จดหมายเหตุเรื่องแผนที่ “สยาม” หรือ From Siam to Burma Map “แผนที่เส้นทางเดินทัพจากกรุงธนบุรีถึงกรุงอังวะ” ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตากสินมหาราช Sino-Thai Map from Bangkok-Thonburi to Ava-Burma (1) วันนั้นเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) ภายหลังเหตุการณ์ สงกรานต์เลือดŽ ใน กทม. เพียงไม่กี่วัน ผมไป กู้กงŽ ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวันมา จุดประสงค์คือเพื่อไปขอดูแผนที่ สยามเมืองไทยŽ หรือ กรุงไทยŽ สมัยสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรี ตากสินมหาราช จำ�นวน 3 แผ่น และก็ได้ดูสมใจ แม้จะแสนขลุกขลัก เต็มไปด้วยพิธีรีตองและระเบียบรัฐการ ตามธรรมชาติŽ ของบรรดาบรรณารักษ์ห้องสมุด และนักจดหมายเหตุทั้งหลายทั้งปวงก็ตาม อันว่า กู้กงŽ นั้น เป็นภาษาจีนแปลว่า วังเดิมŽ เหมือนๆ กับ กู้กงŽ ณ จัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน นั่นเอง แต่ กู้กงŽ ณ กรุงไทเปเป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ เป็นหอสมุด และเป็นหอจดหมายเหตุ ที่ได้ขนสมบัติโบราณและเอกสารเก่า ทั้งหมดจากพระราชวังกรุงปักกิ่ง ข้ามน้ำ�ข้ามทะเลเอามาเก็บไว้ที่กรุงไทเป พูดง่ายๆ คือ ประธานาธิบดีเจียงไคเช็ค ขนสมบัติ หนีท่านประธานเหมาเจ๋อตุงมาเมื่อคอมมิวนิสต์ พิชิตแผ่นดินจีน ปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) นั่นเอง ว่ากันว่า บรรดาเอกสารและสมบัตเิ ก่าที่ สยามเมืองไทยŽ หรือ กรุงไทยŽ ของเรา ตัง้ แต่สมัยอยุธยา-ธนบุร-ี กรุงเทพฯ นั้น ก็ถูกขนย้ายจากกรุงปักกิ่งมาไว้ที่ กู้กงไทเปŽ เช่นกัน และนี่ก็ทำ�ให้นักวิชาการ มือใหม่Ž แต่ลุ่มลึกอย่างสาววัยกลางคน สัญชาติญี่ปุ่นนาม Erika Masuda ที่จบปริญญาเอกจากโตเกียว ที่รู้ 3 ภาษาอย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ จีน (โบราณ) และไทย (สยาม) ไม่นับรวมภาษาแม่ของเธอ ที่มานั่งทำ�งานเป็นนักวิจัยอยู่ที่สถาบัน Academia Sinica (จีนศึกษา) ณ กรุง ไทเป เสนอว่าผมต้องไปดูให้เห็นกับตา ดร. เอริกา มาสุดะ ได้คน้ คว้าขุดอดีตสยามสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตากสินมหาราช ออกมาเป็นบทความขนาด ยาวเรื่อง The Fall of Ayutthaya and Siam’s Disrupted Order of Tribute to China (1767-82) ตีพิมพ์อยู่ใน Taiwan Journal of Southeast Asian Studies, October 2007 และเธอก็ยงั มีบทความดีๆ อีกหลายบท ทีเ่ กีย ่ วกับประวัตศิ าสตร์สาม เส้าระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ กับรัชกาลที่ 1 และกับจักรพรรดิหรือฮ่องเต้เฉียนหลงแห่งกรุงจีน ตลอด จนคู่แข่งของสยามในเวียดนามใต้ คือ Mac Thien Tu หรือ Mac Cuu (ม่อซื่อหลิน หรือม่อเทียนซื่อ หรือมักเทียนตู หรือ พระยาราชาเศรษฐีเจ้าเมืองฮาเตียนหรือบันทายมาศ นักเผชิญโชคจากกวางตุ้งที่มาได้ดีในอุษาคเนย์ และเล่นเกมการเมือง อันสลับซับซ้อนสี่เส้ากับทั้งจีน-เวียดนาม-กัมพูชา-ไทยสยาม) ดร. เอริกา นี่แหละที่พาผมไป กู้กง ณ ไทเปŽ และเราก็ได้เห็นแผนที่จริง 1 ฉบับ กับแผนที่จำ�ลองอีก 2 ฉบับ เมื่อ ตอนเช้าของวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) เอริกาพร้อมด้วยนักศึกษาสาวสวยปริญญาโท ด้านอุษาคเนย์ศึกษา ของมหาวิทยาลัย National Chi Nan มารับผม เรานั่งรถไปต่อรถใต้ดินอันมีประสิทธิภาพของไทเป ต่อรถเมล์ไปลงหน้า บันไดของ กู้กงŽ มองขึ้นไปเห็นอาคารพิพิธภัณฑ์และหอสมุดตระหง่านตา หลังคาสีเขียว ต่างกับหลังคาสีเหลืองแบบของ ปักกิ่ง อดีตประธานาธิบดีเจียงไคเช็ค คงให้ออกแบบและสี ให้ดูแปลกตาจากจีนแผ่นดินใหญ่ของประธานเหมาเจ๋อตุง ดู กระเดียดไปทำ�นองญี่ปุ่น ที่ไต้หวันถูกอิทธิพลครอบงำ�เป็นอาณานิคมอยู่ถึง 50 ปีก่อนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488)
