Boundaries of Siam/Thailand-Laos: Treaties Boundaries and Maps

Page 1

พรมแดนไทย - ลาว: สนธิสัญญา เขตแดน และแผนที่ Boundaries of Siam/Thailand - Laos: Treaties Boundaries and Maps สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี

คงไม่เกินจริงนักหากจะกล่าวว่า ไทยและลาว สร้างประเทศอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ขึ้นมาด้วยวิชาการแผนที่ เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ ต้นศตวรรษที่ 20 นี่เอง ก่อนหน้านั้นรูปร่างหน้าตาและความเข้าใจในความเป็นประเทศ ไม่ได้เป็นอยู่เหมือนอย่างที่เป็นในปัจจุบัน ในกรณีของลาวนั้น “ในเวลาที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองประเทศลาวนั้น ยังไม่มีวี่แววของจิตใจความเป็นชาติเกิดขึ้น ในหมู่ประชาชนลาวซึ่งเป็นพลเมืองที่อาศัยอยู่ในเขตแดนที่ฝรั่งเศสได้ทำ�แผนที่นั้นเลย แม้แต่สำ�หรับฝรั่งเศสเองในตอนนั้น ประเทศลาวก็เป็นแต่เพียงความเป็นจริงตามแผนที่วิทยาเท่านั้น แทนที่จะเป็นความเป็นจริงทางสังคมหรือประวัติศาสตร์” (กรานท์ เอแวนส์, 2006 หน้า 75) ในกรณีของไทยนั้นความตื่นตัวในการสร้างประเทศอย่างที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบันเพิ่งมาเกิดในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกับ ลาวกล่าวคือในสมัยรัชกาลที่ 4 นีเ่ อง แม้วา่ ก่อนหน้านัน้ ชาวตะวันตกได้น�ำ แผนทีม่ าอวดชนชัน้ นำ�ไทยหลายต่อหลายครัง้ แล้ว ก็ตาม แต่ความคิดที่จะใช้ประโยชน์จากแผนที่เพื่อกำ�หนดรูปร่างและขอบเขตของประเทศเกิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงทราบว่าชาวฝรั่งเศสได้ทำ�การสำ�รวจแม่น้ำ�โขงและดินแดนริมฝั่งแม่น้ำ�โขง พระองค์จึงตระหนัก ว่า สยามก็ควรทำ�เช่นนั้นด้วยเช่นกัน (Thongchai Winichakul, 2004 p.11) สำ�หรับประเทศไทยแล้วการทำ�แผนทีเ่ พือ่ กำ�หนดขอบเขตหรือเขตแดนของประเทศเพือ่ สร้างตัวเป็นรัฐสมัยใหม่ ถือ เป็นการต่อสูท้ สี่ �ำ คัญทางประวัตศิ าสตร์เลยทีเดียว ท่าทีของไทยต่อการกำ�หนดเส้นเขตแดนสมัยใหม่เป็นไปด้วยความเจ็บปวด และขมขื่นอย่างที่สุด การกำ�หนดเส้นเขตแดนของไทย ในเวลานั้นยังชื่อว่าสยาม “เป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากเพราะชายแดนนั้นไม่ได้เป็น ระเบียง (corridor) แต่เป็นเมืองชายแดน ซึ่งมีอาณาจักรมากกว่าหนึ่งแห่งอ้างสิทธิอยู่ การจัดทำ�เส้นเขตแดนเป็นไปไม่ได้ จนกว่าจะรู้แน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวอยู่ภายใต้อ�ำ นาจของใคร แต่สภาพของรัฐก่อนยุคสมัยใหม่นั้นกลับกลายเป็นตัวกำ�หนด ของสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยใหม่ การเผชิญหน้ากับสิ่งที่ปัจจุบันเราเรียกมันว่าอำ�นาจอธิปไตยเหนือรัฐฉาน ลานนา กัมพูชา รัฐ มลายู และฝัง่ ซ้ายแม่น�้ำ โขง กลายมาเป็นปัญหาให้กบั การถือกำ�เนิดของรัฐไทยใหม่และความเข้าใจต่อประวัตศิ าสตร์ของมัน” (Thongchai Winichakul, 2004, p.81)

อาจจะกล่าวได้ว่าทั้งสองประเทศเริ่มกำ�หนด “เขตแดน” (boundary) ของประเทศกันเมื่อชาติตะวันตกได้ขยาย อิทธิพลเข้าสู่ดินแดนแถบนี้ ชาติตะวันตกที่มีบทบาทในการกำ�หนดขอบเขตและรูปร่างประเทศไทยและลาวคือ ฝรั่งเศส การ กำ�หนดเขตแดนของรัฐดูเหมือนจะทำ�แล้วเสร็จในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2436-50 (ค.ศ.1893-1907) และ พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) แต่เอาเข้าจริงนั่นเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น งานเหล่านั้นไม่ได้สิ้นสุดลงหากแต่ยังตกค้างมาเป็นปัญหาจนกระทั่ง ปัจจุบัน และยังไม่มีทีว่าจะเสร็จสิ้นลงไปโดยง่าย เท่าที่พอประเมินได้ เขตแดนไทย-ลาวมีความยาวทั้งสิ้นโดยประมาณ 1,810 กิโลเมตร โดยแยกเป็นเขตแดนทาง บกประมาณ 702 กิโลเมตร กับเขตแดนตามแม่น้ำ�โขงและแม่น้ำ�เหืองประมาณ 1,108 กิโลเมตร แม้แต่ความยาวของเส้น เขตแดนที่ว่านี้ก็ยังไม่ถือเป็นที่สิ้นสุดเพราะทั้งสองฝ่ายยังอ้างแนวเขตแดนไม่ตรงกัน ทำ�ให้ความยาวของเส้นเขตแดนที่อ้าง ก็ไม่ตรงกันด้วย ลาวอ้างเส้นเขตแดนส่วนที่ติดกับไทยทั้งสิ้น 1,835 กิโลเมตร คิดเป็นเส้นเขตแดนทางบก 735 กิโลเมตร และทางน้ำ� 1,100 กิโลเมตร 412

ภาค 2: พรมแดนไทย-ลาว: สนธิสัญญา เขตแดน และแผนที่


ความไม่ลงตัวและไม่ลงรอยของเส้นเขตแดนส่งผลให้เกิดการปะทะกันตามแนวชายแดนระหว่างสองประเทศอยู่ เนืองๆ กล่าวคือในระยะปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ระหว่างยุคสงครามเย็นเกิดการปะทะกันตามลำ�น้ำ�โขงระหว่างสอง ประเทศมากที่สุดอันเนื่องมาจากแล่นเรือล้ำ�เขตแดนในแม่น้ำ�โขงกัน หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2527 และ 2530 (ค.ศ. 1984 และ 1987) เกิดการปะทะกันที่หมู่บ้านชายแดนด้านจังหวัดอุตรดิตถ์และพิษณุโลกตามลำ�ดับอันเนื่องมาจากการอ้างอำ�นาจ อธิปไตยเหนือดินแดนทับซ้อนกันในพื้นที่ดังกล่าว การปะทะกันแต่ละครั้งส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน สองชาติเป็นอย่างมาก หลังจากเหตุปะทะกันตามแนวชายแดนทั้งทางน้ำ�และทางบกดังกล่าวแล้ว ทั้งสองประเทศได้ใช้ความ พยายามอย่างมากในการแก้ปญ ั หาเส้นเขตแดนโดยสันติวธิ ดี ว้ ยวิธกี ารเจรจาเพือ่ การสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนกันใหม่ให้ ชัดเจนแต่จนกระทั่งปัจจุบันงานกำ�หนดเส้นเขตแดนก็ยังไม่แล้วเสร็จ ส่วนที่เหลืออยู่เป็นส่วนใหญ่นั้นล้วนแล้วแต่เป็นปัญหา ที่หนักหน่วงที่อาจจะลุกลามกลายเป็นความขัดแย้งที่ใหญ่โตได้ เขตแดนไทย-ลาวทัง้ ทางบกและทางน�้ำ ตามลำ�แม่น�้ำ โขงและแม่น�้ำ เหืองนัน้ กำ�หนดด้วยความตกลงทีส่ ยามได้ทำ�เอา ไว้กับฝรั่งเศสหลายฉบับ นับแต่ความขัดแย้งเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศสจนนำ�ไปสู่การทำ�สนธิสัญญาฉบับแรกในปี พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) และหลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงเส้นเขตแดนอีกหลายครั้ง เปลี่ยนแปลงและยกเลิกสนธิสัญญาหลายฉบับ จน กระทั่งสุดท้ายเหลือเอกสารที่ทั้งสองฝ่ายทำ�เอาไว้ที่มีผลบังคับใช้และตกทอดมาถึงยุคปัจจุบัน กล่าวคืออนุสัญญาวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ความตกลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) สนธิสัญญาวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) และพิธีสารแนบท้าย อนุสัญญาวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ.1926) และแผนที่ที่จัดทำ�ขึ้น ตามความตกลงทุกฉบับที่กล่าวถึงข้างต้น การดำ�เนินการสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนในยุคสมัยปัจจุบนั ก็อาศัยเอกสารดังกล่าวข้างต้นเป็นหลัก ทัง้ ไทยและ ลาวได้ลงนาม “ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเกี่ยวกับการสำ�รวจและจัด ทำ�หลักเขตแดนตลอดแนวร่วมกัน” เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ที่จังหวัดสงขลา ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วม กันที่จะให้มีการสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนไทย-ลาวตลอดแนว โดยมีกลไกการเจรจาคือ คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย-ลาว ( Joint Boundary Commission - JBC) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็น ประธานร่วม นอกจากนี้ ยังมีคณะอนุกรรมการเทคนิคร่วมไทย-ลาว คณะผู้อำ�นวยการโครงการร่วมไทย-ลาว และชุดสำ�รวจ ร่วมไทย-ลาว จัดตั้งขึ้นเพื่อดำ�เนินงานสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนร่วมไทย-ลาว ภายใต้กรอบคณะกรรมาธิการเขตแดน ร่วมไทย-ลาว การดำ�เนินงานของคณะกรรมการดังกล่าวได้ท�ำ การสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนทางบกไปได้แล้ว 204 หลัก รวม เป็นระยะทาง 676 กม.ซึ่งคิดเป็น 96% ของเขตแดนทางบกตามการคำ�นวณของฝ่ายไทย ส่วนการคำ�นวณของฝ่ายลาวนั้น จะได้ 92% (การคำ�นวณระยะทางและร้อยละของงานแตกต่างกันระหว่างไทยกับลาวเพราะแต่ละฝ่ายต่างคำ�นวณตัวเลขดัง กล่าวบนพื้นฐานของเขตแดนที่ตนอ้างสิทธิเป็นสำ�คัญ) ในการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 8) เมื่อวันที่ 7-8 มีนาคม พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ที่เมืองหลวงพระบาง ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันกำ�หนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาคงค้างโดยให้ความสำ�คัญสูงสุด 8 บริเวณ ได้แก่ บริเวณต้นน้ำ�เหือง (บ้านร่มเกล้า) จ. พิษณุโลก บริเวณบ้านทุ่งหนองบัว บริเวณด่านช่องเม็ก-วังเต่า และ บริเวณห้วยดอน จ. อุบลราชธานี บริเวณแก่งผาได และผาหม่น-ภูชี้ฟ้า จ. เชียงราย บริเวณสามหมู่บ้าน จ. อุตรดิตถ์ และ เห็นชอบร่วมกันให้หารือกันต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาคงค้างอื่นๆ อีก 9 จุด ได้แก่ บริเวณดอยกิ่วก่อ และภูสามเส้า จ. น่าน บริเวณภูป่าไร่-ภูสาน ภูจันแดง ภูด่าง ภูแดนเมือง ภูเคเตียโน และบริเวณที่วางแผนจะกำ�หนดจุดก่อสร้างหลักเขตแดนที่ 15-37 (ภูโจ๊ะโก๊ะ) และ 15-39 จ. อุบลราชธานี ส่วนการสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนทางน้ำ�จะเริ่มขึ้นภายหลังการเจรจาแผนแม่บทและข้อกำ�หนดอำ�นาจหน้าที่ (Term of Reference - TOR) ในการสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนทางน�้ำ ร่วมระหว่างไทย-ลาวแล้วเสร็จ ขณะนีก ้ �ำ ลังดำ�เนิน การจัดทำ�แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณแม่น้ำ�โขงเพื่อประโยชน์ในการเจรจาสำ�รวจและจัดทำ�เขตแดน ความล่าช้าในการสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนระหว่างไทยและลาวมีหลายสาเหตุ ตัง้ แต่ปญ ั หาทางด้านเทคนิคไป จนถึงความเข้าใจเรือ่ งหลักการพืน้ ฐานในการกำ�หนดเส้นเขตแดนคือ สนธิสญ ั ญาและแผนทีแ่ ตกต่างกันมาก และในบางกรณี สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี 413


ความเข้าใจทีแ่ ตกต่างกันเช่นว่านัน้ ไม่ได้เกิดขึน้ เฉพาะในหมูเ่ จ้าหน้าทีผ่ มู้ หี น้าทีป่ ฏิบตั งิ านเท่านัน้ หากแต่เกิดขึน้ กับประชาชน ในท้องถิน่ ซึง่ มีสว่ นได้เสียและได้รบั ผลกระทบโดยตรงจากกำ�หนดเส้นเขตแดนระหว่างประเทศด้วย ในหลายกรณีประชาชน ในท้องถิ่นคัดค้านการสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนในปัจจุบันเช่นบริเวณแก่งผาได ดอยผาตั้งและภูชี้ฟ้า เป็นต้น เพราะมัน ทำ�ให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพ ที่อยู่อาศัยและที่ทำ�มาหากินที่มีมาแต่เดิมอย่างมากด้วย ความเข้าใจที่แตกต่างกันนั้นมีสาเหตุสำ�คัญมาจากท่าทีต่อประวัติศาสตร์ในการสร้างเขตแดนที่มีมาแต่อดีต

