Boundaries of Siam/Thailand-Malaysia: the Conditions of Achievment

Page 1

เงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำ�เร็จ ในการปักปันและปักหลักเขตแดนไทย - มาเลเซีย Boundaries of Siam/Thailand - Malaysia: the Conditions of Achievement อรอนงค์ ทิพย์พิมล ธนศักดิ์ สายจำ�ปา

การเกิดขึน้ ของรัฐชาติในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำ�ให้เส้นเขตแดนมีความสำ�คัญ มีความหมายและมีความ ศักดิ์สิทธิ์ ทั้งๆ ที่มันเป็นเพียงเส้นสมมติและเป็นมรดกของยุคอาณานิคมที่ขีดเส้นแบ่งเขตแดนให้กับประเทศต่างๆ เพื่อผล ประโยชน์ทางการปกครองและการปกป้องผลประโยชน์ของดินแดนภายใต้อาณานิคมของตนเอง การปักปันและการจัดทำ�หลักเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีเขตแดนติดต่อกันทั้งสี่ด้านอัน ได้แก่ด้านลาว กัมพูชา พม่า และมาเลเซีย ยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องยาวนานจนถึงปัจจุบันและยังไม่สามารถกล่าวได้ว่าได้มี การจัดทำ�หลักเขตแดนสำ�เร็จเรียบร้อยลงด้วยดีแม้แต่ดา้ นเดียว แต่อย่างไรก็ตาม การจัดทำ�หลักเขตแดนด้านทีป่ ระสบความ สำ�เร็จมากที่สุดนั้นคือด้านเขตแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียที่มีการจัดทำ�หลักเขตแดนทางบกเกือบจะเสร็จสมบูรณ์ ยังเหลือ ทีย่ งั ไม่สามารถตกลงกันได้เพียง 2 หลักเท่านัน้ ส่วนข้อพิพาทเรือ่ งเขตแดนทางทะเลในอ่าวไทยนัน้ ในปัจจุบนั ทัง้ สองประเทศ ได้ตกลงใช้ประโยชน์จากพืน้ ทีพ่ พิ าทนัน้ ร่วมกัน ภายใต้ชอื่ ความร่วมมือไทย-มาเลเซียในการพัฒนาพืน้ ทีเ่ ขตไหล่ทวีปทับซ้อน ในอ่าวไทย ( Joint Development Area: JDA) ในขณะที่ปัญหาเขตแดนระหว่างมาเลเซียกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น เช่น อินโดนีเซียและสิงคโปร์ ก็มีข้อพิพาทเรื่อง เขตแดนเช่นกัน (Gullick, 1967, p. 28-29) หากแต่กรณีดังกล่าวยังไม่มีทีท่าว่าจะไม่จบลงได้อย่างสวยงามเฉกเช่นกรณี ปัญหาเขตแดนระหว่างมาเลเซียกับไทย จึงน่าสนใจว่าเพราะเหตุใดการปักปันและการจัดทำ�เขตแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย จึงประสบความสำ�เร็จทั้งๆ ที่ภาษาราชการของทั้งสองประเทศต่างๆ กัน แต่ในทางกลับกัน การเจรจาเรื่องการปักปันและจัด ทำ�หลักเขตแดนระหว่างประเทศที่มีใกล้เคียงกันทางด้านวัฒนธรรมและภาษา หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นภาษาเดียวกันกลับ ไม่ประสบความสำ�เร็จในการเจรจา

1. การปักปันและกำ�หนดเส้นเขตแดนระหว่างไทย - มาเลเซีย แนวพรมแดนทางบกระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย มีความยาวประมาณ 647 กิโลเมตร ประกอบด้วย สันปันน้ำ� 552 กิโลเมตร และลำ�น้ำ� 95 กิโลเมตร จากฝั่งทะเลด้านช่องแคบมะละกาทางด้านตะวันตกไปจนจดฝั่งทะเลด้าน อ่าวไทยทางด้านตะวันออก ทางด้านตะวันตกและตอนกลางแนวพรมแดนทอดไปตามสันปันน้ำ� ส่วนทางด้านตะวันออก กำ�หนดให้ทอดไปตามร่องน้ำ�ลึกของแม่น้ำ�สุไหงโก-ลก การปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียเป็นผลจาก “สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ ค.ศ. 1909” และ “สัญญาว่าด้วยเขตรแดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1909” ระหว่างสยามกับอังกฤษที่ได้ทำ�สัญญาในปี พ.ศ. 24521 (ค.ศ. 1909) โดยสัญญาฉบับนี้ประเทศไทยยอมยกสิทธิการปกครองและบังคับบัญชาเหนือเมืองกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิส ตลอดจนเกาะที่อยู่ใกล้เคียงเมืองเหล่านั้นให้แก่อังกฤษ โดยฝ่ายอังกฤษรับรองว่าจะให้รัฐบาลสหพันธรัฐมลายู จัดการหนี้สินที่รัฐเหล่านั้นมีกับรัฐบาลสยามให้เรียบร้อย และเพื่อแลกกับการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและอำ�นาจ กงสุลในสยาม (สายจิตต์ เหมินทร์, 2507, หน้า 314-315) และที่สำ�คัญซึ่งเป็นประโยชน์กับสยามเป็นอย่างยิ่งก็คือการที่ อังกฤษยอมรับการมีอำ�นาจอธิปไตยของสยามบริเวณตอนเหนือพรมแดนไทย-มาเลเซียหรือหัวเมืองซึง่ เป็นรัฐปาตานีในอดีต กับสตูลซึ่งแยกออกจากเมืองไทรบุรี อรอนงค์ ทิพยพิมล และธนศักดิ์ สายจำ�ปา 543


หลังจากการลงนามในสัญญาดังกล่าว จึงได้มีการดำ�เนินการปักปันและจัดทำ�หลักเขตแดนระหว่างคณะข้าหลวง ปักปันเขตแดนสยามกับสหพันธรัฐมลายูของอังกฤษซึ่งประกอบไปด้วยคณะข้าหลวงปักปันเขตแดนของสยามและอังกฤษ ในปีถัดไป แม้ว่าประเทศมาเลเซียจะเพิ่งเป็นเอกราชและเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับประเทศไทยเมื่อ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) แต่เส้นเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสองถือกำ�เนิดขึ้นกว่าหนึ่งร้อยปีมาแล้ว การกำ�หนดเส้นเขตแดนทางบกโดยสันปันน้ำ�และร่องน้ำ�ลึก ระหว่างไทย - มาเลเซีย การปักปันและจัดทำ�หลักเขตแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียแบ่งได้เป็น 3 ยุคได้แก่ 1. ยุคแรก พ.ศ. 2453-55 (ค.ศ. 1910-12) 2. ยุคที่สอง พ.ศ. 2516-28 (ค.ศ. 1973-85) และ 3. ยุคที่สาม พ.ศ. 2536-53 (ค.ศ. 1993-2010) (ดูรายละเอียดใน อรอนงค์ ทิพย์พิมล และธนศักดิ์ สายจำ�ปา, 2554, หน้า 29-44.) ในยุคแรกนัน้ รัฐสยามและอังกฤษได้แต่งตัง้ คณะข้าหลวงปักปันเขตแดนประกอบด้วยคณะกองข้าหลวงของทัง้ สอง ฝ่าย ซึง่ ได้ทำ�การปักปันและจัดทำ�หลักเขตแดนเพือ่ แบ่งเขตระหว่างอาณาเขตในอำ�นาจการปกครองของอังกฤษกับอาณาเขต ของสยาม คณะข้าหลวงปักปันเขตแดนร่วมได้มีการสร้างหลักเขตแดนไว้ 72 หลัก หลักเสริม 35 หลัก และหมุดหลักฐาน ทางแผนที่อีก 2 หลัก รวม 109 หลัก ยุคแรกนี้ถือว่าเป็น “ยุคสำ�รวจและปักปันเขตแดน” ต่อมาเมื่อมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) มาเลเซียเผชิญหน้ากับ การขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา จึงได้ดำ�เนินนโยบายปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์อย่างหนัก และที่ทำ�ให้ไทย ถูกดึงเข้าไปเกีย่ วข้องกับนโยบายของมาเลเซียในช่วงนีก้ ค็ อื การทีพ่ รรคคอมมิวนิสต์มาลายาถอยร่นเข้ามาอยูใ่ นแนวชายแดน ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ทำ�ให้ทั้งสองประเทศเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องมีการเร่งรัดจัดทำ�แนวเขตแดนระหว่างประเทศให้มี ความชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้หลักเขตแดนที่ได้จัดทำ�ขึ้นตั้งแต่ยุคแรกโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมระหว่างสยาม กับอังกฤษยังมีปญ ั หาอยูห่ ลายประการ เช่น หลักเขตแดนบางหลักมีระยะห่างมากเกินไป ชำ�รุดเสียหายทัง้ โดยตามธรรมชาติ และการกระทำ�ของมนุษย์ ความไม่ชัดเจนของสนธิสัญญาและแผนที่ต่อท้ายสัญญาเขตแดนปี พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) ที่ ทำ�ให้เกิดการตีความต่างกัน เป็นต้น จึงได้มีความพยายามในการจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำ�หลักเขตแดนร่วมระหว่างไทย-มาเลเซียขึ้นในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) รัฐบาลไทยกับมาเลเซียจึงได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการ สำ�รวจเขตแดนทางบกและการปักหลักเขตแดนร่วมกันเพือ่ ให้เส้นเขตแดนมีความชัดเจนแน่นอนยิง่ ขึน้ และมีการจัดตัง้ คณะ กรรมการการจัดทำ�หลักเขตแดนร่วมไทย-มาเลเซีย ( Joint Thailand – Malaysia Land Boundary Committee : LBC) โดยฝ่ายไทยมีผบู้ ญ ั ชาการทหารสูงสุดเป็นประธาน ดังนัน้ การสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนด้านไทยกับมาเลเซียจึงเป็นอำ�นาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของกรมแผนที่ทหาร ภายใต้กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม การทำ�งานร่วมกันของคณะกรรมการจัดทำ�หลักเขตแดนร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย ได้มีการดำ�เนินการสำ�รวจและ ปักปันเขตแดนร่วมกัน โดยสามารถจัดทำ�หลักเขตแดนเพิ่มได้ถึง 12,169 หลัก ซึ่งในยุคที่สองของการสำ�รวจและการจัดทำ� หลักเขตแดนนี้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516-28 (ค.ศ. 1973-85) และถือได้ว่าเป็น “ยุคสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดน” พันโท ชัยรัตน์ ชัยดำ�รงโรจน์ หนึ่งในคณะสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนในยุคที่สองได้กล่าวถึงการสำ�รวจและจัด ทำ�หลักเขตแดนในยุคที่สอง ว่าเป็นไปด้วยความยากลำ�บาก หากเป็นพื้นที่ในเขตภูเขาพวกนายทหารที่จัดทำ�หลักเขตจะต้อง แบกหิน ปูน ทรายและหลักเขต (โดยมากจะเป็นหลักแบบ C และ D)2 ขึ้นไปทำ�การหล่อและหลักเขตแดนบนเขา นอกจาก นี้ในช่วงยุคที่สองยังเป็นช่วงที่ยังมีภัยคอมมิวนิสต์และผู้ก่อความไม่สงบ ทำ�ให้การสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนมีความ เสี่ยงอันตรายเพิ่มยิ่งขึ้น เคยมีเหตุการณ์ที่ทหารในทีมจัดทำ�หลักเขตแดนถูกระเบิดที่มีผู้ก่อความไม่สงบลอบวางเอาไว้ หรือ ในบางครั้งเพื่อความปลอดภัยพวกทหารจะข้ามไปพักแรมในฝั่งมาเลเซียแทนที่จะพักแรมในฝั่งไทย เป็นต้น (สัมภาษณ์ พันโท ชัยรัตน์ ชัยดำ�รงโรจน์, 30 สิงหาคม 2553) 544