102
ภาค 1: แผนที่เส้นทางเดินทัพจากกรุงธนบุรีถึงกรุงอังวะ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ
พระราชสาส์นบนแผ่นทองคำ�จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตากสินมหาราช หรือ “เจิ้งเจา”Ž หรือ “เจิ้งสิน”Ž (คำ�ว่า “เจิ้ง” หากออกเสียงตามแต้จิ๋ว ก็คือ “แต้”Ž หรือ “แซ่แต้”Ž นั่นเอง ซึ่งกษัตริย์ไทยสยามใช้เรียกตนเองในพระราชสาส์น ครั้งสมัยธนบุรีและ รัตนโกสินทร์ จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 5) ส่งไปยังฮ่องเต้เฉียนหลง ลงวันที่ซึ่งคำ�นวณออกมาได้ว่า ตรงกับวันที่ 26 จันทรคติ เดือน 5 ซึ่ง ค.ศ. 1781 หรือ พ.ศ. 2324 สำ�หรับบรรณาการ-จิ้มก้องที่ไปกับเรือสำ�เภา 11 ลำ�ของคณะทูตไทยครั้งนั้น นอกจากพระราช สาส์นทองคำ�นี้แล้ว ก็ยังมีช้างพังและพลาย 1 คู่ ไม้หอม ขนนกยูง งาช้าง-นอแรด-ดีบุก-หวาย-พริกไทย-ฝาง (จำ�นวนมาก) การบูร ไม้กฤษณา อบเชย เชื่อได้ว่าบรรณาการ-จิ้มก้องครั้งนี้ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ มีจำ�นวนมากมายมหาศาลอย่างที่ไม่เคยมีมา ก่อน และก็น่าสนใจอีกว่าพระราชสาส์นทองคำ�เช่นนี้ มักจะถูกราชสำ�นักจีนนำ�ไปหลอมใช้ในกิจกรรมอื่นๆ ดังนั้น จึงตกทอดมาถึง ปัจจุบันน้อยมาก นี่เป็นตัวอย่างที่หายากมาก และปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ “กู้กงกรุงไทเป”Ž หรือ National Palace Museum โปรดดู รายละเอียดได้จาก http://www.npm.gov.tw/en/collection/selections_02.htm?docno=244&catno=11
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 103
(2) เรา 3 คนเข้าไปรายงานตัวพร้อมจดหมายทางรัฐการกับบรรณารักษ์ ที่ท่าทางเคร่งขรึมน่าเกรงขาม ผมยื่นพาส ปอร์ตสามัญชนไทยให้ไว้เป็นประกัน แล้วเราก็ถูกนำ�ไปห้องเอกสารสำ�คัญ ที่แสนจะเงียบเหงา บรรยากาศน่าเกรงกลัว มีนัก วิชาการหนุ่มสาว 2-3 คนนั่งดูเอกสารอย่างเงียบๆ และอย่างเคารพนบนอบยำ�เกรง เรา 3 คนนัง่ รอคำ�อนุมตั ิ ว่ามีหนังสือทางการขอมาก่อน แต่กไ็ ด้รบั คำ�บอกเล่าว่าต้องรอและรอ ต้องนัง่ ให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย เคารพนบนอบ นานแสนนาน กว่าจะได้คำ�ตอบว่า พระสุพรรณบัฏ หรือพระราชสาส์นทองคำ�นั้น ไม่อนุญาตให้ ดู (ทั้งๆ ที่ถ่ายรูปเอาขึ้นเว็บของ กู้กงŽ หรือ National Palace Museum (http://www.npm.gov.tw/en/learning/library/
info.htm)
ผมแจ้งว่า ไม่ได้สนใจของสูงขนาดนั้น เพราะในแง่ประวัติศาสตร์แม้จะสำ�คัญ แต่คงมี “น้ำ�”Ž มากกว่า “เนื้อ”Ž ที่ อยากดูมากๆ คือ “แผนที่Ž” ที่มาจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ ส่งไปถวายฮ่องเต้เฉียนหลง
