1
เล่มที่ ๒ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
2
๑
มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ส ๑.๑ รู้ และเข้าใจประวัติ ความสาคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ ร่วมกันอย่างสันติสุข
ตัวชี้วัด ตัวชี้วัด ส ๑.๑ ม.๔/๑๓ ๑. วิเคราะห์หลักธรรมในกรอบอริยสัจ ๔ หรือหลักคาสอนของศาสนาที่ตนนับถือ
จุดประสงค์การเรียนรู้ ๑. อธิบายความหมายของพระรัตนตรัยและคุณค่าของพุทธได้ ๒. อธิบายหลักธรรมในกรอบอริยสัจ ๔ ได้ ๓. สามารถวิเคราะห์และปฏิบัติตนตามหลักธรรมในกรอบอริยสัจ ๔ ได้
สาระการเรียนรู้ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ๑. พระรัตนตรัยเกี่ยวกับความหมายและคุณค่าของพุทธะ ๒. อริยสัจ ๔ เกี่ยวกับทุกข์ในขันธ์ ๕ เรื่องนามรูป ๓. อริยสัจ ๔ เกี่ยวกับสมุทัยในหลักกรรม เรื่องนิยาม ๕ และวิตก ๓ ๔. อริยสัจ ๔ เกี่ยวกับนิโรธในภาวนา ๔ ๕. อริยสัจ ๔ เกี่ยวกับมรรคในหลักพระสัทธรรม ๓, ปัญญาวุฒิธรรม ๔, พละ๕, และอุบาสกธรรม ๕ ๖. หลักมงคล ๓๘ เรื่อง สงเคราะห์บุตร ๗. หลักมงคล ๓๘ เรื่อง สงเคราะห์ภรรยา ๘. หลักมงคล ๓๘ เรื่อง สันโดษ
3
๒
เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คาชี้แจง ๑. แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย จานวน ๒๐ ข้อ ๒. ให้นักเรียนทาเครือ่ งหมายกากบาท ( X ) ในช่องอักษรข้อ ก ข ค หรือ ง เพียงข้อเดียว ๓. กาหนดเวลาทดสอบ ๑๕ นาที ๑. การแสวงหาความรู้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญทางปัญญา ตามหลักปัญญาวุฒิธรรม ควรปฏิบัติ เช่นใด ก. หมั่นศึกษาเล่าเรียน ข. ศึกษาจากผู้รู้ ศึกษาเล่าเรียน คิดอย่างถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ค. ตั้งใจฟัง หมั่นคิดไตร่ตรอง ชอบซักถาม และหมั่นเขียน ง. ขยันหมั่นเพียร และมีความพยายาม ๒. ร่างกายในทัศนะของพระพุทธศาสนาประกอบด้วยอะไรบ้าง ก. ธาตุดิน ธาตุน้า ธาตุลม ธาตุไฟ ข. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ค. อายตนะภายนอก ง. อายตนะภายใน ๓. ข้อใดคือ “รูป” ตามทัศนะของพระพุทธศาสนา ก. สิ่งที่มีรูปร่าง และคุณสมบัติของสิ่งนั้น ข. สิ่งที่มีรูปร่างเพียงอย่างเดียว ค. สิ่งที่ประกอบขึ้นมาเป็นรูปร่าง ง. อากาศธาตุ ๔. บุตรธิดาที่เจริญกว่าบิดามารดาไม่ว่าจะโดยคุณธรรม ศีลธรรม ความรู้ และฐานะ จัดเป็นบุตร ประเภทใด ก. อวชาตบุตร ข. อนุชาตบุตร ค. สมชาตบุตร ง. อภิชาตบุตร
4
๓
๕. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของคน “สันโดษ” ก. หาเลี้ยงชีพตามกาลังสติปัญญาของตน ข. หาเลี้ยงชีพให้ผ่านพ้นไปวัน ๆ ไม่ดิ้นรนขวนขวาย ค. มีความยินดีพึงพอใจตามที่มี ตามที่ได้มา ง. มีความยินดีและพอใจตามสมควรแก่ฐานะของตน ๖. ข้อใดก่อให้เกิด “กรรม” ตามหลักกรรมนิยาม ก. นายมี ขุดบ่อน้าไว้ใช้ ไก่ตกลงไปตาย ข. นางมา ก่อไฟไว้ แมลงบินมา ถูกไฟไหม้ตาย ค. นายคา ดักปลามาขายทุกวัน ง. นายเขียว เดินใจลอย ไปเหยียบมดตาย ๗. ข้อใด ตรงกับหลักธรรม “ภาวนา” ก. พัฒนากาย พัฒนาศีล พัฒนาจิต พัฒนาปัญญา ข. การพนมมือ การกราบ การไหว้ การคานับ ค. การพิจารณากาย พิจารณาจิต พิจารณาปัญญา และการพิจารณาธรรม ง. การสารวมกาย วาจา ใจ ๘. มีสามีหรือภรรยาเหมือนเพชฌฆาต หมายถึงข้อใด ก. คู่ครองที่เกียจคร้าน ข. คู่ครองที่ชอบดูหมิ่นและคิดทาลายซึ่งกันและกัน ค. คู่ครองที่ปากร้ายหยาบคาย ทะเลาะเบาะแว้ง ด่าทอกันทุกวัน ง. คู่ครองที่มีฐานะต่ากว่า ๙. การที่เรามีความรู้สึกเศร้าใจ เสียใจ หมายถึงข้อใด ก. เวทนา ข. สัญญา ค. สังขาร ง. วิญญาณ ๑๐. “คู่สร้างคู่สม” หมายถึงคู่สมรสที่มีชีวิตสอดคล้องกลมกลืนกัน และอยู่ร่วมกันได้ยืดยาว จะต้อง อาศัยหลักธรรมในข้อใด ก. เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ข. หลักความจริง การฝึกตน ความอดทน ความเสียสละ ค. ศีล สมาธิ ปัญญา ง. มีศรัทธาสมกัน มีศีลสมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีปัญญาเสมอกัน
5
๔
๑๑. พระพุทธเจ้าเป็นผู้มีปัญญาคุณ ความหมายใดถูกต้องที่สุด ก. เป็นผู้ฉลาด ข. เป็นผู้มคี วามรู้ความเข้าใจ ค. เป็นผู้แก้ไขปัญหาได้ ง. เป็นผู้ค้นพบสัจธรรมและสั่งสอนสัตว์โลก ๑๒. บิดามารดาพึงสงเคราะห์บุตรธิดาในเรื่อง “เป็นธุระจัดหาคู่ครองให้” หมายความว่าอย่างไร ก. เป็นผู้เลือกคู่ครองให้กับบุตรธิดา ตามความต้องการของตนเอง ข. จัดการหมั้นหมายไว้แต่ยังเล็ก หากครอบครัวทั้งสองมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ค. ให้คาแนะนาแก่บุตรธิดาในการเลือกคู่ครองให้ถูกต้องและเหมาะสม ง. ควบคุมการเลือกคู่ครองของบุตรธิดา โดยเลือกบุคคลที่มีฐานะดีมีสกุล ๑๓. เมื่อเราเจอเพื่อนที่ไม่ได้พบกันมานาน ปรากฏว่าเรายังจาได้ เป็นลักษณะของนามขันธ์ข้อใด ก. เวทนา ข. สัญญา ค. สังขาร ง. วิญญาณ ๑๔. บุคคลผู้มีความสันโดษจะได้รับคุณประโยชน์มากมาย ยกเว้น ข้อใด ก. มีความสุขความสบายตามอัตภาพ ข. ไม่ทุจริตในหน้าที่การงาน ค. ป้องกันการสูญเสียที่เกิดจากความฟุ่มเฟือย ง. สะดวกสบาย ไม่ต้องกระตือรือร้น ๑๕. “พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงมีพระปรีชาญาณอันลึกซึ้งคัมภีร์ภาพ ยากจะหาผู้ใดเทียม ทรงเพียร พยายามจนค้นพบคาตอบของปัญหาซึ่งเป็นความจริงอันประเสริฐ ” ข้อความดังกล่าว สอดคล้องกับข้อใด ก. พระปัญญาคุณ ข. พระวิสุทธิคุณ ค. พระกรุณาคุณ ง. พระบริสุทธิคุณ ๑๖. ถึงแม้ว่าจ้อนจะร้องเพลงไม่เพราะแต่เพื่อนๆ ของจ้อนก็ตั้งใจฟังและให้กาลังใจจ้อนจน ร้องเพลงจบ ข้อความนี้สอดคล้องกับข้อใด ก. เนกขัมมวิตก ข. อพยาบาทวิตก ค. อวิหิงสาวิตก ง. วิหิงสาวิตก
6
๕
๑๗. ก้อย รู้จักแก้ปัญหาต่างๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม บางครั้งจะมีคนมาพูดจาว่าร้ายแต่ก้อยก็ไม่เคย คิดโต้ตอบ ให้อภัยคนที่หลงผิด การกระทาของก้อยสอดคล้องกับข้อใด ก. กายภาวนา ศีลภาวนา ข. ศีลภาวนา จิตภาวนา ค. จิตภาวนา ปัญญาภาวนา ง. ศีลภาวนา จิตภาวนา ปัญญาภาวนา ๑๘. ข้อใดจัดเป็นธรรมของสัตบุรุษ ก. พระสัทธรรม ๓ ข. ปัญญาวุฒิธรรม ๔ ค. อุบาสกธรรม ๕ ง. ภาวนา ๔ ๑๙. ปฏิบัติสัทธรรมเปรียบได้กับข้อใด ก. การเดินทางถึงจุดหมาย ข. การศึกษาหาความรู้ในการเดินทาง ค. การหาวิธีการเดินทางไปสู่จุดหมาย ง. การเดินทางจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดมุ่งหมายด้วยความแน่วแน่ ๒๐. ข้อใดจัดเป็นยถาสารุปปสันโดษ ก. ดา มีความยินดีที่สวนทุเรียนของเขามีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ ข. ก้าน วางตัวเป็นกลางในการเลือกหัวหน้าห้อง ค. ผล ไม่คิดจะทางานหนักเพื่อหารายได้มากขึ้น ง. พัด ยับยั้งใจไม่ซื้อของขวัญปีใหม่
7
๔๔
แบบทดสอบก่อนเรียน
แบบทดสอบหลังเรียน
ข้อ
คาตอบ
ข้อ
คาตอบ
๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑๘. ๑๙. ๒๐.
ข ก ก ง ข ค ก ข ก ง ง ค ข ง ก ข ง ก ง ก
๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑๘. ๑๙. ๒๐.
ก ง ก ข ก ก ง ข ค ก ข ก ง ง ค ข ง ก ข ง
.
.