ภาค 2: เงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำ�เร็จ ในการปักปันและปักหลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย


การสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนในยุคทีส่ องได้มคี วามก้าวหน้าในการจัดทำ�หลักเขตแดนไปได้เกือบตลอดแนว และ ทำ�ให้เส้นเขตแดนทางบกที่ใช้สันปันน้ำ�ของเทือกเขาสันกาลาคีรีเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทย-มาเลเซียมีความชัดเจนมากขึ้น โดยแนวทางในการแก้ไขปัญหาเขตแดนไทย-มาเลเซียนั้นได้มีการดำ�เนินการผ่านกลไกรัฐในหลายระดับและพยายาม แสวงหาแนวทางในการยุติข้อพิพาทตามแนวทางสันติวิธี ผ่านการเจรจาและดำ�เนินการในระดับต่างๆ จนปัญหาการลุกล้ำ� เขตแดนและพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-มาเลเซีย สามารถสำ�เร็จลุล่วงลงได้อย่างสันติ อาทิเช่น การแก้ไขปัญหากรณีพื้นที่ โน แมนส์ แลนด์ (No man’s Land) ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดัง กล่าวจึงได้มีความร่วมมือกันในการจัดทำ�รั้วเดี่ยวขึ้นบนเส้นเขตแดนไทย-มาเลเซีย ที่ได้มีการปักปันและจัดทำ�หลักเขตไว้ ก่อนหน้านี้ หากแต่เมื่อมีการสำ�รวจแนวเขตแดนเพื่อจัดทำ�รั้วเดี่ยวบริเวณปาดังเบซาร์นั้น กลับพบว่าทางฝั่งไทยมีการสร้าง สิง่ ปลูกสร้างล�้ำ เส้นเขตแดนมาเลเซียใน 3 บริเวณ คือ บริเวณศาลเจ้าแม่กวนอิม ศาลเจ้าฮกเต็ก และด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ การดำ�เนินการแก้ไขปัญหาโน แมนส์ แลนด์ และการที่ไทยสร้างสิ่งปลูกสร้างล้ำ�เส้นเขตแดนนั้น สามารถหาข้อ ยุติได้ภายหลังการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) โดย กำ�หนดให้มกี ารแลกเปลีย่ นพืน้ ทีท่ มี่ กี ารก่อสร้างล�้ำ แดน ซึง่ ฝ่ายไทยจะได้รบั พืน้ ทีท่ ีฝ่ า่ ยไทยก่อสร้างล�้ำ แดนเข้าไปในดินแดน ของมาเลเซีย 3 จุด คือ บริเวณศาลเจ้าแม่กวนอิม (71.95 ตารางเมตร) ศาลเจ้าฮกเต็ก (1,500.25 ตารางเมตร) และด่าน ศุลกากรปาดังเบซาร์ (571.84 ตารางเมตร) ในขณะที่ฝ่ายมาเลเซียจะได้พื้นที่ของไทยบริเวณริมทางรถไฟเป็นจำ�นวนพื้นที่ 2,144.04 ตารางกิโลเมตร ดังนั้นจึงเป็นการแลกเปลี่ยนพื้นที่ในจำ�นวนที่เท่ากัน การดำ�เนินการแก้ไขปัญหาการสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ�เขตแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ในลักษณะดังกล่าว นับได้ ว่าเป็นมิติใหม่ของการแก้ไขปัญหาเขตแดนที่น่าสนใจมาก เนื่องด้วยเป็นการแก้ไขปัญหาตามหลักการ “ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ได้เปรียบซึ่งกันและกัน (No Gain No Loss)” เพราะนอกจากจะไม่กระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทย-มาเลเซียแล้วนั้น ยัง ไม่ก่อให้เกิดการต่อต้านหรือสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนในบริเวณดังกล่าวอีกด้วย (ดูรายละเอียดใน อรอนงค์ ทิพย์ พิมล และธนศักด์ สายจำ�ปา, 2554, หน้า 58-66) ดังนั้น การจัดทำ�หลักเขตแดนทางบกระหว่างไทยกับมาเลเซียจึงนับได้ว่าดำ�เนินการแล้วเสร็จเกือบสมบูรณ์แล้ว ยกเว้นบริเวณหลักเขตที่ 69-72 บนเขาเยลีหรือบริเวณต้นน้ำ�ของแม่น้ำ�โก-ลก ซึ่งทางฝ่ายไทยและมาเลเซียยังไม่สามารถ ตกลงกันได้ในจุดที่จะปักหลักเขตแดนในหลักที่ 70 และ 71 ทำ�ให้ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถให้สัตยาบันรับรองเส้นเขตแดน ระหว่างไทยกับมาเลเซียจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ในยุคทีส่ ามไม่ได้มีการปักปันเขตแดนและจัดทำ�หลักเขตแดนทางบกเพิม่ เติม แต่มีการดำ�เนินการสำ�รวจ ซ่อมแซม บำ�รุงรักษาและสร้างหลักเขตแดนทดแทนหลักเขตแดนที่ชำ�รุด เสียหาย ถูกทำ�ลาย หรือตั้งไม่ตรงตำ�แหน่ง ซึ่งได้ดำ�เนินการ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) จนถึงปัจจุบัน สำ�หรับการกำ�หนดเส้นเขตแดนทางบกโดยใช้ร่องน้ำ�ลึกของแม่น้ำ�โก-ลกเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทย-มาเลเซียนั้น เนือ่ งจากแม่น�้ำ โก-ลกมีความเชีย่ วกรากและมีการเปลีย่ นทางเดินน�้ำ อย่างต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะในช่วงหน้าน�้ำ หลากและบริเวณที่ แม่น้ำ�ไหลลงสู่อ่าวไทย ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและไม่ชัดเจนของเส้นเขตแดน คณะกรรมการการจัดทำ�หลักเขตแดนร่วม ไทย-มาเลเซีย ( Joint Thailand – Malaysia Land Boundary Committee: LBC) ได้ประชุมและตกลงร่วมกันที่จะสำ�รวจ และจัดทำ�เขตแดนคงที่ (fixed boundary) บริเวณริมแม่น้ำ�โก-ลกทั้งสองฝั่งเมื่อปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) และได้มีการจัด ทำ�แผนแม่บทและข้อกำ�หนดอำ�นาจหน้าที่ในการสำ�รวจและปักปันเขตแดนแบบคงที่ตามลำ�น้ำ�โก-ลก โดยได้เริ่มการสำ�รวจ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) และได้ดำ�เนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) โดยได้มีการจัดทำ�หลัก อ้างอิงเขตแดนและหลักอ้างอิงเสริมในสองข้างฝั่งแม่น้ำ�โก-ลกจำ�นวนอย่างละ 1,550 หลัก หรือ 1,550 แนว การกำ�หนดเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทย - มาเลเซีย ในส่วนของเขตแดนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซียนัน้ เป็นผลสืบเนือ่ งโดยตรงจากการปักปันเขตแดนทางบก เนือ่ ง ด้วยการปักปันเขตแดนทางทะเลได้ใช้หลักเขตแดนทางบกตามสัญญาว่าด้วยเขตแดนฯ บริเวณ “ตัง้ แต่รมิ ทเลทีฝ่ ัง่ เหนือของ ปากน�้ำ ปลิศ...ต่อไปตามแนวกลางลำ�น�้ำ โกลกจนถึงทเลทีต่ �ำ บลปากน�้ำ ตะไบ” ดังนัน้ การกำ�หนดเขตแดนทางทะเลฝัง่ อันดามัน จึงถือเอาหลักเขตแดนหลักที่ 1 ระหว่างไทย-มาเลเซีย เป็นจุดเริม่ ต้นของเขตแดนทางทะเล ในขณะทีฝ่ งั่ อ่าวไทยใช้จดุ ทีแ่ ม่น�้ำ อรอนงค์ ทิพยพิมล และธนศักดิ์ สายจำ�ปา 545


