SPT Editor's Picks December 2015

Page 1

DECEMBER 2015

SPTEP 18



BROUGHT TO YOU BY


EDITOR’s TALK ปีนี้เป็นปีทองของการถ่ายภาพของเมืองไทยโดยแท้ มี กิจกรรมต่างๆเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะกิจกรรม Photo Bangkok Festival 2015 ที่ถือว่าเป็นเทศกาล ภาพถ่ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดมาในเมืองไทย โดย นิทรรศการ “จิตใต้ส�ำนึก (Subconscious)” ของทางกลุ่ม Street Photo Thailand ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งใน นิทรรศการหลักของ Photo Bangkok Festival นอกเหนือจากงานเทศกาลแล้ว วงการภาพถ่าย Street Photography ของไทยก็ถือว่าประสบความส�ำเร็จ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน มีช่างภาพของไทยได้รับ รางวัลในระดับนานาชาติเกือบตลอดทั้งปี เรียกได้ว่า ฝากชื่อเสียงของ Thai Street Photography ไว้ในระดับ โลกเรียบร้อยแล้ว ทางกลุ่มต้องขอแสดงความยินดีกับ “ทีมชาติ” ทุกๆท่านด้วย เล่มส่งท้ายปลายปีอัดแน่นด้วยเนื้อหาดีๆเหมือน เดิม ทั้งบทสัมภาษณ์ของ บาธ ช่างภาพของทาง Street Photo Thailand, บทความเจ๋งๆจาก Sun และผลงานที่ ได้รับ Pin จากทางทีมงาน ปล. ปีหน้าทางกลุ่ม Street Photo Thailand จะเปิดตัว สมาชิกช่างภาพคนใหม่ ติดตามข่าวความเคลื่อนไหว ล่าสุดได้ทางหน้า Facebook และที่เวบไซต์ www.streetphotothailand.com สวัสดีปีใหม่ล่วงหน้า :-) Street Photo Thailand


Poupay Jutharat


CONTRIBUTORS Amarit Suwannagate Aniruddha Guha Sarkar Arjsuk Jantamas Artyt Lerdrakmongkol Carlos Dominguez Chanipa Temprom

Chu Viet Ha

Fha Peungfha Gurunathan Ramakrishnan Jayarop Piyapramote Jittipon Kongprakaiwuth Kanrapee Chokpaiboon Kob Obob Mahesh Krishnamurthy Nic Hughes Nuthakorn Chienprapa Nuttachai Phatanon Pakornkarn Tayansin Pippo Love Poon Nuttapol Poupay Jutharat Pradubkiat Bouklee Sawin Tantanawat Supornchai Ratanamethanon ลูกเต๋าา เต๋า


Mahesh Krishnamurthy


สรุปข่าวปลายปี

2015 by Tipawan Gatesomboon

กรกฎาคม 2558 นิทรรศการภาพถ่าย Bangkok Photo 2015 ที่รวบรวมภาพภ่ายทุกแขนงมา จัดแสดงก็เปิดอย่างเป็นทางการ

สิงหาคม 2558 6 ช่างภาพสตรีทไทยต Awards 2015 5 คน ใ ได้แก่ Nakarin Teerap Nattawoot Peanpuny Issaret Chalermsopo Maitreechit ในหมวด T

(ปลายปี 2014) ส่งท้ายปลายปีด้วยพี่วีพง Tavepong Pratoomwong ชนะเลิศการ ประกวด Miami Street Photography Festival 2014 หลังจากที่เพิ่ง คว้ารางวัลมาจาก EyeEM Award 2014 และ Urban Picnic Street Photography Competition 2014 ซึ่งต่อมาได้รับ การโหวตให้เป็น 1 ใน 20 ช่างภาพสตรีทผู้มี อิทธิพลในปี 2015 นี้ด้วย

มีนาคม 2558 การจัดเวิร์คช็อปครั้งแรกจากกลุ่ม Street Photo Thailand ในชื่อ SPT Workshop 01 ท�ำให้เหล่าผู้เข้าร่วมต่างไป ประสบความส�ำเร็จในการประกวดหลายรายการต่อมา

สิงหาคม 2558 เปิดนิทรรศการ Sign โดย อัครา นักท�ำนา อย่ า งเป็ น ทางการที่ คัดมันดูโฟโต้แกลอรี่

สิงหาคม 2558 เปิดนิทรรศการ “Subconscious” Street Photo Thailand Exhibition ครั้งที่ 3 พร้อมประกาศผู้ชนะการ ประกวด “Travelling - AS FAR AS YOU CAN GO” 2 รางวัลซึ่งรางวัลที่ 1 คือ Nattawoot Peanpunyaruk และรอง Neo Chee Wei


ติดรอบ finalist เวที EyeEm Photo ในหมวด The Street Photographer penun, Tavepong Pratoomwong, yaruk, Thanakorn Treratanaboot, one และอีก 1 คน คือ Noppadol The Moment

ตุลาคม 2558 ผลประกาศรางวัล LensCulture Street Photography Award 2015 ซึ่งมีคนไทยติดรอบ Finalists เพียงคนเดียว ประเภท Single Image นั่นคือ Thanakorn Treratanaboot

ตุลาคม 2558 กลุ่ม Looper Collective ได้จัด Street Photography Workshop โดยอบรมกับ ช่างภาพระดับโลก Maciej Dakowicz และ David Solomons และก�ำลังจะจัดครั้งต่อ ไปในวันที่ 11-14 มกราคม 2015 โดยมี Matt Stuart และ Jesse Marlow เป็นผู้ อบรม