(3) อันว่าฮ่องเต้เฉียนหลงนั้น เป็นจักรพรรดิราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีนก่อนที่จะมีการปฏิวัติเปลี่ยนเป็น สาธารณรัฐในปี ค.ศ. 1911 (พ.ศ. 2454) หรืออีก 111 ปีต่อมา พระองค์ครองราชสมบัติยาวนานมากถึง 60 ปี กับ 124 วัน ระหว่าง พ.ศ. 2278-2339 (8 October 1735 - 9 February 1796) เทียบได้ว่าทรงครองราชย์ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา 32 ปี และอยู่จนถึงปีที่ 14 ในรัชกาลที่ 1 ดังนั้น ราชสำ�นักของไทยสยาม ไม่ว่าจะเป็นสมัยกรุงศรีอยุธยาของพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศ สมัยกรุงธนบุรีของพระเจ้าตากสินฯ และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ของรัชกาลที่ 1 ต่างก็ต้องติดต่อในความสัมพันธ์ เชิงการทูตบรรณาการ-จิ้มก้องŽ กับราชสำ�นักจีนของฮ่องเต้เฉียนหลงทั้งสิ้น สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในขณะที่ทาง “กรุงไทย”Ž มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ “กรุงจีน”Ž การค้า (ข้าว) การค้าโดยเรือสำ�เภา การอพยพโยกย้ายของคนจีนแต้จิ๋ว-กวางตุ้ง-ฮกเกี้ยน หลั่งไหลเข้ามาเป็นจำ�นวนมากอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ เป็นความสัมพันธ์เชิง “สันติภาพŽ” นั้น ความสัมพันธ์ของจีนกับพม่ากลับเลวร้ายและมี “สงคราม”Ž ขนาดใหญ่อยู่ตลอดเวลา และนี่ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำ�ไมฮ่องเต้เฉียนหลง ทรงต้องการ “แผนที่Ž” จากกรุงสยาม และทำ�ไมสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ จึง ส่ง “แผนที่”Ž ไปให้ สงคราม “จีนรบพม่า”Ž ครั้งใหญ่นี้เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2308-13 (ค.ศ. 1765-70) คือระหว่างก่อนเสียกรุงฯ ของ เราเกือบ 2 ปี และมีต่อมาอีกจนถึงหลังเสียกรุงฯ เกือบ 3 ปี สงครามที่จีนบุกจากยูนนานเข้าไปในพม่าครั้งนี้ กองทัพ (พื้น เมือง) จากชายแดนจีนปราชัยต่อ “คนป่าเถื่อนŽ” (พม่า) อย่างย่อยยับ ฮ่องเต้เฉียนหลงต้องส่งกองทัพชั้นนำ�ที่เป็น “ทหาร แมนจู” ของพระองค์ไปช่วย แน่นอนกองทัพแมนจู ไม่ชินกับเขตป่า-อากาศร้อน และโรคระบาดนานาชนิด ทั้งแม่ทัพและ นายทหารแมนจูบาดเจ็บล้มตายมหาศาล ในปลายปี พ.ศ. 2312 (ค.ศ. 1769) แม่ทัพทั้งสองฝ่าย ตกลงสงบศึกกัน และจีนก็ ต้องถอนทหารออกอย่างทุลักทุเล จักรพรรดิเฉียนหลง ต้องวางกองกำ�ลังทหารไว้ตลอดแนวชายแดนยูนนานถึง 10 ปี ออก คำ�สั่งห้ามการค้าชายแดนต่อมาอีกถึง 2 ทศวรรษ พร้อมๆ กับการวางแผนโจมตีใหม่อีกครั้ง และนี่ก็จะทำ�ให้เราเข้าใจได้ดีว่า ทำ�ไมเมื่อพม่าพิชิตอยุธยาได้ในปี พ.ศ. 2310 (ค.ศ. 1767) ถึงต้องรีบถอยทัพส่วนใหญ่กลับประเทศ และทำ�ไมฮ่องเต้เฉียน หลงถึงต้องการ “แผนที่”Ž จากกรุงสยาม และทำ�ไมสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ จึงทรงส่งไปถวายมากกว่า 1 ครั้ง
(4) ขอย้อนกลับมายังเรือ่ งของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรฯี สมัยของพระองค์เป็นสมัยของการกูบ้ า้ นเมืองอยุธยาŽ สถาปนา “สยามประเทศŽ” ณ กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรได้แล้ว ก็ต้องฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่าง “กรุงไทย”Ž กับ “กรุงจีน”Ž ตามระบบ และระเบียบของ “โลกเอเชีย”Ž นั่นคือการส่งคณะทูตบรรณาการไป “จิ้มก้อง”Ž (tributary mission-relationship) อันเป็น “โบราณราชประเพณี”Ž ที่ฮ่องเต้จีนใช้กับทุกๆ ประเทศในเอเชียและในโลกเป็นเวลาประมาณ 2 พันปีเข้าไปแล้ว 104
ภาค 1: แผนที่เส้นทางเดินทัพจากกรุงธนบุรีถึงกรุงอังวะ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ
การสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในรูปแบบของ “การทูตบรรณาการ-จิ้มก้องŽ” นี้ เป็นหลักหมายของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ และนี่ก็เป็นความยากลำ�บากอย่างยิ่งยวด เพราะการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการสิ้นสุดของ “ราชวงศ์บ้านพลูหลวง”Ž “บ้านเมืองแตกแยก” “เป็นก๊กเป็นชุมนุม”Ž ในขณะที่พระเจ้ากรุงธนบุรีฯ ก็สืบมา จาก “สามัญชน”Ž หาใช่เป็น “ผู้ดี” หรือ “เชื้อสายเจ้านาย-ราชวงศ์” “เก่า”Ž ไม่ ทางราชสำ�นักของฮ่องเต้เฉียนหลง ต้องการรักษาไว้ซึ่งระเบียบแบบแผนอันเป็น “สถานะเดิมŽ” หรือ status quo นั่นก็คือ ไม่ต้องการรับรองบุคคลที่ไม่มี “หัวนอนปลายตีน”Ž มาก่อน ดังนั้น แม้ราชสำ�นักใหม่ ณ กรุงธนบุรี จะพยายามส่ง “ทูตบรรณาการ”Ž ไปกรุงจีน ก็หาได้รับการรับรองให้เข้าเฝ้าหรือได้รับพระราชทาน “ตราโลโต”Ž ไม่ (ฮ่องเต้จีนจะพระราชทาน “ตราโลโต”Ž ให้กับกษัตริย์ต่างๆ เพื่อใช้ประทับในพระราชสาส์น สำ�หรับติดต่อกับจีน โลโต หมายถึงอูฐ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของการหมอบ แสดงความจงรักภักดีต่อฮ่องเต้ของจีน) ดังนั้น กว่าราชสำ�นักของพระเจ้ากรุงธนบุรี ตากสินมหาราช จะได้รับการรับรองและได้ตรามา ก็ต้องเพียรพยายาม ส่งแล้วส่งอีก ติดต่อแล้วติดต่ออีก ตลอดรัชสมัย 14 ปี กว่าของพระองค์ สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไปภายหลังปี พ.ศ. 2314 (ค.ศ. 1771) เมื่อดูเหมือนว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ จะสามารถสถาปนาพระราชอำ�นาจ และปราบปรามบรรดา “คู่แข่ง”Ž หรือหัวหน้า “ก๊ก-ชุมนุม”Ž ต่างๆ ได้ แต่กว่าคณะทูตของพระองค์จะไปถึงเมืองจีน ก็ตกปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) เข้าไป แล้ว คณะทูต “บรรณาการ-จิ้มก้องŽ” ชุดนี้ก็คือชุดที่ “นายอ้น”Ž (หรือหลวงนายศักดิ ซึ่งต่อมาคือ “พระยามหานุภาพŽ”) ได้ ร่วมไปด้วย ท่านคือผู้แต่ง “บันทึกความทรงจำ�Ž” ในการไปเยือนเมืองจีนครั้งนั้นใน นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีนŽ หรือ บางทีก็เรียกว่า “นิราศเมืองกวางตุ้ง”Ž
(5) นักวิชาการทั่วไปเชื่อว่า เมื่อคณะทูตชุดนี้กลับมาถึง “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรŽ” การเมืองไทยก็ผลัดแผ่นดิน สิ้น บุญของ “พระเจ้าตากสินมหาราช”Ž และถูก “สำ�เร็จโทษŽ” หรือประหารชีวิตไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม หากเราจะลองอ่านบท สรรเสริญพระบรมเดชานุภาพ หรือ “ประณามพจน์”Ž ตลอดจนข้อมูลของการ “นั่งกรรมฐานŽ” ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ จาก “นิราศเมืองกวางตุ้ง”Ž ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสถานการณ์ยัง “ปกติŽ” ดีอยู่ (เป็นบวกŽ ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ อย่าง น้อยก็ในทัศนะของนายอ้น (หรือ “หลวงนายศักดิŽ” หรือ “พระยามหานุภาพ”Ž) ผู้ประพันธ์และผู้อยู่เห็นเหตุการณ์ร่วมสมัย กระนัน้ ก็ตาม อานิสงส์ทสี่ มเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรฯี ได้ทรงเพียรพยายามสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับ “กรุง จีนŽ” ได้ในปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) นี้ ก็ตกเป็นผลประโยชน์ทั้งทางการทูตและการค้า ให้กับต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ของราชวงศ์จักรี นับเป็นเวลานานถึง 72 ปีต่อมา คือ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 ระหว่าง พ.