิง่ เหล่านี้ ดังนัน้ การจะเป็นคลังข้อมูลด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ต้องค�ำนึง ถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล ความเสมอภาคในการใช้ขอ้ มูล และ การได้โอกาสจากการใช้ข้อมูล ในปัจจุบัน คลังข้อมูลดิจิทัลหลายแห่ง ได้ร่วมมือกับชุมชนในการสร้างฐานข้อมูลของตนเอง ท�ำให้พวกเขา มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสงู ขึน้ และใช้สงิ่ นีเ้ ป็นเวทีแลกเปลีย่ น สร้างความภูมใิ จในมรดกวัฒนธรรมของตนเอง มีความพยายามหลายอย่าง ในการปิดช่องว่างที่มีมากล้นกับคนยากจน มนุษย์มีความต้องการบันทึกมาแต่ดึกด�ำบรรพ์ ไม่ว่าจะเป็น ภาพเขี ย นโบราณ ศิ ล าจารึ ก คั ม ภี ร ์ ใ บลาน สมุ ด ข่ อ ย เป็ น ต้ น หาก เทคโนโลยีจะช่วยให้เราเข้าใจตนเองผ่านประวัตศิ าสตร์ ความหลากหลาย ทางสังคม ก็น่าจะเป็นความพยายามที่ดีและน่าสนับสนุนต่อไป
41 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
การจัดการข้อมูลโบราณคดี : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
โดย รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช
วันนีจ้ ะกล่าวถึงประเด็นทีว่ า่ เหตุใดจึงสนใจด้านการจัดการข้อมูล และดิจทิ ลั ส่วนหนึง่ ทีส่ ำ� คัญเพราะตนเองเป็นคนใช้ขอ้ มูลตัง้ แต่สมัยเรียน ปริญญาเอก จ�ำเป็นต้องใช้ข้อมูลของผู้อื่น ทั้งที่เป็นดิจิทัล สมุดบันทึก ภาพถ่าย เพื่อท�ำความเข้าใจ แต่ที่ท�ำให้สนใจอย่างจริงจัง คือ ช่วงที่ ศู น ย์ ม านุ ษ ยวิ ท ยาสิ ริ น ธรจั ด ท� ำ จดหมายเหตุ ดิ จิ ทั ล จึ ง คิ ด อยากจะ รวบรวมเอกสารของ ศ.ชิ น อยู ่ ดี ที่ มี อ ยู ่ เ ป็ น จ� ำ นวนมากมาใช้ ใ ห้ เกิ ดประโยชน์ อีก ส่วนหนึ่ง คือ มีกัล ยาณมิต รนั กวิ ช าการได้ เ สี ย ชี วิ ต กะทันหัน ด้วยเหตุนี้ ดิฉันจึงตระหนักว่า เราต้องรวบรวมเอกสารต่างๆ ด้วยตนเอง แล้วยกให้ศูนย์มานุษยวิทยาฯ ใช้ประโยชน์ต่อไปในวงกว้าง การน�ำเสนอในวันนีจ้ ะกล่าวถึงในหกประเด็น ได้แก่ (1) ธรรมชาติ ของข้อมูลทางโบราณคดีเป็นอย่างไร (2) ในกระบวนการท�ำงานวิจัย กับ การจั ดระเบี ยบข้อ มูล ทางโบราณคดีจ ากงานวิ จัย ต้ องท� ำ อย่ างไร (3) ลักษณะของข้อมูลทางโบราณคดีที่ต้องอาศัยการแปลความ และอาจ ผิดเพี้ยนได้นั้น ต้องท�ำอย่างไรให้การแปลความด�ำรงความถูกต้องไว้ เพื่อประโยชน์ต่อไป (4) การบูรณาการข้อมูล เพราะต้องไปเกี่ยวข้องกับ สายงานอื่นๆ เช่น ทันตแพทย์ นักมานุษยวิทยากายภาพ นักวงปีไม้ (dendrochronologist) นักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ข้อมูลของคนกลุ่มนี้ จะเป็นอีกแบบหนึ่ง การท�ำงานวิจัยทางโบราณคดี จึงต้องรวบรวมข้อมูล และเราต้องท�ำการบูรณาการข้อมูลอย่างไรในเชิงปฏิบัติการ (5) เป็นการ อภิ ป รายการจั ด การข้ อ มู ล จาก “ใต้ ดิ น ” มาสู ่ “ดิ จิ ทั ล ” เพื่ อ ให้ ผู ้ อื่ น ใช้ประโยชน์จากงานเป็นอย่างไร ในล�ำดับสุดท้าย (6) ประโยชน์ของ ข้อมูลดิจิทัล และจะจัดการกับผู้ใช้ข้อมูลอย่างไร
7
ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอ รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช (รัศมี ชูทรงเดช 2559, 4)
42
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ธรรมชาติของข้อมูลทางโบราณคดี
จะมีทั้งโบราณวัตถุ โบราณสถาน นิเวศวัตถุ เช่น โครงกระดูก กระดูกสัตว์ เมล็ดพืช และอืน่ ๆ และร่องรอยผิดวิสยั (feature) เช่น คูคนั ดิน หลุมฝังศพ หลุมขยะ เหล่านี้เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ในกระบวนการวิ จั ย 7 จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี ก ารออกแบบงานวิ จั ย สิ่งส�ำคัญที่สุดที่เทคโนโลยีท�ำให้ไม่ได้คือ “สมอง” เพราะข้อมูลต่างๆ นั้ น มาจากการตั้ ง ค� ำ ถามวิ จั ย ฉะนั้ น นั ก วิ จั ย จ� ำ แนกวิ ธี ก ารท� ำ งาน ประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรม เช่น อ่านหนังสือค้นคว้าเรื่อง ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ งานวิ จั ย การส� ำ รวจขุ ด ค้ น จะเป็ น ไปในแนวทางใด เพื่อตอบค�ำถามงานวิจัย เป็นต้น แต่ละส่วนจะถูกออกแบบจากค�ำถาม ในงานวิจัยก่อน จากนั้น จะเป็นการท�ำงานเพื่อจัดการข้อมูลในระหว่าง การขุดค้น ได้แก่ การบันทึกข้อมูลการส�ำรวจ และการขุดค้นในแบบฟอร์ม การท� ำ งานในลั ก ษณะนี้ จึ ง ท� ำ ให้ เ กิ ด ข้ อ มู ล เชิ ง คุ ณ ภาพและ ข้อมูลเชิงปริมาณ สุดท้าย จึงน�ำข้อมูลมาจ�ำแนกและวิเคราะห์ กระบวนการ ข้างต้นคือพื้นฐานที่แสดงให้เห็นว่า นักโบราณคดีผลิตข้อมูลจ�ำนวน มหาศาล มีความซับซ้อน และยอกย้อนในตัวข้อมูล ดังนั้น เราจะตอบ ค�ำถามงานวิจัยอย่างไร เราจะเก็บข้อมูลได้อย่างไร เราจะใช้ศาสตร์ใด มาช่วย เราจึงต้องจัดจ�ำแนกไว้กอ่ น สิง่ นีเ้ ทคโนโลยีชว่ ยเราไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ยังคงเป็นสิ่งที่ส�ำคัญมากส�ำหรับการจัดการข้อมูล
43 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
โบราณคดีบนพื้นที่สูงในอ�ำเภอปางมะผ้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน พัฒนาการ ทางสังคมและ วัฒนธรรม
สภาพแวดล้อม โบราณ ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างคนกับ สิ่งแวดล้อม
วงปีไม้ ละอองเรณู ซากพืช/สัตว์/คน ธรณีสัณฐาน ดิน
การใช้ทรัพยากร การตั้งถิ่นฐาน เทคโนโลยี การด�ำรงชีพ
ความหลากหลาย หลักฐานทางโบราณคดี ชาติพันธุ์/คน วัฒนธรรม
ยกตั ว อย่ า งการท� ำ งานในการศึ ก ษาโบราณคดี บ นพื้ น ที่ สู ง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน เช่น ในการศึกษา โบราณคดีบนพื้นที่สูงนั้น ให้ความสนใจศึกษาสภาพแวดล้อมโบราณ กับพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม ส�ำหรับการศึกษาสภาพแวดล้อม โบราณ โดยอาศัยการศึกษาวงปีไม้ ละอองเรณู ซากพืช สัตว์ คน ธรณี สัณฐาน และดิน ส่วนการศึกษาพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม พิจารณาความหลากหลายของหลักฐานโบราณคดี ชาติพันธุ์/คน และ วัฒนธรรม แต่หัวใจส�ำคัญคือ การพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับ สิ่งแวดล้อมในทั้งสองส่วน ด้วยการพิจารณาถึงการใช้ทรัพยากร การตั้ง ถิ่นฐาน เทคโนโลยี และการด�ำรงชีพ 44
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
นอกจากนี้ ยั ง มี โ ครงการอี ก ส่ ว นหนึ่ ง ในการน� ำ ข้ อ มู ล ทาง โบราณคดีและมานุษยวิทยา ไปสร้างประโยชน์ให้ชมุ ชน ซึง่ ต้องเกีย่ วข้อง กับศาสตร์หลายแขนง เช่น โครงการสืบค้นและจัดการมรดกวัฒนธรรม อย่ า งยั่ ง ยื น ในอ� ำ เภอปาย-ปางมะผ้ า -ขุ น ยวม การท� ำ งานดั ง กล่ า ว อาศัยความรู้ทางสังคมศาสตร์ต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา การท�ำงานต้องอาศัยการจัดกระบวนการความคิดให้เป็นระบบ จะท�ำ อะไรก่อนและหลัง จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูล ณ สถานที่จริง เช่นเดียวกับ โครงการอื่นๆ ที่ด�ำเนินงานในพื้นที่แม่ฮ่องสอน ในส่วนลักษณะของข้อมูลทางโบราณคดี จากทีก่ ล่าวไว้ในเบือ้ งต้น ข้อมูลทางโบราณคดีเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพทีไ่ ม่ใช่ตวั เลข และยังครอบคลุม ข้อมูลประเภทอื่นๆ อีก ได้แก่ เสียงสัมภาษณ์ วิดีโอ ภาพถ่าย เป็นต้น รวมทั้ ง ยั ง มี ส ่ ว นที่ เ ป็ น ข้ อ มู ล เชิ ง ปริ ม าณ เช่ น ผลการวั ด ขนาดของ โบราณวัตถุ ผลวิเคราะห์ทางสถิติต่างๆ การศึ ก ษาทางโบราณคดี ต ้ อ งอาศั ย การจั ด จ� ำ แนกหลั ก ฐาน 8 ได้ แ ก่ การศึ ก ษาความหลากหลายของกลุ ่ ม หลั ก ฐานทางโบราณคดี (assemblage variability) การจัดระบบข้อมูลส�ำหรับการจัดการวิเคราะห์ เช่ น การแบ่ ง ประเภทของหลั ก ฐานทางโบราณคดี ต ามวั ต ถุ ดิ บ และ การจัด/บรรยายรูปแบบของหลักฐานทางโบราณคดีจากคุณลักษณะ เพราะเวลาศึ ก ษาวั ฒ นธรรมในอดี ต จ� ำ เป็ น ต้ อ งสร้ า งเกณฑ์ แ ละ องค์ ประกอบว่า สิ่ง นั้นสิ่ง นี้จ ะเรียกว่ าวั ฒ นธรรมได้ ห รื อไม่ จึ งต้ องมี การจัดจ�ำแนกสิ่งของที่ศึกษาว่าคืออะไรบ้าง เวลานิ ย ามค� ำ ว่ า “วั ฒ นธรรม” จะประกอบด้ ว ยสิ่ ง ใดเป็ น ตัวสมมติก่อน เพื่อให้เราจ�ำแนกได้9 เช่น จากความเหมือนของเครื่องมือ เครือ่ งใช้ทเี่ ราขุดค้นพบ เราพอจะบอกได้วา่ เทคโนโลยียคุ นัน้ เป็นอย่างไร
8 9
ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอ รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช (รัศมี ชูทรงเดช 2559, 10) ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอ รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช (รัศมี ชูทรงเดช 2559, 11)
45 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ด้วยการพิจารณาจากลักษณะของเครื่องมือหิน ภาชนะดินเผา และ โบราณวัตถุประเภทต่างๆ ว่าผูค้ นในสมัยก่อนมีชวี ติ ความเป็นอยูอ่ ย่างไร เช่น การวิเคราะห์กระดูกสัตว์ และหอย หรือตั้งถิ่นฐานกันที่ใด ที่อาศัย การวิ เ คราะห์ แ หล่ ง โบราณคดี แ ละที่ ตั้ ง หรื อ มี ค วามเชื่ อ เช่ น ใด ที่ ใช้ การวิ เ คราะห์ ห ลุมฝัง ศพและภาพเขียนสี สิ่งต่ างๆ เหล่ านี้ ได้ รั บ การ จั ด หมวดหมู ่ แล้ ว แยกวิ เ คราะห์ หมายความว่ า มี ก ารจั ด จ� ำ แนกใน ขั้นตอนการวิเคราะห์ด้วย ตั ว อย่ า งข้ อ มู ล ในลั ก ษณะต่ า งๆ เช่ น ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความสัมพันธ์ทางสถิติของข้อมูลด้านวงปี ตารางจ�ำแนกหลักฐานประเภทหิน การวิเคราะห์กระดูกและเปลือกหอย นักโบราณคดีจะใช้ตารางข้อมูลเชิงตัวเลขและสถิติทั้งหมดนี้ เพื่อแสดง ให้เห็นว่า ในขั้นตอนก่อนงานจะเสร็จ ต้องใช้ข้อมูลหลายประเภทมาก ในกรณีของการศึกษาโบราณวัตถุ นักโบราณคดีตอ้ งวาดรูปโบราณวัตถุได้ เพราะภาพถ่ายบอกร่องรอยการใช้งานไม่ได้ เริ่มจากการวาดด้วยดินสอ แล้วสแกนเข้าคอมพิวเตอร์ จากนั้น จึงใช้คอมพิวเตอร์วาดทับอีกครั้ง เราจะเห็นว่าในระหว่างขั้นตอนการท�ำงานนี้ จะมีกระบวนการแปรรูป ข้อมูลเยอะมาก
46
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ความซั บ ซ้ อ นและประเภทของข้ อ มู ล โบราณคดี ใ นในแต่ ล ะ ขัน้ ตอน ตัง้ แต่กอ่ นการท�ำงาน ระหว่างการท�ำงานก็อาจเป็นอีกแบบหนึง่ พอถึงขั้นวิเคราะห์และสังเคราะห์ ข้อมูลอาจถูกเปลี่ยนเป็นอีกแบบหนึ่ง และหลั ง การท� ำ งานเสร็ จ สิ้ น คนส่ ว นใหญ่ จ ะไม่ ส นใจเพราะคิ ด ว่ า งานเสร็จแล้ว แต่จะต้องมีการท�ำงานจัดการข้อมูลหลังการท�ำงานด้วย เช่นกัน เพราะเราต้องมีฐานข้อมูลที่แสดงว่านักโบราณคดีท�ำอะไรบ้าง เช่ น ในการศึก ษาลัก ษณะของมนุษย์ ที่ ต้ องอาศั ย กระดู กที่ ขุ ด ค้ น พบ จากนั้ น น�ำข้อ มูล กระดูก มากรอกในแบบฟอร์ ม และแปลงข้ อมู ลใน แบบฟอร์มให้เป็นดิจิทัล ในล�ำดับต่อมา น�ำข้อมูลกระดูกมาวิเคราะห์ ดีเอ็นเอ น�ำข้อมูลมาบูรณาการ ซึ่งต้องใช้ข้อมูลตัวเลข ใช้ข้อมูลภาพ ทัง้ หมดให้นกั วิทยาศาสตร์ชว่ ยประกอบรูปหน้า และศิลปินปัน้ รูปหน้าขึน้ โดยตั้งโจทย์ให้นักวิทยาศาสตร์กับศิลปินแยกกันท�ำงานแล้วดูผลลัพธ์ว่า จะออกมาเป็นอย่างไร 47 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ฉะนัน้ ก่อนจะส่งข้อมูลให้ศนู ย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธรนัน้ มีขนั้ ตอน อีกมากมาย หรือในกรณีภาพถ่าย เวลาทีล่ งพืน้ ที่ ผูว้ จิ ยั ต้องถามชาวบ้าน ตลอดว่าถ่ายภาพน�ำไปเผยแพร่ตอ่ ได้หรือไม่ หรือแม้แต่ขอ้ มูลทีเ่ กีย่ วข้อง กับโครงการและกลายเป็นข่าว โครงการก็จัดเก็บไว้เช่นกัน ซึ่งช่วยให้ เรารู้ได้ว่า ข้อมูลลักษณะใดที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เช่น ฟุตเตจ ภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกขั้นตอนการท�ำงาน การประชุมทางวิชาการ นอกจากนี้ โครงการยังมีแนวคิดในการพัฒนาข้อมูลให้เหมาะส�ำหรับ เป็นเกม ให้เด็กเป็นนักขุดค้นไปแต่ละชั้นวัฒนธรรม เป็นต้น เมือ่ มีขอ้ มูลหลากประเภทแล้ว นักวิจยั จะต้องบูรณาการสิง่ ต่างๆ เพื่อประมวลและตีความ เพื่ออธิบายวัฒนธรรมในอดีต การวิเคราะห์ จึงต้องเชื่อมโยงกับสิ่งเหล่านี้ โดยอาศัยการออกแบบวิเคราะห์ข้อมูล ทีเ่ ชือ่ มโยงกันทัง้ หมดในแต่ละหัวข้อ หรือจ�ำเป็นต้องมีแนวคิดและทฤษฏี เพือ่ ใช้ในการอธิบาย ตัวอย่างเช่น เรือ่ งนีค้ อื การอธิบายว่าคนใช้เครือ่ งมือ อะไร ใช้ทรัพยากรอะไร อยู่กับสิ่งแวดล้อมแบบใด เราจะวิเคราะห์ต่อไป ไม่ได้เลยถ้าไม่มีฐานข้อมูลเบื้องต้นภาคสนาม หมายความว่าต้องมี ระบบการจัดการที่ดีพอสมควร สุดท้ายเมื่อบูรณาการได้จากผลการวิจัย จากแต่ละศาสตร์ จะกลายเป็นข้อสรุปที่เผยแพร่สู่สาธารณชน
“จากใต้ดิน” สู่ “ดิจิทัล”
มีขอ้ มูลทางโบราณคดีทหี่ ลากหลายและซับซ้อน มีจำ� นวนมหาศาล จากหลายขั้นตอนของกระบวนการวิจัยและการท�ำงานทางโบราณคดี ที่ได้รับการบันทึกหลายครั้ง จึงจ�ำเป็นที่จะต้องมีการจัดจ�ำแนก ที่ท�ำให้ ข้อมูลเปลีย่ นแปลง หลักการเบือ้ งต้นของการจัดการข้อมูลทางโบราณคดี คือ การจัดจ�ำแนก (taxonomy) โดยส่วนตัวเชื่อว่าข้อมูลที่ส�ำคัญที่สุด คือ ข้อมูลดัง้ เดิมในการค้นพบครัง้ แรกทีไ่ ม่มกี ารบิดเบือน เช่น ภาพถ่ายหลุม ขุดค้น ต�ำแหน่งวัตถุที่พบครั้งแรก เป็นต้น คือมีลักษณะดั้งเดิม (original) ที่ต้องเก็บไว้ให้ผู้อื่นดู เพื่อการตรวจสอบต่อไปว่าเป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ในการพัฒนาฐานข้อมูล เราจะไม่น�ำเสนอหนังสือหรือข้อมูลที่เสร็จแล้ว แต่จะให้ข้อมูลดิบกับผู้อื่นเพื่อการน�ำไปใช้ประโยชน์ 48
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ที่ส�ำคัญ ด้วยโครงการวิจัยระยะยาว จึงจ�ำเป็นต้องการจัดการ ข้ อ มู ล ทางโบราณคดี และมี ก ารเรี ย กใช้ ข ้ อ มู ล อย่ า งสม�่ ำ เสมอ เช่ น การบั นทึก หมายเลขถุง หมายเลขบนโบราณวั ตถุ เพื่ อตรวจสอบว่ า โบราณวัตถุมาจากถุงใด มาจากการหลุมขุดค้น และระดับที่พบเท่าใด เมื่ อ เราจั ด ท� ำ ข้ อ มู ล ไว้ ดี นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาเอกจากหลายสถาบั น ใน ต่างประเทศจึงมาขอใช้ข้อมูล เขาย้อนกลับไปดูข้อมูลได้ทุกเรื่อง นี่จึงมี ความส�ำคัญมาก ค�ำถามว่าใครจะเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล ก็น่าจะ เป็นสาธารณชนทั่วไป แต่ข้อมูลดิบทางโบราณคดี น่าจะจ�ำกัดอยู่เพียง กลุ่มนักโบราณคดี ภัณฑารักษ์ เป็นต้น ในส่วนสุดท้าย การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดิจิทัล10 นั่นคือ ข้อมูลต้องมีการรวบรวมอย่างมีเป้าหมายตัง้ แต่เริม่ ต้นงานวิจยั งานวิชาการ ถ้ามีเป้าหมายการเก็บข้อมูลที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มโครงการจะช่วยให้ระบบ ข้อมูลดี จึงต้องมีการออกแบบ ทั้งก่อนการท�ำงาน บันทึกและใช้งาน จากนัน้ มีการปรับแก้ไข ใช้ และประเมินอยูเ่ ป็นระยะ นอกจากนี้ ข้อมูลทีด่ ี ต้ อ งมี ท ะเบี ย น มี ที่ ม า รู ้ บ ริ บ ทของเวลาและสถานที่ เช่ น ภาพถ่ า ย หากไม่มรี ายละเอียดอืน่ ก็แทบจะไม่มปี ระโยชน์เลย ยิง่ เป็นข้อมูลส�ำหรับ การวิจัย ควรมีการบันทึกข้อมูลในทุกขั้นตอน ที่ส�ำคัญ ข้อมูลควรเป็น สิ่ ง ที่ ส ร้ า งแรงบั น ดาลใจให้ ผู ้ อื่ น ท� ำ ให้ ผู ้ ใช้ ข ้ อ มู ล อยากสร้ า งสรรค์ เป็นงานวิจัยต่อหรือสร้างงานวิจัยใหม่ อีกสิ่งหนึ่งที่ส�ำคัญคือ ใครบ้าง ที่จะเข้าใช้งานได้ จึงจ�ำเป็นต้องมีการล็อกอิน เพื่อให้ผู้ดูแลฐานข้อมูล เข้าใจวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ส่วนสาธารณชนทั่วไป ต้องมีการคัดสรร ข้อมูล มีขั้นตอนในการเลือกว่าข้อมูลใดที่น่าจะใช้ ต้องเป็นข้อมูลดิบ ที่ย่อยแล้ว ผู้จัดการฐานข้อมูลจึงจ�ำเป็นต้องเป็นนักวิชาการหรือนักวิจัย
10
ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอ รศ. ดร.รัศมี ชูทรงเดช (รัศมี ชูทรงเดช 2559, 22–23)
49 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
การจัดการข้อมูลการวิจัย : กระบวนการที่จ�ำเป็นต่อการสร้างสรรค์ความรู้และนวัตกรรม
โดย ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์
หลายท่านในที่นี้ อาจมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการท�ำวิจัย การผลิ ต ผลงานทางวิชาการและงานวิจัย ตลอดจนมี บ ทบาทส� ำ คั ญ ในการจัดการงานวิจัยให้เป็นระบบ ซึ่งเดิมทีนั้นเราอาจให้ความส�ำคัญ กับการจัดการและการจัดเก็บผลงานทางวิชาการ (research output) เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าถึงและน�ำไปใช้ประโยชน์ต่อไป แต่ปัจจุบันความส�ำคัญ ของข้อมูลการวิจัย (research data) นั้นนับวันได้เพิ่มบทบาทมากขึ้น เรื่อยๆ และสังคมวิชาการก็เริ่มตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูลการวิจัย (research data) มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ดังนั้น การจัดการข้อมูลการวิจัย จึงเป็นกระบวนการที่จ�ำเป็นยิ่งที่ต้องได้รับความใส่ใจและการปฏิบัติ ร่วมกันอย่างมีแบบแผน ซึ่งทุกภาคส่วนในสังคมวิชาการ เช่น นักวิจัย นักวิชาการ แหล่งทุน บรรณารักษ์ นักจัดการสารสนเทศ เป็นต้น จะต้อง เข้ามามีส่วนรับผิดชอบตรงนี้ร่วมกัน ส�ำหรับนักวิจัยนักวิชาการ คงเป็นเรื่องดีมากทีเดียวหากนักวิจัย นั ก วิ ช าการสามารถเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล การวิ จั ย และผลงานวิ จั ย ฉบั บ เต็ ม ที่ ต ้ อ งการนั้ น ได้ ต ลอดเวลา ปราศจากอุ ป สรรคหรื อ ข้ อ จ� ำ กั ด ต่ า งๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าธรรมเนียมการเข้าถึง (access fee) ค่าสมัครสมาชิก วารสารหรือฐานข้อมูลออนไลน์ หรือลิขสิทธิ์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงมี แนวคิดเรื่องการเข้าถึงอย่างเสรี (open access) เกิดขึ้นในสังคมวิชาการ โดยแนวคิดนี้จะสนับสนุนให้ข้อมูล (data) และผลงานวิชาการงานวิจัย (research output) สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี ดังที่เห็นได้จากสถาบันวิจัย และแหล่ ง ทุ น วิ จั ย หลายๆ แห่ ง ทั้ ง ในสหราชอาณาจั ก ร ยุ โรป และ สหรัฐอเมริกา ต่างผลักดันประเด็นการเข้าถึงอย่างเสรี (open access) เป็นอย่างมาก โดยได้ก�ำหนดเป็นข้อตกลงหนึ่งในการรับทุนวิจัยว่าผู้รับ ทุนวิจัยจ�ำเป็นต้องน�ำเสนอข้อมูลการวิจัย (research data) และผลงาน
50
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
