Boundaries of Burma: History and Political Geography

Page 1

เขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง Boundaries of Burma: History and Political Geography ดุลยภาค ปรีชารัชช

รัฐพม่ามีเนือ้ ทีท่ งั้ หมดประมาณ 667,000 ตารางกิโลเมตร ซึง่ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย โดยมีอาณาเขตติดกับจีน อินเดีย ไทย ลาวและบังกลาเทศ คิดเป็นระยะทางเกือบ 6,700 กิโลเมตร1 การก่อรูปทางภูมิศาสตร์การเมือง (Political Geography) ส่งผลให้รัฐบาลพม่ามีความระมัดระวังในการดำ�เนินนโยบาย ต่างประเทศต่อรัฐเพื่อนบ้าน เนื่องจากพม่าถูกขนาบด้วยมหาอำ�นาจยักษ์ใหญ่อย่างจีนกับอินเดีย รวมถึงถูกขนาบด้วย ไทยกับบังกลาเทศ ซึ่งเป็นรัฐที่มักมีความขัดแย้งกับพม่าทั้งในทางประวัติศาสตร์และการเมือง แรงกดดันทางยุทธศาสตร์ ส่งผลให้พม่าจำ�เป็นต้องให้ความสำ�คัญกับเขตแดนเป็นพิเศษ เพือ่ ปกป้องอธิปไตยและจัดระเบียบพืน้ ทีช่ ายแดน จนอาจกล่าว ได้ว่า พม่าคือรัฐที่มีความอ่อนไหวทางภูมิศาสตร์การเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำ�หรับมโนทัศน์เกี่ยวกับเขตแดน พบว่าในสมัยราชวงศ์ กษัตริย์พม่ามักให้ความสำ�คัญกับการกำ�หนดปริมณฑล ทางการเมือง ตลอดจนการเสริมสร้างความมัน่ คงตามแนวพรมแดน โดยเห็นได้จากการสร้างป้อมยุทธศาสตร์จำ�นวน 43 แห่ง ในสมัยพระเจ้าอโนรธาแห่งราชวงศ์พกุ าม เพือ่ ป้องกันการรุกรานจากพวกไทใหญ่2 หรือ การสร้างป้อมตามหัวเมืองชายทะเลใน สมัยพระเจ้าอลองพญา เพื่อกำ�หนดขอบเขตอำ�นาจและวางแนวป้องกันข้าศึก อย่างไรก็ตาม กษัตริย์พม่าก็มีความคล้ายคลึง กันกับกษัตริย์สยาม และกษัตริย์อุษาคเนย์อื่นๆ ที่มีความรับรู้เกี่ยวกับเขตแดนในลักษณะอาณาบริเวณกว้างๆ หรือ ถือเอา ตามจำ�นวนประเทศราชที่อยู่รายรอบศูนย์กลาง จนกระทั่งเข้าสู่สมัยอาณานิคม เมื่อพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ การ กำ�หนดพรมแดนระหว่างพม่ากับเพื่อนบ้าน จึงถูกครอบงำ�โดยกระบวนทัศน์ยุโรปที่มุ่งเน้นการระบุตำ�แหน่งเขตแดนโดย อาศัยแผนที่และวิทยาการสมัยใหม่ โดยเห็นได้จากการกำ�หนดเขตแดนระหว่างพม่ากับสยาม และพม่ากับจีน ซึ่งมีการใช้ ร่องน้ำ�ลึก สันเขาและสันปันน้ำ� เป็นตัวแบ่งแนวอาณาเขต ซึ่งนับเป็นเทคนิคที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในกระบวนการรับรู้ของ ชนชั้นนำ�พม่าในอดีต ต่อมาเมื่อพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ เขตแดนที่เคยทำ�ไว้กับเพื่อนบ้านในสมัยอาณานิคม ก็กลายมา เป็นเขตแดนระหว่างพม่ากับรัฐต่างๆ ในปัจจุบัน ซึ่งยังผลให้พม่ามีความได้เปรียบเพื่อนบ้านในหลายกรณี เนื่องจากเอกสาร และแผนทีฉ่ บับต่างๆ ล้วนเกิดจากการใช้อำ�นาจทีเ่ หนือกว่าของอังกฤษในการทำ�ข้อตกลงทีไ่ ม่เป็นธรรมกับรัฐเพือ่ นบ้าน โดย เฉพาะสยามกับจีนในสมัยราชวงศ์แมนจู อย่างไรก็ตาม แม้เวลาต่อมา พม่าจะเผชิญกับปัญหาการเมืองภายในและการแทรกแซงจากโลกภายนอก อาทิ การ เคลื่อนไหวของชนกลุ่มน้อย และการรุกล้ำ�ชายแดนจากกองทหารก๊กมินตั๋ง หากแต่รัฐบาลพม่าในยุคหลังอาณานิคม กลับมี ความพยายามที่จะแก้ไขข้อพิพาทกับมหาอำ�นาจยักษ์ใหญ่อย่างจีนกับอินเดีย ซึ่งส่งผลให้พม่าประสบความสำ�เร็จในการยุติ ปัญหาเขตแดนโดยสันติวธิ ี ในขณะทีพ่ รมแดนด้านไทยกับบังกลาเทศ กลับเต็มไปด้วยปัญหาและการเผชิญหน้าทางการทหาร จนนำ�ไปสู่ความตึงเครียดระหว่างประเทศ จากกรณีดังกล่าว การศึกษาจุดเด่นของเขตแดนพม่าอันสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน จึง เป็นสิ่งสำ�คัญทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมืองโดยนอกจากจะส่งผลดีต่อการสร้างชุดความรู้เกี่ยวกับภูมิกายา (Geo-body)3 ของรัฐพม่าแล้ว ยังเป็นประโยชน์ตอ ่ การเปิดโลกทรรศน์และปรับเพดานทางความคิดเกีย่ วกับเขตแดนพม่ากับ เพื่อนบ้าน อย่างลุ่มลึกและรอบด้าน สำ�หรับการนำ�เสนอภายในบทความฉบับนี้ ผู้เขียนได้แบ่งเขตแดนระหว่างพม่ากับเพื่อน บ้านออกเป็นรายประเทศ เพื่อแสดงจุดเด่นของเส้นเขตแดนในแต่ละด้าน โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

374

ภาค 2: เขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง


แผนที่แสดงตำ�แหน่งประเทศพม่า (แหล่งที่มา : Nationsonline) ดุลยภาค ปรีชารัชช 375


แผนที่แสดงอาณาเขตของรัฐพม่าทั้งในยุคก่อนและตลอดช่วงสมัยพระเจ้าอโนรธา กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์พุกาม โดยแผนที่ดังกล่าวได้ปรากฏในเอกสารของกระทรวงศาสนาพม่า รวมถึงในงานวิชาการของหม่องทินอ่อง นักประวัติศาสตร์ราชา ชาตินิยม ซึ่งถือเป็นการนำ�เอาเส้นเขตแดนสมัยใหม่เข้าไปสวมทับขอบขัณฑสีมาของรัฐพม่าโบราณ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงอำ�นาจอัน ยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิพม่า ซึ่งแผ่อาณาเขตมาจนถึงลุ่มแม่น้ำ�โขงและคาบสมุทรมลายู โดยแผนที่ดังกล่าวนับว่ามีลักษณะคล้ายคลึง กับแผนที่ภูมิศาสตร์ของไทยที่ปรากฏในตำ�ราของทองใบ แตงน้อย (แหล่งที่มา : Maung Htin Aung. Printed and published by U

Myint Maung, Deputy Director, Regd : No (02405/02527) at the Religious Affairs Dept. Press. Yegu, Kaba-Aye., Rangoon, BURMA. 1981)

376

ภาค 2: เขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง


1. เขตแดนพม่า - ไทย เขตแดนพม่า-ไทย มีความยาวทัง้ สิน้ ประมาณ 2,401 กิโลเมตร โดยแบ่งออกเป็นเขตแดนทางบก (สันเขา/สันปันน�้ำ /เส้นตรง) ประมาณ 1,687 กิโลเมตร และเขตแดนทางน้ำ� (ลำ�ห้วย/แม่น้ำ�) ประมาณ 714 กิโลเมตร แต่ถ้าหากรวมพื้นที่ ทางด้านทะเลอันดามัน อีกราว 347 กิโลเมตร เขตแดนพม่า-ไทย จะมีความยาวทั้งสิ้นราวๆ 2,748 กิโลเมตร แนวพรมแดน เหล่านี้เริ่มต้นตั้งแต่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และ ระนอง โดยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตปกครองต่างๆ ของพม่า ได้แก่ รัฐฉาน รัฐคะยาห์ รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ และมณฑล ตะนาวศรี ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เต็มไปด้วยขุนเขาและแนวป่าอันสลับซับซ้อน อาทิ เทือกเขาฉาน เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาดาวน่า เทือกเขาตะนาวศรี แม่น้ำ�สาย แม่น้ำ�สาละวิน แม่น้ำ�เมยและแม่น้ำ�กระบุรี4 ลักษณะเด่นของเขตแดนพม่า-ไทย ได้แก่ การตั้งฐานที่มั่นของกองกำ�ลังกลุ่มชาติพันธุ์ประชิดชายแดนไทย อาทิ กลุ่มไทใหญ่ กะเหรี่ยง และคะยาห์ ตลอดจนการเป็นแหล่งลี้ภัยทางการเมืองของกลุ่มนักศึกษาและประชาชนที่เป็นปฏิปักษ์ ต่อฝ่ายรัฐบาลพม่า ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลพม่ามีความหวาดระแวงรัฐบาลไทยในการสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าตามแนว ตะเข็บชายแดน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศต่างหันมาร่วมมือทางเศรษฐกิจกันมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการ พัฒนาพื้นที่ชายแดนในหลายบริเวณ อาทิ การพัฒนาด่านการค้าแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก และแม่สอด-เมียวดี รวมถึงการขยาย โครงข่ายคมนาคมเพื่อเชื่อมต่อระหว่างบ้านพุน้ำ�ร้อน จังหวัดกาญจนบุรี กับท่าเรือน้ำ�ลึกทวาย ในเขตมณฑลตะนาวศรี แต่ กระนั้นก็ตาม ปัญหาข้อพิพาทด้านเขตแดน อาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเป็นที่น่า สังเกตว่า เขตแดนพม่า-ไทย ตลอดความยาวสองพันกว่ากิโลเมตร ได้รับการปักหลักเขตแดน (Boundary Demarcation) อย่างชัดเจนเพียงแค่ 59 กิโลเมตร ตรงบริเวณแม่น้ำ�สายและแม่น้ำ�รวก ซึ่งกั้นกลางระหว่างจังหวัดท่าขี้เหล็กของพม่า กับ จังหวัดเชียงรายของไทย โดยส่วนที่เหลือยังไม่มีการปักหลักเขตแดนที่แน่นอนเนื่องจากข้อตกลงเขตแดนระหว่างอังกฤษ กับสยามยังขาดความชัดเจนในหลายส่วน ซึ่งนับเป็นมรดกอาณานิคมที่ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อความสัมพันธ์ระหว่าง พม่า-ไทย ในปัจจุบัน สำ�หรับในบริบททางประวัติศาสตร์ เขตแดนพม่า-ไทย ถือเป็นผลพวงจากความตกลงเรื่องเส้นเขตแดนระหว่าง สยามกับพม่าของอังกฤษ (British Burma) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งสามารถจำ�แนกการปักปันเขตแดน (Boundary Delimitation) ออกเป็น 2 ช่วงหลัก ได้แก่ 1. เขตแดนตั้งแต่แม่น้ำ�สาละวินช่วงสบเมยลงใต้มาจนสุดแดนมณฑลตะนาวศรี และ 2. เขตแดนตัง้ แต่แม่น�้ำ สาละวินช่วงสบเมยขึน้ ไปทางเหนือจนสุดเขตสบรวกอันเป็นจุดชนแดนระหว่างดินแดนสยาม ดินแดนพม่าของอังกฤษและดินแดนอินโดจีนของฝรัง่ เศส (French Indochina)5 โดยในแต่ละช่วงถือว่ามีพฒ ั นาการการเกิด เส้นเขตแดนที่น่าสนใจ ดังนี้ 1.1 เขตแดนตั้งแต่แม่น้ำ�สาละวินช่วงสบเมย ลงใต้มาจนสุดแดนมณฑลตะนาวศรี ในปี ค.ศ. 1824 (พ.ศ. 2367) อังกฤษรบกับพม่าเป็นครั้งแรกเพื่อแย่งชิงเมืองประเทศราชระหว่างอินเดียกับพม่า คือเมืองยะไข่ เมืองมณีปรุ ะและเมืองอัสสัม ต่อมาเมือ่ อังกฤษตีเมืองเหล่านีไ้ ด้แล้ว อังกฤษได้จดั กำ�ลังเข้าตีเมืองย่างกุง้ ไว้เป็น ฐานที่มั่นทางยุทธศาสตร์ รวมทั้งมีการส่งกำ�ลังลงมาตีหัวเมืองชายทะเลฝ่ายใต้นับตั้งแต่เมืองเมาะตะมะ เมืองทวาย เมือง มะริด และเมืองตะนาวศรี โดยอังกฤษต้องการใช้เมืองท่าเหล่านี้เป็นฐานการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเชื่อมต่อกับ เมืองท่าสำ�คัญในเขตช่องแคบมะละกา อาทิ ปีนังและสิงคโปร์ ต่อมาอังกฤษได้ท�ำ สงครามรุกคืบเข้าไปยังดินแดนตอนบน ของพม่าตามแนวแม่น้ำ�อิระวดี จนทำ�ให้พม่าต้องเสียเมืองพุกามให้กับอังกฤษ และต้องทำ�สนธิสัญญาสงบศึก (สนธิสัญญา ยันดาโบ) โดยยอมยกหัวเมืองที่อังกฤษตีได้ตั้งแต่ใต้แม่น้ำ�สาละวินลงไปให้แก่อังกฤษ โดยปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาข้อที่ 4 ว่า “พระเจ้าอังวะยอมยกหัวเมืองที่อังกฤษตีได้คือเมืองเย เมืองทวาย เมืองมะริด และเมืองตะนาวศรี กับทั้งเกาะที่ขึ้นอยู่ กับหัวเมืองเหล่านั้น กำ�หนดแต่ฝั่งใต้แม่น้ำ�สาละวินลงไปให้แก่อังกฤษ”6 การได้ดินแดนดังกล่าวของอังกฤษนำ�ไปสู่การพยายามปักปันเขตแดนระหว่างอังกฤษกับสยาม ซึ่งเป็นจารีตปฏิบัติ ดุลยภาค ปรีชารัชช 377


ของชาติตะวันตก หากแต่ในสมัยนัน้ ความเข้าใจเรือ่ งเส้นเขตแดนตามความรับรูข้ องฝ่ายสยามและฝ่ายอังกฤษยังมีความแตก ต่างกันอยู่ กล่าวคือ ฝ่ายสยามมีความเข้าใจในแง่ที่ว่าเขตแดนมักมีลักษณะเป็นบริเวณกว้างๆ เช่น อาณาเขตสยามแผ่ไปถึง หัวเมืองหรือแนวเทือกเขานัน้ ๆ เป็นต้น ในขณะทีฝ่ า่ ยอังกฤษกลับมีความเข้าใจว่าเส้นเขตแดนต้องมีลกั ษณะเป็นเส้นแบ่งเขต ที่แน่ชัดว่าอยู่ตรงพิกัดใดของแผนที่ ต่อมาใน ค.ศ. 1885 (พ.ศ. 2428) ซึ่งอังกฤษได้ชัยชนะเหนือพม่าอย่างสมบูรณ์ อังกฤษ ได้เสนอให้มีการสำ�รวจและปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับมณฑลตะนาวศรี โดยตัวแทนจากทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบ ร่วมกันให้มีการปักปันเขตแดนตั้งแต่สบเมย (จุดที่แม่น้ำ�เมยไหลมาพบกับแม่น้ำ�สาละวิน) อำ�เภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไล่เรียงลงมาตามลำ�แม่น้ำ�เมยต่อแดนเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรี จนถึงต้นน้ำ�กระบุรี จึงใช้แม่น้ำ�กระบุรีหรือ แม่น�้ำ ปากจัน่ เป็นเส้นกัน้ เขตแดน จนออกสูท่ ะเลทีเ่ กาะสองของพม่ากับเมืองระนองของสยาม การสำ�รวจปักปันเขตแดนทำ�กัน ตัง้ แต่ ค.ศ. 1865 (พ.ศ. 2408) ในลักษณะทีฝ่ า่ ยอังกฤษ เป็นฝ่ายสำ�รวจแผนที่ ส่วนฝ่ายสยามเป็นฝ่ายชีร้ ะวังแนวเขตเท่านัน้ 7 ต่อมาเมื่อการปักปันเขตแดนและทำ�แผนที่เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยจึงมีการจัดทำ�อนุสัญญา ลงนาม ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) โดยอนุสัญญาดังกล่าวมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อนุสัญญาระหว่าง กษัตริย์สยามกับข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดียว่าด้วยเรื่องกำ�หนดเขตแดนบนผืนแผ่นดินใหญ่ ระหว่างราชอาณาจักรสยามและ มณฑลของอังกฤษคือเทนเนสเซอริม Convention between the Kingdom of Siam and the Governor-General of India, defining the Boundary on the Mainland between the Kingdom of Siam and the British Province of Tenasserim