ท่าทีต่อสนธิสัญญา ประวัติศาสตร์กระแสหลักของไทยได้เขียนถึงการกำ�หนดเส้นเขตแดนด้านตะวันออกย่างไม่สมดุลและไม่เป็น ภาววิสัยเท่าใดนักเพราะโยนปัญหาทั้งหมดให้กับจักรวรรดิฝรั่งเศสผู้ปกครองอินโดจีนว่าใช้อ�ำ นาจที่เหนือกว่ากำ�หนดเส้น เขตแดนตามอำ�เภอใจด้วยเจตนาที่จะฮุบเอาดินแดนของไทยไป ทั้งที่ๆ ความจริงก็ยอมรับกันอยู่แล้วว่าไทยหรือสยามได้ อำ�นาจเหนือดินแดนส่วนนั้นก่อนฝรั่งเศสเข้ามาปกครองก็เป็นไปด้วยวิธีการที่ไม่แตกต่างจากฝรั่งเศสนัก คือใช้กำ�ลังบุกยึด เอามาเป็นของตนเอง โดยที่ก็ไม่ได้คำ�นึงว่าก่อนหน้าที่สยามจะบุกยึดนั้นอาณาจักรน้อยใหญ่เหล่านั้นก็ปรารถนาความเป็น เอกราชและไม่ต้องการอยู่ใต้อำ�นาจของสยาม ความจริงแล้วตลอดระยะเวลาที่สยามปกครองดินแดนในส่วนของลาวนั้น ก็ไม่ได้ราบรื่นเลย หากแต่เกิดการต่อต้านอยู่เนืองๆ และครั้งใหญ่ที่สุดก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ามาคือการต่อสู้ของเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ประวัติศาสตร์กระแสหลักของไทยบ่งชี้ว่า “ไทยไม่เคยปกครองลาวจนกระทั่ง พ.ศ. 2322 (ค.ศ. 1779) ลาวจึงตก เป็นประเทศราชของไทย ทำ�ให้อธิปไตยของไทยในการใช้แม่น้ำ�โขงและการเป็นเจ้าของฝั่งซ้ายแม่น้ำ�โขง 200 กิโลเมตรจาก รอยต่อสามประเทศคือจีนไปจนถึงเมืองเชียงแสนจากนัน้ ไทยก็มอี ำ�นาจอธิปไตยเหนือแม่น�้ำ โขงทัง้ หมดตลอดลงทางใต้จนสุด เขตแดนลาวซึง่ สมัยไทยปกครองให้เมืองเชียงแตงหรือสตรึงเตรงเป็นเมืองสุดท้ายของลาว (สุวทิ ย์ ธีรศาศวัต, 2553 หน้า 16) นักประวัติศาสตร์ไทยเห็นว่าดินแดนในส่วนของลาวก่อนฝรั่งเศสเข้ามานั้นเป็น “กรรมสิทธิ์” ของไทยอย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลสำ�คัญคือ 1. ไทยได้ปกครองฝั่งซ้ายแม่น้ำ�โขงและภาคอีสานทั้งหมดมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี 2. อาณาจักรลาวสามแห่งคือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และ จำ�ปาสัก ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้กษัตริย์ ไทยทุกๆ สามปี ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำ�โขงอีก 17 เมืองต้องส่วยให้กับทางการไทยด้วย 3. การที่ฝรั่งเศสขออนุญาตรัฐบาลไทยในการตั้งกงสุลที่หลวงพระบางและขออนุญาตทางการไทยในการสำ�รวจ แม่น้ำ�โขงและดินแดนในลาว ย่อมแสดงว่าฝรั่งเศสรับรู้ถึงอำ�นาจของไทยเหนือดินแดนเหล่านั้น 4. แผนที่ซึ่งนักสำ�รวจฝรั่งเศสชื่อ ฟรานซีส การ์เนีย ทำ�เอาไว้ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 เห็นชัดเจนว่าฝั่งซ้ายแม่น้ำ� โขงเป็นของไทย 5. ถ้าถือหลักทัว่ ไปของกฎหมายทีว่ า่ ใครครอบครองถือว่าเป็นเจ้าของ ไทยย่อมเป็นเจ้าของดินแดนเหล่านัน้ แน่นอน ดังนั้นการทำ�สนธิสัญญาในปี พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ที่ว่า “คอนเวอนเมนต์สยาม (Government of Siam) ยอม สละเสียซึ่งข้ออ้างว่ามีกรรมสิทธิ์ทั้งสิ้นทั่วไปในแผ่นดิน ณ ฝั่งซ้ายฟากตะวันออกแม่น้ำ�โขง แลในบรรดาเกาะทั้งหลายใน แม่น้ำ�นั้นด้วย” จึงเป็นการบีบบังคับกันด้วยความไม่ชอบธรรม แต่รฐั บาลไทยหรือสยามในเวลานัน้ ไม่มที างขัดขืนได้เลย เนือ่ งเพราะ ฝรัง่ เศสเข้าทำ�สัญญานีใ้ นขณะทีเ่ อาเรือรบมาปิดปากน�้ำ เจ้าพระยาเอาไว้ แต่ถงึ อย่างนัน้ ก็ตามสนธิสญ ั ญาดังกล่าวนีก้ ม็ ผี ลบังคับ ใช้และสยามก็ยอมสละดินแดนส่วนนั้นไปและการเรียกกลับคืนมาในภายหลังทำ�ไม่สำ�เร็จ วาทกรรมทางประวัติศาสตร์ของ ไทยเขียนเรื่องนี้ซ้ำ�แล้วซ้ำ�เล่าทุกครั้งที่เขียนถึงประวัติศาสตร์เขตแดนทางด้านลาวและกัมพูชาก็จะต้องอ้างอิงถึงวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 และการเสียดินแดนอยู่เสมอๆ แต่ลาวมองเหตุการณ์และปรากฏการณ์นี้ต่างออกไป แน่นอนทีเดียวประวัติศาสตร์ฉบับทางการของลาวรับรู้ถึง เจตนาที่ฝรั่งเศสต้องการที่จะคอบครองดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำ�โขงแทนสยามอย่างชัดเจน และบันทึกว่าฝรั่งเศสพยายามทำ� ดีกับคนท้องถิ่นในลาวให้เห็นความดีความงามของฝรั่งเศส และแสดงให้เห็นว่าสยามปกครองลาวโดยความป่าเถื่อน ฉวย 414

ภาค 2: พรมแดนไทย-ลาว: สนธิสัญญา เขตแดน และแผนที่


เอาแต่ประโยชน์ของบางกอกเป็นสำ�คัญ อีกทั้งบรรดาศักดินาลาวเองก็แตกแยกไร้ความสามารถที่จะปกครองลาวได้เช่นกัน ดังนั้นประวัติศาสตร์ฉบับทางการของลาวปัจจุบันที่เรียบเรียงโดย สุเนด โพธิสาน และ หนูไซ พูมมะจัน ภายใต้ การสนับสนุนของกระทรวงข่าวสารและวัฒนธรรม สรุปว่า “เนือ่ งจากระบอบศักดินาลาวได้ออ่ นเปลีย้ เพลียแรงจนไม่สามารถนำ�พาประชาชนบรรดาเผ่าลุก ขึ้นต่อสู้พวกแผ่อาณาเขตสยาม ดังนั้นพวกเขาจึงมีท่าทีสนับสนุนฝรั่ง เพื่อให้เข้ามาปลดแอกการครอบ ครองของพวกแผ่อาณาเขตสยาม โดย ออกุส ปาวี (ข้าหลวงฝรั่งเศส) ได้มองเห็นท่าทีของศักดินาลาว อันนี้ โดยเฉพาะของเจ้าอุ่นคำ� ที่ถูกศักดินาสยามแต่งตั้งขึ้นเป็นเจ้าชีวิตหลวงพระบางในปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) (แทนเจ้าจันทกุมารทีถ่ งึ แก่อสัญกรรมเมือ่ ปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ.1869) ดังนัน้ ปาวี จึงวางแผน บังคับโดยทางอ้อมให้เจ้าชีวิตหลวงพระบางยินยอมมอบอาณาจักรของตนให้ฝรั่งปกครอง” (สุเนด โพธิสาน, 2000 หน้า 474-475) สถานการณ์ในประวัติศาสตร์ตอนนั้นวุ่นวายมากอำ�นาจสยามเผชิญหน้ากับการท้าทายหลายทาง ด้านหนึ่งกลุ่ม คนลาวรวมทั้งชนเผ่าต่างๆ เช่น ไทดำ� ข่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งฮ่อ ลุกฮือขึ้นมาสร้างความปั่นป่วนให้กับการปกครองของ สยามอย่างมาก และอีกด้านหนึ่งก็มหาอำ�นาจตะวันตกคือจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสที่รุกคืบเข้ามา ความพยายามของสยามที่จะจัดระเบียบทางการปกครองเมืองขึ้นในเขตล้านช้างโดยการแต่งแม่ทัพไปรวบรวม ชาวนาต่อสู้กับพวกชนเผ่าต่างๆ ในดินแดนแถบนั้นไม่ได้ผล นักประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งเห็นว่า สยามเองทำ�การผิดพลาด เมื่อจหมื่นไววรนาถจับเอาตัวลูกชายของคำ�ฮุนหรือ เดียววันตี (ชื่อเดียววันตีอ่านตามสำ�นวนลาว บางตำ�รา เช่นของ Martin Stuart-Fox เขียนว่า Deo Van Tri – อ่านว่า เดียววันจี) ผู้ปกครองสิบสองจุไทลงไปเป็นตัวประกันที่กรุงเทพฯ พวกสิบสอง จุไทตอบโต้ด้วยการรวบรวมพันธมิตรที่เป็นชนเผ่า และแน่นอนมีพวกฮ่อด้วย เข้าโจมตีหลวงพระบางและยึดหลวงพระบาง ไว้ได้ “การหลบหนีอย่างอัปยศอดสูของแม่ทัพสยามและกองทหารของตนได้แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของอำ�นาจสยาม ในภาคพื้นนี้” (กรานท์ เอแวนส์, 2006 หน้า 38) เจ้าอุ่นคำ�เองได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีครั้งนี้และต้องหนีออกจากหลวง พระบางไปปากลาย แต่ฝ่ายฝรั่งเศสก็ไม่ได้นั่งเฉยๆ ตัวข้าหลวงคือปาวี ลงทุนลงแรงมากทีเดียวที่จะทำ�ให้เจ้าอุ่นคำ�เห็นคุณงามความดี ของฝรั่งเศส ประวัติศาสตร์ฉบับทางการลาวบันทึกว่าเขาได้ขอแบ่งกำ�ลังของคนลาวและเผ่าต่างๆ ที่ต่อต้านสยามแล้วแต่ง กองทหารนำ�โดยองตื้อเข้าโจมตีหลวงพระบาง แล้วให้คนของเขาอีกชุดหนึ่งไปช่วยเจ้าอุ่นคำ�ออกจากเมืองลงเรือไปปากลาย (สุเนด โพธิสาน, 2000 หน้า 474) เจ้าอุ่นคำ�สรรเสริญปาวีไม่ขาดปากไปตลอดทางและแสดงความกตัญญูรู้คุณที่ฝรั่งเศสได้ ช่วยชีวิตของพระองค์ไว้ เมื่อเดินทางถึงปากลายในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1887) เจ้าอุ่นคำ�ก็ตกลงมอบสิทธิ อำ�นาจการปกครองประเทศลาวให้แก่พวกล่าเมืองขึ้นฝรั่ง แม้วา่ ประวัตศิ าสตร์ฉบับทางการของลาวจะบันทึกเรือ่ งนีด้ ว้ ยความไม่เต็มใจนักต่อการปรากฏตัวของจักรวรรดินยิ ม ฝรั่งเศส และไม่สู้พอใจศักดินาลาวเองด้วย แต่ก็ดีใจไม่น้อยที่อำ�นาจของสยามถูกขับออกไปพ้น “แผ่นดินลาว” เสียที และ ประวัติศาสตร์ลาวไม่ได้แสดงความตอนใดที่เป็นการอาลัยอาวรณ์ต่อการจากไปของอำ�นาจศักดินาสยามเลยแม้แต่น้อย ภาพการ์ตนู ในหนังสือพิมพ์ลาว บรรยายภาพว่า “ลิงบางกอกหัดเอาอย่างทหาร” หมายความว่าสยามใช้อำ�นาจอย่าง จักรวรรดินิยมฝรั่ง ที่มา: หนังสือพิมพ์ลาวใหญ่ ปี 1942 อ้างซ้ำ�จาก กรานท์ เอแวนส์ 2006 หน้า 81 ถือเป็นความล้มเหลวของสยามเองทีไ่ ม่สามารถปกครองลาวได้ตอ่ ไป ในระหว่างทีย่ อื้ แย่งอำ�นาจกับฝรัง่ เศสเหนือฝัง่ ้ ซ้ายแม่น�ำ โขงนัน้ สยามพยายามทีจ่ ะแสวงหาพวกมาสูก้ บั ฝรัง่ เศสโดยการขอความช่วยเหลือจากอังกฤษทีม่ อี �ำ นาจอยูฝ่ งั่ ตะวัน ตกคือพม่าและอินเดีย แต่เนือ่ งจากอังกฤษไม่ตอ้ งการปะทะกับฝรัง่ เศส จึงแนะนำ�ให้สยามยอมตามคำ�ขาดของฝรัง่ เศสดีกว่า สำ�หรับมุมมองของลาวแล้ว สัญญาปี พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ไม่ได้เป็นฝันร้ายสำ�หรับสยามดังทีพ่ ยายามจะพูดกัน เพราะ แท้ที่จริงแล้วมันก็เป็นผลจากการตกลงกันของจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสและศักดินาสยามภายใต้การรู้เห็นของจักรวรรดินิยม อังกฤษด้วย “ส่วนทีป่ ระสบเคราะห์รา้ ยทีส่ ดุ คือประชาชนลาวทัง้ สองฝัง่ ของ (โขง) ภายหลังสัญญา 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ได้เซ็นสำ�เร็จลงแล้วคณะรัฐบาลฝรัง่ และสมาชิกรัฐบาลฝรัง่ ต่างก็แสดงความชืน่ ชมยินดีตอ่ ผลสำ�เร็จทีพ่ วกเขาสามารถยึดครอง สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี 415