วิชาการงานวิจัย (research output) ให้เป็นสาธารณะ โดยอนุญาตให้ เข้าถึงได้และน�ำไปใช้ได้อย่างเสรีทันทีภายในระยะเวลาที่ก�ำหนดหลัง โครงการวิจัยนั้นส�ำเร็จ เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น ซึ่งเปิด โอกาสให้เกิดการพัฒนาและการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ และการต่อยอด ความคิดจากข้อมูลที่มีอยู่หรือจากงานวิจัยปัจจุบัน การจั ด การผลงานวิ ช าการและงานวิ จั ย นั้ น เราคงสั ม ผั ส มา นานแล้ว แต่เรือ่ งการจัดการข้อมูลการวิจยั (research data management) อาจจะเป็นประเด็นใหม่ที่ก�ำลังพูดถึงอยู่ในวงวิชาการ อย่างไรก็ตาม มันอาจจะเป็นประเด็นทีเ่ ราคุน้ เคยกันอยูเ่ พียงแต่ไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียด มากนัก เพราะอย่างที่กล่าวไป เดิมทีเราให้ความส�ำคัญกับตัวผลงาน วิชาการงานวิจัย เช่น บทความ รายงานการวิจัย รายงานการประชุม เป็นต้น แต่ปจั จุบนั ข้อมูลการวิจยั (research data) หรือข้อมูลดิบ กลับมา มีบทบาทส�ำคัญมากขึ้นพอๆ กับผลงานวิชาการงานวิจัย ข้อมูลการวิจัย (research data) จะมีความหมายและขอบเขต แตกต่างกันไปตามแต่ละแต่ศาสตร์สาขาวิชา ตัวอย่างเช่น ด้านสุขภาพ “ข้ อ มู ล การวิ จั ย เป็ น ข้ อ เท็ จ จริ ง และได้ บั น ทึ ก และยอมรั บ ในแวดวง วิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความจ�ำเป็นต่อการสนับสนุนการค้นพบในงานวิจัย”11 ในที่ นี้ อาจประกอบด้ ว ยข้ อ มู ล สิ่ ง พิ ม พ์ ตั ว อย่ า งเลื อ ดหรื อ ดี เ อ็ น เอ collections ที่ จั บ ต้ อ งได้ ซอฟต์ แวร์ แ ละโมเดล 12 เป็ น ต้ น ส่ ว นด้ า น มนุ ษ ยศาสตร์ “ข้ อ มู ล คื อ ทุ ก สิ่ ง ที่ ค ้ น คว้ า มาได้ ต้ั ง แต่ เริ่ ม ท� ำ งานวิ จั ย จนเสร็จ สิ้น”13 ไม่ว่า จะเป็นรูป ภาพตามผนั ง ตามพื้ น ดิ น การบั น ทึ ก
โปรดดู NIH Data Sharing Policy and Implementation Guidance (National Institutes of Health 2003) 12 โปรดดู Data Management & Sharing Frequently Asked Questions (FAQs) (National Science Foundation 2017) 13 โปรดดู Data Management Plans for NEH Office of Digital Humanities Proposals and Awards (National Endowment for the Humanities 2015) 11
51 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
การสัมภาษณ์ ก็ถือเป็นข้อมูลการวิจัยเช่นกัน ดังนั้น ข้อมูลการวิจัยจึงมี หลายรูปแบบ เช่น สิ่งตีพิมพ์ สิ่งของ หรือดิจิทัล หรือด้านสังคมศาสตร์ ข้ อ มู ล การวิ จั ย อาจอยู ่ ใ นรู ป ของข้ อ ความเอกสาร ข้ อ มู ล การส� ำ รวจ การสัมภาษณ์ การจดบันทึก แผนที่ สมุดบันทึก ข้อมูลปฐมภูมิ วัตถุ สิ่ ง ของ หรื อ เว็ บ ไซต์ ก็ ไ ด้ ด้ ว ยเหตุ ที่ ข อบเขตของข้ อ มู ล การวิ จั ย จะ แตกต่างกันไปตามสาขาวิชา และอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งที่เป็น กายภาพจับต้องได้และเป็นข้อมูลดิจิทัล ดังนั้น เวลาจะจัดการข้อมูล การวิ จั ย จึ ง จ� ำ เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะต้ อ งท� ำ ความรู ้ จั ก และทราบก่ อ นว่ า ข้ อ มู ล การวิ จั ย ที่ เราพู ด ถึ ง หรื อ จะต้ อ งจั ด การนั้ น มี ลั ก ษณะอย่ า งไร อยู่ในรูปแบบใดบ้าง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถออกแบบกระบวนการขั้นตอน ต่างๆ ให้สอดคล้องกับข้อมูลการวิจัยนั้นๆ
เหตุที่ต้องมีการจัดการข้อมูลการวิจัย
สั ง คมวิ ช าการควรใส่ ใจและเรี ย นรู ้ ก ารจั ด การข้ อ มู ล การวิ จั ย อย่างเป็นระบบ ก็เพื่อประโยชน์ต่อผู้วิจัยนักวิชาการ นักวิจัยในสาขา และสังคมวิชาการ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ประการแรกคือ การจัดการข้อมูลการวิจัยช่วยให้ค้นหาข้อมูล ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก ประหยัดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็น งานวิจัยที่ต้องท�ำร่วมกันกับนักวิจัยคนอื่น ลักษณะการจัดเก็บข้อมูล การวิจัยของนักวิจัยแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ถ้ามีการสร้างมาตรฐาน หรือแบบแผนในการจัดการข้อมูลการวิจัยเพื่อการใช้งานร่วมกัน จะช่วย ในการเข้าถึงและดึงข้อมูลออกมาใช้ได้ในระยะเวลาอันสั้น ประการที่สองคือ เพื่อขจัดปัญหาความซ�้ำซ้อนของข้อมูล เช่น การท�ำงานในหัวข้อเดียวกันของนักวิจัยสองคน หากข้อมูลวิจัยของทั้งคู่ อยู ่ ใ นคลั ง (storage) ที่เข้า ถึง ได้ จะท�ำให้ต่างฝ่ ายต่ างรั บ รู ้ ได้ ว ่ าใคร ท�ำอะไรถึงไหนเป็นอย่างไรแล้ว
52
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ประการถัดมา การจัดการข้อมูลการวิจัยอย่างเป็นระบบจะช่วย ป้องกันข้อมูลไว้ส�ำหรับการใช้งานในอนาคต นั่นคือการอนุรักษ์ข้อมูล เพื่อการใช้งานในอนาคต นักวิจัยควรพิจารณาเรื่องการอนุรักษ์ข้อมูล การวิจัยที่เกิดขึ้นระหว่างการท�ำวิจัยด้วยว่าจะมีกระบวนการอย่างไร เพื่อให้ข้อมูลการวิจัยที่เกิดขึ้นนี้สามารถเข้าถึงได้ในระยะยาว นอกจากจัดท�ำเพื่อค้นคืนข้อมูลได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วแล้ว การจั ด การข้ อ มู ล การวิ จั ย ยั ง อื้ อ ให้ ก ารแบ่ ง ปั น ข้ อ มู ล การวิ จั ย ได้ สะดวกขึ้นด้วย สังคมปัจจุบันคือ สังคมแห่งการแบ่งปัน ทั้งความรู้และ เรือ่ งราว การแบ่งปันข้อมูลเป็นวัฒนธรรมหนึง่ ในสังคมวิชาการ เราจ�ำเป็น ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติไปสู่การสนับสนุนแนวคิดนี้ และต้องด�ำเนินการ ให้สอดคล้องกับหน่วยงานต้นสังกัดหรือเจ้าของทุนวิจัย ในต่างประเทศ แหล่งทุนได้ก�ำหนดนโยบายว่าข้อมูลต้องเข้าถึง ได้ อ ย่ า งเสรี (open access) และนั ก วิ จั ย ต้ อ งส่ ง แผนจั ด การข้ อ มู ล (research data management plan หรื อ RDM Plan) ประกอบ การขอทุนวิจัยด้วย ฉะนั้นกระบวนการจัดการข้อมูลการวิจัยจึงเป็น กระบวนการที่ส�ำคัญมากของนักวิจัยที่จะช่วยจัดการว่าข้อมูลเหล่านั้น มาจากที่ใด รวบรวมได้อย่างไร อยู่ในรูปแบบใดบ้าง มีวิธีใช้และการ เข้าถึงอย่างไร จัดเก็บไว้อย่างไร มีล�ำดับชั้นในการเข้าถึงอย่างไร เราจัดเก็บข้อมูลเพือ่ ประโยชน์ในสีป่ ระการ ได้แก่ (1) ต้องค้นหา ข้อมูลให้พบ พร้อมส�ำหรับการใช้งาน (2) ต้องเข้าถึงได้ โดยเฉพาะใน ระดับเอกสารฉบับเต็มให้ได้ ในปัจจุบัน การแสดงผลเพียงบรรณานุกรม คงไม่เพียงพอ (3) ค�ำนึงถึงประโยชน์ของการใช้งานร่วมกัน และ (4) เกิดการ ใช้ซ�้ำข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการสร้างสรรค์งานวิจัยอื่นๆ
53 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
วงจรชีวิตข้อมูลการวิจัย14
การรู้จักวงจรชีวิตข้อมูลการวิจัยมีความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อการ วางแผนการจัดการข้อมูลการวิจัย ซึ่งแผนนี้ควรได้รับการออกแบบตั้งแต่ ก่อนเริ่มต้นท�ำงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ ก็ตาม โดยวงจรชีวิตข้อมูลการวิจัยนี้ประกอบด้วยชั้นตอนส�ำคัญดังนี้ (http://www.data-archive.ac.uk/create-manage/life-cycle) 1. Creating data ขั้ น ตอนการสร้ า งข้ อ มู ล ซึ่ ง เมื่ อ พิ จ ารณา ขั้นตอนนี้จะท�ำให้รู้ว่าข้อมูลที่เกิดขึ้นอยู่ที่ใดบ้าง ได้ข้อมูลมาจากที่ใด 2. Processing data คือ การจัดการต่างๆ เช่น การแปลงเป็น ดิจิทัล การถอดเสียง การแปล จากนั้นเป็นการอธิบายข้อมูลและจัดเก็บ 3. Analyzing data วิเคราะห์ ตีความ และผลิตงานวิจัย ก่อน เตรียมน�ำข้อมูลเข้าสู่การอนุรักษ์ 4. Preserving data เราต้องถ่ายโอนข้อมูลไปยังสื่อที่ทันสมัย หรือเป็นปัจจุบันอยู่ตลอด หากเก็บข้อมูลไว้ในรูปแบบเดิมตลอดไป ข้ อ มู ล จะไร้ ป ระโยชน์ หากซอฟต์ แวร์ มี ก ารปรั บ เปลี่ ย นในอนาคต เราจะต้องมั่นใจว่าข้อมูลจะพร้อมเปิดใช้งานได้ 5. Giving access to data การน�ำข้อมูลไปแบ่งปันนัน้ ต้องค�ำนึงว่า จะให้ใครเข้าถึงข้อมูลได้บา้ ง เช่น ข้อมูลทางโบราณคดีทเี่ กีย่ วพันกับวิถชี วี ติ ที่มีความละเอียดอ่อน นักวิจัยจึงต้องก�ำหนดว่าใครจะเข้าถึงได้บ้าง แม้ต้นสังกัดจะบอกว่าให้เปิดเผยทุกอย่าง แต่ทุกสิ่งย่อมมีเงื่อนไขในการ เข้าถึง
14
ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอ ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ (วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ 2559, 11) โดยอ้างอิงจาก CREATE & MANAGE DATA : RESEARCH DATA LIFECYCLE (The UK Data Archive 2017)
54
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
6. Re-using การน�ำข้อมูลกลับมาใช้ใหม่ แน่นอนว่าการจัดเก็บ ข้อมูลการวิจัยนั้นไม่ใช่เพียงเพื่อการอนุรักษ์ข้อมูลไว้ใช้ในงานของตน เพียงอย่างเดียว หากแต่คาดหวังว่าข้อมูลการวิจัยที่จัดเก็บไว้นั้นจะเป็น ประโยชน์ตอ่ นักวิจยั คนอืน่ ๆ ซึง่ ข้อมูลทีเ่ ก็บไว้นนั้ จะต้องเกิดการน�ำไปใช้ ต่อไป ผู้ใช้ข้อมูลการวิจัยนี้อาจมีวัตถุประสงค์ของการน�ำข้อมูลการวิจัย ไปใช้ แ ตกต่ า งกั น เช่ น เพื่ อ การเรี ย นการสอน เพื่ อ การค้ น คว้ า ใหม่ เป็นต้น ในแต่ละขั้นตอนของการท�ำวิจัย ได้ก่อให้เกิดข้อมูลการวิจัย เพิ่ ม ขึ้ น ที ล ะขั้ น ข้ อ มู ล เหล่ า นี้ ต ้ อ งได้ รั บ การจั ด การอย่ า งเป็ น ระบบ โดยนักวิจัยหรือผู้ดูแลข้อมูลจ�ำเป็นต้องร่างหรือจัดท�ำแผนการจัดการ ข้อมูล (data management plan หรือ DMP) ล่วงหน้าก่อนการด�ำเนินการ วิจัย ทั้งนี้เนื่องจากแผนการจัดการข้อมูล (DMP) คือ เครื่องมือส�ำคัญ ที่ เ ป็ น กรอบการด� ำ เนิ น งาน ว่ า จะจั ด การข้ อ มู ล ในลั ก ษณะใดบ้ า ง แต่อย่างไรก็ตาม แผนการจัดการข้อมูลสามารถเปลีย่ นแปลงได้ตลอดเวลา หรือเรียกว่าเป็น “เอกสารที่มีชีวิต” (living document) กล่าวคือ เมื่อ ด�ำเนินการวิจยั ไปสักระยะหนึง่ แล้วพบว่ามีเทคโนโลยีใหม่ทเี่ ป็นประโยชน์ หรือพบแหล่งข้อมูลใหม่ ก็สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บข้อมูลได้ แต่ทางที่ดีนั้นแผนการจัดการข้อมูลนี้ควรเขียนให้เสร็จก่อนเริ่มท�ำวิจัย Open AIRE15 แนะน�ำว่า นักวิจยั ควรจัดท�ำแผนการจัดการข้อมูลการวิจยั ให้เสร็จภายในหกเดือนแรกของการวิจัย ในขณะที่แหล่งทุนวิจัยบางแห่ง จะก� ำ หนดไว้ เ ลยว่ า หากต้ อ งการขอทุ น วิ จั ย นั ก วิ จั ย ต้ อ งแนบแผน การจัดการข้อมูลพร้อมโครงร่างเสนอขอทุน
15
โครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการจัดตั้งคลังส�ำหรับการอ้างอิง แบบเปิด (Initiative for Open Citations - I4OC) ประกอบด้วย OpenCitations, the Wikimedia Foundation, PLOS, eLife, DataCite, and the Centre for Culture and Technology at Curtin University โปรดดู https://www.openaire.eu
55 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ด้ า นกระบวนการจั ด การต้ อ งครอบคลุ ม ทุ ก ขั้ น ตอนการวิ จั ย ไม่ว่าจะน�ำข้อมูลมาจากที่ใด ทั้งการสัมภาษณ์ การทดลอง หรือการ ค้นคว้าวิจัยของผู้อื่น เป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบใดบ้าง นอกจากนี้ ยังมี ส่วนของการให้ค�ำอธิบายข้อมูล (description of data) คือ ข้อมูลบริบท ที่อธิบายข้อมูลอีกทีหนึ่ง หากไม่มีสิ่งนี้ ข้อมูลก็แทบไม่มีความหมาย หรือน�ำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ เราเรียกสิง่ นีว้ า่ metadata เช่น ภาพโครงกระดูก หากไม่ใช่ผู้ท�ำงานในสายนั้น อาจไม่เข้าใจความหมายของภาพ นักวิจัย จึงต้องอธิบายว่าภาพนี้คืออะไร มีที่มาอย่างไร ถ่ายเมื่อใด เก็บไว้ที่ใด เป็นต้น ส่วนด้านการอนุรักษ์ที่ปรากฏในแผนการจัดการข้อมูลการวิจัย ต้องระบุรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลด้วย ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบ analog หรือ digital รูปแบบไฟล์ที่จัดเก็บ แหล่งจัดเก็บข้อมูลการวิจัย ซึ่งอาจ อยู่บน cloud ก็ได้ ความบ่อยครั้งในการส�ำรองข้อมูล และการเข้าถึง ข้อมูลการวิจัย กระบวนการต่างๆ เหล่านี้ ควรได้รับการก�ำหนดไว้ในช่วงการ วางแผน ซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญที่นักวิจัย ทีมวิจัย และนักจัดการสารสนเทศ ต้องพูดคุยกัน เพือ่ น�ำทักษะความรูค้ วามสามารถของแต่ละกลุม่ มาพัฒนา ระบบเพื่อให้ข้อมูลการวิจัยสามารถเข้าถึงได้ยามที่ต้องการอย่างสะดวก รวดเร็ว ตลอดจนการอนุรักษ์ข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ในระยะยาว และการแบ่งปันข้อมูลการวิจัยและการน�ำมาใช้ใหม่ (re-use)
แผนการจัดการข้อมูลการวิจัย
แผนการจัดการข้อมูลการวิจัย (research data management plan) ส่วนใหญ่ประกอบด้วยประเด็นต่างๆ16 ดังนี้ 1. การอธิบายถึงข้อมูลทีจ่ ะจัดเก็บ โดยข้อมูลดังกล่าวนัน้ อยูใ่ น ลักษณะใด พบเจอที่ใด มีวิธีการเข้าถึงอย่างไร 16
ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอ ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ (วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ 2559, 14)
56
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
2. มาตรฐานและวิธีการรวบรวมและจัดการข้อมูล รวมทั้ง แบบแผนของเมทาดาทาที่ต้องการใช้ ปกติจะใช้ มาตรฐานเมทาดาทา ดับลินคอร์ (Dublin Core metadata element set) อย่างไรก็ดี ในบาง สาขาวิชาก็จะมีแบบแผนเฉพาะทีแ่ ตกต่างออกไป จึงจ�ำเป็นต้องพูดคุยกัน ระหว่างสมาชิกของโครงการวิจัย หรือในแต่ละสาขาวิชาที่จะเลือกใช้ มาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งร่วมกัน 3. จริยธรรมและทรัพย์สนิ ทางปัญญา แม้ขอ้ มูลจะเป็นสิง่ ส�ำคัญ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เพราะข้อมูลบางอย่างอาจมี ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ความมั่นคงของชาติ หรืออาจจะละเมิด สิทธิสว่ นบุคคลหากได้เผยแพร่ออกไป จึงต้องมีการจ�ำกัดระดับการเข้าถึง ส�ำหรับกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องแต่ละกลุ่ม ดังนั้นจึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้อง พิจารณาประเด็นเรื่องจริยธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาด้วย 4. การแบ่งปันข้อมูลและการเข้าถึง ต้องวางแผนว่าจะแบ่งปัน ข้อมูลอย่างไรเช่น เว็บไซต์โครงการวิจัย หรือคลังข้อมูลภายในสถาบัน (institutional repository) 5. กลยุทธ์การอนุรกั ษ์ขอ้ มูล ปัจจุบนั การอนุรกั ษ์ขอ้ มูลเรามักจะ จดบันทึก หรือบันทึกรายงานวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของไฟล์ดิจิทัล หรือพิมพ์ออกมาจัดเก็บเป็นแฟ้ม ซึ่งหลากหลายวิธีและอาจซ�้ำซ้อน จนไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่มีหรือจัดเก็บนั้นเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดหรือไม่ ดังนั้น เมือ่ มีการวางแผนจัดการข้อมูลการวิจยั ควรก�ำหนดว่าข้อมูลการวิจยั นัน้ จะได้รบั การจัดเก็บบน server ฮาร์ดดิสก์ หรือ external hard disk อย่างไร ควรให้ละเอียดมากที่สุด เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นนักวิจัย ในทีม นักจัดการสารสนเทศ หรือแหล่งทุนวิจัย เข้าใจตรงกันและใช้เป็น แนวปฏิบัติร่วมกัน ตัวอย่างของการจัดระเบียบข้อมูล ประกอบด้วย การออกแบบ ระบบการจั ด การข้ อ มู ล ส� ำ หรั บ โครงการ ได้ แ ก่ โครงสร้ า งโฟลเดอร์ การก�ำหนดชื่อไฟล์ให้สัมพันธ์กับโครงการวิจัยนั้นๆ เพื่อเตือนตนเอง และสร้างความเข้าใจตรงกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง และควรมีแนวทางปฏิบัติ 57 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ส�ำหรับการตัง้ ชือ่ ไฟล์ คือ ปี-เดือน-วัน yyyymmdd เพือ่ แสดงความทันสมัย ของไฟล์นั้นๆ ส่วนการพรรณนาข้อมูลหรือให้รายละเอียดของข้อมูล จะมีมาตรฐานที่แตกต่างกันไป ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียด เกี่ ย วกั บ การก� ำ หนดมาตรฐานเมทาดาทาส� ำ หรั บ งานวิ จั ย ในแต่ ล ะ สาขาวิชาได้จาก Resource Data Alliance (RDA)17 ส�ำหรับการน�ำเสนอในครั้งนี้ ได้ยกตัวอย่ามาตรฐานการจัดการ ไฟล์ ใ นการท� ำ วิ ทยานิพนธ์ เริ่มแรกตั้ง ชื่อ โฟลเดอร์ ที่ส่ือความหมาย โดยลงลึกไปยังระดับไฟล์ หากเราวางแผนเช่นนี้ในแผนการจัดการข้อมูล งานวิจัยของเราได้ ก็จะท�ำให้เห็นว่าอะไรอยู่ที่ใดได้ชัดเจน ยกตัวอย่าง การท�ำงานวิจัยของบิอาทริซ เรมิเรซ์ (Beatriz Ramirez) ในการออกแบบ ผังการจัดเก็บไฟล์และการระบุชอื่ ไฟล์18 สิง่ ทีค่ วรค�ำนึงถึงอีกประการหนึง่ ได้แก่ การท�ำให้ขอ้ มูลเข้าถึงได้ เพือ่ ให้เป็นประโยชน์ตอ่ ผูอ้ นื่ หากนักวิจยั เป็นผู้จัดเก็บรวบรวมเอง ย่อมเห็นว่าข้อมูลเหล่านั้นเป็นสิ่งส�ำคัญ การแบ่ ง ปั น ข้ อ มู ล นั้ น สามารถใช้ วิ ธี ก ารฝากข้ อ มู ล ตามคลั ง เก็บข้อมูล (data repository) ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ข้อมูล (data centre) คลังข้อมูลจดหมายเหตุ (data archive) คลังข้อมูล (data bank) เช่น re3data.org19 และ figshare20 การตีพิมพ์ร่ ว มกั บ บทความ (journal publishing) คลั ง สารสนเทศระดับ สถาบัน (institutional repository) เว็ บ ไซต์ ข องโครงการหรื อ สถาบั น และการสื่ อ สารโดยตรงระหว่ า ง นักวิชาการ (peer-to-peer information communication) เป็นต้น
โปรดดู Metadata Standards Directory Working Group (Chen, Alderete, and Ball 2017) 18 ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอ ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ (วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ 2559, 16); โปรดดู http://www.wageningenur.nl/en/Expertise-Services/Data- Management-Support-Hub/Browse-by-Subject/Organising-files-and-folders.htm 19 โปรดดู http://www.re3data.org 20 โปรดดู https://figshare.com 17
58
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
การจัดการข้อมูลมีผู้เกี่ยวข้องหลากหลาย21