พฤศจิกายน 2558 Issaret Chalermsopone เป็นคน ไทยหนึ่งเดียวที่ติด 1 ใน 20 ผู้ชนะ การประกวด PDN Street Photography 2015

ธันวาคม 2558 ประกาศผลเวที Miami Street Photography 2015 แม้ว่าคนไทย จะไม่ได้คว้ารางวัลติดไม้ติดมือ แต่ปีนี้คนไทยก็ได้เข้ารอบ Finalist ถึง 10 คนจากช่างภาพทั่วโลก 64 คน ซึ่งได้แก่ Issaret Chalermsopone, Nattawoot Peanpunyaruk, Noppadol Maitreechit, Nustarpon Jaruwahcharapon, Pongsathorn Leelaprachakul, Sawin Tantanawat, Setsiri Silapasuwanchai, Tavepong Pratoomwong, Tawanwad Wanavit และ Thanakorn Treratanaboot


IN MY OPINION อาทิตย์ เลิศรักษ์มงคล

LIKE ค�ำชมที่จริงใจ หรือ หลอกลวง มีหลายๆคนที่เริ่มต้นถ่ายภาพสตรีท แล้วมักจะมาบ่นกับเราว่า “ไม่ค่อยมีคน Like รูปเลย รู้สึก ไม่มั่นใจ” ซึ่งมันก็เป็นเรื่องปกติมากๆส�ำหรับการเริ่มต้นถ่ายภาพไม่ว่าประเภทไหน ที่ย่อม ต้องการการยอมรับ ต้องการ “ค�ำชม” ในสิ่งที่เราตั้งใจท�ำ ตั้งใจฝึกฝน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ อยากจะพยายามท�ำต่อๆไป ประหนึ่งการพยายามปีนเขาที่สูงชัน สมัยเราเด็กๆ สักประมาณ ป.3 ที่โรงเรียนเริ่มมีให้เรียนวิชาดนตรีสากล ตอนที่เราเริ่มเรียนเกี่ยว กับการอ่านโน้ตเพลง ก็รู้สึกตัวเองว่า เออ.. อ่านเป็นแล้ววุ๊ยยย เพื่อนครึ่งห้องยังอ่านไม่ได้เลย (ในทางกลับกัน วิชาอื่นๆก็คือนั่งมึนๆไปตั้งแต่เด็กยันโต) พอมันเริ่มมี ”ค�ำชม” จากอาจารย์


จากคนรอบข้างด้วยแล้ว ก็เลยรู้สึกว่าเออ ฉันชอบสิ่งนี้แหล่ะ แล้วก็เลือกที่จะท�ำสิ่งนี้ต่อไป เรื่อยๆ อันนี้เป็นหลักการส�ำคัญที่จะปลูกฝังเด็กๆให้รักในสิ่งไหนไปตลอด หันมามองที่การถ่ายภาพสตรีท ส�ำหรับเราแล้ว มันเป็นการถ่ายภาพที่ยากที่สุดในบรรดาการ ถ่ายภาพหลายๆประเภท เพราะนอกจากต้องมีมุมมองด้านศิลปะ , เครื่องมือ , ความคิด สร้างสรรค์ที่ดีที่พร้อมแล้ว ยังต้องมีความรวดเร็วในการตัดสินใจ และที่ส�ำคัญที่สุด.. “ดวง”

Akkara Naktamna

แต่ความหมายของภาพถ่ายแนวสตรีท ยังเป็นปัญหาคลาสสิคถึงการขาดความเข้าใจในวง กว้าง ท�ำให้ค�ำว่า “ภาพสตรีท” ในหัวแต่ละคนแตกต่างกันไป โดยเฉพาะคนที่ยังไม่ได้ศึกษาใน การถ่ายภาพสตรีทอย่างลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นเราจะพบเห็นกันบ่อยๆแม้แต่ในกลุ่มถ่ายภาพ หลายๆกลุ่มที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงด้านการถ่ายสตรีท ก็ยังมีความเข้าใจในความหมายของ “ภาพสตรีท” บิดเบี้ยวไป เพราะฉะนั้นได้รับการยอมรับ หรือ “ค�ำชม” ที่มือใหม่มองหา จาก ความเข้าใจที่ยังไม่ตรงกัน ก็อาจจะท�ำให้การเริ่มต้นของพวกเขาผิดเพี้ยนไปได้ ซึ่ง “ค�ำชม” ที่ ว่านี้ ถ้ามาจากจุดเริ่มต้นที่ดี มันก็เป็นประหนึ่งกระติกน�้ำเย็นที่เหน็บไว้ข้างนักปีนเขา


ทุกวันนี้ เราทุกคนมีโลกอยู่สองใบขนานกันไปในแต่ละวัน ทั้งโลกจริงและโลกเสมือนบน ออนไลน์ ซึ่งไอ้กิจกรรมต่างๆของการโพสภาพต่างๆสมัยนี้ มันก็มักจะไปอยู่ในโลกออนไลน์ ดัง นั้น ไอ้กระติกน�้ำเย็นกระติกนั้น หรือ “ค�ำชม” มันก็เลยไปแปะอยู่ในโลกที่เราไม่แน่ใจว่า มันคือ ก�ำลังใจที่แท้จริง หรือหลอกลวงให้เรายิ่งหลงทางกันแน่ ตอนเริ่มถ่ายภาพสตรีทแรกๆ เราเองก็ไม่ต่างจากทุกๆคน คือนอกจากจะต้องอาศัยความเข้าใจ ในการถ่ายสตรีทที่แทบจะเปลี่ยนวิธีคิดทุกอย่างแล้ว ตอนเริ่มนี่ก็อายุเยอะด้วย ปกติก็เป็นคน หัวไปได้ช้ากว่าชาวบ้าน ท�ำให้การปีนเขานี้ เป็นการปีนที่มันยากล�ำเค็ญ อุ้ยอ้าย ไอ้กระติกน�้ำ เย็นที่ว่านี่แทบจะเรียกว่าเป็นกระติกที่ว่างเปล่าก็ว่าได้ โพสภาพที่ตั้งใจถ่ายไปทีนึง กริบ.. เลย ทีเดียว แต่การ Like ที่ว่านี้ เราควรมานับเป็น “ค�ำชม” ที่ยอมรับได้หรือไม่? วันนี้เราจะมาคุยกัน เรื่องนี้ล่ะ