ศ. 2325-97 (ค.ศ. 1782-1854) มีคณะทูตบรรณาการจาก “กรุงไทยŽ” ไป “กรุงจีน”Ž ถึง 35 ครั้ง หรือประมาณ 2 ปีต่อ 1 ครั้ง อันเป็นอัตรา ที่สูงมากๆ ก่อนที่ระบบทูตบรรณาการนี้จะถูกยกเลิกไปโดยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ทรงส่งทูตบรรณาการไป “จิม้ ก้อง”Ž ชุดสุดท้าย ก่อนการทีส่ ยามจะลงนามในสนธิสญ ั ญาที่ “ไม่เสมอภาค”Ž กับอังกฤษ คือ สนธิสญ ั ญาเบาว์รงิ Bowring Treaty เมื่อ พ.ศ. 2398 (ค.ศ 1855) เพียง 1 ปี
(6) จี. วิลเลียม สกินเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญความสัมพันธ์ไทย-จีน ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ “หัวเลี้ยวหัวต่อ”Ž ตอนนี้ไว้ใน หนังสือ “สังคมจีนในไทย”Ž (แปลโดยพรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคณะ พ.ศ. 2529 และ 2548 หน้า 22) ไว้ดังนี้ “ประวัตศิ าสตร์จนี ได้บนั ทึกเกีย่ วกับคณะทูตบรรณาการจากสยามไปเมืองจีน เมือ่ ค.ศ. 1782 (พ.ศ. 2325) ... ฉะนัน้ คณะทูตจึงน่าจะเป็นคณะทูตของรัชกาลที่ 1 มากทีส่ ดุ ซึง่ ถ้าเป็นไปตามนีก้ แ็ สดง ว่า รัชกาลที่ 1 ทรงส่งคณะทูตไปรายงานจักรพรรดิรวดเร็วอย่างผิดปรกติ คำ�ตอบจึงชาเย็น กษัตริย์ องค์ใหม่จึงได้รับการแนะนำ�มาให้ส่งรายละเอียด แลขอพระราชทานการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 105
ฮ่องเต้เฉียนหลง จักรพรรดิราชวงศ์ชิง ราชวงศ์สุดท้ายของจีนก่อนที่จะมีการปฏิวัติเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐในปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) พระองค์ครองราชสมบัติยาวนานมากถึง 60 ปี กับ 124 วัน ระหว่าง พ.ศ. 2278-2339 (8 October 1735 - 9 February 1796) ทรงสละราชบัลลังก์เพราะไม่ต้องการครองราชย์เกินกว่า 61 ปี เทียบเท่าŽฮ่องเต้องค์ที่เป็นบรรพบุรุษของพระองค์ http://en.wikipedia.org/wiki/Qianlong_Emperor
“ใน ค.ศ. 1784 (พ.ศ. 2327) รัชกาลที่ 1 ทรงส่งคณะทูตบรรณาการไปอีกครั้งหนึ่ง ในครั้ง นี้ ทรงร้องเรียนเป็นการส่วนพระองค์เพื่อสิทธิอำ�นาจและขอโล่ทองแดง 2,000 อันเพื่อใช้ในการต่อสู้ กับพม่า การขอร้องครั้งนี้ (อันได้แก่การซื้อทองนั้น พระราชบัญญัติของราชวงศ์ชิงได้มีข้อห้ามชาวต่าง ประเทศไว้) ทำ�ให้พระเจ้าเฉียนหลง ต้องคิดทบทวน และในปี ค.ศ. 1786 (พ.ศ. 2329) เมื่อรัชกาลที่ 1 ทรงส่งคณะทูตบรรณาการไปอีกคณะหนึ่ง รัชกาลที่ 1 จึงทรงได้รับพระราชทานแต่งตั้ง “น่าประหลาดใจว่า รัชกาลที่ 1 ทรงได้รับพระราชทานพระนามภาษาจีนว่า เจิ้ง หัว และเป็น โอรสของ เจิ้ง เจา (พระเจ้าตากสิน) พระราชบัญญัติของจักรพรรดิจีนเกี่ยวกับสยามเมื่อ ค.ศ. 1786 (พ.ศ. 2329) ระบุว่า “เราเห็นแล้วว่าประมุขของประเทศองค์ปัจจุบัน ได้สืบราชสมบัติต่อจากพระราช บิดา กษัตริย์องค์ปัจจุบันได้ส่งคณะทูตเพื่อมาถวายบรรณาการและความจริงใจของพระองค์ ก็เป็นที่ น่าสรรเสริญ “อาจเป็นไปได้วา่ พระราชสาส์นของรัชกาลที่ 1 นัน้ มีความเท็จอยูก่ ไ็ ด้ หรืออาจเป็นได้วา่ ผูแ้ ปล แปลคำ�ว่า “โอรสŽ” ผิดพลาดมาจากคำ�ว่า “บุตรเขย”Ž ตามทีเ่ จิง้ จือ่ -หนานกล่าวถึงคำ� เจิง้ หัว ว่า ใช้ส�ำ หรับ รัชกาลที่ 1 เมื่อตอนที่เสกสมรสกับพระธิดาของพระเจ้าตากสิน ... อย่างไรก็ตาม มีบันทึกที่ปักกิ่งว่า กษัตริยร์ าชวงศ์จกั รีมพี ระนามว่า เจิง้ ตามพระเจ้าตากสิน ตราบเท่าทีส่ ยามยังคงส่งบรรณาการให้จนี อยู”Ž่ 106