การจัดการข้อ มูล การวิจัยให้ เ กิ ด ประโยชน์ สูงสุ ด นั้ น ไม่ ใช่ แ ค่ ความรับผิดชอบของกลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ แต่ผทู้ เี่ กีย่ วข้องกับการวิจยั ทัง้ ระบบ ต่างหากที่จะมีส่วนร่วมกันในการจัดการข้อมูลการวิจัยอย่างเป็นระบบ ผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย - นักวิจัย นักวิจัยเป็นผู้ที่รู้จักข้อมูลการวิจัยดีที่สุด ท�ำหน้าที่ ออกแบบแผนการจัดการข้อมูลการวิจัย และจัดการข้อมูล การวิจัยในทุกขั้นตอนของโครงการวิจัย และที่ส�ำคัญนักวิจัย จ�ำเป็นต้องท�ำแผนการจัดการข้อมูลการวิจัยส่งประกอบการ ขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย โดยแหล่งทุนวิจัยได้ก�ำหนดไว้ เป็นข้อตกลงการรับทุน - แหล่งทุนวิจัย จะช่วยให้ค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับเครื่องมือในการ จัดการข้อมูลการวิจัย รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมที่สนับสนุน การบริหารการจัดการงานวิจัย และสร้างความตระหนักถึง ความส�ำคัญของข้อมูลการวิจัยแก่นักวิจัยและสังคมวิชาการ - หน่วยงานต้นสังกัดของนักวิจัย จะต้องส่งเสริมให้ทุกคน ในองค์กรตระหนักถึงความส�ำคัญของข้อมูลการวิจัย และ ต้องก�ำหนดให้การจัดการข้อมูลการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของ นโยบาย และย�้ำถึง ความส� ำ คั ญ ในการปฏิ บั ติตาม รวมถึ ง จัดหาทรัพยากรสนับสนุนการจัดการ การจัดเก็บและการเข้าถึง ข้อมูลการวิจัย - ห้ อ งสมุ ด มี ส ่ ว นส� ำ คั ญ ในการพั ฒ นาและดู แ ลคลั ง ข้ อ มู ล การวิจยั ห้องสมุดในต่างประเทศจะมีบริการสนับสนุนส่งเสริม การวิจัยให้กับอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ซึ่งอาจจะจัด 21
ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอ ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ (วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ 2559, 17)
59
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
คอร์สอบรม ให้ค�ำแนะน�ำ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการข้อมูล การวิจัย การแนะน�ำการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย การให้ ความรู ้ เรื่ อ งลิ ข สิ ท ธิ์ และสิ ท ธิ ใ นการเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล การวิ จั ย เป็นต้น การพัฒนาการจัดการข้อมูลการวิจัยต้องอาศัยทักษะที่เกี่ยวข้อง ของแต่ละฝ่าย แต่ละกลุม่ ต้องพัฒนาตนเองทัง้ ทักษะ ความรู้ ความสามารถ โดยนักวิจัยในฐานะผู้สร้างข้อมูล (data creator) จ�ำเป็นต้องมีความรู้ เบื้องต้นในการพรรณนารายละเอียดข้อมูลการวิจัย ส่วนด้านนักเอกสาร สนเทศและบรรณารักษ์ หรืออาจเรียกว่า บรรณารักษ์ขอ้ มูล (data librarian) ต้องท�ำความรู้จักลักษณะข้อมูลและการวิจัยมากขึ้น ข้อมูลแต่ละอย่าง อยู่ในรูปแบบใดบ้าง การท�ำหน้าที่ในการติดตามและประเมินข้อมูล ในการน� ำ เข้ า และจ� ำ หน่ า ยออก และให้ ค� ำ แนะน� ำ กั บ ผู ้ ใช้ บ ริ ก ารได้ ส่วนผู้จัดการข้อมูล (data manager) ที่ต้องให้ความส�ำคัญกับการดูแล การน� ำ ข้ อมู ล เข้า สู่ร ะบบคลัง การก�ำหนดระดั บ ความปลอดภั ย และ การจัดการความเสี่ยงที่จะสร้างความเสียหายกับข้อมูล และนักวิชาการ ด้านข้อมูล (data scientist) ที่พัฒนาความรู้เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล การวิจัย รวมถึงการวิเคราะห์และพัฒนามาตรฐาน22 สุดท้าย แม้การจัดการข้อมูลการวิจัยเป็นกระบวนการที่ละเอียด ต้องใช้ก�ำลังและเวลาในการด�ำเนินการอย่างมาก แต่อยากจะหนุนใจ ทุกท่านให้ใส่ใจกับข้อมูลการวิจัยและการจัดการข้อมูลการวิจัยอย่าง เป็นระบบ ทั้งนี้ถ้าหากเราจัดการข้อมูลการวิจัยอย่างเป็นระบบตั้งแต่ แรกเริม่ การด�ำเนินการวิจยั สุดท้ายผลของการด�ำเนินการนีจ้ ะส่งผลให้เรา มีข้อมูลการวิจัยที่มีคุณภาพและพร้อมใช้งานได้เสมอ นั่นก็จะส่งผลต่อ การสร้างสรรค์และพัฒนาความรู้และนวัตกรรมต่อไปได้ 22
ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอ ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ (วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ 2559, 19) อ้างอิงจาก http://www.dcc.ac.uk/sites/default/files/documents/ RDMF/RDMF2/coreSkillsDiagram.gif
60
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ถาม-ตอบ
ด�ำเนินรายการโดย สิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี
สิ ท ธิ ศั ก ดิ์ : ในการออกแบบเวที ก ารเสวนานี้ ค่ อ นข้ า งยาก เพราะต้ อ งการให้ นั ก วิ จั ย และนั ก จั ด การข้ อ มู ล มาแลกเปลี่ ย นและ หาจุดยืนตรงกลางร่วมกัน สิง่ ส�ำคัญคือ ไม่ควรท�ำงานวิจยั เพียงอย่างเดียว แต่ตอ้ งมีการจัดการและจัดเก็บข้อมูลจากงานวิจยั เพือ่ ให้เป็นองค์ความรู้ ของประเทศ และจะน�ำมาแบ่งปันในชุมชนวิชาการอย่างไรในอนาคต เริ่มจากการบรรยายของ ดร.ปริตตา เริ่มต้นด้วยการสื่อสารระหว่าง นักวิชาการและนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อมา คือการให้ความส�ำคัญ กับสิทธิทางวัฒนธรรมของชุมชนที่เป็นต้นทางของงานวิจัย ต่อมาเป็นการบรรยายของ รศ. ดร.รัศมี ที่ท�ำงานวิจัยโบราณคดี บนพื้นที่สูงต่อเนื่องยาวนานและมีกองข้อมูลจ�ำนวนมหาศาล ข้อมูล หลากหลายประเภทและรูปแบบ และสุดท้าย ดร.วชิราภรณ์ ที่กล่าวถึง กระบวนการจัดการข้อมูลงานวิจัยมีสิ่งใดบ้างที่ควรค�ำนึงถึง จึงอยากจะ มาต่อประเด็น คนละค�ำถาม ค� ำ ถามแรก ในการจั ด การข้ อ มู ล งานวิ จั ย ด้ า นสั ง คมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ จากแนวคิดจะน�ำไปสูก่ ารปฏิบตั ิ สิง่ แรกทีต่ อ้ งมีคอื นโยบาย ถาม ดร.ปริตตาว่า ท�ำไมสถาบันวิช าการของไทยต้ องให้ ความสนใจ การจัดการข้อมูล และสิ่งนี้ส�ำคัญอย่างไรกับอนาคตของสถาบันวิจัยไทย ดร.ปริตตา : จะตอบอย่างไรดี ขอเริม่ นอกเรือ่ งก่อน เมือ่ เร็วๆ นี้ มีนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษท่านหนึ่งที่สนใจประวัติศาสตร์อังกฤษ ช่วง ค.ศ. 1066 ซึ่งเป็นปีที่พลิกประวัติศาสตร์อังกฤษ กษัตริย์วิลเลียม ผู้พิชิต (William the Conqueror) แห่งแคว้นนอร์มังดีในฝรั่งเศส ยกทัพ มารบชนะอัง กฤษ ในยุทธการเฮสติ ง ส่ งผลให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลง การปกครองและวัฒนธรรมของอังกฤษมาก 61 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
นักประวัติศาสตร์ท่านนี้อ่านข้อมูลที่มีการอ้างอิงต่อกันมาว่า กษัตริย์วิลเลียม มีบุคลิกอ่อนโยน น่ารัก ใจดี เป็นกันเอง และเป็นมิตร จึงสงสัยว่าแหล่งข้อมูลดั้งเดิมของข้อมูลนี้มาจากที่ใด และพบว่าแหล่ง ข้อมูลดั้งเดิมเป็นภาษาละติน และการบรรยายถึงบุคลิกภาพนั้นไม่ใช่ กษั ต ริ ย ์ วิ ล เลี ย ม แต่ เ ป็ น ข้ อ มู ล ที่ บ รรยายบุ ค ลิ ก ภาพคนอื่ น ฉะนั้ น การอ้างถึงกษัตริย์วิลเลียมนั้นไม่ถูกต้อง ท�ำให้คิดถึงวัฒนธรรมของ บางประเทศที่นิยมเก็บรักษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ว่ารูปแบบใด ก็ตาม ในกรณีนี้ มีการรักษาข้อมูลที่บันทึกไว้ตั้งแต่ ค.ศ. 1066 หรือ ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือกรุงสุโขทัยเสียด้วยซ�้ำ ในเมืองไทย ไม่แน่ใจว่ามีหลักฐานชั้นต้น เหลืออยู่บ้างหรือไม่ แต่ในอังกฤษมีหลักฐานชั้นต้น ท�ำให้คนในยุคหลังเรียนรู้ได้ไม่รู้จักจบ วั ฒ นธรรมไทย ไม่ เข้ ม แข็ ง ด้ า นการเก็ บ บั น ทึ ก ข้ อ มู ล เรามั ก อ้ า งว่ า พม่าเผาหมดแล้วตั้งแต่เสียกรุงครั้งที่สอง ตัวดิฉันเองก็มีประสบการณ์ จากการท�ำวิจัยในขณะนี้ ว่าหาข้อมูลไม่ได้ หน่วยงานมักมีข้ออ้างถึง หลักฐานว่าไปกับน�้ำท่วมหมดแล้ว จะมีวาตภัยบ้าง อุทกภัยบ้าง หรือ ภัยสงครามครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งได้ท�ำลายหลักฐานไปแล้ว สถาบันวิชาการ ที่สนใจด้านการจัดการข้อมูลดิจิทัล ต้องบอกว่าเริ่มต้นจากติดลบ เพราะ ฉะนั้นยิ่งมีความจ�ำเป็นต้องเก็บได้เท่าที่มีในปัจจุบัน เพื่อวันข้างหน้า คนสามารถเบิกมาใช้งานได้ไม่มีวันจบ แต่ ก็ ต ้ อ งดูว่า เป็นสถาบันวิชาการแบบใด เช่ น มหาวิ ท ยาลั ย ซึ่งหน้าที่หลักคือเพิ่มพูนความรู้และสร้างคน แต่ในปัจจุบัน ควรมีการ จัดเก็บข้อมูลเพื่อให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์ต่อ มหาวิทยาลัยเป็นสถาบัน ทางวิชาการรูปแบบหนึ่ง หรืออาจจะเป็นส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร หรือหน่วยงานอื่นๆ ก็ท�ำได้เช่นกัน แต่ระบบ ของแต่ ล ะที่ ค งจะไม่ เ หมื อ นกั น แต่ ป ระเทศไทยอาจอาภั พ เล็ ก น้ อ ย เพราะเมื่อพูดถึงนโยบาย ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่องในเรื่อง การแสวงหาความรู้และสะสมความรู้ อาจจะท�ำให้ยากต่อองค์กรในการ ท�ำงานด้านเก็บสะสมความรู้ ทีส่ ำ� คัญ คือ มีนโยบายทีช่ ดั เจนและต่อเนือ่ ง 62
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
สิทธิศักดิ์ : สิ่งที่ควรเพิ่มเติม เพื่อให้แนวคิดน�ำไปสู่การปฏิบัติ ได้จริงคือ “กระบวนการ” ในที่นี้ หมายถึงการสร้างองค์ความรู้ในการ จัดการข้อมูลว่าต้องท�ำอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร จึงขอถาม รศ. ดร.รัศมี ถึงการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยว่า สถานการณ์ในปัจจุบัน เราสอน ชุดความรูเ้ หล่านีไ้ ปถึงระดับใดแล้ว ดีหรือไม่อย่างไร นักศึกษาได้นำ� ไปใช้ ในการท�ำงานหรือการออกภาคสนามบ้างหรือเปล่า รศ. ดร.รั ศ มี : ในการเรี ย นการสอนในทางโบราณคดี เรามี การเรียนการสอนเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลไม่มาก มีการเรียนการสอน ในวิชาด้านการขุดค้น ส�ำรวจ วิเคราะห์ และตีความ นักศึกษาจะได้เรียน ในชั้นปีที่ 3 ได้เรียนในการจัดจ�ำแนกข้อมูลดังที่บรรยาย และยังมีวิชา คอมพิวเตอร์ทางโบราณคดี คือ เรียนการบันทึกข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ แต่หลักๆ คือ สอนให้วิเคราะห์เป็น ส่วนการสอนให้เห็นความส�ำคัญ ของการจัดการข้อมูลก็ยงั เป็นปัญหาหลัก เพราะหลังจากท�ำงานเสร็จแล้ว แต่ช่วงที่ล�ำบากที่สุดคือช่วงหลังจากที่ท�ำงานวิจัย เช่น ตนเองขุดค้น ในหนึง่ แหล่งมีขอ้ มูลมากมาย ยังไม่นบั ว่าท�ำงานใน 80 แหล่ง ตรงนีเ้ ป็น ความรับผิดชอบของนักวิจัย กรมศิลปากรเองก็จะเลือกชั้นวัฒนธรรมที่เป็น “masterpiece” เพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์และเผยแพร่ต่อสาธารณชน แต่มีข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกเลือก เช่น สะเก็ดหิน ภาชนะที่ไม่เต็มใบกลับถูกละเลย จึงเป็น หน้าที่ของนักวิชาการที่ต้องคิดว่าจะจัดการอย่างไรต่อไป ในขณะนี้ ภาควิชาโบราณคดีก็น�ำสิ่งต่างๆ ไปเก็บไว้ในห้องคลัง เรื่ อ งใหญ่ ส� ำ หรั บ ประเทศไทยจึ ง เป็ น ข้ อ มู ล หลั ง การวิ จั ย ที่ มี เยอะมาก เช่น ตอนนี้เรามีข้อมูลภาพและเสียงสัมภาษณ์พยานบุคคล ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เรามีบันทึกกว่าร้อยม้วน จึงสอบถามไปยัง หน่วยงานวิจยั เราอยากเสนอให้สร้าง “ห้องสมุดเสียงชาวบ้าน” จึงต้องการ หน่วยงานบางหน่วยงานในการช่วยเหลือเรื่องนี้ นักวิจัยท�ำงานแล้ว มีข้อมูลมหาศาลที่ไม่อยากทิ้ง เพราะบางอย่างอาจมีประโยชน์ต่อผู้อื่น อย่างเราน�ำภาพยนตร์ไปให้เขาดู เขาร้องไห้ เพราะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ 63 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ต้องการเก็บไว้ในชุมชน เมื่อเราท�ำวิจัยแล้ว และเราไม่สามารถท�ำได้ ตลอดชี วิ ต ในการรั ก ษาสิ่ ง เหล่ า นี้ หากมี ห น่ ว ยงานที่ ช ่ ว ยเก็ บ ข้ อ มู ล เหล่านี้ไว้ ก็จะได้เป็นคลังปัญญาของประเทศชาติ ที่จะเป็นประโยชน์ ในทุกระดับ เพราะฉะนั้นในกระบวนการเรียนการสอน หากถามว่า คณะ โบราณคดียงั ไม่มกี ารจัดการเรือ่ งนีเ้ ลย เรายังไม่ได้บรู ณาการศาสตร์ตา่ งๆ เข้ า ด้ ว ยกั น เรามี ส าขาวิ ช าด้ า นจดหมายเหตุ แต่ เรายั ง ไม่ ไ ด้ คุ ย กั น เพื่อมาเชื่อมโยง เรามาช่วยกันได้ไหม น�ำบางส่วนของเราเป็นแบบฝึกหัด ให้ นั ก ศึ ก ษาเป็ น คนท� ำ จุ ด อ่ อ นของการวิ จั ย ในประเทศไทยคื อ การ เก็บรักษาข้อมูลหลังวิจัยเสร็จแล้ว ไม่ใช่ก่อนหรือระหว่าง สิ ท ธิ์ ศั ก ดิ์ : หมายความว่ า ในระดั บ การเรี ย นการสอนของ มหาวิทยาลัย ยังขาดกระบวนการจัดการข้อมูล กว่าจะได้เรียนรู้ก็ต่อเมื่อ ได้ลงมาท�ำงานจริง และเรายังขาดแนวทางส�ำหรับนักวิจัยที่จะน�ำไปสู่ การจัดการข้อมูล จึงน�ำไปสู่ค�ำถามที่ว่าปัจจัยใดที่ท�ำให้สิ่งนี้ไม่เกิดขึ้น ในการท�ำงานวิจัยในไทย ดร.วชิราภรณ์ : นักวิจัยเห็นคุณค่าของข้อมูล มีการจัดการก็จริง แต่อาจไม่ได้มีการก�ำหนดแบบแผนการจัดการข้อมูลการวิจัยตั้งแต่แรก ว่าข้อมูลการวิจัยที่เกิดขึ้นในการวิจัยของตนจะมีลักษณะใด นอกจากนี้ ยังเป็นทีล่ กั ษณะของนักวิจยั ด้วย คือ เมือ่ เริม่ ต้นค้นคว้า วิเคราะห์และเก็บ แต่อาจไม่ได้ค�ำนึงว่าข้อมูลมาจากที่ใด จะตั้งชื่อไฟล์งานอย่างไร มีใคร อยากใช้ประโยชน์ต่อบ้าง จะจัดเก็บอย่างไรให้เหมาะสม เราไม่เคยคิดถึง เรื่องนี้ก่อนการวิจัย เราอาจจะมี cloud service แต่กลายเป็นว่าสมาชิก แต่ละคนต่างใช้บริการการจัดเก็บข้อมูลของผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน แล้วจะท�ำงานร่วมกันอย่างไร เราไม่ทันคิด สิทธิศักดิ์ : นั่นคือควรมีข้อตกลงของการท�ำงานวิจัยร่วมกันก่อน เริม่ ลงมือท�ำงานวิจยั ซึง่ ตรงนีง้ านวิจยั บ้านเรายังไม่มแี นวทางหลักส�ำหรับ นักวิจัยแต่ละคน ในความคิดเห็นของ รศ. ดร.รัศมี เห็นว่าเป็นเพราะ เหตุใด ? 64
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
รศ. ดร.รัศมี : นักวิจัยไทยมีอัตตาสูง เพราะเชื่อมั่นในวิธีการ ท�ำงานของแต่ละศาสตร์ การท�ำงานกับผูอ้ นื่ จึงต้องเป็นแบบสหวิทยาการ หากเราท�ำงานกับคนอื่น เป็นการบังคับตนเองว่าต้องแบ่งปันข้อมูล โดยอัตโนมัติ เช่น ท�ำวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ส่งผล ต่ อสั งคมทั้ง ในอดีตและปัจ จุบัน เราอาจต้ องใช้ ความเชี่ ย วชาญของ นั ก วงปี ไ ม้ นั ก มานุ ษ ยวิ ท ยากายภาพ นั ก ธรณี วิ ท ยา เป็ น ต้ น ข้ อ มู ล เรื่องเดียวอาจเชื่อมโยงกับหลายศาสตร์ เราสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้ ไว้ใน cloud ที่ใครก็เข้าถึงได้ เวลาเราถามค�ำถาม ของนักธรณีว่าอย่างไร นักวงปีไม้เป็นอย่างไร ดร.ปริตตา : ขอย้อนกลับไปที่เรื่องนโยบาย ทุกวันนี้เรามีข้อมูล หลายรูปแบบ ในวันนีท้ เี่ ราคุยกัน ข้อมูลทีม่ าจากการวิจยั ด้านสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ก็เป็นข้อมูลแบบหนึง่ ในปัจจุบนั มาจากนักวิจยั แต่ทนี่ กึ ถึง ข้อมูล หากพูดถึงสังคมไทยมีหลายชุด แต่ประเทศไทยยังมีกลุ่มข้อมูล หลายชุดที่ช่วยท�ำความเข้าใจสังคมวัฒนธรรม นอกเหนือจากข้อมูลจาก งานวิ จัย เช่น จารึก ศิล าจารึก พับสา เป็ น ต้ น วั ด ปั จจุ บั น เก็ บ รั กษา สมุ ดข่ อย สมุดใบลาน ที่อ าจมีก ารอ่ านและเก็ บ ไว้ แ ล้ ว บ้ างบางส่ ว น แต่บางส่วนทีค่ วามรูป้ จั จุบนั ยังเข้าไม่ถงึ แต่คดิ ว่ามีความส�ำคัญ กลุม่ ทีส่ าม เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชุมชนต่างๆ ประวัติศาสตร์บอกเล่า เมื่ อ กล่ า วถึ ง นโยบาย เราคงต้ อ งก� ำ หนดให้ ชั ด ว่ า จะเริ่ ม เก็ บ อย่างไร หน่วยงานใดเป็นผูร้ บั ผิดชอบ โดยส่วนตัวเชือ่ ว่าการจัดการไม่ควร รวมศูนย์ที่กูเกิล ขณะนี้กูเกิลเก็บทุกอย่าง วันดีคืนดีจะท�ำอะไรก็ไม่รู้ จึงอยากให้องค์กรท้องถิ่น เช่น โรงเรียน หอจดหมายเหตุ ห้องสมุด เป็นต้น มีบทบาทมากขึน้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของท้องถิน่ ทีเ่ ขาท�ำมา อีกทั้งปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าก็สามารถท�ำได้ นโยบายจึงควร เริ่มจากการระบุว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง ใครเป็นผู้เก็บรักษา รวมถึงองค์กร ที่ จ ะท� ำ หน้ า ที่ นี้ ใ นเชิ ง นโยบาย เราจ� ำ เป็ น ต้ อ งสร้ า งบุ ค ลากรด้ า นนี้ การท�ำงานเช่นนีต้ อ้ งท�ำงานวิจยั ไปด้วย สร้างความรูไ้ ปด้วยและแลกเปลีย่ น กับนักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศไปด้วย 65 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ทีนมี้ าถึงในเรือ่ งของการเผยแพร่ขอ้ มูลงานวิจยั แต่เดิมการเผยแพร่ จะเป็นในรูปแบบของหนังสือ ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่กรองแล้ว มีคุณภาพดี แต่ตอนนีเ้ ราพูดถึงข้อมูลทางมานุษยวิทยา ทางโบราณคดี ทีม่ อี ยู่ จ�ำนวนมากที่เราอยากจะเก็บ คงต้องคิดให้ดีว่า หนึ่ง เราเก็บทุกอย่าง บนโลกนี้ไม่ได้ จึงต้องมีการกรองข้อมูลก่อน อันดับแรกในเชิงนโยบาย คือ เราจะเก็บข้อมูลแบบใด ซึง่ นักวิจยั จะบอกได้ดที สี่ ดุ แต่ขอ้ มูลเกีย่ วกับ สังคมวัฒนธรรม แน่นอนว่าต้องละเอียดอ่อน จริงๆ เรามีข้อมูลที่มิได้ เผยแพร่อีกจ�ำนวนมาก เพราะไม่แน่ใจว่าเผยแพร่ไปแล้วจะเกิดโทษกับ ผู้ที่ให้ข้อมูลหรือไม่ จะถูกน�ำไปใช้ในทางเอาเปรียบผู้อื่นหรือไม่ หรือ สร้างความเสียหายให้ผู้ใดหรือไม่ ฉะนั้น การน�ำข้อมูลเข้าฐานข้อมูล ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น การเผยแพร่ ที่ ก ว้ า งขึ้ น ก็ ต ้ อ งคิ ด ให้ ล ะเอี ย ดอ่ อ นด้ ว ย ก็คิดว่าเป็นปัญหาทั้งด้านเทคนิค จรรยาบรรณ (Ethics) และสังคม
66
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
อ้างอิง
ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ, บรรณาธิการ. 2555. ปริศนาวงศาคณาญาติ “ลัวะ.” เอกสารวิชาการ, ล�ำดับที่ 90. กรุงเทพ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร (องค์การมหาชน). ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. 2559. “‘คน’ กับ ‘เครื่อง’ ในคลังข้อมูล ดิจิทัล.” ในการประชุม เรื่อง การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุค ดิจิทัล, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). รัศมี ชูทรงเดช. 2559. “การจัดการข้อมูลโบราณคดี : จากแนวคิดสู่การ ปฏิบัติ.” ในการประชุม เรื่อง การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุค ดิจิทัล, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์. 2559. “การจัดการข้อมูลการวิจัย (Research Data Management) : กระบวนการที่จ�ำเป็นต่อการสร้างสรรค์ ความรู้และนวัตกรรม.” ในการประชุม เรื่อง การจัดการข้อมูล งานวิจัยในยุคดิจิทัล, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. National Institutes of Health. 2003. “NIH Data Sharing Policy and Implementation Guidance.” National Institutes of Health: Grants & Funding. March 5. http://grants.nih.gov/grants/ policy/data_sharing/data_sharing_guidance.htm#data. Prensky, Marc. 2001. “Digital Natives, Digital Immigrants.” On the Horizon 9 (5).