ซึง่ นับเป็นจุดกำ�เนิดของการกำ�หนดเขตแดนตามหลักสากลระหว่างสยามกับอังกฤษโดยมีการจัดทำ�หลักเขตแดนประมาณ 50 หลัก ด้วยการใช้กองหินหรือบากต้นไม้ใหญ่เป็นตัวกำ�หนดแนวอาณาเขต นอกจากนี้ อนุสญ ั ญายังประกอบด้วยเอกสารแนบ ท้ายอีกสองส่วน ได้แก่ บัญชีรายชื่อหลักเขตแดน และแผนที่แนบท้าย 2 ระวาง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Map of Tenasserim and Adjacent Provinces of the Kingdom of Siam มาตราส่วน 1 นิ้ว ต่อ 8 ไมล์ หรือ 1 ต่อ 506,8808 ซึ่งถือเป็นหลักฐาน สำ�คัญในการกำ�หนดเขตแดนระหว่างมณฑลตะนาวศรีกับจังหวัดชายแดนตะวันตกของไทยนับตั้งแต่อำ�เภอสบเมย จังหวัด แม่ฮ่องสอน จนกระทั่งถึงเขตอำ�เภอเมือง จังหวัดระนอง 1.2. เขตแดนตั้งแต่แม่น้ำ�สาละวินช่วงสบเมย ขึ้นไปทางเหนือจนถึงสบรวก พื้นที่รอยต่อระหว่างพม่ากับดินแดนล้านนาไทย ประกอบไปด้วยเมืองเล็กๆ ในเขตหุบเขาและลุ่มน้ำ�สาละวิน อาทิ เมืองต่วน เมืองหาง เมืองสาด และเมืองยอน หัวเมืองตอนในเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเป็นอิสระต่อกันในรูปแบบนครรัฐ (City States) รวมถึงมีการทำ�สงครามรบพุ่งระหว่างกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่พม่ากำ�ลังอ่อนแอจากการทำ�สงครามกับ จักรวรรดิอังกฤษ โดยเจ้าผู้ครองนครรัฐมักหันมาสวามิภักดิ์กับผู้ปกครองล้านนาไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อมีความพยายามที่ จะปักปันเขตแดนระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับรัฐบาลสยาม ทัง้ สองฝ่ายต่างพยายามอ้างสิทธิเ์ หนือหัวเมืองในเขตลุม่ น�้ำ สาละวิน แต่ทา้ ยทีส่ ดุ สยามก็ตอ้ งสูญเสียพืน้ ทีเ่ หล่านีก้ บั ให้องั กฤษเนือ่ งจากมีอำ�นาจต่อรองทีน่ อ้ ยกว่า ต่อมาหลังจากอังกฤษสามารถ ยึดครองพม่าได้ทั้งหมดแล้ว กองทัพอังกฤษต้องการใช้แม่น้ำ�สาละวินเป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศ โดยฝ่ายอังกฤษได้ ให้เหตุผลว่าแม่น�้ำ สาละวิน ถือเป็นเขตแดนทางธรรมชาติทดี่ ที สี่ ดุ ในการป้องกันข้าศึกจากด้านตะวันออก (ฝรัง่ เศสในอินโดจีน) ต่อมาเมื่ออังกฤษได้ควบคุมและจัดการปกครองหัวเมืองไทใหญ่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมกับเดินหน้าขยายกิจกรรมทาง เศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง อังกฤษจึงเริ่มเห็นความสำ�คัญของป่าไม้สักในเขตลุ่มน้ำ�สาละวิน โดยอังกฤษมีแนวความคิดที่จะ ปักปันเขตแดนเพื่อควบคุมพื้นที่เหล่านี้อย่างเบ็ดเสร็จซึ่งนำ�ไปสู่การขยายอำ�นาจควบคุมป่าไม้และจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน อย่างเป็นรูปธรรม9 ต่อมา รัฐบาลสยามและข้าหลวงอังกฤษประจำ�พม่า ได้เจรจาข้อตกลงเพือ่ ทำ�การปักปันเขตแดน โดยแนวอาณาเขต ทีจ่ ะปักปันได้ปรากฏตามตราพระราชสีหใ์ หญ่ของรัชกาลที่ 5 ถึงพระยาไกรโกษาข้าหลวงรักษาราชการเมืองลาวเฉียง ณ เมือง นครเชียงใหม่ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ “....(ตั้งแต่) ตำ�บลปากแม่น้ำ�เมยต่อกับแม่น้ำ�คงหรือสาละวิน แขวงเมืองยวม ต่อขึ้นไปตามลำ�แม่ คง คนละฟาก ถึงผาจอง ตัดจากฝั่งแม่คงมาทางฝั่งตะวันออก ตามสันเขาปันน้ำ�ถึงดอยเสาหิน ดอยขุน 378

ภาค 2: เขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง


แม่แจะ ดอยขุนแม่สะเปาะ ดอยสามง่าม ลงมาน้ำ�แม่สะลินที่ประตูผา ข้ามแม่น้ำ�แม่สะลินที่ประตูผา ข้าม แม่น้ำ�สะลินขึ้นตามสันเขาดอยผาลำ� แยกสันเขาลงมาน้ำ�แม่ปาย ข้ามน้ำ�แม่ปายที่ปากห้วยแม่สะอู ทวนน้ำ� แม่สะอูขึ้นไปสุดลำ�ห้วยแม่สะอู ขึ้นดอยผาตั้งดอยขุนห้วยตงนี ดอยสะปือ………….ดอยม่อนใหญ่ไปตาม สันเขาผาบ้านปอดนาง บ้านคาหาร …………….ดอยห้วยฮ่า ตัดลงน้ำ�แม่กก ข้ามน้ำ�แม่กกถึงดอยขุนแม่คำ� ดอยตูม ………………..ดอยขุนแม่สะออง แยกไปลงน้ำ�แม่สาย ล่องน้ำ�แม่สายไปถึงบ้านป้อมด่านท่าขี้เหล็ก ถึงปากน้ำ�แม่สายต่อน้ำ�แม่ฮวก ล่องน้ำ�แม่ฮวกถึงปากน้ำ�แม่ฮวกต่อแม่น้ำ�ของ ....”10 แนวเขตแดนดังกล่าวนับเป็นการระบุตำ�แหน่งเขตแดนในพื้นที่ภาคเหนือของไทยกับพื้นที่ด้านตะวันออกของ พม่านับตั้งแต่รัฐกะเหรี่ยง รัฐคะยาห์ และรัฐฉาน รวมถึงมีส่วนสัมพันธ์กับเอกสารทางกฎหมายที่ส�ำ คัญอีกสองฉบับ ซึ่ง ได้แก่ หนังสือสัญญาในระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษว่าด้วยเมืองเชียงใหม่ เมืองลำ�ปาง เมืองลำ�พูน ฉบับลงนามวัน ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) Treaty between His Majesty the King of Siam and Her Majesty the Queen of the United Kingdom of Great Britain and Ireland, for the Prevention of Crime in the Territories of Cheingmai, Lakon, and Lmpoonchi, and for the Promotion of Commerce between British Burmah and

ซึ่งกำ�หนดเส้นเขตแดนบริเวณแม่น้ำ�สาละวินโดยใช้ฝั่งตลิ่งเป็นแนวแบ่งอาณาเขตระหว่างพื้นที่ อำ�เภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนกับพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงและรัฐคะยาห์ของพม่า และ ปฏิญญาฉบับปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) ซึ่งกำ�หนดให้เขตแดนเป็นไปตามสันเขาที่ปรากฏบนแผนที่สามระวางแนบท้าย ซึ่งจัดทำ�ขึ้นระหว่างช่วงปี พ.ศ. 243536 (ค.ศ. 1892-93) โดยมีการเขียนเส้นเขตแดนตั้งแต่ผาจอง (จุดสิ้นสุดของการใช้แม่น้ำ�สาละวินเป็นเขตแดน และจุด เริ่มต้นของการใช้ทิวเขาถนนธงชัยและแดนลาว เป็นเขตแดน) ไล่เรียงขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือครอบคลุมพื้นที่ใน เขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่และเชียงราย จนกระทั่งไปสุดเขตตรงบริเวณสบรวก (แม่น้ำ�รวกไหลลงแม่น้ำ�โขง) โดย แผนที่ทั้งสามระวาง เรียกอีกชื่อว่า Burma Siam Boundary Demarcation Survey มาตราส่วน 1 นิ้ว ต่อ 4 ไมล์ หรือ 1 : 253,440 ซึ่งนับเป็นแผนที่สำ�คัญในการกำ�หนดเขตแดนครอบคลุมพื้นที่สามจังหวัดภาคเหนือของไทยกับพื้นที่รัฐฉาน ของพม่า11 แต่อย่างไรก็ตาม การระบุตำ�แหน่งเขตแดนที่ขาดความชัดเจนทั้งในแผนที่และตัวสนธิสัญญาบางฉบับ ได้ส่งผล ให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างพม่ากับไทย ในเวลาต่อมา ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว มักเป็นไปในลักษณะที่ไทย ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เนื่องจากขาดอำ�นาจต่อรองกับอังกฤษ รวมถึงขาดความชำ�นาญในการปักปันเขตแดนตามแบบตะวันตก โดยประเด็นปัญหา พิพาทที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน นับว่ามีหลายกรณี โดยในที่นี้ จะขอยกตัวอย่างมาเฉพาะแค่บางกรณี ได้แก่ the Territories aforesaid

(1) ปัญหาดอยลาง ดอยลางจัดเป็นยอดเขาลูกหนึง่ ในกลุม่ เทือกเขาแดนลาว ตัง้ อยูใ่ นเขตอำ�เภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ตรงข้ามกับรัฐ ฉานภาคใต้ของพม่า สำ�หรับทีม่ าของข้อพิพาท เกิดจากการทีฝ่ า่ ยพม่าและฝ่ายไทยต่างยึดถือเส้นเขตแดนกันคนละแนว โดย ฝ่ายพม่าได้ยึดถือเส้นเขตแดนตามแนวสันเขาดอยลาง ซึ่งมีความสูงอยู่ต่ำ�กว่าดอยห้วยฮะประมาณ 70 เมตร และอยู่ลึกเข้า มาในฝั่งไทย หากแต่ฝ่ายไทยได้ยึดถือเส้นเขตแดนตามแนวสันเขาดอยห้วยฮะ ซึ่งอยู่เหนือดอยลางประมาณ 3-4 กิโลเมตร และลึกเข้าไปในฝั่งพม่า ความขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการอ้างกรรมสิทธิ์บนพื้นที่ทับซ้อนประมาณ 32 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 20,000 ไร่ โดยมีประเด็นการตีความ ดังนี้ 1. กระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้ทำ�การตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับเขตแดนบริเวณดอยลาง-ดอยห้วยฮะ พบหลักฐานในสารตราพระราชสีห์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีถึงข้าหลวงใหญ่รักษาราชการเมือง ลาวเกียง (ลาวเฉียง) และศุภอักษรถึงพระเจ้านครเชียงใหม่ ว่าด้วยเรื่องเขตแดนลงวันที่ 27 ตุลาคม ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435/ค.ศ. 1892) ซึ่งได้กำ�หนดแนวพระราชอาณาเขตที่จะมีการปักปันกับอังกฤษไว้ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองหาง (ใน เขตพม่า) จนถึงปากแม่น้ำ�รวกตรงจุดบรรจบกับแม่น้ำ�โขง โดยให้ทอดไปตามสันปันน้ำ�บนดอยห้วยฮะ มิใช่ไปตามสันเขา ดอยลาง แต่อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า ข้าหลวงปักปันเขตแดนในขณะนั้น ได้ระบุต�ำ แหน่งเส้นเขตแดนไปตามสันเขาดอยลาง ซึ่งอยู่ลึกเข้ามาในเขตไทย และส่งผลให้เกิดเส้นเขตแดนจำ�นวน 2 แนว ซึ่งประกอบด้วย แนวที่ควรจะเป็นไปตามสารตรา ดุลยภาค ปรีชารัชช 379


แผนที่พม่าแสดงพื้นที่ทับซ้อนบริเวณดอยลาง ซึ่งนำ�เสนอพฤติกรรมของรัฐไทยในการถือโอกาสฮุบดินแดนพม่า โดยจุดสี ดำ� หมายถึงฐานที่มั่นของทหารไทย ส่วนเส้นประด้านล่างแสดงแนวเขตแดนที่พม่าอ้างสิทธิ์ซึ่งเป็นไปตามสันเขาดอยลาง ส่วนเส้นประ ด้านบน แสดงเขตแดนทีไ่ ทยอ้างสิทธิซ์ งึ่ เป็นไปตามสันเขาดอยห้วยฮะ โดยแผนทีด่ งั กล่าวได้ถกู เผยแพร่ในสังคมพม่าเมือ่ ประมาณ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทหารพม่าปะทะกับทหารไทยตรงบริเวณดอยลาง (แหล่งที่มา: เครือข่ายในประเทศพม่า)

พระราชสีหข์ องรัชกาลที่ 5 และแนวทีเ่ ป็นไปตามแผนทีป่ กั ปันเขตแดนสยาม-อังกฤษ (Burma-Siam Demarcation Survey) ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 243612 2. แนวพรมแดนบริเวณดอยลาง-ดอยห้วยฮะ ไม่มีสนธิสัญญาที่ทำ�เป็นลายลักษณ์อักษร คงใช้เพียงแผนที่ปักปัน เขตแดนสยาม-อังกฤษ (Burma-Siam Demarcation Survey) เป็นสนธิสัญญากำ�หนดเส้นเขตแดน ซึ่งบนแผนที่ได้แสดง ตำ�แหน่งเส้นเขตแดนเลาะเลียบไปตามสันเขาดอยลางแทนทีจ่ ะเขียนไปตามสันดอยห้วยฮะตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 5 อย่างไรก็ตาม แผนทีฉ่ บับดังกล่าวได้มกี ารประทับตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ขณะ ที่ฝ่ายอังกฤษก็ได้มีการประทับตราข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำ�อินเดีย และเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ทั้งสองฝ่าย ต่างให้ปฏิญญารับรองกัน (พ.ศ. 2537/ค.ศ. 1994) ซึ่งเท่ากับว่าแผนที่ฉบับดังกล่าวได้ทำ�หน้าที่เป็นตัวกำ�หนดแนวพรมแดน ระหว่างประเทศโดยสมบูรณ์13 จากกรณีดังกล่าว หากพิจารณาตามแผนที่ปักปันเขตแดนสยาม-อังกฤษซึ่งทั้งสองฝ่ายได้มีการให้ปฏิญญารับรอง และฝ่ายไทยเองก็มิได้ทักท้วงคัดค้านแต่ประการใด ซึ่งทางกฎหมายระหว่างประเทศถือเป็นการยอมรับโดยพฤตินัย แนว เส้นเขตแดนบริเวณนี้จึงน่าจะเป็นไปตามสันดอยลางตามที่พม่าอ้างสิทธิ์ ซึ่งส่งผลให้ฝ่ายพม่ามีความได้เปรียบในการเจรจา ระหว่างประเทศ 380