ความหมายของการกด Like ถ้าใครเคยดูหนังเรื่อง The Social Network หนังของ David Fincher เมื่อปี 2010 ก็คงจะเข้าใจดีว่า การกด Like ใน Facebook มันมีต้นทางไอ เดี ย หนึ่ ง มาจากโปรแกรมการเลื อ ก ระหว่าง ชอบ หรือ ไม่ชอบ ( Hot or Not) เช่น ผู้หญิงคนนี้ “สวยหรือไม่ สวย” ในความหมายลึกๆมันก็คือการ “ตัดสิน” ว่าอะไรดีกว่าอะไรไปในตัว นี่ คือรากเหง้าของมัน แต่ในการการ”ตัดสิน”นั้น เมื่อเปรียบ เทียบกับการตัดสินการประกวดอะไร ก็ตาม กรรมการตัดสินย่อมต้องมี


คุณวุฒิในสิ่งนั้นๆ เป็นที่ยอมรับ ยิ่งกรรมการตัดสินน่าเชื่อถือเท่าไหร่ การประกวดนั้นก็ยิ่งได้ รับการยอมรับในวงกว้างมากเท่านั้น ถ้าเราลองวิเคราะห์ไปว่า กรรมการคนนั้นๆน่าเชื่อถือแค่ไหน? อย่างที่พูดถึงเรื่องกลุ่มถ่ายภาพ ต่างๆเอง สมมติว่าแนวทางการถ่ายภาพของกลุ่มนั้นๆเป็นแนวอื่นๆ เช่น แนว Landscape หรือ Portrait วิธีคิด ความชอบในงานของช่างภาพในกลุ่มนั้นๆก็อาจจะแตกต่างออกไปก็ได้ ไม่ ได้แปลว่ากรรมการคนนั้น จะสามารถตัดสินได้ในทุกแนวทาง การ Like หรือ ไม่ Like นั้น อาจ จะเป็นค�ำหลอกให้เราหลงทางไปไกล

“...แต่ละ Like นั้น ก�ำลังพาเรา ไปไหน? ภาพที่มีการกด 1,000 Like ไม่ได้แปลว่ามัน “ดี” หรือ เป็นค�ำชมเสมอไป มันมีความ ซับซ้อนอยู่ในนั้นอีกมาก...” เข้ามาด่าว่า “มึงถ่ายอะไรของมึงวะ” ก็ได้เช่นกัน

หรืออย่างเช่น เพื่อนใน Facebook เรา ใน Instagram เรา น่า เชื่อถือแค่ไหนที่จะบอกว่าสิ่งที่ เราก�ำลังท�ำอยู่นี้ ดีหรือไม่ดียัง ไง? เช่น แฟนเราก็อาจจะต้อง บอกว่าภาพเราสวย ทั้งๆที่เขา ไม่รู้จักว่าภาพสตรีทที่ดีคือแบบ ไหน? หรือเพื่อนเราที่อาจจะ ชอบภาพวิวสวยงาม ก็อาจจะ

ในอีกกรณีนึง ในความหมายของการกด Like มันไม่ได้แปลตามความหมายในพจนานุกรมว่า Like แปลว่า “ชอบ” เช่น เราอาจจะชอบสาวคนนึงใน Facebook แต่เราอาจจะไม่ได้สนใจ คอนเทนต์ที่สาวคนนั้นโพสสักเท่าไหร่หรอก การกด Like เป็นเสมือนการบอกคนนั้นว่า “ช่วย หันมาสนใจฉันหน่อย” ก็เป็นได้ หรือในมิติของการกด Like ซับซ้อนขึ้นไปอีก เช่น เราอาจจะโพสค�ำว่า “วันนี้โสด” แล้วคุณ ภรรยาก็เข้ามากด Like ในมิตินี้ คุณภรรยาคงไม่ได้มีความหมายว่า “ชอบ” ค�ำพูดเราแน่ๆ แต่ มันมีความซับซ้อนกว่านั้น เป็นต้น


เมื่อเห็นแล้วว่าตัวแปรที่จะท�ำให้ผลลัพธ์แตกต่างนั้น มีมากเหลือเกิน เราอาจจะต้องควบคุม ตัวแปรนั้นใหม่ทั้งหมด เช่น การเปิด Account ใน Flickr (คอมมูนิตี้ภาพถ่ายบนออนไลน์ที่ใหญ่ มโหฬาร และมีชาวสตรีทจากทั่วโลกไปสุมหัวกันอยู่ในนั้นมากที่สุด) เพื่อการโพสภาพสตรีท อย่างเดียว และส่งรูปนั้นๆเข้าไปในกรุ๊ปที่เกี่ยวกับภาพสตรีทเพื่อฟังการวิจารณ์จากช่างภาพที่ เข้าใจงานภาพถ่ายสตรีท วิธีแบบนี้ก็เป็นการควบคุมตัวแปรในระดับหนึ่ง ผลที่ได้ ก็เสมือนการ สร้างการประกวดที่มีกรรมการที่น่าเชื่อถือส�ำหรับงานของเราเอง กรุ๊ปใน Flickr ที่โดดเด่นใน ด้านการให้ค�ำวิจารณ์อย่างเช่น Street & Repeat 105 กรุ๊ปนี้ก่อตั้งโดยช่างภาพสตรีทรุ่นใหม่