ภาพการ์ตูนในหนังสือพิมพ์ลาว บรรยายภาพว่า “ลิงบางกอกหัดเอาอย่างทหาร” หมายความว่าสยามใช้อ�ำ นาจอย่าง จักรวรรดินิยมฝรั่ง (ที่มา: หนังสือพิมพ์ลาวใหญ่ ปี 1942 อ้างซ้ำ�จาก กรานท์ เอแวนส์ 2006 หน้า 81)

ดินแดนฝัง่ ซ้ายแม่น�้ำ โขงได้ตามจุดประสงค์ ซึง่ พวกเขาได้รบั ผลประโยชน์อย่างหลวงหลาย” (สุเนด โพธิสาน, 2000 หน้า 501) ...ประเทศสยามที่นิยมลัทธิแผ่อาณาเขต ซึ่งมีเป้าหมายจะกลืนกินแผ่นดินลาวสองฝั่งของอย่าง นิรันดรนั้น พวกเขาได้เห็นแจ้งแล้วว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เพราะว่าประชาชนสองฝั่งของนับแต่ใด มามีมูลเชื้อรักชาติ รักเอกราชอย่างเป็นชีวิตจิตใจ ไม่เคยยอมจำ�นนต่อศัตรูตัวใด โดยเฉพาะภายหลังเสีย เอกราชให้สยามแล้ว ประชาชนชาวลาวได้ลุกขึ้นต่อต้านสยามอย่างเป็นขบวนต่อเนื่องกันมาไม่ขาดสาย.... (สุเนด โพธิสาน, 2000 หน้า 501) อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการเซ็นสัญญาปี พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) แล้วประวัตศิ าสตร์ฉบับทางการของลาวบันทึก ว่าได้เกิดมีประชาชนลาวทั้งสองฝั่งแม่น้ำ�โขงลุกขึ้นต่อต้านอำ�นาจฝรั่งเศสและอำ�นาจสยามอย่างต่อเนื่องในรูปของกบฏผีบญ ุ (สำ�นวนภาษาลาวเรียกว่า กระแสฟองผู้มีบุญ) ความเสียดายดินแดนทีเ่ สียไป ทำ�ให้จอมพล ป. พิบลู สงครามบุกยึดเอาดินแดนฝัง่ ขวาแม่น�้ำ โขงคืนเมือ่ พบว่าฝรัง่ เศส เกิดเพลี่ยงพล้ำ�ในสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยได้ยึดครองที่ดินแดนเหล่านั้นอีกทีระหว่างปี พ.ศ. 2484-89 (ค.ศ. 1941-46) ตั้งจังหวัดใหม่ขึ้นมา 4 จังหวัด ส่วนที่อยู่ในลาวคือ จังหวัดนครจำ�ปาสักและจังหวัดลานช้าง เอาชื่อขุนนางไทยไปตั้งเป็นชื่อ อำ�เภอในจังหวัดต่างๆ เหล่านั้นราวกับเป็นสมบัติส่วนตัว เช่น เมืองมูลป่าโมกข์ในจำ�ปาสักเปลี่ยนชื่อเป็นอำ�เภอวรรณไวทยา กร เมืองปากลายตั้งเป็นอำ�เภออดุลเดชจรัส ระยะเวลาที่ไทยยิ่งใหญ่ในบูรพาช่วงนั้นก็ยังสร้างความประทับใจให้กับผู้สูงอายุในกาลปัจจุบันหลายคนมาจนเท่า 416

ภาค 2: พรมแดนไทย-ลาว: สนธิสัญญา เขตแดน และแผนที่


ทุกวันนี้ ทำ�ให้บางคนเฝ้าฝันคำ�นึงที่อยากจะหวนกลับไปสู่เวลานั้นอีกครั้งหนึ่งให้จงได้ แต่หลังจากไทยตกเป็นผู้แพ้สงคราม ก็จำ�ต้องคืนดินแดนส่วนนั้นให้กับฝรั่งเศสไป ตามสัญญาระหว่างไทยและฝรั่งเศสที่ได้ลงนามกันที่กรุงวอชิงตัน เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อการประนีประนอมความระหว่างสองฝ่าย และคณะ กรรมการได้ทำ�รายงานอย่างละเอียดเกี่ยวกับเรื่องเขตแดนระหว่างกันเอาไว้ด้วย องค์ประกอบของคณะกรรมการนั้นมีชาติอื่นๆ ที่ไม่ใช่ไทยและฝรั่งเศส แต่เป็นคนที่ทั้งสองฝ่ายเลือกเข้ามาเพื่อ ทำ�หน้าทีป่ ระนีประนอมข้อพิพาท คือ วิกเตอร์ อันเดรเบลานเต เอกอัครราชทูตเปรู สมาชิกศาลประจำ�อนุญาโตตุลาการ วิเลียม ฟิลลิปส์ อดีตเอกอัครราชทูตและปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เซอร์ โฮเรช ซีย์มัวร์ อดีตเอกอัครราชทูตอังกฤษ ในอารัมภบทของรายงานของคณะกรรมาธิการร่วมดังกล่าวที่ได้ทำ�ขึ้นในการประชุมวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) ที่กรุงวอชิงนั้น ดูเหมือนจะเปิดโอกาสให้มีการปรับปรุงเส้นเขตแดนและปัญหาชายแดนระหว่างกันโดย คณะ กรรมการชุดนีม้ หี น้าทีพ่ จิ ารณาเหตุผลทางด้านเผ่าพันธุ์ ภูมศิ าสตร์ และเศรษฐกิจของสองฝ่าย เพือ่ วัตถุประสงค์ในการยืนยัน หรือ แก้ไขสนธิสัญญา ฉบับวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893), 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) และฉบับ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ในรายงานดังกล่าวยังได้บันทึกเหตุผลและข้อโต้แย้งระหว่างฝ่ายไทยและฝรั่งเศสในการขอปรับปรุงเขตแดนส่วน สำ�คัญๆ ที่เกี่ยวกับลาว 3 ส่วนคือ หลวงพระบางทางฝั่งขวา (ล้านช้าง) ชายแดนแม่ของ (แม่น้ำ�โขง) และ ป่าสัก ฝั่งขวา (จำ�ปาสัก) มีความสำ�คัญและความจำ�เป็นที่จะต้องกล่าวถึงรายงานฉบับนี้โดยสังเขปด้วยว่าน่าจะเป็นการเจรจาครั้งสุดท้าย ระหว่างไทยและฝรั่งเศสที่มีผลต่อการกำ�หนดเขตแดนระหว่างไทยและลาวดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในดินแดนหลวงพระบางทางฝั่งขวา หรือที่เคยเรียกว่าจังหวัดล้านช้างของไทยนั้น ผู้แทนฝ่ายไทยเรียกร้องให้ ปรับปรุงเพราะว่าเสียดินแดนให้กับฝรั่งเศสเพราะผลของสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ไทยมีเหตุผลที่จะเรียกเอา คืนเพราะประชาชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณล้านช้างเป็นเผ่าไทที่ไม่ได้แตกต่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือของไทย ทั้งภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณี ในทางภูมิศาสตร์นั้นการเสียดินแดนตรงนี้ถือว่าเป็นการลดคุณค่า ของแม่น�้ำ โขงจากแม่น�้ำ นานาชาติให้กลายเป็นแม่น�้ำ ภายในของลาวเท่านัน้ และชายแดนเท่าทีเ่ ป็นอยูน่ นั้ เป็นอุปสรรคต่อการค้า ผู้แทนฝ่ายฝรั่งเศสโต้แย้งว่า ดินแดนส่วนนี้ถูกกำ�หนดตามสนธิสัญญา ปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ซึ่งได้ทำ�เอาไว้ อย่างละเอียด แบ่งเขตแดนกันด้วยสันปันน้ำ�ของภูเขาสูง ก็อยู่ด้วยความสงบแบบนี้มานับได้ครึ่งศตวรรษแล้ว มีประชาชน 80,000 คนอยูฝ่ งั่ ขวาของแม่น�้ำ ทีเ่ รียกว่าฝัง่ ล้านช้างและอีก 20,000 คนอาศัยอยูฝ่ งั่ ซ้ายทีเ่ รียกว่าฝัง่ หลวงพระบาง ดินแดนทัง้ สองฝัง่ นีป้ ระกอบกันเข้าเป็นศูนย์กลางของเผ่าพันธุ์เหมือนกับส่วนอืน่ ๆ ส่วนปัญหาเรือ่ งแม่น้ำ�โขงนัน้ ตามสนธิสญ ั ญาปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) และ พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) ได้รับประกันอิสรภาพของการเดินเรือของไทยเอาไว้แล้ว และในความเป็น จริงแล้วไทยก็ไม่ค่อยจะได้เดินเรือบริเวณนี้เท่าใดนัก คณะกรรมาธิการสรุปแล้ว ไม่มีข้อพิสูจน์ใด ไม่ว่าทางด้านเผ่าพันธุ์ เศรษฐกิจ หรือ ภูมิศาสตร์ ที่จะสนับสนุนข้อ เรียกร้องของฝ่ายไทยที่จะทำ�ให้ดินแดนหลวงพระบางฝั่งขวา (ของแม่น้ำ�โขง) คืนไปเป็นของไทยเลย ในส่วนของชายแดนแม่น้ำ�โขงนั้น คำ�ร้องของฝ่ายไทยต้องการแสดงให้เห็นว่า ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำ�โขงนั้นประกอบ กันเข้าเป็นหน่วยธรรมชาติอันเดียวกันทั้งทางด้านเผ่าพันธุ์ ภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้ถูกทำ�ลายเพราะการแบ่ง ชายแดน ดังนั้นควรกลับคืนไปเป็นของไทยทั้งหมด ผู้แทนฝ่ายไทยให้เหตุผลว่า การค้าจากบริเวณนี้ไปกรุงเทพฯ สะดวก กว่าไปไซ่ง่อน ผู้แทนฝ่ายฝรั่งเศสโต้แย้งว่าไม่จริง เรื่องเผ่าพันธุ์ของประชาชนทั้งสองฝั่งนั้น มีบางส่วนคล้ายคลึงกันจริง แต่ไม่ใช่ ทั้งหมด แน่นอนมีบางส่วนที่มีพื้นฐานภาษาเหมือนไทย แต่ก็มีประชาชนที่มีพื้นฐานทางภาษามาจากกลุ่มอื่น เช่น กลุ่มมอญ (น่าจะเป็น มอญ-ขะแมร์) เรื่องเส้นทางคมนาคมนั้นก็มีเส้นทางสายหนึ่งต่อจากฝั่งซ้ายแม่น้ำ�โขงไปถึงไซ่ง่อนสะดวก ผู้แทน ฝ่ายฝรั่งเศสเห็นว่า ลุ่มน้ำ�โขงก็เหมือนลุ่มน้ำ�อื่นทั่วๆ ไปคือสามารถเป็นหน่วยทางภูมิศาสตร์ได้ในตัวของมันเอง แต่ก็ไม่เป็น เหตุผลที่ถูกต้องที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจะยกขึ้นมาสนับสนุนการทวงคืนและเปลี่ยนแปลงหน่วยทางภูมิศาสตร์นี้ให้เป็นหน่วย การปกครองของไทย ถ้าขืนเอาแนวคิดนีไ้ ปปรับใช้กบั ลุม่ น�้ำ ขนาดใหญ่ทอี่ นื่ ๆ ทัว่ โลกแล้วความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคงจะ วุ่นวายน่าดู สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี 417