ภาค 2: เขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง


(2) ปัญหาด่านพระเจดีย์สามองค์ ด่านพระเจดีย์สามองค์ ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างเทือกเขาถนนธงชัยกับเทือกเขาตะนาวศรีในเขตตำ�บลหนองลู อำ�เภอสังขละบุรี ตรงข้ามอำ�เภอพญาตองซู รัฐมอญ ประเทศพม่า ในสมัยโบราณ ช่องทางพระเจดียส์ ามองค์มกั ถูกใช้เป็นจุด อ้างอิงในการเคลื่อนทัพของกษัตริย์พม่าเพื่อจู่โจมปิดล้อมราชธานีสยาม โดยเฉพาะการยกทัพสมัยพระเจ้าตะเบงชะเวตี้และ พระเจ้าปดุง (โบดอว์พญา) ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) พระศรีสุวรรณคีรี เจ้าเมืองสังขละบุรีของสยาม ได้ทำ�การ ก่อสร้างองค์พระเจดีย์ครอบทับกองหินสามกองตามแบบศิลปกรรมมอญ โดยมีความสูงประมาณ 6 เมตรและอยู่ห่างกัน ราว 5-6 เมตร ดั่งที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน สำ�หรับปัญหาข้อพิพาท เกิดจากเส้นเขตแดนบริเวณนี้ถกู กำ�หนดไว้โดยอนุสัญญาระหว่างกษัตริย์สยามกับข้าหลวง ใหญ่อังกฤษประจำ�อินเดีย ลงนามเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) โดยตัวอนุสัญญาได้ระบุว่า เส้นเขตแดน จะลากผ่านเขาพญาซูสูทุง (เหลียงปะดอทุง) มายังด่านพระเจดีย์สามองค์ โดยเลาะเลียบไปตามสันปันน้ำ� และจากด่านพระ เจดีย์สามองค์มายังเขากวีวอทุง โดยยึดแนวสันปันน้ำ� เช่นเดียวกัน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ได้มีการตรวจสอบ แนวเขตแดนร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่สยามกับเจ้าหน้าที่อังกฤษ ซึ่งพบว่าเจดีย์ทั้งสามองค์นั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนสันปันน้ำ� โดย เมื่อนำ�บัญชีหมายเขตแดนแนบท้ายอนุสัญญา มาพิจารณาและตีความ ทางฝ่ายอังกฤษจึงได้จัดทำ�ร่างแผนผัง เสนอให้ทาง ฝ่ายสยามได้พิจารณา โดยแผนผังดังกล่าว มีการลากเส้นตรงจากยอดเขาพญาซูสูทุง (เหลียงปะดอทุง) มายังพระเจดีย์องค์ กลาง จากนั้นจึงลากเส้นตรงจากเจดีย์องค์กลางกลับมายังยอดเขาพญาซูสูทุงอีกครั้งหนึ่ง และต่อจากนั้น เส้นพรมแดนก็ จะลากไปตามแนวสันปันน้ำ� อย่างไรก็ตาม การที่ฝ่ายอังกฤษไม่ได้ลากเส้นตรงจากพระเจดีย์องค์กลางมายังเขตเขากวีวอทุง ตามทีไ่ ด้ระบุไว้ในบัญชีหมายเขตแดนแนบท้ายอนุสญ ั ญา แต่กลับลากเส้นย้อนมายังจุดเขาพญาซูสทู งุ อีกครัง้ นัน้ ย่อมแสดง ให้เห็นว่า ฝ่ายอังกฤษไม่สามารถตรวจพบจุดเขากวีวอทุงในภูมิประเทศจริงได้ นอกจากนี้ ยังไม่ปรากฏว่าฝ่ายสยามให้การ รับรองร่างแผนผังของอังกฤษ และยังไม่มหี ลักฐานใดๆ ทีแ่ สดงว่าทัง้ สองฝ่ายได้ประชุมหารือร่วมกันเกีย่ วกับปัญหาเขตแดน ในบริเวณดังกล่าวอีกเลย14 ปัจจุบัน ทั้งฝ่ายพม่าและฝ่ายไทยต่างอ้างกรรมสิทธิ์ตรงบริเวณดังกล่าวโดยยึดถือแผนที่กันคนละฉบับ รวมถึง มีการตีความภูมิประเทศสำ�คัญที่พรรณนาไว้ในหลักฐานทางกฎหมายแตกต่างกันออกไป ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ เกิดการอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ทับซ้อน เป็นจำ�นวนหลายร้อยไร่ โดยฝ่ายพม่านั้น ได้เลือกใช้แผนที่ชุด U 741 มาตราส่วน 1 : 63,360 จัดทำ�โดยข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำ�อินเดีย ซึ่งเส้นเขตแดนจะลากจากเขาพญาทูสูธุง มายังพระเจดีย์องค์กลาง แล้วจึงลากกลับมายังเขาพญาทูสูธุงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งทำ�ให้แนวเขตแดนมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมชายธง ส่วนฝ่ายไทยได้ ยึดถือแผนที่ชุด L 7018 มาตราส่วน 1 : 50,000 จัดทำ�โดยกรมแผนที่ทหาร ซึ่งเส้นเขตแดนที่บ้านพระเจดีย์สามองค์ จะ ลากจากเขาพญาทูสูธุง หรือเขาครอนโดในปัจจุบัน เลาะเลียบไปยังพระเจดีย์สามองค์ แล้วจึงลากกลับมายังยอดเขาพญาทู สูธุงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งทำ�ให้การวางตัวของเส้นเขตแดนมีลักษณะคล้ายรูปนิ้วมือ15 การยึดแนวเขตแดนที่ต่างกัน ส่งผลให้เกิด พื้นที่ทับซ้อนโดยหากถือตามหลักฐานข้างฝ่ายไทย แนวเขตแดนจะครอบคลุมเจดีย์ทั้งสามองค์ แต่หากถือตามหลักฐานข้าง พม่า ฝ่ายไทยจะได้ครอบครองกรรมสิทธิ์เพียงแค่พระเจดีย์องค์กลาง ขณะที่เจดีย์ด้านริมอีกสององค์พร้อมพื้นที่ข้างเคียง อาจตกอยู่ใต้อธิปไตยของพม่า (3) ปัญหาเกาะต่างๆ ในแม่น้ำ�กระบุรีและทะเลอันดามัน กรณีพิพาทดังกล่าว มีอาณาเขตครอบคลุมจังหวัดเกาะสองของพม่ากับจังหวัดระนองของไทย ซึ่งมี 2 ประเด็นที่ น่าสนใจ ได้แก่ 1. ปัญหาเกาะตายิ้ม อำ�เภอกระบุรี โดยแม่น้ำ�กระบุรีได้เกิดการเปลี่ยนทางเดินของลำ�น้ำ� จนก่อให้เกิดร่องน้ำ�ใหม่ และเกาะกลางน้ำ�ซึ่งมีขนาดเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ โดยทั้งฝ่ายพม่าและฝ่ายไทยต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ดังกล่าวจนนำ�ไป สูค่ วามตึงเครียดระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน ทางการพม่ายังแสดงท่าทีไม่พอใจต่อการสร้างเขือ่ นป้องกันตลิง่ ของฝ่ายไทย ซึ่งส่งผลให้กระแสน้ำ�ไหลพุ่งกัดเซาะเข้าไปยังฝั่งพม่า และ 2. ปัญหาเกาะหลาม เกาะคัน และเกาะขี้นก อำ�เภอเมืองระนอง โดยรากเหง้าของปัญหาเกิดจากความไม่ชัดเจน ของสนธิสัญญาระหว่างสยามกับอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) ซึ่งกล่าวแต่เพียงว่า ดุลยภาค ปรีชารัชช 381


แผนที่ แ สดงพื้ นที่ ทั บ ซ้ อ นบริ เวณด่ า นพระเจดี ย์ ส ามองค์ (บน) เส้ น เขตแดนของไทยอ้​้ อ มด่ า นเจดี ย์ ทั้ ง 3 องค์ (ล่าง) เส้นเขตแดนของพม่าอ้อมเจดียอ์ งค์เดียว (แห่งทีม่ า : กองเขตแดนระหว่างประเทศ กรมแผนทีท่ หาร กองบัญชาการกองทัพไทย)

382

ภาค 2: เขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง


“ลำ�น้ำ�ปากจั่นเป็นกลาง .......เกาะในแม่น้ำ�ปากจั่นริมฝั่งอังกฤษเป็นของอังกฤษ ริมฝั่งไทยเป็น ของไทย เกาะขวางท่ามะลิวัลย์เป็นของไทยทั้งสิ้น….” โดยข้อความดังกล่าวไม่ได้ระบุตำ�แหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน รวมถึงไม่มีการกล่าวถึงกรรมสิทธิ์เหนือ เกาะเล็กๆ อีกหลายจุด จากกรณีดังกล่าว จึงเกิดปัญหาการอ้างสิทธิ์เหนือเกาะบริเวณปากแม่น้ำ�กระบุรี จำ�นวน 3 เกาะ ได้แก่ เกาะคาม (เนื้อที่ 4 ไร่) เกาะหลาม (เนื้อที่ 50 ไร่) และเกาะขี้นก (เนื้อที่ 3 ไร่) โดยทางการพม่าได้กำ�หนดอาณาเขต ครอบคลุมพื้นที่ทั้งสามเกาะ ประกอบกับมีการรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ อาทิ แผนที่เดินเรือของอังกฤษมาตราส่วน 1 : 200,000 สำ�รวจโดย นาวาเอก แอแอล แจ็คสัน แห่งหน่วยสมุทรศาสตร์ประจำ�อินเดีย ซึ่งระบุว่าเกาะทั้งสามอยู่ในเขต พม่า และ แผนที่เดินเรืออังกฤษหมายเลข 830 และ 3052 ซึ่งแสดงว่าเกาะทั้งสามเป็นของพม่าเช่นเดียวกัน ส่วนฝ่ายไทยเอง ก็ได้กำ�หนดอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งสามเกาะเช่นกัน โดยมีการอ้างหลักฐานหลายฉบับ อาทิ หนังสือขุนบุรพทิศอาทร ข้าหลวงประจำ�จังหวัดระนอง มีถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเรื่องอังกฤษจะจัดเรือมาสำ�รวจแผนที่ทางทะเลในน่าน น้ำ�ระหว่างพม่ากับไทย ฉบับปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ซึ่งสรุปความว่า เกาะหลาม เกาะคันและเกาะขี้นก ได้ขึ้นทะเบียน เป็นของสยามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) นอกจากนี้ ยังมีแผนที่ชุด L 708 มาตราส่วน 1 : 50,000 ระวางหมายเลข 4640/1 และ 4640/4 ซึ่งแสดงแนวพรมแดนโดยกันเอาเกาะทั้งสามเข้าไว้ในเขตไทย16 จากการนำ�เสนอในเบื้องต้น ทำ�ให้ทราบว่า การแบ่งเขตแดนที่ไม่ชัดเจนระหว่างอังกฤษกับสยาม คือปัจจัยสำ�คัญที่ ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์พม่า-ไทย ในปัจจุบัน โดยอำ�นาจการเมืองที่ไม่ทัดเทียมกันระหว่างอังกฤษกับสยาม ส่งผลให้ สนธิสัญญาและแผนที่ฉบับต่างๆ กลายเป็นเครื่องมือของลัทธิอาณานิคมตะวันตก ในการเข้าสัประยุทธ์และยื้อแย่งดินแดน กับมหาอำ�นาจท้องถิ่นอย่างสยาม โดยหลังจากที่อังกฤษตัดสินใจมอบเอกราชให้พม่า พร้อมถอนกำ�ลังออกจากเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ มรดกจากลัทธิอาณานิคมกลับยังคงดำ�รงอยู่ พร้อมเปิดโอกาสให้พม่ามีความชอบธรรมในการอ้างอิงหลักฐาน และสนธิสัญญาต่างๆ เพื่อชิงความได้เปรียบในการต่อสู้เรื่องเขตแดนกับไทย แต่อย่างไรก็ตาม ความสับสนวุ่นวายภายใน ประเทศพม่า บวกกับการขยายอิทธิพลของกองกำ�ลังกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวชายแดน กลับกลายเป็นเครื่องกีดขวางมิให้ อำ�นาจรัฐพม่าแผ่ขยายเข้าประชิดชายแดนไทยมากนัก รวมถึงยังผลให้รัฐบาลพม่าขาดความพร้อมในการเปิดเจรจาเรื่องเส้น เขตแดนกับไทย หากแต่ในปัจจุบันนั้น กลับพบว่า อำ�นาจรัฐพม่าเริ่มขยายตัวเข้าประชิดชายแดนไทยมากขึ้น สืบเนื่องจาก ความสำ�เร็จในการปราบปรามกลุม่ ชาติพนั ธุต์ า่ งๆ ซึง่ อาจส่งผลให้เกิดความตึงเครียดทางภูมศิ าสตร์การเมืองตามแนวชายแดน หากแต่ในกรณีของพม่านั้น คงต้องการเวลาอีกซักระยะเพื่อจัดระเบียบอำ�นาจรัฐให้มั่นคง ในขณะที่ฝ่ายไทย ยังต้องการให้ ปัญหาเขตแดนพม่าถูกปิดเงียบและทอดเวลาออกไปก่อน เนือ่ งจากไทยยังมีปญ ั หาเรือ่ งเขตแดนกับกัมพูชา จนยากทีจ่ ะแก้ไข เยียวยา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้พม่ากับไทยจะมีข้อพิพาทด้านเขตแดนในหลายกรณี แต่พรมแดนพม่าด้านที่ติดกับมหาอำ�นาจ อย่างจีนกับอินเดียนั้น กลับพบการแก้ปัญหาแบบสันติวิธี ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์การเมืองที่น่าสนใจ โดยมี รายละเอียด ดังนี้

2. เขตแดนพม่า - จีน เขตแดนพม่า-จีน มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 2,185 กิโลเมตร แบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก โดยส่วนแรกเริ่มจากจุด สามเหลี่ยมหิมาลัย (Himalayan Tri-Point) ซึ่งเป็นจุดบรรจบของรัฐอรุณาจัลประเทศ (อินเดีย) รัฐคะฉิ่น (พม่า) และเขต ปกครองธิเบต (จีน) และหลังจากนั้น เส้นเขตแดนจะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านหุบเหวและโตรกผาอันสูง ชัน รวมถึงลำ�แควสาขาของแม่น้ำ�อิระวดี จนกระทั่งไปถึงช่องเขาปีมอว์ ทางฟากตะวันออกของรัฐคะฉิ่น ซึ่งเป็นจุดแบ่งเขต ระหว่างลุ่มน้ำ�อิระวดีกับลุ่มน้ำ�สาละวิน16 สำ�หรับเขตแดนส่วนที่สองนั้น จะเริ่มจากช่องเขาปีมอว์ โดยเส้นเขตแดนจะเคลื่อน ตัวผ่านเมืองสำ�คัญต่างๆ ในรัฐคะฉิ่นตอนใต้และรัฐฉานตอนบน อาทิ เมืองน้ำ�คำ� เมืองหมู่เจ่ เมืองเหล่ากายและเมืองปาง แปก รวมถึงลำ�น้ำ�ต่างๆ ซึ่งไหลจากเทือกเขาในเขตยูนนานของจีน แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำ�อิระวดีในเขตพม่า อาทิ ลำ�น้ำ�ไท ปิง ลำ�น้ำ�วัน และลำ�น้ำ�ฉ่วยลี (น้ำ�มาว) เป็นต้น18 หลังจากนั้น แนวเขตแดนจะทอดตัวผ่านเมืองชายแดนทางแถบรัฐฉาน ภาคตะวันออก เลาะเลียบตะเข็บชายแดนจีนทางฝั่งมณฑลยูนนาน อาทิ เมืองล่า เมืองว้าและเมืองขาน จนกระทั่งไปสุดเขต ดุลยภาค ปรีชารัชช 383


แผนทีข่ องรัฐบาลจีนแสดงตำ�แหน่งด่านการค้าหมูเ่ จ่-รุย่ ลี่ ซึง่ ถือเป็นด่านยุทธศาสตร์ทจี่ นี ใช้เป็นฐานในขยายอำ�นาจครอบคลุม อนุภูมิภาคต่างๆ โดยแผนที่ดังกล่าวสะท้อนความสำ�คัญของเขตแดนพม่าอันสัมพันธ์กับการดำ�เนินนโยบายต่างประเทศของจีนใน ศตวรรษที่ 21 (แหล่งที่มา: ดุลยภาค ปรีชารัชช, มีนาคม พ.ศ. 2554)

