Politics of Franco-Siamese Maps 1904-1908

Page 1

แผนที่คดีเมือง แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส พ.ศ. 2446/47 (ค.ศ. 1904) และ พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) Politics of Franco-Siamese Maps 1904-1908 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อัครพงษ์ ค่ำ�คูณ

แผนทีท่ เี่ ป็นปัญหา และเป็นข้อถกเถียงในเรือ่ งของความเมือง ระหว่างไทยกับกัมพูชานัน้ เป็นแผนทีซ่ งึ่ ใช้ก�ำ หนดเส้น เขตแดน (boundary) ซึ่งมีที่มาจากแผนที่แบ่งเขตแดนระหว่างสยาม กับอินโดจีนของฝรั่งเศส ผลงานของ “คณะกรรมการ เขตแดนผสมอินโดจีนและสยาม (COMMISSION DE DELIMITATION ENTRE L’ INDO-CHINE ET LE SIAM)” แผนที่ชุดนี้จัดทำ�ขึ้นตามอนุสัญญาฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446/47 (ค.ศ. 1904) จำ�นวนทั้งสิ้น 11 ระวาง โดยมีประธานร่วมสองท่าน คือ พลตรี หม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธานฝ่ายสยาม และมี พันเอก แบร์นาร์ด เป็นประธาน ฝ่ายฝรั่งเศส ในเอกสารราชการ เลขที่ 89/525 ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) ระบุวา่ หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร อัครราชทูตสยามประจำ�ฝรั่งเศส ได้แจ้งให้สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ “ในเรื่องที่ คณะกรรมการการปักปันเขตแดนผสม ตามคำ�ร้องขอของกรรมการฝ่ายสยาม ให้กรรมการฝ่ายฝรั่งเศส ช่วยจัดทำ�แผนที่ ในเขตแดนต่างๆ ขึ้นนั้น บัดนี้ คณะกรรมการฝ่ายฝรั่งเศส ได้ปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว” โดยระบุรายชื่อแผนที่ ทั้ง 11 ได้แก่แผนที่ส่วนเหนือ (Map for the north region) จำ�นวน 5 ระวาง คือ 1. map of Maekhop and Chianglom 2. map of rivers in the north 3. map of Muang Nan 4. map of Paklai 5. map of Huang River ซึ่งก็คือ เส้นกำ�หนดเขตแดนของสยามกับลาวของฝรั่งเศส และแผนที่ส่วนใต้ (Map for the south region) จำ�นวน 6 ระวาง คือ 6. map of Pasak 7. map of Mekong 8. map of Dangrek 9. m ap of Phnom Kulen 10. Lake และ 11. Muang Trat ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างสยาม กับกัมพูชาของฝรั่งเศส แผนที่ทั้งหมดนี้สถานทูตสยามในกรุงปารีส ได้รับมา ระวางละ 50 ชุด อัครราชทูตลงท้ายเอกสารนัน้ ว่า ได้เก็บแผนทีน่ ไี้ ว้ทสี่ ถานอัครราชทูตทีป่ ารีส อย่างละ 2 ชุด และจะได้สง่ แผนทีอ่ ย่าง ละชุดไปยังสถานอัครราชทูตของสยาม ณ กรุงลอนดอน กรุงเบอร์ลิน ประเทศรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา และที่เหลือส่งกลับ มายังกระทรวงการต่างประเทศ ระวางละ 44 แผ่น รวมทั้งสิ้น 484 แผ่น แผนที่ชุดนี้พิมพ์โดย H. BARRÈRE, Editeur 402

ภาค 2: แผนที่คดีเมือง แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสฯ


เอกสารราชการ เลขที่ 89/525 ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร อัครราชทูต สยามประจำ�ฝรั่งเศส มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ในเรื่องที่คณะกรรมการการปักปันเขตแดนผสมตามคำ�ร้องขอของกรรมการฝ่ายสยาม ให้กรรมการฝ่ายฝรั่งเศสช่วยจัดทำ�แผนที่ในเขตแดนต่างๆ ขึ้นนั้น บัดนี้ คณะกรรมการฝ่ายฝรั่งเศสได้ปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อย แล้ว” จึงได้ส่งมอบให้ สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ โดยระบุรายชื่อแผนที่ทั้ง 11 แผ่น รวม ทั้งแผนที่บริเวณทิวเขาดงรักด้วยในจำ�นวนอย่างละ 50 ชุด อัครราชทูตลงท้ายว่า ได้เก็บแผนที่ไว้ที่สถานอัครราชทูตฝรั่งเศสอย่าง ละ 2 ชุด และจะได้ส่งแผนที่อย่างละชุดไปยังสถานอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน กรุงเบอร์ลิน ประเทศรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา (จาก Case Concerning the Temple of Preah Vihear vol. I, 1962 ICJ Pleadings, Oral Argument’s Document ANNEXES TO COUNTER-MEMORIAL (NO.14), page 335.)