8
๖
สวัสดีค่ะนักเรียน เรามาเริ่มศึกษาเนื้อหากันนะคะ พระพุ ท ธศาสนาเป็ น ศาสนาที่ บั ง เกิ ด ขึ้ น เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ มนุ ษ ย์ ในโลกนี้ ให้ ห ลุ ด พ้ น จาก ความทุกข์ หลักธรรมคาสอนของพระพุทธเจ้าจึงมุ่งที่สอนให้มนุษย์มีหลักที่พึ่งทางใจ และมีแนวทาง การประพฤติ ป ฏิ บั ติ ที่ จ ะท าให้ เกิ ด มงคลแก่ ชี วิ ต อั น จะท าให้ ม นุ ษ ย์ ส ามารถอยู่ ร วมกั น ในสั งคม ด้วยความสงบสุขและเจริญก้าวหน้า ในที่นี้จะขอกล่าวถึงหลักธรรมสาคัญที่ควรศึกษาและนาไปปฏิบัติ
ภาพที่ ๑ พระรัตนตรัย ที่มา http://www.dmc.tv สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
คาว่า “รั ตนตรั ย ” มาจากค าว่า “รัต น” แปลว่า แก้ ว หรือ สิ่ งประเสริฐ กั บ ค าว่า “ตรัย ” แปลว่า สาม ฉะนั้นพระรัตนตรัย แปลรวมกันว่า แก้วสามดวงหรือสิ่งประเสริฐสามสิ่งที่พุทธศาสนิกชน เคารพนับถือสูงสุดสามสิ่งนับเป็นองค์ประกอบของศาสนาพุทธ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบที่สาคัญของศาสนา
9
๗
๑. พระพุทธ คาว่า พุทฺธ แปลว่า ผู้รู้แล้ว (รู้ในความเป็นไปในธรรมชาติทั้งปวง) ผู้ตื่นแล้ว (ตื่นจากความ โง่เขลา ตื่นจากความงมงาย ) ผู้เบิกบาน ( ไม่มีสิ่งใดทาให้จิตใจเศร้าหมองอีกแล้ว ) หมายถึงผู้ที่ตรัสรู้ อริยสัจ คือความเป็นจริงที่ประเสริฐ ๔ ประการ พุทธ จาแนกออกเป็น ๓ ประเภทได้แก่ ๑.๑) ปัจเจกพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองแต่ไม่สามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้ ๑.๒) สัมมาสัมพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองแล้วสามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตาม ได้มีองค์เดียวเท่านั้นคือ สัมมาสัมพุทธเจ้า ๑.๓) สุตตันตพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ตามคาสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระธรรม ธรรม มีเสียงพ้องกับคาว่า ทา ในภาษาไทย ถ้าข้อความไม่ชัดเจนอาจเติมสระ อะ เป็นธรรมะ แต่จะใช้คาว่า ธรรมะ เฉพาะเมื่อหมายถึ งคาสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ธรรม (ทา) หรือ ธรรมะ (ทา-มะ) เป็ น คาที่ม าจากคาภาษาสั น สกฤต ธรรม แปลว่าสิ่ งที่ แบกไว้ หมายถึง กฎหมาย หน้ าที่ ยุติธรรม ความถูกต้อง คุณ ความดี คุณ ธรรม ธรรมชาติ เป็นต้น ในภาษาไทยใช้คาว่า ธรรม หรือ ธรรมะ หมายถึง คาสั่งสอนขององค์สัม มาสัมพุทธเจ้า เนื้อหาสาระเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ทั้ ง หมดทั้ ง สิ่ ง ที่ ดี แ ละชั่ ว เรี ย กว่ า ธรรม หรื อ ธรรมะ เช่ น ทรงสอนเรื่ อ งอริ ย สั จ ๔ ความจริ ง อันประเสริฐ ทรงสอนเรื่องไตรลักษณ์ หรือ อนัตตลักขณสูตร สอนเรื่องกิเลส ก็เรียกว่า ทรงสอนธรรม เรื่องกิเลส หรือทรงสอนธรรมะเรื่องกิเลส ธรรม หมายถึงการประพฤติที่ดีที่ถูกต้องได้ เช่น ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนาสุขมาให้ ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข ใครๆ ก็สรรเสริญการกระทาที่เป็นธรรม ธรรม หมายถึง ความยุติธรรม เช่น ถ้าผู้ปกครองประเทศปกครองด้วยความเป็นธรรม ประชาชนก็เป็นสุข เมื่ อ พระพุ ท ธเจ้ าได้ ต รั ส รู้ ค วามจริ งอั น ประเสริฐ ๔ ประการแล้ ว ก็ ท รงมี พ ระมหากรุ ณ า ปรารถนาจะให้สัตว์โลกพ้นทุกข์ จึงทรงสั่งสอนเหล่าสาวกและคนทั่วไปด้วยคาสอนต่าง ๆ คาสอน ของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่า พระธรรม พระธรรม คัมภีร์ ของพระพุทธศาสนา เรียกว่า พระไตรปิฎก ประกอบด้วย พระอภิธรรมปิฎก พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก
10
๘
อภิ ธ รรมปิ ฎ ก หรื อ พระอภิ ธ รรม หมายถึ ง ประมวลพระพุ ท ธพจน์ ห มวดพระอภิ ธ รรม หลักคาสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นภาคทฤษฎีบท หลักธรรมและคาอธิบายที่เป็นหลักคาสอนล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ เปรียบเสมือนวิชาวิทยาศาสตร์ พระวินัยปิ ฎก หรือ พระวินั ย หมายถึง ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญั ติ เกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดาเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และ ภิกษุณีสงฆ์ เปรียบเสมือนวิชากฎหมาย พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร หมายถึง ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรม เทศนาคาบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่าและ เรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้า สอนใคร สอนเรื่องอะไร สอนที่ไหน เปรียบเสมือนวิชาประวัติศาสตร์ คาสอนที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนานั้นมีสาระสาคัญ ๓ ประการ หรือ โอวาท ๓ คือ ให้ประพฤติดี ให้ละความชั่ว และทาจิตใจให้ผ่องใสนอกจากสาระสาคัญทั้ง ๓ ประการนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้ให้เห็นถึงสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ การดับทุกข์และวิธีปฏิบัติตนของพุทธบริษัท ๔ เพื่อให้ หลุดพ้นจากวัฏสังสาร วงจรของการเกิดดับ หลุดพ้นจากความทุกข์ต่าง ๆ ไม่ต้องเวียนว่าย ตายเกิดอีกต่อไป ๓. พระสงฆ์ เรามั ก เรี ย กสมณเพศ ในพระพุ ท ธศาสนาว่ า “พระสงฆ์ ” แต่ ค าว่า “สงฆ์ ”นั้ น หมายถึ ง องค์คณะของผู้เป็นสมณะมากกว่า แต่สมณะในพระพุทธศาสนาแต่ละรูปนั้นเรียกว่า “ภิกษุ” ซึ่งแปล ตามรูปศัพท์ หมายถึง “ผู้ขอ”มีรากศัพท์เดียวกันกับคาว่า ภิกษาจาร พระสงฆ์ หมายถึง สาวกหรือ นักบวชที่เป็นผู้ชายในพระพุทธศาสนาเป็น ๑ ใน ๔ ของพุทธบริษัทซึ่งเดิมเรียกนักบวชผู้ชายในศาสนา พุทธว่า “ภิกขุ” ในภาษาบาลี “ภิกษุ” ในภาษสันสกฤต พระสงฆ์จัดว่าเป็นผู้มีบทบาทสาคัญในการสืบ ทอดพระศาสนาเพราะเป็นศาสนทายาทผู้สั่งสอนพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป พระสงฆ์จึงต้อง ประพฤติปฏิบัติตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของพระสงฆ์ที่ดี ตามพุทธบัญญัติ
11
๙
ภาพที่ ๒ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มา http://www.trang.nfe.go.th สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
คุณค่าของพระพุทธ ในการไหว้พระสวดมนต์ เราสวดพุทธคุณ ๓ ประการคือ พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ เป็ น การระลึ กถึ งคุ ณ ของพระพุ ทธเจ้ า เมื่ อเรานั บถื อพระพุ ทธเจ้ า เป็นพระศาสดาเราจะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระคุณของท่าน น้อมเอาพระคุณของท่านมาไว้ในตน พระคุณทั้ง ๓ ประการนี้เราต้องปฏิบัติตามคือ ๑. พระปั ญ ญาคุ ณ พระพุ ทธเจ้าทรงมี พ ระปั ญ ญาจึงตรัส รู้ธ รรม สามารถสั่ งสอน ประกาศพระศาสนาและบริหารหมู่สงฆ์ได้สาเร็จ เราก็ต้องพยายามศึกษาให้รู้ เข้าใจความจริง ของสิ่งทั้งหลายและดาเนินชีวิตทากิจการต่าง ๆ ด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจความจริงนั้น อย่างน้อย ในการเป็ น อยู่ ข องเรา คือ ในการดาเนิ น ชี วิตนั้ น เราจะต้ องใช้ ปั ญ ญา คนเราจะรับ ผิ ด ชอบ ต่อตัวเองและสร้างสรรค์จัดการสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้องจะต้องมีความรู้ มีความเข้าใจและใช้ปัญญา ไม่ใช่อยู่แค่อารมณ์ หรือความรู้สึก เราจะต้องรู้จักปฏิบัติต่อชีวิตนี้ โดยเน้นที่การใช้ปัญญา การกระทา อะไรต่าง ๆ เราจะต้องพยายามทาด้วยปัญญา ด้วยความรู้ ด้วยความเข้าใจเหตุผล ถ้ามีปั ญ หาทางสังคมเราจะต้องใช้ปัญ ญาพิจารณาให้ เข้าใจเหตุผล ถามตนเองว่า ในเรื่องนี้ เรามีความรู้ ความเข้าใจแจ่มชัดแค่ไหน เรารู้ข้อมูลเพียงพอไหม เราได้วิเคราะห์เรื่องนี้อย่าง จะแจ้งหรือเข้าถึงหลัก กาหนดเป็นขั้นตอนมองเห็นเหตุปัจจัยหรือสาเหตุต่างๆของสิ่งเหล่านี้ หรื อ ไม่ เช่ น เมื่ อ ท าเหตุ อ ย่ า งนี้ แ ล้ ว ผลออกมาเช่ น ไร เป็ น ผลดี ห รื อ ผลเสี ย เป็ น ต้ น นี่ คื อ แง่ของปัญญา ต้องมีการใช้ปัญญาอย่างจริงจังเป็นการทาความรับผิดชอบของตนเองให้สมบูรณ์
12
๑๐