ที่แนวแม่น้ำ�โขง ตรงจุดบรรจบของรัฐฉาน (พม่า) เขตปกครองสิบสองปันนา (จีน) และแขวงหลวงน้ำ�ทา (ลาว) เขตแดนพม่า-จีน มีความสำ�คัญทั้งในทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์การทหาร เนื่องจากรัฐบาลจีนได้คาดหวังให้ มีการแปลงสภาพพื้นที่ชายแดนให้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเฉพาะด่านการค้าหมู่เจ่ (พม่า)-รุ่ยลี่ (จีน) ซึ่งถือเป็น ด่านชายแดนที่เต็มไปด้วยการไหลเวียนของสินค้านานาชนิด หรือ บ่อนกาสิโนที่เมืองล่า (พม่า) ติดกับเขตปกครองสิบสอง ปันนาของจีน โดยรัฐบาลจีนได้วางโครงข่ายคมนาคมเพื่อผลักดันให้จีนกลายเป็นศูนย์การค้าในภูมิภาคอาเซียนตอนบน ซึ่ง สามารถสังเกตได้จากการสร้างถนนจากคุนหมิงสูม่ ณ ั ฑะเลย์ รวมถึงการวางแนวท่อก๊าซและท่อน�้ำ มันจากคุนหมิง ผ่านลาเสีย้ ว มัณฑะเลย์ จนไปออกสถานีปลายทางที่ชายฝั่งทะเลรัฐอาระกัน แต่อย่างไรก็ตาม แนวชายแดนพม่า-จีน ซึ่งเต็มไปด้วย ภูมิประเทศอันสลับซับซ้อน กลับกลายเป็นแหล่งซ่องสุมกำ�ลังของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่า อาทิ กลุ่มกองกำ�ลังคะฉิ่น (KIAKachin Independent Army) และกลุ่มกองกำ�ลังสหรัฐว้า (UWSA-United Wa State Army) โดยกองทหารของกลุ่ม ชาติพันธุ์ต่างๆ ได้ตั้งฐานที่มั่นอยู่ใกล้ชายแดนจีน ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลพม่าต้องส่งกำ�ลังเข้าตีกระหนาบจนมักสร้างปัญหาให้ กับความสัมพันธ์พม่า-จีน อยูเ่ ป็นระยะ โดยฝ่ายพม่ามักหวาดระแวงว่าทางการจีนอาจให้การสนับสนุนกองกำ�ลังฝ่ายต่อต้าน รัฐบาล ส่วนทางฝั่งจีน ก็มักไม่พอใจการโจมตีกลุ่มชาติพันธุ์ของฝ่ายพม่า เนื่องจากบางกลุ่มล้วนเคยมีสายสัมพันธ์แนบแน่น กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนในสมัยสงครามเย็น แต่กระนั้นก็ตาม ปัญหาตามแนวชายแดนพม่า-จีน ในปัจจุบัน กลับมีความ รุนแรงลดน้อยลงเมื่อเทียบกับในอดีต โดยเฉพาะการปักปันและปักหลักเขตแดน ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจายุติข้อพิพาท 384

ภาค 2: เขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง


ได้โดยสันติวิธีนับตั้งแต่ปีทศวรรษ 1960 ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง โดยมีพัฒนาการที่น่าสนใจ ดังนี้ เส้นเขตแดนพม่า-จีน เริม่ ถือกำ�เนิดขึน้ ในยุคอาณานิคม เมือ่ กองทัพอังกฤษประสบความสำ�เร็จในการยึดครองพม่า ในปี ค.ศ. 1885 ซึ่งส่งผลให้อำ�นาจจักรวรรดินิยมอังกฤษขยายตัวเข้าประชิดพรมแดนจีน โดยหลังจากนั้น อังกฤษได้เริ่ม กระชับความสัมพันธ์กบั จีน เนือ่ งจากอังกฤษสนใจทีจ่ ะติดต่อค้าขายและเจาะตลาดจีนตอนใต้ โดยในช่วงปลายปี ค.ศ. 1885 ทัง้ สองฝ่ายได้ประกาศจัดตัง้ คณะกรรมการการค้าชายแดนเพือ่ ส่งเสริมกิจกรรมการค้าระหว่างดินแดนพม่าตอนบน (Upper Burma) กับมณฑลยูนนาน สำ�หรับข้อตกลงเรื่องเส้นเขตแดนระหว่างราชวงศ์แมนจูกับพม่าของอังกฤษนั้น ได้ปรากฏการ เจรจาและลงนามในเอกสารสำ�คัญฉบับต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้19 หนังสือสัญญาปักกิ่งว่าด้วยพม่าและธิเบต ลงนาม ณ วันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ.1886 (พ.ศ. 2429) ซึ่งรับรอง อำ�นาจของอังกฤษเหนือดินแดนพม่าและระบุให้พม่าเป็นส่วนหนึง่ ของอินเดีย โดยเริม่ มีการระบุถงึ รายละเอียดบางส่วนเกีย่ ว กับเขตแดนพม่า-จีน หนังสือสัญญาลอนดอน ลงนาม ณ วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ.1894 (พ.ศ. 2437) ซึ่งระบุการแลกดินแดนระหว่าง ราชวงศ์แมนจูกับพม่าของอังกฤษ โดยฝ่ายจีนได้รับเอาสามดินแดนในเขตพม่าตอนบน ได้แก่ โกกั้ง เมืองเล็มและเกียงฮุง ในขณะที่ ฝ่ายอังกฤษได้รบั เอาดินแดนยุงชางและเต็งหยวน ซึง่ จีนเคยอ้างกรรมสิทธิก์ อ่ นทีจ่ ะยอมโอนดินแดนให้กบั อังกฤษ ข้อตกลงปักกิ่ง ลงนาม ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1897 (พ.ศ. 2440) ซึ่งวางหลักการและรายละเอียดเกี่ยวกับการ ปักปันเขตแดน รวมถึงกำ�หนดแนวเขตแดนพม่า-จีน เกือบทั้งหมด ยกเว้นในส่วนของรัฐว้า ที่ยังตกลงกันไม่ได้ นอกจากนั้น มาตรา 3 ยังได้กำ�หนดให้อังกฤษสามารถเช่าพื้นที่ตำ�บลน้ำ�วันเพื่อประกอบธุรกิจเป็นการถาวร เนื่องจากเป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ใน เส้นทางคาราวานและเชื่อมต่อกับถนนพม่าซึ่งเป็นเครือข่ายการค้าโบราณ ข้อตกลงซิมลา ลงนาม ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1914 (พ.ศ. 2457) ซึ่งกำ�หนดเขตแดนระหว่างจักรวรรดิอินเดีย กับธิเบต โดยปัจจุบัน มีอาณาเขตครอบคลุมเทือกเขาหิมาลัยตั้งแต่รัฐอารุณาจัลประเทศของอินเดีย ลากผ่านตอนบนของรัฐ คะฉิ่น ประชิดติดเขตธิเบตของจีน โดยการขาดการรับรองในข้อตกลง ส่งผลให้เอกสารดังกล่าว กลายเป็นชนวนปัญหาของ ความขัดแย้งเขตแดนระหว่างจีนกับอินเดีย ตลอดจนบางส่วนของจีนกับพม่า ในส่วนที่เส้นแมคมาฮอนพาดผ่าน20 อย่างไรก็ตาม การตกลงเรือ่ งเขตแดนระหว่างอังกฤษกับจีน ยังคงขาดความชัดเจนในหลายกรณี โดยความขัดแย้ง เริ่มก่อตัวขึ้นหลังจากที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) ซึ่งความหวาดระแรงเกี่ยวกับการขยาย อำ�นาจของจีนได้สร้างความกังวลใจให้กับเสถียรภาพของฝ่ายรัฐบาลพม่า โดยแผนที่ของจีนในช่วงทศวรรษ 1950 มักแสดง แนวเขตแดนทีค่ รอบคลุมพืน้ ทีส่ ว่ นหนึง่ ของพม่า เนือ่ งจากทัง้ สองฝ่ายยังไม่มกี ารแบ่งเขตแดนอย่างเป็นทางการ ประกอบกับ สนธิสญ ั ญาและแผนทีย่ งั คงเป็นฉบับเดิมทีอ่ งั กฤษทำ�กับจีนเมือ่ ครัง้ ปกครองพม่า ดังนัน้ เมือ่ ดินแดนพม่ายังไม่ได้ถกู ตัดแบ่ง อย่างเป็นทางการ จึงทำ�ให้ชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่ในเขตพม่าเป็นจำ�นวนมาก ซึ่งสร้างความกังวลใจให้กับรัฐบาลพม่า21 จาก กรณีดังกล่าว เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการยึดครองพื้นที่อย่างไม่เป็นทางการของจีน รัฐบาลอูนุของพม่า จึงได้ยื่นข้อเสนอต่อ จีนเพือ่ ขอทำ�สนธิสญ ั ญาแบ่งเขตแดนกันใหม่ในปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) หากแต่รฐั บาลจีนเป็นฝ่ายยืนยันขอทอดเวลาออก ไป เนือ่ งจากเป็นช่วงระยะเปลีย่ นผ่านการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยมาเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ซึง่ สร้างความลำ�บาก ใจให้กับรัฐบาลพม่าไม่น้อย เพราะในอดีตที่ผ่านมา จีนได้แสดงความจำ�นงในการรุกคืบแผ่นดินพม่าอยู่เสมอ โดยตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัด ได้แก่ เหตุการณ์ที่กองทัพญี่ปุ่นบุกโจมตีพม่า ในปี ค.ศ. 1942 (พ.ศ. 2485) โดยกองทัพจีนได้เคลื่อนทัพเข้า มาในเขตพม่าตอนบนเพื่อร่วมรบกับกองทัพฝ่ายพันธมิตรในสมรภูมิพม่า แต่เนื่องจากความโหดร้ายของทหารจีน จึงเป็นที่ เกลียดชังของชาวพม่า โดยกองทัพจีนยังคงอยู่ในรัฐฉานตอนเหนือจนถึงปี ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) จึงค่อยถอนทัพกลับ ประเทศ เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จีนมีความพยายามที่จะแทรกแซงพม่าทุกครั้งที่มีโอกาส ซึ่งพม่าก็ตระหนักในข้อ เท็จจริงทางยุทธศาสตร์ อีกทั้งการที่พม่าและจีนยังไม่มีการแบ่งเขตแดนกันอย่างเป็นทางการ จึงส่งผลให้จีนถือเป็นข้ออ้างว่า มิได้ลุกล้ำ�ดินแดนพม่าแต่อย่างใด หากแต่เป็นเพราะความไม่ชัดเจนของแนวพรมแดน22 พรพิมล ตรีโชติ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเมืองพม่า ได้อธิบายว่า ดินแดนพิพาทระหว่างพม่ากับจีนนั้นมีอยู่ด้วยกัน สองรัฐ คือ พื้นที่ในเขตรัฐว้าและพื้นที่ในเขตรัฐคะฉิ่น สำ�หรับรัฐว้านั้น รัฐบาลใหม่ของจีนไม่ยอมรับการแบ่งเขตแดนซึ่ง กระทำ�กันในปี ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) โดยคณะกรรมธิการสันนิบาตแห่งชาติ ภายใต้การกำ�กับดูแลของพันเอก อิสเซอ ดุลยภาค ปรีชารัชช 385


ลิน (Iselin) โดยอ้างว่ารัฐบาลเจียง ไค เช็ค จำ�เป็นต้องยอมรับข้อตกลง เนื่องเพราะในขณะนั้น จีนยังอยู่ภายใต้สภาวการณ์ ที่ถูกญี่ปุ่นรุกราน ในขณะที่พื้นที่รัฐคะฉิ่นกลายเป็นปัญหาเนื่องจากการแบ่งเขตที่กระทำ�โดยอังกฤษแต่ฝ่ายเดียวในปี ค.ศ. 1914 ซึ่งทางการจีนไม่เคยให้การรับรองในสัตยาบัน จากกรณีดังกล่าว สำ�หรับจีนแล้วพื้นที่ทั้งสองบริเวณ ยังถือว่าไม่มีการ แบ่งเขตแดนกันอย่างชัดเจน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) จีนได้ยกทัพเข้ามาในพื้นที่ทั้งสองเพื่อเจรจาเรื่องการ ปักปันเขตแดนกับพม่า สำ�หรับพื้นที่พิพาทระหว่างจีนกับพม่านั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 บริเวณ ได้แก่23 1. บริเวณทิศเหนือของเมืองมิตจินา ในรัฐคะฉิ่น ทิศตะวันตกจรดเขตอัสสัมของอินเดีย ทิศเหนือพาดผ่าน เมืองปูเตา ไปจรดตอนบนของต้นน้ำ�อิระวดีบริเวณธิเบต-ซีเกียง หรือที่เรียกกันว่า เส้นแมคมาฮอน ซึ่งจีนได้ทำ�การแบ่งเขต ในปี ค.ศ. 1914 ภายใต้กรอบสนธิสัญญาปักปันเขตแดนระหว่างจีนกับอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1886 (พ.ศ. 2429) ตลอดจนพื้นที่ ทางทิศตะวันออกในแถบช่องเขาปีมอว์ ได้แก่บริเวณแม่น้ำ�มายค่า ไปจนจรดแม่น้ำ�สาละวิน ซึ่งมีหมู่บ้าน 3 แห่ง ได้แก่ ปี มอว์ กอลัม และกังฟัง 2. บริเวณตำ�บลน้ำ�วัน ซึ่งเป็นพื้นที่เล็กๆ ในรัฐคะฉิ่น โดยเป็นดินแดนสามเหลี่ยมที่แม่น้ำ�วันไหลไปลงแม่​่น้ำ�ฉ่วยลี มีถนนตัดผ่านบริเวณสามเหลี่ยมยาวประมาณ 12 ไมล์ เชื่อมต่อระหว่างเมืองบาโมและน้ำ�คัน ซึ่งจีนเคยให้อังกฤษเช่าอย่าง ถาวร (Perpetual Lease) โดยอังกฤษ เป็นผู้เสียค่าเช่าทั้งหมด 3. ดินแดนในเขตรัฐว้า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองลาเสี้ยว และทิศตะวันออกของแม่น้ำ�สาละวิน บริเวณนี้ได้ เคยถูกสำ�รวจไปแล้วในปี ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) ภายใต้กรอบข้อตกลงฮิสเซอลินระหว่างจีนกับอังกฤษ แต่จีนได้ปฏิเสธที่ จะยอมรับข้อตกลงดังกล่าว กล่าวโดยสรุป ดินแดนทั้งสามแห่งเป็นจุดที่ยังตกลงกันไม่ได้ และเป็นดินแดนที่จีนต้องการทวงสิทธิคืน ดังนั้น การยกทัพเข้ามาในพื้นที่พิพาทโดยกองกำ�ลังฝ่ายจีน จึงทำ�ให้พม่าต้องเร่งดำ�เนินการปักปันเขตแดนกับจีน ซึ่งสามารถหา ข้อยุติกันได้ในช่วงทศวรรษ 1960 โดยจีนยอมรับบริเวณเส้นอิสเซอลินในเขตรัฐว้า ในขณะที่พม่าต้องยกพื้นที่สามหมู่บ้าน ทีย่ งั คงเป็นปัญหาในเขตรัฐคะฉิน่ ให้กบั จีนพร้อมทัง้ ยกเลิกสัญญาให้เช่าถาวรทีอ่ งั กฤษทำ�ไว้กบั จีน สำ�หรับพม่านัน้ ได้ตระหนัก ถึงความพยายามของจีนทีจ่ ะครอบครองพืน้ ทีย่ ทุ ธศาสตร์ของพม่า จนเป็นเหตุให้พม่าต้องกำ�หนดท่าทีทางการทูตต่อจีนด้วย ความระมัดระวัง โดยอาจกล่าวได้ว่า นโยบายต่างประเทศพม่าในช่วงแรกของการได้รับเอกราช ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการ แก้ไขปัญหาเขตแดนกับจีน เป็นสำ�คัญ สืบเนื่องจากรัฐบาลพม่านั้น หวาดระแวงการรุกรานของจีน โดยเฉพาะการอ้างสิทธิ ของจีนในพื้นที่ครอบครองของพม่า อัษฎา ชัยนาม อดีตเจ้าหน้าที่ประจำ�สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า การที่พม่า สามารถตกลงกับจีนเกี่ยวกับปัญหาเขตแดน อาจเกิดจากเหตุผลหลัก 2 ประการ ได้แก่24 1. พม่าเข้าใจข้อเท็จจริงในด้านสนธิสัญญา รวมทั้งอำ�นาจต่อรองบนเวทีระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลพม่าทราบอยู่ ตลอดเวลาว่า สนธิสัญญาต่างๆ ที่อังกฤษทำ�ไว้กับจีนนั้น ไม่มีความชัดเจนในเรื่องพรมแดนและบางกรณี ถือเป็นการเอารัด เอาเปรียบและขาดความยุติธรรมต่อจีน แต่อังกฤษก็สามารถตีความให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน อาทิ หมู่บ้านทั้งสามแห่งใน รัฐคะฉิน่ ทีร่ ฐั บาลพม่ายอมยกให้สาธารณรัฐประชาชนจีนนัน้ ฝ่ายอังกฤษเป็นฝ่ายกำ�หนดขึน้ เองว่าอยูใ่ นเขตพม่า แต่ฝา่ ยจีน ยังมิได้ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาแต่อย่างใด ส่วนพื้นที่ตำ�บลน้ำ�วัน หรือที่เรียกกันว่า สามเหลี่ยมเมืองมาว นั้น รัฐบาลจีน นับตั้งแต่สมัยจีนคณะชาติจนถึงจีนคอมมิวนิสต์ ได้บอกเลิกไม่ยอมรับค่าเช่าในพื้นทีน่ ั้นแล้ว เพราะเล็งเห็นว่าข้อตกลงให้เช่า ตลอดกาลเป็นการละเมิดอธิปไตยของจีนโดยชัดแจ้ง จนเมือ่ สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศเปลีย่ นแปลงไป พม่าได้รบั เอกราชจากอังกฤษ รัฐบาลพม่า ก็แสดงการยอมรับว่า หากในอนาคต รัฐบาลจีนสามารถกำ�จัดปัญหาภายในของตนได้แล้ว รัฐบาลพม่าก็จำ�เป็นต้องเจรจาเรื่องเขตแดนกับมหาอำ�นาจอย่างจีน จากข้อเท็จจริงทางสนธิสัญญาและโครงสร้างการเมือง ระหว่างประเทศ รัฐบาลพม่าจึงพร้อมที่จะเปิดเจรจาและเข้าใจฐานะต่อรองของตนเองเป็นอย่างดี 2. การตกลงระงับข้อพิพาทได้กระทำ�ขึน้ ในสมัยทีน่ ายพล เนวินเข้ามารับตำ�แหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีรกั ษาการ (ค.ศ. 1958-1960/พ.ศ. 2501-2503) โดยในระยะนั้น นักการเมืองพม่าในรัฐสภากำ�ลังทะเลาะวิวาทกันเอง ไม่สามารถปกครอง ประเทศได้ นายกรัฐมนตรีอนู ุ จึงขอให้นายพล เนวิน ซึง่ ดำ�รงตำ�แหน่งผูบ้ ญ ั ชาการทหารบก เข้ามารับหน้าทีเ่ ป็นนายกรัฐมนตรี จนกว่าการเมืองภายในจะสงบเรียบร้อย การทีพ่ ม่าตกลงปัญหาเขตแดนกับจีนได้ในระยะนี้ ทัง้ ๆ ทีร่ ฐั บาลชุดก่อนได้เจรจามา 386