67 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
กระบวนการจัดการข้อมูลดิจิทัล และมาตรฐานการจัดการข้อมูลงานวิจัย ในคลังสารสนเทศดิจิทัล วิทยากร รศ. ดร.น�้ำทิพย์ วิภาวิน
68
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
การจัดการข้อมูลดิจิทัลมีความส�ำคัญอย่างยิ่ง เพราะเมื่อข้อมูล จากงานศึกษาวิจัยมีจ�ำนวนมากขึ้น แต่ข้อมูลกลับไม่ได้รับการจัดระบบ ด้วยมาตรฐาน ส่งผลให้การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเป็น เรื่องที่ซับซ้อนหรือเป็นไปไม่ได้เลย โดยทั่วไป ข้อมูลวิชาการที่จัดท�ำขึ้น โดยนักวิชาการและนักวิจัยอยู่ในรูปแบบที่เป็นผลงานทางวิชาการหรือ ผลงานวิจยั และแลกเปลีย่ นในแวดวงวิชาการ หรือทีเ่ รียกว่า “การสือ่ สาร ทางวิชาการ” (scholarly communication) การเผยแพร่ผลงานวิจัยจากการศึกษาค้นคว้าปรากฏในสาม ลักษณะได้แก่ 1. วารสารวิ ช าการ โดยการเขี ย นบทความวิ จั ย หรื อ วิ ช าการ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ให้ความเห็น (peer review) 69 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
2. การเสนอผลงานในทีป่ ระชุม (conference) ผลของการเผยแพร่ จะถูกตีพิมพ์ในรูปแบบของเอกสารภายหลังการประชุม (proceeding) 3. การรวบรวมเป็นหนังสือหรือต�ำราและสื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพ เสียง วิดีโอ หรือวัสดุต่างๆ ในวั น นี้ รูป แบบของการสื่อ สารทางวิ ช าการของนั กวิ จัย และ นั ก วิ ช าการคงเป็ น ไปในทั้ ง สามลั ก ษณะ แต่ ด ้ ว ยความก้ า วหน้ า ทาง เทคโนโลยี ส ารสนเทศ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความเปลี่ ย นแปลงในสามลั ก ษณะ ประกอบด้วย 1. รูปแบบของการเผยแพร่ ในปัจจุบนั บทความหรือผลงานวิจยั กลายเป็นดิจิทัลและได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (electronic journal) 2. กระบวนการ (process) ในการจั ด การข้ อ มู ล และการน� ำ มาตรฐานมาใช้ในการจัดการข้อมูล 3. การจัดเก็บข้อมูล (storage) เรียกว่าฐานข้อมูล (database) หรือคลังสารสนเทศดิจิทัล (digital repository) การจัดการข้อมูลดิจิทัลอย่างเป็นระบบจึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ข้อมูลดิจิทัลได้รับการสงวนรักษาและจัดเก็บเพื่อใช้ประโยชน์ ในระยะยาว กระบวนการดังกล่าว เรียกว่า digital curation หรือกล่าวได้วา่ เป็นการคัดสรรและส่งต่อข้อมูลดิจิทัลด้วยมาตรฐานเพื่ออนาคต ข้อมูลงานวิจัยในรูปแบบดิจิทัล (digital research data) ดังกล่าว จัดเก็บไว้ในคลังสารสนเทศดิจิทัล ซึ่งมีลักษณะเป็นคลังข้อมูลเปิดที่ผ่าน การรับรองคุณภาพ อนึ่ง digital curation ยังเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การจัดหาข้อมูลเพือ่ การใช้งานในระยะยาว ด้วยกระบวนการท�ำงานเชิงรุก (active management) โดยมีจดุ ประสงค์ในการเพิม่ คุณค่าให้ขอ้ มูลงานวิจยั ที่จัดเก็บเพื่อการใช้งานในปัจจุบันและอนาคต 70
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
Digital Curation: ความหมายและความรู้กับทักษะที่เกี่ยวข้อง
digital curation ต้องอาศัยทักษะในสองส่วน ได้แก่ (1) การท�ำงาน โดยผู้ปฏิบัติงาน (human skill) ที่จะต้องมีความรู้และทักษะในการจัดการ ข้ อ มู ล ดิ จิ ทั ล ด้ ว ยมาตรฐาน และ (2) เทคโนโลยี ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ (technology skill) หมายถึง ความพร้อมของเทคโนโลยีสารสนเทศในการ จัดเก็บและการค้นคืนที่เหมาะสม ในสหรัฐอเมริกา จากการส�ำรวจหน่วยงานที่ปฏิบัติการด้าน ระบบข้อมูลดิจิทัล มีการก�ำหนดบุคลากรเฉพาะทางส�ำหรับงานประเภท digital curation ในลักษณะต่างๆ เช่น ผู้เชี่ยวชาญจัดการข้อมูล (data management specialist) บรรณารักษ์จัดการข้อมูล (data management librarian) ภัณฑารักษ์ข้อมูล (data curator) บรรณารักษ์ข้อมูล (data librarian) ผู้เชี่ยวชาญบริการข้อมูล (data service specialist) บรรณารักษ์ ออกแบบ (design librarian) บรรณารักษ์ข้อมูลงานวิจัย (research data librarian) เป็ น ต้ น ต� ำ แหน่ ง เหล่ า นี้ อ าจอยู ่ ใ นห้ อ งสมุ ด ศู น ย์ ข ้ อ มู ล พิพิธภัณฑ์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูล ทักษะในการ ปฏิบัติงานด้านนี้ต้องอาศัยการเรียนรู้ซึ่งเป็นสหวิทยาการ ในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือ สแกนดิเนเวีย มีหลักสูตรที่เปิดสอนในสาขา digital curation ในระดับ ปริญญาโท และระดับประกาศนียบัตร การศึกษาสาขา digital curation แบบสหวิทยากรเกี่ยวข้องกับบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ การจัดการจดหมายเหตุ การจัดการวัฒนธรรม การจัดการพิพิธภัณฑ์ การจัดการสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น โดยมีรายวิชาต่างๆ เช่น การสร้างตัวแทนเอกสารหรือการท�ำ Metadata รายวิชาด้านเทคโนโลยี และเครื่องมือที่ใช้ในการด�ำเนินงานด้าน digital curation ความรู้ในการ จัดการโครงการ (project management) โดยเฉพาะการมีสว่ นร่วมของคน ในการท� ำ งานร่ ว มกั น รวมทั้ ง การก� ำ หนดนโยบายด้ ว ย รู ป แบบของ การศึกษายังปรากฏในลักษณะทีเ่ ป็นการเรียนการสอนผ่านระบบหลักสูตร เปิดออนไลน์ หรือ MOOC (Massive Open Online Course) โดยผู้สนใจ สามารถลงทะเบียนเรียนเฉพาะในรายวิชาที่สนใจ 71
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
กล่าวโดยสรุปในเบื้องต้น digital curation จึงครอบคลุมเนื้อหา ในหลายมิติ ทั้งการจัดการงานจดหมายเหตุ การสงวนรักษาข้อมูล และ ยั ง ครอบคลุ ม การสร้ า งที ม ในการท� ำ งานที่ อ าศั ย การมี ส ่ ว นร่ ว มของ ภาคส่ ว นต่ า งๆ digital curation จึ ง จะประสบความส� ำ เร็ จ เพื่ อ ให้ ข้อมูลดิจิทัลมีประโยชน์สูงสุด ขอบเขตและมาตรฐาน digital curation ที่ควรค�ำนึงถึง
ขอบเขตของ digital curation ครอบคลุมในสามด้าน ได้แก่
1. ความยั่งยืน หมายถึงข้อมูลดิจิทัลที่เข้าสู่ระบบ ได้รับการ ตรวจสอบความถูกต้อง มีการจัดท�ำเมทาดาทาหรือตัวแทนข้อมูล และ มีอายุการใช้งานที่ยืนยาวพร้อมที่จะให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงข้อมูลได้ทุกเมื่อ 2. ความถูกต้องสมบูรณ์ ข้อมูลต่างๆ จะต้องได้รบั การตรวจสอบ สิทธิ์และลิขสิทธิ์ในการจัดเก็บและการเผยแพร่ และเพื่อให้ข้อมูลมีความ สมบูรณ์ครบถ้วนพร้อมส�ำหรับการใช้งาน จึงต้องมีการส�ำรองและรักษา ความปลอดภัยของข้อมูลอยู่เป็นนิจ 3. การเข้าถึงข้อมูลทุกเมือ่ ข้อมูลทีจ่ ดั เก็บและให้บริการในระบบ ต้องใช้มาตรฐานในการจัดเก็บไฟล์ และคลังที่พร้อมส�ำหรับการใช้งาน ด้วยมาตรฐานเช่นกัน วัตถุประสงค์ส�ำคัญของการจัดการข้อมูลดิจิทัล คือ การเพิ่ม คุณค่าให้กับข้อมูลงานวิจัยที่จัดเก็บ และส่งเสริมให้เกิดการใช้งานใน ระยะยาว เมื่ อ ข้ อ มู ล ดิ จิ ทั ล ผ่ า นการตรวจสอบ ระบุ แ หล่ ง ที่ ม าและ รายละเอียด และจัดระบบให้สามารถเข้าถึงได้ จึงเกิดการแลกเปลี่ยน และแบ่งปันข้อมูลระหว่างนักวิชาการและนักวิจัย การเข้าถึงข้อมูลด้วย ระบบมาตรฐาน จึงลดความซ�้ำซ้อนในการท�ำวิจัยและต่อยอดงานวิจัย และมีส่วนส�ำคัญในการเพิ่มปริมาณการอ่านและการอ้างอิงงานวิจัย กระบวนการดั ง กล่ า วนั บ เป็ น การปกป้ อ งข้ อ มู ล ให้ ค งอยู ่ ไ ม่ สู ญ หาย แต่ที่ส�ำคัญกว่านั้นคือการลดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 72
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
พัฒนาการการสร้างระบบและมาตรฐานข้อมูลดิจิทัล
พัฒนาการของ digital curation เริ่มต้นตั้งแต่ 50 ปีที่แล้ว นั่นคือ ในยุคเริ่มแรกของการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูล แต่หากกล่าว เฉพาะคลัง สารสนเทศดิจิทัล กล่าวได้ ว ่ าเมื่ อ 25 ปี ที่ แ ล้ ว โลกเริ่ ม มี คลังสารสนเทศดิจิทัล “Archive.org” “arXiv.org” คลังสารสนเทศดังกล่าว จัดเก็บบทความวิจัยด้านฟิสิกส์ ชีววิทยา ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ในปัจจุบัน คลังสารสนเทศนั้นมีบทความกว่า หนึ่ ง ล้ า นบท ในระยะดั ง กล่ า ว คลั ง สารสนเทศอยู ่ ใ นระดั บ สถาบั น โดยในช่วงแรกนั้น Portable Document Format (PDF) ยังไม่ใช่ไฟล์เปิด ที่สามารถใช้ได้ระหว่างคอมพิวเตอร์เช่นในปัจจุบัน23 กระทั่ง ค.ศ. 2008 จึงเป็นมาตรฐานใช้กับโปรแกรมต่างๆ ได้ และเป็นระยะเวลาเดียวกับการเกิดขึ้นห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) ณ หอสมุดรัฐสภา (Library of Congress) ภายใต้โครงการหอสมุดดิจิทัล แห่งชาติ (National Digital Library Program) วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ การจัดเก็บข้อมูลทางประวัตศิ าสตร์ของอเมริกา (American Memory)24 เพื่ออ�ำนวยให้ผู้ใช้งานในยุคปัจจุบัน สามารถเข้าถึงหลักฐานชั้นต้น ได้อย่างสะดวก ในเวลาต่อมา จึงมีการพัฒนามาตรฐานในการสงวน รักษาข้อมูล (data preservation) ที่เรียกว่า OAIS Reference Model
พีดีเอฟ (PDF) พัฒนาขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เพื่อเป็นแนวทาง ในการแลกเปลีย่ นเอกสาร ซึง่ ครอบคลุมรูปแบบข้อความและภาพทีอ่ ยูใ่ นเอกสาร (“Portable Document Format” 2017). 24 โครงการหอสมุดดิจิทัลแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภา หรือ The Library of Congress National Digital Library Program (NDLP) การรบรวมส�ำเนาหลักฐานชั้นต้น เพือ่ สนับสนุนการศึกษาประวัตศิ าสตร์และวัฒนธรรมสหรัฐอเมริกา โครงการน�ำร่อง ในระยะห้าปี เริม่ ต้นเมือ่ ค.ศ. 1995 ด้วยการคัดสรรเอกสารจากคลังจดหมายเหตุ ของหอสมุดรัฐสภา และแปรไว้ในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งล�ำดับให้เห็นความรุ่มรวย ของมรดกวัฒนธรรมของชาติ (“Overview” 2017). 23
73 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
นอกจากนี้ การท�ำงานของ SPARC หรือ Scholarly Publishing and Academic Resources Coalition25 เป็ น อี กส่ ว นหนึ่ งที่ ส่ งเสริ ม การจัดการในคลังสารสนเทศดิจทิ ลั ทีเ่ ป็น “มาตรฐานเปิด” (open standard) ในระยะต่อมาจึงมีเกิดการพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ เช่น SPARC Europe, SPARC Japan, และ SPARC Africa การพัฒนามาตรฐานสารสนเทศ อื่นๆ เช่น ไฟล์เอ็กซ์เอ็มแอล (XML)26 ที่เป็นมาตรฐานเปิด และยังมี e-Print, DSpace27 และ Dublin Core28 เกิดขึ้น
SPARC ด�ำเนินการด้วยการพัฒนาคลังสารสนเทศเปิดส�ำหรับแบ่งปันผลงานทาง วิชาการ และสือ่ การศึกษาเพือ่ ส่งเสริมการเข้าถึงความรูอ้ ย่างเท่าเทียม การพัฒนา ให้การค้นพบใหม่ๆ เกิดมากยิ่งขึ้น และน�ำมาสู่การลงทุนในการศึกษาวิจัยหลัก การท�ำงานของ SPARC เน้นการท�ำงานกับภาคีตา่ งๆ เจ้าของผลงาน ส�ำนักพิมพ์ ห้องสมุด นักเรียน ผู้ให้ทุน ผู้ตัดสินเชิงนโยบาย และสาธารณะ ในการร่วม แบ่งปันสิ่งต่างๆ ด้วยระบบอินเทอร์เน็ต (“Who We Are” 2017). 26 เอ็กซ์เอ็มแอล หรือ Extensible Markup Language (XML) เป็นรูปแบบข้อความ ที่ ยื ด หยุ ่ น และไม่ ซั บ ซ้ อ น โดยมาจากเอสจี เ อ็ ม แอล (SGML) (ISO 8879) เอ็กซ์เอ็มแอลได้รับการออกแบบในเบื้องต้นเพื่อตอบโจทย์กับการเผยแพร่ อิเล็กทรอนิกส์ทมี่ ขี นาดใหญ่ ซึง่ นับวันจะมีบทบาทส�ำคัญในการแลกเปลีย่ นข้อมูล ผ่านเว็บและในช่องทางอื่น (“Extensible Markup Language (XML)” 2017). 27 ดีสเปซ (DSpace) เป็นซอฟต์แวร์ส�ำหรับองค์กรทางวิชาการ ไม่แสวงหาก�ำไร และการค้า ในการสร้างคลังดิจิทัลเปิด ดีสเปซสงวนรักษาและเปิดให้เข้าถึง ข้อมูลดิจิทัลทุกรูปแบบ ประกอบด้วยข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เอ็มเป็กส์ (mpegs) และชุดข้อมูล (“About DSpace” 2017). 28 “ดับลินคอร์” (Dublin Core) ด�ำเนินการในกรอบการท�ำงานของ Dublin Core Metadata Initiative (DCMI) เป็นการจัดการระบบเปิดที่อยู่ในความดูแลของ ASIS&Tองค์กรไม่แสวงหาก�ำไรของสหรัฐฯ (“About Us” 2017) ดับลินคอร์ เป็นหนึ่งในแบบแผนของข้อมูลอภิพันธุ์หรือที่เรียกว่า “เมทาดาทา” ที่ใช้ในการ อธิบายเนื้อหาและบริบทของงานดิจิทัลและสื่อผสม (Wikipedia 2017). 25
74
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ตั้งแต่ ค.ศ. 2006 จนถึงปัจจุบัน มีการท�ำงานที่เกี่ยวข้องกับ มาตรฐานการจัดการคลังสารสนเทศดิจิทัลที่เรียกว่า TRAC29 เกิดองค์กร ที่ ท� ำ หน้ า ที่ จั ด การและให้ บ ริ ก ารข้ อ มู ล งานวิ จั ย ที่ อั ง กฤษคื อ Digital Curation Center30 และที่ออสเตรเลียคือ Australian National DataService31 การท�ำงานของสถาบันต่างๆ ในการพัฒนามาตรฐานส่งผลให้ เกิดวารสารทางวิชาการเฉพาะทาง คือ International Journal of DigitalCuration และมีงานประชุมนานาชาติด้านดิจิทัลคิวเรชั่นมาแล้ว 12 ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีการรวมกลุ่มเพื่อการพัฒนาคลังสารสนเทศงานวิจัยร่วม หรือ Research Data Alliance ในยุโรป มีการตั้งเป้าหมายว่า ภายใน ค.ศ. 2020 ข้อมูลวิจัยต้องเข้าถึงได้ทั้งหมด32 โครงการส�ำคัญที่พัฒนาคลังสารสนเทศดิจิทัล ได้แก่ SHERPA33 ซึ่ ง เป็ น การท� ำ งานร่ ว มของมหาวิ ท ยาลั ย ในยุ โรปส่ ง เสริ ม การสื่ อ สาร ชุมชนทางวิชาการ กิจกรรมหนึ่งได้แก่ การดูแลงานบริการ RoMEO34 คือ การรวบรวมนโยบายของส�ำนักพิมพ์เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของผู้เขียน และ การเผยแพร่ในแต่ละแห่ง และส�ำนักพิมพ์หรือหน่วยงานนัน้ ๆ จะอนุญาต TRAC (Trustworthy Repositories Audit & Certification: Criteria and Checklist 2007) พัฒนาจากการท�ำงาน โดยศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาห้องสมุด (Center for Research Libraries) สหรัฐฯ เพือ่ พัฒนาการรับรองคลังสารสนเทศดิจทิ ลั ในนาม RLG-NARA Digital Repository Certification Task Force ทุนสนับสนุนจาก มูลนิธิเมลลอน (Andrew W. Mellon Foundation) ด้วยการก�ำหนดแนวทาง การตรวจสอบและรับรองจดหมายเหตุดจิ ทิ ลั และแนวทางในการตรวจสอบต่างๆ “แทร็ค” กลายเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนามาตรฐานไอเอสโอ (ISO standards) ส�ำหรับงานตรวจสอบและรับรองจดหมายเหตุดิจิทัล. 30 โปรดดู http://www.dcc.ac.uk 31 โปรดดู http://www.ands.org.au 32 โปรดดู https://europe.rd-alliance.org 33 มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม (The Centre for Research Communications at the University of Nottingham) เป็นผู้ดูแลระบบ โปรดดู http://www.sherpa.ac.uk/ 34 โปรดดู http://www.sherpa.ac.uk/romeo/index.php 29
75 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ให้น�ำข้อมูลมาจัดเก็บในคลังสารสนเทศดิจิทัลในระดับใด กระบวนการ ท�ำงานอาศัยการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับส�ำนักพิมพ์และวารสาร ที่ให้บริการข้อมูล และในส่วนที่สอง บริการ JULIET35 คือ แนวปฏิบัติที่ ผู้ให้ทุนก�ำหนดให้ผู้รับทุนน�ำข้อมูลระหว่างการวิจัยมาจัดเก็บในคลัง สารสนเทศดิ จิ ทัล ส่วนการให้บ ริก ารอยู่ที่ OpenDOAR ที่ ใ ห้ บ ริ การ คลังสารสนเทศ36 ปัจจุบัน คลังสารสนเทศดิจิทัลทั่วโลกมีประมาณ 2,000 แห่ง ในประเทศไทยมีประมาณ 10 แห่ง ทั้งอัปเดตและไม่อัปเดต การจะน�ำ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ ฯลฯ มาเก็บในคลังสารสนเทศ ดิจิทัลได้ ต้องมาจากการท�ำงานกับผู้ก�ำหนดนโยบาย (policy maker) ส�ำนักพิมพ์ (publisher) และผู้ให้ทุน สิ่งนี้จึงจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนา Directory of Access Journals หรือ 37 DoAJ สามารถเข้าไปอ่านข้อมูลได้ในลักษณะบทความเต็มฉบับ (full text) โครงการดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือกับส�ำนักพิมพ์ ต่างๆ แต่ในระยะสองปีทผี่ า่ นมา38 คือ DoAJ ได้กำ� หนดมาตรฐานในการ จัดการสารสนเทศ โดยวารสารที่เป็นไปตามข้ อก� ำ หนดที่ ตั้งไว้ จะได้ ตราประทับ DoAJ Seal เช่น วารสารต้องมีการก�ำหนด “ตัวระบุคงที่” (persistent identifier)39 คือ การให้รหัสก�ำกับไฟล์ดจิ ทิ ลั เช่น รหัสประเภท ดีโอไอ (DOI)40 รหัสประเภท URI41 หรือตัวอื่นๆ โปรดดู http://www.sherpa.ac.uk/juliet/index.php โปรดดู http://www.opendoar.org 37 โปรดดู https://doaj.org 38 ปัจจุบัน ค.ศ. 2017. 39 ตัวระบุคงที่เป็นการอ้างอิงคงที่กับแหล่งข้อมูลดิจิทัล โดยทั่วไปมีองค์ประกอบ ในสองส่วน ได้แก่ ตัวระบุเอกลักษณ์ (unique identifier) และข้อมูลแหล่งในการ จัดเก็บแม้จะเปลีย่ นต�ำแหน่งการจัดเก็บข้อมูล (Digital Preservation Coalition 2017). 40 Digital Object Identifier; โปรดดู https://www.doi.org/factsheets/DOIKeyFacts.html 41 Uniform Resource Identifier; โปรดดู https://www.w3.org/TR/uri-clarification/ 35 36
76
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