๒. พระวิสุทธิคุณ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้ปราศจากกิเลส เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้ เบิ กบาน จากที่กล่าวมาข้างต้นย่อมทาให้ เกิดคุณ แก่ส รรพสั ตว์อย่างประมาณมิได้ นั่น คือ ทาให้ เกิดการพิสูจน์ ได้ซึ่งหนทางแห่ งการดับทุกข์มีจริงซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นแห่ งการ พ้นทุกข์ได้สาเร็จหรือเป็นพระอรหันต์องค์แรกอีกทั้งความวิสุทธิของพระองค์ก็เป็นแบบอย่าง ให้ปฏิบัติตามเพื่อการพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง ทาให้เราพิจารณาเห็นผลของกรรม (ผลของการ กระทา) ได้อย่างชัดเจน นั่นคือทาให้ผู้ที่ทากรรมดี เช่นถวายทาน สักการะหรือเพียงระลึกถึง พระองค์ ด้ ว ยความบริ สุ ท ธิ์ ใ จ ก็ เกิ ด ผลอย่ า งมากมาย ดั ง มี ตั ว อย่ า งมากมายที่ เกิ ด ผล ตั้งแต่คนยากจนถวายทานพระองค์แล้วกลายเป็นเศรษฐีในชั่วข้ามวัน จนถึงสัตว์เดรัจฉานที่ได้ เกิดเป็นเทวดาหรือคนที่ไม่เคยทากรรมดีเลยแต่ก่อนตายระลึกถึงพระองค์ก็ไปสู่สุคติภพได้ ส่วนในทางกลับกันผู้ที่ทากรรมชั่วต่อพระองค์ก็เกิดผลไม่ดีอย่างยิ่งเช่นกัน ดังตัวอย่างเช่น ผู้ ป ระทุ ษ ร้ า ยพระองค์ ที่ โดนธรณี สู บ อี ก ทั้ ง พระคุ ณ จากความวิ สุ ท ธิ นี้ ท าให้ เกิ ด ความ เท่ าเที ย มกั น นั่ น คื อ เมื่ อ มี ก ารโปรดสั ต ว์พ ระองค์ ก็ท รงโปรดสั ต ว์ด้ ว ยความเท่ าเที ยมกั น คื อ เห็ น ทุ ก คนเสมอเหมื อ นกั น ไม่ มี ก ารล าเอี ย ง ดั ง นั้ น ทุ ก ๆคนมี โ อกาสเท่ า กั น หมด ในการพบพระองค์ เหตุปั จจั ย อยู่ที่เหล่ าสรรพสัตว์เองแล้ว ว่า สร้างบุญ มามากพอที่จะพบ พระองค์ได้หรือไม่ ท้ายสุดพระคุณของความวิสุทธินี้ทาให้เกิดพุทธานุภาพอันยิ่งใหญ่สามารถ แผ่ให้กับทุกคนอย่างเสมอภาค ไม่มีขอบเขตเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่เป็นสากลให้กับสรรพสัตว์ ตลอดไป ยังให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง สิริมงคล หรือสิ่งที่ดีต่างๆ มากมายนับมิได้ ขึ้นกับสัตว์ นั้ น มี คุ ณ ธรรมความดี แค่ ไหน ที่ จะสามารถสื่ อถึงพระองค์ ได้ ดั งนั้ น จากที่ กล่ าวข้ างต้ น พระวิสุทธิคุณจึงเป็นคุณอย่างประมาณมิได้ที่ทุกคนจะต้องระลึกถึงไว้ให้ดีอย่างสม่าเสมอ ๓. พระมหากรุณาธิคุณ พระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงมุ่งหมายจะให้ ชาวโลกทั้งหลาย ได้ประโยชน์ จากธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้ เพื่อให้ มวลมนุษย์มีชีวิตที่ดีงาม มีความสุข หลุดพ้นจากอานาจบีบบังคับครอบงาของกิเลสและความทุกข์ จึงอุทิศพระชนม์ ทั้งหมดของพระองค์บาเพ็ญพุทธกิจเทศนาสั่งสอนประชาชนโดยไม่คานึงถึงความเหน็ดเหนื่อ ย ยากลาบากใดๆ เราทั้งหลายจะต้องมีกรุณาซึ่งรวมถึงเมตตา คือ การมองผู้อื่นด้วยความรู้สึก รั ก ใคร่ ป รารถนาดี ห รื อ เป็ น มิ ต ร คื อ ตั้ งจิ ต ไว้ ในทางที่ มี ค วามรัก กั น ไม่ ใช่ ตั้ งจิ ต ด้ ว ยโทสะ หรือความโกรธเกลียดชัง ถ้าเราตั้งจิตในทางโกรธเกลี ยดชังเมื่อไร เราจะมองคนด้วยความ ลาเอียง แล้วการมองของเราก็จะผิดพลาดและจะเกิดอคติ ฉะนั้นเมื่อ มีเหตุการณ์อะไรขึ้นมา จะต้องตั้งจิตเมตตามองอย่างมิตรขึ้นมาให้ได้ก่อน
13
๑๑
ต่อไปเรามาศึกษาหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนากันนะคะ
นามรูป คือ ส่ วนประกอบที่มี ทั้งรูปธรรมและนามธรรม (รูปและนาม) หรื อความมีอยู่ ของรู ปธรรมและนามธรรม รู ปธรรม หมายถึ ง สิ่ งที่ มีรูปสิ่ งที่ เป็ นรู ป ส่ วนที่ เป็ นรูป ตามทั ศนะ ทางพุ ทธศาสนา รู ป คื อ สิ่ งที่ จะต้องสู ญสลายหรือแปรสภาพไปตามเหตุปั จจั ย ในที่ นี้ หมายถึ ง ร่างกายรวมทั้งคุณภาพ หรือคุณสมบัติของร่างกายด้วย เช่น รูปร่าง ขนาด สี กลิ่น รส และ อุ ณ หภู มิ ซึ่ งสามารถรู้ ได้ ด้ ว ยตา หู จมู ก ลิ้ น กาย หรื อ บางที รู้ได้ ด้ ว ยความคิ ด ประกอบ เข้ามา ตามทัศนะทางพุทธศาสนา รูป จึงมิได้หมายเอาเฉพาะสิ่งที่เป็นรูปร่างเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมไปถึงคุณภาพหรือคุณสมบัติของ สิ่งทั้งปวง ตลอดถึงปรากฏการณ์ของมัน ด้วย เช่น การเคลื่อนไหว การยืดหยุ่นของสิ่งนั้น ๆ เป็นต้น ดังนั้นคาว่า “รูป” ตามที่พุทธศาสนาหมายถึงจึงมีลักษณะคล้ายกับคาว่า “สสาร” ที่ อ ยู่ ใ นอากาศ ในความหมายทางวิ ท ยาศาสตร์ ค าว่ า “อากาศ”มี ลั ก ษณ ะส าคั ญ อยู่ ๔ ลักษณะ คือ ๑. ความว่ างที่ ป รากฏอยู่ ทั่ วไปตั้ งแต่ ความว่างในโลก รวมถึงความว่างระหว่าง ดวงดาวในจักรวาล เรียกว่า “อัชชฏากาศ” ๒. ช่องว่างต่าง ๆ เช่น ช่องประตู ช่องหน้าต่าง เป็นต้น เรียกว่า “ปริทฉิมนากาศ” ๓. อากาศบัญญัติที่เพิกกสิณออกแล้วของท่านผู้เพ่งกสิณ การเพ่งกสิณอาจเอาสิ่งใด สิ่งหนึ่งมาเป็นอารมณ์ เช่น ปฐวีกสิณ แล้วเพิกถอนวงกลมของกสิณออกจนเหลือแต่ความว่าง มีรูปเช่นเดียวกับดวงกสิณนั้น เรียกว่า “กสิณคฆาฏิมากาศ” ๔. ช่องว่างระหว่างรูป เช่น ช่องว่างภายในห้อง ช่องว่างในภาชนะต่าง ๆ ช่องว่าง ระหว่างเซลล์ ช่องว่างระหว่างปรมาณู เรียกว่า “ปริจเฉทรูป”
14
๑๒
ลักษณะสาคัญของรูป
ภาพที่ ๓ ร่างกายมนุษย์ ที่มา http://www. pw.ac.th สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ตามทัศนะทางพุทธศาสนา ลักษณะสาคัญของรูปแยกได้ ๔ ประการคือ ๑. อุปจยา ความเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยต่าง ๆ มาประชุมกัน จะอยู่ในแบบใด ก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยนั้น เช่น การรวมตัวของเซลล์ร่างกายก่อให้เกิดเป็นรูปร่างขึ้นมา ๒. สันตติ ความสืบต่อของรูปนั้น โดยอาศัยเหตุปัจจัยค้าจุนอุดหนุน เช่น ร่างกาย จะอยู่ได้ต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ หนุน เช่น อาหาร อากาศ เป็นต้น ๓. ชรตา ความทรุดโทรม คร่าคร่า เสื่ อม ร่วงโรยไปตามธรรมดาของรูป ซึ่งเป็น สังขารอย่างหนึ่ง เช่น ร่างกายทรุดโทรมแก่ชรา เป็นต้น ๔. อนิจจตา ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความแปรเปลี่ยนเคลื่อนไหวไปไม่หยุดนิ่ง เช่น การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากเด็กสู่วัยรุ่น สู่วัยผู้ใหญ่ สู่วัยชราและตายในที่สุด
15
๑๓
นามรูป นั้นแยกออกเป็น ๕ ส่วน เรียกว่า “เบญจขันธ์” ได้แก่ ๑. รูปขันธ์ คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกายประกอบด้วย ธาตุทั้ง ๔ ธาตุ ได้แก่ - ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน มีลักษณะแข็งเช่น ผม ขน เล็บ ฟัน เอ็น หนังกระดูก - อาโปธาตุ คือ ธาตุน้า มีลักษณะเอิบอาบ เช่น เหงื่อ เสลด หนอง เลือด - เดโชธาตุ คือ ธาตุไฟ มีลักษณะร้อน เช่น ไฟที่ทาให้ร่างกายอบอุ่น - วาโยธาตุ คือ ธาตุลม มีลักษณะพัดไปมา เช่น ลมในใส้ ลมหายใจ ลมในท้อง ๒. เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อสิ่งที่รับรู้นั้น เวทนามีอยู่ ๓ ประการ คือ - สุขเวทนา คือ ความรู้สึกสบายใจ - ทุกขเวทนา คือ ความรู้สึกไม่สบายใจ - อุเบกขาเวทนา คือ ความรู้สึกเฉยๆ ๓. สัญญาขันธ์ คือ การกาหนดหมายรู้ส่งใดสิ่งหนึ่ง การแยกแยะว่าอะไรเป็นอะไร ๔. สังขารขันธ์ คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดี (กุศล) ให้ชั่ว (อกุศล) หรือเป็นกลาง ๆ (อัพยากฤต) โดยมีเจตนาเป็นตัวนา ๕. วิญญาณขันธ์ คือ การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ อันได้แก่ - จักขุวิญญาณ การรับรู้ทางสายตา หรือการมองเห็น - โสตวิญญาณ การรับรู้ทางหู หรือการได้ยิน - ฆานวิญญาณ การรับรู้ทางจมูก หรือการได้กลิ่น - ชิวหาวิญญาณ การรับรู้ทางลิ้น หรือการลิ้มรส - กายวิญญาณ การรับรู้มางการสัมผัส - มโนวิญญาณ การรับรู้ทางใจ หรือการคิด
16
๑๔
แบบฝึกกิจกรรม ที่ ๑.๑ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (พระรัตนตรัย – คุณค่าของพระพุทธ และขันธ์ ๕ ) คาชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่ข้อความที่มีความสัมพันธ์กันให้ถูกต้อง ข้อความ .............๑. พระรัตนตรัย .............๒. ปัจเจกพุทธ .............๓. สุตตันตพุทธ .............๔. พระวินัยปิฎก .............๕. พระปัญญาคุณ ………….๖. อนิจจตา ..............๗. ปฐวีธาตุ ..............๘. สุขเวทนา ..............๙. อุเบกขาเวทนา ..............๑๐. ชิวหาวิญญาณ
คาตอบ
ก. การรับรู้ทางลิ้น หรือการลิ้มรส ข. ความรู้สึกสบายใจ ค. การรับรู้ทางจมูก หรือการได้กลิ่น ง. ผม ขน เล็บ ฟัน จ. ดวงแก้วอันประเสริฐ ๓ ประการ ฉ. ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ช. พระพุทธเจ้ามีพระปัญญาจึงตรัสรู้ธรรม ซ. ผู้ตรัสรู้ตามคาสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ฌ. ความรู้สึกเฉยๆ ญ. ความทรุดโทรม คร่าคร่า เสื่อม ฎ. พุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ของพระภิกษุสงฆ์ ฏ. ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองแต่ไม่สามารถสอนให้ ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้
17
๔๕
เฉลยแบบฝึกกิจกรรม ที่ ๑.๑ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (พระรัตนตรัย – คุณค่าของพระพุทธ และขันธ์ ๕ ) คาชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่ข้อความที่มีความสัมพันธ์กันให้ถูกต้อง
ข้อความ …….....จ........๑. ...........ฏ.......๒. ...........ซ.......๓. ...........ฎ.......๔. ...........ช.......๕. ………..ฉ…….๖. ...........ง........๗. ...........ข........๘. ...........ฌ........๙. ...........ก........๑๐.