การเปลี่ยนทางเดินน้ำ�ของแม่น้ำ�โก-ลก บริเวณอำ�เภอตากใบ หรือปากน้ำ�ตาบา

โก-ลกไหลลงสูอ่ า่ วไทยเป็นจุดเริม่ ต้นของเขตแดนทางทะเล ซึง่ ความมุง่ ประสงค์หลักของการปักปันเขตแดนตามสนธิสญ ั ญา ้ สยาม-อังกฤษ ค.ศ. 1909 นัน้ มีขนึ้ เพือ่ กำ�หนดเขตแดนทางบกเป็นสำ�คัญ ดังนัน้ เส้นเขตแดนบริเวณปากแม่น�ำ โก-ลกจึงกล่าว ถึงเพียงว่า “...ถือเอาร่องน้ำ�ลึกของแม่น้ำ�โก-ลกเป็นเส้นเขตแดนจนบรรจบทะเลเปิด...” ซึ่งหากพิจารณาจากแผนที่แนบท้าย สัญญาแล้วนั้นจะพบว่า แม่น้ำ�โก-ลก ได้ไหลขึ้นไปทางเหนือตามแนวสันทรายที่ทอดยาวมาจากฝั่งมาเลเซีย เส้นเขตแดนจะ ทอดยาวตามร่องน้ำ�ลึกระหว่างสันทรายกับฝั่งขึ้นไปประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วจึงวกไปทางตะวันออกไปบรรจบกับทะเลเปิด หรืออ่าวไทยในแนวตั้งฉากกับฝั่ง ต่อมาภายหลังแม่น้ำ�โก-ลกได้เจาะทะลุออกไปบรรจบอ่าวไทยโดยไม่หักขึ้นไปทางเหนือตามแนวเดิมอีก3 หากแต่ ในระหว่างการปักปันเขตแดนนั้น มาเลเซียยังคงยึดเส้นเขตแดนปากแม่น้ำ�โก-ลกตามแนวเดิม คือ ประมาณเส้นตั้งฉากกับ ฝั่งบริเวณหน้าที่ว่าการอำ�เภอตากใบและมีการจับกุมเรือไทยที่เข้าไปจับปลาเหนือปากแม่น้ำ�โก-ลก ตามแนวลำ�น้ำ�ใหม่ เนื่อง ด้วยมาเลเซียยังคงถือว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวยังคงเป็นอาณาเขตของมาเลเซีย รวมถึงตลอดลำ�น้ำ�โก-ลก จนกระทั่งถึงหน้า ที่ว่าการอำ�เภอตากใบ จากประเด็นปัญหาดังกล่าวได้นำ�ไปสู่การเจรจาเรื่องเส้นเขตแดนทางทะเลบริเวณปากแม่น้ำ�โก-ลก และต่อเนื่อง ออกไปในทะเลอาณาเขตและเขตไหล่ทวีป ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทางการไทยและมาเลเซียจึงได้จัดให้มีการประชุม ร่วมกันขึ้นเมื่อวันที่ 5-6 กันยายน พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) ณ กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร บรรยากาศ การเจรจาเป็นไปด้วยดีและยังผลให้การเจรจาดังกล่าวสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันกล่าวคือ มาเลเซียตกลงยอมเลื่อนเส้น เขตแดนบริเวณปากแม่น้ำ�โก-ลกเดิม ลงมาที่ปากแม่น้ำ�โก-ลกใหม่ (เลื่อนลงมาประมาณ 4 กิโลเมตรหรือบริเวณ Transit Point B) โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะกำ�หนดเส้นเขตแดนในทะเลอาณาเขตตลอดความกว้างและในเขตไหล่ทวีปด้วย โดย 546

ภาค 2: เงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำ�เร็จ ในการปักปันและปักหลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย


ตกลงว่าจะลากเส้นเขตแดนด้วยเส้นมัธยะ แต่มาเลเซียมีข้อแม้ว่าเส้นมัธยะในเขตไหล่ทวีปต้องเริ่มจากปากแม่น้ำ�โก-ลกเดิม เพราะมาเลเซียจะยอมให้เฉพาะเส้นเขตแดนในทะเลอาณาเขตเท่านั้นที่จะเริ่มจากปากแม่น้ำ�โก-ลกใหม่ ฝ่ายไทยตรวจสอบ แล้วเห็นว่ารับได้ตามเงื่อนไขที่มาเลเซียกำ�หนด จากเงื่อนไขดังกล่าวส่งผลให้เส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซียมี ขยักบริเวณทะเลอาณาเขต ไม่ได้เป็นเส้นตรงไปตลอดจนถึงเขตไหล่ทวีป (ดูรายละเอียดในถนอม เจริญลาภ, 2550, หน้า 34) จนประเด็นดังกล่าวได้นำ�ไปสู่พื้นที่ทับซ้อนในทะเลฝั่งอ่าวระหว่างไทยกับมาเลเซียประมาณ 7,520 ตารางกิโลเมตร และ กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมในท้ายที่สุด