ภาค 2: เขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง


แผนที่แสดงตำ�แหน่งการสลับดินแดนระหว่างพม่ากับจีน (แหล่งที่มา : International Boundary Study)

แล้วหลายครั้ง อาจเป็นไปได้ว่า นายพล เนวินมีความเป็นกลาง มิได้สังกัดพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองฝ่ายใด ข้อเสนอ ต่างๆ ทีน่ ายพล เนวินแจ้งต่อฝ่ายจีน จึงมีน�้ำ หนักเพราะสะท้อนความคิดเห็นของปวงชนพม่า และมิได้เป็นของพรรคการเมือง หนึ่งพรรคการเมืองใด ประกอบกับในช่วงเวลานั้น จีนกำ�ลังมีปัญหาเรื่องเขตแดนกับอินเดียและถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้รุกราน จีนจึงต้องการแสดงให้ประชาคมโลกเห็นว่า ตนสามารถตกลงเรื่องเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านแบบสันติวิธีได้เหมือนกัน จากกรณีดงั กล่าว การยุตคิ วามขัดแย้งเรือ่ งเขตแดนอย่างเป็นทางการจึงเริม่ ขึน้ เมือ่ วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) เมือ่ รัฐบาลทัง้ สองประเทศได้ลงนามในสนธิสญ ั ญาเขตแดนระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสหภาพพม่า ซึง่ นับเป็น เอกสารสำ�คัญที่กำ�หนดให้ทั้งสองฝ่ายเจรจาแก้ไขปัญหาเขตแดนแบบสันติวิธีโดยอาศัยหลักการสลับและแลกโอนดินแดน ซึ่งมีสาระสำ�คัญ คือ ดุลยภาค ปรีชารัชช 387


(บน) หลักเขตแดนที่ 71 บริเวณพรมแดนพม่า-จีน (ล่าง) ด่านการค้ารุ่ยลี่ ซึ่งเชื่อมต่อกับด่านหมู่เจ่ของพม่า (แหล่งที่มา : ดุลยภาค ปรีชารัชช, มีนาคม 2554)]


1. พม่ายินยอมยกหมู่บ้านสามแห่งในรัฐคะฉิ่นให้กับจีน ซึ่งได้แก่ ปีมอว์ กอลัม และกังฟัง เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 153 ตารางกิโลเมตร 2. พม่ายอมมอบหมูบ่ า้ นปางฮุงและปางเลาในเขตรัฐว้าให้กบั ทางการจีน เนือ้ ทีท่ งั้ หมดประมาณ 189 ตารางกิโลเมตร เพื่อแลกเปลี่ยนกับพื้นที่ตำ�บลน้ำ�วันของจีน เนื้อที่ประมาณ 220 ตารางกิโลเมตร 3. รัฐบาลพม่าและรัฐบาลจีนต่างตกลงที่จะโอนหมู่บ้านเล็กๆ บางแห่ง ให้เข้าไปอยู่ในเขตแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อ ความสะดวกในการบริหารราชการ และความเหมาะสมทางด้านสังคมวัฒนธรรมของกลุม่ ชาติพนั ธุท์ ีอ่ าศัยอยูใ่ น บริเวณดังกล่าว อาทิ กลุ่มไทใหญ่และคะฉิ่น และ 4. รัฐบาลจีนยอมสละสิทธิทจี่ ะเข้าร่วมทำ�เหมืองแร่ในเขตลูฟางของพม่า ซึง่ รัฐบาลอังกฤษเคยให้สทิ ธิจนี ในการเปิด สัมปทานเหมืองแร่25 กรณีศึกษาเขตแดนพม่า-จีน นับว่ามีความน่าสนใจในเชิงประวัติศาสตร์และการเมือง โดยเฉพาะการแก้ปัญหาข้อ พิพาทโดยอาศัยหลักการแลกเปลี่ยนสลับดินแดน ซึ่งทำ�ให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจายุติความขัดแย้งได้นับตั้งแต่ช่วงต้น ทศวรรษ 1960 ประกอบกับโครงสร้างการเมืองภายในและการเมืองระหว่างประเทศได้ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศให้การแก้ ปัญหาสามารถยุติลงได้อย่างรวดเร็วบนพื้นฐานของหลักผลประโยชน์ต่างตอบแทน ซึ่งนับเป็นความสำ�เร็จครั้งยิ่งใหญ่ทาง ด้านภูมิรัฐศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศ

3. เขตแดนพม่า - อินเดีย เขตแดนพม่า-อินเดีย มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 1,643 กิโลเมตร โดยเกือบ 90% ของพื้นที่ ถูกกำ�หนดโดยเทือก ้ำ ในขณะทีอ่ กี เกือบ 10% ถูกกำ�หนดโดยเส้นตรงซึง่ พาดผ่านหลักเขตแดนต่างๆ26 เส้นเขตแดนพม่า-อินเดีย เขาและแนวลำ�น� นั้น เริ่มต้นจากสามเหลี่ยมหิมาลัย ตรงรอยต่อของรัฐอรุณาจัลประเทศ เขตปกครองธิเบตและรัฐคะฉิ่น หลังจากนั้น เส้น เขตแดนจะเคลือ่ นตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผา่ นมณฑลสะกายของพม่า ซึง่ มีอาณาเขตทอดตัวขนานไปกับรัฐนากาแลนด์ และรัฐมณีปุระ ซึ่งเป็นรัฐชนบททางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย โดยภูมิประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นสันเขา และแควสาขาซึ่งปันน้ำ�ลงสู่เขตลุ่มน้ำ�มณีปุระกับลุ่มน้ำ�พรหมบุตรทางฝั่งอินเดียและเขตลุ่มน้ำ�ชินวินทางฝั่งพม่า ต่อจากนั้น เส้นเขตแดนจะโค้งหักศอกเป็นแนวเส้นตรงแล้วทิ่มแทงยื่นลึกเข้าไปในฝั่งอินเดียโดยมีแม่น้ำ�มณีปุระและแควสาขาเป็นแนว พรมแดนระหว่างประเทศ หลังจากนั้น เส้นเขตแดนจะเคลื่อนตัวไปทางทิศใต้โดยผ่านพื้นที่รัฐชินของพม่าและรัฐไมโซรัม ของอินเดีย โดยมีเทือกเขาชินและเทือกเขาอาระกันเป็นแนวแบ่งเขต และต่อจากนั้น เส้นเขตแดนจะเคลื่อนตัวไปสิ้นสุดที่ เขตสามเหลี่ยมยุทธศาสตร์พม่า-อินเดีย-บังกลาเทศ ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมรัฐชิน รัฐไมโซรัม และเขตภูเขาจิตตะกอง (Chittagong Hills Tracts) ของบังกลาเทศ สำ�หรับความสำ�คัญทางภูมศิ าสตร์การเมืองนัน้ ชายแดนอินเดียด้านทีต่ ดิ กับพม่า มีอาณาบริเวณค่อนข้างกว้างใหญ่ โดยประกอบด้วย 4 รัฐสำ�คัญ ได้แก่ อรุณาจัลประเทศ นากาแลนด์ มณีปุระและไมโซรัม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือของอินเดียที่รู้จักกันดีในนาม “น้องสาวทั้งเจ็ด หรือ Seven Sisters” อันประกอบด้วย อัสสัม เมกฮาลายา อรุณาจัลประเทศ นากาแลนด์ มณีปุระ ไมโซรัม และตรีปุระ กินเนื้อที่กว้างขวางถึง 255,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นดิน แดนทีไ่ ม่มที างติดต่อกับประเทศอินเดียในส่วนอืน่ หากแต่มชี อ่ งเขาเล็กๆ ซึง่ เปรียบเสมือนสะพานเชือ่ มต่อน้องสาวทัง้ เจ็ดเข้า กับส่วนที่เหลือของอินเดีย อันได้แก่ คอคอดศิลิกุริ หรือ Siliguri Strategic Neck นอกจากนั้น ดินแดนแถบนี้ยังเป็นเขต เชื่อมต่อกับธิเบตของจีนและเทือกเขาสูงในภูฏาน รวมถึงเขตป่าเขารกทึบในเขตรัฐชินและมณฑลสะกายของพม่า ลักษณะ การเป็นพื้นที่ชนบทขนาดใหญ่และยากแก่การเข้าถึง ทำ�ให้การควบคุมจากรัฐบาลกลางเป็นไปด้วยความยากลำ�บาก ตลอด จนส่งผลให้ดนิ แดนแถบนีก้ ลายสภาพเป็นเขตปลอดอำ�นาจรัฐและเต็มไปด้วยกองกำ�ลังกลุม่ ต่อต้านรัฐบาลไม่วา่ จะเป็นรัฐบาล อินเดีย พม่า จีน ภูฏาน และสิกขิม มากมายกว่า 50 กลุ่ม27 ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์และ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ในขณะเดียวกัน การแผ่อทิ ธิพลแย่งชิงทรัพยากรท้องถิน่ ตลอดจนความรูส้ กึ ว่าถูกเอารัดเอาเปรียบหรือเป็นปฏิปกั ษ์ กับรัฐบาลกลาง รวมถึงการแทรกแซงจากรัฐเพื่อนบ้าน ส่งผลให้พื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดนอินเดีย โดยเฉพาะด้านที่ติด ดุลยภาค ปรีชารัชช 389


แผนที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียด้านที่ติดกับพม่า (แหล่งที่มา : Microsoft Corp) กับพม่ากลายเป็นจุดอ่อนไหวทางการเมืองระหว่างประเทศ ประกอบกับดำ�รงสภาพเป็นแหล่งซ่องสุมของกองกำ�ลังแบ่งแยก ดินแดน อาทิ กลุ่มคะฉิ่น กลุ่มชิน กลุ่มนาคา และกลุ่มอาระกัน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอินเดียในยุคปัจจุบันได้ ให้ความสำ�คัญกับนโยบายมุ่งสู่ตะวันออก หรือ Look East Policy เพื่อเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้าโดยมุ่งเน้นไปที่ ชายแดนพม่าซึ่งเปรียบประดุจกับประตูเชื่อมต่อไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปัจจุบัน รัฐบาลอินเดียและรัฐบาลพม่า ต่างหันมากระชับความสัมพันธ์เพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่ชายแดน โดยมีการสร้างถนนเชื่อมต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ อินเดียกับรัฐคะฉิน่ รัฐชิน และมณฑลสะกายของพม่า รวมถึงมีการปราบปรามและกดดันกลุม่ ต่อต้านรัฐบาลโดยอาศัยความ ร่วมมือระหว่างกองทัพอินเดียกับกองทัพพม่า สำ�หรับประเด็นเรือ่ งเขตแดนระหว่างพม่ากับอินเดียนัน้ พบว่ามีพฒ ั นาการทาง ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจบางประการ โดยมีสาระสำ�คัญ ดังต่อไปนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับรัฐชนบททางภาคอีสานของอินเดีย ส่วนใหญ่แล้วมักเต็มไปด้วยการทำ�ศึกสงคราม มากกว่าการเจริญสัมพันธไมตรี ดังเช่น ในปี ค.ศ. 1775 (พ.ศ. 2318) กองทัพพระเจ้าอลองพญาแห่งราชวงศ์คองบองได้ บุกโจมตีแคว้นมณีปรุ ะจนได้รบั ชัยชนะและได้สร้างศิลาจารึกไว้ทเี่ มืองอิมพัล ซึง่ เป็นเมืองหลวงของมณีปรุ ะก่อนจะกรีฑาทัพ กลับพม่า ต่อมาในปี ค.ศ. 1819 (พ.ศ. 2362) มณีปุระก่อการกบฏต่ออาณาจักรพม่า จนพระเจ้าบะจีดอว์ ตัดสินใจโจมตี มณีปุระอีกครั้ง ซึ่งทำ�ให้ผู้ปกครองพื้นถิ่นต้องลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองกะชาร์และทำ�การตอบโต้กองทัพพม่าอย่างดุเดือด การยุทธ์ ในครัง้ นัน้ ส่งผลให้บริษทั อินเดียตะวันออกของอังกฤษ ให้การสนับสนุนผูป้ กครองมณีปรุ ะในการทำ�สงครามกับพม่า28 และ 390