จากหลายๆประเทศมารวมตัวกัน ในแต่ละเดือน ทางกรุ๊ปจะแจกโจทย์ให้ท�ำทุกๆสองสัปดาห์ โดยโจทย์จะถูกตั้งและคัดเลือกโดยช่างภาพสตรีทชื่อดังระดับโลก เมื่อเราส่งรูปแล้ว ทางกรุ๊ป จะ Approve ก่อนว่าเป็นไปตามกฏของการถ่ายสตรีทและของกลุ่มหรือไม่ เมื่อผ่านการ Approve แล้ว ภาพจะได้รับการวิจารณ์โดยช่างภาพในกรุ๊ปหลายๆคน ซึ่งค�ำวิจารณ์เหล่านี้ ตรงมาตรงไปทั้งในเชิงการถ่ายสตรีทและการตีความของโจทย์ด้วย นอกจากใน Flickr เองแล้ว ใน Facebook เองก็ยังมีกรุ๊ปที่เปิดกว้างในการฝึกฝนอีกอย่างเช่น Street Photo Thailand เอง ก็สามารถโพสได้ โดยขั้นแรกจะต้องผ่านการ Approve จาก แอดมินก่อนว่าเป็นภาพสตรีทและตรงตามกฏหรือไม่ นอกจากนี้ก็ยังสามารถขอความคิดเห็น จากแอดมินได้เช่นกัน จากที่เล่ามาทั้งหมด จะเห็นว่า การที่เรายังยึดติดหรือมองหา Like ในโลกนี้ อาจจะต้องนั่งคิด ทบทวนกันใหม่ว่า แต่ละ Like นั้น ก�ำลังพาเราไปไหน? ภาพที่มีการกด 1,000 Like ไม่ได้แปล ว่ามัน “ดี” หรือเป็นค�ำชมเสมอไป มันมีความซับซ้อนอยู่ในนั้นอีกมาก การที่ได้ Like น้อย ก็ อย่าเพิ่งท้อแท้ไป และอย่าไปคิดว่ามันคือทุกสิ่งที่เราต้องการ เพราะสิ่งส�ำคัญกว่านั้น.. ทั้งหมดที่คุณก�ำลังถ่ายภาพสตรีทอยู่ คุณท�ำมันเพื่อใคร? เพื่อสร้างงานที่ตัวเองชื่นชม หรือเพื่อคนอื่นๆมาชื่นชม? นี่คือความเห็นของเรานะ คุณคิดเห็นกันว่าอย่างไร?


Chatchai Boonyaprapatsara


SHOOTER INTERVIEW

Krerkburin Kerngb


buri แนะน�ำตัวเล็กน้อยนะครับ อยู่ที่ไหน ตอนนี้ ท�ำงานอะไรอยู่ ชื่อ เกริกบุรินทร์ เกิ้งบุรี ชื่อเล่นจริงๆ บาธ (Bath) หรือจะเรียก “บาส” ก็ได้ครับน่าจะง่ายกว่า ครับ ฮ่าๆ อยู่จังหวัดเชียงใหม่ครับ ตอนนี้ท�ำงานเป็น ช่างภาพอิสระครับ สนใจถ่ายภาพ Street Photography ตั้งแต่ เมื่อไหร่ อะไร หรือใครเป็นแรงบันดาลใจ น่าจะเริ่มๆช่วงปี 2012 ถ้าจ�ำไม่ผิดครับ คือ ตอนนั้นเริ่มรู้สึกเบื่อๆกับงานการถ่ายรูปเพื่อคนอื่น ครับ เลยอยากลองหาสิ่งใหม่ๆท�ำ อยากจะถ่ายรูป เพื่อตัวเองบ้างแค่นั้นเอง ตอนนั้นก็เริ่มสนใจในงาน ภาพถ่ายแนว Photojournalism ภาพถ่ายพวก สงคราม ความรุนแรง การประท้วงอะไรแบบนั้นคือ อยากถ่ายแบบนั้นมาก ก็เริ่มฝึกถ่ายแนวนี้ด้วยตัว เองจากการตามดูงานของช่างภาพข่าวต่างประเทศ เป็นแรงบันดาลใจเช่น James Nachtwey เป็นต้น ส่ ว นช่ า งภาพคนไทยก็ ติ ด ตามผลงานของพี่ วิ นั ย ดิษฐจร ครับ แล้วช่วงนั้นพี่วินัยแกพูดถึง Street Photography แล้วก็จะมี workshop ที่จัดโดย

