Map of Siam: Thonburi Period 1773-1779

Page 1

แผนที่ “สยามประเทศไทย” สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2316-2322

Maps of Siam: Thonburi Period A.D. 1773-1779


(16) แผนที่ “ราชอาณาจักรสยาม-ตังเกี๋ย-พะโค-อังวะ-อารกัน” โดย ฌาค นิโคลาส์ เบลเลง พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) Carte des Royaumes de Siam de Tunquin Pegu, Ava Aracan. &c แผนที่ Carte des Royaumes de Siam de Tunquin Pegu, Ava Aracan. &c (ขนาด 275 x 272 มม.) โดย ฌาค นิโคลาส์ เบลเลง นักแผนที่ชาวฝรั่งเศส จากสมุดแผนที่ Atlas Portatif pour servir à l’intelligence de l’Histoire philosophique et politique... พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) ตรงกับปี ที่ 6 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตากสินมหาราช พ.ศ. 2310-2325 (ค.ศ. 1767-1782) แม้จะใช้ชื่อเดียวกัน แต่แผนที่แผ่นนี้ใช้คนละแม่พิมพ์กับฉบับที่พิมพ์ขึ้นในสมัยปลายอยุธยา หรือ 9 ปีก่อนหน้านี้ (หมายเลข 15) แผนทีโ่ ดยเบลเลงเป็นทีน่ ยิ มแพร่หลายมากในยุโรปช่วงกลางถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 (ต้นพุทธศตวรรษ ที่ 24) มีการพิมพ์เผยแพร่เป็นภาษาต่างๆ เช่น เยอรมัน (พ.ศ. 2295/ค.ศ. 1752) ดัตช์ (พ.ศ. 2298/ค.ศ. 1755 และ พ.ศ. 2316/ค.ศ. 1773) อิตาลี (พ.ศ. 2325/ค.ศ. 1782) และ เดนมาร์ก (ราว พ.ศ. 2336/ค.ศ. 1793) แผนที่แผ่นนี้พิมพ์ขึ้นเพื่อ จำ�หน่ายแก่ชาวฮอลันดา ผู้จัดพิมพ์จึงได้เพิ่มชื่อแผนที่ภาษาดัตช์ที่ด้านล่างของแผนที่ (นอกเหนือจากชื่อภาษาฝรั่งเศสใน กรอบจารึก) กล่าวโดยย่อ แผนที่แผ่นนี้เป็นแผนที่ฝรั่งแผ่นแรกที่พิมพ์ในสมัยที่ตรงกับกรุงธนบุรี แต่นักแผนที่ชาวยุโรปก็ ถือว่านามเมืองหลวงของสยาม ก็ยังคงเป็น “Siam” อยู่ ซึ่งจะตีความว่าหมายถึง “กรุงศรีอยุธยา” หรือ “กรุงเก่า” ก็ได้ แต่ “Siam” ที่ใช้ให้มีความหมายว่าเป็นเมืองหลวงนั้น แม้จะย้ายมาอยู่กรุงธนบุรีแล้วก็ตาม แต่เอกสารราชการสมัยนั้น ก็ยังใช้ คำ�ว่า “อยุธยา” อยู่เช่นกัน ดังนั้น แม้ราชธานีหรือเมืองหลวงจะย้ายมากรุงธนบุรี หรือกรุงรัตนโกสินทร์แล้วก็ตาม เอกสารของทางราชการก็ ยังคงใช้คำ�ว่า “อยุธยา” เป็นเมืองหลวงอยู่อีกทั้งในสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช และสมัยรัชกาลที่ 1-2-3 แห่งราชวงศ์ จักรี จะมาแยกแยะให้เห็นชัดเจนก็ต่อเมื่อถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 นั่นเอง

94

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2316-2322


แผนที่ราชอาณาจักรสยาม-ตังเกี๋ย-พะโค-อังวะ-อารกัน โดย ฌาค นิโคลาส์ เบลเลง พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773)

Royaumes de Siam de Tunquin Pegu, Ava Aracan. &c) (ธวช)

(Carte des

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 95


96

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2316-2322


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 97


98

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2316-2322


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธวัชชัย ตั้งศิริวานิช 99


(17) แผนที่ “คาบสมุทรอินเดียนอกลุ่มน้ำ�คงคา” โดย อากอสติโน ดา ราบาตตา และ จิโอวานนี เดอ บายู พ.ศ. 2322 (ค.ศ. 1779) Penisola di la dal Gange ante. India ultra Gangem di diversi Rè แผนที่ Penisola di la dal Gange ante. India ultra Gangem di diversi Rè. (ขนาด 60 x 55 มม.) โดย อากอ สติโน ดา ราบาตตา (Agostino da Rabatta) และ จิโอวานนี เดอ บายู (Giovanni de Baillou) นักแผนที่ชาวอิตาลี จาก สมุดแผนที่ Nouvo atlante generale metodico et elementare tascabile พิมพ์ครั้งแรกที่กรุงฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี พ.ศ. 2322 (ค.ศ. 1779) ตรงกับปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตากสินมหาราช พ.ศ. 2310-25 (ค.ศ. 1767-82) นี่เป็นแผนที่สยามแผ่นเดียว (เท่าที่ค้นพบ) ที่เขียนขึ้นใหม่ และตรงกับสมัยกรุงธนบุรี แต่ยังอาศัยข้อมูลเก่าโดย นักแผนที่เข้าใจว่ากรุงศรีอยุธยา (Iudia) เป็นราชธานีของสยาม (ด้วยเหตุผลเดียวกันกับที่บรรยายไว้ในหมายเลข 16) ด้าน ล่างของแผนที่คือตารางรายชื่อราชอาณาจักรและราชธานีสำ�คัญในแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์ แผนที่นี้มีขนาดเล็กมาก ตีพิมพ์ไว้ในสำ�รับไพ่ “มินชิอาเต” (Minchiate) ที่ใช้เล่นกันในอิตาลีภาคเหนือสมัยนั้น ปัจจุบันกลายเป็นของที่นักเล่นของเก่า เสาะแสวงหากันในราคาที่สูงพอสมควร โปรดสังเกตรายชื่ออาณาจักรต่างๆ และ ชื่อของเมืองหลวง เช่น Siam มี Iudia (อยุธยา) ส่วน Cambodia มี Lewek (ละแวก) หรือ Laos มี Lantcham (ล้าน ช้าง) ฯลฯ ชื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสยามบนแผนที่คือ ภูเก็ต (I. Junkselon) ลิกอร์ หรือ นครศรีธรรมราช (Ligor) แม่น้ำ� เจ้าพระยา (Menam F.) และ อ่าวสยาม (Golfo di Siam) ส่วนในตารางด้านล่างก็ปรากฏชื่อของปัตตานี (Patana) และ ประเทศราชอื่นๆ ที่เคยขึ้นต่อสยาม

100

ภาค 1: แผนที่สยามประเทศไทย สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2316-2322


แผนที่คาบสมุทรอินเดียนอกลุ่มน้ำ�คงคา โดย อากอสติโน ดา ราบาตตา และ จิโอวานนี เดอ บายู พ.ศ. 2322 (ค.ศ. 1779) (Penisola di la dal Gange ante. India ultra Gangem di diversi Rè) (ธวช)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.