พระรัตนตรัย ปัจเจกพุทธ สุตตันตพุทธ พระวินัยปิฎก พระปัญญาธิคุณ อนิจจตา ปฐวีธาตุ สุขเวทนา อุเบกขาเวทนา ชิวหาวิญญาณ
18
๑๕
นิ ย าม หมายถึง การกาหนดอันแน่ นอน หรือ ความเป็น ไปอัน มีระเบี ยบแน่น อน ของธรรมชาติห รือกฎธรรมชาติ พระพุทธศาสนาสอนหลักความจริงว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ หรือสิ่งของเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม เป็นวัตถุห รือเป็นเรื่ องจิตใจ ไม่ว่าชีวิตหรือโลกที่แวดล้อมอยู่ก็ตาม ทัง้ หมดล้วนเป็นไปตามธรรมดาเหตุแห่งปัจจัย ที่มนุษย์ เรี ย กว่า กฎธรรมชาติ เรี ย กในภาษาบาลี ว่า นิ ย ามแปลว่ า ก าหนดอั น แน่ น อนแนวทาง ที่แน่นอน หรือความเป็นไปอันเป็นระเบียบแน่นอนเพราะปรากฏให้เห็ นว่าเมื่อมีเหตุปัจจัย อย่างนั้น ๆ แล้วก็จะมีความเป็นไปอย่างนั้นๆ แน่นอน กฎธรรมชาติ หรื อ นิ ย ามนั้ น แม้ จ ะมี ลั ก ษณะทั่ ว ไปอย่ า งเดี ย วกั น ทั้ ง หมด คื อ ความเป็นไปตามธรรมดาเหตุแห่งปัจจัย แต่ก็อาจแยกประเภทออกไปได้ตามลักษณะอาการ จาเพาะที่เป็นแนวทางหรือเป็นแบบหนึ่ง ๆ ของความสัมพันธ์ อันจะช่วยให้กาหนดศึกษาได้ ง่ายขึ้น โดยประกอบด้วย ๕ อย่างคือ ๑. อุตุนิยาม กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับลม ฟ้า อากาศ ฤดูกาล เป็นต้น ๒. พืชนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่าพันธุกรรม เช่น หลักความจริงที่ ว่าปลูกพืชเช่นใดก็ให้ผลเช่นนั้น ปลูกข้าวย่อมได้ข้าว ปลูกมะม่วงย่อม ออกผลเป็นมะม่วง เป็นต้น ๓. จิตตนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทางานของจิต ๔. กรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ ๕. ธรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความเป็นเหตุของสิ่งทั้งปวง
19
๑๖
หลั ก กรรมในนิ ย าม ๕ ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ หลั ก กรรมนั่ น คื อ “กรรมนิ ย าม”หรือ เรีย ก อีกอย่างหนึ่งว่า “กฎแห่งกรรม” หมายถึง กระบวนการกระทาและการให้ผลของการกระทา ของมนุษย์ดังเช่นหลักกว้าง ๆ ที่ว่า “คนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น” “ผู้ทากรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้ทากรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว”
ภาพที่ ๔ การโดนจับกุมเพราะกระทาความผิด ที่มา http://www.news.sanook.com สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อความนี้บ่งชี้ว่า กรรมนิยามหรือกฎแห่งกรรม เป็นเหตุเป็นผลสอดคล้องต้องกัน เหตุมีเช่นไร ผลย่อมมีเช่นนั้น เปรียบเสมือนเอาเมล็ดพืชพันธุ์ ใดเพาะลงในดิน ก็ย่อมได้ผล เช่นนั้น แต่เรื่องของกรรมและการใช้ผลของกรรมนั้นละเอียดและซับซ้อนในตัวเอง กรรมที่ กระทาลงไปไม่ว่าดีหรือชั่วมักไม่ปรากฏผลทันใจมนุษย์ คนจึงมักเข้าใจว่ากรรมที่ทานั้ นไม่มี ผลจริง การให้ผลของกรรม สามารถพิจารณาได้ ๓ ระดับ ดังนี้ คือ ๑. ระดับภายในจิตใจหรือคุณ ภาพของจิต เช่น คิดทาชั่ว ย่อมได้รับผลชั่วทางจิตใจ คือ สภาพจิตใจต่า มัวหมอง ชั่วร้าย ถ้าคิดแต่ในทางที่ดีก็ย่อมมีจิตใจสะอาด สร้ างคุณภาพ และสมรรถภาพที่ดีให้แก่จิต ๒. ระดับบุคลิกภาพและอุปนิสัย กรรมที่กระทาจะปรุงแต่งลักษณะความประพฤติการ แสดงออก ท่าที การวางตัว บุคลิกลักษณะหรืออุปนิสัย ผลของกรรมระดับนี้สืบเนื่องจาก ระดับที่หนึ่ง คือ เมื่อคุณภาพจิตสูงหรือต่า ก็แสดงออกทางบุคลิก ท่าทาง อุปนิสัย จิตใจ ๓. ระดับ ภายนอกหรือผลทางสังคม ผลของการกระทาในระดับนี้ คือ สิ่งที่มองเห็ น ในชีวิตประจาวัน เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ อันเป็นผลที่เขาได้รับในสังคมที่เขาอยู่
20
๑๗
วิตก หมายถึง ความคิด ความนึกคิด หรือดาริ ประกอบด้วย กุศลวิตก ๓ และอกุศลวิตก ๓ ได้แก่ ๑. กุศลวิตก ๓ หมายถึง ความนึกคิดที่ดีงาม ประกอบด้วย ๑.๑ เนกขัมมวิตก หมายถึง ความนึกคิดในทางเสียสละ ความนึกคิดที่ปลอดจาก กาม คือ ไม่ติดในการปรนเปรอสนองความอยากของตน ๑.๒ อพยาบาทวิตก หมายถึง ความนึกคิดที่ปลอดจากการพยาบาท หรือความ นึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา คือไม่คิดขัดเคืองหรือพยาบาทมุ่งร้ายบุคคลอื่น ๑.๓ อวิหิงสาวิตก หมายถึง ความนึกคิดที่ปลอดจากการเบียดเบียน ความนึกคิด ที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทาลาย ๒. อกุศลวิตก ๓ หมายถึง ความนึกคิดในสิ่งที่ไม่ดีประกอบด้วย ๒.๑ กามวิตก หมายถึง ความนึกคิดในทางกาม หรือความนึกคิดในทางแสวงหา หรือพัวพันติดข้องในสิ่งที่สนองความอยาก ๒.๒ พยาบาทวิ ต ก หมายถึ ง ความนึ กคิ ด ที่ ป ระกอบด้ ว ยความขั ด เคื อ งหรื อ พยาบาทมุ่งร้าย ๒.๓ วิหิงสาวิตก หมายถึง ความนึกคิดในทางเบียดเบียน หรือความนึกคิดในทาง ทาลาย มุ่งร้าย หรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น จะเห็ น ว่ า หลั ก ของอกุ ศ ลวิ ต กทั้ ง ๓ เป็ น หลั ก ที่ ค วรละเสี ย เพราะเป็ น สาเหตุ ก่อให้เกิดความทุกข์
21
๑๘
ภาพที่ ๕ การเจริญภาวนา ที่มา http://www.kalyanamitra.org สืบค้นเมือ่ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ภาวนา ๔ ภาวนา หมายถึง การเจริญ การทาให้เป็นให้มีขึ้น การฝึกอบรมหรือ การพัฒนา ประกอบด้วย ๑. กายภาวนา แปลว่า พัฒนากาย ได้แก่ การพัฒนาร่างกายให้แข็งแรงไร้โรค มีสุขภาพดีและที่สาคัญก็คือ การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพเริ่มแต่ ปั จ จั ย ๔ เป็ น ต้น ไป อย่ างถูกต้ องดีงาม ในทางที่ เป็ น คุณ ประโยชน์ เช่น สั มพั นธ์ กั บ อาหารโดยการกินเพื่อช่วยให้ร่างกายมีกาลัง มีสุขภาพดี ไม่ใช่เพื่อมุ่งความอร่อยอวดโก้ แสดงฐานะ สั ม พั น ธ์กับ โทรทั ศ น์ โดยดู เพื่ อ ติด ตามข่าวสารแสวงหาความรู้ ส่ งเสริม ปัญญา มิใช่เพื่อหมกมุ่นในความสนุกสนานเพลิดเพลินหรือเอาเป็นเครื่องมือในการเล่น การพนัน เป็นต้น ๒. ศีล ภาวนา แปลว่า การพั ฒ นาศีล หมายถึง การพัฒ นาความสั มพั นธ์กับ สิ่งแวดล้อมทางสังคมให้เป็นไปด้วยดี เริ่มแต่ไม่ก่อการเบียดเบียนไม่ทาความเดือดร้อน ต่อผู้อื่นและสังคม ประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อผู้อื่นและต่อสังคม มีระเบียบ วินัยประกอบสัมมาชีพด้วยความขยันหมั่นเพียร ฝึกฝนอบรมกายวาจาของตนให้ประณีต ปราศจากโทษ ก่อคุณประโยชน์และเป็นเครื่องสนับสนุนการฝึกอบรมจิตใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป
22
๑๙
๓. จิตภาวนา แปลว่า พัฒนาจิต คือ พัฒนาจิตใจ ให้มีคุณสมบัติดีงามพรั่งพร้อม ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น ๓ ด้านดังนี้คือ ๓.๑ คุณ ภาพจิต คือ ให้ มีคุณ ธรรมต่างๆที่ เสริมสร้างจิตใจให้ ดีงาม เป็ น ผู้ มี จิ ต ใจสู ง ละเอี ย ดอ่ อ น เช่ น มี เ มตตา มี ค วามรั ก ความเป็ น มิ ต ร มี ก รุ ณ า อยากช่ ว ยเหลื อปลดเปลื้ อ งความทุ ก ข์ ของผู้ อื่ น มี จ าคะ คื อ มี น้ าใจเผื่ อแผ่ มี ค ารวะ มีความกตัญญู รวมทั้งมุ่งพัฒนาบุคคลให้มีจิตที่มีคุณภาพ เป็นต้น ๓.๒ สมรรถภาพจิต คือ จิตที่มีความสามารถ เช่น มีสติ มีวิริยะ คือ ความเพียร ขันติ คือ มีความอดทน มีสมาธิ คือ จิตตั้งมั่นแน่วแน่ มีสั จจะ คือ มีความ จริงจัง มีอธิษฐาน คือ ความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ต่อจุดมุ่งหมาย เป็นจิตใจที่พร้อมและเหมาะ ที่จะใช้งานโดยเฉพาะงานทางปัญญา คือการคิดพิจารณาให้เห็นความจริงแจ่มแจ้งชัดเจน รวมทั้งการสร้างเกราะป้องกันโดยอาศัยหลักธรรมต่างๆดังกล่าว ๓.๓ สุขภาพจิต คือ ให้เป็ นจิตที่มีสุขภาพดี มีความสุขสดชื่น ร่าเริง เบิ ก บาน ปลอดโปร่ ง สงบ ผ่ อ งใส พร้อ มที่ จ ะยิ้ ม แย้ ม ได้ มี ปิ ติ ปราโมทย์ ไม่ เครี ย ด ไม่กระวนกระวายใจ ไม่คับข้องใจ ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง ไม่หดหู่โศกเศร้า รวมทั้งการสร้าง ให้มีสุขภาพจิตที่ดีได้ เป็นต้น ๔. ปั ญ ญาภาวนา หมายถึ ง การพั ฒ นาปั ญ ญา ท าตนเป็ น ผู้ มี ค วามใฝ่ รู้ หมั่น ศึกษาหาความรู้และสามารถใช้ความรู้นั้น แก้ไขปัญ หาชีวิตของตนเองและสร้าง ประโยชน์แก่สังคมได้
23
๒๐
พระสัทธรรม หมายถึง ธรรมอันดี ธรรมที่แท้ ธรรมของสัตบุรุษ ประกอบด้วย ๑. ปริยัติสัทธรรม ได้แก่ ส่วนแห่งพุทธบัญญัติ ที่ทรงวางไว้เป็นพุทธอาณา เพื่อบังคับและ ควบคุมความประพฤติของพุทธบริษัททั้งหลาย ซึ่งได้แก่ คาสอนทั้งหมดที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฏก และพระอภิธรรมปิฏ กหลักเหล่ านี้ เป็ นเรื่องที่จะต้องศึกษาให้รู้ให้ เข้าใจ จนสามารถเข้าใจคาสอน เหล่านั้น ๒. ปฏิบัติสัทธรรม ได้แก่ การนาคาสั่งและคาสอนเหล่านั้น มาลงมือประพฤติปฏิบัติ เช่น การสารวมระวังตามสิกขาบทที่พระพุทธเจ้ าทรงบัญ ญัติไว้เพื่อละสิ่งที่เป็นบาปเป็นอกุศลทั้งหลาย มีความโลภ โกรธ ความหลง เป็นต้น ๓. ปฏิเวชสัทธรรม ได้แก่ มรรค ผล นิพพาน กล่าวคือ เมื่อปฏิรูปแล้ว ก็จะได้รับผลที่เกิดขึ้น จากการปฏิ บั ติ ใ นระดั บ ที่ ล ดหลั่ น กั น ไปจนถึ ง ผลสู งสุ ด ด้ ว ยการบรรลุ อ ริ ย มรรค อริ ย ผล เป็นพระอริยบุคคลในทางพระพุทธศาสนา เข้าถึงสภาพที่เรียกว่า นิพพาน อันเป็นการดับเพลิงกิเลส และเพลิงทุกข์
24
๒๑
แบบฝึกกิจกรรม ที่ ๑.๒ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (หลักกรรม นิยาม ๕ – วิตก ๓ –ภาวนา ๔ และพระสัทธรรม ๓ ) คาชี้แจง ให้นักเรียนเติมคาลงในช่องว่างให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์
๑. วิหิงสาวิตก หมายถึงอะไร ....................................................................................................................................................... ๒. อพยาบาทวิตก หมายถึงอะไร ................................................................................................................................ ....................... ๓. อุตุนิยาม สอนให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องอะไร ....................................................................................................................................................... ๔. ผู้ที่กระทาแต่กรรมดี หรือกุศลกรรม จะได้รับผลอย่างไร ....................................................................................................................................................... ๕. จิตตนิยาม สอนให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องอะไร ....................................................................................................................................................... ๖. แก้วรักษาศีล ๘ ทุกวันพระ แสดงว่าแก้วปฏิบัติตาม ภาวนา ๔ ข้อใด ....................................................................................................................................................... ๗. “หว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น”ข้อความนี้หมายความว่าอย่างไร ....................................................................................................................................................... ๘. หลักพระสัทธรรม ๓ เปรียบเทียบได้กับการเดินทางสู่จุดหมายอย่างไร ............................................................................................................................. ......................... ๙. การออกกาลังกายให้มีสุขภาพพลามัยแข็งแรง จัดอยู่ในภาวนา ๔ ข้อใด ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ๑๐. การที่นิดา อ่านหนังสือเรียนทุกคืนก่อนนอน นิดาปฏิบัติตาม ภาวนา ๔ ข้อใด ……………………………………………………………………………………………………………………………………….…
25
๔๖
เฉลยแบบฝึกกิจกรรม ที่ ๑.๒ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (หลักกรรม นิยาม ๕ – วิตก ๓ –ภาวนา ๔ และพระสัทธรรม ๓ ) คาชี้แจง ให้นักเรียนเติมคาลงในช่องว่างให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์
๑. วิหิงสาวิตก หมายถึงอะไร ตอบ การคิดในทางเบียดเบียนทาร้าย เช่น เบียดเบียนรังแกผู้อื่น ๒. อพยาบาทวิตก หมายถึงอะไร ตอบ การนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา เช่น ไม่จองเวรผู้อื่น ๓. อุตุนิยาม สอนให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องอะไร ตอบ สอนให้เข้าใจเกี่ยวกับกฎธรรมชาติของลม ฟ้า อากาศ ฤดูกาล เป็นต้น ๔. ผู้ที่กระทาแต่กรรมดี หรือกุศลกรรม จะได้รับผลอย่างไร ตอบ เป็นที่รักของคนทั่วไปและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ๕. จิตตนิยาม สอนให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องอะไร ตอบ สอนให้เข้าใจ เรื่อง กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทางานของจิต ๖. แก้วรักษาศีล ๘ ทุกวันพระ แสดงว่าแก้วปฏิบัติตาม ภาวนา ๔ ข้อใด ตอบ ศีลภาวนา ๗. “หว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น” ข้อความนี้หมายความว่าอย่างไร ตอบ กรรมนิยามหรือกฎแห่งกรรมเป็นเหตุเป็นผลสอดคล้องกัน เหตุมีเช่นไร ผลย่อมมีเช่นนั้น เปรียบเสมือนเอาเมล็ดพืชพันธุ์ใดเพาะลงในดินก็ย่อมออกมาเป็นพืชเช่นนั้น
26
๔๗
เฉลยแบบฝึกกิจกรรม ที่ ๑.๒ (ต่อ) เรือ่ ง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (หลักกรรม – วิตก ๓ –ภาวนา ๔ และพระสัทธรรม ๓)
๘. หลักพระสัทธรรม ๓ เปรียบเทียบได้กับการเดินทางสู่จุดหมายอย่างไร ตอบ เทียบได้กับการศึกษาเส้นทางและวางแผนการเดินทาง การเดินทางตามแผนการที่วางไว้ และเดินทางถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ เป็นธรรมของสัตบุรุษที่ควรปฏิบัติเพื่อให้ถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ ของชีวิต ๙. การออกกาลังกายให้มีสุขภาพพลามัยแข็งแรง จัดอยู่ในภาวนา ๔ ข้อใด ตอบ กายพัฒนา ๑๐. การที่นิดา อ่านหนังสือเรียนทุกคืนก่อนอน ถือว่านิดาปฏิบัติตาม ภาวนา ๔ ข้อใด ตอบ ปัญญาภาวนา (ถ้านักเรียนตอบนอกเหนือจากนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูผู้สอน)
27
๒๒
ปัญญาวุฒิธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นเครื่องเจริญ หรือธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม เป็นหลักธรรมที่เกื้อกูลต่อการศึกษาเพื่อพัฒนาปัญญาให้เจริญขึ้น ปัญญาวุฒิธรรมประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ๑. คบหาสัตบุรุษ คือ รู้จักไปมาหาสู่คบหากับคนดี คนมีความรู้เพราะสัตบุรุษจะถ่ายทอด วิชาที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ให้ความรู้แก่เราด้วยเจตนาดี ยับยั้งเราเมื่อเราคิดหรือเริ่มจะ ทาความชั่ว ๒. เอาใจใส่ เล่ าเรี ย นหาความจริง คือ หมั่น หาความรู้ด้ ว ยความตั้ งใจจริงและเอาใจใส่ โดยเริ่ ม ศึ ก ษาในสิ่ ง ที่ เราถนั ด และสนใจ จะท าให้ เรามี ค วามรู้ ม ากขึ้ น จนช านาญและเชี่ ย วชาญ การหาความรู้นั้น ควรฝึกฝนด้วยตนเองให้มากที่สุด ๓. ใช้เหตุผลไตร่ตรอง ใช้ความคิดที่ถูกวิธีด้วยเหตุผล ความคิดอ่านของเราจะกว้างขวางเมื่อ ฟังมากอ่านมาก การรับฟังความเห็นหลายๆ ด้าน ย่อมทาให้เรามีความคิดแตกฉานไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ อันมีส่วนช่วยให้ได้รับความรู้จริงที่ถูกต้อง ๔. ปฏิบัติตนตามคลองธรรม คือ ไม่นาความรู้ที่ได้มาไปใช้ให้เกิดในทางทุจริต ความรู้นั้น ถ้าไม่ถู กควบคุม ด้ ว ยคุ ณ ธรรมแล้ ว จะเป็ น อัน ตรายยิ่ง ยิ่ งรู้ม ากยิ่งก่อ อัน ตรายได้ม าก เช่ น ยิ่ งโจร มีความรู้ความเชี่ยวชาญเท่าไร ความเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นจากน้ามือโจรยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น จะเห็นได้ว่า “ปัญญาวุฒิธรรม ๔ ประการ” คือขุมทรัพย์ทางปัญญาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมอบไว้ให้แก่พวกเรา เพื่อเป็นหลักในการเรียนรู้วิชาทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นทั้งทางโลกและทางธรรม ขอเพียงแต่พวกเราตั้งใจศึกษาให้ครบ แล้วลงมือปฏิบัติแล้วความสุขและความเจริญ ในชีวิตย่อมบังเกิด ขึ้นตามมา
28
๒๓
พละ ๕ พละ หมายถึง ธรรมอันเป็นกาลัง เป็นธรรมที่มีกาลังในการปกป้องคุ้มครองจิตใจ ไม่ให้อกุศลเข้ามาครอบงาได้ หรือเป็นเกราะป้องกันจิตไม่ให้กระทาในสิ่งที่ไม่ดีไม่งามทั้งหลาย ประกอบด้วย ๑. ศรั ท ธาพละ หมายถึ ง ความเชื่อ คือ เชื่ อ ในสิ่ งที่ ค วรเชื่ อ เชื่ อ อย่ างมี เหตุ ผ ล เมื่อความเชื่อเกิดขึ้นในใจแล้วย่อมมีพลัง ในการทากุศล ต่อต้านอกุศลมิให้เข้ามารบกวนจิตใจ ได้ จิตใจก็ไม่ตกอยู่ภายใต้ความชั่วร้ายทั้งหลาย เช่น เชื่อว่าทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว ก็เป็นพลังให้ เราทาความดี เป็นต้น ๒. วิริย พละ หมายถึง ความเพี ยร การเพีย รระวังไม่ ให้ ค วามชั่ว หรือ บาปอกุศ ล เกิดขึ้นในใจ เพียรลด ละ เลิกต่อความชั่วทั้งหลาย เพียรทาความดีและเพียรรักษาความดีให้ คงอยู่และเพิ่มพูนงอกงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป ความเพียรนี้จึงเป็นพลังในการต่อต้านอกุศลกรรมที่เข้า มารบกวนจิตใจได้เป็นอย่างดี ๓. สติพ ละ หมายถึง ความระลึ กได้ การมีสติ คือ การระลึกได้ก่อนคิด ก่อนพู ด ก่อนทาอะไรก็ตาม เป็นคุณธรรมที่ทาให้เกิดความรอบคอบ ไม่หลงลืม ไม่หลงไหล ไม่ลืมตัว บุคคลประกอบกิจการใด ๆ โดยใช้สติเป็นผู้กากับ ก็จะไม่เกิดความผิดพลาดได้ง่าย ดังนั้นสติ จึ งเป็ น พลั งต่ อ ต้ านไม่ ให้ บุ ค คลเกิ ด ความประมาท ไม่ ก่ อ ให้ เกิ ด ความผิ ด พลาด หรื อ เกิ ด อุบัติเหตุต่าง ๆ ได้ ๔. สมาธิพละ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต สามารถบังคับจิตใจให้แน่วแน่อยู่กับเรื่อง หนึ่ งได้ น าน ๆ ไม่ ว อกแวก ฟุ้ งซ่ าน สมาธิมี ค วามส าคัญ ต่ อการปฏิ บั ติธ รรมเพื่ อ ให้ บ รรลุ ถึงความสุขหรือนิพพานเป็นอย่างยิ่ง ๕. ปัญญาพละ คือ ความรอบรู้ ความรู้แจ้ง ความรู้จริง คือรู้ว่าอะไรควรทาไม่ควรทา อะไรผิดอะไรถูก เป็นต้น เมื่อมีความรอบรู้เกิดขึ้น ปัญญาจึงเป็นพลังต่อต้านความหลง ความ โง่เขลา มิให้เกิดขึ้นกับจิตใจได้
29
๒๔
อุบาสกธรรม ๕ อุบ าสกธรรม หมายถึง ธรรมของอุบาสกที่ดี ดังนั้น การเป็นอุบาสกที่ดีควร ปฏิบัติตามหลักอุบาสกธรรม ๕ ซึ่งประกอบด้วยหลักธรรม ๕ ประการดังนี้ ๑. มีศรัทธา มีความเชื่อตามหลักธรรมคาสอนของพระพุทธศาสนา มีความเชื่อ ต่อพระรัตนตรัย และประพฤติปฏิบัติตนตามความเชื่อเหล่านั้น ๒. รักษาศีล คือการปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีตามหลักพระพุทธศาสนา เช่น การปฏิบัติตามหลักศีล ๕ เป็นต้น ๓. ไม่เชื่อโชคลาง เชื่อหลักกรรม เชื่อในกฎแห่งกรรม ไม่เชื่อมงคล คือ มุ่งหวัง ผลจากการกระท าและการงานที่ ท า มิ ใช่ ห วังผลจากโชคลางและตื่ น ต่อ สิ่ งศัก ดิ์สิ ท ธิ์ ของขลังทั้งหลาย ๔. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอก หลักคาสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอก หลักพระพุทธศาสนา ยึดมั่นในการทาบุญตามหลักพระพุทธศาสนา ๕. เอาใจใส่ ท านุ บ ารุ งพระพุ ท ธศาสนา คื อ เข้ าไปมี ส่ ว นร่ว มในทางปฏิ บั ติ พิธีกรรมทางศาสนา บูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน เพราะถ้าเราไม่ช่วยกันดูแลเอาใจใส่ พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมโทรมลง
30
๒๕
แบบฝึกกิจกรรม ที่ ๑.๓ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (ปัญญาวุฒิธรรม๔- พละ๕-และอุบาสกธรรม๕ ) คาชี้แจง ให้นักเรียนเติมคาลงในช่องว่างให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์ ๑. อุบาสกธรรม หมายถึงอะไร ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ๒. เหตุใดคนที่มีสติพละ จึงทาอะไรที่มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด …………………………………………………………………………………………………………………………………………. ๓. การไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอก หมายความว่าอย่างไร …………………………………………………………………………………………………………………………………………. ๔. พลังทีต่ ่อต้านความโง่ ความหลง ในหลักพละ ๕ คืออะไร ………………………………………………………………………………………………………………………………………… ๕. การไม่นาความรู้ไปใช้ในทางทุจริตเป็นการปฏิบัติตาม ปัญญาวุฒิธรรม ๔ ในข้อใด …………………………………………………………………………………………………………………………………………. ๖. เหตุใด ผู้ที่มีความรู้ความสามารถจึงต้องมีคุณธรรมคอยกากับพฤติกรรมต่างๆ .......................................................................................................................................................... ๗. ศรัทธา ตามหลักพละ ๕ หมายถึงอะไร …………………………………………………………………………………………………………………………………………. ๘. การคบหาสัตบุรุษและบัณฑิตจะนานักเรียนไปสู่ความเจริญตามหลักธรรมปัญญาวุฒิธรรม ๔ ได้อย่างไร …………………………………………………………………………………………………………………………………………. ๙. แก้วบริจาคเงินซ่อมแซมอุโบสถ แสดงว่าแก้วปฏิบัติตามหลักธรรมเรื่องใดในอุบาสกธรรม ๕ ………………………………………………………………………………………………………………………………………. ๑๐. ขวัญชอบทาน ขนมหวาน จึงพยายามคิดค้นสูตรและเปิดร้านขายขนมจนร่ารวยแสดงว่า ขวัญปฏิบัติตามหลักธรรมเรื่องใดในปัญญาวุฒิธรรม ๔ ……………………………………………………………………………………………………………………………………….
31
๔๘
เฉลย แบบฝึกกิจกรรม ที่ ๑.๓ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (ปัญญาวุฒิธรรม๔- พละ๕-และอุบาสกธรรม๕ ) คาชี้แจง ให้นักเรียนเติมคาลงในช่องว่างให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์
๑. อุบาสกธรรม หมายถึงอะไร ตอบ ธรรมของอุบาสกที่ดี ๒. เหตุใดคนที่มีสติพละ จึงทาอะไรที่มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ตอบ เพราะใช้สติกากับและสติเป็นพลังต่อต้านไม่ให้เกิดความประมาท ๓. การไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอก หมายความว่าอย่างไร ตอบ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา ยึดมั่นในการทาบุญตามหลัก พระพุทธศาสนา ๔. พลังทีต่ ่อต้านความโง่ ความหลง ในหลักพละ ๕ คืออะไร ตอบ ปัญญาพละ ๕. การไม่นาความรู้ไปใช้ในทางทุจริตเป็นการปฏิบัติตาม ปัญญาวุฒิธรรม ๔ ในข้อใด ตอบ ปฏิบัติตนตามคลองธรรม ๖. เหตุใด ผู้ที่มีความรู้ความสามารถจึงต้องมีคุณธรรมคอยกากับพฤติกรรมต่างๆ ตอบ เพราะผู้ที่มีความรู้ ความสามารถนั้นอาจใช้ความรู้ความสามารถของตนไปในทางที่ผิด หรือทางทุจริต อันจะนามาซึ่งความเดือดร้อนในสังคมส่วนรวม ดังนั้นผู้ที่มีความรู้จึงควรมีคุณธรรม คอยกากับพฤติกรรม
32
๔๙
เฉลย แบบฝึกกิจกรรม ที่ ๑.๓ (ต่อ) เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (ปัญญาวุฒิธรรม๔- พละ๕-และอุบาสกธรรม๕ )
๑. ศรัทธา ตามหลักพละ ๕ หมายถึงอะไร ตอบ การเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ และเชื่ออย่างมีเหตุผล ๒. การคบหาสัตบุรุษและบัณฑิตจะนานักเรียนไปสู่ความเจริญตามหลักธรรมปัญญาวุฒิธรรม ๔ ได้อย่างไร ตอบ เพราะสัตบุรุษจะถ่ายทอดวิชาที่เป็นประโยชน์ในการเรียน การดารงชีวิตและการประกอบ อาชีพด้วยเจตนาดี ๓. แก้วบริจาคเงินซ่อมแซมอุโบสถ แสดงว่าแก้วปฏิบัติตามหลักธรรมเรื่องใดในอุบาสกธรรม ๕ ตอบ แก้วปฏิบัติตามหลักอุบาสกธรรม ๕ ในข้อ เอาใจใส่ทานุบารุงพระพุทธศาสนา ๔. ขวัญชอบทาน ขนมหวาน จึงพยายามคิดค้นสูตรและเปิดร้านขายขนมจนร่ารวยแสดงว่าขวัญ ปฏิบัติตามหลักธรรมเรื่องใดในปัญญาวุฒิธรรม ๔ ตอบ เอาใจใส่เล่าเรียนหาความจริงเพราะขวัญศึกษาค้นคว้าจนมีความรู้ ในการทาขนมขาย (ถ้านักเรียนตอบนอกเหนือจากนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูผู้สอน)
33
๒๖
มงคล ๓๘ เป็ น หลั ก ธรรมที่ ค วรศึ ก ษาในทางพระพุ ท ธศาสนา เพราะเป็ น ธรรมที่ น ามา ซึ่ ง ความสุ ข ความเจริ ญ แต่ ใ นที่ นี้ จ ะขอกล่ า วถึ ง มงคล ๓๘ ในหั ว ข้ อ การสงเคราะห์ บุ ต ร, การสงเคราะห์ภรรยาและมีความสันโดษ
ภาพที่ ๖ บิดา - มารดา ที่มา http://www. .kalyanamitra.org สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
สงเคราะห์บุตร ในการอบรมเลี้ยงดูบุตร โดยหลักพื้นฐานเริ่มจากบิดามารดาเป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้นาและเป็นผู้ส่องแสงสว่างให้กับบุตรธิดาท่านยกให้บิดามารดาเป็นเหมือน ทิศตะวันออก คือทิศที่ พระอาทิตย์ ขึ้น ซึ่งมีความส าคัญ มาก คือดวงอาทิตย์ขึ้น มาก็ส่ องแสงสว่างนาทาง การดาเนินชีวิตของคนและสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้นชีวิตของลูก บิดามารดาก็เป็นแบบอย่างและให้ แสงสว่าง คือให้ ความรู้ ความเข้ าใจ แนะน าวิธีการด าเนิน ชีวิต และให้ แม้ แ ต่ชีวิตของลู ก พระพุทธเจ้าทรงแสดงฐานะของพ่อแม่ไว้ว่า ๑. เป็นพระพรหม เป็นผู้ให้กาเนิด เป็นผู้สร้างชีวิตให้กับลูก แล้วก็เป็นผู้เลี้ยงลูก ๒. เป็ น บู รพาจารย์ ของลู ก คือ เป็น ครูอาจารย์คนแรก สอนทุ กอย่างที่ใช้ในการ ดาเนินชีวิต หรือเป็นพื้นฐานในการดาเนินชีวิตได้ด้วยตนเองต่อไป ๓. เป็นอาหุไนยบุคคลของลูก หมายถึงบิดามารดาเป็นอรหันต์ของลูก คือ มีคุณธรรม มีจิตใจที่บริสุทธิ์ต่อลูก รักลูกด้วยใจจริง ไม่มีอะไรเคลือบแฝง
34
๒๗
ในฐานะที่เป็นบิดามารดา พึงรู้จัก บุตร ๓ ประเภท และให้การศึกษาอบรมให้เป็น บุตรชนิดที่ดีที่สุดคือ ๑) อภิชาตบุตร คือบุตรที่ยิ่งกว่าบิดามารดา ดีเลิศกว่าบิดามารดา ๒) อนุชาตบุตร คือ บุตรที่ตามเยี่ยงอย่างบิดามารดา เสมอด้วยบิดามารดา ๓) อวชาตบุตร คือบุตรที่ต่าลงกว่าบิดามารดา เสื่อมทรามทาลายวงศ์ตระกูล บิ ด ามารดาพึ งอนุ เคราะห์ บุ ตรธิดาตามหลั กปฏิบั ติในฐานะที่บิ ดามารดา เป็นเสมือน “ทิศเบื้องหน้า ดังนี้ ๑) ห้ามปรามป้องกันจากความชั่ว บิดามารดาต้องคอยอบรมสั่งสอน ตักเตือนและ สอดส่ อ งดู แ ลและป้ อ งกั น ไม่ ให้ ลู ก ของตนเองมี ค วามประพฤติ ป ฏิ บั ติ ไปในทางที่ ไม่ ดี ไม่เหมาะสม และหลีกหนีจากความชั่วทั้งปวง ๒) ดูแลฝึกอบรมให้ลูกตั้งอยู่ในความดี บิดามารดามีความรักความปรารถนาดีต่อลูก อย่างเปี่ยมล้น การอบรมสั่งสอนตักเตือนจึงเป็นหน้าที่หลักของบิดามารดา โดยหวังให้ ลูก มีความประพฤติปฏิบัติไปในทางที่ดีที่งามมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตและปรารถนาให้ลูก มีความสุขในชีวิตในที่สุด ๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา บิดามารดาปรารถนาให้ลูกมีความรู้ มีวิชาชีพติดตัวสามารถ นาเอาความรู้ในวิชาชีพ ไปประกอบอาชีพได้ซึ่งเพียงหวังให้ลูกสามารถพึ่งตนเอง และสร้าง ฐานะของตนเองและครอบครัว ให้มีความเจริญก้าวหน้าตลอดไป ไม่ใช่หวังพึ่งบิดามารดา ตลอดไป ซึ่งหากบิดามารดาเสียชี วิตลูก ๆ ก็ไม่สามารถจะพึ่งพิงตนเองได้ ดังนั้นบิดามารดา จึงส่งเสริมลูกของตนเองให้ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ๔) เป็ นธุระในเรื่องจะมีคู่ครองที่สมควร บิดามารดาคอยให้คาแนะนาสั่งสอนลู ก เกี่ย วกั บ การเลื อกคู่ ครองให้ ถูกต้องและเหมาะสมรวมทั้ งให้ ลู กปฏิบั ติตามจารีตประเพณี ของสั งคม ไม่ คิด ชิ งสุ กก่ อนห่ าม หมายถึง ไม่ มี เพศสั มพั น ธ์กับ คู่ ค รองของตนเองก่ อนวั ย อันควรหรือก่อนที่จะแต่งงานกัน เป็นต้น ๕) มอบทรั พ ย์ ส มบั ติ ใ ห้ เมื่ อ มี โ อกาส การมอบทรั พ ย์ ส มบั ติ ใ ห้ ลู ก ตามโอกาส อัน เหมาะสม เช่น ช่วยเหลือโดยมอบทรัพย์ส มบัติให้ ลูกในขณะที่กาลั งตั้งตัว หรือเริ่มต้น ชี วิ ต คู่ เพื่ อ เป็ น ทุ น ทรั พ ย์ ใ นการด าเนิ น ชี วิ ต ครอบครั ว ในอนาคตและการมอบมรดก เป็นพินัยกรรมให้กับลูก ๆ อย่างยุติธรรม เมื่อบิดามารดาเสียชีวิตแล้ว
35
๒๘
มงคล 38 : สงเคราะห์ภรรยา
ภาพที่ ๗ สามี – ภรรยา ที่มา http://www.seesketch.com สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
คู่ ค รองที่ ดี จะเป็ น คู่ ร่ ว มชี วิ ต กั น ได้ นอกจากกามคุ ณ แล้ ว ควรมี คุ ณ สมบั ติ แ ละ ประพฤติตามข้อปฏิบัติ ดังนี้ ก. คู่สร้างคู่สม มีหลักธรรมของคู่ชีวิต ที่จะทาให้คู่สมรสมีชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนกันเป็น พื้นฐานอันมั่นคงที่จะทาให้อยู่ครองกันได้ยืดยาว เรียกว่า สมชีวิธรรม ๔ ประการ คือ ๑. สมสัทธา คือมีศรัทธาสมกัน หมายถึง เคารพนับถือในลัทธิศาสนา สิ่งเคารพบูชา แนวความคิ ด ความเชื่ อ ถือ หรือ หลั กการต่ าง ๆ ตลอดจนแนวความสนใจอย่างเดี ยวกั น หนักแน่นเสมอกัน หรือปรับเข้าหากัน ลงกันได้ ๒. สมสีล า คือมีศีลสมกัน หมายถึง มีความประพฤติ ศีล ธรรม จรรยา มารยาท พื้นฐานการอบรม พอเหมาะ สอดคล้องไปกันได้ ๓. สมจาคา คือมีจาคะสมกัน หมายถึง มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความโอบอ้อมอารี ความมี ใจกว้ าง ความเสี ย สละ ความพร้ อ มที่ จ ะช่ ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล ผู้ อื่ น พอกลมกลื น กั น ไม่ขัดแย้งบีบคั้นกัน ๔. สมปัญญา คือมีปัญญาเสมอกัน หมายถึง รู้เหตุรู้ผล เข้าใจกัน อย่างน้อย พูดกันรู้เรื่อง
36
๒๙
ข. คู่ ชื่ น ชมคู่ ร ะก า หรื อ คู่ บุ ญ คู่ ก รรม คื อ คู่ ค รองที่ มี คุ ณ ธรรม ลั ก ษณะนิ สั ย ความประพฤติปฏิบัติการแสดงออกต่อกัน ที่ทาให้เกื้อกูลกันหรือถูกกันก็มี ต้องยอมทนกัน หรืออยู่กันอย่างขมขื่น ก็มีในกรณีนี้ท่านแสดงสามีและภรรยาประเภทต่างๆไว้ ๗ ประการคือ ๑. วธกภัส ดา และ วธกาภริยา คือ สามีและภรรยาเหมือนเพชฌฆาต หมายถึง คู่ครองที่มิได้อยู่กินด้วยความพอใจ ดูหมิ่น และคิดทาลายซึ่งกันและกัน ๒. โจรภัสดา และ โจรีภริยา คือ สามีและภรรยาเหมือนโจร หมายถึง คู่ครองชนิดที่ ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ ๓. อัยยภัสดา และ อัยยาภริยา คือ สามีและภรรยาเหมือนนาย หมายถึง คู่ครอง ที่เกียจคร้าน ไม่ใส่ใจการงาน ปากร้าย หยาบคาย ชอบข่มขู่ซึ่งกันและกัน ๔. ปิ ต าภั ส ดา และ มาตาภริย า คื อ สามี เหมื อนบิ ด าและภรรยาเหมื อ นมารดา หมายถึง การให้ความเคารพ การให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีความหวังดี คอยห่วงใย เอาใจใส่ ต่อกัน ช่วยกันหาทรัพย์และรู้จักประหยัดอดออม ๕. ภาตาภัสดา และ ภคินีภริยา คือ สามีเหมือนพี่ชาย และภรรยาเหมือนน้องสาว หมายถึง สามีให้ความรักความเอ็นดู ให้การปกป้องดูแล คอยระมัดระวังภัยให้ ส่วนภรรยา ให้ความเคารพรักสามีดุจดังน้องรักพี่ มีใจอ่อนโยน รู้จักเกรงใจ มักคล้อยตามสามี ๖. สขาภัสดา และ สขีภริยา คือ สามีและภรรยาเหมือนเพื่อน หมายถึง การปฏิบัติ ต่อกันเหมือนเพื่อน มีจิตใจภักดีซื่อตรงต่อกัน ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน รู้จักการวางตัวให้เหมาะสม มีความประพฤติดี มีกิริยามารยาทที่ดีงาม และเป็นคู่คิดคู่ใจ ๗. ทาสภัสดา และทาสีภริยา คือ สามีและภรรยาเหมือนคนใช้ หมายถึง การให้ ความช่วยเหลือหน้าที่การงานซึ่งกันและกัน ไม่เกี่ยงว่าเป็นงานผู้หญิงหรืองานผู้ชาย มีความ อดทน อดกลั้นต่อกัน ไม่แสดงความโกรธก้าวร้าวรุนแรงต่อกัน ท่านสอนให้ภรรยาสารวจตน ว่า ที่เป็นอยู่ ตนเป็นภรรยาประเภทไหน ถ้าจะให้ดี ควรเป็นภรรยาประเภทใด สาหรับชาย อาจใช้เป็นหลักสารวจอุปนิสัยของตนว่าควรแก่หญิงประเภทใดเป็นคู่ครอง และสารวจหญิง ที่จะเป็นคู่ครองว่าเหมาะกับอุปนิสัยตนหรือไม่
37
๓๐
การมีความสันโดษ มงคลภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า สันตุฏฐี แปลว่า ความสันโดษ เอตัมมัง คะละมุตตะ มัง แปลว่าเป็ น มงคลอย่ างยิ่ ง “ความสั น โดษ” หมายถึง ความยิน ดี ด้ว ยพั ส ดุ หรือ ฐานะ ของตนที่มีอยู่ ไม่ดิ้นรนทะเยอทะยานอยากในสิ่งที่ยังไม่มาถึงมากจนเกินไป รักษาใจไม่ให้ ความโลภเข้าครอบงา ความสันโดษยังหมายถึงความพอใจที่จะได้ทาการงานอย่างเต็มกาลังความสามารถ มิใช่ความเกียจคร้านเฉื่อยชาและมิใช่การหลีกหนีจากสังคมไปอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่เป็นธรรม ที่ทาให้บุคคลเข้าใจตนเอง จิตใจสงบเพราะรู้จักพอ คนที่มีความสันโดษจึงเป็นคนที่ทางาน เต็มกาลังความสามารถ และพอใจในผลงานของตนเอง ลักษณะของความสันโดษ จาแนกได้ ๓ ประการ คือ ๑) ให้ ยิน ดีตามที่ได้ คือมีอย่างใดใช้อย่างนั้น หรือเป็นอยู่อย่างใดพอใจอย่างนั้น หมายถึง สิ่งใด ๆ ก็ตามที่ได้มาด้ว ยความเพียรพยามยามของตนเองและด้ว ยความสุ จริต ก็มีความพอใจกับ สิ่งนั้ น ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่นและไม่คิดริษยาคนอื่นด้ว ย เรียกว่า “ยถาลาภสันโดษ” ๒) ให้ประมาณกาลังกายถึงแม้จะได้มาโดยชอบแต่ถ้าเกินกาลังหรือไม่เป็น ที่สบาย แก่ตนก็ไม่ป รารถนา หมายถึง ยินดีตามกาลังหรือตามควรแก่สมรรถภาพ ซึ่งคนแต่ล ะคน มีกาลังและความสามารถไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ย่อมไม่เท่ากัน เรียกว่า “ยถาพลสันโดษ” ๓) ให้รู้ฐานะของตนตามคุณานุรูปตลอดถึงความสามารถ แม้ถึงมีทางได้โดยสะดวก แต่ถ้าเห็นเกินฐานะย่อมยับยั้ง หมายถึง ยินดีตามสมควร มีความยินดีและพอใจตามสมควร แก่ฐานะและภาวะของตนเอง เรียกว่า “ยถาสารุปปสันโดษ”
38
๓๑
๒. ลักษณะของผู้มีสันโดษ ๑) เป็นผู้แสวงหาเครื่องเลี้ยงชีพด้วยความเพียรและปัญญาตามความ เหมาะสมกับภาวะของตนและเท่าที่เป็นความชอบธรรม ๒) เป็ น ผู้ ที่ไม่อยากได้ของผู้อื่น หรือของที่ได้มาด้วยความฉ้อฉลไม่ทาการ ทุจริตเพราะปากท้องและผลประโยชน์ส่วนตัว ๓) เมื่อหามาได้และใช้สอยสิ่งเหล่านั้น ก็ไม่ติด ไม่หมกมุ่นมัวเมา ๔) เมื่อทาสุดกาลังแล้วไม่ได้ ไม่สาเร็จ ก็ไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย ไม่ยอม ให้ความผิดหวังครอบงา ยังคงปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อไปได้ ๕) ไม่ถือเอาสิ่งที่ตนหามาได้ทั้งสมบัติหรือผลสาเร็จในงานมายกตนข่มผู้อื่น ๖) หาความสุขได้จากสิ่งที่เป็นของตน ตามสิทธิที่จะพึงได้ที่ตนเข้าถึง ในขณะนั้น ๆ ๗) มีความภูมิใจในความสาเร็จที่เกิดจากกาลังงานของตนมีความอดทนยินดี รอคอยผลสาเร็จแม้น้ อย ที่เกิดจากน้าพักน้าแรงของตน ไม่ยินดีผ ลแม้มากที่เกิดจาก ความไม่ชอบธรรม ๘) มีความรักและภักดีในหน้าที่การงานของตน มุ่งหน้าปฏิบัติหน้าที่การงาน ให้ก้าวหน้า
39
๓๒
แบบฝึกกิจกรรม ที่ ๑.๔ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (มงคล ๓๘ สงเคราะห์บุตร-สงเคราะห์ภรรยาและการมีความสันโดษ) คาชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่ข้อความที่มีความสัมพันธ์กันให้ถูกต้อง คาตอบ
ข้อความ .............๑. อภิชาตบุตร .............๒. อวชาตบุตร .............๓. สมสัทธา .............๔. วธกภัสดา .............๕. ปิตาภัสดา ………….๖. มงคล ..............๗. สันตุฏฐี ..............๘. ยินดีตามที่ได้ ..............๙. ยถาพลสันโดษ ..............๑๐.รูฐ้ านะของตน
ก. ข. ค. ง. จ. ฉ. ช. ซ. ฌ. ญ. ฎ. ฏ.
ธรรมที่นามาซึ่งความสุขความเจริญ ยถาสารุปปสันโดษ ความสันโดษ ยถาลาภสันโดษ สามีและภรรยาเหมือนเพชฌฆาต การประมาณกาลังกาย สามีเหมือนบิดาและภรรยาเหมือนมารดา มีศรัทธาสมกัน บุตรที่ดีเลิศกว่าบิดามารดา มีศีลสมกัน บุตรที่ต่าลงกว่าบิดามารดา มีปัญญาสมกัน
40
๕๐
เฉลยแบบฝึกกิจกรรม ที่ ๑.๔ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (มงคล ๓๘ สงเคราะห์บุตร-สงเคราะห์ภรรยาและการมีความสันโดษ) คาชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่ข้อความที่มีความสัมพันธ์กันให้ถูกต้อง
ข้อความ .........ฌ.......๑. .........ฎ.......๒. .........ซ.......๓. .........จ.......๔. .........ช.......๕. ……....ก........๖. ...........ค......๗. ...........ง......๘. ...........ฉ......๙. ...........ข.....๑๐.
อภิชาตบุตร อวชาตบุตร สมสัทธา วธกภัสดา ปิตาภัสดา มงคล สันตุฏฐี ยินดีตามที่ได้ ยถาพลสันโดษ รู้ฐานะของตน
41
๓๓
แบบฝึกกิจกรรม ที่ ๑.๕ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (มงคล ๓๘ สงเคราะห์บุตร-สงเคราะห์ภรรยาและการมีความสันโดษ) คาชี้แจง ให้นักเรียนศึกษากรณีตัวอย่างแล้วเติมคาลงในช่องว่างให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์ กรณีตัวอย่างที่ ๑
เด็กชายแก้ว เกิดในครอบครัวที่มีฐานะยากจน บิดาเสียชีวิต มารดาก็มีอาชีพรับจ้าง ชอบดื่ม สุ ร าเป็ น ประจ า เด็ ก ชายแก้ ว อยากเรี ย นหนั ง สื อ เหมื อ นเพื่ อ นแต่ ไม่ มี โ อกาส จึ ง ตั ด สิ น ใจบวช เป็นสามเณรเพื่อจะได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ขณะที่แก้วบวชเป็นสามเณร มารดาก็ดื่มสุรามากขึ้น เรื่อยๆ จนเริ่มป่ วยและขาดสติสั มปชัญ ญะ แต่ญ าติไม่อยากให้ เณรต้องสึ กออกมา จึงปิดเรื่องนี้ ไว้ เป็นความลับ ต่อมาวันหนึ่งขณะที่เณรแก้วออกเดิน บิณฑบาตก็พบมารดาของตนเอง เสียสติ ร่างกาย เปลือยเปล่าเดินตามถนน สามเณรจึงนาผ้าเหลืองไปห่มให้มารดา จากกกรณี ตัวอย่าง สามเณรแก้ว จัดเป็นบุตรประเภทใด ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………
42
๓๔ กรณีตัวอย่างที่ ๒
กล้ า เป็ น บุ ต รที่ บิ ด ามารดา อบรมเลี้ ย งดู ด้ ว ยความรัก เอาใจใส่ ให้ ก ารศึ ก ษาเป็ น อย่ า งดี แต่กล้าเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเองและติดเพื่อนมาก เพื่อนชักชวนให้ลองเสพยาเสพติดกล้าก็คล้อยตาม บิดา มารดา ห้ามปรามก็ไม่ฟัง เมื่อเสพยาก็ขาดสติ ทาร้ายมารดา จากกรณี ตัวอย่าง กล้า จัดเป็น บุตรประเภทใด ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………
กรณีตัวอย่างที่ ๓
ศักดิ์และแย้มแต่งงานเป็นสามี-ภรรยากัน อยู่ด้วยกันมา ๓ ปี ศักดิ์เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี ตั้งใจทามาหากิน หาเงินมาให้ภรรยาใช้จ่าย แต่ แย้มมักจะนาเงินที่ศักดิ์หามาได้ไปเล่นการพนัน เงินที่ ศักดิ์หามาได้ก็ไม่พอใช้จ่าย จนเป็นหนี้สินมากมาย จากกรณีตัวอย่าง แย้ม เป็นภรรยาประเภทใด ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………
43
๓๕
กรณีตัวอย่างที่ ๔
ชาติ แ ละน้ อ ย แต่ งงานเป็ น สามี ภ รรยากั น ชาติ เป็ น หั ว หน้ าครอบครั ว ที่ ดี ท างานหาเงิ น มาจุนเจือครอบครัว ส่วนน้อยเป็นแม่บ้านดูแลความเรียบร้อยภายในบ้าน แต่น้อยมีนิสัยเกียจคร้าน ไม่ชอบทางานบ้าน และชอบใช้คาพูดไม่สุภาพกับสามี จากกรณีตัวอย่าง น้อย เป็นภรรยาประเภทใด ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………
กรณีตัวอย่างที่ ๕
เก่งและแจง แต่งงานกันด้วยความไม่เต็มใจถูกผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายบังคับ จึงจาใจต้องแต่งงาน อยู่ด้วยกัน เก่งและแจงจึงชอบใส่ร้ายป้ายสีกันนาความไม่ดีของกันและกันไปเล่าให้คนอื่นๆฟัง จากกรณีตัวอย่าง เก่งและแจง เป็นสามี-ภรรยา ประเภทใด ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………
44
๕๑
เฉลยแบบฝึกกิจกรรม ที่ ๑.๕ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (มงคล ๓๘ สงเคราะห์บุตร-สงเคราะห์ภรรยาและการมีความสันโดษ) คาชี้แจง ให้นักเรียนศึกษากรณีตัวอย่างแล้วเติมคาลงในช่องว่างให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์
กรณีตัวอย่างที่ ๑ ตอบ อภิชาตบุตร คือบุตรที่ยิ่งกว่าบิดามารดา ดีเลิศกว่าบิดามารดา กรณีตัวอย่างที่ ๒ ตอบ อวชาตบุตร คือบุตรที่ต่าลงกว่าบิดามารดา เสื่อมทรามทาลายวงศ์ตระกูล กรณีตัวอย่างที่ ๓ ตอบ โจรภัสดา และ โจรีภริยา คือ สามีและภรรยาเหมือนโจร หมายถึง คู่ครองชนิดที่ล้างผลาญ ทรัพย์สมบัติ กรณีตัวอย่างที่ ๔ ตอบ อัยยภัสดา และ อัยยาภริย า คือ สามีและภรรยาเหมือนนาย หมายถึง คู่ครองที่เกียจคร้าน ไม่ใส่ใจการงาน ปากร้าย หยาบคาย กรณีตัวอย่างที่ ๕ ตอบ วธกภัสดา และ วธกาภริยา คือ สามีและภรรยาเหมือนเพชฌฆาต หมายถึ ง คู่ครองที่มิได้อยู่กิน ด้วยความพอใจ ดูหมิ่น และคิดทาลายซึ่งกันและกัน (ถ้านักเรียนตอบนอกเหนือจากนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูผู้สอน)
45
๓๖
เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คาชี้แจง ๑. แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย จานวน ๒๐ ข้อ ๒. ให้นักเรียนทาเครือ่ งหมายกากบาท ( X ) ในช่องอักษรข้อ ก ข ค หรือ ง เพียงข้อเดียว ๓. กาหนดเวลาทดสอบ ๑๕ นาที ๑. ข้อใดจัดเป็นธรรมของสัตบุรุษ ก. พระสัทธรรม ๓ ข. ปัญญาวุฒิธรรม ๔ ค. อุบาสกธรรม ๕ ง. ภาวนา ๔ ๒. ปฏิบัติสัทธรรมเปรียบได้กับข้อใด ก. การเดินทางถึงจุดหมาย ข. การศึกษาหาความรู้ในการเดินทาง ค. การหาวิธีการเดินทางไปสู่จุดหมาย ง. การเดินทางจากจุดเริ่มต้นไปสู้จุดมุ่งหมายด้วยความแน่วแน่ ๓. ข้อใดจัดเป็นยถาสารุปปสันโดษ ก. ดา มีความยินดีที่สวนทุเรียนของเขามีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ ข. ก้าน วางตัวเป็นกลางในการเลือกหัวหน้าห้อง ค. ผล ไม่คิดจะทางานหนักเพื่อหารายได้มากขึ้น ง. พัด ยับยั้งใจไม่ซื้อของขวัญปีใหม่ ๔. การแสวงหาความรู้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญทางปัญญา ตามหลักปัญญาวุฒิธรรม ควรปฏิบัติ เช่นใด ก. หมั่นศึกษาเล่าเรียน ข. ศึกษาจากผู้รู้ ศึกษาเล่าเรียน คิดอย่างถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ค. ตั้งใจฟัง หมั่นคิดไตร่ตรอง ชอบซักถาม และหมั่นเขียน ง. ขยันหมั่นเพียร และมีความพยายาม ๕. ร่างกายในทัศนะของพระพุทธศาสนาประกอบด้วยอะไรบ้าง ก. ธาตุดิน ธาตุน้า ธาตุลม ธาตุไฟ ข. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ค. อายตนะภายนอก ง. อายตนะภายใน
46
๓๗
๖. ข้อใดคือ “รูป” ตามทัศนะของพระพุทธศาสนา ก. สิ่งที่มีรูปร่าง และคุณสมบัติของสิ่งนั้น ข. สิ่งที่มรี ูปร่างเพียงอย่างเดียว ค. สิ่งที่ประกอบขึ้นมาเป็นรูปร่าง ง. อากาศธาตุ ๗. บุตรธิดาที่เจริญกว่าบิดามารดาไม่ว่าจะโดยคุณธรรม ศีลธรรม ความรู้ และฐานะ จัดเป็นบุตร ประเภทใด ก. อวชาตบุตร ข. อนุชาตบุตร ค. สมชาตบุตร ง. อภิชาตบุตร ๘. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของคน “สันโดษ” ก. หาเลี้ยงชีพตามกาลังสติปัญญาของตน ข. หาเลี้ยงชีพให้ผ่านพ้นไปวัน ๆ ไม่ดิ้นรนขวนขวาย ค. มีความยินดีพึงพอใจตามที่มี ตามที่ได้มา ง. มีความยินดีและพอใจตามสมควรแก่ฐานะของตน ๙. ข้อใดก่อให้เกิด “กรรม” ตามหลักกรรมนิยาม ก. นายมีขุดบ่อน้าไว้ใช้ ไก่ตกลงไปตาย ข. นางมาก่อไฟไว้ แมลงบินมา ถูกไฟไหม้ตาย ค. นายคาดักปลามาขายทุกวัน ง. นายเขียวเดินใจลอย ไปเหยียบมดตาย ๑๐. ข้อใด ตรงกับหลักธรรม “ภาวนา” ก. พัฒนากาย พัฒนาศีล พัฒนาจิต พัฒนาปัญญา ข. การพนมมือ การกราบ การไหว้ การคานับ ค. การพิจารณากาย พิจารณาจิต พิจารณาปัญญา และการพิจารณาธรรม ง. การสารวมกาย วาจา ใจ ๑๑. มีสามีหรือภรรยาเหมือนเพชฌฆาต หมายถึงข้อใด ก. คู่ครองที่เกียจคร้าน ข. คู่ครองที่ชอบดูหมิ่นและคิดทาลายซึ่งกันและกัน ค. คู่ครองที่ปากร้ายหยาบคาย ทะเลาะเบาะแว้ง ด่าทอกันทุกวัน ง. คู่ครองที่มีฐานะต่ากว่า
47
๓๘ ๑๒. การที่เรามีความรู้สึกเศร้าใจ เสียใจ หมายถึงข้อใด ก. เวทนา ข. สัญญา ค. สังขาร ง. วิญญาณ ๑๓. “คู่สร้างคู่สม” หมายถึงคู่สมรสที่มีชีวิตสอดคล้องกลมกลืนกัน และอยู่ร่วมกันได้ยืดยาว จะต้อง อาศัยหลักธรรมในข้อใด ก. เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ข. หลักความจริง การฝึกตน ความอดทน ความเสียสละ ค. ศีล สมาธิ ปัญญา ง. มีศรัทธาสมกัน มีศีลสมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีปัญญาเสมอกัน ๑๔. พระพุทธเจ้าเป็นผู้มีปัญญาคุณ ความหมายใดถูกต้องที่สุด ก. เป็นผู้ฉลาด ข. เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ ค. เป็นผู้แก้ไขปัญหาได้ ง. เป็นผู้ค้นพบสัจธรรมและสั่งสอนสัตว์โลก ๑๕. บิดามารดาพึงสงเคราะห์บุตรธิดาในเรื่อง “เป็นธุระจัดหาคู่ครองให้” หมายความว่าอย่างไร ก. เป็นผู้เลือกคู่ครองให้กับบุตรธิดา ตามความต้องการของตนเอง ข. จัดการหมั้นหมายไว้แต่ยังเล็ก หากครอบครัวทั้งสองมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ค. ให้คาแนะนาแก่บุตรธิดาในการเลือกคู่ครองให้ถูกต้องและเหมาะสม ง. ควบคุมการเลือกคู่ครองของบุตรธิดา โดยเลือกบุคคลที่มีฐานะดีมีสกุล ๑๖. เมื่อเราเจอเพื่อนที่ไม่ได้พบกันมานาน ปรากฏว่าเรายังจาได้ เป็นลักษณะของนามขันธ์ข้อใด ก. เวทนา ข. สัญญา ค. สังขาร ง. วิญญาณ ๑๗. บุคคลผู้มีความสันโดษจะได้รับคุณประโยชน์มากมาย ยกเว้น ข้อใด ก. มีความสุขความสบายตามอัตภาพ ข. ไม่ทุจริตในหน้าที่การงาน ค. ป้องกันการสูญเสียที่เกิดจากความฟุ่มเฟือย ง. สะดวกสบาย ไม่ต้องกระตือรือร้น
48
๓๙
๑๘ “พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงมีพระปรีชาญาณอันลึกซึ้งคัมภีร์ภาพ ยากจะหาผู้ใดเทียม ทรงเพียร พยายามจนค้นพบคาตอบของปัญหาซึ่งเป็นความจริงอันประเสริฐ ” ข้อความดังกล่าว สอดคล้องกับข้อใด ก. พระปัญญาคุณ ข. พระวิสุทธิคุณ ค. พระกรุณาคุณ ง. พระบริสุทธิคุณ ๑๙. ถึงแม้ว่าจ้อนจะร้องเพลงไม่เพราะแต่เพื่อนๆ ของจ้อนก็ตั้งใจฟังและให้กาลังใจจ้อนจน ร้องเพลงจบ ข้อความนี้สอดคล้องกับข้อใด ก. เนกขัมมวิตก ข. อพยาบาทวิตก ค. อวิหิงสาวิตก ง. วิหิงสาวิตก ๒๐. ก้อย รู้จักแก้ปัญหาต่างๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม บางครั้งจะมีคนมาพูดจาว่าร้ายแต่ก้อยก็ไม่เคย คิดโต้ตอบ ให้อภัยคนที่หลงผิด การกระทาของก้อยสอดคล้องกับข้อใด ก. กายภาวนา ศีลภาวนา ข. ศีลภาวนา จิตภาวนา ค. จิตภาวนา ปัญญาภาวนา ง. ศีลภาวนา จิตภาวนา ปัญญาภาวนา
49
50