TCDC กรุงเทพฯ รับจ�ำนวนจ�ำกัดด้วย ส�ำหรับคนที่ สนใจไปร่วม workshop จะสมัครต้องส่งภาพไปคัด เลือกก่อน เราก็ลองส่งไปดูแล้วรูปก็ผ่านได้สิทธิ์ไป สมัครเรียน แต่เราดันนั่งรถทัวร์จากเชียงใหม่ไป สมัครไม่ทัน ฮ่าๆ เต็มก่อนที่เราไปถึงพอดีก็เลยอด แต่ก่อนหน้านั้นผมชอบเดินถ่ายรูปวิถีชีวิตตามข้าง ถนนเวลาไปเที่ยวหลายๆที่โดยไม่รู้อะไรเกี่ยวกับ Street Photography เลยครับ ก็พอจะมีรูปบ้างแล้ว เราก็ลองโพสรูปลงในเว็บ Street Photo Thailand บ้างสมัยยังเล่นกันในเว็บนะครับ แล้วก็เปลี่ยนให้ มาโพสให้กลุ่มเฟสบุ๊ค ก็มีไปโพสรูปบ้าง โพสในกลุ่ม ของเมืองนอกบ้างเช่น apf คือนานๆโพสที แต่คือยัง ไม่เข้าใจจริงๆหรอกครับ แต่ด้วยความที่อยากรู้ว่า Street Photography คืออะไร ก็พยายามฝึกถ่าย แบบมั่วๆ เข้าใจแบบผิดๆ ประมาณหนึ่งปีแบบไป เรื่อยมากคือไม่รู้จะไปถามใครจริงๆ ไม่มีใครมาบอก เรา เข้าใจว่าเป็นการถ่ายรูปวิถีชีวิตตามข้างถนน ธรรมดาๆ จนต้นปี 2014 ได้มีโอกาสร่วมเล่นกิจกรรม 365days ในกลุ่ม facebook ของกลุ่ม Street Photo Thailand โดยมีกฏว่าต้องโพสรูปสตรีทวันละ 1 รูป ครับ บ้าไปแล้ว (แต่เราก็เล่นจนจบ ฮ่าๆ) ได้เป็นการ


ฝึกตัวเองให้ออกไปถ่ายทุกวัน ดีบ้างไม่ดีบ้างแต่ก็ได้ถ่ายรูปทุก วัน จุดนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นจริงๆ ที่มาถ่ายแนวสตรีทจริงจัง ครับ ช่วงแรกๆก็ไม่ได้จริงจังอะไร แต่พอมีรูปได้ Pin เหมือนว่า เราน่าจะเริ่มมาถูกทางแล้วมั้ง ก็เลยเริ่มสนุกกับมัน ก็แบบ จริงจังมากขึ้น หมกหมุ่นกับมันมากขึ้นเรื่อยๆ ศึกษาอ่าน บทความในเว็บ Street Photo Thailand และก็บล็อกของฝรั่ง มาบ้างครับ ช่วงที่เปลี่ยนจริงๆก็ตอนได้อ่านบทสัมภาษณ์ของพี่กอล์ฟที โบนใน E-Magazine SPTEP ก็เหมือนจะเริ่มถึงบางอ้อละครับ พอจะเข้าใจจับจุดจริงๆของ Street Photography มาอีกหน่อย ที่นี้ก็เริ่มศึกษามากขึ้นเรื่อยๆจากกลุ่มสตรีทเจ๋งๆใน Flickr และ จากเว็บฝรั่ง จากช่วงแรกๆดูงานของกลุ่ม In-Public แบบ โอ้ว เจ๋งมาก! กลุ่มนี้น่าจะเป็นเหมือนแรงบันดาลใจตอนแรกเริ่ม ครับ เหมือนเปลี่ยนโลกเราไปเลยครับ ช่วงแรกๆ นี่บ้ามากดูทุกวันครับมีผลงานช่างภาพที่ชอบๆก็งาน ของ Saul Leiter, Jesse Marlow และ Matt Stuart ครับ แต่ก็ เริ่มศึกษางานหลากหลายมากขึ้นแล้วก็ลงลึกไปอีกเรื่อยๆ ที่ ไม่ใช่ In-Public ที่มีชอบๆ ก็มีงานของ Dimitris Makrygiannakis, Martin Kollar และก็อีกหลายๆคน ฯลฯ แล้วกลับไปดูพวก งานคลาสิคแบบกลุ่ม Mugnum Photos ที่ชอบๆก็ Richard Kalvar, Alex Webb ครับ จริงๆเราพยายามดูให้หลากหลาย ครับ ดูเป็นโปรเจคของแต่ละคนมากกว่าครับ จริงๆก็ชอบหมดแต่ที่รู้สึกชอบตั้งแต่แรกพบน่าจะจนมาเจอ งานของ Martin Parr นี้รักเลย ลุงแกนี่ติสสุดๆ ชอบมากคือลุง คนนี่แจ๋วมาก ส�ำหรับผมนะ บางคนเค้าอาจจะไม่ชอบ ยอมรับ เลยว่าช่วงแรกๆที่เริ่มถ่าย ผมได้แรงบันดาลใจจาก Martin Parr มาค่อนข้างเยอะ แต่หลังๆเราก็ปรับการถ่ายไปเรื่อยๆครับ พยายามให้เป็นตัวเรา และหาสไตล์ใหม่ๆไปเรื่อยๆครับ จริงๆ

เวลาได้เสพงานดีๆ เราก็มีแรงบันดาลใจ สตรีทมาครึ่งปีก็พอมีรูปเก็บอยู่บ้างก็ได้ล ครับ ตอนนั้นมีประกาศในกลุ่ม faceboo workshop กับ invisiblephotographera ไปดูไม่คิดว่าจะได้ แต่ก็รับโอกาสที่ดีมาก ครับ ที่มอบโอกาสดีให้ๆ เปิดโลกเราไป พอเราถ่ายแนว Street Photography จร รู้จักได้เดินถ่ายรูปได้เรียนรู้ได้ค�ำแนะน�ำจ