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และอัครพงษ์ ค่ำ�คูณ 403


โปรดสังเกตว่า แผนที่ 11 ระวางชุดนี้ เป็น “การกำ�หนดเขตแดน (delimitation)” แต่ยังไม่มีการ “ปักหลักเขตแดน” ในภูมิประเทศจริงแต่อย่างใด ต่อมา เมื่อฝรั่งเศสต้องการดินแดนของกัมพูชา ที่อยู่ใต้อำ�นาจของสยามอีก 3 เมือง คือ พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ จึงตกลงทำ�หนังสือสัญญากับสยามอีกครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนดินแดนเมืองด่านซ้าย (จังหวัดเลย) เมืองตราด และเกาะทั้งหลายรวมทั้งเกาะกูด (ที่ฝรั่งเศสยึดครองเอาไว้ คืนให้แก่ฝ่ายสยาม) โดยตกลงทำ�สนธิสัญญาฉบับใหม่ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449/50 (ค.ศ. 1907) เมือ่ เป็นเช่นนี้ ทัง้ สองฝ่ายจึงกำ�หนดให้มกี ารตัง้ คณะกรรมการผสมชุดใหม่ ในนาม “คณะ กรรมการปักปันเขตแดนผสมอินโดจีนและสยาม (COMMISSION DE DELIMITATION DE LA FRONTIERE ENTRE L’INDO-CHINE ET LE SIAM)” โดยมีประธานร่วมสองคน คือ พลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช ฝ่ายสยาม และ พันตรี กีชาร์ด มองต์แกรส์ ฝ่ายฝรั่งเศส ต่อมามีการจัดพิมพ์แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ของดินแดนที่ถูกกำ�หนดขึ้นใหม่ จำ�นวน 5 ระวาง มีผลทำ�ให้ แผนที่เดิมจำ�นวน 3 ระวางสุดท้ายของคณะกรรมการผสมชุดแรก ได้แก่ Phnom Kulen, Lake และ Muang Trat ถูก ยกเลิกไป ส่วนแผนที่ของคณะกรรมการผสมชุดที่สองที่ท�ำ ขึ้นใหม่ จำ�นวน 5 ระวาง ปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) นี้ ครอบคลุม เส้นเขตแดนในพื้นที่จังหวัดตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ และสุรินทร์ โปรดสังเกตว่า ตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 1 ไปตาม ทิศตะวันออกของเทือกเขาพนมดงรัก ในพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ไม่ได้มีการทำ�เครื่องหมายปักหลัก เขตแดนไว้ในภูมปิ ระเทศจริง ทัง้ นีเ้ พราะ ไม่ได้มกี ารเปลีย่ นแปลงเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ตามอนุสญ ั ญาวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446/47 (ค.ศ. 1904) และสนธิสัญญาวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449/50 (ค.ศ. 1907) ดังนั้น จึงยึดถือ เอาเส้นเขตแดนตามแผนที่ของคณะกรรมการผสมชุดแรก ซึ่งก็คือ ระวาง DANGREK (ดงรัก) และ KHONG (หรือ map of Mekong) ตามเดิม [แผนที่ Dangrak หรือ “ดงรัก” นี้ คือแผนที่ที่ฝ่ายกัมพูชาใช้ในการฟ้องร้องคดีต่อศาลโลก และชนะคะแนน 9 : 3 ได้ปราสาทเขาพระวิหารไปเมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) นั่นเอง] ในการดำ�เนินงานของ คณะกรรมการผสมชุดที่สองสำ�หรับแผนที่ 5 แผ่น ที่ทำ�ขึ้นภายหลัง นี้เอง ที่มีขั้นตอน “การ ปักปันเขตแดน (demarcation)” โดยเดินทางไปลงมือดำ�เนินการ “ปักหลักเขตแดน” หรือ ทำ�เครื่องหมายหลักเขตแดนใน ภูมิประเทศจริงร่วมกัน แล้วจึงจัดสร้างสัญลักษณ์เพื่อระบุแนวเขตแดนให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น การสลักเครื่องหมายไว้บน ต้นไม้ใหญ่ การจัดสร้างหลักเขตแดน เป็นต้น การปักปันเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับกัมพูชาของฝรัง่ เศสในช่วงนี้ ได้ด�ำ เนิน การระหว่างปี พ.ศ. 2451-52 (ค.ศ. 1908-09) ซึ่งตรงกับ 3 ปีสดุ ท้ายของรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ที่สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) โดยเริ่มต้นจากหลักเขตแดนที่ 1 ช่องเกลหรือช่องสะงำ� พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวเทือก เขาพนมดงรัก และเรื่อยไปตามแนวเทือกเขาบรรทัด ลงไปทางทิศใต้ จนกระทั่งสิ้นสุดลงที่หลัก 73 ณ บริเวณพื้นที่รอยต่อ ระหว่าง บ้านหาดเล็ก อำ�เภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด กับบ้านจามเยียม จังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา โดยตลอดแนว เส้นเขตแดนนี้ มีคณะกรรมการผสมของทั้งสองชาติเพื่อไปร่วมกันจัดทำ� “เครื่องหมายเขตร์แดน” หรือ “ได้บากต้นไม้” ไว้ รวมทั้งสิ้น 75 หลัก เป็นหลักใหญ่ 73 หลัก และหลักย่อย 2 หลัก โดยมีเอกสาร “บันทึกวาจา (procès-verbaux)” และ “แผนผังภูมิประเทศสังเขป (Planches d’Indications Topographiques)” แนบท้าย เพื่อแสดงตำ�แหน่งของเครื่องหมาย แสดงหลักเขตแดนไว้ด้วย และอีก 10 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เครื่องหมายที่ใช้ระบุเส้นเขตแดนเกิด ชำ�รุดเสียหายเป็นจำ�นวนมาก ทั้งสองฝ่าย คือฝรั่งเศสและสยาม จึงได้จัดสร้างหลักเขตแดนใหม่ ณ ตำ�แหน่งที่เหมาะสม โดยเปลี่ยนจาก “หลักหมายเขตร์แดน” บนต้นไม้ “เปลี่ยนเป็นหลักถาวร (คอนกรีต)” โดย “คงยึดตามแนวเขตร์แดนเดิม” ที่ทำ�ไว้เมื่อ พ.ศ. 2451-52 (ค.ศ. 1908-09) กล่าวโดยย่อ เป็นอันว่าเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส ก็ตกลงกันได้ในสมัยของรัฐบาลสยาม ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ของรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 แต่เราก็จะเห็นว่าเส้นเขตแดนดังกล่าว ทั้งทางด้านลาวและด้าน กัมพูชานั้น จะกลายเป็นปัญหาต่อเนื่องมาอีกยาวนาน ก็นับแต่ทศวรรษ 2470 และ 2480 เป็นต้นมา เมื่อเกิดแนวความคิด “ลัทธิชาตินิยม” และวาทกรรม “การเสียดินแดน” ซึ่งทำ�ให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสมัย “สงครามอินโดจีน” ระหว่าง ประเทศไทย (ที่เพิ่งเปลี่ยนนามมาจาก “สยาม”) กับฝรั่งเศสในสมัยรัฐบาลชุดแรกของนายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม (ยศ Géographe.21 Rue du Bac, PARIS