นอกจากนี้ ยังมีการก�ำหนดนโยบายเพื่อการใช้งานในระยะยาว หรืออิงนโยบายของ SPARC Romeo ทีก่ ำ� หนดว่าแต่ละส�ำนักพิมพ์กำ� หนด สิทธิ์ให้ใช้อย่างไรบ้าง มีแผนการด�ำเนินงานในการรักษาความปลอดภัย ข้อมูล มีการตรวจสอบสิทธิ์ของผู้เขียนบทความนั้น เป็นต้น เมื่อผ่าน เกณฑ์ แ ล้ ว DoAJ จะให้ logo เพื่ อ ประทั บ ไว้ ใ นหน้ า วารสาร ทั้ ง นี้ มิได้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าเนื้อหาภายในมีคุณภาพ หากแต่เป็นการ ยอมรับว่า วารสารดังกล่าวมีการจัดการข้อมูลที่มีคุณภาพ ปัจจุบันมี วารสาร 455 ฉบับที่ได้รับ DoAJ Seal คลังสารสนเทศงานวิจัย
คลั ง ข้ อ มู ล สารสนเทศงานวิ จั ย (research data repository) ผูใ้ ช้บริการสามารถค้นหาท�ำเนียบคลังข้อมูลงานวิจยั ได้จาก R3.org หรือ databib.org เพื่อหาว่ามีคลังสารสนเทศดิจิทัลอยู่ที่ใด แต่คลังข้อมูล งานวิจัยขนาดใหญ่ที่น่าสนใจ เช่น Research Data ของออสเตรเลียหรือ แคนาดา ซึ่ ง ตั้ ง ขึ้ น มาเพื่ อ จั ด เก็ บ ข้ อ มู ล วิ จั ย ของประเทศโดยเฉพาะ ไม่วา่ จะอยูใ่ นรูปแบบใดก็ตาม โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบเป็นการเฉพาะ การพัฒนาคลังสารสนเทศงานวิจัยถือเป็นนโยบายในระดับประเทศ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงข้อมูลวิจัยได้อย่างทั่วถึง ในบางประเทศ มี ก ารแยกกั น คลั ง สารสนเทศงานวิ จั ย ที่ เ ป็ น ข้อมูลประเภทวิทยานิพนธ์กับข้อมูลงานวิจัยโดยหน่วยงาน เช่น ประเทศ ในแถบยุโรปและสแกนดิเนเวีย กรณีฝรัง่ เศสมีการพัฒนาคลังวิทยานิพนธ์ หรือ thesis.fr กรณีฟินแลนด์มีคลังวิทยานิพนธ์ หรือ thesis.fi เป็นต้น คลังวิทยานิพนธ์ที่ยกตัวอย่างนี้เปิดให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงวิทยานิพนธ์ ได้ทั้งฉบับ คลั ง สารสนเทศมี ส องลั ก ษณะคื อ คลั ง สารสนเทศของแต่ ล ะ สาขาวิชา (subject repository) และคลังสารสนเทศของสถาบัน (institutional repository) คลังดังกล่าวสามารถพัฒนาขึ้นได้จากความร่วมมือระหว่าง นั ก วิ จั ย ในการจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล ร่ ว มกั น และใช้ ป ระโยชน์ ร ่ ว มกั น ฉะนั้ น 77 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ในการบริหารจัดการคลังสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ ต้องเกิดจาก ความร่วมมือหลายฝ่าย ดิจทิ ลั คิวเรชัน่ ทีด่ ไี ม่เพียงขึน้ อยูก่ บั ศักยภาพของ เทคโนโลยี แต่ยังต้องเกิดจากเกิดจากทักษะของผู้ปฏิบัติงาน จึงจ�ำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นความส�ำคัญ ท�ำอย่างไรให้กระบวนการ digital curation มีประสิทธิภาพ
digital curation เกิดจากการท�ำแผนการจัดการข้อมูลในช่วงพัฒนา โครงการงานวิจัย เมื่อ ค.ศ. 2004 องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพั ฒ นา (Organization for Economics Co-operation and Development) มีการลงนามร่วมกันของภาคี ต่อไปนี้ภาคีจะเผยแพร่ ข้อมูลวิจัยที่ได้รับทุนจากรัฐ42 จากนั้นจึงมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อก�ำหนดว่าผู้รับทุนต้องน�ำเสนอแผนงานการจัดการข้อมูล (data management plan) ตามแบบที่ก�ำหนด โดยต้องเป็นข้อมูลระหว่าง การท�ำงาน ไม่ใช่ข้อมูลจากผลการวิจัยเท่านั้น เช่น ข้อมูลอะไรบ้าง มีรูปแบบไฟล์อย่างไร จัดเก็บไว้ที่ใด จะเผยแพร่อย่างไร เป็นต้น กระบวนการจัดการข้อมูลระหว่างการท�ำงานวิจัยคือ digital curation ข้อมูลแต่ละชิ้นต้องท�ำเมทาดาทาของข้อมูล ก่อนส่งเข้าสู่คลัง สารสนเทศ ท�ำให้ในช่วงแรก สถาบันที่ให้ทุนวิจัยต้องรับความช่วยเหลือ จากภัณฑารักษ์ขอ้ มูลหรือผูเ้ ชีย่ วชาญสารสนเทศด้านงานวิจยั ผูเ้ ชีย่ วชาญ ดังกล่าวท�ำหน้าที่เป็นผู้สอนให้ผู้รับทุนรู้จักวิธีการน�ำเข้าข้อมูลเข้าสู่ ระบบ การจั ด เก็ บ หรื อ แม้ แ ต่ ก ารอธิ บ ายให้ อ งค์ ก รผู ้ ใ ห้ ทุ น ยอมรั บ กระบวนการจัดการข้อมูลนี้ ส�ำหรับประเทศไทย หากจะท�ำการจัดการข้อมูลต้องเป็นระดับ มหาวิทยาลัย เพราะถือเป็นหน่วยงานทีด่ แู ลงานวิจยั โดยต้องร่วมมือกับ หน่วยงานต่างๆ เพื่อน�ำข้อมูลไปสู่ผู้ใช้งาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 42
โปรดดู OECD Principles and Guidelines for Access to Research Data from Public Funding (2007)
78
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะมีการจัดท�ำ i-Thesis เป็นการจัดการข้อมูลของ วิ ท ยานิพนธ์ แต่มีเฉพาะวิทยานิพ นธ์ ที่ เ ป็ น รายงานการวิ จัย เท่ านั้ น แต่ในการจัดการข้อมูลงานวิจัยที่อภิปรายนี้ ไม่ใช่เพียงข้อมูลปลายทาง ของงานวิ จั ย เท่ า นั้ น แต่ เ ป็ น ข้ อ มู ล ที่ ส นั บ สนุ น ผลการวิ จั ย ที่ ก� ำ ลั ง จะ เกิดขึ้นด้วย เช่น ตาราง ภาพถ่าย สถิติต่างๆ เป็นต้น ตัวอย่างของกระบวนการจัดการข้อมูลงานวิจัยอีกแห่งหนึ่ง คือ ศูนย์จัดการข้อมูล หรือ Data Curation Centre (DCC)43 ประเทศอังกฤษ DCC ท�ำหน้าที่วางแผนว่าจะเก็บข้อมูลใด รูปแบบใด และเมื่อได้ข้อมูล มาแล้ว ต้องท�ำเมทาดาทา โดยเฉพาะการจัดเก็บข้อมูลในระยะยาว รายละเอียดของข้อมูลที่จัดเก็บต้องได้รับการอธิบายถึงที่มา เช่น ภาพ เสียง ตาราง เป็นต้น จากนัน้ เป็นขัน้ ตอนการคัดเลือกข้อมูลในการจัดเก็บ โดยไม่จำ� เป็น ต้องเก็บข้อมูลไว้ทงั้ หมด แต่ให้เลือกข้อมูลทีต่ อ้ งใช้งานในระยะยาว หรือ มีประโยชน์สำ� หรับผูใ้ ช้กลุม่ ต่างๆ โดยเราต้องระบุกลุม่ ผูใ้ ช้ จึงกล่าวได้วา่ ข้อมูลที่ได้รับการจัดเก็บนั้นจะต้องเป็นประโยชน์กับผู้ใช้งานกลุ่มใด ในล� ำ ดั บ ถั ด มา เป็ น การตรวจสอบข้ อ มู ล และน� ำ เข้ า สู ่ ร ะบบ ด้ ว ยมาตรฐานเปิ ด การท� ำ งานตามล� ำ ดั บ ขั้ น ตอนดั ง นี้ จึ ง จะบรรลุ จุดมุ่งหมายที่ต้องการ นับเป็นการตรวจสอบก่อนการสงวนรักษาข้อมูล (preservation action) รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลตามข้อก�ำหนดหรือเงือ่ นไข เช่ น การก� ำ หนดเวลาและสิ ท ธิ์ ใ นการเผยแพร่ ภ ายหลั ง โดยอาจให้ ผู้ใช้บางกลุ่มใช้ข้อมูลได้ก่อนตามข้อก�ำหนด จากนั้น อีกระยะเวลาหนึ่ง จึงเผยแพร่เป็นสาธารณะ เป็นต้น การวางแผนและขั้นตอนคัดกรอง ข้อมูล คือ กระบวนการที่เป็นขั้นตอนจากกรอบนอกสุดของ Digital Curation Life Cycle Model44 43 44
โปรดดู http://www.dcc.ac.uk/ โปรดดู http://www.dcc.ac.uk/resources/curation-lifecycle-model
79 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
กระบวนการ digital curation อีกลักษณะหนึง่ คือ กระบวนการจาก กรอบใน สิง่ แรกคือ เนือ้ หา (content) เนือ้ หาทีเ่ ป็นชุดข้อมูล (data set)45 หรือวัตถุดิจิทัล (digital object) มีสองส่วน คือ ส่ ว นแรก ข้อ มูล วิจัยประเภทดิจิทัล (digital research data) อาจเป็นข้อมูลดิจิทัลตั้งแต่แรก (digital-born data) หรือถูกแปลงสภาพ ให้เป็นดิจิทัล (digitized data) เมื่อเราพิจารณาแล้วว่า ข้อมูลที่จะจัดเก็บ คืออะไร จากนั้นจึงท�ำเมทาดาทาข้อมูล คือ การอธิบายลักษณะของ ข้อ มู ล ที่ ตั ดสิ น ใจเก็บ ขั้นตอนอีก ส่วนหนึ่ง ได้ แ ก่ การจั ด ท� ำ นโยบาย อนุรกั ษ์สงวนรักษาจัดเก็บข้อมูลและการพิจารณาค่าใช้จา่ ยในการจัดการ ข้อมูล ส่วนต่อมา การติดตามและสนับสนุนการปฏิบัติตามมาตรฐาน (Community Watch and Participation) เกิดจากความร่วมมือโดยกลุม่ ผูใ้ ช้ รวมทั้งมาตรฐานในการจัดการข้อมูล กล่าวโดยรวม คือ เรื่องที่ต้อง พิจารณาก่อนน�ำข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อการใช้งาน ด้วยเหตุนี้ กระบวนการ ในการท�ำงาน Digital Curation จึงต้องการความเข้าใจในความคิดของ นักวิจยั ส�ำหรับพิจารณาข้อมูลใดทีเ่ ป็นประโยชน์ในการจัดเก็บ พิจารณาถึง เมทาดาทาที่ครบถ้วน ทั้งนี้ เมทาดาทามีหลายประเภท เช่น เมทาดาทา เพื่ ออธิ บายความ (descriptive), เมทาดาทาโครงสร้ าง (structure), เมทาดาทาเพื่อบริหารจัดการ (administrative), เมทาดาทาเพื่อการ สงวนรักษา (Preservation)46 การลงรายละเอียดข้อมูลเป็นงานที่บรรณารักษ์สามารถช่วย ด�ำเนินการได้ แต่ตอ้ งมีขอ้ มูลส�ำหรับการลงรายการ การท�ำงานในระยะแรก ใช้เวลาค่อนข้างสูงและเป็นงานซ�ำ้ ๆ แต่เพือ่ ในอนาคตจะมีผใู้ ช้งานเข้าถึง ข้อมูลได้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องลงทุนและลงแรง 45 46
คือองค์ประกอบของการท�ำงานวิจยั เช่น ตารางสถิตติ า่ งๆ ในกระบวนการวิจยั . โปรดดู http://www.dcc.ac.uk/digital-curation/glossary#OAIS
80
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
สรุปสาระส�ำคัญของการจัดการคลังสารสนเทศ
1. การก�ำหนดประเภทของข้อมูล โดยข้อมูลการวิจัยนั้นมีทั้ง ข้อมูลดิจิทัลและข้อมูลที่ตีพิมพ์ ต้องพิจารณาว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่ ควรจัดเก็บในรูปแบบดิจทิ ลั เมทาดาทาถือเป็นข้อมูลประเภทหนึง่ เช่นกัน รวมทั้งการจัดการฐานข้อมูล เว็บไซต์ หรือ e-Book การท�ำงานต่างๆ เหล่านีส้ ามารถใช้ digital curation เพือ่ การจัดเก็บข้อมูลส�ำหรับการใช้งาน ในระยะยาว 2. การอธิบายคุณลักษณะของข้อมูล คือ การท�ำเมทาดาทา และการจดทะเบียนรหัสประจ�ำไฟล์ดิจิทัล เช่น DOI ส�ำหรับประเทศไทย ในปัจจุบัน ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นผู้ท�ำหน้าที่ ในการจดทะเบียน ไม่วา่ จะเป็นข้อมูลงานวิจยั หรือไฟล์ดจิ ทิ ลั ในรูปแบบอืน่ รวมถึงการใช้ข้อมูลโดยอิงมาตรฐาน OAIS47 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ใน การท�ำงานของคลังสารสนเทศดิจิทัล 3. นโยบายในการวางแผนสงวนรักษา (Preservation Planning Policy) ต้ อ งมี ก ารก� ำ หนดนโยบายและการตรวจสอบคุ ณ ภาพของ คลังสารสนเทศดิจิทัล โดยชุมชนผู้ใช้ประโยชน์ร่วมกันแบ่งปันข้อมูล รวมทั้งการศึกษาการใช้เครื่องมือ (Tools Kit) ส�ำหรับการท�ำงาน เพราะ ทุกอย่างที่ใช้ในการท�ำงานต้องเป็น Open Software เช่น e-Prints48, DSpace49, Fedora50, Datawords กระบวนการท�ำ digital curation ต้องค�ำนึงถึงการใช้ขอ้ มูลทีเ่ ป็น ข้อมูลเปิด และการท�ำงานร่วมกันของชุมชนผู้ใช้ประโยชน์ข้อมูล และ การพิจารณาด้านกฎหมาย นอกจากนี้ ยังต้องให้ความใส่ใจในการสร้าง โปรดดู http://www.dcc.ac.uk/resources/curation-lifecycle-model องค์ประกอบของการท�ำงานวิจยั เช่น ตารางสถิตติ า่ งๆ ในกระบวนการวิจยั . 49 โปรดดู http://www.dcc.ac.uk/digital-curation/glossary#OAIS 50 โปรดดู http://datawords.com/ 47 48
81 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ค�ำอธิบายประกอบเรื่องหรือบทคัดย่อ รวมทั้งสิ่งที่จะอ้างอิงไปยังข้อมูล ต้นแหล่ง อนึ่ง digital curation ยังเกี่ยวข้องกับมาตรฐานในการรับรอง คุณภาพของข้อมูลวิจยั เพือ่ ความน่าเชือ่ ถือของข้อมูล จึงต้องมีหน่วยงาน รับรองความน่าเชื่อถือของข้อมูลให้กับสถาบัน องค์กร หรือศูนย์ข้อมูล เป็นต้น โดยมีสองระดับ ได้แก่ 1. ระดับพื้นฐาน ได้แก่ Data Seal of Approval51 มีข้อก�ำหนด 16 ข้อ แบ่งเป็นสามส่วน คือ ผู้ผลิตข้อมูล คลังข้อมูลและผู้ใช้ประโยชน์ ข้อมูล ในปัจจุบนั มีคลังสารสนเทศมากกว่า 30 แห่งทีไ่ ด้รบั การรับรองแล้ว 2. ระดับ ISO ในการรับรองคลังสารสนเทศดิจิทัลระดับสถาบัน ได้แก่ Trustworthy Repositories52 มีข้อก�ำหนดกว่า 100 ข้อ ครอบคลุม ตั้งแต่การจัดสร้างองค์กรไปจนถึงการจัดการวัสดุดิจิทัลและการจัดการ ความเสี่ยง มาตรฐานการจัดการข้อมูลดิจิทัลจึงเป็นเรื่องส�ำคัญที่ต้องให้ ความสนใจ ต้ อ งมั่นใจว่า การจัดการข้อ มูล ที่ จะเข้ าสู ่ คลั งสารสนเทศ มี คุ ณ ภาพจริ ง และต้ อ งการจั ด เก็ บ ในระยะยาวด้ ว ยการด� ำ เนิ น งาน ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างจริงจังเคร่งครัด โดยต้องอ้างอิงจาก โมเดล OAIS Reference Model53 ที่เป็นมาตรฐานในการจัดการข้อมูล ในคลั ง สารสนเทศดิ จิ ทั ล โดยมี ข ้ อ มู ล ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การสงวนรั ก ษา ค�ำอธิบายสารสนเทศ (information package) ซึ่งประกอบไปด้วย54
โปรดดู https://www.datasealofapproval.org/en/ 52 โปรดดูเชิงอรรถ 7 53 โปรดดู Preservation Metadata and the OAIS Information Model (The OCLC/ RLG Working Group on Preservation Metadata 2002). 54 โปรดดู นิยามศัพท์จาก http://www.dcc.ac.uk/digital-curation/glossary#I 51
82
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
Information Package (SIP) คือ การจัดส่งข้อมูล - Submission - มาจากผู้ผลิตมายังหน่วยจัดเก็บ (archive)
Archival Information Package (AIP) คือ การจัดเก็บข้อมูล - ในหน่วยจัดเก็บ
- Dissemination Information Package (DIP) คือ การส่งข้อมูล ถึงผู้ใช้งานเมื่อต้องการ
ตั ว อย่ า งของหน่ ว ยงานที่ มี ก ารจั ด การข้ อ มู ล งานวิ จั ย ตั้ ง แต่ ค.ศ. 1962 คือ The Inter-university Consortium for Political and Social Research (ICPSR)55, Odum Institute for Research in Social Science จะมีขอ้ มูลครบถ้วนสมบูรณ์มาก ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล Datawords อ� ำ นวยให้ นั ก วิ จั ย สามารถจั ด การข้ อ มู ล ของตนเองได้ ตลอดจนจัดการระดับโครงการ ระดับองค์กร และระดับชาติ ท�ำให้เรา เผยแพร่ข้อมูลได้และผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ ดูสถิติการเข้าใช้ได้ ผู้ใช้งาน ดาวน์โหลดข้อมูลได้ ในประเทศไทย มี ก ารจั ด การข้ อ มู ล วิ จั ย ทั้ ง วิ ท ยานิ พ นธ์ แ ละ งานวิจัยหลายที่ ที่เห็นชัดคือ ThaiLIS ส่วน การจัดการข้อมูลด้วยโอแพ็ค (OPAC) คลั ง สารสนเทศบางแห่ ง ให้ บ ริ ก ารแบบฉบั บ เต็ ม (full text) บางแห่งไม่ให้สืบค้นฉบับเต็ม ส่วนคลังสารสนเทศระดับสถาบัน (IR) ให้ บริการสารสนเทศในระดับทีแ่ ตกต่างกัน นอกจากนี้ หน่วยงานวิจยั ต่างๆ ด�ำเนินการตามระบบของคลังข้อมูลงานวิจัยไทย (TNRR) ซึ่งเป็นระบบ ข้ อมู ล ของชาติ และเป็นไปในทางที่ ดี แต่ ยั งไม่ ครบถ้ ว น นอกจากนี้ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์ดชั นีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) เป็นอีก ส่วนหนึ่งของการจัดการข้อมูล แต่ผู้ใช้ชาวไทยต้องใช้ทักษะอย่างสูง ในการเข้าถึงข้อมูลได้ 55
โปรดดู http://www.icpsmich.edu/icpsrweb/
83 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ฐานข้ อ มู ล งานวิ จั ย ของสถาบั น ต่ า งๆ มั ก เป็ น การให้ บ ริ ก าร วิ ท ยานิ พ นธ์ และมี อ ยู ่ เ พี ย งจ� ำ นวนหนึ่ ง เท่ า นั้ น ที่ มี ก ารพั ฒ นาคลั ง สารสนเทศงานวิจยั ระดับสถาบัน (IR) ค�ำถามส�ำคัญ คือ หน่วยงานต่างๆ ควรด�ำเนินการอย่างไร ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงงานวิจัย ทั้งวิทยานิพนธ์ รายงานการวิจยั และงานอืน่ ๆ ทีผ่ า่ นกระบวนการวิจยั ทีผ่ า่ นการตรวจสอบ คุณภาพแล้วได้อย่างเต็มที่ เราจะจัดการอย่างไรให้เป็น One Stop Service เพื่อลูกหลานในอนาคต อ้างอิง
“About DSpace.” 2017. DSpace. Accessed March 26. http://www. dspace.org/introducing. “About Us.” 2017. Metadata Innovation. Accessed March 26. http://dublincore.org/about-us/. Digital Preservation Coalition. 2017. “Persisten Identifiers.” Digital Preservation Handbook. Accessed March 26. http://www. dpconline.org/handbook/technical-solutions-and-tools/ persistent-identifiers. “Extensible Markup Language (XML).” 2017. W3C: Information and Knowledge Domain. Accessed March 26. https://www. w3.org/XML/. Lavoie, Brian. 2000. “Meeting the Challenges of Digital Preservation: The OAIS Reference Model.” OCLC Research. http://www. oclc.org/research/publications/library/2000/lavoie-oais.html. OECD. 2007. “OECD Principles and Guidelines for Access to Research Data from Public Funding.” OECD. https://www. oecd.org/sti/sci-tech/38500813.pdf. 84
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
“Overview.” 2017. Open WebPage. National Digital Library Program. Accessed March 25. https://memory.loc.gov/ammem/dli2/ html/lcndlp.html. “Portable Document Format.” 2017. Open Wab Page. Wikipedia, the Free Encyclopedia. Accessed March 25. https://en. wikipedia.org/wiki/Portable_Document_Format#History_ and_standardization. The OCLC/RLG Working Group on Preservation Metadata. 2002. “Preservation Metadata and the OAIS Information Model.” OCLC. http://www.oclc.org/research/pmwg/. Trustworthy Repositories Audit & Certification: Criteria and Checklist. 2007. OCLC Online Computer Library Center, Inc. https:// www.crl.edu/sites/default/files/d6/attachments/pages/ trac_0.pdf. “Who We Are.” 2017. SPARC. Accessed March 26. https://sparcopen. org/who-we-are/. Wikipedia. 2017. “Dublin Core.” Wikipedia, the Free Encyclopedia. Accessed March 26. https://en.wikipedia.org/wiki/Dublin_Core