ภาค 1: แผนที่เส้นทางเดินทัพจากกรุงธนบุรีถึงกรุงอังวะ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ
(7) เจ้าพนักงาน “กู้กง”Ž ชายสูงอายุสองคน แต่งตัวทะมัดทะแมง มีผ้าปิดปากและจมูก (คล้ายคนกลัวโรคซาร์หรือไข้ หวัดนก) สวมถุงมือครบครัน เข็นรถที่มีม้วนกระดาษมา 1 ม้วน เราถูกบอกให้สวมทั้งผ้าปิดปาก ปิดจมูก ใส่ถุงมือเช่นกัน แล้ว “แผนที”Ž่ แผ่นสำ�คัญทีถ่ กู ส่งมาจาก “กรุงธนบุรศี รีมหาสมุทร”Ž ก็ถกู ยกขึน้ มาวางบนโต๊ะยาว แล้วถูกเจ้าพนักงานคลีอ่ อก อย่างทะนุถนอม แผนที่ขนาดใหญ่เท่าหน้ากระดาษ น.ส.พ. รายวัน ที่กางออกทั้งสองหน้า เจ้าพนักงานทั้งสองยกกระจกใส ขึ้นวางทับ แล้วให้เราขยับเข้าไปดูได้อย่างกลัวๆ กล้าๆ เราไม่ได้รับอนุญาตให้แตะต้อง ไม่ให้ถ่ายรูป สรุปแล้ววันนั้น เราได้ดูแผนที่หายาก 3 แผ่น (ที่มีหมายเลขเอกสาร ว่า no.014670 no.010186 no.014784) ดูเหมือนว่าแผนที่ no.014670 นั้น ดร. เอริกา ยังไม่ได้นำ�มาตีพิมพ์ในบทความ ข้างต้นของเธอ ส่วนสอง no. หลัง 019186 และ 014784 ได้ถูกย่อส่วนลงตีพิมพ์แล้ว น่าเสียดายว่าความคมชัดไม่มี ทำ�ให้ ไม่สามารถเข้าใจรายละเอียดและความหมายของแผนที่เหล่านั้นได้
(8) ในที่นี้ ขอให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อ no.014670 และขอใช้ชื่อเรียกสำ�หรับบทความนี้ว่า “แผนที่เส้นทางเดินทัพ จากกรุงธนบุรีถึงกรุงอังวะ”Ž (Siam to Burma Map) แผนที่สำ�คัญแผ่นนี้ (ขนาด 63 x 64.5 cm. วาดด้วยสีฝุ่นบนผ้าฝ้าย) น่าจะถูกส่งไปถวายฮ่องเต้เฉียนหลงเมื่อประมาณก่อน พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) ถ้าจะพิจารณาดูรายละเอียดแล้ว ก็คือเป็น เส้นทางเดินทัพ หรือยุทธศาสตร์ที่ตั้งต้นจาก “เสียนหลอก๊กŽ” หรือกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ไปยังกรุงหงสาวดีและอังวะ โดย ผ่านเส้นทางหลายเส้น เช่น เส้นทางกาญจนบุรี เส้นทางเชียงใหม่ หรือเส้นทางเรือ ลงไปยังนครศรีธรรมราช ปัตตานี ปาหัง เข้าช่องแคบมะละกา ผ่านภูเก็ต ตะนาวศรี มะริด ทวาย เมาะตะมะ จนถึงกรุงหงสาวดีและอังวะ วิธกี ารวางแผนทีใ่ ห้ทศิ เหนืออยูด่ า้ นขวามือ ทิศใต้อยูซ่ า้ ยมือ ทิศตะวันออกอยูด่ า้ นล่าง ส่วนทิศตะวันตกอยูด่ า้ นบน นี่ดูจะเป็นวิธีวางทิศของโลกตะวันออก (จีน-ไทย-อุษาคเนย์) ที่ต่างกับของโลกตะวันตก ตรงกลางตามแนวนอนของแผนที่ ดูจะเป็นรูปของเทือกเขา (ระบายด้วยสีน้ำ�เงิน) ซึ่งก็น่าจะเป็นเทือกเขาตะนาวศรี ที่คั่นระหว่างไทยสยามกับมอญพม่า ส่วน ้ำ (ระบายด้วยสีเขียว) คือ ทะเลของอ่าวไทย ในขณะทีด่ า้ นบนหรือทิศตะวันตก ด้านล่างของเทือกเขา ก็เป็นรูปของคลืน่ หรือน� เป็นทะเลอันดามัน บรรดาชื่อประเทศ-อาณาจักร-ก๊ก รวมทั้งเมืองต่างๆ วาดเป็น “แผ่นป้ายŽ” (ระบายด้วยสีแสด) เขียนด้วยตัวหนังสือ จีนแบบดั้งเดิม (ระบายด้วยสีดำ�) น่าสนใจที่ว่าเมืองที่ถือว่าอยู่ใน “เขตแดนŽ” ของไทยสยามนั้น จะเขียนตัวภาษาจีนจากบน ลงล่าง ในขณะที่ประเทศ-อาณาจักร-ก๊ก รวมทั้งเมืองในพม่า-มอญ-มลายู (รวมทั้งเชียงใหม่) เขียนตัวจีนต้องอ่านจากล่าง ไปบน ดังนั้น หากจะอ่านให้สะดวก ก็ต้องหมุนแผนที่กลับหัวกลับหาง (และสีที่ระบายก็เป็นฟ้าเขียว) ดูเหมือนว่าวิธีการทำ� แผนทีเ่ ช่นนี้ น่าจะเป็นเทคนิคทีไ่ ทยได้รบั อิทธิพลมาจากจีน และในกรณีนี้ ผูท้ �ำ น่าจะมีจนี ฮกเกีย้ นเป็นผูเ้ ขียนตัวจีนด้วยซ�้ำ ไป (ดังนั้น หากจะอ่านแผนที่นี้ให้ได้อย่างแม่นยำ� ก็น่าจะเป็นผู้ที่ต้องรู้ทั้งภาษาจีนกลางและฮกเกี้ยน มากกว่าแต้จิ๋วที่แม้จะเป็น จีนส่วนใหญ่ของไทยสยาม)