404

ภาค 2: แผนที่คดีเมือง แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสฯ


และบรรดาศักดิ์เดิมของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ในปี พ.ศ. 2483-84 (ค.ศ. 1940-41) ซึ่งรัฐบาลไทย ได้เข้าครอบครอง “ดินแดน” เสียมราฐ-พระตะบอง-ศรีโสภณ-จัมปาสัก-ไซยะบูลี” (รวมทั้งปราสาทวัดพู และปราสาทเขาพระวิหาร) อยู่ชั่ว ระยะเวลาหนึ่ง และในท้ายที่สุด ในคดีฟ้องร้องเรื่อง “ปราสาทเขาพระวิหาร” ในสมัยของรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับ กัมพูชาสมัยของนโรดมสีหนุ เมือ่ พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ทีย่ งั คงไม่ยตุ ิ มาจนกระทัง่ การทีร่ ฐั บาลกัมพูชา สมัยสมเด็จฮุนเซ็น นำ�เรื่อง “ดินแดน” ดังกล่าวกลับไปให้ “ศาลโลก” ณ กรุงเฮก ตีความใหม่ในปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และอัครพงษ์ ค่ำ�คูณ 405


พลตรี หม่อมชาติเดชอุดม ประธานฝ่ายสยามใน “คณะกรรมการเขตแดนผสมอินโดจีนและสยาม (COMMISSION DE DELIMITATION ENTRE L’ INDO-CHINE ET LE SIAM)” ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามสัญญาฉบับปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ต่อมาคือ มหาอำ�มาตย์เอก พลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ หรือ หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์ (นามเดิม หม่อมราชวงศ์กลาง) เป็นบุตรของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ศศิสมิต) เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เป็นบิดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร พระราชชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมือ่ เติบใหญ่ได้รบั พระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ให้ไปศึกษาวิชาทหารบกทีเ่ ดนมาร์ก และได้เป็นผูบ้ งั คับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมือ่ พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899) ได้รบั พระราชทานสัญญาบัตรเป็น “หม่อมชาติเดชอุดม” เป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหาร ต่อมาเมือ่ พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ (กระทรวงคมนาคม) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นองคมนตรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรพาณิชยการ โดยรวมกระทรวงเกษตราธิการ กับกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม เป็นกระทรวงเดียวกัน เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ด้วยไข้มาลาเรีย เบาหวาน และ โรคหัวใจ ศิริอายุรวม 74 ปี

406

ภาค 2: แผนที่คดีเมือง แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสฯ


พลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช ประธานฝ่ายสยามใน “คณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมอินโดจีนและสยาม (COMMISSION DE DELIMITATION DE LA FRONTIERE ENTRE L’INDO-CHINE ET LE SIAM)” ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามสนธิสัญญา ฉบับปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 1907) หรือ พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช หรือพระนามเดิมคือ หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร เป็นพระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ และ หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) ทรงสำ�เร็จการศึกษาวิชาทหารจากเยอรมนี และทรงเสกสมรสกับ เจ้า หญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่ ธิดาของเจ้าเทพดำ�รงรักษาเขตกับเจ้าแม่พิมพา พระขนิษฐาของเจ้าอินทวิชยานนท์ จากนั้นทรงรับตำ�แหน่ง เอกอัครราชทูตสยามประจำ�กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2445-2448 (ค.ศ. 1902-1905) ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุปราช มณฑลพายัพ เมื่อ พ.ศ. 2458-2462 (ค.ศ. 1915-1919) และดำ�รงตำ�แหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) และทรงลาออกจากตำ�แหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในปลายปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) เมือ่ มีการเปลีย่ นแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) จึงเป็นผูน้ �ำ คณะนายทหารเพือ่ ยึดอำ�นาจรัฐบาลคณะราษฎร หรือ ที่รู้จักกันในนาม “กบฏบวรเดช” เมื่อ พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) แต่เมื่อก่อการไม่สำ�เร็จ จึงทรงลี้ภัยทางการเมืองไปที่ ไซ่ง่อน ประเทศ เวียดนาม จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงย้ายไปประทับที่ประเทศกัมพูชา และเสด็จกลับประเทศไทยพร้อม เมื่อ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) และทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) สิริพระชันษารวม 76 พรรษา

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และอัครพงษ์ ค่ำ�คูณ 407


408

ภาค 2: แผนที่คดีเมือง แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสฯ


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และอัครพงษ์ ค่ำ�คูณ 409


410

ภาค 2: แผนที่คดีเมือง แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสฯ


แผนที่กำ�หนด “เขตปลอดทหารชั่วคราว” (provisional demilitarized zone) ที่ศาลโลก ณ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ กำ�หนด ขึ้นเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) หมายเหตุ: จากการที่รัฐบาลกัมพูชาของสมเด็จฮุนเซ็น ได้นำ�ปัญหาเรื่องเขตแดน และดินแดน ที่เกี่ยวเนื่องกับบริเวณปราสาทเขาพระ วิหาร ให้ศาลโลก ณ กรุงเฮก ตีความคำ�พิพากษา 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ใหม่อีกครั้งหนึ่งนั้น เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ศาลโลกมีมติชั่วคราว ดังนี้ คือ (1) โดยคะแนนเสียง 11:5 ให้ทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชา ถอนทหารออกจากพื้นที่ปลอดทหารชั่วคราวโดยทันที (2) โดยคะแนนเสียง 15:1 ห้ามมิให้ฝ่ายไทยขัดขวางกัมพูชา ในการเข้าออกพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร (3) ให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันในกรอบอาเซียน โดยอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์ คือ อินโดนีเซีย เข้าไปดำ�เนินการในพื้นที่ ดังกล่าวได้ (4) ให้ทั้งสองฝ่าย งดเว้นจากการทำ�การใดๆ ที่อาจทำ�ให้ข้อพิพาทเลวร้ายลง

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และอัครพงษ์ ค่ำ�คูณ 411


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.