หลังจากได้พิจารณาข้อโต้แย้งของทั้งสองฝ่ายแล้วคณะกรรมาธิการลงความเห็นว่า ข้อเรียกร้องให้โอนดินแดนใน ้ เขตแม่นำ�โขงไปเป็นของไทยนั้น ไม่มีมูลเหตุถูกต้องเพียงพอ เมื่อพิจารณาเหตุผลทางกฎหมายและสภาพที่เป็นจริงแล้ว ทำ�ให้คณะกรรมาธิการเห็นถึงสภาพความเป็นจริงของ แม่น้ำ�โขงดังนี้ 1 เส้นเขตแดน ที่เกิดจากสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส และการขีดเส้นเขตแดนในที่ซึ่งลำ�น้ำ�ดังกล่าวไม่ได้แยกออก เป็นหลายสาขา ให้ถือเอาร่องน้ำ�ลึกของแม่น้ำ�โขงเป็นเส้นเขตแดน ในส่วนที่แม่น้ำ�ได้แบ่งแยกออกเป็นหลายสาขา ให้ถือเอา ร่องน้ำ�ลึกที่ใกล้กับฝั่งไทย ในการนี้บรรดาเกาะดอนในแม่น้ำ�ซึ่งน้ำ�ไม่เคยท่วมถึงเลยให้ถือเป็นของฝรั่งเศส 2 สัญญา สยาม-ฝรั่งเศสปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) ให้ถือเอาทั้งสองฝั่งของเส้นเขตแดนเป็นเขตปลอดทหาร ซึ่ง เป็นเขตเดียวกับเขตยกเว้นภาษีซึ่งมีความกว้าง 25 กิโลเมตร เช่นเดียวกับความกว้าง 25 กิโลเมตรที่กำ�หนดขึ้นในปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) 3 สัญญาฉบับปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) นั้นได้กำ�หนดให้มีคณะข้าหลวงใหญ่ประจำ�แม่น้ำ�โขงคอยดูแลความ เรียบร้อย คณะกรรมาธิการลงความเห็นว่าระเบียบที่ได้จัดทำ�กันขึ้นก่อนหน้านี้ตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนได้ ดีแล้ว กรณีป่าสัก ฝั่งขวา หรือ จำ�ปาสัก นั้นผู้แทนฝ่ายไทยได้เสนอให้โอนพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ�โขงและทิศเหนือ ของเซลำ�เพาไปให้ไทยมีพื้นที่ประมาณ 6,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวนี้ตกเป็นของฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาฉบับ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) เหตุผลสนับสนุนการเรียกร้องนี้คือ ประชาชนทั้งหมดในเขตนี้เป็นเผ่าพันธุ์เดียวกับ ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยแต่เส้นเขตแดนได้แบ่งประชาชนเผ่าพันธุ์เดียวกันออกจากกัน การกำ�หนด เส้นเขตแดนโดยอาศัยสันภูเขาที่สูงชันที่แบ่งเขตตะวันออกและตะวันตกนั้น ฝ่ายไทยเห็นว่าเป็นเส้นเขตแดนของภูเขา “ถ้าดู ในแง่ภูมิศาสตร์แล้วถือได้ว่าเป็นจินตนาการที่ผ่านเข้าไปไม่ได้อย่างแน่แท้” (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่าง ประเทศลาว, 1996 หน้า 178) ฝ่ายไทยเห็นว่าอาศัยลักษณะทางภูมิศาสตร์ไม่ใช่เหตุผลสำ�คัญอย่างเดียวเพราะว่าทางออก ที่สำ�คัญของเมืองนี้ไปเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟที่อุบลราชธานีเพื่อเข้าสู่กรุงเทพฯ เส้นทางนี้สะดวกกว่าการคมนาคมตาม ลำ�น้ำ�โขงและเส้นทางอินโดจีนของฝรั่งเศส ฝ่ายฝรั่งเศสโต้แย้งว่า เรื่องภาษาของประชาชนในท้องถิ่นนี้ ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มภาษาไท ถึงแม้ว่าภาษาลาวจะ แตกต่างจากภาษาไทย (สยาม) ก็จริง แต่นี่ไม่ควรเป็นเหตุผลในการโอนดินแดนไปให้ไทย การกำ�หนดเส้นเขตแดนนั้นไม่ได้ ขีดไปด้วยความบังเอิญ หากแต่ขีดไปตามภูเขาที่แบ่งระหว่างลุ่มน้ำ�มูนและลุ่มน้ำ�โขง เรื่องเศรษฐกิจในเขตนี้ก็ไม่ได้ต่างจาก เขตอื่นๆ ก็คือสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีอยู่แล้ว “ฝ่ายฝรั่งเศสได้ให้ข้อสังเกตว่า รัฐบาลสยามไม่ได้แสดงให้เห็นว่า พลเมืองที่อาศัยอยู่ฝั่งหนึ่ง ฝัง่ ใดของชายแดน มีความเดือดร้อนอย่างหนึง่ อย่างใด เพราะว่ามีเส้นเขตแดนดังกล่าว หรือว่ามีพลเมือง ส่วนน้อยของสยามมาอาศัยอยู่ในดินแดนส่วนนี้สักคนเลย” (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศลาว, 1996 หน้า 179) คณะกรรมาธิการมีความเห็นว่า เส้นเขตแดนทีป่ ระกอบไปด้วยเครือ่ งหมายตามธรรมชาติตามลักษณะทางภูมศิ าสตร์ นั้นชัดเจนดีแล้ว ในแง่ของเผ่าพันธุ์นั้นประชาชนในป่าสักหรือจำ�ปาสักนั้นในสถานภาพที่เป็นส่วนหนึ่งของลาวก็ไม่ได้มีผล กระทบอันใดเลย ในแง่เดียวกันป่าสักก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไรเลยถ้าดินแดนส่วนนี้จะถูกโอนไปเป็นส่วนหนึ่งของไทย ใน ทางด้านเศรษฐกิจแล้วความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของพื้นที่นี้มีอยู่กับฝั่งซ้ายแม่น้ำ�โขงมากกว่ากับสยาม รวมความแล้วคณะ กรรมาธิการมองไม่เห็นเหตุผลสนับสนุนทางด้านเผ่าพันธุ์ เศรษฐกิจ หรือ ภูมิศาสตร์ ที่จะให้ป่าสักไปเป็นส่วนหนึ่งของไทย โดยรวมแล้วเป็นอันว่าการเจรจาครั้งนี้ประเทศไทยไม่ได้ดินแดนส่วนใดๆ เลยที่ต้องการกลับคืนมาเป็นของไทย เป็นอันว่าฝั่งขวาแม่น้ำ�โขงตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง, ฝั่งซ้ายแม่น้ำ�โขงทั้งหมด และฝั่งขวาแม่น้ำ�โขงตรงข้ามจำ�ปาสัก ยังอยู่เป็นของลาวมากระทั่งปัจจุบัน 418

ภาค 2: พรมแดนไทย-ลาว: สนธิสัญญา เขตแดน และแผนที่


ดังนั้นข้อความในสนธิสัญญาที่ยังคงใช้บังคับเส้นเขตแดนระหว่างไทยและลาวยังคงเป็นไปตามสนธิสัญญาเดิม กล่าวคือ สำ�หรับเขตแดนทางบกด้านเหนือให้ถือตามสัญญาระหว่างฝรั่งเศสและสยามว่าด้วยการแก้ไขข้อกำ�หนดของสนธิ สัญญาฉบับ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 (ค.ศ.1893) เกี่ยวกับเขตแดนและการตกลงอื่นๆ ซึ่งลงนามกันเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 (ค.ศ.1904) ที่ปารีส ซึ่งการกำ�หนดเขตแดนระหว่างสยามและฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาในปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) นั้นปรากฏตามความในข้อ 2 ว่า “ฝ่ายเขตร์แดนในระหว่างเมืองหลวงพระบางข้างฝัง่ ขวาแม่น�้ำ โขงแลเมืองพิไชยกับเมืองน่านนัน้ เขตร์แดนตั้งต้นแต่ปากน้ำ�เฮียงที่แยกจากแม่น้ำ�โขงเนื่องไปตามกลางลำ�น้ำ�แม่เฮียง จนถึงที่แยกน้ำ�ตาง เลยขึ้นไปตามลำ�น้ำ�ตางจนบรรจบถึงยอดภูเขาปันน้ำ� ในระหว่างดินแดนตกแม่โขง แลดินแดนน้ำ�ตก แม่น้ำ�เจ้าพระยา ตรงที่แห่งหนึ่งที่ภูเขาแดนดิน ตั้งแต่เขตร์ต่อเนื่องขึ้นไปทางทิศเหนือตามแนวยอดเขา ปันน้ำ�ในระหว่างดินแดนน้ำ�ตกแม่น้ำ�โขงและดินแดนน้ำ�ตกแม่น้ำ�เจ้าพระยา จนบรรจบถึงปลายน้ำ�คอบ แล้วเขตร์ต่อแดนเนื่องไปตามลำ�น้ำ�คอบจนบรรจบกันแม่น้ำ�โขง” (หนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงปารีส 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122 หรือ ค.ศ. 1904) คำ�อธิบายเส้นเขตแดนตามสนธิสัญญานี้ค่อนข้างสับสน แต่โดยทั่วไปแล้วเส้นเขตแดนบริเวณดังกล่าวอาจจะ แบ่งได้ 2 ตอนคือช่วงเขตแดนทอดไปตามลำ�น้ำ�เฮียง หรือ ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำ�เหือง จนถึงแยกปากน้ำ�ตางตอนหนึ่ง และ อีกตอนหนึ่งคือ ช่วงเส้นเขตแดนทอดไปตาม “ยอดภูเขาปันน้ำ�” หรือ สันปันน้ำ� อย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน ไปจนถึงแม่น้ำ� คอบ ซึ่งในภูมิประเทศจริงในยุคสมัยปัจจุบันคือ แขวงไชยบุรีของลาวต่อกับจังหวัด พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ และ พิษณุโลก รวมความแล้วพื้นที่บริเวณนี้มีทิวเขาหลวงพระบางและแม่น้ำ�เหืองเป็นเขตแดน (ทวีเกียรติ เจนประจักษ์, 2540 หน้า 79) ในตำ�ราอื่นๆ เช่นของ เติม วิภาคย์พจนกิจ อธิบายเขตแดนตอนนี้เอาไว้แตกต่างออกไปว่า น้ำ�ตาง ซึ่ง เติม เขียน ว่า น้ำ�ตาม หรือ น้ำ�ตัม นั้นเป็นลำ�น้ำ�ขนาดกว้างประมาณ 60 เมตรเกิดจากภูเขาหญ้างอก อันเป็นเทือกเดียวกับภูเขาปันน้ำ� แต่ชาวถิ่นใกล้เคียงเรียกกันไปต่างๆ นานา เช่น เขาบรรทัด เขาดงพญาเย็น เขาตานุดหรือ เขาพังเหอย ฯลฯ เป็นต้น ที่แท้ ก็รวมอยูใ่ นเทือกเขาบรรทัดหรือเขาดงพญาเย็นอันยาวเหยียดทัง้ สิน้ น�้ำ ตามนีไ้ หลตกลำ�น�้ำ เหืองฝัง่ ตะวันตก อยูท่ างทิศเหนือ เมืองแก่นท้าว ห่างเมืองแก่นท้าว 2 กิโลเมตรเศษ เติมได้ตีความ สนธิสัญญาข้อ 2 ที่ว่า “เลยขึ้นไปตามลำ�น้ำ�จนบรรจบถึง ยอดภูเขาปันน้ำ�” นั้นคือเลยไปตามลำ�น้ำ�ตาม หาเลยขึ้นไปตามลำ�น้ำ�เหืองไม่ (เติม วิภาคย์พจนกิจ, 2546 หน้า 578) ในประมวลสนธิสัญญาของลาวที่เกี่ยวกับเส้นเขตแดนที่ติดกับไทยนั้น ปรากฏว่าได้มีเอกสารอีกชิ้นหนึ่งเป็นข้อ ตกลงระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1 และ 2 ของสัญญาลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ที่ทำ�กันระหว่าง เทโอฟิล แดลกาซเซ (Théophile Delcassé) รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส และมหาอำ�มาตย์ เอกพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) เอกอัครราชทูตไทยประจำ�ฝรั่งเศส ที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) เป็นลักษณะของการอธิบายเส้นเขตแดนส่วนหลวงพระบาง แปลตามสำ�นวนลาว ดังนี้ (ลาวแปล frontier ใน ภาษาฝรั่งเศสว่าชายแดน) เกี่ยวกับชายแดนหลวงพระบาง ที่ได้กำ�หนดไว้ในมาตรา 2 ของสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) มหาอำ�นาจทั้งสองที่เป็นคู่สัญญาได้ตกลงกันให้มีการดัดแปลงดังต่อไปนี้ ก) ชายแดนภาคใต้ เส้นชายแดนจะเริ่มแต่จุดคบ (บรรจบ) ของแม่น้ำ�ของและน้ำ�เหือง และแทนที่จะเลียบไปตาม น้ำ�ตั้ง (หรือน้ำ�ตางหรือตามในสำ�นวนไทย) ชายแดนจะเลียบไปตามคองน้ำ�ลึก (ร่องน้ำ�ลึก) ของน้ำ�เหือง ซึ่งอยู่ทางเหนือของ มันมีชื่อว่าน้ำ�น่าน จนไปถึงสันปันน้ำ�ระหว่างอ่างแม่น้ำ�ของและอ่างแม่น้ำ�อยู่จุดที่เป็นบ่อเกิดของน้ำ�น่าน จากนัน้ และเส้นดังกล่าวนี้ เส้นชายแดนจะขึน้ ไปทางทิศเหนือ เพือ่ ให้เป็นไปตามสัญญา ฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ข) ชายแดนภาคเหนือ แทนทีจ่ ะเลียบไปตามน�้ำ คอบ เส้นชายแดนหลีกออกจากบ่เกิดของน�้ำ คอบ เพือ่ ไปสืบต่อตาม สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี 419