(9) ถ้าเราเอา “ป้าย”Ž ชื่อของ “เสียนหลอก๊ก”Ž หรือกรุงธนบุรี ซึ่งอยู่ด้านล่างตรงกลางให้เป็นศูนย์กลาง เราจะเห็นได้ ชัดว่าแผนที่นี้ “บอกอะไรŽ” กับเรา แน่ชัดว่าเป็นการบอก “เส้นทางŽ” จากกรุงธนบุรี ไปยังศูนย์กลางของอาณาจักรพม่า (และ มอญ) นั่นเอง ด้านบนตรงขึ้นไปตามเส้นประ คือ “กาญจนบุรี-เขตแดนสยาม”Ž และ “จากราชธานีหรือเมืองหลวงที่ธนบุรี ถึง กาญจนบุรี เดินทางบก 8 วัน ทางน้ำ� 12 วันŽ” จากนั้นเส้นทางก็แยกเป็นเส้นประไปทางขวาหรือทิศเหนือ ไปยัง “เมาะตะมะ -เขตแดนพม่า”Ž เส้นประไปทางซ้ายหรือทิศใต้ “ทวาย เขตแดนพม่า เดิมเป็นเขตสยามŽ” จากเมาะตะมะ เส้นประต่อไปทางซ้ายหรือทิศเหนือสู่ “หงสา-ทางบก 15 วัน”Ž ข้อความภาษาจีนยังขยายความอีกว่า ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 107
แผนที่เก่าเขียน “ก๊กหงสาŽ” (หมายความว่าเป็นเอกราชมาก่อน?) จากหงสาต่อไปทางซ้ายหรือทิศเหนือ ทางบก 15 วัน ถึง อังวะ-เขตแดนพม่าŽ ทีนี้ กลับมาที่ “ทวายŽ” อีก 5 ป้ายของชื่อเมืองต่างๆ ยังอ่านภาษาจีนจากบนลงล่างได้ แสดงว่าเป็นเขตแดนสยาม คือ ตะนาว (ศรี) “ซึลอง”Ž ซึ่งน่าจะเป็น “ภูเก็ต”Ž ( Junk Ceylon) เขตแดนสยาม ถัดไปเป็น “วังฉี-วังกะ”Ž เขตแดนสยามเช่น กัน (แต่เรายังไม่ทราบได้ว่าคือเมืองอะไร) ถัดไปอีก 5 ป้ายชื่อเมือง ที่มีสีระบายต่างออกไปและ 4 ป้ายต้องกลับหัวกลับหางจึงจะอ่านออก ซึ่งก็หมายถึงอยู่ นอกเขตแดนสยามไปแล้ว ยกเว้นเคดะห์ (หรือไทรบุรี) ที่แม้จะเขียนว่าเขตแดนมลายู แต่ก็ดูมีสถานะกำ�กวม แถมยังมีเส้น โยงไปเชื่อมกับ “ท่าข้าม”Ž (ซึ่งอาจจะเป็น บ้านดอนŽ สุราษฎร์ฯ?) ป้ายสุดท้ายในกลุ่มนี้ คือ มะละกา-เขตแดนมลายูŽ เป็นอัน จบทางด้านของพม่าตอนกลาง-ตอนล่าง และทะเลอันดามัน ที่มีมะละกาเชื่อมต่อกับปาหัง (ที่จะกล่าวถึงต่อไป)
(10) กลับมายังแผ่นป้ายของ “เสียนหลอก๊ก”Ž หรือกรุงธนบุรี มีตวั หนังสือจีนหนึง่ แถว ทอดยาวไปทางซ้าย หรือทางทิศใต้ เลาะไปตามทะเลและน้ำ� อ่านได้ใจความว่า “จากกรุงสยามไปถึงปาหัง” (มลายู) ทางเรือทะเลระหว่างเดือน 9-10 ตามลมไป ใช้เวลา 15-16 วันŽ ป้ายสุดท้ายด้านซ้ายมือหรือทิศใต้นี้ คือ “ปาหัง” ของชาวบูกิต เขตแดนมลายูŽ ซึ่งก็จะเชื่อมต่อด้วย ข้อความตัวหนังสือจีนอีกหนึ่งแถว ต้องพลิกแผนที่กลับหัวกลับหางของพม่าŽ นั่นเอง ขอกลับมาดูเมืองต่างๆ ทางด้านซ้ายมือหรือทิศใต้ของ “เสียนหลอก๊ก” ไล่เรียงไปตามลำ�ดับได้ดงั นี้ “ท่าจีน เขตแดน สยาม”Ž (สมุทรสาคร) “แม่กลอง เขตแดนสยาม”Ž (สมุทรสงคราม) “เพชรบุรีฯ-ราชบุรีฯ-ปาน (ปราณ)ฯ-บางสะพานฯ-กุยฯสวีฯ-ขันธบุรีฯ(?)-ชัยบุรีฯ (? เขตในอำ�เภอท่าชนะ?)-ท่าข้ามฯ (บ้านดอน? ซึ่งน่าสนใจมาก คือ มีข้อความอธิบายไว้ว่า ณ บริเวณนี้ไปตามคลอง 10 วันก็จะไปออกที่เคดะห์หรือไทรบุรี !?)-ลิกอร์ฯ (นครศรีธรรมราช-เขตแดนสยาม-แผนที่เก่าว่าเป็น สงขลา)-สงขลาฯ-พัทลุงฯ” จากนัน้ ก็เป็น “ก๊กตานี (ปัตตานี)-ยะโฮร์ (ของชาวบูกติ ) และปาหัง-เขตแดนมลายู”Ž เป็นอันสุดแดน