2. พื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย (Malaysia-Thailand Joint Development Area: MTJDA) ประเทศไทยมีความยาวของฝั่งทะเลรวมทั้งสิ้น 3,010 กิโลเมตร ประกอบด้วยฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย ยาว 581 กิโลเมตร ฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทยยาว 1,391.5 กิโลเมตร และฝั่งทะเลด้านทะเลอันดามันยาว 1,037.5 กิโลเมตร ประเทศไทยมีเขตแดนทางทะเลติดต่อกับ 6 ประเทศ คือ กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย และ พม่า ตามลักษณะของอาณาเขตที่ติดต่อกัน คือเป็นรัฐที่อยู่ประชิดกันหรือเป็นรัฐที่อยู่ตรงข้ามกัน ในบริเวณอ่าวไทยนั้น ประเทศไทยมีเขตแดนทางทะเลอยูป่ ระชิดกับประเทศกัมพูชาและมาเลเซีย ส่วนเขตแดนทีอ่ ยูต่ รงข้าม ได้แก่ ประเทศเวียดนาม และบางส่วนของประเทศกัมพูชา เส้นเขตแดนในอ่าวไทยเริ่มต้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณบ้านหาดเล็ก ผ่านจุด ต่างๆ ที่ไทยได้ประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปไว้ ไปบรรจบกับจุดเขตแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย บริเวณอำ�เภอตากใบ จังหวัด นราธิวาส ด้านทะเลอันดามัน ประเทศไทยมีอาณาเขตทางทะเลประชิดกับประเทศมาเลเซียและพม่า มีอาณาเขตทางทะเลอยู่ ตรงข้ามกับประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย และบางส่วนของพม่า (ราชบัณฑิตยสถาน, 2545, หน้า 53) ดังนั้น ในตอนต้นของ ส่วนนี้จึงขอกล่าวถึงฐานที่มาและพัฒนาการของกฎหมายทะเลที่ใช้เป็นกฎหมายหลักในการปักปันเขตแดนทางทะเล เพื่อให้ เห็นถึงข้อกำ�หนดกฎเกณฑ์ตา่ งๆ อันเกีย่ วเนือ่ งกับการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย และเป็นพืน้ ฐานต่อการ ทำ�ความเข้าใจการปักปันเขตแดนทางทะเลและอาณาเขตทางทะเลทับซ้อนกัน ซึ่งท้ายที่สุดสามารถยุติข้อพิพาทดังกล่าวด้วย การเจรจาความร่วมมืออันนำ�ไปสู่พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia-Thailand Joint Development Area: JDA) ใน ท้ายที่สุด การประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเลมีจุดเริ่มต้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยองค์การสันนิบาต ชาติ (League of Nations) ได้จัดการประชุมเกี่ยวกับกฎหมายทะเลขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 13 มีนาคม - 12 เมษายน พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ หากแต่ไม่สามารถหาข้อยุตเิ กีย่ วกับความกว้างของทะเลอาณาเขต และควรมีเขตต่อเนื่องจากทะเลอาณาเขตหรือไม่ จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 องค์การสหประชาชาติที่ก่อ ตั้งขึ้นทดแทนองค์การสันนิบาตชาติจึงได้ดำ�เนินการในเรื่องดังกล่าว โดยได้จัดให้มีการประชุมองค์การสหประชาชาติว่า ด้วยกฎหมายทะเลครั้งที่ 1 (The First United Conference on the Law of the Sea: UNCLOS I) ขึ้น ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 28 เมษายน พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) มีผู้แทนจาก 86 ประเทศเข้า ร่วมประชุม ซึง่ ทีป่ ระชุมได้เลือกหัวหน้าคณะผูแ้ ทนไทยคือ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมืน่ นราธิปพงศ์ประพันธ์ (พระองค์ วรรณ) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้นเป็นประธาน ผลจากการประชุมองค์การสหประชาชาติวา่ ด้วยกฎหมายทะเลครัง้ ที่ 1 นำ�มาซึง่ การให้ความเห็นชอบและการลงนาม เพื่อรับหลักการของอนุสัญญา 4 ฉบับ ที่เรียกรวมว่า “อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958” (The United Nations Convention on the Law of the Sea of 1958 : UNCLOS 1958) ประกอบด้วย 1) อนุสัญญาว่าด้วยอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง 2) อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง 3) อนุสัญญาว่าด้วยการประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตในทะเลหลวง และ 4) อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป แต่ยงั คงไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นความกว้างของทะเลอาณาเขตและเขตประมง เนือ่ งด้วยสมาชิกทีเ่ ข้าร่วม อรอนงค์ ทิพยพิมล และธนศักดิ์ สายจำ�ปา 547


เขตแดนทางทะเลของไทยบริเวณอ่าวไทยและพิื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย (ที่มา : Jonathan I. Charney, 1996, หน้า 1104)

ประชุมมีการเสนอความเห็นเกีย่ วกับความกว้างของทะเลอาณาเขตทีแ่ ตกต่างหลากหลาย ตัง้ แต่ขอให้ความกว้างเดิมทีเ่ คยใช้ กันมาแต่โบราณ คือ 3 ไมล์ทะเล จนกระทั่งขอขยายออกไปถึง 200 ไมล์ทะเล ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้ถูกหยิบยกมาพิจารณา อีกครั้งในการประชุมองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลครั้งที่ 2 แต่ก็ยังคงไม่สามารถมีข้อยุติเกี่ยวกับความกว้าง ของทะเลอาณาเขตและเขตประมงอีกเช่นเคย (ดูรายละเอียดในศรัณย์ เพ็ชร์พิรุณ, 2549, หน้า 77-80) ซึ่งประเทศไทยได้ ลงนามในอนุสัญญาทั้ง 4 ฉบับ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) และได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) โดยได้มอบสัตยาบันสารต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) จากปัญหาที่ไม่มีข้อยุติเกี่ยวกับการกำ�หนดความกว้างของทะเลอาณาเขต อีกทั้งบทบัญญัติบางมาตราขาดความ แน่นอน ทำ�ให้มีปัญหาในการตีความอนุสัญญากรุงเจนีวา ค.ศ. 1958 โดย แต่ละรัฐต่างตีความเพื่อความสมประโยชน์ของ ตนให้มากที่สุด ประกอบกับในช่วงทศวรรษ 1960 ได้มีประเทศเกิดใหม่หลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศมหาอำ�นาจใหม่ อย่างสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศต่างๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ยอมเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญากรุงเจนีวา ค.ศ. 1958 ทั้ง 4 ฉบับ เพราะเห็นว่าตนไม่มสี ว่ นเกีย่ วข้องในการร่างอนุสญ ั ญาฯ และเนือ้ หาของอนุสญ ั ญาฯ ดังกล่าวมุง่ ทีจ่ ะพิทกั ษ์ผลประโยชน์ ของประเทศมหาอำ�นาจและประเทศที่มีกำ�ลังทางเรือมากกว่าประเทศกำ�ลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา ดังจะเห็นจากการ ที่ชาติใหญ่พยายามกำ�หนดทะเลอาณาเขตให้แคบ เพื่อที่จะได้มีทะเลหลวงกว้างไว้สำ�หรับการเดินเรือและการประมง ซึ่งชาติ เล็กย่อมเสียเปรียบเนื่องจากขาดเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ดังนั้น หลายประเทศจึงเริ่มเรียกร้องอย่างจริงจังให้มีการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายทะเลในรูปอนุสัญญา ระหว่างประเทศเสียใหม่ (ศรัณย์ เพ็ชร์พริ ณ ุ , 2549, หน้า 80-81) หากแต่ในการประชุมองค์การสหประชาชาติวา่ ด้วยกฎหมาย ทะเลครั้งที่ 2 (UNCLOS II) ก็ยังคงไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในประเด็นความกว้างของทะเลอาณาเขตและเขตเศรษฐกิจ 548

ภาค 2: เงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำ�เร็จ ในการปักปันและปักหลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย


จำ�เพาะ จากปัญหาดังกล่าว ในการประชุมองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลครั้งที่ 3 (UNCOLS III) ที่ประชุม สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติจึงมีข้อมติที่ 2340 (XXII) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) รับรองข้อ เสนอของรัฐบาลประเทศมอลตาทีข่ อให้มกี ารปรับปรุงกฎหมายทะเลโดยยึดหลักพืน้ ฐานทีว่ า่ “ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณพืน้ ท้องทะเลและก้นมหาสมุทรเป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ (common heritage of mankind)” การประชุมองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลครั้งที่ 3 (UNCLOS III) ได้ดำ�เนินการต่อเนื่องเป็น ระยะเวลาประมาณ 9 ปี คือระหว่างปี พ.ศ. 2516-25 (ค.ศ. 1973-82) รวมทั้งสิ้น 11 สมัยประชุม ในที่สุดที่ประชุมได้มี มติเห็นชอบและรับรองร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) (The United Nations Convention on the Law of the Sea of 1982) ในสมัยประชุมที่ 11 ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวัน ที่ 22-24 กันยายน พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) โดยกำ�หนดให้เปิดลงนามอนุสัญญาฯ ระหว่างวันที่ 6-10 ธันวาคม พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) ณ เมืองมองเตโก เบย์ ประเทศเจเมกา มีผู้แทน 119 ประเทศร่วมลงนาม (ศรัณย์ เพ็ชร์พิรุณ, 2549, หน้า 81-82) ในส่วนของประเทศไทยนั้นได้ลงนามเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) หากแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน ในอนุสัญญาฯ ดังกล่าว ในขณะที่มาเลเซียได้ลงนามเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) เช่นกัน และได้ให้ สัตยาบันเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ภายใต้พัฒนาการของกฎหมายทะเลและการพัฒนาเศรษฐกิจจึงทำ�ให้รัฐแต่ละรัฐมุ่งแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ ทางทะเล เพื่อนำ�มาใช้ในการพัฒนาประเทศในแต่ละด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) เมื่อ สหรัฐอเมริกามีการค้นพบปิโตรเลียมมูลค่ามหาศาลในเขตไหล่ทวีปบริเวณอ่าวเม็กซิโก ประกอบกับการที่อินโดนีเซียซึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยและมาเลเซียก็ได้มีการสำ�รวจและค้นพบน้ำ�มันในเขตไหล่ทวีป ด้วยเหตุนี้ ยิ่งทำ�ให้ไทยและ มาเลเซียมีความตื่นตัวและสนใจอย่างจริงจังที่จะขยายสิทธิครอบครองปิโตรเลียมในพื้นที่เขตไหล่ทวีปของตนเองบ้างเช่น เดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตไหล่ทวีปทางด้านอ่าวไทย เพราะอ่าวไทยมีลักษณะทางธรณีวิทยาเหมาะสมที่จะเป็นแหล่ง กำ�เนิดปิโตรเลียม ดังนั้น ในประการแรกไทยและมาเลเซียจึงได้ด�ำ เนินการโดยการกำ�หนดอธิปไตยเหนือเขตไหล่ทวีปของตน บริเวณอ่าวไทย ต่อจากนัน้ ทัง้ สองประเทศก็ได้ให้สทิ ธิแก่บริษทั ปิโตรเลียมเข้ามาดำ�เนินการสำ�รวจและผลิตปิโตรเลียมในเขต ไหล่ทวีปในอ่าวไทยทีไ่ ด้กำ�หนดไว้ โดยทีก่ ารแบ่งเขตแดนในทะเลอาณาเขตระหว่างไทยกับมาเลเซียยังมิได้มกี ารเจรจาทำ�ความ ตกลงกันอย่างเป็นทางการเลย (ดลยา เทียนทอง, 2545, หน้า 17) หากแต่เมื่อมีการสำ�รวจเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับ มาเลเซียกลับพบว่ามีพื้นที่เขตไหล่ทวีปทับซ้อนกันในบริเวณอ่าวไทย จนกระทั่งทำ�ให้ทั้งไทยและมาเลเซียต้องสั่งให้บริษัทที่ ได้สิทธิในการสำ�รวจและผลิตปิโตรเลียมระงับการดำ�เนินการไว้จนกว่าการเจรจาเพื่อปักปันเขตแดนดังกล่าวจะแล้วเสร็จ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงนำ�มาซึ่งการประชุมเจรจาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในหลายครั้ง แต่ก็ยังคงไม่ สามารถหาข้อยุตลิ งตัวร่วมกันได้ ยังผลให้การดำ�เนินการสำ�รวจและผลิตปิโตรเลียมล่าช้าไปด้วย ดังนัน้ ทางมาเลเซียจึงได้มี ข้อเสนอว่าควรจะหาทางทำ�ความตกลงกันเพือ่ แสวงหาทรัพยากรร่วมกันหรือการพัฒนาพืน้ ทีร่ ว่ มกันนัน่ เอง ส่วนในเรือ่ งการ กำ�หนดเส้นเขตแดนนั้นเป็นเรื่องที่ควรพักไว้ก่อน ซึ่งฝ่ายไทยก็เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว เพราะฉะนั้นจึงเท่ากับว่าการใช้ วิธีการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกันดังกล่าวเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกันและลดความขัดแย้งระหว่างกันไว้ ชั่วคราว และที่สำ�คัญจะทำ�ให้ทั้งสองประเทศสามารถที่จะนำ�ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซธรรมชาติมาใช้ได้ อย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่ตอ้ งเสียเวลารอให้การแบ่งเขตไหล่ทวีปในส่วนทีท่ บั ซ้อนเสร็จสิน้ ก่อน นำ�มาซึง่ การลงนามในบันทึก ความเข้าใจระหว่างดาโต๊ะ ฮุสเซ็น ออนน์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กับพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรีไทย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) เพื่อจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ ทะเลในบริเวณที่กำ�หนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทย (ดูรายละเอียดในดลยา เทียนทอง, 2545, หน้า 83-87) ดังปรากฏเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมบริเวณอ่าวไทย ปัญหาที่เกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่พัฒนาร่วมนั้น มีสาเหตุเนื่องจากทั้งไทย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนามต่างก็ ประกาศเขตไหล่ทวีป (มีพิกัด) และเขตเศรษฐกิจจำ�เพาะ (ระยะทาง 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานโดยไม่พิกัด-Maximum Claim) ซึ่งการประกาศเขตทั้งสองทำ�ให้มีพื้นที่ทับซ้อนกัน โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจจำ�เพราะมีพื้นที่ทับซ้อนกันมากจนไม่มี ประเทศใดยอมรับได้ จึงยอมรับเขตไหล่ทวีปเป็นเขตน่านน้ำ�ในการแสวงประโยชน์ ซึ่งก็ยังมีปัญหาเพราะเขตไหล่ทวีปยัง ซ้อนทับกันอยู่ สำ�หรับด้านไทย-มาเลเซียได้มีการเจรจาตกลงกันได้แล้วเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นพื้นที่สามเหลี่ยมทางด้าน อรอนงค์ ทิพยพิมล และธนศักดิ์ สายจำ�ปา 549


ตะวันออกของจังหวัดนราธิวาสที่ยังเป็นปัญหาอยู่ ไทยกับมาเลเซียจึงทำ�ความตกลงกันเป็นการชั่วคราว โดยเรียกพื้นที่นี้ว่า “พื้นที่พัฒนาร่วม” แสวงผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นดินใต้ทะเลร่วมกัน (ไกรสร ทิมเจริญ, 2539, หน้า 26) แม้ว่ามาเลเซียและไทยจะมีปัญหาการอ้างสิทธิ์ทับซ้อนในพื้นที่เขตแดนทางทะเลอันเนื่องมาจากสภาพทางด้าน ภูมิศาสตร์ที่ซับซ้อนแต่ทั้งสองฝ่ายใช้วิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ด้วยการเจรจา (Charney and Alexander (eds.), 1996A, p. 1093) ในรายงานของสมาคมกฎหมายนานาชาติแห่งอเมริกาซึง่ ได้ตพ ี มิ พ์รายงานเกีย่ วกับเขตแดนทางทะเลของประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้วิเคราะห์ว่าในการเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลนั้นมาเลเซียดูเหมือนจะใจกว้างกับไทยอย่างยิ่งแต่ไม่แน่ชัดว่าเพราะ เหตุใด (Charney and Alexander (eds.), 1996B, p. 1449) การแก้ปญ ั หาข้อพิพาททางด้านเขตแดนทางทะเลทีไ่ ม่สามารถตกลงกันได้ดว้ ยการเจรจาโดยให้พืน้ ทีอ่ า้ งกรรมสิทธิ์ ทับซ้อนดังกล่าวเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นเป็นข้อตกลงในการแก้ปัญหาด้วยการ ตกลงให้เป็นพืน้ ทีพ่ ฒ ั นาร่วมกันทีเ่ กิดขึน้ เป็นฉบับแรกทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างประเทศในองค์กรอาเซียน หลังจากนัน้ มาเลเซียได้จดั ทำ�ข้อตกลงความร่วมมือในลักษณะเดียวกันนี้กับฟิลิปปินส์และเวียดนามเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเล (Forbes, 2001, p. 173)

3. ปัจจัยและเงื่อนไขแห่งความสำ�เร็จ ในการปักปันและปักหลักเขตแดนไทย - มาเลเซีย การปักปันและจัดทำ�หลักเขตแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียที่กล่าวได้ว่ามีความก้าวหน้าและประสบความสำ�เร็จ มากที่สุดในการจัดทำ�หลักเขตแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งสี่ด้านนั้น เกิดจากเหตุปัจจัยหลายประการได้แก่ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซียเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) ซึ่งมีอายุเท่ากับประเทศมาเลเซีย นั่นย่อมสะท้อนให้เห็นว่าประเทศเพื่อนบ้านทั้งสองที่มีพรมแดนติดกัน นี้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตั้งแต่มาเลเซียเป็นเอกราช แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสองรัฐนั้นสามารถสืบย้อนไปได้ยาวไกลกว่า ปีทมี่ าเลเซียได้รบั เอกราชจากอังกฤษ นัน่ คือ ตัง้ แต่ความสัมพันธ์ในยุครัฐจารีตระหว่างรัฐไทยกับมลายูในช่วงคริสต์ศตวรรษ ที่ 17 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ที่กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียนเสนอว่าเป็นความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการหรือความสัมพันธ์ใน แบบประเทศราช (Kobkua Suwannathat-Pian, 1986) และต่อมาก็เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสยามกับสหพันธรัฐมลายู ในการปกครองของอังกฤษที่มีขึ้นก่อนหน้าที่จะเกิดประเทศมาเลเซียก็เป็นไปด้วยความราบรื่น โดยเฉพาะช่วงที่มีการปักปัน เขตแดนระหว่างรัฐสยามกับสหพันธรัฐมลายูของอังกฤษในช่วงปี พ.ศ. 2453-55 (ค.ศ. 1910-12) โดยการทำ�งานร่วมกัน ของคณะข้าหลวงปักปันเขตแดนของสยามกับอังกฤษ ตัวแทนจากสยามและอังกฤษทำ�งานร่วมกันอย่างดีอย่างมีมิตรไมตรี ต่อกัน จากรายงานของนายร้อยเอก หลวงรณรัฐวิภาคกิจซึ่งได้เป็นกองข้าหลวงปักปันเขตแดนของสยามในคราวไปปักปัน เขตแดนเมื่อ รศ. 130-131 หรือเมื่อปี พ.ศ. 2454-55 (ค.ศ. 1911-12) ความตอนหนึ่งว่า “กองข้าหลวงฝ่ายอังกฤษได้เดินทางมาถึง มิศเตอร์ดับยูเอ.ดี.เอ็ดเวิดสเป็นหัวน่ามาในการนี้ แลมีแขกแมะยิดเจ้าพนักงานฝ่ายเกษตรข้างเมืองเคดา (ไทรบุรี) มาด้วย มิศเตอร์เอ็ดเวิดสผู้นี้อายุ ประมาณ 30 ปี พูดภาษาไทยได้ ด้วยเคยรับราชการอยู่กรมแผนที่บางกอก เป็นผู้ที่มีอัฒยาไศรยดี ใจคอโอบอ้อมและซื่อสัตย์มั่นคง ชอบคุยสนุกดิ์อย่างผู้ดี เมื่อรับราชการอยู่กรุงเทพฯ ไม่คุ้นเคยกับ ข้าพเจ้า แต่เมื่อได้พบกันคราวนี้แสดงกิริยาเหมือนอย่างได้คุ้นเคยกันมาแล้วอย่างสนิท” (กองจดหมายเหตุแห่งชาติ) การเสด็จพระราชดำ�เนินเยือนสหพันธรัฐมาเลเซียของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 20-27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ถือเป็นการเสด็จพระราชดำ�เนิน เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการของประเทศทั้งสอง และหลังจาก 550

ภาค 2: เงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำ�เร็จ ในการปักปันและปักหลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย


นั้นพระราชวงศ์ไทยได้เสด็จพระราชดำ�เนินเยือนมาเลเซียรวมทั้งสิ้น 10 ครั้งนับจากปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ถึงปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ขณะทีส่ มเด็จพระรามาธิบดีมาเลเซียและพระราชวงศ์กไ็ ด้เสด็จพระราชดำ�เนินเยือนประเทศไทยรวมทัง้ สิน้ 6 ครั้งนับจากปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) ถึงปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) นอกจากนี้ยังมีการผลัดกันเดินทางไปเยือนประเทศ ทั้งสองระหว่างนายกรัฐมนตรี เอกอัครราชทูตและเจ้าหน้าที่ในระดับต่างๆ อยู่เป็นประจำ�สม่ำ�เสมอ (Measures, 2007, p. 64, 150-159)

นอกจากความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐแล้ว ความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างผู้นำ�ก็ส่งผลต่อความสำ�เร็จในการจัด ทำ�หลักเขตแดนหรือการแก้ปัญหาด้วยสันติ ดังเช่นที่ทำ�ให้การเจรจาแก้ไขข้อพิพาทในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยได้ข้อ สรุปว่าไทยกับมาเลเซียจะใช้พื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวนั้นเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกันระหว่างไทยกับมาเลเซีย ความสำ�เร็จดังกล่าวนี้ พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภได้แสดงความเห็นไว้ว่า “ปัจจัยทีท่ �ำ ให้การเจรจาพืน้ ทีพ่ ฒ ั นาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียประสบความสำ�เร็จ คือความ สัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างนายกรัฐมนตรีมาเลเซียกับนายกรัฐมนตรีไทย พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเคยเป็นหัวหน้าคณะปักปันเขตแดนทำ�ให้ได้รู้จักกับฮุสเซน ออน ซึ่งในขณะ นั้นได้ดำ�รงตำ�แหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ทั้งสองท่านจึงได้มีความคุ้นเคยกันในทางส่วนตัว และทั้งสองท่านได้นัดคุยกันในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979)” (สัมภาษณ์พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ, 20 สิงหาคม 2554) สถานการณ์ทางการเมืองภายในและระหว่างประเทศ สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศก็สง่ ผลต่อการเจรจาจัดทำ�หลักเขตแดน ดังเช่นกรณีการเจรจาระหว่างคณะเจรจา ทางด้านเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศในเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) เป็นไปด้วยดี การเจรจามีความคืบ หน้าอย่างยิ่ง ซึ่งการเจรจาได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการที่ทางการไทยอ้างสิทธิในเกาะโลซิน โดยทางมาเลเซียยอมรับให้มีการบันทึก ว่าประเทศไทยได้อา้ งสิทธิทะเลอาณาเขตของไทยโดยยึดจากเกาะโลซิน ซึง่ หมายความว่าคณะเจรจาฝ่ายไทยยืนยันว่าเขตแดน ของไทยคือเส้นเขตล่างของพื้นที่ทับซ้อน แม้ว่าจะไม่ได้มีการตกลงกันได้หรือได้ข้อสรุป แต่ก็นับได้ว่ามีความก้าวหน้าซึ่งเป็น ประโยชน์ต่อประเทศไทยในภายหลัง โดยที่ประชุมได้สรุปว่าจะมีการเจรจากันครั้งต่อไปในปี พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ที่กรุง กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กล่าวได้ว่าบรรยากาศในการเจรจาเมื่อปี พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) เป็นไปอย่างราบรื่น เพราะ ไม่มีปัญหาทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ รวมถึงไม่มีปัญหาทางด้านการเมืองภายในประเทศของประเทศทั้งสองที่จะเป็น อุปสรรคต่อการเจรจา (สัมภาษณ์พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ, 20 สิงหาคม 2554) “พอถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) มาเลเซียได้เตือนและเชิญไทยให้ไปเจรจากันต่อ ซึ่งทางคณะผู้เจรจาของประเทศไทยต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและอื่นๆ ประมาณ 5 หมื่นกว่าบาท แต่ปรากฏว่า ณ วันนั้นกำ�ลังเป็นช่วงสิ้นปีงบประมาณพอดี ที่หน่วยงานจะต้องส่งเงินคืนไปยังกระทรวง การคลัง ทำ�ให้ไม่ได้ไปเพราะไม่มีเงินไม่มีงบประมาณ และหลังจากนั้นได้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 (ค.ศ. 1973) ในประเทศไทยเสียก่อน การเจรจาจึงหยุดไป ซึ่งทำ�ให้เกิดความเสียหายเป็นร้อยล้านแก่ ประเทศไทยจากการที่ไม่สามารถเดินทางไปเจรจาในปีนั้นได้” สัมภาษณ์พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ, 20 สิงหาคม 2554) ประเทศไทยเพิ่งกลับมาตั้งหลักได้ในสมัยรัฐบาลของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช และเมื่อถึงสมัยรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) เราก็ติดต่อมาเลเซียให้มีการเจรจากันเรื่องเขตแดนทางทะเล ในขณะ นัน้ มาเลเซียไม่พร้อมเจรจาเนือ่ งจากมีปญ ั หาภายในประเทศ แต่อย่างไรก็ตามก็ได้มกี ารเจรจากันในปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ หนึ่งในคณะเจรจาของฝ่ายไทยได้อธิบายให้ฟังว่า อรอนงค์ ทิพยพิมล และธนศักดิ์ สายจำ�ปา 551


“ในปี 2521 มีการประชุมกันที่มาเลเซีย ตกลงกันไม่ได้จนมืดค่ำ� ....ถ้าตอนนั้นตกลงแบ่ง ครึ่งไทยอาจจะตกลงไปแล้ว ในที่สุดจะไม่มีการบันทึกอะไรเลย แต่ไทยบอกว่าไม่ได้ ให้ทั้งสองฝ่าย บันทึกลงไปว่าทั้งสองฝ่าย claim ว่าอย่างไร เราก็บอกว่าถ้าอย่างนั้นเราไม่เอานะเส้นนี้ เราจะเอาเส้นที่ เรา claim ไว้เดิม ในเมื่อคุณไม่ให้ effect เกาะโลซิน เราก็จะ claim ทางไทยจึง claim ว่า .... ซึ่งโชคดี มากที่มาเลเซียยอมให้บันทึก effect เกาะโลซิน” (สัมภาษณ์พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ, 20 สิงหาคม 2554) จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองของแต่ละประเทศส่งผลต่อการเจรจาเรื่องเขตแดนของทั้งสองประเทศ หาก สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศสงบเรียบร้อยก็จะทำ�ให้การเจรจาเป็นไปได้อย่างราบรื่น แต่ถ้าหากเกิดวิกฤตภายใน ประเทศ ดังเช่นช่วงหลังเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ก็ทำ�ให้การเจรจาต้องหยุดชะงักไป แม้ว่าจะไม่ส่งผลต่อการ เจรจาโดยตรง แต่กอ็ าจทำ�ให้ผลของการเจรจาเปลีย่ นไป จากช่วงเวลาทีเ่ ปลีย่ นไป ถ้าหากว่าทางคณะเจรจาของไทยได้เดินทาง ไปเจรจาในเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2516 ผลของการเจรจาอาจเป็นอย่างอื่นซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากกว่าที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน สถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศก็สง่ ผลต่อการเจรจาและการจัดทำ�หลักเขตแดนเช่นกัน ดังเช่นในช่วงการ จัดทำ�เขตแดนทางบกยุคที่สอง พ.ศ. 2516-28 (ค.ศ. 1973-85) นั้นประเทศมาเลเซียเผชิญหน้ากับการเคลื่อนไหวของพรรค คอมมิวนิสต์มาลายาจึงทำ�ให้ทั้งสองประเทศร่วมมือและตั้งใจที่จะจัดทำ�หลักเขตแดนให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากแต่ การจัดทำ�หลักเขตแดนในยุคนี้มีความยากลำ�บาก เพราะต้องทำ�ประสบกับการถูกซุ่มโจมตีจากพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โจรจีนคอมมิวนิสต์ เป็นต้น หรือในบางครั้งคณะทหารผู้ทำ�การสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนถูก กับระเบิดหรือถูกลอบยิงอีกด้วย (สัมภาษณ์อดีตเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั งิ านจัดทำ�หลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย, กรมแผนทีท่ หาร ยศ ปัจจุบันพลตรี, 5 กันยายน 2554)4 เรื่องทางเทคนิคและสภาพภูมิประเทศ นอกจากปัจจัยทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศไทยกับมาเลเซีย ที่ส่งผลให้การเจรจาเรื่องปัญหาเขตแดนประสบความสำ�เร็จแล้ว เรื่องทางด้านเทคนิคในการทำ�งานก็มีความสำ�คัญอย่างมาก เช่นกัน เงื่อนไขอีกประการหนึ่งที่ทำ�ให้การเจรจาเรื่องการจัดทำ�เขตแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียประสบความสำ�เร็จคือการที่ ทำ�ให้เรือ่ งของการเจรจาเป็นเรือ่ งของเทคนิคโดยแท้จริง หมายความว่าในการเจรจาเรือ่ งเขตแดนนัน้ ทัง้ สองประเทศพูดคุยกัน ถกเถียงกันโดยวางอยู่บนพื้นฐานของเทคนิค เช่น ยึดตามสนธิสัญญาระหว่างกรุงสยามและอังกฤษในปี พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909), การทำ�งานโดยคณะผูเ้ ชีย่ วชาญด้านแผนทีแ่ ละการจัดทำ�หลักเขตแดน และไม่มกี ารนำ�เอาการเมืองเข้าไปเกีย่ วข้อง กับเรื่องเขตแดน ทั้งสองฝ่ายมีการตั้งคณะกรรมการเขตแดนร่วม มีการวางแผนการทำ�งานที่ชัดเจน ทางฝ่ายมาเลเซียเองก็ ต้องการให้เกิดความชัดเจนในเส้นเขตแดนและเขตแดน ด้านมาเลเซียเป็นเขตแดนกับประเทศด้านแรกทีไ่ ทยเริม่ ทำ�กับประเทศ เพื่อนบ้าน หมายความว่าเริ่มสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นจากการปักปันเขตแดนในสมัยที่สยามทำ� กับอังกฤษและฝรั่งเศส ในขณะที่เขตแดนด้านพม่าเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) ลาวเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) และ กัมพูชาเริม่ ปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) (สัมภาษณ์อดีตเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั งิ านจัดทำ�หลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย, กรมแผนที่ ทหาร ยศปัจจุบันพันเอก, 5 กันยายน 2554) การทำ�งานสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนมีความยากลำ�บากทั้งจากปัญหาความไม่สงบจากกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ ในพื้นที่และสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่าเขาในบางช่วงทำ�ให้การเข้าสู่พื้นที่มียากลำ�บาก ในบางพื้นที่ต้องใช้เวลาเดินทางถึงสอง วันกว่าจะเข้าถึงพื้นที่ เป็นต้น ตลอดจนต้องผจญสัตว์ต่างๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สภาพภูมิประเทศระหว่างไทยกับมาเลเซีย ก็ทำ�ให้การจัดทำ�หลักเขตแดนทำ�ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากว่าสันปันน้ำ�ที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสนธิสัญญา เมือ่ ปี พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) มีความชัดเจนมาก ทำ�ให้การสำ�รวจและการจัดทำ�หลักเขตแดนไม่มปี ญ ั หาใดๆ ยกเว้นในหลักที่ 70-71 ที่ยังคงมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องตำ�แหน่งที่ตั้งของหลักเขตแดน แต่ทั้งสองประเทศก็ไม่ได้รีบเร่งจะให้ได้ข้อยุติใน 552

ภาค 2: เงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำ�เร็จ ในการปักปันและปักหลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย


ขณะทีท่ งั้ สองฝ่ายยังเห็นไม่ตรงกัน โดยทีไ่ ด้ตกลงกันว่าจะพักเรือ่ งหลักเขตแดนทีย่ งั มีปญ ั หานีเ้ อาไว้กอ่ น (สัมภาษณ์อดีตเจ้า หน้าที่ปฏิบัติงานจัดทำ�หลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย, กรมแผนที่ทหาร ยศปัจจุบันพันเอก, 5 กันยายน 2554) ทัศนคติของคณะผู้ทำ�งานและเจรจาในการจัดทำ�หลักเขตแดน การเจรจาและการจัดทำ�เขตแดนทั้งทางบกและทางทะเลสำ�เร็จและมีความก้าวหน้าเพราะทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน ในคณะเจรจาและจัดทำ�หลักเขตแดนที่เอื้อต่อความสำ�เร็จในการทำ�งาน แม้ว่าภาษาแม่ของแต่ละฝ่ายจะแตกต่างกัน ทำ�ให้ใน การเจรจาทั้งสองฝ่ายต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการเจรจา แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคใดๆ และเมื่อทำ�งานร่วมกันไป นานๆ ก็จะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่สามารถใช้ภาษามลายูได้ หรือบางทีเจ้าหน้าที่ฝ่ายมาเลเซียก็สามารถใช้ภาษาไทยได้ การใช้ ภาษาท้องถิน่ ได้ท�ำ ให้บรรยากาศการทำ�งานดีขนึ้ (สัมภาษณ์เจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั งิ านจัดทำ�หลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย, กรมแผนที่ ทหาร ยศปัจจุบันพันโท, 5 กันยายน 2554) นอกจากนี้จากความยากลำ�บากที่ทั้งสองฝ่ายต้องทำ�งานร่วมกันในสภาพพื้นที่ที่ ยากลำ�บากทำ�ให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคณะผู้ทำ�งานทั้งสองฝ่าย เกิดเป็นความรู้สึกที่ดีต่อกันและรู้สึกผูกพันกัน ยังมี การติดต่อกันบ้าง มาเยีย่ มกันบ้างแม้วา่ จะไม่ได้ท�ำ งานลงพืน้ ทีแ่ ล้ว และเมือ่ แต่ละฝ่ายได้เลือ่ นขัน้ เลือ่ นตำ�แหน่งก็จะรูส้ กึ ยินดี ด้วยในฐานะทีเ่ คยทำ�งานร่วมกันมา เคยลำ�บากมาด้วยกัน และมีความสัมพันธ์ทดี่ ตี อ่ กัน (สัมภาษณ์อดีตเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั งิ าน จัดทำ�หลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย, กรมแผนที่ทหาร ยศปัจจุบันพันเอก, 5 กันยายน 2554) เช่นเดียวกับพลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ ที่ได้กล่าวถึงการทำ�งานในคณะผู้เจรจาจากฝ่ายไทยว่า “บรรยากาศในการทำ�งานดีมาก เพราะไม่มีปัญหาทางด้าน การเมือง” (สัมภาษณ์พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ, 20 สิงหาคม 2554)

บทสรุป การปักปันและปักหลักเขตแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย นับได้ว่าเป็นมิติใหม่ของการแก้ไขปัญหาเขตแดนไทยกับ ประเทศเพื่อนบ้าน ดังปรากฏให้เห็นว่าแนวทางในการแก้ไขปัญหาในหลายกรณีสามารถนำ�มาซึ่งข้อยุติลงตัวและก่อให้เกิด ประโยชน์กบั ทัง้ สองประเทศได้อย่างน่าสนใจ โดยมีเงือ่ นไขและปัจจัยสำ�คัญอยูห่ ลายประการ ทัง้ ทีเ่ กีย่ วข้องกับความสัมพันธ์ ส่วนตัวระหว่างผู้น�ำ ของทั้งสองประเทศ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคณะเจรจาฯ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ งานในการจัดทำ�หลักเขตแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่สำ�คัญคือการเจรจาเรื่องเขตแดนต้องไม่ถูกทำ�ให้กลายเป็นประเด็น ทางการเมืองทัง้ ภายในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศ เหตุเพราะหากการเรือ่ งเขตแดนถูกทำ�ให้กลายเป็นประเด็นทางการ เมืองแล้วนัน้ ก็จะส่งผลให้การดำ�เนินการต้องสะดุดหยุดลงโดยปริยาย และอาจทำ�ให้การเจรจาเพือ่ แก้ไขปัญหาดังกล่าวกลาย เป็นปัญหาที่ลุกลามบานปลายและอาจขยายตัวจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยลำ�พัง จนกระทั่งต้องนำ� ประเด็นปัญหาดังกล่าวเข้าสูก่ ระบวนการในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างประเทศในท้ายทีส่ ดุ ดังนัน้ หากเราทำ�ความเข้าใจ ในเบื้องต้นว่าการเจรจาและการจัดทำ�หลักเขตแดนเป็นเรื่องทางเทคนิค มิใช่เป็นการเจรจาหรือการต่อรองในเชิงการเมือง แล้วนั้น เราจะพบว่าการกำ�หนดเส้นเขตแดนทั้งทางบกและทางทะเลล้วนแล้วแต่มีหลักการ วิธีการ และมาตรฐานในการ ทำ�งานที่ทั้งฝ่ายต้องเห็นพ้องต้องกันในการกำ�หนดแนวเส้นเขตร่วมกัน เช่น การจัดทำ�หลักเขตแดนตามแนวสันปันน้ำ�หรือ ร่องน้ำ�ลึก ก็จำ�เป็นต้องดำ�เนินการตามหลักการและวิธีการเพื่อแสวงหาแนวเส้นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่า ณ จุดดังกล่าวเป็นจุดที่สมควรกำ�หนดเป็นเส้นเขตแดน เป็นต้น ดังนั้น เงื่อนไขและปัจจัยของความสำ�เร็จในการปักปันและปักหลักเขตแดนจึงจำ�เป็นต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไข และปัจจัยหลายประการผสานกัน การปักปันและปักหลักเขตแดนไทย-มาเลเซียจึงน่าจะเป็นแนวทางหนึ่งซึ่งน่าสนใจในการ ใช้เป็นตัวแบบในการแก้ไขปัญหาเรือ่ งเขตแดนไทยกับประเทศเพือ่ นบ้านทีย่ งั คงไม่สามารถหาข้อยุตลิ งตัวได้ในหลายพืน้ ที่ ทัง้ ในส่วนของไทย-พม่า ไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา และอาจนำ�มาซึง่ ความสำ�เร็จเฉกเช่นทีเ่ กิดขึน้ กับเส้นเขตแดนไทย-มาเลเซีย ในท้ายที่สุดนั่นเอง

อรอนงค์ ทิพยพิมล และธนศักดิ์ สายจำ�ปา 553


เชิงอรรถ

1 ตรงกับรัตนโกสินทรศก 127 (ร.ศ. 127) ดังนั้นหากนับปี พ.ศ. อย่างเคร่งครัดแล้วนั้น ปี พ.ศ. ดังกล่าวต้องเป็น ปี พ.ศ.

2451 เนื่องด้วยในช่วงเวลาดังกล่าวยังคงใช้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ (คณะรัฐบาลในสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้ใช้ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 เป็นวันปีใหม่ ตามสากลนิยมตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน) ดังนั้นวันที่ 10 มีนาคม จึง ยังคงเป็นปี พ.ศ. 2451 หากแต่ในที่นี้มีเจตนาที่จะใช้ปี พ.ศ. 2452 เพื่อมิให้เกิดความสับสนในการเทียบเคียงกับปี ค.ศ. นั่นเอง 2 หลักเขตแดนไทย-มาเลเซียแบ่งเป็น 4 ประเภทได้แก่ หลักเขตแดนแบบ A, B, C และ D 3 ไม่ปรากฏชัดว่าแม่น�้ำ โก-ลก ได้เปลีย ่ นทางเดินน�้ำ และเจาะทะลุสนั ทรายในช่วงเวลาใด หากแต่จากภาพถ่ายทางอากาศในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) พบว่าได้เกิดการเปลี่ยนทางเดินน้ำ�ของแม่น้ำ�โก-ลก ในบริเวณดังกล่าวและมีการเจาะทะลุสันทรายจนกระทั่ง เกิดแนวลำ�น้ำ�ใหม่แล้ว 4 เนื่องจากผู้ให้สัมภาษณ์ไม่สะดวกในการเปิดเผยชื่อและตำ�แหน่ง

554

ภาค 2: เงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำ�เร็จ ในการปักปันและปักหลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย


บรรณานุกรม

กรมแผนที่ทหาร. 120 ปี กรมแผนที่ทหาร 3 กันยายน 2548. กรุงเทพฯ: กรมแผนที่ทหาร, 2549. กรมแผนที่ทหาร. การสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย. เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่. กรมแผนที่ทหาร. ที่ระลึกครบรอบวันสถาปนา 100 ปี กรมแผนที่ทหาร. กรุงเทพฯ: กรมแผนที่ทหาร, 2528. จดหมายเหตุแห่งชาติ, กอง. เอกสารกระทรวงเกษตราธิการ กส. 7/759 เรื่องกรมทหารบกให้สั่งนายร้อยเอก หลวงรณรัฐวิภาคกิจ ไปปักปันเขตร์แดนแหลมมลายู. ดลยา เทียนทอง. ความร่วมมือไทย-มาเลเซียในการพัฒนาพื้นที่เขตไหล่ทวีปทับซ้อนในอ่าวไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. ถนอม เจริญลาภ. เขตทางทะเลของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2550. ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2545. สายจิตต์ เหมินทร์. การเสียรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปลิส ของไทยให้แก่อังกฤษในรัฐสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2507. ศรัณย์ เพ็ชร์พิรุณ. สมุทรกรณี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2549. อรอนงค์ ทิพย์พิมล และ ธนศักดิ์ สายจำ�ปา. “จากเส้น “แบ่งรัฐ” สู่เส้น “ร้อย (รัด) รัฐ”: หนึ่งศตวรรษแห่งการปักปันเขตแดนไทยมาเลเซีย (พ.ศ. 2453-2553)” ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ (บก.). เขตแดนสยามประเทศไทย-มาเลเซีย-พม่า-ลาวกัมพูชา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2554. อ้อยทิพย์ วิสิทธวงศ์. ปัญหาเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับมาเลเซีย (ค.ศ. 1970-1979): วิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีผล กระทบต่อการดำ�เนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520.

Charney, Jonathan I., Alexander, Lewis M. (eds.). International Maritime Boundaries. Vol. I, Dordrecht, The Netherlands: Martinus Nijhoff Publishers, 1996. Charney, Jonathan I., Alexander, Lewis M. (eds.). International Maritime Boundaries. Vol. II, Dordrecht, The Netherlands: Martinus Nijhoff Publishers, 1996. Forbes, Vivian Louis. Conflict and Cooperation in Managing Maritime Space in Semi-enclosed Seas. Singapore: Singapore University Press/National University of Singapore, 2001. Gullick, J. M. Malaysia and Its Neighbours. London: Routledge & K. Paul, 1967. Measures, Nick (ed.), Thailand, Ministry of Foreign Affairs. Rajaphruek & Bunga Raya: 50 years of Everlasting Friendship between Thailand and Malaysia 1957-2007. Bangkok: The Ministry of Foreign Affairs Thailand, 2007. Suwannathat-Pian, Kobkua. Thai-Malay relations: a study of traditional intra-regional relations from the 17th to the early 20th century. Thesis (Ph.D.) , Kuala-Lumpur, Universiti Sains Malaysia, 1986. Thao, Nguyen Hong. “Joint Development in the Gulf of Thailand”. in IBRU Boundary and Security Bulletin Autumn 1999. http://www.dur.ac.uk/resources/ibru/publications/full/bsb7-3_thao.pdf เข้าถึงข้อมูล

วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554.

สัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจัดทำ�หลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย, กรมแผนที่ทหาร ยศปัจจุบันพันโท. สัมภาษณ์. 5 กันยายน 2554. อดีตเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจัดทำ�หลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย, กรมแผนที่ทหาร ยศปัจจุบันพลตรี. สัมภาษณ์. 5 กันยายน 2554. อดีตเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจัดทำ�หลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย, กรมแผนที่ทหาร ยศปัจจุบันพันเอก. สัมภาษณ์. 5 กันยายน 2554. พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ. อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์, ที่ปรึกษารัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายทะเลและเขตแดนทางทะเล และ ที่ปรึกษากองทัพเรือ. สัมภาษณ์. 20 สิงหาคม 2554. อรอนงค์ ทิพยพิมล และธนศักดิ์ สายจำ�ปา 555


พันโท จิตรกร ใบรักษา. หัวหน้าแผนกเขตแดนไทย-มาเลเซีย กองเขตแดนระหว่างประเทศ กรมแผนที่ทหาร. สัมภาษณ์. 13 ตุลาคม 2553. พันโท ชัยรัตน์ ชัยดำ�รงโรจน์. นักวิเคราะห์เขตแดนระหว่างประเทศ กองเขตแดนระหว่างประเทศ กรมแผนที่ทหาร. สัมภาษณ์. 30 สิงหาคม 2553.

556

ภาค 2: เงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำ�เร็จ ในการปักปันและปักหลักเขตแดนไทย-มาเลเซีย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.