ภาค 2: เขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง


APPENDIX-VI Agreement Regarding the Kubo (Kabaw) Valley, 1834 First: The British Commissioners, Major Grant and Captain Pemberton, under instruction from the Right Honourable, the Governor-General in Council., agree to make over to the Woadauk Maha Mingyan Rajah and Tsarudangicks Myookyantheo, Commissioner appointed by the King of Ava, the Towns of Tammao (Tamu), Rhumba (Rhambat), Surjail, and all other villages in the Kubo Valley, the Ungoching Hills and the strip of valley running between the Eastern foot and Western bank of the Ningtha Rhyendan (Chindwin) river Second: The British Commissioners will withdraw the Munipore Thanas now stantioned within this tract of the country and make over immediate possession of if to thr Burmese Commissioner on certain conditions Third: The conditions are, the they will agree to the boundaries which may be pointed out to them by the British Commissioners, and will respect and refrain from any interference, direct or indirect, with the people resident on the Munnipooree side of those boundaries. Fourth: The boundaries are as follows: 1. The Eastern foot of the chain of mountains which are immediately from the Western side of the plain of the Kubo Valley. Within this line is included Moreh and all the country of the westward of it. 2. On the south a line extending from the Eastern foot of the same hills at the point where the river, called by the Burmahs Nansawing and by the Munnipoorees Namsaulung, enters the plain, up to its sources and across the hills due West down to the Kethe-Khyaung (Munnipooree River) 3. On The North line of boundary will begin at the foot of the same hills at the Northern extremity of the Kubo valley, and pass due North up to the first range of hills, East of the upon which stand the villages of Choatao, Noanghur of the tribe called by the Munnipoorees Loohooppa, and by the Burmah Lagumsauny, now tributary to Munnipoore. Fifth: The Burmese Commissioners hereby promise that they will give orders to the Burmese officers, who will remain in the charge go the territory now made over to them not in any way to interfere with the Khyens or other inhabitants living on the Munnipoor side of the lines of boundary above described and the British Commissioners also promise that the Munnipoorees shall be ordered not in any way to interfere with the Khyens or other inhabitants of any descrition living on the Burmah side of the boundaries now fixed. (Seal) Sd/- F.J Grant, Major Commissioners (Seal) Sd/- R.B. Pemberton, Captain Sunnyachil Ghat, Ningthee, 9th January, 1834

ตัวอย่างภาคผนวกที่ 6 ของข้อตกลงคูโบระหว่างพม่ากับอินเดียของอังกฤษ ซึ่งเป็นการลงนามโดยตัวแทนกษัตริย์พม่า กับตัวแทนข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษ อันได้แก่ F.J. Grant และกัปตัน R. Boileu Pemberton (แหล่งที่มา : Eikhoigi Eereipak by Phanjoubam Tarapot)


ได้ชักนำ�ให้อังกฤษเข้าสู่สงครามกับพม่าเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1824 (พ.ศ. 2367) หรือที่เรียกกันว่า สงครามอังกฤษ-พม่า ครั้งที่ 1 (Anglo-Burmese War) ซึ่งยังผลให้พม่าเป็นฝ่ายปราชัยและจำ�ต้องทำ�สนธิสัญญายันดาโบ พร้อมสูญเสียอิทธิพล ในแคว้นอัสสัม มณีปรุ ะและตะนาวศรีให้กบั อังกฤษ รวมถึงต้องสูญเสียสิทธิในการครอบครองแคว้นอาระกัน จนทำ�ให้เทือก เขาอาระกันกลายเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างพม่ากับอินเดียของอังกฤษ (British India)29 ต่อมาเมือ่ อังกฤษทำ�สงครามกับ พม่าครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1852 (พ.ศ. 2395) และครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ. 1885 (พ.ศ. 2428) จนทำ�ให้พม่าต้องสูญเสียเอกราชแบบ เบ็ดเสร็จ อังกฤษก็ได้รบั ความช่วยเหลือจากอินเดีย รวมถึงใช้ประโยชน์จากเมืองกัลกัตตาในการสะสมกำ�ลังทางทะเลเพือ่ บุก โจมตีพม่า นอกจากนั้น ในช่วงการรวมดินแดนพม่าตอนบนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษในปลายทศวรรษ 1880 อังกฤษได้ ใช้ทหารซีปอยของอินเดีย ถึง 40,000 นาย เข้าประจำ�การในพม่าเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและป้องกันการก่อกบฏต่อ ผู้ปกครองอังกฤษ30 และขณะเดียวกัน อังกฤษก็ได้ลดทอนความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรพม่าให้กลายมาเป็นเพียงแค่จังหวัด หนึ่งของอินเดียซึ่งสร้างความอัปยศและบาดแผลทางประวัติศาสตร์ให้กับชนชั้นนำ�พม่ามาจนถึงปัจจุบัน สำ�หรับเขตแดนระหว่างพม่ากับอินเดียนั้น ถือกำ�เนิดขึ้นตั้งแต่ช่วงสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 1 โดยมีเอกสารและ เหตุการณ์สำ�คัญทางประวัติศาสตร์ ดังนี้ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1826 (พ.ศ. 2369) ตัวแทนจากฝ่ายราชสำ�นักมัณฑะเลย์และข้าหลวงอังกฤษประจำ� อินเดีย ได้ลงนามในสนธิสัญญายันดาโบ ซึ่งระบุให้อาณาจักรพม่าถอนอำ�นาจและอิทธิพลออกจากภาคอีสานของอินเดีย ครอบคลุมเมืองสำ�คัญต่างๆ อาทิ อัสสัม กะชาร์ เจนเตีย และมณีปุระ นอกจากนั้น ยังมีการระบุให้อังกฤษส่งกองกำ�ลังเข้า ครอบครองแคว้นอาระกันเพื่อยุติการรุกล้ำ�เขตแดนจากฝ่ายพม่า โดยประกาศให้เทือกเขาอาระกันเป็นแนวพรมแดนถาวร ต่อมาในวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1834 (พ.ศ. 2375) ตัวแทนทั้งสองฝ่ายได้เจรจากันในข้อตกลงคูโบ ซึ่งกำ�หนดแนวเขตแดน อินเดีย-พม่า ตรงบริเวณหุบเขาคูโบ (Kubo Valley) ระหว่างรัฐมณีปุระของอินเดียกับรัฐชินของพม่า โดยมีการเรียกขาน เส้นเขตแดนบริเวณดังกล่าวว่า เส้นเพมเบอร์ตัน (Pemberton Line) เพื่อเป็นเกียรติแก่นายเพมเบอร์ตัน เจ้าหน้าที่สำ�รวจ เขตแดนชาวอังกฤษ31 ครั้นเมื่อเข้าสู่ปี ค.ศ. 1837 (พ.ศ. 2380) ได้มีการกำ�หนดให้เทือกเขาปักไตทำ�หน้าที่เป็นแนวพรมแดน ระหว่างอัสสัมกับพม่า และต่อมาในปี ค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424) พันเอก จอห์นสโตน ( Johnstone) ได้ทำ�การสำ�รวจเส้นเพม เบอร์ตันอีกครั้ง โดยระบุตำ�แหน่งของเส้นเขตแดนบนแผนที่อย่างชัดเจน ซึ่งในระยะแรกตัวแทนจากฝ่ายพม่าได้ปฏิเสธที่จะ ให้ความร่วมมือในการสำ�รวจเขตแดน แต่ในท้ายที่สุด ฝ่ายพม่าก็ให้การยอมรับเส้นเขตแดน จนสามารถยุติข้อพิพาทในเขต หุบเขาคูโบได้โดยสันติ32 แต่อย่างไรก็ตาม แนวเขตแดนพม่า-อินเดีย ส่วนใหญ่ยงั คงไม่ได้รบั การปักปันและปักหลักเขตแดน อย่างชัดเจน จนกระทั่งพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ.1885 (พ.ศ. 2428) ซึ่งรัฐบาลอังกฤษได้ออกกฎหมาย ภายในหลายฉบับเพื่อสร้างความชัดเจนให้กับเส้นเขตแดนตามจุดต่างๆ33 ซึ่งนับว่าประสบความสำ�เร็จพอสมควรเนื่องจาก พม่าได้ถกู ผนวกเข้าเป็นจังหวัดหนึง่ ของอินเดีย จึงทำ�ให้องั กฤษมีความคล่องตัวในการปักปันเขตแดน ต่อมาในปี ค.ศ. 1894 (พ.ศ. 2437) ฝ่ายอังกฤษได้ทำ�การปักหลักเขตแดนพม่า-อินเดีย ตรงบริเวณเทือกเขาชินและมณีปุระ พร้อมๆ กับสร้างหลัก เขตแดนจำ�นวนทั้งสิ้น 38 หลัก34 เพื่อยุติข้อพิพาทภายในภาคอีสานของจักรวรรดิอินเดีย ต่อมาในปี ค.ศ. 1935 (พ.ศ. 2478) ได้มกี ารออกพระราชบัญญัตอิ นิ เดียเพือ่ แยกเขตปกครองพม่าออกจากอินเดีย ซึง่ ถือเป็นการสิน้ สุดช่วงเวลาทีพ่ ม่ามีสภาพเป็นเพียงจังหวัดหนึง่ ของอินเดีย โดยนับจากนัน้ พม่าได้ถกู ยกฐานะให้เป็นอาณานิคม หนึง่ ของอังกฤษ และมีการระบุให้แนวเขตแดนทีเ่ คยปักปันไว้กอ่ นการออกพระราชบัญญัตซิ งึ่ ครอบคลุมพืน้ ทีฟ่ ากตะวันออก ของเบงกอล มณีปรุ ะ อัสสัม และพืน้ ทีใ่ กล้เคียง ถูกถ่ายโอนให้เป็นเขตแดนระหว่างอาณานิคมพม่ากับอาณานิคมอินเดีย อย่าง เป็นทางการ ต่อมาหลังการสิน้ สุดของสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ทัง้ พม่าและอินเดียต่างได้รบั อิสรภาพจากอังกฤษและแปลงสภาพ จากรัฐอาณานิคมเข้าสู่รัฐเอกราชสมัยใหม่ โดยในระยะแรก รัฐบาลทั้งสองประเทศต่างทุ่มเวลาให้กับการบริหารราชการบ้าน เมือง โดยปล่อยปัญหาและทอดเวลาการปักหลักเขตแดนในบางจุดออกไป จนกว่าแต่ละฝ่ายจะมีความพร้อมแล้วค่อยมาเจรจา ตกลงกัน จนกระทัง่ วันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1967 (พ.ศ. 2510) ตัวแทนทัง้ สองฝ่าย ได้ลงนามในข้อตกลงเขตแดนระหว่างรัฐบาล แห่งสาธารณรัฐอินเดียกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า โดยมีการรวบรวมเอาข้อตกลงและกฏระเบียบทีอ่ งั กฤษเคยทำ�ไว้ระหว่างช่วง ศตวรรษที่ 19 – 20 มาตีความและจัดหมวดหมู่อย่างเป็นระบบ35 พร้อมอธิบายลักษณะภูมิประเทศที่เส้นเขตแดนพาดผ่าน ้ำ เส้นตรงและหลักเขตแดนต่างๆ รวมถึงมีการระบุระยะห่างของจุดยุทธศาสตร์สำ�คัญบนแผนที่ อย่างละเอียด ทัง้ สันเขา ลำ�น� ไว้อย่างชัดเจน จนทำ�ให้กระบวนการปักหลักเขตแดนและการถ่ายทอดเส้นเขตแดนบนภูมปิ ระเทศจริง ดำ�เนินไปอย่างราบรืน่ 392

ภาค 2: เขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง


(บน) แผนที่แสดงบ่อน้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวเบงกอลซึ่งครอบคลุมเขตแดนทางทะเลระหว่างพม่ากับบังกลาเทศ (ล่าง) รั้วลวดหนามบนแนวเขตแดนพม่า-บังกลาเทศ (สร้างโดยรัฐบาลพม่า) (แหล่งที่มา : เครือข่ายในประเทศบังกลาเทศ)

ดุลยภาค ปรีชารัชช 393


ตลอดแนวพรมแดนกว่าหนึ่งพันหกร้อยกิโลเมตร จากกรณีดงั กล่าว เขตแดนพม่า-อินเดีย จึงเป็นภาพสะท้อนทีเ่ ผยให้เห็นถึงการแก้ปญ ั หาเขตแดนแบบสันติวธิ รี ะหว่าง รัฐขนาดกลางอย่างพม่ากับรัฐขนาดใหญ่อย่างอินเดีย โดยปัจจัยแห่งความสำ�เร็จเกิดจากการผนวกพม่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ จักรวรรดิอินเดียของอังกฤษซึ่งส่งผลให้รัฐบาลอังกฤษมีความคล่องตัวในการปักปันเขตแดนโดยถือเอาเป็นภารกิจภายใน นอกจากนั้น ข้อตกลงและสนธิสัญญาเป็นจำ�นวนมาก ยังถูกรวบรวมและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะที่เมืองกัลกัตตา ซึง่ เป็นศูนย์อ�ำ นาจการปกครองของจักรวรรดิอนิ เดียของอังกฤษ โดยหลังจากทีพ่ ม่าและอินเดียได้รบั เอกราช ตัวแทนทัง้ สอง ฝ่ายได้ทำ�การรวบรวมและตีความเอกสารต่างๆ ที่อังกฤษเคยทำ�ไว้ จนถ่ายทอดออกมาเป็นข้อตกลงเขตแดนระหว่างรัฐบาล แห่งสาธารณรัฐอินเดียกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า ซึ่งช่วยยุติข้อพิพาทด้านเขตแดนได้อย่างน่าอัศจรรย์36

4. เขตแดนพม่า - บังกลาเทศ เขตแดนพม่า-บังกลาเทศ มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 271 กิโลเมตร โดยเริ่มจากจุดสามเหลี่ยมอินเดีย-พม่าบังกลาเทศ แล้วเคลื่อนตัวลงทางใต้ผ่านพื้นที่รัฐชินและรัฐอาระกันของพม่า ซึ่งมีพรมแดนติดกับเขตภูเขาจิตตะกอง (Chittagong Hill Tracts - CHT) และเขตค็อก บาซาร์ (Cox’s Bazaar) ของบังกลาเทศ จนกระทั่งไปสุดชายทะเลที่อ่าว เบงกอล โดยมีเทือกเขาอาระกันและแม่น้ำ�นาฟ (Naff River) เป็นแนวพรมแดน จุดเด่นของเขตแดนพม่า-บังกลาเทศ คือ การใช้แม่น้ำ�นาฟเป็นตัวแบ่งเขต ซึ่งถือเป็นลำ�น้ำ�ที่มีความยาวประมาณ 80 กิโลเมตร และมีความกว้างราวๆ 1.5-3.22 กิโลเมตร37 หากแต่ความกว้างใหญ่ของสายน้ำ� กลับกลายเป็นอุปสรรคต่อการแบ่งเขต ซึ่งสร้างความยากลำ�บากต่อการ ค้นหาร่องน้ำ�ลึกที่ถูกระบุให้เป็นเส้นพรมแดน ประกอบกับความผันผวนของกระแสน้ำ�ที่อยู่ใกล้แนวพายุไซโคลน และความ พยายามสร้างเขื่อนตรงเขตต้นน้ำ�ของรัฐบาลพม่า ได้ส่งผลให้บังกลาเทศจำ�เป็นต้องเพิ่มกำ�ลังทหารตามแนวชายแดนเพื่อ รับมือกับปัญหาเขตแดนในอนาคต นอกจากนั้น การค้นพบแหล่งน้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติใต้อ่าวเบงกอลยังส่งผลให้เกิด การอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลซึ่งทำ�ให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างกองทัพเรือพม่ากับกองทัพเรือบังกลาเทศ โดย เฉพาะ การอ้างอธิปไตยเหนือเกาะตัลปัตตีตอนใต้ (Talpatty South Island) และ การรุกล้ำ�เกาะมาร์ติน (St.Martin) โดยเรือขุดเจาะน้ำ�มันสัญชาติพม่า ซึ่งบังกลาเทศอ้างว่าเกาะดังกล่าวอยู่ในเขตอำ�นาจของตน38 สำ�หรับพัฒนาการทางประวัตศิ าสตร์ พืน้ ทีท่ างตะวันออกเฉียงใต้ของบังกลาเทศเคยเป็นถิน่ ฐานของชนเผ่ากูกี ยะไข่ โรฮิงยา และตรีปรุ ะ รวมถึงเคยเป็นส่วนหนึง่ ของจักรวรรดิโมกุล จนกระทัง่ บริษทั อินเดียตะวันออกของอังกฤษยาตราทัพเข้า พิชติ แคว้นเบงกอลในปี ค.ศ. 1760 ซึง่ ส่งผลให้ดนิ แดนในแถบภูเขาจิตตะกองและค็อก บาซาร์ ตกอยูใ่ ต้อาณัตขิ องจักรวรรดิ อังกฤษ ต่อมาราชวงศ์คองบองของพม่าได้แผ่ขยายอำ�นาจเข้าปกคลุมแคว้นอาระกัน พร้อมถือโอกาสยกทัพเข้ารุกรานจิตตะ กองและหัวเมืองต่างๆ ในเขตลุม่ แม่น�้ำ นาฟ ซึง่ สร้างความตืน่ ตระหนกให้กบั ชาวเบงกอลเป็นอย่างมาก จนกองทัพอังกฤษต้อง ตัดสินใจยกทัพขับไล่ทหารพม่าออกจากแนวพรมแดน ต่อมา พื้นที่แถบภูเขาจิตตะกองได้ถูกโอนให้อยู่ภายใต้เขตปกครอง ที่มีชื่อว่า “เขตชินแห่งชาติ หรือ Chin National Territory” ซึ่งคลุมพื้นที่บางส่วนในเขตรัฐชินของพม่าในปัจจุบัน39 โดย อังกฤษได้ทำ�การปกครองเขตชินร่วมกับพม่าและอินเดีย จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1935-1937 (พ.ศ. 2478-80) อังกฤษได้แยก พม่าออกจากอินเดีย ซึ่งส่งผลให้ส่วนหนึ่งของเขตชิน ตกอยู่ใต้การปกครองของอาณานิคมอินเดีย ในขณะที่ อีกส่วนหนึ่ง ตกอยู่ใต้การปกครองของอาณานิคมพม่า40 ต่อมา หลังจากที่อินเดียและพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ รวมถึงการกำ�เนิดของประเทศปากีสถานตะวันออก ซึ่ง พัฒนาไปสู่การสถาปนารัฐบังกลาเทศในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) พื้นที่เขตชินจึงถูกแบ่งแยกออกเป็นสามส่วน ได้แก่ เขต ภูเขาจิตตะกอง ในบังกลาเทศ กับเขตพืน้ ทีบ่ างส่วนของรัฐมิโซรัมในอินเดียและรัฐชินในพม่า ซึง่ ส่งผลให้เกิดข้อพิพาทในบาง จุด เนื่องจากความคลุมเครือของเส้นเขตแดนตามแผนที่ฉบับต่างๆ ต่อมาในปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) พม่าและบังกลาเทศ ได้ท�ำ การปักปันเขตแดนทางทะเล โดยมีการกำ�หนดทะเลอาณาเขต เขตเศรษฐกิจจำ�เพาะและไหล่ทวีป เพือ่ จัดสรรอำ�นาจทาง ทะเล41 หากแต่การอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ทับซ้อน และการแย่งชิงทรัพยากรใต้มหาสมุทรอินเดีย กลับส่งผลให้พม่าและ บังกลาเทศ ต่างส่งกองกำ�ลังเข้าคุมเชิงตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ซึ่งสร้างความร้าวฉานต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ มาจนถึงปัจจุบัน 394