(11) ท้ายสุด กลับมาดูทางด้านขวามือหรือทิศเหนือของ “เสียนหลอก๊กŽ” ก็จะพบว่ามีแผ่นป้าย 4 แผ่นตามแนวขวาง อ่านได้ความว่าเป็นเมือง กำ�แพง (เพชร) เขตสยาม-?-สวรรคโลกฯ-พิษณุโลกฯŽ มีเส้นประจากกำ�แพง (เพชร) ไปเชียงใหม่ ระยะทาง 10 วัน ที่เชียงใหม่นั้น แผ่นป้ายเขียนตัวอักษรจีนกลับหัวกลับหาง (แบบเดียวกับป้ายชื่อเมืองของพม่า) และเขียนว่าเดิม คือ “เชียงใหม่ก๊กŽ” และ “พม่ายึดไป”Ž ที่นี่มีเส้นประต่อไปอีก ไป “15 วันก็จะถึงกรุงอังวะŽ” จากสวรรคโลก มีเส้นประแยกไป “เชียงใหม่ ระยะทาง 10 วันŽ” หรือไป “พิชัย เขตแดนสยาม 12 วัน”Ž ถัดมาเป็น “พิษณุโลกŽ” มีเส้นประว่าไป “พิชัยทางบก 2 วัน ทางน้ำ� 3 วันŽ” เป็นอันหมดเมืองสำ�คัญของทิศขวามือหรือทิศเหนือ กล่าวโดยย่อ นีค่ อื แผนทีข่ อง “กรุงสยาม”Ž หรือ “เสียนหลอก๊ก”Ž ในปลายสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตากสิน มหาราช ที่แสดงเขตแดน ดินแดน และเมืองต่างๆ ทั้งทางด้านทิศตะวันตก (บน) ด้านทิศเหนือ (ขวา) ด้านทิศใต้ (ซ้าย) แต่ไม่มีทิศตะวันออก (ล่าง) คือแถบที่จะเป็นจันทบุรี-ตราด ไล่เลยไปยังกัมพูชาและ/หรือเวียดนามใต้แต่อย่างใด และนั่นก็ คงต้องไปดูจากแผนที่แผ่นอื่น รวมทั้งแผนที่ที่ทางเวียดนามใต้ อย่างเมืองฮาเตียน (หรือบันทายมาศ) ก็ “แข่งขัน”Ž ส่งไปยัง ฮ่องเต้เฉียนหลงเช่นกัน และนี่ก็คือสถานการณ์ของ “การกู้บ้านกู้เมือง”Ž ซึ่งเป็นสภาพ ก่อนรัตนโกสินทร์ และหลังเสียกรุง ศรีอยุธยาŽ ของ “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรŽ”
108
ภาค 1: แผนที่เส้นทางเดินทัพจากกรุงธนบุรีถึงกรุงอังวะ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ
หมายเหตุ ก. ขอขอบคุณ Dr. Erika Masuda ที่แนะนำ�ให้รู้จักและนำ�ชมแผนที่นี้ ณ กู้กงŽ ไทเป ข. ขอขอบคุณ คุณ Pichai Laiteerapong & Dararat Hong ที่ช่วยถอดความและชื่อภาษาจีนออกเป็นภาษา ไทย) เช่น
Names in the map ( Myanmar side) are listed as follows:
Chiangmai state
Ava, Myanmar proper
Chiangmai, place conquered by Myanmar, the old map as
Hongsa (Pegu), Myanmar proper, old map as Hongsa state)
Tama (Martaban), Myanmar proper
Tawai (Tavoy), Myanmar proper, old map as Tawai state)
Names in traditional Chinese writing (as appeared in the Map)
Tachin, Siam boundery
Petchburi, Siam boundery
Maeklong, Siam boundery Rajburi, Siam boundery
Pranburi, Siam boundery
Bangsapan, Siam boundery Kuipuri, Siam boundery Sawi, Siam boundery
Khantuuli, Siam boundery (Ampoure Thachana today) Chaiya, Siam boundery (Old map as Kanburi)
Takham, Siam boundery (the interior part of Bandon today) Ligor, Siam boundery
Songkla, Siam boundery
Patthalung, Siam boundery
ค. ขอขอบคุณ รศ. อาทร ฟุ้งธรรมสาร และคุณอนันต์ กรุดเพ็ชร์ ในการประสานงานและสรุปข้อความในการอ่าน แผนที่ 20 กรกฎาคม 2553 ตลิ่งชัน-ธนบุรี-สยามประเทศ พิมพ์ครั้งแรกในงานสัมมนาประจำ�ปี “จดหมายเหตุสยาม : จากกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร ถึงเมืองจันทรบูร
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 109
แผนที่เส้นทางเดินทัพจากกรุงธนบุรีถึงกรุงอังวะ
110
ภาค 1: แผนที่เส้นทางเดินทัพจากกรุงธนบุรีถึงกรุงอังวะ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ
แผนที่เส้นทางเดินทัพจากกรุงธนบุรีถึงกรุงอังวะ (ฉบับถอดความภาษาไทย 2553)
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 111
112
ภาค 1: แผนที่เส้นทางเดินทัพจากกรุงธนบุรีถึงกรุงอังวะ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 113