85 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
การด�ำเนินการสารสนเทศ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา ประเทศญี่ปุ่น (Information Processing at the National Museum of Ethnology) วิทยากร ศ.มาซาโตชิ คุโบ (Prof. Masatoshi KUBO)
86
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
การน�ำเสนอเนือ้ หาเกีย่ วกับการจัดการสารสนเทศ ณ พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพนั ธุว์ ทิ ยา หรือ “มินปากุ” (Minpaku) แบ่งการน�ำเสนอ ออกเป็นสามช่วง ประกอบด้วย การกล่าวถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา ทั้งในแง่ของภารกิจ บทบาท และการด�ำเนินงานต่างๆ ในการศึกษาสังคมและวัฒนธรรม ในประเทศญี่ปุ่นและในต่างประเทศ ในล� ำ ดั บ ต่ อ มา กล่ า วถึ ง ความพยายามในการพั ฒ นาความร่ ว มมื อ ส�ำหรับการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมประเภทฟอรัม (forum-type collaboration) ในส่วนสุดท้าย ศ.คุโบกล่าวถึงการพัฒนาระบบสนับสนุนในการ บูรณาการคลังจดหมายเหตุหรือฐานข้อมูล เพื่อการค้นคืนข้อมูลที่มี ประสิ ท ธิ ภ าพ หรื อ cross-search mechanisms และการน� ำ เสนอ งานพัฒนาระบบกลไกที่สามารถตัดข้ามข้อมูลต่างประเภท ทั้งเชิงลึก และเชิงกว้าง ในพื้นที่สามมิติ (archiving with zoom-In and zoom-Out mechanism into 3-D space) อย่างไรก็ดี ในส่วนสุดท้าย ด้วยข้อจ�ำกัด ของเวลาในการน�ำเสนอของ ศ.คุโบ ผู้เรียบเรียงสามารถบันทึกเพียง เค้าโครงการบรรยายตามรูปแบบการบรรยายเท่านั้น 87 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ภารกิจและบทบาทในการศึกษาสังคมและวัฒนธรรมของ “มินปากุ”
บทบาทส�ำคัญของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา ประกอบด้วยงานในสามลักษณะ ได้แก่ ศูนย์วิจัยทางชาติพันธุ์วิทยา ประกอบด้วยนักวิจัยจ�ำนวน 60 คน ท�ำหน้าที่ในการดูแลและสะสมคลัง วัตถุ รวมถึงอนุรักษ์และพัฒนาสารสนเทศของวัตถุชาติพันธุ์ ซึ่งมีจ�ำนวน กว่ า หนึ่ ง ล้ า นชิ้ น และผลิ ต นิ ท รรศการเพื่ อ ให้ บ ริ ก ารกั บ สาธารณชน โดยมีวตั ถุจดั แสดงราว 11,000 ชิน้ ในพืน้ ที่ 10,000 ตารางเมตร ในแต่ละปี มีจ�ำนวนผู้ชมราว 200,000 คน ฉะนั้ น คลัง ข้อ มูล จึง มีความส�ำคัญอย่ างยิ่ งในการศึ กษาวิ จัย ประกอบด้วย คลังสี่ลักษณะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา ดูแลและรับผิดชอบ ได้แก่ 1. วัตถุ (artifacts) ในคลังวัตถุ (artifact storage) เช่น เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการเกษตร การปศุสัตว์ การล่าสัตว์และการเก็บของป่า ประมง ฯลฯ เครือ่ งมือและอุปกรณ์ทเี่ กีย่ วกับอาหารการกิน การแต่งกาย และที่อยู่อาศัย เครื่องดนตรี การละเล่น ฯลฯ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ การผลิต สิ่งทอ โลหะกรรม เครื่องกระเบื้อง เป็นต้นและวัสดุในศาสนพิธี และพิ ธี ก รรมต่ า งๆ โดยมี จ� ำ นวน 340,932 ชิ้ น (เมื่ อ เดื อ นมี น าคม ค.ศ. 2015) 2. หนังสือและวารสารในหอสมุด ประกอบด้วยสิ่งพิมพ์ เช่น หนั ง สื อ วารสาร แผนที่ แผ่ น พั บ ฯลฯ ไมโครฟิ ช และไมโครฟิ ล ์ ม ชุดสื่อมัลติมีเดียส�ำหรับสาธารณชนทั่วไป หนังสือและเอกสารหายาก หนังสือจ�ำนวน 661,037 เล่ม และวารสาร 16,934 ฉบับ (เมื่อเดือน มีนาคม ค.ศ. 2015) 3. วัสดุต้นฉบับประเภทสื่อโสตทัศน์ในคลังโสตทัศน์ โดยแบ่งได้ สองลักษณะ คือ วัสดุโสตทัศน์ที่จัดท�ำโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา และวัสดุที่มีคุณค่าจากแหล่งอื่น เพื่อการใช้ประโยชน์ ในงานวิ จั ย ศ.คุ โ บกล่ า วถึ ง ความส� ำ คั ญ ในการพั ฒ นาสื่ อ โสตทั ศ น์ 88
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
โดยเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานฯ หรือภายใต้สัญญาของหน่วยงาน เพื่อการถือครองลิขสิทธิ์ในผลงาน การอนุรักษ์วัสดุต้นฉบับนับว่ามี ความส�ำคัญเพราะเนื้อหาของสื่อดังกล่าวถือเป็นสมบัติที่ไม่สามารถหา ทดแทนได้ วัสดุมีจ�ำนวน 70,617 รายการ (เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015) 4. จดหมายเหตุงานวิจัยทางชาติพันธุ์วิทยา ในคลังจดหมายเหตุ งานวิจัย ประกอบด้วยเอกสารจดหมายเหตุและวัสดุที่จัดท�ำโดยบุคคล กลุ่มบุคคล และสถาบันต่างๆ ในระหว่างการวิจัยทางชาติพันธุ์วิทยา เช่น บันทึกภาคสนาม สิ่งพิมพ์ หนังสือ และเอกสาร สิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะต้องได้รับการจัดระบบและขึ้นทะเบียนรายการจดหมายเหตุ ตัวอย่างของการขึ้นทะเบียนวัตถุของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา วัตถุแต่ละชิ้นจะมีข้อมูลประกอบวัตถุ56 ดังนี้
ข้อมูลเชิงกายภาพ ประกอบด้วย
- ข้ อ มู ล ทางกายภาพ (physical attributes) ประกอบด้ ว ย ขนาด น�้ำหนัก รูปทรง วัสดุ สี
- การขุดค้น (excavation) ประกอบด้วย ต�ำแหน่ง เวลาของ การขุ ด ค้ น ผู ้ ขุ ด ค้ น ชื่ อ สถานที่ ขุ ด ค้ น ยุ ค สมั ย อายุ ข อง โบราณวัตถุ วัตถุที่เกี่ยวข้อง - การจัดหา (acquisition) ได้แก่ สถานทีใ่ นการจัดหา เวลาในการ จัดการ เจ้าของเดิม บุคคลที่เกี่ยวข้อง สถานะ การจ่ายกรณี การจัดซื้อ
- การจัดเก็บ ได้แก่ รหัสวัตถุ ประเภท ชื่อวัตถุ สถานที่จัดเก็บ ประวัติการเคลื่อนย้าย
- การดูแล ประกอบด้วยประวัตติ า่ งๆ เช่น การอนุรกั ษ์ การจัดแสดง นิทรรศการ การยืมโดยพิพิธภัณฑ์อื่น การอ้างอิง ฯลฯ
56
ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอของ ศ.คุโบ (Kubo 2016, 7)
89 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ข้อมูลพื้นฐานทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย
การผลิต ประกอบด้วย สถานที่ เวลา วัสดุ วิธีการ ผู้ผลิต/ - ผู้สร้าง
การใช้งาน ได้แก่ สถานที่ เวลา ชื่อพื้นถิ่น วิธีการใช้งาน ผู้ใช้ - (ปัจเจกบุคคล) ผู้ใช้ (กลุ่ม) การเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้งาน และ การกระจายตัวรูปแบบการใช้งาน (distribution)
- การขาย เช่น วัตถุประสงค์ ผู้ซื้อ (บุคคลและกลุ่ม) ตลาด การจ�ำหน่าย (distribution) สัญลักษณ์ เหตุการณ์ และสื่อ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม
- ข้อมูลทุติยภูมิและตติยภูมิ เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย หนังสือ อ้างอิง ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ข้อมูลทั้งหมดได้รับการบันทึกและอยู่ในลักษณะที่เป็นดิจิทัล ด้วยปริมาณข้อมูลที่มีอย่างมหาศาล จ�ำเป็นอย่างที่พิพิธภัณฑสถานฯ จะต้องมีกระบวนการจัดระบบข้อมูล ซึ่งเป็นงานที่ต้องอาศัยทั้งทักษะ ในหลายด้าน นอกจากนี้ ศ.คุโบกล่าวถึงการจัดการข้อมูลประเภทสิง่ พิมพ์ โดยกล่าวถึงระบบมาตรฐานที่ประยุกต์ใช้ในการจัดการข้อมูล ได้แก่ Human Relations Area Files (HRAF)57 ซึง่ ใช้ในการจ�ำแนกข้อมูล ทางชาติพันธุ์วิทยาในสิ่งพิมพ์ บทความและหนังสือ โดยประยุกต์ใช้ ระบบการให้รหัสอีกสองชุด ประกอบด้วย
57
โปรดดู http://www.yale.edu/hraf/ และตัง้ แต่ ค.ศ. 1997 เอกสารทีเ่ ป็นกระดาษ ได้รับการจัดการให้อยู่ในรูปดิจิทัลภายใต้ชื่อ eHRAF โปรดดู http://ehrafworld cultures.yale.edu/ehrafe/
90
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
Outline of World Cultures (OWC)58 ซึ่งเป็นรหัสเชิงพื้นที่และ เวลา (spatio-temporal classification) ที่ใช้ในการจัดแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ และอาณาบริเวณต่างๆ เช่น รหัสของญี่ปุ่นโบราณและญี่ปุ่นสมัยใหม่ มีรหัสทีแ่ ตกต่างกัน Outline of Cultural Materials59 ซึง่ เป็นรหัสทีใ่ ช้ในการ จัดประเภทองค์ประกอบทางวัฒนธรรม (cultural element) ที่ครอบคลุม กิ จ กรรมต่ า งๆ ของมนุ ษ ย์ เช่ น รหั ส 29 ที่ ห มายถึ ง เครื่ อ งแต่ ง กาย จะมีการแบ่งรหัสย่อย ได้แก่ 291 ordinary costume (เครื่องแต่งกาย ทั่วไป) 292 special costume (เครื่องแต่งกายพิเศษ) 293 garment goods (สินค้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องแต่งกาย) เป็นต้น ศ.คุ โ บให้ ค วามเห็ น ว่ า การระบุ ร หั ส ในเอกสารสิ่ ง พิ ม พ์ ด ้ ว ย ชุดรหัสเช่นนี้อาจจะไม่เหมาะสมในการใช้งานในบางกรณี ซึ่งน�ำมาสู่ ค�ำถามถึงความเหมาะสมในการใช้ระบบการจัดการข้อมูลของ HRAF อยู่หรือไม่ จากนัน้ กล่าวถึงพัฒนาการการจัดการข้อมูลของพิพธิ ภัณฑสถาน แห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา โดยสังเขป ศ.คุโบ แบ่งช่วงเวลาพัฒนาการ ไว้สี่ระยะด้วยกัน60 ได้แก่ ระยะแรก ค.ศ. 1977-กลางทศวรรษ 1980 เน้นการพัฒนา ฐานข้อมูลจากการบันทึกเป็นลายลักษณ์ (text database) วัตถุประสงค์สำ� คัญ ในการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลในระยะแรก คือ การสนับสนุนงานวิจยั โดยมีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เมนเฟรมรวมศูนย์ (centralized general purpose mainframe computer system)
โปรดดู http://hraf.yale.edu/resources/reference/outline-of-world-cultures-list/ 59 โปรดดู http://hraf.yale.edu/resources/reference/outline-of-cultural-materials/ 60 ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอของ ศ.คุโบ (Kubo 2016, 12) 58
91 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ระยะสอง กลางทศวรรษ 1980-กลางทศวรรษ 1990 เป็นระยะ ของการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อสื่อมัลติมีเดีย และเป็นไปเพื่อสนับสนุน การวิจัยเช่นเดียวกับในระยะแรก โดยอาศัยระบบเมนเฟรมรวมศูนย์ เช่นในระยะแรก ระยะสาม กลางทศวรรษ 1990-กลางทศวรรษ 2000 ในระยะนี้ เน้นการพัฒนาฐานข้อมูลวิดีโอ และการพัฒนาระบบข้อมูลที่เปิดให้ สาธารณชนใช้ประโยชน์ทรัพยากร ข้อมูลดังกล่าวมีส่วนส�ำคัญในการ พัฒนานิทรรศการและกิจกรรมที่เข้าถึงสาธารณชน เริ่มต้นระบบเว็บ และการพัฒนาจัดให้บริการต่างๆ ของพิพิธภัณฑสถานฯ ระยะสี่ กลางทศวรรษ 2000-ปัจจุบัน การท�ำงานด้านข้อมูล ด้วยการประยุกต์หลักทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรมในการท�ำงาน และ การพัฒนาฐานข้อมูลประเภทฟอรัม (forum-type) ระยะเริ่มต้น โดยเน้น การแบ่งปันข้อมูล และความร่วมมือในการสร้างสรรค์บนฐานทรัพยากร จากภาคส่วนต่างๆ และเน้นระบบการท�ำงานบนเว็บเป็นส�ำคัญ หัวใจส�ำคัญของการพัฒนาในระยะปัจจุบัน ได้แก่ การลดความ แตกต่างระหว่างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางกับสาธารณชน เพราะเล็งเห็นว่า ในบางกรณี สาธารณชนมีความรูก้ ว้างขวางมากกว่าผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะทาง จึงควรส่งเสริมให้เกิดการจัดการข้อมูลที่เปิดให้นักวิจัยเฉพาะทางและ สาธารณชนทั่ ว ไปที่ มี ค วามสนใจเฉพาะทางได้ ท� ำ งานร่ ว มกั น เช่ น นี้ จึ ง กลายเป็ น การพั ฒ นาระบบการจั ด การข้ อ มู ล แบบฟอรั ม ที่ อ าศั ย ช่องทางเว็บเป็นส�ำคัญ อย่ า งไรก็ ดี ศ.คุ โ บกล่ า วถึ ง ข้ อ ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในพั ฒ นาการ การจัดการข้อมูลในสองทศวรรษก่อน ค.ศ. 2000 เพราะแม้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา เริ่มต้นใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่เพียงใน
92
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ทศวรรษต่อมาสิ่งที่ได้พัฒนาไว้กลับไม่ตอบโจทย์กระบวนการจัดการ ข้อมูลที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุผลสามประการ ได้แก่ 1. ความล่าช้าในการประยุกต์ใช้มาตรฐาน ด้วยระบบสารสนเทศ ของพิพิธภัณฑสถานฯ ประยุกต์ขึ้นจากแนวคิดและวิธีการของหน่วยงาน จึงท�ำให้พลาดกระแสเทคโนโลยีใหม่ที่เป็นมาตรฐานที่สัมพันธ์กับระบบ อินเทอร์เน็ต 2. ความระแวงหรือ ลัง เลในการพั ฒ นาข้ อมู ลดิ จิทั ลแบบเปิ ด (open digital contents) ข้อกังวลในด้านลิขสิทธิ์ทางปัญญา เพราะข้อมูล จากการศึกษาทางชาติพันธุ์วิทยาหรือมานุษยวิทยาวัฒนธรรม สามารถ ก่อประเด็นปัญหาที่อาจจะไม่สามารถเปิดให้ทุกคนเข้าใช้ประโยชน์ได้ อย่างสมบูรณ์ 3. คุณภาพข้อมูลในฐานข้อมูล ข้อมูลที่เข้าสู่ฐานข้อมูลมาจาก กิ จ กรรมสองประเภท คื อ การบริ ห ารการจั ด การและงานวิ จั ย ทั้ ง นี้ พิพธิ ภัณฑสถานฯ ให้นกั วิจยั เป็นผูพ้ ฒ ั นาข้อมูล ซึง่ ไม่อาจควบคุมคุณภาพ ของข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์แบบ ศ.คุ โ บขมวดเนื้ อ หาในช่ ว งแรกด้ ว ยการกล่ า วถึ ง เทคโนโลยี สารสนเทศสมัยใหม่ แม้เกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก กลับส่งผลต่อ การเปลีย่ นแปลงขนานใหญ่ในสังคม ลองพิจารณาถึงการส่งสัญญาณวิทยุ และโทรทั ศ น์ ที่ มี ม าก่ อ นทางส่ ง สั ญ ญาณผ่ า นดาวเที ย ม หรื อ ระบบ โทรศั พ ท์ ภ าคพื้ น ดิ น ที่ เ ปลี่ ย นแปลงสู ่ ร ะบบโทรศั พ ท์ เ คลื่ อ นที่ การ เปลี่ ย นแปลงเป็ น ระบบการส่ ง สั ญ ญาณผ่ า นดาวเที ย มและโทรศั พ ท์ เคลื่ อนที่นั้น ส่ง ผลให้ก ารสื่อ สารและการโทรคมนาคมเปลี่ ย นแปลง อย่างรวดเร็ว
93 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
แนวคิดในการส่งเสริมความร่วมมือ เพื่อการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมแบบฟอรัม
แนวคิดในการส่งเสริมความร่วมมือนัน้ เกิดขึน้ จากการตัง้ ค�ำถาม เกี่ยวกับการศึกษาสังคมและวัฒนธรรม ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ในงานเขียนเรือ่ ง “การเขียนวัฒนธรรม : โวหารและการเมืองของ ชาติพันธุ์วรรณนา” (Writing Culture: The Poetics and Politics of Ethnography) ของเจมส์ คลิฟฟอร์ด (James Clifford) และจอร์จ มาร์คสั (George Marcus)61 ได้ตั้งค�ำถามส�ำคัญสามประการจากการวิพากษ์ งานชาติพันธุ์วรรณนา ได้แก่ 1. ค�ำอธิบายหรือข้อสันนิษฐานที่เกี่ยวกับกลุ่มชนหรือผู้คนที่ ศึกษาโดยนักวิจัยนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง หรือมีลักษณะอัตวิสัยมากน้อย เพียงใด 2. สั ม พั น ธภาพระหว่ า งฝ่ า ยที่ ศึ ก ษาและฝ่ า ยที่ ถู ก ศึ ก ษานั้ น สมดุ ล หรื อ ไม่ เพราะฝ่ า ยที่ ศึ ก ษามั ก มี อิ ท ธิ พ ลเหนื อ ฝ่ า ยที่ ถู ก ศึ ก ษา หากพิจาณาถึงมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือกระทั่งวัฒนธรรม 3. ฝ่ายที่ศึกษามักถือครองทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่ได้รับการ รวบรวมและการเขียน โดยมิได้ค�ำนึงถึงผู้ที่ถูกศึกษา ซึ่งถูกกีดกันออกไป ศ.คุโบยกตัวอย่างลักษณะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และตลอดระยะเวลาของลัทธิอาณานิคม ที่กลุ่มคนจากฮอลันดา สเปน ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร ออกส�ำรวจ พบดินแดนใหม่ และรวบรวม วัตถุตา่ งๆ จากดินแดนต้นทาง กระบวนการศึกษากลุม่ ชนต่างๆ เป็นต้นธาร ส� ำ คั ญ ของการศึ ก ษาทางมานุ ษ ยวิ ท ยาวั ฒ นธรรม และข้ อ มู ล ต่ า งๆ ยังมีบทบาทส�ำคัญในการปกครองพื้นที่ที่เจ้าอาณานิคมชาวตะวันตก เข้ายึดครอง 61
Writing Culture: The Poetics and Politics of Ethnography (Clifford and Marcus 1986)
94
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
อิทธิพลของยุโรปจึงปรากฏเหนือทรัพยากรที่ครอบครอง และ ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มชนต่างๆ ที่ได้รับการบันทึกโดยชาวยุโรป ฉะนั้น หากจะพัฒนากระบวนการจัดการข้อมูลทางวัฒนธรรม จ�ำเป็นอย่างยิ่ง ที่ จ ะต้ อ งปรั บ เปลี่ ย นมุ ม มองและวิ ธี คิ ด เกี่ ย วกั บ การจั ด การข้ อ มู ล ใน ทุกๆ ลักษณะ จึงน�ำมาสู่การปรับเปลี่ยนวิธีคิดส�ำคัญในสองลักษณะที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา ด�ำเนินการ นั่นคือ ในทางหนึ่ง การปรับเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับวัสดุทางชาติพันธุ์ วรรณนา หรือ ethnographical materials ที่หมายถึงการรวบรวมวัตถุ จากกลุ่มชน ให้เป็นทรัพยากรวัฒนธรรม (cultural resources) ที่อยู่ใน ความดูแลโดยผู้คนในพื้นที่ (site people) แต่ทรัพยากรวัฒนธรรมในที่นี้ มีเป้าหมายส�ำคัญในการสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ฉะนั้ น จึง เป็นสมบัติของมนุษ ย์ทั้งปวง (global commons) ในฐานะ ภูมิปัญญาของมนุษยชาติ ในที่ นี้ ศ.คุ โ บกล่ า วถึ ง รายละเอี ย ดของทรั พ ยากรวั ฒ นธรรม ที่ ปรากฏมุมมองที่แ ตกต่า งกันในสองลั กษณะ62 นั่ น คื อในบริ บ ทของ องค์การยูเนสโกและในบริบทการท�ำงานของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา ในบริบทขององค์การยูเนสโกแบ่งมรดกวัฒนธรรมในสองลักษณะ ประกอบด้วย ในทางหนึ่ง มรดกวัฒนธรรมที่เป็นกายภาพ (tangible cultural heritage) เช่น เครือ่ งแต่งกาย เครือ่ งใช้ พาหนะ เป็นต้น ซึง่ ยังครอบคลุมถึง มรดกวัฒนธรรมที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ (immovable cultural heritage) สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ (Built Environment) และ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ (nature environment) ในอีกทางหนึ่ง ได้แก่