ภาค 2: เขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง


จากกรณีดังกล่าว เขตแดนพม่า-บังกลาเทศ จึงมีลักษณะเป็นจุดอ่อนไหวทางการเมืองระหว่างประเทศ โดยถึง แม้จะมีแนวอาณาเขตเพียงแค่ 271 กิโลเมตร แต่การแย่งชิงทรัพยากร รวมถึงการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ทับซ้อน กลับส่งผล ให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองและการทหาร โดยรัฐบาลพม่ามักหวาดระแวงบังกลาเทศในหลากหลายมิติ อาทิ การเป็น แหล่งพักพิงของกองกำ�ลังโรฮิงยาซึ่งเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลพม่า และความหนาแน่นของประชากรบังกลาเทศ ซึ่งมีจ�ำ นวน เกินหนึ่งร้อยล้านคน จนส่งผลให้เกิดการแย่งชิงที่ดินทำ�กินตามแนวตะเข็บชายแดน ส่วนทางด้านบังกลาเทศนั้น กลับมอง พม่าเป็นเพื่อนบ้านที่ห่างไกล และมีความสำ�คัญน้อยกว่าอินเดีย แต่อย่างไรก็ตาม การขยายแสนยานุภาพของกองทัพพม่า ในปัจจุบัน โดยเฉพาะกำ�ลังพล (ประมาณห้าแสนนาย) และอาวุธยุทโธปกรณ์ ได้ส่งผลให้บังกลาเทศเริ่มให้ความสำ�คัญกับ พม่ามากขึ้น เนื่องจากกองทัพบังกลาเทศมีกำ�ลังพลเพียงแค่หนึ่งแสนห้าหมื่นนาย ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับ ประชากรกว่าร้อยสี่สิบล้านคน โดยหากข้อพิพาทเขตแดนทวีความรุนแรงมากขึ้น กองทัพบังกลาเทศก็จำ�เป็นต้องมีความ พร้อมในการพิทักษ์ผลประโยชน์ในอนาคต

5. เขตแดนพม่า - ลาว เขตแดนพม่า-ลาว มีความยาวทัง้ หมดประมาณ 238 กิโลเมตร โดยเริม่ จากแม่น�้ำ โขงตรงบริเวณสามเหลีย่ มจีน-พม่าลาว ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครองสิบสองปันนา รัฐฉานและแขวงหลวงน้ำ�ทา หลังจากนั้นจึงค่อยๆ เคลื่อนตัวลงใต้ผ่านเมือง สำ�คัญต่างๆ ตลอดแนวลำ�น้ำ�โขง อาทิ บ่อเต็น บ่อหาญ ห้วยทราย เมืองขาน และเชียงราบ จนไปสิ้นสุดที่บริเวณสามเหลี่ยม ทองคำ� หรือ สบรวก ซึ่งเป็นจุดที่ลำ�น้ำ�รวกไหลลงสู่แม่น้ำ�โขง และอยู่ติดกับแขวงบ่อแก้วในเขตประเทศลาว ลักษณะเด่น ของเขตแดนพม่า-ลาว คือ การใช้ร่องน้ำ�ลึกของแม่น้ำ�โขงเป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศ42 นอกจากนั้น ตลอดสองฟาก ลำ�น้ำ�โขง ยังไม่ปรากฏการตั้งด่านตรวจที่แน่นหนาทั้งจากฝั่งพม่าและฝั่งลาว โดยมีเพียงแค่การตั้งถิ่นฐานที่เบาบางของกลุ่ม ชาติพนั ธุต์ า่ งๆ อาทิ ไทใหญ่ ม้ง อาข่าและขมุ ซึง่ ส่งผลให้แนวพรมแดนพม่า-ลาว ยังคงเต็มไปด้วยความบริสทุ ธิท์ างธรรมชาติ และวัฒนธรรม แต่กระนัน้ ก็ตาม กลับปรากฏการก่อตัวของโรงงานผลิตยาเสพติดในบางพืน้ ที่ รวมถึงบ่อนการพนันตามท้อง ที่ต่างๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาพื้นที่ชายแดนโดยรวม สำ�หรับในบริบททางประวัติศาสตร์ แนวพรมแดนพม่า-ลาว ถือเป็นส่วนหนึ่งของเขตปริมณฑลอำ�นาจระหว่าง กษัตริย์ไทเขินกับกษัตริย์ลาว โดยฝ่ายแรกมีศูนย์อำ�นาจอยู่ที่เขมรัฐเชียงตุง ครอบครองหัวเมืองต่างๆ นับตั้งแต่ทิศตะวัน ออกของแม่น้ำ�สาละวิน จนจรดทิศตะวันตกของแม่น้ำ�โขง ขณะที่ฝ่ายหลังมีเขตอำ�นาจอยู่ทางฟากตะวันออกของแม่น้ำ�โขง และมีศนู ย์กลางอยูท่ หี่ ลวงพระบาง จุดเด่นของภูมศิ าสตร์การเมืองในเขตลุม่ น�้ำ โขง มักได้แก่ การทีอ่ �ำ นาจของรัฐเชียงตุงและ รัฐหลวงพระบางมีลักษณะรางเลือน เจือจางและไม่ขยายตัวเข้าปกคลุมแนวแม่น้ำ�โขงอย่างชัดเจน จนเปิดช่องโหว่ให้อำ�นาจ การเมืองของพม่า สยามและเวียดนาม เข้าสวมทับครอบงำ� อย่างต่อเนื่อง โดยอาจเป็นเพราะทั้งเชียงตุงและหลวงพระบาง ต่างมีลักษณะเป็นรัฐสองหรือสามฝ่ายฟ้า ซึ่งถือเป็นรัฐเล็กที่ถูกขนาบด้วยรัฐใหญ่ที่ทรงกำ�ลังและเต็มไปด้วยแสนยานุภาพ ทางการทหาร ครั้นต่อมาเมื่อเจ้าอาณานิคมอังกฤษและฝรั่งเศสแผ่ขยายอำ�นาจทั่วภาคพื้นอุษาคเนย์ ภูมิทัศน์การเมืองลุ่ม น้ำ�โขงได้ถูกปรับเปลี่ยนอีกครั้ง โดยฝ่ายอังกฤษได้ส่งทหารเข้ายึดครองเชียงตุงพร้อมสถาปนาอำ�นาจทั่วเขตรัฐฉาน ขณะที่ ฝรั่งเศสก็ประสบความสำ�เร็จในการเปลี่ยนรัฐจารีตหลวงพระบางให้กลายมาเป็นรัฐในอารักขา (Protectorate) แต่อย่างไร ก็ตาม มหาอำ�นาจทั้งสองชาติต่างก็ไม่ต้องการให้เกิดการกระทบกระทั่งระหว่างอาณานิคมพม่ากับอาณานิคมอินโดจีน จนมี การตกลงให้สยามดำ�รงสภาพเป็นรัฐกันชน (Buffer State)43 พร้อมผลักดันให้แม่น�้ำ โขงแปลงสภาพเป็นเส้นเขตแดนระหว่าง ประเทศ เพื่อจัดระเบียบอำ�นาจรัฐ ต่อมา ในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439) ตัวแทนจากอังกฤษและฝรั่งเศส ได้ลงนามในประกาศว่า ด้วยการปักปันเขตแดนระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสตามแนวชายแดนสยาม44 โดยประกาศให้ร่องน้ำ�ลึกของแม่น้ำ�โขงเป็นเส้น เขตแดนระหว่างประเทศ โดยในช่วงเวลาดังกล่าว การเจรจาเกีย่ วกับเส้นเขตแดนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยซึง่ ถือเป็นการแบ่ง เขตอิทธิพลระหว่างอังกฤษกับฝรัง่ เศส โดยทีอ่ าณาจักรแมนจูของจีนทีค่ มุ แนวแม่น�้ำ โขงตอนบนกับอาณาจักรสยามทีค่ มุ แนว แม่น้ำ�โขงตอนกลาง ไม่มีสิทธิในข้อตกลงและต้องยอมรับการแบ่งเขตของมหาอำ�นาจตะวันตกไปโดยปริยาย สำ�หรับสิ่งที่น่า สังเกตเกี่ยวกับเขตแดนพม่า-ลาว คือ การที่แผนที่ของอังกฤษและฝรั่งเศสต่างแสดงการวางตัวของเส้นเขตแดนในลักษณะ ดุลยภาค ปรีชารัชช 395


แผนที่ทางการลาวแสดงตำ�แหน่งเส้นเขตแดนพม่า-ลาว (แหล่งที่มา : ดุลยภาค ปรีชารัชช, มีนาคม 2554)

ที่คล้ายคลึงกัน ทั้งในส่วนของร่องน้ำ�ลึกและเกาะแก่งต่างๆ ประกอบกับเจ้าอาณานิคมยุโรปต่างมุ่งหมายให้แนวแม่น้ำ�โขง ตรงบริเวณพม่า-ลาว มีลักษณะเป็นเพียงพื้นที่กันกระทบ จึงส่งผลให้ไม่มีการสัประยุทธ์แย่งชิงดินแดนในระดับที่เข้มข้น45 โดยเหตุปัจจัยที่กล่าวไปเบื้องต้น ล้วนทำ�ให้เขตแดนพม่า-ลาว ในปัจจุบัน ปราศจากข้อพิพาทและการใช้ความรุนแรงทางการ ทหาร ซึ่งก็นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง

บทสรุป การศึกษาเขตแดนระหว่างพม่ากับเพือ่ นบ้าน เผยให้เห็นถึงมรดกทางประวัตศิ าสตร์และภูมศิ าสตร์การเมืองทีส่ ง่ ผล กระทบต่อความมัน่ คงและการดำ�เนินนโยบายต่างประเทศ โดยบรรยากาศทางการเมืองในยุคสงครามเย็นและความตัง้ ใจจริง ของรัฐบาลพม่าในการแก้ปัญหาเขตแดน ช่วยส่งเสริมให้พม่าสามารถยุติข้อพิพาทกับจีนได้ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ซึ่งนับเป็น นวัตกรรมทางภูมิรัฐศาสตร์ที่น่าสนใจ ส่วนปัญหาเขตแดนกับอินเดียหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษนั้น ก็ได้รับการแก้ไขผ่าน การรวบรวมข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ที่เจ้าอาณานิคมเคยทำ�ไว้ในช่วงที่เคยปกครองอินเดียกับพม่า ประกอบกับในช่วงต้น สงครามเย็น รัฐบาลเนห์รูของอินเดียกับรัฐบาลอูนุของพม่า ต่างมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในฐานะแนวร่วมของกลุ่มประเทศที่ 396

ภาค 2: เขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง


ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด จึงส่งผลให้บรรยากาศการปักปันเขตแดน เป็นไปด้วยความราบรื่น ในขณะที่เขตแดนระหว่างพม่ากับลาว ก็ เป็นตัวอย่างทีน่ า่ สนใจเกีย่ วกับการแบ่งอำ�นาจระหว่างอังกฤษกับฝรัง่ เศสในยุคอาณานิคม ซึง่ ส่งผลให้แม่น�้ำ โขงช่วงทีไ่ หลผ่าน พรมแดนพม่า-ลาว กลายสภาพเป็นแนวกันกระทบ บวกกับเส้นเขตแดนที่ปรากฏในเอกสารของอังกฤษและฝรั่งเศส ก็ล้วน แล้วแต่แสดงตำ�แหน่งเขตแดนในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จนอาจกล่าวได้ว่า ความชัดเจนของแผนที่อาณานิคมในบางกรณี ก็สามารถยับยั้งความขัดแย้งระหว่างประเทศได้เช่นกัน จากข้อสรุปที่กล่าวไปเบื้องต้น เส้นเขตแดนพม่า-จีน-อินเดีย-ลาว จึง เป็นตัวอย่างที่สะท้อนถึงจุดเด่นและความสามารถของรัฐพม่าในการแก้ปัญหากับเพื่อนบ้านโดยสันติวิธี อย่างไรก็ตาม สำ�หรับเขตแดนพม่ากับไทยและบังกลาเทศนั้น นับว่าเต็มไปด้วยอุปสรรคนานาประการ โดยเฉพาะ การตีความเขตแดนโดยอาศัยเอกสารและแผนที่กันคนละฉบับ จนส่งผลให้เกิดการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ทับซ้อนใน วงกว้าง นอกจากนั้น การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและความสำ�คัญทางยุทธศาสตร์ทหารของพื้นที่พิพาท ก็ส่งให้พม่าต้อง เผชิญกับแรงกดดันจากประเทศเพื่อนบ้าน จนอาจนำ�ไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงในอนาคต ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการเพิ่ม กำ�ลังทหารตามแนวชายแดน โดยสำ�หรับบังกลาเทศนั้น พม่าได้เพิ่มเรือรบเข้าประจำ�การในอ่าวเบงกอล พร้อมสร้างรั้วลวด หนามตลอดแนวพรมแดนทางบกเพื่อป้องกันการรุกล้ำ�ที่ทำ�กินจากชาวบังกลาเทศ ขณะที่เขตแดนด้านที่ติดกับไทย รัฐบาล พม่าเริ่มส่งกองกำ�ลังเข้ามาจัดระเบียบพื้นที่ชายแดนมากขึ้น พร้อมสร้างค่ายทหารประชิดแนวพรมแดนในหลายบริเวณ จนอาจส่งผลต่อการเผชิญหน้าทางการทหารในอนาคต นอกจากนั้น กรณีพิพาทพม่า-ไทย-บังกลาเทศ ยังอาจได้รับอิทธิพล จากการเปลีย่ นแปลงของระบบภูมศิ าสตร์การเมืองในศตวรรษที่ 21 โดยการเพิ่มขึน้ ของประชากรขณะทีท่ รัพยากรธรรมชาติ มีอยูอ่ ย่างจำ�กัด ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและโครงข่ายคมนาคมอย่างต่อเนือ่ ง ส่งผลให้ทที่ �ำ กินตามแนวตะเข็บ ชายแดนมีมลู ค่าเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงทำ�ให้การแย่งชิงพื้นที่ทับซ้อนตามจุดต่างๆ มีอัตราความถี่และความรุนแรงที่สงู ขึ้นเช่นกัน จากสภาวะแวดล้อมดังกล่าว เขตแดนพม่ากับไทยและบังกลาเทศ จึงมีความสุม่ เสีย่ งต่อการใช้ความรุนแรงทางความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่แตกต่างจากเขตแดนระหว่างพม่ากับจีนและอินเดีย ที่การแก้ไขปัญหาตกอยู่ใต้บรรยากาศ ของการเมืองโลกในยุคสงครามเย็น ซึง่ แม้จะมีความขัดแย้งทางอุดมการณ์ หากแต่ราคาทีด่ นิ และอัตราการแย่งชิงพืน้ ที่ กลับ มีระดับต่ำ�กว่าสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน บวกกับสภาวการณ์ที่พม่าต้องเปิดเจรจากับรัฐขนาดใหญ่อย่างจีนกับอินเดีย ก็ส่ง ผลให้พม่าต้องโอนอ่อนทางการทูต พร้อมแสดงการประนีประนอมเพื่อผ่อนคลายปัญหากับรัฐมหาอำ�นาจ ซึ่งผิดจากกรณี ของไทยกับบังกลาเทศ ที่พม่ามักประเมินสถานภาพและขีดความสามารถในอัตราที่ใกล้เคียงกัน แต่กระนั้นก็ตาม สำ�หรับประเทศไทยแล้ว การศึกษาเขตแดนระหว่างพม่ากับเพื่อนบ้าน พร้อมนำ�ตัวอย่างความ สำ�เร็จมาปรับใช้กับการแก้ไขปัญหาเขตแดน นับว่าเป็นสิ่งจำ�เป็นและเป็นผลดีต่อการส่งเสริมมิตรภาพระหว่างประเทศ โดย เฉพาะการแลกดินแดนระหว่างพม่ากับจีน ซึ่งอาจนำ�มาประยุกต์ใช้ตามพื้นที่ทับซ้อนขนาดเล็กในบางบริเวณ อาทิ พื้นที่ทับ ซ้อนช่องทางชี อำ�เภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งกินเนื้อที่ประมาณ 0.4 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ทับซ้อนช่อง หนองบอน อำ�เภอบางสะพาน ซึ่งกินเนื้อที่ประมาณ 1.2 ตารางกิโลเมตร โดยหากสืบค้นเอกสารทางประวัติศาสตร์ ก็พบว่า ทัง้ สยามและอังกฤษต่างก็เคยแลกดินแดนกันมาแล้ว โดยจากข้อตกลงเกีย่ วกับเขตแดนสยามกับมณฑลตะนาวศรีในปี ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2477) พืน้ ทีแ่ ถบคลองวาฬและวังเตา ได้ถกู ส่งมอบให้ไปอยูใ่ นฝัง่ พม่า ขณะทีบ่ ริเวณลานแควและศรีศก ถูกถ่าย โอนเข้ามาอยู่ในฝั่งสยาม43 แต่อย่างไรก็ตาม ตัวแบบดังกล่าวอาจไม่สามารถนำ�มาปรับใช้กับพื้นที่ทับซ้อนขนาดใหญ่ รวมถึง บริเวณที่มีความสำ�คัญทางยุทธศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ ดอยลาง ด่านพระเจดีย์สามองค์ และเกาะสำ�คัญต่างๆ ในเขตทะเลอันดามัน ซึ่งการแก้ไขข้อพิพาทในกลุ่มพื้นที่ดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายควรละเว้นการปักหลักเขตแดนบนพื้นที่พิพาท เพื่อทอดระยะเวลาสำ�หรับการศึกษาข้อมูลและสืบค้นหลักฐานเพิ่มเติม โดยมีการปล่อยสภาพพื้นที่อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน พร้อมจำ�กัดขอบเขตไม่ให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายจนกระทบต่อประชาชนในท้องถิ่นของทั้งสองประเทศ ท้ายที่สุด การศึกษาเขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน คงจะช่วยเปิดโลกทรรศน์และปรับเพดานทางความคิดเกี่ยวกับ ปัญหาเขตแดนอันสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง ไม่มากก็น้อย โดยผู้เขียนมีความหวังลึกๆ ว่าบทความ ฉบับนี้ อาจเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลและประชาชนชาวไทย หากในอนาคต ปัญหาเขตแดนไทย-พม่า ทวีความรุนแรงมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติและสันติภาพในภูมิภาคอาเซียนโดยรวม

ดุลยภาค ปรีชารัชช 397


เชิงอรรถ

1 Maung Aung Myoe, Building the Tatmadaw: Myanmar Armed Forces since 1948 (Singapore: Institute

of Southeast Asian Studies, 2009), P.2.

2 ดูรายละเอียดเกีย ่ วกับประวัตศิ าสตร์พม่าในสมัยพุกามได้ใน Michael Aung Thwin, Pagan: The Origin of Modern Burma (Hono lulu: University of Hawaii Press, 1985). 3 แนวคิดเกี่ยวกับภูมิกายาและพัฒนาการของเขตแดนในอุษาคเนย์ สามารถศึกษาได้ในงานของธงชัย วินิจจะกูล Siam Mapped: A History of the Geo-Body of A Nation (Honolulu: University of Hawaii Press, 1994).

เรื่อง

4

ดุลยภาค ปรีชารัชช “ความเข้าใจเรื่องเขตแดนไทย-พม่า” ใน เขตแดนสยามประเทศไทย-มาเลเซีย-พม่า-ลาว-กัมพูชา (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2554) หน้า 104. 5 เพิ่งอ้าง, หน้า 110. 6 ณัฐพล ต้นตระกูลทรัพย์, เขตแดนไทย-พม่า ปัญหาที่รอการปักปัน (1) ความเป็นมาของเขตแดนไทย-พม่า, ศูนย์โลก สัมพันธ์ไทย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29 พฤษภาคม 2552 <http://www.thaiworld.org/th/include/ answer_search.php?question_id=870> (3 กันยายน 2553). 7 เพิ่งอ้าง. 8 กองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ. 9 นคร พันธุ์ณรงค์, ปัญหาชายแดนไทย-พม่า (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2540), หน้า 98-100. 10 กองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ. 11 ดุลยภาค ปรีชารัชช, หน้า117. 12 เวณิกา บุญมาคลี,่ พม่า: นโยบายต่างประเทศสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (กรุงเทพฯ: มูลนิธโิ ครงการตำ�ราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, 2540), หน้า 132. 13 ดุลยภาค, หน้า 183. 14 กองเขตแดนระหว่างประเทศ กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. 15 ดุลยภาค, หน้า 201-202. 16 เวณิกา บุญมาคลี, หน้า 113-119. 17 Office of the Geographer, Bureau of Intelligence and Research, “Burma-China Boundary” in

International Boundary Study (Department of State, United States of America), no33 (1964): 1-2.

18 Ibid. 19 Ibid, P.7-9. 20 แนวพรมแดนดังกล่าวตัง้ ชือ ่ ตามนายเฮนรี่ แมคมาฮอน หัวหน้าฝ่ายเจรจาของอังกฤษซึง่ ได้วาดแผนทีแ่ สดงเส้นเขตแดน ระหว่างธิเบตกับอินเดีย ซึ่งเป็นจุดที่มีปัญหาระหว่างรัฐอารุณาจัลประเทศของอินเดียกับดินแดนธิเบตตอนใต้ จนส่งผลให้เกิดความ ขัดแย้งระหว่างจีนกับอินเดีย เนื่องจากเส้นพรมแดนดังกล่าว ส่งผลดีต่ออินเดียในการอ้างสิทธิเหนือเขตแดนหิมาลัยตอนเหนือ จน จีนต้องส่งกองทหารเข้าโจมตีฐานทหารอินเดีย นอกจากนั้น เส้นแมคมาฮอนยังมีแนวอาณาเขตครอบคลุมมาจนถึงพื้นที่ด้านตะวันตก เฉียงเหนือของพม่า ตรงบริเวณตอนบนของรัฐคะฉิ่นในปัจจุบัน หากแต่บริเวณดังกล่าว ยังไม่มีข้อพิพาทด้านเขตแดนที่รุนแรงเท่ากับ ฝั่งของอินเดียกับเขตปกครองธิเบต 21 พรพิมล ตรีโชติ, การต่างประเทศพม่า ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านและชนกลุ่มน้อย (กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551), หน้า 37-38. 22 เพิ่งอ้าง, หน้า 38. 398

ภาค 2: เขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง


23 เพิ่งอ้าง, หน้า 38-39. และดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Frank N.Trager, Burma from Kingdom to Republic (New

York: Frederic A.Praeger, 1966), P.239-240.

24

อัษฏา ชัยนาม, “ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพพม่ากับสาธารณรัฐประชาชนจีน”, ใน กระแสอาคเนย์ (กรุงเทพฯ: คณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง, ธันวาคม 2552), หน้า 13-14. 25 เพิ่งอ้าง, หน้า 13. 26 Office of the Geographer, Bureau of Intelligence and Research, “Burma-India Boundary” in

International Boundary Study, Department of State, United States of America, no80 (1968): 2.

27 พรพิมล ตรีโชติ, หน้า 92. 28 W.S.Desai, A Pageant of Burmese History (Calcutta: Orient Longmans, 1961), P.110-111. 29 Dorothy Woodman, The Making of Burma (London: The Cresset Press, 1962), P.80. 30 พรพิมล ตรีโชติ, หน้า 72 และดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Renaud Egreteau, Wooing the Generals: india’s New

Burma Policy (New Delhi: Author Press, 2003), P.12-13.

31 32 33 34 35 36

Office of the Geographer, Bureau of Intelligence and Research, P.7.

Ibid. Ibid. Ibid. Ibid, P. 7-8. อย่างไรก็ตาม ข้อพิพาทเขตแดนระหว่างพม่ากับอินเดีย ยังคงมีปรากฏในบางจุด อาทิ เขตเทือกเขาในเขตมณีปุระ ไมโซรัมและรัฐชิน หากแต่รฐั บาลทัง้ สองฝ่ายได้เจรจาแลกเปลีย่ นดินแดนกัน รวมถึงปล่อยปัญหาให้วา่ งเว้นจนกว่าแต่ละฝ่ายจะมีความ พร้อม ซึ่งก็นับว่ามีสัดส่วนของความขัดแย้งเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับความสำ�เร็จโดยรวม 37 M.Shah Alam and A.AlFaruque, “The Problem of Delimitation of Bangladesh’s Maritime Boundaries with India and Myanmar: Prospects for a Slution” in The International Journal of Marine and Coasal Law 25 (2010): 405-423.

38 39 40 41 42

Ibid.

43 44 45 46

Ibid, P.4.

Ibid. Ibid. Ibid.

Office of the Geographer, Bureau of Intelligence and Research, “Burma-Laos Boundary” in International Boundary Study, Department of State, United States of America, no33 (1964): 2-3.

Ibid, P.5-6. Ibid, P.6.

Office of the Geographer, Bureau of Intelligence and Research, “Burma-Thailand Boundary” in International Boundary Study, Department of State, United States of America, no63 (1996): 8.

ดุลยภาค ปรีชารัชช 399


บรรณานุกรม

เอกสารราชการ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารม้าที่ 2 (ฉก.ม.2) จังหวัดเชียงราย หน่วยเฉพาะกิจลาดหญ้า (ฉก. ลาดหญ้า) จังหวัดกาญจนบุรี เอกสารภาษาไทย ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. เอกสารประกอบคำ�บรรยายปัญหาชายแดนของไทย. 10 พฤศจิกายน 2536 (อัดสำ�เนา). ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ท่องตะเข็บแดนสยาม : การสำ�รวจแนวพรมแดนไทย-พม่า-ลาว-กัมพูชา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543. นคร พันธุ์ณรงค์. ปัญหาชายแดนไทย-พม่า. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2540. พรพิมล ตรีโชติ. การต่างประเทศพม่า: ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านและชนกลุ่มน้อย. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2551. เวณิกา บุญมาคลี่. พม่า: นโยบายต่างประเทศสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์, 2540. อัษฎา ชัยนาม.“ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพพม่ากับสาธารณรัฐประชาชนจีน”, ใน กระแสอาคเนย์, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย รามคำ�แหง, ธันวาคม 2552. ฮอลล์, ดี.จี.อี., ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: สุวรรณภูมิ-อุษาคเนย์ภาคพิสดาร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2549. เอกสารภาษาอังกฤษ

Anderson, Benedict. Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism. 2nd ed. London: Verso, 1991. Aung Thwin, Michael. Pagan: The Origin of Modern Burma. Honolulu: University of Hawaii Press, 1985. Bunge, Frederica M. (ed.) Burma: A Country Study. Washington, D.C.: American University, 1984. Curzon, George N. “The Siamese Boundary Question.” In Nineteenth Century 28, no. 197 ( July 1893): 34-35. Desai, W.S.A. A Pageant of Burmese History. Calcutta: Orient Longmans, 1961. Egreteau, Renaud. Wooing the Generals: India’s New Burma Policy. New Delhi: Author Press, 2003. Glassner, Martin Ira. Political Geography. Mississauga: John Wiley & Sons Canada Ltd, 1993. Goldman, Minton F. “Franco-British Rivalry over Siam, 1896-1904.” Journal of Southeast Asian Studies 3 (1972): 210-228. Hall, D.G.E. Burma. London: Hutchinson’s University Library, 1988. Harvey, G. History of Burma. London: Frank Cass, 1967. Leach, Edmund. “The Frontiers of Burma.” Comparative Studies in Society and History 3, No 1 (October. 1960): 49-68. Mamgrai, Sao Saimong. The Shan States and the British Annexation. New York: Cornell University, 1965. Maung Aung Myoe. Building the Tatmadaw: Myanmar Armed Forces since 1948. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2009. Office of the Geographer, Bureau of Intelligence and Research. “Burma-Laos Boundary” in International

400

ภาค 2: เขตแดนพม่ากับเพื่อนบ้าน ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์การเมือง


Boundary Study, Department of State, United States of America, no33, June, 1964. ______. “Burma-China Boundary” in International Boundary Study, Department of State, United States of America, no 42, November, 1964. ______. “Burma-Thailand Boundary” in International Boundary Study, Department of State, United States of America, no 63, February 1996. ______. “Burma-India Boundary” in International Boundary Study, Department of State, United States of America, no 80, May 1968. Prescott, J.R.V. The Geography of Frontiers and Boundaries. London: Hutchinson, 1967. Silverstein, Josef. “Burma and the World”. In Robert H. Taylor. Burma: Political Economy under Military Rule. London: Hurst, 2001. Solomon, Robert L. “Boundary Concepts and Practices in Southeast Asia.” In World Politics 23 (1970): 1-23. Trager, Frank N. Burma from Kingdom to Republic. New York: Frederick A. Praeger, 1966. Winichakul, T. Siam Mapped: A History of the Geo-Body of A Nation. Honolulu: University of Hawaii Press, 1994. Woodman, Dorothy. The Making of Burma. London: The Cresset Press, 1962.

เอกสารภาษาพม่า

(Sithu Aung and Maung Hmat. No Longer a Distance to the Golden Land. Yangon: News and Periodical Enterprise, 1995.) Thuang Htike (retired), Lieutenant Colonel. At the Military Academy of the Japanese Occupation Period and the Britain’s Sandhurst Academy. Yangon: Bawa Therkatho Sarpay, 1985

ดุลยภาค ปรีชารัชช 401


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.