สันภูแห่งแรก ซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำ�คอบนั้น ต่อมามีอนุสัญญาว่าด้วยเส้นเขตแดนที่แนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ที่ ทำ�ขึ้นเมื่อไทยยอมยกพระตะบอง เสียมราฐ (เสียมเรียบ) ศรีโสภณ เพื่อแลกกับเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด ซึ่งดูเหมือน จะเป็นการแก้ไขปรับปรุงฉบับก่อน โดยในสัญญาแนบท้ายนั้นข้อ 2 เขียนว่า เขตรแดนเมืองหลวงพระบางนัน้ ตัง้ แต่ทศิ ใต้ในแม่น�้ำ โขงทีป่ ากน�้ำ เหืองแล้วต่อไปตามกลางลำ� ้น�ำ เหืองนีจ้ นถึงทีแ่ รกเกิดน�้ำ นีท้ เี่ รียกชือ่ ว่า ภูเขาเมีย่ งต่อนีเ้ ขตรแดนไปตามเขาปันน�้ำ ตกแม่น�้ำ โขงฝ่ายหนึง่ กับตกแม่น้ำ�เจ้าพระยาอีกฝ่ายหนึ่ง จนถึงลำ�แม่น้ำ�โขงที่เรียกว่าแก่งผาไดตามเส้นพรมแดนที่กรรมการ ปักปันเขตรแดนได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม รัตนโกสินทรศก 124 คฤสตศักราช 1906” ความในสัญญาฉบับนี้เองที่ทำ�ให้เกิดความขัดแย้งในการตีความระหว่างไทยและลาวในกรณีของบ้านร่มเกล้า ตาม ความสนธิสัญญาพื้นที่ตอนนี้ให้ถือเอาแม่น้ำ�เหืองเป็นเส้นเขตแดน แต่ถ้อยคำ�ในสนธิสัญญามีเพียงนั้น ไม่ได้ให้รายละเอียด ในภูมิประเทศจริงว่าหมายถึงที่ใดกันแน่ ด้วยว่าแม่น้ำ�เหืองนั้นแบ่งเป็นสองสาย และมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า แม่น้ำ�เหือง และ เหืองง่า อีกสายหนึ่ง ฝ่ายลาวอ้างว่าเขตแดนคือเริ่มแม่น้ำ�เหืองไล่ขึ้นไปยังแม่น้ำ�เหืองป่าหมันและขึ้นไปหาต้นน้ำ�ที่ภูสอยดาว ไม่ควรจะใช่แม่น้ำ�เหืองง่า เพราะในภาษาลาวนั้น คำ�ว่า “งา (สำ�เนียงลาว) หรือง่า (สำ�เนียงไทย)” แปลว่ากิ่ง แม่น้ำ�เหืองง่า ก็ คือสาขาของแม่น้ำ�เหือง โดยหลักก็ควรใช้แม่น้ำ�สายหลัก ไม่ควรใช้แม่น้ำ�สาขา แต่ฝ่ายไทยโต้แย้งว่า ข้อความในสนธิสัญญาให้เลือกเอาแม่น้ำ�เหืองสายที่มีต้นกำ�หนดที่ภูเมี่ยง ในภูมิประเทศ จริง แม่น้ำ�ที่มีต้นกำ�เนิดที่ภูเมี่ยงคือ แม่น้ำ�เหืองง่า ไม่ใช่เหืองหรือเหืองป่าหมัน ดังที่ลาวกล่าวอ้าง แต่แม่น้ำ�เหืองหรือเหือง ป่าหมันนั้นมีต้นกำ�หนดที่ภูสอยดาว ซึ่งสนธิสัญญาได้กำ�หนดชัดแล้วว่าต้นน้ำ�เป็นภูเขาเมี่ยง ไม่ใช่ภูสอยดาว แต่ลาวเห็นว่า ภูสอยดาวและภูเขาเมี่ยงนั้นเป็นภูเขาลูกเดียวกัน ส่วนดินแดนทางบกทางด้านใต้นั้น เมื่อการเจรจาขอโอนส่วนหนึ่งของจำ�ปาสักกลับมาไม่เป็นผล สนธิสัญญาซึ่งใช้ บังคับกันระหว่างไทยและลาวปัจจุบันจึงเป็นไปตามถ้อยคำ�ในอนุสัญญาระหว่างกรุงสยามกับฝรั่งเศสที่ได้ลงนามกันที่กรุง ปารีสในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ตอนที่สยามตกลงยกจำ�ปาสักและมโนไพรให้กับฝรั่งเศส ในสัญญา ดังกล่าวข้อ 1 ความตอนหนึ่งว่า “…ต่อนัน้ ไปเขตร์แดนเนือ่ งไปตามแนวยอดภูเขาปันน�้ำ ในระหว่างดินแดนน�้ำ ตกน�้ำ แสนแลดิน แดนน้ำ�ตกน้ำ�โขงฝ่ายหนึ่งกับดินแดนน้ำ�ตกน้ำ�มูนฝ่ายหนึ่งจนบรรจบถึงภูเขาผาด่างแล้วต่อเนื่องไปข้าง ทิศตะวันออกตามแนวยอดภูเขานี้จนบรรจบถึงแม่โขง ตั้งแต่ที่บรรจบนี้ขึ้นไปแม่โขงเปนเขตร์แดนของ กรุงสยาม ตามความข้อหนึ่งในหนังสือสัญญาใหม่ ณ วันที่ 3 ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก 112” ต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงเขตแดนกันใหม่หลังจากที่สยามได้ยกพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ ให้กับฝรั่งเศส จึง ได้มีการเน้นย้ำ�เขตแดนบริเวณนี้กนั อีกครัง้ หนึ่งให้ชดั เจนยิ่งขึ้น ดังถ้อยคำ�ทีป่ รากฏในพิธสี ารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบ ท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 หรือ ค.ศ. 1907 ข้อ 1 เขียนไว้ความตอนหนึ่งว่า “…เขตรแดนต่อไปตามเขาปันน�้ำ ทีต่ กทเลสาบแลแม่น�้ำ โขงฝ่ายหนึง่ กับทีต่ กแม่น�้ำ มูนฝ่ายหนึง่ แล้วต่อจนตกลำ�แม่น้ำ�โขงใต้ตรงปากมูนตรงปากห้วยดอนเส้นเขตรแดนที่กรรมการปักปันแดนครั้ง ก่อนได้ตกลงกันแล้ว เมื่อวันที่ 18 มกราคม รัตนโกสินทรศก 125 คฤสตศักราช 1907 ได้เขียนเส้น พรมแดนประเมินไว้อย่างหนึ่งในแผนที่ตามความที่กล่าวในข้อนี้ติดเนื่องไว้ในสัญญาด้วย” 420

สนธิสญ ั ญาทีท่ ำ�ระหว่างสยามกับฝรัง่ เศสนัน้ ให้ถอื เอาภาษาฝรัง่ เศสเป็นหลัก ในเวลาต่อมาทัง้ ไทยและลาวก็ได้แปล ภาค 2: พรมแดนไทย-ลาว: สนธิสัญญา เขตแดน และแผนที่


ความสนธิสัญญาต่างๆ ออกเป็นภาษาของตนเอง แต่การแปลความทั้งสองภาษานั้นแม้จะแตกต่างกันบ้างในถ้อยคำ� เช่น การเรียกขานชื่อสถานที่ แต่ก็ไม่ได้เป็นสาระสำ�คัญที่แตกต่างกันแต่อย่างใด แต่ถึงกระนั้นก็ตามความคล้ายและความต่าง ของภาษาไทยและลาว ก็เป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดการถกเถียงในการตีความสนธิสัญญาได้ ตัวอย่างเช่น แม่น้ำ�เหือง ในสนธิ สัญญาก็กำ�หนดเพียงแค่นั้น แต่ในข้อเท็จจริงมีการนำ�เสนอคำ�ว่า เหืองง่า และ เหืองป่าหมัน เข้าสู่การพิจารณาตีความสนธิ สัญญาก็สามารถนำ�มาเป็นเหตุผลประกอบการตีความได้ เขตแดนตามแม่น�้ำ โขงนั้น อยู่ภายใต้ “อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส เพื่อวางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่าง สยามกับอินโดจีน” (Convention entre le Royaume de Siam et la France concernant les Relations Particulières du Siam et de l’Indochine) ลงนามกัน ณ กรุงเทพฯ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) โดยข้อ 3 กำ�หนดว่า “1. ตามลำ�แม่น้ำ�โขงในตอนที่ไม่แยกออกเป็นหลายสายเพราะเกาะนั้นให้ถือร่องน้ำ�เป็นเส้น เขตแดนระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีน 2. ตามลำ�แม่น้ำ�โขงในตอนที่แยกออกเป็นหลายสาย เพราะมีเกาะซึ่งออกห่างจากฝั่งสยาม โดยมีกระแสน�้ำ ไหลสะพัดอยูใ่ นระหว่างนัน้ จะเป็นเวลาหนึง่ เวลาใดในขวบปีกต็ าม ให้ถอื ร่องน�้ำ ของสาย แยกที่ใกล้ฝั่งสยามที่นั้นเป็นเส้นเขตแดน 3. ในบันดาถิ่นที่ล�ำ น้ำ�แยกซึ่งอยู่ใกล้กับฝั่งสยามที่สดุ นั้น เขินขึ้นด้วยทรายทับถมฤาตื้นแห้ง ขึ้นจนทำ�ให้เกาะซึ่งแต่ก่อนอยู่ห่างจากฝั่งนั้นเชื่อมต่อกันเป็นนิจกับฝั่งนั้นๆ ตามหลักนิยมเส้นเขตแดน จักต้องเดินตามร่องน้ำ�เดิมของสายน้ำ�แยกที่เขินขึ้นด้วยทรายทับถมฤาได้ตื้นแห้งขึ้น แต่ทะว่า ถ้าแม้มี กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วจะต้องร้องขอต่อคณะข้าหลวงใหญ่ประจำ�แม่น้ำ�โขงให้พิจารณาแต่ละกรณีตาม เหตุการณ์ที่เป็นจริงและในกรณีเช่นนั้น คณะข้าหลวงใหญ่จะแนะนำ�ให้ย้ายเส้นเขตแดนไปยังร่องน้ำ�ที่ อยู่ใกล้ที่สุดของลำ�น้ำ�ก็ได้ ถ้าหากวินิจฉัยเห็นว่าการย้ายเช่นนั้นเป็นอันพึงปรารถนา ดังเช่นที่ได้ตกลง กันแล้ว แต่บัดนี้สำ�หรับที่ดินต่างๆ ในลำ�แม่น้ำ� ซึ่งได้ระบุชื่อไว้ในวรรคต่อไปนี้ บรรดาที่ดินในลำ�แม่น้ำ�ซึ่งออกชื่อต่อไปนี้ เป็นอันเชื่อมตายตัวกับอาณาเขตสยามคือ ดอนเขียว ดอนเขียวน้อย ดอนน้อย ดอนยาด ดอนบ้านแพง หาดทรายเพ-เวิ่นกุ่ม ดอนแกวกอง-ดินเหนือและดอน สำ�โรง (สำ�นวนลาวว่า ดอนสมโฮง) ซึ่งบางแห่งพึงนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของฝั่งสยาม และแห่งเป็นเฉพาะ ชายเลนที่เกิดสะสมขึ้นและต่อเนื่องกับฝั่งสยามนั้นมากกว่าเป็นเกาะโดยแท้จริง คนสังกัดชาติฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ ฤาทำ�การเพาะปลูกอยู่ในบันดาที่ดินที่ระบุชื่อข้างบนนี้ จะคงมี สัญชาติเดิมของตนต่อไป และถ้าหากว่าอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายสยามและบันดาหนังสือสัญญาซึ่ง ใช้อยู่นั้นแล้ว จะคงเสวยสิทธิในการอาศัยอยู่ ฤาในการกรรมสิทธิ์ ฤาในสักแต่ว่าการเพาะปลูกนั้นได้ต่อไป คณะข้าหลวงใหญ่ฝรัง่ เศส-สยามประจำ�แม่น�้ำ โขงนัน้ จะต้องได้รบั มอบหมายให้จดั การกำ�หนดเส้น เขตแดนตามลำ�แม่น้ำ�ดังที่วิเคราะห์มาแล้วนี้ แต่หากมีข้อสงวนไว้ว่าจะต้องได้รับอนุมัติแห่งรัฐบาลทั้งสอง ที่เกี่ยวข้องนั้น การกำ�หนดเช่นว่านี้จะต้องรวมทั้งการเขียนเส้นเขตแดนลงในแผนที่ลำ�แม่น้ำ�โขง โดยมีกระเสียน มาตราส่วนหนึง่ ในหมืน่ (1 : 10,000) กับทัง้ ต้องทำ�เครือ่ งหมายปักเส้นเขตแดนลงไว้ตามลำ�แม่น�้ำ โขงในทุก ตอนที่เห็นว่าเป็นการจำ�เป็นนั้นด้วย” แน่นอนท่าทีของไทยต่อสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) นี้ก็เหมือนกับฉบับอื่นๆ คือเห็นว่าเป็นสัญญาที่เสีย เปรียบและไม่เป็นธรรมกับไทย เฉพาะอย่างยิ่งที่กำ�หนดให้เกาะดอนต่างๆ เป็นของลาวอันเนื่องเพราะถ้อยคำ�ที่เขียนว่าให้ ถือเอาร่องน้ำ�ลึกที่เข้าใกล้ฝั่งไทยเป็นเส้นเขตแดน ไทยเคยยึดเอาเกาะดอนต่างๆ ในแม่น้ำ�โขงมาเป็นของไทยในตอนที่ผนวก ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำ�โขงจำ�นวนหนึ่งคืนมา แต่ท้ายที่สุดเมื่อแพ้สงครามมีการปรับปรุงเขตแดนกันใหม่ก็ต้องคืนไปเหลือไว้ สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี 421


แต่เพียงเท่าที่ระบุเอาไว้ในสนธิสัญญาดังกล่าวข้างต้น ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือบรรดาเกาะดอนใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นหลังสนธิสัญญาหรือไม่ได้ระบุเอาไว้ในสนธิสัญญา ฝ่ายไทยมีความหวังว่าจะใช้การเจรจาแบ่งปันกับลาวได้ในอนาคต แต่หลักในการเจรจาอาจจะต้องอิงกับสนธิสัญญาฉบับปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) ซึ่งโอกาสที่ไทยจะได้ก็แต่เฉพาะเกาะดอนที่เกิดใหม่และมีโอกาสเชื่อมกับฝั่งไทยเท่านั้น เพราะหาก ตีความตามสัญญาโดยเคร่งครัดบรรดาเกาะดอนที่เกิดมาใหม่หากทำ�ให้น้ำ�แยกออกเป็นหลายสาย ร่องน้ำ�ลึกที่ใกล้ฝั่งไทย ที่สุดจะกลายเป็นเส้นเขตแดน ซึ่งผลของมันคือเกาะดอนเหล่านั้นก็จะกลายเป็นของลาว ปัญหาร่องน�้ำ ลึก (Thalweg) ก็เป็นประเด็นปัญหาทีจ่ ะต้องมีการถกเถียงกัน คำ�ว่าร่องน�้ำ ลึกโดยทัว่ ไปย่อมหมายถึง ส่วนที่ลึกที่สุดของแม่น้ำ� แต่หลักการกำ�หนดเส้นเขตแดนโดยร่องน้ำ�ลึกมักไม่นิยมเอาร่องที่ลึกที่สุด แต่นิยมเอาร่องน้ำ�ลึกที่ ใช้สำ�หรับเดินเรือเป็นเส้นเขตแดน ในรายงานของคณะกรรมาธิการประนีประนอมระหว่างสยาม-ฝรั่งเศสปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) ในภาค 3 หมวด ข ที่ว่าด้วยชายแดนแม่น้ำ�โขง ข้อ 6 คณะกรรมาธิการเห็นว่าการขีดเส้นชายแดนจะเกิดประโยชน์ให้ ถือเอาเส้นเขตแดนไปตามร่องน้ำ�ลึกที่ใช้ในการเดินเรือเป็นสำ�คัญ (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ลาว, 1996 หน้า 178) แต่ดูเหมือนว่าการดำ�เนินการตามมติของคณะกรรมาธิการนี้ยังไม่สำ�เร็จ ลาวได้รับเอกราชเสียก่อน ไทยเคยเสนอให้ลาวดำ�เนินการตามมตินี้แต่ลาวก็ผัดผ่อนเรื่อยมา (สุวิทย์ ธีรศาศวัต, 2552 หน้า 151) ปัญหาถัดมาคือ ร่องน้ำ�ลึกตามสนธิสัญญากับแผนที่ Tracé de la Frontière Franco-Siamoise du Mékong หรือ แผนที่ Tracé ซึ่งทำ�ขึ้นในปี พ.ศ. 2472-74 (ค.ศ. 1929-31) ไม่ต้องตรงกัน การถ่ายทอดเส้นเขตแดนตามแผนที่ดังกล่าวลง ในภูมิประเทศยังไม่สามารถกำ�หนดได้อย่างชัดเจนว่าจะดำ�เนินการอย่างไร