62
ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอของศาสตรจารย์คุโบ (Kubo 2016, 17)
95 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
มรดกวั ฒ นธรรมที่ ไ ม่ เ ป็ น กายภาพ (intangible cultural heritage) ครอบคลุ ม ขนบประเพณี แ ละการแสดงออกที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ มุ ข ปาฐะ ศิลปะการแสดง การปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และการเฉลิมฉลอง ความรู้และทักษะ งานช่างฝีมือ ส่วนในบริบทการท�ำงานของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์ วิทยา พิจารณาทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ดังนี้ อย่างแรก คือ ทรัพยากรที่มองเห็น หรือ “ง่ายแก่การมองเห็น” ผลผลิตที่ประจักษ์ต่อสายตาตั้งแต่มรดกวัฒนธรรมถึงข้าวของเครื่องใช้ ในกิจวัตร เอกสารทีเ่ ป็นลายลักษณ์ ภาพ ภาพเคลือ่ นไหว เสียง และอืน่ ๆ เอกสารชั้นทุติยภูมิและตติยภูมิ อย่างที่สอง คือ ทรัพยากรประเภทที่ มองไม่เห็นแต่สามารถพิจารณาได้ในสองทาง ในทางหนึ่ง คือ ทรัพยากร ที่อยู่ในบุคคลและในการปฏิบัติ (invisible embodied resources) ได้แก่ ความรู้ ทักษะ เทคนิค วิธีการ ในอีกทางหนึ่ง คือ ทรัพยากรที่อยู่ใน ระบบ (invisible system-like resources) เช่ น เครื อข่ ายของมนุ ษ ย์ การจัดระเบียบ สถาบัน แนวคิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา เป็นต้น ศ.คุโบกล่าวถึงล�ำดับของการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม ที่เปรียบเสมือนกระแสน�้ำ โดยอธิบายถึงขอบเขตของงาน การจัดการ ทรัพยากรวัฒนธรรมในสามขั้นตอน ต้นน�้ำ หรือการท�ำงานค้นคว้าและการจัดเก็บวัสดุในทุกลักษณะ ทัง้ ทีเ่ ป็นกายภาพและไม่เป็นกายภาพ หรือทีป่ รากฏเห็นหรือไม่ปรากฏเห็น เพื่อเป็นฐานในการท�ำงานในระยะต่อไป กลางน�ำ้ ครอบคลุมการท�ำงานในสองลักษณะ ได้แก่ การอนุรกั ษ์ และจัดเก็บ (conservation & keeping) เพือ่ ให้ตน้ ฉบับคงอยูอ่ ย่างเหมาะสม และพัฒนาระบบสารสนเทศท�ำให้ข้อมูลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและ สืบค้นได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (documentation & computerization)
96
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ปลายน�ำ้ คือ การใช้ประโยชน์ ในทางหนึง่ ส�ำหรับการใช้ประโยชน์ ในแวดวงวิชาการ และในอีกทางหนึง่ เป็นการใช้ประโยชน์โดยสาธารณชน ในกระบวนการท�ำงานขั้นตอนนี้เอง ได้ก่อให้เกิดความร่วมมือทางสังคม ไม่ใช่การมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญในการท�ำงานแต่เป็น ความร่วมมือแบบฟอรัมที่เกิดจากการแบ่งปันความรู้และร่วมพลังในการ ด�ำเนินการ นับเป็นความเปลี่ยนแปลงในเชิงจรรยาบรรณของการวิจัย เท่ า ที่ ผ ่ า นมา ผู ้ เชี่ ย วชาญอาจตี ค วามหรื อ มี ค วามเข้ า ใจผิ ด ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความร่วมมือแบบฟอรัมในการจัดการทรัพยากรทาง วัฒนธรรม มุ่งหมายให้ผู้คนในพื้นที่ร่วมให้ความหมาย ร่วมตัดสินใจ รวมถึงการพัฒนาข้อมูลในอนาคต หากเกิดความร่วมมือแบบฟอรัม ในการจัดเก็บ รักษา และเผยแพร่ข้อมูล สามารถน�ำมาสู่การพัฒนา ฐานข้อมูลแบบฟอรัมด้วยเช่นกัน การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่เกิดจากความ ร่วมมือแบบฟอรัม สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการส่งคืนความรู้และวัสดุ ในรูปแบบหนึ่งคือ การส่งคืนเสมือน (virtual repatriation) คือหน่วยงาน หรื อ สถาบั น ที่ ค รอบครองมรดกวั ฒ นธรรมส่ ง คื น ข้ อ มู ล เกี่ ย วมรดก วัฒนธรรมให้กับต้นทาง ด้วยเพราะศักยภาพของต้นทางอาจไม่อยู่ใน สถานะที่เหมาะสมกับการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมดังกล่าว เช่น กรณี การเรียกร้องวัตถุทางวัฒนธรรมของอียิปต์คืนจากอังกฤษ วัตถุจ�ำนวน ไม่น้อยไม่สามารถส่งคืนกลับยังพื้นที่ต้นทางอย่างอียิปต์ ด้วยเงื่อนไข ของภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการอนุรักษ์ จึงเกิดแนวคิดในการส่งคืน สมบัติวัฒนธรรมแบบเสมือน แต่ ใ นอี ก รู ป แบบหนึ่ ง คื อ การฟื ้ น ฟู ห รื อ การสร้ า งสรรค์ ท าง วัฒนธรรมในพื้นที่ต้นทาง ศ.คุโบได้ยกตัวอย่างว่า เมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา ค้นคว้าวัฒนธรรมชาวไอนุ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่น วัฒนธรรมหลายอย่างสูญหาย
97 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
จากชุ ม ชน หรื อ จากการปฏิ บั ติ ข องสมาชิ ก แล้ ว สมาชิ ก ในปั จ จุ บั น เดินทางมายังพิพธิ ภัณฑสถานฯ เพือ่ สืบค้นวัฒนธรรมเรือขุด ซึง่ พิพธิ ภัณฑสถานฯ ได้บันทึกขั้นตอนและเทคนิคการขุดเรือไว้เป็นอย่างดี ในที่สุด ชนรุ่นใหม่ร่วมมือฟื้นฟูเทคโนโลยีการขุดเรือ เรียกได้ว่า ทรัพยากรทาง วัฒนธรรมเป็นประโยชน์อย่างยิง่ กับการฟืน้ ฟูหรือการสร้างสรรค์ในพืน้ ที่ ทางวัฒนธรรมต้นทาง ดังที่ได้ระบุไว้ถึงการพัฒนาทรัพยากรทางวัฒนธรรมเพื่อเป็น แหล่งรวบรวมภูมิปัญญาของมนุษยชาติ ศ.คุโบกล่าวถึงความเป็นไปได้ ในการใช้ ป ระโยชน์ จ ากภู มิ ป ั ญ ญาต่ า งวั ฒ นธรรม เช่ น ในปั จ จุ บั น มนุษยชาติก�ำลังเผชิญกับภาวะขาดแคลนน�้ำดื่ม ฉะนั้น หากฐานข้อมูล สามารถรวบรวมสรรพความรู ้ แ ละประสบการณ์ จ ากกลุ ่ ม ชนต่ า งๆ ย่อมเป็นโอกาสในการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เอื้อให้เราแก้ปัญหาภาวะ ขาดแคลนน�้ำดื่มก็เป็นได้ ในท้ ายที่สุด การพัฒนาการจัดการทรั พ ยากรทางวั ฒ นธรรม แบบฟอรั ม ที่ ม ากเพี ย งพอ อาจส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด การเรี ย นรู ้ ร ะหว่ า ง มนุ ษ ยศาสตร์ แ ละวิ ท ยาศาสตร์ ธ รรมชาติ ศ.คุ โ บได้ ย กตั ว อย่ า งถึ ง เหตุการณ์ซเู ปอร์โนวา (Supernova) เมือ่ ราว ค.ศ. 1070 ซึง่ เป็นเหตุการณ์ ระเบิดขนาดใหญ่ ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวท�ำให้ท้องฟ้ามองเห็นภาวะ เนบิ ว ลา (Nebula)63 ในท้อ งฟ้า ได้หลายแห่งทั่ ว โลก ทั้ งในญี่ ปุ ่ น จี น มีบันทึกเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ส่วนชนพื้นถิ่นในทวีปอเมริกาเหนือ บันทึกเหตุการณ์ดว้ ยภาพเขียนบนผนังถ�ำ้ ประเด็นส�ำคัญ คือ ฐานข้อมูล ทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่สามารถรวบรวมและประมวลข้อมูลที่มาก เพี ย งพอ จะเอื้ อ ให้ก ารผสานรวมและสัง เคราะห์ ความรู ้ ที่ ม าจากทั้ ง มนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 63
จากแนวคิดต่างๆ ที่ศาสตราจารย์คุโบน�ำเสนอ ข้ออภิปราย โปรดดู https://en.wikipedia.org/wiki/Nebula
98
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
เกี่ยวกับการด�ำเนินการเพื่อให้การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมแบบ ฟอรัมเกิดขึ้นได้จริง ที่ควรได้รับการพิจารณาในห้าประเด็น ได้แก่ 1. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางวัฒนธรรมมาจากการ ศึกษาของหลายสาขาวิชา เช่น โบราณคดี วรรณคดี หรือวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ จึงจ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องมีการพัฒนางานวิชาการ ที่ตอบโจทย์การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมประเภทต่างๆ 2. ฉะนั้น จึงส่งผลต่อการพัฒนานักจดหมายเหตุที่เชี่ยวชาญ ในแต่ละสาขาวิชา เพื่อเข้าใจในการสร้างข้อมูลของคนท�ำงานในแต่ละ สาขาวิชา ต่อรองในการจัดการทรัพยากรข้อมูลดังกล่าว และการปฏิบัติ ต่อทรัพยากรทางวัฒนธรรมทุกรูปแบบให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จนน�ำมาสู่การจัดท�ำเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวบรวมสรรพความรู้ ไว้ใช้ในการประมวลและสังเคราะห์ต่อไป 3. เมื่อ มีก ารรวบรวมทรัพยากรทางวั ฒ นธรรมทั้ งในรู ป แบบ ที่เป็นกายภาพและไม่เป็นกายภาพแล้ว จ�ำเป็นที่จะต้องให้ความใส่ใจกับ การอนุรักษ์ เพื่อการใช้ประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ข้อมูลจ�ำนวนมหาศาลอยูใ่ นรูปแบบดิจทิ ลั การดูแลข้อมูลจะต้อง ค�ำนึงถึง “การอพยพข้อมูล” (Data Migration) ไปยังการจัดการรูปแบบใหม่ เพราะความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว กระบวนการท�ำงานในส่วนนี้ต้องอาศัยงบประมาณจ�ำนวนมาก และ ผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้และทักษะที่เหมาะสมกับงาน 4. การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมจะต้องให้ความสนใจกับ สิทธิ์ในแง่มุมต่างๆ และการปกป้องสิทธิ์ที่สมดุลกับการแบ่งปันข้อมูล สูส่ าธารณะ การปกป้องสิทธิข์ องแหล่งทรัพยากรทางวัฒนธรรมมักขัดแย้ง กับวัตถุประสงค์ของฐานข้อมูลเพื่อการแบ่งปัน แต่จะด�ำเนินการอย่างไร ให้การแบ่งปันทรัพยากรทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ในที่นี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องท�ำความเข้าใจมุมมองที่แตกต่างกันระหว่างการ ให้ความส�ำคัญกับผู้ที่ถือครองสิทธิ์ (pro-potent) กับการให้เป็นสาธารณะ 99 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
(public domain) ในปัจจุบัน มีการน�ำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับครีเอทีฟ คอมมอนส์ (Creative Commons)64 ที่สนับสนุนให้ผู้สร้างสรรค์หรือ ผู ้ ถื อ ครองสิ ท ธิ์ แ บ่ ง ปั น ผลงานและความรู ้ สู ่ ส าธารณะ และเกิ ด การ ใช้ประโยชน์ในการสร้างสรรค์ต่อยอด อย่างไรก็ดี ยังมีสิทธิ์ประเภทอื่นๆ ที่แตกต่างจากแนวคิดเรื่อง สิทธิ์ในโลกตะวันตกในอีกลักษณะหนึ่ง ที่ต้องอยู่ในดุลยพินิจ ได้แก่ สิทธิ ทางวัฒนธรรมเชิงหลักจรรยา (cultural moral rights) ศ.คุโบยกตัวอย่าง ในสังคมอะบอริจิน ออสเตรเลีย เมื่อบุคคลเสียชีวิต ทั้งภาพใบหน้าหรือ ภาพบุคคลต้องไม่เผยแพร่สู่สาธารณะอีกต่อไป ผู้ที่ดูแลทรัพยากรทาง วัฒนธรรมจึงต้องใส่ใจกับสิทธิประเภทดังกล่าวด้วย ในตัวอย่างดังกล่าวนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา จึงไม่เผยแพร่ภาพบุคคลนั้น ในระบบอินเทอร์เน็ต 5. สิ่งที่ต้องค�ำนึงถึงในการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม คือ ต้นทุนและผลอันเกิดจากการด�ำเนินการในลักษณะต่างๆ ที่เป็นไปอย่าง เหมาะสม ในปัจจุบนั พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพนั ธุว์ ทิ ยา ก�ำลังพัฒนา ระบบฐานข้อมูลในแนวคิดความร่วมมือแบบฟอรัม ผลงานดังกล่าว จะเกิดขึ้นได้นั้น พิพิธภัณฑสถานฯ ต้องตอบโจทย์หลายประการ65 ได้แก่ 1. การพัฒนากลไกที่เอื้อให้เกิดการสืบค้นในลักษณะที่ตัดข้าม ฐานข้อมูลหลายประเภท 2. การให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ สิ ท ธิ์ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบในระดั บ ปัจเจกบุคคล
64 65
โปรดดู https://creativecommons.org/ ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอของ ศ.คุโบ (Kubo 2016, 21–22)
100
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
3. การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิเชิงหลักจรรยา สิทธิ ในการเผยแพร่สู่สาธารณะ เป็นต้น 4. การให้ความส�ำคัญทรัพย์สินทางปัญญาในมิติทางวัฒนธรรม เช่น การบริหารทรัพย์สิน (custodianship) ประเภทสิทธิร่วม (collective rights) สิทธิเชิงหลักจรรยาเฉพาะ ดังกรณีตวั อย่างเกีย่ วกับภาพผูเ้ สียชีวติ ในสังคมอะบอริจนิ หรือการจ�ำกัดการเข้าถึงวัตถุศกั ดิส์ ทิ ธิห์ รือวัตถุทเี่ ป็น ความลับ เช่น กรณีของหิน “Tjuringa” ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ เครื่องมือผูกเข้ากับปลายเชือก ที่ไม่อนุญาตให้แสดงต่อผู้หญิงและเด็ก
ตัวอย่างการสืบค้นออนไลน์จากข้อมูลหลากประเภท (http://bunka.nii.ac.jp)
101 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ในภาพ แสดงให้ เ ห็ น แผนการด� ำ เนิ น งานในการพั ฒ นาและ การจัดการฐานข้อมูลของพิพิธภัณฑสถานฯ แบบฟอรัม ส่วนล่าง เหมือน “ต้นน�้ำ” การค้นคว้าของพิพิธภัณฑสถานฯ อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วยชุมชนท้องถิ่น สถาบัน ทางวิชาการ รวมถึงการท�ำงานระหว่างประเทศ ทรัพยากรทางวัฒนธรรม จากแหล่งต่างๆ ที่อยู่ในความดูแล ประด้วยวัตถุ วัสดุโสตทัศน์ เอกสาร และหนังสือ ซึ่งอยู่ในระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทางวัฒนธรรม ตรงกลาง คื อ การพั ฒ นาโครงการวิ จั ย ในความร่ ว มมื อ กั บ นานาชาติ โดยอยู่บนพื้นฐานทรัพย์สินทางปัญญา กระบวนการท�ำงาน ให้ ค วามส� ำ คั ญ ในกั บ การรวบรวมข้ อ มู ล จากแหล่ ง ต่ า งๆ และภาษา ในการถ่ า ยทอดข้ อ มู ล ที่ ห ลากหลาย โดยมี ร ะบบสารสนเทศที่ ใช้ เทคโนโลยีขั้นสูงในการจัดการข้อมูล ส่วนบน เป็นปลายทางของการท�ำงานที่เรียกว่า forum-type info-museum ที่ เ อื้ อ ในการใช้ ป ระโยชน์ ข ้ อ มู ล และการพั ฒ นาด้ า น การศึกษา การเรียนรู้ และการวิจัย
สิ่ ง ส� ำ คั ญ ประการหนึ่ ง ในการพั ฒ นาระบบฐานข้ อ มู ล ได้ แ ก่ การสื บ ค้ น ประเภทตั ด ข้ า มข้ อ มู ล หลายประเภทและจากหลายแห่ ง (cross-search) ตัวอย่างของการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยน ข้อมูลด้วยการพัฒนาระบบการสืบค้นตัดข้ามฐานข้อมูลหลายประเภท เช่ น ระบบทรั พ ยากรการวิ จั ย ร่ ว ม (Research Resources Sharing System)66 ของสถาบันแห่งชาติเพื่อมนุษยชาติ (National Institutes for the Humanity) 67 ที่ เ ป็ น โครงการความร่ ว มมื อ ระหว่ า งสถาบั น ทาง การศึกษาต่างๆ โปรดดู http://kyoyusvr.rekihaku.ac.jp/GlobalFinder/cgi/Start.exe 67 โปรดดู http://www-e.nihu.jp/e/ 66
102
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
นอกจากนี้ ยกตัวอย่างของฐานข้อมูลประเภทฟอรัม เช่น ฐานข้อมูล ภาพถ่ายปลา68 ซึ่งดูแลโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ธรรมชาติและ วิทยาศาสตร์ (National Museum of Nature and Science) กรุงโตเกียว และพิพิธภัณฑ์จังหวัดคานากาวา (Kanagawa Prefectural Museum) ที่อ�ำนวยให้สาธารณชนสามารถอัปโหลดและแบ่งปันภาพปลา เพื่อ สนับสนุนการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศวิทยา หรือ ตั ว อย่ า งในโลกตะวั น ตก เช่ น การพั ฒ นาฐานข้ อ มู ล ของพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย (British Columbia University Museum) ที่ ด� ำ เนิ น การร่ ว มกั บ ชนอเมริ กั น พื้ น ถิ่ น กลายเป็ น “เครื อ ข่ า ยวิ จั ย ต่ า งตอบแทน” (Reciprocal Research Network) 69 และฐานข้ อ มู ล ภาพถ่าย ทิเบต ที่ด�ำเนินการโดยพิพิธภัณฑ์ พิตต์ ริเวอร์ส (Pitt Rivers Museum) ที่ พั ฒ นาระบบให้ ค นทิ เ บตสามารถเพิ่ ม และเปลี่ ย นแปลง ข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูล70 การสนับสนุนระบบที่บูรณาการจดหมายเหตุหรือฐานข้อมูล
ในหัวข้อสุดท้าย ศ.คุโบน�ำเสนอแนวคิดในการพัฒนาฐานข้อมูล ที่ช่วยสนับสนุนการสืบค้นแบบตัดข้ามทรัพยากรทางวัฒนธรรมหลาก ประเภทและจากหลายแหล่ง อย่างไรก็ดี ด้วยเงื่อนไขของเวลาในการ บรรยาย ศ.คุโบไม่สามารถอภิปรายในทุกประเด็นในรายละเอียด เนือ้ หาของการบรรยายมีสองส่วน ได้แก่ กลไกส�ำหรับการสืบค้น ตัดข้าม (cross-search mechanisms) และข้อเสนอของ ศ.คุโบในการ พัฒนาพื้นที่สามมิติ ที่สามารถสืบค้นข้อมูลตัดข้ามทั้งในเชิงเวลาและ ในเชิงพืน้ ที่ และประเด็นทีห่ ลากหลาย (zoom-in & zoom-out mechanism into 3-D space)
68 69
โปรดดู http://fishpix.kahaku.go.jp/fishimage/index.html โปรดดู http://www.rrnpilot.org/
103 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ในส่วนแรก ศ.คุโบกล่าวถึงการพัฒนาระบบมาตรฐานในงาน ฐานข้อมูลที่สนับสนุนการสืบค้นแบบตัดข้าม โดยกล่าวถึงเมทาดาทา มีการจัดท�ำงานโครงสร้างข้อมูลไว้เป็นพื้นฐาน ซึ่งในปัจจุบันปรากฏ ชุดเมทาดาทาหลายชุด เช่น Dublin Core71 ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย หรื อ ชุ ด เมทาดาทาส� ำ หรั บ งานฐานข้ อ มู ล พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ CIDOC 72 โดย สภาการพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ร ะหว่ า งประเทศ ที่ มี ค ณะกรรมการนานาชาติ งานเอกสาร (International Committee for Documentation) รับผิดชอบ และได้เสนอ CIDOC Conceptual Reference Model (CRM) ในการ พัฒนาโครงสร้างเพื่ออธิบายแนวคิดและความสัมพันธ์ต่างๆ ในงาน เอกสารมรดกวัฒนธรรม (cultural heritage documentation)73 นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงระบบมาตรฐานในการแลกเปลีย่ นข้อมูล ทีเ่ รียกว่า Z39.5074 และทีพ่ ฒ ั นาต่อมาเป็น SRU/SRW75 หรือการท�ำงานร่วมกันของพิพธิ ภัณฑ์ หอสมุดและจดหมายเหตุ ที่เรียกว่า MLA76 ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ตัวอย่างของการพัฒนาฐานข้อมูลที่สนับสนุนการสืบค้นแบบ ตัดข้าม แบ่งได้สองลักษณะ ได้แก่ 1. Centralized Clearinghouse ซึ่งแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ ประเภทตั้งรับ หรือ passive clearinghouse โดยที่แต่ละสถาบันเสนอ ดรรชนีร่วม (common indices) ไปยังส่วนกลาง เช่น Cultural Heritage Online77 โดยพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว โครงการของสหภาพยุโรป Europeana78 แบบที่สอง คือ ประเภทเชิงรุก หรือ active clearinghouse โปรดดู http://dublincore.org/ โปรดดู http://network.icom.museum/cidoc/ 72 โปรดดู http://www.cidoc-crm.org/ 73 โปรดดู https://en.wikipedia.org/wiki/Z39.50 74 โปรดดู http://www.loc.gov/standards/sru/index.html 75 โปรดดู MLA and museum documentation (Wittgren 2006) 76 โปรดดู http://bunka.nii.ac.jp 77 โปรดดู http://www.europeana.eu/portal/ 78 โปรดดู https://www.openarchives.org/ 66 71