จออกไปถ่ายแล้วครับ แล้วทีนี่ก็ถ่ายรูป ลองส่งรูปไปคัดเลือกทุน workshop ดู ok Street Photo Thailand คือได้ทุนไป asia (IPA) ที่กรุงเทพฯ เราก็เลยลองส่ง กครับ ต้องขอบคุณพี่หนิง SPT มากๆ ปอีกขั้นเลยครับ ก็ได้อะไรๆดีเยอะครับ ริงจังมาเรื่อยๆ ก็มีโอากาสได้พบเจอได้ จากคนเก่งๆ หลายๆท่านมาปรับใช้

ครับ พี่ๆแต่ละท่านก็มีค�ำแนะน�ำดีๆ ให้เราตลอด โดยเฉพาะกับพี่กอล์ฟ ทีโบน นี่ตั้งแต่รู้จักกันแกเป็นคนที่พาผมลงลึกสู่โลก Street Photography มากขึ้นเรื่อยๆครับ ถือว่าเป็นอาจารย์เป็นทั้งพี่ชายที่มีพระคุณกับผม มากๆคนหนึ่งเลยครับ อยากให้พูดถึงความรู้สึกที่มีค�ำว่า Street Photography ไม่ใช่ ความหมาย เป็นโลกใบใหม่ เหมือนได้เจอสิ่งที่ตัวเองชอบและ มีความสุขเวลา





ได้หมกหมุ่นกับมัน ได้เดินถ่ายรูป ได้เพื่อนใหม่ มิตรภาพดีๆ สุ นก ตื่นเต้น ท้าทาย แปลก ประหลาด ลึกลับ ซับซ้อน หลอน นิดๆ ตลกร้ายหน่อยๆ ไม่ปกติ แต่ไม่ใช่โรคจิต และไม่ใช่ผู้ ก่อการร้ายครับ การถ่าย Street Photography ที่เชียงใหม่ แตกต่างจาก ที่กรุงเทพฯ หรือที่อื่นๆอย่างไร ก็ต่างนะครับ น่าจะต่างตรงสถานที่และสภาพแวดล้อม ของแต่ละสถานที่ครับ แล้วการได้ภาพแต่ละที่ก็จะแตกต่างกัน ออกไปครับ เช่นลักษณะบุคลิกของคนก็ต่าง อย่างเชียงใหม่ คนค่อนข้างดูเป็นมิตรกว่ามั้งครับ เอาจริงๆ แล้วถ่ายยากนิดๆ ครับ เพราะความเป็นมิตรคนชอบยิ้มให้กล้อง ซึ่งเราไม่ค่อย ชอบให้มีรอยยิ้มในภาพเลย และเชียงใหม่มักจะเจอคนรู้จัก บ่อยๆ บางทีก็ท�ำให้ถ่ายไม่สนุกเท่าไหร่ แต่เวลาไปเดินถ่ายที่ กรุงเทพฯ หรือที่อื่น มันสนุกตรงที่ไม่มีใครรู้จักผมนี่แหละ ถ่าย แบบไม่ต้องสนอะไรครับ โดนด่าก็เฉยๆ ปล่อยเบลอครับ อยากให้ พู ด ถึ ง เรื่ อ งสไตล์ ก ารถ่ า ยภาพของตั ว เอง เหมือนคนอื่น หรือแตกต่างมากแค่ไหน ผมก็ไม่แน่ใจครับว่าตัวเองถ่ายสไตล์ไหนครับ จริงๆทุกวัน นี้ก็ยังฝึกถ่ายอยู่ก็พยายามฝึกถ่ายให้มันได้หมดทุกสไตล์ครับ เผื่อเราจะได้อะไรแปลกๆใหม่ๆไม่ยึดติด ส่วนงานตัวเองที่ผ่าน มามีคนบอกออกไปทางดูลึกลับ ประหลาดๆ ไม่ปกติ แปลก ไม่


เห็นหน้า ชอบเล่นกับความไม่สมบูรณ์ ครับ ก็น่า จะประมาณนี้ครับ แต่ก็คิดว่าน่าจะต่างจากคน อื่นๆ ครับ เพราะแต่ละคนก็ชอบไม่หมือนกัน มี ลายเส้นที่ไม่เหมือนกันถึงแม้ว่าจะไปนั่งวาดรูป จากที่เดียวกันครับ มี เ ทคนิ ค ในการเข้ า ไปถ่ า ยภาพคนแปลก หน้าอย่างไร ไม่มีเทคนิคอะไรครับ บางทีก็ท�ำแบบคนอื่นๆ แหละครับ ส่วนมากสนใจก็เดินเข้าไปถ่ายเลยไม่มี ขออนุญาตครับ แต่อย่าจู่โจมแบบวิ่งเข้าหา หรือ ท�ำให้ subject ตกใจ แบบนั้นไม่ดีครับ ไม่ได้รูปก็ ช่างมันครับอย่าเสียมารยาท ค่อยๆเข้าหาถ้าต้อง เผชิญหน้าใกล้ๆ ส่วนมากก็ยิ้มให้ แล้วขอบคุณ ครับแล้วเดินจากไป แต่เพิ่งไปเรียนมาต้องสวัสดี ครับด้วย เพื่อความเป็นมิตรและดูสุภาพชนยิ่งขึ้น โดนด่าก็ท�ำหน้าเฉยๆ ปล่อยเบลออย่าวิ่งหนี ค่อยๆ เดินจากไปแบบนิ่งๆครับ

ได้ข่าวว่าได้ไปร่วมเข้า Workshop ของ ทางช่างภาพของทาง in-public เป็นอย่างไรบ้าง ครับ ใช่ครับ เป็น Leica Street Photography Workshop with Maciej Dakowicz and David Solomons ที่จัดโดยกลุ่ม Loopers Collective เป็นการเอา Maciej Dakowicz และ David Solomons จาก In-public มาท�ำ workshop ร่วมกันเป็นครั้งแรกที่เมืองไทยครับ สนุกดีครับ ได้เปิดรับอะไรใหม่ๆส�ำหรับตัวเอง ผมรู้สึกว่าไม่ ได้เอาตัวเองมาเรียนเลยครับ เพราะก่อนที่จะไป ร่วม workshop ผมคิดว่าจะลืมว่าถ่ายสตรีทเป็น ครับ เหมือนไปเรียนรู้ใหม่ให้หมด พยายามที่จะ ไม่ถ่ายในแบบที่เราชอบคือต้องการเรียนรู้ในสิ่ง ที่เรายังขาดมากกว่าครับ ได้เพื่อนใหม่ ได้ มิตรภาพดีๆครับ ได้กลับไปเรียนพื้นฐานจริงๆ ได้ ประสบการณ์เทคนิคการถ่ายใหม่ๆ จากอาจารย์ ครับ ซึ่งสองคนนี้มีสไตล์ที่แตกกต่างกันมากครับ




เหมือนต่างกันคนละขั้วเลย ไปเดินกับ Maciej ก็เป็นอีก อย่าง ไปเดินกับ David ก็จะเป็นอีกอย่าง มันส์ดีครับ ซึ่งอาจจะยากตรงการสื่อสารกันบ้างครับ แต่ก็ผ่านไป ได้ด้วยดีครับ เป็นการไปเรียนกับโปรที่เก่งๆและเป็นที่ ยอมรับในระดับโลกเค้าจะวิจารณ์แบบตรงไปตรงมา ไม่มีการมาอวยกันเองหรือติแบบมีอคติใดๆ เพราะ เวลาเราถ่ายเองดูเองมันก็ดีหมดมันไม่ใครมาบอกอัน ไหนดี อันไหนไม่ดี และเราจะไม่รู้ข้อดีข้อเสียของงาน เราเลย ซึ่งมันดีมากๆส�ำหรับเราที่จะเอาไปพัฒนางาน ต่อไม่ใช่แค่แนว Street Photography อย่างเดียวครับ คิดว่าการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในภาพ หรือท�ำให้ คนถูกถ่ายรู้ตัวเป็น Street Photography อย่างเช่น Bruce Gilden หรือไม่ การถ่าย Street ต้องท�ำตัว ล่องหนอย่าง Cartier-Bresson ว่าไว้หรือไม่ คิดเห็นใน เรื่องนี้อย่างไร ตอบยากครับ เพราะมันก็แล้วแต่สไตล์ของช่าง ภาพแต่ละคน แล้วแต่ไอเดีย แล้วแต่วิธีการได้ภาพร่วม ถึงรสนิยมความชอบของช่างภาพแต่ละคนที่แตกต่าง กันออกไปครับ อีกทั้งลักษณะนิสัยของช่างภาพแต่ละ คนก็มีส่วนครับมันจะสื่อออกมาจากงานเองครับ ไม่มี อะไรเป็นข้อจ�ำกัดครับ ส่วนจะเป็นภาพที่ดีหรือไม่ก็อยู่ ที่ภาพนั้นอีกทีว่ามันจะออกมาแข็งแรงแค่ไหนครับ




Self-Portrait อย่าง Vivian Maier ถือเป็น Street Photography หรือไม่ อาจจะเป็นมั้งครับ ใครๆเค้าบอกว่าเป็น เอาเป็นว่าส่วนตัวผมชอบนะครับ เพราะผมก็ท�ำ บ่อยๆเวลาไปเจอเงาสะท้อนสวยๆ ถ่ายเก็บไว้ดู เล่นๆ เฉย เผื่อเอาเป็นรูปโปรไฟล์ ไม่ได้เอามา เก็ บ เป็ น พอร์ ท งานอะไรเพราะมั น ดู ตั้ ง ใจไป หน่อยครับ มันดูง่ายไป ซึ่งผมว่าใครๆก็ถ่ายได้ แม้แต่คนที่ไม่รู้จัก Street Photography เพราะ ผมเห็นบ่อยๆ จากเพื่อนๆในเฟสบุคเวลาไปเข้า ห้องน�้ำในผับแล้วถ่ายรูป Self-Portrait ผ่าน กระจกห้องน�้ำ ก็โพสเช็คอินกันครับ นอกจากว่า ในภาพมีองค์ประกอบอื่นที่มันจะ twist พลิก แพลงแล้วท�ำให้ภาพมันดูซับซ้อนขึ้นเจ๋งขึ้นมา ครับ อยากถ่าย Street Photography ต่อไป เรื่อยๆหรือไม่ มีแผนที่จะเปลี่ยนไปถ่ายแนวอื่น หรือเปล่า ตอนนี้ยังสนุกกับ Street Photography ก็ ยังฝึกถ่ายต่อไปเรื่อยๆ ค่อยๆเป็น ค่อยๆไป ไม่รีบ ไม่แข่งกับใครครับ ทดลองอะไรใหม่ๆ เพิ่มระดับ การถ่ายให้มันดูยากขั้น ดูซับซ้อนขึ้น แล้วก็ค่อยๆ เก็บรูปไปเรื่อยๆ เพื่อเอาไปท�ำโปรเจคอนาคต ครับ ถ้ามีคนมาบอกว่า Street Photography ไม่ใช่ศิลปะการถ่ายภาพที่แท้จริง เป็นแค่เทรนด์ หนึ่งๆ จะบอกกับเขาอย่างไร ไม่มีครับ จริงๆมันก็อาจจะเป็นเทรนด์อย่าง

ที่เขาว่าก็ได้นะครับ แล้วแต่จะคิดกันเลยครับ เพราะเราไม่สามารถไปยุ่งกับความคิดของเค้าให้ มาคิดแบบเราได้ครับ อยู่ที่จะเปิดใจมองกันมาก แค่ไหนครับ เราก็แค่มีหน้าที่ท�ำงานผลของเราให้ดี ที่สุดครับแค่นั้นเองครับ แนวคิดเบื้องต้นในการที่จะถ่ายภาพ Street Photography ส�ำหรับมือใหม่คืออะไร (ประมาณ ว่ารากฐานความคิด (Fundamental) ท�ำนองนั้น) หัวใจหลักก็น่าจะเป็น decisive moment, juxtaposition เอาจริงๆ Street Photography มัน ค่อนข้างกว้างและหลากหลายครับ ส�ำหรับผม ตอนนี้ คิ ด ว่ า มั น มี อ งค์ ป ระกอบส� ำ คั ญ คื อ แบบดู แล้วต้องมีการตั้งค�ำถาม น่าค้นหา ชวนงง ตกใจ หรือตลก เป็นต้น คือเป็นการถ่ายภาพแบบตรงไป ตรงมา ถ่ายสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นจริงๆโดย ปราศจากการจัดฉาก หรือเตรียมกับ subject หาความเชื่อมโยง จัดเฟรมดีๆ และมันต้องมีการ Twist พลิกแพลง ไม่ธรรมดา ดูซับซ้อน มากกว่า แค่เล่นมุขตลกเฉยๆ ถ่ายอะไรดาดๆ หรือเดิน เข้าไปยิงแฟลชวัดดวงแบบดาดๆ โดยปราศจาก ความคิดสร้างสรรค์ หรือแค่รูปวิถีการด�ำเดินชีวิต ประจ�ำวันธรรมดาทั่วไปที่ใครๆมีกล้องก็ถ่ายได้ และไม่ใช่ภาพขอทาน หรือ homeless ที่เอามาเล่า เรื่องที่มีค�ำบรรยายหรือบทกวีประกอบภาพให้ยืด ยาวแบบว่าเล่าถึง เหงา เศร้า โดดเดี่ยวพ่อตายไม่ ต้องมีครับ ควรศึกษาแนวทางจากผลงานสตรีทที่ ดีๆ ให้ดูแบบใช้ความเข้าใจ แต่อย่าไปถ่าย copy


ให้เหมือนเค้าครับ และจะให้ดีมีโอกาสควรไป workshop จากช่างภาพสตรีทระดับโลก เปิดใจรับ ฟังค�ำวิจารณ์แบบตรงไป ตรงมา จะท�ำให้งานเราดี ขึ้นครับ อยากให้กล่าวถึงการถ่ายภาพ Street ที่มี ผลกระทบต่ อ การถ่ า ยภาพยุ ค ใหม่ ใ นเมื อ งไทย ตอนนี้ เหมือนเพลงที่ก�ำลังเริ่มฮิตครับ เป็นเหมือน ดนตรีทางเลือกที่ไม่ได้ตามกระแสหลักครับ ก�ำลัง มีคนให้ความสนใจเยอะขึ้น คงเป็นกระแสใหม่ๆที่ ค่อยๆเติบโตขึ้นในเมืองไทย

การที่ช่างภาพ Street คนไทยหลายต่อหลายคน ก้าวไปถึงระดับนานาชาติ ได้สะท้อนอะไรต่อการถ่าย ภาพเมืองไทย คงมีคนประหลาดเพิ่มเยอะขึ้นครับ คนไทยเก่งๆ เยอะครับ วันหนึ่งเราคงได้เห็นผลงานคนไทยในระดับ นานาชาติมากขึ้นครับ ฝากอะไรต่อคนอ่านมาจนถึงย่อหน้านี้หน่อยครับ ขอบคุณครับ / หิวข้าวมั้ยครับ ถ้าหิวก็ไปกินสิครับ รออะไร!



EDITOR PICKS


Kob Obob



Chu Viet Ha


Nuthakorn Chienprapa


Kob Obob


Kob Obob


Fha Peungfha


ลูกเต๋าา เต๋า


Kob Obob



Jittipona Kongprakaiwuth


Supornchai Ratanamethanon


Kanrapee Chokpaiboon




Pakornkarn Tayansin


Nic Hughes


Gurunathan Ramakrishnan


Arjsuk Jantamas


Carlos Dominguez


Poon Nuttapol




Nuttachai Phatanon


Artyt Lerdrakmongkol


Poupay Jutharat


Amarit Suwannagate


Chanipa Temprom



Aniruddha Guha Sarkar


Jayarop Piyapramote


Chu Viet Ha


Pradubkiat Bouklee


Pippo Love



Sawin Tantanawat


TOP 10 PINS of

2015

Selected by Street Photo Thailand


Arjsuk Jantamas


Artyt Lerdrakmongkol



Nattawoot Kurtumm Peanpunyaruk



Songkan Amornwong



Noppadol Maitreechit




Poupay Jutharat


Supornchai Ratanamethanon



Artyt Lerdrakmongkol




Saptawee Puthom


Kob Obob



Celebration THE SERIES

Jadsada InAek



Tavepong Pratoomwong



Krerkburin Kerngburi



Sakulchai Sikitikul



Akkara Naktamna



Chatchai Boonyaprapatsara



Naruepol Nikomrat



Visit Kulsiri



Pongsathorn Leelaprachakul



Artyt Lerdrakmongkol


SUBMISSION Post your photos on facebook.com/groups/streetphotothailand If they are cool, we’ll feature them in this e-magazine.


WWW.STREETPHOTOTHAILAND.COM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.