ท่าทีต่อแผนที่ สนธิสัญญาที่ใช้กำ�กับเส้นเขตแดนไทยและลาวดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่ได้บรรยายเส้นเขตแดนไว้ชัดเจน ละเอียดทุกจุด ในการดำ�เนินการกำ�หนดเส้นเขตแดนนั้น ชาติตะวันตกนิยมทำ�แผนที่ควบคู่ไว้ด้วย ในพิธีสารว่าด้วยการ ปักปันเขตแดนแนบท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 หรือ ค.ศ. 1907 ระบุว่าได้มีการเขียน เส้นพรมแดนประเมินไว้อย่างหนึ่งในแผนที่ตามความที่กล่าวในข้อนี้ติดเนื่องไว้ในสัญญาด้วย แผนที่สำ�หรับเขตแดนทาง บกที่มีการพูดถึงกันมากคือแผนที่ Commission de Delimitation de la Frontiere Entre L’Indo-Chine et La Siam 1 : 200,000 หรือที่รู้จักกันดีในนามแผนที่ 1 : 200,000 ส่วนเขตแดนทางน้ำ�ตามลำ�น้ำ�โขงนั้นสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) ระบุว่า มี Tracé de la Frontière Franco-Siamoise du Mékong หรือที่รู้จักกันดีในนามแผนที่ Tracé เป็นแนวในการกำ�หนดเส้นเขตแดนในแม่น้ำ� ฝ่ายไทยรับรู้ถึง “ความมีอยู่” ของแผนที่ซึ่งใช้ประกอบกับสนธิสัญญาเรื่องเขตแดนอย่างแน่นอนในความตกลง ระหว่างไทยและลาวเกี่ยวกับการสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนตลอดแนวร่วมกัน ซึ่งนามโดย อำ�นวย วีรวรรณ รองนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยกับสมสะหวาด เล่งสะหวัด รัฐมนตรีต่างประเทศลาวในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ที่สงขลา ข้อ 3 (1) กล่าวถึง อำ�นาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทยลาว โดยอ้างถึงสนธิ สัญญาและแผนที่ดังนี้ “พิจารณาการสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนตลอดแนวให้เป็นไปตามอนุสัญญา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 ความตกลงวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และพิธีสารแนบท้ายอนุสัญญาวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1926 และแผนที่ที่จัดทำ�ขึ้นตามความตกลงทุกฉบับที่กล่าวถึงข้างต้น” ประเด็นปัญหาในที่นี้คือ แผนที่ 1 : 200,000 และแผนที่ trace นั้นเป็น “แผนที่ที่จัดทำ�ขึ้นตามความตกลง” หรือ ไม่ ฝ่ายไทยมีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าแผนที่เหล่านี้โดยเฉพาะแผนที่ 1 : 200,000 นั้นไม่ได้จัดทำ�ขึ้นตามความตกลงหากแต่เป็น แผนที่ซึ่งฝรั่งเศสจัดทำ�ขึ้นฝ่ายเดียว

422

ภาค 2: พรมแดนไทย-ลาว: สนธิสัญญา เขตแดน และแผนที่


กรณีแผนที่ 1 : 200,000 ของ Commission de Delimitation de la Frontiere Entre L’Indo - Chine et La Siam ความเห็นเกี่ยวกับแผนที่นี้ถูกวางเป็นแนวนโยบายและแนวปฏิบัตินับแต่ประเทศไทยแพ้คดีปราสาทพระวิหารใน ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) เป็นต้นมา ความตอนหนึ่งในแถลงการณ์ของรัฐบาลไทยปี พ.ศ. 2505 ทีอ่ อกหลังจากคดีปราสาทพระวิหาร กล่าวว่าศาลยุตธิ รรมระหว่างประเทศตัดสินไม่เป็นธรรมเพราะไม่ยดึ ตามสันปันน�้ำ ที่ระบุเอาไว้ในสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 และ 2450 (ค.ศ. 1904 และ 1907) “แต่กลับยึดถือตามแผนที่ ซึ่งศาลเองก็ยอมรับว่า ฝ่ายฝรัง่ เศสได้จดั ทำ�ขึน้ โดยฝ่ายไทยมิได้มสี ว่ นร่วมและมิได้รบั การอนุมตั จิ ากคณะกรรมการผสมปักปันเขตแดนในสมัยนัน้ ” (มติคณะรัฐมนตรี 26 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ใน บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, 2551 หน้า 245) พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนที่ 1 : 200,000 เมื่อครั้งดำ�รง ตำ�แหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในการบรรยายเกี่ยวกับปัญหาชายแดนไทยกับเพื่อนบ้านในส่วนที่เกี่ยวกับลาวโดยเฉพาะ เอาไว้ซึ่งสะท้อนแนวนโยบายและแนวปฏิบัติต่อแผนที่ดังกล่าวของไทยอย่างคงเส้นคงวาที่สุดดังนี้ “แผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนฉบับ ค.ศ. 1907-1908 เป็นแผนที่ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่า ได้มีการรับรอง ความถูกต้องจากรัฐบาลทั้งสองฝ่ายในระยะต่อมาหรือไม่ ตามหลักฐานปรากฏแต่เพียงว่า ได้มีการจัดทำ�แผนที่นี้ โดยคณะ ผู้จัดทำ� 2 คณะคือ Mission Bernard ซึ่งทำ�ในช่วง ค.ศ. 1905-1907 กับ Mission Montguers ซึ่งได้ทำ�ในช่วงต่อมา แผนที่ดังกล่าวฝ่ายไทยมิได้เข้าร่วมในการจัดทำ� ฝ่ายฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำ�แต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งนี้ โดยคำ�ขอร้องของฝ่ายไทย อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธไม่ยอมรับแผนที่ชุดนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเคยใช้หลักกฎหมายปิดปากกับไทย ในคดีปราสาทพระวิหารมาแล้ว ซึ่งฝ่ายไทยก็ได้ยอมรับคำ�พิพากษาดังกล่าวโดยมีข้อสงวน การไม่ยอมรับแผนทีช่ ดุ นี้ ประเทศไทยได้ก�ำ หนดท่าทีโดยชัดแจ้งมาตัง้ แต่ พ.ศ. 2508 เมือ่ เริม่ มีการเจรจากับกัมพูชา เรื่องอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร จนกระทั่งถึงระหว่างและหลังการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตลอด มาจนถึงปัจจุบันโดย 1. ไทยยอมรับสนธิสัญญาต่างๆ ที่ทำ�ไว้แล้ว 2. ไทยไม่ยอมรับเส้นพรมแดนประเมินหรือโครงวาดที่เขียนไว้ต่อท้ายสัญญา ค.ศ. 1907 เพราะไม่เป็นไปตามที่ ระบุไว้ในสนธิสัญญา 3. ไทยไม่ยอมรับแผนทีอ่ นื่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง เพราะฝรัง่ เศสเป็นผูจ้ ดั ทำ�ฝ่ายเดียวและมิได้มกี ารตรวจสอบหรือรับรอง ความถูกต้อง” (พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์, 2520 หน้า 4) ท่าทีเช่นนี้ของไทย ไม่สู้จะสอดคล้องกับข้อเท็จจริงนัก เพราะเหตุที่ว่า เป็นที่เห็นพ้องต้องกันแล้วว่า ประเทศไทย ได้เป็นผู้ร้องขอให้ฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำ�แผนที่ฉบับนั้น และได้ให้การยอมรับมาแล้ว รวมทั้งได้ใช้ประโยชน์มาแล้วเป็นเวลา 50 ปีก่อนคดีปราสาทพระวิหาร และหากนับถึงปัจจุบันก็ปาเข้าไปกว่า 100 ปีมาแล้ว หลักฐานอ้างอิงว่าประเทศไทยเคยยอมรับแผนทีฉ่ บับนีม้ อี ยูอ่ ย่างครบถ้วนในคำ�พิพากษาของศาลยุตธิ รรมระหว่าง ประเทศในกรณีปราสาทพระวิหาร ปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ซึ่งได้กล่าวถึง แผนที่ 1 : 200,000 เอาไว้อย่างมากและโดย ละเอียด และศาลใช้เป็นหลักฐานสำ�คัญในการตัดสินว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อ�ำ นาจอธิปไตยของ กัมพูชา คำ�พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้อ้างถึงการทำ�งานของคณะกรรมการผสมฝรั่งเศส-สยาม และใน ขั้นสุดท้ายของการดำ�เนินการปักปันเขตแดนนั้นคือ การจัดพิมพ์แผนที่ รัฐบาลสยามซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีเครื่องมือเครื่อง ใช้เพียงพอ จึงได้ร้องขอเป็นทางการให้พนักงานสำ�รวจพื้นที่ของฝรั่งเศสจัดทำ�แผนที่อาณาบริเวณเขตแดนนี้ขึ้น ดังจะเห็น ได้จากข้อความวรรคเริ่มต้นของรายงานการประชุมคณะกรรมการผสมชุดแรกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) คำ�ร้องขอนี้ได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายสยามในคณะกรรมการซึ่งอาจเป็นผู้ให้ความดำ�รินี้ เอกสารราชการสถานทูตสยามในปารีส เลขที่ 89/525 ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) หม่อมเจ้า จรูญศักดิ์ กฤดากร อัครราชทูตสยามประจำ�กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ส่งถึงสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการเสนาบดี สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี 423


แผนที่บ้านบ่อภาค ซึ่งลาวอ้างเส้นเขตแดนตามความเข้าใจของลาว (ที่มา: กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่าง ประเทศลาว)

กระทรวงการต่างประเทศ อ้างถึง คณะกรรมการผสม (Mixed Commission of Delimitation of frontiers) ได้ทำ�แผนที่ ตามที่คณะกรรมการฝ่ายไทยได้ร้องขอเสร็จเรียบร้อยแล้ว ร้อยเอก ทิกซิเอ (Tixier) ได้นำ�แผนที่ชุดนี้มาให้และได้ “ขอให้ หม่อมฉันส่งมาให้พระองค์” แผนที่สำ�หรับชายแดนด้านเหนือประกอบด้วย 1 แผนที่เมืองคอบและเชียงล้อม 50 ชุด 2 แผนที่แม่น้ำ�ด้านเหนือ 50 ชุด 3 แผนที่เมืองน่าน 50 ชุด 4 แผนที่ปากลาย 50 ชุด 5 แผนที่น้ำ�เหือง 50 ชุด และสำ�หรับด้านใต้ 1 แผนที่ปาสัก 50 ชุด 2 แผนที่แม่โขง 50 ชุด 3 แผนที่ดงรัก 50 ชุด 4 แผนที่พนมกูเลน 50 ชุด 5 แผนที่ทะเลสาบ 50 ชุด 6 แผนที่เมืองตราด 50 ชุด “แผนที่ดังกล่าวนี้” หม่อมฉัน (หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์) ขอเก็บไว้อย่างละ 2 ชุดและส่งอีกอย่างละชุดไป ลอนดอน เบอร์ลิน รัสเซีย และอเมริกา ที่เหลืออีก 44 ชุดได้บรรจุลงหีบห่อและส่งให้พระองค์” 424

ภาค 2: พรมแดนไทย-ลาว: สนธิสัญญา เขตแดน และแผนที่


ในเวลาต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงขอบพระทัยอัครราชทูตฝรัง่ เศส ณ กรุงเทพฯ สำ�หรับแผนที่เหล่านั้นและได้ทรงขอแผนที่ต่ออัครราชทูตเพิ่มเติมอีกอย่างละ 15 ชุดเพื่อทรงจัดส่งไปให้ผู้ว่า ราชการจังหวัดต่างๆ ของสยาม ข้อโต้แย้งของทนายความฝ่ายไทยว่า มีแต่เจ้าหน้าทีช่ ัน้ ผูน้ อ้ ยเท่านัน้ ทีไ่ ด้เห็นแผนทีจ่ งึ ฟังไม่ขึน้ ด้วยว่า สมเด็จกรม พระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ สมเด็จกรมพระยาดำ�รงฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย สมาชิก คณะกรรมการผสม ล้วนแล้วแต่ไม่ใช่ข้าราชการชั้นผู้น้อย โดยเฉพาะสมเด็จกรมพระยาดำ�รงฯ นั้น ทรงเชี่ยวชาญทางด้าน ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และ ทรงสนพระทัยเรื่องเขตแดนเป็นอย่างมาก ศาลจึงเห็นว่า ข้ออ้างของทนายฝ่ายไทยฟังไม่ขึ้น กัมพูชาได้นำ�เอาแผนที่ฉบับนี้ ระวาง ดงรัก แนบเข้าไปเป็นภาคผนวก 1 (Annex I) ในคำ�ฟ้องต่อศาลในคดีพระ วิหาร ฝ่ายไทยในเวลานัน้ ได้โต้แย้งต่อศาลว่า แผนทีด่ งั กล่าวไม่ได้เป็นผลงานของคณะกรรมการผสม เพราะว่าคณะกรรมการ ดังกล่าวได้สิ้นสุดลงหลายเดือนก่อนที่แผนที่จะได้จัดทำ�ขึ้น ศาลให้เหตุผลว่า สยามเป็นผู้ขอให้จัดทำ�ขึ้นมาเอง และรัฐบาลสยามได้รับเอาแผนที่นั้นมาใช้ โดยมิได้โต้แย้งเรื่อง นี้เลย ก็ถือว่ายอมรับไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น แผนที่ชุดนี้ ได้รับการโฆษณา แพร่หลายในวงการวิชาการที่สนใจ โดยส่งไปให้ สมาคมภูมศิ าสตร์ทมี่ ชี อื่ ในประเทศสำ�คัญๆ และในวงการอืน่ ๆ ทีส่ นใจภูมภิ าคนี้ ตลอดจนสถานอัครราชทูตไทย ณ ประเทศ อังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย และ สหรัฐอเมริกา รวมทั้งสมาชิกทุกคนในคณะกรรมการผสมฝรั่งเศส-สยาม การแจกจ่ายในชั้น แรกมีจำ�นวนประมาณ 160 ชุด ชุดละ 11 แผนที่ แผนที่ 50 ชุดส่งไปยังรัฐบาลสยาม ข้อโต้แย้งของฝ่ายไทยที่ว่า แผนที่นั้นมีความผิดพลาด ด้วยว่ากำ�หนดเส้นเขตแดนไม่ตรงกับสันปันน้ำ�ที่ระบุเอา ไว้ในสนธิสัญญา แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า ประเทศไทยไม่เคยได้โต้แย้งความผิดพลาดเช่นว่านั้นเลย ทั้งๆ ที่มีโอกาส หลายครั้งหลายคราที่จะขอแก้ไขความผิดพลาดนั้น ในปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ในการลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เพื่อยืนยันเขตแดน ฝ่ายไทยก็ยังคงยืนยันตามแผนที่ ในปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) หรือหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่ง ไทยจะต้องคืน พระตะบอง เสียมเรียบ และ จำ�ปาสัก ให้ฝรั่งเศส ก็โอกาสอันดีที่จะแก้ไขเรื่องเส้นเขตแดนบริเวณปราสาท พระวิหารด้วย ก็ปรากฏว่า ประเทศไทยไม่ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นมาอีก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นข้อโต้แย้งของไทยในการเสนอ ปรับปรุงเขตแดนนั้นส่วนใหญ่อ้างอิงเรื่อง เผ่าพันธุ์ของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ เรื่องเศรษฐกิจและสภาพภูมิศาสตร์ แต่ไม่ได้ อ้างอิงความถูกหรือผิดของแผนที่แต่อย่างใด ศาลยุตธิ รรมระหว่างประเทศได้เคยลงความเห็นไปแล้วว่า ข้อยึดถือทีว่ า่ เขตแดนบริเวณนัน้ เป็นไปตามสันปันน�้ำ นัน้ เป็นอันละทิง้ ไปได้ เพราะตามความเห็นของศาล แผนทีน่ ัน้ ไม่วา่ จะถูกต้องตรงกับเส้นสันปันน�้ำ ทุกประการหรือไม่กต็ าม เมือ่ ได้รับการยอมรับจากคู่กรณีใน พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) และภายหลังจากนั้นแล้วว่า เป็นผลมาจากการตีความการปักปัน เขตแดนตามวัตถุประสงค์สนธิสญ ั ญาโดยรัฐบาลทัง้ สอง กล่าวอีกนัยหนึง่ คือว่า คูก่ รณีขณะนัน้ ได้รบั เอาการตีความข้อตกลง โดยสนธิสัญญา ซึ่งเป็นผลให้เส้นเขตแดนในแผนที่เท่าที่ผิดแผกจากเส้นของสันปันน้ำ�ไปมีความสำ�คัญเหนือกว่าข้อบัญญัติ ของสนธิสัญญาในเรื่องนี้ ช่องว่างทางกฎหมายที่อาจจะทำ�ให้เหตุผลของฝ่ายไทยยังพอรับฟังได้คือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมุ่งวินิจฉัย เฉพาะแผนที่ระวางดงรัก ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับปราสาทพระวิหารเท่านั้น ไม่ได้ให้ความเห็นต่อแผนที่นี้ทั้งชุด แผนที่ชุดนี้ในระวาง อื่นๆ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเขตแดนด้านลาวอาจจะไม่จำ�เป็นต้องผูกพันตามความเห็นของศาลก็ได้ ในปัจจุบันไทยมีแผนที่ซึ่งใช้ในการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ชายแดนอยู่อีกชุดหนึ่งต่างหากคือ แผนที่ชุด L-7017 และที่พิมพ์ขึ้นใหม่ในเวลาต่อมาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าคือชุด L-7018 แต่ก็โดยที่ตระหนักดีว่าแผนที่ชุดนี้ใช้อ้างอิง เส้นเขตแดนระหว่างประเทศไม่ได้ ฝ่ายลาวนั้นอ้างอิงถึงแผนที่อยู่บ้างในการพิจารณาเส้นเขตแดนในส่วนที่ติดกับไทย แต่ไม่ได้เคร่งครัดว่าแผนที่ชุด นี้หรือระวางใดระวางหนึ่งที่ระบุเส้นเขตแดนระหว่างสองประเทศเป็นความถูกต้องชอบธรรมทั้งหมด ในกรณีพิพาทสามหมู่บ้านที่เขตจังหวัดอุตรดิตถ์-ไซยะบุลี นั้น ฝ่ายไทยอ้างแผน L 7017 ที่ซึ่งพิมพ์ขึ้นใหม่ในภาย หลังด้วยความช่วยเหลือของสหรัฐฯ โดยแผนที่ใหม่นี้เป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ซึ่งใหญ่และละเอียดกว่าแผนที่ 1 : 200,000 และแสดงให้เห็นถึงสันปันน้ำ�อย่างชัดเจน ซึ่งแผนที่ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสามหมู่บ้านนั้นอยู่ในเขตแดนของไทย ลาวไม่ยอมรับแผนทีฉ่ บับนี้ เพราะไม่ใช่แผนทีด่ ัง้ เดิมทีฝ่ รัง่ เศสทำ�ขึน้ เพือ่ แสดงเขตแดนตัง้ แต่เดิม แผนทีซ่ ึง่ สหรัฐฯ สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี 425


(บน) แผนที่ trace แสดงเส้นเขตแดนไทย-ลาวในแม่น้ำ�โขง (ช่วงสามเหลี่ยมทองคำ�) (ล่าง) แผนที่ trace แสดงเส้นเขตแดน ไทย-ลาวในแม่น้ำ�โขง (ช่วงสุดท้ายปากห้วยดอน) (ที่มา: กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศลาว)

426

ภาค 2: พรมแดนไทย-ลาว: สนธิสัญญา เขตแดน และแผนที่


ช่วยจัดทำ�ขึ้นนั้น ฝ่ายไทยเองก็ทราบดีว่า ไม่สามารถใช้อ้างอิงเขตแดนอย่างเป็นทางการได้ ความจริงท้ายแผนที่ฉบับนี้ก็ระบุ เอาไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า “เส้นพรมแดนไม่ถอื กำ�หนดอย่างเป็นทางการ” จึงจำ�เป็นจะต้องใช้แผนทีฉ่ บับเดิมทีผ่ ลิตโดยฝรัง่ เศส มาตราส่วน 1 : 200,000 เป็นพื้นฐานสำ�คัญ แต่ในกรณีของบ้านร่มเกล้า ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก-ไซยะบุรี นั้น แผนที่ฉบับมาตราส่วน 1 : 200,000 และฉบับ อื่นๆ ที่ไทยและลาวมีใช้ในหน่วยงานภายในของตนต้องตรงกันว่า เส้นเขตแดนนั้นไปตามแม่น้ำ�เหืองและเหืองง่าขึ้นไปถึง ต้นน้ำ�ที่ภูเขาเมี่ยงตามที่ไทยกล่าวอ้าง แต่ในการเจรจาเรื่องเขตแดน ลาวกลับไม่ได้อ้างแผนที่ฉบับใดๆ หากแต่ยึดถ้อยคำ� ในสนธิสัญญาตามการตีความของลาวเองเป็นหลัก (วศิน ธีรเวชญาณ, 2535) (โปรดพิจารณาแผนที่ 1 : 200,000 ระวางน้ำ� เหืองประกอบ) ในหนังสือประมวลสนธิสัญญาซึ่งระบุเขตแดนกับไทยกระทรวงการต่างประเทศลาวนำ �แผนที่ระวางบ่อภาค ซึ่ง เป็นแผนที่เก่าของไทยซึ่งเลิกใช้ไปแล้วมาแสดงและมีหมายเหตุด้านท้ายว่าเป็น “เส้นชายแดนตามความเข้าใจของฝ่ายลาว (trace de frontiere d’apres la version lao)” และแสดงแผนที่ 1 : 200,000 ระวางน้ำ�เหือง (Nam Heung Comission de Delimitation Entre L’Indo-Chine et le Siam) ว่าเป็นเส้นชายแดนตามความเข้าใจของฝ่ายไทย (กรมสนธิสัญญาและ กฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศลาว, 1996 หน้า 195-197)

กรณีแผนที่ Tracé de la Frontière Franco-Siamoise du Mékong สำ�หรับเขตแดนในแม่น้ำ�โขง ยังไม่ปรากฏว่ามีการถกเถียงเกี่ยวกับแผนที่ Trace นี้อย่างกว้างเท่าใดนัก พลเอก เกรียงศักดิ์ ได้อธิบายเป็นเชิง ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับแผนที่ฉบับนี้ดังนี้ “แผนที่แสดงแนวพรมแดนในแม่น้ำ�โขง ค.ศ. 1931 นั้นก็ยังมีประเด็นที่น่าจะเป็นปัญหาอยู่คือ ในอนุสัญญาฉบับ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1926 กำ�หนดให้ข้าหลวงใหญ่ไทย-ฝรั่งเศสประจำ�แม่น้ำ�โขงจัดการกำ�หนดแนวพรมแดนตามลำ�น้ำ�โขงตาม บทวิเคราะห์ที่ระบุไว้ในสัญญา โดยมีข้อสงวนไว้ว่าจะต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลทั้งสอง การกำ�หนดเช่นว่านี้ ให้รวมถึงการ เขียนแนวพรมแดนลงในแผนที่แม่น้ำ�โขงที่มีมาตราส่วน 1 : 10,000 กับทัง้ ต้องทำ�เครือ่ งหมายแสดงแนวพรมแดนไว้ในแม่น้ำ� โขงทุกตอนที่เห็นว่าจำ�เป็นด้วยจึงเห็นได้ว่า 1.) แผนที่ฉบับนี้มีมาตราส่วนไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในสัญญา 2.) ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่า แผนที่ฉบับนี้ได้ให้สัตยาบันหรือยัง เมื่อเป็นเช่นนี้ คณะกรรมการพิจารณาปัญหาเขตแดนของประเทศไทยจึงมีความเห็นว่า ในขณะที่ยังไม่สามารถหา หลักฐานมาเป็นข้อยุติได้แน่นอน รัฐบาลไทยควรจะคงท่าทีเดิมเกี่ยวกับสนธิสัญญาและแผนที่ไว้ และตราบใดที่ยังมิได้มี การเปลีย่ นท่าทีเดิม ควรละเว้นทีจ่ ะกล่าวอ้างแผนทีแ่ ละหรือยอมรับแผนทีต่ ลอดจนเขตแดนปัจจุบนั ในเอกสารทางกฎหมาย หากไม่อาจจะหลีกเลีย่ งได้ การยอมรับเขตแดนปัจจุบนั ในเอกสารทีม่ ลี กั ษณะทางการเมืองเช่น แถลงการณ์รว่ มน่าจะเป็นการ เพียงพอ และไม่กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ ถึงแม้จะมีลักษณะผูกพันอยู่บ้างก็ตาม อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดกรณีลาวยิงเรือ นปข. (หน่วยปฏิบัติการตามลำ�น้ำ�โขง) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ก็ได้มีการกล่าวอ้างถึงแผนที่ฉบับนี้ในการชี้ให้เห็นว่า จุดที่เรือ นปข.เกยตื้นอยู่ในเขตไทย” (พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ 2520, หน้า 5) การกล่าวเช่นนี้ทำ�ให้ท่าทีการปฏิเสธแผนที่ฉบับของไทยดูไม่เข้มแข็งนัก ท่าทีแบบนี้เป็นลักษณะ ของการแบ่งรับแบ่งสู้มากกว่า กล่าวคือประเทศไทยมักแสดงการไม่ยอมรับแผนที่ซึ่งไม่เอื้อประโยชน์ต่อไทย ฝ่ายลาวนั้นอ้างแผนที่ Trace ในการพิจารณาเขตแดนตามลำ�น้ำ�โขงกับประเทศไทยแน่นอน แผนที่ฉบับนี้ตามการ แสดงของฝ่ายลาวนั้น เป็นแผนที่ซึ่งชื่อว่า Tracé de la Frontière Franco-Siamoise du Mékong มาตราส่วนที่กำ�หนดเป็น 1 : 25,000 ไม่ใช่ 1 : 10,000 ตามที่ระบุเอาไว้ในสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) ทางการลาวได้ปรับมาตราส่วนเพื่อ แสดงเอาไว้ในประมวลสนธิสัญญา ที่จัดพิมพ์โดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศลาวให้เป็น มาตราส่วน 1 : 70,500 เพื่อความสะดวกในการตีพิมพ์เผยแพร่ แผนที่นี้ตามการแสดงของฝ่ายลาวครอบคลุมตัวแม่น้ำ�และฝั่งทั้งไทยและลาว จากแขวงบ่อแก้ว-จังหวัดเชียงราย สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี 427


จนถึง แขวงจำ�ปาสัก-จังหวัดอุบลราชธานี ในแผนที่ซึ่งแสดงนี้ได้แปลสถานที่ต่างๆ ที่ระบุไว้ในแผนที่ให้เป็นภาษาลาวกำ�กับ ภาษาฝรั่งเศสเอาไว้ด้วย แผนที่ตามที่ได้แสดงไว้ในประมวลสนธิสัญญานั้นมีลักษณะเป็นภาพลายเส้นบ่งชัดเจนถึงแนวเส้น เขตแดนที่ทำ�เป็นสีแดง (ต่างจากเส้นอื่นๆ ที่แสดงเป็นสีดำ�) แผนที่นี้บอกทิศทาง และมีเครื่องชี้สถานที่ แต่ไม่ปรากฏสเกล ความกว้าง ความลึก ของแม่น้ำ� ไม่บอกตำ�แหน่งเส้นรุ้งเส้นแวง และไม่บอกระยะทาง อย่างไรก็ตาม ในการเจรจาเพื่อกำ�หนดเขตแดนทางน้ำ�ตามลำ�น้ำ�โขงนั้น ทั้งไทยและลาวยังคงมีความเห็นแตก ต่างกันเกี่ยวกับวิธีการทางด้านเทคนิคในการถ่ายทอดแนวเส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่เส้นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศสใน แม่น้ำ�โขง (Tracé de la Frontière Franco-Siamoise du Mékong) ลงในภูมิประเทศจริง ฝ่ายลาวได้เสนอให้ใช้วิธีการ ทำ�เขตแดนคงที่ (fixed boundary line) ตามแผนที่เดิม แต่ฝ่ายไทยเห็นว่าควรจะใช้เส้นเขตแดนผันแปรตามร่องน้ำ�ลึก ที่เป็นจริงในปัจจุบัน เพราะในความเป็นจริงทางธรรมชาตินั้นร่องน้ำ�มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ข้อดีของการกำ�หนดเส้นเขตแดนทางน้ำ�คงที่คือทั้งฝ่ายอาจจะไม่ต้องโต้เถียงกันมากเกี่ยวกับการขีดเส้นเขตแดน แต่ข้อเสียของการกำ�หนดเส้นเขตแดนแบบคงที่นี้ก็มีมากเพราะจะทำ�ให้เกิดความขัดแย้งกับถ้อยคำ�สนธิสัญญาได้ง่ายกล่าว คือ สนธิสัญญาปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) กำ�หนดให้ใช้ร่องน้ำ�ลึกเป็นเส้นเขตแดน แต่แผนที่นั้นได้กำ�หนดเส้นเขตแดนเอา ไว้แล้ว ข้อเท็จจริงตามธรรมชาติคือ ร่องน้ำ�ลึกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงนั้นมีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และโดยฝีมือมนุษย์เช่นการดูดทรายหรือการเสริมตลิ่งป้องกันการพังทลายก็สร้างผลกระทบต่อร่องน้ำ�ลึกได้ทั้งสิ้น เมื่อร่อง น�้ำ ลึกเปลีย่ นแปลงไป แต่ไม่ได้มกี ารปรับปรุงเส้นเขตแดนย่อมทำ�ให้เส้นเขตแดนและร่องน�้ำ ลึกไม่ตอ้ งตรงกัน ผลของมันคือ เส้นเขตแดนตามที่ระบุเอาไว้ในสนธิสัญญาไม่ตรงกับเส้นเขตแดนที่กำ�หนดไว้แล้วในแผนที่ การสำ�รวจร่องน้ำ�ลึกของแม่น้ำ�โขงในระยะเวลา 50 ปีปรากฏว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปมาก การสำ�รวจในปี พ.ศ. 2502-03 (ค.ศ. 1959-60) โดยสำ�นักอุทกศาสตร์ของแม่น้ำ�โขงเมื่อนำ�มาเปรียบเทียบกับแผนที่ Trace แล้วก็พบว่ามีความ แตกต่างกันมาก (พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์, 2520 หน้า 5) การสำ�รวจฝ่ายเดียวของไทยโดยกองทัพเรือ ด้วยเทคโนโลยีการหยัง่ น�้ำ สมัยใหม่แบบ multibeam sounding echo พบว่าร่องน้ำ�ลึกตามที่ปรากฏจริงในปัจจุบันนั้นแตกต่างจากร่องน้ำ�ลึกที่เคยสำ�รวจโดยคณะกรรมการแม่น้ำ�โขงในปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) และต่างจากเส้นประเมินที่ปรากฏในแผนที่อย่างมาก ดูเหมือนว่ายังไม่มีทางออกที่ชัดเจนนัก สิ่งที่สองประเทศกำ�ลังทำ�อยู่ในเวลานี้ การจัดทำ�แผนที่ฐาน (based map) เพื่อทำ�การถ่ายทอดเส้นเขตแดนตามที่ปรากฏในแผนที่ Trace มาตราส่วน 1 : 25,000 ตามเทคนิคของแต่ละฝ่าย เพื่อใช้เป็น ฐานข้อมูลในการจัดทำ� TOR สำ�หรับการเจรจาเพื่อสำ�รวจเขตแดนกันต่อไป

สรุป คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาวได้ประกาศล่วงหน้าหลายต่อหลายครัง้ ว่า การสำ�รวจและจัดทำ�เขตแดนไทย ลาวอย่างน้อยทางบกจะต้องแล้วเสร็จใน ปี พ.ศ. 2546 แต่จนแล้วจนรอดการดำ�เนินการก็ไม่แล้วเสร็จตามกำ�หนดการเสียที เหตุแห่งความล่าช้านั้นมีหลายประการ แต่สาเหตุหลักที่ทำ�ให้ไม่สามารถจัดทำ�หลักเขตแดนได้ อยู่ที่ปัญหาความเข้าใจ การ ตีความ พยานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญาและแผนที่ไม่ตรงกัน ต่างฝ่ายต่างเลือกใช้เอกสารพยาน หลักฐานเหล่านั้นอย่าง “คัดสรร” โดยคำ�นึงถึง “ผลประโยชน์” แห่งชาติของฝ่ายตนเองเป็นหลัก แม้จะเป็นที่เห็นพ้องกันแล้วว่า เขตแดนไทยและลาวนั้นได้มีการปักปัน (delimit) เอาไว้แล้วตั้งแต่เมื่อ 100 กว่าปี ที่ผ่านมา ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงเส้นเขตแดนระหว่างกันนั้นไม่มีอยู่แล้ว (อย่างน้อยที่สุดก็ในหมู่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ งานหรือในระดับรัฐบาล แม้ว่าคนไทยบางกลุ่มจะปรารถนาอยากจะ “ได้ดินแดน” ส่วนที่เสียไปก็ตาม) แต่ก็ยังไม่สามารถ เห็นพ้องต้องกันได้ทั้งหมดโดยสิ้นข้อสงสัยได้เสียทีว่า เขตแดนที่ว่า กำ�หนดเอาไว้แล้ว นั้นอยู่แห่งหนตำ�บลใดกันแน่ กรณีของไทยและลาวนัน้ อาจจะต่างจากเขตแดนของไทยทีต่ ดิ กับเพือ่ นบ้านด้านอืน่ ๆ ตรงทีไ่ ม่ปรากฏหลักฐานแน่ชดั นักว่าสยามและฝรั่งเศสได้เคยได้จัดทำ�หลักเขตแดนเอาไว้อย่างไร ความคลุมเครือเช่นนี้ในด้านหนึ่งก็เป็นผลดีคือ สามารถ ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ถ่ายทอดถ้อยคำ�ตามสนธิสัญญาคือ “สันปันน้ำ�” ลงไปในภูมิประเทศโดยง่ายและสามารถจัดทำ�หลัก เขตใหม่ได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาหาหลักเขตเดิม 428

ภาค 2: พรมแดนไทย-ลาว: สนธิสัญญา เขตแดน และแผนที่


(บน) ภาพการหยัง่ ร่องน�้ำ ลึกแม่น�้ำ โขงด้วยระบบ Multibeam Sounding Echo ของกองทัพเรือ (ล่าง) ภาพเจ้าหน้าทีป่ ระมวล ผลการหยั่งร่องน้ำ�ลึกของแม่น้ำ�โขง

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี 429


แต่กม็ ขี อ้ เสียคือ ในกรณีทเี่ กิดการอ้างสิทธิทบั ซ้อนกันในบางพืน้ ที่ เช่นกรณีสามหมูบ่ า้ น หรือบ้านร่มเกล้า อันเนือ่ ง มาแต่ความเข้าใจในถ้อยคำ�สนธิสัญญาหรือแผนที่แตกต่างกัน ก็จะประสบปัญหายุ่งยากมากคือไม่สามารถหาหลักอ้างอิงใด มายืนยันความถูกผิดในการตีความหรือความเข้าใจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชัดเจน ในกรณีนี้แผนที่ก็ช่วยอะไรไม่ค่อยได้ แม้ว่าแผนที่ซึ่งปรากฏตีพิมพ์โดยอ้างอิงจากสนธิสัญญาหรืออย่างน้อยที่สุด พอจะกล่าวได้ว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับสนธิสัญญากำ�หนดเขตแดน แต่ประเทศไทยนั้นมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อแผนที่บางชุด บาง ระวางอย่างมาก อันเนื่องมาแต่อิทธิพลของวาทกรรมเสียดินแดนและคดีปราสาทพระวิหาร เจ้าหน้าที่ของไทยมีแนวโน้มจะ ปฏิเสธความถูกต้องชอบธรรมของแผนที่ได้ง่าย หรือ บางกรณีถึงกับปฏิเสธการมีอยู่ของมันเลยด้วยซ้ำ�ไป การใช้งานแผนที่ เพื่อกำ�หนดหรือบ่งชี้เส้นเขตแดนจึงไม่มีความคงเส้นคงวา ในบางกรณีพบว่ามีการอ้างอิงแผนที่หากว่ามันได้ช่วยสนับสนุน ความเชื่อของฝ่ายตนว่าเขตแดนตามที่อ้างนั้นปรากฏชัดอยู่ในแผนที่แล้ว ในบางกรณีมีการปฏิเสธแผนที่ ทั้งในแง่การมีอยู่ ของมันและในแง่ความถูกต้องของมันหากว่าแผนที่นั้นๆ ไม่สนับสนุนความคิดหรือความเชื่อเรื่องเส้นเขตแดนของตน จึง พบว่าในหลายกรณีทั้งสองประเทศหยิบเอาแผนที่ต่างฉบับกันมายืนยันความเชื่อของตน ทั้งที่ก็เป็นที่ทราบดีโดยทั่วกันแล้ว ว่า แผนที่ต่างฉบับกัน ถูกสร้างขึ้นด้วยระยะเวลาที่แตกต่างกันแม้จะด้วยวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันก็จะบ่งบอกเรื่องราวที่ แตกต่างกันมาก เทคโนโลยีในการทำ�แผนที่ต่างกัน ก็จะทำ�ให้แผนที่นั้นบอกสถานที่ต่างๆ แตกต่างกันออกไปด้วย สิ่งเดียวที่ทำ�ให้การกำ�หนดเส้นเขตแดนมีความเป็นไปได้มากที่สุด คือ การประนีประนอมและยืดหยุ่น ถ้อยทีถ้อย อาศัย หากยืนยันความถูกต้องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งข้างเดียว การกำ�หนดเส้นเขตแดน เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ เพราะอีกฝ่าย ย่อมไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตามง่ายๆ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีจะช่วยได้มาก

430

ภาค 2: พรมแดนไทย-ลาว: สนธิสัญญา เขตแดน และแผนที่


บรรณานุกรม

ภาษาลาว กรานท์ เอแวนส์. ประวัติศาสตร์โดยย่อของประเทศลาว: เมืองอยู่ในกลางแผ่นดินใหญ่อาซีอาคเนย์. เชียงใหม่: Silkworm Books, 2006 ทงสะหวาด ประเสิด. ลาวล้านซ้างก่อนฝรั่งเข้ามาปกครอง. เวียงจันทน์:โรงพิมพ์สำ�นักพิมพ์และจำ�หน่ายปิ้มแห่งรัฐ, 2010 กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศลาว. ประมวลสนธิสัญญากำ�หนดเส้นเขตแดนอินดูจีน-สยาม (ลาว-ไทย) 1886-1946. เวียงจันทน์: กระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาว, 1996 สุเนด โพทิสาน, หนูไซ พูมะจัน. ประวัติศาสตร์ลาว (ดึกดำ�บรรพ-ปัจจุบัน). เวียงจัน: กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม, 2000 ภาษาไทย เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์, พลเอก. คำ�บรรยายเรื่องปัญหาชายแดนที่วิทยาลัยป้องกันอาณาจักร 4 ตุลาคม 2520 เอกสารศูนย์อำ�นวย การร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด เขียน ธีระวิทย์, อดิศร เสมแย้ม, ทานตะวัน มโนรมย์. ความสัมพันธ์ไทย-ลาวในสายตาคนลาว. กรุงเทพฯ: สำ�นักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย และ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจและแผนที่ระหว่างสยามประเทศไทยกับประเทศ อาเซียนเพื่อนบ้าน: กัมพูชา-ลาว-พม่า-มาเลเซีย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2554 ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. ประวัติศาสตร์ลาวหลายมิติ. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548 เตช บุนนาค. การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435-2458. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2548 เติม วิภาคย์พจนกิจ. ประวัติศาสตร์อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มูลนิธิโครงการตำ�รา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2546 ทวีเกียรติ เจนประจักษ์. ข้อพิพาทเขตแดนไทย-ลาว. กรุงเทพฯ: สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ มูลนิธิโครงการตำ�รา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2540 ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. สยามประเทศไทยกับดินแดนในกัมพูชาและลาว. กรุงเทพฯ: มูลนิธโิ ตโยต้าประเทศไทยและมูลนิธโิ ครงการ ตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. เอกสารลับที่สุด ปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505-2551. กรุงเทพฯ: มติชน, 2551 สุวิทย์ ธีรศาศวัต. เบื้องลึกการเสียดินแดนและปัญหาปราสาทพระวิหาร จาก ร.ศ. 112 ถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2553 สุวทิ ย์ ธีรศาศวัต. ประวัตศิ าสตร์ลาว 1779-1975. กรุงเทพฯ: สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 สุวิทย์ ธีรศาศวัต. จักรวรรดินิยมเหนือแม่น้ำ�โขง. กรุงเทพฯ: มติชน, 2552 อรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธ (แปล) เดนิส วูด, วอร์ด แอล ไกเซอร์ และ บ๊อบ อบรามม์ส. มองโลกผ่านแผนที่: ร้อยแผ่นร้อยเรื่อง ราว. กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2554 อรอนงค์ ทิพย์พิมล และคณะ. เขตแดนสยามประเทศไทย-มาเลเซีย-พม่า-ลาว-กัมพูชา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, 2554 อัญชลี สุสายัณห์. ความเปลี่ยนแปลงของระบบไพร่และผลกระทบต่อสังคมไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552 อานันท์ ชินบุตร, พันโท. เขาพระวิหารคดีสะท้านใจคนไทยทั้งชาติ. กรุงเทพฯ: ริช, 2553

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี 431


ภาษาอังกฤษ

D.G.E. Hall. A History of South-East Asia. Fourth Edition. London: Macmillan, 1981.

David K. Wyatt. Thailand: A Short History. Second Edition. Chiang Mai: Silkworm Book, 2004. Martin Stuart-Fox. A History of Laos. Cambridge: Cambridge University Press, 1997.

Thongchai Winichakul. Siam Mapped: A history of the geo-body of a nation. Chiang Mai: Silkworm Books, 2004.

สัมภาษณ์และการบรรยาย วศิน ธีรเวชญาณ. ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ. สัมภาษณ์. 13 กรกฎาคม 2535 อ้วน พมมะจัก เอกอัครรัฐทูตลาวประจำ�ประเทศไทย บรรยายสายพัวพันไทย-ลาวในทศวรรษหน้า 19 สิงหาคม 2553 คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

432

ภาค 2: พรมแดนไทย-ลาว: สนธิสัญญา เขตแดน และแผนที่


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.