104
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ที่เก็บเกี่ยวข้อมูลจากสถาบันต่างๆ เพื่อพัฒนาผังข้อมูลที่เชื่อมโยงไปยัง แหล่งต่างๆ79 2. ระบบการสืบค้นแบบตัดข้ามที่กระจายศูนย์ (decentralized clearinghouse) เช่น การใช้ชุดเมทาดาทาประเภทดับลินคอร์ ที่สามารถ แลกเปลี่ ย นโครงสร้ า งข้ อ มู ล ที่ แ ตกต่ า งกั น ได้ หรื อ การพั ฒ นาระบบ มาตรฐาน (standard protocol) ดังเช่นการใช้ Z93.50 หรือ SRU/SRW ที่เป็นการพัฒนาระบบทรัพยากรการวิจัยร่วมกันของสถาบันแห่งชาติ เพื่อมนุษยชาติ (NIHU)80 ในส่วนสุดท้าย ศ.คุโบเสนอแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ สามมิติ ทีส่ ามารถสืบค้นข้อมูลตัดข้ามทัง้ ในเชิงเวลาและในเชิงพืน้ ที่ และประเด็น ที่ ห ลากหลาย (zoom-in & zoom-out mechanism into 3-D space) เท่าที่ผ่านมาทรัพยากรสนับสนุนงานวิจัย ประเภทเอกสารลายลักษณ์ ภาพหรือวีดิทัศน์ หรือข้อมูลตัวเลข เชื่อมโยงกับ “เหตุการณ์” ซึ่งใน เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นใน “ช่วงเวลา” “พื้นที่” และ “ประเด็นหรือเนื้อหา” เช่น หนังสือเล่มหนึ่งบันทึกข้อมูลของเหตุการณ์ และพิพิธภัณฑ์เอง จัดเก็บวัตถุ ซึ่งวัตถุหนึ่งได้รับการผลิตขึ้น รวบรวม หรือจัดเก็บ ต่างเป็น เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุนั้น หรือกรณีข้อมูลภาพ แต่ละภาพ แสดงให้เห็นภาพของเหตุการณ์หรือวัตถุ บุคคล ทีเ่ กีย่ วข้องกับเหตุการณ์นนั้ บันทึกที่เป็นลายลักษณ์บรรจุเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ การพั ฒ นาทรั พ ยากรทางวั ฒ นธรรมส� ำ หรั บ การสื บ ค้ น แบบ ตัดข้ามได้หลายมิติ (เวลา พืน้ ที่ ประเด็น) ต้องได้รบั การพัฒนาในลักษณะ ที่เป็นพลวัต เพื่อประมวลหาความสัมพันธ์ของข้อมูลในมิติที่แตกต่างกัน รวมถึงการศึกษาข้ามศาสตร์ ศ.คุโบเสนอให้จดั ท�ำมาตรฐานในการจัดเก็บ ข้อมูลที่ค�ำถึงถึงมิติทั้งสาม81 โปรดดู https://www.openarchives.org/ อ้างแล้วในเชิงอรรถ 10 81 ปรับจากสไลด์การน�ำเสนอของ ศ.คุโบ (Kubo 2016, 40) 79 80
105 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
กลไกในระดับจุลภาคและมหภาคในการสืบค้นข้อมูลหลายลักษณะ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องได้รับการแยกแยะในสามลักษณะ ได้แก่ เวลา พื้นที่ และประเด็น
การซูมเข้าและซูมออก เพื่อค้นหาข้อมูลและประมวลข้อมูล ฯลฯ
มิติพื้นที่
มิติเวลา
ประเด็น-หัวเรื่อง
ชื่อเรียกระดับ
ปี เดือน วัน
ค�ำส�ำคัญ
จุลภาค
อายุ
อาณาบริเวณ
ยุค
ภูมิภาคย่อย
ช่วงสมัย มหายุค
ค�ำอธิบาย รายละเอียด
ค�ำอธิบาย ระดับกลาง
ค�ำอธิบาย ระดับมหภาค ฯลฯ
ดัชนีภูมิศาสตร์
ระบบปฏิทิน หลายลักษณะ
อภิธานศัพท์ แต่ละศาสตร์
การจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล ที่ เ หมาะสมกั บ กลไกในการสื บ ค้ น ตั ด ข้ า ม ประเภท ซูมเข้าและซูมออก ระหว่างข้อมูลที่เป็นจุลภาคและมหภาค แต่ละเหตุการณ์จะต้องได้รับการก�ำหนดไว้ในมิติของเวลา สถานที่ และ ประเด็นหรือค�ำส�ำคัญ
106
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และส่งผลต่อภาวะแล้งและการเพาะปลูกทางการเกษตรที่ไม่ได้ผลผลิต นอกจากนี้ ยัง ก่อ ให้เกิดผลกระทบเชิ งนโยบาย เช่ น การขยายพื้ น ที่ ทางการเกษตรเข้าไปยังถิ่นฐานของชาวอะบอริจินออสเตรเลีย หรือ ในทางกลับกัน เมื่อมีพื้นที่ป่าฝนน้อยลง แล้วชาวอะบอริจินรุกเข้าไปยัง พื้นที่ของคนยุโรป จนอาจน�ำมาสู่การแก้ไขปัญหาและการตรากฎหมาย เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว ประเด็นส�ำคัญ คือ ในแต่ละเหตุการณ์ มีความเกี่ยวข้องกัน ในหลายด้าน ฉะนัน้ หากข้อมูลทรัพยากรทางวัฒนธรรมได้รบั การจัดการ ในลักษณะทีเ่ ป็นสามมิติ ในการประมวลหาความเกีย่ วข้องของเหตุการณ์ ต่างๆ อาจน�ำมาสู่ค�ำอธิบายชุดใหม่ นอกจากนี้ ศ.คุโบยังได้กล่าวถึง การจัดการข้อมูลแบบ “ไซโครนิเคิล” (cychronicle) ที่เป็นข้อเสนอส�ำคัญ ทีน่ ำ� เสนอรูปแบบการวิเคราะห์ขอ้ มูลตัดข้ามพืน้ ทีแ่ ละเวลาของเหตุการณ์ ในปฏิทินที่แตกต่างกัน เช่น ปฏิทินเกษตรกรรม ปฏิทินการประมง และ ปฏิทินกิจกรรมประจ�ำปี ทั้งนี้ การท�ำงานของระบบนั้นมีความซับซ้อน มากยิ่งขึ้น แต่ส่งผลให้ข้อมูลหลากประเภทแสดงความสัมพันธ์กัน
107 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
อ้างอิง
Clifford, James, and George E. Marcus, eds. 1986. Writing Culture: The Poetics and Politics of Ethnography. Berkeley, Calif.: Univ. of California Press. Kubo, Masatoshi. 2016. “Information Processing at the National Museum of Ethnology : NMA.” Powerpoint presented at the Research Information Management in Digital Age, Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre, August 23. Wittgren, Bengt. 2006. “MLA and Museum Documentation.” In. Gothenburg. http://network.icom.museum/fileadmin/user_ upload/minisites/cidoc/ConferencePapers/2006/Wittgren_ Bengt.pdf.
108
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
Digital Curation กับนักวิจัย : บทบาทใหม่ส�ำหรับยุคใหม่ (Digital Curation and Researchers: New Roles for New times) วิทยากร ศ.มาซาโตชิ คุโบ และ รศ. ดร.น�้ำทิพย์ วิภาวิน ผู้ด�ำเนินรายการ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์
109 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
การอภิปรายในช่วงนีด้ ำ� เนินรายการโดย ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ โดยตั้งค�ำถามเกี่ยวกับแนวทางและแนวปฏิบัติในการส่งเสริมให้วิชาการ ในประเทศไทยตระหนักถึงบทบาทของ digital curation การเรียบเรียง ค�ำตอบและค�ำถามในทีน่ อี้ าศัยรูปแบบการสรุปสาระจากเวทีการอภิปราย แต่ ค งล� ำ ดั บ ของการสนทนา โดยระบุ วิ ท ยากรและผู ้ ด� ำ เนิ น รายการ ที่แสดงความคิดเห็นดังกล่าว ในเบื้องต้น ดร.ทรงพันธ์ กล่าวถึงสาระส�ำคัญจากการบรรยาย ของ รศ. ดร.น�้ ำ ทิ พ ย์ ที่ แ สดงถึ ง ขอบเขตของงาน digital curation ที่ให้ความส�ำคัญทั้งในกระบวนการท�ำงานและการพัฒนาทักษะของ ผู้มีส่วนร่วม โดยเฉพาะบุคคลที่เรียกว่า digital curator หรือบรรณารักษ์ วิทยาการข้อมูล (data science librarian) ส่วนสาระจากการบรรยายของ ศาสตราจารย์คุโบ ดร.ทรงพันธ์ ให้ความส�ำคัญกับความร่วมมือแบบ ฟอรั ม และข้ อ เสนอเกี่ ย วกั บ การจั ด การข้ อ มู ล แบบ “cychronicle” ซึ่ ง อภิ ป รายถึ ง รู ป แบบการจั ด การข้ อ มู ล เพื่ อ ตอบโจทย์ ก ระบวนการ ประมวลข้อมูลตามลักษณะดังกล่าว 110
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ในล� ำ ดั บ แรก ดร.ทรงพั น ธ์ ตั้ ง ค� ำ ถามกั บ รศ. ดร.น�้ ำ ทิ พ ย์ ถึงล�ำดับความส�ำคัญในการด�ำเนินงานให้ digital curation เกิดขึ้นได้ใน แวดวงวิชาการของไทย กระบวนการเตรียมการควรเน้นที่ระดับบุคคล หรือระดับ คิดเห็นอย่างไร รศ. ดร.น�้ำทิพย์ กล่าวในเบื้องต้นว่า ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้อง ตระหนักถึงความส�ำคัญของข้อมูล สิ่งใดที่ควรจัดเก็บในสถาบันต่างๆ เพื่ อ ประโยชน์ ทั้ ง ต่ อ สาธารณะและทั้ ง ต่ อ การท� ำ งานของคนภายใน หน่วยงานเอง จากนั้น ต้องให้ความส�ำคัญกับนโยบาย เพราะนโยบาย จะช่วยให้เกิดความร่วมมือระหว่างคณะ ภาควิชา หรือฝ่ายต่างๆ ในการ จัดเก็บข้อมูลและด�ำเนินกระบวนการร่วมกัน จนกลายเป็นฐานข้อมูล ทีส่ ามารถใช้ประโยชน์รว่ มกัน ระดับผูบ้ ริหารองค์กรมีความส�ำคัญอย่างยิง่ เพราะมีส่วนสนับสนุนให้เกิดท�ำงานร่วมกันผู้ปฏิบัติการในทุกระดับ ต่อมา ดร.ทรงพันธ์ ตั้งค�ำถามกับ ศ.คุโบ เกี่ยวกับการท�ำงาน ด้านการจัดการข้อมูลทีไ่ ม่ใช่เพียงเพือ่ ตอบโจทย์ของหน่วยงาน แต่เป็นการ จัดการข้อมูลเพือ่ ตอบโจทย์กบั คนทัง้ มวล เรียกว่าเป็นแนวคิดทีเ่ ป็นสากล ฉะนั้น ในการวางแผนการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมยุทธศาสตร์ ของการพัฒนาควรเริ่มต้นในระดับใด ในระดับสถาบันหรือในระดับชาติ หรือให้ความส�ำคัญในระดับปัจเจกบุคคลที่ท�ำงานในแต่ละโครงการวิจัย ศ.คุโบแสดงความคิดเห็นจากประสบการณ์ทำ� งานด้านทรัพยากร วัฒนธรรม นั่นคือ แต่ละคนจะให้ความหมายต่อสิ่งๆ หนึ่งแตกต่างกัน เมือ่ เป็นเช่นนัน้ ทรัพยากรทีแ่ บ่งปันระหว่างกันสามารถเพิม่ พูนความหมาย และคุณค่ายิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ในกระบวนการ digital curation ผู้ท�ำหน้าที่ ดูแลหรือ curator ไม่วา่ จะในทางมนุษยศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ควรมีมมุ มองและความรูท้ กี่ ว้างขวาง ส่วนในระดับสถาบันหรือมหาวิทยาลัย การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานที่ ส ่ ง เสริ ม ให้ บุ ค คลเปิ ด มุ ม มองของตนเองให้
111 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
กว้างขวางขึน้ ผูท้ ดี่ แู ลไม่ตอ้ งมีความรูล้ กึ ซึง่ ในศาสตร์นนั้ แต่มคี วามเข้าใจ ธรรมชาติของศาสตร์นั้น และส่งต่อให้ผู้ใช้งานสามารถติตตามความรู้ ในระดับลึกจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางต่อไปฉะนั้น การพัฒนาทัศนคติ และมุมมองทีเ่ ปิดกว้างจึงส�ำคัญอย่างยิง่ กับการท�ำงานด้าน digital curation ดร.ทรงพันธ์ถามต่อเนื่องเกี่ยวกับแนวการปฏิบัติ เช่นนั้นแล้ว บทบาทของบรรณารักษ์ในกระบวนการ digital curation ควรเป็นอย่างไร หากต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในองค์กร บรรดาผู้ที่ เกี่ยวข้องควรเริ่มต้นอย่างไร ในทัศนะของ ศ.คุโบเห็นว่า บรรณารักษ์ ในฐานะทีเ่ ป็นผูท้ จี่ ดั การ ทรัพยากรในห้องสมุด ย่อมมีกำ� ลังและเครือ่ งมือในการท�ำงาน การพัฒนา ตนเองให้เรียนรู้อาณาบริเวณของความรู้อื่นๆให้กว้างขวางยิ่งขึ้นย่อม จะเป็นโอกาสให้การท�ำงานส�ำเร็จ ส่วนในทัศนะของ รศ. ดร.น�้ำทิพย์ เห็นว่า หากมองว่าห้องสมุด เป็นสถานที่รวบรวมสรรพความรู้แล้ว บรรณารักษ์ต้องท�ำงานในเชิงรุก กับนักวิจัยมากยิ่งขึ้น เพื่อรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และพัฒนา ฐานข้อมูล หรือการจัดซื้อข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ แต่สิ่งส�ำคัญคือ ข้อมูลจากคณาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย ในมหาวิทยาลัย ล้วนมีคุณค่าอย่างยิ่ง ฉะนั้น ความรู้เหล่านี้จะได้รับการรักษาไว้ในองค์กร อย่างไร และจะส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ในระยะยาวเช่นไร ด้วยเหตุนี้ ต้องอาศัยบุคลากรที่ท�ำหน้าที่ดังกล่าวในกระบวนการท�ำงาน ไม่ใช่เพียง การมอบหมายไปยังฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่มีผู้รับผิดชอบติดตาม อย่างจริงจัง “ความตระหนัก ” ในข้อ มูล และการจั ด การจึ งส� ำ คั ญ อย่ างยิ่ ง ดร.ทรงพันธ์ ตั้งค�ำถามว่า ฉะนั้นแล้วจะด�ำเนินการอย่างไรให้นักวิจัย เล็งเห็นความส�ำคัญของ digital curation
112
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ศ.คุโบ กล่าวถึงในญีป่ นุ่ สถานภาพของนักวิจยั และบรรณารักษ์นน้ั แตกต่างกัน นักวิจัยอยู่ในระดับที่สูงกว่าบรรณารักษ์ ฉะนั้น จึงจ�ำเป็นที่ ทัง้ สองฝ่ายควรได้รบั การยอมรับซึง่ กันและกัน และเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือกันในการท�ำงานด้าน digital curation และ ฐานข้อมูลดิจิทัล รศ. ดร.น�ำ้ ทิพย์ แสดงความเห็นต่อประเด็นดังกล่าว ในสังคมไทย สถานภาพของบรรณารักษ์และนักวิชาการนั้นไม่แตกต่างกัน การสร้าง ความตระหนั ก สามารถด� ำ เนิ น การได้ ห ลายลั ก ษณะ เช่ น การอบรม ให้ เข้ า ใจถึ ง ความส� ำ คั ญ และแนวทางการท� ำ งานที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต ่ อ digital curation หรื อ การจั ด เวที เ พื่ อ พู ด คุ ย ระหว่ า งนั ก วิ จั ย และผู ้ ที่ จัดการข้อมูล ทักษะการท�ำงานของคนเป็นก�ำลังส�ำคัญให้ digital curation ประสบความส�ำเร็จ และความเห็นพ้องต้องกันในการร่วมพัฒนาฐานข้อมูล ต้องมาเกิดขึ้นในระยะแรกๆ เทคโนโลยีสามารถด�ำเนินการในระยะ ต่อมา ในล�ำดับถัดมา ดร.ทรงพันธ์ กล่าวถึงลักษณะทรัพยากรทาง วัฒนธรรมในญี่ปุ่นที่ ศ.คุโบน�ำเสนอ เรียกได้ว่าเป็นตัวแบบที่น่าสนใจ หากจะประยุกต์ใช้กับการท�ำงานในแวดวงวิชาการของไทยซึ่งมีบริบท แตกต่างจากในญี่ปุ่น เราควรเตรียมการอย่างไร หากกล่าวถึงทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่อยู่ในความดูแลของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา หรือ “มินปากุ” ศ.คุโบกล่าวถึง ความส�ำคัญกับบริบทของพื้นที่และเวลาที่อยู่ในเนื้อหา เพราะแม้ดัชนี หรือชุดค�ำอธิบายข้อมูลจะเปลี่ยนแปลง แต่ทั้งสององค์ประกอบ (พื้นที่ และเวลา) คงมีความส�ำคัญ กรณีข องการจั ด จ� ำ แนกที่ มี ร ายละเอี ย ด มากเกินไป ไม่เป็นประโยชน์กับการท�ำงาน กลไกหรือเครื่องมือสืบค้น ด้วยข้อความ (text-based search engine) สามารถค้นหาเนื้อหาที่ก�ำกับ ด้วยพื้นที่และเวลา ฉะนั้น จึงควรจ�ำกัดการจัดจ�ำแนกประเภทข้อมูล ให้เหมาะสม 113 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
ดร.ทรงพันธ์ แสดงความเห็นต่อประเด็นดังกล่าวว่า ในประเทศไทย คงมีการอภิปรายถึงการจ�ำแนกข้อมูลว่าควรมีความซับซ้อนมากน้อย เพียงใด จากนัน้ กล่าวถึงประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับยุคของสือ่ สังคมออนไลน์ บุคคลต่างๆ ใช้สมาร์ตโฟน Facebook โปรแกรมประยุกต์ “Line” หรือ “Messenger” ข้อ มูล ต่า งๆ เหล่า นี้บันทึก ชี วิตประจ� ำ วั น ในอนาคต ควรพิจารณาถึงข้อมูลเหล่านี้เช่นใด และ digital curation ควรเป็นไป ในลักษณะใด รศ. ดร.น�ำ้ ทิพย์ กล่าวถึงความส�ำคัญของข้อมูลทีม่ อี ยูห่ ลายชนิด ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และในชีวิตประจ�ำวันของผู้คน ส�ำหรับการคัดสรรและจัดการข้อมูลในสือ่ สังคมออนไลน์ทบี่ นั ทึกเรือ่ งราว ในชีวิตประจ�ำวัน คงต้องพิจารณาในเบื้องแรกถึงประเภทของข้อมูล ทีค่ วรจัดเก็บ เพราะข้อมูลสามารถมาได้จากหลายแหล่ง โปรแกรมประยุกต์ บล็อก หรือสือ่ สังคมออนไลน์อนื่ ๆ เพือ่ มองหาการท�ำงาน digital curation ทีเ่ หมาะสม เพราะหากข้อมูลเหล่านีจ้ ะเป็นประโยชน์ในการท�ำความเข้าใจ สังคมในวันข้างหน้าแล้ว การท�ำงานจากสือ่ สังคมออนไลน์มคี วามน่าสนใจ เช่นกัน ค�ำถามจากผู้เข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับการใช้ระบบ “HRAF”82 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธ์วิทยา หรือ “มินปากุ” ประยุกต์ใช้ ในการจ�ำแนกข้อมูลและทรัพยากรในห้องสมุด ซึง่ แตกต่างจากมาตรฐาน การจัดการห้องสมุดทั่วไปนั้น มีความน่าสนใจหรือปัญหาอย่างไร ศ.คุโบ กล่าวถึงข้อปัญหาในการท�ำดัชนีข้อมูลทางวิชาการหรือ ข้อมูลวัตถุทางวัฒนธรรม การจ�ำแนกข้อมูลต้องระบุรายละเอียดในหลาย รายการ เมื่อเป็นเช่นนี้ นักวิจัยหรือผู้ท่ีจัดการข้อมูลจะข้ามบางรายการ ด้วยความเบื่อหน่ายในการกรอกรายละเอียด และส่งผลให้คุณภาพของ ชุดค�ำอธิบายข้อมูลลดลง การจ�ำแนกข้อมูลพื้นฐานคงมีความส�ำคัญอยู่ 82
โปรดดู Human Relations Area Files จาก http://hraf.yale.edu/
114
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
แต่การเปิดให้นักวิจัยหรือผู้ที่จัดการข้อมูลกรอกรายละเอียดด้วยตนเอง ด้วยค�ำถามกว้าง เช่น การให้รายละเอียดวัตถุเกี่ยวกับลักษณะการผลิต หรือหน้าที่การใช้งาน ผู้ที่เกี่ยวข้องจะกรอกข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น จึงควรจ�ำกัด การจ�ำแนกประเภทข้อมูลไม่ให้มีรายละเอียดมากจนเกินไป เพราะใน ทางปฏิบัติแล้ว เครื่องมือหรือกลไกในการค้นหาจากข้อความพื้นฐาน สามารถท�ำการค้นคืนข้อมูลได้ดีอยู่แล้ว
115 การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล
116
การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล