Lost Territory Discourse

Page 1

วาทกรรมเสียดินแดน Lost Territory Discourse ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

การเสียดินแดนของประเทศไทยเป็นเรือ่ งทีค่ นไทยในปัจจุบนั ได้ยนิ ได้ฟงั กันอย่างปกติ ด้วยเหตุนี้ บทสรุปทีว่ า่ ทำ�ไม ไทยจึงมีรูปร่างเหมือน “ขวาน” นั้น คำ�ตอบที่ปรากฏขึ้นในใจทันทีคือ เพราะไทยเสียดินแดนจำ�นวนมากไป ทำ�ให้ดินแดนจึง เหลือเพียงเท่านี้ ส่วนจะเสียกี่ครั้ง? จะเสียให้ใคร? และเสียดินแดนบริเวณใดในประเทศใดในปัจจุบัน? ดูจะถูกทำ�ให้เป็น เรื่องรายละเอียดที่ไทยโดยทั่วไปอาจไม่ต้องจดจำ�หรือทำ�ความกระจ่างให้มากนัก เช่น การอธิบายว่าเสียสิบสองจุไทย หาก ถามต่อว่า สิบสองจุไทยมีอาณาบริเวณอยู่ตรงไหน อยู่ในประเทศใดในปัจจุบัน ไทยเข้าไปครอบครองเมื่อใด และเสียให้ ใครไป เมื่อใด อย่างไร และทราบได้อย่างไรว่ามีอาณาเขตขนาดนั้น คำ�ถามอย่างต่อเนื่องเหล่านี้ดูจะถูกตัดตอนและไม่จดจำ� เพราะการตั้งคำ�ถาม ถาม และถามอย่างต่อเนื่อง ย่อมเสมือนเป็นการบ่อนทำ�ลายวาทกรรมการเสียดินแดนที่ได้สถาปนามา เมื่อราว 8-9 ทศวรรษที่แล้ว และตอกย้ำ�อย่างมั่นคงในยุคสงครามเย็น หรือสงครามต่อต้านปราบปรามภัยคอมมิวนิสต์ใน ช่วงทศวรรษ 2490-2520/1950-80 ภายใต้รัฐบาลทหารไทยอย่างยาวนาน บทความนี้จึงมุ่งสรุปโดยนำ�เสนอ 2 ประเด็น ประเด็นหนึ่งคือ กระบวนการสร้างเส้นเขตแดนของประเทศไทยที่ ทำ�ให้มีรูปร่างเป็น “ขวาน” ผ่านสำ�นึกเรื่องเขตแดนดินแดนของชนชั้นนำ�ไทยในยุคเผชิญหน้ากับลัทธิล่าอาณานิคม ประเด็น ที่สองคือการสืบค้นการสร้างชุดคำ�อธิบายการเสียดินแดนที่พัฒนามาเป็นความทรงจำ�ในปัจจุบันของคนไทยทั่วไป

1. การสร้างเส้นรูป “ขวาน” ของประเทศไทย 1.1 ไทย - อังกฤษ - ฝรั่งเศส กับ 83 ปีของการสร้างเส้นเขตแดน ลัทธิลา่ อาณานิคมยุคใหม่ของชาติตะวันตกทีเ่ ข้ามายังดินแดนเอเชียในช่วงครึง่ แรกของสมัยรัตนโกสินทร์นนั้ ได้น�ำ แนวคิดเกี่ยวกับรัฐยุคใหม่เข้ามาด้วย นั่นคือการที่รัฐประเทศต้องมีเส้นเขตแดนที่แน่นอน มีประชากรที่แน่นอน ต่างจากรัฐ แบบโบราณในดินแดนแถบนีท้ คี่ วามไม่แน่นอนของเขตแดนดินแดนและประชากรมีอยูส่ งู ยิง่ หรืออาจกล่าวได้วา่ รัฐอาณาจักร แบบเดิมเช่น กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ ถูกเข้าแทนทีด่ ว้ ย ประเทศสยามหรือประเทศไทย หรือรัฐอาณาจักร ของมหาราชาต่างๆ ในอินเดีย ถูกผนวกเข้าเป็นอาณาบริเวณเดียวกันภายใต้การปกครองของ (บริษัทและรัฐบาล) อังกฤษที่ เรียกว่า บริติชอินเดีย อันเป็นรากฐานของประเทศอินเดีย (ปากีสถาน บังกลาเทศ) ในปัจจุบัน ในแง่นี้ ลัทธิลา่ อาณานิคมของชาติตะวันตก ก็ได้ชว่ ยสร้าง “ประเทศ” ต่างๆ ในดินแดนเอเชียขึน้ มา ทัง้ โดยการรวม ดินแดนบ้านเล็กเมืองน้อยต่างๆ ให้กอ่ เกิดเป็นประเทศแบบใหม่ทีม่ อี าณาเขตและประชากรทีแ่ น่นอน มีเมืองหลวงศูนย์กลาง การบริหารของอาณานิคม เช่น พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลปิ ปินส์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม ขณะเดียวกันประเทศมหาอำ�นาจ ตะวันตกก็ได้ยอมรับรัฐอาณาจักรแบบเดิมทีม่ อี �ำ นาจเหนือบ้านเล็กเมืองน้อยบางแห่งนัน้ ให้กลายเป็นศูนย์กลางของรัฐประเทศ แบบใหม่ด้วยเช่นกัน ในกรณีของไทย อธิบายกันว่า ไทยไม่เคยตกเป็นอาณานิคมทางดินแดนของชาติตะวันตก แต่ไทยก็ไม่อาจปฏิเสธ ได้ว่าคงอยู่ในสภาพประเทศ “กึ่งอาณานิคม”1 จากการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตด้านการศาลและการศุลกากรกับอีก 15 ประเทศตะวันตกและญี่ปุ่น2 ในช่วงยุคสมัยนี้กล่าวได้ว่า กรุงเทพฯ ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในศูนย์อำ�นาจทางการเมือง ที่สำ�คัญในภูมิภาค ขณะเดียวกัน ผู้ปกครองกรุงเทพฯ ได้ประโยชน์อย่างสำ�คัญจากลัทธิล่าอาณานิคม และใช้ประโยชน์จาก ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 311


ลัทธินี้สร้างประเทศให้เป็นรูป “ขวาน” ขึ้นมา โดยใช้ระยะเวลาถึง 6 ทศวรรษด้วยกัน นับแต่ต้นสมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงสิ้น สมัยรัชกาลที่ 5 ภูมิรัฐศาสตร์ของกรุงเทพฯ ศูนย์กลางอำ�นาจของที่ตั้งอยู่ตอนในและนอกเส้นทางเดินเรือหลักของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้3 ก็เป็นปัจจัยสำ�คัญของการช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตก (อังกฤษ และฝรั่งเศส) กล่าวคือ การเคลื่อนไหวทางการค้าและจัดตั้งเมืองท่าคลังสินค้าของเจ้าอาณานิคมนั้นเกิดขึ้นบนชายฝั่งทะเล บนเส้นทางเดินเรือจากยุโรปเลาะเรื่อยมาผ่านชายฝั่งด้านแอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ เพื่อมุ่งสู่จีนแผ่นดินใหญ่นั้น ช่องแคบมะละกา (ระหว่างมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย) และช่องแคบซุนดา (ระหว่างเกาะสุมาตรากับเกาะชวา อินโดนีเซีย) เป็นสองช่องแคบสำ�คัญในยุคนั้นที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก เป้าหมายปลายทางด้านการค้าของ โลกตะวันตกในหลายศตวรรษ ทีพ่ ฒ ั นาจากเรือ่ งของหมูเ่ กาะเครือ่ งเทศมาเป็นตลาดการค้าและความมัง่ คัง่ ทีเ่ มืองจีนแผ่นดิน ใหญ่นั้น ก็เป็นปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้ศูนย์กลางอำ�นาจของไทย ทั้งกรุงศรีอยุธยาและกรุงเทพฯ อยู่นอกเส้นทางผลประโยชน์ หลักทางการค้าและความมั่งคั่งในยุคล่าอาณานิคม ภัยคุกคามด้านการล่าอาณานิคม (ช่วงศตวรรษแรกของรัตนโกสินทร์ ที่ชาติมหาอำ�นาจตะวันตกต้องการดินแดน และแรงงานราคาถูกเพื่อผลิตวัตถุดิบด้านสินค้าเพื่อขายในตลาดโลก เช่น ฝ้าย ชา กาแฟ ฝิ่น อ้อยน้ำ�ตาล ยาสูบ ข้าว ดีบุก ฯลฯ) ที่มีต่อไทยนั้นมาถึงช้ากว่าอาณาจักรเพื่อนบ้านโดยรอบราวเกือบศตวรรษ คือนับแต่สิ้นสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งแรก โดยพม่าถูกยึดครองดินแดนยะไข่และตะนาวศรีใน พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) อันทำ�ให้องั กฤษส่งทูตมาทำ� “สนธิสญ ั ญาเบอร์น”ี กับไทยในปีเดียวกัน (หรือปีที่ 2 ของการครองราชย์ของรัชกาลที่ 3) ที่สาระสำ�คัญด้านเส้นเขตแดนคือการยอมรับว่า อังกฤษ-ไทยมีเส้นเขตแดนที่ชัดเจน คือเขตตะนาวศรีของพม่ากับภาคตะวันตกของไทย (จากกาญจนบุรีถึงระนอง) และจะ ทำ�ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยคณะกรรมการเขตแดนของสองฝ่ายที่จะ “ชี้ที่แดนต่อกัน”4 กระทั่งอีก 7 ทศวรรษต่อมาที่มหาอำ�นาจ อังกฤษและฝรั่งเศสหลีกเลี่ยงการเกิดสงครามระหว่างกันในภูมิภาคนี้ด้วยการทำ� “ปฏิญญาอังกฤษ-ฝรั่งเศส” (the AngloFrench Declaration of 15 January 1896) ในปี พ.ศ. 2438/39 (ค.ศ. 1896) ที่มีสาระสำ�คัญยิ่งต่อไทยคือ ทั้งอังกฤษและ ฝรั่งเศสเห็นร่วมกันว่า “ต้องรักษาความเปนอิศรภาพของกรุงสยามไว้”5 “สนธิสัญญาเบอร์นี” (20 มิถุนายน พ.ศ.2369/ค.ศ. 1826) มีข้อสัญญา 14 ข้อ ใจความสำ�คัญคือการตกลงความ สัมพันธ์ด้านเขตแดน การค้า และอำ�นาจทางการเมืองของสองฝ่ายในอาณาเขตของ “หัวเมืองใหญ่น้อยซึ่งขึ้นแก่กรุง” ทั้งสอง ฝ่าย สนธิสัญญา 3 ข้อแรกเป็นเรื่องเขตแดนที่ห้ามไม่ให้ทั้งสองฝ่าย “ไปเบียดเบียนรบพุ่งชิงเอาบ้านเมืองเขตรแดน” ของกัน และกัน (ข้อ 1) และหากมีข้อสงสัยถึงความแน่ชัดของเขตแดน ก็ให้มีการไต่ถามกันและแต่งตั้งผู้แทนให้ “ไปกำ�หนดชี้ที่แดน ต่อกัน ให้รู้เปนแน่ทั้งสองข้างโดยทางไมตรี” (ข้อ 3) และห้ามทั้งสองฝ่ายเข้าล่วงเกินอำ�นาจเหนือดินแดนของอีกฝ่าย คือไม่ ส่งกำ�ลังเข้าไปจับกุมคนในดินแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง (ข้อ 4) ในสนธิสัญญานี้ ได้ระบุว่าเมืองขึ้นของอังกฤษ คือ “เมืองเกาะ หมาก เมืองมลากา เมืองสิงหะโปรา เมืองมฤท เมืองทวาย เมืองตนาว เมืองเย” โดยสนธิสัญญาข้อ 12-13 แสดงให้เห็นถึง ความกำ�กวมของอำ�นาจทางการเมืองของสองฝ่ายเหนือดินแดน “เมืองไทร เมืองตรังกะนู เมืองกลันตัน เมืองเปหระ เมือง สลาหงอ” โดยข้อ 14 ระบุว่าทำ�สัญญาเป็น 3 ภาษาคือ ไทย อังกฤษ และ “มาลายู” สนธิสัญญาเบอร์นีสะท้อนให้เห็นว่า เขตแดนหรืออาณาเขตของอังกฤษด้านพม่ากับไทยนั้นได้ตกลงกันอย่างชัดเจนแล้ว แต่สำ�หรับด้านแหลมมลายู ยังมีปัญหา ที่กำ�กวม สาระสำ�คัญของ “ปฏิญญาอังกฤษ-ฝรั่งเศส” พ.ศ. 2438/39 (ค.ศ. 1896) ฉบับนี้เท่ากับว่า ไทยจะไม่ตกเป็น อาณานิคมของทั้งสองประเทศตะวันตกนี้อย่างค่อนข้างแน่นอน อันแตกต่างจากรัฐอาณาจักรเพื่อนบ้านทั้งใหญ่และเล็ก ที่ ปฏิญญาอังกฤษ-ฝรั่งเศสฉบับนี้ได้ตกลงไว้แล้วว่าดินแดนข้างตะวันตกของไทยเป็นของอังกฤษ ส่วนดินแดนด้านตะวันออก ของไทยเป็นเขตของฝรั่งเศส ทั้งยังระบุให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยว่า ดินแดนตั้งแต่แม่น้ำ�รวก (ฮวก) ที่จังหวัดเชียงราย บรรจบ กับแม่น�้ำ โขงทีส่ ามเหลีย่ มทองคำ� ไล่ลงมาเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง จนถึงแถบประจวบคีรขี นั ธ์ในปัจจุบนั นัน้ เป็นดินแดนของ ศูนย์อำ�นาจที่กรุงเทพฯ (ซึ่งไทยกับอังกฤษได้ทำ�ปฏิญญาและแผนที่เขตแดนไทย-พม่าของอังกฤษ จากเขตอำ�เภอแม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน ไล่ขึ้นมาจนถึงสบรวก เชียงราย เมื่อปี 2437/1894) ปฏิญญาอังกฤษ-ฝรัง่ เศสฉบับนี้ ยังมุง่ เน้นการได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันของทัง้ อังกฤษและฝรัง่ เศสในดินแดน ทุกที่ที่กล่าวถึง ดังระบุถึงผลประโยชน์ทางการค้าในมณฑลยูนนานและเสฉวนของจีน (ข้อที่ 4) การปักปันเขตแดนของ 312

ภาค 2: วาทกรรมเสียดินแดน


อาณานิคมของสองฝ่ายในแอฟริกา (ข้อ 5-6) และการใช้แม่น้ำ�โขงจากเหนือสบรวกตรงสามเหลี่ยมทองคำ�จนถึงเขตแดนจีน ให้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนพม่าของอังกฤษและลาวของฝรั่งเศส โดยอังกฤษยอมยกเมืองสิงห์ที่อยู่ด้านตะวันออกของแม่น้ำ�โขง ให้กับฝรั่งเศสด้วย (ข้อ 3) ทว่าในกรณีของไทย แม้อังกฤษและฝรั่งเศสจะตกลง “รักษาความเป็นอิสรภาพของกรุงสยามไว้” (ข้อ 2) แต่โดย นัยของปฏิญญาข้อที่ 1 นั้น ฝรั่งเศสได้บอกให้อังกฤษได้รับทราบว่า สนธิสัญญาฝรั่งเศสกับไทยเมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) นั้น อังกฤษต้องละเว้นการขอประโยชน์อย่างเท่าเทียม เพราะนี้คือเขตอิทธิพลของฝรั่งเศส และยังไม่สรุปถึง เส้นเขตแดนที่แน่นอนระหว่างอาณานิคมฝรั่งเศสด้านลาวและกัมพูชากับฝ่ายไทย ในทางกลับกัน ปฏิญญาฉบับนี้ก็ข้ามที่จะ กล่าวระบุถงึ เขตแดนทีแ่ น่ชดั ของฝ่ายอังกฤษด้านมาเลเซียกับภาคใต้ของไทย อันแปลความได้วา่ ทัง้ สองฝ่ายนัน้ ต่างยอมรับ กันว่า ด้านตะวันออกของไทยตามแนวของแม่น�้ำ โขงยังเป็นเขตขยายอิทธิพลของฝรัง่ เศส ส่วนด้านแหลมมลายูเป็นเขตขยาย อิทธิพลของอังกฤษ ช่วง 7 ทศวรรษจากสนธิสญ ั ญาเบอร์นถี งึ ปฏิญญาอังกฤษ-ฝรัง่ เศส สำ�หรับอังกฤษแล้วได้แสดงให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ การควบคุมเส้นทางการเดินเรือและการค้าจากตะวันตกสู่ตะวันออกปลายทางประเทศจีน โดยเน้นการควบคุมเส้นทางใน มหาสมุทรอินเดีย อ่าวเบงกอล และช่องแคบมะละกา มีกัลกัตตาเป็นศูนย์กลางบริหารอาณานิคมบริติชอินเดียของบริษัท อิสต์อินเดียของอังกฤษ (the British East Indian Company) ในอินเดีย มาตั้งแต่ พ.ศ. 2315 (ค.ศ. 1772) (หรือหลัง จากพระเจ้าตากสถาปนากรุงธนบุรีเพียง 3-4 ปีเท่านั้น) และกระชับอำ�นาจเป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครองของรัฐบาล อังกฤษที่เรียกว่า บริติชราช (the British Raj) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) หรือกลางสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงเทพฯ ส่วนด้านแหลมมลายู อังกฤษได้เช่าเกาะปีนังจากสุลต่านรัฐเคดาห์/ไทรบุรีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2329 (ค.ศ. 1786) และอีก 40 ปีต่อมา ใน พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) ที่อังกฤษชนะพม่าในสงครามครั้งแรกและในปีที่ทำ�สนธิสัญญาเบอร์นีกับไทย อังกฤษ ก็สถาปนาสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางการบริหารอีกแห่งของตนบนช่องแคบมะละกา (the British Straits Settlements) ดัง นั้น ดินแดนในอ่าวเบงกอล (อ่าวเมาะตะมะ-ทะเลอันดามัน) และพื้นที่บนคาบสมุทรมลายูจึงเป็นเขตอิทธิพลที่อังกฤษแสดง ตนเสมอมากว่าครึ่งศตวรรษแล้วก่อนการทำ�สนธิสัญญาเบอร์นี สำ�หรับฝรัง่ เศส ภายใต้ความปัน่ ป่วนทางการเมืองอันยาวนานของการต่อสูภ้ ายในระหว่างกลุม่ การเมืองฝ่ายระบอบ จักรพรรดิและฝ่ายสาธารณรัฐ (การปฏิวตั ฝิ รัง่ เศสเมือ่ พ.ศ. 2332/ค.ศ. 1789) บวกกับการแสดงตนเป็นรัฐผูค้ มุ้ ครองการแผ่ ขยายคริสต์ศาสนา (แบบฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยพระนารายณ์แห่งอยุธยา) มากกว่าการมุ่งค้าขายแบบอังกฤษ ก็เป็นปัจจัย สำ�คัญที่ทำ�ให้ฝรั่งเศสปรากฏตัวในภูมิภาคที่สัมพันธ์กับศูนย์อำ�นาจไทยกรุงเทพฯ นี้ที่ล่าช้ากว่าอังกฤษถึง 3 ทศวรรษ และ มีลกั ษณะทีแ่ ตกต่างจากอังกฤษทีด่ จู ะค่อยๆ เจรจาประนีประนอมเพือ่ เช่าและยึดครอบครองดินแดน ส่วนฝรัง่ เศสนัน้ ปฏิบตั ิ การแบบรุนแรงรวดเร็ว หรือเมื่อมองจากสายตาไทยอาจเรียกได้ว่าเป็นแบบ “กระโชกโฮกฮาก” ดังจะเห็นได้ว่า ฝ่ายฝรั่งเศสเข้ามาทำ�สนธิสัญญาการค้ากับไทยในปีถัดจากที่ไทยทำ�สนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ (พ.ศ. 2398/ค.ศ. 1855 สมัยรัชกาลที่ 4 ฝรั่งเศสเข้ามาทำ�สัญญา พ.ศ. 2399/ค.ศ. 1856) โดยเนื้อหาต่างๆ นั้นเหมือนกับ สนธิสัญญาเบาว์ริงของอังกฤษ (แต่ฝรั่งเศสก็แทบไม่สนใจในการพัฒนาเพิ่มพูนการค้ากับไทยเลย) แถมทูตฝรั่งเศสที่เข้า มาในครั้งนั้นยังมีภารกิจต่อเนื่อง คือเพื่อเดินทางไปทำ�สนธิสัญญากับกษัตริย์แห่งกัมพูชา และพากองทัพเรือเดินทางไปสั่ง สอนจักรพรรดิเวียดนามในปัญหาการคุกคามคริสต์ศาสนิกชนชาวเวียดโดยการยิงถล่มป้อมเมืองตูราน นับจากปีนี้เป็นต้น มา ฝรั่งเศสก็แสดงตนว่าคือผู้มีอิทธิพลในดินแดนอินโดจีน โดยเริ่มยึดครองนามโบะ อาณาบริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ�โขง สถาปนาไซ่งอ่ นเป็นศูนย์กลางการปกครอง และขยับเข้าไปเป็นผูอ้ ารักขารัฐกัมพูชา ทัง้ แนวคิดว่าด้วยการมุง่ แข่งขันกับอังกฤษ เพื่อเข้าสู่ “ประตูหลัง” ไปทำ�การค้ากับจีน6 ก็ทำ�ให้แม่น้ำ�โขงกลายเป็นเสมือนเส้นทางสืบค้นดินแดนและยึดครองอาณานิคม ของฝรั่งเศส (กรณีอังกฤษคือ แม่น้ำ�สาละวินและอิระวดี) อันเผชิญหน้าและทำ�ให้ศูนย์อำ�นาจไทยที่กรุงเทพฯ มีความ “ทรง จำ�” ที่ “เจ็บปวด” และยังต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อรักษาดินแดน “ประเทศไทยแท้” ไว้ไห้ได้มาอีกหลายทศวรรษ ในแง่นี้ นับจากปฏิญญาอังกฤษ-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2438/39 (ค.ศ. 1896) รูปร่างของประเทศไทยนั้นชัดเจนในด้าน ภาคเหนือและตะวันตกที่ติดกับพม่าของอังกฤษ อันหมายความว่าภาคเหนือหรืออาณาจักรล้านนา มหาอำ�นาจตะวันตกทั้ง อังกฤษ-ฝรั่งเศสได้ยกมอบให้เป็นเขตอำ�นาจของกรุงเทพฯ แล้วอย่างแน่ชัด ส่วนด้านอื่นๆ นั้นพอจะมองเห็นคร่าวๆ ว่า ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานและภาคใต้แหลมมลายู ส่วนจะมีเส้นแบ่งเขตแดนแค่ไหน อย่างไร ขึ้นอยู่กับการดำ�เนินนโยบาย ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 313


และปฏิบัติการของ 3 ฝ่ายในอีกกว่าทศวรรษต่อมา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และไทย ซึ่งไทยจะบรรลุการจัดสรรเส้นเขตแดน กับฝรั่งเศสด้านกัมพูชาและลาวก็เมื่อทำ�หนังสือสัญญาระหว่างกันใน พ.ศ. 2446/47 (ค.ศ. 1904) (13 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122) และ พ.ศ. 2449/50 (ค.ศ. 1907) (23 มีนาคม ร.ศ. 125) ทั้งนี้ไทยบรรลุการสร้างเส้นเขตแดนเส้นสุดท้ายให้เป็น “ขวาน” กับอังกฤษด้านภาคใต้ในสนธิสัญญา พ.ศ. 2451/52 (ค.ศ. 1909) (10 มีนาคม ร.ศ. 127) กล่าวโดยสรุป ประเทศไทยมีเส้นเขตแดนรูป “ขวาน” นั้น เริ่มต้นเส้นเขตแดนเส้นแรกด้านตะวันตกกับพม่าตอน ล่างตามสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) โดยไทยมีพื้นที่ของประเทศอย่างค่อนข้างชัดเจนจาก ปฏิญญาอังกฤษ-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2438/39 (ค.ศ. 1896) และมีเส้นเขตแดนเส้นสุดท้ายด้านภาคใต้กับมาเลเซียของอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2451/52 (ค.ศ. 1907) รวมระยะเวลาในการสร้างเส้นเขตแดนประเทศไทยรูป “ขวาน” นี้ 83 ปีด้วยกัน 1.2 ราชอาณาจักรสยาม หรือ “ประเทศไทยแท้” ชนชั้นนำ�ไทยในช่วงกว่าศตวรรษแรกของรัตนโกสินทร์นั้น สำ�นึกทราบว่าอาณาบริเวณแห่งอำ�นาจที่แท้จริงของ อาณาจักรที่มีกรุงเทพฯ เป็นศูนย์อำ�นาจนั้นมีอาณาบริเวณอยู่ในเขตที่ราบภาคกลางและภาคใต้เป็นสำ�คัญ ดังการบันทึกไว้ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระโอรสของพระจอมเกล้าฯ (พ.ศ. 2403-62/ค.ศ. 1860-1919) พระและปัญญาชนสำ�คัญของราชวงศ์สมัยรัชกาลที่ 5-6 ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำ�คัญในการดำ�เนินการปฏิรูปการปกครองคณะ สงฆ์ที่ดึงอำ�นาจเข้าสู่ส่วนกลาง ที่นิพนธ์ “ตำ�นานประเทศไทย” ในราวช่วง พ.ศ. 2441-42 (ค.ศ. 1898-99) โดยอธิบายอาณา บริเวณที่เป็น “ประเทศไทยแท้” ไว้ว่า

ประเทศไทยแท้... อยู่ที่แถวแม่น้ำ�เจ้าพระยาทุกสาย ฝ่ายเหนือเพียงมณฑลสุโขทัย ฝ่ายใต้ เพียงมณฑลละโว้ และฝ่ายตะวันตก ตลอดลำ�น้ำ�สุพรรณ ลำ�น้ำ�ราชบุรี ลำ�น้ำ�เพชรบุรี แผ่ลงไปจนถึง มณฑลนครศรีธรรมราชเป็นที่สุด แต่ฝ่ายตะวันออกไม่ปรากฏว่าแผ่ไปถึงไหน....7 ดินแดน “ประเทศไทยแท้” ในสำ�นึกของชนชั้นปกครองไทยตามบันทึกของสมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสนี้ แต่งขึ้นหลังสนธิสัญญาอังกฤษ-ฝรั่งเศสในการทำ�ให้ไทยสามารถ “รักษาความเป็นอิสรภาพของกรุงสยามไว้” และแต่งขึ้น ในช่วงที่ได้มีการกระชับอำ�นาจทางการเมืองหรือรวมศูนย์อำ�นาจเข้าสู่กรุงเทพฯ และพระมหากษัตริย์ โดยมีการจัดตั้งการ ปกครองท้องที่หัวเมืองในระบบเทศาภิบาล หรือที่เรียกว่า “มณฑล” แล้ว “ประเทศไทยแท้” ตามที่ระบุนี้ เหนือสุดคือจังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก เรื่อยลงมาตามกรอบของเทือกเขา เพชรบูรณ์และดงพญาไฟฝากตะวันออก และเทือกเขาตะนาวศรีดา้ นฟากตะวันตก ครอบคลุมทุกจังหวัดของภาคกลางลงไป ยังภาคใต้ถงึ มณฑลนครศรีธรรมราช อันหมายถึงพืน้ ทีข่ องจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลาและพัทลุง (ส่วนฝัง่ ทะเลอันดามัน นัน้ รวมถึงจังหวัดกระบีแ่ ละตรัง ทีต่ อ่ มาจะจัดตัง้ เป็นมณฑลภูเก็ต) แต่ทนี่ า่ สนใจยิง่ คือ การระบุวา่ “ฝ่ายตะวันออกไม่ปรากฏ ว่าแผ่ไปถึงไหน....” นั้น ย่อมสะท้อนให้เห็นสำ�นึกของผู้ปกครองกรุงเทพฯ เหนือดินแดนที่เรียกว่า “อีสาน” และลาว และดิน แดนในกัมพูชา ว่าไม่อาจหาญที่จะนับรวมว่าคือ “ประเทศไทยแท้” อันเป็นเช่นเดียวกับสำ�นึกทางประวัติศาสตร์ที่ยังไม่อาจ นับรวมดินแดนอาณาจักรล้านนา และกลุ่มหัวเมืองแขกที่เรียกว่าจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ในปัจจุบัน สำ�นึกอาณาบริเวณ “ประเทศไทยแท้” ที่ระบุไว้ในช่วงต้นทศวรรษ 2440/ปลายทศวรรษ 1890 นี้ สอดคล้องกับ สำ�นึกอาณาบริเวณ “ประเทศไทยแท้” ในช่วงต้นสมัยพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ตามที่ระบุไว้โดยเซอร์ จอห์น เบาว์ริง เจ้า เมืองฮ่องกง ผู้เป็นทูตอังกฤษที่เข้ามาทำ�สนธิสัญญาการค้ากับไทยเมื่อปี พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ได้ระบุถึงขอบเขตอำ�นาจ ของกรุงเทพฯ หรือราชอาณาจักรสยามตั้งแต่ย่อหน้าแรกของหนังสือ “ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม” (The Kingdom and People of Siam พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2400/ค.ศ. 1857 ที่ลอนดอน) ไว้ว่า “ประเทศไทยแท้” หรือ “ราชอาณาจักรสยาม” นี้ มีพื้นที่จากเหนือลงใต้ในแบบเดียวกับบันทึกในงานนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งมีระยะเวลาห่างกัน ถึง 4 ทศวรรษ และหากเมื่อพิจารณารายชื่อหัวเมืองที่ระบุไว้ใน “ราชอาณาจักรสยาม” ของหนังสือเบาว์ริง พบว่า เมืองด้าน ตะวันออกนั้น จากเหนือลงใต้ก็คือจากเพชรบูรณ์ สระบุรี ลงมายังปราจีนบุรี (สระแก้ว) จันทบุรีและตราด8 บันทึกอาณาบริเวณ “ราชอาณาจักรสยาม” หรือ “ประเทศไทยแท้” ในหนังสือ The Kingdom and People of Siam 314

ภาค 2: วาทกรรมเสียดินแดน


ของเซอร์ จอห์น เบาว์ริงนี้ มีความสำ�คัญยิ่งกับสนธิสัญญาเบาวร์ริงที่ไทยทำ�กับอังกฤษ เพราะแม้ในตัวสัญญาจะกล่าวถึง ประเด็นเกี่ยวกับ คน ที่ดิน คริสต์ศาสนา การค้า สินค้า การเก็บภาษี เรือกำ�ปั่นและปืนใหญ่ดินดำ� แต่ทั้งหมดนั้นนอก เหนือจากสัมพันธ์กับกรุงเทพฯ และเมืองใกล้เคียงแล้ว ยังขึ้นอยู่กับการกำ�หนดว่าแค่ไหนคืออาณาเขตของกรุงสยามที่คน อังกฤษและคนในบังคับอังกฤษจะอยู่ภายใต้อ�ำ นาจทางกฎหมายของไทย นอกจากนั้น ในข้อสนธิสัญญาเบาว์ริงยังระบุไว้ ด้วยว่า (ข้อ 10) ถ้าฝ่ายไทยให้สิ่งใดๆ แก่ประเทศอื่นๆ ก็ต้องให้สิ่งนั้นแก่อังกฤษด้วยในแบบเดียวกัน ซึ่งข้อสนธิสัญญานี้ จะสอดคล้องกับการตระหนักถึงประเด็นการได้รับที่ “เท่ากัน” ดังในปฏิญญาอังกฤษ-ฝรั่งเศส พ.ศ. 2438/39 (ค.ศ. 1896) (ข้อ 1) ที่ฝรั่งเศสระบุว่าไม่ให้อังกฤษขอความเท่ากันในกรณีที่ฝรั่งเศสได้ “ข้อวิเศษทั้งหลาย” หรืออิทธิพลและสิทธิพิเศษใน กรณีดินแดนด้านแม่น้ำ�โขงตามสัญญาที่ฝรั่งเศสทำ�กับไทยเมื่อ พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) อาณาบริเวณ “ประเทศไทยแท้” นี้ สอดคล้องกับประวัตกิ ารเสด็จประพาสเยือนหัวเมืองของพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทั้งในสมัยที่ยังเป็นพระสงฆ์ที่จาริกไปยังพิษณุโลก สุโขทัย จนได้จารึกหลักพ่อขุนรามฯ กลับมา และในสมัยที่เป็นกษัตริย์ แล้ว พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) เสด็จประพาสไปยังหัวเมืองตะวันออกคือ จันทบุรี ตราด เกาะช้าง พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) ประพาสปราจีนบุรี ประพาสภาคใต้หัวเมืองด้านอ่าวไทยทางเรือเป็นเวลาราว 1 เดือน ลงไปประทับแรมไกลสุดถึงสงขลา ปี เดียวกันนีป้ ระพาสปราจีนบุรี พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) พระปิน่ เกล้าฯ ก็เสด็จประพาสภาคใต้ทางเรือเป็นเวลาเดือนกว่าเช่นกัน โดยเสด็จประทับไกลสุดคือสงขลา พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) พระจอมเกล้าฯ เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้อีกครั้งเป็นเวลา ราวครึ่งเดือนโดยกองเรือ 7 ลำ�ในช่วงต้นเดือนกันยายน ประทับที่เมืองนครศรีธรรมราชและสงขลา ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) ประพาสเมืองเพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ด้วย “ยังมิได้เสด็จไปทอดพระเนตร” และ “ประสงค์จะ ไปวัดแดดวัดดาว รู้ว่าลัตติจูต ลอนติจูตเท่าไร” เห็นได้ว่า พระจอมเกล้าฯ เสด็จประพาสทั่ว “พระราชอาณาสยาม”9 อาณา บริเวณแห่งอำ�นาจทางการเมืองของพระองค์ กล่าวโดยสรุป อาณาบริเวณที่ระบุไว้ว่าคือ “ราชอาณาจักรสยาม” ในหนังสือเซอร์ จอห์น เบาว์ริง ก็คืออาณาบริเวณ ทีพ่ ระจอมเกล้าฯ กษัตริยแ์ ห่งกรุงเทพฯ และเสนาบดีไทยผูท้ �ำ การเจรจาตกลงทำ�สนธิสญ ั ญาเบาว์รงิ นีอ้ ธิบายว่า คืออาณาเขต แห่งอำ�นาจของกรุงเทพฯ หรือ “ประเทศไทยแท้” นั่นเอง ดังนัน้ ขนาดของ “ประเทศไทยแท้” ในช่วงกว่าศตวรรษแรกของชนชัน้ ปกครองทีก่ รุงเทพฯ ก็คอื ดินแดนทีค่ รอบคลุม พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง (ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์) พื้นที่ทั้งหมดของภาคกลาง ภาคตะวันออก (สระแก้ว จันทบุรี ตราด) และ ภาคใต้ (สงขลา-ตรัง) เท่านั้น อันมีรูปร่างที่จินตนาการได้ว่าเหมือน “กระบอง” หรือ “สาก” เป็นสำ�คัญ 1.3 จาก “ประเทศไทยแท้” สู่ “ประเทศไทย” หากใช้วิธีรวบรัดในการคิดแบบคณิตศาสตร์ นั่นคือ เอา “ประเทศไทยแท้” ตั้ง แล้วเอา “ประเทศไทย” ในปัจจุบัน มาลบ ก็จะได้ผลลัพธ์ว่า มีส่วนเกินที่ออกมาจาก “ประเทศไทยแท้” (ทั้งในส่วนภาคเหนือ ภาคอีสาน และปลายๆ ของภาค ใต้) ดังนั้น ข้อสรุปคือ “ประเทศไทยแท้” ได้ดินแดนที่ไม่ใช่ “ประเทศไทยแท้” เพิ่มเข้ามา จึงเป็น “ประเทศไทย” ในปัจจุบัน กระบวนการขยายดินแดน “ประเทศไทยแท้” อย่างจริงจังในตามแบบของโลกตะวันตกทีเ่ น้นการทำ�สนธิสญ ั ญาลาย ลักษณ์อักษรเพื่อสร้างแนวเส้นเขตแดนที่แน่ชัดตามแบบรัฐสมัยใหม่นั้น กล่าวได้ว่าเริ่มในสมัยพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ในกรณีดินแดนในกัมพูชาที่มีปัญหากับฝรั่งเศส ที่พระจอมเกล้าฯ ให้กษัตริย์กัมพูชาทำ� “สัญญาลับสยาม-กัมพูชา” พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) และระบุว่าเมืองพระตะบองและเมืองเสียมราบที่กษัตริย์กัมพูชาเคยยกให้นั้น เป็นดินแดนที่ “ขึ้น แก่กรุงเทพฯ” โดยตรง (สัญญาข้อ 8 จาก 11 ข้อ)10 และเมื่อพระจอมเกล้าฯ กับฝรั่งเศสเจรจากันลงตัวในเรื่องดินแดน กัมพูชา “สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ว่าด้วยแผ่นดินเขมร” 11 พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) ฝรั่งเศสจึงยอมรับว่าเมืองทั้งสองคือ พระตะบองและเสียมราบ “คงอยู่เปนของไทย” ขณะที่ไทยก็ยอมรับว่าดินแดนกัมพูชานั้นอยู่ใน “ป้องกัน” ของฝรั่งเศส โดย ฝรั่งเศสให้ยกเลิกการอ้างสิทธิต่างๆ ทุกข้อของฝ่ายสยามที่ปรากฏใน “สัญญาลับสยาม-กัมพูชา” นอกจากนั้น ในช่วงปลายรัชสมัยพระจอมเกล้าฯ การปักปันเขตแดน การสำ�รวจดินแดน และการทำ�แผนที่ ก็เป็น สิง่ ทีผ่ ปู้ กครองกรุงเทพฯ เรียนรูจ้ ากตะวันตกและใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีในการขยายดินแดนเพิม่ เติมแก่ “ประเทศไทยแท้” กล่าวคือในปลาย พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) ผู้แทนอังกฤษกับผู้แทนกรุงเทพฯ ได้ทำ�การ “ตรวจดูเขตแดน” ตั้งแต่เพชรบุรีลง ไปจนถึงระนอง โดยฝ่ายอังกฤษจะ “แบกถากต้นไม้” แล้ว “จารึกอักษรอังกฤษไว้” ที่ต้นไม้อันระบุเขตแดนระหว่างพม่าของ ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 315


อังกฤษกับไทย (น 349-50) ขณะที่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น เมื่อพระจอมเกล้าฯ ทราบว่า “เดี๋ยวนี้ฝรั่งเศสได้ไปทำ�แผน ที่สระเวย์ (survey) ลำ�แม่น้ำ�โขงแต่ฝ่ายเดียว” จึงให้หาจ้างคน “อังกฤษ” ที่ทำ�แผนที่เป็น ออกไปทำ�แผนที่สำ�รวจดินแดนกับ ขุนนางของไทย ตั้งแต่เมืองแพร่ น่าน เชียงของ หลวงพระบาง และ “ลงมาตามลำ�แม่​่น้ำ�โขงถึงเมืองมุกดาหาร” แล้วเดินบก ตัดมาที่สระบุรีลงเรือกลับกรุงเทพฯ (น 351) ในปลายปีต่อมา คือ พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) หลัง “เปลี่ยนหนังสือสัญญา” ที่ ได้ทำ�ต่อกันไว้นั้นแล้ว (น 367) ฝ่ายไทยก็ให้ขุนนางไป “ปักเขตแดน” ร่วมกับฝ่ายขุนนางเขมรและฝรั่งเศส เพื่อระบุเขตแดน ของเมืองพระตะบองและเสียมราบ ส่วน “เขตแดนต่อขึ้นไปข้างเมืองลาวก็ได้ตกลงกันตามแผนที่” (น 369-370) ประเด็นการปะทะแย่งชิงเขตแดนระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส และไทย จะเริ่มต้นอีกครั้งหลังจากสงบไปเกือบสอง ทศวรรษ คือเมือ่ ฝรัง่ เศสรบและชนะยึดครองเวียดนามได้ทัง้ หมดในกลาง พ.ศ. 2427 (ค.ศ. 1884) ขณะทีอ่ งั กฤษทำ�สงคราม ครั้งที่ 3 และรบชนะเหนือกษัตริย์แห่งพม่าในปลาย พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) อันทำ�ให้สถาบันกษัตริย์ถูกยกเลิก ยึดครอง ดินแดนพม่าตอนบน และพม่าถูกผนวกเป็นจังหวัดหนึ่งของบริติชราช (อินเดีย) ชัยชนะของอังกฤษและฝรั่งเศสในดินแดน เพื่อนบ้านของไทย ด้านหนึ่งต้องทำ�การปราบปรามการกบฏและจัดระเบียบการปกครองภายในของดินแดนอาณานิคมเหล่า นี้ต่อเนื่องมาอีกกว่าทศวรรษ ขณะที่อีกด้านหนึ่งตามแนวคิดเรื่องเส้นเขตแดนที่แน่นอนของรัฐสมัยใหม่ ก็ทำ�ให้ต้องจัดการ ความพร่าเลือนของพรมแดนในทุกด้านให้มีความชัดเจน อันนำ�มาสู่การเผชิญหน้ากับรัฐไทย ในสมัยพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ชนชั้นนำ�ของไทยเรียน/เลียนรู้ความคิด วิธีการและเทคโนโลยีของตะวันตก อย่างมากยิ่ง เนื่องจากระยะเวลายาวนานราว 6 ทศวรรษที่รัฐเพื่อนบ้านเผชิญหน้ากับลัทธิล่าอาณานิคมด้านดินแดนโดยตรง ส่วนไทยนั้นสัมพันธ์กับโลกตะวันตกส่วนใหญ่ในการความสัมพันธ์ทางการค้าและกฎหมายที่ไม่เท่าเทียม ชนชั้นนำ�ไทยจึง มีระยะเวลาในการปรับตัวและสร้างตนให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกสมัยใหม่แบบตะวันตก ในขณะเดียวกัน พร้อมๆ กับ ที่สามารถแก้ไขปัญหาการเมืองภายในแบบจารีตเดิมไปได้ กลางทศวรรษ 2430 เป็นต้นไป กรุงเทพฯ ก็สร้างกระบวนการ กระชับอำ�นาจเหนือดินแดน “ประเทศไทยแท้” และที่ไม่ใช่ ด้วยการจัดระเบียบราชการยุคใหม่ การจัดการปกครองแบบ มณฑลเทศาภิบาล การเกณฑ์ทหาร การศึกษา ภาษาพูดและภาษาเขียน การจัดระเบียบพระสงฆ์ ทั้งนี้ด้วยการดำ�เนินงาน จากวงในอาณาบริเวณ “ประเทศไทยแท้” ก่อนขยายออกไปสู่ในเขตที่ไม่ใช่ “ประเทศไทยแท้” นอกจากนั้น ชนชั้นนำ�ไทยยัง พัฒนาการเจรจาทางการทูตกับประเทศมหาอำ�นาจ การทำ�แผนที่ การปักปันเขตแดน การเยือนยุโรป ฯลฯ กระทั่งกลายเป็น เส้นเขตแดนที่แน่ชัดเส้นสุดท้ายกับมาเลเซียของอังกฤษในปีท้ายๆ แห่งรัชสมัย 1.4 สรุป เส้นเขตแดนรูป “ขวาน” ของประเทศไทยในปัจจุบัน มีลักษณะขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเมื่อพิจารณาจากความสำ�นึก ถึง “ประเทศไทยแท้” ของชนชั้นนำ�แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยใช้ระยะเวลารวม 81 ปีของพัฒนาการจากเส้นเขตแดนเส้น แรกระหว่างไทยกับพม่าของอังกฤษในสนธิสัญญาเบอร์นีใน พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) กระทั่งมาถึงเส้นเขตแดนเส้นสุดท้าย ระหว่างไทยกับมาเลเซียของอังกฤษในสนธิสัญญา พ.ศ. 2451/52 (ค.ศ. 1909)

2. วาทกรรมเสียดินแดน การสร้างสำ�นึกว่าด้วยการเสียดินแดน ย่อมสัมพันธ์กับการสร้างสำ�นึกว่าดินแดนเดิมของตนนั้นมีขนาดไหน เมื่อ เสียดินแดนไป จึงเหลือดินแดนเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน 2.1 วาทกรรมของชนชั้นนำ�ยุค “ประเทศสยาม”

(1) เสียดินแดนประเทศราชคือเสียพระเกียรติยศ

ชนชั้นนำ�ของรัตนโกสินทร์ตระหนักดีว่าดินแดนเดิมอันเป็น “ประเทศไทยแท้” นั้นมีขอบเขตแค่ไหน เพียงไร ดังนั้น การเจรจาเรื่องดินแดนกับมหาอำ�นาจอังกฤษและฝรั่งเศสจึงเน้นการรักษาดินแดน “ประเทศไทยแท้” ไว้ให้ได้ ดังในกรณีการ มุ่งรักษาดินแดนเมืองจันทบุรีและตราด กับการเจรจากับฝรั่งเศสในดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำ�โขงคือแขวงไซยบุรีและจำ�ปาสัก ใน เขตประเทศลาว และพระตะบอง เสียมราบ ในเขตประเทศกัมพูชา 316

ภาค 2: วาทกรรมเสียดินแดน


คำ�อธิบายต่อการเปลี่ยนระบบการปกครองดินแดนจากแบบเก่าคือประเทศราช มาเป็นรัฐสมัยใหม่ที่ทกุ รัฐประเทศ ต่างมีอาณาเขตที่แน่นอนนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักรู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างดี ดังที่ทรง อธิบายไว้เมื่อครั้งเจรจาเส้นเขตแดนด้านมาเลเซียกับอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2451/52 (ค.ศ. 1909) ว่า

เราก็ไม่ขาดทุนอันใด ชัว่ แต่ไม่ได้ตน้ ไม้เงินไม้ทอง ไม่เป็นราคากีม่ ากน้อย แต่ยงั รูส้ กึ ว่าเป็นการ เสียพระเกียรติยศอยู่....12 ขณะที่ผลการเจรจาปักปันเส้นเขตแดนด้านภาคใต้อันเป็นเส้นสุดท้ายของการสร้างรูป “ขวาน” ของไทยในครั้งนี้ รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักว่า ไทย “ได้ดนิ แดน” จากรัฐมลายูทตี่ ดั ออกไป และได้ยกเลิกระบบเมืองประเทศราชที่ “ไม่ได้ตน้ ไม้เงิน ไม้ทอง” โดยเมืองทุกเมืองนับแต่นนี้ นั้ เป็นเมืองทีอ่ ยูใ่ นอำ�นาจอธิปไตยของพระองค์ และพระองค์จะมีอำ�นาจการปกครองแบบ สิทธิขาดเหนือดินแดนในพระราชอาณาเขตอย่างแท้จริง ดังที่ทรงอธิบายไว้ในที่ประชุมเสนาบดีก่อนวันทำ�หนังสือสัญญากับ อังกฤษเพียง 1 วันเมือ่ ครัง้ เจรจาเส้นเขตแดนด้านมาเลเซียกับอังกฤษเมือ่ วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2451/52 (ค.ศ. 1909) ว่า

ส่วนเขตรแดนที่แบ่งคราวนี้ ตัดเขตรแดนเมืองกลันตันหน่อยหนึ่ง เขตรแดนเมืองไทรหน่อย หนึ่ง มาเพิ่มมณฑลปัตตานี แต่เมืองสตูลที่เปนส่วนหนึ่งของเมืองไทรนั้น ตัดขาดมาขึ้นมณฑลภูเก็ต ทีเดียว ตั้งแต่นี้ไป เปนอันเราไม่มีเมืองประเทศราชอีก เลิกได้หมดทีเดียว13 โดยสรุป ความคิดของชนชั้นนำ�กรุงเทพฯ โดยเฉพาะพระจุลจอมเกล้าฯและราชวงศ์นั้น ย่อมมีภาพเปรียบเทียบ ระหว่างยุคสมัยของพระองค์กับยุคสมัยก่อนหน้านั้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-4 ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากแง่มมุ อุดมการณ์ทางการ เมืองแบบดั้งเดิมของกษัตริย์ผู้ทรงเป็นจักรพรรดิราชเหนือกษัตริย์บ้านเล็กเมืองน้อยต่างๆ คือมีประเทศราชมากมายโดย รอบอาณาจักร นี้คือแง่มุมของการเสียพระเกียรติยศ ทัศนะของการเสียพระเกียรติยศหาได้แตกต่างจากที่พระราชบิดาคือ พระจอมเกล้าฯ ที่ได้มีพระราชหัตถเลขาถึงกงสุลฝรั่งเศสประจำ�กรุงสยามเมื่อ พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1867) เพื่อร้องขอ “ความ ยุติธรรม” ให้พระองค์ได้มีอำ�นาจปกครองต่อไปในดินแดนประเทศราชกัมพูชา ด้วยวาทะที่รวดร้าวว่า

เราขอบอกท่านด้วยความเจ็บปวดยิ่งว่า ... เราขอให้ท่านได้โปรดให้ความยุติธรรมต่อคำ�ร้อง ขอของเรา และตัดสินใจในทางเอื้ออำ�นวยให้เราได้รักษาและครอบครองต่อไปอย่างสงบสุข ซึ่งบรรดา หัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ในอำ�นาจของเรามาช้านาน นับได้กว่า 4 รัชสมัยต่อกันมาแล้ว เป็นระยะเวลา 84 ปี....14

การเสียประเทศราชคือการเสียพระเกียรติยศเป็นแนวความคิดหลักในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 4-5 ซึง่ เป็นรัชสมัยทีต่ อ้ ง เผชิญหน้ากับมหาอำ�นาจตะวันตก อันทำ�ให้ไม่อาจรักษาบ้านเมืองประเทศราชในกรอบพระราชอำ�นาจของกรุงเทพฯ ณ ต้น ราชวงศ์ ดังที่พระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ได้นับเวลาการมีประเทศราชกัมพูชารวม 84 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2325-2409 (ค.ศ. 1782-1867) หรือตั้งแต่เมื่อสถาปนาราชวงศ์จักรีและกรุงเทพฯ แห่งรัตนโกสินทร์

(2) เสียดินแดนประเทศราชคือเสียดินแดนที่ไม่ใช่ “ประเทศไทยแท้”

ชนชั้นนำ�รัตนโกสินทร์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งต้องสัมพันธ์กับมหาอำ�นาจของโลกใหม่คืออังกฤษนั้น ได้เพิ่มพูน แนวคิดและข้อมูลความรู้จากโลกตะวันตก โดยเฉพาะจากโลกภาษาอังกฤษ ที่ขยายพรมแดนแห่งความรู้และการสร้างชุด คำ�อธิบายถึงปัจจัยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับอาณาจักรเพื่อนบ้านโดยเฉพาะการครอบครองดินแดน แนวความคิดหนึ่งที่ ปรากฏในหนังสือของฝ่ายโลกตะวันตกคือ การอธิบายพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ว่าดินแดนนี้เคย “เป็นของใคร” มีความ ผันแปรในการครอบครองดินแดนเหล่านี้อย่างไร โดยใครยึดครอง ดังนั้น เมื่อชนชั้นนำ�รัตนโกสินทร์ได้นำ�แนวความคิดนี้ เข้ามาสู่เนื้อหา “ประวัติศาสตร์” ในพระราชพงศาวดารของตนเอง ดินแดนประเทศราช ซึ่งเป็นดินแดนที่ไม่ใช่ “ประเทศไทย ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 317


แท้” ทีเ่ คยมีขนาดแบบหดเข้าขยายออกตามอำ�นาจบารมีของกษัตริยใ์ นแต่ละพระองค์นนั้ ก็ถกู อธิบายด้วยแนวความคิดใหม่ ว่าเป็น “พระราชอาณาเขต” ไทยมาก่อน แต่เป็นพระราชอาณาเขต “ชั้นนอกเปนประเทศราชปกครองตนเอง” แนวความคิดเรื่อง “ประเทศราช” ในต้นรัตนโกสินทร์ซึ่งพื้นที่อาณาจักรหดเข้าขยายออกเป็นระยะ มาเป็น “พระราชอาณาเขต” ทีม่ พี นื้ ทีแ่ น่ชดั ของพระราชอำ�นาจกษัตริยแ์ ห่งกรุงเทพฯ คือทีม่ าของ “ความเจ็บปวดยิง่ ” ทีพ่ ระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ร้องขอความยุติธรรมจากฝรั่งเศสในกรณีดินแดนกัมพูชา และกรณีนี้ทำ�ให้สมมติฐานได้ว่านี้คือปัจจัยอันลึกล้ำ� ที่ชนชั้นนำ�กรุงเทพฯ พิจารณาการกระทำ�ของกษัตริย์กัมพูชาที่พยายามจะหลุดจากอำ�นาจของกรุงเทพฯ เป็นการเริ่มต้นพระ ราชพงศาวดารอยุธยาที่ชำ�ระในสมัยพระจอมเกล้าฯ ด้วยเรื่อง “ขอมแปรพักตร์”15 และพระจอมเกล้าฯ “ทรงพระราชดำ�ริว่า เมืองเขมรเดี๋ยวนี้ตั้งตัวเป็นเอกราชขึ้นแล้ว”16 ในอีกสองทศวรรษต่อมาจาก “ความเจ็บปวดยิ่ง” ในกรณี “ขอมแปรพักตร์” ซึ่งได้ “ตั้งตัวเป็นเอกราชขึ้นแล้ว” นั้น เมื่อมีการดำ�เนินงานด้านดินแดนกันอีกครั้งหนึ่งของทุกฝ่ายในภูมิภาคนี้ ก็ทำ�ให้กษัตริย์แห่งกรุงเทพฯ ใช้วิธีการเดียวกันกับ มหาอำ�นาจตะวันตกเช่นอังกฤษและฝรั่งเศสคือ ส่งกองกำ�ลังทหารของตนเองเข้าไปครอบครองดินแดนบ้านเล็กเมืองน้อยที่ เคยสัมพันธ์กันแบบประเทศราช “สองฝ่ายฟ้า” หรือ “สามฝ่ายฟ้า”17 เพื่อใช้ต่อรองกับมหาอำ�นาจตะวันตกในเรื่องดินแดน ต่อไป ดังในกรณีของกองทัพของเจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี) แม้ภารกิจหลักคือการปราบฮ่อในดินแดน ภาคเหนือของลาว บวกกับจัดระเบียบการปกครองเพื่อให้อำ�นาจท้องถิ่นเหล่านี้ขึ้นต่อกรุงเทพฯ ในกรณีเมืองแถง (ปัจจุบัน คือ เดียนเบียนฟู ในเวียดนาม) และเมืองสิบสองจุไทย นโยบายของพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) คือ ให้ยึดหรือ “รวบไว้ก่อน” แล้ว “ค่อยปล่อยให้” ฝรั่งเศสต่อไปในภายหลัง ดังปรากฏในสำ�เนาหนังสือลายพระราช หัตถเลขาของพระองค์ ความว่า

เมืองสิบสองจุไทย ซึ่งเจ้าหมื่นไวยวรนารถถามมาว่า จะให้เอาไว้เป็นพระราชอาณาเขตร์ฤา ประการใดนั้น ได้หาฤากรมหลวงเทวะวงษ์ (วโรปการ เสนาบดีการต่างประเทศ – ผู้เขียน) เห็นว่า ควร จะรวบเอาไว้กอ่ น เมือ่ จะแบ่งปันเขตร์แดนกับฝรัง่ เศส จะว่ากล่าวขอร้องกันประการใด เมือ่ ควรจะปลด ให้จึงค่อยปลดให้ไปต่อภายหลัง18 เห็นได้ว่า ไม่ว่าดินแดนเหล่านี้จะเคยเป็นพระราชอาณาเขตหรือเมืองประเทศราชหรือไม่ นั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง แต่ประเด็นสำ�คัญคือในห้วงเวลานั้นทุกดินแดนสามารถยึดครอบครองเพื่ออ้างอิงการเป็นพระราชอาณาเขตของกรุงเทพฯได้ อันไม่ต่างจากหัวเมืองในเขตเชียงตุง รัฐฉาน ที่ในสมัยรัชกาลพระจอมเกล้าฯ ได้ส่งทัพไปตีเชียงตุงในช่วงต้นรัชสมัย แต่ไม่ ประสบความสำ�เร็จ ขณะทีใ่ นช่วงต้นทศวรรษ 2430 หรืออีกเกือบ 4 ทศวรรษถัดมานัน้ ชนชัน้ นำ�กรุงเทพฯ ก็มองเห็นหนทาง ในการรวบเมืองเชียงตุงและเมืองอื่นๆ ในดินแดนรัฐฉานไว้ ดังปรากฏเป็นการถวายความเห็นของพระเจ้าน้องยาเธอ กรม หมื่นพิชิตปรีชากร ที่พระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ส่งขึ้นไปดูแลปรับปรุงการปกครองและจัดระเบียบหัวเมืองประเทศราช ล้านนา (ที่กรุงเทพฯ เรียก ลาวเฉียง ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น พายัพ) ว่า “เวลานี้ยิ่งดีนัก เพราะพม่าก็คงไม่ช่วยใคร ใครก็คง ไม่ช่วยพม่า ถ้าได้เชียงตุง ก็เหมือนได้ 4-5 ต่อไป”19 สำ�นึกของชนชัน้ นำ�ไทยทีพ่ ฒ ั นาจากสำ�นึกเรือ่ ง “ประเทศราช” มาเป็นดินแดนใน “พระราชอาณาเขต” อย่างแน่ชดั นัน้ มีระดับความเข้มข้นในช่วงทศวรรษ 2540 เมื่อมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล อันหมายความว่า กรุงเทพฯ ได้เพิ่มระดับการกระชับอำ�นาจของกรุงเทพฯ เหนือหัวเมือง ทั้งโดยการแต่งตั้งข้าราชการไปปกครอง การจัดเก็บภาษีและผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แม้ว่าการปกครองในหัวเมืองประเทศราชในช่วงนั้นจะค่อนข้างปกครองผ่านกลุ่มผู้ปกครองเดิมใน แต่ละท้องถิ่น เฉกเช่นการปกครองดินแดนรัฐอารักขาของฝ่ายฝรั่งเศสเหนือดินแดนกัมพูชาและลาว เช่น มณฑลลาวกาว มณฑลลาวพวน มณฑลลาวเฉียง มณฑลเขมร มณฑลปัตตานี มณฑลไทรบุรี ราวหนึ่งทศวรรษของการจัดการปกครองมณฑล กล่าวได้ว่า สำ�นึกของชนชั้นนำ�ไทยต่อเรื่องประเทศราชที่อาจเป็น เมืองสองฝ่ายฟ้าหรือสามฝ่ายฟ้าที่สามารถมีศนู ย์อำ�นาจหลายฝ่ายอ้างสิทธิ์ในหัวเมืองเหล่านี้ได้นั้น ก็กลายเป็นการสำ�นึกยึด มัน่ มากยิง่ ขึน้ ว่า ดินแดนเหล่านัน้ เป็น “พระราชอาณาเขต” ของกรุงเทพฯ และในท้ายสุดเมือ่ ต้องเจรจาปัญหาดินแดนกับฝรัง่ เศส ในลาวและกัมพูชา (สัญญา พ.ศ. 2447/ค.ศ. 1904 และสัญญา พ.ศ. 2449/ค.ศ. 1907) และกับอังกฤษในมาเลเซีย (สัญญา 318

ภาค 2: วาทกรรมเสียดินแดน


พ.ศ. 2551-2/ค.ศ. 1909) นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงทรงอธิบายในที่ประชุมเสนาบดีของพระองค์ว่า เป็นการ “เสียพระราชอาณาเขตร” ไป แต่เป็นพระราชอาณาเขต “ชัน้ นอกเปนประเทศราชปกครองตัวเอง” ซึง่ ดินแดนทีเ่ ด่นชัดทีส่ ดุ คือ หัวเมืองลาว “ข้ามฝากโขงไปฝัง่ โน้น” ซึง่ คือส่วนหนึง่ ของมณฑลลาวกาว (ต่อมาคือมณฑลอุบล) และส่วนหนึง่ ของมณฑลลาว พวน (ต่อมาคือมณฑลอุดร) มณฑลเขมร (ต่อมาคือ มณฑลบูรพา ทีร่ จู้ กั ว่าคือเขตพระตะบอง เสียมราบ) และมณฑลไทรบุรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงประมวลสรุปการดำ�เนินงานของฝ่ายไทยที่นอกจากจะรักษาอาณาเขต ประเทศไทยแท้ไว้ได้แล้ว ยังสามารถรวมอาณาเขตประเทศราชให้เข้ามาเป็น “สิทธิขาด” ที่พระองค์สามารถจัดการปกครอง ได้ คือ มณฑลพายัพ หัวเมืองลาว “ในฝากโขงฝั่งนี้” คือภาคอีสานในปัจจุบัน และมณฑลปัตตานี ส่วนอาณาเขตประเทศ ราชอื่นๆ นั้น พระองค์ทรงเน้นว่า “ถ้าปกครองไม่ได้สิทธิขาดแล้ว ไม่มีเสียดีกว่า” ซึ่งอาณาเขตประเทศราชที่ไทยได้และไม่ ได้ปกครองอย่างสิทธิขาดตามบทสรุปของพระองค์ คือ

เมื่อได้จัดการมณฑลพายัพแล้ว ก็ได้จัดการทางหัวเมืองลาวแถบแม่น้ำ�โขง คือจัดการเดิน ออกไปจนข้ามฟากโขงไปฝั่งโน้น แต่เป็นหัวเมืองที่ติดต่อกับอาณาเขตรเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ฝ่ายเรามี กำ�ลังน้อยกว่าจึงไม่สำ�เร็จ แลซ้ำ�ขาดทุนพระราชอาณาเขตรไปด้วย อาณาเขตรของเราทางนี้ จึงหดเข้า มาอยู่เพียงในฟากโขงฝั่งนี้ ฝ่ายทางแหลมมลายูก็ได้จัดการอย่างเดียวกัน แต่เราเดินไปได้เพียงมณฑล ปัตตานี ถึงแม้ยังไม่ได้ประกาศรวมเปนกรุงสยามก็จริง แต่ก็เหมือนรวมแล้ว แต่เมืองตรังกานูนั้นได้มี สัญญากับอังกฤษไว้แต่แรกว่า เราจะไม่เกี่ยวข้อง ฝ่ายเมืองไทรเปนเมืองที่เราตีได้ แต่เราปกครองเอง ไม่ได้ จึงให้แขกปกครองตัวเองเปนประเทศราช ... เขตรแดนทางเมืองนครเสียมราฐที่ต้องปล่อยไป ก็มีเหตุผลคล้ายกันกับที่ได้กล่าวนี้20 หลังจากผ่านยุคการต่อสู้แย่งชิงเจรจาต่อรองเพื่อครอบครองดินแดนประเทศราชทั้งฝ่ายไทย อังกฤษและฝรั่งเศส ผ่านพ้นไปแล้ว ยุคสำ�นึกการสร้างประเทศชาติด้วยพลังลัทธิชาตินิยมที่เติบโตในช่วงทศวรรษ 2453/1910 หรือก่อนเข้าสู่ สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมานั้น คำ�ถามของชนชั้นนำ�ไทยรุ่นเดิมของสมัยรัชกาลที่ 3-4-5 ที่ต้องถูกถามโดยคนอีกหนึ่ง รุ่นว่าเหตุใดจึงไม่สามารถปกป้องรักษาดินแดน “พระราชอาณาเขต” แม้ว่าจะเป็นดินแดนประเทศราชก็ตาม ชนชั้นนำ�รุ่นไทย เดิมเช่นสมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ ก็ต้องสร้างชุดคำ�อธิบายที่ให้หนักแน่นเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคนอีกรุ่นว่า ที่ “เสียดินแดน” นั้น เป็นการเสียดินแดนประเทศราช และดินแดนเหล่านั้น ก็ไม่ใช่ดินแดน “ประเทศไทยแท้” และการเสียดิน แดนนีเ้ ป็นการตัดดินแดนทีเ่ ป็น “โรคภัย” เพือ่ รักษาร่างกายหรือประเทศไทยให้คงอยูต่ อ่ ไป ดังทีท่ รงอธิบายเป็นแนวคิดไว้วา่

จริงอยู่ที่ไทยต้องเสียดินแดนไปบ้าง แต่เป็นดินแดนที่ไม่เคยเป็นของไทยจริงๆ แต่โบราณมา ้ และซำ�ร้ายที่เป็นดินแดนเช่นเชื้อโรคภัย ถ้ายังติดอยู่กับร่างกาย คือประเทศไทยต่อไป พาให้เป็นโรค เรื้อรังต้องเยียวยารักษา เสียทรัพย์ เปลืองชีวิต เปลืองกำ�ลัง ... (ดังนั้นจึงควร) ตัดเชื้อโรคร้ายให้สูญ ขาดไป ไม่ให้ติดต่อลุกลามถึงอวัยวะร่างกายและบ้านเมือง21 กล่าวโดยสรุป ช่วงระยะเวลาราว 8-9 ทศวรรษของการเผชิญหน้ากับลัทธิล่าอาณานิคมอังกฤษ-ฝรั่งเศส จาก ระดับยอมรับสัญญา ร้องขอความยุติธรรม มาเป็นร่วมยึดครอง “รวบไว้” ให้เป็นพระราชอาณาเขตไทยและจัดการปกครอง มณฑลเทศาภิบาลนั้น เป็นปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดวาทกรรมการเสียดินแดนประเทศราช ก็คือการเสียพระราชอาณาเขตที่ ไม่ใช่ “ประเทศไทยแท้” หรือ “ไม่เคยเป็นของไทยจริงๆ” 2.2 วาทกรรมของชนชั้นนำ�ยุคประเทศไทย ชนชั้นนำ�ยุคประเทศไทยนั้น คือกลุ่มคน (โดยเฉพาะสามัญชน) ที่มาพร้อมกับการศึกษาแบบโลกตะวันตก และ ซึมซับแนวความคิดลัทธิชาตินิยม ที่สำ�นึกในความเป็นเจ้าของประเทศชาติร่วมกัน ที่สำ�นึกถึง “หลักเอกราช” ของประเทศ อย่างแท้จริง และมุ่งสร้างความ “ศิวิไลซ์” ให้กับประเทศทั้งด้านการเมือง การทหาร และสังคมเศรษฐกิจ โดยมีพัฒนาการ ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 319


อย่างเข้มข้นภายใต้บริบทโลกนับแต่ช่วงทศวรรษแห่งสงครามโลกครั้งที่ 1 (ทศวรรษ 2453/1910) ด้วยบริบทโลกที่กระแสลัทธิชาตินิยมได้เข้าแทนที่ลัทธิล่าอาณานิคม ชนชั้นนำ�รุ่นใหม่ตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติ 2475 จึงค่อยๆ สร้างองค์ความรู้ด้านภูมิหลังประวัติและคำ�อธิบายเกี่ยวกับการก่อเกิดประเทศไทยที่มีรูปร่าง “ขวาน” นี้ ไม่เพียง จะพบว่า ชนเผ่าไทยต้องอพยพมาจากที่แสนไกลในเขตจีน ทิ้งบ้านเมืองถอยร่นจากการรังควาญรังแกชนเผ่าไทยที่ต้องการ ดำ�รงชีพอย่างสงบสุข กระทัง่ คนไทยกระจัดกระจายไปอยูก่ นั เป็นกลุม่ ๆ ในทีต่ า่ งๆ กันนัน้ แล้ว (องค์ความรูพ้ นื้ ฐานนีส้ ร้างขึน้ โดยชนชั้นนำ�รัตนโกสินทร์) แม้เมื่อตั้งตัวได้ในดินแดนไทยในปัจจุบันนี้ แต่ก็ยังถูกมหาอำ�นาจอังกฤษและฝรั่งเศสแย่งชิงดิน แดนไปอีก องค์ความรู้ด้านสนธิสัญญากับอังกฤษและฝรั่งเศสจะแพร่ขยายตัวไปสู่สาธารณชนมากขึ้นเมื่อไทยต้องพยายาม เจรจายกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาค หรือทำ�ให้ไทยมี “เอกราชไม่สมบูรณ์” กับนานาประเทศอารยะหลังสงครามโลกครั้ง ที่ 1 ซึ่งไทยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรนั้น ก็ค่อยๆ ต่อเติมสร้างเสริมให้กระจ่างว่าไทยเสียอะไรไป และนี้คือเรื่องราวของการ “เสีย ดินแดน” ในความคิดของชนชั้นนำ�ยุคประเทศไทย หากพิจารณาภาพรวมของวาทกรรมเสียดินแดนในยุคประเทศไทย พบว่า มีช่วงเข้มข้นอยู่ 3 ช่วงด้วยกัน คือ

(1) ช่วงการสร้างบทสรุปการเสียดินแดน

ในระหว่างสองทศวรรษ คือ ทศวรรษ 2470-80/1927-37 เป็นช่วงของพลังลัทธิชาตินิยมและลัทธิทหารในบริบท โลกทีจ่ ะพัฒนาไปสูส่ งครามโลกครัง้ ที่ 2 พลังลัทธิชาตินยิ มพยายามทีจ่ ะสร้างสำ�นึกถึงความเป็นชาติของคนไทย อันเกีย่ วพัน ไปถึงความเชื่อว่า “คนไท” ที่เป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันนั้นได้กระจายตัวอยู่ตามที่ต่างๆ อย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันก็สอดรับ กับลัทธิทหารที่เป็นพลังสำ�คัญในระบบราชการไทย ทั้งในสมัยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสมัยระบอบประชาธิปไตย ว่าที่ไทย “เสียดินแดน” นั้น เพราะไทยไม่ได้เตรียมตัวด้านการทหารอย่างพอเพียง จึงพ่ายแพ้มหาอำ�นาจตะวันตกในสมัย รัชกาลที่ 4 และที่ 5 และสอดรับกับสถานการณ์สงครามของโลกและสงครามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทสรุปการเสียดินแดนในยุคนี้ที่กลายเป็นรากฐานทางการของคำ�อธิบายอย่างทั่วๆ ไป คือการเสียดินแดนรวม 8 ครั้ง ดังปรากฏใน “แผนที่ประวัติอาณาเขตต์ไทย” เมื่อ พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) หรือในช่วงขณะของการที่ประชาชน ไทยเริ่มต้นรณรงค์เรียกร้องดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำ�โขงจากฝรั่งเศส โดยปรากฏในหนังสือของ อัช บุณยานนท์ เรื่อง “สังเขป เอกสารประวัติศาสตร์ ร.ศ. 112” ซึ่งชื่อหนังสือก็แสดงให้เห็นถึงจุดเน้นถึงปัญหาดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเป็นสำ�คัญ ทั้งยังกล่าวได้ว่า หนังสือนี้เป็นหนังสือที่ทางรัฐบาลไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนการจัดพิมพ์และแจกจ่ายไปยัง โรงเรียนทั่วประเทศ ทั้งคำ�อธิบายที่มีนั้นก็ “เพื่อความสะดวกของครูที่จะได้ใช้ประกอบอธิบายให้ข้อความครบถ้วนสมบูรณ์” “แผนที่ประวัติอาณาเขตต์ไทย” หรือแผนที่เสียดินแดน 8 ครั้ง คือแผนที่ที่เชื่อได้ว่า จัดสร้างโดยกรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม และยังทรงอิทธิพลในการอธิบายถึงการเสียดินแดนเหล่านี้มาถึงปัจจุบัน ด้วยความชัดเจนในลำ�ดับการ เสียดินแดนให้กับฝรั่งเศสรวม 5 ครั้ง (แม้ว่าในแผนที่จะเจตนาใช้คำ�เพียงว่า “ตกไปเป็น” ของฝรั่งเศสเมื่อปีไหนเท่านั้น แต่คำ�ว่า “เสียดินแดน” จะถูกอธิบายในหนังสือ) ได้แก่ ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) เสีย “เขมรส่วนนอก” หรือ กัมพูชาเกือบทั้งประเทศ ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) เสีย “แคว้นสิบสองจุไทย” หรือพื้นที่ในเวียดนามเหนือ ครั้ง ที่ 5 พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) เสีย “ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำ�โขง” หรือลาวเกือบทั้งประเทศ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) เสีย “ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำ�โขง” หรือแขวงจำ�ปาสักและไซยบุรี ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) เสีย “เขมรส่วนใน” หรือ “มณฑลบูรพา” หรือพระตะบอง เสียมเรียบในกัมพูชา ซึ่งการเสียดินแดนให้กับฝรั่งเศสนี้เป็นการเสียอย่างต่อเนื่องจากครั้ง ที่ 3-7 รวมระยะเวลาถึง 40 ปี ดังนั้นจึงเป็นความทรงจำ�ที่ “เจ็บปวดยิ่ง” ขณะที่เสียดินแดนครั้งที่ 1 นั้นเป็นดินแดนด้าน มาเลเซีย คือ เกาะปีนัง “อังกฤษได้จากไทรบุรี” เมื่อ พ.ศ. 2329 (ค.ศ. 1786) หรือเป็นปีที่ 5 ของสมัยรัชกาลที่ 1 เสียครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) เสียดินแดนภาคตะนาวศรีในพม่าโดย “ตกไปเป็นของพม่า” หรือเป็นปีที่ 11 ของสมัยรัชกาล ที่ 1 และเสียครั้งที่ 8 ที่ “ตกไปเป็นของอังกฤษ” คือ 4 รัฐมลายูตามสนธิสัญญาเส้นเขตแดนสุดท้ายระหว่างไทยกับอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2451/52 (ค.ศ. 1909) ในภาพรวมของการเสียดินแดนคือ ลำ�ดับการเสียดินแดนให้กับอังกฤษมีน้อยกว่าทั้ง จำ�นวนครั้งและพื้นที่ และมีระดับความรุนแรงน้อยกว่าที่เสียให้ฝรั่งเศส ขณะที่การกล่าวอ้างถึงการเสียดินแดนให้พม่านั้นก็ ดูจะไม่ค่อยเข้ากับตรรกเรื่องการล่าอาณานิคมของตะวันตก สรุปได้วา่ การสร้างชุดความรูแ้ ละคำ�อธิบายการเสียดินแดนในยุคประเทศไทยช่วงแรกนี้ วางความเชือ่ หรือสมมติฐาน 320

ภาค 2: วาทกรรมเสียดินแดน


ว่า ดินแดนเหล่านี้คือดินแดนที่ “เป็นของ” ไทยที่ได้มาพร้อมๆ กับการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (เมื่อ พ.ศ. 2325/ค.ศ. 1782 กล่าวได้ว่า ไม่แตกต่างจากวิธีคิดของรัชกาลที่ 4 ในกรณีกัมพูชา ที่ระบุว่าพระองค์ได้ครอบ ครองติดต่อมาแล้ว 4 รัชสมัยรวม 84 ปี) โดยไม่ได้สนใจความหมายของหัวเมือง “ประเทศราช” ที่หดตัวขยายตัวอยู่ตลอด เวลาเหมือนกับชนชั้นนำ�รัตนโกสินทร์ และไม่ใส่ใจว่าจะเป็นเมืองสองฝ่ายฟ้าหรือสามฝ่ายฟ้าที่เพียงขึ้นต่อลาว ญวน หรือจีน หาได้ขึ้นต่อกรุงเทพฯ แต่ประการใดไม่ แต่ชนชั้นนำ�ยุคประเทศไทยสรุปรวบรัดแบบฟันธงเลยว่าทั้งหมดนั้นคือดินแดนของ ตนที่ตน “เสียดินแดน” ในยุคการเพิม่ พูนดินแดนให้ “มหาอาณาจักรไทย” ในสมัยรัฐบาลทหารยุคสงครามโลกของจอมพล ป. พิบลู สงคราม ใน พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) ไทยได้ดินแดนจากการสู้รบกับฝรั่งเศสภายใต้การสนับสนุนช่วยเหลือของญี่ปุ่น ทำ�ให้ไทยได้ดิน แดนพระตะบองและเสียมราฐ (ราบ) ในกัมพูชา ได้ดินแดนจำ�ปาสักและไซยบุรีในลาว ซึ่งเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส ต่อมาใน ช่วงกลาง พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) รัฐบาลทหารญี่ปุ่นได้มอบดินแดนที่เชื่อว่าเคยเป็นของไทยให้กับรัฐบาลไทยเพื่อกระชับ ความเป็นพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นคือดินแดน 4 รัฐมลายู ได้แก่ กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิส แต่ทั้งนี้ เกาะปีนัง ไม่ได้ถูกนับรวมว่าคือดินแดนไทยเดิมด้วย จึงไม่ได้มา โดยรัฐบาลไทยในยุคนั้นเรียกดินแดนที่ได้มานี้ว่า “สี่รัฐ มาลัย” แต่ดินแดนที่ญี่ปุ่นมอบให้อีกแห่งคือ ดินแดนเมืองเชียงตุง เมืองพาน (อาณาบริเวณคืออยู่เหนือเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ จนต่อเขตแดนจีนเหนือเมืองเชียงตุงเท่านั้น ฝั่งตะวันตกคือแม่น้ำ�สาละวิน ไม่ได้หมายถึงรัฐฉานทั้งหมด) ที่ไทย ตั้งชื่อให้ว่า “สหรัฐไทยเดิม” กล่าวได้ว่า เป็นการได้มาอย่างกรณีพิเศษไปจากชุดความรู้และคำ�อธิบายเรื่องการเสียดินแดน ของไทยในขณะนัน้ กล่าวคือ กรณีสหรัฐไทยเดิมนี้ ฝ่ายไทยยังไม่ได้สร้างวาทกรรมการเสียดินแดน มีแต่เรือ่ งราวความเชือ่ ม โยงการเป็น “คนไทย” ร่วมกันเท่านั้น แม้ว่าดินแดนที่ได้มาทั้งในกัมพูชาและลาวอันเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และดินแดน 4 รัฐในมาเลเซียและดิน แดนเมืองเชียงตุงเมืองพานในพม่าอันเป็นอาณานิคมของอังกฤษนั้น ไทยจะต้องส่งคืนเพื่อกลับสู่ “สถานะเดิม” (status quo) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่จากความทรงจำ�อันว่าด้วยการปะทะกำ�ลังทางทหารกับฝรั่งเศส การเป็น “หมาป่า” ในสายตา ชนชั้นนำ�ยุครัตนโกสินทร์ ในช่วงสมัย พ.ศ. 2436-49 (ค.ศ. 1883-1907) นั้น เมื่อบวกกับการรณรงค์เรียกร้องดินแดน “ฝั่ง ขวาแม่น้ำ�โขง” และสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศสก่อนจะได้ดินแดนในกัมพูชาและลาวมานั้น (พ.ศ. 2483-84/ค.ศ. 1940-41) ก็ยิ่งประทับความทรงจำ�ความเคียดแค้นชิงชังต่อการเสียดินแดนให้กับฝรั่งเศส มากกว่าการเสียดินแดนให้กับพม่าในกรณี ภาคตะนาวศรีที่ดูจะไม่สามารถสร้างอารมณ์ร่วมจากคนไทยได้ หรือแม้แต่จะได้เมืองเชียงตุงเมืองพานมานั้นก็เป็นเรื่องที่ แทบไม่มีการยกย่องพูดถึงมากนัก และเป็นเช่นเดียวกันในกรณีการเสียดินแดนปีนังและ 4 รัฐมลายูให้กับอังกฤษ ที่กล่าว ได้ว่าไม่มีเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นหรือเรื่องที่จะมาบอกเล่าอย่างได้อารมณ์ร่วมจากผู้ฟังแต่อย่างใด กล่าวโดยสรุป วาทกรรมการเสียดินแดนในช่วงแรกนี้ คือ การสร้างข้อสมมติฐานว่าดินแดนตั้งแต่ปีแรกของการ ขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) คือหลักหมายว่าเป็นดินแดนของไทย ดังนั้น หากพื้นที่ส่วนใด ถูกยึดครองไป ไม่ว่าจะโดยประเทศใด เมื่อใด นับแต่นี้ ก็คือการเสียดินแดนของไทย ทั้งนี้ด้วยพลังลัทธิชาตินิยมและลัทธิ ทหารที่ทำ�ให้รัฐบาลทหารไทยสามารถแจงนับจำ�นวนครั้งการเสียดินแดนได้ชัดเจนรวม 8 ครั้ง แต่การเสียดินแดนในกัมพูชา ลาว และบางส่วนของเวียดนาม (สิบสองจุไทย) นั้น เป็นชุดความทรงจำ�ที่ได้รับการเน้นย้ำ�มากยิ่งขึ้นจากสงครามอินโดจีน ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในปีแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้

(2) ยุคภัยคอมมิวนิสต์และคดีปราสาทเขาพระวิหาร

สงครามเย็นที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้ฝ่ายทหารภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐฯ มีอำ�นาจทางการเมืองไทยตลอด 4 ทศวรรษ (ทศวรรษ 2490–2520/1950-80) ผู้นำ�กองทัพคือผู้นำ�ทางการเมืองและ ทางสังคมความรู้เรื่องเสียดินแดน (จากยุคจอมพล ป. จอมพล สฤษดิ์ จอมพล ถนอม เรื่อยมาถึงยุคพลเอก เกรียงศักดิ์ พลเอก เปรม) ดังนั้น วาทกรรมเสียดินแดนไทยที่ถูกสรุปไว้แล้วโดยฝ่ายกองทัพว่าเสียดินแดนไป 8 ครั้ง จึงยังคงดำ�รงอยู่ ต่อมา ดังปรากฏคำ�อธิบายและภาพ “แผนที่ประวัติศาสตร์ไทย แสดงประวัติอาณาเขตไทยส่วนต่างๆ ที่เสียไป” ในหนังสือ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงเรียนของ ทองใบ แตงน้อย เรื่อง “แผนที่ภูมิศาสตร์”22 พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) หรือหนึ่งปีหลังคำ�พิพากษาของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา (หนังสือนี้มีแผนที่รวม 55 แผ่น โดย ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 321


พิมพ์แผนที่แบบ “สอดสี” ตั้งแต่ปีพิมพ์ครั้งแรก เพื่อให้ “นักเรียนใช้เป็นแบบฝึกหัดเขียนแผนที่ และใช้ประกอบบทเรียน วิชาภูมิ-ประวัติศาสตร์ประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย”) แม้แผนทีเ่ สียดินแดนไทยของทองใบ แตงน้อย จะไม่ได้อา้ งอิงว่ามาจากทีใ่ ด แต่หวั ข้อของเรือ่ งคือ “ประวัตอิ าณาเขต ไทย” ที่อธิบายการเสียดินแดน 8 ครั้งอย่างสรุปย่อในหนึ่งหน้า และแบบของแผนที่อีก 1 หน้า ก็คือเนื้อหาอันเดียวกันกับ “แผนที่ประวัติอาณาเขตต์ไทย” ของฝ่ายทหารที่พิมพ์แจกจ่ายเมื่อ พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) กล่าวโดยสรุป วาทกรรมการเสียดินแดนไทยรวม 8 ครั้งในช่วงนี้ ยังคงเป็นวาทกรรมหลักที่ใช้สืบต่อจากยุคเริ่ม ต้น ไม่มคี วามเปลีย่ นแปลงในนัยสำ�คัญของจำ�นวนครัง้ และเนือ้ หา และยังคงเป็นวาทกรรมหลักทีต่ อกย�้ำ อย่างมัน่ คงสืบเนือ่ ง มาถึงปัจจุบันนี้ ภารกิจของวาทกรรมการเสียดินแดนในช่วงนี้ เน้นเพื่อการต่อสู้กับภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ แตกต่างจาก ยุคแรกของการสถาปนาวาทกรรมที่เน้นสร้างสำ�นึกรักชาติหรือชาตินิยม โดยมุ่งเน้นความไม่ยุติธรรมโดยเฉพาะจากฝรั่งเศส ในเรื่องเขตแดนดินแดน และตอบต่อยุทธศาสตร์ทางการทหารด้านอินโดจีนภายใต้ลัทธิทหาร วาทกรรมการเสียดินแดน คือเครื่องเตือนใจว่า การที่ไทยต้องเสียดินแดนไปเป็นจำ�นวนมากจากการล่าอาณานิคม ของตะวันตก เพราะความไม่พร้อมด้านการทหาร ดังนั้น คอมมิวนิสต์ ก็คือลัทธิล่าอาณานิคมยุคใหม่ ที่จะทำ�ลายล้างทั้ง ศาสนา พระมหากษัตริย์ และชาติไทย ด้วยเหตุนี้ การต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในครั้งนี้ ไทยจึงต้องเตรียมความพร้อมด้านการ ทหาร และความร่วมแรงร่วมใจจากประชาชนในชาติ ทหารไทยจึงต้องเป็นผู้นำ�ในทางการเมือง ต้องยึดอำ�นาจรัฐบาล เพราะ “ภัยคอมมิวนิสต์ได้คุกคามประเทศไทยอย่างรุนแรง”23 คอมมิวนิสต์เป็นอุดมการณ์ที่จะทำ�ให้ไทย “เสียชาติ” หรือ “สิ้นชาติ” ดังบทสรุปสถานการณ์การรุกรานของ คอมมิวนิสต์ใน พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ว่า “เหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ได้ประจักษ์ชัดแล้วว่า คอมมิวนิสต์เตรียม การที่จะรุกรานประเทศไทย และเข้าครอบครองประเทศเสรีในแหลมอินโดจีน”24 หรือทัง้ หมดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้25 รวมทั้งไทยด้วย ในขณะนั้นฝ่ายคอมมิวนิสต์รุกรานยึดครองได้แล้วคือโซเวียต จีน เกาหลีเหนือ เวียดนามเหนือ ธิเบต และ กำ�ลังรุกรานยึดครองลาว พม่า และไทย โดยการใช้กำ�ลังทางทหารเข้ายึดครอง ทั้งนี้ นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งลี้ภัยการเมือง อยู่ที่ “จีนแดง” ได้ถูกรัฐบาลทหารไทยในยุคจอมพล สฤษดิ์-จอมพล ถนอมใช้อธิบายว่าเป็นตัวเชื่อมสำ�คัญที่จะนำ�กองทัพ คอมมิวนิสต์จีนรุกรานเข้ามาประเทศไทย เพื่อหวังอำ�นาจทางการเมือง26 แต่ในเบื้องต้นนั้น คอมมิวนิสต์จะใช้กำ�ลังทางการ เมือง และการโฆษณาหลอกลวงชักจูงคนในประเทศให้เชื่อถือสนับสนุนฝ่ายคอมมิวนิสต์ก่อน การต่อสู้กับคอมมิวนิสต์นี้ จึงเป็นเสมือนสงครามครั้งสำ�คัญยิ่งของไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสามประเทศในอินโดจีน คือ เวียดนาม ลาว และ กัมพูชา เปลี่ยนเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ใน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) คอมมิวนิสต์ก็ยิ่งเป็นปีศาจที่จะทำ�ให้ชาติไทย “สิ้น แผ่นดิน” เพราะ “เราถอยไปไม่ได้อีกแล้ว ผืนดินสิ้นแนวทะเลกว้างใหญ่ ... เราถอยไปไม่ได้ พี่น้อง”27 วาทกรรมการเสียดินแดนให้กบั ฝรัง่ เศสอย่าง “เจ็บปวดยิง่ ” นัน้ ได้รบั การตอกย�้ำ อีกครัง้ อย่างเข้มข้นเมือ่ กัมพูชาได้ รับเอกราชจากฝรั่งเศส และฝ่ายกัมพูชาเริ่มเรียกร้องปราสาทพระวิหารจากการครอบครองของทหารไทย จนนำ�ไปสู่การยื่น ฟ้องต่อศาลโลกใน พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) และศาลโลกได้มีคำ�พิพากษาในกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ว่าปราสาทพระวิหารเป็นเขตอธิปไตยของกัมพูชา ซึ่งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีของไทยได้กล่าวทางวิทยุ กระจายเสียงและโทรทัศน์ว่า เป็น “ความเศร้าสลดและขมขื่นใจ” อย่างยิ่ง เพราะ “เป็นเรื่องของผืนแผ่นดินไทย ซึ่งเป็น มรดกที่บรรพบุรุษของเราสู้อุตส่าห์ฝ่าคมอาวุธรักษาไว้ และตกทอดมาถึงคนรุ่นเรา” ซึ่ง “ชาติไทยจะยอมท้อแท้ทอดอาลัย ไม่ได้ เราเคยสูญเสียดินแดนแก่ประเทศมหาอำ�นาจที่ล่าอาณานิคมมาแล้วหลายครั้ง ถ้าบรรพบุรุษของเรายอมท้อแท้ เราจะ เอาแผ่นดินที่ไหนมาอยู่กันได้จนถึงทุกวันนี้ เราจะต้องหาวิธีการต่อสู้ต่อไป” แต่จอมพล สฤษดิ์ก็ประกาศยอมรับคำ�พิพากษา ของศาลโลก เพราะ “คำ�พิพากษาของศาลเป็นอันเสร็จเด็ดขาด ไม่มีทางจะอุทธรณ์ได้”28 ระยะเวลาช่วงยาวเกือบทศวรรษของกระบวนการต่อสูเ้ พือ่ “ดินแดน” ปราสาทพระวิหารกับฝ่ายกัมพูชานี้ ก็คอื ช่วง เวลาที่มีกระบวนการสร้างชุดอธิบาย “ประวัติศาสตร์ไทย” เพื่อปลุกสำ�นึกพัฒนาการสร้างชาติและความเป็นไทย อย่างสืบ เนื่องจากรากฐานที่ถูกสร้างไว้ในช่วงยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์29 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลุกสำ�นึกรักชาติเสียสละเพื่อชาติ ผ่านบทเพลงบทละครในแบบของหลวงวิจิตรวาทการ30 ที่คนไทยต้องอพยพจากเทือกเขาอัลไต แยกย้ายไปอยู่กันในหลาย ที่หรือหลายสาขา มาตั้งเป็นอาณาจักรน่านเจ้า มาตั้งอาณาจักรสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ และถูกแย่งชิงดินแดน 322

ภาค 2: วาทกรรมเสียดินแดน


จนเหลือเป็น “ขวานทอง” ประเทศไทย หนังสือ “แผนที่ภูมิศาสตร์ฯ” ของทองใบ แตงน้อย กล่าวได้ว่าคือบทสรุปชุดวาท กรรมดินแดนของไทย ที่สร้างแผนที่และคำ�อธิบายตามลำ�ดับเรื่อง ข้อสำ�คัญคือการระบุอาณาเขตว่า อาณาจักรแต่ละแห่ง นั้นมีพื้นที่เพียงใด โดยใส่ “สีเหลือง” ให้กับดินแดนของไทยในยุคต่างๆ และงานของทองใบนี้ก็ตอบต่อโจทย์ปัญหาดินแดน ปราสาทพระวิหาร เพราะนอกจากวาทกรรมการเสียดินแดน 8 ครั้งแล้ว ในส่วนของแผนที่ “ลาว กัมพูชา และเวียดนาม” นั้น ผู้แต่งได้ทำ�สัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมไว้ที่ชายแดนไทยในพื้นที่ “สีเหลือง” เพื่อบอกที่ตั้ง “เขาพระวิหาร” โดยไม่กล่าวถึง เรื่องปราสาทพระวิหารในข้อมูลประเทศกัมพูชาเลย31 โดยสรุป วาทกรรมการเสียดินแดน 8 ครัง้ ยังคงได้รบั การผลิตซ�้ำ ตอกย�้ำ อย่างต่อเนือ่ งยาวนานภายใต้รฐั บาลทหาร ที่ยกอ้างเรื่องภัยจากการรุกรานของคอมมิวนิสต์และปัญหาปราสาทพระวิหารกับกัมพูชา แต่ที่พัฒนามากกว่าวาทกรรมเสีย ดินแดนทั้ง 8 ครั้ง และทิ้งประเด็นไว้ให้ยุคถัดมา คือ อาณาเขตขนาดใดคืออาณาเขตไทยที่จะใช้เป็นฐานในการอธิบายเรื่อง การเสียดินแดน ดังปรากฏเป็นแผนที่อาณาจักรไทยในยุคต่างๆ ในหนังสือเรียน “แผนที่ภูมิศาสตร์ฯ” ไทย

(3) ยุคต้นทศวรรษ 2550 การสร้างวาทกรรมเสียดินแดนเพ่ิม

ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการสถาปนาวาทกรรมการเสียดินแดน มีความพยายามนำ�เสนอการเสียดินแดนตรงนั้นตรงนี้ อีกหลายครัง้ แต่รฐั บาลทหารไทยได้ก�ำ หนดให้วาทกรรมการเสียดินแดนรวม 8 ครัง้ เป็นข้อยุติ เพราะแม้วา่ ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 ไทยจะได้รับดินแดนเมืองเชียงตุง เมืองพาน ที่เรียกว่า “สหรัฐไทยเดิม” มาจากญี่ปุ่น และต้องคืนไปเมื่อสิ้นสงคราม ครั้งนั้นก็ตาม แต่รัฐบาลทหารไทยของจอมพล ป. พิบูลสงครามที่สืบอำ�นาจอีกครั้งในทศวรรษต่อมา ก็ไม่ได้เพิ่มการเสีย ดินแดนสหรัฐไทยเดิมเข้าไปในวาทกรรมชุดเดิม วาทกรรมการเสียดินแดนรวม 8 ครั้งยังคงถูกผลิตซ้ำ�ให้กับคนชาติไทย เรื่อยมาถึงปัจจุบัน วาทกรรมการเสียดินแดนได้มีการสร้างเพิ่มขึ้นให้เป็นเสียดินแดนรวม 14 ครั้ง โดยครั้งที่ 14 นี้คือการเสีย “เขา พระวิหาร” ให้กับกัมพูชา เพื่อสอดรับกับการต่อสู้ทางการเมืองภายในของไทยอันว่าด้วยการพิทักษ์ราชบัลลังก์ พิทักษ์ชาติ และต่อต้านการกลับมามีอำ�นาจบทบาททางการเมืองของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ถูกทหารและเครือ ข่ายยึดอำ�นาจเมื่อ พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) วาทกรรมการเสียดินแดนเพิม่ รวม 14 ครัง้ นี้ เป็นการผลิตโดยภาคประชาชนทัง้ ฝ่ายทีต่ อ่ ต้าน พ.ต.ท. ทักษิณ พรรค ไทยรักไทย-พลังประชาชน และฝ่ายที่ต้องการให้ยุติความแตกแยกแล้วสร้างความสามัคคีเพื่อร่วมปกป้องชาติไทยจากการ เสียดินแดน ทั้งนี้ นับแต่ช่วงต้น พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) กลุ่มเสื้อเหลือง หรือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เป็นแกนนำ�รณรงค์ชุมนุมทางการเมืองนั้น32 หนึ่งในประเด็นปัญหาที่ฝ่ายชุมนุมขับไล่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช พรรค ไทยรักไทย และต่อเนื่องถึงรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พรรคพลังประชาชน ระหว่าง พ.ศ. 2551/52 (ค.ศ. 2008-09) คือ ประเด็นการขึน้ ทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาเป็นมรดกโลก33 ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของปัญหาเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชาที่ ตกทอดมาจากสนธิสญ ั ญาไทยกับฝรัง่ เศสในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นปัญหาพืน้ ทีป่ ราสาทพระวิหารทีต่ กค้างมาจาก คำ�พิพากษาของศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) กล่าวได้ว่า ประเด็นปัญหาปราสาทพระวิหารมรดกโลกได้ปลุกความ ทรงจำ�และความกังวลใจเรือ่ งการเสียดินแดนให้กลับมาเป็นวาระสำ�คัญทางทางการเมืองได้อกี ครัง้ หลังจากสงบไปนานเกือบ ครึ่งศตวรรษ ในช่วงต้น พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) กลุ่มพันธมิตรฯ เสื้อเหลือง ก็ชุมนุมทางการเมืองปิดถนนสองด้านของทำ�เนียบ รัฐบาลของนายอภิสทิ ธิ์ เวชชาชีวะ ซึง่ แม้วา่ ทัง้ สองฝ่ายจะเคยร่วมกันในการใช้ประเด็นชาตินยิ มด้านดินแดนนี้ “เพือ่ ล้ม” รัฐบาล ชุดก่อนๆ34 แต่ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนไป ฝ่ายกลุ่มพันธมิตรฯ เสื้อเหลือง จึงยื่นเงื่อนไขหรือข้อเรียกร้อง 3 ข้อให้กับรัฐบาล นัยหนึ่งกล่าวได้ว่าก็คือการกดดันเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาลนั่นเอง ต่อมาเป็นการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออก เงื่อนไขหรือข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ได้แก่ 1) ให้รัฐบาลยกเลิก MOU 2543 หรือบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำ�รวจและจัดทำ�หลักเขตแดนทางบก พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) 2) ให้รัฐบาลไทยถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก (ต่อมาระบุว่าให้ถอนจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก) และ 3) ให้รัฐบาลผลักดันชาวกัมพูชาออกนอกพื้นที35 ่ ทั้งสามประเด็นนี้สืบเนื่องจากกัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 323


ปราสาทพระวิหารเมื่อกลาง พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) การชุมนุมของกลุม่ พันธมิตรฯ เสือ้ เหลืองในครัง้ นี้ เป็นการใช้ประเด็นปัญหาเขตแดน-ดินแดนและการเสียดินแดน ในแบบการใช้พลังชาตินิยมไทยเพียงประเด็นเดียว36 อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่า แม้จะสามารถเผยแพร่ชุดวาทกรรมการเสีย ดินแดนเพิ่มได้ แต่ก็ไม่อาจบรรลุเป้าหมายตามเงื่อนไขทางการเมืองที่ตนเรียกร้อง37 ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาสามารถยกระดับ ปัญหาปราสาทพระวิหารให้เป็นประเด็นสากลที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และที่อาเซียน ทั้งเสนอให้ศาลโลก พิจารณาตีความคำ�พิพากษาอีกครัง้ เพือ่ ให้มคี วามชัดเจนด้าน “อาณาบริเวณ” ปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ซึง่ ศาลโลกมีมติ รับเรื่องและมีคำ�สั่งมาตรการชั่วคราวให้ยุติด้านการทหารของทั้งสองฝ่าย38 ขณะเดียวกันในการเมืองภายใน พรรคกิจสังคม ของรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอภิสทิ ธิ์ ทีใ่ ช้ประเด็นเรือ่ งการถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลกเป็นหนึง่ ในประเด็นหาเสียง สำ�คัญ39 ก็แพ้การเลือกตั้งโดยไม่ได้แม้แต่ที่นั่งเดียวในการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) จากการสำ�รวจในอินเทอร์เน็ตว่าด้วยการ “เสียดินแดน 14 ครัง้ ” นัน้ ปรากฏข้อเขียนแรกๆ ในราวกลาง พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) ในเว็บ “PRAVIHARN.NET” ซึ่งรณรงค์ให้ “นายกฯ อภิสิทธิ์ อย่าสืบทอดนโยบายขายชาติ! อย่าหลงกล คณะกรรมการมรดก (โลก) โลภ หยุดสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา” ซึ่งอาจทำ�ให้ ไทยเสียดินแดนครั้งที่ 15 คือ “ไทยอาจเสียพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารให้เขมรอีก เพราะรัฐบาลสมัครเซ็นให้เขมรขึ้นทะเบียน มรดกโลก ทั้งที่ข้อพิพาทยังไม่จบ”40 (ในข้อเขียนนี้ครั้งที่ 14 คือเสีย “ปราสาทพระวิหาร” ไม่มี “เขา”) ราวมีนาคม พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) วาทกรรมเสียดินแดน 14 ครั้ง (ครั้งที่ 14 เสีย “เขาพระวิหาร”) ได้ถูกจัดทำ� เป็นแบบสไลด์เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต สไลด์การเสียดินแดนแต่ละครั้งนั้น มีภาพพระมหากษัตริย์แห่งจักรีวงศ์ เพื่อเป็นการ บ่งบอกว่า เสียไปในรัชสมัยใด และมีการแต่งกลอนแปด โดยทั่วไปคือมีกลอน 4 วรรค (1 บาท) ข้างใต้สไลด์แต่ละอันนั้น มีคำ�อธิบายในแบบพรรณนาความแบบสั้นๆ หัวข้อของผู้ที่โพสท์ตั้งไว้คือ “ประวัติการเสียดินแดนไทย 14 ครั้ง เด็กรุ่นใหม่ ควรศึกษาไว้เป็นบทเรียน”41 ต่อมามีการปรับเป็นสไลด์อีก 1 ชุด แผนที่และเนื้อหาคงเดิม ที่เพิ่มเข้ามาคือ ดินแดนที่เสียไป ในแต่ละครัง้ แทนทีจ่ ะวงกลมและลงสีในพืน้ ทีก่ ารเสียดินแดน ก็แยกพืน้ ทีเ่ สียนัน้ มาจัดวางไว้ขา้ งๆ ภาพพระมหากษัตริย์42 สไลด์การนำ�เสนอวาทกรรมการเสียดินแดนทั้ง 2 สำ�นวนนี้ จะได้รับการไพสต์ในอินเทอร์เน็ตเป็นจำ�นวนมาก โดยผู้โพสต์ จะเพิ่มข้อความที่แสดงทัศนะของตนเองแปะไว้ด้วย เช่น “ทำ�ไมประวัติศาสตร์นี้กลับไม่มีกล่าวถึงในบทเรียนสังคมของไทย ทั้งที่เป็นเรื่องที่คนไทยควรรู้และหันมารักชาติมากขึ้น”43 การแพร่กระจายวาทกรรมการเสียดินแดน 14 ครั้ง ผ่านอีกช่องทางหนึ่ง คือ การจัดทำ�เป็น “คลิป” หรือวิดีโอภาพ เคลื่อนไหวมีดนตรีและเสียงร้องเพลง ซึ่งต่างก็ใช้ฐานข้อมูลและบทกลอนจากสไลด์อันแรกแบบเดียวกัน แตกต่างกันทาง เทคนิควิธีและเนื้อหาบทนำ�ในช่วง 1-2 นาทีแรก จากการสำ�รวจในอินเทอร์เน็ต พบว่ามีการจัดทำ�ทั้งสิ้น 4 สำ�นวน สำ�นวน แรกสุดปรากฏใน youtube คือ “คลิป ไทยเสียดินแดน 14 ครั้ง” เมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) เป็นการเดิน ภาพจากแผนที่การเสียดินแดนแต่ละครั้ง ประกอบเพลงรักชาติ ของวงกรรมาชน ความยาว 5 นาที มีการเข้าถึง 160,416 ครั้ง44 อีก 3 สำ�นวนนั้นใช้วิธีการแหล่ประกอบดนตรีแบบลูกทุ่ง โดยแหล่ตามบทกลอนในสไลด์ ซึ่งบางสำ�นวนมีการปรับ แต่งถ้อยคำ�เพื่อความเหมาะสม เสียงนักแหล่หญิงกล่าวได้ว่าเป็นมืออาชีพ และมีการพัฒนาเทคนิคด้านกราฟิกให้สวยงาม มากยิ่งขึ้น รวมทั้งภาพประกอบ แหล่สำ�นวนแรก “14 ครั้งของการสูญเสียดินแดนไทย”45 โพสต์เมื่อ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ความยาว 14 นาที เน้นแหล่ประกอบซอ มีการเข้าถึง 2,076 ครั้ง แหล่สำ�นวนที่ 2 “แหล่ ประวัติเสีย ดินแดน 14 ครั้ง”46 โพสต์เมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ความยาว 8 นาที มีการเข้าถึง 10,621 ครั้ง และ แหล่สำ�นวนที่ 3 “แหล่เสียดินแดน 14 ครั้งยังอาลัย”47 โพสต์เมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ความยาว 12 นาที มีการเข้าถึง 15,362 ครั้ง คลิปวิดีโอทั้ง 4 สำ�นวนคือต้นฉบับที่จะถูกนำ�ไปโพสต์ไว้ในที่ต่างๆ เท่านั้น กล่าวโดยสรุป การสร้างและแพร่กระจายวาทกรรมการเสียดินแดนเพิ่มเติมรวม 14 ครั้งนั้น ดำ�เนินไปอย่าง สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางการเมืองไทยของการต่อสู้เพื่อต่อต้านโค่นล้มรัฐบาลพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน ฝ่าย รณรงค์การชุมนุมในระยะแรกนัน้ ใช้ประเด็นชาตินยิ มด้านการเสียดินแดนกับกัมพูชา โดยเฉพาะกรณีปราสาทพระวิหารมรดก โลก เป็นหนึ่งในหลายประเด็น แต่ก็พัฒนามาเป็นประเด็นสำ�คัญหลักเมื่อรณรงค์ต่อต้านโค่นล้มรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้น ทั้งสไลด์และคลิปวิดีโอจึงได้รับการพัฒนาและเผยแพร่อย่างสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวดังกล่าว ซึ่งข้อสนเทศนี้จะ เชือ่ มโยงให้เห็นว่าการรณรงค์วาทกรรมการเสียดินแดน 14 ครัง้ ก็ได้ถกู เน้นย�้ำ บนเวทีการชุมนุมและผลิตซ�้ำ ส่งผ่านเครือข่าย 324

ภาค 2: วาทกรรมเสียดินแดน


การสื่อสารทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ อย่างมากยิ่งในช่วงดังกล่าวนี้ด้วย โดยมีสไลด์ที่จัดระเบียบวาทกรรมนี้ครั้ง แรกสุดคือ “ประวัติการเสียดินแดนไทย 14 ครั้ง เด็กรุ่นใหม่ควรศึกษาไว้เป็นบทเรียน” เป็นหลักหมายสำ�คัญ ในด้านเนื้อหาของวาทกรรมการเสียดินแดน 14 ครั้งนั้น ผู้สร้างวาทกรรมทำ�ให้เราเข้าใจได้ว่า ดินแดนทั้งหมดที่ กล่าวถึงนี้คือดินแดนเมื่อเริ่มต้นสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะการเสียดินแดนครั้งที่ 1 ยังคงเป็นการเสียเกาะหมากในสมัย รัชกาลที่ 1 ตามวาทกรรมเสียดินแดนเดิม โดยมีภาพรัชกาลที่ 1 กำ�กับไว้ ผู้สร้างวาทกรรมได้กำ�หนดอาณาเขตของไทยไว้ ในสไลด์แผ่นแรก ดังนี้

ทิศเหนือจรดทิศใต้ ทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก อาณาจักรของเราล้วนแล้วแต่มีชายฝั่ง ทะเลอันงดงามล้อมรอบแทบทั้งสิ้น แต่ทำ�ไมจึงถูกกัดกร่อนเหลือแต่เพียงเท่าที่เห็นนี้48

การกำ�หนดอาณาเขตอาณาจักรไทยข้างต้น หากใช้ความรู้สึกอ่าน ก็จะได้ใจความว่า อาณาจักรไทยกว้างใหญ่จริงๆ แต่หากพิจารณาถ้อยคำ�อย่างรัดกุม อาณาจักรไทยนี้มีสภาพเป็นเกาะกลางทะเล นอกจากนี้ แผนภาพอาณาเขตไทยก่อนการเสียดินแดนนั้น ลายเส้นได้ทำ�ให้เราเข้าใจตามแผนที่ภูมิศาสตร์ที่แท้ จริงได้ว่า อาณาเขตไทยครอบคลุมเกือบทั้งหมดของประเทศเวียดนาม (จากที่ลาวและกัมพูชา มีพื้นที่ป่องออกไป และมี เส้นขอบฝั่งทะเลต่อจากประเทศจีน) ทั้งหมดของรัฐฉานในพม่า พื้นที่ตอนใต้มณฑลยูนนาน และทั้งหมดของมาเลเซียด้าน แหลมมลายู และอาจรวมถึงสิงคโปร์ด้วย ครั้งที่เสียดินแดนเพิ่มเติมอีก 6 ครั้ง จากเดิมที่เชื่อตลอดมาว่ามี 8 ครั้ง กลายเป็น 14 ครั้งในยุคนี้ ได้แก่ เสียครั้งที่ 3 เสียบันทายมาศ หรือฮาเตียน ให้ฝรั่งเศส พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) สมัยรัชกาลที่ 2 (ครั้งที่ 1 เสีย เกาะหมาก/ปีนังให้อังกฤษ ครั้งที่ 2 เสียมะริด ทวาย ตะนาวศรีให้พม่า) ไม่มีคำ�อธิบายเพิ่มเติมและไม่ระบุพื้นที่อาณาเขตที่ แน่นอน แต่วาดแผนที่ให้เราเข้าใจว่าอาณาเขตเมืองฮาเตียนคือดินแดนที่คลุมปลายแหลมสุดของเวียดนาม ขณะที่ฮาเตียน ในความจริงคือเมืองท่าที่เป็นคู่แข่งของจันทบุรีในยุคนั้น ไม่ใช่เมืองหลวงของอาณาจักร เสียครั้งที่ 4 เสียแสนหวี เมืองพง เชียงตุง พื้นที่ 62,000 ตร.กม.ให้พม่า เมื่อ พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) ในสมัย รัชกาลที่ 2 คำ�อธิบายใต้สไลด์คือ ไทยเคยครอบครอง 20 ปี เพราะพระเจ้ากาวิละ กษัตริย์แห่งเชียงใหม่ตีได้มา แต่เนื่องจาก เป็นดินแดนที่อยู่ไกล ไทยมีภารกิจด้านอื่นๆ จึงถูกพม่ายึดครอง เสียครัง้ ที่ 5 เสียรัฐเปรัคให้องั กฤษ ไม่ระบุขนาดเนือ้ ที่ แต่วาดภาพแผนทีใ่ ห้เราเข้าใจว่าคือดินแดนมาเลเซียทัง้ หมด โดยเสียเมื่อ พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) สมัยรัชกาลที่ 3 เสียครั้งที่ 6 เสียสิบสองปันนาให้กับจีน เมื่อ พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) รวมเป็นเนื้อที่ 90,000 ตร.กม. สิบสองปันนา เป็นดินแดนในยูนนาน มีเชียงรุ้งเป็นเมืองหลวง ไทยพยายามยกทัพไปตี แต่ต้องตีเชียงตุงก่อน โดยยกทัพไปตีเชียงตุงใน หลายครั้งหลายสมัย แต่ไทยไม่สามารถตีเชียงตุงได้เลย จึงต้องเสียสิบสองปันนาให้กับจีนไป ข้อสังเกตของความไร้ตรรกะในกรณีนี้ คือ ระบุว่าเสียเชียงตุงไปตั้งแต่ พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) แต่สิบสองปันนา ซึ่งอยู่เหนือเชียงตุงไปกลับเสียที่หลังคือครั้งที่ 6 ในทางกลับกัน คำ�อธิบายในการเสียครั้งที่ 6 ก็ระบุว่า ไม่เคยตีเชียงตุงได้ เลย แล้วสิบสองปันนาจะเป็นของไทยกรุงเทพฯ ได้อย่างไร เสียครั้งที่ 9 เสียฝั่งซ้ายแม่น้ำ�สาละวินให้อังกฤษ พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) สมัยรัชกาลที่ 5 ไม่มีค�ำ อธิบายมากกว่านี้ และไม่ระบุขนาดพื้นที่ (เสียครั้งที่ 8 คือ เขมรและเกาะอีก 6 เกาะ หรือ เขมรส่วนนอก เสียครั้งที่ 9 คือเสียสิบสองจุไทย เสียครั้งที่ 10 คือ “ประเทศลาว” หรือฝั่งขวาแม่น้ำ�โขง เสียครั้งที่ 11 เสียฝั่งขวาแม่น้ำ�โขง เสียครั้งที่ 2 เสียมณฑลบูรพา เสียครั้งที่ 13 เสีย 4 รัฐมลายู) เสียเพิ่มครั้งสุดท้าย หรือเสียครั้งที่ 14 คือเสียเขาพระวิหารให้กัมพูชา สมัยรัชกาลที่ 9 โดยคำ�บรรยายใต้สไลด์ ระบุว่า เสียไปเมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ตามคำ�พิพากษาของศาลโลก รวมพื้นที่ 2 ตร.กม.

ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 325


ทำ�ไมอาณาเขตของอาณาจักรสมัยต้นรัชกาลที่ 1 จึงกว้างใหญ่ขึ้น? ประเด็นทีต่ อ้ งตัง้ เป็นคำ�ถามสำ�คัญคือ ทำ�ไมผูส้ ร้างและผูร้ บั สารของวาทกรรมการเสียดินแดนเพิม่ เติมเป็น 14 ครัง้ ในยุคทศวรรษ 2550 นี้ ซึง่ เป็นคนทีเ่ ติบโตในยุครัฐชาติและกำ�ลังก้าวเข้าสูย่ คุ ไร้พรมแดน ฯลฯ แต่รฐั ชาติตอ้ งมีเส้นเขตแดนที่ แน่นอนนัน้ จึงสามารถกล่าวอ้างและยอมรับการกล่าวอ้างถึงอาณาเขตอาณาจักรไทยสมัยต้นรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ว่ามีอาณาเขตกว้างขวางได้มากกว่าชนชั้นนำ�สมัยรัตนโกสินทร์ที่เคยกล้ากล่าวอ้างมา? ในที่นี้ ขอเสนอข้อสมมติฐานต่อการสร้างชุดความเชื่อว่าอาณาจักรไทยสมัยต้นรัชกาลที่ 1 มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ขนาดนี้ ดังนี้ สมมติฐานแรก คือ พัฒนาการการสร้างประวัติศาสตร์ชาติไทยตลอดศตวรรษครึ่งนั้น หรือตั้งแต่ พระราช พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมัยพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 มานั้น มุ่งเน้นว่าอาณาเขตไทยมีแค่ไหน โดยแทบไม่ต้อง อธิบายเหตุผลประกอบใดๆ ทัง้ สิน้ นีค้ อื จารีตการกล่าวอ้างอาณาเขตไทยทีย่ งั ถูกใช้มาถึงปัจจุบนั ดังในกรณีนี้ เช่นในพระราช พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เริม่ ต้นด้วยการอธิบายอาณาเขตประเทศราชของแผ่นดินพระเจ้าอูท่ อง ผูส้ ถาปนาอยุธยาว่า หมายถึงทั้งหมดของแหลมมลายู ดังข้อความว่า

ครั้งนั้น พระยาประเทศราชขึ้น 16 เมือง คือ เมืองมะละกา, เมืองชวา, เมืองตะนาวศรี, เมือง นครศรีธรรมราช, เมืองทวาย, เมืองเมาะตะมะ, เมืองเมาะลำ�เลิง, เมืองสงขลา, เมืองจันทบูร, เมือง พิษณุโลก, เมืองสุโขทัย, เมืองพิชยั , เมืองสวรรคโลก, เมืองพิจติ ร, เมืองกำ�แพงเพชร, เมืองนครสวรรค์49 เมืองชวา ซึ่งกรมพระยาดำ�รงฯ อ่านว่า คือ เมืองยะโฮ รัฐใหญ่ปลายสุดของแหลมมลายู และเมืองมะละกา ทรง ระบุว่า “มีหลักฐานเชื่อได้ว่า ครั้งนั้นขึ้นกรุงศรีอยุธยา” เป็นอาณาเขตสมัยพระเจ้าอู่ทอง50 สมมติฐานข้อที่สอง อาณาเขตรัตนโกสินทร์สมัยต้นรัชกาลที่ 1 ตามการสร้างวาทกรรมเสียดินแดนเพิ่มเติมใน ครั้งนี้ คือการผนวกรวมบทสรุปความเชื่อเรื่องอาณาเขตที่จัดทำ�เป็นแผนภาพในหนังสือ “แผนที่ภูมิศาสตร์ฯ” ของ ทองใบ แตงน้อย โดยเอาแผนที่อาณาจักรของรัชกาลที่ 1 (ซึ่งได้รวมรัฐฉาน และตอนใต้มณฑลยูนนานของจีนไว้แล้ว) บวกเข้ากับ แผนทีอ่ าณาจักรของพ่อขุนรามฯ สมัยสุโขทัย คือครอบคลุมตลอดทัง้ ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ (แต่ไม่กล้ารวมเมาะตะมะ หงสาวดี และตองอู หรือพม่าตอนล่าง เข้ามาด้วย) แล้วบวกกับพื้นที่ที่สมมติว่าเป็นอาณาเขตของฮาเตียนในภาคใต้สุดของ เวียดนาม

3. บทสรุป ในช่วงเกือบสองศตวรรษของพัฒนาการวาทกรรมการเสียดินแดน นับแต่มกี ารสร้างเส้นเขตแดนเส้นแรกด้านพม่า ของอังกฤษตามสนธิสัญญาเบอร์นี สามารถจัดแบ่งวาทกรรมการเสียดินแดนออกเป็น 2 ยุคสมัยใหญ่ๆ ได้คือ 1) ยุคสมัยประเทศสยาม หรือการสร้างวาทกรรมการเสียดินแดนโดยชนชั้นนำ�รัตนโกสินทร์ ที่อยู่ภายใต้กรอบ แนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองการปกครองตามแบบจารีต แต่ก็ค่อยๆ ปรับรับแนวคิดรัฐชาติสมัยใหม่ตามอย่างตะวัน ตกเจ้าอาณานิคม ทีต่ อ้ งมีเส้นเขตแดนทีแ่ น่นอน ดังนัน้ จากจุดเริม่ ต้นของการสร้างเส้นเขตแดน ทีม่ งุ่ เน้นการพิทกั ษ์ดนิ แดน “ประเทศไทยแท้” ในการดำ�เนินนโยบายแห่งรัฐ ส่วนดินแดนประเทศราชจะตกไปเป็นของฝ่ายอืน่ ๆ ก็เป็นเรือ่ งธรรมดาทางการ เมือง แนวความคิดนี้กลับค่อยๆ แปรเปลี่ยนไปและเริ่มยึดมั่นว่า ดินแดนประเทศราชนี้เป็น “พระราชอาณาเขต” ของกรุง รัตนโกสินทร์ตงั้ แต่เมือ่ แรกสถาปนา อย่างไม่มวี นั ทีด่ นิ แดนประเทศราชจะหดตัวหายไปได้อย่างรัฐอาณาจักรแบบเดิมอีกต่อไป หรือแนวคิดที่ว่าหากมีกำ�ลังก็ค่อยใช้กำ�ลังไปยึดครองกลับมาให้อยู่ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นจักรพรรดิ ราชเหนือกษัตริย์บ้านเล็กเมืองน้อยแบบเดิมนั้น ก็ไม่อาจเป็นไปได้อีกเช่นกัน ภายใต้บริบทการเมืองในภูมิภาคที่เปลี่ยนไป ว่ารัฐที่มีอำ�นาจหนึ่งใดในภูมิภาคนี้ ไม่อาจที่จะไปตีชิงบ้านเมืองที่อยู่ รายล้อมในแบบเดิมได้อีก ตามการจัดระเบียบรัฐสมัยใหม่ของฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้ ชนชั้นนำ�สยามจึงแปร เปลีย่ นทางสำ�นึก ว่าการเสียดินแดนประเทศราชคือการเสียเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ แต่กส็ ร้างการอธิบายให้กบั ตนเอง 326

ภาค 2: วาทกรรมเสียดินแดน


ด้วยวาทกรรมว่า การเสียดินแดนประเทศราชนั้นเป็นการเสียดินแดนที่ไม่ใช่ “ประเทศไทยแท้” และเมื่อเผชิญหน้าชนชั้นนำ� รุ่นใหม่ที่มาพร้อมกับอุดมการณ์ลัทธิชาตินิยมไทย วาทกรรมการเสียดินแดนประเทศราชก็ปรับขึ้นอีกระดับ คือ การเสียดิน แดนประเทศราชก็คือการกำ�จัด “เชื้อโรคภัย-เชื้อโรคร้าย” เพื่อรักษาอวัยวะและร่างกายบ้านเมืองที่เป็น “ไทยแท้” 2) ยุคสมัยประเทศไทยในรอบ 9 ทศวรรษที่ผ่านมา คือการสร้างวาทกรรมการเสียดินแดนรวม 8 ครั้ง และขยาย เป็น 14 ครั้งในช่วงปีท้ายๆ กล่าวคือ ชนชั้นนำ�รุ่นใหม่ที่มาพร้อมกับลัทธิชาตินิยมและลัทธิทหารหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มาพร้อมกับวิธคี ดิ ทีแ่ ตกต่างไปจากชนชัน้ นำ�รุน่ ก่อน คือไม่ตอ้ งคิดซับซ้อนเรือ่ งดินแดนประเทศราชหรือดินแดนประเทศไทย แท้ แต่มุ่งประเด็นปัญหาเอกราช เช่น หลักเอกราชของคณะราษฎรในคราวปฏิวัติ พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) และเมื่อเชื่อว่านี้ คือดินแดนเขตแดน ณ ปีแรกของรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้น ไม่ว่าใครจะได้เข้าครอบครอง ทั้ง พม่า อังกฤษ และฝรั่งเศส ก็คือการเสียดินแดนทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน เป้าหมายของลัทธิทหารของไทยในช่วงต้นยุคนี้ภายใต้บริบทของการเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็คือ การรวมใจคนในชาติเพื่อต่อสู้ป้องกันเอกราชโดยมีทหารเป็นผู้น�ำ นั้น ฝรั่งเศสจึงกลายเป็นศัตรูส�ำ คัญของไทย เพราะการเสีย ดินแดนอย่างต่อเนื่องรวม 5 ครั้ง จากทั้งหมด 8 ครั้งนั้น ในแต่ละครั้ง ฝรั่งเศสก็สร้างความทรงจำ� “เจ็บปวดยิ่ง” ทั้งยังมี เรือ่ งราวให้บอกเล่าให้จดจำ�เป็นลำ�ดับชุดของเหตุการณ์ วาทกรรมเสียดินแดน 8 ครัง้ ทีไ่ ด้รบั สถาปนาอย่างมัน่ คงโดยการกำ�กับ ของรัฐบาลทหารไทยนัน้ ได้รบั การผลิตซ�้ำ และแพร่กระจายอย่างกว้างขวางอีกครัง้ อย่างยาวนานภายใต้การกำ�กับของรัฐบาล ทหารไทยอีกเช่นกัน แต่ในภารกิจใหม่คือการต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์และปัญหาคดีปราสาทพระวิหารในศาลโลก ปัญหาภัย คอมมิวนิสต์เป็นปัจจัยสำ�คัญทีท่ �ำ ให้วาทกรรมการเสียดินแดนยังคงดำ�รงอย่างต่อเนือ่ งมาอีกหลายทศวรรษ แต่วาทกรรมเสีย ดินแดนนี้ก็ค่อยๆ ลดบทบาทลงเมื่อบริบทโลกเริ่มคลี่คลายและยุติสงครามเย็นเมื่อช่วงต้นทศวรรษ 2530/1990 วาทกรรมเสียดินแดนได้ถูกนำ�มาใช้เพื่อสร้างสำ�นึกชาตินิยมในการต่อสู้ทางการเมืองภายในในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2551-54/ค.ศ. 2008-11) วาทกรรมเสียดินแดนเพิ่มเป็น 14 ครั้ง คือเพิ่มจากเดิมอีก 6 ครั้ง โดยเป็นการเสียให้ทั้ง พม่า จีน อังกฤษ และฝรัง่ เศส เป้าหมายการผลิตวาทกรรมนีก้ เ็ พือ่ กระตุน้ พลังชาตินยิ มเพือ่ การต่อสูท้ างการเมืองภายในของ ไทย โดยมีกัมพูชาเป็นเสมือนตัวแทนอันเป็นผลผลิตแห่งความไม่ยุติธรรมที่ฝรั่งเศสได้ก่อไว้ ดังนั้น การสร้างวาทกรรมเสีย ดินแดนครั้งที่ 14 เสีย “เขาพระวิหาร” คือวัตถุประสงค์หลักที่สอดคล้องกับการต่อสู้ทางการเมืองภายในของไทย อย่างไรก็ตาม การสร้างและแพร่วาทกรรมครัง้ นีแ้ ตกต่างจากครัง้ ก่อนๆ คือ เป็นการรณรงค์ของภาคประชาชนฝ่าย หนึ่งเท่านั้น โดยยังไม่มีการประทับรับรองการผลิตวาทกรรมอย่างเป็นทางการจากกองทัพที่มีบทบาทในการปลุกเร้าอารมณ์ ชาตินิยมไทยตลอดมาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ดินแดนที่เสียเพิ่มไปในการสร้างวาทกรรมครั้งใหม่นี้ ก็ยากที่จะทำ�ให้ เชื่อและยอมรับอย่างไร้ข้อสงสัยยิ่งได้ว่า นั่นคือดินแดนไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ซึ่งวาทกรรมการเสียดินแดน 8 ครั้งเดิมนั้น อาจไม่เคยถูกตั้งข้อสงสัยมาก่อน หรือข้อสงสัยนี้ก็มีเสียงไม่ดังพอกับเสียง กระหึ่มของกองทัพ อันเท่ากับว่า วาทกรรมการเสียดินแดนนี้กำ�ลังเผชิญหน้ากับความน่าเชื่อถือ ในยุคมุ่งสู่ภาวะไร้พรมแดน แบบอาเซียนหรือโลกาภิวัตน์

ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 327


เชิงอรรถ

1 ธงชัย วินิจจะกูล, “มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบัน,” ใน ฟ้าเดียวกัน 9: 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2554), หน้า 47-48. 2 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ กัณฐิกา ศรีอุดม, “คำ�นำ�เสนอ,” ใน เซอร์จอห์น เบาว์ริง, ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม

(กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2554), หน้า (19). 3 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทย 2475-2500, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์, 2549), หน้า 10-11. 4 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บรรณาธิการ, ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจ และแผนที่ ระหว่าง สยามประเทศไทย กับประเทศอาเซียนเพื่อนบ้าน: กัมพูชา-ลาว-พม่า-มาเลเซีย (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์, 2554), หน้า 14-17. มีคำ�อธิบายที่มาและความสำ�คัญของสนธิสัญญาฉบับนี้ ดูหน้า 10-12. 5 ดู “ปริญญาอังกฤษ-ฝรั่งเศส” ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บรรณาธิการ, ประมวลสนธิสัญญาฯ, เพิ่งอ้าง, หน้า 92-93. มีคำ�อธิบายที่มาและความสำ�คัญ รวมทั้งข้อสังเกตบางประการของปริญญานี้ ดูหน้า 90-91. 6 ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, “แม่น�้ำ โขง: จาก “ประตูหลัง” จีน-ยูนนาน ถึง “ประตูหลัง” อุษาคเนย์,” ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และอัครพงษ์ ค่ำ�คูณ บรรณาธิการ, แม่น้ำ�โขง: จากต้าจู–ล้านช้าง–ตนเลธม ถึง กิ๋วล่อง (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, 2549), หน้า 151-171. 7 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, “ตำ�นานประเทศไทย,” ใน ประวัติศาสตร์โบราณคดี (พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ศิวพร, 2514), หน้า 15. 8 เซอร์จอห์น เบาว์รงิ , ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม, อ้างแล้ว, หน้า 42. เซอร์จอห์น เบาว์รงิ ทูตอังกฤษทีเ่ ข้ามาเซ็นสัญญา กับสยามเมื่อปี 2498/1855 นั้น ได้เขียนหนังสือเล่มใหญ่เล่มหนึ่งชื่อ “ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม” (The Kingdom and People of Siam พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1857/พ.ศ. 2400) โดยหัวข้อบทที่ 1 เรื่องภูมิศาสตร์ ได้เริ่มเรื่องที่แสดงให้เห็นถึง “อาณาบริเวณ” ของ สยามว่า ราชอาณาจักรสยามประกอบด้วยหัวเมืองต่างๆ 41 หัวเมือง ปกครองโดยพระยา หรือ ข้าราชการผู้ มีตำ�แหน่งสูงสุด แต่ละเมืองแบ่งย่อยลงเป็นอำ�เภออีกจำ�นวนมาก... ภาคเหนือมี 5 เมือง ได้แก่ สังคโลก (สวรรคโลก) พิษโลกหรือพิษณุโลก กำ�แพงเพชร พิชยั ระแหง (ตาก) ภาคกลางมี 9 เมือง ได้แก่ นนทบุรหี รือตลาดขวัญ ปากเตร็ด (ปากเกร็ด) ปทุมธานีหรือสามโคก โยเดีย (อยุธยา) หรือกรุงเก่า อ่างทอง เมืองพรหม (พรหมบุรี) เมืองอินทร์ (อินทร์บุรี) ชัยนาท นครสวรรค์ 10 เมืองทางภาคตะวันออก ได้แก่ เพชรบูรณ์ บัวชุม สระบุรี นพบุรี นครนายก ปราจีณ กบินทร์ ฉะเชิงเทราหรือแปดริ้ว พระน้ำ�ตะบอง และพนัสนิคม 7 เมืองทางภาคตะวันตก ได้แก่ เมืองสิงห์ สุพรรณหรือสุพรรณบุรี กาญจนบุรหี รือปากแพรก ราชพรี หรือราชบุรี นครชัยศรี สาครบุรีหรือท่าจีน สมุทรสงครามหรือแม่กลอง ปากใต้มี 10 เมือง ได้แก่ ปากลัดหรือนครเขื่อนขันธ์ ปากน้ำ�หรือสมุทรปราการ บางปลาสร้อยหรือ ชะละบุรี ระยอง จันทบูรหรือจันทบุรี ทุ่งใหญ่ พริบพรีหรือเพชรบุรี ชุมพร ไชยา ถลางหรือสลาง ในกรณีเมืองพระตะบอง สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่สำ�คัญของกษัตริย์สยาม และพระองค์ไม่เคยเสด็จประพาส ดูรายละเอียดข้างหน้า 9 เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 (กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2521), หน้า 185-186, 216-225, 226, 231-232, 297-298, 326-329. 10 ดูเอกสาร “สัญญาลับสยาม-กัมพูชา พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863)” นี้ได้ใน ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, สยามประเทศไทย กับ “ดินแดน” ในกัมพูชาและลาว (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552), หน้า 242-248. 11 ดูเอกสาร “สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ว่าด้วยแผ่นดินเขมร,” ใน ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, สยามประเทศไทย กับ “ดินแดน” ในกัมพูชาและลาว, เพิ่งอ้าง, 249-251. 12 กิ่งแก้ว นิคมขำ�, “การเจรจาและข้อตกลงระหว่างไทยและอังกฤษเกี่ยวกับหัวเมืองมลายู ในสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ระหว่าง พ.ศ. 2443 ถึง พ.ศ. 2452,” (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2519), น. 161-162. 328

ภาค 2: วาทกรรมเสียดินแดน


13 บันทึกการประชุมเสนาบดีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) “เรื่องทำ�หนังสือสัญญาทาง พระราชไมตรีกบั อังกฤษ ร.ศ. 128” ได้รบั การคัดลอกไว้ทงั้ หมดตีพมิ พ์ใน อัครพงษ์ ค�่ำ คูณ, “เขตแดน พรมแดน และชายแดน ระหว่าง ประเทศไทยกับกัมพูชา,” ใน เขตแดนสยามประเทศไทย-มาเลเซีย-พม่า-ลาว-กัมพูชา (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, 2554), น. 308-312. ข้อความที่ยกอ้าง น. 311-312. 14 พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึง เดอ มงตีญี วันที่ 19 มกราคม 1867 อ้างใน เพ็ญศรี ดุ๊ก, การต่างประเทศกับเอกราชและอธิปไตยของไทย (ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงสิ้นสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม) (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2542, น. 39. 15 พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา, เล่ม 1 (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2534), น. 57. 16 เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 (กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรส ุ ภา, 2521), น. 492. 17 ชนชัน ้ นำ�ไทยรุน่ ใหม่ในขณะนัน้ ยังสำ�นึกดีถงึ ความหมายของเมืองสองฝ่ายฟ้าและสามฝ่ายฟ้า ดังทีเ่ จ้าหมืน่ ไวยวรนารได้ อธิบายถึงหัวเมืองในดินแดนแถบภาคเหนือของลาว บางส่วนในเวียดนาม ในจีน และพม่า ไว้ว่า “ พวกลาวหัวพันห้าทั้งหกและเมือง พวนเป็นเมืองสองฝ่ายฟ้า คือขึ้นกับลาวและญวน เมืองสิบสองจุไทยและสิบสองปันนา เรียกว่า เมืองสามฝ่ายฟ้า ขึ้นกับลาว ญวน และจีน” ดู เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี, ประวัติการของจอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี, เล่ม 4 (พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, 2504), น. 155. 18 เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี, ประวัติการของจอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี, เล่ม 3 (พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, 2504), น. 57-59. 19 นคร พันธ์ณรงค์, “การเจรจาและข้อตกลงระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษเกี่ยวกับหัวเมืองชายแดนลานนาไทย และพม่าสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระยะ พ.ศ. 2428-2438,” (วิทยานิพนธ์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร, 2516), น. 39. และดูรายละเอียดใน ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, “การเรียกร้องดินแดน พ.ศ. 2483,” อ้างแล้ว, น. 111-116. 20 อัครพงษ์ ค่ำ�คูณ, “เขตแดน พรมแดน และชายแดน ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา,” อ้างแล้ว, น. 309-312. ในกรณี มณฑลพายัพ จากคำ�อธิบายของรัชกาลที่ 5 ที่พระองค์สามารถจัดการปกครองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกรุงสยามได้ตั้งแต่ต้นนั้น พระองค์ทรงอธิบายว่า “เราได้จัดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็ได้ทันแต่มณฑลพายัพมณฑลเดียว ด้วยเหตุว่ามีเหตุเกิดขึ้นก่อนมณฑล อื่นๆ คือเรื่องป่าไม้ กับเปนมณฑลที่ตั้งอยู่ในลำ�แม่น้ำ�อันเดียวกันกับกรุงเทพฯ พอจะทำ�การได้ง่าย จึงคิดแลจัดการเอิบเอื้อมเข้าไป ปกครอง ก็ได้ไว้ทั้งมณฑล” 21 สวรรค์ สุวรรณโชติ, “ประเทศไทยกับปัญหาเมืองจันทบุรีและตราดที่ฝรั่งเศสยึดครอง ระหว่างปี พ.ศ. 2436-2449,” (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2518), (กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู, 2520), น. 45-46. 22 ทองใบ แตงน้อย, แผนทีภ ่ มู ศิ าสตร์ชนั้ มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย, พิมพ์ครัง้ ที่ 32 (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2537), หน้า 38-39. ขณะที่แต่งหนังสือเล่มนี้เมื่อ พ.ศ. 2506 เป็น อาจารย์ใหญ่โรงเรียนปราจิณราษฎรอำ�รุง ปราจีนบุรี 23 ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, “ข้ออ้าง” การปฏิวัติ รัฐประหาร กบฏ ในการเมืองไทยปัจจุบัน: บทวิเคราะห์และเอกสาร (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2550), หน้า 96-99, 143-167 ข้อความที่ยกอ้างนี้ หน้า 149. การยึด อำ�นาจที่ใช้ข้ออ้างภัยคอมมิวนิสต์นี้ มีขึ้นตั้งแต่การรัฐประหารครั้งแรกที่เรียกว่า “การรัฐประหารโดยพระราชกฤษฎีกา” ที่พระยามโน ปกรณ์นิติธาดา ยึดอำ�นาจรัฐบาลตนเองเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2476 และการรัฐประหารที่เป็นต้นกำ�เนิดของข้ออ้างภัยคอมมิวนิสต์ ต่อเนื่องมาอีกหลายครั้งในหลายทศวรรษ คือ การรัฐประหารทางวิทยุกระจายเสียง เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) ซึ่งจะเป็นแกนหลักของข้ออ้างเพื่อพิทักษ์ชาติและราชบัลลังก์ ในการรัฐประหารปี 2501 ปี 2514 และปี 2519 24 พลเอก ถนอม กิตติขจร, “จงช่วยกันต่อต้านคอมมิวนิสต์,” สารเสรี (22-23 สิงหาคม 2505), อ้างใน ธำ�รงศักดิ์ เพชร เลิศอนันต์, “บทบาททางการเมืองของจอมพลถนอม กิตติขจร พ.ศ. 2506-2516,” (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550), ภาคผนวก ฌ, หน้า 649-652. พลเอกถนอมในขณะนั้นดำ�รงตำ�แหน่งรองนายก รัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และดูหัวข้อ “4.2.3 ภัยคอมมิวนิสต์ และเสถียรภาพ ทางการเมือง” หน้า 245-271. 25 แผนภาพที่เผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์ และพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ชื่อ “แผนแดง บุก” ที่จะรุกรานทั้งภูมิภาคนี้ โดยเริ่มต้นจากจีนแดง ยึดธิเบต ยึดเวียดนามเหนือ ยึดพม่า ยึดลาว หากยึดไทยได้จะทำ�ให้ยึดกัมพูชา และต่อไปยึดยังฟิลิปปินส์และบอร์เนียว และยึดไทยได้จะทำ�ให้ยึดมลายูและอินโดนีเซีย ดูแผนภาพนี้ใน ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, “บทบาททางการเมืองของจอมพลถนอม กิตติขจร พ.ศ. 2506-2516,” อ้างแล้ว, หน้า 255. 26 มรกต เจวจินดา, ภาพลักษณ์ปรีดี พนมยงค์ กับการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2526 (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2543), หน้า 208-211.

ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 329


27 เพลงสุดแผ่นดิน แต่งโดย ส.อ. พรเลิศ สารานิยคุณ ราวปี 2518 ข้อมูลใน youtube กล่าวว่า “เพลงนี้นักร้องของวง ดนตรีเสนาธิก­ ารนำ�มาขับร้องใหม่อีกครั้งเมื่อ­ ไม่นานมานี้ เพื่อร่วมรณรงค์เกี่ยวกับเขาพระ­วิหาร” http://www.youtube.com/wa tch?v=nKFEMUordMM&feature=related. เข้าถึงเมื่อ (8 ตุลาคม 2554) “สุดดินคือถิ่นน้ำ� เขตครามไทยสุดแนว เราถอยไปไม่ได้อีกแล้ว ผืนดินสิ้นแนวทะเลกว้างใหญ่ ชาติไทยในเก่ากาล ถูกเขารานย่ำ�ใจ เคยเสียน้ำ�ตามากเพียงไหน เสียเนื้อเลือดเท่าไรชาวไทยจำ�ได้ดี เราถอยมาอยู่แสนไกล รวมเผ่าไทยอยู่อย่างเสรี พระสยามทรงนำ�โชคดี ผืนดินถิ่นนี้คือแผ่นดินทอง ไม่มีที่แห่งไหน ให้ไทยไปจับจอง เราถอยไปไม่ได้พี่น้อง ใครคิดมาแย่งครองผองไทยจงสู้ตาย” 28 “คำ�ปราศรัย ของ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร ทางวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ 4 กรกฎาคม 2505,” อ้างใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ลัทธิชาตินิยมไทย/สยามกับกัมพูชา: และกรณีศึกษาปราสาท เขาพระวิหาร (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552), ภาคผนวกที่ 13 หน้า 283-287. 29 พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา, เล่ม 1, อ้างแล้ว, หน้า 20-54. “ตำ�นานหนังสือพระราชพงศาวดาร” ของสม เด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ เมื่อปี 2457 นั้น กล่าวได้ว่าคือรากฐานของชุดความรู้ “ประวัติศาสตร์ไทย” หัวข้อย่อยคือ ประวัติ ขอม ประวัตไิ ทย ประวัตพิ ม่า คือความพยายามอธิบายว่าดินแดนทีเ่ ป็นประเทศไทยนีม้ ใี ครครอบครองมาก่อน และชาติทสี่ ำ�คัญเพือ่ น บ้านคือขอมและพม่าคือใคร สำ�หรับ “ประวัติไทย” นั้น กรมพระยาดำ�รงฯ อธิบายว่า “พวกไทย ... ภูมิลำ�เนาเดิมอยู่ในประเทศจีนข้าง ฝ่ายใต้” หรือ 4 มณฑลภาคใต้ที่ติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า เท่านั้น หาได้อพยพมาจากเทือกเขาอัลไตไม่ เป็นชาติเดียวกันกับที่ จีนเรียกว่า “ฮวน” และ “ฮ่อ” พวกไทยได้แยกย้ายกันไปสร้างบ้านเมืองในเขตต่างๆ เช่น “พวกไทยทางเมืองเดิม” หรือ “เมืองไทยเดิม” ตั้งอาณาจักร “น่างเจี่ยว” (น่านจ้า) หลังจากปกครองมา 350 ปี “จึงสิ้นอิสระกลายเป็นเมืองขึ้นของจีนมาแต่ครั้งนั้น”พวก “ไทยน้อย” ที่สิบสองจุไทยและลุ่มน้ำ�โขงก็ขยายตัวไปยังแคว้นหัวพันห้าทั้งหก แคว้นสิบสองพันนา แคว้นหลวงพระบาง และเขาสู่พื้นที่มณฑล พายัพ เริ่ม “ประชิดอาณาเขตขอม” พวก “ไทยใหญ่” ที่ลุ่มน้ำ�สาละวิน ซึ่งต่อมาจะขยายตัวไปอยู่ในลุ่มน้ำ�อิระวดี และแคว้นอัสสัม หัวข้อที่เหลือคือการวางโครงประวัติศาสตร์ที่สืบมาเพื่อเข้าสู่ยุคกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ หัวข้อ “เรื่องไทยตั้งสยามประเทศ” เพื่อสรุปว่า “พวกไทยน้อยได้อาณาจักรในลุ่มน้ำ�เจ้าพระยาลงไปจนตลอดแหลมมลายู และบางทีจะได้อาณาเขตขอมลงมาทางเมืองใน ลุ่มแม่น้ำ�โขงในสมัยนั้นด้วย แต่เขตแดนไทยจะต่อขอมเพียงไหนในชั้นนั้นยังไม่ทราบได้” เมืองของพวกไทยในลุ่มน้ำ�เจ้าพระยา กรม พระยาดำ�รงฯ ระบุว่ามีเมืองใหญ่อยู่ “สัก 9 เมือง” ได้แก่ สวรรคโลก สุโขทัย กำ�แพงเพชร อู่ทอง นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ไชยา และนครศรีธรรมราช ซึ่งนี้ก็คืออาณาบริเวณของ “ประเทศไทยแท้” ของชนชั้นนำ�รัตนโกสินทร์ หัวข้อย่อยต่อมาคือ “พงศาวดารของ พระเจ้าอู่ทอง” “ประวัติของราชอาณาจักรสุโขทัย” “ประวัติอาณาจักรลานนาไทย” และ “เหตุที่พระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา” 30 ประอรรัตน์ บูรณมาตร์, หลวงวิจิตรวาทการกับบทละครประวัติศาสตร์ (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, 2528), หน้า 77-110. ผู้ศึกษาได้ประมวลสรุปว่า บทละครที่ใช้เวลาแสดง 3 ชั่วโมงที่หลวงวิจิตรวาทการแต่งใช่ วงปี 2479-2500 นั้นมี 24 เรื่อง และได้แต่งเพลงประกอบละครขึ้นมาใหม่ 115 เพลง (ดูภาคผนวก ค. งานประพันธ์ของหลวงวิจิตร วาทการ หน้า 293-305) บทละครที่ “อิงประวัติศาสตร์” หรือสร้างสำ�นึกประวัติศาสตร์ชาตินิยมนี้ ประมวลแนวทางได้ คือ 1) การปลุกใจให้รักชาติ โดยกล่าวถึงถิ่นกำ�เนิดของชนเผ่าไทย เช่น น่านเจ้า ปี 2482 2) การปลุกใจให้รักชาติ โดยการกล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองและความยิ่งใหญ่ของชาติไทยในอดีต เช่น ราชธิดาพระร่วง ปี 2477 3) การปลูกฝังความคิด “แผนการรวมเผ่าไทย” นำ�ไทยไปสู่ความเป็นมหาอำ�นาจ เช่น มหาเทวี ปี 2481 เจ้าหญิงแสนหวี ปี 2481 ราชมนู ปี 2479 พ่อขุนผาเมือง ปี 2483 4) การปลุกใจให้รักชาติโดยการแสดงความเก่งกล้าและความยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษไทย เช่น พระเจ้ากรุงธน ปี 2480 5) ปลูกฝังความรักชาติและสำ�นึกในหน้าที่ที่มีต่อชาติ เช่น เลือดสุพรรณ ปี 2479 6) ปลูกฝังความคิดในการเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันบ้านเมือง เช่น ศึกถลาง ปี 2480 7) ทัศนคติต่อประเทศเพื่อนบ้าน พม่า กัมพูชา และจีน เช่นตัวอย่างจากเพลง “รักเมืองไทย” ซึ่งเป็นเพลงประกอบในละคร เรื่องราชมนู ปี 2479 นั้น เนื้อความคือ (สร้อย) รักเมืองไทย ชูชาติไทย ทะนุบำ�รุงให้รุ่งเรือง สมเป็นเมือง ของไทย เราชาวไทยเกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย (ซ้ำ�) ไม่เคยอ่อนน้อมเราไม่ยอมแพ้ใคร ศัตรูใจกล้ามาแต่ทิศใด ถ้าข่มเหงไทย คงจะได้เห็นดี (สร้อย) เราชาวไทยเกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย (ซ้ำ�) เรารักเพื่อนบ้าน เราไม่รานรุกใคร แต่รักษาสิทธิ์ อิสระของไทย ใครทำ�ซ้ำ�ใจ ไทยจะไม่ถอยเลย (สร้อย ) เราชาวไทยเกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย (ซ้ำ�) ถ้าถูกข่มเหงเราไม่เกรงผู้ใด ดังงูตัวนิดมีพิษเหลือใจ เรารักเมืองไทย ยิ่งชีพเราเอย ในคราวเดินขบวนของนักศึกษาเพือ่ ประท้วงคำ�พิพากษาศาลโลกคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 เพลงรักเมืองไทยนีก้ เ็ ป็นเพลง 330

ภาค 2: วาทกรรมเสียดินแดน


สำ�คัญในการเดินขบวนครั้งนั้น 31 ทองใบ แตงน้อย, อ้างแล้ว, “แผนที่ประวัติศาสตร์ไทย: การเคลื่อนที่ของไทยโบราณ ถึงปัจจุบัน” หน้า 26-27. โดยมีจุด เริม่ ต้นของคนไทยจากเทือกเขาอัลไต แล้วแยกไปหลายสาขา ต่อมาคือ อาณาจักรน่านเจ้าและแผนทีอ่ าณาจักร หน้า 28-29. อาณาจักร สุโขทัยและแผนที่ยุคพ่อขุนรามคำ�แหงมหาราช พ.ศ. 1822-1843 หน้า 30-31. อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาและแผนที่ยุคสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช พ.ศ. 2133-2148 หน้า 32-33. อาณาจักรกรุงธนบุรีและแผนที่ หน้า 34-35. อาณาจักรกรุงรัตนโกสินทร์ และแผนที่ ยุคพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ พ.ศ. 2325-2352 หน้า 36-37. ลาว กัมพูชา และเวียดนาม และแผนที่ หน้า 46-47. 32 “การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551,” http://wikipedia.org/wiki/การชุมนุมของ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย_พ.ศ._2551 เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. 33 วาทกรรมหนึ่งของฝ่ายคัดค้านมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชาคือ วาทกรรม “แต่ฝ่ายเดียว” กล่าวคือ ตนไม่ คัดค้านการเป็นมรดกโลกของกัมพูชา แต่ถ้าจะเป็น ต้องให้ไทยได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของ “มรดกโลกร่วม” ด้วย เพราะตีความว่า ในบริเวณ ้ำ ซึง่ ฝ่ายกัมพูชาเห็นว่า เมือ่ ปราสาทพระวิหารเป็นของตน แถบนัน้ ของไทยก็มโี บราณสถานเช่น สถูปคู่ ภาพแกะสลักทีห่ น้าผา และสระน� ตนก็มีสิทธิที่จะเป็นมรดกโลก ขณะเดียวกัน ปราสาทพระวิหารนี้ก็เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของเอกราชอันสมบูรณ์ที่กัมพูชาต่อสู้เพื่อให้ ได้มาซึง่ ดินแดนของตนเองตัง้ แต่เมือ่ ได้รบั เอกราชจากฝรัง่ เศส นัยหนึง่ คือ ปราสาทพระวิหารก็เป็นประเด็นปัญหาทางการเมืองภายใน ของกัมพูชาเองเช่นกัน ดูประเด็นนี้ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ลัทธิชาตินิยมไทย – สยาม กับกัมพูชา ข้อพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร (กลับมาเยือน), (การแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 11)(กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552), หน้า 102-119. 34 ดูไฟล์ “คำ�ต่อคำ� “อภิสิทธิ์” อภิปรายกรณีปราสาทพระวิหาร” ในวาระขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายก รัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ครั้งที่ 6 (สมัยวิสามัญ) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ไฟล์นี้ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ถอด คำ�ต่อคำ�การอภิปรายแล้วโพสต์ไว้ในเว็บของพรรคประชาธิปัตย์ ดูได้ใน PRAVIHARN.NET, http://www.praviharn.net/ index.php?option=com content&id=63&Itemid=78 เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. 35 “ข่าวคราวความเคลือ่ นไหวการชุมนุมของกลุม ่ พันธมิตร 25 มกราคม 2554 (วันที่ 1 ของการชุมนุม),” http://onknow. bloaspot.com/2011/01/25/2554-1.html เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554, เว็บนี้ถูกโพสต์เมื่อ 26 มกราคม 2554 หรือวันถัดมา ของการชุมนุมวันแรก บันทึกไว้ด้วยว่า ผู้เขียนได้อภิปรายประเด็นการชุมนุมนี้กับ ประพันธ์ คูณมี หนึ่งในแกนนำ�ของกลุ่มพันธมิตรฯ ในรายการ “ตอบโจทย์” ทางสถานีโทรทัศน์ TPBS วันที่ 25 มกราคม 2554 เวลา 22.40-23.10 น. 36 ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์, คำ�เตือนสุดท้าย ราชอาณาจักรไทยกำ�ลังจะเสียดินแดน (กรุงเทพฯ: บ้านพระอาทิตย์, 2554), ปานเทพถือได้วา่ เป็นนักวิชาการคนสำ�คัญของฝ่ายชุมนุม แต่หนังสือเล่มนีข้ องปานเทพก็สะท้อนปัญหาความน่าเชือ่ ถืออย่างสำ�คัญจาก การตีพิมพ์คำ�ปราศรัยของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 (หน้า 331-333) ซึ่งได้มีการปรับแต่งคำ�ปราศรัยอัน สำ�คัญนี้ โดยการทำ�ให้ดูเหมือนว่าจัดวางย่อหน้าใหม่ แต่ในเนื้อหา ได้ตัดข้อความทิ้งหลายตอนด้วยกัน โดยเฉพาะทั้งหมดที่จอมพล สฤษดิ์กล่าวยอมรับว่า “คำ�พิพากษาของศาลเป็นอันเสร็จเด็ดขาด ไม่มีทางจะอุทธรณ์ได้...” และที่จอมพล สฤษดิ์ยอมปฏิบัติตาม กฎบัตรของสหประชาชาติ เช่นคำ�ปราศรัยที่ว่า “ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าการปฏิบัติของประเทศไทยตามพันธกรณีในกฎบัตรสหประชาชาติ ครั้งนี้ คงจะทำ�ให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเห็นอกเห็นใจเรายิ่งขึ้น” เป็นต้น เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบ ข้อความคำ�ปราศรัยของจอมพล สฤษดิ์ปี 2505 ที่พิมพ์ในหนังสือของปานเทพนี้ เป็นข้อความ เดียวกันกับที่เผยแพร่ใน “วิกีซอร์ซ” ภาษาไทย ในที่นี้ เราอาจไม่สามารถพิจารณาได้ว่าใครจัดทำ�หรือใครลอกใคร แต่ประเด็นสำ�คัญ ทางสังคมความรู้ของคนในสังคมไทยคือ มีกระบวนการตัดต่อความหมายและความสำ�คัญของคำ�ปราศรัยของจอมพล สฤษดิ์ ให้ เป็นไปตามเป้าหมายของการสร้างวาทกรรมการเสียดินแดนของฝ่ายตน ดู “คำ�ปราศรัยของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ภายหลังทราบ คำ�ตัดสินของศาลโลก” http://th.wikisource.org/wiki/คำ�ปราศรัยของ_จอมพลสฤษดิ์_ธนะรัชต์_ภายหลังทราบคำ�ตัดสินของ ศาลโลก เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. ดูเทียบกับคำ�ปราศรัยของจอมพล สฤษดิ์อันเดียวกันนี้ที่พิมพ์ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ลัทธิชาตินิยมไทย/สยามกับกัมพูชา :และกรณีศึกษาปราสาทเขาพระวิหาร, อ้างแล้ว, หน้า 283-287. หรือดูเทียบกับต้นฉบับจริงที่จัดพิมพ์โดยสำ�นักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 เรื่อง “คำ�ปราศรัยคดีปราสาทพระวิหาร” 4 กรกฎาคม 2505 ใน ประมวลสุนทรพจน์ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ในปี 2505 (พระนคร: สำ�นักทำ�เนียบนายก รัฐมนตรี, 2506), หน้า 194-199. 37 “พธม. แถลงการณ์ยต ุ ชิ มุ นุม ชูชยั ชนะปกป้องอธิปไตยไทย” โดยประกาศยุตกิ ารชุมนุมในวันที่ 1 กรกฎาคม ท่ามกลางกระแส การเลือกตัง้ ทัว่ ไป 3 กรกฎาคม 2554 http://www.manager.co.th/politics/viewnews.aspx?NewsID=9540000080714 เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. 38 “คำ�สั่งศาลโลกให้ไทย-เขมร ถอนทหารพ้น “เขาพระวิหาร” http://matichon.co.th/news_detail.php?newsi ธำ�รงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 331


เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. บันทึกไว้ด้วยว่า ผู้เขียนได้ร่วมอภิปรายเรื่อง “จับตาศาลโลก อนาคตไทย-กัมพูชา” ในรายการ “ก้าวใหม่ประเทศไทย” สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม 2554 เวลา 20.30-21.30 น. ดูได้ที่นี้ http://youtube.com/watch?v=acYb8dEUirU 39 “ด่วน “สุวิทย์” ประกาศถอนตัวจากภาคีมรดกโลกแล้ว,” ข่าว ASTV ผู้จัดการออนไลน์เมื่อ 26 มิถุนายน 2554 http://www.manager.co.th/politics/viewnews.aspx?NewsID=9540000077762 เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. 40 “ประวัติการเสียดินแดน 14 ครั้ง พอหรือยัง?,” http://www.praviharn.net/index.php?option=com_conte nt&view=article&id=52&Itemid=66 เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. ปัญหาของตัวเลขในข้อเขียนนี้ ระบุว่าไทยแต่เดิมมีพื้นที่ 1,294,992 ตร.กม. เสียไป 14 ครั้งรวม 782,877 ตร.กม. วันนี้ไทยจึงเหลือพื้นที่เพียง 512,115 ตร.กม. ขณะที่เมื่อบวกเลขตาม จำ�นวนที่ระบุไว้ ได้เท่ากับ 747,877 เท่านั้น โดยข้อเขียนไม่ได้ระบุการเสียเมืองบันทายมาศ และเสียรัฐเปรัค เป็นพื้นที่เท่าใด และ คำ�ถามที่สำ�คัญที่สุดคือ ตัวเลขพื้นที่เหล่านี้เชื่อได้จริงๆ หรือ 41 “ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนไทย 14 ครั้ง เด็กรุ่นใหม่ควรศึกษาไว้เป็นบทเรียน” http://www.zone-it.com/ stocks/data/76/76487.html เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. และสามารถดูสไลด์ชุดนี้ได้ในงานของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ลัทธิ ชาตินิยมไทย/สยามกับกัมพูชา: และกรณีศึกษาปราสาทเขาพระวิหาร, อ้างแล้ว, หน้า 48-60. เพียงแต่ว่า ในหนังสือนี้ไม่ได้นำ�คำ� อธิบายใต้สไลด์มาพิมพ์ไว้ด้วย 42 “บันทึกประวัติศาสตร์!! กับการเสียดินแดนของไทย 14 ครั้ง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์” http://dek-d.com/board/ view.php?id=1288995 เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. 43 “การเสียดินแดน 14 ครั้งของไทย” http://board.postjung.com/544066.html เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. 44 “คลิป ไทยเสียดินแดน 14 ครั้ง” http://www.youtube.com/watch?v=CuRLUcHjRll เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. และ “จิ้น กรรมาชน-รักชาติ” http://www.youtube.com/watch?v=gqNyiT9XJYI เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. ท่อน แรกของเนื้อเพลงนี้คือ “รักชาติ รักถิ่น รักในวิญญาณของไทย ยังสืบสานยังให้เห็นความเป็นไทย รักชาติ รักถิ่น ทรัพย์ในดินเป็นของ ไทย จงร่วมใจสร้างชาติไทยให้ยืนยง” 45 “14 ครั้งของการสูญเสียดินแดนไทย” http://www.youtube.com/watch?v=4riopVOgJA8 เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. 46 “แหล่ประวัตเิ สียดินแดน 14 ครัง้ ” http://youtube.com/watch?v=JL24P-HDLbE เข้าถึงเมือ่ 9 ตุลาคม 2554. 47 “แหล่เสียดินแดน 14 ครั้งยังอาลัย” http://www.youtube.com/watch?v=OFbQWoveELI เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. 48 “ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนไทย 14 ครั้ง เด็กรุ่นใหม่ควรศึกษาไว้เป็นบทเรียน” http://www.zone-it.com/ stocks/data/76/76487.html เข้าถึงเมื่อ 9 ตุลาคม 2554. 49 พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา, เล่ม 1, อ้างแล้ว, หน้า. 57. 50 เพิ่งอ้าง, หน้า 198. d=1311054252&grpid=01&catid=&subcatid

332

ภาค 2: วาทกรรมเสียดินแดน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.